“พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ� ฉันก็จะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ�” พระราชดำ�รัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
| STORY
น้ำ�เปรียบเสมือนสายธารแห่งชีวิต ป่าเปรียบเสมือนแหล่งวัตถุดิบและ ถิ่นอาศัยทั้งสองสิ่งนั้นสำ�คัญต่อชีวิตมนุษย์ทั้งสิ้น พระราชินีทรงเปรียบ ในหลวงเป็นน้ำ� เพราะความเมตตาและน้ำ�พระทัยที่ในหลวงมีต่อพสกนิกรชาว ไทยนั้น เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตของปวงชนชาวไทยเสมอมา รวมทั้งพระองค์ เองด้วย น้ำ�เป็นปัจจัยสำ�คัญในการดำ�รงชีวิต เราสามารถอยู่ได้เป็นเดือนๆ โดยไม่ต้องรับประทานอาหาร แต่ถ้าขาดน้ำ�เราจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน ๓ วัน
พระราชินีทรงเปรียบตัวเองเป็นป่า เพราะป่าเป็นเหมือนที่พักพิง ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตน้อย ใหญ่ ราษฏรทุกคนก็เป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในป่า พระองค์จะทรงปกป้อง ดูแลรักษา สิ่งมีชีวิต เหล่านั้นให้ปลอดภัยและเป็นสุข
อาโปคือน้ำ�อารัญคือป่า
นิตยสารของเราทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรม ราชินีนาถเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงจัดทำ�นิตยสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับโครงการในพระราชดำ�ริของ พระองค์ ซึ่งในเล่มปฐมฤกษ์นี้เราขอพูดถึงโครงการศิลปาชีพ นอกจากจะได้ช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกรแล้ว พระองค์ยังทรงคิดว่านี่เป็นการดีที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมของไทยไปด้วยในเวลาเดียวกัน ดังนั้นแผนกต่างๆ ในศูนย์ศิลปาชีพ จึงเป็นงานช่าง งาน ศิลปหัตถกรรม และงานศิลป์ส่วนใหญ่จะเป็นของไทยทั้งสิ้น
“ในหลวงทรงรับสั่งว่าการช่วยเหลือโดยการพระราชทานนั้น เป็นการช่วยเหลือเฉพาะ หน้า ซึ่งช่วยเขาไม่ได้จริงๆ ไม่เพียงพอ พระองค์ทรงคิดว่าทำ�อย่างไรจึงจะช่วยเหลือชาวบ้าน เกษตรกรได้เป็นระยะยาว คือทำ�ให้เขามีหวังที่จะอยู่ดีกินดีขึ้น ลูกหลานได้เข้าโรงเรียนได้เรียน หนังสือ ซึ่งในหลวงได้ทรงดูแลเรื่องแหล่งน้ำ�ที่จะนำ�ไปทำ�การเกษตร และให้พระราชินีดูแลเรื่อง อาชีพเสริมสำ�หรับครอบครัวของเกษตรกร ด้วยเหตุนี้เองพระราชินีจึงทรงคิดหาอาชีพเสริม ให้แก่ครอบครัวชาวนาชาวไร่ จนเกิดเป็นมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ” พระราชดำ�รัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
หลังจากที่ครอบครัวของชาวบ้าน และชาวเกษตรกรได้เข้าไปฝึกที่ศูนย์ศิลปาชีพนั้น ทุกคนก็มี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก ถึงแม้จะไม่ได้ร่ำ�รวย มั่งมีถึงขนาดเป็นเศรษฐี แต่ก็มีชีวิตได้อย่างสุขสบาย ลืมตาอ้าปากได้ บางคนถึงกับยึดงานที่ศูนย์ศิลปาชีพเป็นอาชีพหลักเลยทีเดียว ภูมิปัญญา และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทยนั้น สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมของไทยที่มี มาแต่โบราณได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันคนไทยนั้นไม่ค่อยเห็นความสำ�คัญของสิ่งเหล่านี้ มัวแต่ไปหลงใหล ของแบรนด์เนมของชาวต่างชาติ แต่ไม่เหลียวแลงานฝีมือของคนไทยด้วยกันเอง ทั้งที่สินค้าของไทยนั้นมี เอกลักษณ์ และความงดงามพร้อม มีคุณค่าไม่แพ้ชาติใดในโลก
“นิตยสารอารัญ”
ในฐานะที่เราเป็นคนไทย จึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ส่งเสริม อนุรักษ์ และเผยแพร่วัฒนธรรม ศิลปหัตถกรรม และงานช่างต่างๆ เพื่อเป็นการ สืบสานมรดกตกทอดที่บรรพบุรุษของไทยได้สร้างสรรค์ไว้ให้อย่างสมบูรณ์แบบ
สารบัญ STORY 1 พระราชดำ�รัสในสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 6 จากอดีต : สู่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ในปัจจุบัน 9 ศิลปะไทย : เลื่องลือไกลในต่างแดน 10 14 16 20 22 26 32 36 40
CRAFTSMASTER มณีรัตน์แห่งโขนศิลป์ พฤกษาชลาลัย จากเถาวัลย์สู่หัตถศิลป์ สมบัติศิลป์ถิ่นอีสาน ผ้าไหมทองไทย สีสันแห่งการแต่งแต้ม จากก้อนดินสู่ศิลป์แต้มสี จิตวิญญาณแห่งการปั้น หลอมละลายจนได้รูป
42 44 45 46 48 49 50 51
INTERVIEWS อาจารย์โสภณ บัวชาติ อาจารย์จรัญ สร้อยทอง อาจารย์วันเพ็ญ วงศ์สุวรรณ อาจารย์มนู สะเตกลัมส์ นาย ธนาณัต ธาตุมี (น้องตี้) คุณลำ�ไย โกษะ (ป้าแป๊ด) นายอิทธิศร สนธิ (เหน่ง) คุณสงกรานต์ ภาคศักดิ์ศรี
52 60 68 72
WANDER AROUND ศาลาพระมิ่งขวัญ หมู่มวลพันปักษา... หมื่นมัจฉาในวารี... วิถีไทย 4 ทิศ
FEELINGS 80 ร้อยเรื่องราวความประทับใจ
จากอดีต : สู่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ในปัจจุบัน “....ข้าพเจ้าอยากเห็น ชาวนา ชาวไร่ มีงานศิลปาชีพพิเศษเป็นงานเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเพื่ออนุรักษ์ศิลปะโบราณอันงามวิจิตรของไทย ไว้ให้อยู่คู่แผ่นดินไทย.......” พระราชดำ�รัสใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
6 | อารัญ
ศาลาพระมิ่งขวัญ ศูนย์รวมที่จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ
ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ตั้งอยู่ที่ตำ�บลช้างใหญ่ อำ�เภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยงานหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำ�เนินงานตามโครงการในพระราชดำ�ริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ โดยจัดการฝึกอบรมงานศิลปาชีพ ให้แก่บุตรหลานเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ตลอดจนผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ให้มีโอกาสได้ฝึกอบรมอาชีพด้านงานศิลปหัตกรรมพื้นบ้านของไทย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ทรงคุณค่ายิ่ง โดยปัจจุบันนายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี รองประทาน กรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ และประธานกรรมการบริหารศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ได้มีความมุ่งมั่นอันแน่ว แน่ที่จะนำ�พาองค์กรแห่งนี้ให้ก้าวไกลปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการจัดฝึกอบรม อาคารสถานที่ ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันส่งผลให้ศูนย์ศิลปาชีพฯ ในวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งที่ปรากฎให้เห็นทั้งหลายทั้งปวงนี้ บรรดาคนรุ่น ใหม่ซึ่งประกอบด้วยครู นักเรียน และผู้เกี่ยวข้อง มิอาจรับรู้ได้ว่ากว่าจะมาถึงทุกวันนี้ทุก คนในหน่วยงานได้ทุ่มเทกำ�ลังแรงกายแรงใจด้วยความเสีย สละอดทน เพื่อให้โครงการในพระราชดำ�ริสัมฤทธิ์ผล ตาม วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งที่มุ่งสร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ในการดำ�รงชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ล้วนมี ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจถ่ายทอดแก่ชนรุ่นหลัง มากมาย หลายประการ สินค้าจากศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ อารัญ | 7
ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาก้าวหน้า อย่างมาก แต่สิ่งที่ดำ�รงอยู่อย่าง ยั่งยืนและยึดถือเป็นแนวทางปฎิบัติ มาอย่างต่อเนื่องคือ การดำ�เนินงาน ด้านการจัดฝึกอบรมงานศิลปาชีพ อันเป็นพระราชประสงค์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ โดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร์ องคมนตรี มีนโยบาย แน่วแน่ที่จะอนุรักษ์และพัฒนาทั้ง ด้านทักษะ ฝีมือช่างและการผลิต ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านให้ ดีขึ้นเป็นลำ�ดับ
“ ข้าพเจ้านั้นภูมิใจเสมอว่า คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ หรือ อาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อนและฉับไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่เขาได้มีโอกาสได้เรียนรู้และ ฝึกฝน เขาก็จะแสดงความสามารถออกมาให้เห็นได้ ”
8 | อารัญ
ศิลปะไทย : เลื่องลือไกลในต่างแดน
“ ชาวต่างประเทศ เช่น คณะทูตก็ได้ถามข้าพเจ้าเมื่อเอาสินค้าของศิลปาชีพไปแสดงถามว่า เลือกสมาชิกมูลนิธิศิลปาชีพอย่างไร ก็ตอบเขาไปตรงว่า เลือกจากความจน เห็นว่าครอบครัวไหนจนสุด ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะเลือกคนเหล่านี้ ” ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมี พระราชกรณียกิจเสด็จฯ ไปทรงเยือนต่างประเทศอยู่เสมอ ๆ และ ระหว่างการเสด็จฯ ไป ในบางครั้ง พระองค์ก็ทรงนำ� ผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ไปจัดนิทรรศการเพื่อ เป็นการเผยแพร่ ชื่อเสียงของไทยและคนไทยให้ชาวต่างชาติได้ รู้จักเพิ่มมากขึ้น บ่งบอกให้เห็นความเป็นเลิศในด้านศิลปะ และ งานช่างฝีมือของไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ความเป็นศิลปิน ที่คงอยู่ในสายเลือดของชาวไทยทุกคน ดังที่พระองค์มี พระราชดำ�ริว่า งานศิลปหัตถกรรมไทยเป็นงานที่ไม่ต้องอาศัย หลักวิชาความรู้ใด ๆ มากนัก หากแต่ผู้ฝึกฝนทุกคนจำ�เป็นต้อง มีก็คือ ความตั้งใจจริง บวกกับความเพียรพยายามและความมี ใจรักในสิ่งที่ทำ�เพียงเท่านั้น ผลงานศิลปะที่ออกมาก็จะสามารถ สะท้อนถึงจิตวิญญาณหรือเนื้อแท้ของความเป็นคนไทยออกมา ได้เป็นอย่างดี
อารัญ | 9
| CRAFTSMASTER
มณีรัตน์แห่งโขนศิลป์
10 | อารัญ
หากแม้นเปรียบเทียบความสิ่งงามเลิศ แสนประเสริฐคือแก้วแววเวหา โขนอันสูงเด่นล้ำ�นำ�ราคา ชูชาติไทยให้เลิศเจิดจรัส ช่างสิบหมู่ชูค่าในธานี
สวยเพริศตาก็ย่อมเป็นเช่นมณี ด้วยสารพัดวิชาการงานศักดิ์ศรี ฤ หามีที่ใดหาไหนปาน กุมภนิยา กวีลิขิต
ห้องจัดนิทรรศการโขน เทิดพระเกียรติ ภายในศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ
หัวโขนนับเป็นงานศิลปะขั้นสูงที่รวมเอาผู้ที่มี ความรู้ ความชำ�นาญในเชิงช่างหลายสาขาเข้าไว้ด้วย กัน อาทิ ช่างหุ่น ช่างปั้น ช่างแกะสลัก ช่างกลึง ช่างรัก และช่างเขียน แต่ในทางปฏิบัติกว่าจะได้มาซึ่งหัวโขน ที่ถูกต้องและสวยงามนั้นต้องอาศัยเทคนิคและองค์ ประกอบอื่น ๆ อีกมากมาย การสร้างหัวโขนของไทยมีมาแต่โบราณ สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นพบหลักฐานศีรษะพระครูฤๅษีใน คลังศิลปะของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และศีรษะทศกัณฐ์ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาล ที่ ๑ และ ๒ แต่การสร้างหัวโขนมาเจริญถึงขั้นสูงสุดใน สมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งถือเป็นยุคทองของวงการวรรณกรรม และนาฏศิลป์ไทย
อารัญ | 11
ปัจจุบันหัวโขนมิได้เป็นเพียงส่วนประกอบสำ�คัญใน การแสดงโขนเท่านั้น หากแต่หัวโขนได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ทางศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทยไปแล้ว ดังจะเห็นได้จาก หัวโขนได้ถูกย่อส่วนลงเพื่อจัดแสดง ประดับประดาในสถาน ที่ต่าง ๆ เช่น ตามโรงแรม ห้องนิทรรศการ ห้องแสดงสินค้า หัตถกรรมไทย เป็นต้น เป็นการเสริมสร้างบรรยากาศให้มีเสน่ห์ อย่างล้ำ�ลึก และมีเอกลักษณ์อันโดดเด่น นอกจากนี้หัวโขนยัง ได้กลายเป็นของสะสมสำ�หรับผู้มีรสนิยมทางศิลปะอันละเมียด ละไมอีกด้วย แผนกช่างประดิษฐ์หัวโขนนั้นเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ซึ่ง นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ได้สั่งการให้จัดตั้งแผนกนี้ ขึ้นที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ สำ�หรับฝึกอบรมนักเรียนศิลปาชีพ เนื่องจากท่านตระหนักถึงคุณค่าของหัวโขน ที่ใช้สวมใส่ศีรษะ ในการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมคู่ บ้านคู่เมืองของไทยที่มีมาแต่โบราณ
12 | อารัญ
ผลงานวิจัย การประดิษฐ์หัวโขน จากแกลบ ตอซังข้าวโพดและผักตบชวา
อาจารย์ โสภณ บัวชาติ อาจารย์ประจำ�แผนกหัวโขน ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ เป็นแหล่งประดิษฐ์ สร้างสรรค์ จรรโลง และอนุรักษ์งานศิลป์ ท่านจึงมอบหมายให้ นาย โสภณ บัวชาติ เป็นผู้ดำ�เนินการจัดตั้ง พร้อมทั้งจัดเตรียมหลักสูตร จัดหาสถานที่ จัดหาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์และอื่นๆ ที่จำ�เป็น โดยจัดตั้งขึ้นราวเดือนมิถุนายน ๒๕๓๗ การจะทำ�หัวโขนแต่ละหัวออกมาได้นั้น ต้องอาศัยความประณีต และละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหาก มีส่วนใดผิดพลาด จะไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องเริ่มทำ�ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ต้น จะเห็นได้ว่าหัวโขนแต่ละประเภทมีความ คล้ายคลึงกัน หัวยักษ์ หัวลิง หัวเทวดา จะมีรูปแบบโครงสร้างที่ใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่ทำ�ให้แต่ละหัวนั้นแตกต่างกันก็คือ สี ยอด และลายเส้นบนใบหน้า ซึ่งลายเส้นนั้นจะแสดงอารมณ์ของตัวละครออกมาได้ดี น้ำ�หนักของเส้นที่ต่างกันเพียงเล็ก น้อย ก็สามารถเปลี่ยนอารมณ์ของตัวละครได้ อารัญ | 13
พฤกษาชลาลัย
ผลิตภัณฑ์ที่ทำ�จากผักตบชวา ของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ฯ
ใช่ไร้ค่าราคาแม้นว่าด้อย ไม่ต่ำ�ต้อยพันธุ์น้ำ�อย่าทำ�ขำ� หากพินิจคิดตรองหมั่นลองทำ� อาจหนุนนำ�ทำ�ประโยชน์โปรดใคร่ครวญ อัลมิตรา
14 | อารัญ
ผักตบชวาเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็น ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ� สร้างความเสียหายให้กับ ชลประทาน การประมง การเกษตร สาธารณสุข การคมนาคมและทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรง เล็งเห็นถึงปัญหาที่ยากจะแก้ไขนี้ จึงทรงพระราชดำ�ริ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี รองประธาน กรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ดำ�เนินการหาช่าง มาทำ�ผักตบชวาให้เกิดประโยชน์ ทั้งด้านอุตสาหกรรม ด้านการศึกษาและเป็นการกำ�จัดผักตบชวาอีกด้วย โดยนำ�มาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำ�มาใช้ ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันและก่อให้เกิดอาชีพสร้าง รายได้ให้กับชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ ส่งเสริมให้ชุมชนมีอาชีพและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ จึงได้จัดตั้งแผนกช่าง สานผักตบชวาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เพื่อเป็นการเปิด โอกาสให้ผู้ที่สนใจทั่วทุกภูมิภาคของประเทศได้มาศึกษา และนำ�ความรู้ไปประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตนเองได้
เพราะผักตบชวาเป็นวัสดุทหี่ าง่ายและมีอยูท่ วั่ ทุกภูมิภาค ของประเทศ สามารถนำ�มาทำ�เป็นผลิตภัณฑ์ได้หลาก หลายชนิด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมอาชีพให้ กับเกษตรกร แผนกช่างสานผักตบชวาจัดตั้งขึ้นโดย นายประชุม มะนะ ศึกษานิเทศก์ ๗ อดีตผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง ทางมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯได้เชิญมาเป็นวิทยากร ใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๔๑ ท่านเป็นผู้บุกเบิกแผนกช่าง สานผักตบชวาที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ศูนย์ศิลปาชีพ บาง ไทรฯ ได้รับการยกย่อง จากสื่อมวลชนในการบันทึกภาพ ออกรายการคนไทยวันนี้ ในหัวข้อเรื่อง “การทำ�กระดาษ ผักตบชวา” และวารสารมติชน ในคอลัมน์ “ปัญญาจาก แผ่นดิน” บุคคลสำ�คัญอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสืบสานงาน ช่างสานผักตบชวามาจนถึงปัจจุบันคือ นางลำ�เพา มะนะ ตำ�แหน่งหัวหน้าแผนกช่างสานผักตบชวาใน ปัจจุบัน ท่านได้อุทิศเวลามาช่วยราชการของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ด้วยดีตลอดมา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้ เข้ารับการฝึกอบรมให้เป็นช่างประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ผักตบ ชวาที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางศิลปะ มีผลงานด้าน การฝึกอบรมนักเรียนด้านการออกแบบ และเป็นผู้ที่มี ความรับผิดชอบในภารกิจและอุดมการณ์ในการสอน มี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ พัฒนาการฝึกอบรมงานศิลปาชีพแผนกช่างสาน ผักตบชวา ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ลักษณะที่โดดเด่นของงานหัตถกรรมจักสาน ผักตบชวา คือ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำ�วัสดุที่หา ได้ง่ายจากธรรมชาติมาเพิ่มมูลค่า เป็นการสร้างรายได้ คนในท้องถิ่น สามารถนำ�ผลิตภัณฑ์ไปจำ�หน่ายยังท้อง ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้ ซึ่งถือว่า เป็นการแก้ปัญหาผักตบชวาอย่างสร้างสรรค์
อารัญ | 15
จากเถาวัลย์สู่หัตถศิลป์ “ย่านลิเภาพืชเถาวัลย์อันลำ�้ค่า”
16 | อารัญ
ย่านลิเภา เป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง มีสี น้ำ�ตาลและสีดำ� เหมาะสำ�หรับนำ�มาใช้เป็นวัตถุดิบใน งานจักสาน มักขึ้นในป่าร้อนชื้น เช่น ตามป่าทางภาคใต้ ของไทย กว่าจะเก็บย่านลิเภาแต่ละเส้นมาใช้งานได้จะ ต้องใช้ความพยายามมาก เพราะต้องเข้าไปเก็บถึงใน ป่า และเลือกสรรเฉพาะเถาที่มีอายุกำ�ลังพอดี ไม่แก่หรือ อ่อนจนเกินไป จากนั้นจึงนำ�มาฉีกหรือปอก แล้วไปแขวน ในที่ร่ม เมื่อแห้งดีแล้วจึงรีดให้เรียบและทำ�ความสะอาด พร้อมสำ�หรับนำ�ไปจักสานต่อไป การจักสานย่านลิเภา เป็นความรู้ศิลปะเก่าแก่ ของคนไทย ที่มีมาตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นขึ้นจาก เมืองนครศรีธรรมราช และได้แพร่หลายมายังกรุงเทพ เครื่องจักสานย่านลิเภานั้นเป็นงานละเอียด ประณีต ผู้ทำ� ต้องมีความอดทนสูง ซึ่งผลตอบแทนที่ได้มานั้นก็คุ้มค่า เพราะชิ้นงานที่ได้มีความสวยงามที่น่าภาคภูมิใจ อีกทั้ง ยังมีความแข็งแรงคงทน สามารถใช้งานได้นับร้อยปี แต่ เมื่อสิ้นรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ เครื่องจักสานย่านลิเภาก็ เริ่มถูกมองข้าม และกลายเป็นวิชาช่างที่ใกล้จะสูญไป
งานจักสานย่านลิเภานอกจากจะงดงาม ด้วยลวดลายของการจักสานแล้วยังงดงามด้วยสีผิว ธรรมชาติของย่านลิเภา และสีผิวของตอกเส้นยืนที่ ทำ�จากไม้ไผ่ ทำ�ให้เกิดสีสลับกันงดงาม บางครั้ง ยัง เสริมส่วนประกอบด้วยเครื่องถมเงินและถมทอง เพื่อ เพิ่มมูลค่า ความงาม และคุณค่าของเครื่องจักสาน ย่านลิเภาให้สูงขึ้น
อารัญ | 17
ครั้งเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเสด็จตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไปประทับ ณ จังหวัดนราธิวาส ทรงมีพระราชดำ�ริที่ จะฟื้นฟูและส่งเสริมงานจักสานย่านลิเภา ขึ้น เพื่อเป็นอาชีพเสริมของราษฎร ในขณะ เดียวกันถือเป็นการฟื้นฟูศิลปะโบราณของ ไทยให้กลับคืนมาเป็นสมบัติของชาติด้วย โดยทรงเริ่มต้นจากการหาผู้เชี่ยวชาญมา สอนสมาชิกศิลปาชีพในจังหวัดนราธิวาส ศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตรลดา สถาน สงเคราะห์คนพิการและทุพพลภาพ จังหวัด สมุทรปราการ และศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ จังหวัดอยุธยา เวลาผ่านไปกว่า ๓๐ ปีนับตั้งแต่ ทรงริเริ่มพระราชดำ�รินั้น บัดนี้ก็เป็นที่ ประจักษ์ชัดแล้วว่า งานจักสานย่านลิเภา ได้กลายเป็นงานหัตถกรรมชิ้นเอกชิ้น หนึ่ง และได้เป็นงานอาชีพที่มั่นคง ผล งานจักสานแต่ละชิ้นมีความงดงาม คงทน ถาวรและเป็น “สมบัติศิลป์” ที่จะตกทอด เป็นมรดกไปยังคนรุ่นหลังสืบไป
18 | อารัญ
งานหัตถกรรมย่านลิเภา จากผู้เข้าฝึกศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ฯ
งานจักสานย่านลิเภานั้นแสดงให้ เห็นถึงฝีมืออันประณีต ความอุตสาหะของ ช่างผู้ผลิต ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้ ครอบครอง หรือผู้เป็นเจ้าของ นอกจากนี้ยัง มีการพัฒนารูปแบบ และสร้างสรรค์ลวดลาย ให้หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย ปัจจุบันจักสานย่านลิเภาไม่เพียง แต่จะได้รับความนิยมจากชาวไทยเท่านั้น ชาวต่างชาติก็มีความสนใจและนิยมใช้ ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาเป็นจำ�นวนมาก เช่นกัน นั่นหมายความว่างานฝีมือของคน ไทยชิ้นนี้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
อารัญ | 19
สมบัติศิลป์ถิ่นอีสาน ผลิตภัณฑ์จักสานลวดลายขิดเป็น หัตถกรรมพื้นบ้านของภาคอีสาน ที่จำ�ลองลวดลาย ของผ้าขิดชนิดต่างๆ ไว้ด้วยเส้นไม้ไผ่อย่างงดงาม ถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานจากรุ่นสู่รุ่นสืบเนื่องกัน มาอย่างไม่ขาดสาย
20 | อารัญ
อาชีพจักสานเป็นอาชีพ ดั้งเดิมของคนไทยควบคู่กับการ ทำ�ไร่ทำ�นามาตลอด สิ่งของเครื่อง ใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำ�วันของคน อีสานจะเกี่ยวข้องกับการจักสาน ไม้ไผ่ในหลาย ๆ อย่าง เช่น เครื่องใช้ ในชีวิตประจำ�วัน กระติบข้าว ตะกร้า ฝาชี หรือแม้กระทั่งที่อยู่อาศัย การ จักสานจะเป็นกิจวัตรประจำ�วันของ คนอีสานตั้งแต่ครั้งโบราณกาล งาน จักสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่มีความ แข็งแรงเป็นอย่างดี ต้องอาศัยความ เพียรพยายามในการจักสาน ต้องใช้ ทั้งปาก มือและเท้าเข้าช่วยในการ จักสาน นอกจากนี้งานจักสานยังมี ส่วนช่วยให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม มีความสามัคคีและมีกิจกรรมร่วมกัน ในการแสดงศิลปวัฒนธรรม เช่น ใน งานประเพณีของชาวอีสาน จะมีการ รำ�เซิ้งกระติบ รำ�เซิ้งกระด้ง กระจาด และพาแลง เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็น ศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสานได้เป็น อย่างดี แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ผลิตภัณฑ์ที่หาได้ง่าย และราคา ถูกก็ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ที่ บรรพบุรุษอุทิศแรงกายและแรงใจ ประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างสุดฝีมือ เริ่มลบ เลือนไปจากความนิยม
พ.ศ.๒๕๑๗ วิทยาลัยครู ได้ ติดต่อมายังราชเลขานุการใน องค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ขอให้ นำ�ความกราบบังคมทูลสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ทรงช่วยอนุรักษ์งานจักสาน ไม้ไผ่ลายขิดไว้ พระองค์ก็ทรงกรุณา รับงานจักสานไม้ไผ่ลายขิดเป็นโครง การศิลปาชีพ โครงการหนึ่งทันที นายศรีทัด โสภาคะยัง และ ครอบครัว ได้มาถ่ายทอดวิชาจักสาน ไม้ไผ่ลายขิด ให้แก่สมาชิกศิลปาชีพ ณ โรงฝึกศิลปาชีพภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร และต่อมายังโรงฝึก ศิลปาชีพสวนจิตรลดา จนสามารถ สร้างสรรค์สมาชิกฝีมือดีได้เป็น จำ�นวนมาก ซึ่งหมายความว่างาน จักสานไม้ไผ่ลายขิดจะไม่สูญสิ้นไป จากวัฒนธรรมไทยอย่างแน่นอน มี แต่จะทวีความละเอียดและประณีต ขึ้น จนเป็นงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่ เชิดชูสมบัติวัฒนธรรมไทยให้ปรากฏ แก่สายตาของคนทั่วโลก จากไม้ไผ่จนกลายเป็นผลงานจักร สานลายขิด ไม้ไผ่ที่นำ�มาใช้ในงาน จักสานไม้ไผ่ลายขิดนั้น ต้องคัด จากไม้ไผ่ที่มีอายุพอสมควรจึงจะได้ ปล้องไผ่ที่มีขนาดยาวพอเหมาะ มี เยื่อไผ่ และเนื้อไผ่ที่มีความเหนียว คงทน
เมื่อเลือกได้ไม้ไผ่ที่ต้องการแล้ว สมาชิกจะนำ�มาผ่าซีกแล้วตากแดด ให้แห้ง จากนั้นจักสานเส้นตอกเล็กๆ แล้วรูดให้เรียบด้วยเครื่องมือที่ทำ� ขึ้นเอง เช่น ฝากระป๋องที่เจาะเป็นรู ขนาดต่างๆแล้วแบ่งบางส่วนย้อม สี เพื่อนำ�ไปสานเป็นลวดลายตาม ความต้องการ ปัจจุบัน แผนกจักสานไม้ไผ่ ลายขิด ได้สร้างสรรค์สมาชิกผู้มีฝีมือ และผลงานจักสานไม้ไผ่ลายขิดไว้ หลากหลายรูปแบบ ซึ่งสร้างความ ประทับใจให้แก่ผู้ที่ชื่นชมในศิลปะ อันละเอียดประณีตของไทยเป็น อย่างมาก
อารัญ | 21
ผ้าไหมทองไทย เกรียงไกรทั่วโลก...
เจ้าแต่งองค์ทรงโฉมประโลมโลก
ดับทุกข์โศกซ่อนทุกข์ยุคลากเข็น สวมผ้าไหมประดิษฐ์วิจิตรเป็น ปักลายเส้นแซมศิลป์ฝากจินตนา คิดลวดลายบรรเลงเป็นเพลงขับ บรรจงจับกลีบพันคิดสรรหา แนบผิวนวลชวนชิดพิศโสภา งามบุหงาผิวผ่องเป็นยองใย หยาดกวี
22 | อารัญ
ผ้าไหมนั้นถือได้ว่าเป็นราชินีแห่ง เส้นใยทั้งปวง เพราะนอกจากจะเป็นเส้นใย ที่ได้มาจากธรรมชาติแล้ว ยังสามารถดูด ซับความร้อน และระบายอากาศได้อย่าง ดีเยี่ยม อีกทั้งความงามเป็นประกายจาก ภายใน ทำ�ให้ใครหลายๆ คนต่างพากัน หลงใหลในสีสันอันงดงาม และคุณสมบัติ อันซ่อนเร้นของมัน การทอผ้าไหมนั้นนิยม ทอกันมากในแถบภาคเหนือ และภาค อีสาน ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือที่อำ�เภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ซึ่งต่อ มาทางศูนย์ศิลปาชีพก็ได้มาศึกษาและ ขอคำ�แนะนำ�จากที่นี่ เพราะต้องการจะ อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมประจำ�ชาติเอาไว้ ในอดีตไหมไทยยังไม่แพร่หลายในตลาด โลกมากนัก ขนาดคนไทยยังไม่นิยมนำ�ผ้า ไหมมาตัดเย็บเสื้อผ้าเลย เพราะผ้าไหมถูก ตีกรอบให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่จัดจำ�หน่ายภายใน ศาลาพระมิ่งขวัญ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
อารัญ | 23
ในขณะเดียวกันนั้นสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมี พระราชดำ�ริให้ก่อตั้งศูนย์ศิลปาชีพ ขึ้น เพื่อส่งเสริมงานฝีมือภูมิปัญญา ไทย ดังนั้นผ้าไหม “มัดหมี่” จึงเป็น ศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่ทรงให้ความ สำ�คัญ และได้รับการส่งเสริมให้ พัฒนาในทุกขั้นตอนการผลิต ทรง ส่งเสริมให้มีการผลิตออกมาหลายๆ รูปแบบทั้งแบบผืนยาวเรียบลาย แถบ ยกดอก และภาพพิมพ์ ความ โดดเด่นของผ้าไหมจากศูนย์ศิลปา ชีพ บางไทรฯนั้นคือ 24 | อารัญ
ความประณีตวิจิตรบรรจงที่สมบูรณ์ แบบ เพราะงานทุกชิ้นนั้นทักทอด้วย ฝีมือทั้งสิ้น ไม่ได้ใช้เครื่องจักรเหมือน บรรยากาศโดยรวมภายในศูนย์ฝึก ทางโรงงาน อีกทั้งสีของผ้าไหมนั้นมี แผนกทอผ้าไหมศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ความสดและงดงามกว่าที่อื่นๆ อย่าง เห็นได้ชัด เพราะสีที่ใช้ย้อมผ้านั้นมา จากวัตถุดิบทางธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสีแดงจากดอกคำ�ฝอย สีน้ำ�เงินจากต้นคราม สีเหลืองจาก ขมิ้นชัน สีเขียวจากต้นหูกวาง หรือสี ดำ�จากลูกมะเกลือ
ผ้าไหมมัดหมี่นอกจากจะมี ลวดลายที่สวยงามแล้ว ยังมีความ ทนทานสามารถสวมใส่ได้หลายปีอีก ด้วย ปัจจุบันดีไซเนอร์ชั้นนำ�ทั้งชาว ไทยและชาวต่างชาตินิยมนำ�ผ้าไหม ทั้งผ้าพื้น และผ้ามัดหมี่ไปตัดเย็บ จัด แสดงแฟชั่นโชว์คอลเลคชั่นผ้าไหม ให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งผ้าไหม ๒ เส้น นิยมตัดชุดสำ�หรับสุภาพสตรี ส่วน ของผ้าไหม ๔เส้น นำ�มาตัดเป็นเสื้อ พระราชทาน สำ�หรับสุภาพบุรุษหรือ ตัดชุดสูทเป็นการออกแบบผสมผสาน ความงามของผ้าไหมไทยกับการตัด เย็บอย่างประณีตในรูปแบบสากล เพื่อช่วยเสริมให้บุคลิกของผู้สวมใส่ดู สวยงามไม่ล้าสมัย
เหมาะสมกับคนทุกวัยและทุกโอกาส จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มาจาก คนในภาคเหนือและภาคอีสานของ ไทย ทำ�ให้ปัจจุบันผ้าไหมไทยกลาย เป็นสินค้าสำ�คัญของประเทศ ได้รับ ความนิยมและเป็นที่ต้องการของ ตลาดโลกไปแล้ว เส้นใยที่สอดประสานจนเกิดเป็น ลวดลายแห่งศิลปะบนผืนผ้า คือ มรดกอันล้ำ�ค้าแห่งภูมิปัญญาไทย ทุก วันนี้ผ้าไหมนั้นเป็นที่แพร่หลายมาก ขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เรียกได้ว่า “ผ้าทองของไทย เกรียงไกร ทั่วโลก”
“เส้นใยที่สอดประสานจนเกิดเป็นลวดลายแห่งศิลปะบนผืนผ้า”
อารัญ | 25
สีสันแห่งการแต่งแต้ม วิจิตรศิลป์บนผืนผ้าใบ
คุณเคยชมและสัมผัสผลงานภาพวาดสีน้ำ�มันแล้ว หรือยัง หากยังผู้เขียนอยากแนะนำ�ให้ท่านได้ลองสัมผัสสัก ครั้ง รับรองได้เลยว่าคุณจะประหลาดใจและหลงเสน่ห์ศิลปะ แขนงนี้อย่างแน่นอน
26 | อารัญ
ภาพวาดเสมือนจริงที่ทุกคน เห็นกัน ส่วนใหญ่ศิลปะเหล่านั้นเป็น ภาพวาดสีน้ำ�มันทั้งสิ้น บางครั้งแทบ แยกไม่ออกเลยว่าที่เห็นอยู่ตรงหน้า นั้นเป็นภาพวาด หรือภาพถ่ายกัน แน่ ซึ่งการที่จะวาดได้ขนาดนั้น ต้อง อาศัยการฝึกฝน และประสบการณ์ ถึงแม้ว่าภาพวาดสีน้ำ�มันนั้นจะมีต้น กำ�เนิดมาจากฝั่งตะวันตก แต่คนไทย นั้นก็สามารถสร้างสรรค์ภาพวาดสี น้ำ�มันได้ไม่แพ้ชาติใดในโลก อีกทั้งยัง มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของ ตัวเองด้วย สีน้ำ�มันนั้นทำ�มาจากสีฝุ่น ผสมกับน้ำ�มัน ผสมให้เข้ากันจนได้ น้ำ�หนักสีอ่อนแก่ตามความต้องการ ภาพวาดสีน้ำ�มันมักเขียนลงบนผ้าใบ เพราะมีความคงทนมากกว่ากระดาษ และสามารถกันน้ำ�ได้
สีน้ำ�มันป้ายติดวิจิตรศิลป์ ประกอบรูปร่างมิลางเลือน
ศิลปินบรรจงให้คงเหมือนองค์ เปรียบเสมือนของจริงพิงผ้าใบ ปารมี ปิยะศิริศิลป์
อารัญ | 27
ศิลปินใช้สีน้ำ�มันวาดภาพมา หลายร้อยปีแล้ว การวาดภาพสีน้ำ�มัน นั้นใช้เวลานาน บางครั้งอาจใช้เวลา เป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ เพราะว่าสี น้ำ�มันแห้งช้ามาก เหมือนจะเป็นข้อ เสียแต่ไม่ใช่ มันกลับกลายเป็นจุดเด่น เสียมากกว่า ศิลปินสามารถแก้ไขงาน ได้ง่าย เพียงแค่เขียนแก้ทับงานเดิม รู้หรือไม่ว่าเพียงแค่เปลี่ยน ส่วนผสมของสีน้ำ�มันงานของเราก็จะ มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ถ้าผสมด้วย น้ำ�มันลินสีดจะทำ�ให้สีเหนียวและเป็น มัน แต่ผสมด้วยน้ำ�มันสนจะทำ�ให้สี แห้งเร็วขึ้นแต่สีจะด้าน ส่วนพู่กันที่ใช้ ระบายสีน้ำ�มันนั้นต้องใช้พู่กันแบนที่มี ขนแข็ง เพื่อที่พูกันจะรองรับน้ำ�หนักสี ได้ การวาดภาพนั้นมีองค์ประกอบอยู่ ๓ อย่าง คือ เส้น แสง และสี
28 | อารัญ
ถ้าองค์ประกอบทั้ง ๓ สมบูรณ์แบบก็ จะได้ภาพที่สวยงาม การร่างลายเส้น นั้นถือเป็นส่วนที่สำ�คัญที่สุดในการ วาดภาพสีน้ำ�มัน เพราะเมื่อลงสีแล้ว สีนั้นก็จะทับเส้นที่เราร่างไว้ หากวาด ลายเส้นไว้ไม่ดี ภาพที่ได้ก็จะมีรูปทรง ผิดเพี้ยนดูไม่งดงาม ดังนั้นการวาด ลายเส้นให้ดีจึงเป็นหัวใจของการวาด ภาพ หลายคนคงสงสัยว่าทำ�ไมภาพ วาดสีน้ำ�มันนั้นจึงมีความมันเงา เหมือนพ่นสเปรย์เคลือบทับ จริงๆ แล้วศิลปินทำ�ขึ้นหรือเปล่าเพื่อให้ผล งานดูสวยงามมากยิ่งขึ้น คำ�ตอบคือ ไม่ใช่ เพราะความมันเงางามของผล งานนั้นเกิดจากคุณสมบัติพิเศษที่มี เฉพาะในสีน้ำ�มันเท่านั้น ถือได้ว่ามัน คือเสน่ห์ของภาพวาดสีน้ำ�มันเลยก็ ว่าได้
พระบาทสมเด็จพระบรม ราชินีนาถทรงเห็นว่าศิลปะประเภท นี้สามารถสร้างรายได้ให้กับคนด้อย โอกาสที่มีความสนใจ และความ สามารถในด้านนี้ได้ ดังนั้นพระองค์จึง ทรงมีรับสั่งให้จัดตั้งแผนกช่างวาดสี น้ำ�มันขึ้น นักเรียนที่มาฝึกการวาด ภาพสีน้ำ�มันจากศูนย์ศิลปาชีพนั้น แค่เพียงมีความสนใจ และความ ตั้งใจก็สามารถสร้างสรรค์ผลงาน ออกมาได้ จะสังเกตได้ว่าทางศูนย์ มักจะนำ�ผลงานของนักเรียนไปวาง ตามนิทรรศการ และงานประกวด ต่างๆ อย่างมากมาย และเป็นที่ แน่ชัดว่างานทุกชิ้นล้วนมีคุณค่าทาง สุนทรียศาสตร์ทั้งสิ้น
อารัญ | 29
ภาพวาดสีน้ำ�มันในรูปแบบธรรมชาติ มีสีสันที่ สดใสดูแล้วเปรียบเสมือนมีชีวิตจริง ๆ จัดแสดงโชว์ ณ ศาลาพระมิ่งขวัญ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ฯ
30 | อารัญ
พระบรมฉายา สาทิสลักษณ์ในหลวง และเชื้อพระวงศ์ ถือได้ว่า เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่นักเรียนหรือผู้เข้าฝึก ในศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
อารัญ | 31
จากก้อนดินสู่ศิลป์แต้มสี ตุ๊กตาดินเผารูปคนขนาดจิ๋ว เนื้อตัวขาวละเอียด วาดลวดลายเสื้อผ้า และส่วนต่างๆ ด้วยสีสันอันสดใส แต่ละตัวล้วนแตกต่างกันด้วยกิริยา ท่าทางอันแช่มช้อย งดงาม เลียนแบบอิริยาบถของคนจริงๆ ตุ๊กตาเหล่านี้ รู้จักกันดีในชื่อว่า “ตุ๊กตาชาววัง”
32 | อารัญ
ในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ได้เกิด เหตุการณ์อุทกภัยขึ้น ทำ�ให้ไร่นาเสีย หายจนหมด ส่งผลให้ชาวบ้านว่างงาน สมเด็จพระบรมราชินีนาถท่านได้ทรง ตระหนักถึงความทุกข์ร้อนของพสก นิกรชาวไทย พระองค์จึงทรงรับสั่งให้ ช่างฝีมือในวังนั้น ออกมาสอนอาชีพ แก่ชาวบ้านเพื่อใช้เป็นอาชีพเสริม คุณจริยา สงวนชาติ หนึ่ง ในชาวบ้าน จากตำ�บลบางเสด็จ ผู้มี ฝีมือในการปั้นอันโดดเด่น ได้อาสา มาฝึกสอนตุ๊กตาชาววังให้แก่ชาว บ้านจากจังหวัดต่างๆ ที่มาฝึกอบรม งานที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ซึ่งที่ บางไทรเองก็มีดินเหนียวซึ่งมีคุณภาพ ดี เหมาะแก่การทำ�ตุ๊กตาชาววัง เมื่อ นักเรียนทำ�ผลงานเสร็จ อาจารย์ก็จะ คัดเลือกชิ้นงานที่ได้คุณภาพนำ�ขึ้นทูล เกล้าถวาย ซึ่งพระองค์ท่านก็ทรงรับ ซื้อผลงานทั้งหมดด้วยพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์มาโดยตลอด
อารัญ | 33
เกือบ ๓๘ ปีที่ผ่านมา มี นักเรียนจากศูนย์ที่สำ�เร็จไปแล้ว มากกว่า ๘๐ รุ่น ถึงแม้บางคนที่จบไป จะไม่ได้นำ�ความรู้ไปใช้โดยตรง แต่ ก็ยังมีบางคนที่นำ�วิชากลับไปสอน ผู้คนในหมู่บ้านของตนเอง ถ้ามีงาน ดีๆ ก็นำ�กลับมาฝากขายที่ศูนย์ ถือ เป็นการสานต่อพระราชปณิธานของ พระองค์ท่านที่มุ่งหวังให้ราษฎรมี อาชีพเสริมและยังสามารถอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณไว้ได้ อีกด้วย
34 | อารัญ
ปัจจุบันการปั้นตุ๊กตาชาววัง ที่สอนอยู่ในศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯมี อยู่สองประเภทคือ ตุ๊กตาชาววังและ ตุ๊กตาชาวบ้าน ทั้งสองชนิดทำ�จากดิน เหนียวคุณภาพดีจากบางไทรทั้งสิ้น แตกต่างกันเพียงรายละเอียดในการ ปั้นเท่านั้น หากเป็นตุ๊กตาชาววังจะ ทำ�การแกะและลงสีสักเสื้อผ้า หน้าตา ให้สวยงาม ส่วนตุ๊กตาชาวบ้านนั้นจะ มีเพียงโครงร่าง
เสน่ห์ของตุ๊กตาชาววังและ ตุ๊กตาชาวบ้านนั้น อยู่ที่ฝีมือการ ประดิษฐ์ที่ทำ�ด้วยมือล้วนๆ ตุ๊กตา แต่ละตัวจึงมีความประณีตงดงาม สามารถจำ�ลองทุกอิริยาบถของคน แสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ใน สมัยก่อน ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ร่วมทั้งการละเล่นของเด็กไทยที่นับวัน มีแต่จะเลือนหายไป ตุ๊กตาชาววัง ถ้าหากมอง เพียงแค่ผ่านๆ ก็คงจะเป็นเพียงตุ๊กตา ดินเผาปั้นเท่านั้นไม่ได้มีอะไรที่แตก ต่างและที่ชาวบานทำ�ขึ้นก็เพื่อหาราย ได้เลี้ยงชีพ แต่ถ้าหาลองมองลึกลง ไปในตัวตุ๊กตาแต่ละตัว จะเห็นได้ว่า เป็นตุ๊กตาดินเผาที่มีประวัติศาสตร์อัน ยาวนาน และแฝงไปด้วยความรู้สึก ที่ไม่สามารถบอกได้ สิ่งเหล่านั้นล้วน มีความสำ�คัญ และทรงคุณค่าอย่าง มากกับวิถีชีวิตของคนไทย
จากก้อนดินปลูกปั้นและสรรค์สร้าง ทำ�รูปร่างวาดลวดลายให้สวยหรู แล้วแต่งแต้มสีสันให้น่าดู คนชั้นครูริเริ่มประเดิมมา ปารมี ปิยะศิริศิลป์
อารัญ | 35
จิตวิญญาณ แห่งการปั้น
36 | อารัญ
นูนสูง นูนต่ำ� ลอยตัว มันคือ รูปแบบของงานประติมากรรมที่ต้อง อาศัยฝีมือการปั้น และเทคนิควิธีการ ต่างๆ มากมาย ปั้นหุ่นให้เหมือนแบบ นั้นถ้ามีประสบการณ์และทักษะนิด หน่อยก็สามารถทำ�ได้ แต่ถ้าจะปั้น ให้ผลงานดูมีชีวิตมีจิตวิญญาณนั้น ศิลปินจะต้องใช้ใจใส่ลงไปเป็นส่วน ประกอบด้วย ประติมากรรมนั้นมีต้น กำ�เนิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แผ่นดิน ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งปรากฏ หลักฐานอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โบราณสถาน หรือโบราณวัตถุ ซึ่งวัสดุ ที่นำ�มาสร้างงานประติมากรรมนั้น ได้แก่ ปูนเพชร ดินเผา ไม้ โลหะสำ�ริด และทองคำ�
อารัญ | 37
ประติมากรรมไทยส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วย ความศรัทธาในพุทธศาสนา จะเห็นได้จากพระพุทธรูปในสมัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปั้น การหล่อหรือการแกะสลัก
รูปปั้นที่บ่งบอกถึงความเลือมใสในพระพุทธศาสนา 38 | อารัญ
งานแผนกช่างประติมากรรมศิลปาชีพ มีการเลือกใช้วัสดุแต่ เดิมเป็นดินเหนียว แต่เนื่องจากดิน เหนียวนั้นเวลาแห้งเนื้อดินมันจะแตก ทำ�ให้ชิ้นงานนั้นเกิดความเสียหาย จึงเปลี่ยนมาเป็นดินน้ำ�มันแทน ซึ่งมี คุณสมบัติที่พร้อมสำ�หรับทำ�งานปั้น ได้ตลอดเวลา ในงานปั้นนั้นจะใช้วัสดุ ทั้งหมด ๔ อย่าง คือ ดินเหนียว ดิน น้ำ�มัน ขี้ผึ้งและปูน แผนกช่างประติมากรรมนั้น เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่ง ดำ�เนินการโดยนายมนู สะเตกลัมพ์ ครูช่างศิลปาชีพ ตัวแทนของอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร มาสอน งานช่างประติมากรรมให้กับนักเรียน ศิลปาชีพที่ศูนย์ศิลปาชีพแห่งนี้ แผนกช่างประติมากรรมได้ ดำ�เนินการสอน อบรม ให้ความรู้กับ ผู้ที่สนใจในงานปั้นทุกขั้นตอน โดย หลักสูตรของแผนกนี้จะเน้นฝึกให้ นักเรียนรู้จักคิดเองเป็นสำ�คัญ ปลูก ฝังให้รู้จักการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ รวมเรื่องราว จิตวิญญาณ และความ หมายเข้าไว้ด้วยกัน
นักเรียนศิลปาชีพแผนกช่าง ประติมากรรม ต้องมีความอดทน มานะและพยายามเป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่จะสร้างชิ้นงานขึ้นมา สักหนึ่งชิ้นนั้น ต้องอาศัยทักษะ ความ สามารถ และระยะเวลาที่ยาวนาน กว่าแผนกช่างศิลปาชีพแผนกอื่นๆ และงานประติมากรรมนั้นมีหลาก หลายรูปแบบ จุดหมายของงานปั้นของที่ อื่นๆ คือ การปั้นให้เหมือน แต่สำ�หรับ ที่ศูนย์ศิลปาชีพนั้นจะใส่ความพิเศษ ลงไป จะเป็นการเพิ่มเนื้อหาและเรื่อง ราวที่เราจะปั้นลงไปในหุ่น ซึ่งก็คือ การถ่ายทอดเรื่องราว การแสดงความ รู้สึก อากัปกิริยาและอารมณ์ หรือ จะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า การเติม จิตวิญญาณ เติมชีวิตลงไปในหุ่น ให้ หุ่นที่ปั้นนั้นสามารถถ่ายทอดความ ต้องการที่เราจะสื่อสารแก่ผู้ชมผลงาน นั่นเอง
อารัญ | 39
หลอมละลายจนได้รูป ใครบอกว่าแก้วนั้นเป็น ภาชนะที่ใช้สำ�หรับดื่มน้ำ�เพียงอย่าง เดียว แก้วนั้นถือเป็นปัจจัยสำ�คัญ อย่างหนึ่งสำ�หรับงานศิลปะการเป่า แก้วเลยก็ว่าได้ เพียงอาศัยความร้อน ของไฟ ศิลปินก็สามารถเปลี่ยนแก้ว ธรรมดาๆ ให้กลายเป็นอัญมณีล้ำ�ค่า ได้แล้ว เมื่อ ๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช เชื่อกันว่าชนชาติอียิปต์เป็น ชาติแรกที่ทำ�แก้วขึ้นใช้ แก้วที่ทำ�ขึ้น เป็นแก้วใส และ มีสีสันต่างๆ เหมือน ลูกปัดสี เพราะได้มีการขุดค้นพบ ภาชนะแก้วในประเทศอียิปต์และ ซีเรีย ต่อมาในยุคประวัติศาสตร์สมัย กลาง ชาวเวนิชได้ใช้เวลานับศตวรรษ ในการพัฒนาการทำ�แก้วให้มีสีสัน มากขึ้น และเริ่มดัดแปลงมาเป็น เครื่องตกแต่งจนกลายเป็นเอกลักษณ์
40 | อารัญ
นอกจากนั้น ยังต้องมีเทคนิคที่ถูกต้อง ในการทำ�งาน การควบคุมเปลวไฟ การหมุนแก้วในระหว่างทำ�งาน การ เป่าลมไปในท่อแก้ว การยืดแก้ว และ การตกแต่ง แผนกช่างเป่าแก้ว ของศูนย์ ศิลปาชีพ บางไทรฯ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๙ โดยมี นายชู วิยกาญจน์ เป็นอาจารย์ผู้สอน และดูแลรับผิดชอบ โดยได้รับความ อนุเคราะห์จากสมาคมซอนต้า เป่าแก้ว งานหัตถกรรมที่เกิดจากฝีมือ และความสามารถเฉพาะตัว สำ�หรับ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ ได้เปิดสอน หัตถกรรม ในหลายแขนง และการ เป่าแก้ว เป็นหนึ่งในงานหัตถกรรมที่ มีการส่งเสริมและมีการเรียนการสอน ในศูนย์ และได้สร้างอาชีพให้กับผู้ เรียนจนสร้างเนื้อสร้างตัวกันมาแล้ว หลายต่อหลายคน จุดเด่นของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ นั้นคือสินค้าที่มีมาตรฐาน เดียวกันทุกชิ้นงาน สีสันสวยงาม มี ก่อนคริสตศักราช ๒๐ ปี มี หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นรูป การค้นพบขั้นตอนกรรมวิธีในการ แบบทั่วไป เช่น รูปสัตว์ต่าง ๆ และ ทำ�เครื่องประดับจากแก้ว ภาชนะที่ ยังมีสินค้าที่ดีไซน์เฉพาะตามความ ทำ�จากแก้ว และของมีค่าอื่นๆ ที่ทำ� ต้องการของลูกค้า การนำ�แนวความ ด้วยแก้ว ในซากปรักหักพังในเมือง คิด ความเชื่อ มาร้อยเรียงเป็นชิ้นงาน ปอมเปอี ทำ�ให้ทราบว่าการผลิต ภาชนะหรืองานศิลปะจากแก้วนั้นใช้ ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นมาก ยิ่งขึ้น วิธีการเป่าแก้วมาตั้งแต่อดีตจนถึง การเป่าแก้วนั้นเป็นงานที่ ปัจจุบัน ผู้ที่เป่าแก้วสามารถควบคุม รูปร่างและขนาดแก้วได้ตามต้องการ ละเอียดอ่อนที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะ ขณะที่แก้วกำ�ลังร้อนอยู่ การเป่าแก้ว และความอดทนในการสร้างสรรค์ ชิ้น คือ การนำ�แก้วมาดัดแปลงให้เป็นรูป งานแต่ละชิ้นล้วนมีความสวยงามน่า ร่างต่างๆ ตามความต้องการ การเป่า ประทับใจ รูปลักษณ์ที่งดงามผสม ผสานกับความใสสะอาดของเนื้อแก้ว แก้วนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างงาน ได้อย่างลงตัว ต้องยอมรับเลยว่าเป็น ทางวิชาการและศิลปะ ต้องอาศัย ผลงานที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง การฝึกปฏิบัติให้มีความชำ�นาญจึง จะสามารถเป่าแก้วได้ตรงตามความ ต้องการได้ อารัญ | 41
| INTERVIEW
“ประเทศไหนก็ตามที่เป็น อารยประเทศ ประเทศนั้นต้องมี ศิลปวัฒนธรรม”
42 | อารัญ
อาจารย์โสภณ บัวชาติ สอน อยู่ที่แผนกช่างประดิษฐ์หัวโขนเป็น เวลาหลายปี แต่เดิมไม่ได้มีความรู้ใน เรื่องของการประดิษฐ์หัวโขนโดยตรง แต่เพราะความชื่นชอบและใจรัก ท่าน จึงศึกษาค้นคว้าเรื่องราวและวิธีการ ต่างๆ อย่างตั้งใจ จากนั้นก็ได้รับเชิญ ให้มาสอนที่ศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งตัวครู โสภณเองก็ยินดีและเต็มใจเป็นอย่าง มาก ครูโสภณเล่าว่าหัวโขนนั้นถือ เป็นงานที่นำ�ศิลปะหลากหลายแขนง มารวมกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “งาน แอพพลายอาร์ต” เพราะว่าหัวโขนมี งานช่างสิบหมู่รวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด ต้องอาศัยทั้งความประณีต และความ ละเอียดของการเขียนลาย เพื่อให้ได้ มาซึ่งชิ้นงานที่มีคุณภาพและวิจิตร งดงาม บอกได้เลยว่าหัวโขนนั้นเป็น งานที่บ่งบอกถึงศิลปวัฒนธรรมของ เรา มรดกชิ้นนี้เป็นเหมือนกับตัวแทน ของประเทศไทย
โดยแท้ ไม่ว่าจะไปจัดแสดงที่ใด ผู้ที่ ได้รับชมก็รู้ว่าหัวโขนเป็นสัญลักษณ์ ทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สร้างสรรค์ไว้ อย่างลงตัวแล้ว ทางครูโสภณเองก็ มีข้อคิดดีๆ มาฝากไว้ให้เยาวชนด้วย เข้าใจว่าพวกดารานักร้องที่ชื่นชอบกัน เยอะๆ มันไม่ผิดหรอก มันเป็นความ ชอบของคนแต่ละคน เราบังคับกันไม่ ได้ จะบังคับให้เด็กชอบลิเกอะไรอย่าง นั้นคงไม่ได้ เพราะผู้ใหญ่บางคนก็ไม่ ได้ชอบ แต่ว่าพวกศิลปวัฒนธรรมไทย มันเป็นอะไรที่ไม่ต้องใช้ความชอบ มัน เป็นกำ�พืดของเรา อย่ามัวแต่ทำ�อะไร เกินเลยจนลืมความเป็นเรา “ประเทศ ไหนก็ตามที่เป็นอารยประเทศ ประเทศนั้นต้องมีศิลปวัฒนธรรม” จำ� เอาไว้
ความภูมิใจในหน้าที่ครูช่างศิลปาชีพ นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันสูงสุดของชีวิต ที่ได้มีโอกาสมาเป็นครูอบรมสั่งสอนบุตรหลาน เกษตรกรผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ทุพพลภาพ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดแรงบันดาลใจ จุดประกายผลักดันให้ นำ�เอาความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ทุ่มเทให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบสนองพระราชปณิธานต่อองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้ นับแต่เริ่มก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน แผนกช่างประดิษฐ์หัวโขนได้ตอบสนองสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีงานมีอาชีพทำ� สร้างชื่อเสียง ด้านวิจิตรศิลป์ แสดงสู่สังคมให้เป็นที่ประจักษ์ เป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องในฝีมือความงดงาม อัน แสดงถึงเอกลักษณ์แห่งงานศิลปาชีพ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ อย่างแท้จริง
อารัญ | 43
อาจารย์จรัญ สร้อยทอง แผนกช่างทอผ้าไหม ครูศิลปาชีพ บางไทรฯ
อาจารย์จรัญ สร้อยทอง สอนอยู่ที่แผนก ช่างทอผ้าไหมตั้งแต่เริ่มก่อตั้งศิลปาชีพ บางไทรฯ เรียกได้ว่าเป็นครูรุ่นบุกเบิกเลยทีเดียว ถ่ายทอด ความรู้ให้กับลูกศิษย์ไปหลายต่อหลายรุ่น เป็น เหมือนกับกำ�ลังสำ�คัญของแผนกนี้เลยก็ว่าได้ ท่านบอกว่าสอนที่นี่ก็ต้องมีเหนื่อยบ้าง แต่เพียงได้ เห็นความสำ�เร็จของศิษย์ ได้เห็นผืนผ้าที่สวยงาม ท่านก็รู้สึกว่าชื่นใจหายเหนื่อยแล้ว การที่เราจะ ทอผ้าไหมนั้นต้องพิถีพิถันในทุกๆ ขั้นตอน เพราะ ฉะนั้นถือว่าใครที่ทำ�ได้นี่คือเก่งมีวิทยายุทธ์ ที่มี อาวุธลับเป็นความรู้และฝีมือ คนที่เก่งจริงต้องทำ� เป็น ทำ�เป็นกับทำ�ได้มันต่างกัน ความละเอียด อ่อนมันจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด งานที่มี คุณภาพนั้นจะต้องใช้ระยะเวลาในการทำ� ไม่ใช่ แบบโรงงานทั่วไปที่เน้นปริมาณไม่เน้นคุณภาพ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผ้าผืนหนึ่งเราจะใช้เวลา เป็นปีนะอย่างนั้นเรียกขี้เกียจ อย่างผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพของที่นี่คือจะใช้เวลาไม่เกิน ๒ เดือน ขึ้น อยู่กับความยากง่ายของลาย 44 | อารัญ
หลังจากนั้นก็จะมีคนนำ�ไปตัดเย็บให้เป็นเสื้อผ้าต่างๆ ชุดได้รับ ความนิยมจากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้อาจารย์ยัง ฝากมาด้วยว่าอยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่หันสนใจงานหัตถกรรม กันสักนิด ไม่ได้บังคับว่าต้องชอบ เพราะ ”อาจารย์เชื่อว่าถ้า
ทุกคนได้มาลองทำ�ลองสัมผัสจริงๆ พวกเขาต้องหลงมนต์ เสน่ห์จากเส้นใยไหมแน่ๆ ถ้าใครไม่เชื่อก็ต้องลอง ไม่ลอง ไม่รู้”
ความภูมิใจในหน้าที่ครูช่างศิลปาชีพ
ก็ถ้าจะให้บอกว่าประทับใจตรงไหนมากที่สุด ตอบว่า ประทับใจผลงานที่ได้ทำ�ก็คงซ้ำ�ซากจำ�เจ ดังนั้นครูก็จะขอตอบ แบบแหวกแนวนะคะว่าประทับใจในตัวลูกศิษย์ที่มาฝึก เพราะ จะเห็นได้ว่าที่นั่งๆกันอยู่ตอนนี้ก็มีอายุกันทั้งนั้น พวกเขาเป็นรุ่น แรกๆ เลยที่เข้ามาฝึก แล้วเขาก็หลงรักการทอผ้าไหมจริงๆ มี จำ�นวนไม่มากแต่ใจรัก กับมีจำ�นวนมากแต่ไม่มีใจ ครูขอเลือก แบบแรกดีกว่า
อาจารย์วันเพ็ญ วงศ์สุวรรณ แผนกตุ๊กตาชาววัง ครูศิลปาชีพ บางไทรฯ
อาจารย์วันเพ็ญเป็นผู้ที่อยู่ในแผนกตุ๊กตา ชาววังตั้งแต่ก่อตั้ง ตอนแรกอาจารย์ก็เป็นนักเรียนหนึ่ง ในหลายๆ คนที่เข้ามาฝึก แต่ด้วยความผูกพันและ ความรักในงานศิลปะแขนงนี้ อาจารย์วันเพ็ญจึงขอ อาสาที่จะเป็นผู้สืบสานปณิธานของสมเด็จพระราชินี และถ่ายทอดความรู้ให้กับคนรุ่นหลังเพื่อให้ตุ๊กตา ชาววังยังคงอยู่คู่กับคนไทยสืบไป อาจารย์วันเพ็ญเล่าให้ฟังว่า ตุ๊กตาชาววังนั้น เป็นเหมือนสิ่งที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของไทยไว้ ผู้ ปั้นจะถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ผ่านอิริยาบถ ไม่ว่าจะ เป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณี การละ เล่นต่างๆ หรือสำ�นวนสุภาษิตคำ�พังเพย ซึ่งถือว่าเป็น ศิลปะที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อประเทศชาติ รวม ทั้งเยาวชนคนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก แต่เป็นเรื่องน่า เสียดายที่ปัจจุบันนั้นคนที่จะฝึกแล้วทำ�หน้าที่สืบสาน ต่อนั้นเหลืออยู่น้อยมาก ทั้งที่สมัยก่อนมีผู้สมใจอยู่ เยอะ บางคนอาจเห็นตุ๊กตาจิ๋วที่ขายตามตลาดน้ำ�อยู่ มากมาย แต่รู้ไหมว่ามันไม่ใช่ตุ๊กตาชาววัง มันขาด ความประณีตและจิตวิญญาณไป สุดท้ายที่ครูอยากจะฝากไว้คืออยากจะให้ เยาวชนเห็นความสำ�คัญของตุ๊กตาชาววังมากขึ้นจะได้ มีการสืบทอดต่อกันไป เพราะไม่อย่างนั้นมันจะไม่มีอีก แล้ว ถ้าเป็นงานฝีมือแขนงอื่นมันจะต้องอาศัยเครื่อง มือเครื่องจักร แต่ตุ๊กตาชาววังนั้นไม่ต้อง ใช้ฝีมือการ ปั้นของเราเองล้วนๆ วัตถุดิบหาง่ายราคาถูก ขาดอย่าง เดียวคือคนทำ� จึงอยากฝากให้ร่วมกันอนุรักษ์งาน ศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยกันให้มาก
ความภูมิใจในหน้าที่ ครูช่างศิลปาชีพ
อยากบอกว่าทำ�แล้วมันภูมิใจนะ ศิลปะที่เกิดจากสอง มือของเราเอง เป็นคนหนึ่งที่สามารถสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ของไทยได้ แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่มากมายอะไรแต่ก็ ถือว่าคุ้มแล้ว และที่สำ�คัญความภูมิใจที่สุดในชีวิตคือการที่ ได้สืบสานปณิธานของสมเด็จพระราชินี พระองค์ท่านได้ให้ ความสำ�คัญในเรื่องนี้มาก เราเองในฐานะประชาชนที่มีความ จงรักภักดี ก็จะขอทำ�หน้าที่ตรงนี้ต่อไป จะทำ�ตรงนี้ไปจนกว่า จะมาไม่ได้ ไม่มีเรี่ยวแรงมา อาจารย์พูดพร้อมยิ้มไปทำ�ให้เรา ได้เห็นถึงปณิธานและความศรัทธาของอาจารย์ที่มีต่อพระองค์ ท่านอย่างแรงกล้า
อารัญ | 45
และไม่จำ�เป็นต้องมีพื้นฐานการปั้น มาก่อนก็สามารถเรียนรู้ได้ซึ่งครูมนู บอกว่าการที่ผู้ฝึกไม่มีพื้นฐาน ในการ ปั้นมาเลยนั้น ก็จะสามารถถ่ายทอด ความรู้ได้โดยง่ายเพราะหากเป็นผู้ที่ เคยมีพื้นฐานของการปั้นมาแล้วนั้น เมื่อครูสอนในสิ่งที่ผู้ฝึกอบรมเคยเรียน มาแล้ว ก็อาจเกิดการต่อต้านในสิ่งที่ ครูมนูได้สอนไปว่า อาจารย์เก่าเคย สอนมาแบบนี้จะมาสอนอีกแบบหนึ่ง ได้อย่างไร เกิดความเชื่อที่แตกต่างกัน หากคนที่ไม่เคยเรียนก็จะทำ�ตามที่ครู มนูสอนทั้งหมด ไม่มีข้อเปรียบเทียบ จะสามารถใส่เนื้อหาข้อมูลได้ทั้งหมด เรียกได้ว่า สามารถถ่ายทอดวิชาความ รู้ได้ทุกขั้นทุกตอนกันอย่างละเอียด เลยทีเดียว ผู้ฝึกอบรมส่วนใหญ่แล้ว ก็จะสามารถเรียนรู้และสร้างชิ้นงาน ได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำ�หนด มา แต่บางคนนั้นจะเรียนรู้ช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับความรักในงานและความ ตั้งใจของแต่ละบุคคล ซึ่งบางคนครูได้ วางงานให้ วันหรือสองวันก็สามารถ สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เสร็จสวยงาม แต่ บางคนนั้นก็ไม่สามารถทำ�ได้ อาจารย์มนู สะเตกลัมส์ โดยการเรียนการสอนของ แผนกช่างประติมากรรม แผนกช่างประติมากรรม ครูมนูจะ ครูศิลปาชีพ บางไทรฯ เริ่มสอนตั้งแต่การเริ่มดูภาพเป็นต้น แบบ การออกแบบ การปั้น การทำ�แม่ พิมพ์ การลอกชิ้นงาน คือสอนทุกขั้น อาจารย์มนู สะเตกลัมส์ นั้นเริ่มทำ�งานเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ใน ตอนของงานประติมากรรม ทั้งการปั้น แผนกช่างประติมากรรมหลังจากที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯก่อตั้งได้แค่ โมเดล งานปั้นลอยตัว นูนสูง นูนต่ำ� ปีเดียว ก่อนที่จะมาสอนอาจารย์มนูเคยเป็นช่างอิสระมาก่อน ที่บ้านมี รวมทั้งสอนการปั้นจากชิ้นเล็กๆ ไม่ว่า ธุรกิจรับหล่อพระพุทธรูป ซึ่งก็มีรายได้ที่น่าพอใจ แต่เพราะต้องการจะ จะเป็นของชำ�ร่วย งานโมเดลไปจนถึง อุทิศตนให้กับงานช่าง อยากถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ อาจารย์ การปั้นอนุเสาวรีย์ที่เป็นงานชิ้นใหญ่ๆ จึงเลือกที่จะมาสอนที่นี่และคิดว่าจะไม่ไปไหนอีกด้วย ครูมนูได้เล่าให้ กันเลยทีเดียว ฟังว่าการคัดเลือกผู้ที่จะมาฝึกที่แผนกช่างประติมากรรมนั้นไม่มีข้อจำ� กัดใดๆ ทั้งสิ้น ครูท่านรับผู้ที่สนใจฝึกทั้งหมดแต่ขอต้องมีใจรักในงาน ประติมากรรมงานปั้น มีความอดทน 46 | อารัญ
จุดเด่นของงานปั้นครูมนู กล่าวว่า งานปั้นมีหลายแบบ ถ้าวาง ไว้แต่เดิมคือปั้นให้เหมือนก็จะได้แค่ ความเหมือนเท่านั้น หมายความว่า หากปั้นสิ่งใดก็ได้อย่างนั้น ควรใส่ เนื้อหาเข้าไปในหุ่นที่เราปั้นด้วย หาก คุณจะเขียนนิทานเรื่องนึง มีเรื่องอะไร คุณก็เขียนเข้าไปด้วย วางเรื่องเข้าไป แล้วก็ใส่เนื้อเรื่องเข้าไปด้วย เหมือน กับการเล่านิทานเรื่องหนึ่ง แต่หุ่น เนี่ยมันจะเขียนยาก ครูมนูยกตัวอย่าง ให้ฟัง สมมติว่าเป็นการปั้นนางรำ� ก็ ต้องเริ่มจากการเล่า นางรำ�คนนี้ รำ�เก่ง มากเลยแล้วรูปร่างเขาเนี่ยสวยงาม มาก แต่ทีนี้เขาก็ถามว่า สวยยังไง ผม บอกว่า สวย ใบหน้าก็สวย ผมก็ปั้น ออกมาให้ดู สวยแบบนี้เลยเหมือน นางฟ้า เหมือนคนที่เราชอบ นัยน์ตา เขาก็สวย คุณก็ต้องปั้นนัยน์ตาออกมา ให้เขาดู ปากก็สวย จมูกก็สวย นี่ก็คือ การเล่า และการรำ�เนี่ย คือหุ่นทั้งหมด สวยหมด เราปั้นออกมาให้ดูแล้ว และ การรำ�เนี่ยก็คือ ใบหน้าเขาก็รำ� ไหล่ เขาก็รำ� มือเขาก็รำ� ทั้งเนื้อทั้งตัว แม้ กระทั่งเท้าเขาก็รำ� ก็ต้องปั้นออกมา ให้เขาเห็นตรงนั้น นี่คือการเล่าเนื้อหา ในหุ่น แต่ถ้าเราเล่าไม่เป็น อย่างมีผู้ หญิง คนหนึ่งกำ�ลังรำ�อยู่ หน้าตายัง ไงก็ได้ แล้วรำ�ออกมาดูแล้วไม่เหมือน รำ� ดูแล้วเหมือนเอาหุ่นมาสตาฟ (ไม่มี ชีวิต) แต่ในภาษาศิลปะเขาเรียก จิต วิญญาณ ช่างที่จะเก่งหรือไม่เก่งมัน ก็อยู่ตรงนี้ คือเล่ายังไงให้มันละเอียด ลออ แล้วมองเห็นภาพ แต่ถ้าปั้น เหมือนในภาพที่เขาเอาภาพมาให้ดู ส่วนใหญ่ถ้าช่างเก่งๆเขาจะอึดอัด คือ เขาไม่สามารถที่จะเล่าได้ คือเอาตาม แบบ ก็ตามแบบไปเลย บางทีแบบ แบบโดนถ่ายรูปมาไม่มีอารมณ์เขาก็ ปั้นอย่างนั้น
แต่ดูไร้อารมณ์ขาดความมีจิต วิญญาณ ศิลปะเป็นแบบนั้น เขา เรียก เหมือนมีวิญญาณ และครูมนู ยังบอกถึงการปั้นบุคคลที่เราเคารพ นับถือ ถ้าเราไปยึดรูปตามหลัก แล้วเราไม่รู้จักอุปนิสัยเขา ไม่รู้จัก อารมณ์เขา ไม่รู้จักการปฏิบัติตน ปั้นออกมาก็เหมือนซากศพแค่มี ความเหมือนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ ไม่มีเนื้อหาไม่มีอะไร เหมือนกับยืน ไม่มีชีวิต แต่ถ้าตราบใดเรารู้จักคน คนนี้ดี เราก็ใส่เนื้อหาได้ดีกว่า ก็ เหมือนเล่านิทานให้หุ่นนั่นเอง
ความภูมิใจในหน้าที่ครูช่างศิลปาชีพ คำ�ตอบคงอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตัวอาจารย์ เพราะสิ่งเหล่านั้นอยู่ รอบๆ ตัวของพวกเรา ผลงานทุกชิ้นมาจากฝีมือของลูกศิษย์ มันเป็นเหมือน กำ�ลังใจและแรงผลักดันให้เราอยากที่จะถ่ายทอดความรู้ต่อไปเรื่อยๆ อย่าง เต็มศักยภาพ เพราะมันมีรูปธรรมให้เราเห็นว่า “เราไม่ได้สร้างแค่หุ่น
แค่รูปปั้น แต่มันเหมือนกับว่าเราได้สร้างคนคนหนึ่งขึ้นมา ด้วย”
อารัญ | 47
นายธนาณัต ธาตุมีหรือ น้องตี้ เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ฝึก อบรมแผนกช่างเป่าแก้ว น้องได้ เล่าประวัติของตนเองและให้สัมภาษณ์ไว้ดังนี้ ผมเป็นเด็กบ้านนอก ฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี จึงได้เรียน จบแค่ ม. ๓ จึงตัดสินใจเดินทาง เข้ามาหางานทำ�ในกรุงเทพฯ ตัว ผมเองนั้นไม่อยากจะทำ�งานใน โรงงาน ทำ�ก็ได้แค่เงิน ไม่มีความรู้ หรืออาชีพที่ติดตัวผมได้เลย อีกทั้ง ยังไม่สามารถนำ�ไปประกอบอาชีพ ในอนาคตด้วย น้องตี้เองได้เริ่ม รู้จักแผนกนี้มาจากลุงคนหนึ่งที่เคย มาฝึกก่อน เขาประทับใจและคิดว่า มันมีประโยชน์ ดังนั้นเขาจึงแนะนำ� และชักชวนน้องตี้ให้มาเรียนด้วย แต่ตอนแรกน้องตี้ก็ได้เข้ามาชม การฝึกอบรมของหลายๆ แผนก เพราะเขาต้องการจะเลือกสิ่งที่ เขาคิดว่าใช่มากที่สุด จนสุดท้าย เขาก็เลือกที่จะฝึกที่แผนกช่างเป่า แก้ว เพราะเห็นว่าชิ้นงานมีความ สวยงาม และความมหัศจรรย์อยู่ใน ตัว “แค่แก้วธรรมดาๆ มัน
กลายเป็นงานศิลปะที่น่าทึ่ง ได้”
ตอนนี้น้องตี้อยู่ในตำ�แหน่งผู้ผลิต ชิ้นงานขาย ตอนมาฝึกแน่นอนว่า เขาไม่เคยมีความรู้หรือพื้นฐานด้าน การเป่าแก้วมาก่อนเลย แต่ก็ได้ เรียนรู้ทุกๆ อย่างจากที่นี่ น้องตี้ได้ เล่าว่าการเป่าแก้วได้ชิ้นหนึ่งนั้น ต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึกฝน ให้เกิดความชำ�นาญ และสามารถ สร้างสรรค์ชิ้นงานให้เกิดความ สวยงามที่สุดเท่าที่เราจะสามารถ ทำ�ได้ ซึ่งศิลปะการเป่าแก้วนั้น ไม่มีข้อจำ�กัดตายตัวไม่มีผิดไม่มี ถูก เนื่องจากเป็นการสร้างสรรค์ชิ้น งานที่ต้องค่อยๆ ทำ�ออกมาทีละชิ้น ทำ�ให้แต่ชิ้นย่อมมีความแตกต่าง กันออกไปแล้วแต่ช่างเป่าแก้วจะ สรรค์สร้างชิ้นงานออกมา นอกจาก นี้น้องตี้ยังเล่าว่าการที่ได้มาฝึก อบรมที่นี่ นอกจากจะได้รับความรู้ และเทคนิควิธีการต่างๆ แล้วเขายัง ได้รับประสบการณ์และข้อคิดจาก อาจารย์อีกมากมาย เขาคิดว่าเขา จะต้องฝึกฝนและพัฒนาฝีมือให้ดี ยิ่งขึ้นไปอีก เขาจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านการเป่าแก้ว มันเท่แบบมีสมอง ซึ่งดีกว่าพวกวัยรุ่นคนอื่นๆ ที่คิดว่า แค่ดื่มสุราสูบบุหรี่ก็โก้แล้ว มันไม่ สร้างสรรค์เลย
48 | อารัญ
นาย ธนาณัต ธาตุมี (น้องตี้) อายุ 17 ปี ผู้ฝึกอบรมแผนกช่างเป่าแก้ว
ความประทับใจ การที่ได้มาฝึกเป่าแก้วที่นี่ทำ�ให้ น้องตี้ได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เด็กบาง คนที่อายุเท่าๆกันก็ไม่ได้สนใจ ซึ่งถือว่าเขา ใช้เวลาได้คุ้มค่าและยังมีอาชีพที่ติดตัวไป อีกหนึ่งอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ ตนเองและครอบครัว “ทำ�งานกับไฟ
แต่ใจต้องเย็น”
คุณลำ�ไย โกษะ (ป้าแป๊ด) อายุ 63 ปี ผู้ฝึกอบรมแผนกช่างทอผ้าไหม
ป้าแป๊ดหรือนางลำ�ไย โกษะ หนึ่งในสมาชิกแผนกช่างทอผ้าไหม ป้าแป๊ดทำ�งานที่ศูนย์ศิลปาชีพแห่งนี้ ตั้งแต่ศูนย์ยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ เรียกได้ว่าเป็นรุ่นบุกเบิกรุ่นแรกๆ ของ แผนกช่างทอผ้าไหมเลยก็ว่าได้ แต่ เดิมตนมีอาชีพทำ�ไร่ทำ�นา แต่เพราะ ความหลงใหลในเส้นใยของผ้าไหม สนใจในงานผ้าไหม ป้าแป๊ดก็เลยเข้า มาฝึกทอผ้าที่นี่ ตอนแรกป้าแป๊ดไม่มีความรู้ เรื่องผ้าไหมเลย ป้าบอกว่ากว่าจะได้ มาเป็นผ้าไหมสวยๆ ต้องใช้เวลามาก เดี๋ยวนี้นั่งไปนานๆ ก็ปวดหลัง แต่เพื่อ งานที่ป้ารักป้าก็อดทน และทำ�มัน จนเสร็จ ถึงอายุจะมากแล้วแต่ก็จะ ทำ�งานทอผ้าที่แผนกไปจนกว่าจะไม่ สามารถมาทำ�งานได้ ตอนนี้ป้าแป๊ด ได้ยึดอาชีพการทอผ้าไหมเป็นอาชีพ หลัก และมีอาชีพเสริมเป็นการปลูก กล้วยขายผลไม้แทน บอกได้เลยว่าป้า แป๊ดมีความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์
งานทอผ้าไหมเป็นอย่างมาก สร้าง งานที่มีคุณภาพเพื่อออกจำ�หน่าย ซึ่ง เป็นการสร้างชื่อเสียงให้ศูนย์ศิลปา ชีพให้เป็นที่รู้จักของคนไทยและชาว ต่างชาติอีกด้วย เดี๋ยวนี้ผู้หญิงไม่ได้ มีแค่เสน่ห์ปลายจวักนะ ดูป้าแป๊ด เป็นตัวอย่างสร้างเสน่ห์จากกี่ทอ ผ้า นอกจากจะได้ฝึกความละเอียด ประณีตแล้ว ยังได้รักษา สืบทอด และ อนุรักษ์สมบัติของชาติด้วย “ขนาด
ความประทับใจ ป้าแป๊ดเคยมีโอกาสเข้าเฝ้า
และรับเสด็จพระราชินี รวมทั้งเคยได้ รับรางวัลพระราชทานจากพระราชินี เป็นเงินจำ�นวนหนึ่ง แต่สิ่งที่ป้าประทับ ใจที่สุดไม่ใช่เพราะเงิน แต่เป็นเพราะ ประโยคที่พระองค์ตรัสถามป้าแป๊ดว่า ได้รับค่ายังชีพหรือไม่ นั่นทรงแสดง ให้เห็นถึงความห่วงใยในสมาชิกศูนย์ ศิลปาชีพ เป็นอย่างยิ่ง
ป้าไม่เคยเรียนหนังสือ ป้า ยังคิด ยังทำ�เลย แล้วพวก “การได้มาเป็นเป็นคนหลวง เราที่ได้เรียนหนังสือจะไม่คิด เป็นคนของพระราชินีจริงๆ ทำ�อะไรหน่อยเลยหรือ” ทั้งที่รู้ แค่นี้ก็นา่ ภูมิใจมากพออยู่ อยู่แล้วว่าศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญา ต่างๆ ของเรามันมีคุณค่า
แล้ว ไม่จำ�เป็นต้องได้รับค่า ตอบแทนที่มากมาย เพราะทุก วันนี้ก็อิ่มอกอิ่มใจแล้ว แค่นี้ ป้าก็นอนตายตาหลับแล้ว”
อารัญ | 49
นายอิทธิศร สนธิ (เหน่ง) อายุ 48 ปี ผู้ฝึกอบรมแผนกภาพวาดสีน้ำ�มัน พี่เหน่งมีภูมิลำ�เนาเดิมอยู่ที่จังหวัด สิงห์บุรี เป็น หนึ่งในสมาชิกแผนกภาพวาดสีน้ำ�มันที่มีความน่าสนใจเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากพี่เหน่งมีความพิการแขนทั้งสองข้างมา ตั้งแต่กำ�เนิด โดยก่อนหน้านี้ได้ทำ�อาชีพร้องเพลงและเล่น พระเครื่อง แต่ด้วยความชอบในงานเขียนรูป พี่เหน่งเลยลอง มาฝึกทักษะการเขียนรูป โดยใช้เท้าแทนมือในการเขียนและ วาดภาพ ซึ่งภาพวาดของพี่เหน่งนั้นสวยกว่าภาพของคน อื่นๆ ที่ปกติด้วยซ้ำ�ไป
50 | อารัญ
พี่เหน่งบอกว่าตัวเองฝึกใช้เท้ามาตั้งแต่เล็ก ไม่ ว่าจะทำ�อะไรล้วนก็ต้องใช้เท้าทั้งสิ้น ดังนั้นการวาดภาพ สีน้ำ�มันด้วยเท้านั้นจึงไม่เป็นอุปสรรคของเขาแต่อย่าง ใด ใช้ระยะเวลาเหมือนกับคนปกติที่เรียนรู้ทั่วไป ฝีมือ การวาดของพี่เหน่งนั้นถือว่าสวย อยู่ในระดับที่นำ�ผลงาน ออกจำ�หน่ายได้ ซึ่งผลงานของพี่เหน่งก็ได้ถูกจำ�หน่าย ไปประมาณ ๓๐ ภาพแล้ว แรงบันดาลใจในการทำ�งาน วาดภาพสีน้ำ�มันของพี่เหน่งนั้นคือความชอบในงาน ศิลปะการวาดภาพสีน้ำ�มันนั่นเอง ภาพวาดสีน้ำ�มันนั้น หากไม่มีใจรักหรือว่าไม่ได้ชอบ เมื่อมาเรียนก็จะเรียนรู้ และฝึกได้ไม่นานก็เลิก พี่เหน่งยังพูดเสริมให้ฟังต่อว่า การที่ได้มาฝึกอบรมวาดภาพสีน้ำ�มัน นอกจากจะได้ รับความรู้ในการทำ�งานศิลปะแล้ว ยังเป็นการฝึกสมาธิ ความมีระเบียบวินัย ความอดทน พระราชินี ได้ก่อตั้งที่นี่ ทำ�ให้มีตรงนี้ขึ้นมา รู้สึกว่าท่านมีบุญคุณมากเพราะว่าถ้า เกิดไม่มีตรงนี้ ก็จะลำ�บากกว่าที่เป็นอยู่หลายขั้น เพราะ โอกาสมันน้อยกว่าคนทั่วไปที่จะได้มีโอกาสมาเรียนอย่าง นี้” อยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่หันกลับมาสนใจกันสักที พระองค์ทรงสร้างไว้ให้แล้ว
ความประทับใจ “อยากฝากถึงคนที่มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย พร้อม แต่ว่าไม่ทำ�อะไรเลย พี่คิดว่าทุกอย่างมันไม่ได้อยู่ ที่แขน ขา แต่มันอยู่ที่ใจมากกว่าว่าใจอยากทำ�ไหม ต่อ ให้มีแขนขาแต่ไม่มีใจ มันก็ไม่สามารถทำ�ได้ บางคนไม่มี ทั้งแขนขา เขายังใช้ปากได้ ผมว่ามันใช้ใจมากกว่า อยู่ที่ เราจะสู้หรือไม่”
คุณสงกรานต์ ภาคศักดิ์ศรี (พี่จิ๋ว) อายุ 44 ปี ผู้ฝึกอบรมแผนกประติมากรรม พี่จิ๋วหนึ่งในสมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรมแผนก ประติมากรรม แต่เดิมก่อนหน้านี้พี่จิ๋วเคยเปิดบริษัทเป็น ของตัวเอง เป็นธุรกิจเกี่ยวกับด้านสุขภาพทุกอย่างเหมือน จะเป็นไปได้ด้วยดี แต่แล้วอยู่ดีๆมันก็ล้มเหลว อาจเพราะ ธุรกิจประเภทนี้มีการแข่งขันกันสูง และความนิยมที่ลด น้อยลง พี่จิ๋วเป็นคนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และมี ความคิดริเริ่มที่จะสร้างประติมากรรมเพื่อถวายให้แก่วัด ที่ตนเองนั้นนับถือ ดังนั้นพี่จิ๋วจึงหันมาสนใจในงานศิลปะ ประติมากรรม พี่จิ๋วเป็นคนที่มีความชอบในงานศิลปะ งานศิลปะหลายประเภท รวมทั้งงานปั้นด้วย พี่จิ๋วไม่มีพื้น ฐานในงานปั้นมาก่อนเลย จึงหันมาเรียนรู้เรื่องศิลปะและ การเรียนศิลปะ พี่จิ๋วอยากอนุรักษ์ศิลปะงานปั้นไว้ เพราะ เป็นภูมิปัญญาของไทยมาตั้งแต่โบราณ ดังนั้นพี่เขาจึง มาเรียนที่แผนกนี้และเรียนรู้ฝึกทักษะในการปั้น เพื่อไป สร้างสรรค์ผลงานไปถวายวัดด้วยฝีมือของตนเอง เพราะ มันภูมิใจมากกว่า และนอกจากนี้ยังเอาสิ่งที่เรียนไปคิด ต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคตได้ เวลาเราทำ�งาน จิตใจและ สมาธิเราก็จดจ่ออยู่กับงาน ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิอีกอย่าง หนึ่ง เรียกได้ว่าได้ทั้งสติ ได้ทั้งปัญญา
ในตอนท้ายพี่จิ๋วฝากถึงเด็กรุ่นใหม่ได้น่าสนใจว่า อยากให้เด็กๆรุ่นใหม่ใส่ใจและรักษาศิลปะไทยไว้ให้มาก ไม่ว่าจะเป็นงานเขียน งานปั้นและงานศิลปะในทุกๆแขนง อยากให้เข้ามาศึกษา ฝึกฝนทักษะต่างๆ ไว้ เพราะว่าใน อนาคตไม่รู้ว่าจะยังคงมีผู้เชี่ยวชาญที่จะถ่ายทอดวิชา ความรู้อยู่อีกหรือเปล่า ไม่อยากให้มันหายไป “ถ้ามา
สำ�นึก คิดได้ในตอนที่สายเกินไป มันก็แก้ไข อะไรไม่ได้แล้ว” ความประทับใจ การมาฝึกที่ศูนย์ศิลปาชีพนั้นทำ�ให้พี่จิ๋วได้รับ ทัศนคติ และมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับศิลปะ ซึ่งล้วน แต่งดงามและมีคุณค่าทั้งสิ้น อาจารย์มนูก็ได้ถ่ายทอด วิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ เห็นหลายๆ คนเขาทำ�ชิ้นงาน สวยๆ ออกมาเยอะแยะ พี่ก็ตั้งใจว่าพี่ต้องทำ�ให้ได้เหมือน กัน และพี่จะทำ�ความตั้งใจของพี่ให้เป็นจริง
อารัญ | 51
| WANDER AROUND
ศาลาพระมิ่งขวัญ
ศูนย์จัดแสดงสินค้าศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
52 | อารัญ
โดดเด่นอยู่กลางสนามหญ้า มี ความงดงาม เป็นอาคารทรงไทยจตุรมุข ที่ มีชื่อว่า “ศาลาพระมิ่งขวัญ” เมื่อเดินเข้าไป ในอาคาร จะพบรูปภาพสีน้ำ�มันวิจิตร งดงาม และถัดไปจะเป็นห้องโถงขนาด ใหญ่ มองด้านบน จะพบว่าเป็นอาคาร 4 ชั้น โอ่อ่า กว้างขวางมากทีเดียว ในส่วนของชั้นล่าง จะเป็นส่วน ของการจัดแสดงสินค้าเล็กๆน้อยๆ รวมทั้ง เป็นสถานที่จำ�หน่ายสินค้าด้วย เมื่อสังเกต จะเห็นว่า ในชั้นล่างแบ่งออกเป็นสองส่วน อย่างชัดเจน โดยในส่วนแรก จะเป็นสินค้า จากศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ส่วนที่สองจะ เป็นสินค้าจากกลุ่มฝีมือต่างๆ สามารถนำ� เอาสินค้ามาฝากจำ�หน่ายได้ด้วย
อารัญ | 53
ภายในมีสินค้าทั้งจากศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ และจากศูนย์ศิลปาชีพอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีสินค้าจากกลุ่มแม่บ้านอีกด้วย
54 | อารัญ
อารัญ | 55
พอขึ้นมาชมชั้นที่สอง ชั้นที่ สองจะแบ่งออกเป็นห้องนิทรรศการ จำ�นวน 2 ห้อง โดยห้องนิทรรศการ ที่ 1 เป็นห้องที่ใช้จัดแสดงผลงาน ประเภทเป่าแก้ว มีผลงานหลากหลาย แบบ ตั้งแต่ขนาดเล็ก จนไปถึงขนาด ใหญ่ๆ อย่างเช่น เรือ เป็นต้น ส่วน ห้องนิทรรศการที่ 2 เป็นห้องที่ใช้จัด แสดงผลงานประเภท แกะสลักไม้ เมื่อ เข้าไปจะพบกันยักษ์วัดโพธิ์ตัวใหญ่ ที่บ่นๆประมานว่า “ยืนมาสองร้อยปี เมื่อยขอพักก่อน”
56 | อารัญ
เป็นผลงานแกะสลักไม้เป็น รูปยักษ์วัดโพธิ์ที่กำ�ลังนอนพักผ่อน ดู แล้วก็ขบขันดี และยังมีผลงานแกะ สลักลวดลาย รูปแบบอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ ห้องนิทรรศการที่ 2 จะพบ ว่ามีแบ่งออกเป็นห้องอีกหนึ่งห้อง เป็น ห้องสำ�หรับจัดแสดงหัวโขน และมี พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถขนาดใหญ่ ภายในห้องนี้ ห้ามบุคคลภายนอกเข้า
มาถึงชั้นที่ 3 ชั้นนี้จะแบ่ง เป็นสามห้อง เป็นห้องนิทรรศการ 3-5 ชั้นนี้จะพบกับสีสันสวยงามในห้อง นิทรรศการที่ 3 เป็นห้องแสดงผลงาน ภาพวาดสีน้ำ�มัน ภายในห้องมีภาพ วาดมากมาย ล้วนแล้วแต่สวยๆทั้งนั้น เมื่อสังเกตดูใกล้ๆ ก็พบกับการใส่ลาย ละเอียดในภาพที่สมจริงมาก ภาพวาด มีแสดงอยู่หลายประเภท เป็นภาพ บุคคล ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ต่างๆ ที่สำ�คัญผลงานเหล่านี้ ถูกวาดโดย ศิลปินจากศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ทุกชิ้นงาน
อารัญ | 57
มาต่อกันที่ห้องนิทรรศการที่ 4 เป็นห้องแสดง ผลงานจิตรกรรมประยุกต์ ห้องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งห้องที่มี สีสันไม่น้อยไปกว่าห้องก่อนนี้ เพราะจะสังเกตเห็นการ วาดลวดลาย ลงบนวัสดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ถ้วย ชาม จาน แจกัน กระเบื้อง เมื่อนำ�มาผสมผสานกับการใช้ สีต่างๆ ลวดลาย รูปภาพ มีความสวยงาม ทำ�ให้จาน ชาม เหล่านั้นดูมีคุณค่ามากขึ้นเลยทีเดียว ห้องสุดท้าย ห้องนิทรรศการที่ 4 เป็นห้องแสดงผลงานประเภท ตุ๊กตาดินเผา ห้องนี้จะให้ความรู้สึกร้อนๆ เพราะใช้ไฟสี ออกส้มๆ แต่ไฟนี้ช่วยให้ตุ๊กดินเผานั่นดูสวยงามขึ้น ในห้องจะเห็นตุ๊กตาดินเผาจำ�นวนมาก ในแต่ละตัวมี ความละเอียดอ่อนในการทำ�มาก ที่สะดุดตาเลยก็คือ จะพบกับตุ๊กตาดินเผาที่จัดไว้เป็นชุดๆ ตัวอย่างเช่น ชุด วิถีชีวิตไทย เป็นการนำ�เอาการปั้นหลายๆรูปแบบมา รวมกัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน เรือ คน เสาไฟฟ้า สามารถ เล่าเรื่องราวได้ ราวกับว่าภาพมีชีวิต ในส่วนของชี้นที่ 4 นั้นจะเป็นห้องที่ใช้จัดการประชุมและสัมมนา 58 | อารัญ
ถ้วย ชาม จาน แจกัน กระเบื้อง เมื่อนำ�มาผสมผสานกับการใช้สีต่างๆ ลวดลาย รูปภาพ มี ความสวยงาม ทำ�ให้จาน ชาม เหล่านั้นดูมีคุณค่ามากขึ้น
อารัญ | 59
หมู่มวลพันปักษา... หากพูดถึงศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯแห่งนี้หลายคนคงคิดว่าที่นี่จะมีแต่ งานหัตถกรรมแต่เพียงอย่างเดียว คุณอาจเข้าใจผิดเพราะศูนย์ศิลปาชีพ บาง ไทรฯแห่งนี้ยังมีหมู่บ้านสี่ภาค พระราชวังสวยๆ ศาลาริมน้ำ�ที่มีลมพัดตลอดวัน และที่ขาดไม่ได้เลยเห็นจะเป็นในส่วนจัดแสดงสัตว์น้อยใหญ่ต่างๆที่ทางศูนย์ ศิลปาชีพ บางไทรฯได้ตั้งใจจัดไว้คอยต้อนรับผู้มาเยือนเป็นอย่างดี ในสวนนกมีเสียงร้องเจื้อยแจ้วของเหล่าหมู่นกอยู่ตลอด เวลาและท่วงท่าการแหวกว่ายอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ของเหล่าปลาในวังปลา ที่ทำ�ให้ช่วยคลายความเหนื่อยล้าของผู้มาเยือนจาก การเดินทางได้เป็นอย่างดี
60 | อารัญ
สวนนกบางไทรฯ จัดสร้างเป็นกรงนกขนาดใหญ่ที่จำ�ลองสภาพ ธรรมชาติเข้าไว้พร้อมกับนกนานาพันธุ์กว่า 50 ชนิด ทั้งที่เป็นนกท้อง ถิ่นและนกหายากชนิดต่างๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ปิดวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท
อารัญ | 61
62 | อารัญ
หลังจากเราเดินชมศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯกันจนทั่วได้รับความรู้เกี่ยวกับ งานหัตถกรรมกันอย่างเต็มที่แล้ว ก็ถึงเวลาของส่วนที่เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจกันบ้าง นั่นก็คือสวนนกและวังปลานั่นเอง ถ้าหากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มหาที่ตั้งของสวนนกและ วังปลายังไง ? เราก็สามารถเริ่มจากที่วงเวียนป้ายชื่อสัญลักษณ์ของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ จากนั้นตรงมาเรื่อยๆจะพบสวนนกและวังปลาตั้งอยู่ติดกับสองข้างถนน อย่างชัดเจน หาไม่ยากเลย เมื่อถึงสวนนกแล้วดูจากข้างนอกจะเห็นนกกระจอกเทศตัวใหญ่อยู่ด้าน หน้าเรียกความสนใจผู้ผ่านไปมาได้เป็นอย่างดี เราเสียค่าเข้าเพิ่มกันอีกคนละ 10 บาทกับการเข้าชมสวนนก ก็มีคนที่โอดโอยว่าทำ�ไมนะถึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกทั้งๆที่ อยู่ในที่เดียวกัน แต่พอเมื่อได้เดินเข้าไปสัมผัสบรรยากาศข้างในแล้ว ก็พบว่าเงิน เพียงแค่ 10 บาทนั้นไม่เป็นเรื่องใหญ่อะไรนักกับสิ่งที่ได้รับในการเดินชมสวนนกที่ สวยงามเช่นนี้ ตามสองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้เล็กใหญ่ให้ความร่มรื่นกับผู้ที่มาเข้า ชมสวนนก มีกรงนกสำ�หรับนกตัวเล็กสีสันสดใสไว้คอยต้อนรับ ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว ตลอดเวลา และทางด้านซ้ายของสวนนกก็ไม่ได้มีแต่เพียงแค่นกเท่านั้น ยังมีสัตว์ ชนิดต่างๆที่หาชมไม่ได้ตามข้างนอกทั่วไป เช่น งูหลาม เม่น จะเรียกได้ว่าสวนนก แห่งนี้เป็นสวนสัตว์ขนาดย่อมๆก็ว่าได้ เพียงแต่ที่นี่เน้นไปที่นกเป็นส่วนมาก
อารัญ | 63
นกยูงอินเดีย Indian Peafowl ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pavo cristatus นกยูงอินเดีย เป็นนกยูงที่มีขนาดเล็กกว่า นกยูงเขียวหรือนกยูงไทยเล็กน้อย ขนหงอน จะมีลักษณะเป็นรูปพัด สีของผิวหนังบริเวณ หน้าจะมีสีขาว และมีสีดำ�คาดบริเวณตา ขน บริเวณคอและอกมีสีน้ำ�เงิน ขนบริเวณปีก เป็นลายสีขาวสลับกับสีดำ� ขนตามลำ�ตัวจะ มีสีเขียวอมน้ำ�เงิน ด้านหลังเป็นเกล็ดคล้าย ใบไม้ ในเพศเมียนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ ขนตามลำ�ตัวเป็นสีน้ำ�ตาล ขนคอและหลังจะ มีสีอ่อนกว่าเพศผู้
64 | อารัญ
เดินมาอีกสักพักก็ได้เจอ กับกรงนกที่มีสายพันธุ์ใหญ่ รูปร่าง ของกรงนี้เป็นโดมขนาดใหญ่ มี การจัดกรงนกข้างในเป็นกรงเล็กๆ รอบๆของกรงใหญ่อีกทีหนึ่ง แล้ว ด้านในเป็นทางเดินให้ผู้ชมสามารถ เดินเข้าไปชมความงามของนกสาย พันธุ์ต่างๆได้อย่างใกล้ชิด มีทั้งนก เงือกที่ปากแข็งแรง หรือนกยูงตัวผู้ ที่แข่งกันรำ�แพนเพื่อต้อนรับผู้มา เข้าชมอย่างแข็งขัน
อารัญ | 65
เมื่อออกมาจากกรงนกสายพันธุ์ใหญ่แล้วก็พบกับ กรงนกสายพันธุ์ที่เล็กกว่า แต่กลับมีขนาดของกรงที่ใหญ่กว่า ข้างในนี้จัดแสดงนกไว้แบบปล่อยอิสระ ให้เราได้ใกล้ชิดกับ นกมากที่สุด ในทางเข้าจึงมีการทำ�ประตูเป็นสองชั้นเพื่อกัน นกออก ทั่วทั้งสวนนี้เต็มไปด้วยต้นไม้ร่มรื่นที่จัดไว้เป็นอย่าง ดีเพื่อบังแสงแดดให้กับนกชนิดต่างๆ และรอบๆด้านนอกก็มี กรงนกสายพันธุ์ที่หายากจัดวางอยู่คล้ายกับกรงก่อนหน้าที่ เราได้เข้าไป เราเดินตามทางเดินทวนเข็มนาฬิกาเรื่อยๆไป ตามทางภายในกรงนกขนาดใหญ่นี้ ตามทางเดินมีเก้าอี้ไว้ สำ�หรับนั่งพักผ่อนอยู่ประปราย แสงแดดที่เล็ดลอดกิ่งไม้ ใบไม้ลงมาทำ�ให้บรรยากาศดูน่านั่งพักเป็นอย่างยิ่ง เดินมา ได้สักพักก็พบกับแอ่งน้ำ�ที่เป็นที่อยู่ของนกสายพันธุ์จำ�พวก นกเป็ดน้ำ� นกกระยางเป็นต้น เห็นพวกมันเล่นน้ำ�กันอย่าง สนุกสนานก็ทำ�ให้เรารู้สึกสนุกไปด้วย และยังไม่หมดเพียง เท่านั้น ในกรงนกขนาดใหญ่แห่งนี้ยังมีสะพานที่อยู่สูงขึ้นไป เพื่อชมนกที่บินกันไปมาอีกด้วย เราไม่รอช้าที่จะลองขึ้นไป ชมเหล่านกบินกัน และไม่เป็นที่ผิดหวังเราพบกับวิวที่แปลก ตาบนยอดของต้นไม้ เห็นรังของนกต่างๆที่กำ�ลังบรรจงสร้าง อย่างพิถีพิถัน 66 | อารัญ
อารัญ | 67
หมื่นมัจฉาในวารี... สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ�วังปลา ขึ้นอยู่กับกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนิทรรศการเกี่ยวกับการ ประมงและจัดแสดงปลาน้ำ�จืดนานาชนิดที่หาชมได้ยาก เปิด ให้เข้าชมทุกวัน ปิดวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 10.00–18.00 น.
68 | อารัญ
ถึงคิวของวังปลากันบ้าง อยู่ ฝั่งตรงกันข้ามกับสวนนก เราเดิน กันเข้ามาถึงด้านหน้าของวังปลาก็ พบกับโดมสูงที่มีสีฟ้าตกแต่งด้วยรูป ตัวปลาน้อยใหญ่ เวลาเราพูดคุยกัน กับเพื่อนร่วมทางก็เกิดเสียงดังก้อง สะท้อนไปมาให้ความรู้สึกเหมือนกับ อยู่ในถ้ำ�ที่รายล้อมไปด้วยปลาน้อย ใหญ่
อารัญ | 69
เราเดินเข้ามาเรื่อยๆจนถึงด้านใน ตามผนังด้าน ขวามีการจัดแสดงข้อมูลให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับปลาน้ำ� จืดตามลุ่มน้ำ�ในประเทศไทย ส่วนด้านซ้ายเป็นตู้ปลา ขนาดใหญ่มีปลาน้ำ�จืดหลากหลายสายพันธุ์นับหมื่นพัน ตัวแข่งแหวกว่ายไปมาอยู่อย่างสนุกสนาน ด้านล่างของ หน้าต่างมีข้อมูลเกี่ยวกับปลาชนิดต่างๆจัดแสดงอยู่เป็น แถวยาวไปตามตู้ปลาตู้ใหญ่นี้ พอเดินไปได้สักพัก ทาง ด้านขวาก็เปลี่ยนจากส่วนจัดแสดงข้อมูลต่างๆ เป็นเก้าอี้ สำ�หรับนั่งพักผ่อนที่ด้านหลังมีฉากสวยงามอย่างเช่น ตลาดน้ำ�ที่ผู้คนพลุกพล่าน ริมแม่น้ำ�ในยามเย็น เราก็ไม่ พลาดโอกาสที่จะเก็บรูปไว้เป็นความทรงจำ�ดีๆ เดินไป ถ่ายรูปไป ส่วนของตู้ปลาใหญ่ก็หายลับสายตาเราไป มา เข้าถึงในส่วนของตู้เล็กๆที่แสดงพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ�จืด ที่มีขนาดเล็ก บางตู้เราถึงกับต้องเพ่งมอง เพราะสัตว์น้ำ� นั้นมีขนาดเล็กมากจริงๆ ทางด้านล่างของตู้ปลาก็มีข้อมูล แสดงเกี่ยวกับสัตว์น้ำ�ชนิดนั้นๆไว้อย่างชัดเจนอีกเช่นเคย ไม่เพียงแต่ได้เดินเล่นชมปลาเท่านั้น แต่ยังได้ความรู้ไป เต็มๆอีกด้วย เราเดินไปชมความงามของเหล่าหมู่ปลาไป เรื่อยจนเพลินไม่นานก็วนกลับมาถึงทางออกของวังปลา
70 | อารัญ
การจัดแสดงอุปกรณ์ที่ชาวบ้านชาวประมง ใช้ในการจับสัตว์น้ำ� ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป
บรรยากาศภายในวังปลา ที่เป็นการจัดแสดงเหมือนโลกใต้น้ำ� โดยภายในจะเป็นปลาน้ำ�จืดทั้งหมด อารัญ | 71
วิถีไทย 4 ทิศ
“หมู่บ้านศิลปาชีพฯ”ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
72 | อารัญ
มาในส่วนของหมู่บ้านสี่ภาค ไม่น่าเชื่อว่าจะมีหมู่บ้าน เรือนไทยในสมัยก่อนที่ทั้งสวยมีพื้นที่ขาดใหญ่กว้างขวางเอาเป็นว่า เดินกันแทบจะไม่ไหวเลยก็ว่าได้ และนอกจากนี้ภายในยังมีต้นไม้ ใหญ่และคลองที่ขุดขึ้นมาเองถูกล้อมรอบด้วยดอกไม้นานาชนิดที่แข่ง กันออกดอกชูช่อประดับประดาตามทางเดินพอมันมาอยู่รวมกันแล้ว มันเกิดความลงตัวได้อย่างสวยงามมากเลยทีเดียว จากทางเข้าประตูด้านหน้า เดินเข้ามาก็จะได้เจอกับหมู่บ้าน ภาคเหนือ ผมและเพื่อนๆที่มาด้วยกันเดินเข้าไปเยี่ยมชมหมู่บ้านสี่ ภาคอย่างเรื่อยๆ เดินไปถ่ายรูปกันไป ต้นไม้สองข้างทางที่ปลูกไว้ ตามแนวทางเดินของสวนตกแต่งของบ้านเรือนไทยให้ความร่มรื่น เป็นอย่างดี ใต้ถุนบ้านหลังต่างๆมีร้านค้าขายของที่ระลึกอยู่มากมาย ตะกร้า ของใช้สอยที่ทำ�จากการสาน เสื้อม่อฮ่อมและผ้าซิ่นของขึ้นชื่อ ภาคเหนือที่ขาดไม่ได้ก็มีวางจำ�หน่ายในราคาที่ไม่แพง บ้านเรือนไทย ภาคเหนือบนยอดจั่วหลังคาจะมีป้านลมไขว้กันอยู่ ที่เรียกว่า “กาแล” ที่ทำ�ให้ดูแล้วรู้ทันทีว่านี่เป็นบ้านเรือนไทยของภาคเหนือ เดินเที่ยว ซื้อของอยู่นานพอสมควรก็ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี ทุกคนต่างลง เสียงกันว่าจะไปรับประทานก๊วยเตี๋ยวเรือ ผมก็ไม่รอช้ารีบเดินนำ�หน้า เพื่อนๆไปด้วยความหิวเพราะตัวผมเองรีบเตรียมของจนไม่มีเวลารับ ประทานอาหารเช้า เมื่อมาถึงร้านก๊วยเตี๋ยวพวกเราก็ไม่รอช้าสั่งก๊วย เตี๋ยวกันคนละชามสองชาม แต่ก็ไม่ลืมที่จะถ่ายรูปเพื่อนๆตอนที่กำ�ลัง รับประทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อย และสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในการรับ ประทานก๊วยเตี๋ยวเรือนั่นก็คือ แคปหมู อาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือ นั่นเอง
ภายในหมู่บ้านภาคเหนือจะมีสินค้าที่สั่ง ตรงมาจากภาคเหนือเพื่อให้นักท่องเทียวได้เลือก ซื้อสินค้าอย่างมากมาย อารัญ | 73
หลังจากที่ท้องอิ่มเราก็พร้อมที่จะเดินทาง ต่อ ผมและเพื่อนๆพากันเดินข้ามสะพานเล็กๆไปยัง อีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นหมู่บ้านภาคกลาง ตัวบ้านเรือนไทย ภาคกลางตัวบ้านสร้างขึ้นด้วยไม้เป็นเรือนชั้นเดียว แบบเรียบง่าย มีการออกแบบให้ป้องกันความอบอ้าว ของอากาศ เรือนมีใต้ถุนสูง บรรยากาศหมู่บ้านรอบๆ หมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับริมน้ำ�อธิบายวิถีชีวิตของชาวภาค กลางได้เป็นอย่างดี ให้ความสงบกับผมอย่างบอกไม่ ถูก ที่หมู่บ้านภาคกลางมีก็มีของขายวางเรียงรายอยู่ หน้าร้านค้าดูละลานตาเช่นกัน เครื่องจักสานที่ทำ�จาก ไม้ไผ่อย่างเช่น ตะกร้า กระเป๋าหลากสีตั้งอยู่ภายใน ร้านจนแทบไม่มีที่ว่าง สีสันของผ้าถุงสดใสที่แขวนอยู่ ริมร้านท้าแดดอย่างไม่กลัวสีซีด ทำ�ให้เรียกความสนใจ จากเพื่อนของผมที่มาเที่ยวด้วยกันได้เป็นอย่างมาก เธอไม่รอช้าที่จะหยิบผ้าถุงหลากสีนั้นมาลองใส่จน เกือบจะครบทุกผืน หมุนตัวไปมาอยู่นานสองนานกว่า จะได้ผืนที่เขาคิดว่าเข้ากับตัวเธอที่สุด
74 | อารัญ
อารัญ | 75
ผมบอกเพื่อนๆให้ไปเดินเที่ยวต่อกันที่ หมู่บ้านภาคอีสานเป็นที่ต่อไปเพราะอยู่ติดกัน เดินไปได้สักพักก็พบกับทะเลสาบขนาดเล็กที่เป็น ศูนย์กลางของหมู่บ้านไทยสี่ภาค มีเวทีไว้สำ�หรับ จัดการแสดงต่างๆอยู่ใจกลางของทะเลสาบ เสียดายที่วันนั้นผมไปไม่ตรงกับช่วงที่เขาจัดการ แสดงกันเลยไม่ได้ดู แต่แค่มองดูเวทีที่อยู่กลาง น้ำ�ก็ได้มุมมองที่แปลกตาดูสวยงามไปอีกแบบ ลมเย็นที่พัดมาเรื่อยๆขณะที่กำ�ลังเดิน ทำ�ให้รู้สึก เหมือนกับใช้เวลาในการเดินเพียงไม่กี่นาทีก็ถึง หมู่บ้านไทยภาคอีสาน ที่ทางเข้าริมบ้านหลังแรก มีหม้อใส่น้ำ�ไว้สำ�หรับตักดื่มทำ�ให้เห็นถึงความมี น้ำ�ใจที่ดีต่อกันของคนภาคอีสาน มีน้ำ�ดื่มไว้เพื่อ ให้เพื่อนบ้านหรือคนที่ผ่านไปมาได้ดื่มแก้กระหาย เช่นกันตามใต้ถุนบ้านเรือนไทยมีของใช้พื้นเมือง ของที่ระลึกชิ้นจิ๋วที่คนทำ�คงใช้ความตั้งใจเป็น อย่างมากในการทำ� แต่กลับนำ�มาขายในราคา เพียงไม่กี่สิบบาท ผมก็ไม่ลืมที่จะสนับสนุนสินค้า ไทยดีๆแบบนี้ 76 | อารัญ
อารัญ | 77
ผ่านไปแล้ว 3ภาค ก็เหลือภาคสุดท้ายภาค ใต้ถึงจะอยู่ในสุดของหมู่บ้านไทย4ภาค แต่การจัด ตกแต่งของภาคใต้ก็สวยงามไม่เป็นรองภาคอื่น มีการ จัดสวนหย่อมหน้าบ้านต่างจากภาคอื่นๆอย่างชัดเจน มีมุมให้นั่งพักผ่อนที่มีต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงาน้ำ�พุ ที่จัดแต่งอย่างตั้งใจตั้งอยู่ตรงกลางของสวน ทำ�ให้ ได้ยินเสียงน้ำ�ไหลเบาๆให้ความรู้สึกสงบอยู่ตลอด เวลา ลมที่พัดเบาๆมาจากทะเลสาบทำ�ให้ผมเกือบ จะหลับไปใต้ต้นไม้ต้นนี้ บ้านหลังที่อยู่ใกล้กับสวนก็ มีสินค้าที่ทำ�คล้ายหนังตะลุงที่ทำ�เป็นของเล่นเด็กน่า รักๆเพื่อให้ได้เด็กได้รู้จักหนังตะลุง ผมเห็นแล้วก็ได้ แต่ยิ้มกับตัวเองที่เด็กรุ่นใหม่ๆต่อจากนี้จะรู้จักและ สืบทอดมรดกวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยเราต่อไป
78 | อารัญ
การเดินเที่ยวชมหมู่บ้านไทยสี่ภาคครั้งนี้เป็นอะไรที่ ผมเรียกได้อย่างเต็มปากว่ามาเที่ยวเดียวแต่คุ้มค่ามาก ผม และเพื่อนๆได้เดินเที่ยวดูบรรยากาศของหมู่บ้านที่จัดตกแต่ง อย่างสวยงาม แวะชิมอาหารขึ้นชื่อของภาคต่างๆ และก็ได้ ของฝากติดไม้ติดมือที่มาจากทั้งสี่ภาคเพื่อนำ�ไปเป็นของ ฝาก ของที่ระลึกได้อย่างดีอีกด้วย ที่สำ�คัญที่สุดผมเห็นว่า คงจะเป็นความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับบ้านทรงไทยในภาคต่างๆ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของผู้คนภาคนั้นๆ ผมก็ได้แต่หวังว่า ผู้คนรุ่นใหม่จะไม่ลืม
อารัญ | 79
|
FEELINGS
ร้อยเรื่องราวความประทับใจ
80 | อารัญ
ภาพบริเวณท่าเรือชัยยุทธ มีการจัดทำ�สวนย่อมและตกแต่งได้อย่างสวยงาม สามารถมองเห็นแม่น้ำ�เจ้าพระยา ที่ทอดยาวได้จนสุดลูกหูลูกตา ที่อยู่ด้านหลังของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ
อารัญ | 81
นายจักรกฤษณ์ ขุนทน
ตำ�แหน่งออกแบบศิลป์
ในตอนแรกที่อาจารย์ได้มอบ หมายงานให้มีการจัดกลุ่มทำ�นิตยสาร ก็รู้สึกดีใจที่ตัวเองจะได้เป็นคนทำ� นิตยสารให้คนอื่นได้อ่านบ้าง จากที่ เคยแต่เป็นผู้อ่านมาตลอด โดยการ ผลิตนิตยสารครั้งนี้ก็ได้จัดทำ�เป็นก ลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยเราไม่สามารถ เลือกเพื่อนที่เคยทำ�งานด้วยกัน หรือ สนิทกันได้เลย ผมเองก็ไม่ได้อะไร กับตรงนี้ เพราะว่าตัวผมเองคิดว่า สามารถร่วมงานกับเพื่อนทุกคนได้อยู่ แล้ว ในขั้นตอนต่อมาเมื่อสมาชิกครบ กันแล้ว ก็พร้อมที่จะประชุมกันในการ กำ�หนดเป้าหมาย เนื้อหาและชื่อของ นิตยสาร ตอนแรก ๆ ก็คิดกันไปต่าง ๆ นานา ว่าควรจะเป็นเรื่องของสุขภาพ แฟชั่น ฯ แต่ในที่สุดเราก็สามารถหา รูปแบบของนิตยสารของเราเจอ ซึ่ง กลุ่มเราเองก็มีความมั่นใจว่า รูปแบบ และข้อเด่นของเราก็สามารถที่จะสู้ กับนิตยสารของกลุ่มอื่น ๆ ได้ นั่นก็คือ นิตยสารอารัญ เล่มนี้เองครับ 82 | อารัญ
รูปแบบของนิตยสารคือ การถ่ายทอด สืบสาน วิถีหัตถกรรม ที่มีคุณค่าของ ความเป็นไทย ให้ดำ�รงอยู่ต่อไป และ ที่สำ�คัญนิตยสารอารัญของเราได้ เห็นถึงปณิธานของสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ ได้เห็น ความสำ�คัญและส่งเสริมให้ผู้ด้อย โอกาสได้มีอาชีพและความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น เมื่อเราได้รูปแบบรายละเอียด ของนิตยสารแล้วเราก็ได้นัดหมายเพื่อ ทำ�การลงพื้นที่สำ�รวจ และเก็บข้อมูล เมื่อเราได้ลงพื้นที่จริง ๆ ก็ได้พบว่า เรา ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายที่บางครั้งก็ ไม่สามารถเขียนหรือบรรยายออกมา เป็นคำ�พูดได้ เพราะศูนย์ศิลปาชีพแห่ง นี้ เต็มไปด้วยงานฝีมือ ที่ค่อนข้างจะ หาดูได้ยาก ผู้คนส่วนใหญ่ที่เข้ามาฝึก อบรมเพื่อฝึกอาชีพในนี้ แต่ก่อนอาจ จะเป็นแค่ผู้ด้อยโอกาส แต่ปัจจุบันนี้ บางแผนกก็ได้มีบุคคลทั่วไปได้เข้ามา ฝึกหาประสบการณ์เพิ่ม จากการเรียน ในห้องเรียน ในการลงพื้นที่ของเรา ถือว่าคุ้มจริง ๆ ครับ
และการทำ�นิตยสารเล่มนี้มันได้อะไร ที่มากกว่าการทำ�แค่นิตยสารหนึ่งเล่ม เราได้เห็นคนที่นั่นเขา อยู่เขามีอาชีพ และมีความสุข เพราะคนส่วนใหญ่ ที่มานั้น มาด้วยใจ เรื่องเงินไม่ได้เป็น ปัจจัยเลย บางครั้งเองกลุ่มของเราก็ คิดว่าถ้าเกิดไม่มีศูนย์ศิลปาชีพแห่ง นี้ งานหัตถกรรมที่ทรงคุณค่า บอกถึง ความเป็นไทยได้เป็นอย่างดีก็คงจะ ไม่มีให้เห็นในทุกวันนี้ ในการลงพื้นที่ของเราในครั้ง นี้ถือว่าได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ มาก เลยทีเดียวได้นอนได้กินข้าวได้พูด คุยกับเพื่อนที่ ไม่ค่อยจะพูดกันเท่า ไหร่ ก็ได้รู้จักกันมากขึ้น ในการทำ�งาน ครั้งนี้ เพื่อน ๆ ทุกคน ให้ความร่วม มือกันเป็นอย่างดี ถึงแม้บางครั้งก็จะ มีความคิดที่แตกต่างกันบ้าง แต่ใน ที่สุดก็สามารถเลือกและนำ�สิ่งที่คิด ว่าดีที่สุดมา ถึงเพื่อนบางคนอาจจะ บอกว่าตัวเองช่วยงานน้อย แต่ผมเอง คิดว่าผมได้เห็นความร่วมมือ รอย ยิ้ม เสียงหัวเราะ ที่เรามีให้กันถึงมัน จะเหนื่อย ถึงขนาดนอนหลับกันบน รถ แบบสลบไปเลย นั่นมันก็ทำ�ให้ผม ได้เห็นบรรยากาศที่มันเกิดขึ้นได้ยาก มาก ๆ ได้แต่นั่งคิดว่าเพราะอะไรนะ ที่ทำ�ให้เรามาทำ�งานด้วยกัน เมื่อทุก อย่างเสร็จสิ้นเราก็แบ่งงานกันอย่าง เป็นสัดส่วน ประชุมกันน้อยครั้งที่สุด เท่าที่จำ�เป็น เพราะทุกคนก็สามารถรับ รู้ และเข้าใจในงานของตัวเองได้รับไป ในการทำ�งานครั้งนี้ไม่รู้ว่ามัน จะดีมากแค่ไหน แต่ที่สำ�คัญคือกลุ่ม ของเราเอง สมาชิกทุกคนได้ทำ�อย่าง เต็มความสามารถที่จะสร้างสรรค์ผล งานให้ออกมาดีที่สุด และหวังว่าเมื่อ ท่านอ่านนิตยาสารของเราแล้วจะ ทำ�ให้ท่านได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ผมคิดว่า ตัวท่านเองก็น่าจะรู้ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร
นายณัฐวัฒน์ ไข่เจียว
จากการทำ�งานในครั้งนี้ เป็นการทำ�งานร่วมกับเพื่อนกลุ่มที่ ไม่เคยร่วมงานกันมาก่อน สิ่งแรกที่ คิด คือไม่รู้จะทำ�งานด้วยกันได้ไหม แต่เมื่อได้พูดคุย ร่วมทำ�งานจริงแล้ว จากการทำ�งานร่วมกับกลุ่มเพื่อน ใหม่ๆ ทำ�ให้รู้สึก กระตือรือร้นในการ ทำ�งานมากยิ่งขึ้น ต้องรับผิดชอบใน หน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ในการ ทำ�งานครั้งนี้ทำ�ให้รู้ว่า การทำ�งานร่วม กับเพื่อนกลุ่มใหม่ๆ ทำ�ให้ได้แนวคิด ใหม่ๆ กระบวนการทำ�งานที่แตกต่าง กันออกไป แต่ล้วนแล้วนำ�ไปสู่ความ สำ�เร็จ รู้สึกประทับใจในการทำ�งาน อย่างทุ่มเทของเพื่อนๆ สมาชิกในกลุ่ม ทุกๆคน บางครั้งถึงขั้นอดหลับอดนอน ในการทำ�งาน ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ในการทำ�งานร่วมกัน จะไม่มีปัญหา อะไร ต่างคนต่างทำ�หน้าที่ของตัวเอง อย่างดีที่สุด แต่จะเป็นปัญหาจากการ ที่ได้รับหน้าที่ส่วนตัวในการถ่ายภาพ เนื่องจาก ผลงาน สินค้าต่างๆ ถูกเก็บ ไว้ในตู้ บางชิ้นงานมีขนาดเล็กมาก จึง ยากในการถ่าย
ไม่เคยมีประสบการณ์ในการถ่าย ผลงานแบบนี้มาก่อน จึงอาจทำ�ให้ ภาพถ่าย ได้มาไม่สวยเท่าที่ควร แต่ก็ ถือเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในการ ได้ถ่ายภาพผลงานเหล่านี้ เป็นการ พัฒนาตัวเองไปด้วย ที่สำ�คัญ ในการทำ�นิตยสาร อารัญ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับศูนย์ศิลป าชีพ บางไทรฯ ทำ�ให้ได้รู้ถึง พระ ราชกรณียกิจในสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระ ราชกรณียกิจที่เข้าใจวิถีชีวิตของ ชาวนา ชาวสวน ซึ่งหลังจากหว่านนา แล้ว ก็ใช้เวลาในการรอข้าวเติบโต รอ ผลผลิตต่างๆ เข้ามาทำ�งานในศูนย์ ศิลปาชีพต่างๆทั่วประเทศ ทำ�ให้เกิด รายได้ขึ้นมา เป็นการฝึกฝีมืออีกด้วย ที่สำ�คัญ ศูนย์ศิลปาชีพ ยังมี ครู ใน แต่ละสาขา แต่ละงาน คอยสอนวิชา ความรู้ให้อย่างเป็นกันเอง สามารถนำ� ไปประกอบอาชีพได้ด้วย
ตำ�แหน่งถ่ายภาพ
ที่ประทับใจที่สุดในการ ทำ�งาน คือ การได้พบกับผู้ชายคน หนึ่ง ที่มีความพิการ แขนลีบ แต่ก็ ยังสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ สามารถวาดรูปที่สวยงามได้ด้วยเท้า ของเขา เขาได้สอนให้รู้ว่า คนเราเกิด มา ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิต ทำ�ในสิ่ง ที่รัก เมื่อทำ�ในสิ่งที่รักแล้ว ผลงานที่ ออกมา ก็จะดีไปด้วย ทำ�งานอย่างมี ความสุข ถึงเขาจะเกิดมาพิการ แต่ เขาไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองพิการ หรือไร้ ค่าเลย ทุกวันนี้ เขายังใช้ชีวิตอย่างมี ค่า มีผลงานดีๆ มีฝีมือจากการร่ำ�เรียน ไว้สำ�หรับประกอบอาชีพที่สุจริต เขา พูดว่า “เราต้องทำ�ให้ได้ คนที่เขาเป็น ยิ่งกว่าเรา เขายังทำ�อะไรๆได้” เป็น เหมือนแรงผลักดันให้รู้สึกว่า “เรามี
โอกาสมากกว่าเขา เราจะต้อง ทำ�ให้ดี ให้ได้”
อารัญ | 83
ตอนแรกก็ค่อนข้างไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับคอนเซปต์ของนิตยสาร เท่าไรนัก กับการที่ออกมาเป็นนิตยสารที่เกี่ยวกับศูนย์ศิลปาชีพ บาง ไทรฯ เพราะคิดว่าคงจะยากและไม่น่าสนใจเท่าไรนัก อาจจะเพราะเห็น ว่ากลุ่มอื่นๆทำ�นิตยสารที่ทำ�ไปในทางที่คนให้ความสนใจ แล้วก็คิดว่า ถ้าเกิดหากมีการทำ�ขายจริงๆนิตยสารของกลุ่มเราก็คงจะขายไม่ออก อย่างแน่นอน แต่พอได้มีการแบ่งหัวข้อในการทำ�ก็เริ่มทำ�ให้ความคิดเปลี่ยน ไปนิดหน่อย เพราะหัวข้อที่แบ่งออกมาก็ดูชัดเจนและก็มีเป้าหมายที่ แน่นอน และการออกไปทำ�การเก็บข้อมูลก็ไม่ต้องออกไปเก็บข้อมูลจาก ในหลายๆที่เหมือนกับกลุ่มอื่นๆ ตอนนี้เริ่มคิดว่าถึงจะเป็นนิตยสารที่ขาย ไม่ออก แต่ก็คงจะมีสาระพอที่จะทำ�ให้มีผู้อ่านผู้ซื้ออยู่ในกลุ่มนึง ในส่วนของการไปเก็บข้อมูลโดยตรงที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ นั้นก็รู้สึกดีที่สมาชิกในกลุ่มมีรถขับทำ�ให้สะดวกสบายเป็นอย่างมาก ถึง แม้ว่าจะไม่รู้ทางว่าไปอย่างไร แต่ก็ไปถึงจนได้ การเก็บข้อมูลก็เป็นไปได้ ด้วยดี ก็คงเพราะมีการเตรียมตัวไปแล้วว่าจะเก็บข้อมูลของทางแผนก ไหนบ้างในศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยมากกับการเดิน ไปมาจนทั่ว แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ามากๆกับข้อมูลที่ได้ไป
การแบ่งงานกันเขียนคอลัมน์ ก็ถือว่าผ่านไปได้ด้วยดีไม่มีอะไร ติดขัด ถึงแม้จะมีงานในวิชาอื่นๆเข้า มาด้วยในเวลาเดียวกัน แต่ก็พยายาม จัดคิวว่า วิชานี้นะต้องเสร็จในวันนี้ๆ แล้วก็ทำ�วิชานี้ต่อนะประมาณนี้
และสุดท้ายก็รู้สึกขอบคุณทุก คนที่ทำ�ให้ได้งานออกมาจนได้ ถึงขนาดนี้ แล้วก็รู้สึกผิดนิดๆ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือเพื่อนใน กลุ่มได้อย่างเต็มที่ และดีใจที่ได้ ร่วมกลุ่มกับทุกๆคน ถึงแม้ว่า มันจะเป็น กลุ่มที่มาจากการจับฉลาก ก็ตาม ตอนนี้ก็รักสมาชิกทุก คนในกลุ่มมากๆ ถ้าหากได้ ร่วมงานกันอีกก็จะพยายามให้
นายวรธธรม หนูประดิษฐ์
84 | อารัญ
ตำ�แหน่งตรวจสอบ
นางสาวปารมี ปิยะศิริศิลป ตำ�แหน่งบรรณาธิการ ตั้งแต่แรกเลยตอนที่ได้รู้ว่า ต้องทำ�นิตยสารนั้น ดิฉันรู้สึกตื่นเต้น มาก เพราะจะได้ทำ�อะไรแปลกใหม่ และสนุกสนานร่วมกับเพื่อน อยากทำ� เร็วๆ จะได้ไปเที่ยวด้วยในตัว แต่พอ ถึงเวลาจริงๆ อาจารย์กลับให้เราแยก กลุ่มกับเพื่อนๆ แล้วจัดกลุ่มใหม่ บอก ได้คำ�เดียวเลยว่าตอนนั้นเริ่มเครียด แล้ว เพราะตัวดิฉันเองก็ไม่ได้มีความ สามารถอะไรเท่าไหร่ อีกทั้งเราไม่เคย เห็นศักยภาพที่แท้จริงของสมาชิก ในกลุ่มเลย การได้ทำ�นิตยสารใน ครั้งนี้ทำ�ให้ดิฉันได้รับประสบการณ์ ใหม่ๆ รวมทั้งความประทับใจอย่าง มากมาย ไม่ว่าจะเป็นตอนคิดรูปแบบ ของนิตยสาร กำ�หนดกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการดึงจุดเด่นของเราออกมา ดิฉันคิดว่ามันยากและสำ�คัญมาก ใน ตอนนี้ต้องบอกว่าประทับใจจักรมาก เพราะเขามีแนวคิดที่น่าสนใจและ แตกต่างกับกลุ่มอื่นๆ อย่างเห็นได้ ชัดเจน
หลังจากได้แนวทางแล้วเราก็ทำ�การ เก็บรวบรวมข้อมูล และสำ�รวจพื้นที่ สัมภาษณ์ และถ่ายภาพในทันที ด้วย จำ�นวนคนที่มีอยู่น้อย ทำ�ให้ทุกคน ทำ�งานกันแทบทุกหน้าที่ แต่บางครั้ง จำ�นวนคนที่น้อยก็มีข้อดีอยู่ คือทุกคน ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวอย่างเต็มที่ ในการทำ�งานเป็นกลุ่ม แน่นอนว่าต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้น จะมีเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มที่ดิฉันไม่ ค่อยชอบใจเท่าไหร่นัก เขามักจะไม่ ค่อยทำ�อะไร มอบหมายงานไปก็ทำ� ออกมาไม่ค่อยดี เป็นแบบนี้อยู่ระยะ หนึ่ง จนกระทั่งสมาชิกในกลุ่มทนไม่ ไหวทุกคนต่างพากันตำ�หนิเขา หลัง จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็รู้สึกได้ว่า เขาปรับปรุงตัวดีขึ้น งานมีคุณภาพ มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ดิฉันเชื่อ ว่าเขาสามารถที่จะทำ�อะไรได้หลาย อย่าง และหวังว่าเขาจะพัฒนาตัวเอง ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ
ตอนที่ลงพื้นที่สำ�รวจศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯนั้น ครูแผนกต่างให้การ ต้อนรับเราเป็นอย่างดี ให้ความรู้และ สาระต่างๆอย่างเต็มเปี่ยม ทั้งที่ครู เหล่านั้นได้ค่าตอบแทนที่ไม่สูง แต่ ครูก็ยอมอุทิศตนให้กับงาน เพื่อสืบ ทอดภูมิปัญญาและมรดกของไทย นอกจากนี้ดิฉันยังได้สัมผัสพูดคุยกับ บุคคลที่ทุพพลภาพด้วย ถึงแม้ร่างกาย ของเขาจะพิการ แต่ใจของพวกเขา นั้นแข็งแกร่งยิ่งกว่าคนที่สมประกอบ หลายคนเสียอีก ซึ่งนี่คือแรงผลักดัน หนึ่งที่ทำ�ให้ดิฉันมุ่งมั่นตั้งใจทำ�งาน และเชื่อว่านิตยสารของเราต้องสำ�เร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดี
“อารัญ” จะเป็นนิตยสาร เชิงสารคดีที่สะท้อนให้ทุกคนเห็น คุณค่าของมรดกทางภูมิปัญญา และศิลปะของไทยที่มีมาแต่โบราณที่ ดีที่สุดเล่มหนึ่ง อารัญ | 85
“ทำ�ให้เปิดมุมมองในชีวิตให้ คิดกว้างขึ้น เปิดโลกทัศน์ทาง ความรู้”
จากการที่ได้ทำ�นิตยสาร อารัญ ที่มีเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับ ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ รู้สึกดีใจและ ตั้งใจที่จะเก็บข้อมูล ทำ�งาน เพื่อมา ถ่ายทอดเรื่องราว สาระ และแบ่งปัน ภาพถ่าย ความเป็นไทยให้เพื่อนๆ อาจารย์ ผู้ที่ได้อ่านนิตยสารเล่มนี้ ได้ เห็นในสิ่งที่เป็นแบบไทยๆ เห็นความ เป็นตัวเอง ที่ไม่ค่อยจะมีใครนำ�เสนอ เมื่อได้ทำ�งานลงพื้นที่ไปดูการทำ�งาน ศึกษาหาข้อมูลร่วมกับกลุ่มเพื่อนๆ แล้ว รู้สึกว่าได้อะไรมากกว่าที่คิดไว้ มาก ซึ่งก่อนไปก็จะรู้แค่ว่าสิ่งที่ได้ กลับมาก็คือข้อมูลความรู้สารพัด ภาพ ถ่ายสวยๆและของกินของฝาก แต่สิ่ง ที่ไม่ได้คิดว่าจะได้รับมาก่อนคือ แรง บันดาลใจ กำ�ลังใจ ข้อคิอชีวิตของครู และนักเรียนศิลปาชีพหลายๆคน 86 | อารัญ
นางสาววรรณา วงศ์ถนอม ตำ�แหน่งรวบรวมข้อมูล ที่หลายๆคนก่อนที่จะมาเรียนที่ศูนย์ศิลปาชีพส่วนใหญ่เหมือนชีวิต ผ่านอะไรก็ไม่รู้มามากมาย ซึ่งเรื่องราวก็แตกต่างกันไป ทำ�ให้เปิดมุมมอง ในชีวิตให้คิดกว้างขึ้น เปิดโลกทัศน์ทางความรู้ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ทำ�ให้ ได้รับการถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์โดยตรงจากการลงพื้นที่ทำ�งาน ซึ่งต่างจากการมาเที่ยวโดยทั่วไป ก็เคยไปเที่ยวที่ศูนย์หลายครั้งแต่ก็ไม่ได้มี โอกาสมาดูงาน ถ่ายภาพและสัมภาษณ์อาจารย์และนักเรียนศิลปาชีพขนาด นี้และรู้สึกว่าประทับใจในการต้อนรับและยินดีที่จะให้ข้อมูล ของอาจารย์ และนักเรียนศิลปาชีพในทุกๆแผนกเป็นอย่างมาก รู้สึกดีใจและขอบคุณที่ได้ ทำ�งานร่วมกับเพื่อนๆ ถึงแม้ว่างานที่ได้รับมอบหมายอาจจะต้องคอยมีเพื่อน มาช่วยหลายๆคน รู้สึกว่าการทำ�งานนิตยสาร อารัญ เล่มนี้ ได้สิ่งที่ไม่เคยได้ รับมาก่อน และได้รับประสบการณ์ในการทำ�งานที่ดี
ผู้สนับสนุน อาจารย์นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ อาจารย์ โสภณ บัวชาติ อาจารย์ประจำ�แผนกหัวโขน อาจารย์ วันเพ็ญ วงศ์สุวรรณ อาจารย์ประจำ�แผนกตุ๊กตาชาววัง อาจารย์ จรัญ สร้อยทอง อาจารย์ประจำ�แผนกทอผ้าไหม อาจารย์ มนู สะเตกลัมส์ อาจารย์ประจำ�แผนกประติมากรรม นาย ธนาณัต ธาตุมี (น้องตี้) ผู้ฝึกหัดแผนกเป่าแก้ว คุณ ลำ�ไย โกษะ (ป้าแป๊ด) สมาชิกแผนกทอผ้า นางสาว สงกรานต์ ภาคศักดิ์ศรี (พี่จิ๋ว) ผู้ฝึกหัดแผนกประติมากรรม นาย อิทธิศร สนธิ (พี่เหน่ง) ผู้ฝึกหัดแผนกสีน้ำ�มันพิเศษ