พุทธศิลป์พื้นถิิ่น
ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวง จังหวัดแพร่
กิตติวรา กันสิงห์
พุทธศิลป์พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวง จังหวัดแพร่
กิตติวรา กันสิงห์
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่นใน พิพิธภัณฑ์วัดพระหลวง จังหวัดแพร่ วัดพระหลวงหรือวัดพระธาตุเนิ้งนั้นถือได้ว่าเป็นที่เคารพสักการะ และมีอิทธิพลทางด้านความเชื่อและความศรัทธาต่อพุทธศาสนิกชนชาว จังหวัดแพร่เป็นอย่างมาก วัดพระหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 177 หมู่ที่ 5 ตำ�บล พระหลวง อำ�เภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ นับเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความ สำ�คัญอย่างยิ่งต่อการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านพระหลวงในปัจจุบัน วัดนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด วัดพระหลวงมีโบราณ สถานที่มีความสำ�คัญหลายแห่ง คือ เจดีย์วัดพระหลวง หอไตร หอระฆัง พิพิธภัณฑ์ ซึ่งชาวบ้านได้ทำ�การบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานให้เป็น ปูชนียสถานที่ควรค่าแก่การเคารพสักการะ และเป็นศูนย์รวมของชุมชน ในท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ พิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงนั้นเป็นสถาน ที่เก็บรวบรวมสิ่งของอันมีค่าที่มีการสั่งสมกันตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษซึ่ง ภายในพิพิธภัณฑ์นั้นก็ยังมีการรวบรวมชิ้นงานในด้านของงานพุทธศิลป์ที่มี บทบาทความสำ�คัญในทางพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่าไว้อย่างมากมายและ งานพุทธศิลป์เหล่านี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเลื่อมใสในพุทธศาสนาจาก อดีตจนถึงกลุ่มชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี พิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 เป็นสถานที่เก็บ รวบรวมสิ่งของอันมีค่าที่มีการสั่งสมกันตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่ล้วนแล้วแต่ มีการสร้างขึ้นจากภูมิปัญญาพื้นบ้านแทบทั้งสิ้น ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์นั้นก็ ยังมีการรวบรวมชิ้นงานในด้านของงานพุทธศิลป์ที่มีบทบาทความสำ�คัญ ในทางพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่าไว้อย่างมากมายและงานพุทธศิลป์เหล่า นี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงการเลื่อมใสในพุทธศาสนาจากอดีตจนถึงกลุ่มชนรุ่น หลังได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดีงานพุทธศิลป์ก็ยังคงไม่เป็นที่ รู้จักและ ขาดการเรียนรู้ถึงความเป็นมาของงานพุทธศิลป์ในปัจจุบันเท่าที่ควร
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 3
พิพิธภัณฑ์ หมายถึง เป็นสถานที่สะสมหรือรวบรวมสงวนรักษา สิ่งของซึ่งมีความสำ�คัญ มีคุณค่าทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และธรรมชาติวิทยา เป็นหลักฐานแสดงถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและ อัจฉริยะของมนุษย์ งานพุทธศิลป์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นรับใช้พระพุทธศาสนา โดยตรง ทั้งในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมใน ลัทธิมหายาน และเถรวาท มีรากฐานที่ผูกพันกับวิถีการดำ�เนินชีวิต ของ ผู้คนในสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน พุทธปฏิมา สถาปัตยกรรม และวรรณกรรม ซึ่งเป็นศิลปะแขนงต่างๆ เหล่านี้ ได้รับ การกล่าวขานว่าเป็นพุทธศิลป์ โดยมีเหตุผลสำ�คัญประการหนึ่ง เพราะ สร้างขึ้นในปริมณฑลของวัด เนื้อหาสาระมีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสดา และ อีกประการหนึ่ง เพราะศิลปินหรือช่างจะแสดงเจตจำ�นงในการเนรมิต ศิลปกรรม ด้วยพลังศรัทธา และเป็นพุทธบูชา ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริม การเผยแพร่และการปฏิบัติทางพุทธศาสนาโดยตรงและเป็นสิ่งช่วยโน้มน้าวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ให้เกิดความศรัทธา ประพฤติปฏิบัติตน ในแนวทางที่ดีงามตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาโดยสิ่งที่ผู้สร้าง งานศิลปะได้พยายามสื่อหรือสอดแทรกไว้ในงานศิลปะแต่ละชนิด งาน พุทธศิลป์ภายในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงนั้นจากการศึกษาค้นคว้าได้พบ ชิ้นงานในส่วนของงานพุทธศิลป์จานวน 24 ชิ้น สามารถจำ�แนกได้ดังต่อ ไปนี้ วิหารน้อย มีจำ�นวน 10 หลัง ธรรมาสน์ มีจำ�นวน 1 หลัง หีบธรรม มีจำ�นวน 4 หีบ 4. ตู้ธรรม มีจานวน 7 ตู้ เครื่องสูง จำ�นวน 2 ชุด งานพุทธศิลป์ทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีความหมาย ความเชื่อที่เกี่ยวกับ การสร้างงาน วิธีการประดิษฐ์ หรือแม้แต่การนำ�ไปใช้ที่มีบทบาทหน้าที่ที่ มีความแตกต่างกัน แต่การสร้างชิ้นงานทั้งหมดนั้นมิได้มีความแตกต่างกัน ในพื้นฐานของการสร้างขึ้นเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนาแต่ประการใด
4 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
ความหมายของงานพุทธศิลป์ วิหารน้อย หมายถึง วิหารที่ มีการจำ�ลองขึ้นเพื่อจำ�ลองลักษณะ ของวิหารหลังเดิมไว้ก่อนที่จะมีการ ปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงรูปแบบของ วิหาร
ธรรมาสน์ หมายถึง อาสนะ สงค์เป็นที่นั่งสาหรับใช้ในการแสดง พระธรรมเทศนา หรือใช้ในการสวด พระปาติโมกข์ โดยตั้งอยู่ท่ามกลาง คณะสงฆ์ในอุโบสถ นอกจากนี้ยังตั้ง อยู่ด้านขวามือของพระประธานใน วิหารล้านนา
หีบธรรมหรือตู้ธรรม หมายถึง หีบไม้ขนาดใหญ่เป็นที่ บรรจุคัมภีร์ใบลานคำ�สั่งสอนของ พระพุทธเจ้า เป็นดั่งตัวแทนของ พระพุทธองค์ซึ่งชาวล้านนาให้ความ สำ�คัญมากในเรื่องนี้
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 5
เครื่องสูง หมายถึง เครื่องประกอบพิธีกรรมและเป็นเครื่องพระยศ ของพระพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วยแท่งไม้ปักบนฐาน 6-8 สิ่งด้วยกัน ได้แก่ 1. ระแอ หมายถึง เป็นหมวกทรงยอดแหลมใช้สำ�หรับพระมหากษัตริย์ หรือ ขุนนางใส่ในการออกรบ หรือเทียบ ได้กับ พระมหาพิชัย มงกุฎ (ชฎา) ของพระมหากษัตริย์ หรืออีกนัยยะหนึ่ง เปรียบได้กับ ร่ม หรือ” สัปทน” ใช้สาหรับกางบังแดด และบังฝน ในการเดินทางของพระ มหากษัตริย์ 2. บังวัน หมายถึง มักจะแกะไม้ เป็นรูปใบโพธิ์ขนาดใหญ่ ใช้ทำ� หน้าที่บังไม่ให้แสง จากดวงตะวัน (พระอาทิตย์) สาดส่อง พระมหากษัตริย์ ในการเดินทาง 3. ปัดป้าว หมายถึง มักจะแกะสลักเป็นรูปหัวพญานาคคาบพัด อาจจะทำ�จากไม้หรือสานเสื่อกก ตกแต่งด้วยการลงรักปิดทอง เป็นเครื่อง ที่ใช้โบกเพื่อให้ความเย็นถวายพระมหากษัตริย์ 4. ฉัตร หมายถึง เป็นฉัตรทรงใหญ่ 3 ชั้น ทำ�ด้วยผ้าปักหักทอง ขวาง และมีสายไหมถักห่างๆ คลุมพับกันลมตีกลับ สำ�หรับหนึ่งที่มี 4 คัน สำ�หรับหักหรือแห่เสด็จพระราชดำ�เนินหลังฉัตร 5 ชั้น 5. จามาร หมายถึง เดิมเป็นแส้ทำ�ด้วยขนจามรีมีด้ามยาว สำ�หรับ เจ้าพนักงานเชิญถือปัดในเวลาประทับอยู่เบื้องสูง สารับหนึ่งมี 16 คัน แบ่ง เป็นซ้าย 8 คัน ขวา 8 คัน จามรนี้เป็นแส้ จึงมีปลอกหนังรูปเหมือนน้ำ�เต้า แต่แบน สวมภายนอก ต่อมาตัวแส้ขนจามรีขาดหายไป จึงมีแต่ปลอก ติดอยู่ รัชกาลที่ 6 ไม่ทรงโปรด และโปรดให้เปลี่ยนเป็นเชิญทวน หรือ พุ่มดอกไม้ 6. แส้จามรี มักจะแกะเป็นรูปหัวพญานาค ปากคาบ ขนจามรี เพื่อใช้ในการปัดไม่ให้ยุงหรือ แมลงมากัดต่อย องค์พระมหากษัตริย์
6 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 7
วิหารน้อย
แนวความคิดความเชื่อที่เกี่ยวกับงานพุทธศิลป์
แนวความเชื่อในการสร้างวิหารน้อย “ การสืบทอดพระศาสนา ให้ครบ 5,000 ปี ” เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาอันเป็นการสร้าง อนิจสงค์ ผลบุญให้ตนเอง และบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อเป็นการประดิษฐาน พระพุทธรูป ซึ่งน่าจะถวายพร้อมกับการสร้างวิหารน้อย และเพื่อเป็นการ จำ�ลองลักษณะวิหารหลังเดิมไว้ก่อนที่จะมีการบูรณปฏิสังขรณ์เปลี่ยน แปลงรูปแบบวิหาร วิหารน้อยจะนิยมสร้างด้วยไม้แกะสลัก หลังคามักเป็น ไม้ไผ่สานลงรักหรือลงหางลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม
และศิลปกรรมคล้ายคลึงกับวิหารขนาดใหญ่ที่มีการก่อสร้างจริง โดยมี การเก็บราย-ละเอียดขององค์ประกอบต่างๆ เช่น แผงแล ปากแล คัน ทวย ฯลฯ ทั้งนี้อาจได้ความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงส์ของการสร้างวิหารน้อย เปรียบเสมือนการสร้างวิหารหลวงจริงหากแต่วิหารน้อยเป็นการสร้างเพื่อ ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ทำ�ถวายไว้
8 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
ธรรมาสน์
ความเชื่อในการสร้างธรรมาสน์ เป็นการจำ�ลองคติจักรวาลลง มา การให้ธรรมมาสน์เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นจอมเทพบนสวรรค์ชั้นนี้ได้ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุไว้ในจุฬามณี ซึ่งเมื่อเวลาพระภิกษุขึ้นไปเทศน์เราจะไม่เห็นตัว ของพระ-ภิกษุเลย ทำ�ให้เกิดจินตนาการว่าเป็นเสียงขององค์พระสัมมาสัม พุทธเจ้าที่สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้ทำ�การอบรมสั่งสอนธรรมะ ให้เหล่ามนุษย์ผู้อยู่ในชมพูทวีปได้ฟังพระธรรม
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 9
หีบธรรม แนวความเชื่อในการสร้างหีบธรรม ตู้หรือหีบธรรมถือว่าเป็นสิ่งที่เก็บบรรจุ คัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นหลักคำ�สอนขององค์ พระพุทธเจ้า เป็นดัง ตัวแทนของพระพุทธ องค์ซึ่งชาวล้านนาให้ความสำ�คัญมาก คติ ความเชื่อที่แสดงออกมาในงานของหีบพระ ธรรมจึงมองเห็นถึงความศรัทธาเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากความพิถีพิถัน การบรรจง สร้างด้วยความวิจิตร และประดับตกแต่ง ลวดลายต่างๆ ล้วนแสดงถึงความเชื่อความ เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นความ เชื่ออีกลักษณะหนึ่งที่จะแสดงออกมาก็คือ ในส่วของการตกแต่งซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับช่าง หรือศิลปินผู้สร้าง ได้มีการถ่ายทอดลงบน งานพุทธศิลป์ ซึ่งหลากหลายลวดลายที่ถูกคิดขึ้นนั้น มักแฝงความหมาย และคติความเชื่อเข้าไว้ด้วยกัน เป็นดังคติ สอนใจในรูปแบบระบบสัญลักษณ์จนเป็น วัฒนธรรมสืบทอดและเป็นที่ยอมรับของ คนในท้องถิ่น
10 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
เครื่องสูง เครื่องสูงเทียมยศวางไว้ข้างอาสนะหรือราชบรรจถรณ์ ถือเป็น เครื่องสักการะอย่างหนึ่ง แด่พระพุทธเจ้า ทาขึ้นตามแบบของคัมภีร์ อภิธานปทีปถา ในพระมหานิพพานสูตร กล่าวถึงตอนที่พระพุทธเจ้าตรัส กับพระอานนท์ถึงการจัดการกับพระพุทธสรีระ หลังจากเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานไปแล้วว่า ให้จัดการเหมือนกับการปลงพระศพของพระพุทธเจ้า จักรพรรดิ กล่าวคือทรงเป็นพระจักรพรรดิราช ในทางธรรมนั่นเอง เครื่อง สูงของทางล้านนา ประกอบด้วย เบญจราชกกุธภัณฑ์ 5 อย่าง ได้แก่
1. คทา 2. กลด หรือฉัตร 3. บังสูรย์ (ทางเหนือเรียกกระแอหมู่บังวัน) 4. จามร หรือแส้จามรี 5. พัดโบก (ทางเหนือเรียกว่าพัดค้าว)
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 11
รูปแบบและโครงสร้างของงานพุทธศิลป์ วิหารน้อย
วิหารน้อยนิยมสร้างด้วยไม้แกะสลักทั้งหลังคามักเป็นไม้ไผ่สาน ลงรักหรือลงหาง ลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม คล้ายคลึงกับวิหารใหญ่ที่มีการก่อสร้างจริง โดยมีการเก็บรายละเอียด ขององค์ประกอบต่างๆ เช่น แผงแล ปากแล คันทวาย ฯลฯ ลักษณะทาง สถาปัตยกรรมของวิหารน้อยมี 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. วิหารโถงหรือวิหารไม่มีป๋า งเอก ชื่อของวิหารลักษณะนี้ กำ�หนด มาจากคำ�ศัพท์ของล้านนาโบราณ ที่ เรียกฝาผนังว่า “ป๋างเอก” ลักษณะ เด่นของวิหารน้อยหลังนี้ คือ มีการ ทำ�ผนังขึ้นมาจากด้านพื้นวิหาร แล้ว ปล่อยโล่งด้านบน
2. วิหารแบบปิดหรือวิหารมี ป๋องเอก เป็นวิหารที่สร้างฝาผนังไม้ แบบฝาตาผ้า(ฝาผนังไม้เข้าลิ้น) ปิด ล้อมห้องภายในวิหาร
12 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
ธรรมาสน์ ธรรมาสน์ทรงปราสาท พบ ทั่วไปในล้านนาเป็นธรรมาสน์ที่สร้าง ขึ้นให้วิจิตรพิสดารขึ้นไป มีทั้งแบบยอด แหลมพร้อมกูบหลังคาซ้อนชั้นและแบบ หลังก๋ายหรือปากบาล ที่จะใช้เฉพาะใน การเทศน์เท่านั้น ธรรมาสน์ทรงปราสาท เหล่านี้เป็นการแกะสลักไม้ที่อ่อนช้อย สวยงาม ลงรักปิดทองหมู่บัวขนุนที่ชาน รับซุ้มยอดปราสาทบนมุมบรรจบมีนาค แกะสลัก และลวดลายตามขอบชั้นต่างๆ แสดงถึงการผสมผสานระหว่างศิลปะ ล้านนากับศิลปะจีน
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 13
หีบธรรม
ลักษณะหีบธรรมที่พบได้ทั่วไปในล้านนา สามารถแบ่งตาม ลักษณะโครงสร้างได้ดังนี้ ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หีบธรรมสามารถแยกเป็นส่วนต่างๆได้ดังนี้ 1. ส่วนฐาน เป็นส่วนที่รับน้าหนักมากที่สุด รูปแบบส่วนใหญ่เป็น ลักษณะของฐานปัทม์ ซึ่งมีฐานสูง ใช้วิธีการเข้าไม้โดยอาศัยการเข้าเดือย สลักยึดมุมด้านในทั้ง 4 มุมเข้าด้วยกัน และแบบฐานเตี้ยคิ้วบัวชั้นเดียว ซึ่ง ส่วนฐานนี้ก็จะประดับตกแต่งทั้งเทคนิคแกะสลักหรืองานลายคำ� 2. ส่วนกลาง หรือส่วนที่เป็นตัวหีบ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปทรง สี่เหลี่ยม โดยเฉพาะ ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นไม้กระดานต่อกัน นิยมนำ�ไม้ สลักมาทำ�มากที่สุด ไม้กระดานดังกล่าวจะเป็นไม้แผ่นเดียวหนาพอสมควร ใช้วิธีการเข้าไม้ต่อเดือยยึดติดแผ่นไม้กระดานในแต่ละด้าน วิธีดังกล่าวจะ ช่วยให้แผ่นไม้กระดานทั้ง 4 ด้าน มีแรงยึด แรงดันซึ่งกันและกัน บริเวณ ปากหีบจะทำ�เป็นขอบสลักตัวผู้ไว้ ถือเป็นการซ่อนปากหีบซึ่งมีขนาดเล็ก เท่ากับตัวหีบ เพื่อใช้ส่วนหีบฝาสวมเข้ากับตัวหีบอย่างสนิท 3. ส่วนฝา คือส่วนที่ใช้ปิดปากหีบช่างจะสร้างให้พอดีกับส่วนที่ เป็นตัวหีบ บริเวณด้านบนของฝาหีบจะใช้ไม้กระดานต่อกันจนเรียบเป็น แผ่นเดียว เข้าเดือยยึดกับของด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ประกอบกันเป็นฝา
14 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
ส่วนประกอบต่างๆของหีบธรรม
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 15
เครื่องสูง เครื่องสูงประกอบด้วยโครงสร้างหลักๆ 2 ส่วนดังนี้ 1. ส่วนของฐาน 2.ส่วนของตัวเครื่องสูง ฐาน ส่วนของฐานเครื่อง สูงทำ�จากวัสดุไม้และทาสีพื้นเรียบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในส่วนของหัว ของฐานอาจเป็นแบบธรรมดาหรืออาจมีการแกะเป็นหัวเหลี่ยม หัวหัว หรือเป็นยอดแหลม ส่วนของเครื่องสูง ตัวงานเครื่องสูงมักเป็นการผสม ผสานเครื่องราชกุธภัณฑ์และเครื่องสูงกษัตริย์เข้าด้วยกัน วัสดุที่ใช้ทำ� เครื่องสูงมี 2 ชนิด คือ ไม้และโลหะสังกะสี ตัวเครื่องสูงนี้จะประกอบด้วย สิ่งต่างๆดังนี้ 1.ระแอ คือ คชาหรือธารพระกร มีลักษณะเป็นรูปทรงของไม้กลึง กลม หรือไม้กลึงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หัวของระแอมักทาเป็นหัวตัดหรือหัว ขัดปลายมน มีลักษณะเหมือนรูปแบบกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของกษัตริย์ 2. ปังวันหรือปังแทรก มีลักษณะรูปทรงเป็นพัดทรงกลมมน แบน ด้ามยาวลักษณะคล้ายในเครื่องสูงของกษัตริย์ 3. พัดโบก มีลักษณะเป็นรูปพญานาคคาบพัดเชิงงอก มีรูป ลักษณะที่คล้ายกับพัดโบกคล้ายในเครื่องสูงของกษัตริย์ 4. ฉัตร มีลักษณะเป็นด้ามยาวและมีหมวกที่ปลายเสามักทำ�จาก ไม้ เหมือนกับฉัตรในเครื่องกุมภัณฑ์ของกษัตริย์ทางภาคกลาง 5. แส้จามร ลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนปลายไม้มักเป็นรูปหัวนาค คาบแส้ที่ปากหรือกระดิ่ง หรืออาจเป็นรูปตัวพญานาคเพียงอย่างเดียว 6. พระแสงขรรค์ ลักษณะเป็นด้ามยาวปลายมักทำ�เป็นรูปดาบ หรือหอก หรือบางทีมีลักษณะเป็นสามง่าม มีลักษณะคล้ายกับแสงขรรค์ ชัยศรีในชุดเครื่องกุมภัณฑ์ของกษัตริย์ 7. จามร ลักษณะคล้ายพัดยอดแหลมสองลอน ทรงสูง ทำ�จากไม้ คล้ายกับลักษณะจามรภาคกลางในปัจจุบัน ซึ่งเดิมทำ�เป็นแส้ด้วยขนจามรี ด้ามยาว 16 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
ส่วนประกอบต่างๆของเครื่องสูง พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 17
เทคนิคในการประดับตกแต่งงานพุทธศิลป์
การประดับตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นงานประดับตกแต่งภายนอก โดยการประดับ ตกแต่งนั้นจะทำ�ให้มีความกลมกลืนต่อเนื่องกัน ซึ่ง กระบวนการตกแต่งนี้เองทำ�ให้งานพุทธศิลป์แต่ละชิ้นมีความสวยงาม มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ถือเป็นขั้นตอนสำ�คัญขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งแต่ละเทคนิค ก็จะแสดงออกถึงลักษณะของผิว อารมณ์ ความรู้สึก แตกต่างกันไป เทคนิคดังกล่าวมีดังนี้ 1. เทคนิคงานลายคำ� หรืองาน ปิดทองล่องชาด ถือเป็นเทคนิคที่ นิยมทำ�กันมาก ในเขตล้านนา เพราะ ช่างมีความถนัด ผูกพันกับงานกระดาษ อยู่แล้ว การเขียนแบบ ผูกลวดลายบน กระดาษจึงง่ายและถนัดมากกว่าวิธีอื่น พอได้ต้นแบบลวดลายกระดาษแล้ว นำ� ยางรักมาทาตรงรองรอยที่ฉลุไว้ ทิ้ง ให้ยางรักแห้งหมาดประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงนำ�ทองคำ�เปลวมาปิดตรงร่อง ลายฉลุ ลายคำ�ก็เกิดขึ้นบนผิว หลัง จากถอดแบบลายกระดาษออกไปถือ เป็นวิธีที่ไม่่สลับซับซ้อน กรรมวิธีการ ทำ�ซ้ำ�กันนี้จะมีจังวะที่ว่างเท่าๆกัน ถึง แม้ว่าความละเอียดของลวดลายจะไม่ เท่าลายรดน้ำ�ของภาคกลาง แต่งาน ลายคำ�ก็ยังคงความเป็นระเบียบและคง ความเปล่งประกายของทองให้เห็นอยู่
18 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
2. เทคนิคงานลายคำ�แบบ ขูดลาย กรรมวิธีนี้มีวิธีการเดียวกัน กับงานลายคำ� ในแบบที่ 1 แต่ตัว ต้นแบบลายนั้นจะเป็นเฉพาะตัว เค้าโครงเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดอื่น พอได้ต้นแบบลวดลายฉลุกระดาษ นำ�ยางรักมาทาตรงโครงลายที่ฉลุ ไว้ ทิ้งให้ยางรักแห้งหมาดก่อนนำ� ทองคำ�เปลวมาปิดตรงโครงลายฉลุ จากนั้นจึงเพิ่มลายละเอียดใช้ ลวดลายคำ�ด้วยวิธีการนำ�เหล็ก แหลมมาขูดให้เกิดมีลวดลายที่ ละเอียดมากขึ้น วิธีนี้นิยมทำ�กันใน ส่วนของลายเทวดา พระธาตุเจดีย์ หม้อดอก ฯลฯ
พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 19
3. เทคนิคทารัก ทาชาด เทคนิคนี้พบเป็นส่วนมาก วิธีการคือ เมื่อเตรียมพื้นผิวด้วยการทายางรัก เสร็จแล้ว ก็จะสร้างลวดลายด้วย การเขียนลายด้วยชาด (หาง) ส่วน น้าของชาดที่บดละเอียดแล้วผสม กับยางรักในอัตราส่วนที่พอดี สีแดง ของชาดจะเข้มหรือสีแดงสดเพียง ใดนั้นขึ้นอยู่ปริมาณของยางรักใน การนำ�มาผสม ทั้งนี้ลวดลายที่เขียน นั้นไม่ได้อาศัยตัวต้นแบบลาย แต่ จะขึ้นอยู่กับความชำ�นาญของช่าง ที่เขียนลายเองว่าสามารถจะผูก ลวดลายขึ้นมาได้สวยงามมากน้อย เพียงใด
20 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
4. เทคนิคปูนปั้นรัก กระแหนะ มีลักษณะนูนต่ำ�เป็น มิติที่สวยงาม อาจกล่าวได้ว่า เทคนิคนี้ให้ความสำ�คัญกับ ลวดลายมาก วิธีทำ� คือ การเต รียมมุกโดยนำ�ขี้เถ้ามากรองให้ ละเอียดแล้วจึงผสมกับยางรัก นวดให้เข้ากันจนสามารถนำ�มา ปั้นเป็นลายได้ จากนั้นขึ้นลาย ตามจินตนาการและตามความ สามารถของช่าง เสร็จแล้วทารัก ทับลวดลาย ก่อนปิดทองคำ�เปลว เป็นอันดับสุดท้าย 5. เทคนิคการติดแก้วจืน การ ประดับแก้วจืนนั้นทำ�ให้มีความน่าสนใจ และความสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นผิวนั้น จะเกิดความมันวาว สะท้อนแสงระยิบระยับอันเกิดจากการหักเหของแสงที่มา กระทบจนทาให้เกิดมิติบนเนื้อไม้ การติด แก้วจืนนี้จะใช้ยางรักเป็นตัวประสานยึด ติดระหว่างแก้วจืนกับไม้ให้คงอยู่ หรือ บางครั้งพบว่าใช้ตะปูจีนตอกติดลงไป หลังจากนั้นก็นิยมนำ�มุกรักมาปั้นกระแหนะเป็นกรอบรอบๆ ของแก้วจืน ทำ�ให้ มีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้น พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่ 21
งานพุทธศิลป์มีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ คนกับบุคคลอื่นและคนกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ทำ�ให้เกิดรูปแบบของ การดำ�เนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและ พิธีกรรมที่สืบทอดต่อๆกันมา เช่นเดียวกันกับงานพุทธศิลป์ภายใน พิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงซึ่งมีคติความเชื่อ และแนวความคิดที่มาจาก ความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนาเป็นปัจจัยสำ�คัญ ในการสร้างงานพุทธศิลป์ขึ้นโดยความเชื่อที่พบเป็นความเชื่อทาง พุทธศาสนาที่ต้องการที่จะรับใช้พระพุทธศาสนาและเป็นการสร้าง บุญกุศลให้แก่ตนเอง โดยการสร้างงานพุทธศิลป์ตามความคติความ เชื่อที่เกิดขึ้นนั้นก็มีความแตกต่างกันซึ่งในการสร้างงานพุทธศิลป์ ตามแนวคติความเชื่อที่มีอยู่ภายในท้องถิ่นนั้นก็มีความเกี่ยวเนื่อง กับหน้าที่การใช้สอยของงานพุทธศิลป์ที่มีการใช้สอยที่แตกต่างกัน ที่ควบคู่ไปพร้อมกัน แต่โดยพื้นฐานงานพุทธศิลป์ที่เกิดขึ้นภายใน พิพิธภัณฑ์นั้นล้วนเป็นการสร้างขึ้นเพื่อมีหน้าที่รับใช้พระพุทธศาสนา เป็นหลักตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
22 พุทธศิลป์ พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวงจังหวัดแพร่
พุทธศิลป์พื้นถิิ่น ในพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวง จังหวัดแพร่ จัดทำ�โดย นางสาวกิตติวรา กันสิงห์ 530310101 ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก กรกฏาคม พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยางัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย นางสาวกิตติวรา กันสิงห์