Prof.Dr.Somkid "Let's Goal"

Page 1

advertorial pages

LET’S GOAL!

เป้าหมายและวิสัยทัศน์ของ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และหนึ่งในแคนดิเดตอธิการบดี ผู้ยึดทฤษฎี The Best!


แต่ ก่ อ นจะริ เ ริ่ ม และสร้ า งสรรค์ สิ่ ง ใหม่ ๆ ให้ ค ณะฯ อดี ต นั ก ศึ ก ษา ธรรมศาสตร์ และด็ อ กเตอร์ จ ากมหาวิ ท ยาลั ย ปารี ส คนนี้ เคยเป็ น ทั้ ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TURAC) เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคลและกฎหมาย เป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชน เขียนตำราและหนังสือ 19 เล่ม งานวิจัย 54 เรื่อง และบทความ 126 ชิ้น เป็นรองประธานกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ นายกรัฐมนตรี เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 เป็น เป็น และ เป็นอีกมาก ที่ต้องใช้พื้นที่มากมายเพื่อบรรยายให้หมด แต่สิ่งที่เขาเป็น เป็นเพียงผลสะท้อนจากสิ่งที่เขาคิดและทำ มุมมองและวิสัยทัศน์ของนักบริหารคนนี้ต่างหากที่น่าสนใจ อะไรทำให้นักศึกษากฎหมายคนหนึ่งเดินทางมาจนถึงก้าวสำคัญใน การทำงาน วิธีคิดแบบไหนที่ทำให้เขาเลือกเสนอตัวทำงานด้วยเป้าหมายที่ ยิ่งใหญ่ และความเชื่อแบบใดที่ทำให้เขาไม่ย่ำอยู่กับที่ บรรทัดข้างล่างนี้ มีคำตอบ! 3 ปีในตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ คุณคิดว่าคุณได้ให้และได้รับอะไรบ้าง จากตำแหน่งนี ้ หน้าที่ของคนเป็นคณบดีคือการทำให้คณะพัฒนาไปในอนาคต คณบดี ทุกคนก็ต้องทำแบบนี้ และคณบดีที่ดี ต้องกล้าตัดสินใจ ในธรรมศาสตร์ เรามี เวลาแค่ 3 ปีเท่านั้นเองในการเป็นคณบดี และผมประกาศตั้งแต่ต้นว่าจะเป็น คณบดีสมัยเดียว ซึ่ง 3 ปีที่เราอยู่ เราต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ผม อยากทำหลายเรื่อง เราอยากพัฒนาให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นอินเตอร์ เรา อยากให้นักศึกษามีจิตวิญญาณของนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อย่างเรื่องที่เรา ทำมากที่สุด คือความเป็นอินเตอร์ของคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผมเปิด หลักสูตรปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ ผมพยายามผลักดันให้เกิดวารสาร นิติศาสตร์ภาษาอังกฤษ ผมพยายามผลักดันให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกคน ไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ ผมเชิญอาจารย์จากต่างประเทศมาเลกเชอร์ ใน เดือนมิถุนายนนี้ จะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกเดินทางมาสอน ถามว่า ทำไมเราถึงเน้นอินเตอร์มาก ก็ต้องบอกว่า เราอยู่ในโลกของประเทศไทยไม่พอ หรอก เราต้องไปต่อสู้ แข่งขันกับต่างประเทศ อย่างคดีปราสาทเขาพระวิหาร เขมรกับไทยสู้กันมาตั้งแต่ปี 2505 ถามว่าในวันนี้เรามีนักกฎหมายไทยที่ พร้อมสู้ได้ไหม คำตอบคือยังไม่มี สิ่งที่ผมจะทำคือนักศึกษาไทยต้องสู้ได้กับ ต่างประเทศ ไม่ใช่เราบอกว่าเราเก่งแต่ในประเทศไทยเท่านั้น สิ่งที่ผมพยายามทำอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องจิตวิญญาณ เรื่องความเป็นเลิศ ทางวิชาการของคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผมพยายามปลูกฝังนักศึกษาว่า เราเป็นคณะนิติศาสตร์ที่ตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 อันนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่อีกอย่างหนึ่ง เราพยายามพูดว่าเราเป็น the first เราเป็นคณะนิติศาสตร์ที่ดีที่สุดในประเทศไทยด้วย คือเราต้องเป็นทั้ง the first และ the best เรามีอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์มากที่สุดในประเทศไทย เรา มีศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย เรามีบัณฑิตที่ไปสอบเป็นผู้พิพากษา ได้มากที่สุดในประเทศไทย เราส่งนักศึกษาไปแข่งขัน International Law Moot Court Competition คือการแข่งขันศาลจำลอง ผ่านโจทก์ จำเลย เราก็ชนะหลาย เวที ไปแข่งที่ญี่ปุ่นเราก็ชนะมา เราพยายามสร้างเสริมให้นักศึกษาธรรมศาสตร์มีอุดมคติ มีความรัก ในธรรมศาสตร์ รักในความยุตธิ รรม เราไม่คดิ ว่านักศึกษานิตศิ าสตร์ไม่มคี วามรู้ หรอก เพราะเราเคี่ยวมาก ระบบของเราเป็นระบบที่ยากที่สุด เราไม่ได้เป็นพวก จ่ายครบ จบแน่ คุณจะจบก็ต่อเมื่อคุณผ่านมาตรฐานของธรรมศาสตร์ไป ซึ่ง มาตรฐานของธรรมศาสตร์สูงมาก นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นคณะเดียวใน ประเทศไทยทีใ่ ช้คะแนน วิชาหนึง่ คะแนนเต็ม 100 คะแนน คุณต้องได้ 60 คะแนน คุณจึงจะผ่าน เราไม่ได้ใช้ A B C D เราอิงเกณฑ์ ไม่อิงกลุ่ม ในทางวิชาการ เราเข้มแข็ง ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ที่เราสนใจมากคือเราอยากทำให้นักศึกษา นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ก็คือมีความรู้ทางวิชาการ แต่ในขณะเดียวกันก็รักความเป็นธรรม กล้าต่อสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง เราพยายาม บ่มเพาะสิ่งเหล่านี้ในคณะของเรา พูดง่ายๆ ว่ามันเป็น goal เป็นจุดมุ่งหมาย ที่เราอยากจะไปให้ถึง นักศึกษานิติศาสตร์ทุกคนต้องมีความรู้คู่คุณธรรม

เอกลักษณ์นี้จำเป็นยังไง ความรู้จำเป็นมาก คุณจบวิศวะแต่คุณไม่มีความรู้ คุณก็ทำตึกถล่ม คุณ จบหมอแต่ไม่มีความรู้ คุณก็ทำคนไข้ตาย คุณจบนิติศาสตร์ ไม่มีความรู้ คุณก็ แพ้คดี เพราะฉะนั้น ความรู้จำเป็นมาก แต่อย่างที่ผมบอก เรื่องความรู้เราไม่มี ปัญหาหรอก เราได้ถูกพิสูจน์พอสมควรว่านักศึกษาเรามีความรู้ แต่สิ่งหนึ่งที่ เราต้องการสร้างเสริมคือคุณต้องรักความเป็นธรรมด้วย คุณต้องเห็นว่าสิ่งนี้ถูก สิ่งนี้ผิด ซึ่งคุณต้องกล้าบอกว่าสิ่งไหนถูกและคุณจะมุ่งไปในสิ่งที่ถูก ไม่ใช่ คุณเห็นว่าถูกแต่คุณก็ไปอีกทางหนึ่ง ความจริงนิติศาสตร์ได้เปรียบคณะอื่น เพราะเราเป็นคณะที่พดู ถึงความเป็นธรรม พูดถึงขาวกับดำ ความถูกผิดอยู่แล้ว แต่เราก็ไม่ได้เอาข้อได้เปรียบนั้นแล้วไม่ทำอะไรเลย เราพยายามบ่มเพาะเขาใน แต่ละวิชา เรามีวชิ าหนึง่ ชือ่ ว่าหลักวิชาชีพนักกฎหมาย มีอาจารย์จติ ติ ติงศภัทยิ ์ อาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร อาจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส มาช่วยสอนว่า การจบนิตศิ าสตร์ไม่ใช่เพือ่ ไปหาตังค์ แต่เพือ่ ไปสร้างเสริมสิง่ ทีด่ ใี นสังคม นัน่ คือ สิ่งที่เราพยายามทำอยู่ ในฐานะรุ่นพี่ คุณมองเห็นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในนักศึกษายุคปัจจุบัน ว่ามีมากน้อยแค่ ไหน ผมคิดว่ามีมาก เพียงแต่ว่าคนมักเอานักศึกษารุ่นนี้ไปเทียบกับรุ่นผม ไปเทียบกับรุ่น 14 ตุลา มันเทียบกันไม่ได้หรอก เพราะว่าสังคมในขณะนั้นกับ สังคมในขณะนี้ไม่เหมือนกัน ในสมัย 14 ตุลา บทบาทของผู้นำกลุ่มต่างๆ ใน สังคมไทยมันมีน้อย ในขณะที่บทบาทนักศึกษาโดดเด่น เรามีศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทยที่คอยต่อสู้ มีอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี มีอาจารย์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาได้เพราะพลังอื่นๆ ในสังคมมัน น้อยกว่าพลังนักศึกษา แต่ในวันนี้ พลังอื่นๆ ในสังคมมันเหนือพลังนักศึกษา ไม่ได้หมายความว่านักศึกษาเขาไม่เคลื่อนไหวเลยนะ ในธรรมศาสตร์ทำ กิจกรรมเยอะมาก ย้อนไปไม่นาน นักศึกษาเคยเข้าชื่อถอดถอนคุณทักษิณ ออกจากตำแหน่ง ปัจจุบัน นายก อมธ. ก็เคลื่อนไหวไปกับอาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รณรงค์ต่อต้านความรุนแรง นักศึกษาเข้ามาทำกิจกรรมเยอะ มาก แต่นักศึกษาอาจจะห่างจากกิจกรรมการเมืองหน่อยเมื่อเทียบกับสมัยนั้น แต่ผมว่าจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ที่กล้าต่อสู้ กล้าเสียสละ รักความเป็นธรรม เป็นจิตวิญญาณที่ฝังอยู่ในคนธรรมศาสตร์ทุกคนแหละ คุณคิดว่าวิสัยทัศน์จำเป็นมากน้อยแค่ ไหนในการเป็นผู้บริหาร สำคัญมาก การที่เรามี goal มีวัตถุประสงค์ และอยากจะไปให้ถึงจุดนั้น ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ แต่เวลาผมพูดกับลูกน้องผม ผมพูดง่ายๆ นี่แหละ ไม่ใช้คำว่าวิสัยทัศน์หรอก มันดูหรูหรา ผมใช้คำว่าทำอะไรใหม่ๆ ทำ สิ่งใหม่ให้กับหน่วยงานของคุณ ธรรมศาสตร์มีคน 6,000 กว่าคน ผมก็บอก อยู่เสมอว่า ถ้าคนธรรมศาสตร์ 1 คน ทำอะไรใหม่ๆ ให้ธรรมศาสตร์ 1 อย่าง ไม่ต้องทุกวันหรอก ทุกเดือนก็ได้ ใน 1 ปี ธรรมศาสตร์ก็มีสิ่งใหม่ๆ 72,000 อย่างแล้ว ซึ่งสิ่งใหม่ที่คุณจะทำให้ธรรมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตก็ได้ เช่น ผมยกตัวอย่างว่าถ้าคุณใช้อินเทอร์เน็ตไม่เป็นแล้วคุณใช้อินเทอร์เน็ตได้ คุณก็ ทำประโยชน์ให้ธรรมศาสตร์แล้ว อะไรคือสิ่งใหม่ๆ ที่คุณทำให้ธรรมศาสตร์ ผมเป็ น คณบดี ผมก็ ท ำสิ ่ ง ใหม่ ๆ ให้ ธ รรมศาสตร์ ผมริ เ ริ ่ ม โครงการ ปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ ผมเป็นคนแรกที่เริ่มส่งนักศึกษาไปแข่ง moot court ที่ต่างประเทศแล้วชนะกลับมา ผมเป็นคนแรกที่เริ่มให้อาจารย์และ นักศึกษาไปต่างประเทศ ผมให้รางวัลนักศึกษาไปต่างประเทศปีละ 20 คน นีค่ อื วิสัยทัศน์ คือการมอง เราอยากให้คณะมีความอินเตอร์ เราก็รู้ว่าอินเตอร์คือ วัตถุประสงค์ที่จะไป ผมเป็นคณบดี think big ของผมก็คือทำยังไงให้เราเป็น the best อยู่ตลอดเวลา เราเป็น the first มันเป็นข้อเท็จจริง แต่เราจะเป็น the best ได้ยังไง และไม่ใช่แค่ the best ในประเทศไทย เราต้องเป็น the best เมื่อ เทียบกับมหาวิทยาลัยใกล้ๆ เรา ในเกาหลี ในฮ่องกง ในจีน เราจะสู้เขาได้ยังไง หลังจากนั้นเราก็ขยายไป 5 ปี 10 ปี 20 ปี เราจะไปสู้กับฮาร์วาร์ด กับเคมบริดจ์ สิ่งเหล่านี้ ผมคิดว่าคณบดีทุกคนต้องมีวิชัน มีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวไปข้างหน้า ผมทำเรื่องใหม่ๆ เรื่องต่างประเทศอีกหลายเรื่อง ผมเป็นคณะเดียวที่มีเว็บไซต์ คณะที่มีภาษาต่างประเทศถึง 4 ภาษา ผมเพิ่งเซ็นคำสั่งตั้งศูนย์ศึกษากฎหมาย


ญีป่ นุ่ ขึน้ ผมคิดว่าในฐานะผูบ้ ริหาร ต้องพยายามคิดสิง่ ใหม่ๆ ทีเ่ ป็นประโยชน์ใน องค์กร คุณอยูเ่ ฉยๆ ไม่ได้หรอก เพราะวันทีค่ ณ ุ อยูเ่ ฉย มีคนกำลังวิง่ ตามคุณมา และพยายามจะแซงคุณไปข้างหน้า ถ้าคุณอยากดำรงความเป็นที่หนึ่งของคุณ คุณต้องทำตลอดเวลา ต้องมีวิสัยทัศน์ มี goal ที่จะไป มีวิธีการที่จะไป และ ต้องมีการปฏิบัติจริงเพื่อจะไปถึงสิ่งเหล่านั้นได้ นอกเหนือจากวิสัยทัศน์ ผู้บริหารต้องมีอาวุธอะไรอีกบ้าง องค์กรของเราไม่คล้ายองค์กรอย่างกระทรวง ทบวง กรม หรือตำรวจ ทหาร ทีเ่ มือ่ ผูบ้ งั คับบัญชาสัง่ ว่าให้คณ ุ ไปอย่างนี้ ทำอย่างนี้ ทุกคนก็ตอ้ งไปแบบนีห้ มด ในมหาวิทยาลัย คณบดีบอกให้ไปแบบนี้ คนอื่นก็ไม่ไปตามหรอก เพราะการ บริหารมหาวิทยาลัยต้องอาศัยความร่วมมือ แต่สิ่งที่ผมจะพูดคือ มหาวิทยาลัย จะพัฒนาไปได้กต็ อ่ เมือ่ ผูบ้ ริหารได้รบั ความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ ซึง่ คุณต้องบอก ได้ว่าทิศทางนี้ดีเพราะอะไร ผมยกตัวอย่างเช่น ผมให้อาจารย์ นักศึกษา และ เจ้าหน้าทีไ่ ปดูงานต่างประเทศ ไปเปิดหูเปิดตาดูความก้าวหน้าของเขา มีอาจารย์ ในคณะคัดค้านผม ว่าผมผลาญเงินคณะ แต่นี่คือมุมมองของผมที่ต่างออกไป ทนายความอันดับต้นๆ ของไทยเดินทางไปต่างประเทศปีละ 3-4 ครัง้ เพือ่ แสวงหา ความรูใ้ หม่ๆ เขาไปสัมมนา ไปร่วมอบรม ไปร่วมประชุมสภาทนายความของโลก หรือของกลุม่ ประเทศทีเ่ ขาสนใจ ถ้าอาจารย์ทง้ั หลายไม่สนใจ ผมว่าแย่ ด้วยระบบ อินเทอร์เน็ตมันไปไกลแล้ว ถ้าเราบอกเล่าเรื่องราวของโลกว่าเป็นอย่างไร บางที นักศึกษาก็ค้าน เพราะเขารู้ว่าไม่จริง เพราะเขาค้นคว้าได้เหมือนกัน โลกมันไป ไกลมากแล้ว คุณแลกความร่วมมือและการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานด้วยอะไร สิง่ แรกเลยทีต่ อ้ งมีคอื เราต้องทำเพือ่ ประโยชน์ของคณะ ของมหาวิทยาลัย ถ้าไม่ใช่ อธิบายอย่างไรเขาก็ไม่ฟงั หรอก แต่ถา้ เรายืนอยูบ่ นจุดของความถูกต้อง ว่าสิง่ ทีเ่ ราทำไม่มผี ลประโยชน์ของเราเจือปนเลย เราต้องการให้มหา’ลัยมีความ อินเตอร์ ให้คนธรรมศาสตร์เจอฝรั่งแล้วไม่ต้องวิ่งหนี และอีกข้อคือ ผมรับฟัง ความคิดเห็นของทุกคน จึงได้รับความร่วมมือดีเยี่ยมจากทุกคนในคณะ เหตุ ผ ลข้ อ ใดที่ ท ำให้ คุ ณ ตั ด สิ น ใจลงสมั ค รเป็ น อธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ผมเป็นคนชอบทำงาน เวลาเรียนหนังสือ ผมก็เรียนไปถึงขีดสุดของมัน ในทางวิชาการ ผมก็เป็นศาสตราจารย์ และเมื่อเป็นศาสตราจารย์แล้ว ผมก็ ใช้เวลาไปเป็นรองอธิการบดี เป็นคณบดี พูดกันตามตรง ไม่ทำงานแล้วมัน ไม่สบายตัว และก่อนผมมาเป็นคณบดี ผมผ่านงานมาพอสมควร ผมรู้ว่างาน บริหารไม่ใช่เรือ่ งง่าย โดยเฉพาะการบริหารมหาวิทยาลัย แต่ทอ่ี ยากเป็นอธิการบดี เพราะผมอยากทำให้ธรรมศาสตร์ ผมมี goal มีวัตถุประสงค์ มีเจตนารมณ์ หลายอย่างที่อยากเห็นธรรมศาสตร์ก้าวไปข้างหน้า แต่ว่ามีข้อขัดข้องเรื่องนึงที่ คนวิพากษ์วิจารณ์เยอะ ว่าอาจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีคนปัจจุบันก็ เป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ผมก็ได้แต่บอกว่าโชคร้ายที่อยากเป็นอธิการบดี อยากทำงานให้ธรรมศาสตร์หลังอาจารย์สุรพล (หัวเราะ) ผมคิดว่า คนเป็นอธิการบดีไม่ได้ดูจากคณะหรอก แต่ผมว่าเราต้องดู วิสัยทัศน์ ดู goal ดูเจตนารมณ์ที่เขาอยากทำให้ธรรมศาสตร์ และดูผลงานของ เขาที่ผ่านมา ที่สำคัญที่ผมอยากย้ำคือว่า คนเป็นอธิการบดีธรรมศาสตร์ ไม่ได้ ทำเพื่อคณะตัวเองหรอก ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ คุณเป็นธรรมศาสตร์ ผมเป็นนิติศาสตร์ก็จริง แต่ผมเป็นธรรมศาสตร์ ผมเติบโตมาจากธรรมศาสตร์ เราก็ต้องช่วยเหลือธรรมศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ Goal ที่คุณว่า คืออะไร เราอยากทำให้ธรรมศาสตร์พัฒนาในทุกด้าน วัตถุประสงค์หลักของมหาวิทยาลัยคืองานด้านวิชาการ ผมคิดว่าธรรมศาสตร์กเ็ ป็นมหาวิทยาลัยชัน้ นำของ ประเทศอยู่แล้ว ในการจัดอันดับ ธรรมศาสตร์อยู่อันดับ 3-4 ของประเทศ เราก็ อยากขึ้นไปเป็นอันดับ 1 เราก็อยากเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย เราจะ เป็นอย่างนั้นได้ เราต้องผลิตบัณฑิตที่ดี มีความรู้ในวิชาชีพของตัวเอง มีความรู้ ในด้านภาษา และสามารถปฏิบตั งิ านได้ดี เราทำอย่างนีไ้ ด้ เราต้องมีอาจารย์เก่ง เราจึงต้องหาอาจารย์ดีๆ ส่งอาจารย์ไปเรียนต่างประเทศมากๆ มีปริญญาเอก เยอะๆ มีศาสตราจารย์มากๆ ส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตงานวิจยั ผลิตงานสิทธิบตั ร ทรัพย์สินทางปัญญาเยอะๆ สิ่งเหล่านี้มันจะสะท้อนกลับมาว่านักศึกษาจะได้

รับผลจากการที่อาจารย์เก่ง นักศึกษาก็จะเก่งตาม และสิ่งที่ผมอยากทำมากและยากที่จะทำ แต่คิดว่าถ้าเป็นอธิการบดี 3 ปี ก็พอมีเวลาที่จะทำได้ ก็คือระบบการเรียนการสอนในประเทศไทย เราใช้วิธีให้ อาจารย์ถ่ายทอดให้นักศึกษา อาจารย์นั่งหน้าห้อง แล้วก็พูดๆๆ ชั่วโมงครึ่ง สองชั่วโมง นักศึกษาก็จดๆๆ ถึงเวลาก็ออกนอกห้องพร้อมกันกับอาจารย์ พูดง่ายๆ คือ ไม่มี participation ไม่มีส่วนร่วมกัน นักศึกษาไม่ได้มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอน เราอยากปรับระบบนี้ เพื่อให้นักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ นอกจากมีความรู้แล้ว ยังเป็นคนที่กล้าพูด กล้าทำ กล้าโต้เถียง มีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งนี้สำคัญมากนะ ถ้าคุณดูในต่างประเทศ คุณจะพบว่า ต่างประเทศไม่ได้เรียนมากเหมือนประเทศไทยหรอก ผมยกตัวอย่าง คณะ นิติศาสตร์เรียน 145 หน่วยกิต ใน 4 ปี ไปถามมหาวิทยาลัยดังๆ ในยุโรป ในอเมริกา เขาเรียนแค่ 120 หน่วยกิตนะ แต่ถามว่าเขาเก่งน้อยกว่าเราไหม คำตอบคือไม่ เขาเรียนน้อยกว่าเราแต่เขาเก่งกว่าเรา ผมคิดว่าเป็นเพราะวิธีการ ศึกษา เขาเรียนโดยการให้นักศึกษาไปต่อยอดได้ด้วยตัวเอง เราไม่ได้สอนให้ นักศึกษาไปต่อยอด ถ้าอาจารย์มีความรู้ร้อยนึง นักศึกษาก็ได้ร้อยนึงแล้ว จบเลย ในต่างประเทศ อาจารย์อาจจะสอนนักศึกษาไม่ถึงร้อย แต่เขาสอนวิธีที่ จะให้นักศึกษาได้ 120 130 140 พูดง่ายๆ คือเขาทำให้นักศึกษามีเครื่องมือ ปัญหาเชิงโครงสร้างขนาดนี้ สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง? เราตั้ง goal ไว้ใหญ่ เรา think big เราต้องทำเรื่องใหญ่ๆ เรื่องที่เป็น ผลประโยชน์ของธรรมศาสตร์และประเทศ ไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ธรรมศาสตร์ เท่านั้น เราควรใช้ธรรมศาสตร์เป็นโมเดล และเราก็ผลักดันให้ทุกคนเห็นว่า โมเดลธรรมศาสตร์มันสำเร็จ แล้วประเทศก็จะเปลี่ยน คนไทยต้องคิดเองเป็น ทำอะไรเองเป็น เราอยากเปลี่ยนสิ่งนี้ให้แก่ประเทศ ถ้าธรรมศาสตร์ทำสิ่งนี้ได้ นี่อาจเป็นคุณูปการครั้งใหญ่ครั้งที่ 2 ของธรรมศาสตร์ เราเปลี่ยนวิธีการเรียน การสอนได้ไหม เราผลิตคนให้ประเทศ เป็นคนทีไ่ ม่ใช่จำแม่น มีความรูอ้ ย่างเดียว แต่สามารถพัฒนาความรู้ของตัวเองไปได้ คุณให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก เพราะอะไร โลกหมุนไปเพราะสิ่งนี้ โลกเจริญก้าวหน้าเพราะมีคนทำสิ่งใหม่ๆ ขึ้นให้ แก่โลก อะไรที่เราทำได้แล้วมันเจริญขึ้น ทำมันเถอะครับ อย่าไปรอ อย่าไปช้า

www.facebook.com/Somkit-Lertpaithoon


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.