No.1

Page 1

Kong alternative

December 2019

1


บาติก เดอ นรา

ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งร้านและโรงงาน

เริ่มแรกที่เราได้ก่อตั้งโรงงานขึ้นมาด้วยความที่ว่าเราเห็นว่าผ้าบาติกเป็นหัตถกรรมบนผืนผ้าและเป็นงานที่เป็น ภูมิปัญญาของคนบ้านเราทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเรามีรอยต่อเชื่อมต่อกับมาเลเซีย ทั้งนั้น ภูมิปัญญาเหล่านี้มันก็ ทะลักเข้ามาสู่ตามรอยต่อของเขตแดน โดยเริ่มแรกจากคนบ้านเราเข้าไปทำ�งานที่มาเลเซีย แล้วก็ไปเรียนรู้เรื่องการทำ�ผ้า บาติก เมื่อกลับมาถึงบ้านก็อาจจะมารับจ้างชาวมาเลเซียก่อนนะค่ะแรกๆ เพราะตลาดผ้าบาติกเมื่อก่อนก็อยู่ในมาเลเซีย ตลาดใหญ่ๆ เพราะมาเลเซียเขาทำ�มานานแล้ว และเราอาจจะไปเริ่มรับจ้างทำ� แล้วก็พอหลังจากรับจ้างทำ�เราก็เริ่มมีทักษะ คือ รู้จักภูมิปัญญาในการทำ�ผ้าตรงนี้ ดังนั้น การทำ�ผ้าบาติก มันก็เลยเป็นเหมือนภูมิปัญญาท้องถิ่นของเขตจังหวัด ชายแดนใต้ทีมีรอยเชื่อมต่อกับมาเลเซียใช่ไหม? มีเขตแดนเชื่อมต่อกันดังนั้น มันก็เริ่มมีคนทีบ้านเราเริ่มทำ�ผ้าบาติกเป็นก ลุ่มเล็กๆ ส่วนตัวดิฉันเอง ซึ่งตอนนั้นทำ�งานอยู่ในกรุงเทพ เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ก็คือ เรียนหนังสือ พอเรียนจบแล้วก็ ทำ�งานอยู่ในกรุงเทพมหานครฯ ตอนแรกๆที่มาสนใจผ้าบาติกเพราะมันเป็นงานบ้านเรา แล้วเวลาเรากลับมาบ้าน ก็เหมือน ว่าเราซื้อของฝากไปฝากคนที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มเอาไปฝาก ก็เห็นว่าเขาชอบและสนใจผ้าบาติกบ้านเรา แรกๆก็เอาไปฝาก ต่อ มาก็มีคนฝากซื้อพอมีคนฝากซื้อต่อกลับมา ก็รู้สึกว่ามีคนชอบนะ บางที่เราเอาผ้าของมาเลเซียบ้าง เอาไปให้บ้าง ที่เราก็ มีผ้าบาติกที่เป็นกลุ่มชาวบ้านแถวๆบ้านเราทำ�เองบ้าง ก็เลยเอาไปฝาก เอาไปขายบ้าง ก็ได้ค่ารถเล็กๆน้อยๆ จนกระทั้ง เราก็เริ่มเห็นว่าผ้าบาติกนี้มันมีความต้องการ (demand) อยู่ ความต้องการในสินค้าทีมันมีความเป็นงานทำ�มือ เป็นงาน (Handmade) เพราะฉะนั้น คนเขาจะชอบมันไม่ซ้ำ�ใครแล้วก็มันจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ เพราะมันเป็นงานที่ทำ�มือ อย่างภาค อื่นเขาก็มีงานท่อผ้าใช่ไหม? เช่น อีสาน ท่อผ้าไหม้ งานผ้าฝ้าย งานหอม ส่วนภาคใต้เราก็จะเป็นงานผ้าบาติก เพราะฉะนั้น เราก็มองว่ามันเป็นสินค้าหัตถกรรมอีกตัวหนึ่ง ซึ่งมันมีความต้องการ แล้วก็มีคนที่เรารู้จัก เขาบอกว่า สินค้าพวกนี้ชาว ต่างชาติน่าจะชอบ ก็เลยให้เราแนะนำ�น่าจะเอาของแบบนี้ไปเสนอขายให้กับร้านที่มีชาวต่างชาติเข้าเขาไปท่องเที่ยว เราก็ เลยเริ่มมอง เริ่มที่จะเอาสินค้าที่เป็นผ้าบาติกจากบ้านเรา กลับมาก็เห็น เขามีอะไรบ้างที่น่าสนใจ เช่น ผ้าเช็ดหน้าเล็กๆที่วาด (paint) หรือว่าเป็นเสื้อสำ�เร็จรูปที่มันใส่สบายๆเป็นเสื้อในแคดโชที่ชาวบ้านเราทำ�อยู่ที่กลุ่มบาติก กลุ่มเล็กๆที่เขายังทำ�อยู่ ตามชายแดน เราก็เลยลองเอาสินค้าพวกนี้ไปเสนอขาย ตอนแรกก็คิดว่าจะรับของจากนี้ไปเริ่มเสนอขายให้กับฝ่ายจัดซื้อ แต่ตอนนั้นตัวเองมีงานประจำ�อยู่ เราก็ทำ�งานบริษัทอยู่ เราก็เลยคิดว่าตรงนี้มันก็เป็นรายได้เสริมสำ�หรับตัวเอง เราก็เริ่ม หาตลาด เขาก็เริ่มสนใจผ้าเช็ดหน้าเล็กๆ ก็เอาไปขายเขาก็สนใจ พอขายได้เขาก็เริ่มสั่งอีก ต่อไปเขาก็เริ่มขอ (Request) เรา ว่าอยากจะได้ไซต์นี้นะ ลักษณะเป็นผ้าผันคอ ซึ่งชาวต่างชาติเขาชอบ ก็เริ่มมีขนาดนั้น ขนาดนี้ สีนั้นบางสีนี้บ้าง แนะนำ�มา เรื่อยๆ และตอนนั้นในขณะที่ทำ�งานอยู่ และก็เหมือนว่ามีรายได้ตรงนี้เสริมขึ้นมา ซึ่งมันก็ไม่ใช่น้อย ในตอนนั้นเรามีรายได้ จนถึงขั้นว่าเราสามารถซื้อโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งสมัยนั้นโทรศัพท์มือถือแพงมาก มันไม่ใช่ว่าเรามีรายได้จนถึงซื้อโทรศัพท์ แต่มันเป็นรายได้ที่เราคิดว่ามันคุ้มถ้าจะซื้อโทรศัพท์มือถือมาใช้เพราะว่าการติดต่อกับลูกค้าก็สำ�คัญ เราก็ซื้อโทรศัพท์มือ ถือ ซึ่งราคาตอนนั้นประมาณ 50,000 บาท


ตอนนั้นเป็นรุ่นที่หลังจากกระดูกนิดหนึ่งเป็นรุ่นที่ตรงๆ Nokia มันเป็นยุคใหม่เลยตอนนั้น ก็ใช้โทรศัพท์มือถือ ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า จนกระทั้ง เรามองว่ามันน่าลงทุนจังเลย ธุรกิจตัวนี้ เราก็มองในเรื่องของธุรกิจก่อน ว่ามันก็น่าลงทุน ก็คือ ผลิตงานที่เป็นงานหัตถกรรม หาคนทำ�งาน แล้วก็มาเสนอขายในตลาดที่เราเห็นว่ามันมีโอกาส ที่จะขาย เช่น ตลาดกลุ่มร้านขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเทียวหรือชาวต่างชาติ เราก็เริ่มคิดก่อน จนกระทั้งเราทำ� จนถึงจุดหนึ่งก็มีรายได้เสริมเข้ามาจาก (คือหลักของเขา หลักของชาวบ้านเอาไปขาย) จนถึงจุดที่เรารู้สึกว่าเราเริ่ม ควบคุมงานไม่ได้ เพราะว่าเวลาเราไปเจอลูกค้ามากขึ้น ลูกค้าก็จะเริ่มขอ อยากจะได้แบบนั้น แบบนี้ เลยรู้สึกว่าการ สื่อสารระหว่างเรากับชาวบ้าน จะเริ่มยากขึ้น เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพยายามจะบอกเขา เช่น เราบอกว่าเราต้องการ สีแบบนี้ แต่เขากลับไม่คล้อยตามเรา เขาเริ่มรู้สึกว่าเขาผลิตอะไรก็ได้ เขาทำ�อะไรก็ได้ ดังนั้น เราเริ่มรู้สึกว่าเราต้อง พยายามควบคุมตรงนี้แล้วละ ที่เขาเรียกว่า ควบคุมการผลิต ให้มีความเสถียร ให้มันตรงตามความต้องการของ ลูกค้า แต่ว่าความเป็นชาวบ้านทำ�ให้เราไม่สามารถที่จะควบคุมเขาได้ เราก็เลยถึงจุดหนึ่งที่คิดถึงการมีคนของเราเอง ฉะนั้นมันก็เริ่มมีความคิดที่จะหาคนมาทำ�งาน ก็เริ่มมาหาคนที่รู้การทำ�ผ้าบาติก เริ่มจากกลุ่มคนสองสามคนที่เรารู้สึก ว่าเขาทำ�งานให้เราได้ ก็หาคนสองสามคนมาทำ� และตอนนั้นตัวเราเองก็ยังอยู่ที่กรุงเทพ เราก็ไปมา คือ เวลามีรายการ (order) เราก็มาบอกให้เขาทำ�อย่างนั้น อย่างนี้ เราก็หาคนของเราทำ� ซึ่งเป็นญาติพี่น้องเราช่วยดูแลเรื่องการผลิต เรื่องการหาวัตถุดิบ เราก็จะมาโค้ชคนของเรา ให้เขาทำ�ในแบบที่ลูกค้าสั่ง ซึ่งเรากลับมาเดือนละครั้งสองครั้ง ก็เริ่ม จากนั้นมาจนกระทั้งถึงจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่ามันไปได้ดี ระยะแรกไปได้ค่อนข้างดี เราเริ่มมีรายได้จากออเดอร์ที่มาจาก หลักหมื่นขึ้นถึงหลักแสน คือ เราเริ่มส่งหลายร้านมากขึ้น เมื่อก่อนเราก็ส่งไม่กี่ร้าน ต่อๆไปเราก็เริ่มส่งร้านที่ขายให้นัก ท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น สินค้าที่เราทำ�ส่งในช่วงใหม่ๆตอนนั้น มันเป็นสินค้าพวก ผ้าผันคอ ผ้าเช็ดหน้าเล็กๆ เป็นสินค้า ที่ตอบสนองกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติสักส่วนใหญ่ ตอนนั้นเรายังไม่มีลูกค้าคนไทยเลย กลุ่มเป้าหมาย ตอนนั้นก็คือ ร้านที่ขายต่างชาติเลย ร้านสีวีเนีย ซึ่งมีชาวต่างชาติเท่านั้น ที่จะสนใจสินค้าประเภทนี้ ก็เริ่มจากตรงนั้น พอถึงจุด หนึ่งเราก็รู้สึกว่าเราอยากจะกลับมาบ้าน จะไม่ทำ�งานกรุงเทพฯแล้ว ก็เลยตัดสินใจกลับมาบ้าน โดยมีตัวเอง (กะยะห์) แล้วก็สามี ตอนนั้นเรายังไม่ได้แต่งงานกันแต่เราคิดที่จะทำ�อะไรร่วมกัน ซึ่งสามีได้เรียนทางด้านออกแบบ ( สถาปนิก ) ส่วนตัวกะยะห์เองก็ได้เรียนจบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ทำ�งานที่เกี่ยวกับองค์กรที่ทำ�งานกับคนต่างชาติ อยู่ ก็เลยตัดสินใจล่าออกจากกรุงเทพฯ กลับมาอยู่บ้าน และแฟนก็กลับมาแต่งงานกัน ซึ่งเราก็มีธุรกิจเล็กๆ ซึ่งเป็น โรงงานผ้าบาติก ก็มีลูกน้องอยู่ประมาณ 10 กว่าคน เราก็เริ่มทำ�งานแล้วก็ส่งไปให้ลูกค้า ทำ�อยู่หลายปีมากจนกระทั้ง เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540

ตอนนั้นหลายอย่างมันก็ชะลอลง ธุรกิจก็ชะลอลง และในช่วงนั้นมันเกิดเหตุการณ์หลายๆอย่าง มันทำ�ให้ นักท่องเที่ยวหายไป เราก็เลยเริ่มมีสต๊อกในโรงงาน มันทำ�ให้เราเริ่มส่งผ้าให้ลูกค้าไม่ได้ เพราะว่านักท่องเที่ยวไม่มี เขา ก็ไม่ต้องการของเรา มันก็เลยทำ�ให้เกิดร้านบาติก เดอ นรา ที่นี่ เราก็เริ่มมองถึงว่า เราคงต้องหาตลาดในท้องถิ่น แล้วละ เพื่อที่จะได้กระจ่ายสินค้า เพื่อที่จะได้ดูแลคนงานของเราต่อไป ก็เริ่มเปิดร้านบาติก เดอ นรา ที่ปัตตานี ซึ่งเป็น ช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจตอนนั้น พอเราคิดที่จะเปิดร้านผ้าบาติก เราก็มองว่าโดยคิดว่าเราต้องทำ�ร้านสวยๆ ร้าน ทั่วไปอาจจะคิดว่ามีห้องแล้วเอาผ้ามาแขวน แต่เราก็คิดไม่เหมือนคนอื่น เราคิดว่าเราจะเปิดร้านให้มันเป็นร้านแบบ โชว์รูม เราก็เริ่มตกแต่งร้าน ซึ่งตอนนั้นเราเปิดมาทุกคนก็รู้สึกว่าร้านเราไม่มีใครกล้าเข้าเพราะมันจะดูดี เราก็ทำ�ร้าน บิวอิน เราก็ตั้งผ้า มันทำ�ให้ร้านเรากลายเป็นร้านที่หลายๆคนก็แวะมาเยี่ยมมาซื้อของและการที่เราทำ�ร้านแบบนี้มันก็ เหมือนการสกรีนคนเข้าร้านไปโดยปริยาย คนที่เข้าร้านเรา เขาก็ต้องรู้สึกว่าเขาต้องมีสถานะ ซึ่งเขาคิดว่าสินค้าเรามี ราคา คนที่เข้ามาเขาอาจจะมีสตางค์บ้าง ก็กลายเป็นว่าร้านเราเป็นร้านที่เหมาะสำ�หรับคนที่มาเยี่ยมปัตตานีได้มีโอกาส มา แล้วซื้อของสินค้าหัตถกรรม แล้วพอถึงจุดหนึ่งเราก็มีโอกาสได้เข้ามาเป็นสมาชิกของโอท๊อป(OTOP) ก็เริ่มมีการ ออกงานกับกรมต่างๆเริ่มทำ�ตลาด อาจจะตลาดที่มีนักท่องเที่ยว เราก็กลับมาสู่ตลาดท้องถิ่น จากท้องถิ่นเราก็เริ่ม เข้ากับสังกัดกรมพัฒนาชุมชนกระทรวงพาณิชย์ เราก็เริ่มออกงานแฟร์ต่างๆ เราก็เริ่มมีลูกค้าต่างๆจากลูกค้าท้อง ถิ่นคนไทยแล้วก็เริ่มมีลูกค้าในกรุงเทพฯ ที่เดินตามงานแฟชั่น เราก็เริ่มมีกลุ่มลูกค้ามากขึ้น เราก็ทำ�สินค้าและพัฒนา สินค้าตามรูปสินค้า เราก็พัฒนาสินค้าไปตามรูปแบบต่างๆจากผ้าชิ้นเราก็ทำ�เป็นเสื้อสำ�เร็จรูป ผ้าผันคอ เราก็ยังมี ตลาดที่เป็นนักท่องเทียว พอหลังจากที่สงครามจบทุกอย่างตลาดโลกยังกลับมาเหมือนเดิมเราก็ยังมีผ้าผันคอก็ส่งให้ ลูกค้าตามแหล่งท่องเทียวเหมือนเดิม ต่อมาเราก็มีโอกาสไปพัฒนาสินค้ากับกระทรวงกรมต่างๆ ซึ่งเขาก็ได้คัดเลือก เราจากโปรไฟล์ของเราว่า เราคือกลุ่มที่มีศักยภาพมีสินค้า(product) ที่ได้รับการยอมรับ มีรางวัลรับรองได้โอท๊อป ห้าดาว ผ่านมาตรฐานชุมชน เป็นต้น มันก็เป็นโปรไฟล์มันทำ�ให้เราได้มีโอกาสในการรับคัดเลือกไปพัฒนาสินค้าเพื่อที่จะ ไปออกงานในต่างประเทศ เราก็มีโอกาสออกงานสินค้ากับนักออกแบบชื่อดังหลายๆคน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา ให้เรามาเรียนรู้เรื่องของกระแสแฟชั่น ทำ�สีสันของผ้าหรือว่าการทำ�รูปแบบของเสื้อผ้าเราก็ได้ออกงานต่างประเทศที่ ญี่ปุ่น ดูไบ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม แต่หลักๆที่เป็นลูกค้าเราจริงๆ เหมาะกับเขาเป็นญี่ปุ่น ตอนนี้เราก็โฟกัสที่ตลาด ญี่ปุ่น ณ ปัจจุบันเราก็มีออเดอร์จากญี่ปุ่น ไม่มากแต่ว่าเราก็ถือว่าการได้รับออเดอร์จากญี่ปุ่นมันเป็นอะไรที่มันพิสูจน์ ความเป็นมืออาชีพของเราเพราะญี่ปุ่มเขาค่อนข้างเลือก มาตรฐานของเขาสูงมากเรื่องการผ่านงานที่ได้ทำ�กับคน



ประเภทของสินค้าผ้าบาติก นอกจากมีเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกายแล้วเราก็ เริ่มโฟกัสไปที่เรื่องของงานตกแต่งของฝาก ของขวัญ เช่น สินค้าที่ประเภทตกแต่งจะเป็นพวก ผ้าม่าน สินค้า ตกแต่งตามรีสอร์ท เช่น ผ้าเบลดรันเนอร์ (ผ้าที่เขาปู เตียง) ผ้าเทโบว์รันเนอร์ ( ผ้าปูโต๊ะ ) ซึ่งเราจะใช้ผ้าในการ วาดลวดลายต่างๆ แต่งานพวกนี้จะเป็นงานออเดอร์ บาง ที่เขาสั่งเสร็จแล้วพอเขามีเขาก็ไม่ได้สั่งอีก เราก็ต้องมีกลุ่ม อื่นรองรับ ซึ่งเราก็มีกลุ่มที่อาจจะมาสั่งภาพตกแต่งแบบ ใส่กรอบรูปติดผนังไปประดับที่รีสอร์ทโรงแรมหรือ สปาร์ สถานที่ว่าการตกแต่งมันเหมาะกับเขา เขาก็จะมาสั่งสินค้า ประเภทนี้ เป็นสินค้าที่ผ้าที่เพึ่งแต่งทำ�ก็มีเรื่องงานตกแต่ง ล่าสุดได้พยายามจะทำ�ตลาดเรื่องผ้าห่อของ ซึ่งมันเป็นผ้า ที่คนญี่ปุ่นเขาใช้ในการห่อของแทนกระดาษ ซึ่งเราได้พบ ว่ามันเป็นสินค้า ที่คนญี่ปุ่นเขาใช้แล้วก็สนใจมากโดยเฉพาะ ผ้าห่อของที่เป็นงานหัตถกรรม ผ้าห่อของ คือ ผ้าสี่เหลี่ยมปกติที่ใช้เหมือนกระดาษของ ขวัญ ญี่ปุ่นเขาเอาผ้าเหล่านี้ไปห่อของแล้วก็สามารถ เอาผ้านี้กลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งมันตรงกับกระแสรักโลก ของญี่ปุ่นและทั่วโลก ซึ่งยังเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของ ญี่ปุ่นและพอเขามาใช้ผ้าในการที่ใช้ซ้ำ�อยู่ในกระแสรักโลก เหมือนวัฒนธรรมเขาได้เอากลับมาใช้ใหม่ เขาเลยได้มีการ รณรงค์

ซึ่งดิฉัน ( กะยะห์ ) ได้มีโอกาสไปออกงานที่ญี่ปุ่น แล้วก็มีโอกาสไปดูงานการตลาดญี่ปุ่น ก็ได้เห็นผ้าห่อของ เยอะมากเป็นสินค้าเด่นของเขาเลยซึ่งมันเป็นผ้าสี่เหลี่ยม เล็กๆที่เขาเอามาแทนผ้าห่อของ แต่ว่าการทำ�ผ้าแบบนี้มัน อาจจะเป็นผ้าที่เขาตัดจากผ้ายาวๆหรือว่าอาจจะเป็นผ้า แฮนเมด ซึ่งพอทำ�มือขึ้นมามูลค่ามันก็สูงขึ้น แล้วมันกลาย เป็นของฝาก โดยที่ว่ามันเป็นของฝากที่สามารถฝากใคร ก็ได้ ไม่จำ�เป็นว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบ? ซึ่งผ้าห่อของ ของเขาก็กลายเป็นของฝากที่อยู่มุมไหนของญี่ปุ่นก็จะมี และเป็นของที่ใครๆก็ใช้ เพราะว่าคนญี่ปุ่นถือว่าการห่อ ของมันเป็นการแสดงความสุภาพ มันเป็นวัฒนธรรมของ เขา เราก็เลยคิดว่าเป็นจุดที่เราสนใจ เราก็เลยลองเคยทำ� รีเซ็ตตลาดแบบทำ�เอง เช่นเรามีโอกาสได้ไปออกงานกับ ศอบต. ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี่ที่แล้ว กะยะห์ก็เริ่มเอาผ้าห่อของที่เป็น นวัตกรรมการใช้ผ้าในวิถีของญี่ปุ่น แต่เป็นวิถีบาติกของ เรา วิถีการทำ�ผ้า วิถีงานบาติกแต่เป็นวิถีใช้แบบญี่ปุ่น ผ้า ที่ยาวๆ เราก็เริ่มออกแบบสี่เหลียม เราก็เริ่มทำ�เป็นผ้าห่อ ของที่มีขอบมีอะไรของเราและเราก็ไปเสนอที่ญี่ปุ่น ก็ได้รับ ความสนใจในส่วนตรงนี้ เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่งที่เรากำ�ลัง จะไปเริ่มทำ�ตลาดจากที่ไปหาคู่ค้าที่ทำ�ตลาดออนไลน์ที่ญี่ปุ่น คนที่ญี่ปุ่นที่เรารู้จัก ตอนนี้กำ�ลังคุยกับเขาและเราจะได้มี งานทำ�ต่อไปคนที่มีสกิวในการเขียนที่บ้านเราจะได้มีงานทำ� ต่อไป

กลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มลูกค้าทั่วๆไปของเราก็จะเป็นคนไทยทั่วไปที่สนใจงานหัตถกรรม แล้วก็กลุ่มที่เราสนใจอีกก็ คือ กลุ่มคนต่าง ชาติที่เขาชอบงานหัตถกรรมอยู่แล้วและเขาเห็นคุณค่าของงานหัตถกรรมแล้วก็เขาให้ราคากับงานหัตถกรรมด้วย ซึ่งคน ไทยบางทีก็รู้จักงานหัตถกรรมแต่ก็ไม่เข้าใจมูลค่าของงาน แต่ในประเทศที่เขาเจริญ เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป งานวาดมือของเขา ค่อนข้างจะแพงมากและเขาก็เห็นคุณค่าของงานฝีมือและเขาก็รู้สึกว่าซาบซึ้งกับมัน ดังนั้น เรารู้สึกว่าบางทีงานบางงาน มันก็ควรจะไปอยู่ในที่ที่ถูกที่ถูกคน “เหมือนได้พลอย เอาพลอยไปให้ไก่” มันก็ไร้ค่า เหมือนคนบ้านเราที่เห็นบาติก บางคน อาจจะรู้สึกเฉยๆ เพราะเห็นมาตั้งแต่เด็ก แต่ในขณะที่คนอีกซีกโลกหนึ่งเขาเห็นด้วยความ ตกตะลึง เขาซาบซึ้งมาก คุณที่ แบบสุดยอดมาก มันเป็นอะไรที่เขาดูด้วยความสนใจและทึ่งมาก

กระบวนการในการจัดการร้านในการประชาสัมพันธ์ เราก็เริ่มมีหน้าร้านมันก็เหมือนเรามีจุดกระจายสินค้า ถ้าคนปัตตานีก็ได้รู้จักเราว่าเราเป็นที่ขายผ้าที่ทำ�จากงาน หัตถกรรมหรือ ผ้าบาติก ภูมิปัญญาผ้าบาติก แล้วก็มีหน้าเพจ ซึ่งเพจเรานี่ไม่ใช้เพจที่ขายของโดยตรง แต่ว่าเป็นเพจ เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเรามากกว่า เช่น ทำ�อะไร ? ไปที่ไหน ? ยังไง? อะไรบ้างที่ทางร้านทำ� มันเป็นเรื่องของ ประชาสัมพันธ์ ยังไม่มีเพจขายตรงๆ เพราะเรามองว่าการขายผ้ามันก็ยาก และไม่ง่ายเพราะว่าคนซื้อผ้าเขาก็อยากสัมผัส ผ้าสำ�หรับคนบ้านเรา แต่เราก็จะมีกลุ่มลูกค้าที่พอเขารู้จักเราแล้วทีเวลาเราไปออกงานแฟชั่น เราก็จะโฆษณาว่าเรามีเพจ เขาก็จะมาเป็นแฟนเพจเรา และเขาก็จะติดตามเราเวลาเราไปออกงานที่ใน หรือบางที่เขาเป็นลูกค้าเรามาแล้วเขาก็จะสั่ง โดยที่เขาไม่สนใจที่จะสัมผัสเพราะเขารู้แล้วว่าเขาอยากจะได้อะไร แบบนี้ สีนี้ เราก็ส่งไป เมื่อเราออกงานเราก็จะมีหน้าร้าน


จุดเด่นของทางร้าน จุดเด่นของบาติก เดอ นรา ก็คือ เราอาจจะเป็นกลุ่มแรกๆที่ทำ�บาติกประเภทสีที่คนอื่นยังไม่ได้ทำ�ในยุคนั้น นั้นคือ ทำ�สีสีเอิร์ธโทน พาสเทล คือเมื่อก่อนบาติกจะเป็นสีสัน ถ้าเรานึกถึงที่เห็นสีสันที่สดใส แดง ขาว เขียว แต่เราเริ่มมาทำ�สีที่ มันคุมโทน เบรกโทน เราจะเป็นเจ้าแรกๆที่ทำ�แล้วก็อีกสิ่งหนึ่งที่เรายังทำ�อยู่ตลาดและเราไม่เคยทิ้งไปไหน ก็คืองานเราเป็น งานแฮนค็อก เป็นงานเขียนวาดมือ บาติกมีหลายประเภท ประเภทใช้บล็อกพิมพ์ ซึ่งการใช้บล็อกพิมพ์ก็แค่ให้คุณออกแบบ แล้วก็คุณไปสั่งให้เขาทำ�บล็อก แล้วคุนก็มาสอนให้คนพิมพ์บล็อกแค่นั้น มันเป็นอะไรที่แค่ใช้แรงงานคนและใช้ทักษะนิดหนึ่ง ในการเรียงบล็อกให้มันตรง แต่ว่าการทำ�งานบาติกที่เป็นแฮนค็อก หรือ วาดมือ มันต้องใช้ทั้งทักษะแล้วก็พรสรรค์ของ แต่ละคนและฝึก ซึ่งต้องฝึกคนในระยะเวลาหนึ่งที่กว่าเขาจะมีความชำ�นาญในการลากลวดลายด้วยตัวเขาเอง ด้วยทักษะ ของเขา ด้วยพรสรรค์ของเขาด้วย เพราะแต่ละคนวาดสวยไม่เท่ากัน ซึ่งบาติกวาดมือถ้าสมัยก่อนถือว่าเป็นบาติกขั้นสูง คนปัจจุบันมักจะเข้าใจผิดๆว่างาน บล็อกเป็นงานที่ละเอียด แต่นั้นเป็นงานที่บล็อกที่ใครจะมาเลียนแบบก็ได้หากสามารถ แกะบล็อกได้ แต่ถ้างานวาดมือมันมาจากคนๆนี้ ไม่มีใครเลียนแบบเขาได้ ซึ่งอันนี้เป็นงานทักษะและพรสรรค์ของแต่ละคน จริงๆ งานของเขาจะเป็นหนึ่งชิ้นได้เลย

นางสาวรอวียะห์ หะยียามา เจ้าของร้านบาติก เดอ นรา ที่อยู่: 59/1 ซอย 3 ถนนกะลาพอ ตำ�บลจะบังติกอ อำ�เภอเมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี 94000 โทรศัพท์: 0-7333-7656 อีเมล: batikdenara@gmail.com เวลาทำ�การ: เสาร์-พฤหัสบดี 08.00-17.00 น. ทำ�ธุรกิจผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกมาประมาณ 20 กว่าปี


ติดต่อเรา

www.instagram.com/kongalternative



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.