1001 Nights Review

Page 1

vol. 01 2013

JORGE LUIS BORGES OCTAVIO PAZ ZAKARIYA AMATAYA ALYOSHA WIENGPONG WHAT ARE POETS FOR?

MAURICE BLANCHOT L’instant de ma mort designed by ideogram creative

CONTENTS แจ้งให้ทราบ ประโยคในหนังสือฯ ด้วยดวงตาที่ปิดอยู่ ถนน

POETRY ซะการีย์ยา อมตยา อโลชา เวียงพงศ์ Octavio Paz

กวีศาสตร์

Jorge Luis Borges

2 4 9 10 15

STORY Maurice Blanchot 12 L’instant de ma mort

ARTICLE ฉันเป็นสัตว์ ฉันจึงมีอยู่: ค�ำตาม ‘สัตว์เถื่อนตัว สุดท้าย’

7

1001 Nights Editions http://www.1001nightseditions.wordpress.com email: 1001nightseditions@gmail.com


ZAKARIYA AMATAYA แจ้งให้ทราบ 1

4

ถึงผู้อ่าน

ถึงบทกวี

บทกวีที่คุณก�ำลังอ่าน ความหมายมีเพียงครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งอยู่ในหัวคุณแล้ว

แกจะถือดีทรนงตนไปถึงไหนกัน เห็นฝุ่นจับอยู่ในหลืบซอกร้านหนังสือ ถึงอ่านไม่รู้เรื่องก็ช่วยสะบัดให้แกหายใจคล่องขึ้น ผู้เขียน

ผู้อ่าน

2

5

ถึงผู้เขียน

ถึงผู้อ่าน

บทกวีที่ฉันอ่านจบไปแล้วนั้น ไม่มีความหมายอะไรเลยกับฉัน ที่อยู่ในหัวของฉันยิ่งไปกันใหญ่

ฉันขอสารภาพด้วยทุกประการทั้งมวล บทกวีไม่มีความผิด ผู้อ่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ความจริงฉันไม่ควรคิดและเขียนอะไรออกมา

ผู้อ่าน

ผู้เขียน

3 ซะการีย์ยา อมตยา เติบโตที่หมู่บ้านเล็กๆ ริมตีนเขาบูโด สนใจ ศึกษางานเขียนของกวีต่างประเทศ ไม่มีหญิงสาวในบทกวี เป็น หนังสือรวมบทกวี ร้อยแก้วเล่มแรก ที่ได้รับรางวัลซีไรต์ใน ปี พ.ศ. 2553 ในปี 2554 เขาได้รับคัดเลือกให้เข้า ร่วมโครงการ Artist in Residence ของมูลนิธิ Doris Duke Foundation For Islamic Art ที่จัดร่วมกับมหาวิทยาลัย Hawaii เพื่อไป พ�ำนัก และเขียนบทกวียังรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐ

ถึงผู้เขียนและผู้อ่าน มันเป็นความผิดของฉันใช่ไหม คนหนึ่งเขียนอะไรไม่ค่อยรู้เรื่อง ส่วนอีกคนอ่านอะไรไม่ค่อยเข้าใจ บทกวี

vol. 01 2013

2



ALYOSHA WIENGPONG

‘ประโยคในหนังสือตรึงรัดร่างฉัน...’ ประโยคในหนังสือตรึงรัดร่างฉัน มันสร้างชีวิตขึ้นเองและลดเลื้อยได้ดั่งงู ทิ้งคราบแห้งกรังและพงหญ้าแหลกราบ ผิวหนังมันปลาบด้วยอักขระ และกระดูกสันหลังง่อนแง่นแห่งไวยากรณ์ มันไล่ฉกผู้คนบนทางเท้า เขมือบยวดยานที่พลุกพล่านทั่วท้องถนน ค�่ำหนึ่ง, มันเริงเล่นสายฝน แล้วกลายเป็นนกสีขาวบินขึ้นจากท้องฟ้าในแอ่งขัง ดึกเคลื่อนสู่ดวงตา ฉันเขียนโคมไฟ ด้วยปรารถนาบันดาลให้เป็นราตรี vol. 01 2013

4


เพียงนาทีในหลับพักพริ้มอันฟูฟ่อง ของฟูกนอนแห่งมืดมนอนธกาล ปุยขนสีขาวร่วงโปรยช่างหนาวเหน็บ ทั้งเรียวปีก จงอยปากและกรงเล็บ ฉันคิด, คือนกที่บินผ่าเผยตัวนั้นหรือ? เหล่าหนอนอวบเหลืองที่ตกร่วงตามก็ชวนสะอิดสะเอียน ฉันแสยะยิ้ม, ค่อยกดปลายเท้าบดขยี้ นั่นกระไรพระจันทร์แขวนดวง ฉุบวมเหมือนผลไม้เน่า

ถึงลิ่มสมองที่ทะยานเลื่อนไหล ไปสู่บ่อแห่งค�ำโกหกของหุ่นชักนักการเมือง ถึงกองซากกระดูกเดียวดายก้นหุบเหวความมั่นคงจอม ปลอม ถึงหยดน�้ำตาที่ถูกค�ำวิเศษณ์หื่นห่ามกระท�ำช�ำเรา ถึงปราสาทและหอคอยที่ถูกสร้างขึ้นด้วยค�ำคุณศัพท์ไร้ค่า ถึงฝูงชนที่ถูกกระทืบบี้แบนเหมือนหลอดยาสีฟัน ด้วยวิสามานยนามอันมิอาจเอ่ยนาม แต่พลันถ้อยค�ำทั้งหลายกลายเป็นฝูงลิง! เผ่นโผนจากหน้ากระดาษ กรีดร้องเสียงแหลมและเข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน มันฉวยเอาปืนที่ฉันวางลืมไว้ระหว่างบรรทัด ทึ้งถอนกุหลาบที่ฉันปลูกระหว่างวรรค กัดเกอเธ่ที่คอ, ขโมยไฟจากโพรมิธุส แล้วกระโจนหนีทางหน้าต่าง สุดท้าย, ฉันได้แต่คร�่ำครวญกับเนรูด้า‘ฉันไม่รู้, ฉันไม่รู้ว่ากระสุนนั้นจะพุ่งทะลุอกผู้ใด ฉันไม่รู้ว่ากุหลาบดอกนั้นจะไปสู่มือใคร ฉันไมรู้, จะเรียกมันคืนมาได้อย่างไร’ (เปลวไฟวาบเลียขอบฟ้าแดงก�่ำแลเห็นไกล...) (เสียงเปรี้ยงปังดังห่างออกไป...)

ผืนโต๊ะดั่งภูมิประเทศที่ดูประหลาด ภูเขาเลากาแห่งหนังสือ ปากกาปักตั้งโอนเอียงดั่งเสาที่ไร้ผืนธง จัตุรัสแห่งกล่องยาเส้น อนุสาวรีย์แห่งแจกัน ที่สุด, ฉันเนรมิตราตรีมหัศจรรย์! เป็นงานเลี้ยงที่แขกรับเชิญคือเหล่ากวีและตัวละครในวรรณคดี แร็งโบด์, เซลาน, ดอน กีโฆเต้... ท่ามแสงดาว, ถ้อยสนทนาลึกซึ้งคมคาย และดนตรีใดเล่าจักไพเราะไปกว่าเพลงของแมลงกลางคืน ที่ขับกล่อมดินแดนแสนสงบนี้ จินตนาการฉันไหลหลั่ง แล้วฉันเขียนถึงสันติภาพที่หนวกใบ้ต่อเสียงดนตรีดอกไม้ ถึงดวงตาขมึงทึงของกฎหมาย ที่เกรี้ยวโกรธต่อการจ้องกลับมาของหัวขโมย ถึงมือที่หมอบคลานไปบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ถึงบาดแผลตรงอกด้านซ้ายของกวีที่ไหลเยิ้มด้วยฟองน�้ำลาย ถึงเสียงหัวเราะอันสากกร้านของนักคิด เพราะศัพท์แสงดั่งกรวดหินในล�ำคอ ถึงเลือดบนถนนที่ถูกปิดทับ ด้วยข่าวบิดเบือนในหน้าหนังสือพิมพ์

อโลชา เวียงพงศ์ เกิดและเติบโตที่จังหวัดนนทบุรี เข้าเรียนสาขา ปรัชญา ที่มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ก่อนย้ายมา อยู่มีนบุรีเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เริ่ม สนใจวรรณกรรมตั้งแต่ปี 2542 ช่วงเวลาหนึ่งเข้า ไปคลุกคลีกับนักเขียน และกวีรุ่นพี่แถบหน้าราม มีบทกวีปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์และ นิตยสารตัง้ แต่ปี 2544 กระนัน้ ก็อย่างไม่ตอ่ เนือ่ ง แม้จะคร�ำ่ เคร่งกับผลงาน ของตนอยู่เสมอ สัตว์เถื่อนตัวสุดท้าย เป็นงานรวมกวีนิพนธ์เล่มแรก ของเขา

vol. 01 2013

5


vol. 01 2013

6


ฉันเป็นสัตว์ ฉันจึงมีอยู่ : ค�ำตาม ‘สัตว์เถื่อนตัวสุดท้าย’

‘จากการเฝ้าสังเกตในหลายคราท�ำให้ขา้ พเจ้า ตระหนั ก ได้ ว ่ า มนุ ษ ย์ นั้ น ประกอบด้ ว ย วิ ญ ญาณ (l’âme) และความเป็ น สั ต ว์ (la bête) นี่เป็นสองสิ่งที่มีความแตกต่าง หากมีความเชื่อมโยงถึงกัน หรืออยู่ภายใน กันและกัน’ หลังจากได้อา่ นงานของอโลชา เวียงพงศ์ ในหนแรก ข้อความจากหนังสือ Voyage autour de ma chambre ของซาวีเยร์ เดอ เม สเตรฺอ[1]ที่ยกมาข้างต้นก็พลันผุดขึ้นในใจ ด้วยว่านัยยะร่วมของกวีนิพนธ์โดยส่วน ใหญ่ของอโลชามักกล่าวถึง ‘ความเป็นสัตว์’ ในตัวคน ‘ความป่าเถื่อน’ ใน ‘วิญญาณ’ ที่ ‘เหตุ ผ ล’ และความมี อ ารยธรรมก็ ไ ม่ อาจท�ำให้ ‘มัน’ เชื่องลงง่ายๆ ดังสื่อแสดง จากอุปลักษณ์เปรียบเปรย การพรรณนา การยึดโยงกับกลุ่มค�ำบ่งชี้ลักษณาการของ ความเป็นสัตว์ เช่น ‘การลดเลื้อยได้ดั่งงู’ (...) ‘ปุยขนสีขาวร่วงโรยช่างหนาวเหน็บ/ ทั้ ง เรี ย วปี ก จงอยปากและกรงเล็ บ ’ ใน

ประโยคในหนังสือตรึงรัดร่างฉัน หรือ ‘การ ดิ้นทุรนทุรายของสัตว์, ลิบไรของชายฝั่ง ทวีปใหม่’ (...) ‘สัญชาตญาณโหยกระหาย ไม่สิ้นสุด’ ใน การเดินทางในสายควันของ โคลัมบัส หรือ ‘หลอมรวมเป็นร่างสัตว์ใน จิ นตนาการ’ ใน ในความหลั บ หนึ่ ง หรื อ ‘วิ่ งเข้ า ไปสู ่ ก รงเล็ บ (...) แต่ เขี้ ย วคมนั้ น ยิ่ ง ใหญ่ ก ว่ า ความรั ก ’ ใน ขอบเหวแห่ ง ปรารถนา และ ‘เมื่อสายใยเร้นลับซึ่งเชื่อม โยงห้วงเวลา/ข้ามผ่านวิวัฒนาการนับล้าน ปี / พลั น ขาดสะบั้ น ลง’ ใน สั ต ว์ เ ถื่ อ นตั ว สุดท้าย บทกวีที่เป็นชื่อเล่ม ก็ยิ่งชัดเจนว่า ความสนใจ ‘ความเป็นสัตว์’ ในตัวคนของ เขานัน้ เหมือนจะล�ำ้ หน้าไปไกลกว่าวิธกี ารใช้ บุคลาธิษฐาน (personification) วาดภาพ ของปรากฏการณ์ สิง่ ไม่มชี วี ติ พืชพรรณ และ สรรพสัตว์ทั้งหลายให้มีพฤติกรรมมีความ รู้สึกนึกคิดอย่างคน [2] (เช่นต�ำนาน นิทาน งานศิลปะ และบทกวีโดยทั่วไป) ในแง่ที่เขา มองเห็นมันเป็นเรื่องส�ำคัญจริงจัง

‘ผู้พึงใจกับการอยู่เพียงล�ำพัง คงมีแต่สัตว์ป่า หรือพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น’ ฟรานซิส เบคอน vol. 01 2013

7

[1] Xavier de Maistre นัก เขียน-นายทหาร ชาวฝรั่งเศส จากศตวรรษที่ 18 น้องชาย ของโฌแซฟ เดอ เมสเตรฺอ (Joseph de Maistre) นัก เขียนฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ ฝรั่งเศสคนส�ำคัญ [2] บางคนเรียกวิธีดังกล่าว ว่า มานุษยรูปนิยม (anthropomophism) หรือบุคคลวัต


[3] Jacques Derrida, ‘The Animal That Therefore I Am (More to Follow)’, Critical Inquiry, Vol. 28, No. 2. (Winter, 2002), pp. 369-418.

ไม่ มี บ ทกวี ชิ้ น ใดใน สั ต ว์ เ ถื่ อ นตั ว สุ ด ท้ า ย ที่ โ จมตี เ หยี ย ดหยามประณาม ‘ความเป็ น สั ต ว์ ’ (นี่ อ าจเป็ น ข้ อ แตกต่ า ง ระหว่างอโลชากับเดอ เมสเตรฺอ ตรงที่ฝ่าย หลังนั้นเห็นว่า ‘วิญญาณ’ ในตัวมนุษย์มี ฐานะสูงกว่า ‘ความเป็นสัตว์’) หรือยิ่งกว่า นั้น มีบทกวีอีกหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า เขายกย่อง ‘ความเป็นสัตว์’ อย่างเปิดเผย กระทั่งพูดได้ว่าคงมีกวีไม่มากคนบนโลกนี้ ที่หาญกล้า ‘ปล่อยสัตว์’ ไป ‘กัดเกอเธ่ที่คอ, ขโมยไฟจากโพรมิธุส’ หรือ ‘...ค�ำรามก้อง ด้วยเสียงแห่งบรรพบุรษุ ’ แน่นอนว่า คงมีแต่ ผู้หลงใหลได้ปลื้มกับความเป็นสัตว์เท่านั้น ที่เรียนรู้ ‘ที่จะพ่นลมหายใจแบบสัตว์ป่า’ อย่างภาคภูมิใจ ข้อค�ำถามหนึ่ งที่ เ กิ ดติ ดตามมาก็ คือ ท�ำไม ‘ความเป็นสัตว์’ ถึงส�ำคัญนักเล่า? ท�ำไมไม่เป็น ‘เหตุผล’ หรือ ‘แสงสว่างทาง ปัญญา’ ที่เขาจะสนใจ หรือน�ำมาขับขานใน บทกวีของเขา? ค�ำตอบหนึ่งที่พอนึกออกหลังจากคิด ทบทวนอยู่หลายรอบก็คือ ‘ความเป็นสัตว์’ ผู ก พั น กั บ ‘ความมี เ สรี ’ หรื อ ความเป็ น ‘อิสรชน’ เหมือนที่นักคิดบางคนเห็นว่า มัน เป็นคุณสมบัติพันผูกมากับตัวของมนุษย์ แต่ก�ำเนิด และมันได้ค่อยๆ ถูกท�ำลายลงไป พร้อมๆ กับความเปลี่ยนแปลงที่เรียกกันว่า ‘วิวัฒนาการสังคม’ นอกจากนั้น ‘ความเป็นสัตว์’ ยังคง เกีย่ วข้องกับ ‘ความเปลือยเปล่า’ เพราะไม่มี สัตว์ชนิดใดบนโลกที่รู้จักการแต่งกาย หรือ เอาเข้าจริง ‘มนุษย์คู่แรก’ ในความเชื่อแบบ

โลกตะวันตกก็ตกอยู่ในสภาพเปลือยเปล่า มาก่อนจะน�ำใบไม้มาปิดบังร่างกายตนเอง ‘ความเปลือยเปล่า’ จึงด�ำรงสถานะอยู่ตรง ข้ามกับ logos (ที่แปลได้ทั้ง ‘ความรู้’ และ ‘ถ้อยค�ำ’) ซึ่งถ้ากล่าวกันอย่างถึงที่สุดแล้ว สัตว์อาจไม่ได้เปลือย เพราะมันไม่รู้ว่า ‘การ แต่ ง กาย’ คื อ อะไร หรื อ มั น ไม่ มี ‘ความ เข้ า ใจ’ ในเรื่ อ งของการเปลื อ ยกายเลย ด้วยซ�้ำ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลือยของ มนุ ษย์ เ หมื อ นจะเป็ น อาการโหยหาความ เป็นสัตว์แบบหนึง่ เป็นอาการแบบกลับไม่ได้ และไปไม่ถงึ นับจากมนุษย์เริม่ ตระหนักรูถ้ งึ การเปลื อ ย มนุ ษ ย์ ก็ ไ ม่ อ าจใช้ ชี วิ ต อยู ่ ใ น สังคมแบบเปลือยๆ ได้อีกต่อไป[3] ทัง้ นีไ้ ม่ได้หมายความว่าอโลชาเป็นพวก ชอบเปลือย ต่อต้านสังคม เป็นพวกหนีโลก เพราะมีบทกวีอกี หลายชิน้ เช่น ปราการสีดำ� , ศัตรูไม่เคยลื่นไหล และ เตรียมเขียนบท สารคดีการเมือง, ขั้นพิจารณา ที่บ่งบอกว่า เขายังใส่ใจกับการเมือง ความอยุติธรรม หรือเป็นส่วนหนึ่งของโลกและสังคมที่เป็น ไป เพียงแต่มีใจให้แก่ ‘ความเป็นสัตว์’ มาก อยู่สักหน่อยก็เท่านั้น ผู ้ ไ ด้ อ ่ า นกวี นิ พ นธ์ ข องอโลชาย่ อ ม ประจักษ์ได้ถงึ ความอลังการของภาษา ความ ประณีตวิจติ รของถ้อยค�ำและน�ำ้ เสียง เหมือน อย่างทีซ่ ะการียย์ า อมตยาเคยกล่าว หรือเคย เขียนเอาไว้ว่า อโลชา เวียงพงศ์เป็นหนึ่ง ในผู้เขียนกวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ได้ยอด เยี่ยมที่สุด หากสิ่งที่สร้างความประทับใจ หรือชื่นชอบใจให้แก่ผู้เขียนบทกล่าวตามนี้ กลับเป็นบทกวีชนิ้ เล็กๆ ในเล่ม เช่น สร้อยคอ,

vol. 01 2013

8


OCTAVIO PAZ

เมล็ดพันธุ์ หรือ เย็นย�ำ่ ทีป่ างอุง๋ ทีเ่ ป็นเหมือน ภาพร่างของประสบการณ์ ด้วยดวงตาและ ความตราตรึง ซึ่งประทับอยู่ภาษาที่เรียบ ง่ายแต่กลับให้จินตภาพที่ยากจะลืมเลือน จนน่ า สนใจว่ า บทกวี เ หล่ า นี้ จ ะคลี่ ค ลาย ตัวไปในกาลข้างหน้าอย่างไร เพราะอโลชา ได้ ส ารภาพไว้ ว ่ า บทกวี เ กื อ บทั้ ง หมดใน สัตว์เถือ่ นตัวสุดท้าย คือบทกวีทเี่ ขาไม่คดิ จะ เขียนอีกต่อไป เหมือนหนึ่งว่า งานชุดนี้คือ งานเลี้ยงอ�ำลา หรือการปล่อย ‘สัตว์เถื่อน ตัวสุดท้าย’ ไป ไม่ใช่ในป่าเหมือนอย่าง นวนิ ย ายเรื่ อ งดั ง หากแต่ เ ป็ น ในหน้ า กระดาษของหนังสือชื่อเดียวกันนี้

ด้วยดวงตาที่ปิดอยู่ ด้วยดวงตาที่ปิดอยู่ เธอส่องสว่างอยู่ภายใน เธอคือหินที่มืดบอด คืนแล้วคืนเล่า ฉันสลักเสลาเธอ ด้วยดวงตาที่ปิดอยู่ เธอคือหินที่เปิดเผย เราได้กลายเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ เพียงรู้จักกันและกัน ด้วยดวงตาที่ปิดอยู่ With eyes closed With eyes closed You light up within You are blind stone Night after night I carve you with eyes closed You are frank stone

COSMICOMICS ITALO CALVINO

We have become enormous just knowing each other with eyes closed

เตรียมพบกับนวนิยายสุดหฤหรรษ์ Cosmicomics ของ อิตาโล คัลวิโน ฉบับภาษาไทยครั้งแรกได้ในเร็ววันนี้ vol. 01 2013

9


ถนน

The Street

นี่คือถนนสายยาวและเงียบงัน ฉันเดินเข้าไปในความมืดด�ำ และฉันสะดุด แล้วล้มลง ลุกขึ้น และเดินอย่างโซซัดโซเซ เท้าของฉัน ก้าวไปบนกองหินเงียบเชียบและใบไม้แห้ง ใครบางคนเบื้องหลังก�ำลังเหยียบย�่ำก้อนหิน ใบไม้: หากฉันก้าวช้า เขาก็ช้า หากฉันวิ่ง เขาวิ่ง ฉันหันไป: ไม่มีใคร ทุกสิ่งอย่างมืดมิดและไร้ซึ่งบานประตู เลี้ยวไปเลี้ยวมาตามตรอกซอกมุมเหล่านี้ ซึ่งน�ำไปยังชั่วนิรันดร์แห่งถนน ที่ซึ่งไม่มีใครรอ ไม่มีใครตามมา ที่ซึ่งฉันไล่ตามชายคนหนึ่ง ผู้ซึ่งหกล้ม แล้วลุกขึ้น และเมื่อเขาแลเห็นฉันจึงพูดว่า: ไม่มีใครสักคน

Here is a long and silent street. I walk in blackness and I stumble and fall and rise, and I walk blind, my feet trampling the silent stones and the dry leaves. Someone behind me also tramples, stones, leaves: if I slow down, he slows; if I run, he runs I turn : nobody. Everything dark and doorless, only my steps aware of me, I turning and turning among these corners which lead forever to the street where nobody waits for, nobody follows me, where I pursue a man who stumbles and rises and says when he sees me : nobody.

Octavio Paz ในวัยหนุ่ม

ออคตาบิ โ อ ปั ซ (Octavio Paz) นั ก เขี ย นชาว เมกซิโกเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปี ค.ศ. 1990 ผู้เขียน El laberinto de la soledad (1950) หรือ The Labyrinth of Solitude ผู้โดดเด่นเรื่อง การแต่งบทกวีพลิกมุมมอง สลับผัสสะและการรับ รู้ของผู้อ่านได้อย่างน่าอัศจรรย์ บทกวีข้างต้นที่มีชื่อ ว่า ถนน (La calle) น�ำเสนอสภาวะยอกย้อนของ ปรากฏการณ์ Doppelgänger ทีเ่ ชือ่ กันว่า เราแต่ละ คนจะมีเงาติดตามเราไปในทุกที่ และเราจะมองเห็น เงาหรือภาพสะท้อนของตัวเองก่อนทีเ่ ราจะตาย โดย ท�ำให้เรามองเห็นภาพในมุมมองของคนและเงาสลับ สับเปลี่ยนอย่างแนบเนียน vol. 01 2013

10



MAURICE BLANCHOT L’instant de ma mort | โมริซ บล็องโชต์ | ชั่วขณะแห่งความตาย

มนึกไปคิดถึงชายหนุ่มคนหนึ่ง ผู้ชายที่ ยังคงเยาว์วัย—รอดพ้นจากการตายด้วย ความตาย—และบางทีอาจเป็นเพราะความผิด พลาดแห่งความอยุติธรรม ฝ่ า ยพั น ธมิ ต รยึ ด ฐานที่ มั่ น บนผื น ดิ น ฝรั่งเศสเป็นผลส�ำเร็จ พวกเยอรมันถูกพิชิต ลงแต่ยังคงดิ้นรนแสดงความป่าเถื่อนอย่าง เปลืองเปล่า ในบ้านหลังใหญ่ (ปราสาท มันถูกเรียกเช่น นัน้ ) ใครบางคนเคาะประตูอย่างขลาดๆ ผมรูว้ า่ ชายหนุม่ ได้เดินไปเปิดประตูรบั ผูม้ าเยือนทีเ่ ป็น ไปได้ว่ามาร้องขอความช่วยเหลือ เวลานี้เอง เสียงตะเบ็งขู่ดังขึ้น “ทุกคน ออกมาข้างนอก” นายทหารนาซียศร้อยโทพูดค�ำฝรั่งเศส ธรรมดาอย่างน่าอดสู เขาเรียกให้คนที่อายุมาก ทีส่ ดุ ออกมาก่อน ติดตามด้วยหญิงสาวสองคน “ออกมาข้างนอก ออกมาข้างนอก” เวลา นี้เอง ที่เขาตะโกน แต่ไม่ว่าอย่างไร ชายหนุ่ม ก็ไม่พยายามจะหลบหนี หากเพียงแต่คืบก้าว ไปอย่างเชื่องช้า ในท่วงท่าเกือบจะคล้ายกับ นักบวช นายทหารยศร้อยโทเขย่าตัวเขา เพื่อ ให้มองดูกล่องอุปกรณ์ กระสุนปืน ซึ่งชัดเจน ว่ามาจากการต่อสู้ คราบดินเป็นดินจากสงคราม

นายทหารยศร้อยโทส�ำลักภาษาอันปร่า แปร่ง แล้วน�ำเอากล่องอุปกรณ์ กระสุนปืน และ ระเบิดมืออันหนึง่ วางลงเบือ้ งหน้าชายทีเ่ ยาว์วยั กว่า (ที่ดูแก่ตัวลงเร็วเหลือเชื่อ) ก่อนจะตะโกน เสียงดังว่า “นี่คือสิ่งที่จะท�ำให้แกคิดได้” นาซีจัดก�ำลังเป็นแถวตอนพร้อมยิง เป็น ไปตามกฎที่วางไว้ ชายหนุ่มพูด “อย่างน้อยขอ ให้ครอบครัวของผมเข้าไปข้างในก่อน” เป็นไป ตามค�ำขอ เริ่มจากป้า (อายุเก้าสิบปี) แม่ที่อายุ น้อยกว่าพี่สาว และพี่สะใภ้ เป็นกระบวนการ ที่เชื่องช้า เงียบงัน ราวกับทุกสิ่งอย่างได้เสร็จ สิ้นลงไปแล้ว ผมรู้—ผมรู้ใช่ไม่ใช่หรือ—ว่าคนที่ทหาร เยอรมันได้เล็งยิงอยู่นั้น รอคอยก็แค่ค�ำสั่ง สุดท้าย ก�ำลังแบกรับประสบการณ์ ก่อนจะ รับรู้ได้ถึงความเบาหวิวผิดธรรมดา คล้ายจะ เป็นความปีติ (อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่ความ สุข)—ความปลาบปลืม้ ในสภาวะสูงสุด? ผูเ้ ผชิญ หน้ากับความตายด้วยความตาย? ในจุดทีเ่ ขาอยู่ ผมจะไม่พยายามวิเคราะห์ อะไร บางทีอาจไม่มสี งิ่ ใดเอาชนะเขาได้ ณ ขณะ นัน้ การตาย—การเป็นอมตะ บางทีอาจเป็นความ เคลิบเคลิ้ม มากไปกว่านั้นคือความรู้สึกเวทนา ในความทุกข์ทรมานของมนุษย์ เป็นความสุข

vol. 01 2013

12


จากการมิได้เป็นอมตะหรือคงอยูไ่ ปชัว่ กาลนาน ไม่เพียงเท่านี้ เขายังได้พนั ผูกกับความตายผ่าน มิตรภาพที่ซ่อนเร้น ณ ชั่วขณะนั้น การกลับสู่โลกในฉับพลัน เสียงก้องดังจากการต่อสู้ที่ปะทุขึ้นใกล้ๆ สหาย ที่ถูกส่งมาจากขุนนางที่ต้องการกองก�ำลังให้ไป ช่วยเหลือใครบางคนที่ขุนนางรู้จักซึ่งก�ำลังตก อยูใ่ นอันตราย นายทหารยศร้อยโทจึงผละออก ไปเพื่อประเมินสถานการณ์ กองทหารเยอรมัน ยังคงยืนรอรับค�ำสัง่ เตรียมพร้อมปฏิบตั หิ น้าที่ ในช่วงเวลาชะงักงันนั้น จากนั้ น ใครบางคนก็ ก ้ า วออกมา และ พูดด้วยเสียงอันหนักแน่นว่า “เราไม่ใช่พวก เยอรมัน เป็นรัสเซีย” กลั้วด้วยเสียงหัวเราะ “กองก�ำลังวลาสซอฟ” และส่งสัญญาณให้เขา รีบหายตัวไปเสีย ผมคิดว่า เขาจากไป ด้วยความรู้สึกที่ยัง คงเบาหวิว กระทั่งเขารู้ตัวว่าก�ำลังอยู่ในป่าซึ่ง ไกลออกไปที่มีชื่อว่า “บัวส์ เดอส์ บรูแยรส์”[1] ที่ซึ่งห่อหุ้มคุ้มกันเขาด้วยหมู่ไม้ที่เขารู้จักเป็น อย่างดี ฉับพลัน ในป่ารกชัฏนั้น นานเพียงใด กันนะที่เขาได้พบกับสัมผัสรับรู้ของความจริง อีกครั้ง เปลวไฟผลาญเผาในทุกที่ เป็นเปลว ไฟที่ลุกไหม้ติดต่อกัน ไร่นาถูกเผาท�ำลาย และ ครูต่ อ่ มา เขาจึงได้รวู้ า่ เด็กหนุม่ สามคน บุตรชาย ของชาวนา—เป็นคนที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง กับการสู้รบ จะผิดก็เพียงแค่ความเยาว์วัยของ พวกเขา—ได้ถูกสังหารหมดทุกคน แม้แต่ม้าก็ยังบวมอืด บนถนน ในท้อง ทุ่ง บ่งชี้ว่าสงครามยังคงด�ำเนินต่อไป ในความ จริงแล้ว เวลาผ่านไปนานแค่ไหนกันนะ? เมื่อ ใดกันหนอที่นายทหารยศร้อยโทกลับมาแล้วรู้

ว่า ชายหนุ่มผู้ดูแลปราสาท[2] หายตัวไป แล้ว ท�ำไมความโกรธ ความบ้าคลั่งจึงไม่ท�ำให้เขา เผาท�ำลายปราสาท (ที่ไม่น่าประทับใจและมี ความสูงสง่าลงเสีย)? เพียงเพราะบนด้านหน้า อาคารได้จารึกเครื่องช่วยจ�ำที่ไม่มีวันลบเลือน เลขปี ค.ศ. 1807 รึว่าเขาทรงภูมิพอจะรู้ว่า มันเป็นปีอันเป็นที่โจษจันของเมืองเยน่า เมื่อ นโปเลี ย นบนม้ า สี เ ทาตั ว เล็ ก ควบผ่ า นบาน หน้ า ต่ า งของเฮเกล[3] ผู ้ ม องเห็ น เขาเป็ น “จิตวิญญาณแห่งโลก” ดังที่เขาได้เขียนไปเล่า ให้เพือ่ นคนหนึง่ ฟัง เป็นเรือ่ งโกหกและเป็นเรือ่ ง จริง ส�ำหรับเฮเกลที่ได้เขียนไปหาเพื่อนอีกคน พวกฝรั่งเศสชิงทรัพย์และปล้นสะดมบ้านของ เขา หากเฮเกลรู้จักที่จะแยกแยะ สิ่งที่ประจักษ์ เห็นและสิ่งที่เป็นสารัตถะ ในปี ค.ศ.1944 นาย ทหารนาซียศร้อยโทได้แสดงความเคารพต่อ ปราสาท หรือเพียงเห็นว่าไร่นาในแถบนั้นไม่มี อะไรน่าสนใจ อย่างไรเสีย ทุกอย่างถูกรื้อค้น เงินบางส่วนหายไป ในห้องที่แยกออกมา “ห้อง ประชุม” นายทหารยศร้อยโทได้พบกระดาษ และสิง่ ทีค่ ล้ายจะเป็นต้นฉบับ—เป็นไปได้วา่ เป็น แผนการรบที่เขาได้ทิ้งเอาไว้ ทุกอย่างยกเว้น ปราสาทถูกเผาท�ำลาย ครอบครัวแซจเนอร์ได้ รับการละเว้นชีวิต ไม่ต้องสงสัยเลย เมื่อสิ่งที่เกิดติดตามมา หลังจากนั้นคือการที่ชายหนุ่มทนทุกข์ทรมาน จากความอยุติธรรม ไม่มีความยินดีปรีดาใดๆ นอกจากความรู้สึกที่ว่าเขายังมีชีวิตรอดต่อไป ได้ก็เพราะในสายตาของพวกรัสเซียนั้น เขาคือ พวกชนชั้นขุนนาง นี่เป็นสงคราม มีชีวิตรอดก็ส�ำหรับคน จ�ำนวนหนึง่ แต่สำ� หรับคนอืน่ ๆ มันคือโหดเหีย้ ม

vol. 01 2013

13

[1] Bois de bruyères แปล ตามตัวอักษรว่า ‘ป่าแห่งทุ่ง หญ้า’ [2] châtelaine แปลได้ ว่ า “หญิ ง ” ผู ้ ดู แ ลปราสาท และเมื อ งชาตาเลนที่ อ ยู ่ ใ น อาณาเขตของ Switzerland ไม่ไกลจากกรุง เจนีวา การ เลื อ กแปลว่ า “ชายหนุ ่ ม ผู ้ ดูแลปราสาท” เป็นไปเพื่อให้ สอดพ้องกับ การเรียกบ้าน หลังใหญ่ดังกล่าวว่าปราสาท


[3] Georg Wilhelm Friedrich Hegel (1770 –1831) นักปรัชญาชาวเยอรมัน หนึ่งในผู้ให้ก�ำเนิดกระแส ‘ปรัชญาจิตนิยมเยอรมัน’ [4] André Malraux นักเขียนชาวฝรั่งเศสและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วัฒนธรรม

ทารุณในการประหัตประหาร อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงเหลือ ชั่วขณะที่การ ยิงไม่ได้มีอยู่อีกต่อไป นอกจากเป็นสิ่งที่จะมา ถึง ความรู้สึกถึงความเบาหวิวที่ผมไม่รู้ว่าจะ ถอดความออกมาได้อย่างไร เป็นอิสระจาก ชีวิต? การเปิดรับสู่ความไม่สิ้นสุด? ไม่เป็นทั้ง ความสุขและไร้ความสุข ไม่เป็นทั้งความหวาด กลัวที่หายไปและบางทีอาจเป็นก้าวที่ข้ามพ้น ไป ผมรู้ ผมจินตนาการว่าความรู้สึกที่ไม่อาจ วิเคราะห์ได้นี้ได้แปลงเปลี่ยนสิ่งที่คงเหลือเพื่อ ให้เขาด�ำรงอยู่ เหมือนหนึ่งความตายภายนอก ตัวเขาที่นับจากนี้สามารถท�ำได้เพียงแค่เป็น ปฏิปักษ์ต่อความตายภายในตัวเขา “ผมยังมี ชีวิตอยู่ ไม่ คุณได้ตายไปแล้ว”

‘นักเขียนที่เขียนว่า “ข้าพเจ้าอยู่เพียงล�ำพัง” สามารถพิจารณาว่าเป็น เรื่องน่าขัน มันน่าขันก็เพราะการตระหนักถึงความโดดเดี่ยวมาจาก การอ้างผู้อ่าน และใช้วิธีนั้นยับยั้งการอยู่เพียงล�ำพังของปัจเจกลงเสีย ค�ำว่าโดดเดีย่ วเป็นค�ำธรรมดาสามัญเหมือนกับขนมปัง การเอือ้ นเอ่ยคือ การน�ำพาทุกสิ่งนอกเหนือความหมายของค�ำนั้นมาสู่ตัวเรา’ "A writer who writes, "I am alone" ... can be considered rather comical. It is comical for a man to recognize his solitude by addressing a reader and by using methods that prevent the individual from being alone. The word alone is just as general as the word bread. To pronounce it is to summon to oneself the presence of everything the word excludes." MAURICE BLANCHOT

*** หลังจากนั้น เมื่อได้กลับปารีส เขาได้พบ กับมาลโรซ์[4] ผู้เล่าว่า เขาเพิ่งถูกจับกุมตัว (โดยไม่มีใครจดจ�ำเขาได้) และเขาได้หลบหนี ออกมาเป็นผลส�ำเร็จ หากก็ต้องเสียต้นฉบับ ไประหว่ า งการหลบหนี นั้ น “มั น เป็ น เพี ย ง แค่การขบคิดเกี่ยวกับศิลปะ ง่ายจะสร้างขึ้น มาใหม่ แม้จะไม่มี ต้ นฉบั บอยู ่อีก แล้ว” กับ ปอลล็อง[5]เขาได้ไต่ถามถึงต้นฉบับที่เหลืออยู่ อย่างเปลืองเปล่า อะไรที่ยังคงส�ำคัญ ทั้งหมดที่คงเหลือคือ ความรู้สึกถึงความเบาหวิวที่เป็นความตายใน ตัวของมันเอง หรือกล่าวให้ถูกต้องกว่าก็คือ ชั่วขณะแห่งความตายของผม ที่นับจากนี้ไปได้ ถูกพักไว้ชั่วคราว

โมริซ บล็องโชต์ (Maurice Blanchot) นักเขียนนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ผลงานของเขาไม่ว่าจะเป็น นวนิยาย ความเรียง และบทวิจารณ์ได้ให้อิทธิพล ทางความคิดอย่างมากมายต่อทัง้ นักวรรณคดีศกึ ษา ปรัชญา วิชาการด้านสังคมศาสตร์ และรัฐศาสตร์ บล็ องโชต์จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนล�้ำหน้าที่ลึกลับ ที่สุด ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง แทบไม่มีใครเคยเห็นบล็องโชต์อีกเลย เขามีส่วน ร่วมกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง การต่อสู้เรียก ร้องเพื่อความเป็นธรรมในสงครามแอลจีเรีย ด้วย การเขียนบทความและจดหมายเปิดผนึก อีกทั้งยัง เป็นที่พูดคุยปรึกษาของนักปรัชญา-นักเขียนผู้มีชื่อ เสียงอย่าง Georges Bataille, Jacques Derrida, Giorgio Agamben และ Antonio Tabucchi

vol. 01 2013

14


JORGE LUIS BORGES กวีศาสตร์ เพื่อที่จะมองไปยังแม่น�้ำซึ่งก�ำเนิดเวลาและสายน�้ำ และการระลึกถึงเวลานั้นคือแม่น�้ำสายอื่น เพื่อที่จะรู้ว่าเราสูญเสียเหมือนแม่น�้ำสายนั้น และเหล่าใบหน้าเลือนหายไปดุจสายน�้ำ เพื่อที่จะรู้ถึงการตื่นจากฝันนั้นมิใช่การหลับไหล ขณะที่มันคือความฝันอื่น และความตายนั้น ที่เนื้อหนังของเราตระหนกกลัวต่อความตาย ซึ่งมาเยือนทุกค�่ำคืนและถูกเรียกว่าการหลับ

พวกเขากล่าวว่ายูลิสซีสนั่งลงด้วยความอัศจรรย์ ร�่ำไห้น�้ำตาเนืองนองด้วยรักขณะทัศนาเมืองอิทาคาของเขา เขียวและนอบน้อม ศิลปะคืออิทาคา เขียวนิรันดร์ หาใช่ความหัศจรรย์ไม่

เพื่อที่จะเห็นในวันหรือในขวบปีสัญลักษณ์หนึ่ง แห่งวันๆ ของมนุษย์และช่วงปีของเขา ที่จะเปลี่ยนรูปความโหดเหี้ยมของขวบปี สู ่ ด นตรี สั ก บท เสี ย งคร�่ ำ ครวญ และสั ญ ลั ก ษณ์ สักชิ้นหนึ่ง

เฉกเช่นเดียวกันกับแม่น�้ำไร้ที่สิ้นสุด ซึ่งไหลท้นและยังคงอยู่และเป็นเหมือนกระจกเงาของผู้หนึ่ง ซึ่งไม่คงที่เฮราคลิตุส ผู้ซึ่งดุจเดียว และผู้อื่น เหมือนแม่น�้ำไร้ที่สิ้นสุด

เพื่อที่จะเห็นในการหลับตาย และในตะวันลับ ความเศร้าสีทอง-อย่างในบทกวี ซึ่งยืนยงคงกระพันและอนาถ บทกวี คืนกลับราวรุ่งอรุณและยามอัสดง

ฆอร์เฆ ลูอสิ บอร์เฆส หรือทีน่ า่ จะถูกต้องใกล้เคียงกว่าคือ ฆอร์เค หลุยส์ บอร์เคส (Jorge Luis Borges) ในส�ำนวนแปลของอาจารย์ ภาสุรี ลือสกุล เราคงไม่ต้องแนะน�ำตัวกันมากส�ำหรับนักเขียน อาร์เจนไตน์ท่านนี้ เพราะเขาเป็นหนึ่งในนักเขียนละตินอเมริกา ผู้ทรงอิทธิพลตลอดกาล เมื่อได้อ่านกวีของบอร์เฆสก็ยิ่งท�ำให้ ค�ำพูดของนักเขียนบางท่านที่ว่า เขาน่าจะเป็นกวีได้เลิศล�้ำอ�ำไพ เสียและเป็นอมตะยิ่งกว่าเป็นนักเขียนเรื่องสั้นสั่นสมองผู้ยืนยง” เป็นจริงเสียยิ่งกว่าจริง

โมงยามในสนธยาใบหน้าหนึ่ง จ้องมองเรานอกความลึกของกระจกเงา ศิลปะควรเป็นเหมือนกระจกเงานั้น ซึ่งส�ำแดงแก่เราใบหน้าของตัวเราเอง

vol. 01 2013

15



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.