ประมวลโครงการพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
คำนำ โครงการพระราชดำริ ใ นพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็น โครงการที่เกิดขึ้นจากพระปรีชาสามารถใน ศาสตร์ต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯ เช่น โครงการพัฒนาด้านการเกษตร โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ โครงการพัฒนา ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านส่งเสริมอาชีพ ด้าน สาธารณสุข ด้านคมนาคม/สือ่ สาร ด้านส่งเสริม อาชีพ ด้านสังคม/การศึกษา และโครงการ พั ฒ นาแบบบู ร ณาการ ซึ่ ง ทุ ก โครงการมี จุดมุ่งหมายที่สำคัญคือเพื่อให้ราษฎร “อยู่ดี กินดีและมีความผาสุก” ในการจัดทำ E-books ประมวล โครงการพระราชดำริ ครั้งนี้ เพื่อเป็นการ เผยแพร่ พ ระอั จ ฉริ ย ะภาพ และพระมหา กรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ได้ พ ระราชทานแก่ ป วง ราษฎรไทยทั้งหลาย ตั้งแต่ทรงเสด็จขึ้นเถลิง ถวัลย์สิริราชสมบัติ จวบจบกระทั่งทุกวันนี้ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน สำนักงานโครงการ โรงเรียนการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต ธันวาคม ๒๕๕๖
สารบัญ
โครงการพระราชดำริ
กษัตริย์-เกษตร
2
นักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่ 10 ทฤษฎีการพัฒนา ศูนย์การพัฒนา น้ำเพื่อชีวิต
38
การบำบัดน้ำเสีย
44
การแก้ ไขปัญหาน้ำท่วม
50
ภูมิพลังแผ่นดิน
56
ทรัพยากรธรรมชาติ
63
การปลูกป่า
70
เพื่อผู้เจ็บป่วยในชนบท
77
สังคมสงเคราะห์
84
การศึกษาของชาติ
91
พระอัจฉริยภาพ
98
ด้านการสื่อสาร
105
เพื่อความมั่นคงของชาติ
112
บรรณานุกรม
โครงการพระราชดำริ กษัตริย์-เกษตร นักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่ ทฤษฎีการพัฒนา ศูนย์การพัฒนา น้ำเพื่อชีวิต การบำบัดน้ำเสีย การแก้ ไขปัญหาน้ำท่วม ภูมิพลังแผ่นดิน ทรัพยากรธรรมชาติ การปลูกป่า เพื่อผู้เจ็บป่วยในชนบท สังคมสงเคราะห์ การศึกษาของชาติ พระอัจฉริยภาพ ด้านการสื่อสาร เพื่อความมั่นคงของชาติ
กษัตริย์ - เกษตร
โครงการพระราชดำริ การเกษตรจิตรลดา
พ
ระราชวังอันเป็นที่ประทับแห่งพระมหากษัตริย์ทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบันจะเต็ม ไปด้วยสิ่งที่สวยงามแต่ภายในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต อันเป็นที่ประทับแห่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว กลับเต็มไปด้วยบ่อปลา นาข้าว ฝูงโค โรงสี และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ผลผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้ เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยและ ทรงให้ความสำคัญ ในการเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็น เกษตรกร จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการเกี่ยวกับการเกษตรสวนจิตรลดาขึ้น โดยใช้พื้นที่ บริเวณพระราชวังดุสิตเป็นที่ตั้งของโครงการ เพื่อเป็นการทดลองและเป็นตัวอย่างสำหรับนำไป ปฏิบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเลี้ยงปลาหมอเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ที่สระว่ายน้ำ หน้าพระที่นั่งอุดร ในบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน แล้วได้พระราชทานพันธุ์ปลาหมอเทศ ให้กำนัน และผู้ใหญ่บ้านนำไปเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์แก่ราษฎร รวมทั้งได้ทรงเลี้ยงปลานิลที่มกุฎราชกุมาร แห่งญี่ปุ่น ทูลเกล้าฯ ถวายจำนวน ๕๐ ตัวไว้ในบ่อปลาบริเวณสวนจิตรลดา และได้พระราชทาน พันธุ์ปลาชนิดนี้ไปขยายพันธุ์ทั่วราชอาณาจักร ส่วนในด้านของข้าว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
3
ให้จัดทำนาข้าวทดลองเพื่อปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ โดยทรงขับควายเหล็กและทรงหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้วยพระองค์เอง รวมทั้งได้กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองปลูกข้าวไร่ชนิดหยอดหลุมอีกด้วย นอกจากนี้แล้วได้ทรงพระกรุณราโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงสีข้าวทดลอง โรงบดและ อัดแกลบขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร การเลี้ยงโคนม การตั้งโรงงานผลิตนมผงอัดเม็ด โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงหล่อเทียนหลวง โรงกลั่นแอลกอฮอล์ การจัดทำป่าไม้สาธิตและอื่นๆ อีกมากมาย ภายในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา ทั้งนี้ เพื่อเป็นโครงการทดลองและโครงการ ตัวอย่างด้านการเกษตร และเมื่อได้บรรลุผลอันเป็นประโยชน์ รวมทั้งอยู่ในวิสัยที่เกษตรกร ส่วนใหญ่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้ จะพระราชทานผลที่ได้รับจากการทดลองให้แก่เกษตรกร นำไปใช้ในการเพาะปลูกต่อไป
4
การเกษตรแบบยั่งยืน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญในเรื่องการเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพ หลักของชาวไทยมานานแล้ว ทรงใช้หลักการพัฒนาการเกษตร ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถ พึง่ ตนเองได้ และทรงเน้นมิให้เกษตรกรพึง่ พาพืชเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว วิธกี ารพัฒนาการเกษตร ของพระองค์ คือ การที่ส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด และใช้อย่างประหยัดด้วย ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการทำกินของเกษตรกรให้เหลือน้อยที่สุด โดยอาศัยการพึ่งพาธรรมชาติ เป็นปัจจัยสำคัญ สำหรับวิธีการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ปฏิบัติมีตั้งแต่การสนับสนุน ให้เกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียน ประเภทตระกูลถั่ว เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง และมีผลกระทบต่อคุณภาพของดินในระยะยาว นอกจากนี้ยังเน้นในเรื่องการค้นคว้าทดลอง เพื่อ หาพันธุ์พืชใหม่ๆ มาปลูก รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช ตลอดจนทั้งพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมแก่การเลี้ยง และแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าการพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ จะมีผล โดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนา เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนา ประเทศในระยะยาว จึงทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมาก ที่สุดและยาวนานที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้พระราชทานพระราชดำร ในการทำเกษตรแบบยั่งยืนแก่เกษตรกร ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องลงทุนสูงแล้วยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
5
ทฤษฎีใหม่
โ
ครงการบริหารจัดการ ที่ ดิ น เพื่ อ การเกษตร หรื อ ทฤษฎี ใ หม่ เป็ น โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ จ ะช่ ว ยให้ ป ระชาชนใน ชนบทมี ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ที่ ดี ใ นลั ก ษณะ พอมี พ อกิ น ได้เริ่มที่ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิม พระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เป็นแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ มีแนวทางในการปฏิบัติด้วยการแบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรแต่ละครอบครัวจะมีที่ดินประมาณ ๑๐ – ๑๕ ไร่ ด้วยการแบ่งพื้นที่ ที่มีอยู่ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๓ ไร่ ขุดเป็นสระสำหรับกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ในการเพาะปลูก รวมทั้งใช้เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ สำหรับนำไปบริโภคหรือ ขายเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว สำหรับส่วนที่สองร้อยละ ๖๐ หรือประมาณ ๑๐ ไร่ ใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรด้วยการทำนาข้าว ๕ ไร่ และปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพ ของดินรวมทั้งสภาพอากาศ ๕ ไร่ นอกจากนี้ ร้อยละ ๑๐ ในส่วนที่สามเป็นเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ทำทาง สำหรับเดินหรือใช้กับยานพาหนะ ปลูกพืชผักสวนครัวเลี้ยงสัตว์ รวมพื้นที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่ แบ่งเฉลี่ย สัดส่วนโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนว พระราชดำริ อันเป็นหลักสำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ วิธีการนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่มีจำนวนน้อยไม่เกิน ๑๕ ไร่ เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีความเพียงพอในการ เลี้ ย งตั ว เองและครอบครั ว ในลั ก ษณะพอมี พ อกิ น ทฤษฎี ใ หม่ เ ป็ น โครงการอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำริ ที่ เ กิ ด จากพระปรี ช าสามารถอั น เฉี ย บแหลมแห่ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระมหากษัตริย์ไทยไม่เคยทรงหยุดนิ่งในพระราชดำริ และการระดมสรรพกำลังทั้งปวงเพื่อความ ผาสุกของอาณาประชาราษฎร์
6
การปลูกข้าว
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องข้างเป็น อย่างมาก เนือ่ งจากข้าวเป็นอาหารหลัก ของชาวไทย และเป็นสินค้าออกที่สำคัญ ของประเทศ ได้มีการทำนาเพื่อปลูกข้าว มาแต่โบราณ รวมทั้งปัจจุบันยังมีการ ปลูกข้าวเป็นอาชีพ จึงได้ทรงหาวิธีที่จะ นำเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ ม าใช้ ใ นการ ทำนา เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตและ คุณภาพให้สูงขึ้น โดยได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จดั ทำแปลงนาข้าวทดลองในสวนจิตรลดา ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ เมื่อได้พันธุ์ข้าวที่ดี มีผลผลิตสูง จะพระราชทานให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป รวมทั้งใช้เป็นพันธุ์ข้าว ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญด้วย นอกจากนาข้าวในพื้นที่ราบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระราชดำริให้ศึกษา วิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกบนภูเขาและหุบตลอดจนที่ดอน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความ แห้งแล้งต้องอาศัยน้ำฝนในการปลูกข้าวที่ปลูกจึงต้องมีสภาพที่แตกต่างจากนาข้าวในพื้นที่ราบ ปั จ จุ บั น ข้ า วที่ ใช้ ป ลู ก เป็ น พั น ธุ์ ข้ า วตามพระราชดำริ ล้ ว นแล้ ว แต่ ใ ห้ ผ ลผลิ ต สู ง คุ ณ ภาพดี แ ละ เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ ส่วนนาที่ร้างเนื่องจากประสบปัญหาฝนแล้ง น้ำท่วม ศัตรูพืช รบกวน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาเกษตรกรรมเบ็ดเสร็จ ตามพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎร สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการทำนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคิดค้นหาวิธีในการ พัฒนาให้ทันสมัยอย่างเช่น เครื่องสูบน้ำ แต่เดิมใช้ระหัดไม้ซึ่งช้าและล้าสมัย ได้พระราชทาน พระราชดำริให้ใช้เครื่องเรือติดท้ายแทน รวมทั้งการนำเครื่องทุ่นแรงในการปลูกข้าวมาใช้ ได้แก่ ควายเหล็กที่ใช้ในการพรวนดิน เตรียมดินและปลูกข้าว เครื่องนวดข้าว สีข้าว และอื่นๆ จากการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระราชหฤทัยและพระราชดำริในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ให้มีคุณภาพและผลผลิตที่สูงขึ้น ตลอดจนเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ รวมทั้งพัฒนาการปลูก ในด้านอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ให้ทันสมัย ทำให้ข้าวไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ เกษตรกรผู้ปลูกมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น
7
พระบารมีแผ่ไพศาล
พ
ระบารมี แ ละพระ มหากรุณาธิคุณแห่งพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว มิ ใช่ เพียงแต่แผ่ปกคลุมพสกนิกร ชาวไทย ที่ประกอบอาชีพใน ทางการเกษตรเท่านั้น ยังได้ แผ่ไพศาลไปยังพสกนิกรชาว ลาว ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ อั น ดี ต่ อ กั น มาช้านาน โดยได้ทรงมีพระ มหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตร ให้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตามที่ นายไกรสอน พมวิหาร อดีตประธานประเทศลาว กราบบังคมทูลขอพระราชทาน โดยทรงมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายไทยและลาว ดำเนินการ ด้วยการใช้พื้นที่บริเวณบ้านนายาง เมืองนาทรายทอง แขวงนครเวียงจันทน์ ซึ่งมีเนื้อที่ ๓๒๕ ไร่ เป็นที่ตั้งโครงการและพระราชทานนามว่าโครงการศูนย์พัฒนาและบริการการด้าน การเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว โครงการศูนย์พัฒนาและบริการการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามที่อดีตประธาน ประเทศลาวได้ขอพระราชทานนั้นมีผลให้เกษตรกรชาวลาวในเขตพื้นที่โครงการมีฐานะความเป็น อยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากสามารถพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรให้มีผลผลิตสูงคุณภาพดีเป็นที่ต้องการ ของตลาด เพราะมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างพอเพียง ได้รับการสนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ตลอดจนความรู้ที่สามารถนำไปปรับปรุงระบบการเกษตรให้ดีขึ้น มีเส้นทางการลำเลียงผลผลิต ออกสู้ตลาดที่สะดวก รวมทั้งได้มีการขยายความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ตามพระราชดำริ จากศูนย์นี้ไปยังหมู่บ้านต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก พระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของราชอาณาจักรไทยได้แผ่ขยายไปยังพสกนิกรของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งชาวลาวทุกคนน้อม รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง
8
พระเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก เป็นงานที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้ความ สนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอย่างมาก ซึ่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน เนื่องจากช่วยให้พื้นที่ เพาะปลูกมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศและฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกร ดีขึ้น โดยเหตุนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ จึงได้ขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาต ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญ อกริคอลา เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๓๘ ในฐานะที่ทรงเป็น พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการรักษาน้ำ เพื่อความ มั่นคงด้านอาหาร นอกจากในเรื่องของน้ำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงห่วงใยในเรื่องของดินที่ใช้ ในการเพาะปลุก จึงได้พระราชทานพระราชดำริเกีย่ วกับการใช้หญ้าแฝก ซึง่ เป็นพืชพืน้ บ้านของไทย เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นไว้ในดิน ทำให้สภาพของดินมี ความเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ธนาคารโลกจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตร เพื่อสดุดี พระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดิน
9 และน้ำ รวมทั้งสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญสดุดี เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๓๙ ในฐานะที่ทรงทุ่มเทพระราชหฤทัยและพระราชดำริ ในการส่งเสริมการปลูกข้าว ด้วยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพและผลผลิตที่สูงขึ้น จนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ นอกจากนี้แล้วโครงการต่าง ๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้รับการประกาศเกียรติคุณและรางวัลดีเด่นหลายโครงการ อาทิ โครงการหลวง ได้รับรางวัล แมกไซไซ ประจำปี ๒๕๓๑ ในฐานะองค์กรดีเด่น สาขาส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดิน ได้รับรางวัล อินเตอร์เนชั่นแนล เมอริท อวอร์ด ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จากธนาคารโลก กังหันชัยพัฒนา ได้รับรางวัลที่ ๑ ประจำปี ๒๕๓๖ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองเกียรติยศด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ นับเป็นความภาคภูมิใจ ของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างยิ่ง
นักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่ ทฤษฎีการพัฒนา ศูนย์การพัฒนา นักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลก ที่ทรง ตรากตรำพระวรกายเพื่อพสกนิกร ด้วยการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เพื่อความผาสุก ของอาณาประชาราษฎร์ ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร เสมือนหนึ่งเป็นความทุกข์ของพระองค์ ทรงพระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ พระราชทานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในการพัฒนาชาติและประโยชน์สุขของทุกคน พระราชดำริเริ่มแรก อันเป็นโครงการช่วยเหลือประชาชน เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ กรมประมงนำพันธุ์ปลาหมอเทศจากปีนัง ซึ่งได้รับจากผู้เชี่วชาญด้านการประมงขององค์การ อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เข้าไปเลี้ยงในสระน้ำพระทีน่ ั่งอัมพรสถาน และต่อมาเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ทรงพระราชทานพันธุ์ปลาหมอเทศนี้แก่กำนันและผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ นำไปเลี้ยงแพร่ขยายพันธุ์แก่ราษฎรในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อจักได้มีอาหารโปรตีนรับประทานเพิ่มขึ้น รวมทั้งการจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้อีกด้วย โครงการที่นับได้ว่าเป็น โครงการพัฒนาชนบท โครงการแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๕ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรถบลูโดเซอร์ให้แก่ตำรวจ ตระเวนชายแดนค่ายนเรศวร ไปสร้างถนนเข้าไปยังบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ราษฎรสามารถสัญจรไปมาและนำผลผลิตทางการเกษตรออกมา จำหน่ายยังชุมชนภายนอกได้สะดวกยิ่งขึ้น จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้พระราชทานพระราชดำรัส ให้สร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ ราษฎรจากการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริทางด้านชลประทาน
11 แห่งแรกของพระองค์ และนับแต่นั้น มาโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ เพื่อพัฒนาประเทศชาติและขจัด ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ได้เกิดขึ้นเกือบ ๓,๐๐๐ โครงการ จึง สมควรแล้วที่จะเทิดทูนพระองค์ทรง เป็นพระมหากษัตริยน์ กั พัฒนาผูย้ ง่ิ ใหญ่ ในโลกปัจจุบัน โครงการพระราชดำริ หรือที่ เรี ย กว่ า โครงการอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำริ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๕๒๕๕๖ มีทั้งสิ้น ๔,๔๔๗ โครงการ แบ่งออกได้เป็น ๘ ประเภท คือ โครงการพัฒนาด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ส่งเสริม อาชีพ พัฒนาแหล่งน้ำ สวัสดิการสังคม คมนาคม สื่อสาร และอื่นๆ ซึ่งทุกโครงการเป็นโครงการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางแผนพัฒนาและพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระราชดำริ รวมทั้งได้ทรงร่ามทรงงานกับหน่วยงานของรัฐ อย่างไร ก็ตาม ทรงมีพระราชดำรัสอยู่เสมอว่า พระราชดำริของพระองค์เป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น เมื่ อ รั ฐ บาลได้ ท ราบแล้ ว ควรไปพิ จ ารณาวิ เ คราะห์ ก ลั่ น กรองตามหลั ก วิ ช าการก่ อ น หากมี ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์เห็นสมควรทำ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตัดสินใจเอง และใน กรณีที่วิเคราะห์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ล้มเลิกได้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกโครงการ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งน้ำ ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ก่อให้เกิดความสุขสันต์ร่มเย็นแก่อาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่า โดยถ้วนหน้า ดังจะเห็นได้จากการที่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญ อกริคอลา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๓๘ เนื่องจาก ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการรักษาน้ำ เพื่อความ มั่นคงด้านอาหาร พระบารมีและพระเมตตาธิคุณแห่งพระองค์ ได้หลั่งไหลสู่จิตใจพสกนิกร สร้าง ความชุ่มชื้นสราญประดุจดังสายธารที่ให้ความชุ่มฉ่ำแก่แผ่นดิน
12
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โ
ครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เป็นการช่วยเหลือผู้ประสบความ ทุกข์ยากเดือดร้อน ตลอดจนการพัฒนาเพื่อความเจริญของ บ้านเมือง ที่ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ จนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมดเกือบ ๔,๔๔๗ โครงการ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๘ ประเภท คือ โครงการพัฒนาด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ส่งเสริมอาชีพ พัฒนาแหล่งน้ำ สวัสดิการสังคม คมนาคม สื่อสาร และอื่นๆ ซึ่งแต่เดิมมีชื่อรียกที่แตกต่าง กันไป ได้แก่ โครงการตามพระราชประสงค์ เป็นโครงการ ที่ทรงศึกษาทดลองปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อทรง แน่พระราชหฤทัยว่าโครงการนั้นๆ ได้ผลดีเป็นประโยชน์ แก่ราษฎรอย่างแท้จริง จึงโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเข้ามารับงานนั้นไปดำเนินการต่อไป สำหรับโครงการหลวง เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจาะจงดำเนินการ เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาต้นน้ำลำธาร ในบริเวณป่าเขาทางภาคเหนือเพื่อบรรเทาอุกทกภัยในที่ ลุ่มล่าง รวมทั้งการพัฒนาชาวเขาให้อยู่ดีกินดี เลิกการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่า หันมาปลูกพืช เศรษฐกิจหมุนเวียนโดยมีตลาดรองรับ ทำให้ชาวเขาที่เข้ามาอยู่ในโครงการหลวงมีฐานะความเป็น อยู่ที่ดี ด้วยการปลูกพืชเมืองหนาวแทนฝิ่น ปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัยถาวร ทำให้การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอยหรืออยู่อาศัยหมดไป ก่อให้เกิดเศรษฐกิจที่ดีและมีความมั่นคงปลอดภัยแก่ ประเทศชาติ นอกจากนี้แล้วยังมีโครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึงโครงการที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อแนะนำและแนวพระราชดำริให้เอกชนไปดำเนินการ และโครงการ ตามพระราชดำริเป็นโครงการที่ทรงวางแผน ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการ ซึ่งโครงการ พระราชดำรินี้ปัจจุบันเรียกว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศ มีลักษณะเป็นโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยโครงการ ทุกโครงการที่เกิดจากพระราชดำริแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามารถทำให้ราษฎรทุกหมู่ เหล่ามีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี พ้นจากความทุกข์ยากเดือดร้อน ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ และประเทศ ชาติมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
13
การทดลองเพื่อการพัฒนา
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่ หั ว ทรงพระราชดำริ ว่ า ถ้ า หากกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ที่ทำนา ข้าวมีเครื่องสีข้าวเป็นของตนเอง จะช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงทรง พระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ตั้ ง โรงสีข้าวตัวอย่างขึ้นสวนจิตรลดา เพื่ อ หาวิ ธี ก ารสี ข้ า วให้ เ สี ย หาย น้ อ ยที่ สุ ด และเก็ บ รั ก ษาข้ า วได้ นานที่ สุ ด โดยพระราชทาน พระราชดำริในการสร้างเครื่องสีข้าวที่มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูง สามารถแยกปลายข้าว และข้าวออกจากกันได้ จากนั้นพระราชทานให้กลุ่มเกษตรกรต่างๆ เพื่อไปดำเนินงานในรูป สหกรณ์ บริการสีข้าวเปลือกให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกภายในหมู่บ้านทำให้ต้นทุนการผลิต ลดต่ำลง เมื่อครั้งที่เกิดภาวะน้ำนมดิบล้นตลาดในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้รับความ เดือดร้อนเป็นอย่างมาก เนื่องผลิตได้เกินความต้องการของตลาด และน้ำนมดิบไม่สามารถที่จะ เก็บไว้ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงผลิตนมผงขึ้นใน สวนจิตรลดา เพื่อรับซื้อน้ำนมดิบจากผู้เลี้ยงโคนมมาแปรสภาพเป็นนมผงซึ่งจะเก็บไว้ได้นาน และนอกจากนมผงแล้วยังผลิตนมเม็ด ทอฟฟี่นม นมข้นหวาน นมสดปราศจากไขมัน เนยแข็ง เนยสด ไอศกรีม และอื่นๆ ที่ใช้นมเป็นวัตถุดิบ ทำให้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้เลี้ยงโคนม จาก การที่จำหน่ายน้ำนมดิบไม่ได้หมดสิ้นไป นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โรงผลิตน้ำผลไม้ขึ้นในสวนจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เพื่อทดลองผลิตน้ำผลไม้ต่างๆ เป็นการ ช่วยเกษตรผู้ปลูกไม้ผลที่มีผลไม้เหลือจากการจำหน่ายหรือจำหน่ายไม่ได้ราคาที่ดี รวมทั้งส่งเสริม ให้ประชาชนมีน้ำผลไม้ที่มีคุณภาพดื่มในราคาที่ถูก ปัจจุบันความเดือดร้อนของเกษตรกรส่วนใหญ่ ได้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณและพระวิจารณญาณอันกว้างไกลแห่งพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ไม่ทรงหยุดนิ่งในการช่วยเหลืออาณาประชาราษฎร์
14
การพัฒนาประเทศ
ก
ารพั ฒ นาประเทศ โดยมี แ ผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น กรอบกำหนดนโยบายและแนวทางซึ่งได้ เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ มีส่วนทำให้ เศรษฐกิจของประเทศไทย ขยายตัวได้ อย่างรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่โครงสร้างการผลิต และรายได้ รวมทั้งมาตรฐานชีวิตความเป็น อยู่ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่อยู่ในชนบทห่างไกล และประกอบอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่จะยากจน เนื่องจากขาดความรู้และปัจจัยในการผลิต ขาดน้ำในการเพาะปลูก ขาดแคลนที่ดินทำกินและดินขาดความอุดมสมบูรณ์ หากปล่อยสถานการณ์ เช่นนี้มีอยู่ต่อไป จะทำลายความมั่นคงของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่าง ไม่มีทางหลีกเลี่ยง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงทราบปั ญ หาเหล่ า นี้ เ ป็ น อย่ า งดี จากการเสด็ จ พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นทุรกันดารห่างไกล ความเจริญและคมนาคม จึงทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ โดยทรงเน้นการพัฒนาให้เกิดความพออยู่พอกิน และพระราชดำริ แรกเริ่มที่มีลักษณะเป็นกิจกรรม หรือโครงการช่วยเหลือราษฎร ได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๔ โดยได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพันธุ์ปลาฃที่ทรงเลี้ยงไว้ในสระน้ำ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ให้แก่กำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ เพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์แจกจ่ายให้แก่ราษฎร จากนั้น ทรงมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนา เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ราษฎร ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทรงใช้พระราชวังซึ่งเป็นที่ประทับ เป็นที่ค้นคว้าทดลองงานทุกด้านที่ เกี่ยวกับการพัฒนา เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน ซึ่งการช่วยดังกล่าวเป็นไป ในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีอยู่เกือบ ๔,๔๔๗ โครงการ ต่อมารัฐบาลได้ ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์จากโครงการพระราชดำริ จึงได้วางระบบการดำเนินงาน สนองพระราชดำริ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานต่างๆ ถือปฏิบัติ ซึ่งจากการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นในการช่วยเหลือราษฎรผู้ยากไร้ และจาก พระราชดำริที่พระราชทานให้ผู้รับผิดชอบไปดำเนินการ นับเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็น อย่างมาก
15
การพัฒนาชนบท
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม ราษฎรในชนบททั่ ว ทุ ก ภาคของ ประเทศ จึ ง ทำให้ ท รงทราบเป็ น อย่ า งดี ถึ ง ปั ญ หาหลั ก ที่ ส ำคั ญ ของ ชาวชนบท คือ การขาดแคลนความรู้ ความสามารถ ในเรื่ อ งพื้ น ฐานที่ จำเป็ น ต่ อ การดำรงชี วิ ต เฉพาะ อย่างยิ่งการขาดความรู้เกี่ยวกับการ ทำการเกษตรอย่างมีหลักวิชา ทั้งยัง ไม่รู้จักปรับปรุงรักษาคุณภาพของปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น ดิน ประกอบกับธรรมชาติแวดล้อม ที่มีผลต่อการผลิตทางการเกษตร ต่างมีสภาพเสื่อมโทรมลงตลอดเวลา เป็นผลให้การพัฒนาชนบท ที่ผ่านมา ไม่บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ปัญหาของชนบท ด้วยวิธีการ ต่างๆ ตามลักษณะของปัญหาและสภาพทางกายภาพ ตลอดจนสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชนนั้นๆ เพื่อ พัฒนาสภาพชนบทให้ดีขึ้น และการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดปัญหาสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่เป็นหลักรวมทั้งให้ผู้อยู่ในชุมชนนั้นๆแก้ปัญหาหลัก ของชนบท ด้วยการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะการรวมตัวกันในรูปของสหกรณ์ และหลักการ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การพัฒนานั้นจะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อนที่จะให้เกิด ผลในทางความเจริญอย่างรวดเร็ว การพัฒนาชนบทตามโครงการพระราชดำรินั้น เป็นกิจกรรมที่กระจายครอบคลุมอย่าง กว้างขวางในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ล้าหลังและทุรกันดาร จาก เป้าหมายของการพัฒนาชนบท ที่ทรงมุ่งเน้นในเรื่องพื้นฐานการพึ่งตนเองของประชาชนในชนบท ตลอดจนความรู้ในการที่จะใช้พัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ทำให้ชนบทภายใต้ โครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ มีความเจริญก้าวหน้าและประชาชนพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร มีสภาพชีวิตความเป้นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ เป็นผลมาจากพระมหากรุณาธิคุณ และสาย พระเนตรที่ยาวไกลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่ไม่เคยทรงหยุดนิ่งในการ ช่วยเหลือประชาชน
16
ทฤษฎีการพัฒนา
นับ
แต่ที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงขึ้ น ครองสิ ริ ราชสมบัติ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ที่ยาวนานกว่า ๖๐ ปี พระองค์ได้ ทรงงานหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อยก ะดับคุณภาพชีวิตและสภาพความ เป็นอยู่ของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ให้ดีขึ้นทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ยากไร้ด้อยโอกาสในชนบทที่ห่าง ไกล ด้วยโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริที่มีมากเกือบ ๔,๔๔๗ โครงการ ซึ่งทุกโครงการมีแนวคิดและทฤษฎีในการปฏิบัติที่เกิด จากพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ ตลอดจนพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคิดค้นดัดแปลง ปรับปรุงและแท้ไขให้การพัฒนาในด้าน ต่างๆ ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นสิ่งที่ดำเนินการไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ และระบบนิเวศน์โดยส่วนรวมของธรรมชาติ ตลอดจน สภาพทางสังคมของชุมชนนั้นๆ และนอกเหนือไปจากการทำทุกอย่างให้ง่ายแล้ว การนำความรู้จริง ในความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาใช้ในการแก้ปัญหา นับว่าเป็น หลักการและแนวปฏิบัติที่สำคัญยิ่งอีกส่วนหนึ่ง แนวคิดและทฤษฎีกาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ การมุ่งเน้นให้ผลของการดำเนินงานนั้น ตกถึงมือประชาชนโดยตรงเป็นเบื้องแรก เพื่อให้สภาพการพออยู่พอกิน เป็นการปูพื้นฐานไปสู่การ อยู่ดีกินดีต่อไปในอนาคต นอกจากนี้แล้วแนวความคิดและทฤษฎีดังกล่าวยังมีลักษณะของการไม่ ติดตำรา คือ เป็นการพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับสภาพแห่งธรรมชาติ รวมทั้งสภาพของสังคม จิตวิทยาแห่งชุมชน โดยเหตุนี้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการ จึงประสบความ สำเร็จและยังประโยชน์ให้แก่ประชานชนอย่างแท้จริง
17
แนวทางการพัฒนา
โ
ครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการดำเนินงาน ที่มุ่งพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ที่มีเกือบ ๔,๔๔๗ โครงการ ได้ยังประโยชน์สุข ให้แก่อาณาประชาราษฎร์เป็นอย่างมากซึ่งการดำเนินงานตามโครงการอันเนืองมาจากพระ ราชดำริ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในชนบทให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี จะทรงเน้นการพัฒนาที่มุ่ง สร้างความเข้มแข็ง ในลักษณะการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ และเป็นการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าที่กำลังประสบอยู่ จากนั้นจะเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะช่วยเหลือตนเองต่อไป สำหรับการที่จะทำให้ประชาชนพึ่งตนเองได้นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชดำริว่าการเสริมสร้างสิ่งที่ชาวบ้านชาวชนบทขาดแคลนและเป็นความต้องการ คือ ความรู้ ในการทำเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสิ่งที่เหมาะสม จึงทรงให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา ทดลอง วิจัย และ แสวงหาแนวทางตลอดจนวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม แล้วนำไปแนะนำให้ชาวบ้านทำตาม ในลักษณะที่ชาวบ้านสามารถนำไปปฏิบัติและได้ผลอย่าง แท้จริง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงให้ ค วามสำคั ญ ในเรื่ อ งภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ดั ง นั้ น การพัฒนาใดๆ ก็ตามจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยคำนึงถึงสภาพท้องถิ่นนั้นๆ เป็นหลัก ทุกครั้งที่เสด็จแปรพระราชฐาน จะมีพระราชกระแสรับสั่งสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านโดยตรง ทรงรับฟังความคิดเห็นที่ชาวบ้านกราบบังคมทูลเสนอแนะและนำมาพิจารณา เนื่องจากทรงพระ ราชดำริว่าการพัฒนาใดๆ ก็ตาม จะต้องดำเนินการแล้วให้ชาวบ้านรับได้ การพัฒนาควรเตรียม ความพร้อมของคนเสียก่อน โดยเหตุนี้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการ จึงประสบ ผลสำเร็จในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างแท้จริง
18
หลักการของโครงการ
ก
ารดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริทุกโครงการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นอยู่เสมอว่าโครงการของพระองค์ นั้น เป็นโครงการที่มุ่งช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าที่เป็นความเดือดร้อนของราษฎรที่กำลังประสบอยู่ นอกจากนี้แล้วแล้วช่วยเหลือหรือการพัฒนา จะต้องเป็นไป ตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็นและประหยัด ทั้งนี้ เพื่อให้มีรากฐานที่มั่นคงก่อน แล้วจึงดำเนินการเพื่อความ เจริญก้าวหน้าในลำดับต่อๆ ไปเนื่องจากทรงมีพระราช ประสงค์ที่จะให้การช่วยเหลือ เป็นไปตามความจำเป็น และความเหมาะสมกับสถานภาพ เพื่อที่ราษฎรเหล่านั้น จะสามารถพึ่งตนเองได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อพระ ราชทานความช่วยเหลือราษฎร จะต้องสร้างสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนและเป็นความต้องการ นั่นก็คือ ความรู้ในการทำมาหากิน การทำเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีตัวอย่างของความ สำเร็จให้เห็นได้ศึกษา จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลองวิจัยและแสวงหา ความรู้ทางเทคนิควิชาการสมัยใหม่ ที่ราษฎรสามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ในวิธีที่ประหยัด เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ในการประกอบอาชีพของราษฎรที่อาศัยอยู่ในภูมิ ประเทศนั้นๆ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากจะมุ่งเน้นในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าที่เป็นความเดือดร้อนของราษฎร ในลักษณะของการเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับ ความจำเป็น และประหยัด รวมทั้งการช่วยเหลือเป็นไปในรูปแบบของการพึ่งตนเองได้ ตลอดจน การให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำไปพัฒนาการประกอบอาชีพเป็นการเพิ่มรายได้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงเน้นในเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกโครงการ ได้ยังประโยชน์สูงสุดให้แก่อาณา ประชาราษฎร์และความมั่นคงของประเทศชาติอย่างแท้จริง
19
เพื่อพึ่งตนเอง
โ
ครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกโครงการ ที่มีอยู่เกือบ ๔,๔๔๗ โครงการ เป็นทียอมรับ ของประชาชน จนสามารถดำเนินการได้เป็น ผลสำเร็จ ทั้งนี้ เนื่องมากจากการที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกแนวทางพระราช ดำริให้ประชาขนยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่าง ต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตาม ครรลองธรรมชาติ ด้วยการให้ประชาชนรับรู้ใน สิ่งที่ควรรู้จนสามารถนำไปปฏิบัติด้วยตนเองได้ นอกจากนี้แล้ว ทรงสร้างความสนใจ แก่ประชาชน ด้วยการพระราชทานชื่อโครงการ ที่แปลกชวนให้ติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการ แก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทาง เกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการป่าเปียก เป็นต้น รวมทั้งทรงให้เวลาในการประเมินค่า หรือประประเมินผล ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่างๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ พระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้หรือไม่ ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นแหล่งสาธิตที่ให้ความรู้แก่ประชาชน แนวพระราชดำริทั้งหลาย แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระราชหฤทัย พระสติปัญญาความสามารถ ตรากตรำพระวรกายเพื่อค้นคว้าหาแนวทาง การพัฒนา เพื่อให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุข สามารถพึ่งตนเองได้ โดยไม่เป็น ภาระแก่สงั คม ซึง่ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศให้พงึ่ ตนเองได้นี้ เป็นงานทีห่ นักทำได้ยาก และต้องใช้เวลานาน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามารถทรงทำได้บรรลุสำเร็จ นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
20
การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเอง
ก
ารพั ฒ นาทั้ ง ด้ า นอาชี พ และ ส่ ง เสริ ม การเกษตร เพื่ อ ให้ เ กษตรกร สามารถดำรงชี พ อยู่ ไ ด้ อ ย่ า งมั่ น คงเป็ น ปึ ก แผ่ น ตามโครงการอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำริทุกโครงการนั้น พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงดำเนิ น การ แนะนำสาธิตให้ประชาชนดำเนินรอยตาม เบื้องพระยุคลบาท เป็นไปตามหลักการ พัฒนาสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง กล่าวคือ ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของ คนในชนบทเป็นหลัก โดยไม่ทรงใช้วิธีการสั่งการให้ปฏิบัติตาม เพราะไม่อาจช่วยให้คนเหล่านั้น พึ่งตนเองได้ ทรงเน้นให้พึ่งตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นสำคัญ ด้วยการใช้หลักการมีส่วนร่วม ของประชาชน และหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทรงใช้หลักประชาธิปไตยในการดำเนินการ นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดหลักสภาพของท้องถิ่นเป็นแนวทาง ในการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพราะทรงตระหนักดีว่าการเปลี่ยน แปลงใดๆ ที่ดำเนินการโดยฉับพลัน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อค่านิยม ความคุ้นเคยและการ ดำรงชีพเป็นอย่างมาก โดยทรงเน้นว่าการพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศของภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา รวมทั้งทรงมีพระราชดำริที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การสร้างความแข็งแกร่งให้ชุมชน ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อการผลิต รวมทั้ง การส่งเสริมหรือสร้างเสริมสิ่งที่ชาวชนบทขาดแคลน และเป็นความต้องการอย่างสำคัญ คือ ความรู้ ด้านต่าง ๆ สำหรับแนวทางในการปฏิบัตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเลือกใช้เทคนิควิธีการ ต่างๆ หลายประการ เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ทรงมุ่งหวัง ซึ่งได้แก่ การรวมกลุ่มประชาชนเพื่อแก้ไข ปัญหาหลักของชุมชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาพึ่งตนเอง การส่งเสริมโดย กระตุ้นผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำในการพัฒนา นอกจากนี้แล้วการส่งเสริมการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองนั้น จะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อนที่จะให้เกิดผลในทางความเจริญอย่างรวดเร็ว ซึ่งการ พัฒนาชนบทหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศให้พึ่งตนเองได้นี้เป็นหนักและท้าทาย ความสามารถ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสามารถทำให้บรรลุผลสำเร็จอย่างแท้จริง
21
เพื่อผู้ยากไร้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร ที่ประสบความทุกข์
ยากเดือดร้อนและยากไร้เสมอมา ทรงมีพระราชดำริในการช่วยเหลือ เพื่อเป็นการบรรเทาความ เดือดร้อน และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่การช่วยเหลือของพระองค์จะต้องให้ราษฎร มีส่วน ในการช่วยเหลือตนเองด้วย โดยไม่คอยหวังพึ่งรัฐบาลหรือผู้อื่นเพียงอย่างเดียว ทรงนำภาษิต มาเปรียบเทียบกับการช่วยเหลือว่า เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา แต่ควรจะให้เบ็ดตกปลา และสอนให้ รู้จักวิธีตกปลาจะดีกว่า เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ทุกคนยืนหยัดด้วยตนเอง และช่วยตนเองได้ สิ่งที่ทรงตระหนักดีถึงความต้องการของราษฎรที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารห่าง ไกล คือ น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกและน้ำดื่มน้ำใช้ จึงพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาแหล่ง น้ำทั่วประเทศ เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่จังหวัด สกลนคร ทรงได้รับฎีกาจากผู้ใหญ่บ้านนาผางว่า หมู่บ้านนาผางและหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งอยู่ใน หุบเขา ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้และการคมนาคมไม่สะดวก จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร ด้วยพระองค์เอง ซึ่งต้องเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทไปตามทางแคบๆ ที่ลดเลี้ยวเป็นระยะ ทางเกือบ ๓ กิโลเมตร เมื่อเสด็จฯ ไปถึงทรงมีพระราชดำรัสกับราษฎรในหมู่บ้านถึงความเดือดร้อน ที่ได้รับ ประกอบกับการทอดพระเนตรแผนที่เพื่อการตรวจสอบ และทรงปรึกษากับผู้ที่ตามเสด็จ เกี่ยวกับการช่วยเหลือ ซึ่งต่อมาบ้านนาผางตลอดจนหมู่บ้านใกล้เคียงมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก
22 และแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ตลอดจนการอุปโภคบริโภค ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ดีขึ้นเป็นอย่างมาก โครงการต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระราชหฤทัยดำเนินการ เพื่อ เป็นการบรรเทาความทุกข์ยากของราษฎร จะทรงให้การสนับสนุนโครงการเหล่านั้นอย่างเต็มที่ โดยทรงปรึกษาหาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญก่อน แล้วจึงพิจารณาดำเนินโครงการ ที่ทรงมีความ ชำนาญเป็นอย่างมาก ได้แก่ โครงการสร้างแหล่งน้ำ โครงการทำบ่อเลี้ยงปลา โครงการส่งเสริมการ ปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น การเกษตรแบบผสมผสาน การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้า แฝก และการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโครงการทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ช่วยให้ เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่มาก ได้ใช้ที่ดินในการทำนา ปลูกไม้ล้มลุก ไม้ผล พืชผักสวนครัว และ เลี้ยงสัตว์ สามารถดำรงชีวิตในลักษณะพอมีพอกินได้ตลอดไป
ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
ก
ารดำเนินงาน โครงการ อั น เนื่ อ งมาจากพระราชดำริ ทุ ก โครงการ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงเน้นให้การพัฒนาเป็น ตามขั้ น ตอน โดยจะต้ อ งทำให้ ชุมชนมีความเข้มแข็งก่อนแล้วจึง มี ก ารพั ฒ นาต่ อ ไปเพื่ อ ให้ ร าษฎร สามารถพึ่งตนเองได้ ขณะเดียวกัน ก็ต้องอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากร สิ่ ง แวดล้ อ ม ส่ ง เสริ ม ความรู้ เทคโนโลยีวิชาการทันสมัยพร้อม ๆ กั น ไปด้ ว ย อย่ า งไรก็ ต ามในการ
23 ดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น จะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ และสังคมวิทยาของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันด้วย พร้อมกับได้พระราชทานพระราชดำริ ให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาในภูมิภาคต่างๆ รวม ๖ ศูนย์ สำหรับวัตถุประสงค์ของศูนย์การศึกษาการพัฒนานี้ ได้แก่ การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาในด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ แตกต่างกัน เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติและประชาชน เพื่อ นำผลจากกาศึกษาค้นคว้าทดลองวิจัยที่ได้ผลแล้วไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริง นอกจากนี้ ยังเป็น แบบอย่างของการพัฒนาแบบผสมผสาน ทั้งในด้านการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นระบบ ตลอดจนการประสานงานระหว่างหน่วยราชการต่างๆ รวมทั้งเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จผู้ที่ เข้าไปศึกษาดูงานภายในศูนย์ จะทราบเรื่องทั้งหมดและสามารถนำไปปฏิบัติเองได้ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง ๖ ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์ศึกษา การพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร ศูนย์ศึกษา พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส โดย แต่ละศูนย์มีหน้าที่ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และสาธิตการพัฒนาที่ดินทำกินฟื้นฟูสภาพ ป่าเสื่อมโทรมและป้องกันไฟไหม้ป่า ปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านการประมงชายฝั่ง ศึกษาและ ทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และการแก้ไขปัญหา ดินพรุในภาคใต้
24
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลบวร ราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๒๒ ทอดพระเนตรสภาพ ดินบริเวณนั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินทรายจัด มีการชะล้างพังทลายของดินในระดับสูง การปลู ก พื ช ต่ า งๆ ไม่ ไ ด้ ผ ลเท่ า ที่ ค วร เนื่ อ งจากดิ น ขาดความอุ ด มสมบู ร ณ์ ราษฎรได้ รั บ ความเดื อ ดร้ อ นเป็ น อย่ า งมาก จึ ง ทรงมี พระราชดำริให้ใช้ที่ดินจำนวน ๒๖๔ ไร่ ที่ตำบลเขาหินซ้อน ซึ่งมีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย จัดตั้งเป็น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเพื่อศึกษาวิจัยการปรับปรุงคุณภาพของดิน การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ การพัฒนา ปรับปรุงดินการใช้วิธีธรรมชาติในการป้องกันศัตรูพืช การศึกษาความเหมาะสมของการใช้ ประโยชน์ที่ดินในการปลูกผลไม้ต่างๆ การปลุกและการบำรุงรักษาป่าเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมและสาธิตการปลูกไม้ผล ส่งเสริมการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปรับปรุงบำรุงพันธุ์สัตว์ จัดตั้งธนาคารโค-กระบือ อบรมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และด้านศิลปาชีพ เพื่อเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร เกี่ยวกับ การเพาะปลูกไม่ได้ผล เนื่องจากดินมีสภาพเป็นดินทรายขาดความอุดมสมบูรณ์ ได้พลิกฟื้นดินใน จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออก ทั้งในด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ เลี้ยงปลาและ สัตว์น้ำอื่นๆ ตลอดจนงานจักสานและทอผ้าที่เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านทำให้ราษฎรซึ่งเคยมีฐานะ ยากจนกลับมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ เป็นเพราะมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ที่ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข เพื่อเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของ ราษฎร
25
ศูนย์การศึกษาพัฒนา ห้วยทราย
บ
ริ เ วณเขตพระราช นิเวศน์มฤคทายวัน ตำบลสาม พระยา อำเภอชะอำ จังหวัด เพชรบุ รี ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ เป็นที่หลวงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ป่ า ไม้ แ ละสั ต ว์ ป่ า นานาชนิ ด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อทราย จึงได้ชื่อว่า ห้วยทราย ต่อมา ราษฎรได้เข้ามาอยู่อาศัยและ ทำกินโดยบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ทำให้ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ถูกทำลายจนเกือบ หมดสิ้นไป เกิดปัญหาฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล มีลักษณะเป็นพื้นที่อับฝน ดินขาดการบำรุงรักษา จนเสื่อมคุณภาพเพาะปลูกอะไรไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรและรับสั่งว่า หาก ปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่แห่งนี้เป็น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาป่าไม้อเนกประสงค์ โดยให้ราษฎรที่เข้าทำกินอยู่เดิมได้มีส่วนร่วมในการดูแล รักษาป่า ใช้ประโยชน์จากป่าด้วยการไม่ทำลายป่าอีกต่อไปการป้องกันไฟป่าระบบป่าเปียก รวมทั้ง ให้มีการศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการปลูกป่า เพื่อให้ราษฎรสร้างรายได้ จากผลผลิตในป่า ด้วยการเผาถ่าน เลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ เมื่ อ ได้ พ ระราชทานพระราชดำริ แ ล้ ว ศู น ย์ ศึ ก ษาพั ฒ นาห้ ว ยทรายอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำริ จึงได้เกิดขึ้นและได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ ด้วยการฟื้นฟูสภาพ ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสู่สภาพเดิม ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ การจัดระบบการใช้ที่ดิน และการจัดสรรที่อยู่อาศัย การส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรในการปลูกพืชแบบผสมผสานควบคู่ไปกับ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนี้ได้มีการปล่อยเนื้อทราย เก้ง ละออง ละมั่ง กลับคืนสู่ป่าธรรมชาติแล้ว ปัจจุบันศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ช่วยพลิกฟื้นดินที่แห้งแล้งให้กลับสู่ความชุ่มชื้น และความอุดม สมบูรณ์ของป่าไม้เหมือนดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
26
อ่าวคุ้งกระเบน
เ
มื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ไปประกอบพิ ธี เ ปิ ด พระบรมราช นุ ส าวรี ย์ ส มเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช ที่จังหวัดจันทบุรี วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๔ ได้ทอด พระเนตรเห็ น พื้ น ที่ บ ริ เ วณอ่ า ว คุ้ ง กระเบน ซึ่ ง เป็ น แหล่ ง การ ประมงใหญ่ แ ห่ ง หนึ่ ง ของจั ง หวั ด จั น ทบุ รี มี ส ภาพเสื่ อ มโทรม ป่ า ชายเลนถูกบุกรุกทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จึงพระราชทาน พระราชดำริในการแก้ไข และได้มีการจัดตั้งศูนย์การศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน ตำบลสนามไชย อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เพื่อดำเนินการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนที่จัดตั้งขึ้น มีหน้าที่ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลองและ สาธิตการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านการประมงชายฝั่ง เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ อาชีพและรายได้ของราษฎร ในพื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบนและชุมชนโดยรอบให้สูงขึ้น รวมทั้งการ อนุรักษ์สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งทะเล กุ้งกุลาดำ และการเลี้ยงหอย การปลูกไม้ผล ไม้ประดับ การเลี้ยงปศุสัตว์ การปลูกป่าชายเลน การเผยแพร่ ความรู้ในด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ดิน รวมทั้งการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งเป็น สหกรณ์เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองด้านการตลาด จากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพัฒนาด้านอาชีพการประมงและ การเกษตรในเขตพื้ น ที่ ช ายฝั่ ง ของจั ง หวั ด จั น ทบุ รี ด้ ว ยการจั ด ตั้ ง ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาอ่ า ว คุ้งกระเบน ทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบน มีอาชีพที่มั่นคง รายได้ที่แน่นอนฐานะ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สภาพป่าชายเลนที่ถูกทำลายกลับสมบูรณ์เหมือนดังเดิม ธรรมชาติและสภาพ แวดล้อมสวยงามเหมาะการท่องเที่ยว อันเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณ
27
ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้
จ
ากการที่ได้มีการบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกินหรือลักลอบตัดไม้ เพื่อป้อน โรงงานอุตสาหกรรมและเผาถ่าน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ต้นน้ำลำธารทางภาคเหนือของ ประเทศ ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างใหญ่หลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยเป็นอย่างมาก และได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข ด้วย การจัดตั้งเป็น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ณ บริเวณพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นนี้ เป็นศูนย์กลางในการศึกษาเพื่อ หารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม สำหรับการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธาร ขณะเดียวกัน ก็ให้ ผู้ที่อยู่ในบริเวณนี้ได้รับประโยชน์จากการทำกิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยมีหน้าที่ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และแสวงหาแนวทาง ตลอดจนวิธีการ พัฒนาด้านต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงต้นน้ำลำธาร แล้วนำไปเผยแพร่ให้ราษฎรนำไป ปฏิบัติต่อไป ซึ่งงานที่ส่วนราชการต่างๆ เข้าไปร่วมปฏิบัติ ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำและป่าไม้ การเกษตรแบบประณีต การเลี้ยงปศุสัตว์และโคนม การประมง การพัฒนาที่ดิน และการส่งเสริม การเกษตรอุตสาหกรรม โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ มีศูนย์สาขาประกอบด้วย ศูนย์ บริการพัฒนาและขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง โครงการ พัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง และโครงการพัฒนาดอยตุง
28 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราช ดำริในการจัดตั้งนับว่าเป็นศูนย์กลางในการสาธิต อบรมและเผยแพร่ความรู้แก่ทุกคน ทางด้าน รูปแบบของการพัฒนาพื้นที่ป่าต้นน้ำ ลำธาร ทั้งในด้านอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ การส่งเสริม อาชีพทางการเกษตรแก่ราษฎรในพื้นที่ ด้านการเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการทำอุตสาหกรรม การเกษตร ทำให้ราษฎรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีและไม่ทำลายป่าไม้ เพราะป่าไม้ให้ประโยชน์แก่ ทุกคน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฺฮ่องไคร้ จึงเป็นพระราชดำริหนึ่งในการอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ควบคู่ ไปกับการช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อ อาณาประชาราษฎร์เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสำนึกและจดจำตลอดไป
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง
จ
ากการที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนราธิวาส เป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังตลอดปีและมีสภาพเป็น ดินพรุ เมื่อระบายน้ำออกจะแปรสภาพเป็นกรดจัด เพราะปลูกอะไรไม่ได้ผล ทำให้ราษฎรมีฐานะ ความเป็นอยู่ที่ยากจนและประสบความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบและเสด็จไปทอดพระเนตรสภาพพื้นที่ ดังกล่าว จึงทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขด้วยการ ปรับปรุงดินพรุ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อะไรให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ พร้อมกับได้มีพระราช
29 กระแสรับสั่งให้พิจารณาพัฒนาพื้นที่ดินพรุ รวมทั้งการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองขึ้น เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๕ ที่ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส สำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากจะมีหน้าที่ใน การศึกษาและพัฒนาที่ดินที่มีปัญหาในพื้นที่ป่าพรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอื่นๆ แล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ ทั้งด้านการเกษตรและศิลปหัตถกรรม ตลอดจนการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของหมู่บ้านต่างๆ ให้ดีขึ้น ซึ่งการดำเนินการได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขสภาพดินและน้ำทีมีปัญหาในพื้นที่พรุ การฟื้นฟูสภาพ ป่าไม้ การส่งเสริมการเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชอาหารสัตว์ การปลูกข้าว ยาง ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักต่างๆ และไม้โตเร็ว เมื่อได้มีการศึกษา วิจัยและทดลองจนได้ผลแล้ว จึงแนะนำให้ราษฎรนำไปปฏิบัติ การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ที่ผ่านมาได้ทำให้ดินพรุ ซึ่งเป็นดินที่ เพาะปลูกอะไรไม่ได้ กลับสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรและอื่นๆ ได้ ช่วยให้ราษฎร ซึ่งเคยยามจนกลับมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งแสดงให้เห็นประจักษ์อย่างเด่นชัดถึง พระราชหฤทัยแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมุ่งมั่นผูกพันในทุกข์สุขของราษฎร ทรง ช่วยเหลือชาวชนบทที่ยากไร้ ด้วยการพลิกผืนดินที่ไร้ประโยชน์ให้กลับมีประโยชน์ จากพระปรีชา สามารถอั น สู ง เลิ ศ ที่ บ่ ง บอกถึ ง พระอั จ ฉริ ย ภาพ ตลอดจนพระวิ ริ ย ะอุ ต าสาหะที่ ท รงทุ่ ม เท พระสติปัญญาตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของอาณาประชาราษฎร์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงหาที่สุดมิได้
30
การเลี้ยงสัตว์
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการ เกี่ ย วกั บ การเกษตรในทุ ก ด้ า น รวมทั้งด้านปศุสัตว์ ทุกครั้งที่เสด็จ พระราชดำเนิ น เยี่ ย มราษฎร ใน ท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลจากการ คมนาคม จะมีพระราชดำริเกี่ยวกับ การเลี้ยงสัตว์ ทั้งในด้านปศุสัตว์และ สัตว์ปีก พร้อมทั้งพระราชทานพันธุ์ ของสัตว์ให้ราษฎรนำไปเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ เนื่องจากทรงเห็นว่าในพื้นที่ที่เพาะปลูก ควรจะเลี้ยง สัตว์ควบคู่กันไปด้วย เพราะมูลของสัตว์สามารถใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิต ทางด้านการเกษตรมีปริมาณเพิ่มขึ้น และหากมีมูลสัตว์มากเพียงพออาจจะนำไปหมักเพื่อเป็นก๊าซ ชีวภาพ สำหรับใช้เป็นพลังงานแสงสว่างและความร้อนภายในบ้านได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ในพื้นที่บางแห่ง มีพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกน้อย หรือไม่เหมาะสมแก่การ เพาะปลูกพืช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการในลักษณะการพัฒนา การเลี้ยงสัตว์ทุกรูปแบบ เช่น โครงการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น หรือ บางแห่งมีพื้นที่มาก แต่ดินไม่ดีเพาะปลูกอะไรไม่ได้ผล จึงทรงมีพระพระราชดำริให้ปรับปรุงจัดทำ เป็นทุ่งหญ้าสาธารณะสำหรับเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันโดยพยายามทำพื้นที่ที่ ซึ่งไร้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก ให้เกิดประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ เกษตรกรอยู่ได้และมีชีวิตที่ดีขึ้น โครงการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีทั้งการสาธิตการเลี้ยง การส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการปลูกพืชอาหารสัตว์ การให้บริการด้านพันธุ์สัตว์ การป้องกัน กำจัดโรค รวมทั้งการแจกจ่ายสัตว์พันธุ์ดีให้แก่เกษตรกรตลอดจนการให้เช่าซื้อโค-กระบือ เพื่อใช้ แรงงงานในการเพาะปลูก ได้ยังประโยชน์ให้แก่เกษตรกรอย่างมากมายมหาศาล ทำให้เกษตรกร มีพันธุ์สัตว์ที่ดีนำไปเลี้ยงและขยายพันธุ์ เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ รวมทั้งการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการเพาะปลูก ซึ่งพระราชดำริแห่ง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในด้านการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ ได้ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยหรือเกษตรกรที่ ยากจน ให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก
31
การเลี้ยงโคนม
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมเป็นอย่างมาก เนื่ อ งจากนมเป็ น อาหารที่ ส ำคั ญ อย่ า งหนึ่ ง ที่ ค นส่ ว นใหญ่ นิ ย มบริ โ ภค และในอดี ต ที่ ผ่ า นมา ประเทศไทยต้องเสียเงินมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากยังไม่มีการเลี้ยงโคนมใน ประเทศไทยอย่างจริงจัง จึงทรงมีพระราชดำริที่จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงโคนม และเมื่อเสด็จ พระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศเดนมาร์ค ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ทรงมีพระราชดำรัสกับสมเด็จ พระเจ้าเฟรเดอริคที่ ๙ เพื่อทรงขอรับการช่วยเหลือในเรื่องผู้เชี่ยวชาญและพันธุ์โคนม ซึ่งทรงได้รับ การสนับสนุนเป็นอย่างดี จนมีการจัดตั้งฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ขึ้น ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๐๕ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเลี้ยงให้แพร่หลาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงโคนมขึ้น บริเวณสวนจิตรลดา เพื่อเป็นการทดลองกิจการด้านนี้ โดยชั้นแรกมีโคนมอยู่เพียง ๖ ตัว และ ได้รีดนมเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชบริพารในสวนจิตรลดา ต่อมามีโคเพิ่มขึ้นและนมมีจำนวนมาก จึงนำออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งการจัดตั้งโรงเลี้ยงโคนมในสวนจิตรลดานี้ ได้เป็น ตัวอย่างให้ผู้สนใจตั้งโรงเลี้ยงโคนมหลายแห่ง โดยเฉพาะที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา มีการเลี้ยงจำนวนมากจนเกินความต้องการที่จะบริโภคในเวลานั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือ เกษตรกรผู้เลี้ยง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้า ให้สร้างโรงงานผลิตนมผงขึ้น ในสวนจิตรลดา เพื่อรับซื้อน้ำนมสดจากผู้เลี้ยงที่มีปัญหาในด้านการจำหน่าย
32 สำหรับโรงงานผลิตนมผงนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า สวนดุสิต และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงงานดังกล่าว เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๒ และหลังจาก เปิดโรงงานผลิตนมผงสวนดุสิตไม่นาน กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมจังหวัดราชบุรี ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย เงินจำนวน ๑ ล้านบาท เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตนมผงขึ้นในจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันการเลี้ยงโคนมได้ แพร่หลายกลายเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรที่ทำเงินรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างมากมาย รวมทั้งประชาชนมีนมทุกรูปแบบ ตลอดจนนมผงอัดเม็ดบริโภคอย่างทั่วถึงไม่ขาด แคลนในราคาถูก ทั้งนี้ เป็นผลมาจากพระราชดำริที่ปรีชาชาญ และสายพระเนตรที่ยาวไกลแห่ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ที่ ท รงงานอย่ า งหนั ก ตลอดเวลาเพื่ อ ความผาสุ ก ของอาณา ประชาราษฎร์
การประมง
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงทุ่มเทพระราชหฤทัยให้แก่งานพัฒนา แหล่งน้ำ เพื่อที่จะทรงแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำให้แก่พสกนิกรของ พระองค์ ที่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรให้มีน้ำสำหรับการเพาะปลูกโดยไม่ขาดแคลนแล้ว ยังทรงมีพระราชดำริว่า แหล่งน้ำต่างๆ ทางธรรมชาติที่มีอยู่หรือบ่อน้ำที่ขุดขึ้น ควรจะมีการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาเพื่อเป็นอาหาร เนื่องจากปลาเป็นอาหารที่มีโปรตีนมาก จึง
33 ทรงมีพระราชดำริที่จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลาน้ำจืด โดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ดัดแปลงสระว่ายน้ำที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบ่อเลี้ยง ปลาเพื่อเป็นตัวอย่าง จากนั้น ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๖ ซึ่งครบรอบปีที่ ๔ แห่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปล่อยปลาหมอเทศ ปลาแรดและปลากะโห้ลงบ่อนั้น เมื่อปลาโตจนได้ขนาด จึงได้พระราชทานจากบ่อหลวง พร้อม ด้วยหนังสือคู่มือว่าด้วยการเลี้ยงแก่ราษฎรเพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อไป และเมื่อทรงพิจารณาเห็นว่า ปลาชนิดใดเลี้ยงง่าย เป็นประโยชน์แก่ราษฎร จะทรงพยายามหาพันธุ์มาพระราชทาน อย่างเช่น ปลานิล ที่มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นได้ทูลเกล้าฯ ถวายพันธุ์ปลานี้ ในคราวเสด็จเยือนประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้พระราชทานให้ราษฎรนำไปเลี้ยงในเวลาต่อมาจนขยายพันธุ์ไปทั่วประเทศ และ เป็นอาหารที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก โครงการพัฒนาการประมงตามพระราชดำริ ได้กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง เกษตรกร หันมาสนใจการเลี้ยงปลาเพิ่มมากขึ้น ทั้งการเลี้ยงเพื่อการบริโภคในครัวเรือน การเลี้ยงเป็นอาชีพ เสริม เป็นอาชีพหลัก นับว่าได้ก่อประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ดีขึ้น รวมทั้งการมีอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคกันอย่างทั่วถึง เป็นการแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนอาหารโปรตีนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เป็นการสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว อีกด้วย ทั้งนี้ เป็นผลมาจากพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรที่ยาวไกลแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำริในการส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงปลามาเกือบ ๕๐ ปี
34
ธนาคารโค-กระบือ
ธ
นาคารโค-กระบื อ เป็ น โครงการอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำริ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราช ประสงค์จะช่วยเหลือเกษตรกร ที่ยากจน ได้มีโค-กระบือเป็น ของตัวเองสำหรับใช้ผลิตข้าว โดยไม่ ต้ อ งไปเสี ย ค่ า เช่ า ใน อั ต ราที่ สู ง เป็ น การแบ่ ง เบา ภาระของเกษตรกร รวมทั้งเป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และลดต้นทุนการผลิต จากการใช้ เครื่องจักรกลแทนโค-กระบือ ซึ่งรัฐบาลโดยกรมปศุสัตว์ได้เริ่มดำเนินการ โครงการธนาคารโคกระบือตามพระราชดำริ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ด้วยการใช้กระบือของกรมปศุสัตว์จำนวน ๒๐๘ ตัว ไปช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน ในพื้นที่ราบเชิงเขาจังหวัดปราจีนบุรี โดยการให้เช่าซื้อ และผ่อนส่งระยะยาว ๓ ปี ธนาคารโค-กระบือ ตามพระราชดำริ ได้ให้บริการแก่เกษตรกรที่ยากจนใน ๓ ลักษณะคือ การให้เช่าซื้อผ่อนส่งระยะยาว โดยธนาคารจะจัดหาโค-กระบือ มาจำหน่ายให้ในราคาถูก และผ่อน ส่งเงินให้ธนาคารในระยะเวลา ๓ ปี หากเกษตรกรที่ไม่มีโค-กระบือใช้งานและไม่ประสงค์ที่จะเช่าซื้อ อาจจะขอเช่าโค-กระบือจากธนาคารไปใช้งานได้ในอัตราเช่าที่ถูกกว่าเอกชนมาก หรือจะยืมโคกระบือ เพศเมียจากธนาคาร ไปใช้เลี้ยงเพื่อผลิตลูกก็ได้ โดยการแบ่งลูกที่คลอดออกมาคนละครึ่ง กับธนาคาร นอกจากนี้แล้วเกษตรกรที่ยากจน ไม่สามารถที่จะช่วยตนเองได้ ทางธนาคารจะให้ ยืมโค-กระบือไปใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับประโยชน์ที่เกิดจากธนาคารโค-กระบือ ตามพระราชดำริ ได้ส่งผลโดยตรงกับ เกษตรกรที่ยากจนคือ ได้ช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถมีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเอง ไม่ต้องเสีย ค่าเช่าโค-กระบือในอัตราสูง เป็นหลักประกันอย่างหนึ่ง ซึ่งเอื้ออำนวยให้การผลิตเกิดผลอย่าง เต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้แล้วการใช้โค-กระบือ เป็นแรงงานในการผลิตข้าว เป็นสิ่งที่เหมาะสม กับเกษตรกรที่มีฐานะยากจน และมีพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก รวมทั้งการใช้แรงงานโค-กระบือ ในการ เพาะปลูกข้าว เป็นการใช้พลังงานจากธรรมชาติ แทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นทรัพยากรที่นับ วันจะเหลือน้อยลงและมีราคาสูงขึ้น
35
ธนาคารข้าว
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ สู่ภูมิภาคต่างๆ ในท้องถิ่นชนบทของประเทศไทย เป็นจำนวนเกือบ ๕๐ ปี จึงทรงเห็นสภาพความยากจนเดือดร้อนของพสกนิกร และเข้า พระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งแจ่มชัดถึงสาเหตุแห่งปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนข้าวของ ชาวนาทั้งๆ ที่ปลูกข้าวเอง แต่ไม่มีข้างที่จะบริโภคและทำพันธุ์ จึงแก้ปัญหาโดยการกู้ยืมจาก พ่อค้าคนกลาง ซึ่งอาจกู้ยืมเป็นข้าวหรือเป็นเงิน และต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก ในบาง กรณีต้องกู้ยืมโดยวิธีการขายข้าวเขียว ซึ่งเป็นผลให้ผู้กู้เสียเปรียบอย่างมาก ทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้ ไม่เพียงพอต่อการบริโภคและชำระหนี้ ในที่สุดก็กลายเป็นผู้ที่มีหนี้สินพอกพูนตกอยู่ในสภาพ ยากจน ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เกษตรกร พ้นจากการ เป็นหนี้สิน และมีข้าวบริโภคโดยไม่ขาดแคลน และทรงพระราชดำริว่า ธนาคารข้าว จะเป็นวิธี หนึ่งที่แก้ปัญหาดังกล่าวนี้ได้ จึงทรงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารข้าวขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่หมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้พระราชทาน ข้าวเปลือกจำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้ใหญ่บ้านเพื่อเป็นทุนเริ่มดำเนินกิจการธนาคารข้าว และได้พระราช ทานแนวทางการดำเนินงานไว้ ด้วยการให้มีคณะกรรมการคัดเลือกจากราษฎรในหมู่บ้านเป็น
36 ผู้เก็บรักษาพิจารณาจำนวนข้าวที่จะให้ยืมและรับข้าวคืน เมื่อราษฎรยืมข้าวไปใช้บริโภคเก็บ เกี่ยวข้าวได้แล้ว จะต้องนำมาคืนธนาคารพร้อมกับดอกเบี้ย ซึ่งข้าวที่เป็นดอกเบี้ยจะเป็นของ ส่วนรวม ธนาคารข้าว เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในเชิงการให้สวัสดิการสังคมและ ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน โดยราษฎรมีแหล่งข้าวกลางของหมู่บ้าน ที่สามารถกู้ยืมไปบริโภคหรือ ทำพันธุ์ ซึ่งเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าการกู้จากพ่อค้าคนกลาง รัฐบาลได้สนองพระบรมราโชบาย ขยายขอบเขตการดำเนินงานธนาคารข้าวออกไปทั่วประเทศ ธนาคารข้าวที่ประสบความสำเร็จ มิได้บรรลุเพียงจุดหมายพื้นฐาน ในการบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนข้าวบริโภค เท่านั้น แต่ยังได้สร้างกิจกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ สร้างการมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำ ความสมัครสมานสามัคคีและความร่วมมือในระดับชุมชนอีกด้วย
ปาล์มน้ำมัน
ป
าล์ ม น้ ำ มั น เป็ น พื ช เศรษฐกิ จ ที่ ส ำคั ญ ชนิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง มี ก ารปลู ก กั น มากในภาคใต้ ข อง ประเทศไทย โดยได้มีการนำเข้ามาปลูกในเชิงการค้าตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ที่จังหวัดกระบี่ จากนั้น ได้มีการปลูกอย่างแพร่หลาย ต่อมาเกษตรกรสวนปาล์มต่างประสบกับปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
37 การขนส่งไปยังโรงงาน รวมทั้งขาดความรู้ ในการปลูก การดูแลรักษา การให้ปุ๋ยและการกำจัด ศัตรูพชื เนือ่ งจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชทีม่ ถี นิ่ กำเนิดในทวีปแอฟริกา ลักษณะภูมอิ ากาศทีแ่ ตกต่างกัน ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่ดีและต้นทุนในการปลูกสูง เกษตรกรจึงต้องประสบกับความเดือดร้อนเป็น อย่างมาก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบจากการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร สวนปาล์มน้ำมันของนิคมอุตสาหกรรมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยสาย พระเนตรที่ยาวไกลและพระอัจฉริยภาพ จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข ด้วยการ ส่งเสริมให้เกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยรวมตัวกันทำการสกัดน้ำมันปาล์มในรูปของโรงงานขนาด เล็กที่ใช้เงินลงทุนต่ำ เป็นการแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ รวมทั้งลดต้นทุนเกี่ยวกับค่าขนส่ง นอกจากนี้ วัสดุต่างๆ ที่เหลือจากการสกัดน้ำมันแล้ว ยังนำไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ย หรือทำเป็นเชื้อเพลิงได้อีกด้วย โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ดำเนิน การมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ หลังจากที่ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๒๖ ณ พระตำหนังทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนอกจากการแปรรูปน้ำมันปาล์มดิบ ให้เป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ โดยโรงงานที่เกษตรกรรวมตัวกันตั้งขึ้นแล้ว ยังได้พระราชทานพระราช ดำริให้นำน้ำมันปาล์มที่สกัดได้ ไปผลิตเป็นน้ำมันปรุงอาหาร เนยขาว เนยเทียม สบู่ และผงซักฟอก เพื่อจำหน่ายหรือใช้ในครอบครัว ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ ได้ช่วยให้เกษตรกร สวนปาล์มมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
น้ำเพื่อชีวิต น้ำเพื่อชีวิต
จ
ากการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรทุกหมู่เหล่าในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทำให้ทรงทราบ ถึงปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรและมีฐานะความ เป็นอยู่ที่ยากจน ทรงประจักษ์ว่า น้ำเป็นปัญหาที่สำคัญ จึงทรงเริ่มงานจัดการลุ่มน้ำอย่างจริงจัง ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ตามโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำเพื่อรักษาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ นอกจากนี้ ทรงมีพระราชดำริพระราชทานแก่กรมชลประทานและหน่วยงานต่างๆ ที ่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในการหาวิธีนำน้ำไปใช้ประโยชน์ทางอื่น หรือที่ใดไม่สามารถจะ เก็บกักน้ำธรรมชาติไว้ใช้ในยามขาดแคลน ก็ทรงศึกษาหาวิธีการทำฝนเทียมขึ้นใช้จนเป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้ เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ การเพาะปลูก ด้วยเหตุนี้จึงทรงทุ่มเทพระราชหฤทัยให้แก่งานพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อที่จะทรงแก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำให้แก่พสกนิกรของพระองค์ ที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทรงเชื่อมั่นว่า เมื่อประชาชนในชนบทที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกโดย ไม่ขาดแคลนหรือมากจนเกินไป ประชาชนเหล่านี้จะมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทำให้การพัฒนา ชนบทในทุ ก ด้ า นได้ รั บ ความสำเร็ จ ตามไปด้ ว ย ซึ่ ง โครงการพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ อั น เนื่ อ งมาจาก พระราชดำริที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่าง เอนกประการ
39
ฝนหลวง
จ
ากการที่การเพาะปลูกซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวไทยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับน้ำ และพื้นที่ เกษตรกรรมกว่าร้อยละ ๘๒ ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นสำคัญ ปีใดที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลย่อมก่อให้ เกิดความแห้งแล้ง ทำให้พืชต่างๆ ที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหาย ดังนั้น ด้วยความห่วงใยในพสกนิกร ที่ประกอบอาชีพทางเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว และจากการที่ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมราษฎร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเครื่องบินพระที่นั่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ทรงสังเกตว่ามีกลุ่มเมฆ ปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางการบิน แต่ไม่สามารถก่อและรวมตัวกันจนเกิดฝนตกได้ จึงทรง มีพระราชดำริและมั่นพระทัยว่า น่าจะมีลู่ทางทางวิทยาศาสตร์ดัดแปรสภาพอากาศมาช่วยให้เกิด การก่อและรวมตัวของเมฆทำให้เกิดฝนตกได้ นั่นคือ การกำเนิดโครงการ “ฝนหลวง” ในเวลาต่อมา ซึ่งได้มีการทดลองทำฝนหลวงขึ้นเป็น ครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๒ ด้วยการปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับ เมฆในท้องฟ้าเหนือพื้นดินบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้น้ำแข็งแห้งโปรยที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ปรากฏว่าหลังจากปฏิบัติการประมาณ ๑๕ นาที ก้อนเมฆบริเวณนั้นได้มีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นเกิดเป็นฝนตกลงมา และได้มีการพัฒนา ค้นคว้าศึกษาวิจัย จนสามารถบังคับฝนให้ตกลงยังพื้นที่ที่ต้องการได้ นอกจากนี้แล้ว ยังทรงมี พระราชดำริให้สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่เมฆ รวมทั้งการใช้เครื่องพ่นสารเคมี อัดแรงกำลังสูง ยิงจากยอดเขาสู่ฐานก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ตามปกติลอยปกคลุมเหนือ ยอดเขา สามารถรวมตัวหนาแน่นจนเกิดฝนตกสู่บริเวณภูเขา แล้วไหลไปสู่พื้นราบต่อไป
40
การพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความ สำคัญแก่น้ำเป็นอย่างมาก เพราะทรงถือว่าถ้ามีน้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำเพื่อการเกษตร จึงได้พระราชทานพระราชดำริใน การพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้ ส่ ว นราชการต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งไปดำเนิ น การ เพื่อไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ มีทั้งการสร้างอ่าง เก็บน้ำ ฝายทดน้ำ การขุดลอกหนองบึงธรรมชาติ และ การขุดสระน้ำ ซึ่งจะทำให้มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะ ปลูกและอุปโภคบริโภค โดยอ่างเก็บน้ำจะมีพระราช ดำริในการสร้างเขือ่ นดิน ใช้งบประมาณไม่มากนัก ด้วย การนำดินมาบดอัดให้แน่นเป็นตัวเชื่อม นอกจากการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำแล้ว จะต้องสร้างอาคารระบายน้ำล้นเพื่อควบคุมระดับ น้ำในอ่างเก็บน้ำ และสร้างท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่ตัวเขื่อน สำหรับควบคุมน้ำที่จะจ่ายให้กับ พื้นที่เพาะปลูก ซึ่งอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำรินี้ ช่วยให้เกษตรกรมีน้ำเพื่อการ เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และเป็น แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกด้วย ส่วนฝายทดน้ำตามพระราชดำริ คือ สิ่งก่อสร้างที่สร้างปิดขวางทาง น้ำไหล เพื่อทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูงขึ้น จนสามารถผันน้ำเข้าไปตามคูคลองสำหรับส่งน้ำให้แก่ พื้นที่เพาะปลูกบริเวณสองฝั่งน้ำได้สะดวก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำในไร่นาและการ อุปโภคบริโภค ซึ่งนับวันจะรุนแรงมากขึ้น การสร้างอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ หรือการขุดลอกแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ไม่อาจจะจัดหาแหล่งน้ำให้แก่ราษฎรได้เพียงพอ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริ ในการ ขุดสระน้ำในไร่นาของเกษตรกร เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี พระราชดำริดังกล่าวมีชื่อว่า ทฤษฎีใหม่ โดยเริ่มดำเนินการเป็นแห่งแรกที่บริเวณพื้นที่ใกล้วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ต่อมาได้มีการขยายผลไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ยังประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์เป็น อย่างยิ่ง
41
อ่างเก็บน้ำ
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราช ดำริว่า น้ำที่ไหลมาจากร่องน้ำ ลำธาร ตามธรรมชาติ จากภูเขาหรือเนินสูง จะไหลมาอย่างแรงในช่วง หน้ า น้ ำ จนก่ อ ให้ เ กิ ด อุ ท กภั ย และจะเกิ ด การ ขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง หากมีการกักเก็บไว้ ในยามที่น้ำหลาก จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ของราษฎร จากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตร ในยามที่เกิดความแห้งแล้ง รวมทั้งเป็นการป้องกันอุทกภัย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริในการสร้าง อ่างเก็บน้ำ โดยอ่างเก็บน้ำแห่งแรกได้สร้างขึ้นที่ เขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ จากนั้นได้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ อ่างเก็บน้ำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริในการสร้าง ส่วนใหญ่ จะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ด้วยการสร้างเขื่อนดินปิดกั้นระหว่างหุบเขาหรือเนินสูง เพื่อกักเก็บน้ำ ที่ไหลมาจากร่องงน้ำธรรมชาติในช่วงฤดูฝน จากนั้นในช่วงหน้าแล้งจะปล่อยน้ำที่เก็บกักไว้ใน อ่างน้ำ ไปตามท่อส่งน้ำสูไ่ ร่นาของเกษตรกร สำหรับใช้ในการเพาะปลูกเลีย้ งสัตว์ และอุปโภคบริโภค นอกจากนี้บริเวณอ่างเก็บน้ำยังใช้เป็นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อขยายพันธุ์และบริโภคอีกด้วย โดยอ่างเก็บน้ำที่จะสร้างทุกแห่ง ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาถึงพื้นที่หมู่บ้านยากจนที ่ ราษฎรขาดแคลนน้ำมากเป็นอันดับแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า และมีพระราชปณิธาน แน่วแน่ในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร ในเรื่องการขาดแคลนน้ำ นอกจากจะ พระราชทานพระราชดำริในการสร้างอ่างเก็บน้ำแล้ว ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงตรวจ สถานที่ที่จะก่อสร้าง เพื่อทอดพระเนตรความเหมาะสมและประโยชน์ที่ราษฎรจะได้รับ เมื่อมีการ ก่อสร้างก็จะเสด็จฯ ไปทรงติดตามผลการดำเนินงาน ถึงแม้เขื่อนและอ่างเก็บน้ำบางแห่ง จะอยู่ใน ถิ่นทุรกันดารห่างไกลไม่มียานพาหนะไปถึง จะทรงพระดำเนินด้วยพระบาทไปตามทางขรุขระ หรือสูงชัน เป็นระยะทางหลายกิโลเมตรก็มิได้ทรงย่อท้อ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่อาณา ประชาราษฎร์อย่างหาที่สุดไม่ได้
42
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เขือ่ นป่าสักชลสิทธิเ์ ป็นโครงการ
ที่เกิดจากพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกโครงการ หนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของราษฎรในลุ่มน้ำป่าสักโดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง จั ง หวั ด ลพบุ รี แ ละสระบุ รี ที่ต้องประสบกับภาวะความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและ อุปโภคบริโภคในหน้าแล้ง รวมทั้ง ต้องผจญกับอุทกภัยในหน้าฝน จาก การที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำป่าสักล้นตลิ่ง แล้วไหลไปท่วมพื้นที่อยู่อาศัยและทำกิน สำหรับแม่น้ำป่าสักนี้ เป็นแม่น้ำสาขาสายสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา ต้นน้ำเริ่มที่อำเภอ ด่านซ้ายจังหวัดเลย ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งกรมชลประทานเคยมีโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ ที่จะก่อสร้างเขื่อน เก็บกักแม่น้ำป่าสัก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากมีอุปสรรค หลายอย่าง จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของราษฎร จึง พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ ให้กรมชลประทานศึกษาความ เหมาะสมของโครงการเขื่อนเก็บกักแม่น้ำป่าสัก เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและบรรเทาความรุนแรง ของอุทกภัย ภายหลังที่กรมชลประทานได้สนองพระราชดำริด้วยการศึกษาความเหมาะสมแล้ว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก โดยได้เริ่มงานก่อสร้างวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๗ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินสร้างปิดกั้นแม่น้ำป่าสัก บริเวณแก่งเสือเต้น ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ติดต่อกับบ้านคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี ขณะนี้ การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และให้ประโยชน์อย่างอเนกประการ ทั้งในด้านการเป็นแหล่งน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดจนการเพาะปลูก รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม แหล่ง เพาะพันธ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ และยังสามารถป้องกันอุทกภัยให้แก่พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขต จังหวัดสระบุรี ลพบุรี อยุธยา เรื่อยลงมาจนถึงกรุงเทพมหานครได้อย่างดีอีกด้วย
43
เขื่อนคลองท่าด่าน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของราษฎร ที่อาศัยอยู่บริเวณ สองฝั่งแม่น้ำนครนายก จากการถูกน้ำท่วมในช่วงหน้าฝน และภาวการณ์ขาดแคลนน้ำใน ช่วงหน้าแล้ง ทั้งนี้ เนื่องจากแม่น้ำนครนายกซึ่งมีแหล่งต้นน้ำอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลผ่านพื้นที่สี่อำเภอของจังหวัดนครนายก ไปบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรีเป็นแม่น้ำบางปะกง จะมีปริมาณน้ำมากในฤดูฝนทำให้เกิดน้ำหลาก จนท่วมบ้านเรือนและไร่นาของราษฎรได้รับความ เสียหายเกือบทุกปี ส่วนหน้าแล้งน้ำจะแห้งจนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข ด้วยการ ให้กรมชลประทานพิจารณาก่อสร้างเขื่อนเพื่อปิดกั้นน้ำ ที่บ้านคลองด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอ เมืองนครนายก เพื่อชะลอความรุนแรงของน้ำที่หลากลงมา และกักเก็บไว้ใช้ในหน้าแล้ง โดยสร้าง เขื่ อ นคอนกรี ต บดอั ด และเขื่ อ นดิ น ปิ ด กั้ น คลองท่ า ด่ า นสามารถกั ก เก็ บ น้ ำ ได้ ป ระมาณ ๒๓๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ นอกจากตัวเขื่อนแล้วยังมีอาคารระบายน้ำล้น ลำน้ำเดิมและคลองชลประทาน สำหรับจ่ายน้ำให้แก่เกษตรกรในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำและคลอง ชลประทาน เขื่อนคลองท่าด่าน ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า “เขื่อนขุนด่านปราการชล” เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๙ โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะสามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกกว่า ๑๘๕,๐๐๐ ไร่ ราษฎร มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ๑๖ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ช่วยบรรเทาปัญหาดินเปรี้ยวและปัญหา อุทกภัย นอกจากนี้ยังมีปลาและสัตว์น้ำในอ่างเก็บน้ำ เพื่อการบริโภคไม่น้อยกว่าปีละ ๕๘ ล้านตัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งต่อพสกนิกรที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำนครนายก ได้หลุดพ้นจากปัญหาความเดือดร้อน จากภาวะน้ำท่วมในหน้าน้ำและขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
การบำบัดน้ำเสีย ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสีย
ปั
ญหาภาวะมลพิษ มีผลกระทบ ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มของชุ ม ชนเป็ น อย่ า งมาก และนับวันจะทวีเพิ่มมากขึ้น การดำรงชีพ ของทุกคนในปัจจุบัน ต้องเผชิญกับภาวะ วิกฤตอันเกิดจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ที่ รุ น แรงขึ้ น ตลอดเวลาสาเหตุ ส ำคั ญ ประการหนึ่ง คือชุมชนต่างๆ ยังขาดระบบ บำบั ด น้ ำ เสี ย และการกำจั ด ขยะมู ล ฝอย ที่ดี และมีประสิทธิภาพด้วยเหตุนี้โครงการ วิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยวิธีการบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะ มูลฝอยจึงได้เริ่มขึ้น ในเขตเทศบาลและเขตใกล้เคียงเข้าเป็นระบบท่อส่งน้ำเสีย ไปยังสถานีสูบน้ำ เสียที่คลองยางที่สามารถรองรับปริมาณน้ำเสียได้ถึง ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ก่อนที่จะ ระบายไปสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ตำบลแหลมผักเบี้ย เมื่อน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ได้ไหลตามท่อระบายน้ำไปยังสถานีสูบน้ำเสียที่ คลองยาง เพื่อลดความสกปรกของน้ำแล้ว จากนั้นจะสูบน้ำเสียจากคลองยางไปสู่บริเวณบำบัด น้ำเสียแหลมผักเบี้ย เพื่อบำบัดน้ำเสียและกำจัดขยะก่อนที่จะระบายลงสู่ป่าชายเลนต่อไป นอกจากนี้ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้มีการบำบัดน้ำเสีย ด้วยระบบบึงชีวภาพโดย
45 การให้น้ำเสียไหลผ่านบ่อดินตื้นๆ ที่ปลูกพืชประเภทกกพันธุ์ต่างๆ ระบบกรองน้ำด้วยหญ้า และ ระบบกรองน้ำเสียด้วยป่าชายเลน ซึ่งน้ำเสียที่ไหลผ่านระบบดังกล่าว จะได้รับการบำบัดจนเป็น น้ำดีตามมาตรฐานเช่นกัน นับว่าเป็นแนวทางพระราชดำริที่เป็นแบบฉบับแก่ชุมชนทั้งหลาย ทั่วประเทศ ที่จะได้ดำเนินการเจริญรอยตามพระยุคลบาท โดยยึดการดำเนินงานตามแนว พระราชดำริที่แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรีเป็นต้นแบบต่อไป
น้ำดีไล่น้ำเสีย
จ
ากการที่ น้ ำ ในแม่ น้ ำ เจ้ า พระยา ตลอดจนคลองต่ า งๆ ในกรุ ง เทพมหานคร มีการเน่าเสียจนถึงขั้นอันตรายนั้น เพื่อเป็น การหาทางแก้ปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จพระราชดำเนินพร้อม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ไปทอดพระเนตรสภาพน้ำเน่าเสียตาม คลองทั้งหลายในกรุงเทพมหานครทั้งที่บริเวณ ประตูน้ำปากคลองเทเวศร์ คลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๒๘ พร้อมกับได้พระราชทานพระราชดำริว่า การจัด ระบบควบคุมระดับน้ำในคลองสายต่างๆ สมควรวางระบบให้ถูกต้องตามสภาพการณ์ และ ลักษณะภูมิประเทศ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกให้มากที่สุด เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการ ควบคุมระดับน้ำตามลำคลองเหล่านี้ ต่อมาจึงได้บังเกิดกรรมวิธีในการบำบัดน้ำเสีย ตามแนวพระราชดำริ น้ำดีไล่น้ำเสียขึ้น คือ การเปิดประตูอาคารควบคุมน้ำ รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะน้ำขึ้น แล้วระบายออกสู่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนระยะน้ำลง ซึ่งมีผลทำให้น้ำในลำคลองต่างๆ มีโอกาสได้ไหลถ่ายเทกันไปมา มากขึ้นกว่าเดิม เกิดการหมุนเวียนของน้ำที่มีสภาพเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็นกลายเป็นน้ำที่ดีขึ้น พระราชดำริบำบัดน้ำเสีย ด้วยการทำให้เจือจางโดยให้น้ำดีไล่น้ำเสียเป็นวิธีการที่ง่าย ประหยัด พลังงานและค่าใช้จ่าย รวมทั้งสามารถใช้ได้ตลอดเวลาในทุกแห่ง แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อความผาสุกของอาณา ประชาราษฎร์ทั้งหลายอย่างแท้จริง
46
บึงมักกะสัน
บึ ง มั ก กะสั น เป็ น บึ ง ขนาดใหญ่ อี ก แห่ ง หนึ่ ง ของกรุ ง เทพมหานคร ซึ่ ง การรถไฟแห่ ง ประเทศไทยได้ขุดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อใช้เป็นแหล่งระบายน้ำ และรองรับน้ำเสีย รวมทั้ง น้ำมันเครื่องจากโรงงานรถไฟมักกะสันเป็นเวลานานหลายปี จึงทำให้บึงมักกะสันตื้นเขิน ประกอบ กับชุมชนต่างๆ ที่อยู่ใกล้บึงมักกะสัน ได้ทิ้งขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลลงในบึงมักกะสัน จึงเกิด ปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และการเน่าเสียของน้ำ ทั้งในด้านกลิ่นและแหล่งเพาะเชื้อโรค เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและทรงตระหนักถึงภายแห่งภาวะ มลพิษดังกล่าว ที่พสกนิกรของพระองค์ได้ประสบและจะมีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากมิได้รับการแก้ไข อย่างทันท่วงที จึงได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๒๘ ให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกัน ปรับปรุงบึงมักกะสัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการช่วยระบายน้ำและบรรเทาสภาพน้ำเสีย ในรูปแบบ ของเครื่องกรองน้ำธรรมชาติ โดยทรงเน้นให้ทำการปรับปรุงอย่างประหยัด และไม่ก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ประชาชน ซึ่งแนวพระราชดำริทรงให้ทำโครงการแบบง่ายๆ โดยการสูบน้ำจากคลอง สามเสนเข้าสู่บึงมักกะสันทางหนึ่ง แล้วให้สูบออกอีกทางหนึ่งเพื่อให้น้ำหมุนเวียน ส่วนภายใน บึงให้คงมีผักตบชวาอยู่ เพราะผัดตบชวาสามารถทำให้น้ำสะอาดขึ้นได้ ปัจจุบันบึงมักกะสันได้ กลายเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลายขนาดใหญ่ รวมทั้งพืชน้ำอื่น ๆ และผักตบชวา ที่อยู่ในบึงก็นำมาทำปุ๋ยหมัก เชื้อเพลิงและอุตสาหกรรมในครัวเรือน จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างใหญ่หลวงแก่ชาวไทยทั้งมวล
47
บึงพระราม ๙
บึงพระราม ๙ เป็นบึงขนาดใหญ่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ ๑๓๐ ไร่
ได้เกิดปัญหามลพิษจากการเน่าเสียของน้ำอย่างรุนแรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใย ในความเดือดร้อนของราษฎร จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข ด้วยการใช้เครื่องเติม อากาศลงไปในน้ำ เพราะการใช้วิธีการทางธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอในการบำบัด น้ำเสียให้ดีขึ้นได้ ซึ่งลักษณะของระบบการบำบัดน้ำเสียบึงพระราม ๙ ตามแนวพระราชดำริน ี้ เป็นระบบการใช้เครื่องจักรกลเติมอากาศ มาช่วยเพิ่มออกซิเจนละลายน้ำ เพื่อให้แบคทีเรียชนิดที ่ ใช้ออกซิเจนช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำได้ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยา เริ่มจากการ สูบน้ำเสียจากคลองลาดพร้าวที่อยู่ติดกับบึงพระราม ๙ เข้าไปบ่อเติมอากาศ ซึ่งจะมีการเติมอากาศ ด้วยเครื่องเติมอากาศตลอดเวลา น้ำเสียจะถูกกักเก็บในบ่อเติมอากาศนาน ๑๖ ชั่วโมง จากนั้น จะไหลไปยังบ่อกึ่งไร้อากาศ เพื่อบำบัดสารอินทรีย์ที่หลงเหลือจนกลายเป็นน้ำใสสะอาด แล้ว ระบายลงสู่คลองลาดพร้าวตามเดิม ซึ่งวิธีการบำบัดน้ำเสียระบบนี้ควบคุมดูแลได้ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีปัญหาในเรื่องกลิ่นเน่าเหม็น จึงนับเป็นพระปรีชาสามารถที่ส่งผลให้พสกนิกรทั้งหลายมี คุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี
48
การแก้ไขปัญหาน้ำเสียทางการเกษตร
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงตระหนักดีวา่ อาชีพทางการเกษตร บางครั้งมีปัญหาที่ขัดแย้งกันอย่างเช่น การทำนาเกลือสินเธาว์มีภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือมีผลกระทบต่อนาข้าว เนื่องจากผู้ทำนาเกลือปล่อยน้ำเค็ม จากนาเกลือหรือน้ำฝนที่ชะล้างลาน ตากเกลือ ไหลลงสู่ลำน้ำสาธารณะ ไปสู่พื้นที่ไร่นา ทำให้ผลผลิตข้าวที่ ปลู ก ลดลงได้ รั บ ความเสี ย หายเป็ น อย่างมาก นอกจากนี้แล้วน้ำเค็มจากนาเกลือ ยังไม่สามารถใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ แต่การ ทำนาเกลือก็เป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ทำนาเกลือ หากห้ามไม่ให้มีการทำจะเป็นที่ เดือดร้อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระราชทานพระราชดำริ ถึงแนวทางการแก้ไขแก่ ผู้ทำนาเกลือให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกในบริเวณ ใกล้เคียง ด้วยการให้ผู้ทำนาเกลือจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณลานตากเกลือ ขุดเป็นสระเก็บน้ำสำหรับ รองรับน้ำเค็ม ที่ปล่อยทิ้งจากลานตากเกลือทั้งหมดเพื่อรอการระเหยหรือไหลลงดิน น้ำเค็มก็จะ ไม่ไหลไปยังลำน้ำสาธารณะก่อความเดือดร้อนให้แก่นาข้าว ชาวนาข้าวกับชาวนาเกลือจึงอยู่ ร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอีก ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการทำนาเกลือก็มีน้ำที่สะอาดเพื่อการ อุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ สำหรับปัญหาในภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิง่ พืน้ ทีล่ มุ่ น้ำปากพนัง ซึง่ มีปญ ั หาเกีย่ วกับการเลีย้ ง กุ้งกุลาดำ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเพาะปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน พระราชดำริในการแก้ไข โดยให้กรมชลประทานปรับปรุงคลองระบายน้ำต่างๆ ตลอดจนขุดคลอง ขึ้นใหม่ ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกมีน้ำจืดใช้อย่างเพียงพอขณะเดียวกันก็มีการควบคุมน้ำจืดไม่ให้ มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำเค็ม เป็นผลดีต่อการเลี้ยงกุ้งและสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งปัญหาทั้งหลายที่เป็น ความเดือดร้อนของราษฎร ได้รับการแก้ไขให้หมดสิ้นไปด้วยพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชา สามารถในพระราชดำริแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรวงห่วงใยอาทรในความทุกข์ เดือดร้อนของพสกนิกรในทุกเรื่อง
49
เครื่องกลเติมอากาศ
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการบำบัด น้ำเสียเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบัน สภาพความเน่าเสียของน้ำในคูคลอง และ แหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ มีความรุนแรง มากยิ่งขึ้น ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนและมี ผลเสียต่อสุขภาพอนามัย จำเป็นต้องใช้ เครื่องกลเติมอากาศ เพื่อเพิ่มปริมาณ ออกซิเจน หรืออากาศลงในน้ำ เป็นการ บรรเทาความเน่ า เสี ย ของน้ ำ จึ ง ได้ พระราชทานรูปแบบของเครื่องกลเติมอากาศ ซึ่งเป็นแบบประดิษฐ์ที่เรียบง่าย ใช้งบประมาณ ไม่มาก หน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปประดิษฐ์เพื่อใช้งานได้โดยสะดวก นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา สนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว และร่วมกับกรม ชลประทานดำเนินการสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสีย ประเภทเครื่องเติมอากาศ ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่า กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องเติมอากาศแบบทุ่นลอย มีประสิทธิภาพ ในการถ่ายเทอากาศ สามารถลอยตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำในแหล่งน้ำเสีย และการ โยกตัวของทุ่นลอยในขณะทำงานจะผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำ ในระดับ ความลึกใต้ผิวน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันน้ำชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว นี้สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม และแหล่ง เกษตรกรรม เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น รวมทั้งการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ด้วยเหตุนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรเลขที่ ๓๑๒๗ ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตร เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๖ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติม อากาศเครื่องที่ ๙ ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร
การแก้ไข ปัญหาน้ำท่วม การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
จ
ากการทีป่ ระเทศไทยตัง้ อยูใ่ นเขตมรสุม ทำให้มีฝนตกชุกและปริมาณน้ำฝนสูง จนเกิด ปัญหาน้ำท่วม ในหลายพื้นที่เก็บทุกภาคเป็น ประจำทุกปี ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ ประสบภัยน้ำท่วมเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริ ในการแก้ไข ตามที่ทรงวิเคราะห์ลักษณะทาง กายภาพของพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพ ท้องที่ วิธีแรก คือ การก่อสร้างคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนาด ที่เหมาะสม ขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เป็นการป้องกันไม่ให้น้ำล้นตลิ่งไป ท่วมพื้นที่ต่างๆ ด้านใน นอกจากนี้เป็นการก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อให้น้ำไหลไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเลต่อไป ส่วนการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ เป็นมาตรการป้องกันน้ำท่วม ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่ง ปัจจุบันได้มีการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำตามพระราชดำริหลายแห่ง อาทิ โครงการลุ่มแม่ป่าสัก อันเนื่องมากจากพระราชดำริ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน จังหวัดนครนายก โดยแต่ละโครงการเมื่อสร้างเสร็จ นอกจากจะป้องกันน้ำท่วมในช่วงน้ำหลากได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีน้ำเพื่อ การเพาะปลูกในช่วงหน้าแล้งอีกด้วย ซึ่งวิธีการหลากหลายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระ ราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนั้นได้ผลเต็มที่ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ พสกนิกรทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง
51
การพัฒนาพื้นที่น้ำท่วม
ปั
ญ หาน้ ำ ท่ ว มพื้ น ที่ จั ง หวั ด ต่ า งๆ ทางภาคใต้ ข องประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นปัญหา ที่มีมานานแล้วและหลายครั้ง ได้ก่อให้ เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้ง ชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรตลอดจน สิ่ ง สาธารณู ป โภคเป็ น ผลเสี ย ต่ อ เศรษฐกิ จ ของประเทศ เนื่ อ งจาก ปริมาณน้ำฝนที่มีมากในช่วงเกิดมรสุม ไหลลงสู่ทะเลไม่ทัน เพราะไม่มีคลอง ระบายน้ำที่เพียงพอ นอกจากนี้แล้วยังมีปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าสู่พื้นที่การเกษตรอีกด้วย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบและศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้พระราชทาน พระราชดำริในการแก้ไข ด้วยการให้กรมชลประทานก่อสร้างเขื่อนดินปิดกั้นลำน้ำกะทูน ที่ตำบล กะทูน และปิดกั้นลำน้ำคลองดินแดง ตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเขื่อน ทั้งสองสามารถกักน้ำได้ประมาณ ๑๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ ยังมีโครงการบรรเทา อุทกภัยบ้านคีรีวง โครงการบรรเทาอุทกภัยแม่น้ำปากพนัง โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการบันทึกอุทกภัยบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และโครงการ บรรเทาอุกภัยอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การแก้ ไขปั ญ หาน้ ำ ท่ ว มตามโครงการพั ฒ นาและฟื้ น ฟู พื้ น ที่ ภ าคใต้ ที่ ป ระสบอุ ท กภั ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง ๗ โครงการ เมื่อดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้วจะช่วยบรรเทา อุทกภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและสงขลา และจังหวัดใกล้เคียงได้เป็น อย่างมาก เนื่องจากสามารถระบายน้ำฝนที่ตกลงมาสู่ทะเล ตามคลองระบายน้ำที่มีการขุดขึ้นใหม่ และคลองธรรมชาติที่ขุดลอกไม่ให้ตื้นเขินได้ในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งมีอ่างเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อ การเพาะปลูกในช่วงหน้าแล้งกว่า ๔ แสนไร่ ทำให้ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรจากภาวะ น้ำท่วม การขาดแคลนน้ำเพื่อการเพาะปลูก และปัญหาน้ำเค็มที่เกิดขึ้นหมดไป
52
แก้มลิงชุมพร
จั งหวัดชุมพร เป็นอีก
จั ง หวั ด หนึ่ ง ที่ ป ระสบปั ญ หา น้ ำ ท่ ว มเกื อ บทุ ก ครั้ ง ที่ มี ฝ นตก หนั ก และการท่ ว มแต่ ล ะครั้ ง ได้ ยั ง ความเสี ย หายให้ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น อ ย่ า ง ม า ก พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในความ เดือดร้อนของราษฎร จึงทรงหา วิธีที่จะแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นแก้มลิง ด้วยการขุดลอกหนองใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ และคลองต่างๆ ที่อยู่ใกล้หนองใหญ่ เพื่อระบายน้ำจากหนองใหญ่ไปลงทะเลในช่วงที่น้ำทะเลลด น้ำก็จะไม่ท่วมตัวเมืองชุมพร เพราะ สามารถที่จะระบายน้ำที่ท่วมไปเก็บกักไว้ที่หนองใหญ่ และนอกจากจะเป็นการป้องกันน้ำท่วมแล้ว ยังช่วยให้มีน้ำสำหรับใช้ในหน้าแล้งอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะพระราชทานพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหา น้ำท่วมจังหวัดชุมพรตามโครงการแก้มลิงแล้ว ยังพระราชทานเงินจากมูลนิธิชัยพัฒนา และมูลนิธ ิ ราชประชานุเคราะห์ เป็นเงินทดรองจ่ายในการขุดลอกคลองและหนองใหญ่ จำนวน ๑๘ ล้านบาท เนื่องจากทางราชการไม่มีงบประมาณสนับสนุนและหากไม่ดำเนินการ จังหวัดชุมพรจะต้องประสบ กับปัญหาน้ำท่วมอย่างที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว จังหวัดชุมพรก็ไม่มีน้ำท่วม อีกเลย ดังพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐ ว่า “....ถ้าเราไม่ทำ เชื่อว่าจะมีน้ำท่วมทั้งที่ทำการเพาะปลูุก สถานที่ราชการ หรือเอกชน ต้องเสียหายต้องเสียเงินมากกว่านั้นมาก ฉะนั้น การที่ลงทุน ๑๘ ล้านกว่า นึกว่าคุ้ม เพราะเมื่อ พายุ เข้ า มาฝนก็ จ ะตก แต่ ว่ า โดยที่ ไ ด้ เ อาน้ ำ ออกจากหนองใหญ่ ล งคลองที่ ขุ ด ทะลุ ไ ปได้ แ ล้ ว หนองใหญ่จึงรับน้ำที่ไหลมาไปลงทะเล ได้ตามหน้าที่ของหนองใหญ่ในฐานะที่เป็นแก้มลิง ลงท้าย ชุมพร ตัวเมืองชุมพร และชนบทข้าง ๆ ชุมพร น้ำจึงไม่ท่วมแม้จะมีพายุมาอย่างหนักก็ตาม ฉะนั้น ให้เห็นว่าการลงทุนนี้คุ้มค่า...”
53
ทฤษฎี แก้ปัญหาน้ำท่วม
จ
ากการเกิ ด ภาวะน้ ำ ท่ ว มขั ง กรุงเทพและปริมณฑล พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยเป็น อย่างยิ่ง ได้ทรงศึกษา ค้นคว้า เพื่อหา แนวทางในการแก้ไข และพระราชทาน พระราชดำริ ใ ห้ ห น่ ว ยงานต่ า งๆ ที่ เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ซึ่งได้แก่การ เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังออกสู่ทะเลโดย รวดเร็ว การสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ในเขตชุมชนกรุงเทพมหานคร การสร้างสถานีเก็บน้ำตามจุดต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อ ป้องกันน้ำท่วม การขยายทางน้ำหรือเปิดทางน้ำ ในจุดที่ผ่านทางหลวงหรือทางรถไฟ และการ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว ซึ่งสามารถแปรสภาพเป็นทางระบายน้ำได้ในคราวจำเป็น สำหรับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขัง ได้พระราชทานพระราชดำริให้ผันน้ำจาก ทางตอนเหนือ และทางด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ลงสู่ทางทิศใต้ไปลงทะเลเพื่อป้องกัน ไม่ ใ ห้ น้ ำ ไหลเข้ า มาท่ ว มในเขตชุ ม ชนและเขตเศรษฐกิ จ ส่ ว นการสร้ า งระบบป้ อ งกั น น้ ำ ท่ ว ม ประกอบด้วยการสร้างคันกั้นน้ำ ใช้ป้องกันน้ำในเขตพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ มิให้ไหลเข้าสู่พื้นที่ชุมชน ภายในคันกั้นน้ำ รวมทั้งการสร้างอาคารบังคับน้ำ เพื่อใช้ควบคุมน้ำในคลองต่าง ๆ โดยอาคารบังคับ น้ำดังกล่าวให้สร้างในคลองทุกสาย และสร้างอาคารระบายน้ำลงสู่ทะเลทางทิศใต้ด้วย นอกจากนี้ โปรดให้สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็น การเสริมโครงการป้องกันน้ำท่วม รวมถึงการขยายทางน้ำหรือเปิดทางน้ำ ในจุดที่ผ่านทางหลวง หรือทางรถไฟ การปรับปรุงขุดลอกทางน้ำตามธรรมชาติ ให้สามารถระบายน้ำได้อย่างสะดวก การกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำอื่นๆ ที่ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก และการใช้เครื่องยนต์ติด ใบพัดผลักน้ำผ่านท่อลอด หรือบริเวณจุดบังคับตามใต้สะพาน เพื่อให้การระบายน้ำมีปริมาณเพิ่ม ขึ้น จากพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาชาญแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทาน แนวทางในการป้องกันแก้ไข ทำให้ปัญหาน้ำท่วมขังกรุงเทพมหานครน้อยลงจนเกือบจะหมด สิ้นไป
54
โครงการแก้มลิง
เ นื่องจากสภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพ
มหานครมีลักษณะลุ่มต่ำ ทำให้การระบายน้ำที่ท่วมขังออก จากพื้นที่เป็นไปด้วยความล่าช้า ประกอบกับคูคลองต่างๆ ตื้นเขิน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ซึ่งเป็นสาเหตุ สำคัญของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานครและเขต ปริมณฑลเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี ๒๕๓๘ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผคู้ นทัง้ หลาย และมีผลเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระปริ วิ ต ก ห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง และทรงวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ของพื้ น ที่ ที่ ป ระสบปั ญ หาน้ ำ ท่ ว ม จึ ง ได้ พ ระราชทาน พระราชดำริให้มีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ตลอดจนปริมณฑลตามโครงการแก้มลิง ด้วยการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลไปตาม คลองในแนวเหนือและใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อ เก็บน้ำขนาดใหญ่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ระบายน้ำจากคลองลงสู่ทะเล โครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ โครงการแก้มลิง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครตามคลองสายต่างๆ โดยใช้คลองชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำ ส่วนโครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปลงคลองมหาชัย คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งโครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจาก พระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระปรีชาสามารถได้ช่วยให้พสกนิกร ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพ้นจากทุกข์ภัยที่เกิดจากภาวะน้ำท่วมขัง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น
55
การป้องกันน้ำท่วม
เ
มื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑ หน่วยงาน ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับน้ำและอากาศ ได้ประกาศ เตือนให้ทราบว่า ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ประเทศไทย จะมีความแห้งแล้งมาก และร้อนจัดที่สุดใน ช่ ว งปลายเดื อ นเมษายน เนื่ อ งจากฝนมี ปริ ม าณน้ อ ยและไม่ ต กต้ อ งตามฤดู ก าล ทำให้ ข าดแคลนน้ ำ ในการเพาะปลู ก และ อุปโภคบริโภค แต่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว กลับทรงมีพระราชดำริว่า ในช่วงต้นปี ๒๕๔๒ จะมีฝนตกเป็นปริมาณมากและติดต่อกันก่อนที่จะ เข้าสู่ฤดูฝน จนอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจะ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนและเป็นผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไว้ล่วงหน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทาน แนวทางในการดำเนินงานคามพระราชดำริแก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหาร ทุกเหล่าทัพ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ด้วยการปรับปรุงระบบการระบายน้ำจากทางด้าน ทิศเหนือ ให้ไหลลงสู่ทางทิศใต้ โดยไม่ผ่านกรุงเทพมหานครชั้นใน สำหรับการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ ได้มีการสร้างประตูกั้นน้ำ คันกั้นน้ำ การทำ ความสะอาดท้องคลองและการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลในคลองต่างๆ ตั้งแต่คลองรังสิตจนถึง คลองชายทะเล จนสามารถระบายน้ำจากทางด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร ไปตามคลอง ด้านตะวันออกให้ไหลลงออกสู่ทะเลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ในช่วงที่เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน เมื่อเดือนเมษายน และพฤษภาคม ๒๕๔๒ จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริที่ไม่คล้องตามประกาศของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำและอากาศ ที่เตือนให้ประชาชนระวังความแห้งแล้งที่จะเกิดขึ้น และ มีพระราชกระแสรับสั่งให้กองทัพร่วมกับส่วนราชการต่างๆ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหา น้ำท่วมไว้ล่วงหน้า รวมทั้งพระราชทานแนวทางในการดำเนินการตามพระราชดำริ เพื่อนำไป ปฏิบัติตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๑ จึงทำให้ภาวะน้ำท่วมขังกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากการที่เกิดฝนตกหนักในช่วง เดือนเมษายนและพฤษภาคม ๒๕๔๒ มีไม่มาก ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ พระราชทานแนวทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า กรุงเทพมหานครคงจะต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมขัง อย่างแน่นอน นับเป็นความโชคดีของปวงชนชาวไทยที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ มีสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงหยั่งรู้สภาพของดินฟ้าอากาศเป็นอย่างดี
ภูมิพลังแผ่นดิน ภูมิพลังแผ่นดิน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะ ทรงทุ่ ม เทพระราชหฤทั ย ในการพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ เพื่ อ ช่ ว ยให้ เ กษตรกรมี น้ ำ สำหรั บ การเพาะปลู ก อย่างเพียงพอ ทั้งในพื้นที่ที่แห้งแล้งและพื้นที่ที่มี น้ำท่วมขัง ทำให้ได้ผลผลิตตามความต้องการจน องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ขอ พระบรมราชานุ ญ าตทู ล เกล้ า ฯ ถวายเหรี ย ญ อกริคอลา เนื่องตากทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระ องค์แรกของโลก ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจใน การรักษาน้ำ เพื่อความมั่นคงด้านอาหารแล้ว ยังทรง ห่วงใยในเรื่องของดินที่ใช้ในการเพาะปลูก จึงได้ทรง ริเริ่มโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์โดย สมบูรณ์ ที่บริเวณหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรก จากนั้นได้ขยายไปยังพื้นที่ ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากทรงมีพระราชดำริว่า การใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวัง และไม่มีการบำรุงรักษาดิน ก่อให้เกิดการเสื่อมโทรม ถ้าหากไม่รีบแก้ไขย่อมส่งผลกระทบต่อการ พัฒนาประเทศอย่างมาก ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษา การพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างระบบอนุรักษ์ดิน
57 เป็นตัวอย่างในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การขยายพันธุ์พืชเพื่ออนุรักษ์และบำรุงดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส เพื่อศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ ในภาคใต้ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบที่ เหมาะสม ในการพัฒนาที่ดินต้นน้ำลำธารเป็นการรักษาดินให้มีความชุ่มชื่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่างคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี เพื่อพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งให้สามารถใช้ในการเพาะปลูก รวมทั้ง พระราชทานพระราชดำริในการปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรมด้วยสามเหตุต่างๆ ทั้งดินเปรี้ยว ดินเค็ม และดินทราย เพื่อให้พื้นที่ทีมีปัญหาในเรื่องดินทั้งหลาย สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ เต็มที่ จึงทรงเป็นภูมิพลังแผ่นดินอย่างแท้จริง
การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับดินเพื่อการเกษตร
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัว ทรงห่วงใยที่ดินที่ใช้ในการ เกษตรเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากดินที่ เหมาะสมต่ อ การเพาะปลู ก ได้ ล ด น้อยลงเป็นลำดับ จากการที่ใช้ดิน อย่างผิดประเภทไม่ถูกหลักวิชาการ มีการนำเอาที่ดินที่เหมาะสมกับการ ปลู ก พื ช ชนิ ด หนึ่ ง ไปปลู ก พื ช อี ก ชนิดหนึ่ง ทำให้ได้ผลผลิตต่ำแต่ต้องลงทุนสูง นอกจากนี้ การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ดินขาดความชุ่ม ชื้นและหน้าดินถูกชะล้างพังทลาย ดินมีคุณภาพไม่เหมาะสม ซึ่งมีทั้งดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินทราย และดินพรุ ตลอดจนปัญหาเกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน จึงบุกรุกป่าสงวนเพื่อครอบครองที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานแนวพระราชดำริ ในการพัฒนาที่ดินทาง การเกษตรด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูดินโดยวิถีธรรมชาติ โดยให้กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการ
58 วางแผน ในการใช้ที่ดินในพื้นที่ลาดชันด้วยการปลูกต้นไม้ เพื่อให้ผืนดินบริเวณนั้นเกิดความชุ่มชื้น ส่วนที่ดินซึ่งมีการขุดตักและไถหน้าดินจนหมดไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ อย่างเช่น ที่ดินบริเวณเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งในอดีตเป็นดินที่เสื่อมโทรม ปลูกอะไรไม่ได้ ปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยวิธีการตาม ธรรมชาติที่มาจากแนวพระราชดำริ นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระราชดำริให้ทดลองปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายหน้าดิน เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจาย ลงไปในดินตรงๆ เป็นแผงเหมือนกำแพงช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดิน ทำให้หญ้าแฝก มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ดินเป็นอย่างมาก ส่วนดินที่มีปัญหาเปรี้ยวจัด อย่างเช่น พื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ศึกษาปรับปรุงเพื่อแก้ไขตามวิธ ี การแกล้งดิน จนทำให้ดินที่เคยเปรี้ยวจนไม่สามารถปลูกพืชอะไรได้ กลับปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ ได้ผลเป็นอย่างดี
การอนุรักษ์ดิน
จ
ากการที่ ป ระเทศไทยเป็ น ประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตร และผลผลิ ต ทางการเกษตรนำรายได้ มาสู่ประเทศไทยมากที่สุด แต่การใช้ ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกอย่างขาดความ ระมัดระวังและไม่มีการบำรุง ก่อให้เกิด ความเสื่ อ มโทรมทั้ ง ทางด้ า นเคมี แ ละ กายภาพ ผลผลิตจึงลดต่ำลง เกษตรกร ประสบกับปัญหาความยากจน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยและมีพระราชดำริใน การแก้ไข โดยได้ทรงเริ่มโครงการจัดพัฒนาที่ดินหุบกะพงตามพระราชประสงค์ เมื่อปี ๒๕๑๑
59
เป็นแห่งแรก ด้วยการให้ส่วนราชการต่างๆ เข้าไปพลิกผืนดินที่แห้งแล้งขาดความอุดมสมบูรณ์ แห่งนี้ ให้สามารถเพาะปลูกพืชต่าง ๆ ได้ และจัดให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยเพื่อทำกินต่อไป หลังจากงานจัดพื้นที่ดินในระยะแรกนั้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขยาย ขอบเขตงานพัฒนาที่ดินด้านอื่นๆ ออกไป โดยทรงแนะให้เกษตรกรทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อ อนุรักษ์บำรุงรักษาดินวิธีการส่วนใหญ่เป็นวิธีการตามธรรมชาติที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้ ส่วนดินที่มีสภาพไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกทั้งดินเปรี้ยว ดินเค็ม และดินพรุ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไข รวมทั้งดินที่เสื่อมโทรมพังทลายจากการชะล้าง ที่เกิดขึ้น ด้วยการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาในการทดลองวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ของดิน จึงทำให้เกษตรกรมีดิน ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมในการเพาะปลูก จากแนวพระราชดำริแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ ดินเพื่อแก้ไข ความเสื่อมโทรมของดิน สภาพธรรมชาติของดินที่ไม่เหมาะสม การใช้ที่ดินผิดประเภท ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรดินอย่างเหมาะสม เป็นผลให้เกษตรกรทั่วประเทศมี ความรู้ความเข้าใจ ในการพัฒนาปรับปรุงบำรุงดินจนทำให้พื้นที่เก็บทุกแห่งมีความชุ่มชื้นและ อุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกที่ให้ผลผลิตสูง ซึ่งทำให้มีรายได้และฐานะความเป็นอยู่ของ เกษตรกรดีขึ้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
60
หญ้าแฝก
ส ภาพความเสื่ อ มโทรมของทรั พ ยากรดิ น
ส่วนใหญ่เกิดจากกรณีผิวหน้าดินถูกกกัดเซาะจากฝน ที่ ต กลงมา และน้ ำ ที่ ไ หลบ่ า หน้ า ดิ น เป็ น จำนวนมาก ทำให้หน้าดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งยังเกิด ปัญหาดินพังทลาย ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อพื้นที่เพาะ ปลูก ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมี พระราชดำริ ที่ จ ะหาวิ ธี แ ก้ ไขเพื่ อ ป้ อ งกั น การชะล้ า ง พังทลายของดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร และทรงตระหนักว่า หญ้าแฝกซึ่งเป็นพืชตระกูลหญ้าขึ้น เป็นกอแน่น มีคุณสมบัติในการยืดเหนี่ยวดิน สามารถ ลดหรือป้องกันการกัดกร่อนของดินได้เป้นอย่างดี รวมทัง้ ยังเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ที่จะช่วยกรองตะกอนดิน และ รักษาหน้าดินได้เป็นอย่างดี จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการศึกษา ค้นคว้าวิจัย รวมทั้งการสำรวจ และเก็บตัวอย่างหญ้าแฝกที่มีอยู่ในประเทศไทยมารวบรวมจัดทำ เป็นข้อมูลเพื่อทดลองปลูกและเผยแพร่ต่อไป โดยเริ่มมาตั้งแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ จากการที่ หญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชตระกูลหญ้าที่มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทยมาช้า นานแล้ว แต่ไม่มีการสนใจที่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก การป้องกันและกำจัด ศัตรูพืช รวมทั้งการนำมาใช้สอยในประโยชน์อื่นๆ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝกมาศึกษาและทดลองปลูก จึงทำให้การปลุกหญ้าแฝกตามหลักวิธ ี การและการใช้พันธุ์ โดยถูกต้องตามสภาพดินและอากาศกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ก่อให้ เกิดผลดีแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนประโยชน์ของการเกษตรอย่างแท้จริง จนกระทั่ง ธนาคารโลกได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพราก หญ้าแฝกชุบสำริด สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทย ได้รับการ ตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก
61
ทฤษฎีแกล้งดิน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เ นื่องจากภาคใต้ของประเทศไทย เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่น้อยกว่าทุกภาคของประเทศ
นอกจากนี้แล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งกว่า ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่พรุ ซึ่งมีน้ำแช่ขังอยู่ตลอดทั้งปี ถึงแม้จะ มีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุได้ แต่ก็ไม่สามารถที่จะปลูกพืชอะไรได้ เนื่องจากดินในพื้นที่พรุได้ แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยว ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขโดยวิธีแกล้งดิน ด้วยการให้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหน่วยงาน ดำเนินการในการ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินกำมะถัน ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๒๗ เริ่มจากวิธีการแกล้งดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เพื่อเร่งปฏิกิริยา ทางเคมีของดินซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารประกอบกำมะถัน ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศและ ปล่อยกดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจนถึงเปรี้ยวจัดสุดขีด หลังจากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุง ดินดังกล่าว ให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ เมื่อมีการดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ แกล้งดิน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินแล้ว ปรากฏว่าดินซึ่งไร้ประโยชน์ ปลูกพืชอะไรไม่ได้นั้น สามารถที่จะปลูกข้าว พืชล้มลุก พืชไร่และผลไม้ต่างๆ ได้ทำให้ราษฎรใน ภาคใต้ที่ประสบความเดือดร้อน มีที่ดินทำกินและปลูกพืชต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เนื่องมาจาก พระปรีชาญาณอันชาญฉลาด แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของอาณาประชาราษฎร์ในทุกเรื่อง
62
พลิกฟื้นผืนดินที่เสื่อมโทรม
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัว ทรงได้รับการน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน ๗๐๐ ไร่ บริเวณ ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นที่ราบเชิงเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นฟาร์มปศุสัตว์ มีการ ใช้ ดิ น อย่ า งผิ ด วิ ธี ท ำให้ ห น้ า ดิ น เสี ย หายจนหมด ดิ น ขาดความ อุดมสมบูรณ์จนไม่สามารถปลูกต้น ไม้ หรือพืชพันธุ์อะไรได้ เกิดสภาพความแห้งแล้งโดยทั่วไป ส่งผลกระทบต่อราษฎรบริเวณใกล้เคียง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร จึงได้พระราชทาน พระราชดำริในการปรับปรุงที่ดินเสื่อมโทรมแห่งนี้ ให้กลับมีความสมบูรณ์สามารถใช้ในการเพาะ ปลูกได้ รวมทั้งทรงแนะนำให้ปลูกหญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดินลำน้ำ หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริในการปรับปรุงพื้น ที่แห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ หน่วยงานต่างๆ ได้สนองพระราชดำริด้วยการศึกษา ทดลอง เพื่อหาวิธีการปรับปรุงดินในพื้นที่ โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้กลับนำมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรได้อีก และเป็นแนวทาง ในการปรับปรุงดินให้แก่ราษฎรที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ตลอดจนเป็นรูปแบบสำหรับใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ซึ่งมีปัญหาคล้ายๆ กับที่ดินแห่งนี้ และการปลูกสร้างสวนป่าบนภูเขา ที่ถูกทำลายให้มีความสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตรพื้นที่โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มทรงพอพระราชหฤทัย ที่หน่วยงานต่างๆ ได้สนองพระราชดำริทำให้ดินที่เคยแห้งแล้งเพาะปลูกอะไรไม่ได้ มีความอุดม สมบูรณ์ชุ่มชื้น เหมาะแก่การเพาะปลูกพื้นที่ราบเชิงเขาและบนภูเขาเขียวชอุ่มด้วยไม้ใหญ่ ราษฎร ในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียง ทำการเกษตรอย่างได้ผลมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี ้ เนื่องมาจากพระปรีชาญาณและสายพระเนตรอันกว้างไกลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพลิกฟื้นผืนดินเขาชะงุ้มที่เสื่อมโทรม ให้กลับมีความสมบูรณ์เหมือนดังเดิม
ทรัพยากรธรรมชาติ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสน พระราชหฤทัยในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาประเทศ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้เน้นการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจมีสำคัญ ทำให้มีการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างฟุ่มเฟือย โดย มิได้มีการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย ให้ ก ลั บ คื น สู่ ส ภาพเดิ ม จนในที่ สุ ด ทรั พ ยากร ธรรมชาติได้เสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัด โดย เหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การพัฒนาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ จะมีผล โดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งที่จะ ให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศใน ระยะยาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระราชหฤทัยในการทำนุบำรุง ปรับปรุงสภาพ ของทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ และประมง ให้อยู่ในสภาพที่มีผล ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด ดังนั้น จึงได้มีการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พื้นที ่
64 ต้นน้ำลำธาร โครงการป่ารักน้ำ โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการ หญ้าแฝก และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นการฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิม รวมทั้งส่งเสริมให้ราษฎรรู้จักการใช้ทรัพยากรที่มีอยู ่ อย่างจำกัดอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงห่วงใยในเรื่องคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขยะและน้ำเสีย ในกรุงเทพมหานครและเมืองหลักในภูมิภาคต่างๆ ที่เกิดจาก โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไปสู่การผลิต ที่มีภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็น หลัก มีผลทำให้ชาวชนบทหันเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาด้านความเสื่อมโทรม ของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้น โครงการกำจัดน้ำเสียในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ รวมทั้งโครงการกำจัดขยะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงได้เกิดขึ้น
การใช้ประโยชน์จากขยะ
ข
ยะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านมลพิษทางน้ำ กลิ่น การแพร่กระจายของโรค การเกิดเพลิงไหม้จากการสะสมของแก๊สในขยะ ตลอดจนทำลาย ทัศนียภาพที่สวยงาม ปัจจุบันเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร จะประสบกับปัญหา อันเนื่องมาจากขยะเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถกำจัดขยะได้หมดในเวลารวดเร็ว จึงเกิด
65
การสะสมขึ้นทุกวัน ถึงแม้จะมีการเร่งรัดการเก็บและกำจัดขยะ รวมทั้งนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ก็ไม่ทันการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม พระบาทสมเจพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยปัญหาดังกล่าวที่มีผลกระทบต่อประชาชนและ สิ่งแวดล้อม จึงได้พระราชทานแนวทางการศึกษา การกำจัดขยะแบบครบวงจรตามพระราชดำริ ด้วยการแบ่งพื้นที่ฝังกลมขยะออกเป็น ๒ ส่วน โดยส่วนแรกให้ใช้แก๊สจากขยะให้หมดก่อน จากนั้น นำขยะไปร่อนแยกส่วนประกอบ แล้วนำไปเผาเพื่อเป็นเชื้อเพลิง เถ้าถ่านที่เกิดขึ้นนำไปผสมกับ วัสดุที่เหมาะสมอัดแน่นเป็นแท่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง สำหรับส่วนที่ ๒ ขณะ ที่ดำเนินการร่อนแยกขยะในพื้นที่ส่วนแรก ก็ใช้ประโยชน์จากแก๊สควบคู่กันไปก่อนเมื่อแก๊สหมด แล้ว จึงดำเนินการลักษณะเดียวกับส่วนแรก ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ฝังกลมขยะหมุนเวียนตลอดไป นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินจากมูลนิธิชัยพัฒนา จัดตั้ง เป็นกองทุนบำบัดและใช้ประโยชน์จากขยะ เพื่อดำเนินการโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊ส หลุมขนาด ๖๕๐ กิโลวัตต์ ศึกษาวิธีการคัดแยกขยะและนำขยะไปเผา ตลอดจนนำความร้อนที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการศึกษาวิธีการนำเถ้าขยะไปผสมกับวัสดุที่เหมาะสมบางชนิด เพื่อ ประโยชน์ในการก่อสร้าง ขณะที่มีหลายหน่วยงานได้ร่วมกันศึกษา ค้นคว้าและจัดวางโครงการ เพื่ อ ใช้ ป ระโยชน์ จ ากขยะตามแนวพระราชดำริ เพื่ อ จะเป็ น ประโยชน์ แ ก่ ป ระเทศชาติ แ ละ ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
66
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เ
รื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งเกิดจากการ พัฒนาความเจริญก้าวหน้า เพราะการพัฒนายิ่งก้าวหน้า เท่ า ใด ปั ญ หาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ สื่ อ มโทรม และสภาวะมลพิ ษ จะทวี ค วามรุ น แรงมากขึ้ น เท่ า นั้ น ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาดังกล่าว เช่นเดียวกับ ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เนื่องจากการพัฒนาประเทศใน ช่วงที่ผ่านมา ได้ให้ความสำคัญกับอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิ จ โดยการนำเอาทรั พ ยากรธรรมชาติ มาใช้ ป ระโยชน์ แ ต่ ไ ม่ ไ ด้ มี ก ารวางแผนการจั ด การที่ เหมาะสมรองรั บ ปั ญ หาที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ทำให้ ท รั พ ยากร ธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมก่อให้เกิดมลพิษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย และทรงห่วงใย ในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นอย่าง มาก ทรงเตือนทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พร้อมกับทรงมีพระราชดำริ ในการแก้ไข ด้วยการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยในด้านของดิน ทรงเริ่มโครงการ จัดพัฒนาที่ดินหุบกะพงตามพระราชประสงค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เพื่อพลิกผืนแผ่นดินที่แห้งแล้ง ขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้สามารถเพาะปลูกพืชต่างๆ ได้ จากนั้นทรงแนะให้เกษตรทดลองใช้วิธ ี การต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์บำรุงรักษาดิน สำหรับในเรื่องของน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นการอนุรักษ์และพัฒนา แหล่งน้ำเป็นพิเศษเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำสำหรับการเพาะปลูกอย่างพอเพียง โดยไม่ไปทำลายสภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติ นอกจากนี้ ปัญหาน้ำเน่าเสียก็ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข ส่วนป่าไม้ที่มีความสำคัญต่อการเกิดปัญหาฝนแล้งจากการทำลายป่า ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่น ที่จะแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาป่าไม้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม และจากแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้กล่าวมานี้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความห่วงใย ต่อสภาวะความ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ซึ่งส่งผลกนะทบต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า
67
ห้วยองคต
จ
ากการที่ พื้ น ที่ ป่ า สงวนแห่ ง ชาติ ในเขตตำบลสมเด็จเจริญ กิ่งอำเภอหนอปรือ จั ง หวั ด กาญจนบุ รี ซึ่ ง เคยมี ค วามอุ ด ม สมบู ร ณ์ ด้ ว ยทรั พ ยากรธรรมชาติ ป่ า ไม้ รวมทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ และ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าซึ่งหายากนานาชนิด ได้ถูกบุกรุกทำลายทั้งจากนายทุน ตลอดจน ราษฎรทีย่ ากจนเข้าไปแผ้วถางเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย และทำกัน ทำให้ป่าแห่งนี้ถูกทำลายลงอย่าง รวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้พยายาม ที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบและทรงตระหนักอย่างถ่องแท้ถึงสหภาพ ปัญหา จึงมีพระราชดำริที่จะให้ราษฎรอยู่อาศัยในป่าตามเดิม ขณะเดียวกันก็ให้มีการอนุรักษ์ ป่าไม้นั้นให้คงสภาพในลักษณะพึ่งพาและเกื้อหนุนกัน ไม่ทำลายซึ่งกันและกัน พร้อมกับได้ พระราชทานชื่อโครงการนี้ว่า โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีแนวทาง การพัฒนาดังนี้ สำหรับพื้นที่ป่าสงวนจำนวน ๒๐,๖๒๕ ไร่ ที่ราษฎรกว่า ๘๐๐ ราย บุกรุกเข้าไป ถือครองเพื่อทำกินและอยู่อาศัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ กับเงินจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน ๘๐ ล้านบาท สนับสนุนในการจัดสรรพื้นที่ ทำกินและอยู่อาศัยให้แก่ราษฎรเหล่านี้ โดยจัดแบ่งพื้นที่อย่างเป็นระบบ ซึ่งมีทั้งพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ และพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่า โดยราษฎร จะได้ที่ดินทำกิน และอยู่อาศัยครอบครัวละ ๘ ไร่ นอกจากนี้ได้มีการจัดระบบชลประทาน เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค จัดสร้างสิ่ง สาธารณูปโภค โรงเรียน สถานีอนามัย ตลอดจนส่งเสริมการประกอบอาชีพ ตามความรู้ความ ต้องการและความสามารถของราษฎร ซึ่งการดำเนินงานพัฒนาที่ครบวงจรดังกล่าว ส่งผลให้ ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความสมดุลระหว่าง ธรรมชาติกบั มนุษย์ ให้ดำรงอยูอ่ ย่างยัง่ ยืนสมดังพระราชปณิธานแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อความผาสุกของอาณาประชาราษฎร์
68
เขานางพันธุรัต
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เมื่อ ทรงทราบว่า เขานางพันธุรัต หรือ เขาเจ้าลายใหญ่ ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนและหินดินแดน ตั้งอยู่ที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นเขาที่มีมานานและเกี่ยวกับตำนานวรรณคดีเรื่อง สังข์ทอง รวมทั้ง เป็นที่หมายสำคัญในการเดินเรือทะเล ในส่วนที่เป็นแท่งหินเรียกว่า โกศนางพันธุรัต ได้พังทลายมา เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗ จากการทรุดตัวของหิน รวมทั้งมีแนวโน้มที่เขาลูกอื่นบริเวณนี้จะ พังลงมา ถ้าหากไม่มีการป้องกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการฟื้นฟูพื้นที่บริเวณที่มี การทรุดตัวโดยการปลูกต้นไม้ เพื่อป้องกันการพังทลายที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากเป็น สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวรรณคดี ซึ่งกองทัพภาคที่ ๑ ได้ร่วมกับส่วนราชการ ต่างๆ ที่เดี่ยวข้องจัดทำโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูเขานางพันธุรัต (เขาเจ้าลายใหญ่) อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ด้วยการปลูกพืชคลุมดินการนำเมล็ดพืชขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไป โปรยในพื้นที่สูงๆ ตลอดจนการปลูกป่าบริเวณเขานางพันธุรัต นอกจากนี้ ได้มีการจัดจั้งวนอุทยานเขานางพันธุรัต และจัดทำแผนแม่บทเพื่อให้มีการฟื้นฟู เขาแห่งนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และกำหนดมาตรการในการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จาก พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูเขานางพันธุรัต ทำให้เขา แห่งนี้ที่มีความสำคัญทางด้านวรรณคดี เป็นสถานที่ที่ผู้คนโดยทั่วไปรู้จักกันมาช้านาน และเป็น แหล่งธรรมชาติที่สวยงามดำรงอยู่ต่อไป นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
69
อาหารช้างป่า
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึ ง ความเดื อ ดร้ อ นของ ราษฎร ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบ เชิ ง เขา อำเภอกุ ย บุ รี จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ โดยเฉพาะบ้ า น รวมไทย บ้านพุบอน และบ้านย่านซื่อ ที่ส่วนใหญ่ทำไร่ สับปะรด ได้ถูกช้างป่า ทำลายสั บ ปะรดที่ ป ลู ก ไว้ เ สี ย หาย เป็ น จำนวนมาก ขณะเดี ย วกั น ทรง สลดพระราชหฤทั ย ต่ อ การเสี ย ชี วิ ต ของช้างป่า จากการกินสารฆ่าแมลงชนิดร้ายแรงในแหล่งน้ำของราษฎร รวมทั้งการถูกยิงด้วย อาวุธปืน และเผาด้วยยางรถยนต์ จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการช่วยเหลือ เพื่อแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไป สำหรับพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเกี่ยวกับโครงการ อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี ได้แก่ การป้องกันมิให้มีการบุรุกพื้นที ่ ป่าสงวนเพิ่มขึ้น การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรที่อาศัยอยู่เดิม ทั้งในด้านแหล่งน้ำ คุณภาพ ของดิน สิ่งสาธารณูปโภค สุขภาพอนามัย การประกอบอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ ใน ลักษณะพออยู่พอกิน ปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการเมตตาต่อสัตว์ป่า และอนุรักษ์ป่าไม้ ขณะเดียวกัน ก็ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้คืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนจัดหาแหล่งน้ำและปลูกพืชที่เป็นอาหาร ของช้างป่า เพื่อป้องกันช้างป่าที่อาศัยอยู่ในป่ากุยบุรีประมาณ ๑๐๐ ตัว ซึ่งขาดแคลนอาหารและ น้ำลงมากินพืชไร่ที่ราษฎรปลูกไว้ จนถูกฆ่าตายดังกล่าว โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี อันเนื่องมาจากพระดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แก่ การปลูกป่าทั้งการปลูกทางพื้นดิน และการโปรยเมล็ดพันธุ์พืช ทางอากาศ การปลูกพืชที่เป็นอาหารของช้างป่า ในพื้นที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ และการทำแหล่ง น้ำธรรมชาติเพื่อให้ช้างป่ากินกว่า ๕๐ แห่ง การดำเนินงานทั้งหมดเป็นการป้องกันไม่ใช้ช้างป่ามา ทำลายพืชไร่และแหล่งน้ำของราษฎร ซึ่งจากการดำเนินงานตามโครงการตั่งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ปรากฏว่าราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยไม่มีช้างป่ามารบกวนใน ขณะที่ช้างป่าก็มีอาหารและน้ำกินอย่างพอเพียง ทำให้คนและช้างป่าอยู่ร่วมกันได้ไม่เบียดเบียนกัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
การปลูกป่า
ทฤษฎีการปลูกป่า
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงห่ ว งใยใน ปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายาม ค้นหาวิธีนานาประการ ที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ใน ประเทศไทยให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องและถาวรโดยวิธีการ ที่เรียบง่าย และประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็น การส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติ ดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชพระราชดำริไว้หลายวิธีการ อาทิ ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ด้วยการทิ้งป่าเอาไว้ไม่ต้องไป ทำอะไร ป่าจะเจริญเติบโต ขึ้นมาเองตามธรรมชาติ โดย คุ้มครองไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ พระราชทานพระราชดำริให้มีการปลูกป่าในที่สูง โดยทรง แนะนำวิธีการดังนี้ คือ ใช้ไม้จำพวกที่มีเมล็ดทั้งหลายขึ้นไป ปลูกบนยอดที่สูง เมื่อไม้นั้นโตแล้วออกฝักออกเมล็ดก็จะ ลอยตกลงมาแล้วงอกในที่ต่ำต่อไป เป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ รวมทั้งทรงให้ปลูกป่าต้นน้ำ ลำธาร โดยทรงเสนอแนวทางปฏิบัติว่าปลูกต้นไม้ที่ขึ้นอยู่เดิม ด้วยการศึกษาว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมี อะไรบ้าง แล้วปลูกแซมหรือทดแทนตามรายการชนิดต้นไม้ที่ได้ศึกษามา และให้งดปลูกไม้ผิดแผก จากถิ่นเดิม โดยไม่นำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกถ้าหากยังไม่ได้มีการศึกษาอย่าง แน่ชัดเสียก่อน
71 สำหรับการปลูกป่าทดแทนเป็นวิธีหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน แนวพระราชดำริให้นำไปปฏิบัติเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ โดยได้พระราชทานคำแนะนำ ให้มีการปลูกป่าทดแทนตามสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่ การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม การปลูกป่าทดแทน ตามไหล่เขา บริเวณต้นน้ำลำธาร อ่างเก็บน้ำ บนยอดเขา รวมทั้งการปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำและ แหล่งน้ำ การปลูกป่าโดยให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วม และการปลูกป่าโดยให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วม และการปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า
การปลูกป่า ๓ อย่าง
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงห่วงใยในเรื่องของป่าไม้ และมีพระราชดำริ ให้มีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้เพื่อเป็นการอนุรักษ์แล้ว ยังทรงห่วงใยในราษฎรที่ต้องใช้ไม้ในการดำรง
72 ชี วิ ต จึ ง ได้ ท รงแนะนำการปลุ ก ป่ า ในเชิ ง ผสมผสาน ทั้งในด้านการเกษตรวนศาสตร์และ เศรษฐกิจสังคมในลักษณะของป่า ๓ อย่าง โดยมี พระราชดำรัสว่า ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะ ปลูกแบบป่าใช้ไม้หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง และ ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งการปลูกป่า ๓ อย่างนี้ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อ แล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อย่างที่ ๔ ซึ่งเป็น ข้ อ สำคั ญ คื อ สามารถช่ ว ยอนุ รั ก ษ์ ดิ น และ ต้นน้ำลำธารด้วย พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ได้ มี พระราชดำรัสเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของ การปลูกป่า ๓ อย่าง ว่า การปลูกป่า ถ้าจะให้ ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้และไม่ไปทำลาย ป่าไม้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ ๓ อย่าง แต่มีประโยชน์ ๔ อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหลตามร่องห้วย เพื่อรับน้ำฝน อย่างเดียว ส่วนประโยชน์ที่ ๔ คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ พร้อมกับพระราชทานพระราชดำริว่า การปลุกป่าสำหรับใช้เป็นฟืน ซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ จะต้องใช้ระบบหมุนเวียนและ มีการปลูกป่าทดแทน เพื่อให้มีไม้มีฟืนสำหรับใช้ตลอดไปโดยไม่ขาดแคลน พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ตามโครงการปลูกป่า ๓ อย่างนี้ ส่วนราชการต่างๆ ได้ นำไปดำเนินการสนองพระราชดำริ โดยได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งนำมาทำฟืนเผา ถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้างและหัตถกรรม ซึ่งการปลูกป่า ๓ อย่างตามพระราชดำรินี้ นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้แล้วยังเป็นประโยชน์แก่ราษฎรและเป็นผลดีทางด้านเศรษฐกิจ อีกด้วย ประปรีชาสามารถแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ยังประโยชน์สุขให้แก่อาณา ประชาราษฎร์อย่างแท้จริง
73
ป่าชายเลน
ป่
าชายเลน เป็นป่าที่เกิดขึ้นตาม ชายฝัง่ ทะเลและปากแม่นำ้ ของประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการบุกรุกทำลายป่าชายเลน เป็ น จำนวนมากเพื่ อ ทำนากุ้ ง นาเกลื อ แห่ ง อุ ต สาหกรรม การเกษตรกรรม บางประเภทตลอดจนการสร้างท่าเทียบ เรือและถนน ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนลดลง อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ป่าชายเลน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ชายเลน เนื่องจากทรงเห็นว่าป่าชายเลนมี ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย รวมทั้งต้นโกงกางเป็นไม้ชายเลนที่ แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก หากทำลายจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง จากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังกล่าว จึงมีโครงการพัฒนาและฟื้นฟู ป่าชายเลนเกิดขึ้นหลายโครงการ โดยโครงการแรกเป็นการปลูกป่าชายเลน ป่าพระราชทาน มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในจังหวัดสงขลาและปัตตานี ซึ่งแบ่งเป็นโครงการย่อย ๓ โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและสนับสนุนการจัดระเบียบที่อยู่อาศัยของชุมชน ตลอดจนส่งเสริมให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกป่าชายเลน และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับโครงการที่ ๒ เป็นโครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยมีเป้าหมายที่จะให้ทุกฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประโยชน์ของป่า ชายเลนและร่วมมือกัน ในการรักษาป่าชายเลนไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป ส่วนโครงการที่ ๓ เป็นโครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูป่าชายเลน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อศึกษาและค้นหา แนวทางในการพัฒนาฟื้นฟูป่าชายเลน ให้กลับคืนสู่สภาพที่อุดมสมบูรณ์ทฤษฎีการพัฒนาป่า ชายเลนอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นหนึ่งในพระมหา กรุณาธิคุณ ที่พระราชทานเพื่อความผาสุกแก่แผ่นดินและพสกนิกรอย่างแท้จริง
74
ป่าพรุ
ป่
าพรุ เป็นป่าไม้ทึบซึ่งเหลืออยู่เพียงแห่งเดียว ในภาคใต้ของไทย มีลักษณะเด่น คือ เป็นป่าดงดิบที่มี น้ำท่วมขังทั่วทั้งบริเวณตลอดทั้งปี แต่เนื่องจากราษฎร ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าพรุอย่างไม่ถกู ต้องตาม หลักวิชากร ทำให้พื้นที่ป่าพรุบางแห่งเสื่อมโทรมจนไม่ สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป ก่อให้เกิดผลกระทบ อย่ า งกว้ า งขวางแก่ ร าษฎรที่ อ าศั ย อยู่ ร อบพื้ น ที่ ป่ า เพราะดินมีลักษณะเป็นดินเปรี้ยวไม่สามารถเพาะปลูก พืชอะไรได้ ถึงปลูกได้ก็ให้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้แล้ว ในหน้ามรสุมน้ำจะไหลบ่ามาท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และที่ ทำกินของราษฎร เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบ ถึ ง ความเดื อ ดร้ อ นของราษฎร และทรงระหนั ก ว่ า ป่าพรุเป็นพื้นที่ที่สำคัญต่อการกินดีอยู่ดีของราษฎรรอบพื้นที่ป่าพรุ อีกทั้งยังเป็นอ่างเก็บน้ำ ธรรมชาติที่ชะลอการไหลบ่าของน้ำจากเทือกเขาต่างๆ ก่อนระบายลงสู่ทะเล จึงได้พระราชทาน พระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมกันศึกษาหาแนวทางแก้ไข โดยมีศูนย์การศึกษาการพัฒนา พิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์กลางการประสานงานในการดำเนินการ ซึ่งได้มี การกำหนดเขนการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่ป่าพรุในจังหวัดนราธิวาส ที่มีป่าพรุใหญ่ที่สุดเป็นพื้นที่ เกือบ ๓,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ ออกเป็น ๓ เขต สำหรับเขตที่ ๑ เป็นเขตสงวน เป็นเขตที่ดำเนินการสงวนรักษาป่าไม้ เพื่อให้สภาพแวดล้อม มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ซึ่งเขตสงวนนี้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอตากใบ สุไหง-โกลก ส่วนเขตที่ ๒ เป็นเขตอนุรักษ์ อยู่ในเขตอำเภอตากใบ สุไหงปาดี และสุไหง-โกลก เป็นพื้นที่ที่ถูกทำลายไปแล้ว เป็นส่วนใหญ่ จึงต้องมีการฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าดังเดิม เขตที่ ๓ เป็นเขตพัฒนา พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เขต อำเภอเมือง ยีงอ และบาเจาะซึ่งสภาพดินเป็นดินเปรี้ยวและน้ำมีสภาพความเป็นกรดจัด จึงต้อง มีการพัฒนา ปัจจุบันป่าพระได้มีการพัฒนาฟื้นฟูจนใช้ประโยชน์ได้อย่างอเนกประสงค์ ตาม พระราชดำริแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานเพื่อความผาสุกของ อาณาประชาราษฎร์
75
ป่าเปียก
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรง ตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า อเนกอนั น ต์ ข องน้ ำ เป็ น อย่างยิ่ง ทรงคำนึงว่าสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อม ของมนุษย์นั้น จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หาก รู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ จึงได้มี พระราชดำริป่าเปียก เพื่อป้องกันไฟป่าขึ้นจาก หลั ก การที่ แสนง่าย แต่ได้ประโยชน์มหาศาล กล่ า วคื อ ยามที่ เ กิ ด ไฟไหม้ ป่ า ขึ้ น คราใดผู้ ค น ส่ ว นใหญ่ มั ก คำนึ ง ถึ ง การแก้ ปั ญ หา ด้ ว ยการ ระดมสรรพกำลั ง กั น ดั บ ไฟป่ า ให้ ม อดดั บ อย่ า ง รวดเร็ว แต่แนวทางป้องกันนั้น ยังไม่มีผู้ใดคิดจะ ทำกันอย่างจริงจัง พระราชดำริ ป่าเปียก เพื่อป้องกันไฟป่า จึ ง เป็ น แนวพระราชดำริ ที่ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ศูนย์การพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ ทำการศึกษาทดลองจน ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ด้วยวิธีการต่างๆ รวม ๖ ประการ คือ การสร้างระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชนานาชนิดปลูกตามแนวคลองนี้ การสร้างระบบควบคุมไฟป่า ด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก อาศัย น้ำชลประทานและน้ำฝน การปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกไป นอกจากนี้ เป็นการสร้างฝายเพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อเก็บ กักน้ำให้ความชุ่มชื่นแก่ต้นไม้จนกลายเป็นป่าเปียก การสูบน้ำขึ้นไปในระดับสูงแล้วปล่อยให้ไหล ลงมา รวมทั้งการปลูกต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำได้ดีกว่าพื้นอื่น ในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ซึ่งแนวพระราชดำริป่าเปียกนี้ นับเป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลัก ทำให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลาไฟป่าจึงเกิดได้ยาก นับเป็นพระราชดำริในการป้องกันไฟป่าที่ เรียบง่าย แต่ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่ามหาศาล
76
เครื่องดักหมอก
พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า
อยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าการปลูกป่า หรือการปลุกต้นไม้ในพื้นที่ขาดแคลน น้ ำ หากใช้ น้ ำ ธรรมชาติ ที่ เ กิ ด จาก หมอก จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี โดยไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลรดน้ำมากนัก จึ ง ทรงศึ ก ษาข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การใช้ ประโยชน์ จ ากหมอกที่ ล่ อ งเลยใน อากาศ ทำให้ ท รงทราบว่ า หมอก สามารถกลายเป็นหยดน้ำ เมื่อหมอก ปลิวไปกระทบก้อนหิน แล้วจับตัวเป็นหยดน้ำไหลลงสู่พื้นดิน ซึ่งเหมาะสำหรับภูมิประเทศที่เป็น ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๕๐๐ เมตรขึ้นไป จึงพระราชทานพระราชดำริในการทำเครื่อง ดักหมอก ด้วยการใช้วัสดุในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและราคาถูก เป็นอุปกรณ์ทำเครื่องดักหมอก สำหรับวิธทำเครื่องดักหมอก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการสร้างแผงขึงด้วยตาข่าย ไนล่อนเสื่อลำแพน และวัสดุอื่นๆ ที่มีรูพรุนมาก ๆ โดยวางให้ตั้งฉากกับทิศทางลมพัด ในบางกรณี อาจสร้างขึ้นได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น บางแบบอาจติดบนกังหันลม เพื่อให้แผงดักหมอกหันสู้ลมตลอดเวลา เมื่อไอน้ำจากหมอกกระทบกับผังดักหมอก จะทำให้เกิด ลักษณะคล้ายหยดน้ำไหลลงสู่ดิน ทำความชุ่มชื้นให้แก่ต้นไม้ นอกจากนี้แล้วแผงดักหมอกยัง สามารถช่วยบังแดดบังลมให้กับต้นไม้ ระยะแรกปลูกหรือระยะที่เริ่มเติบโตอีกด้วย เครื่องดักหมอกตามแนวพระราชดำรินี้ เป็นนวัตกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงคิดและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแก่แผ่นดิน เป็นการแก้ปัญหาการขาด แคลนน้ำ ในการปลูกป่าและต้นไม้บริเวณพื้นที่ภูเขาสูง เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายๆ ใช้วัสดุในท้องถิ่น ราคา ถูกในการทำ แต่ไม่มีผู้ใดคิดเรื่องใกล้ตัวเช่นนี้ จึงนับว่าเป็นพระปรีชาสามารถที่กอปรด้วย พระอัจฉริยะภาพ และพระวิจารณญาณอันสูงส่งแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไป
เพื่อผู้เจ็บป่วย ในชนบท แพทย์พระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับงานสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง ดังจะ
เห็นได้จากโครงการต่างๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่พระราชทานเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ ราษฎรในระยะแรกๆ ล้วนแล้วแต่เป็นโครงการด้านสาธารณสุขเกือบทั้งสิ้น เนื่องจากทรงเห็นว่า การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย เป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดีและสังคมที่มั่นคง เพราะ ร่างกายที่แข็งแรงจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี โดยที่ราษฎรส่วนใหญ่ในชนบทประกอบอาชีพทางการ เกษตร ซึ่งต้องใช้กำลังกายในการทำงาน ถ้าหากมีร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จะ สามารถต่อสู้กับงานหนักในการประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี
78
ดังนั้น โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อให้การ ตรวจรักษาและแนะนำการดูแลสุขภาพแก่ผู้ยากไร้ในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เมื่อเสด็จ พระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ณ ที่แห่งใด จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คณะแพทย์พระราชทาน ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ประจำพระองค์ แพทย์อาสา สาขาด้านศัลยแพทย์ หู คอ จมูก โรคภูมิแพ้ ทันตแพทย์ และจักษุแพทย์ ที่ตามเสด็จให้การบำบัดรักษาราษฎรที่ป่วยเจ็บด้วยโรคต่างๆ ถ้าหาก ผู้ที่ป่วยมีอาการหนักเกินกว่าที่จะรักษาได้ในพื้นที่ ต้องส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล จะทรงมี พระมหากรุณาธิคุณรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้คัดเลือกราษฎรอาสา สมัครจากหมู่บ้านต่างๆ มารับการอบรมหลักสูตร หมอหมู่บ้าน เกี่ยวกับสาธารณสุขมูลฐาน โดย เริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับการอบรมแล้ว นำ ความรู้ที่ได้รับกลับไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป โครงการแพทย์พระราชทาน ซึ่งประกอบด้วยการบำบัด รักษาจากคณะแพทย์พระราชทาน และการอบรมหมอหมู่บ้าน ได้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้าน สุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและฐานะยากจนได้เป็นอย่างมาก ทำให้สุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรงสามารถประกอบอาชีพได้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง
79
เพื่อผู้เจ็บป่วยในชนบท
เ
มื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่ หั ว เสด็ จ พระราชดำเนิ น ไปทรงเยี่ ย ม ราษฎรที่บ้านปากทวาร ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใน เดือนพฤษภาคม ๒๔๙๖ ทรงพบว่าราษฎร ที่มาเข้าเฝ้าเป็นไข้จับสั่นและโรคอื่นๆ เป็น จำนวนมาก จึงทรงมีพระราชปรารภว่า ใน ท้องที่ห่างไกลที่การแพทย์และอนามัยสมัย ใหม่เข้าไปไม่ถึงราษฎรถูกโรคภัยเบียดเบียน ทั้งๆ ที่เป็นโรคที่รักษาให้หายได้ไม่ยากนัก จึงพระราชทานยานพาหนะ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ กระทรวงสาธารณสุขจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ในท้องที่ทุรกันดารห่าง ไกลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดลพบุรี นอกจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทานขึ้นอีก ๒ หน่วย ที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดยะลา เพื่อรักษาผู้เจ็บป่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมทั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทางน้ำ เพื่อรักษาประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ที่การคมนาคมจะติดต่อกับโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยไม่สะดวก โดยได้พระราชทานเรือยนต์ เวชพาหน์ พร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือทันตกรรม เวชภัณฑ์ และทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ต่ อ มาในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ จั ด ตั้ ง หน่ ว ยแพทย์ เ คลื่ อ นที่ พระราชทานขึ้นที่นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอเว้ง จังหวัดนราธิวาส โดยโรงพยาบาล นราธิวาสและโรงพยาบาลสุไหง-โกลก ได้ส่งแพทย์อาสาสมัครไปตรวจรักษาสมาชิกนิคม รวมทั้ง ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นประจำสัปดาห์ละ ๒ วัน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวในเวลานั้น ความเจริญ ต่างๆ ยังไปไม่ถึง ราษฎรที่ป่วยเจ็บส่วนใหญ่ขาดการดูแลรักษาซึ่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน ที่ ก ำเนิ ด จากพระราชดำริ และพระราชทรั พ ย์ ส่ ว นพระองค์ ได้ ช่ ว ยให้ ร าษฎรผู้ ไ ด้ รั บ ความ ทุกขเวทนาจากโรคภัยไข้เจ็บ ในทั่วทุกภาคของประเทศมีสุขภาพพลานมัยดีขึ้น
80
หมอหมู่บ้าน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระราชดำริ ว่ า หน่ ว ยแพทย์ พระราชทานที่ให้การรักษาผู้เจ็บป่วย ในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกล ระหว่าง การเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่าง ๆ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพ มหานครแล้ ว แพทย์ ที่ ต ามเสด็ จ จะต้องกลับไปปฏิบัติหน้าที่ยังหน่วย ต้นสังกัด ราษฎรเหล่านี้เมื่อเจ็บไข้ได้ ป่วยจะไม่มีแพทย์ดูแลรักษา เพราะ อยู่ในท้องถิ่นที่ห่างไกล การคมนาคม ไม่สะดวก ถ้าหากมีผู้ที่มีความรู้ทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานในหมู่บ้านจะช่วยในการบำบัดรักษาได้ ระดับหนึ่ง จึงมีพระราชดำริให้คัดเลือกราษฎรอาสาสมัครจากหมู่บ้านต่างๆ ที่ห่างไกลความเจริญ เข้ารับการอบรมหลักสูตรหมอหมู่บ้าน เพื่อนำความรู้ที่ได้รับกลับไปช่วยเหลือผู้ป่วยเจ็บในหมู่บ้าน ของตน สำหรับหลักสูตรการอบรมตามโครงการหมอหมู่บ้านนี้ จะเน้นการให้สุขศึกษาในการ ป้องกันโรคต่างๆ ที่มีในพื้นที่นั้นๆ รวมทั้งเสริมสร้างพลานามัย การโภชนาการ เวชศาสตร์ป้องกัน อย่างง่ายๆ และการให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการ ป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ การปฐมพยาบาล ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์ ในภาวะที่ขาดแคลน แพทย์และพยาบาล เป็นการช่วยลดอัตราการป่วย การตาย และการระบาดของโรคต่างๆ ในหมู่บ้าน รวมทัง้ เป็นการให้บริการสาธารณสุขแผนใหม่กระจายไปสูช่ นบท ซึง่ การอบรมในแต่ละรุน่ จะไม่เกิน ๔๐ คน ใช้เวลาในการอบรม ๑ เดือน โดยได้เริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรกในปี ๒๕๒๕ โครงการหมอหมู่บ้านตามพระราชดำริ ได้ช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค การปฐมพยาบาล การติดต่อกับแพทย์ในกรณีที่มีผู้เจ็บป่วย มีอาการหักเกินกว่าที่จะดูแลรักษาได้ ซึ่งบางครั้งก็อาจมีการติดต่อทางวิทยุ เพื่อแจ้งอาการให้แพทย์ทราบและขอคำแนะนำในการ ปฏิบัติ เป็นการช่วยเหลือในขั้นต้น ก่อนที่จะนำส่งไปรักษาพยาบาล ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิต จากการเจ็บป่วยได้มาก นอกจากนีแ้ ล้วเมือ่ ราษฎรมีความรูใ้ นการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ การระวังรักษาสุขภาพเพื่อให้พ้นจากการเจ็บป่วย ย่อมจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สามารถ ต่อสู้กับงานหนักในการประกอบอาชีพได้ ชีวิตความเป็นอยู่ต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน
81
แขน-ขาเทียมเคลื่อนที่
เ
มื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบท ที่ห่างไกล ทรงพบว่ามีราษฎรที่พิการแขน-ขา ด้วน เป็นจำนวนมิใช่น้อย ซึ่งผู้พิการเหล่านี้มี ฐานะยากจน และไม่สามารถที่จะประกอบ อาชีพอะไรได้ทำให้มีสภาพการดำรงชีวิตที่น่า สงสาร ต้ อ งเป็ น ภาระในการเลี้ ย งดู ข อง ครอบครัวหรือบุคคลอื่น และหน่วยงานที่ให้ บริการแขน-ขาเทียมหรือเครื่องช่วยคนพิการ มี แ ต่ เ ฉพาะในกรุ ง เทพมหานครกั บ จั ง หวั ด ใหญ่ บางจังหวัดเท่านั้น หากได้มีการนำ แขน-ขาเทียมไปช่วยเหลือผู้พิการจนถึงที่อยู่ จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยไม่เป็นภารพต่อสังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริในการช่วยเหลือ โดยในชั้นแรกได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า รับผู้พิการแขน-ขาด้วนไว้เป็นผู้ป่วย ในพระบรมราชานุเคราะห์ และส่งมารับ การบำบัดให้บริการแขนขาเทียมที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ มีพระราช ดำรัสให้กรมแพทย์ทหารบกจัดชุดปฏิบัติการแขน-ขาเทียมเคลื่อนที่ ไปให้บริการแก่ราษฎรผู้พิการ ตามหมูบ่ า้ นต่างๆ เพือ่ ความสะดวกของราษฎรทีไ่ ม่ตอ้ งเดินทางเข้าไปรับบริการในกรุงเทพมหานคร นอกจากชุดปฏิบัติการแขน-ขาเทียมเคลื่อนที่ สำหรับให้บริการแก่ราษฎรผู้พิการยากจน ในท้องถิ่นต่างๆ แล้ว ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บพิการทุพพลภาพ แขน-ขาขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในพื้นที่ ๑๗ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การช่วยเหลือเด็กพิการ การสงเคราะห์ราษฎรตามแนวชายแดน ที่แขน-ขาขาดจากการเหยียบกับระเบิด จากพระราชดำริอันเปี่ยมล้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงมีน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยพสกนิกรผู้ด้อยโอกาส จึงทำให้ ผู้ที่พิการด้านแขนและขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
82
ทันตกรรมพระราชทาน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบจากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ในท้องถิ่นห่างไกลทั่วทุกภาคของประเทศว่า ราษฎรส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคฟันและโรคในช่องปาก ซึ่งได้รับความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก รวมทั้งไม่มีทันตแพทย์ที่จะให้การบำบัดรักษา เนื่องจาก ทันตแพทย์ในต่างจังหวัด จะมีเฉพาะที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด การที่จะให้ราษฎรที่ยากจนและ มีปัญหาเรื่องฟันเดินทางเข้าไปรับการตรวจรักษาที่ในตัวเมือง คงเป็นได้ยาก เพราะต้องเสียค่า ใช้จ่ายสูง และต้องหยุดการทำไร่ทำนาที่เป็นอาชีพหลัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าหากจะแก้ปัญหาด้วยการนำ ทันตแพทย์ไปให้การรักษาราษฎรที่มีปัญหาเรื่องฟัน และโรคในช่องปากถึงที่อยู่ จะเป็นการช่วย บำบัดทุกข์ให้แก่ราษฎรได้เป็นอย่างมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยทันตกรรม พระราชทานขึ้น โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์และ เครื่องมือทำฟันเพื่อให้บริการเคลื่อนที่ไปสู่ราษฎร ด้วยการตระเวนไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในชนบท ที่ห่างไกล ซึ่งทันตแพทย์อาสาสมัครจากโครงการทันตแพทย์พระราชทาน ได้เริ่มออกปฏิบัติงาน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ การปฏิบัติงานของทันตแพทย์อาสาสมัคร จะมีทั้งในด้านการบำบัดโรคฟัน โรคในช่องปาก พร้อมทั้งสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันด้วย ซึ่งโครงการทันตกรรมพระราชทาน นอกจาก การปฏิบัติการทางรถยนต์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระราชดำริในการให้การ บริการด้านทันตกรรมแก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง โดยเรือเวชพาหน์ที่โปรดเกล้าฯ ให้ต่อขึ้น แล้วพระราชทานให้สภากาชาดไทยนำไปช่วยเหลือราษฎรผู้เจ็บป่วยตามลำน้ำอีกด้วย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรทั่วประเทศ โครงการทันตกรรมพระราชทาน จึงมี ส่วนช่วยให้ราษฎรที่อยู่ห่างไกลแพทย์ ได้มีโอกาสรับการบำบัดรักษา และมีสุขภาพในช่องปากที่ดี
83
เรือเวชพาหน์
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงห่วงใยการเจ็บป่วยของ ราษฎร ที่ อ าศั ย อยู่ ใ นท้ อ งถิ่ น ทุรกันดาร ห่างไกลการคมนาคม หรือขาดความสะดวกในการเดิน ทางไปรับการตรวจรักษา เนื่อง จากไม่ มี ย านพาหนะที่ จ ะนำ ผู้ ป่ ว ยส่ ง สถานพยาบาล ทรง ตระหนั ก ดี ว่ า อาการเจ็ บ ป่ ว ย จะทุเลาหรือหายได้ หากได้รับ การตรวจรักษาทันเวลา นอกจากนี้แล้ว ทรงเห็นว่าการรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย เป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดีและสังคมที่มั่นคง เพราะร่างกายที่แข็งแรงจะอำนวยผลให้สุขภาพจิต สมบูรณ์ เมื่อมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจ และสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย ดังนั้น จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ เพื่อให้ การตรวจรักษาราษฎรผู้เจ็บป่วย ซึ่งมีฐานะยากจนและอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศโดย ไม่คิดมูลค่า หากอาการป่วยเจ็บรุนแรงจำเป็นที่จะต้องรักษาในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือต่างๆ ทางการแพทย์พร้อมจะพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้ผู้ป่วยเหล่านี้เป็นคนไข้ในพระราชา นุ เ คราะห์ จ นกว่ า จะหายเป็ น ปกติ รวมทั้ ง พระราชทานพระราชดำริ ใ นการคั ด เลื อ กราษฎร อาสาสมัครจากหมู่บ้านต่างๆ มารับการอบรมเรื่องสาธารณสุขมูลฐานตามโครงการหมอหมู่บ้าน เป็นการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลแพทย์ สำหรับราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง ถึงแม้การคมนาคมจะสะดวกและไม่ห่างไกล ความเจริญแต่การเดินทางโดยใช้เรือเป็นพาหนะย่อมจะล่าช้า อาจทำให้ผู้ป่วยเจ็บมีอาการทรุดหนัก หรือเสียชีวิตได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือขึ้นลำหนึ่งเป็นเรือไม้ ๒ ชั้น ประกอบด้วยห้องตรวจโรค ห้องทันตกรรม ห้องผ่าตัดเล็กน้อย พระราชทานเรือลำนี้ว่า เวชพาหน์ แล้วพระราชทานให้สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๙๘ สำหรับใช้เป็น หน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาพยาบาลประชานชนในท้องที่ต่างๆ ตามลำน้ำ ซึ่งเรือเวชพาหน์ได้ ช่วยเหลือประชาชนตามริมน้ำ ทั้งในด้านการรักษาและการป้องกันโรคตลอดมาจนทุกวันนี้
สังคมสงเคราะห์ สังคมสงเคราะห์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักว่าการที่ประเทศชาติ จะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า
มีความร่มเย็นเป็นสุขได้ ต่อเมื่อประชาชนในประเทศมีความผาสุกถ้วนหน้ากัน และการที่จะทำให้ ประชาชรมีความสุขรวมทั้งอยู่ร่วมกันด้วยสันติ คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ รับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งโดยกรมประชาสงเคราะห์และ องค์กรการกุศลเอกชน เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการแก้ไขปัญหาสังคมและการพัฒนาสังคม ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๐๔
85
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นทุนริเริ่ม การก่อสร้างตึกที่ทำงานของสภาสังเคราะห์ และพระราชทานนามตึกนี้ว่า ตึกมหิดล เพื่อเทิดพระเกียรติคุณในด้านสังคมสงเคราะห์ ของสมเด็จพระบรมราชชนก เมื่อการก่อสร้างแล้ว เสร็จเรียบร้อยได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิดตึกมหิดล เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๐๘ รวมทั้งได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นค่าเช่าที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตึกมหิดลอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในงานของสภาสังคมสงเคราะห์เป็น อย่างมาก ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์ เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชวาท เกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงาน ซึ่งสภาสังคม สงเคราะห์ได้น้อมเกล้าฯ รับพระบรมราโชวาทมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาสังคมและการพัฒนาสังคมตลอดมา ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ช่วยให้กิจการของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยขยายออกไป อย่างกว้างขวาง เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติยิ่งขึ้น
86
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอาทรห่วงใย ในความทุกข์ของอาณาประชาราษฎร์เป็นอย่างยิ่ง ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ทีประสบภัย พิบัติต่างๆ ทั้งนี้ เนื่องจากการเกิดวาตภัยและอุทกภัย ทางภาคใต้ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๕ ปรากฏว่า ราษฎรที่ อ าศั ย อยู่ ใ นแหลมตะลุ ม พุ ก จั ง หวั ด นครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ริมทะเลได้รับภัยอย่างหนัก สูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เป็น เหตุการณ์รุนแรงทางธรรมชาติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงไม่ได้มีการเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบข่าว ในขณะที่ทุกคนกำลังตกตะลึงต่อ เหตุการณ์และความสูญเสียทีเ่ กิดขึน้ จึงได้ทรงนำในการช่วยเหลือ โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ประกาศชักชวนให้มีการบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือ พี่น้องร่วมชาติที่ประสบเคราะห์กรรม ซึ่งได้มีผู้บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลประมาณ ๑๑ ล้านบาท หลังจากที่ได้พระราชทานให้กรมประชาสงเคราะห์นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว ยังคงมีเงินเหลืออยู่อีกราว ๓ ล้านบาท จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปจัดตั้งเป็นมูลนิธิ ราชประชานุเคราะห์ หมายถึง มูลนิธิที่พระมหากษัตริย์และประชาชนร่วมกันจัดตั้งขึ้น สำหรับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ ประสบสาธารณภัยโดยฉับพลันทั่วประเทศ เป็นการช่วยเฉพาะหน้าเกี่ยวกับเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็นแก่การดำรงชีวิต กิจการของมูลนิธิได้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ มีผู้บริจาคเงิน สมทบทุนมูลนิธิเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้นำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจาก สาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งได้จัดตั้งเป็นทุนการศึกษา สำหรับผู้ขาดแคลน อีกด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
87
ราชประชาสมาสัย
เ
มื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรง เยี่ ย มพสกนิ ก รในภาคตะวั น ออก เฉียงเหนือปี ๒๔๙๙ ได้ทอดพระ เนตรเห็นผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อน ซึ่ง ได้ รั บ ความทุ ก ข์ ท รมานทั้ ง ทาง ร่างกายและจิตใจ จึงมีพรราชหฤทัย สงสารและทรงช่ ว ยเหลื อ บุ ค คล เหล่านี้ ด้วยการรับโครงการควบคุม โรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุข ไว้เป็นโครงการในพระราชดำริ โดย การจัดตั้งสถาบันราชประชาสมาสัยขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดูแลให้การบำบัดรักษาฟื้นฟู และค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับโรคเรื้อน พร้อมกับได้พระราชทานเงินจากทุนอานันทมหิดล สร้างอาคาร ๔ หลัง ในบริเวณ สถานพยาบาลพระประแดง เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาอบรมเจ้าหน้าที่ในการบำบัดโรคเรื้อน เริ่มเปิด ใช้งานในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๐๓ นอกจากนี้แล้ว ได้พระราชทานเงินอีกจำนวนหนึ่ง จัดตั้งเป็นทุนราชประชาสมาสัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิราชประชาสมาสัย และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งราชประชาสมาสัยนี้ มีความหมายถึงพระราชากับประชาชนอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งการ ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อนของ มูลนิธราชประชาสมาสัย และสถาบันราชประชาสมาสัย ตาม พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิใช่เพียงแต่บำบัดรักษาผู้ที่เป็นโรคเรื้อนเท่านั้น แต่ยัง มีการฝึกอาชีพเพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพภายหลังจากที่หายป่วยด้วยโรคเรื้อน การรับ ครอบครัวของผู้ป่วยเข้ามาอยู่ในความดูแล รวมทั้งมีโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของผู้ป่วยด้วย โรคเรื้อนอีกด้วย จากพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทำให้มีผู้ป่วย โรคเรื้อนเข้ารับการบำบัดรักษาเพิ่มมากขึ้น เป็นการสะดวกต่อการควบคุมโรคนี้มิให้แพร่หลายออก ไป ซงึ่ จากการสำรวจในปี ๒๕๐๓ ก่อนทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการควบคุมโรคเรื้อนไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อนเฉลี่ย ๕๐ คน ใน ๑๐,๐๐๐ คน แต่ในปี ๒๕๓๙ องค์การอนามัยโลก สำรวจพบผู้ป่วยโรคเรื้อนในประเทศไทยเหลือ เพียง ๐.๕ คนต่อจำนวนประชากร ๑๐,๐๐๐ คน ซึ่งถือว่าประเทศไทยปลอดโรคเรื้อนแล้ว
88
ด้านการจราจร
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่ หั ว ทรงตระหนั ก ถึ ง ความ เดือดร้อนของประชาชน จาก การจราจรติดขัดด้านการจราจร ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงได้พระราชทานพระราชดำริ ในการแก้ไข ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๔ โดยรับสั่งให้รัฐบาลดำเนินการ สร้ า งถนนวงแหวน แทนการ สร้ า งพระบรมราชานุ ส รณ์ ที่ รัฐบาลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้าง เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์สมบัติครบ ๒๕ ปี ซึ่งต่อมาได้มีการสร้างถนนรัชดาภิเษกเป็นถนนวงแหวนเชื่อมการจราจรผ่านทางฝั่งพระนคร และธนบุรี ที่ได้ช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในปัจจุบันได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้กรุงเทพมหานครนำไปดำเนินการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ จากสถานีบางกอกน้อยถึง ถนนจรัลสนิทวงศ์ ปรับปรุงและขยายผิวการจราจรถนนราชดำเนินกลาง ช่วงก่อนขึ้นสะพาน พระปิ่นเกล้า ขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศ สร้างสะพาน ๒ ข้าง ของสะพานมัฆวานรังสรรค์ ก่อสร้าง ถนนหลังศูนย์วัฒนธรรมเชื่อมระหว่างถนนพระราม ๙ กับถนนเทียมร่วมมิตร สร้างทางเชื่อม ถนนศรีอยุธยากับถนนอโศก รวมทั้งถนนเชื่อมระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณ กองพลทหารม้าที่ ๒ และอื่นๆ อีกมาก โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหาจราจรติดขัดที่สำคัญคือ โครงการทางยกระดับ คู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี มีลักษณะคล้ายกับทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ แต่ไม่ต้องเสีย ค่าผ่านทาง ทำให้การจราจรที่เคยติดขัดบนถนนสายต่างๆ ลดน้อยลง และนอกจากจะพระราชทาน พระราชทรัพย์ในการปรับปรุงถนน ตรอก ซอย สะพานคนข้ามและสะพานข้ามทางแยกแล้ว ยังได้ พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด แก่ผู้ที่รับผิดชอบเพื่อนำไปดำเนินการ จากพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และสายพระเนตรที่ยาวไกลแห่ง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้ช่วยผ่อนคลายความเดือดร้อนของพสกนิกร จากการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุษหาที่สุดมิได้
89
จราจรพระราชทาน
ปั
ญหาการจราจรติดขัดใน กรุงเทพมหานครเป็นปัญหาที่มีมา นานแล้ว และก่อให้เกิดความเดือด ร้อนแก่ทุกคนเป็นอย่างมาก เป็นผล เสียหายต่อเศรษฐกิจและชื่อเสียง ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลทุกรัฐบาลได้ พยายามที่จะแก้ไขด้วยวิธีต่างๆ แต่ ปัญหายังคงมีอยู่และนับวันจะเพิ่ม มากยิง่ ขึน้ ด้วยเหตุน้ี พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีความห่วงใย ในพสกนิกรของพระองค์ รวมทั้งได้ทรงศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มาเป็นเวลานาน จึงได้พระราชทาน แนวพระราชดำริในการแก้ไข โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๔ ล้านบาท และของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีก ๔ ล้านบาท รวมเป็น ๘ ล้านบาท ให้แก่กอง บัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๓๖ เพื่อนำไปซื้อจักรยานยนต์ให้กับเจ้าหน้าที่ ตำรวจจราจร จำนวน ๑๐๐ คัน สำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจร นอกจากนี้ เงินพระราชทานจำนวนหนึ่ง ได้ใช้ในการอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จำนวน ๑๕๐ นาย ที่จัดตั้งเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการแก้ไขปัญหาในจุดต่างๆ ที่มีการติดขัด รวมทั้งเป็น ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าน้ำมันรถจักรยานยนต์ที่ใช้ปฏิบัติงาน ซึ่งตำรวจจราจรชุดโครงการพระราชดำริ มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด บริเวณถนนสายหลักได้เป็นอย่างมาก และที่สำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางการแก้ไขแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ในโครงการพระราชดำริ ด้วยการให้เจ้าหน้าที่โครงการดูแลการจราจรบนถนน ให้เคลื่อนตัวไป ด้วยความเร็วเหมาะสมอย่าให้ติดขัด หากมีการติดขัด ณ จุดใด จะต้องรับแก้ไขโดยรีบด่วน สำหรับพื้นที่ที่การจราจรติดขัดแบบคอขวด เจ้าหน้าที่จะต้องพยายามแก้ไขจนสามารถ เคลื่อนตัวไปได้เหมือนน้ำที่เทออกจากขวด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนมีระเบียบ วินัยเคารพกฎจราจรและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อทำให้ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพ มหานครลดน้อยและหมดสิ้นไป พร้อมกันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราช ดำริมิให้มีการปิดกั้นรถในขณะที่มีขบวนเสด็จเป็นเวลานาน และปล่อยให้รถที่แล่นบนถนนตาม ขบวนเสด็จได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด นับเป็นพระมหา กรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
90
เส้นทางเกลือ
จ
ากการเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบว่าปัญหาการขาดสารไอโอดีน จนเกิดเป็นโรคคอหอยพอกนั้นมีอยู่ มากมายหลายพื้นที่ ทรงห่วงใยและ หาวิธีที่จะช่วยเหลือ โดยได้พระราช ทานพระราชดำริให้พิจารณาแก้ไข ปัญหาของการขาดสารไอโอดีนของ ราษฎร ด้วยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ถึงปัญหาและความต้องการเกลือ เนื่องจากแต่ละ ท้องถิ่นจะมีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกัน โดนเฉพาะต้องสำรวจเส้นทางเกลือว่าผลิตมาก จากแหล่งใด เพื่อที่จะนำเอาไอโอดีนไปผสมกับแหล่งผลิตต้นทาง ต่อมาในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้พระราชทานพระราชดำริให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา พิจารณาแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนโดยให้เริ่มต้นที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่เป็น แห่งแรก เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีปัญหาในเรื่องนี้มากที่สุดอำเภอหนึ่งในเขตภาคเหนือ ด้วยการจัด ทำโครงการนำร่องเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีน โดยการศึกษาชนิดของเกลือที่ใช้ในการ บริโภค และสำรวจเส้นทางเกลือที่นำเข้าไปจำหน่าย รวมทั้งหาวิธีนำสารไอโอดีนไปผสมกับเกลือ ที่แหล่งผลิตต้นทาง เส้นทางเกลือ อันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ ได้เป็นแม่บทที่นำมาใช้ในการเป็นต้นแบบวิธี การเติมสารไอโอดีนจากแหล่งต้นทางการผลิตเกลือทั่วประเทศในเวลาต่อมา นับว่าเป็นการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับถึงพระปรีชาสามารถอัน ลึกซึ้งของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริให้ศึกษา สำรวจเส้นทางเกลือ เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าปราศจากโรคคอพอก มีสุขภาพพลานมัย ที่สมบูรณ์แข็งแรง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
การศึกษาของชาติ เพื่อการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า ประเทศชาติ จะมีความมั่นคงและ
เจริญก้าวหน้าได้ต้องมาจากการที่พลเมืองของชาติมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมี ได้ก็ด้วยการศึกษา เนื่องจากการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนตชคติ ค่านิยมและคุณธรรมที่ดี จึงทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่อง การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน เพราะเป็นทรัพยากรที่มีค่าและเป็นอนาคตของประเทศชาติ ด้วยการจัดตั้งกองทุน นวฤกษ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา รวมทั้งได้พระราชทานทุน อานันทมหิดล และภูมิพล ในระดับอุดมศึกษา
92
นอกจากนี้แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทหารร่วมกับราษฎรในท้องถิ่น สร้าง โรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร พร้อมกับพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างและพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งโรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรก ที่บ้านหนองเคน ตำบลดงหลวง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ได้มีมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๖ ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์ก่อการร้ายมีความรุนแรง รวมทั้งได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง โรงเรียนชายแดนสำหรับเด็กชาวเขา คือ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ทำให้เด็กชาวเขามีการศึกษา และความรู้ สามารถช่วยในการพัฒนาบ้านเมืองได้เป็นอย่างมาก สำหรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มโครงการ พระดาบสขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๑๘ เป็นโครงการตามพระราชดำริที่มุ่งสอนวิชาชีพแก่ผู้ที่ ยากจนและไม่มีวิชาความรู้อะไรสำหรับนำไปประกอบอาชีพ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และเพื่อให้เด็กยากจนทั่วไปได้มีโอกาสทางการศึกษา จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียน สงเคราะห์เด็กยากจนขึ้นในวัด เป็นการให้วัดและพระสงฆ์มีส่วนช่วยเหลือสังคมทางด้านการศึกษา ซึ่งจะทำให้เด็กยากจนมีความรู้และคุณธรรม โดยโรงเรียนที่จัดตั้งแห่งแรก คือ โรงเรียนวัดศรี จันทร์ประดิษฐ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
93
การศึกษาของเยาวชน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาเยาวชนที่ไม่ได้ รับการศึกษาเพราะฐานะยากจน สถาน ศึกษาอยู่ห่างไกลหรือไม่มีสถานที่ศึกษา จึงทรงช่วยเหลือเกื้อกูลด้านการศึกษา ของเยาวชนมาโดยตลอดทั้ ง ในเมื อ ง และชนบทถิน่ ทุรกันดารห่างไกลคมนาคม โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เยาวชนที่ ย ากจน และด้อยโอกาส เนื่องจากทรงเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของความเจริญ เป็นปัจจัยหลักที่จะสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของชาติ ด้วยเหตุนี้จึงทรงสนับสนุนการสร้าง โรงเรียนต่างๆ ขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศ และโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการพัฒนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เพื่อเป็นสถานที่เรียนของบุตรหลานราษฎรในท้องถิ่นนั้น ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แก่กองบัญชากรตำรวจ ตระเวนชายแดนเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับชาวเขา เป็นการช่วยให้เยาวชนชาวเขา ในถิน่ ทุรกันดารได้มโี อกาสเรียนรูห้ นังสือไทย ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะทำให้มีความสำนึกในความเป็นไทย อันมีผลต่อความมั่นคงปลอดภัย และความเจริญก้าวหน้า ของประเทศ โรงเรียนเหล่านี้ได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ นอกจากนี้ ทรงให้ การสนับสนุนทหารในการสร้างโรงเรียนสำหรับเยาวชน ในท้องถิ่นชนบทห่างไกลที่มีปัญหา ความไม่สงบจากภัยต่างๆ ขึ้นเป็นแห่งแรกที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ และพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า สำหรับเยาวชนที่มีฐานะยากจนในเขตชุมชน ได้พระราชทานความช่วยเหลือด้วยการจัดตั้ง โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนขึ้นในวัด รวมทั้งทรงสนับสนุนให้จัดตั้งโรงเรียนราชประชาสมาสัย เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับเยาวชนที่เป็นบุตรหลานของผู้ป่วยโรคเรื้อน ซึ่งจะทำให้หมดปัญหาใน เรื่องปมด้อย และได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพ แก่ผู้มีฐานะ ยากจนตามโครงการพระดาบส พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อ เยาวชนของชาติด้านการศึกษา ทำให้เยาวชนเหล่านี้ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ และนำ ความรู้ทีได้รับไปใช้ในการประกอบอาชะ ดำรงตนเป็นพลเมืองดีของชาติและเสริมสร้างความ มั่นคงปลอดภัย ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นส่วนรวม
94
สารานุกรม
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงตระหนั ก ว่ า ประเทศชาติ จ ะเจริ ญ ก้าวหน้า ขึ้นอยู่กับการศึกษาที่ดีของเด็ก ซึ่งจะเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุ่งอย่างต่อจาก ผู้ใหญ่ จึงทรงสนับสนุนความรู้ในด้านต่างๆ แก่เด็ก ซึ่งสารานุกรมเป็นหนังสือที่ทรง พระราชดำริ ใ ห้ จั ด ทำขึ้ น เป็ น หนั ง สื อ รวบรวมความรู้สารพัดอย่างสำหรับเด็ก ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๑ ผู้ที่เขียนสารานุกรมเป็นคนไทยที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชา และการเขียนนี้เป็นการเขียนสำหรับคนอ่าน ๓ ระดับ คือ ระดับเด็กเล็ก อายุ ๘ –๑๑ ปี ระดับกลางอายุ ๑๒-๑๔ ปี และเด็กโตอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับเรื่อง สารานุกรม ว่า เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในวิชาทุกสาขา เพราะวิชาแต่ละวิชามีความสัมพันธ์กัน ข้อความที่เขียน เป็นหลักวิชาแท้ๆ ที่เป็นข้อเท็จจริงสำหรับรูปภาพประกอบเรื่องเป็นรูปภาพที่ดูแล้วเกิดประโยชน์ ไม่ใช่เพื่อความสวยงาม โดยได้ทรงกำหนดสารานุกรมนี้ไว้ ๔ เล่ม เล่มหนึ่งมี ๔๐๐ หน้า ประกอบ ด้วยเรือ่ งธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ประยุกต์วทิ ยา สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ พิมพ์ครัง้ แรก จำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม พระราชทานแก่โรงเรียน ห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ และจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ สารานุกรมเป็นหนังสือที่ให้ความรู้แก่เด็กอย่างแท้จริง ทั้งเด็กเล็กและเด็กที่ไม่มีโอกาสได้ ศึกษาเล่าเรียนหากได้อ่านก็จะมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ สารานุกรมทำหน้าที่เหมือนครูหรือ คลังปัญญา หากสงสัยเรื่องใดเมื่ออ่านจากสารานุกรมแล้วจะทราบดี รวมทั้งเป็นหนังสือที่มีส่วน ช่วยในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนความรู้ ขนาดแคลนครู และโรงเรียน นอกจากนี้แล้วยังเป็น หนังสือที่ให้ความรู้ต่อเนื่องแก่ผู้ที่เรียนจากโรงเรียนแล้ว จากพระปรีชาที่ชาญฉลาดและสาย พระเนตรที่ยาวไกลแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เด็กไทยจึงได้มีหนังสือสารานุกรมที่ให้ ความรู้อย่างอเนกประการ
95
มูลนิธิช่วยครูอาวุโส
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนัก พระราชหฤทัยว่า ในการศึกษานั้น ครูเป็นผู้มีบทบาท สำคัญในการให้การศึกษาอบรมแก่เด็กจึงทรงยกย่อง ให้ เ กี ย รติ แ ละส่ ง เสริ ม ครู พร้ อ มทั้ ง พระราชทาน ข้ อ คิ ด ในการอบรมสั่ ง สอนเด็ ก แก่ ค รู ที่ เข้ า เฝ้ า ทู ล ละอองธุลีพระบาทในโอกาสต่างๆ ตลอดจนพระราชทาน พระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย วิชาการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อ เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในหน้าที่ของครู พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะรับสั่งเสมอว่า ครูต้องตั้งตัวในความดีอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเป็นครู แล้วลูกศิษย์จะต้องเคารพนับถือได้ หากครูไม่ทำตัว เป็ น ผู้ ใ หญ่ ที่ ดี แ ล้ ว เด็ ก จะเคารพได้ อ ย่ า งไร จึ ง ได้ พระราชทานพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสที่เป็นการเตือนสติผู้ที่เป็นครูตลอดเวลา เพราะ ทรงถือว่าเด็กจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ครูเป็นสำคัญ ถ้าเด็กได้รับการศึกษาอบรมที่ดี ทั้งในด้านวิชาการ และจริยธรรม เติมโตก็จะเป็นพลเมืองที่ดี เป็นประโยชน์แก่สังคมและชาติบ้านเมือง นอกจากนี้ เพื่ อ เป็ น การยกย่ อ งเชิ ด ชู เ กี ย รติ ข องครู พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิช่วยเหลือครูอาวุโสขึ้น โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ และได้ พระราชทานเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แก่คุรุสภาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นทุนประเดิมในการ จัดตั้งมูลนิธิในการช่วยเหลือครูอาวุโส ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่มาด้วยดีจนครบเกษียณอายุ ทั้งในด้าน การเงินและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เพื่อส่งเสริมให้ครูมีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณแก่ครูทุกคน และการศึกษาของชาติเป็นอย่างยิ่ง
96
นิสิตนักศึกษา
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้า อยูห่ วั ทรงตระหนักในพระราชหฤทัย ว่า ผู้ที่จะเป็นหลักในการบริหาร ประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปใน อนาคต คื อ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาใน ปั จ จุ บั น จึ ง ทรงบำเพ็ ญ พระราช กรณียกิจต่างๆ เพื่อความสามัคคี และความสำเร็จในการศึกษา ของ นิสติ นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ทุกสถาบัน ด้วยการพระราชทานความสนิทสนมการอบรมสั่งสอน รวมทั้งทรงสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษาทุกคน บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ต่อสังคมและประเทศชาติ โดยมิได้ทรงถือพระองค์ แต่ประการใด เมื่อเสด็จอยู่ท่ามกลางนิสิตนักศึกษา จะทรงปฏิบัติพระองค์เหมือนดังว่านิสิต เหล่านั้น เป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือการพระราชทานปริญญาบัตร เป็นพระราชกรณียกิจ ที่จะต้องทรงปฏิบัติ นับแต่เสด็จขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบันมิได้ขาดเลย แม้บางครั้งจะมิได้เสด็จ พระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย พระองค์เอง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สนามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภร วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ทั้งนี้ เนื่องจากทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงความต้องการ ของผู้ที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้พระราชทานความใกล้ชิดกับนิสิต นักศึกษา ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมหาวิทยาลัยต่างๆ และทรงดนตรีเป็นการ ส่วนพระองค์ พร้อมกับพระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่ออบรมสั่งสอนและเตือนสติ โดยทรงยก เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ในช่วงก่อนที่จะเสด็จไปทรงเยี่ยมขึ้นมารับสั่ง อย่างเช่น เรื่องการแตกความสามัคคี และการรับน้องใหม่ที่ไม่ถูกต้อง จากการที่ได้พระราชทานพระบรมราช วโรกาสให้นิสิตนักศึกษา เข้าเฝ้าทูละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดนี้ ทำให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาเป็น บัณฑิตทุกคน ตั้งมั่นอยู่ในความดี มีจริยธรรม เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
97
เด็กและเยาวชน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง สนพระราชหฤทั ย ในกิ จ กรรมที่ เ กี่ ย วกั บ นักเรียนไม่น้อยไปกว่านิสิตนักศึกษา ไม่ว่า จะมี ง านใดที่ เ กี่ ย วกั บ นั ก เรี ย น มิ เ คยทรง ขัดข้องที่เสด็จพระราชดำเนินตามที่กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารหรื อ สถาบั น การศึ ก ษาต่ า งๆ กราบบั ง คมทู ล อั ญ เชิ ญ เสด็ จ นอกจากนี้ แล้วงานแสดงศิลปหัตถกรรมของนักเรียน งานวันลูกเสือแห่งชาติ และงานกรีฑา ซึ่งเป็น งานประจำปีของนักเรียนในอดีตที่ผ่านมา จะเสด็ จ พระราชดำเนิ น ทอดพระเนตร การแสดงต่างๆ ของนักเรียน ด้วยความ สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งจนทั่วบริเวณงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าเด็กนักเรียนคือ กำลังของชาติในอนาคต จึงทรงส่งเสริมในด้านการเรียน ด้วยการพระราชทานรางวัลเรียนดี และทุนการศึกษาหลายประเภท เป็นต้นว่า นักเรียนที่สอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ ของกระทรวงศึกษาธิการได้ คะแนนดีเยี่ยม จะได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงทุนสำหรับนักเรียนมัธยมและประถมที่มีผล การเรียนและความประพฤติดี ตลอดจนรางวัลสำหรับโรงเรียนที่จัดการศึกษาดี ทรงจัดตั้งกองทุน นวฤกษ์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษารวมทั้ง การพระราชทานรางวัลแก่ปอเนาะ ที่จัดการศึกษาได้ดีในจังหวัดภาคใต้ นอกจากนี้แล้ว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่ตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับชาวเขา เป็นการช่วยให้เยาวชนชาวเขาได้มีโอกาสเรียนรู้ หนังสือไทย ทรงให้การสนับสนุนทหารในการสร้างโรงเรียนในท้องถิ่นชนบทห่างไกล ที่มีปัญหา ความไม่สงบจากภัยต่างๆ พระราชทานความช่วยเหลือในการจัดตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็ก ยากจน และโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของผู้ป่วยโรคเรื้อน จากพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนเพิ่มมากขึ้น ดำรงตนเป็น พลเมืองดีของสังคม เสริมสร้างความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศชาติ
พระอัจฉริยภาพ ด้านการเกษตร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาทางด้านความรู้ และ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะปลุกให้ทันสมัย เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตซึ่งจะทำให้ฐานะความเป็นอยู่ ดีขึ้น จึงทรงสนับสนุนการเกษตรทุกอย่างในทุกด้าน ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ราษฎร ณ ที่แห่งใด จะพระราชทานคำแนะนำในการทำการเกษตร อย่างเช่น เมื่อครั้งเสด็จฯ ภาคใต้ ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ทรงทราบว่าชาวนาที่นั่นเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แกระ ซึ่งตัดข้าว ได้ทีละรวงเป็นการล่าช้าเสียเวลา จึงได้พระราชทานคำแนะนำให้ใช้ เคียวเกี่ยวแทนข้าว
99
นอกจากนี้แล้วการทำนาสมัยก่อน ใช้การสูบน้ำเข้านาโดย ระหัด ที่ทำด้วยไม้ใช้ถีบด้วย เท้าหรืออาศัยกระแสลม ไม่มันต่อความต้องการ ได้พระราชทานคำแนะนำแก่ผู้เชี่ยวชาญทาง เกษตรวิศวกรรม ให้ทำเครื่องสูบน้ำโดยใช้เครื่องเรือติดท้ายหรือเรือหางกุด ซึ่งนอกจากจะสูบน้ำ เข้านาได้ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว ยังใช้ในการรดน้ำตามร่องสวนหรือเป็นพาหนะได้อีกด้วย รวมทั้ง ทรงสนับสนุนการวิจัยคิดค้นการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงในการทำนาต่างๆ อาทิ เครื่องพรวนดิน เครื่องปลูกข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องนวดข้าว ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพและ ผลผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ข้าวไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และเกษตรกรผู้ปลุกมีฐานะ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระอัจฉริยภาพทางด้านการเกษตรของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทีส่ ำคัญอีกอย่างหนึง่ คือ การพระราชทานพระดำริในการทำ ควายเหล็ก เพื่อใช้ในการทำราเป็นการเพิ่มผลผลิตและ ลดต้นทุนในการเพาะปลูกซึ่งควายเหล็กนี้เป็นรถไถ ๔ ล้อ ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ๘.๕ แรงม้า สำหรับ ใช้ในการเตรียมดินและได้นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการ เพาะปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้ทำฝนเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยฝนเทียม หรือฝนหลวง ได้ช่วยให้เกษตรกรมีน้ำสำหรับการเพาะปลูกในช่วงฝนแล้งอย่าง พอเพียง และฝนหลวงมิได้มีบทบาทเฉพาะเพียงด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในการ แก้ไขปัญหาภัยแล้งแก่ทุกคนทั่วทั้งประเทศอีกด้วย
100
ด้านพระพุทธศาสนา
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง ดำรงพระองค์อยู่ในทศพิธราชธรรม ทรง ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ธ รรมอย่ า งสม่ ำ เสมอ นอกจากจะทรงบำเพ็ ญ กุ ศ ลในฐานะพุ ท ธ มามกะ และอัครศาสนูปถัมภกแล้ว ยังมีสาย พระเนตรอั น ยาวไกล ทรงคำนึ ง ถึ ง ความ งอกงามไพบู ล ย์ ข องพระศาสนา จึ ง ทรง ส่ ง เสริ ม พั ฒ นาให้ พ ระภิ ก ษุ ส ามเณรมี ก าร ศึกษามีความรู้มากยิ่งขึ้น จนทัดเทียมกับ การศึกษาของโลกปัจจุบัน ทั้งในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม และการศึกษาของพระสงฆ์ระดับ ปริญญา ที่มีการสอนในมหามกุฎราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยโดยทรงรับไว้ใน พระบรมราชูปถัมภ์ สำหรับสามาเณรรูปใดที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อจะอุปสมบทจะ ทรงรับไว้เป็นนาคหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญในหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา เมื่อชาวพุทธไม่ได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนให้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ย่อมทำให้นำไปประพฤติ ปฏิบัติผิดพลาดเบี่ยงเบนไปจากหลักธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้อง ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะการ นับถือพระพุทธศาสนาต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้องจึงโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์ปรับปรุง พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง และพระราชทานพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยมหิดล ขยายงาน การศึกษาพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การศึกษาพระพุทธศาสนา มีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทันกับความเจริญก้าวหน้าของสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงสร้างพระพุทธปฏิมาเพื่อเคารพ สักการบูชา เป็นพุทธานุสติระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐ เซนติเมตร มีพระราชดำริให้สร้าง ขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ส่วนพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานให้ประชาชนทั่วไปนำไปสักการบูชามีลักษณะเป็น แบบพุทธศิลป์แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ รวมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิ มาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ หอพระสุลาลัยพิมาน ร่วมกับพระพุทธ ปฏิมาชัยวัฒน์ทุกรัชกาล
101
ด้านศิลปวัฒนธรรม
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวหัว ทรงมีพระอัจฉริยภาพ ในศิลปะหลายสาขา โดยในด้าน ดุริยางคศิลป์ทรงดนตรีได้หลาย ชนิด และได้พระราชนิพนธ์เพลง ไว้ เ ป็ น จำนวนมาก จนสถาบัน ดนตรีต่างประเทศยกย่องว่า ทรง เป็ น เอกในทางดนตรี พ ระองค์ หนึ่งของโลก รวมทั้งทรงมีพระ ปรีชาสามารถในงานศิลปะการแสดง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่ใช้ประกอบลีลาการแสดงระบำ ปลายเท้า และการแสดงชุดมโนราห์นี้ รวมทั้งเพลงพระราชนิพนธ์สายฝน ยามเย็น มาร์ชราช นาวิ ก โยธิ น และมาร์ ช ราชวั ล ลภ วงดนตรี ชั้ น นำของออสเตรี ย ได้ อั ญ เชิ ญ ไปบรรเลง ณ คอนเสิร์ตฮอล์ กรุงเวียนนา และมีการถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียงไปทั่วประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่ พระมหากษัตริย์แห่งทวีปเอเชียได้ทรงเข้าไปมีบทบาทอันสำคัญยิ่งในนครแห่งดนตรีโลก สำหรับทางทัศนศิลป์ ทรงมีความสามารถและเชี่ยวชาญในการวาดภาพ ทรงวาดภาพสี น้ำมันและพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ เข้าร่วมในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ส่วนด้าน วรรณศิ ล ป์ ท รงพระนิ พ นธ์ บ ทความทรงพระราชนิ พ นธ์ แ ปลเรื่ อ งสารคดี เ กี่ ย วกั บ เศรษฐกิ จ การทหาร ไว้หลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ นอกจากนี้ ได้พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นเรื่องในทศชาติชาดก ทรงใช้ภาษาที่กระชับสละสลวยเข้าใจง่าย โดยทรงตั้ง พระราชหฤทัยที่จะให้หนังสือนี้เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า ความเพียรที่บริสุทธิ์ เป็นคุณธรรมที่สำคัญ ต่อการดำเนินชีวิตของทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านประติมากรรม ไม่น้อยไปกว่า ศิลปะด้านอื่นๆ เช่น พระราชทานพระราชดำริและพระราชวินิจฉัย เกี่ยวกับลักษณะพระพุทธน วราชบพิตร พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ และพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. โดยทรงตรวจสอบ อย่ า งละเอี ย ดจนพอพระราชหฤทั ย จึ ง ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ให้ น ำไปหล่ อ เป็ น องค์ พ ระ นอกจากนี้แล้วทรงให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนางคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพระยุหยาตราชลมารค และการเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวน พยุหยาตราสถลมารคขึ้นมาปฏิบัติ ทั้งนี้ เนื่องจากทรงห่วงใยในศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่มีมา แต่อดีต จึงทรงส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติชาติสืบไป
102
เทคโนโลยี
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท ร ง มี พ ร ะ อั จ ฉ ริ ย ภ า พ ท า ง ด้ า น เทคโนโลยีเป็นอย่างมาก และทรงนำ ความรู้ เ หล่ า นี้ ม าใช้ ใ ห้ เ ป็ น ประโยชน์ แก่พสกนิกรของพระองค์ อย่างเช่น ทรง พระราชดำริในการทำฝนเทียม เพื่อช่วย เหลือเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำ จากการ ที่ฝนทิ้งช่วงหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทรงคิดประดิษฐ์เครื่องตัดหมอก เป็น การแก้ปัญหาที่น้ำมีไม่เพียงพอในการปลุกป่าและต้นไม้บริเวณภูเขาสูง ๆ การกำจัดน้ำเน่าเสียด้วย เครื่องกลเติมอากาศอันเนื่องมากจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดการเน่าเสีย ของน้ำจากแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม และแหล่งเกษตรกรรม อย่างได้ผลคุ้มค่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ป่าพรุของภาคใต้ตามทฤษฎี แกล้งดิน ด้วยหลักการเทคโนโลยี โดยทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมี ของดิน จนทำให้ดินนั้นกลายเป็นดินดีสามารถเพาะปลูกพืชต่างๆ อย่างได้ผล ส่วนในด้านของขยะ ทีก่ อ่ ให้เกิดความเดือดร้อน จากปัญหาสิง่ แวดล้อม และการแพร่กระจายของเชือ้ โรค ได้พระราชทาน พระราชดำริในการกำจัดขยะแบบครบวงจร ซึ่งนอกจากจะทำให้ขยะหมดสิ้นไปแล้ว ยังนำเอาถ่าน ที่เกิดจากการเผาขยะ ไปผสมกับวัสดุที่เหมาะสมอัดเป็นแท่ง นำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากขยะในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สหลุมขยะอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถในด้านคอมพิวเตอร์ ทรงนำวิทยาการ ด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำบัตร ส.ค.ส. พระราชทานแก่พสกนิกร รวมทัง้ ทรงคิดสร้างโปรแกรม คอมพิวเตอร์อักษรเทวนาครี เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและศาสนา นอกจากนี้ทรงเชี่ยวชาญ การสื่อสารอุตุนิยมวิทยา จนสามารถคาดหมายลักษณะอากาศได้อย่างถูกต้อง พระอัจฉริยภาพ ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การพระราชทานพระราชดำริในการสร้างหุ่นยนต์ ขนาด เท่าคนจริงที่สามารถเดินได้ พูดได้ ทำอะไรต่างๆ ได้ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ ๔๕ ปี มาแล้ว ทำให้เกิดการตื่นตัวในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป้นอย่างมาก จนเป็นผลดีแก่ ประเทศชาติในปัจจุบัน
103
พระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรี
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านอื่นๆ แล้ว ยังทรง มีพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีอีกด้วย ผลงานพระราชนิพนธ์เพลงของพระองค์ มิใช่แต่เพียง พสกนิกรชาวไทยจะรู้จักยังเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก แม้แต่สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่ง กรุงเวียนนา ซึ่งเป็นสถาบันชั้นสูงทางด้านดนตรีของโลก ได้ยอมรับผลงานของพระองค์ในด้าน ดนตรี พร้อมกับถวายปริญญาสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลข ๒๓ ของสถาบัน แด่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว นับเป็นชาวเอเชียพระองค์แรกและพระองค์เดียว ที่ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ ให้ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ นับเป็นความภาคภูมิใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคนเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงพระปรีชาสามารถทางด้านดนตรี โดยทรง ดนตรีประเภทเครื่องเป่าได้เกือบทุกชนิด รวมทั้งเปียโนแล้ว ยังทรงพระราชนิพนธ์คำร้อง ทำนอง และการเรียบเรียงเสียงประสาน เพลงพระราชนิพนธ์ทุกเพลง ไม่เพียงแต่จะสร้างความซาบซึ้ง ประทับใจแก่ผู้ได้รับฟังเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เป็นสื่อสร้างความดี ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจน กระตุ้นเตือนให้ทุกคนรักชาติ เสียสละเพื่อส่วนรวม จึงนับเป็นโชคดีของปวงชนชาวไทยทุกคน ที่มี พระมหากษัตริย์ที่นอกจากจะทรงห่วงใยในความทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ และทรงหาทาง ช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรี เป็นที่ประจักษ์ แก่ชาวโลกอีกด้วย
104
กีฬาเรือใบ
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของทวีป เอเชีย ที่ทรงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาระดับ นานาชาติ จนได้รับการบันทึกไว้ในประวัติ ศาสตร์กีฬาของโลก ทั้งนี้ เนื่องจากพระองค์ ได้ ท รงเข้ า ร่ ว มการแข็ ง ขั น กี ฬ าแหลมทอง หรือซีเกมส์ ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๐ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขัน และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวาย เหรียญทอง นับเป็นความภูมิใจของพสกนิกร ชาวไทย และความปลื้มติของนักกีฬาชนิด ต่างๆ ที่ได้มีโอกาสลงแข่งขันกับองค์พระ ประมุขของชาติไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบมาแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อครั้งที่ประทับ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทรงต่อเรือใบด้วยพระองค์จนสำเร็จ แต่ไม่ทัน ได้ทรงใช้เนื่องจากต้องเสด็จนิวัติประเทศไทยเสียก่อน ต่อมาได้ทรงต่อเรือใบขึ้นอีกหนึ่งลำ โดยทรง ใช้ห้องโถงชั้นล่างของพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นที่ต่อเรือใบชนิดเอ็นเตอร์ไพรซ์ เป็นเรือ ๒ ที่นั่ง แล้วพระราชทานชื่อว่า ราชปะแตน จากนั้นทรงนำเรือราชปะแตน เข้าร่วมการแข่งขัน เรือใบ ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๐๗ แต่ไม่ทรงได้รับชัยชนะ จึงได้ทรงต่อเรือใบที่นั่งเดียวขึ้นอีกลำหนึ่ง เป็นเรือประเภท โอ.เค. และพระราชทานชื่อว่า นวฤกษ์ ซึ่งเรือลำนี้ได้ทรงนำเข้าร่วมการแข่งขันเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ จนทรงได้รับ ชัยชนะ ภายหลังทรงนำเรือใบประเภท โอ.เค. ที่ทรงต่อขึ้นใหม่ชื่อว่า วีก้า เสด็จข้ามอ่าวไทยจาก หัวหินไปยังสัตหีบ รวมทั้งได้พระราชทานพระราชดำริในการต่อเรือใบแบบมด เพื่อใช้ในการแข่งขัน พระอัจฉริยภาพแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านกีฬาเรือใบเป็นที่ยอมรับของนานา ประเทศ จึงทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญอิสริยาภรณ์โอลิมปิคชั้นสุงสุด นับเป็นความ ภาคภูมิใจของชาวไทยทุกคนเป็นอย่างยิ่ง
ด้านการสื่อสาร ด้านการสื่อสาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักว่าการสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ใน การพัฒนาและการรักษาความมั่นคงของประเทศ ยิ่งในปัจจุบันที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลง อยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ จึงได้ ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาวิชาการสื่อสาร และทดลองปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อที่จะนำ ประโยชน์ ข องการสื่ อ สารไปใช้ ใ นการติ ด ตามรั บ ฟั ง ข่ า วสาร ที่ เ ป็ น ความทุ ก ข์ สุ ข ของอาณา ประชาราษฎร์ ดังนั้น ไม่ว่าจะประทับอยู่ ณ ที่แห่งใด สิ่งที่พระองค์จะทรงขาดไม่ได้คือ การสดับ รับฟังข่าวเกี่ยวกับภัยพิบัติและความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับประชาชน ผ่านทางเครื่องมือสื่อสารระบบ ต่าง ๆ เป็นประจำ และเมื่อเสด็จออกนอกพระตำหนัก จะทรงนำเครื่องรับ-ส่งวิทยุชนิดมือถือติด พระองค์ไปด้วยทุกครั้ง
106 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสน พระราชหฤทั ย ในเรื่ อ งการสื่ อ สารทางวิ ท ยุ อย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ทรงใช้เครื่อง รับ-ส่งวิทยุคมนาคมชนิดมือถือ เพื่อที่จะได้ทรง ทราบข่าวคราวต่างๆ ทีเ่ ป็นความทุกข์เดือดร้อน ของพสกนิกรได้อย่างรวดเร็วตรงกับความเป็น จริง เพื่อที่จะได้พระราชทานความช่วยเหลือ เป็ น การบำบั ด ทุ ก ข์ บ ำรุ ง สุ ข ได้ ทั น ท่ ว งที ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทาน พระราชดำริในการค้นคว้าวิจัยด้วยพระองค์ เอง เกี่ยวกับการรบกวนสายอากาศ การทวน สัญญาณ การถ่ายทอดสัญญาณ ได้เป็นจุด เริ่มต้นของการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสาร ทางวิทยุให้ก้าวหน้าและทันสมัยในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสน พระราชหฤทัยในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุ ในเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นทรงทดลองการแพร่ กระจายคลื่นวิทยุ และการรับสัญญาณด้วยพระองค์เอง ทรงเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การติดต่อสื่อสาร ทั้งในด้านความถูกต้องของคำพูดติดต่อสื่อสาร และการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทรงตักเตือนทักท้วงหากนักวิทยุสมัครเล่นผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ขณะเดียวกันก็จะพระราชทานคำแนะนำ คำอธิบายเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิคด้วยภาษา ง่ายๆ ด้วยเหตุนี้ เมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัครขึ้น จึงได้ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าฯ ถวายสัญญาณเรียกขาน วี.อาร์.๐๐๙ แด่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๔
107
อุตุนิยมวิทยา
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงสน พระราชหฤทัยในกิจการสื่อสารอุตุนิยมวิทยามาเป็น เวลายาวนาน เนื่องจากทรงพิจารณาเห็นว่า กิจการ อุ ตุ นิ ย มวิ ท ยามี ส่ ว นสำคั ญ ต่ อ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เพราะการทราบสภาวะอากาศล่วงหน้าย่อมจะเป็น การดี ทั้ ง ในด้ า นการป้ อ งกั น ภั ย ธรรมชาติ ที่ อ าจ เกิดขึ้น และการอำนวยประโยชน์ในการเพาะปลูก เนื่ อ งจากสามารถเลือกพืชและช่วงเวลาที่จะปลูก ได้อย่างเหมาะสม อันเป็นประโยชน์ต่อพสกนิกร ของพระองค์ จึงได้ทรงศึกษาหาความรู้ด้านอุตุนิยม วิ ท ยามาโดยตลอด จนทำให้ ท รงมี พ ระปรี ช า สามารถในการพยากรณ์ลักษณะอากาศได้อย่างถูกต้องแม่นยำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ในการคาดหมายลักษณะ อากาศได้อย่างถูกต้อง ทรงสามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดพายุหรือมรสุมเมื่อไหร่ มีผลทำให้ เกิดภัยธรรมชาติขึ้น ณ ที่ใด ซึ่งเกือบทุกครั้งเมื่อเกิดอุทกภัยหรือวาตภัย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งเป็นหน่วยบรรเทาทุกข์ในพระองค์ จะไปถึงพื้นที่ที่มีภัยธรรมชาติ เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ที่ ประสบภัยก่อนหน่วยงานอื่นๆ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในด้าน อุตุนิยมวิทยา ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ทรงทราบสภาพของอากาศล่วงหน้า และ พระราชทานความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาลักษณะอากาศจากข้อมูลที่ กรมอุตุนิยมวิทยา นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายทุกวัน ประกอบกับข้อมูลจากต่างประเทศที่ทรงเลือกจากระบบสื่อสารต่าง ๆ เพื่อพยากรณ์และวิเคราะห์ลักษณะอากาศ ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย โดยเฉพาะใน ช่วงที่มีสภาวะอากาศผิดปกติจะทรงติดตามอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับ เส้นทางของพายุที่พัดผ่านประเทศไทย ว่าจะมีแนวโน้มไปทางใดและมีผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนใด ของประเทศ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปแจ้งเตือนแก่ประชาชน รวมทั้งหาทางป้องกัน แก้ไข พระปรี ช าญาณด้ า นอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยาแห่ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ได้ ช่ ว ยเหลื อ อาณา ประชาราษฎร์เป็นอย่างมาก
108
คอมพิวเตอร์
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัว นอกจากจะทรงมีพระปรีชา สามารถในด้านการเกษตร ดนตรี กีฬา และอื่นๆ แล้ว ยังสนพระราช หฤทัยในด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง ในด้ า นการสื่ อ สารโทร คมนาคม ดังจะเห็นได้จากบริเวณ รอบนอกพระตำหนั ก ที่ ป ระทั บ ทุ ก แห่ ง จะมี เ สาอากาศชองวิ ท ยุ สื่อสารต่างๆ มากมาย ส่วนภายในพระตำหนักจะเต็มไปด้วยเครื่องมือสื่อสารนานาชนิดและเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ เพื่อทรงใช้ในการติดตามรับฟังข่าวสารที่เป็นความเดือดร้อนของอาณา ประชาราษฎร์ เนื่องจากทรงตระหนักว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ในด้านการพัฒนา และรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ สำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน สมองกล เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสน พระราชหฤทัยมาก่อนหน้านี้เกือบ ๔๐ ปี โดยได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงงาน คอมพิวเตอร์ที่ใหญ่แห่งหนึ่งในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๐๓ หลัง จากนั้นมาจึงได้มีผู้ให้ความสนใจ และนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทย ในขณะที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาความก้าวหน้าทางวิชาการคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องตลอดมา จน ทรงมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงนำ วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำบัตร ส.ค.ส. เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพานและ พสกนิกร ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ นอกจากนี้ได้ทรงคิดสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวอักษร เทวนาครี ที่ทรงเรียกว่า ภาษาแขก ซึ่งยังไม่เคยมีผู้ใดในประเทศไทยคิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนประโยชน์ ทางการศึกษา ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการสื่อสาร และด้วย พระอัจฉริยภาพในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม ก่อให้เกิดการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่อาณาประชาราษฎร์ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
109
หุ่นยนต์คุณหมอ
พ
ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงมี ส ายพระเนตรและวิ สั ย ทั ศ น์ ที่ กว้ า งไกล ทรงแน่ พ ระราชหฤทั ย ว่ า ใน อนาคตอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จะมี บ ทบาทสำคั ญ ต่ อ การศึ ก ษาและ พัฒนา จึงทรงมีพระราชดำริให้มีการสร้าง หุ่นยนต์ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๗ หรือเมื่อ ๔๕ ปีที่ผ่านมา ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดใน ประเทศไทยรู้เรื่องหุ่นยนต์เลย โดยทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วิทยาลัยเทคนิค กรุงเทพฯเป็นผู้ดำเนินการสร้าง พร้อมกับพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งหุ่นยนต์ที่สร้างนี้เป็นผู้ชายสูงขนาดเท่าคนจริง สามารถเดินได้ กะพริบตาได้ ยกมือได้ ไหว้ได้ พูดได้ คิดเลขได้ ตอบปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยเครื่องส่งวิทยุความถี่และ กำลังสูงที่มีผู้ควบคุม เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้นำหุ่นยนต์เข้าถวายให้ทอดพระเนตร พร้อมทั้งบังคับหุ่นยนต์ให้ปฏิบัติ ตามพระราชประสงค์ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พร้อมกับได้พระราชทานพระราชดำริในการ ปรับปรุงแก้ไขหุ่นยนต์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการเสริมโครงสร้างให้แข็งแรง จัดโปรแกรม การเดินและการยกมือให้ดีขึ้น แก้ไขการเคลื่อนไหวให้มั่นคง แข็งแรงและว่องไว ปรับปรุงเรื่องเสียง ให้ดังและชัดเจนขึ้น ซึ่งคณะผู้จัดทำได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริ รวมทั้งในด้านการแต่งกาย ของหุ่นยนต์ ไดจัดแต่งแบบคุณหมอเป็นชุดขาว สวมเสื่อกาวน์ ที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายติดกาชาด สีแดง และมีเครื่องฟังสำหรับใช้ตรวจวิเคราะห์โรคเพื่อให้เป็นไปตามราชประสงค์ หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทานตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นำไปแสดงในงานกาชาด ซึ่งจัดขึ้นฯ บริเวณสถานเสาวภา ซึ่งหุ่นยนต์ได้สร้างความแปลก ประหลาดและเรียกร้องความสนใจได้เป็นอย่างมาก เพราะไม่เคยปรากฏหุ่นยนต์ขนาดใหญ่เท่าคน ที่สามารถเดินได้ พูดได้ ทำอะไรต่าง ๆ ได้มาก่อนเลย และจากการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริและพระราชทานพระราชทรัพย์สว่ นพระองค์ ให้มกี ารจัดสร้างหุน่ ยนต์ ขึ้นมานี้ ทำให้เกิดการตื่นตัวด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก สถาบันอาชีวศึกษา ต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาอิเล็กทรอนิกส์ให้ก้าวหน้า จนเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ ในปัจจุบัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
110
โทรศัพท์
เ
มื่ อ ครั้ ง ที่ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงคราช นิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสื่อสารตำรวจ เกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์ต่างๆ ที่ เป็นสาธารณภัย และความทุกข์เดือด ร้อนของประชาชน รวมทั้งทรงศึกษา การแพร่กระจายคลื่นในระยะทางไกล การทวนสัญญาณ และการถ่ายทอดสัญญาณ เมื่อทรงพบข้อบกพร่อง ได้พระราชทานคำแนะนำ ให้แก้ไข ทำให้ระบบสื่อสารทางไกลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการสื่อสาร ทั้งในระบบวิทยุ และโทรศัพท์เป็นอย่างมาก รวมทั้งได้ทรงศึกษาค้นคว้าทดลองอย่างจริงจัง จนทรงมีพระปรีชา สามารถในด้านนี้ ดังเช่นทรงสังเกตว่าในช่วงฤดูหนาวที่มีหมอกปกคลุม การติดต่อสื่อสารระหว่าง จังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือ จะมีปัญหาในเรื่องสัญญาณคลื่นวิทยุจางหาย ไม่สามารถที่จะติดต่อกัน ได้เป็นที่เดือดร้อนอย่างยิ่ง จึงได้พระราชทานข้อวินิจฉัยเพื่อนำไปแก้ไข โดยการตั้งจานสายอากาศ รับสัญญาณคลื่นวิทยุเพิ่มขึ้น เพื่อดักสัญญาณที่หักเหเปลี่ยนทิศทาง จนปรากฏการณ์แปรปรวนใน ชั้นบรรยากาศ จนทำให้เกิดการหักเหของคลื่นวิทยุผิดไปจากปกติ นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้จัดทำเครื่องทวนสัญญาณ เพราะการเสด็จฯ เยี่ยมเยียนประชาชนในท้องที่ต่างๆ นั้น บางครั้งวิทยุสื่อสารไม่สามารถติดต่อได้ เพราะระยะทางไกลหรือภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย มีสิ่งกีดขวาง ซึ่งเครื่องทวนสัญญาณที่ทรง แนะนำให้ทำนี้ สามารถเพิ่มระยะทางการใช้วิทยุสื่อสารได้มากขึ้น ต่อมาได้มีการนำเครื่องทวน สัญญาณนี้ ไปใช้ในการตรวจแก้ข่ายโทรศัพท์ ในพื้นที่ที่ห่างไกลได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้โทรศัพท์เป็นอย่างมาก จากพระปรีชาญาณและสายพระเนตรที่ยาวไกลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการปรับปรุงแก้ไขและประยุกต์งานสื่อสารโทรคมนาคม ได้ก่อให้ เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างมหาศาล
111
วิทยุกระจายเสียง
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนัก ดีว่า วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้รับได้มากที่สุด ในเวลาอันรวดเร็ว ให้ทั้งความรู้ ความบันเทิง ข่าวสาร ซึ่ ง ทุ ก คนสามารถที่ จ ะรั บ ฟั ง วิ ท ยุ ก ระจายเสี ย งได้ โดยไม่จำกัดฐานะ เพศ วัย และการศึกษา จึงทรง สนพระราชหฤทัยในเรื่องวิทยุกระจายเสียงมาตั้งแต่ ยังทรงพระเยาว์ เมื่อครั้งประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่อง รับวิทยุ ประกอบด้วยผลึกแร่ ลวดหนวดแมว คอยล์ คอนเดนเซอร์ และหูฟัง ในราคาที่ไม่แพง แล้วทรง นำมาประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดใช้แร่ สามารถ รับฟังรายการต่าง ๆ ของสถานีวิทยุในยุโรปได้ ครั้นเมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว มิได้ทรงละทิ้งความสนพระราชหฤทัยด้านวิทยุกระจายเสียง แต่อย่างใด กลับทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทรงเห็นว่า วิทยุกระจายเสียงมีส่วนใน การเสริมสร้างความเข้าใจ ความรักสามัคคี และความร่วมมือของคนในชาติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง สถานีวิทยุ กระจายเสียงขึ้นในบริเวณพระราชวั งดุสิต เพื่อเปิ ดโอกาสให้พ สกนิก รทุกหมู่ เหล่า สามารถใกล้ชิดพระองค์ได้มากยิ่งขึ้น โดยทรงใช้สถานีวิทยุ อส. เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อ ข่าวสารกับผู้ฟังทางบ้าน เมื่อเริ่มตั้งสถานีวิทยุ อส. ใหม่ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปรับเครื่องส่งวิทยุเอง รวมทั้งทรงจัดรายการและเปิดแผ่นเสียงด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้แล้ว ครั้งที่เกิดวาตภัยที่แหลม ตะลุมพุก ในเดือนตุลาคม ๒๕๐๕ มีผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อส. จัดรายการรับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งได้รับเงินบริจาคถึง ๑๑ ล้านบาท ได้พระราชทานให้นำไปช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัย ส่วนอีก ๓ ล้านบาท โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือดร้อนจากภัยต่าง ๆ ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อความผาสุกของ พสกนิกร
เพื่อความมั่นคง ของชาติ เพื่อความมั่นคงของชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในความมั่นคงของประเทศชาติและความผาสุก
ของอาณาประชาราษฎร์ เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง ทรงปฏิ บั ติ ทุ ก อย่ า งด้ ว ยพระวิ ริ ย ะอุ ต สาหะ เพื่ อ ให้ ประเทศชาติดำรงความเป็นเอกราช ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุข นอกจากจะทรงเตือนสติ คนไทยทุกคน ให้มีความรักชาติและสามัคคีปรองดองกันแล้ว ในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพไทย ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศถึงฐานที่ตั้ง ทั้งในยาม ที่มีการสู้รบและยามปกติ รวมทั้งได้พระราชทานความช่วยเหลือแก่ทหารและครอบครัวทหารที่ บาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตจากการสู้รบ ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การฝึกอาชีพ และการศึกษา ของบุตร
113
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบดีว่านอกจากทหารแล้ว ตำรวจก็มีบทบาทสำคัญ ในการรักษาความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจพลร่มและตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งมี ภารกิจหลักคล้ายทหาร จึงได้ทรงติดตามการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เมื่อแปรพระราชฐานไป ประทับยังต่างจังหวัด จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมและพระราชทานสิ่งของต่างๆ ให้เสมอ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ร่วมปฏิบัติงานตามโครงการพระราชดำริเพื่อเป็นการช่วยเหลือ ประชาชน รวมทั้งได้พระราชทานเงินให้จัดสร้างโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลความเจริญ แล้วให้ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นครูสอน ซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษาความมั่นคงของชาติ สำหรับประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่ามีความสำคัญต่อการรักษา เอกราชและความมั่นคงของประเทศชาติ เนื่องจากทรงมีพระราชดำริว่าความมั่นคงของชาติจะ มีได้ ขึ้นอยู่กับคนไทยทุกคน จึงทรงสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่ประชาชนรวมพลังกันจัดตั้งขึ้น เพื่อ พัฒนาบ้านเมืองและรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ดังเช่น ไทยอาสาป้องกันชาติ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ รวมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นแก่ลูกเสือชาวบ้าน พระมหากรุณาธิคุณ แห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านความมั่นคงของชาติ ทำให้ไทยเป็นไทยมาได้จนทุกวันนี้
114
แสนยานุภาพ
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมี พ ระราชดำรั ส เสมอว่ า เมื อ งไทย อยู่รอดมาได้ทุกกาลสมัย ด้วยมีกำลัง ทหารที่เข้มแข็ง จึงทรงเอาพระราชหฤทัย ใส่ในกิจการของทหาร ทรงตระหนักว่า ธงชั ย เฉลิ ม พลมี ค วามสำคั ญ ต่ อ ทหาร เนื่องจากเป็นจุดรวมแห่งขวัญ กำลังใจ และความสามัคคี จึงเสด็จพระราชดำเนิน ไปประกอบพิธตี รึงหมุด และพระราชทาน ธงชัยเฉลิมพล ให้กับผู้บังคับหน่วยทหารด้วยพระองค์เองทุกครั้ง นอกจากนี้แล้วทรงถือว่า การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมทหารและตำรวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศตามแนวชายแดน และท้องถิ่นทุรกันดาร หรือที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ เป็นพระราชภารกิจที่สำคัญและได้ทรง ปฏิบัติเสมอมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะพระราบทานขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ที่รักษา ความมั่นคงของชาติ ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมถึงฐานปฏิบัติการ ทั้งในยามปกติ และในยามที่มีการสู้รบ รวมทั้งพระราชทานความช่วยเหลือ แก่ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตและ พิการทุพพลภาพ จากการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติแล้ว ยังได้พระราชนิพนธ์ทำนองเพลง เพื่อเป็นกำลังใจ และเตือนสติ ดังเช่น แผ่นดินของเรา ความฝันอันสูงสุด เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้เจ้าหน้าที่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ หรือพลเรือน ได้ตระหนักในภาระ หน้าที่ และเกียรติยศของการทำงานเพื่อชาติ นอกจากนี้แล้ว ในทุกๆ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนิน ไปในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เป็นประจำเสมอมา พร้อม กับพระราชทานพระบรมราโชวาท ให้ทหารทุกนายมีความจงรักภักดีต่อชาติ ตั้งมั่นอยู่ในความ ซื่อสัตย์ สุจริต สามัคคี เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเหตุนี้ จึงทำให้กองทัพเป็นสถาบัน หลัก ในการรักษาความมั่นคงของชาติอย่างแท้จริง
115
อาวุธยุทโธปกรณ์
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุง อาวุ ธ ยุ ท ธภั ณ ฑ์ ข องทหารและตำรวจ เป็นอย่างมาก เนื่องจากทางตระหนักว่า การปกป้ อ งเอกราชของประเทศชาติ และการรักษาความสงบเรียบร้อยของ บ้ า นเมื อ ง อาวุ ธ ที่ ทั น สมั ย เป็ น ปั จ จั ย สำคัญ แต่มีปัญหาในด้านงบประมาณ ที่ มี อ ยู่ อ ย่ า งจำกั ด ไม่ ส ามารถจั ด ซื้ อ อาวุธยุทโธปกรณ์ จากประเทศผู้ผลิตได้ ตามความต้องการ จึงทรงพระราชดำริในการปรับปรุงอาวุธที่มีอยู่ให้ทันสมัย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ ผู้เชี่ยวชาญทดลองประดิษฐ์ปืนกลเบาติดเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้นักบินทำการยิงปืนกลเบาดังกล่าว ด้วยระบบไฟฟ้า ตามแบบที่ได้พระราชทาน นับเป็นระบบการยิงที่ทันสมัยสำหรับประเทศไทยใน เวลานั้น ภายหลังที่มีการจัดทำปืนกลเบาสำหรับติดเฮลิคอปเตอร์ ตามพระราชดำริแล้ว พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ประทับเฮลิคอปเตอร์ที่ติดอาวุธปืนกลเบา เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๓ เพื่อทรงอำนวยการให้นักบินยิงปืนกลที่ติดตั้งไว้ไปยังเป้าหมาย ทั้งบนพื้นดินบนภูเขาและ ในทะเล ซึ่งปรากฏว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แล้วได้ทรงศึกษาทดลอง เกี่ยวกับปืนเล็กยาว เอ็ม. ๑๖ ที่กองทัพไทยได้สั่งซื้อมาใช้ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ กระสุนขัดลำกล้อง ซึง่ เป็นอันตรายต่อผูใ้ ช้จนทรงทราบถึงสาเหตุของการติดขัด และได้พระราชทาน วิธีการแก้ไขเพื่อให้นำไปปฏิบัติ จนสามารถใช้การได้เป็นอย่างดี เมื่อครั้งที่มีการซ้อมรบในการยกพลขึ้นบกของกองทัพเรือไทยกับสหรัฐอเมริกา ที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าร่วมด้วยโดยทรงนำปืนเล็ก ยาว เอ็ม. ๑๖ ที่ทรงแก้ไขข้อบกพร่องแล้วมาใช้ และโปรดให้ทหารนาวิกโยธินใช้ปืน เอ็ม. ๑๖ เป็น อาวุธประจำกายในการฝึกครั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นการซ้อมรบยกพลขึ้นบกแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปยังสนามยิงปืน ศูนย์การทหารราบ ค่าย ธนะรัชต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทรงสาธิตการใช้ปืน เอ็ม. ๑๖ ให้ทหารราบได้ทราบถึงวิธีการใช้ และการแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ ทำให้ทหารทุกนาย มีความมั่นใจในการใช้ ซึ่งได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
116
เพื่อผู้กล้าหาญ
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยเจ้าหน้าที่ทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ตลอดจนราษฎรอาสาสมัคร ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ ชาติ ตามแนวชายแดนและท้องถิ่น ทุรกันดารเป็นอย่างมาก เมื่อครั้งที่ ผู้ก่อการร้ายได้ขยายเขตการรุกราน และก่อกวนตามจุดต่างๆ เกือบทุก พื้ น ที่ ทั่ ว ประเทศพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั จะทรงติดตามสถานการณ์ ตลอดเวลา คราวใดที่เกิดการปะทะกัน อย่างรุนแรง และมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ณ ที่ใด มีความยากลำบากในการเดินทาง และเสี่ยงอันตรายเพียงใดก็มิได้ทรงคำนึงถึง จะต้องเสด็จ พระราชดำเนินไปจนถึงที่เกิดเหตุทุกครั้ง เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่าความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ เกิดจากการเสียสละของทหารและเจ้าหน้าที่ทุกคน เมื่อได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการปฏิบัติหน้าที่ ในการสู้รบ จนถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพอะไรได้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการฝึกวิชาชีพ โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก จัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทาน ได้สร้างชีวิตใหม่ให้แก่ผู้ที่เสียสละเพื่อชาติจน พิการจำนวนมาก สามารถที่จะประกอบอาชีพการงานได้ โดยไม่ต้องเป็นภาระแก่สังคม นอกจากศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทานแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงสนับสนุนให้ ตั้งมูลนิธิสายใจไทยขึ้น เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๑๘ และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อ สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บพิการทุพพลภาพหรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อ ป้องกันประเทศชาติ ทั้งในด้านเงินเลี้ยงชีพประจำเดือนแก่ผู้ที่พิการทุพพลภาพและครอบครัวของ ผู้เสียชีวิต ตลอดจนการฝึกวิชาชีพในด้านเครื่องหนัง การเจียระไนแก้ว และการเกษตร ทำให้ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และราษฎรอาสาสมัคราทุกคนมีขวัญและกำลังใจในการสู้รบ เพื่อป้องกัน เอกราชของประเทศชาติ และรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
117
ลูกเสือชาวบ้าน
พ
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง ปฏิบัติทุกอย่างที่ทรงมีพระราชดำริว่า จะนำ ความผาสุกร่มเย็นมาสู่ประชาชน ทรงส่งเสริม สนับสนุนกิจการทุกอย่างที่เป็นประโยชน์แก่ ประเทศชาติ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับกิจการลูกเสือชาวบ้านเข้าไว้ในพระบรม ราชานุเคราะห์ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๕ หลังจากที่ได้ทอดพระเนตรกิจการของลูกเสือ ชาวบ้าน ที่กองกำลังตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๔ จังหวัดอุดรธานี ทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สมุหราชองครักษ์ทำหนังสือถึงกระทรวง มหาดไทย ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดสนับสนุนกิจการลูกเสือชาวบ้าน นอกจากนี้ได้ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้แก่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อดำเนิน การรวมทั้งพระราชทานผ้าผูกคอ ว้อกเกิล และหน้าเสือ แก่ลูกเสือชาวบ้านทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้กิจการลูกเสือชาวบ้าน ดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผน ทรงมุ่งหวังที่จะให้คนไทยทุกคน มีความสมานสามัคคีเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อนำความสงบสุขมาสู่ประเทศชาติ ไม่โปรดให้ลูกเสือชาวบ้านเข้าไปเกี่ยวข้อง กับลัทธิการเมืองใดๆ อย่างเด็ดขาด หรือแสดงแสนยานุภาพในการสวนสนาม แม้แต่เงินอุดหนุน ก็ไม่โปรดให้ใช้งบประมาณแผ่นดิน ด้วยทรงประสงค์ที่จะให้เป็นกิจการที่ดำเนินงานโดยประชาชน ลูกเสือชาวบ้านจึงไม่มีเครื่องแบบ นอกจากผ้าพันคอที่พระราชทานเมื่อสำเร็จการอบรม เป็น สัญลักษณ์ของการเป็นลูกเสือชาวบ้าน และพระราชทานธงประจำรุ่นให้เป็นสัญลักษณ์ของการ รวมกลุ่ม กิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นภารกิจที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นในเรื่องของ ความสามัคคีดว้ ยการฝึกฝนคนในท้องถิน่ ให้มคี วามรูท้ จ่ี ะช่วยเหลือตนเองได้ เป็นผูท้ ม่ี คี วามเสียสละ และความร่วมมือกันทำสิง่ ทีจ่ ะต้องทำ คือ สร้างความมัน่ คงและความเจริญให้แก่ตนเองก่อน ต่อจาก นั้นก็ทำความเจริญมั่นคงปลอดภัยแก่หมู่ของตนไม่มีความคิดอื่นแอบแฝงในด้านที่เป็นการเมือง หรือจะให้เป็นเพื่อต่อสู้อะไร ถ้าเรียกว่าเป็นกำลังหรือพลัง ก็เป็นพลังที่ร่วมแรงกันสร้างสรรค์ความ เจริญให้แก่ตนเอง และหมู่บ้านของตน จึงจะเรียกว่าเป็นลูกเสือชาวบ้านอย่างแท้จริง
118
พ่อฟ้าหลวง
จ
ากการที่ประเทศไทยมี ชนชาวเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่เป็น เวลาช้านานจนกลายเป็นพลเมือง ของประเทศ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ชาวเขาเหล่ า นี้ จ ะอยู่ ก ระจั ด กระจายไม่เป็นที่ ประกอบอาชีพ ด้วยการทำไร่เลื่อนลอย มีการ ตัดไม่ทำลายป่า และต้นน้ำลำธาร เพื่ อ ทำไร่ ตลอดจนปลู ก พื ช ที่ เป็นยาเสพติด ซึ่งเป็นอันตราย อย่างใหญ่หลวงต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ ความมัน่ คงปลอดภัยของประเทศชาติ โดยรัฐบาลได้ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อแก้ไข แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ และเคยมีการต่อสู้อย่างรุนแรง ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับชาวเขาเผ่าแม้วที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและทรงตระหนักว่า ชาวเขา เหล่านี้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์เช่นเดียวกับชาวไทยที่อาศัยอยู่ใน ภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชาวเขาเผ่าต่างๆ จนถึงถิ่นที่อยู่ แม้หนทางที่เสด็จพระราชดำเนินจะยากลำบากหรือไกลเพียงไร บางครั้งต้องเสด็จพระราชดำเนิน ด้วยพระบาท ไปกลับไม่น้อยกว่า ๒๐ กิโลเมตรก็ตาม ก็มิได้ทรงย่อท้อเพราะทรงตระหนักพระราช หฤทัยดีว่า ความใกล้ชิดระหว่างพระองค์กลับประชาชนย่อมนำมาซึ่งสันติสุขและความเข้าใจที่ดี ต่อกัน นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงชี้ให้ชาวเขาเห็นถึงผลเสียของการทำไร่ เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น ควบคู่ไปกับพระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่างๆ เข้าไปดำเนินการ ช่วยเหลือแนะนำและจัดที่ดินให้ชาวเขารวมกันอยู่เป็นที่ มีการเพาะปลูกพืชเมืองหนาวตาม โครงการหลวงภาคเหนือแทนการปลูกฝิ่น จัดให้มีโรงเรียนสำหรับสอนบุตรหลานชาวเขา อำนวย ความสะดวกในด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ทำให้ชาวเขาทุกเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีชีวิตความ เป็นอยู่ที่ดี เลิกการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย พระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวนี้ ชาวเขาทุกคนมีความสำนึกและปลาบปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่ง ต่างพากันเทิดทูน พระองค์เป็น พ่อฟ้าหลวง ของปวงชนชาวเขา
119 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี ๒๔๙๕-๒๕๕๖ (มีจำนวน ๔,๔๔๗ โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ๒๕๕๖) ภาค
จำนวนโครงการ / กิจกรรม
กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ ไม่ระบุภาค
๗๘๑ โครงการ / กิจกรรม ๑,๑๑๕ โครงการ / กิจกรรม ๑,๖๙๑ โครงการ / กิจกรรม ๘๔๖ โครงการ / กิจกรรม ๑๔ โครงการ / กิจกรรม
รวม
๔,๔๔๗ โครงการ / กิจกรรม ที่มา : www.rdpb.go.th
บรรณานุกรม หนังสือ “ประมวลโครงการพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่ อ งในโอกาสพระราชพิ ธี ม หา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธั น ว า ค ม ๒ ๕ ๔ ๒ ” ก ร ม ประชาสัมพันธ์ หนังสือ “กษัตริย์นักพัฒนา” สำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เว็บไซต์ http://www.rdpb.go.th สำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสาน งานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ (สำนักงาน กปร.)