1.ศึกษา changes and trends ก่อนจะทำการคิดโปรเจกใหม่ขึ้นมาต้องศึกษาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในโลก ทั้งด้านสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง สภาพแวดล้อม (STEEF) เพื่อหาความใหม่ที่เกิดขึ้นจริงๆ ที่จะส่งผลให้เกิดกลุ่มเป้าหมายใหม่ ความต้องการใหม่ ขั้นตอน 1.1 หาข้อมูล trends โดยรวมของโลก 1.2 นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม 1.3 เลือกกลุ่มเป้าหมาย ศึกษากลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม 1.4 แยกกันไปทำหัวข้อต่างๆ ได้แก่ Entertainment ,Health, Habitat, Food, Transportation, Work ศึกษาแนวโน้มต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เลือก เป้าหมาย: เพื่อหาความต้องการใหม่ หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่ เทคนิควิธ:ี ศึกษาจากเว็บไซด์ หนังสือ นิตยสารใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงเทรนใหม่สิ่งใหม่ๆในโลก จากนั้นสร้างออกมาเป็น target board และ persona ข้อควรระวัง: บางอย่างไม่มีในประเทศ จึงทำให้เราคิดว่ามันใหม่ จริงๆแล้วสิ่งนั้นอาจจะเก่าไปแล้ว ต้องเปิดกว้างมองหาสิ่งใหม่ๆ กลุ่มเป้าหมายอาจจะเป็นกลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคย ต้องคิดไว้เสมอว่าสิ่งที่จะทำเป็นสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ในทากลับกัน บางอย่างเราอาจจะนึกขึ้นเองเข้าข้างตัวเองต้องตรวจสอบให้ดี ตัวอย่าง :
การทำ target board และpersona ครั้งแรกนี้มีบางส่วนเกิดจากการคาดเดา การเขียน persona ครั้งแรกมีจุดผิดพลาดเขียนมาเหมือนเป็น trends และการเกิดกลุ่มเป้าหมายใหม่นี้มากกว่า
2.ศึกษา existing หลังจากศึกษา changes and trends แล้ว แต่ละคนในกลุ่มเลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มเป้าหมายที่พบ จากนั้นเลือกมากลุ่มละ 3 หัวข้อที่มีประสิทธิภาพน่าจะมี การเติบโตต่อไปได้ในอนาคต เพื่อมาศึกษา existings จากนั้นนำ existings ที่พบมาจัด cluster ขั้นตอน 2.1 ในกลุ่มพิจารณาเลือกหัวข้อที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มเลือกหัวข้อ Health ,Food และ Entertainment 2.2 ช่วยกันหา existings ในแตกละหัวข้อ 2.3 นำ existings มาจัดกลุ่ม ของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆเข้าด้วยกัน 2.4 นำกลุ่มที่จัดมาทำ cluster 2 แกน คือการใช้ดีไซน์และความเก่าใหม่ เป้าหมาย: เพื่อหาตลาดที่มีประสิทธิภาพเติบโตต่อไปในอนาคตได้ หรือหาช่องว่างในตลาดใหม่ๆ เทคนิควิธ:ี ทำ cluster 2 แกนโดยใช้แกน design กับแกนความใหม่ ข้อควรระวัง: การทำครั้งแรกเป็นการทำอย่างคร่าวๆ อาจมีบางอย่างตกหล่น ทำให้ข้อมูลที่ได้มีข้อผิดพลาด หรืออาจศึกษาตลาดไม่ดีพอ ไม่เปิดหูเปิดตากว้างพอ จึงไม่เห็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและไปทำซ้ำ ตัวอย่าง :
กลุ่มทำแต่ละหัวข้อ(entertainment สีฟ้า Food สีแดง Health สีเหลือง) จะเห็นช่องว่างในตลาดชัดเจน สามารถเปรียบเทียบกันได้ทันที แต่ยังไม่ละเอียดเท่าไหร่ อาจทำซ้ำโดยตีกรอบให้แคบลงไปอีกได้
3. ศึกษา target ขั้นตอน 3.1 เลือกกลุ่มของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีประสิทธิภาพ ยังใหม่ มีคู่แข่งไม่มาก และเราสามารถใช้การออกแบบเข้ามามีส่วนได้มาก (หากเป็นบริษัทแกนดีไซน์อาจเป็น ความสามารถการผลิตของบริษัทนั้นๆ) 3.2 ศึกษา existings ในกลุ่มที่เลือกมาให้ละเอียดมากขึ้น 3.3 ศึกษากลุ่มเป้าหมายให้ละเอียดขึ้นและดูวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 3.4 ทำ persona และ activities diagram เป้าหมาย: เพื่อเข้าใจความต้องการและบริบทต่างๆของผู้กลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันการทำซ้ำสินค้าที่มีอยู่แล้ว เทคนิควิธ:ี ศึกษากลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีต่างๆ จากนั้นทำpersona ,activities diagrame ข้อควรระวัง: ควรศึกษากลุ่มเป้าหมายหลายคนเพื่อเห็นจุดร่วมของกลุ่มเป้าหมาย หากเข้าไปติดตามกลุ่มเป้าหมายใช้ชีวิตได้จะดีมาก ตัวอย่าง :
ในกลุ่มเข้าไปติดตามชีวิตกลุ่มเป้าหมาย 1 คน และสัมภาษณ์พูดคุยอีก 2 คน การทำ activities diagram อาจสับสน ต้องหาจุดร่วมบางอย่าง ตอนที่ทำยังไม่เห็นความต้องการใหม่ ที่ชัดเจนอย่างละเอียด แสดงว่าต้องวิเคราะห์ความต้องการต่างๆบางครั้งกลุ่มเป้าหมาย มองไม่เห็นโดยตรงเราต้องวิเคราะห์เอาด้วย
ขั้นตอนนี้กลุ่มหาข้อมูล existings เพิ่ม หา subtrends technology เพิ่มเติมมาเพื่อรองรับ การออกแบบต่อไปในอนาคตด้วย ทำให้มีข้อมูลในรองรับการออกแบบในขั้นตอนต่อไป รวมถึงทดลองทำ value map แต่ยังไม่ละเอียดเป็นการทำแบบคร่าวๆมากๆ จึงต้องทำใหม่ ในขั้นตอนนี้ควรทำ cluster แกนใหม่อีกครั้ง โดยจำกัดวงให้แคบลง แต่กลุ่มไม่ได้ทำ
4. หา new value, new needs หลังจากมีข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ กลุ่มเป้าหมายใหม่ สิ่งที่กลุ่มเป้าหมาย ต้องการจริงๆคืออะไร การวิเคราะห์สิ่งที่เป้าหมายต้องการเป้สิ่งจำเป็นเพราะบางครั้ง การเข้าไปสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายไม่อาจบอกสิ่งที่เขาต้องการได้โดยตรง ขั้นตอน 4.1 brain storming ปัญหา การแก้ไข สิ่งที่มีอยู่ในตลาด ความต้องการ 4.3 ทำ value map คิดขึ้นลง หาปัญหาและการแก้ไข พิจารณาว่าอะไรคือ value ที่กลุ่มเป้าหมายต้องการจริงๆ เป้าหมาย : หา new needs / new value เทคนิควิธ:ี value map ข้อควรระวัง: - หลังจากทำ value map ควรตรวจสอบกับกลุ่มเป้าหมายว่าสิ่งที่คิดจริงหรือไม่ - การ brain storming ควรใช้คำที่ชัดเจน ประชับ เข้าใจตรงกันทุกคน - ระวังการหลงประเด็น ควรยึดกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก - หากมีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายน้อยจะทำให้คิดออกมาได้น้อย และเกิดการคิดเข้าข้างตัวเอง ตัวอย่าง:
การbrain storming อาจเกิดข้อความซ้ำๆในจุดที่เห็นกันชัดเจนควรจับกลุ่มไว้ด้วยกัน โดยใช้สีที่ต่างกันของกระดาษโพสอิทเพื่อแบ่งแสดงหัวข้อหลังจากการจัดกลุ่มสิ่งที่ brain storming ถาม why เพื่อหา value แล้วถาม how เพื่อแตก solution ลงมา ทำซ้ำๆเพื่อหาอะไรใหม่ๆ ในบางโปรเจกอาจเห็น value ใหม่ชัดเจน บางโปรเจกอาจหาได้แค่ new needs ที่เกิดจากการเปลี่ยนบริบท บางโปรเจกสามารถหาได้ทั้ง 2 อย่าง
5. หาแนวทางของโจทย์ (New project definition) หลังจากได้ new needs , new value แล้ว หาแนวทางการตอบสนองสิ่งนั้นๆ ขั้นตอน 5.1 ทำความเข้าใจ value map หาข้อมูลเพิ่มเติม แล้วนำมาสรุป value map 5.2 สมาชิกในกลุ่มทำแบบร่างที่ตอบสนอง new needs , new value คนละ 10 แบบ 5.3 ตั้งเกณฑ์ประเมินที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาใช้งานในแต่ละหัวข้อ เช่น ความใหม่ ความสามารถในการเติบโตของสินค้า เทคโนโลยี ความเหมาะสมกับเป้าหมาย เป็นต้น 5.4 นำแต่ละแบบมาร่วมกันประเมินในกลุ่ม 5.5 เลือกแบบที่ได้คะแนนสูงสุด 3 แบบ มาพัฒนาต่อ โดยนำข้อดีของแบบอื่นๆมาใช้ เป้าหมาย : หาแนวทางการออกแบบ แนวทางของโจทย์ เทคนิควิธี: sketchs ,evaluation ข้อควรระวัง: -ควรทำความเข้าใจความต้องการ คุณค่าใหม่ๆให้ตรงกัน - ควรระวังความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันของสมาชิกในกลุ่ม ควรตกลงกันให้ ทุกคนเข้าใจเหมือนกัน - เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินควรมีประมาณ 6-10 เกณฑ์ เพื่อประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่เหนื่อยจนล้าเกินไปสำหรับผู้ประเมิน - การประเมินควรประชุมพร้อมกันในกลุ่ม เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ควรประชุมด้วยการพบปะกันจริงๆ ไม่ควรประชุมผ่านทางอินเทอเน็ต - การประเมินควรทำอย่างรวดเร็ว และประเมินทุกแบบจนครบ เพื่อให้ผลที่ได้ไม่เหวีย่ ง ตัวอย่าง:
ความไม่เข้าใจตรงกันในกลุ่มอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ เมื่อนำแบบมาคุยกันพบว่า เพื่อนบางคนมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนไป จึงทำให้ออกแบบมาได้ คะแนนต่ำ ดังนั้นควรทำความเข้าใจทุกอย่างให้ตรงกันก่อนแยกไปทำงาน การประเมินในกลุ่มไม่ได้ประเมินครั้งเดียวครบทุกแบบ จึงมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย กลุ่มใช้เกณฑ์ newness, potential to growth, technology, design, target น่าจะเพิ่มเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกไปด้วย
6.ทดสอบแนวทางการออกแบบ (concept development) หลังจากมีแนวคิดแล้วเราควรนำไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อพิสูจน์ว่าสินค้าจะขายได้ จริงหรือไม่ มีความน่าสนใจที่จะทำต่อหรือไม่อย่างไร ขั้นตอน 6.1 นำแบบร่าง 3 แบบที่พัฒนาจัดทำเพลทนำเสนอให้คนเข้าใจ 6.2 คิดเกณฑ์การประเมิน 2 แกนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาการใช้งาน 6.3 นำแบบร่าง 3 แบบ และ existing ที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดอีก 1 แบบ ไปประเมินกับ กลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 10 คน 6.4 นำผลการประเมินที่ได้มาคิดค่า correlation เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความอยากใช้ ของกลุ่มเป้าหมาย 6.5 เลือกแบบที่ได้คะแนนความอยากใช้มากที่สุดมาพัฒนาต่อ โดยอิงแนวโน้มจาก การคำนวนค่า correlation 6.6 ทำ senario เพื่อช่วยในการพัฒนาแบบร่าง เป้าหมาย : เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ และประสิทธิภาพของแนวทางการออกแบบ เพื่อเลือกแนวทางที่เหมาะสมมาพัฒนาต่อ เทคนิควิธ:ี ทำแบบร่างเพื่อนำไปประเมินกับกลุ่มเป้าหมาย ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ , senario ข้อควรระวัง: - การนำเสนอแบบสอบถามควรใช้สื่อที่ช่วยให้เข้าใจง่าย - แต่ละแบบร่างควรจัดหน้าหรือมีวิธีพรีเซนต์ที่มีความสวยงามในระดับเดียวกัน เพราะความสวยงามของการนำเสนอมีผลต่อการประเมินความอยากใช้ - การตั้งเกณฑ์ ไม่ควรเป็นความหมายเชิงลบด้านหนึ่ง เชิงบวกด้านหนึ่ง - ควรมีเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 7 แกน เพื่อหาเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ - หากมีการแยกกันไปสัมภาษณ์ควรให้สมาชิกกลุ่มเข้าใจตรงกัน และนำเสนอแบบร่างให้เหมือนกันมากที่สุด - ระวังการอ่านค่า correlation ควรตั้งค่าความอยากใช้ให้อยู่ในด้านบวก ตัวอย่าง: การนำเสนอ ควรเป็นไปในทิศทาง เดียวกันและพยายาม ทำให้เข้าใจง่าย
เกณฑ์ที่ใช้ประเมินครั้งแรกมีน้อยจึงปรับให้มีเยอะขึ้นและไม่มีคำในเชิงลบ ยกเว้นสนใจใช้ ไม่สนใจใช้ ควรย้ายแกนไม่สนใจใช้ไว้ด้านลบเพื่อความไม่สับสนใจการคำนวนค่า correltion จากการไปสัมภาษณ์ในแต่ละโปรเจกต่างกัน ในโปรเจกนี้สัมภาษณ์เพื่อประเมินจาก generic uers เหมาะสมที่สุด แต่อาจจะไปสัมภาษณ์ lead user เพื่อให้ได้ความคิดอะไรใหม่ๆ 7. สร้างโจทย์เพื่อการออกแบบ (design brief) หลังจากวิเคราะห์สร้างโจทย์และพัฒนาคอนเซปต์แล้ว การจะให้ผู้อื่นมาออกแบบต่อใน โจทย์ที่เราสร้างจะต้องกำหนดบางอย่างออกมาด้วย ขั้นตอน 7.1 นำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด เขียน design brief เป้าหมาย : เพื่อกำหนดโจทย์ให้นำไปออกแบบได้ เทคนิควิธ:ี design brief ข้อควรระวัง: - ควรใช้คำที่กระชับ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ - ภาพที่นำมาใช้ควรเป็นภาพที่นำไปใช้ในการออกแบบต่อได้และ เข้ากับทุก key words ตัวอย่าง:
ตัวอย่างภาพที่มีจุดร่วมในคำ key word สามารถนำไปใช้ได้จริงในงานออกแบบ หลังจากได้แบบมาแล้วอาจนำไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายอีกครั้งว่ากลุ่มเป้าหมายสนใจใช้ง านสินค้าชิ้นนี้หรือเปล่า โดยเทียบกับสินค้าในตลาด