Isan Border and Neighbours_kanokwan Analysis

Page 1

รัฐและชายแดนภายใต บริบทของการเปลี่ยนแปลง บทสังเคราะห ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ าน กรณีกัมพูชามองไทย คนไร รัฐ และเมืองคู มิตร In the Shadow of Preah Vihear: Notes from the Thai-Cambodia Border

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบาน

เมืองคู มิตรอุบลราชธานีและจำปาสัก: บทบาทและปฏิบัติการของเกษตรแบบมีพันธะสัญญาข ามชาติ

ขอคนพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย

คนไร รัฐกับสถานะความเป นพลเมือง มุมมองต อความเป นพลเมืองยุคหลังรัฐชาติ (postnation-state) กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบาน

ขอคนพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย

ก ร ณี ศึ ก ษ า

กัมพูชามองไทย คนไร รัฐ และเมืองคู มิตร

กนกวรรณ มะโนรมย บรรณาธิการ

9

789745 232600

08_08 Research Cover.indd 1

กนกวรรณ มะโนรมย บรรณาธิการ

ISBN 978-974-523-260-0

ศูนยวิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุมน้ำโขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 9/8/2554 15:12:36


ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน

ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ เมษายน 2554 จ�านวน 1,000 เล่ม คณะท�างาน กนกวรรณ มะโนรมย์ ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ สกุลพรรณ โพธิจักร ปิยะนุช สิงห์แก้ว จัดพิมพ์ ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน�้าโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โทร. 045 353725 สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ออกแบบรูปเล่ม โคขยัน มีเดีย ทีม ข้อมูลทางบรรณานุกรม

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน: ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย/ กนกวรรณ มะโนรมย์, บรรณาธิการ. – เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาค– ลุ่มน�้าโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2554 159 หน้า. ISBN 978-974-523-260-0 1. ชายแดน 2. อีสาน 3. กัมพูชา 4. ลาว 5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ-ไทย ข้อเขียนทั้งหมดที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดย เฉพาะ มิใช่ทัศนะของส�านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย


21

บทสังเครำะห์ชำยแดนอีสำนกับเพื่อนบ้ำน กรณีกัมพูชำมองไทย คนไร้รัฐ และเมืองคู่มิตร กนกวรรณ มะโนรมย์

ควำมเป็นมำ

งานวิจัยภายใต้ชุดโครงการ “ชายแดนไทยและเพื่อนบ้าน (อีสานตอน ล่าง)” ที่น�ามาสังเคราะห์ในหนังสือเล่มนี้มีสามเรื่องได้แก่ หนึ่ง กัมพูชามอง ไทย: การค้นหาวาทกรรมและอุดมการณ์ที่มีต่อไทยโดยมองปฏิบัติการเชิง สังคมวัฒนธรรมในชีวิตประจ�าวันของคนกัมพูชา สอง แนวทางและกลไก การแก้ปัญหาของความทับซ้อน/ก�ากวมระหว่างคนไร้รัฐกับแรงงานต่างด้าว สัญชาติลาว กรณีศกึ ษาพืน้ ทีอ่ า� เภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี และ สาม การศึกษานโยบายการพัฒนาเมืองคูม่ ติ รด้านเศรษฐกิจ กรณีศกึ ษาความร่วม มือด้านการเกษตรแบบมีพนั ธะสัญญาระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและแขวง จ�าปาสัก ประเทศลาว พ.ศ.2551-2552 ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้จัดท�าบทความ ทางวิชาการจากงานวิจัยดังกล่าวดังรายละเอียดของบทความแต่ละเรื่องที่ น�าเสนอในหนังสือเล่มนี้ โดยสามารถอ่านรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้จาก เว็บไซต์ของศูนย์วจิ ยั สังคมอนุภาคลุม่ น�า้ โขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี1 และ ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จุดมุ่งหมายของการสังเคราะห์บทความจากงานวิจัยเหล่านี้ ประการ แรก เพื่อท�าความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ปรับเปลี่ยน เลื่อนไหล ไปตามบริบทความสัมพันธ์ข้ามชาติ และบทบาทรัฐชาติในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่ยุคก่อน ระหว่าง และหลังรัฐชาติ จนถึงยุคเสรีนิยม และประการที่ สอง เพื่อน�าเสนอนัยเชิงนโยบายการจัดการพื้นที่ชายแดนและพรมแดนใน เขตพื้นที่อีสานตอนล่าง 1

com/

Http://www.mssrc.la.ubu.ac.th และเว็บไซต์ของโครงการวิจัย http://thaiborder.blogspot.

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


22

เนื่องจากบทความทั้งสามเรื่องมีความแตกต่างกันในเชิงประเด็นการ ศึกษาซึ่งท้าทายผู้เขียนเป็นอย่างมาก ผู้เขียนได้แบ่งประเด็นการสังเคราะห์ ออกเป็น 4 ประเด็นดังนี้ 1) บริบทอีสานและอีสานตอนล่างในพื้นที่การ เปลี่ยนแปลงของภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขง 2) ชายแดน พรมแดน รัฐชาติและ หลังรัฐชาติ 3) บทบาทรัฐในการค้าชายแดนและการค้าข้ามชาติ และ 4) นัยเชิงนโยบายส�าหรับการจัดการพื้นที่ชายแดนอีสานตอนล่าง ซึ่งแต่ละ ประเด็นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) บริบทอีสานและอีสานตอนล่างในพื้นที่การเปลี่ยนแปลงของ ภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขง สังคม ‘อีสาน’ (อีสานในภาษาราชการ เรียกว่า ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ) สามารถสืบย้อนไปไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งดูได้จากวัสดุยุค ส�าริดที่ขุดค้นพบจ�านวนมาก ยุคที่มีการวาดภาพตามผาและผนังถ�้าต่างๆ และเรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุคที่อีสานอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรขอมอันเห็น ได้จากปราสาทขอมจ�านวนมากและภายหลังกลุม่ คนไตอพยพเข้ามาในพืน้ ที่ ของขอม เมื่อขอมเสื่อมอ�านาจลง อีสานตกอยู่ภายใต้อ�านาจของอาณาจักร ล้านช้างโดยมีกลุ่มคนลาวจากฝั่งซ้ายแม่น�้าโขงอพยพเข้ามาอาศัยในพื้นที่ อีสาน ท�าให้วัฒนธรรมลาวล้านช้าง เช่น ประเพณี ความเชื่อต่าง ๆ ยังคง ปรากฏในสังคมชนบทอีสานมาถึงปัจจุบัน (สุจิตต์ วงษ์เทศ 2543) หลังจากที่รัฐชาติไทยสถาปนาตนขึ้นชัดจนในยุครัชกาลที่ 5 อีสานก็ถูก ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย (หรือในขณะนั้นใช้ชื่อว่าประเทศ สยาม) อย่างเป็นทางการ ในยุคนัน้ อีสานกลายเป็นพืน้ ทีก่ นั ชนระหว่างสยาม กับฝรั่งเศสในช่วง ค.ศ. 1893-1904 (ปี 2436 - 2447) และต่อมากลายเป็น ภูมิภาคหรือพื้นที่กันชนท่ามกลางสงครามแย่งชิงประชาชนในยุคที่รัฐบาล ไทยมีนโยบายต่อต้านการกระท�าอันเป็นคอมมิวนิสต์และฝักใฝ่ตะวันตก ระหว่างปี 2500 – 2530 (สุเทพ สุนทรเภสัช 2548) อย่างไรก็ตาม คนอีสาน ในยุคนั้นไม่ได้มีความรู้สึกอยากเป็นรัฐอิสระหรือมีความเป็นภูมิภาคนิยม เพียงแต่คนอีสานต้องการให้รฐั เข้ามาพัฒนาให้เหมือนกับภาคอืน่ ๆ ในฐานะ ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


23

ที่อีสานเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย (คายส์ 2552) ภาคอีสานประกอบด้วย 19 จังหวัด2 มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตาราง กิโลเมตร (106.4 ล้านไร่) หรือมีขนาดพืน้ ทีถ่ งึ หนึง่ ในสามของพืน้ ทีท่ งั้ ประเทศ และคนชนบทมากกว่าร้อยละ 60 ยังมีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับทรัพยากรป่าไม้ ที่ดินและแหล่งน�้า ทรัพยากรป่าไม้ที่เคยเป็นฐานส�าคัญของครัวเรือนได้ลด จ�านวนลงอย่างรวดเร็วในช่วง 50 กว่าปีที่ผ่านมา จากการส่งเสริมเกษตรกร ให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ปอ อ้อย ข้าวโพด มันส�าปะหลัง และ ยูคาลิปตัสในระยะหลัง การลดลงของทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อคนที่เคยอาศัยทรัพยากรป่าเป็นแหล่งอาหารและรายได้ (สุวิทย์ ธีระศาสวัต 2545) ด้วยการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติและการ ใช้จ่ายของครัวเรือนที่มากขึ้น ท�าให้คนอีสานจ�านวนมากสร้างวิธีการด�ารง ชีพใหม่ๆ เช่น การย้ายถิ่นเพื่อท�างานในและนอกภาคทั้งในประเทศและต่าง ประเทศมากขึ้น (วิลาศ โพธิสาร และ สุวิทย์ ธีรศาศวัต 2544) ในแง่ภูมิศาสตร์ อีสานอยู่ในเขตเงาฝนคืออยู่หลังเขาที่กั้นอีสานออก จากภาคกลางและภาคเหนือ โดยมีทวิ เขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันก�าแพง และพนมดงรัก กั้นฝนเอาไว้ อีสานจึงมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับ ร้อนแห้งแล้งหรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู3 และมีปัญหาดินเค็มมากถึงหนึ่ง ในสามของพื้นที่ ด้วยข้อจ�ากัดทางภูมิประเทศและภูมิอากาศท�าให้ผลผลิต การเกษตรของภาคอีสานต�่ากว่าทุกภาค (อรุณ ยูวะนิยม 2547) ดังที่กล่าวมาบ้างแล้ว ในช่วงระหว่างปี 2500 - 2525 อีสานอยู่ภายใน รัศมีการขยายตัวของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เนื่องจากเป็นภาคที่มีชายแดน ติดกับกลุม่ ประเทศลุม่ น�า้ โขง คือ ลาวและกัมพูชา ท�าให้กลายเป็นพืน้ ทีก่ นั ชน 2

ปัจจุบัน (2554) ประกอบด้วย 20 จังหวัดได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวล�าภู อ�านาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และ บึงกาฬ

3

อ้างใน http://vdo.kku.ac.th/quota/234119/body/es9.dwt เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศภาค อีสาน

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


24

ระหว่างอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่สนับสนุนโดยประเทศสหรัฐอเมริกากับ อุดมการณ์คอมมิวนิสต์จากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น อีสานจึงเป็นภูมิภาค ที่ส�าคัญมากทางทหารและความมั่นคงทางการเมืองของชาติรวมทั้งการ พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน เช่น การพัฒนาแหล่งน�า้ จ�านวนมาก โดยการสร้างทั้งเขื่อนและชลประทาน (Floch et.al. 2007) พื้นที่ภาคอีสานครอบคลุมที่ราบสูงโคราชและแอ่งสกลนคร ที่ราบสูง โคราชครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น�้ าชีและแม่น�้ามูลซึ่งเป็นสามในสี่ของพื้นที่ ทั้งหมดของภาคอีสาน ส่วนแอ่งสกลนครตั้งอยู่ในเขตตอนเหนือของเทือก เขาภูพานและบริเวณที่ราบลุ่มน�้าโขง (ศรีศักร วัลลิโภดม 2540) อีสานมี พื้นที่ติดกับประเทศลาวและกัมพูชา โดยที่พรมแดนที่ติดกับประเทศลาว มีทั้งกั้นด้วยแม่น�้าโขงและเป็นสภาพพื้นดิน ส่วนพรมแดนที่ติดกับกัมพูชา เป็นพืน้ ดินทัง้ หมด แม้วา่ อีสานไม่มพี รมแดนติดกับเวียดนามแต่สามารถเดิน ทางผ่านประเทศดังกล่าวได้สะดวกผ่านประเทศลาวโดยเส้นทางหมายเลข 9 และเดินทางผ่านประเทศกัมพูชาไปยังเวียดนามตามด่านชายแดนต่างๆ การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในสังคมอีสานที่ส� าคัญส่วนหนึ่งมา จากการสร้างชาติในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามมาด้วยการเข้ามามีบทบาทของ ฝรัง่ เศสในภูมภิ าคลุม่ แม่น�้าโขง การปราบปรามคอมมิวนิสต์ระหว่างทศวรรษ 2500-2530 ของรัฐไทย ในระยะต่อมาการเติบโตของการค้าชายแดนและค้า ข้ามชาติในภาคอีสานเกิดขึ้นภายใต้บริบทใหญ่ของการพัฒนาชาติและการ เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างความร่วมมือกันของภูมิภาคแม่นา�้ โขง จนน�ามา สู่การพัฒนาเครื่องอ�านวยความสะดวกต่อการข้ามแดน (Border facilitiesเช่น เอกสารผ่านแดน ช่องทางผ่านต่างๆ ทั้งด่านที่เป็นทั้งจุดผ่อนปรน ด่านชั่วคราวและด่านสากล และการลดกฎเกณฑ์ทางการค้า เป็นต้น) ซึ่ง นโยบายต่างๆ ได้แก่ การปรับนโยบายของ 3 ประเทศอินโดจีนที่เคยยึดถือ ลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ได้แก่ การประกาศนโยบายเสรีนิยมโด๋ยเหม่ย (Doi Moi) ของเวียดนามในปี 2529 ลาวประกาศนโยบาย กลไกเศรษฐกิจ ใหม่ (New Economy Mechanism) ในปี 2529 และกัมพูชาได้ใช้นโยบายเน้น ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


25

ทุนนิยมหลังการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลของประเทศจีนในภูมิภาคในปี ค.ศ.1993 (ปี 2536) เป็นต้นมา และนโยบายการเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า (from the battle field to market place) ในยุคนายกรัฐมนตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ ของ ประเทศไทย (Rigg 2005) เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาภูมิภาคนี้ด้วย กลุ่มประเทศลุ่มแม่น�้าโขง 6 ประเทศ คือ กัมพูชา จีน พม่า ลาว เวียดนาม และไทย ได้ร่วมกันจัดท�ากรอบความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขง (Greater Mekong Sub regional Economic Cooperation) ตั้งแต่ปี 2532 โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) เช่น การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor: EC) ในปี 2541 ที่ประกอบด้วยแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก ตะวัน ตก (East West Economic Corridor: EWEC) ต่อมาได้จัดท�าความตกลง ว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขง (Cross Border Transportation Agreement: CBTA) ในปี 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม การขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุน และบริการ ในภูมิภาคโดยการเชื่อมโยงกลุ่มประเทศต่างๆ ด้วยโครงข่ายด้านคมนาคม การขนส่ง และการพลังงาน ล่าสุดในปี 2546 ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ได้จัดท�าปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) ภาย ใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ส่งผลให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ด้วยข้อได้เปรียบในแง่ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ อีสานจึงเป็นประตูกลุ่ม ประเทศลุ่มแม่น�้าโขงภายหลังยุคการเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ดัง หลักฐานการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยและเพื่อนบ้านที่สูงมาก ขึ้น เช่น การค้าชายแดนมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 79.3 โดยเฉพาะการ ค้าชายแดนด้านลาวมีสัดส่วนการค้าชายแดนสูงสุด รองลงมาได้แก่ พม่า กัมพูชา และ มาเลเซีย ตามล�าดับ (ข้อมูลในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


26

ปี 2553)4 นอกจากนี้ ผลจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ได้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ ข องการข้ า มไปมาของคนระหว่ า งไทย ลาว และ กัมพูชา เช่น การข้ามของคนไทยและคนต่างด้าวผ่านด่านช่องเม็กจังหวัด อุบลราชธานีที่มากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2543 ดังตารางข้างล่างนี้ ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลการเข้าออกของคน ณ ด่านช่องเม็ก อ�าเภอ สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เข้า

ออก

คนเข้าออก ปี

ไทย

ต่างด้าว รวม

ไทย

ต่างด้าว รวม

2543

23,749

34,444

58,193

30,749

29,720

60,469

2544

29,712

40,765

70,477

36,297

35,339

71,636

2545

33,609

46,552

80,161

38,220

37,853

76,073

2546

33,503

46,034

79,537

41,373

34,448

75,821

รวม

120,573 167,795 288,368 146,639 137,360 283,999 ที่มา: เว็บไซต์ด่านตรวจคนเข้าเมืองพิบูลมังสาหาร

ในทางภูมศิ าสตร์ เขตอีสานตอนล่างทีป่ ระกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี อ�านาจเจริญ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมานั้น ทุกจังหวัดที่ กล่าวมามีพรมแดนติดกับประเทศเพือ่ นบ้านคือประเทศกัมพูชาและประเทศ ลาว ยกเว้นจังหวัดนครราชสีมา จากหลักฐานทางโบราณคดีและสังคม วัฒนธรรมพบว่าคนในอีสานตอนล่างมีความสัมพันธ์กับลาวและกัมพูชา มายาวนานก่อนการเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ศรีศักร วัลลิโภดม (2540: 435-579) กล่าวว่า คนอีสานตอนล่างที่อาศัยในเขตลุ่มน�า้ มูลและชี มีประวัติศาสตร์ 4

www.dft.moc.go.th/the_files/$$59/level3/คช%202-53.pdf

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


27

ความเชื่อเรื่องการบูชาองค์พระศิวะและร่วมกันสร้างศาสนสถาน เช่น ปราสาทเขาพนมรุ้ ง ในเขตยอดภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์เ พื่อบูชาเทพ นอกจากนี้ยัง เป็ นกลุ่ ม คนที่มีค วามเชื่อเรื่องศาสนาพุทธร่ว มกันอีกด้ว ย ดังจะเห็นได้จากหลักฐานการปักเสมาหินที่กระจัดกระจายในเขตอีสาน ตอนล่างและส่วนอื่นๆ อีกทั้งพบร่องรอยหลักฐานช่องทางคมนาคมผ่าน เข้าออกของกลุ่มคนที่อาศัยในแถบนี้จากที่ราบสูงโคราชไปยังเมืองนคร หรือรัฐใกล้เคียงในที่ราบต�่ากัมพูชา การติดต่อสัมพันธ์ของผู้คนที่พบจาก หลักฐานทางโบราณคดีท�าให้เห็นว่าสังคมวัฒนธรรมอีสานตอนล่างและ ทีร่ าบลุม่ กัมพูชาไม่ได้แยกโดดเดีย่ วจากกันหากแต่เชือ่ มร้อยกันด้วยความเชือ่ ความศรัทธาเรื่องฮินดูและพุทธและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมสังคมและ ยังคงมีความสัมพันธ์ร่วมกันทางการปกครองและการค้าขายและประเพณี (เติม วิภาคพจนกิจ 2542) กลุ่มคนที่อาศัยในพื้นที่พรมแดนอีสานตอนล่างส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคน ไทยลาว และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ผสมผสานกัน เช่น กวย (ส่วย) บรู เยอ อิสลาม จีน และ กัมพูชา เป็นต้น กลุ่มคนเหล่านี้เป็นพลเมืองไทย แต่ยัง มีกลุ่มคนนับหมื่นที่อยู่ในสถานะคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่เข้ามาอยู่ในไทย ใน จังหวัดอุบลราชธานีในยุคลาวแตกซึ่งเป็นการหนีภัยทางการเมือง รวม ทั้งชาวลาวอื่นๆ ที่ข้ามพรมแดนมาท�างานที่จังหวัดอุบลราชธานี (จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ 2554) นอกจากนี้ ยังพบว่ามีแรงงานข้ามชาติจา� นวนมาก ที่เป็นชาวกัมพูชาเข้ามารับจ้างในฝั่งไทยในจังหวัดชายแดนและอีกจ�านวน มากไปท�างานที่กรุงเทพฯ และพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย (Vail 2554) หากมองย้อนอดีตจนปัจจุบันเรื่องความสัมพันธ์ข้ามชาติ แกรนท์ อีแวนส์ (2549) กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างอีสานและลาวด�าเนินผ่าน การปกครองและวัฒนธรรม เช่น จากเหตุการณ์ส�าคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยการก่อตั้งอาณาจักรจ�าปาศักดิ์และเมืองอุบลฯ ทั้งใน ยุคอาณาจักรโบราณ ยุคอาณานิคมสยาม ยุคอาณานิคมฝรั่งเศส เรื่อยมา จนถึงยุครัฐชาติ ซึ่งเป็นระยะที่กิจกรรมการค้าข้ามแดนเฟื่องฟูในทุกส่วน

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


28

ของโลก เราพบว่าเมืองอุบลราชธานีและจ�าปาสักมีปฏิสัมพันธ์กันมาตาม เงื่อนไขทางการเมืองการปกครองที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเมืองนี้ก็ยังคงเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่เกิดเมืองอุบลราชธานี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดนี้ส่งผลมาถึงปัจจุบัน ซึ่งหลักฐานการวิจัยที่ปรากฏในบทความที่น�าเสนอในหนังสือเล่มนี้พบว่า สอดคล้องกับการศึกษาดังกล่าวนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างคนอีสานตอนล่าง คนกัมพูชา และคนลาวยังคงปรากฏในปัจจุบนั เช่น อุบลราชธานีมปี ระเพณี วัฒนธรรมคล้ายกับคนลาวที่จ�าปาสัก มีการไปมาหาสู่กันและท�าบุญที่วัด ไทย ช่วงเทศกาลงานบุญเช่นปีใหม่และสงกรานต์ คนลาวเดินทางข้ามฝั่ง ไปมาระหว่างประเทศ ส�าหรับคนไทยเชื้อสายกัมพูชามีมากในสามจังหวัด อีสานตอนล่างคือ ศรีสะเกษ สุรินทร์และบุรีรัมย์ ยังคงมีการปฏิบัติตามแบบ วัฒนธรรมกัมพูชาและการไปมาหาสู่กันหรือแม้กระทั่งการแต่งงานระหว่าง คนไทยและคนกัมพูชายังคงมีหลงเหลืออยู่ (Vail 2554) ในแง่ความสัมพันธ์ทางการค้า อดิศร เสมแย้ม (2547) ได้วิเคราะห์รูป แบบการค้าชายแดนโดยยกตัวอย่างประเทศลาวว่า การค้าชายแดนไทย-ลาว ซึ่งครอบคลุมอุบลราชธานี-จ�าปาสัก หากพิจารณาลักษณะการค้าแล้วจะ เห็นได้ว่าเป็นพัฒนาการธุรกิจโดยธรรมชาติระหว่างประชาชนที่อาศัยอยู่ ตามแนวชายแดน ลักษณะร่วมของชายแดนไทย-ลาว ที่ไม่แตกต่างจาก ชายแดนด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นไทย-กัมพูชา ไทย-พม่า หรือไทย-มาเลเซีย ก็คือ “อ�านาจรัฐ”จาก “ส่วนกลาง” ที่ยังไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้อย่าง ทัว่ ถึง จนกระทัง่ เกิดการพัฒนาการทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะตัวขึน้ การค้าชายแดน ไทย-ลาว ในอดีตมีลักษณะการค้าที่เรียกว่า “การค้าประเพณี” ซึ่งตั้งอยู่บน ฐานของความสัมพันธ์ในรูปแบบเครือญาติ ดังนัน้ ไม่วา่ สถานการณ์ทางการ เมืองระหว่างประเทศทัง้ สองจะเปลีย่ นแปลงไปเพียงใด การค้าในลักษณะรูป แบบนี้ก็ยังคงด�ารงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าลาวได้เปลี่ยนแปลงทางการ เมืองไปเป็นระบบสังคมนิยม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง จะคงด�ารงการติดต่อกันเพียงแต่ช่องทางการฑูตที่เปิดไว้เท่านั้น กลับไม่

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


29

ได้ส่งผลกระทบกับการค้าชายแดนไทย-ลาวแต่อย่างใด อาจจะหยุดชะงัก ไปบ้างเมื่อเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งในความสัมพันธ์ไทย-ลาว (อดิศร เสมแย้ม 2547) ปัจจุบัน แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวจะดีในแง่ของการ ค้า แต่ในเชิงทัศนคติที่มีต่อกันกลับพบว่าคนลาวรู้สึกว่าคนไทยดูถูกเขา มากที่สุดกว่าชาติอื่นๆ ดังงานศึกษาจากรายงานการวิจัยเรื่อง “ความ สัมพันธ์ไทย-ลาว ในสายตาคนลาว” ซึ่งเป็นการศึกษาจ�านวนและระดับ ความรู้สึก (perception study) ของคนลาวที่มีต่อไทย โดย เขียน ธีระวิทย์, อดิศร เสมแย้ม และทานตะวัน มโนรมย์ ซึ่งแบ่งกลุ่มส�ารวจความคิดเห็น ชาวลาวออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ผู้นา� ระดับชาติ ผู้น�า 5 แขวง นักศึกษา ลาวในไทย และประชากรลาวที่ข้ามด่านมาฝั่งไทย 4 จุด รวมทั้งสิ้น 216 คน พบว่าคนลาวร้อยละ 61 เห็นว่าไทยเคยท�าสิ่งที่แสดงว่าเป็นมิตรที่ดีต่อ ลาว ผ่านการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาการ แต่เกินกว่าครึ่งก็เห็นว่าไทย เคยท�าสิ่งซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อลาว ประชากรลาวทุกกลุ่มก็เห็นพ้องต้องกัน ว่า โดยรวมแล้วไทยยังเป็นมิตรมากกว่าศัตรู ส่วนการส�ารวจเรื่องทัศนคติ การดูถูกคนจน โดยเปรียบเทียบกับชาติอื่นๆ แล้วเห็นว่าไทยเป็นประเทศ ที่ชอบดูถูกลาวมากที่สุด5 ส�าหรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชาและไทย พบว่า รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้พัฒนากรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อให้เป็น แผนแม่บทในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน มีการจัด ตั้งคณะท�างานเพื่อศึกษาศักยภาพทางเศรษฐกิจ6 และหลังจากที่กัมพูชา ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ขององค์กรการค้าโลกอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ท�าให้กัมพูชามีพันธกรณีที่ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนให้ ได้มาตรฐานสากล ซึ่งท�าให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าไปลงทุนใน 5

อ้างใน http://www.proton-club.net/forums/viewthread.php?tid=5089X

6

อ้างใน www.mfa.go.th/web/200.php%3Fid%3D423

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


30

กัมพูชาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีกลุ่มคนไทยเข้าไปลงทุนในกัมพูชามากขึ้นภาย หลังบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกับหอการค้ากัมพูชา7 ส่วนความสัมพันธ์ทางสังคมเศรษฐกิจระหว่างคนในจังหวัดอีสานตอน ล่าง ได้แก่ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษากัมพูชา กับประชาชนชาวกัมพูชาในจังหวัดชายแดนของกัมพูชาที่ติดกับสามจังหวัด ของไทย พบว่า พวกเขายังคงมีความสัมพันธ์กันตามวัฒนธรรมเดิมอยู่มาก เพียงแต่ล้มลุกคลุกคลานตามบริบทความขัดแย้งในประเด็นความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศเรือ่ งการปักปันเขตแดนและการปลุกกระแสชาตินยิ มระหว่าง รัฐทั้งสอง ดังที่ ธีระ นุชเปี่ยม (2549) วิเคราะห์ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับกัมพูชาถูกก�าหนดด้วยปัจจัยหลากหลายตัง้ แต่ภมู หิ ลังและประสบการณ์ จากอดีต สภาพการเมืองภายในของแต่ละประเทศ ตลอดจนถึงบรรยากาศ ของการเมืองระหว่างประเทศทั้งในภูมิภาค เมื่อปลอดจากความขัดแย้งของ มหาอ�านาจในสงครามเย็น บรรยากาศระหว่างประเทศก็เปลี่ยนไปในทาง เสริมสร้างมากกว่าจะเป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ แต่ทัศนคติและความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อกัน อันเป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝัง หรือหล่อหลอมสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนานท�าให้ประชาชนมีอคติต่อกัน การทีช่ าวกัมพูชารับรูเ้ รือ่ งราวความยิง่ ใหญ่ในอดีตก็ยงิ่ ช่วยหล่อหลอมความ รู้สึกชาตินิยมรุนแรงซึ่งแสดงออกมาในช่วงสมัยต่างๆ ซึ่งผู้น�าแต่ละยุคสมัย ต่างก็ใช้ความรู้สึกชาตินิยมที่รุนแรงแบบนี้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองใน ขณะที่ไทยเองก็มียังคงส�านึกของความเหนือกว่าเพื่อนบ้านเอาไว้ ดังนั้น ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาจึงมีลักษณะเดี๋ยว ดีเดี๋ยวร้ายเมื่อเปรียบเทียบกันความขัดแย้งระหว่างไทยและลาว ปมความ ขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาทีเ่ ด่นชัดมากทีส่ ดุ คือการขัดแย้งกรณีสงคราม แย่งปราสาทหินเขาพระวิหารที่มีที่ตั้งคาบเกี่ยวของสองจังหวัดคือจังหวัด 7

อ้างใน http://www.dft.moc.go.th/the_files/$$9/level4/kumpucha2.html

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


31

พระวิหารของกัมพูชาและจังหวัดศรีสะเกษของประเทศไทย อันน�ามาสู่ ความบาดหมางทางการเมืองระหว่างประเทศและสั่นคลอนความสัมพันธ์ ระหว่างสองประเทศเสมอ นับแต่ปี 2500 เป็นต้นมา8 รวมทั้งอุบัติการณ์เรื่อง นครวัดที่ส่งผลต่อการเผาสถานทูตในปี 2546 ทั้งสองกรณีความขัดแย้ง ระหว่างประเทศได้ส่งผลในทางปฏิบัติต่อคนสามัญธรรมดาที่อาศัยอยู่ บนพรมแดนในจังหวัดอีสานตอนล่างโดยเฉพาะในพื้นที่พรมแดนที่มีข้อ พิพาทระหว่างประเทศคือจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งความขัดแย้งเรื่องปราสาท เขาพระวิหารท�าให้พรมแดนระหว่างประเทศอื่นๆในเขตอีสานล่างได้รับผล กระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอย่างเลี่ยงไม่พ้น ซึ่งผลของความ ขัดแย้งระดับประเทศท�าให้การค้าระหว่างไทยกับกัมพูชามีปริมาณขึน้ ๆ ลงๆ ตามสถานการณ์ความขัดแย้งดังตารางข้างล่างนี้ ตารางที่ 2 สถิติการค้า ณ ด่านศุลกากรช่องจอม จ. สุรินทร์ (25512553) ด่านศุลกากรช่อง จอม จังหวัดสุรินทร์ มูลค่ารวม (บาท) ส่งออก น�าเข้า ดุลการค้า

2551

2552

2553

2,188.99 2,155.15 33.84 2,121.32

1,673.47 1,648.75 24.72 1,624.04

1,611.70 1,600.27 11.43 1,588.84

ที่มา: www.surin.go.th/surin/11.htm

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในบางขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นไป แบบลุ่มๆ ดอนๆ คนในพื้นที่พรมแดนทั้งสองชาติยังคงด�าเนินชีวิตค้าขาย ตามปกติ ดังที่หัวหน้าด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เปิดเผยว่า การ ค้าขายชายแดนไทย-กัมพูชาผ่านด่านชายแดนถาวรช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ และด่านผ่านแดนถาวรช่องสะง�า อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ในเขต 8

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ใน http://www.charnvitkasetsiri.com/ch1NationHistForYo.doc

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


32

พื้นที่รับผิดชอบของด่านศุลกากรช่องจอมยังคงเป็นไปตามปกติ แม้จะมี สถานการณ์ความขัดแย้งกรณีเขาพระวิหาร ระหว่าง 2 ประเทศ เกิดขึน้ ก็ตาม ทั้งนี้นักธุรกิจพ่อค้า ประชาชนชาวกัมพูชา ใน จ.อุดรมีชัย จ.พระวิหาร และ จ.เสียมราฐ ซึง่ เป็นจังหวัดชายแดนติดกับไทยด้าน จ.สุรนิ ทร์ และ จ.ศรีสะเกษ ได้ซื้อสินค้าไทยเข้าไปจ�าหน่ายให้แก่ประชาชนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภค บริโภค เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ไก่สด ผัก ผลไม้ น�้าตาล น�้าพริก น�้าปลา และ ของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น9 2) ชายแดน พรมแดน รัฐชาติ และ หลังรัฐชาติ ชายแดน (Border) พรมแดน (Boundaries) รัฐชาติ (Nation state) และ หลังรัฐชาติ (Post nation state) มักถูกตีความหมายและอธิบายภายใต้ ข้อถกเถียงในเรื่อง ความสัมพันธ์ข้ามชาติในบริบทการค้าเสรีนิยม ความ มั่นคง และอ�านาจอธิปไตยของรัฐเหนือดินแดน Berg and Houtum (2003) อธิบายว่า “ชายแดน” มักถูกอ้างและถูกสร้างโดยรัฐในฐานะที่รัฐชาติยัง เป็นผู้แสดงส�าคัญในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอยู่ ดังนั้น รัฐจึง น�าแนวคิดชายแดนมาถกเถียงในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ใน ฐานะที่เป็นพื้นที่ความมั่นคง (the security border) โดยใช้เส้นเขตแดนตาม หลักกฎหมายระหว่างประเทศ ท�าหน้าที่กั้นประเทศหนึ่งออกจากประเทศ หนึ่ง ป้องกันและอนุญาตให้ก้าวผ่านหรือไม่ให้ผ่าน ควบคุม อนุญาต หรือ อ�านวยการเคลื่อนย้ายของผู้คนและสินค้า Berg and Houtum (2003) แบ่งรูปแบบของชายแดนออกเป็น 4 แบบ คือ 1) ชายแดนในฐานะพื้นที่ของความเป็นศัตรูกัน (alienated borders) โดยเมื่อ เกิดปัญหาระหว่างประเทศชายแดนจะท�าหน้าทีป่ ดิ กัน้ แบ่งแยกทุกอย่างออก จากกัน ซึ่งมีแนวโน้มสู่การใช้ก�าลังทางทหารและอื่นๆ 2) ชายแดนในรูป แบบที่มีการด�ารงอยู่ร่วมกัน (co-existent borderlands) จากการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่ า งกั น แต่ อ าจไม่ มี เ สถี ย รภาพมากนั ก ปรั บ เปลี่ ย นไปได้ ต ามบริ บ ท 3) ชายแดนในฐานะทีเ่ ป็นแหล่งพึง่ พาอาศัยกัน (interdependent borderlands) 9

ใน ttp://www.easytimesradio.com/index.php?option

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


33

ที่คนในพื้นที่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมั่นคงต่อกันตลอดเวลาท�าให้เกิด เครือข่ายทางเศรษฐกิจและสังคมขึ้น และ 4) ชายแดนในฐานะพื้นที่ของ การบูรณาการเข้าหากัน (integrated borderlands) เป็นพื้นที่มีเสถียรภาพ สูงมาก คนมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงและถาวร รัฐสองรัฐมีการบูรณาการทาง เศรษฐกิจและสังคมสูง คนทั้งสองรัฐเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวก ส�าหรับ “พรมแดน” (Boundaries) ถูกนิยามและตีความใหม่ๆ เสมอ โดยกลุ่มคนต่างๆ เนื่องจากพรมแดนที่ยึดแนวคิดรัฐชาติได้ถูกท้าทายอย่าง มากในยุคการข้ามชาติที่ผู้คนและวัฒนธรรมมีการเคลื่อนที่และเลื่อนไหลไป มาอย่างกว้างขวางไร้ซึ่งขอบเขตและเป็นพื้นที่ที่สามารถทะลุผ่านได้ง่ายขึ้น ในยุคเสรีนิยม (ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี 2545: 3-4) นอกจากนี้ Wilson และ Donnan (1998: 1-30) กล่าวว่า พรมแดนระหว่างประเทศมีความหมาย ที่ส�าคัญมากกว่าเรื่องความมั่นคงหรืออธิปไตยเนื่องจากเป็นพื้นที่สะท้อน ความหลากหลายทางอัตลักษณ์ของผู้คน ที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ทาง สังคมผ่านทางการค้าขาย พิธีกรรม ประเพณี ประสบการณ์ในชีวิตประจ�า วัน การติดต่อแลกเปลี่ยนกับคนที่อยู่อีกฟากของเส้นพรมแดน นอกจากนี้ ชายแดนยังเป็นพืน้ ทีข่ องการประลองอ�านาจและต่อรองระหว่างกลุม่ คนต่างๆ ภายในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ ระหว่างท้องถิ่นกับรัฐชาติและระหว่าง ประเทศ และระหว่างท้องถิ่น รัฐ และโลกาภิวัตน์ ส่วนยศ สันตสมบัติ (2551: 67) กล่าวถึงพรมแดนในฐานะทีม่ คี วามลืน่ ไหลและปรับเปลีย่ นไปตามบริบท ต่างๆ ซึ่งตอกย�้าความเห็นของนักวิชาการสองท่านแรกว่า “พรมแดนของรัฐชาติจึงปรับเปลี่ยนไปตามอิทธิพลทางการค้า การสร้างเขตการค้าเสรี และกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่เริ่มท�าให้ พรมแดนลดความส�าคัญลง ความเป็นเมืองชายแดนทางการค้า เริ่มมีความส�าคัญในการก�าหนดพรมแดนรัฐชาติเพิ่มขึ้น” (ยศ สันตสมบัติ 2551: 80) นอกจากนี้ พรมแดนยังถูกตีความหมายและท้าทายจากมุมมองเรื่อง

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


34

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมอีกด้วย ทั้งนี้ Kearney (1998) อุปมาว่า พรมแดนเป็นพื้นที่ที่แสดงภาพลักษณ์ของพหุวัฒนธรรมที่วัฒนธรรมหลาก หลายแบบที่ด�ารงอยู่ร่วมกัน ปรับเปลี่ยนลื่นไหลไปมาอยู่ตลอดเวลา ทั้ง กลมกลืน ขัดแย้งหลายระดับ ขึ้นอยู่กับเพศ การเมือง เชื้อชาติ สังคม และ จิตวิทยา ทัง้ นีม้ าจากการเคลือ่ นทีไ่ ปมาอย่างรวดเร็วของทุน ผูค้ น สินค้า และ วัฒนธรรมจากกระบวนการโลกาภิวัตน์ และพรมแดนต่างมีประวัติศาสตร์ เฉพาะแบบหนึง่ ทีแ่ ตกต่างจากพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ เช่นทีป่ รากฏในงานศึกษาพรมแดน ในมิติคนพลัดถิ่น ส่วนในมุมมองของปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (2545) ได้สะท้อนความ หมายของพรมแดนจากมุมมองของคนในพืน้ ทีโ่ ดยอธิบายว่า พรมแดนเปรียบ เสมือนบทจารึกทางประวัตศิ าสตร์การเคลือ่ นไหวของผูค้ นทีข่ า้ มเส้นแบ่งของ ความเป็นรัฐชาติ พรมแดนเป็นพืน้ ทีข่ องปฏิสมั พันธ์และความคิดของผูค้ นใน พรมแดนหรือชายแดนทีไ่ ม่ใช่ชนชัน้ ปกครอง แต่รฐั เป็นผูก้ า� หนดความเป็นไป และสร้างความแตกต่างของคนในแต่ละพื้นที่โดยการเข้าไปจัดระเบียบและ สร้างกฎเกณฑ์เพื่อแบ่งพื้นที่ให้ชัดเจนแน่นอน พรมแดนเป็นปัจจัยส�าคัญ หนึ่งที่รัฐน�าไปใช้เป็นเครื่องมือสร้างความเหมือนและความแตกต่างให้กับ “คน” ในฐานะที่เป็นประชากรของรัฐอันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของรัฐชาติ แนวคิดนี้ส่งผลต่อการด�ารงอยู่ของคนในพรมแดน ก�าหนด แบ่งแยก กีดกัน ขัดขวางคนนอกออกจากคนในชาติ พรมแดนถูกใช้เป็นเครื่องมือให้คนนอก “กลายเป็นอื่น” ในรัฐใดรัฐหนึ่งไป Brunet-Jailly (2005) กล่ า วว่ า พรมแดนคื อ พื้ น ที่ ข องอิ ท ธิ พ ลและ ปรากฏการณ์ ท างเศรษฐกิ จ การค้ า และการตลาดที่ ส ่ ง ผลให้ เ กิ ด ผลกระทบต่อชายแดนทั้งต่อรัฐและประชาชนในพื้นที่ เช่น การตอบสนอง ของรัฐต่อการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ ที่ท�าให้รัฐก�าหนดแนวนโยบายในชายแดนค่อนข้างชัดเจนเพื่อควบคุมต่างๆ เช่น ควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจชายแดนที่มาจากการย้ายถิ่น ของแรงงาน การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สังคม และอัตลักษณ์ของ ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


35

ผู้คนในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทาง เศรษฐกิจและการค้า ขณะเดียวกัน ชายแดนคือพื้นที่การจัดการและก�ากับ ของของรัฐซึง่ เป็นการมองพืน้ ทีช่ ายแดนจากบนสูล่ า่ งโดยชีใ้ ห้เห็นว่ารัฐแต่ละ ระดับมีอ�านาจในการจัดการและด�าเนินการเชิงนโยบายและปฏิบัติในพื้นที่ ชายแดน ขณะเดียวกันก็มองถึงอิทธิพลของรัฐแต่ละรัฐในการก�าหนดนโยบาย ของตนในพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นการมองเห็นบทบาทของชายแดนในแนวราบ ผ่านบทบาทของรัฐแต่ละรัฐในพื้นที่ชายแดนร่วมกัน การตี ค วามหมายพรมแดนของคนในพื้ น ที่ มี ค วามแตกต่ า งไปจาก รัฐ เนื่องจากผู้คนในพื้นที่พรมแดนมีการแสดงออกทางอ�านาจหรือแสดง ตัวตนทางการเมืองในการต่อรอง ต่อต้าน หรือตอบโต้กับรัฐผ่านการใช้ สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ความเป็นชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ ภาษาหรือ ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมเช่นระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มโอกาส ในการสร้างตัวตนหรืออิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจในการก�าหนด แนวทางในการพัฒนาหรือจัดการพื้นที่ชายแดนให้สอดคล้องและตอบสนอง ต่อชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งในบทความเรื่อง “We are the border” ของ Flynn (1997 อ้างใน จักรกริช สังขมณี 2551) กล่าวว่าคนที่อยู่ในพื้นที่พรมแดน ต้องการจะสื่อสารกับคนอื่นๆ ว่า พวกเขามีรากเหง้าทางวัฒนธรรมและ ความเป็นตัวตนที่แอบอิงอย่างใกล้ชิดกับพื้นที่ถิ่นฐานเดิมค่อนข้างแนบ แน่น (Deep placement) มีการสร้างสะสมวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันมา ยาวนาน ไม่ใช่คนที่มาจากหลายพ่อพันธุ์แม่หรือมาจากหลายทิศหลายทาง ไร้อาณาเขต(Deteritorialization) หรือ คนพลัดถิ่น (Displacement) เมื่อเชื่อมโยงแนวคิดชายแดนและพรมแดนกับเสรีนิยมและโลกาภิวัตน์ Appadurai (2000) วิเคราะห์ว่าการเลื่อนไหลและการเคลื่อนย้ายของคน เงิน สื่อ เทคโนโลยี และความคิด ข้ามอาณาบริเวณที่โลกเป็นคุณลักษณะใหม่ และเฉพาะของสังคมสมัยใหม่ในยุคที่โลกไร้พรมแดนและเส้นแบ่งระหว่าง ความเป็นท้องถิ่น ชาติ และโลก กลายเป็นสิ่งที่ขาดความชัดเจนลงไปเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านั้น Appadurai (1995: 212-220) ได้วิเคราะห์ความเป็นท้องถิ่น

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


36

(Localization) ที่เชื่อมโยงกับการข้ามชาติ (Tran-locality) โดยวิเคราะห์ว่า ผู้คน มักจะติดยึดกับจิตส�านึกความเป็นท้องถิ่นเชิงวัฒนธรรมสังคมมากกว่าการ ติดยึดหรือผูกพันกับท้องถิ่นเชิงพื้นที่ (Spatial) ภูมิศาสตร์ เครือข่ายสังคม วัฒ นธรรมและจิ ต ส� า นึ ก ท้ อ งถิ่ น มั ก ก�า หนดความเป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ข องคน อย่างไรก็ตาม เมื่อท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์จากกระบวนการ เคลือ่ นย้ายของผูค้ น (Human movement) ข้ามพืน้ ทีใ่ นรูปแบบต่างๆ เนือ่ งจาก เหตุผลต่างๆ เช่น การดึงดูดของภาคอุตสาหกรรม การเพิ่มความช�านาญ เฉพาะทาง หรือ การหนีพ้นความแห้งแล้งหรือทุรกันดารในถิ่นเดิม ดังนั้น ในยุคโลกาภิวตั น์ ท้องถิน่ จะต้องเผชิญกับความยุง่ ยาก หรือความไม่แน่นอน ตายตัวต่างๆ ที่เข้ามาก�ากับความเป็นท้องถิ่นมากขึ้น เช่น อ�านาจที่เหนือ กว่าของรัฐชาติหรือระบบตลาดเสรี อ�านาจของสือ่ สารสมัยใหม่ กระบวนการ ต่างๆ เหล่านีต้ ่างเป็นปัจจัยส�าคัญในการสร้างตัวตนในการต่อรองความเป็น ท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ความหมายของพรมแดนยังได้ปรับเปลี่ยนตามบริบททาง ประวัติศาสตร์และบรรยากาศการเมือง เช่น ในยุคการขยายอ�านาจของชาติ ตะวันตกในภูมิภาคเอเชีย ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยรัฐในลุ่มน�า้ โขงได้ รับแนวคิดรัฐชาติ (Nation State) จากการเข้ามาล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส และอังกฤษ ท�าให้หลายอาณาจักรในภูมิภาคลุ่มน�้าโขง ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรัง่ เศส ส่วนพม่าตกเป็นอาณานิคม ของอังกฤษ กลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากเจ้าอาณานิคมเรื่องรัฐ ชาติที่นิยามว่า รัฐชาติคือพื้นที่ที่ประกอบด้วย เขตแดน ประชากร อ�านาจ อธิปไตย และรัฐบาล (Anderson 2006) จากที่กล่าวมาข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า พรมแดนถูกอธิบายและตีความ หมายจากกลุ่มคนต่างๆ แตกต่างกันและปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของ เวลา การเมือง วัฒนธรรมท้องถิ่นในพื้นที่ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลประโยชน์ เช่นที่ Leach (1960) กล่าวว่าเส้นพรมแดนที่ถูกลากขึ้น เพื่อสร้างความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ในประเทศเอเชียยุคศตวรรษที่ 19 นั้น ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


37

แท้ที่จริงแล้วเกิดจากการต่อรองและประสานผลประโยชน์ทางการค้าและ ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าเรือ่ งการควบคุมพรมแดนหรือชายแดน ประเทศ ตะวันตกปล่อยให้มีการเคลื่อนย้ายของผู้คนไปตามที่เคยมีมา ซึ่งต่อมา Solomon (1970 อ้างถึงใน จักรกริช สังขมณี 2551) วิเคราะห์เพิ่มเติมเรื่อง การมองพรมแดนทีแ่ ตกต่างกันระหว่างชาติตะวันตกและชาติตะวันออก ชาติ ตะวันออกมองพรมแดนในมิติของสังคมไม่ใช่มิติด้านกายภาพ เพราะคน ตะวันออกมองเห็นพรมแดนในฐานะที่เป็นพื้นที่ของการติดต่อแลกเปลี่ยน (Zone of contact) หรือพื้นที่ที่มีการรบพุ่งท�าสงครามระหว่างกลุ่มอ�านาจ หรือเมืองต่างๆ อยู่เสมอ เขาชี้ว่า ชาติตะวันตกที่เข้ามาล่าอาณานิคมไม่ ได้สนใจเรื่องการสร้างชาติหรือความเป็นพรมแดนชาติแต่อย่างใด พวกเขา สนใจในทรัพยากรและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่าการควบคุมผู้คน เจ้าอาณานิคมปล่อยให้คนในท้องถิ่นที่อยู่ในรัฐหรือประเทศต่างๆ เดินทาง ติดต่อหรือเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อการค้าหรืออื่นๆ เหมือนที่เคยเป็นมาแต่เดิม ส�าหรับประเทศไทย พรมแดนถูกก�าหนดด้วยเงื่อนไขบางอย่างที่ส�าคัญ เพื่อการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ที่ตั้งบนฐานของความมั่นคง การสร้างประเทศ การเป็นหนึ่งเดียวของประเทศ ความจงรักภักดีต่อสถาบัน อุดมการณ์ ชาตินิยม และก�ากับด้วยแผนที่ รวมทั้งผลประโยชน์ทางการค้าระหว่าง ประเทศ สมเกียรติ วันทะนะ (2530) น�าเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพรมแดนจาก มุมมองกลุ่มชนชั้นน�าสยามที่มีสองกลุ่มได้แก่กลุ่มชนชั้นสูงในยุครัชกาลที่ 5 ในยุคนี้ แนวคิดเรื่องชาติมีความหมายในเชิงการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก โดยมีลักษณะทางสังคมบางอย่างร่วมกัน เช่น พูดภาษาสยามและอาศัย อยู่ในดินแดนของสยาม ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนให้ค�าว่าชาติมีความหมาย เทียบเท่ากับการภักดีต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งเท่ากับการภักดีต่อชาติ ส่วน กลุ่มที่สอง ได้แก่ กลุ่มเจ้านาย ขุนนางและข้าราชการรวมทั้งกลุ่มผู้ก่อการ เปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 ให้ความหมายของชาติกว้างขึ้นว่า ชาติมีความหมายเท่ากับบ้านเมืองซึ่งเจ้าของชาติหมายถึงชาวสยามหรือ คนไทยทั้งมวล ซึ่งงานนี้ละเลยการตั้งค�าถามกับค�านิยามความหมายของ

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


38

ชาติและขาดมุมมองประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ ในงานเลื่องชื่อเรื่อง “Siam Mapped: A History of the Geo-Body of a Nation” ธงชัย วินิจจะกุล (1994) ชี้ว่ารัฐชาติของไทยถูกสร้างจากเทคโนโลยี ด้านภูมิศาสตร์แผนที่สมัยใหม่จากประเทศเจ้าอาณานิคมที่มาจากปัจจัย เรื่องการข้ามพรมแดน เดิมภูมิศาสตร์พรมแดนของสยามเกิดจากการมี มโนทัศน์เกี่ยวกับภูมิจักรวาลอันศักดิ์สิทธิ์ สยามก่อนรัชกาลที่ 5 เป็นรัฐที่ ไม่มีพรมแดนทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจนแต่อย่างใด คนในและนอกรัฐสยามมี การไปมาหาสู่กันโดยมิได้คา� นึงถึงอ�านาจอธิปไตย รัฐอื่นๆ มีอา� นาจทับซ้อน กันไปมา หรือมีความจงรักภักดีกบั หลายรัฐได้ หรือดินแดนห่างไกลจากเมือง หลวงสามารถถูกยกให้เป็นบรรณาการกับรัฐอื่นๆ ได้ แต่รัฐชาติที่ถูกสร้าง และปลูกฝังด้วยอุดมการณ์ความรักความหวงแหนในชาติทตี่ นสังกัดเนือ่ งจาก เชื่อมโยงกับการมีประวัติศาสตร์ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมเดียวกัน น�า มาสู่การปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติแบบคลั่งไคล้ โดยกระท�าผ่านต�าราเรียน และสื่อต่างๆ (สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ 2552) นอกจากนี้ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ10 เห็นว่าการสร้างรัฐชาติ (nation states) ในอุษาคเนย์/เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้/อาเซียน (Southeast Asia-Asean) เกิดขึ้นโดยมิได้ค�านึงว่า ดินแดนนี้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (เชื้อชาติ race/ethnic) ทางภาษาและทางวัฒนธรรมหรือการมีวัฒนธรรมแบบ “พหุลักษณ์” (Plural identities) มากกว่าความเป็น “หนึ่งเดียว” ท�าให้ประวัติศาสตร์การสร้างรัฐ ชาติในกลุ่มประเทศเหล่านี้มีลักษณะ “ประวัติศาสตร์บกพร่อง” ซึ่งปัญหา ใหญ่ในความรับรู้ ในมโนคติ ในทัศนคติของคนในสังคมเพราะสร้างความ เข้มแข็งเรื่อง “ลัทธิชาตินิยม” หรือ nationalism ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับ “รัฐชาติ-รัฐประชาชาติ” โดย ลัทธิชาตินิยมได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือส�าคัญ ของ “ผู้ปกครอง” ในการจัดการผู้คน พื้นที่และเส้นพรมแดนอาณาเขต ของอ�านาจอธิปไตย ดังนั้น พรมแดนที่ถูกก�าหนดขึ้นโดยรัฐชาติสมัยใหม่และโอบอุ้มโดย 10

http://www.charnvitkasetsiri.com/ch1NationHistForYo.doc

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


39

กระแสลัทธิชาตินิยมดังที่อธิบายมาข้างต้นส่งผลต่อการให้ความหมายต่อ พรมแดนของคนกลุ่มต่างๆ และสร้างอคติทางชาติพันธุ์และความเป็นอื่น ให้แก่กลุ่มคนต่างๆ ที่ไม่ได้สังกัดเชื้อชาติเดียวกัน (เชื้อชาติไทย) อย่าง ต่อเนื่องผ่านสถาบันการศึกษา สื่อ เวทีต่างๆ และวาทกรรมการพัฒนา ของรัฐ (นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2538) ตัวอย่างสื่อแบบเรียนของไทยระดับ ประถมศึกษาเกี่ยวกับเพื่อนบ้านกัมพูชาที่ ธิบดี บัวค�าศรี (2552: 183-184) วิเ คราะห์ ว่ า บรรจุแนวคิด ชาตินิยมและอคติที่คนไทยมีต่อชาวกัมพูชา มาอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งเติมแต่งอีกเรื่อยๆ เช่น กล่าวว่าขอมไม่ใช่กัมพูชา อันเป็นการชี้ว่ากัมพูชาไม่มีอารยธรรมสูงส่งเท่าขอมที่สร้างปราสาทหิน อันยิ่งใหญ่ได้ หรือการกล่าวซ�้าถึง 4 เรื่อง ว่าด้วยความพ่ายแพ้ของกัมพูชา ในประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ “การตีกัมพูชาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง, การตีกัมพูชาในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชสามพระยา, การตี กัมพูชาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรและบทบาทของราชส�านักกรุงเทพฯ และ การเขียนภาพจิตรกรรมตอนพระนเรศวรท�าพิธีปฐมกรรมพระยาละแวกที่ พระวิหารวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเด็นเกีย่ วกับพรมแดนทีส่ �าคัญอีกประเด็นหนึง่ จากบทความเรือ่ ง “In the Shadow of Preach Vihear: Notes from the Thai-Cambodia Border” Vail (2554) สะท้อนความหมาย พรมแดนและรัฐชาติที่เปลี่ยนไปตามบริบท ความสัมพันธ์ข้ามชาติ ทั้งจากมุมมองของรัฐชาติและจากมุมมองของคน กัมพูชา และคนไทยเชือ้ สายกัมพูชาทีอ่ าศัยในรอยตะเข็บชายแดนศรีสะเกษ และสุรินทร์ งานของ Vail พบว่า ก่อนและหลังการสร้างรัฐชาติจนกระทั่งถึง กรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารในต้นทศวรรษ 2500 พื้นที่พรมแดนและชาย แดนไม่มีความหมายทั้งจากมุมมองของรัฐ คนไทย และคนกัมพูชาที่อาศัย ในพืน้ ทีพ่ รมแดน พืน้ ทีด่ งั กล่าวเป็นพืน้ ทีข่ องการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมร่วมกันของคนไทยและคนกัมพูชาใน ท้องถิ่น รัฐเพียงแต่ควบคุมพื้นที่ดังกล่าวอย่างหลวมๆ เอื้อให้ชาวกัมพูชา สามารถท�ามาหากิน เก็บหาของป่าจากเทือกเขาพนมดงเร็ก ข้ามมาท�านา

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


40

ท�าไร่ หรือ มีการซื้อขายที่ดินระหว่างคนไทยและคนกัมพูชาได้สะดวก มี การค้าขายเล็กๆ น้อยๆ มีการแต่งงานข้ามชาติและพึ่งพาอาศัยกันใน พื้นที่ สงครามการแย่งชิงเขาพระวิหารตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2550 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นจุดหักเหส�าคัญที่ท�าให้ความหมายของชายแดน/พรมแดน เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในสายตาของคนกัมพูชาในพื้นที่ชายแดน/ พรมแดน Vail ได้วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและไทยแบบรักชัง (Hate love) มาโดยตลอด การแสดงออกดังกล่าวผ่านภาษาที่ชาวกัมพูชา เรียกคนไทย เช่น ค�าว่า ‘เสียม’ (Siem) หรือ สยาม (Siam) เป็นค�าที่คน กัมพูชาเรียกคนไทยในความหมายเชิงลบ นอกจากนี้ ยังมีการขัดแย้งกรณี ปราสาทศิลาชาตินิยม (Stone temple nationalism) ที่กลายเป็นเครื่องมือของ ความเป็นชาตินิยม กรณีเขาพระวิหารนับตั้งแต่ศาลโลกตัดสินปี 2504 และ กรณีเผาสถานทูตไทยของคนกัมพูชาอันเนื่องมาจากกรณีของนครวัดในปี 2546 คนกัมพูชารับรู้เกี่ยวกับอดีตอันยิ่งใหญ่ของตนจากอาณาจักรอังกอร์ อันรุ่งเรืองและกว้างใหญ่ไพศาล การรับรู้ดังกล่าวได้หล่อหลอมความรู้สึก ชาตินิยมรุนแรงและแสดงออกต่อคนไทยและน�ามาสู่ความรุนแรงเช่นการ เผาสถานทูตไทยในปี 2546 ท�าให้การขัดแย้งกรณีปราสาทศิลากลายเป็น ความอ่อนไหวของชาวกัมพูชาในประเด็นเกี่ยวกับเชื้อชาติ ดินแดน และสิ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์ส�าคัญของชาติอย่างนครวัด การที่กัมพูชาใช้วาทกรรมคลั่ง ชาติ (Jingoistic discourses) เป็นเครื่องมือให้คนทั่วโลกเห็นคนไทยในสายตา กัมพูชาผ่านกิจกรรมท่องเที่ยว เช่น ไกด์นา� เที่ยวพูดเรื่องชาวเสียมที่อยู่ใน ภาพสลักในปราสาทนครวัดโดยเรียกว่าเสียมกุกซึง่ เป็นทหารชายก็จริงแต่ใส่ กระโปรง มีต่างหู มีเครา ซึ่งความขี้เหร่ของคนเหล่านี้ ไกด์นา� เที่ยวเรียกว่า คนไทยหรือพวกเสียมหรือ lady-boy เหมือนในกรุงเทพฯ ซึ่งสร้างความเป็น ‘พวกต่างวัฒนธรรม’ (Cultural other) ในเชิงดูถูกให้แก่คนไทย ดังนั้น มุมมองของรัฐทั้งไทยและกัมพูชาที่มีต่อชายแดน/พรมแดนจึง กลายเป็นเส้นแบ่ง เครื่องผลักไสความเป็นอื่นระหว่างกัน ในขณะที่กระแส ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


41

และปฏิบตั กิ ารชาตินยิ ม (Nationalism) ทีส่ ร้างจากรัฐไทยและจากกลุ่มชนชัน้ กลางคนไทยนอกพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา (กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยหรือกลุ่มเสื้อเหลือง) กลับไม่ได้รับการยอมรับจากคนไทย เชื้อสายกัมพูชาที่อาศัยในพื้นที่รอบๆ เขาพระวิหาร แต่การสร้างแนวคิด ชาตินยิ มกรณีใช้เขาพระวิหารเป็นเครือ่ งมือได้ท�าให้ความหมายของชายแดน เส้นเขตแดน และพื้นที่พรมแดนมีความชัดเจนขึ้น เช่น การปิดด่านและการ ปิดทางขึ้นเขาพระวิหาร ซึ่งสร้างความล�าบากให้กับคนท้องถิ่นเพราะส่ง ผลกระทบต่อการค้าชายแดนและความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในพื้นที่ ซึ่งหมายถึงคนกัมพูชาที่อาศัยในรอยตะเข็บชายแดนและคนไทยเชื้อสาย กัมพูชา รวมทั้งคนนอกพื้นที่ที่มาท�าการค้าชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ ใน พื้นที่เขาพระวิหารด้วย คนกัมพูชาและคนไทยเชื้อสายกัมพูชาต้องประสบความยุ่งยากมากขึ้น เพราะถูกคนไทยดูถกู ว่ามีฐานะต�า่ ต้อย ไร้การศึกษา คนไทยทีแ่ ต่งกับผู้หญิง กัมพูชาจ่ายค่าสินสอดถูกกว่าผู้หญิงไทยอีสานทั่วไป ผู้หญิงชาวกัมพูชา บางคนที่แต่งงานกับชายไทยในพื้นที่ถูกกดขี่มากขึ้นจากสามีไทยเพราะ มักถูกขู่ว่าจะส่งกลับกัมพูชาหากท�าตัวไม่ดี ผู้ชายกัมพูชาบางคนที่แม้ว่า จะมีความสามารถ เช่น ช่างไม้ฝีมือดีแต่พวกเขาไม่มีสิทธิเป็นหัวหน้าคุม ลูกน้องชาวไทย ในแง่การตลาด คนไทยส่งสินค้าออกมากแต่น�าเข้ามาน้อย ส่งผลกระทบต่อคนและดุลการค้าชายแดนมาก ข้อตกลงระหว่างเมือง อุดรเมียนเจยของกัมพูชากับอ�าเภอกาบเชิง จังหวัดสุรนิ ทร์ เรือ่ งการอนุญาต ให้ ค นงานกั ม พู ช ามาท�า งานรั บ จ้ า งท�า นาและตั ด อ้ อ ยแบบเช้ า เย็ น กลั บ ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบเรื่องการค้าไม้ การเข้าไปเก็บ หาของป่าด้วย อย่างไรก็ตามชาวบ้านไทยและชาวกัมพูชายังคงด�าเนินชีวติ ไปตามปกติ ไม่ได้ด�าเนินชีวิตตามรัฐก�าหนดและไม่ได้กังวลต่อความขัดแย้งระหว่างรัฐ ต่อรัฐมากนัก พวกเขายังมีการแต่งงานข้ามพรมแดนอยู่บ้าง มีการไปมา หาสู่กัน มีการช่วยเหลือกันมิตรสหายผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชา การเข้าไปหาของ

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


42

ป่า การมานมัสการวัดทางฝั่งไทยของคนกัมพูชา ซึ่งเป็นการรักษาความ สัมพันธ์ฉันมิตรกันอยู่ ซึ่งสะท้อนว่ารัฐให้ความสนใจความเข้มแข็งของรัฐ มากกว่าที่จะมาสนใจการจัดการก�ากับควบคุมวิถีชีวิตประจ�าวันของผู้คน ในพื้นที่พรมแดน คนไทยแขมร์ที่อยู่ชายแดนเชิงปราสาทเขาพระวิหารได้ สร้างอัตลักษณ์ว่าเป็นคนไทยเพื่อไม่ให้ถูกแบ่งแยกและสร้างความเกลียด ชังและใช้อัตลักษณ์ของความเป็นคนไทยเป็นเกราะก�าบังลัทธิคลั่งชาติของ กลุ่มคนไทยหัวรุนแรง Vail สรุปว่า นิยามความหมายของชายแดน/พรมแดนมีความแตกต่าง ระหว่างรัฐและคนที่อาศัยในพื้นที่ ในแง่รัฐ (กรณีเขาพระวิหาร) ชายแดน คือเส้นพรมแดนที่มีความหมายต่อการสร้างชาติและอธิปไตยของรัฐที่มิ อาจแทรกแซงทางนโยบาย ซึ่งสะท้อนชัดเจนถึงความส�าเร็จของรัฐในการ สถาปนาความเป็นชาติและการสนับสนุนความเป็นชาตินิยมของชาติที่ ต้องแบ่งแยกเขาแบ่งแยกเราและสร้างความเป็นอื่น ดังนั้น รัฐชาติจึงมี บทบาทสูงมากในการก�ากับความหมายของชายแดน Vail วิเคราะห์ว่า รัฐ ชาติยังเข้มแข็งมากในกรณีความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชา ซึ่งไม่เป็น ไปตามแนวคิดบทบาทของรัฐชาติที่ถูกจินตนาการขึ้นตามแนวคิดหลังสมัย ใหม่ (Post modernism) เรื่องการลดทอนอ�านาจของรัฐในยุคเสรีนิยม ในทาง ตรงกันข้าม Vail พบว่า ชายแดนในความเข้าใจของผู้คนธรรมดาที่อาศัยใน พื้นที่ชายแดน/พรมแดนนั้นยังคงมีความหมายคล้ายเดิมเพราะปฏิบัติการ ในชีวิตประจ�าวันของคนไทยเชื้อสายกัมพูชาและคนไทยในพื้นที่พรมแดน ยังเป็นแบบคล้ายๆ เดิมที่เคยมีมา เพียงแต่กรณีความขัดแย้งเรื่องเขา พระวิหารท�าให้คนในพื้นที่ถูกแบ่งแยกและกีดกันด้วยเส้นพรมแดนมากขึ้น น�ามาสู่ความยากล�าบากของคนในพื้นที่ ท�าให้ความสัมพันธ์ทางสังคมและ การค้าได้ลดระดับความเข้มข้นลงเพราะบริบทแตกต่างไปกว่าสมัยรุ่นพ่อแม่ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแม้ว่าจะยังคงหลงเหลืออยู่ แต่ถูกจ�ากัดเพราะภายใต้ เงื่อนไขทางการเมืองความขัดแย้งระหว่างรัฐและแนวคิดเรื่องชาตินิยมของ รัฐไทยและรัฐกัมพูชา ข้อเสนอแนะทางนโยบายจึงเน้นนโยบายที่อ�านวยให้

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


43

ผู้คนในพื้นที่ชายแดนเชื้อสายกัมพูชาเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ ยอมรับ การมีอัตลักษณ์ความแตกต่างของคนในพื้นที่ที่เป็นคนไทยเชื้อสายกัมพูชา ยอมรับว่าเป็นธรรมดาที่ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่พรมแดนสามารถมีอัตลักษณ์ เฉพาะได้ไม่ต้องกลืนกลายเป็นอัตลักษณ์ไทยเสมอไป อย่างไรก็ตาม ข้อ พิพาทเรื่องเขตแดนขึ้นอยู่กับบริบทเวลาของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในแต่ละช่วง หากในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีปัญหาการรุกล�้า เขตแดนกลับเป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศได้ง่ายๆ ซึง่ ในภาวะทีป่ กติกไ็ ม่ได้ เป็นปัญหาแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไม่ราบรื่นดังกล่าว กลับส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านทั้งสองประเทศที่อาศัยบริเวณ เส้นพรมแดนอย่างชัดเจน (ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช 2009) ส่วนกรณีคนลาวที่อาศัยในพื้นที่ชายแดนฝั่งไทยในจังหวัดอุบลราชธานี ในบทความเรื่อง “คนไร้รัฐกับสถานะความเป็นพลเมือง มุมมองต่อความ เป็ น พลเมื อ งยุ ค หลั ง รั ฐ ชาติ : กรณี ศึ ก ษาพื้ น ที่ อ� า เภอบุ ณ ฑริ ก จั ง หวั ด อุบลราชธานี” ของจันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ (2554) ค้นพบประเด็นส�าคัญ คือ ชายแดนท�าหน้าที่แสดงอ�านาจ กีดขวาง และแบ่งแยกคนไร้รัฐลาวใน อ�าเภอบุญฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ออกจากการเป็นพลเมืองไทย ในขณะ เดียวกันก็เปิดพื้นที่ให้ความแตกต่างมาปะทะและประสานกัน คนลาวที่หนี สงครามกลางเมืองในประเทศในปี 2518 มาจากระดับสังคมที่แตกต่างกัน กับคนไทยเชื้อสายลาวที่อาศัยในอ�าเภอชายแดนและพื้นที่ชายแดน กลุ ่ ม คนลาวที่ เ ดิ น ทางเข้ า สู ่ ป ระเทศไทยได้ ตั้ ง หลั ก แหล่ ง อยู ่ ใ น ประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่หลบหนีความสับสนวุ่นวายทางการเมือง ในประเทศของตนทั้งด้วยเหตุที่ไม่เห็นด้วยและเกรงว่าจะไม่ได้รับความ ปลอดภัยในชีวิต ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่มีชายแดนติดต่อ กัน แม้จะไม่ได้ลงนามให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสถานะผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ของสหประชาชาติ แต่ก็ได้จัดให้มีศูนย์อพยพรองรับการเข้ามา เดิมที ด�าเนินนโยบายที่ไม่ต้องการให้คนเหล่านี้อาศัยอยู่ในประเทศ เช่น เน้นการ ผลักดันกลับและการส่งต่อไปยังประเทศที่สามเป็นหลักโดยอาศัยกฎหมาย

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


44

คนเข้าเมืองเป็นเครื่องมือในการจัดการ ซึ่งท�าให้คนเหล่านี้กลายเป็นผู้หลบ หนีเข้าเมือง แทนที่จะเป็นผู้ลี้ภัยซึ่งได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วย สถานะผู้ลี้ภัย ในหลายๆ ครั้ง คนลาวเกิดความสับสนต่อตัวเองและคนอื่นเพราะพวก เขาอยู่ท่ามกลางความบีบคั้น กดดัน คนลาวไร้รัฐที่พยายามก้าวข้ามเส้น แบ่งทางกายภาพก�าลังเผชิญวิบากกรรม ประณาม เกลียดชัง กดขี่ เอา เปรียบ น�ามาสู่การสูญเสียความเป็นตัวตนในหลายเรื่อง พวกเขาถูกตีตรา ด้านสถานภาพให้มีลักษณะก�ากวม ระหว่างการเป็น ‘ผู้ลี้ภัย’ และ ‘คน ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง’ ซึ่งรัฐไทยก็ถูกกดดันจากนานาชาติ ท�าให้รัฐไทย ต้องปรับสถานภาพของพวกเขาเป็น ‘ผู้อพยพจากอินโดจีน’ ในปัจจุบัน ด้วยความลักลั่นทางกฎหมายและการค้าเสรีที่แรงงานต่าง ชาติเข้ามาในประเทศไทยจ�านวนมากขึ้นเรื่อยๆ ท�าให้รัฐติดฉลากคนลาว เหล่านี้ว่า ‘แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง’ แต่สามารถได้รับการผ่อนผัน ให้ท�างานและอาศัยในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ อย่างไรก็ตาม คนลาวเหล่านี้พยายามผนวกตนเองเข้าสู่สังคมไทยใน รูปแบบต่างๆ เช่น การเป็นแรงงานต่างด้าวผ่านการครอบครองบัตร ท.ร. 38/1 โดยที่ส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงผลของการเข้าสู่สถานะดังกล่าว ส่งผลให้ปัญหา สถานะบุคคลถูกทับซ้อนด้วยปมเงือ่ นของการเป็นแรงงานต่างด้าวทีเ่ ข้าเมือง โดยผิดกฎหมาย โดยเป็นวิธีคิดและวิธีการจัดการปัญหาที่แตกต่างจากคน ที่อยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานานอย่างคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ นอกจากนี้ คน เหล่านีย้ งั พยายามสถาปนาตัวตนเพือ่ สร้างการยอมรับจากเพือ่ นคนไทยและ รัฐไทยโดยสร้างปฏิบัติการทางสังคมในชีวิตประจ�าวัน เช่น การแต่งงานกับ คนไทย การเข้าร่วมในกิจกรรมในท้องถิ่น การเทิดทูนสถาบันในสังคมไทย การขอเข้าชื่อลูกในทะเบียนบ้านคนไทย การสร้างกิจกรรมการพัฒนา เช่น การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ หรือแม้กระทั่ง การ “ซื้อ” สัญชาติไทย เป็นต้น แม้มีความพยายามในการสร้างตัวตนของคนไร้รัฐเพื่อสร้างการยอมรับ

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


45

ดังที่กล่าวมา แต่ สถานภาพการเป็นคนไร้รัฐยังคงอยู่ทา� ให้การเข้าถึงภาค บริการต่างๆ ในสังคมยังคงเป็นปัญหา ทั้งนี้เนื่องการจัดการความเป็น พลเมืองชายแดนยังคงพิจารณาในลักษณะความแตกต่างแบบคู่ตรงข้าม เพื่อแยกลักษณะของพลเมืองแบบ “เป็นไทย” หรือ “ไม่เป็นไทย” ซึ่งเป็น ผลจากการถูกก�าหนดมาแล้วอย่างตายตัวทางกฎหมายว่าด้วยความเป็น พลเมืองไทย ท�าให้เกิดวิธีปฏิบัติแบบเหมารวมไม่มองประเด็นคนไร้รัฐแบบ เข้าใจความจริงรอบด้าน (เอกชัย ปิ่นแก้ว 2548) ซึ่งผู้วิจัยเสนอให้แก้ไข ปัญหาความก�ากวมเรื่องสถานภาพของคนไร้รัฐโดยเน้นการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนในการตรวจสอบสถานภาพของคนกลุ่มนี้ ให้ชุมชนเป็นผู้คัด กรอง รวมทัง้ ปรับปรุงทะเบียนประวัตเิ พือ่ ก�าหนดสถานภาพหรือเพือ่ ปรับปรุง ให้สถานภาพเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย ซึ่งมีโอกาสแปลง สัญชาติเป็นไทยได้มากขึ้นหลังจากอาศัยอยู่ในไทย ส่วนระดับประเทศนั้น การมีประชาคมอาเซียนที่มีสร้างกลไกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน น่าจะเป็นหนทางช่วยเหลือได้อีกทางหนึ่ง การศึกษาของจันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ (2553) ชี้ให้เห็นว่า ความหมาย ของชายแดน (Border) มีความซับซ้อนเพราะนอกจากหมายถึงพื้นที่ทาง กายภาพที่อยู่ชายขอบสุดของรัฐที่คนลาวข้ามมาอาศัยอยู่ (พวกเขาอาศัย ทั้งเขตที่ติดกับแม่น�้าและป่า) ในขณะเดียวกัน ชายแดนในความหมายของ ชาวลาวไร้รัฐเป็นเสมือนพื้นที่แห่งความก�ากวมไม่ชัดเจน พื้นที่ของการถูก ประทับตรา และมักจะแยกเขาแยกเราและสร้างความเป็นอื่นต่อกลุ่มคน ส่วนน้อยโดยกลไกของรัฐชาติที่มีในสังคม (Raj, K. V. 2006: 512 – 534) นอกจากนั้ น ผลการศึ ก ษาดั ง กล่ า วยั ง สะท้ อ นถึ ง แง่ มุ ม ต่ อ การวาง บทบาทรัฐชาติในยุคหลังรัฐชาติ (Post nations-state) ในประเด็นการจัดการ พลเมืองที่ไม่อยู่ในสังกัดรัฐใดรัฐหนึ่ง ซึ่ง Soysal (1994: 140 ใน จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ 2554) ได้น�าเสนอรูปแบบความเป็นพลเมืองหลังรัฐชาติที่ ก่อรูปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันเนื่องมาจากที่ผู้คนและสินค้ามีการ เคลื่อนย้ายข้ามแดนอย่างกว้างขวาง คนเหล่านั้นไม่ได้สังกัดรัฐใดรัฐหนึ่ง

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


46

การเป็นพลเมืองสามารถมีหลากหลายรูปแบบเนื่องจากมีการรองรับด้วย ความเป็นบุคคลสากลตามหลักสิทธิมนุษยชนมากกว่าความเป็นบุคคลที่ ได้มาจากสัญชาติ ดังนั้น กลุ่มคนเหล่านี้มีความชอบธรรมในการข้ามชาติ ได้ตามประเพณีประมวลกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้สังเคราะห์เห็นว่า การน�าเสนอรูปแบบพลเมืองหลังรัฐ ชาติของ Soysal ยังต้องการองค์ความรู้เรื่อง ‘หลังรัฐชาติ’ เนื่องจากความ หมายของพรมแดนและบทบาทรัฐในยุคหลังรัฐชาติทเี่ ชือ่ มโยงกับความเข้าใจ ระหว่างประเทศนัน้ อยูภ่ ายใต้บริบทของสังคมทีม่ ลี กั ษณะ “สังคมพหุลกั ษณ์” และ “สังคมข้ามรัฐ” ที่บรรดาความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมเกิดขึ้น มากอยู่ตลอดเวลาและมีความซับซ้อน (ยุกติ มุกดาวิจิตร 2552) ส่วนบทความเรื่อง “เมืองคู่มิตรอุบลราชธานีและจ�าปาสัก: บทบาท และปฏิบัติการเรื่องเกษตรแบบมีพันธะสัญญาข้ามชาติระหว่างเมืองคู่มิตร” ของ กนกวรรณ มะโนรมย์ และคณะ (2553) พบว่าชายแดน พรมแดน และ รัฐชาติมีความหมายต่อคนในพื้นที่ในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่อ�านวยให้กลุ่มคน ที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนและการค้าข้ามชาติมาปะทะสังสรรค์และ ติดต่อสัมพันธ์ (Zone of contact and exchange) ทางการค้าและการลงทุน ให้ด�าเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งระดับ ประเทศ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น เนื่องจาก โครงการเกษตรแบบมี พันธะสัญญาที่ริเริ่มโดยจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงจ�าปาสักเปิดโอกาส ให้กลุ่มทางสังคมต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน เกษตรกร พ่อค้า และ ผู้บริโภค ได้เข้ามาแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน ดังนั้น ชายแดน พรมแดน รวมทั้งรัฐ ท�าหน้าที่บูรณาการเศรษฐกิจของท้องถิ่นชายแดนเข้า กับเศรษฐกิจภูมิภาค 3) บทบาทรัฐในการค้าชายแดนและการค้าข้ามชาติ ผู้คนในประเทศลุ่มแม่นา�้ โขงค้าขายแลกเปลี่ยนกับคนในภาคอีสานมา ก่อนการเกิดขึ้นของรัฐชาติ (วีระพงษ์ ยศบุญเรือง 2548 และ ยศ สันตสมบัติ 2551) ผู้คนในแถบอุษาคเนย์ต่างเดินทางข้ามพรมแดนทางไกลเพื่อการ ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


47

ค้าขาย ด้วยอิทธิพลของลัทธิอาณานิคมตะวันตกที่เข้ามาในเอเชียอาคเนย์ ท�าให้เส้นพรมแดนระหว่างรัฐต่างๆ ถูกขีดขึ้นเพื่อเจ้าอาณานิคมสามารถ ควบคุมพื้นที่ในแง่การตักตวงทรัพยากรต่างๆ ในดินแดนภายใต้อาณานิคม ต่อมาเมือ่ พ้นยุคอาณานิคม รัฐชาติอนั เป็นมรดกตกทอดของลัทธิอาณานิคม ได้แสดงบทบาทชัดเจนเพื่อก�าหนดความสัมพันธ์ของรัฐกับท้องถิ่นในพื้นที่ พรมแดนทีม่ กี ารเชือ่ มโยงกับระบบเศรษฐกิจโลก การเกิดขึน้ ของรัฐชาติสมัย ใหม่ในอีกด้านหนึง่ ได้เอือ้ ให้คนท้องถิน่ ด�าเนินการค้าขายข้ามแดนปกติเพราะ มหาอ�านาจตะวันตกไม่ได้ใส่ใจการควบคุมพรมแดนแต่สนใจผลประโยชน์ ทางการค้ามากกว่า (Solomon 1970) ในอีกมุมหนึ่งพบว่าการขีดเส้น พรมแดนท�าให้ชายแดนเป็นพืน้ ทีพ่ เิ ศษทางการค้าทีช่ ายแดนและการค้าข้าม พรมแดนเพราะเปิดโอกาสให้รฐั ได้ตกั ตวงประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ท�าให้คน ท้องถิ่นได้ประโยชน์จากการค้าชายแดนรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบทางการและ ไม่เป็นทางการด�ารงอยู่ควบคู่กันไปด้วย (ยศ สันตสมบัติ 2551) ปัจจุบันมีข้อถกเถียงว่า รัฐชาติภายใต้กรอบคิดของลัทธิชาตินิยมแบบ เก่าท�าให้ภาคประชาสังคมที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร รัฐชาติแบบที่เรา รู้จัก (แบบเดิมที่เน้นชาตินิยม) จะสามารถอ�านวยความเป็นธรรมในระบบ เศรษฐกิจและสังคมอันประกอบด้วยปัจจัยข้ามชาติหลากหลายประการ ด้วยวิธีใด (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล 2552) ในเรื่องนี้ ยังมีข้อถกเถียงเพิ่มเติม เกี่ยวกับบทบาทของรัฐชาติด้านเศรษฐกิจในยุคหลังรัฐชาติที่มีการข้ามชาติ อย่างไร้ขอบเขตว่า รัฐชาติควรปรับตัวอย่างไร จะเพิ่มบทบาทมากขึ้นหรือ จะลดบทบาทลง โดยข้อถกเถียงนี้ยังคงค้างคามาจนถึงปัจจุบัน (เกษียร เตชะพีระ 2552) ฝ่ายที่เห็นว่าโลกาภิวัตน์และเสรีนิยมท�าให้รัฐชาติเดินทางมาถึงจุดจบ เช่น เคนอิจิ โอมาเอะ (Ohmae 1995) ให้เหตุผลว่า การค้าเสรีจา� กัดบทบาท ของรัฐในการสร้างนโยบายเพื่อคุ้มครองการผลิตของท้องถิ่นและการเคลื่อน ย้ายของทุนท�าให้รัฐสวัสดิการมีความสามารถในการแข่งขันน้อยลง ฟิลลิป

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


48

บ็อบบิตต์ (Phillip Bobbitt อ้างถึงใน เกษียร เตชะพีระ 2552) กล่าวว่า รัฐชาติเป็นรัฐตลาด รัฐชาติแบบเดิมได้จบลงแต่ได้เริ่มต้นใหม่ในฐานะที่ เป็นรัฐตลาดในแบบต่างๆ เช่น รัฐตลาดแบบพาณิชย์นิยมของโตเกียว รัฐ ตลาดแบบผู้จัดการของเบอร์ลิน รัฐตลาดแบบบรรเทาทุกข์ของวอชิงตัน รวมไปถึงรูปแบบใหม่ คือรัฐตลาดแบบอ�านาจนิยมของปักกิ่ง นอกจากนี้ หลังวิกฤติเศรษฐกิจ (Subprime) รัฐชาติได้เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้งใน การกอบกู้เศรษฐกิจ เช่น อุดหนุนกระตุ้นตลาด บีบประชาชนโดยการเข้า แทรกแซงควบคุมตลาดการเงินมากขึ้น เน้นนโยบายคุ้มครองการค้าแบบ ปกป้อง (protectionism) และขยายสวัสดิการมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าใน ระบบเสรีนิยมใหม่ทั่วโลก รัฐชาติก็ยังถูกผลักดันให้ท�าในสิ่งที่เคยท�ามาก่อน นอกจากนี้ เกษียร เตชะพีระ (2552) ยังวิเคราะห์โดยอ้างความเห็นของ โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz) ว่า ในยุคทุนนิยมเสรีนั้นจะขึ้นกับว่ารัฐ ชาติจะมีบทบาทต่อไปในอนาคตในการจะจัดการโอกาสและความเสี่ยงใน แง่การเข้าถึง ใช้ และครอบครองทรัพยากรที่มากับโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ อ�านาจในการจัดการโลกาภิวัตน์ตามแนวเสรีนิยมใหม่ไม่ได้ขึ้นกับรัฐฝ่าย เดียวอีกต่อไป องค์กรนอกรัฐ เช่น เอกชน ภาคประชาชน องค์กรระหว่าง– ประเทศที่เหนือรัฐจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ส�า หรับ กรณีค วามสัม พันธ์ ข ้ ามชาติร ะหว่ างไทยและลาว เรื่องการ ค้าขายชายแดนและการค้าข้ามชาติถือว่าได้รับอานิสงค์จากการที่รัฐต่างๆ ในภูมิภาคได้ร่วมกันพัฒนาภูมิภาคหลังทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา รัฐเหล่า นี้ได้ร่วมกันสร้างนโยบายเพื่อรองรับการพัฒนาตามแนวทุนนิยมเสรี และ นโยบายดังกล่าวได้ผลักดันให้ผู้คน สิ่งของ สินค้า ทุน และนวัตกรรม เทคโนโลยี เคลื่อนที่ข้ามพรมแดนด้วยความสะดวก รวดเร็ว และคล่องตัว มากขึน้ เรือ่ ยๆ ดังเห็นจากสถิตกิ ารส่งออกสินค้าจากจ�าปาสักมาประเทศไทย ผ่านด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานีจาก 2,435,289 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 9,201,672 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551 (แผนกกสิกรรมและ ป่าไม้ แขวงจ�าปาสัก 2552) ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


49

บทความเรื่ อ ง “เมื อ งคู ่ มิ ต รอุ บ ลราชธานี แ ละจ� า ปาสั ก : บทบาท และปฏิ บั ติ ก ารของเกษตรแบบมี พั น ธะสั ญ ญาข้ า มชาติ ” โดย กนกวรรณ มะโนรมย์ และคณะ (2554) สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า รัฐ ในภูมิภาคลุ่มแม่น�้าโขงได้ปรับตัวเพื่อสนับสนุนทุนนิยมเสรีร่วมกัน และการ ปรับตัวระดับรัฐดังกล่าวส่งผลต่อการปรับตัวและการตอบสนองของเมือง ชายแดนตามมา โดยรัฐระดับจังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานีและจ�าปาสัก ริเริ่ม น�านโยบายเมืองคู่มิตรจากข้อตกลงของ ACMECS มาด�าเนินการอย่างเป็น รูปธรรม โดยสร้างความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มาก ยิ่งขึ้นจากเดิมที่เคยมีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว การสถาปนาเมืองคู่มิตร (Sister city) ได้กลายเป็นกลไกอ�านวยโอกาส ให้รัฐระดับจังหวัดท�าหน้าที่เป็นผู้อ�านวยการทางการค้า (Trade facilitator) โดยอาศัยสิ่งอ�านวยความสะดวกทางการค้า (Trade facilities) เช่น ตลาด ค้าส่ง ถนน ด่านศุลกากร และการขนส่งที่สะดวกเป็นต้นเพื่อรองรับการค้า ชายแดนและการค้าข้ามพรมแดนมาโดยตลอด ในขณะที่แขวงจ�าปาสักได้ พัฒนาตลาดกลาง (Wholesale market) เพื่อเป็นจุดขนถ่ายสินค้าเกษตรและ ริเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตที่สนับสนุนโดยธนาคารพัฒนาแห่ง เอเชีย การสถาปนาเมืองคู่มิตรยังส่งผลให้โครงการตลาดข้อตกลงสินค้า การเกษตรระหว่างรัฐของอุบลราชธานีและจ�าปาสัก (เกษตรแบบมีพันธะ สัญญา) เชื่อมเกษตรกรลาวในพื้นที่การผลิตที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ชายขอบเข้า กับระบบการค้าระดับภูมิภาคแม่น�้าโขงและเอเชีย การรักษาความสัมพันธ์ ทางการค้าแบบไม่เป็นทางการ (สัญญาด้วยวาจา) และเป็นทางการ (สัญญา แบบลายลักษณ์อักษร) ไปพร้อมๆ กัน ท�าให้เกษตรกรลาวสามารถสร้าง ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social relations) กับผู้ค้ารายย่อยชาวไทยผ่าน กลไกการต่อรอง การยืดหยุ่น การอะลุ่มอล่วย และการสร้างระบบอุปถัมภ์ ระหว่างเกษตรกรลาวและพ่อค้าคนกลางชาวไทย นอกจากนี้ นโยบายเมือง คู่มิตรจากกรณีส่งเสริมให้มีโครงการ “ตลาดข้อตกลงสินค้าเกษตร” ได้ดึง ศักยภาพของทั้งสองเมืองมาตอบสนองการค้าข้ามชาติที่เอื้อประโยชน์ให้

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


50

แก่ทั้งสองเมืองโดยเมืองจ�าปาสักก�าหนดฐานะตนเป็นผู้ผลิต ขณะที่เมือง อุบลราชธานีก�าหนดฐานะตนเป็นผู้บริโภค ซึ่งรัฐระดับจังหวัดได้ใช้ช่อง ทางการค้าแบบมีพันธะสัญญาตามนิยามสากลมาเป็นเพียงเครื่องมือและ แนวทางกว้างๆ เพื่อมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่บนฐานของการ รักษาความสัมพันธ์ข้ามชาติที่ดีต่อกัน ประเด็นค้นพบทีส่ �าคัญอีกประการหนึง่ คือ นโยบายเมืองคูม่ ติ รส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงด้านเกษตรกรรม (Agrarian change) ในระดับครัวเรือนของ เกษตรกรลาวโดยเกษตรกรรายย่อยชาวลาวเพื่อผลิตสินค้าป้อนตลาดต่าง ชาติอย่างเป็นระบบมากขึ้น ปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากการผลิตอาหารของ ครัวเรือนมาเป็นการผลิตพืชเพือ่ รองรับตลาดภายนอกทัง้ ในประเทศและต่าง ประเทศ พึ่งพาทุน เทคโนโลยีการผลิต แรงงานนอกครัวเรือนจากภายนอก มากขึ้น ขณะเดียวกันรัฐและนายทุนได้เข้ามามีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรม ในการผลักดันให้เกษตรกรผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมอย่าง เต็มตัวดังการศึกษาของ Turton (1989) ที่พบว่า กลุ่มอ�านาจท้องถิ่น (Local power) ได้แก่ เจ้าหน้ารัฐในระดับจังหวัดและกลุ่มพ่อค้าคนกลางทั้งชาวไทย และชาวลาวมีบทบาทและอิทธิพลในการผลักดันท�าให้เกษตรกรเปลีย่ นระบบ การผลิต ซึง่ กลุ่มนีม้ กั ได้ประโยชน์จากเกษตรกร ผ่านเครือข่ายความสัมพันธ์ แบบระบบอุปถัมภ์ เช่น การขายปัจจัยการผลิต การรับซื้อสินค้าเกษตรด้วย ส�าหรับประเด็นถกเถียงว่า แท้จริงแล้วการบูรณาการของภูมิภาคภาย ใต้กระแสทุนนิยมเสรีและโลกาภิวัตน์ท�าให้รัฐชาติอ่อนแอลงหรือเข้มแข็ง ขึ้น บทความเรื่องนี้พบว่าการค้าข้ามพรมแดนภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS และเมืองคู่มิตรระหว่างอุบลราชธานีและจ�าปาสักภายใต้ระบบ เกษตรแบบมีพันธะสัญญานั้น พบว่ารัฐไม่ได้ลดบทบาทลงโดยปล่อยให้ ระบบทุนนิยมเสรีมบี ทบาทน�า แต่รฐั ได้ปรับเปลีย่ นบทบาท ซึง่ ไม่เป็นไปตาม ที่ โอมาเอะ (Ohmae 1991) วิเคราะห์ประเด็นส�าคัญเกี่ยวกับผลกระทบของ โลกาภิวัตน์ต่อรัฐชาติว่าโลกในปัจจุบันและอนาคตเป็นโลกที่พรมแดนไม่มี ความหมายอีกต่อไป แต่จะเป็นโลกที่มีการเคลื่อนย้ายอย่างกว้างขวาง เกิด ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


51

การแพร่หลายของเงินทุน ข่าวสารข้อมูลสารสนเทศทั้งทางการค้า และการ ลงทุน เส้นแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศจะไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางสิ่งเหล่า นี้ รัฐในยุคโลกาภิวัตน์จะสลายและเจือจางลงโดยมีการสร้างความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจการตกลงทางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคมากขึ้น ท้องถิ่นของแต่และประเทศเองก็มีการปะทะประสานกันและสลายความ เป็นชายแดนลง ดังที่หนังสือเล่มถัดมาของ โอมาเอะ (Ohmae 1995) เรื่อง The end of Nations state: the rise of regionalism ได้วิเคราะห์ถึงบทบาท ของภูมิภาครัฐ (Region State) ที่มีเหนือบทบาทของรัฐชาติ (Nation State) เอาไว้ ในทางตรงกันข้าม บทความของกนกวรรณ มะโนรมย์ และคณะ (2554) อธิบายว่าความร่วมมือกันของเมืองคู่มติ รระหว่างอุบลราชธานีและจ�าปาสัก สะท้อนบทบาทของรัฐในการควบคุมชายแดนเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดน ให้ลื่นไหลข้ามชาติได้สะดวกรวดเร็วมากที่สุดเพื่อตอบสนองหลักการค้า เสรีนิยมในยุคใหม่มากขึ้น (Walker 1999) ภายใต้ร่มเงาของการเป็นภูมิภาค รัฐ และเอื้ออ�านวยให้กลุ่มคนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามพรมแดน เช่น เกษตรกร และพ่อค้ารายย่อย เจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มี บทบาทในการค้าข้ามพรมแดนร่วมกันตามลักษณะของสังคมหลังยุครัฐชาติ 4) นัยเชิงนโยบายส�าหรับการจัดการพื้นที่ชายแดนอีสานตอนล่าง จากการสังเคราะห์เชิงวิชาการดังกล่าวข้างต้นพบว่า พื้นที่ชายแดนและ พื้นที่ข้ามพรมแดนในภาคอีสานและลุ่มน�้าโขงเป็นพื้นที่ที่กลุ่มคน สินค้า และวัฒนธรรมข้ามไปมาก่อนมีรัฐชาติ และภายใต้ระบอบทุนนิยมเสรี การเคลื่อนที่ข้ามรัฐไปมาในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวางไม่มีขอบเขต มากยิ่งขึ้น ดังนั้น ชายแดน พรมแดน และรัฐชาติ จึงถูกท้าทายและนิยาม ใหม่ๆ โดยกลุ่มคนที่แตกต่างกันไปตามยุคและลักษณะของความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศในแต่ละสมัย รวมทั้งการถกเถียงถึงบทบาทของรัฐในยุค หลังรัฐชาติว่าควรเป็นอย่างไรภายใต้การเป็นพหุสังคมหรือสังคมแบบข้าม รัฐของยุคเสรีนิยม

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


52

ส�าหรับพื้นที่อีสานตอนล่าง กลุ่มคนท้องถิ่นที่อาศัยในพื้นที่ชายแดนใน เขตนี้และกลุ่มคนในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาวและกัมพูชา จากอดีต และปัจจุบนั พวกเขายังด�ารงไว้ซงึ่ ปฏิบตั กิ ารในชีวติ ประจ�าวันทางสังคมและ วัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่าง ดังหลักฐานทางโบราณคดี ความเชื่อ และ ประเพณีที่ยังเห็นร่องรอยและปรากฏในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การสร้างรัฐ ชาติสมัยใหม่ทสี่ า� ทับด้วยอุดมการณ์ชาตินยิ มน�ามาสูก่ ารมีอคติทางชาติพนั ธุ์ ต่อกันและการมองพรมแดนทีแ่ ตกต่างกันระหว่างรัฐและคนในพืน้ ทีช่ ายแดน ส�าหรับประเทศลาวและกัมพูชา ความสัมพันธ์ข้ามชาติระหว่างอีสาน ตอนล่างกับเพื่อนบ้านค่อนข้างแตกต่างกัน กรณีความสัมพันธ์ระหว่าง อีสานตอนล่างกับลาวโดยเฉพาะเมืองจ�าปาสักนัน้ มีความโดดเด่นเรือ่ งความ สัมพันธ์อนั ดีดา้ นการค้าชายแดนและการค้าข้ามชาติทรี่ ฐั ในระดับท้องถิน่ ร่วม กันเอื้ออ�านวยให้การค้าด�าเนินไปอย่างราบรื่น เช่น กรณีการสถาปนาเมือง คู่มิตรเพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้า อย่างไรก็ตาม ด้วยวาทกรรมการ พัฒนาที่ท�าให้กลุ่มคนบางกลุ่มกลายเป็นคน/สิ่งอื่นๆ และอคติของแนวคิด รัฐชาติ ท�าให้คนลาวที่หนีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมาอาศัยใน รอยตะเข็บชายแดนฝั่งไทยในแถบจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 กลับกลายเป็นคนไร้รัฐ ไร้ชาติในแผ่นดินไทยและได้รับการดูถูกจากคนไทย ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอีสานตอนล่างกับกัมพูชาในปัจจุบันด�ารง อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่ระอุขึ้นมาเป็นห้วงๆ ในเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศกรณีข้อพิพาทเรื่องดินแดน อาณาเขต อ�านาจอธิปไตย ตลอดจนกระแสชาตินิยมของทั้งสองฝ่าย ท�าให้แม้ว่าคนในพื้นที่ชายแดน พยายามรักษาความสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมผ่านปฏิบัติการใน ชีวติ ประจ�าวันอย่างทีเ่ คย แต่ความขัดแย้งระหว่างประเทศดังกล่าวท�าให้การ จัดความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของทั้งสองฝ่ายในพื้นที่ชายแดน เต็มไปด้วยอุปสรรคและปัญหามาอย่างต่อเนื่อง จากข้อสรุปดังกล่าว นโยบายการจัดความสัมพันธ์ข้ามชาติในพื้นที่ อีสานตอนล่างจึงต้องค�านึงถึงประเด็นต่อไปนี้ (รายละเอียดนโยบายเชิง ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


53

รูปธรรมดูได้จากบทความแต่ละเรื่องที่นำ� เสนอในหนังสือนี้) 1. ในพื้นที่ที่อยู่ในรัศมีของความขัดแย้งเรื่องพรมแดนอันเนื่องมาจาก เขาพระวิหารนั้นñ˜  รัฐควรปรับมุมมองเรื่องความสัมพันธ์ข้ามชาติใหม่ โดย ไม่ควรตั้งบนฐานคิดแบบชาตินิยมและรัฐชาติแบบแช่แข็ง ตายตัว เนื่องจาก การเปิดหรือปิดพรมแดนจากข้อพิพาทเรือ่ งเขตแดนต้องพิจารณาให้รอบคอบ เรื่องการด�ำรงชีพของคนในท้องถิ่นที่อาศัยในพื้นที่ชายแดน เพราะชายแดน ในความหมายของพวกเขาหมายถึงแหล่งท�ำมาหากิน การค้าขาย การช่วย เหลือ พึ่งพา การรักษาสายสัมพันธ์ของญาติพี่น้องและเครือญาติของกลุ่ม คนในพื้นที่ พรมแดนไม่มีความหมายในฐานะที่เป็นพื้นที่ของการควบคุม กีดกันแบ่งแยกให้คนแต่ละรัฐแยกออกจากกันอย่างที่รัฐเข้าใจ 2. เนื่องจากอีสานตอนล่างมีกลุ่มคนลาวไร้รัฐอาศัยอยู่มาก ในการ จัดการเรื่องคนไร้รัฐที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น รัฐควรเปิดมุมมองใหม่ต่อ ค�ำว่าพลเมืองที่เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนสากลหรือการเป็นพลเมืองโลก การ ให้สิทธิแก่คนไร้รัฐในการเข้าถึงการบริการต่างๆ รวมทั้งสร้างบรรยากาศให้ คนในชาติเข้าใจความหมายการเป็นพลเมืองแบบไม่ยึดติดอคติทางเชื้อชาติ หรือการสร้างความเป็นอื่น 3. กรณีของการค้าชายแดนและข้ามพรมแดนภายใต้การสถาปนาเมืองคู่ มิตรระหว่างอุบลราชธานีและจ�ำปาสักนัน้ รัฐควรสนับสนุนนโยบายดังกล่าว ต่อไป เนื่องจากนโยบายนี้สร้างประโยชน์ต่อเกษตรกรของลาวและประสาน ประโยชน์ต่อพ่อค้ารายย่อย แต่ขณะเดียวกันนโยบายการค้าข้ามพรมแดน ดังกล่าวต้องไม่ทำ� ลายฐานทรัพยากรและผลประโยชน์ของเกษตรกรรายย่อย ชาวลาว พร้อมกับสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพที่สำ� คัญต่อการ ด�ำรงชีพของเกษตรกรดังกล่าว รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์ข้ามพรมแดน ระหว่างจังหวัดทีต่ งั้ อยู่ชายแดนอีสานตอนล่างกับเมืองในประเทศเพือ่ นบ้าน อย่างไรก็ตาม รัฐควรต้องสนับสนุนนโยบายเมืองคู่มิตรอย่างต่อเนื่องและ ปรับปรุงกลไกระดับปฏิบัติให้สามารถอ�ำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหา ต่างๆ ได้เพื่อประโยชน์ของกลุ่มผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นการ ประสานประโยชน์ร่วมกันของสองประเทศ กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ

Resert Edit.indd 53

8/5/11 4:29 PM


54

เอกสารอ้างอิง Vail Peter และสมหมาย ชินนาค. 2553. รายงานวิจัย กัมพูชามองไทย: การ ค้นหาวาทกรรมและอุดมการณ์ที่มีต่อไทยโดยมองปฏิบัติการเชิงสังคม วัฒนธรรมในชีวิตประจ�าวันของคนกัมพูชา. อุบลราชธานี: ส�านักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย. กนกวรรณ มะโนรมย์ และคณะ. 2553. รายงานวิจยั การศึกษานโยบายการพัฒนา เมืองคู่มิตรด้านเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาความร่วมมือด้านการเกษตรแบบ มีพันธะสัญญายั่งยืนระหว่าง จังหวัดอุบลราชธานี และ แขวงจ�าปาสัก ประเทศลาว พ.ศ. 2551 – 2552. อุบลราชธานี: ส�านักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย. กรมส่งเสริมการเกษตร. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร. The Thai Export Association อ้างใน http://www.riceexporters.or.th/production.htm กระทรวงการต่างประเทศ. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา – แม่โขง. http://www.mfa.go.th/web/1658.php เกษี ย ร เตชะพี ร ะ. 2552. รั ฐ ชาติ ใ นทั ศ นะเกษี ย ร. เศรษฐศาสตร์ สั ง คม (23 พฤศจิกายน 2552). http://www.innnews.co.th/economics.php?nid=199637. แกรนท์ อีแวนส์. 2549. ประวัติศาสตร์สังเขปประเทศลาว ประเทศกลางแผ่นดิน เอเชียอาคเนย์ (ดุษฎี เฮย์มอนด์, ผู้แปล). เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม. คายส์ เอฟ ชาร์ล. 2552. แนวคิดท้องถิ่นภาคอีสานนิยมในประเทศไทย. รัตนา โตสกุล (แปล). อุบลราชธานี: ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน�้ าโขง คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. จักรกริช สังขมณี. 2551. ชายแดนศึกษากับมานุษยวิทยาการข้ามพรมแดน: บท ส�ารวจสถานภาพ ขอบเขต และการข้ามเส้นแดนของความรู้. เอกสาร อัดส�าเนา. จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ และคณะ. 2553. รายงานวิจัย แนวทางและกลไกการ แก้ปัญหาของความทับซ้อน/ก�ากวมระหว่างคนไร้รัฐกับแรงงานต่างด้าว สัญชาติลาว: กรณีศึกษาพื้นที่อ�าเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


55

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ว่าด้วยชาตินิยมทวิลักษณ์-และประวัติศาสตร์บกพร่อง. http://www.charnvitkasetsiri.com/ch1NationHistForYo.doc เติ ม วิ ภ าคย์ พ จนกิ จ . 2542. ประวั ติ ศ าสตร์ อี ส าน. กรุ ง เทพฯ: ส� า นั ก พิ ม พ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธิบดี บัวค�าศรี. 2552. “กัมพูชาในแบบเรียนของไทย”, หน้า 163-223, ใน ชาตินิยม ในแบบเรียนไทย. กรุงเทพฯ: มติชน. ธีระ นุชเปี่ยม. 2543. รัฐกับสังคมกัมพูชา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธีระ นุชเปีย่ ม. 2549. ไทยกับประเทศเพือ่ นบ้าน: กรณีความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา. เอกสารประกอบการการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่ง ชาติครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2549). นิธิ เอียวศรีวงษ์. 2538. ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียน และอนุสาวรีย์. กรุงเทพฯ: มติชน. ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. 2009. รัฐชาติ-พรมแดน: ความขัดแย้งและข้อยุติบนเส้น ทางสันติภาพอาเซียน. เอกสารประกอบการสัมมนา. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ปิน่ แก้ว เหลืองอร่ามศรี. 2545. ข้ามพรมแดนกับค�าถามเรือ่ งอัตลักษณ์ วัฒนธรรม พื้นที่และความเป็นชาติ, หน้า 1-16, ใน สังคมศาสตร์ข้ามพรมแดน วารสาร สังคมศาสตร์ 15, 1 (2545). ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. ความรุนแรงและการข่มขืนผู้หญิง ในนามของรัฐชาติ พรมแดน รัฐชาติ และเส้นทางการต่อสู้ของผู้หญิงพลัดถิ่น. http://www. midnightuniv.org/midnight2545/document95273.html แผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงจ�าปาสัก. 2552. บทรายงานด้านการจัดตั้งปฏิบัติง านกสิกรรมและป่าไม้ 9 เดือน ต้นปี 2008-2009 ต่อการเยี่ยมยามของ แขกจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วันที่ 3-4 กรกฎาคม 2009. (เอกสาร อัดส�าเนา). ยศ สันตสมบัต.ิ 2551. อ�านาจ พืน้ ที่ อัตลักษณ์ทางชาติพนั ธุ:์ การเมืองวัฒนธรรม ของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร.

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


56

ยุกติ มุกดาวิจิตร. 2552. รัฐชาติ-พรมแดน: ความขัดแย้งและข้อยุติบนเส้นทาง สันติภาพอาเซียน. เอกสารประกอบการสัมมนา. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). วิลาศ โพธิสาร และ สุวิทย์ ธีรศาศวัต. 2544. เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้า ทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ.2488-2543: กรณีศึกษาบ้าน ตระแสง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วี ร ะพงษ์ ยศบุ ญ เรื อ ง. 2548. การจั ด เก็ บ ภาษี ใ นหั ว เมื อ งลาวฝ่ า ยตะวั น ออก. เอกสารหมายเลข 3 หนังสือรวบรวมบทความวิชาการเรื่อง ทบทวนอดีต อีสาน บทน�าเสนอการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี โครงการ บริการวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ศรีศักร วัลลิโภดม. 2540. แอ่งอารยธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: มติชน. สมเกียรติ วันทะนะ. 2530. “ปัญหาและความขัดแย้งในสังคมไทย” ใน เอกสาร การสอนชุดวิชาสังคมไทย หน่วยที่ 9-15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน้า 571-628). สุจติ ต์ วงษ์เทศ. 2543. เบิง่ สังคมและวัฒนธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม. สุเทพ สุนทรเภสัช. 2548. หมู่บ้านอีสานยุคสงครามเย็น. กรุงเทพฯ: มติชน. สุเนตร ชุตินธรานนท์. 2552. “สถานะองค์ความรู้ด้านอุษาคเนย์ในสังคมไทย”, หน้า 32-81, ใน ชาตินิยมในแบบเรียนไทย. กรุงเทพฯ: มติชน. สุวิทย์ ธีรศาศวัต. 2545. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน 2488 – 2544. กรุงเทพฯ: ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เสกสรรค์ ประเสริ ฐ กุ ล . 2552. โลกไร้ พ รมแดนในประเทศที่ มี พ รมแดน ความขั ด แย้ ง ระหว่ า งระเบี ย บอ� า นาจแบบรั ฐ ชาติ กั บ สั ง คมโลกา ภิวัตน์. ปาฐกถาวิชาการเนื่องในโอกาส 60 ปี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 อรุณี ยูวะนิยม. 2547. การจัดการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เอกสาร ประกอบการบรรยาย ในการประชุมทางวิชาการเรื่อง “ดินเค็มภาคตะวันออก เฉียงเหนือ: ปัจจัยธรณีวิทยา เศรษฐกิจสังคม และการจัดการ” ณ โรงแรมเจริญ ธานีปริน๊ เซส จ.ขอนแก่น วันที่ 21 สิงหาคม 2547 (อรุณี ยูวะนิยม เป็นนักวิชาการ ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร


57

เกษตร 8ว. ส่วนวิจัยและพัฒนาดินเค็ม สถาบันวิจัยพัฒนาเพื่อป้องกันการเป็น ทะเลทรายและเตือนภัย กรมพัฒนาทีด่ นิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) อ้างจาก www.sri.cmu.ac.th/~environment/Download/050505.pdf เอกชัย ปิ่นแก้ว.  2548.  การเมืองเรื่อง “สัญชาติไทย”: ความคลุมเครือของ พรมแดนแห่งรัฐและพรมแดนแห่งสิทธิมนุษยชน กรณีปัญหาสัญชาติ ชาว อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหา บัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Anderson, Benedict.  2006.  Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism.  London, New York: Veeso. Appadurai, Arjun.  2000.  Modernity at Large. Minnesota: Minnesota University Press. Appadurai, Arjun. 1995.“The production of locality”, in Richard Fardon (ed.): Counterworks, Managing the diversity of Knowledge, p.204-223, London & New York: Routledge. Berg, Eiki and Houtum, Henk Van (eds.)  2003.  Routing borders between territories, Discourse and practice. England: Ashgate Publishing Limited Floch Philippe, Molle François and Loiskandl Willibald. 2007. Marshalling Water Resources: A Chronology of Irrigation Development in the Chi-Mun River Basin, Northeast Thailand. working paper. http://www.sea-user.org/ download_pubdoc.php?doc=3629 Kearney, M. 1998. “Transnationalism in California and Mexico at the End of Empire” in T.M. Wilson and H. Donna (eds.) Border Identities: Nations, State and International Frontiers. Cambridge: Cambridge University Press. Leach, E. 1960. The Frontiers of “Burma”. Comparative Studies in Society and History 3:49-68. Ohmae, Kenichi. 1995.  The end of Nations state: the rise of regionalism.  New York: Free press paperback. Ohmae, Kenichi. 1991. The Borderless World. Haper Business: New York.

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ

Resert Edit.indd 57

8/5/11 4:29 PM


58

Raj, K. V. 2006. Paradoxes on the Borders of Europe. International Feminist Journal of Politics 8: 512-534. Rigg, Jonathan. 2005. Living with Transition in Laos: Market Integration in Southeast Asia. London and New York: Routhedge. Solomon, R. 1970. Boundary Concepts and Practices in Southeast Asia. World Politics 23: 1-23. Turton, Andrew. 1989. “Rural Power and Rural Differentiation” in Agrarian Transformation: Local Process and the State in Southeast Asia, pp. 32-52, edited by Gillian Hart, Adrew Turton and Benjamin White. Berkeley: University of California Press. Vail, Peter. 2010. In the Shadow of Preah Vihear: Notes from the ThaiCambodia Border. Thailand Research Fund. Walker, Andrew. 1999. The Legend of the Golden Boat: Regulation, Trade and Traders in the Borderlands of Laos, Thailand, China and Burma. Honolulu: Hawai’i: University of Hawai’i press.  Wilson, M. Thomas and Donna, Hastings. 1998. “Nation, state and identities at international border in Border Identities edited by Wilson, M. Thomas and Donna, Hastings, pp. 1-30, Cambridge: Cambridge. Winichakul, Thongchai. 1994. Siam Mapped: a History of the geo-body of a Nation. Chiang Mai: Silkworm Books.

ชายแดนอีสานกับเพื่อนบ้าน ข้อค้นพบทางวิชาการและนัยเชิงนโยบาย กรณีศึกษา กัมพูชามองไทย คนไร้รัฐ และ เมืองคู่มิตร

Resert Edit.indd 58

8/5/11 4:29 PM


59

เว็บไซต์ http://thaiborder.blogspot.com/ http://vdo.kku.ac.th/quota/234119/body/es9.dwt เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศภาคอีสาน http://www.charnvitkasetsiri.com/ch1NationHistForYo.doc http://www.dft.moc.go.th/the_files/$$9/level4/kumpucha2.html www.dft.moc.go.th/the_files/$$59/level3/คช%202-53.pdf www.edfthai.org/areas/images/map/isan.jpg www.mfa.go.th/web/200.php%3Fid%3D423 www.surin.go.th/surin/11.htm ด่านตรวจคนเข้าเมืองพิบูลมังสาหาร http://www.immubon.go.th/main_request.htm

กนกวรรณ มะโนรมย์ บรรณาธิการ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.