B.Arch Thesis 2014

Page 1

ศูนย์ส่สงเสริมศิลปะการแสด ป ดงหนังใหญ ญ่ จ.สิงห์บุรีรี The Supportt Nang Yai Shadow S Plaay Performing Art Centter, Singburri โดย

นายกฤฤษดา ซิ้มเจริญ Kritsada Simcharoenn วิทยาานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ น ่งของการศึกษาตามหลั ก กสูตร ต ปริญญาสถาปั ญ ตยกรรรมศาสตรบัณฑิต ค คณะสถาปั ตยกรรรมศาสตร์ มหาวิวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจําปีการศึ ก กษา ๒๕๕๗๗


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

(ผศ. ดร. ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ) คณบดี

(ผศ. ดร. สันต์ สุวัจฉราภินันท์) หัวหน้ากลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

(ผศ. ดร. เชาวลิต สัยเจริญ) หัวหน้าสํานักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

(อ. ทวีศักดิ์ เกียรติวีระศักดิ์) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

(อ. รัฏฐา ฤทธิศร) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

(ผศ. ดร. ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ) คณบดี

(ผศ. ดร. เชาวลิต สัยเจริญ) หัวหน้าสํานักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

(ผศ. ดร. สันต์ สุวัจฉราภินันท์) หัวหน้ากลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


ปีการศึกษา 2557

กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สําเร็จลุลว่ งไปด้วยดี ด้วยความกรุณาจาก ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. สันต์ สุวัจฉราภินันท์ อาจารย์ทวีศักดิ์ เกียรติวีระ ศักดิ์ และอาจารย์รัฎฐา ฤทธิศร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ได้ให้ ข้อเสนอแนะ ให้แนวคิด ตลอดจนแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ อย่าง เอาใจใส่มาตลอด คอยผลักดันให้ นศ. กล้าคิดในสิ่งที่ท้าทายตนเอง และ แปลกใหม่ออกไปจากกระบวนการทํางานเดิมๆ ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ให้วิชาความรู้จนถึงทุกวันนี้ ขอขอบพระคุณคุณดํารงค์ ปิ่นทอง กรรมการที่ปรึกษาของชุมชนวัด สว่างอารมณ์ และคุณคณิต ภักดี คุณครูภูมิปัญญาหนังใหญ่ รวมถึงน้องๆ เยาวชนในชุมชน ที่ได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และให้ขอ้ มูลอันเป็น ประโยชน์มากต่อการทํางานขั้นเตรียมวิทยานิพนธ์ ขอขอบพระคุณครอบครัว พ่อ แม่ น้าๆ และน้องๆ ที่เป็น แรงผลักดันในการทํางาน คอยให้กําลังใจ สนับสนุนกําลังทรัพย์ และให้อิสระ ในทุกๆสิ่งที่อยากทํามาโดยตลอด ขอขอบคุณพี่ กฤษฎา คุรุธรรมนนท์, ณัชมัย ฉันทศิริพันธุ์, วนิดา ส่งสุข, อัญมณี มาตยาบุญ ทีค่ อยให้คําแนะนําที่เป็นประโยชน์ตลอดช่วงการ ทําวิทยานิพนธ์

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

ขอบคุณเพื่อนธนกร ฉัตรทิพากร, กิตติชัย ตันกุระ, อภิญญา กุระ คาน ที่คอยให้กําลังใจ และอยู่ด้วยกันช่วยเหลือกันมาตลอด 5 ปี ขอบคุณเพื่อนปฏิพงศ์ เที่ยงตรง และเพื่อนๆน้องๆสายรหัส 06 65 ที่น่ารัก ที่ถึงแม้งานจะมากขนาดไหน แต่ก็ผลัดมือกันมาช่วยตัดโมเดล ซื้อ เสบียงต่างๆนาๆ รวมถึงคอยให้กําลังใจ ถ้าไม่มีน้องๆผลงานวิทยานิพนธ์ก็คง จะสําเร็จมิได้ นอกจากนี้ขอขอบคุณพี่ๆน้องๆในคณะที่คอยแวะเวียนเข้ามาทักทาย ถามไถ่ ด้วยความห่วงใย ตลอดช่วงเวลาการทําวิทยานิพนธ์ ถือเป็นช่วงเวลา ที่ทั้งเหนื่อย และมีความสุขไปพร้อมๆกัน ครั้งหนึ่งกับคําว่าวิทยานิพนธ์ ผม รู้สึกดีใจ และภูมิใจมากๆ เพราะได้ทําในสิ่งที่อยากทําแล้ว สุดท้ายนี้ ขอบคุณเพื่อนๆ สถ.มช.รุ่น 16 ทุกคน สําหรับ ประสบการณ์ที่ดีตลอดช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมา ขอบคุณทีอ่ ยู่ข้างๆกัน ร่วมเดินทาง.. และผ่านมันไปด้วยกัน..

รัก และขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง นายกฤษดา ซิม้ เจริญ


ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ วิ ท ยานิ พ นธ์ โครงการศู น ย์ ส่ ง เสริ ม ศิ ล ปะการแสดงหนั ง ใหญ่ จ. สิงห์บุรี เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนังใหญ่ ของชุมชนหนัง ใหญ่วัดสว่างอารมณ์ (บ้านบางมอญ) โดยเป็นส่วนขยายของพิพิธภัณฑ์หนัง ใหญ่ที่มีอยู่เดิม เพื่อปรับปรุงพื้นที่กิจกรรมของชุมชน และขยายความรู้เรื่อง ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ไทยให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา, พิธีกรรม ความเชื่อ, องค์ประกอบต่างๆที่ก่อให้เกิดเป็นคณะมหรสพการแสดง ขึ้น รวมทั้งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เยาวชนในชุมชน ได้แก่ การเรียนการ สอนเชิด และพากย์หนังใหญ่, กระบวนการทําตัวหนังใหญ่จากกลุ่มครูภูมิ ปัญญาโดยตรง เปรียบเสมือนนิทรรศการมีชีวิตที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านการมี ส่ ว นร่ ว มของคนในชุ ม ชน การเรี ย นการสอนจริ ง การลงมื อ ทํ า จริ ง หรื อ แม้กระทั่งการสาธิตการแสดงโดยเยาวชนในชุมชน ซึ่งถือเป็นการปลูกฝังให้ เยาวชนเกิดใจรัก และความผูกพันกับองค์ความรู้ชุมชนของตน ซึ่งสามารถ สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้ อีกทั้งนักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจอื่นๆที่เข้าชมจะได้รับความรู้ และ ประสบการณ์ซึ่งจะนําไปสู่การเห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงหนังใหญ่ไทย ต่อไป

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

โครงการประกอบด้วยส่วน บ้านศิลปิน (พื้นที่เรียนรู้หนังใหญ่ของ เยาวชน), โรงมหรสพ, นิทรรศการถาวร, นิทรรศการหมุนเวียน, ห้องสมุด รองรับกิจกรรมเวิร์คชอป, ลานกิจกรรมของชุมชน เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมาย ของโครงการ นอกจากกลุ่ ม เยาวชน และคนในชุ ม ชนแล้ ว ยั ง เน้ น กลุ่ ม นักเรียนที่มาทัศนศึกษา และผู้ที่สนใจในการแสดงหนังใหญ่ไทยโดยเฉพาะ ในพื้นที่รวม 7,609 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในที่ดินจํานวน 4.4 ไร่ติดพื้นที่ของวัด สว่างอารมณ์ ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรม เน้นการศึกษาวิธีการ ออกแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดจากปรากฏการณ์แสงและเงาในหนังใหญ่ โดยศึกษาทฤษฎีปรากฏการณ์แสงและเงา ร่วมกับการวิเคราะห์การแสดง หนังใหญ่ในเรือ่ งคุณภาพแสงและเงา, สภาพแวดล้อม, ประสบการณ์ ความ ประทับใจจากการรับชม, เทคนิคในการแสดงต่างๆ สู่การออกแบบพื้นที่ว่าง เพื่อสื่อสัญญะ ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ผ่านงานสถาปัตยกรรม


ปีการศึกษา 2557

ABSTRACT The support Nangyai shadow play performing art center, Singburi thesis is the community knowledge center about Nangyai performing art of Wat Sawang Arom community, which is expansive area from the old museum. To adjusting the community’s area and created for Nangyai Thai shadow play performing art explanation, not only the performance, but also before and after performance stories. Showing a history, ritual, the elements of creating Nangyai Thai shadow, also sharing the algorithm how to create Nangyai Thai shadow as an alive exhibition that shows the great stories of participation in the village. Including Nangyai education for local youth. People will see and feel the valuable and significant of Thai performing art to glorify them to be the national heritage of themself.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

This thesis features about education area (performance & creaft area), performance theatre, permanent exhibition, circulating exhibition and community area (library, workshop, facility area). All of this create for supporting targets, that is not only local people, but included students local people and people who interesting in Nangyai shadow play. Total area is 7,609 sq.m. This thesis is built on 4.4 Rai area, nearby Wat Sawang Arom. and besides the Chaopraya river Muang district, Singburi. The architecture designed from studies specify in phenomenon of shadow play architecture design. Then, analyze the factors of phenomenon in Nangyai shadow play performing, both of shade and shadow quality, environmental, audience experiences and technical while they are performing to be the designed space of symbolic represents an art of Nangyai shadow play through architecture.


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

สารบัญ กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ

ค ง จ ฉ ฌ ญ

บทที่ 1 บทนํา 1.1 เหตุผลสนับสนุนโครงการ 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 วิธีศึกษา

1 4 5

1.4 1.5 1.6 1.7 1.8

แหล่งข้อมูล หัวข้อวิจัยเพื่อการออกแบบ แผนการดําเนินงาน ขอบเขตของงาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

6 6 7 8 8

บทที่ 2 ข้อมูลและการวิเคราะห์สรุปโครงการ 2.1 การรวบรวมข้อมูล 2.1.1 นิยามคําศัพท์ 2.1.2 ประวัติความเป็นมาของหนัง 2.1.3 การแสดงหนังในมหรสพไทย 2.1.4 ประวัติศาสตร์หนังใหญ่ไทย 2.1.5 ชนิดของตัวหนังใหญ่ไทย 2.1.6 กรรมวิธีในการสร้างตัวหนังใหญ่ 2.1.7 องค์ประกอบในการแสดงหนังใหญ่ 2.1.8 ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ 2.1.9 ระยะเวลาในการแสดง 2.1.10 การเชิดหนังใหญ่ 2.1.11 ชุมชนหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ 2.1.12 การถ่ายทอดความรู้วิชาหนังใหญ่ 2.2 วิเคราะห์ข้อมูลเรื่องหนังใหญ่ และชุมชน 2.3 กรณีศึกษา 2.3.1 กรณีศึกษาด้านการบริหารจัดการ โครงการ

9 9 9 12 14 15 16 19 22 22 22 23 24 25 26 26


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

2.3.2 2.3.3 2.3.4 2.4 2.5 2.6

กรณีศึกษาด้านพื้นที่สําหรับการจัดแสดง 28 นิทรรศการ กรณีศึกษาด้านพื้นที่สําหรับการแสดง 31 กรณีศึกษาด้านพื้นที่สําหรับการเรียนรู้ 32

สรุปจุดยืนโครงการ หัวข้อวิจัยเพื่อการออกแบบ บทสรุป

บทที่ 3 รายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบ 3.1 รายละเอียดโครงการด้านการบริหาร 3.2 รายละเอียดโครงสร้างด้านการใช้สอย และพื้นที่ใช้สอย 3.3 ตารางรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยโครงการ 3.4 สรุปรายละเอียดพื้นทีใ่ ช้สอย และพื้นที่ต้องการขั้นต่ํา บทที่ 4 การวิเคราะห์ที่ตั้ง 4.1 แนวคิดในการเลือกที่ตั้งโครงการ 4.1.1 ระดับจุลภาค

33 34 46

47 51 67 85

4.1.2

4.2 4.3 4.4

วิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนในการเลือก ที่ตั้งโครงการ เปรียบเทียบที่ตั้ง ข้อกําหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สรุปการใช้ประโยชน์ที่ดิน

บทที่ 5 แนวความคิดและปรัชญาในการออกแบบ 5.1 แนวความคิดของโครงการ 5.2 แนวความคิดของโครงการ และปรัชญาในการ ออกแบบ 5.3 สรุปแนวคิดในการออกแบบ 5.4 แนวคิดในการออกแบบพื้นที่นิทรรศการถาวร

บทที่ 6 การออกแบบขั้นต้น (Conceptual Design) 6.1 การออกแบบขั้นต้น 86 86

88 89 95 96

97 97 106 108

110


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

บทที่ 7 แบบร่างขั้นต้น (Schematic Design) 7.1 แบบร่างขั้นต้น และการวิเคราะห์ 7.2 สรุปแบบร่างขั้นต้น

118 123

บทที่ 8 การพัฒนาแบบสถาปัตยกรรม (Design Development) 8.1 การพัฒนาแบบขั้นที่ 1 (พัฒนาจากแบบร่าง) 8.2 การพัฒนาแบบขั้นที่ 2 และพื้นที่ว่าง

126 130

บทที่ 9 สรุปการออกแบบขัน้ สมบูรณ์ (Final Design) 9.1 สรุปการออกแบบขั้นสมบูรณ์ 9.2 ผังอาคาร 9.3 รูปตัด 9.4 รูปด้าน 9.5 รูปทัศนียภาพ 9.6 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย

143 145 149 152 154 157

บทที่ 10 บทพิสูจน์สมมติฐาน สรุป และข้อเสนอแนะ 10.1 บทพิสูจน์

160

10.3 ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ประวัติผเู้ ขียน

161 164 166


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

สารบัญตาราง ตารางที่ 1-1 ตารางที่ 3-1 ตารางที่ 3-2 ตารางที่ 3-3 ตารางที่ 4-1

แผนการดําเนินงานวิทยานิพนธ์ บุคลากรภายในโครงการ แสดงเวลาเข้าและสิ้นสุดแต่ละรอบ นิทรรศการ รายละเอียดพื้นที่ใช้สอยโครงการ เปรียบเทียบตัวเลือกที่ตั้งทั้งสองที่ตั้ง

7 48 63 67 94


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

สารบัญภาพ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

1-1 1-2 1-3

บรรยากาศการเรียนเชิดหนังใหญ่ บรรยากาศการเรียนเชิดหนังใหญ่ อาคารพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วดั สว่างอารมณ์ จ. สิงห์บุรี

2 2 3

ภาพที่ ภาพที่

1-4 1-5

การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ จ. สิงห์บุรี การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ จ. สิงห์บุรี

3 3

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

2-1 2-2 2-3 2-4 2-5 2-6 2-7 2-8

ภาพที่ ภาพที่

2-9 2-10

หนังของอินเดีย หนังของจีน หนังของชวา หนังของเขมร หนังของอียิปต์ หนังของมลายู ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ไทย แสดงพื้นที่ และจํานวนหนังใหญ่ที่ยังคง หลงเหลือ ประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ไทย ชนิดของตัวหนังใหญ่ไทย

9 10 10 11 11 11 12 13 14 15

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

2-11 2-12 2-13 2-14 2-15 2-16

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

2-17 2-18 2-19 2-20 2-21

ภาพที่ ภาพที่

2-22 2-23

ภาพที่

2-24

กรรมวิธีฟอกหนัง กรรมวิธีเขียนลาย กรรมวิธีแกะสลักลวดลาย กรรมวิธีลงสีตัวหนัง กรรมวิธีบูชาครู จอหนัง และเปรียบเทียบคุณภาพแสงเงาจาก แสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ พื้นที่หลังฉาก สําหรับการทอดหนัง วงดนตรีปี่พาทย์ จํานวนนักแสดง พิธีเบิกหน้าพระ บรรยากาศพิธีไหว้ครู และครอบครูหนังใหญ่ ประจําปี บรรยากาศการเรียนหนังใหญ่ การแต่งกายทั้ง 2 แบบของนักแสดง

16 17 17 18 19 19

บรรยากาศการเรียนการสอนแบบบูรณาการ หลักสูตรท้องถิน่

24

20 20 21 21 22 22 23


ปีการศึกษา 2557

ภาพที่

2-25

ภาพที่

2-26

ภาพที่ ภาพที่

2-27 2-28

ภาพที่

2-29

ภาพที่

2-30

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

การวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ สถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อหาแนวทางในการ พัฒนา องค์ประกอบของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัด ขนอน ผัง และบรรยากาศภายในโครงการ พิพิธภัณฑ์ศิลปะการเล่นเงา Kaosiung ประเทศไต้หวัน

25

27 27 28

รูปแบบการจัดแสดงหนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์หนัง ใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี

29

30 ผัง และบรรยากาศการจัดแสดง พิพิธภัณฑ์ Kaosiung Shadow Play ประเทศไต้หวัน

30

ภาพที่

2-31

ผัง และบรรยากาศโรงแสดง พิพิธภัณฑ์หนัง ใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี

31

ภาพที่

2-32

โรงละครกลางแจ้ง โรงเรียนภัทราวดี

31

มัธยมศึกษา, หัวหิน ภาพที่

2-33

โรงละครในร่ม โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา, หัวหิน

32

ภาพที่

2-34

32

ภาพที่

2-35

ภาพที่

2-36

ภาพที่ ภาพที่

2-37 2-38

ภาพที่

2-39

ภาพที่

2-40

ภาพที่

2-41

พื้นที่การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี พื้นที่การเรียนรู้อาคารเรียนรวม โรงเรียนภัท ราวดีมัธยมศึกษา, หัวหิน กรณีศึกษาผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ เกี่ยวกับแสงและเงา Shadow องค์ประกอบในการแสดงหนังใหญ่ เปรียบเทียบผลลัพธ์แสงและเงาจากแสง ธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ ISOMETRIC การเจาะช่องเปิด และจัดวาง ระนาบเพื่อใช้ทดลอง ทดลองผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงประดิษฐ์ แบบที่ 1 ในโปรแกรม Sketch Up ทดลองผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงประดิษฐ์ แบบที่ 2 ในโปรแกรม Sketch Up

33 36 37 37 38 38 39


ปีการศึกษา 2557

ภาพที่

2-42

ภาพที่

2-43

ภาพที่

2-44

ภาพที่

2-45

ภาพที่

2-46

ภาพที่

2-47

ภาพที่

2-48

ภาพที่

2-49

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

ทดลองผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงประดิษฐ์ แบบที่ 3 ในโปรแกรม Sketch Up ผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงอาทิตย์ช่วงเวลา 8.00น. ในโปรแกรม Sketch Up ผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงอาทิตย์ช่วงเวลา 12.00น. ในโปรแกรม Sketch Up ผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงอาทิตย์ช่วงเวลา 16.00น. ในโปรแกรม Sketch Up การจัดวางระนาบให้เกิดที่ว่างตามการใช้งาน และเงาสมมุตทิ ี่เกิดการซ้อนทับ แสดงกระบวนการวางระนาบปิดล้อมตาม พื้นที่การใช้งาน ,กําหนดตําแหน่งแหล่งกําเนิด แสง, ผลลัพธ์ของเงาซ้อนทับกัน (Graphic) หุ่นจําลองแสดงกระบวนการวาง Zoning, ระนาบปิดล้อมตามพื้นที่การใช้งาน , ผลลัพธ์ของเงาซ้อนทับกัน (Graphic) แสดงกระบวนการซ้อนทับชองเงา 2 รูป และ เส้นสายของบริบทที่ตั้ง, ผลลัพธ์ของเงา

39 40 40 40

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

2-50 2-51 2-52

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

2-53 2-54 3-1 3-2

ภาพที่

3-3

ภาพที่

3-4

ภาพที่

3-5

ภาพที่

3-6

41 42

43

43

ซ้อนทับกัน (Graphic) หุ่นจําลองแบบขั้นต้น PROCESS A หุ่นจําลองแบบขั้นต้น PROCESS A แบบผังพื้นที่การใช้งาน ในแบบขั้นต้น PROCESS A หุ่นจําลองแบบขั้นสรุป PROCESS B หุ่นจําลองแบบขั้นสรุป PROCESS B ครูภูมิปัญญาในชุมชนที่ยังทําการสอนอยู่ จํานวนนักเรียนที่เข้าร่วมหลักสูตรบูรณาการ แยกตามโรงเรียน

44 44 45 46 46 53 54

ผังแสดงหลักสูตรกระบวนการเรียน ศิลปะการแสดงหนังใหญ่สําหรับโครงการ ผังแสดงหลักสูตรกระบวนการเรียน ศิลปะการแสดงหนังใหญ่สําหรับระดับ ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ผังแสดงหลักสูตรกระบวนการเรียน ศิลปะการแสดงหนังใหญ่สําหรับระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3

56

ผังแสดงหลักสูตรกระบวนการเรียน

59

57 58


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

ศิลปะการแสดงหนังใหญ่สําหรับกลุ่มใจรัก ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

3-7 3-8 3-9

ภาพที่

3-10

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

3-3-1 3-3-2 3-3-3 3-3-4 3-3-5 3-3-6 3-3-7 3-3-8 3-3-9

ภาพที่

ผังตารางเรียนศิลปะการแสดงหนังใหญ่ใน 1 สัปดาห์

แผนผังการเรียงลําดับห้องนิทรรศการ แผนผังแสดงสัดส่วน และการเชี่อมต่อพื้นที่ ส่วนต่างๆของโครงการ แผนผังแสดงการเชื่อมต่อพื้นที่ใช้สอยภายใน โครงการ tabulation diagram ห้องปฐมบท ทัศนียภาพ บรรยากาศห้องปฐมบท tabulation diagram ห้องนาฏยศาลา ทัศนียภาพ บรรยากาศห้องนาฏยศาลา tabulation diagram ห้องมหัศจรรย์หนังใหญ่ ทัศนียภาพ บรรยากาศห้องมหัศจรรย์หนังใหญ่ tabulation diagram ห้องหนังใหญ่ในปัจจุบนั ทัศนียภาพ บรรยากาศห้องหนังใหญ่ในปัจจุบัน

tabulation diagram ห้องจินตนาการกับ หนังใหญ่ 3-3-10 ทัศนียภาพ บรรยากาศห้องจินตนาการกับ หนังใหญ่

60 61 65 66 76 76 77 77 78 78 79 79 80 80

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

3-3-11 tabulation สําหรับการแสดงอื่นๆ 3-3-12 แผนผังสรุปพืน้ ที่ใช้สอยโครงการ และพื้นที่ ต้องการขั้นต่ํา 4-1 เส้นทางสัญจรของสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัด สิงห์บุรี และขอบเขตตําบลต้นโพธิ์ ที่ดินที่มีความเป็นไปได้สําหรับโครงการ 2 พื้นที่ 4-2 4-3 ผังวัดสว่างอารมณ์เดิม ที่ดินที่มีความเป็นไปได้สําหรับโครงการ 2 พื้นที่ 4-4 4-5 ความหนาแน่น และลักษณะการสัญจรในเขต ชุมชน 4-6 ลักษณะกิจกรรมที่พบในชุมชน 4-7 เปรียบเทียบสองที่ตั้ง 4-8 อาคารโดยรอบที่ตั้ง 4-9 มุมมองโดยรอบที่ตั้ง 1 4-10 อาคารโดยรอบที่ตั้งที่ 2 4-11 มุมองจากภายนอกสู่ที่ตั้งที่ 2 4-12 ขอบเขตที่ดินที่ตั้งโครงการ 4-13 การซ้อนชั้นของอาคาร

83 85 86 86 87 87 88 88 89 89 90 91 92 95 96


ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ ภาพที่

4-14 5-1

ภาพที่

5-2

ภาพที่

5-3

ภาพที่

5-4

ภาพที่

5-5

ภาพที่

5-6

ภาพที่

5-7

ภาพที่

5-8

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

แนวทางการใช้พื้นที่เบื้องต้น แสดงแนวความคิดในการออกแบบโดยการคลี่ ความสัมพันธ์ และองค์ประกอบของ ปรากฏการณ์การแสดงหนังใหญ่สู่งาน สถาปัตยกรรม หุ่นจําลองศึกษาพื้นที่ว่างทั้ง 3 ใน ปรากฏการณ์แสดงในหนังใหญ่ แสดงการวิเคราะห์ลักษณะแสงเงา และ สถานการณ์เคลื่อนไหวในประเด็นด้าน บรรยากาศ แสดงการวิเคราะห์ลักษณะการใช้เทคนิค และผลของแสงเงาที่พบในประเด็นด้าน เทคนิคการแสดง

96 98 ภาพที่

5-9

ภาพที่

5-10

101

หุ่นจําลองการจัดองค์ประกอบระนาบ 2 กับภาพ ตัวอย่าง หุ่นจําลองการจัดองค์ประกอบระนาบ 3 กับภาพ ตัวอย่าง หุ่นจําลองการจัดองค์ประกอบระนาบ 4 กับภาพ ตัวอย่าง

102

แสดงการวิเคราะห์ลักษณะการใช้เทคนิค

104

102 103

106 107

(ความสัมพันธ์กันของบรรยากาศ + เทคนิคการ แสดง + ประสบการณ์ร่วมคนดูในหนังใหญ่)

99 100

และผลของแสงเงาที่พบในประเด็นด้าน เทคนิคการแสดง ลักษณะมุมมอง ความรู้สึก พืน้ ที่ว่างที่พบใน ประเด็นด้านประสบการณ์ร่วมจากคนดู กราฟิกแสดงเครื่องมือในการออกแบบ

ภาพที่

5-11

6-4

แนวคิดการเอียงแนวแกนสําหรับผังห้อง นิทรรศการ แนวคิดการลําดับภาพบรรยากาศพื้นที่ นิทรรศการถาวรทั้ง 5 ห้อง ขอบเขตที่ตั้งโครงการ และบริบทโดยรอบ มุมมองแสดงความสัมพันธ์ที่ตั้งโครงการ และ บริบทโดยรอบ ผังชุมชนแสดงการแบ่งพื้นที่ที่สอดคล้องกับ ที่ตั้งโครงการ แสดงการจัดพื้นที่แบบที่ 1

ภาพที่

5-12

ภาพที่ ภาพที่

6-1 6-2

ภาพที่

6-3

ภาพที่ ภาพที่

108

113

6-5

แสดงการจัดพื้นที่แบบที่ 2

114

108 110 111 112


ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

6-6 6-7 6-8

ภาพที่

7-1

ภาพที่

7-2

ภาพที่

7-3

ภาพที่

7-4

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

7-5 7-6 7-7

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

แสดงการจัดพื้นที่แบบที่ 3 แสดงการจัดพื้นที่แบบที่ 4 แสดงกราฟิก และหุ่นจําลองการจัดพื้นที่แบบ ที่ 1 - 4 การแบ่งพื้นที่โครงการหลัก 3 ส่วนบน หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขัน้ กลางภาค) หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขัน้ กลางภาค) แสดงพื้นที่นิทรรศการทั้ง 5 ห้อง 3 ผังพื้นชั้นที่ 1 (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลาง ภาค) 3 ผังพื้นชั้นที่ 2 (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลาง ภาค) หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขัน้ กลางภาค) แสดงพื้นที่โถงทางเข้า หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขัน้ กลางภาค) แสดงพื้นที่ลานภูมิปัญญาส่วนเรียนรู้ หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขัน้ กลางภาค)

115 116 117 118 119 120

7-8

ภาพรวมหุ่นจําลองในขั้นกระบวนการทดลอง

7-9

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

8-1 8-2 8-3 8-4 8-5 8-6

ภาพที่

8-7

ภาพที่

8-8

ภาพที่

8-9

ภาพที่ ภาพที่

8-10 8-11

121 122 122 123

แสดงพื้นทีง่ านรองรับโครงการ และลานชุมชน

ภาพที่

ภาพที่

124

หัวข้อวิจัย จนถึงขั้นแบบร่างขั้นที่ 1 ภาพรวมแผ่นนําเสนองานขั้นพัฒนาแบบ สถาปัตยกรรม (แบบร่างขั้นต้น) นําเสนอ กลางภาคการศึกษา แปลนชั้น 1 พัฒนาแบบขั้นที่ 1 แปลนชั้น 2 พัฒนาแบบขั้นที่ 1 หุ่นจําลองพัฒนาแบบขั้นที่ 1 แปลนชั้น 1 พัฒนาแบบขั้นที่ 2 แปลนชั้น 2 พัฒนาแบบขั้นที่ 2 แปลนขยายส่วนการเรียนรู้ ชั้น 1 (พัฒนา แบบขั้นที่ 2) แปลนขยายส่วนคลังหนังใหญ่ ชั้น 2 (พัฒนา แบบขั้นที่ 2) แปลนขยายส่วนโรงแสดง นิทรรศการ และ ชุมชน ชั้น 1 (พัฒนาแบบขั้นที่ 2) แปลนขยายส่วนนิทรรศการ และชุมชน ชั้น 2 (พัฒนาแบบขั้นที่ 2) ISOMETRIC แสดงพื้นที่อาคารนิทรรศการ 1 และ 2

ISOMETRIC แสดงแนวคิดการจัด

125

126 126 129 130 130 131 132 132 133 133 134


ปีการศึกษา 2557

ภาพที่

8-12

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

8-13 8-14 8-15

ภาพที่ ภาพที่

8-16 8-17

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

8-18 8-19 8-20

ภาพที่ ภาพที่

8-21 8-22

ภาพที่

8-23

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

องค์ประกอบของระนาบให้เกิดพื้นที่ว่าง ISOMETRIC แสดงแนวคิดการจัด องค์ประกอบของระนาบพื้นที่ว่าง1 และ 4 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 1 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 4 15 ISOMETRIC แสดงแนวคิดการจัด องค์ประกอบของระนาบพื้นที่ว่าง 3 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 3 ISOMETRIC แสดงแนวคิดการจัด องค์ประกอบของระนาบพื้นที่ว่าง 2 และ 5 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 2 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 5 รูปแบบอาคาร และพื้นที่การใช้งานเฉพาะ หนังใหญ่ วัสดุที่ใช้ในโครงการ โครงสร้าง truss พิเศษที่ใช้กบั โรงแสดง และ อาคารบางส่วน แนวคิดการพัฒนาลวดลายผิวอาคาร

ภาพที่

8-24

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

8-25 8-26 8-27 9-1 9-2 9-3 9-4

ภาพที่

9-5

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

9-6 9-7 9-8 9-9 9-10 9-11 9-12

134 135 135 136 136 136 137 137 138 139 140

140

ที่มาของการออกแบบส่วนนั่งชมการแสดง หนังใหญ่ หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขั้นที่ 2 รูปที่ 1 หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขั้นที่ 2 รูปที่ 2 หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขั้นที่ 2 รูปที่ 3 ผังโครงการชั้นที่ 1 ลําดับพื้นที่ใช้สอย (ประกอบผัง) แปลนขยายส่วนการเรียนรู้ (A) ชั้นที่ 1 แปลนขยายส่วนโรงแสดง นิทรรศการ งาน รองรับโครงการและชุมชน (B) ชั้นที่ 1 แปลนขยายส่วนคลังหนังใหญ่ และส่วน นิทรรศการ (C) ชั้นที่ 2 คีย์แปลนรูปตัด 01 และ 02 รูปตัด 01 รูปตัด 02 คีย์แปลนรูปตัด 03 และ 04 รูปตัด 03 รูปตัด 04 คีย์แปลนรูปตัด 05

141 142 142 142 145 146 147 147 148 149 149 149 150 150 150 151


ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

9-13 9-14 9-15 9-16 9-17 9-18 9-19 9-20 9-21 9-22 9-23 9-24

ภาพที่

9-25

ภาพที่

9-26

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

รูปตัด 05 รูปด้านทิศเหนือ รูปด้านทิศตะวันตก รูปด้านทิศใต้ รูปด้านทิศตะวันออก รูปทัศนียภาพภายนอกอาคาร มุมมองทางเข้า หลักโครงการ รูปทัศนียภาพภายนอกอาคาร มุมมองทางเข้า หลักโครงการ รูปทัศนียภาพในโรงแสดง (โรงประลอง) รูปทัศนียภาพในห้องเรียนเชิดและพากย์หนังใหญ่

รูปทัศนียภาพภายในอาคารส่วนโถงกลาง รูปทัศนียภาพภายในห้องเรียนทฤษฎี รูปทัศนียภาพผลลัพธ์แสงเงาบริเวณทางลาด นิทรรศการขาขึ้น รูปทัศนียภาพภายในอาคารนิทรรศการ และ ทางเชื่อมอาคาร หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย1 บริเวณทางเข้า โครงการอาคาร

151 152 152 153 153 154

ภาพที่

9-27

ภาพที่

9-28

ภาพที่

9-29

ภาพที่

9-30

ภาพที่

9-31

ภาพที่

9-32

ภาพที่

9-33

ภาพที่

9-34

154 155 155 155 155 156 156 157

หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย2 (บริเวณทางเข้าส่วน การเรียนรู้) หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย3 (บริเวณทางเข้าส่วน พื้นที่ชุมชน) หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย4 (ลานภูมิปัญญา และ พื้นที่ห้องเรียน) หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย5 (มุมมองจากลานกอง ไฟเข้าสู่อาคารนิทรรศการ) หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย6 (พื้นที่เวทีการแสดง และพื้นที่รับชมภายในอาคารโรงแสดง) หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย7 (บริเวณทางลาดขาลง นิทรรศการ) หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย8 (แบบขยายพื้นที่ว่าง ส่วนลานต้อนรับ) หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย9 (หุ่นจําลอง 1:200, หุ่นจําลองขยายพื้นที่ว่าง 1:100, หุ่นจําลอง แนวคิด)

157 157 157 158 158 158 158 159


บทนํา


ปีการศึกษา 2557

1.1 เหตุผลสนับสนุนโครงการ ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ เป็นมหรสพชั้นสูงของไทย เป็นศาสตร์การ แสดงที่ประสานศิลปะหลายแขนงเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่รวมงานศิลปะ ชั้นสูงไว้ในเรื่องหรืองานเดียวกัน ที่แตกต่างไปจากการแสดงของโขน ละคร หุ่น โดยผสมผสานศิลปะหลายแขนง ได้แก่ หัตถศิลป์ วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ วาทศิลป์ และคีตศิลป์มาปรุงแต่งเข้าด้วยกันอย่างผสมกลมกลืน สื่อสารผ่าน ลีลาการเคลื่อนไหวของคนเชิดกับตัวหนังให้เกิดเงา และลวดลายลงบนจอ แสง ใช้การพากย์ การเจรจา ในการดําเนินเรื่อง มีการสอดแทรกบทตลกที่ เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีองค์ประกอบของความเป็นไทยทุกแขนงทีแ่ สดงออก ผ่านศิลปะการแสดงหนังใหญ่อันได้แก่ เทคนิคการทํา, ลีลาการแสดงที่งดงาม จากนาฏศิลป์ไทย, การแกะสลักประดิษฐ์ตัวหนังด้วยลายไทย, ดนตรีไทยจาก วงปี่พาทย์, บทพากย์ บทเจรจา บทขับร้องที่มีเนื้อหามาจากวรรณคดีไทย รวมถึงองค์ประกอบของโรงมหรสพหนังใหญ่ที่มสี ่วนประกอบของ สถาปัตยกรรมไทยประเพณีจึงทําให้ศิลปะการแสดงหนังใหญ่เป็นหนึ่งใน ศาสตร์ที่มีความเฉพาะตัว แสดงถึงความพิถีพิถันของช่างศิลป์ไทยและผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกๆแขนง ประกอบรวมกันเป็นหนึ่งการแสดงหนังใหญ่อัน

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

1

ทรงคุณค่า ซึ่งถือเป็นต้นแบบของศิลปะการแสดงโขนของไทย และการ แสดงอื่นๆตามมา โดยเริ่มแรกถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็น "หนังหลวง" สื่อบันเทิงสําหรับเล่นใน วัง หรือวาระงานพระราชพิธีต่างๆ จนกระทั่งถูกทําลายสูญหายไปเมื่อครั้ง เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศิลปะการแสดงแขนงนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง โดยถูกนําออกมานอกรั้ววังสู่ บ้านของเหล่าเจ้าขุนมูลนาย และขยายมาอยู่ใต้อุปถัมภ์ของวัดในเวลาต่อมา กลายมาเป็น "หนังราษฎร์" สือ่ บันเทิงที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสมัยนัน้ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ความรู้หนังใหญ่ วัด และชุมชนขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปเสพสื่อบันเทิง สมัยใหม่ (สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และสื่ออินเตอร์เน็ต) กันมากขึ้น ทําให้ความ นิยมในศิลปะการแสดงหนังใหญ่ลดลงอย่างมาก จนแทบจะสูญหายไปจาก สังคมไทย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยคงเหลือคณะศิลปะการแสดงหนังใหญ่ อยู่เพียง 3 แห่งเท่านั้น ได้แก่ 1. คณะหนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 2. คณะหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ 3. คณะหนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง


ปีการศึกษา 2557

ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการอนุรักษ์ และสืบสานงานศิลปะ แขนงนี้ เช่น การสืบสานศิลปะการแสดงหนังใหญ่ของพระครูพิทักษ์ศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดขนอน จ.ราชบุรี, ตระกูลศุภนคร วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มผูท้ ี่ให้ความสนใจก็เป็นเฉพาะกลุ่มเช่นเดิม กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ซึ่งเติบโตมากับสื่อบันเทิงสมัยใหม่ต่างก็ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติตอ่ ศิลปะการแสดงแขนงนี้ว่าเป็นของสูง เข้าใจยาก เก่าแก่ คร่ําครึ ต่อไป ขณะทีป่ ัจจุบันหนังใหญ่ก็ยังคงเล่นอยู่ ในส่วนข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนังใหญ่ก็มอี ยู่อย่างกระจัดกระจาย และ ส่วนมากองค์ความรู้อยู่ในรูปแบบของตัวบุคคลทําให้เกิดอุปสรรคในการ เข้าถึงข้อมูลของผู้ที่สนใจเป็นอย่างมาก และเนื่องจากชุมชนหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ (บ้านบางมอญ) จ. สิงห์บุรี เกรงว่าองค์ความรู้ของชุมชน (ศิลปะการแสดงหนังใหญ่) กําลังจะสูญ หายไปทําให้มกี ารฝึกสอนการเชิดหนังใหญ่ การพากย์ การเจรจา ให้กับ เยาวชนในชุมชน ในด้านการศึกษาสถาบันการศึกษาต่างๆในเครือองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีได้ร่วมมือกับทางวัดจัดทําหลักสูตร บูรณาการท้องถิ่นศิลปะการแสดงหนังใหญ่ขนึ้ (ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เพื่อเป็นการดึงให้เยาวชนในหลักสูตร กว่าปีละ 750 คนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัด และชุมชน รวมถึงปลูกฝัง ให้เกิดความรัก ความหวงแหนในองค์ความรู้ชุมชนของตน

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

2

สําหรับชุมชนในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีกลุม่ เยาวชนที่มีใจรัก 10 – 15 คน มาเข้าร่วมฝึกการเชิดหนังใหญ่ การพากย์ การเจรจา โดยกลุ่มครูภูมิ ปัญญาของชุมชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (รวมทั้งหมด 8 รุ่น)

ภาพที่ 1-1 บรรยากาศการเรียนเชิดหนังใหญ่ ภาพที่ 1-2 บรรยากาศการเรียนเชิดหนังใหญ่ ที่มา ถ่ายโดยผู้เขียน ที่มา ถ่ายโดยผู้เขียน

ปัจจุบันทางชุมชนหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ. สิงห์บุรี มีแผนส่งเสริม ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ในการสร้างโรงมหรสพ และพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ซึ่ง อยู่ในระหว่างการของบประมาณจากทางจังหวัด และภาครัฐ แต่เนื่องจาก ปัญหาการขาดงบประมาณประกอบกับการสนับสนุนส่วนใหญ่ตกไปอยู่ที่ โครงการพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ จ.ราชบุรีเสียมากกว่า ทําให้ทางชุมชนไม่ได้รับ การสนับสนุนเท่าที่ควร


ปีการศึกษา 2557

สําหรับพื้นที่การจัดแสดง และให้ความรู้ในปัจจุบันได้ใช้พื้นที่ชั้น 2 ของศาลาการเปรียญของวัด ซึ่งแต่เดิมอาคารหลังนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็น พื้นที่ให้ชาวบ้านมาทําบุญแต่ผู้สูงอายุเดินขึ้นชั้นบนไม่ไหวจึงใช้แต่พื้นที่ชั้น ล่างทําให้อาคารหลังนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการจัดแสดงหนังใหญ่ โดยเฉพาะ ในส่วนลักษณะการจัดแสดงเป็นไปในรูปแบบเดียว ไม่มีการ แบ่งแยกพื้นทีต่ ามประเภทของตัวหนังที่ชัดเจนทําให้เกิดความสับสน, ไม่มี การให้ข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับตัวหนังตัวนั้นๆจึงทําให้การจัดแสดงขาดความ น่าสนใจ และไม่ส่งเสริมต่อการทําความเข้าใจเนื้อหาได้อย่างเต็มที่

ภาพที่ 1-3 อาคารพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ. สิงห์บุรี ที่มา ถ่ายโดยผู้เขียน

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

ภาพที่ 1-4 การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ จ. สิงห์บุรี ภาพที่ 1-5 การจัดแสดงของ พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ จ. สิงห์บุรี ที่มา ถ่ายโดยผู้เขียน ที่มา ถ่ายโดยผู้เขียน

โดยสรุปปัญหาที่พบเกี่ยวกับองค์ความรู้หนังใหญ่ในพื้นที่ชุมชนวัดสว่าง อารมณ์ จ.สิงห์บุรี ดังนี้ 1.ทัศนคติของเยาวชนต่อหนังใหญ่ทําให้เกิดระยะห่างในการเรียนรู้ - สําหรับเยาวชนมีความรู้สึกว่า หนังใหญ่มคี ุณค่า ความสําคัญ แต่เป็นเรื่องที่เก่าแก่ ไกลตัว จึงทําให้รู้สึกขาดอารมณ์ร่วม ต่าง กับคนในอดีตที่มีความรู้สึกร่วมไปกับการแสดง หนังใหญ่สามารถสร้าง จินตนาการให้กับผู้ชมได้ 2.ขาดศูนย์กลางการรวบรวมองค์ความรู้หนังใหญ่ในชุมชน - ปัจจัยด้านองค์ความรู้กระจัดกระจาย และอยู่ในตัวบุคคล มากกว่า สําหรับกลุ่มครูภูมิปญ ั ญาชุมชนหนังใหญ่นั้นส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ

3


ปีการศึกษา 2557

และมีอยู่จํานวนน้อย ทําให้บางครั้งเกิดอาการหลงลืมไปบ้างทําให้การ ถ่ายทอดความรู้ขาดความต่อเนื่อง และเต็มที่เท่าที่ควร 3.ชุมชนขาดความเข้าใจในการนําเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน - ในด้านการจัดการ และรูปแบบการนําเสนอที่มีอยู่เดิม เป็นไปในรูปแบบเดียว ไม่มีการให้ข้อมูลใดๆ ทําให้ขาดความน่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีความพยายามในการส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ ในด้านต่างๆ โดยเห็นได้จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กรด้าน วัฒนธรรมที่กําหนดให้หนังใหญ่ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) สาขา ศิลปะการแสดง รวมถึงการจัดการ ของชุมชน ได้แก่ การจัดกิจกรรมงานเทศกาลหนังใหญ่ประจําปี, การบรรจุ การแสดงหนังใหญ่ลงในหลักสูตรวิชาการเรียนรู้เสริมทักษะใน สถาบันการศึกษาต่างๆ1 รวมถึงความสอดคล้องกับแผนพัฒนาชุมชนของ เทศบาลตําบล ต้นโพธิ์ จ.สิงห์บุรี2

1 2

หลักสูตรท้องถิ่นโรงเรี ยนอนุบาลเทศบาล 3 เทศบาลเมืองสิงห์บรุ ี, สํานักงานวัฒนธรรมสิงห์บรุ ี แผนยุทธ์ศาสจร์กับการพัฒนาเทศบาล ต.ต้นโพธิ์ ปี 2557, พันธกิจที่ 10

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

จากสิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการหันมาให้ความสําคัญ และเกิดกระแสการอนุรักษ์มากขึ้น ในโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดง หนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี จึงสมควรจัดตั้งเพื่อเกิดศูนย์กลางข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชุนอย่างครบถ้วนองค์ความรู้ เป็นการอนุรักษ์ และส่งเสริมองค์ความรู้ชุมชนในระยะยาว เกิดแรงบันดาลใจในการต่อยอด โดยผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 วัตถุประสงค์โครงการ - เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนัง ใหญ่อย่างเป็นองค์รวม สําหรับการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจในการต่อ ยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหนังใหญ่ให้กับคนรุน่ ใหม่ และผูส้ นใจศึกษาได้ - เพื่อกระตุ้นให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าของ ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์มากขึ้น - พัฒนารูปแบบการนําเสนอการจัดแสดง หรือตัวงาน สถาปัตยกรรมเองให้มีความน่าสนใจ ทันสมัย สะท้อนความเป็นศิลปะภูมิ ปัญญาท้องถิ่น, ชุมชนหนังใหญ่ได้ และส่งเสริมให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง

4


ปีการศึกษา 2557

1.2.2 วัตถุประสงค์วิทยานิพนธ์ - เพื่อศึกษาองค์ประกอบของที่ว่างทางสถาปัตยกรรมที่ เหมาะสมสําหรับศิลปะการแสดงหนังใหญ่ - เพื่อออกแบบสถาปัตยกรรม และพื้นที่ว่างที่รองรับเพื่อ สะท้อนสัญญะความเป็นชุมชนหนังใหญ่ให้มคี วามน่าสนใจ และเน้นการมี ส่วนร่วมของผู้เข้าชม

1.3 วิธีการศึกษา 1.3.1 การค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้น 1. การค้นคว้าเอกสารข้อมูลเบื้องต้น - ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เช่นการให้ความสําคัญ กับศิลปะการแสดงหนังใหญ่ สภาวะในปัจจุบัน หรือ การสนับสนุน จากภาครัฐและเอกชน - ศึกษาเกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนังใหญ่เป็นองค์รวม ทั้ง ศิลปะการเชิดหนังใหญ่ และศาสตร์เชิงช่างศิลป์ไทยในการประดิษฐ์ ตัวหนังใหญ่ - ศึกษากรณีศกึ ษาสถาปัตยกรรมตัวอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

5

- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 2. การเก็บข้อมูลภาคสนาม - สัมภาษณ์ผู้มคี วามรู้ด้านศิลปะการแสดงหนังใหญ่ - ศึกษาพื้นทีใ่ ช้สอยโครงการ ความต้องการในการใช้พื้นที่ สอดคล้องกับข้อมูลเรื่องหนังใหญ่ และผูใ้ ช้โครงการ - พิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการจากปัจจัยต่างๆ 1.3.2 การวิเคราะห์และสรุปข้อมูล - วิเคราะห์และคํานวณข้อมูลเพื่อนําไปใช้ในการกําหนด พื้นที่ใช้สอยโครงการ โดยกําหนดพื้นที่ใช้สอยโครงการจากการจัด แสดงวัตถุ และกิจกรรมทีเกิดขึ้น ตามความต้องการในการใช้พื้นที่ - เปรียบเทียบ และกําหนดพืน้ ที่ตั้งโครงการ 1.3.3 กระบวนการออกแบบ - วิเคราะห์บริบทของพื้นที่ตั้งโครงการ - ออกแบบพื้นที่ให้สอดคล้องวัตถุประสงค์ของโครงการและ วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ จากข้อมูลประกอบการออกแบบ 1.3.4 สรุปภาพรวมโครงการ - สรุปแบบทางสถาปัตยกรรม - จัดทํารูปเล่มวิทยานิพนธ์


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

1.4 แหล่งข้อมูล 1.4.1 แหล่งข้อมูลจากเอกสาร - หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพ 1.4.2 แหล่งข้อมูลจากการสัมภาษณ์ - คุณดํารงค์ ปิ่นทอง กรรมการที่ปรึกษาของชุมชนหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ - คุณคณิต ภักดี ครูภูมิปัญญาด้านการเชิด และพากย์หนังใหญ่ของชุมชน 1.4.3 แหล่งข้อมูลจากสถานที่จริง - พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี - ชุมชนหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี - พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี

6

1.5 หัวข้อวิจัยเพื่อการออกแบบ - ศึกษาวิธีการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดจากปรากฏการณ์แสง และเงาในหนังใหญ่ (Phenomenon of Light and Shade in Shadow Play) ผ่านการวิเคราะห์เทคนิคในการแสดง ลักษณะแสงเงาตัวหนัง, ลีลาการ เชิดของคนเชิดกับตัวหนังในอิริยาบถต่างๆ เพื่อประยุกต์ใช้กับการออกแบบ สถาปัตยกรรมที่สื่อถึงศิลปะการแสดงหนังใหญ่ 1.5.1 ระเบียบวิธีวิจัย 1) ศึกษาทฤษฎีปรากฏการณ์แสงและเงา และกรณีศึกษาการ ออกแบบสถาปัตยกรรมที่เกีย่ วกับปรากฏการณ์แสงและเงา -การออกแบบรูปทรงเพื่อให้เกิดแสงและเงาในรูปแบบต่างๆ -การออกแบบอาคารเพื่อสื่อสัญญะความหมาย -การออกแบบอาคารเพื่อรองรับการปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน 2) วิเคราะห์ และตีความการแสดงหนังใหญ่โดยจําแนกลักษณะ พิเศษที่เกิดขึ้นในแง่ปรากฏการณ์ของแสงและเงา 3) สรุปแนวทางการนําไปใช้ในการออกแบบ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

1.6 ตารางแผนการดําเนินงานวิทยานิพนธ์ ตารางที่ 1-1 แผนการดําเนินงานวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนการดําเนินงาน 1. โครงร่างวิทยานิพนธ์ 2. เก็บรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 3. พิจารณาความต้องการพื้นที่ใช้สอยโครงการ 4.สร้างแนวคิดและปรัชญาการออกแบบ 5. เลือกและวิเคราะห์พื้นที่ตั้งโครงการ 6. ออกแบบขั้นต้น 7. พัฒนาแบบสถาปัตยกรรม 8. สรุปแบบขัน้ สมบูรณ์ 9. สรุปและประเมินผล 10. จัดทําเอกสารวิทยานิพนธ์

เม.ษ. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ษ. พ.ค.

7


ปีการศึกษา 2557

1.7 ขอบเขตของงาน 1. ศึกษาเรื่องตัวหนังใหญ่ และองค์ประกอบรวมเป็น ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ 2. ศึกษาแนวโน้มของศิลปะการแสดงหนังใหญ่ในปัจจุบนั และ อนาคต 3. ออกแบบงานสถาปัตยกรรม, การวางผังที่ตั้ง และส่วนงาน นิทรรศการ โดยไม่รวมงานออกแบบตกแต่งภายใน และภูมิสถาปัตยกรรม

1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.8.1 ประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รับจากการศึกษา - ได้ความรู้การออกแบบองค์ประกอบของที่ว่างทาง สถาปัตยกรรม ที่เหมาะสมในการจัดแสดงตัวหนังใหญ่ทั้งด้านความงาม และ คุณค่าทางประวัติศาสตร์ - ได้แนวทางการออกแบบพื้นที่ว่างที่รองรับ และ สอดคล้องกับการนําเสนอหนังใหญ่ให้มีความน่าสนใจ รวมถึงการสะท้อน สัญญะความเป็นหนังใหญ่ผา่ นงานสถาปัตยกรรม

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

1.8.2 ประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รับของโครงการ - เกิดการหันมาให้ความสําคัญ และเกิดกระแสการอนุรักษ์ มากขึ้น เป็นศูนย์กลางข้อมูลความรู้เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมด้าน ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ของชุมชนอย่างครบถ้วนองค์ความรู้ ซึ่งเป็นส่วน สําคัญในการอนุรักษ์ และสร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอดต่อไปโดยไม่ลืม รากเหง้าจากบรรพบุรุษไทย

8


ข้อมูลและการวิเคราะห์สรุปโครงการ


ปีการศึกษา 2557

2.1 การรวบรวมข้อมูล 2.1.1 นิยามคําคัพท์ หนัง หมายถึง การละเล่นที่ขนึ้ หน้าขึ้นตาของชาวไทยในสมัยโบราณ ชนิดหนึ่งเป็นคําที่ใช้เรียกกันมาตั้งแต่เดิมทั่วไปทั้งในภาคกลาง และภาคใต้ ที่ เรียกว่า “หนัง” เพราะเหตุว่ารูปภาพแทนบุคคล หรือตัวละครที่ใช้เล่นนั้น ประดิษฐ์ขึ้นด้วยหนังสัตว์ เช่น หนังโค หนังกระบือ หนังแพะ 2.1.2 ประวัติความเป็นมาของหนัง หนัง เป็นมหรสพที่เกิดขึ้นในยุคโบราณเมื่อประมาณ 2,000 ปี มาแล้ว และเป็นการละเล่นที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น อินเดีย จีน อียิปต์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเทศไม่จําเป็นจะต้องลอกเลียนแบบไปจากกันก็ได้ เพราะบางประเทศที่เคยมีอารยธรรมรุ่งเรืองมาก่อน และมีพลเมืองมากย่อม สามารถที่จะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองได้ตามสภาพ ยกเว้นประเทศเล็ก และด้อย ความเจริญส่วนใหญ่มักรับอิทธิพล ได้รับการถ่ายทอดแบบอย่างมาจากเมือง แม่บททางอารยธรรม ต้นกําเนิดหนังในประเทศไทยเกิดจากอินเดีย ต่อมา อินเดียได้ถ่ายทอดแบบอย่างให้แก่อาณาจักรศรีวิชัย โดยเฉพาะบนเกาะชวา

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

9

หนังเจริญแพร่หลายมาก ไทยเราได้รับแบบอย่างการเล่นหนังสืบต่อมาจาก อาณาจักรทะเลใต้ในสมัยศรีวิชัยอีกทอดหนึ่ง โดยได้รับผ่านมาทางแหลม มลายู หนังที่คนไทยรับเข้ามามิได้รับเข้ามาทุกรูปแบบ แต่ได้นํามาปรับปรุง แก้ไขให้เหมาะถูกกับความนิยม และลักษณะแบบแผนของคนไทย หนังคงจะ เข้ามาในลุ่มน้ําเจ้าพระยาภาคกลางตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว มีหลักฐานปรากฏ ในกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. 2001 เพื่อความกระจ่างชัดในการศึกษาค้นคว้า ใคร่ขอนําเสนอประวัติ เรื่องราวของการเล่นหนังใหญ่ในประเทศต่างๆ มากล่าวไว้ด้วย - หนังของอินเดีย

ภาพที่ 2-1 หนังของอินเดีย ทีมา blog.gaatha.com/wp-content/uploads/2010/02/charmakari.jpg


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 10

ปีการศึกษา 2557

ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือโบราณของอินเดีย เรียกว่า “ฉายา นาฏกะ” เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนต้นๆของคริสต์ศักราช การเล่นหนังมีหลาย รูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่ได้เลิกร้างสูญหายไปหมดเนื่องจากลัทธิทาง ศาสนาในประเทศอินเดียมีการเปลี่ยนแปลง แต่แบบที่เก่าแก่ที่สุด และยัง คงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบัน เรียกว่า “โซลลุมมาละตะ” (THOLUMMALATA) ปกติมีความสูง ๔ ฟุต ทําจากหนังแพะ

โบราณ ส่วนหัวของหนังจีนทําแยกกันเป็นคนละส่วนกับตัว เวลาเล่นจึง สามารถเปลี่ยนหัวรูปหนังได้เมื่อต้องการ หนังของจีนเคยเข้ามาในเมืองไทย ครั้งหนึ่ง ดังความในจดหมายเหตุครั้งสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ. 2322 - หนังของชวา

- หนังของจีน ภาพที่ 2-3 หนังของชวา ทีมา http://i180.photobucket.com/albums/x66/olacm/bali_wayang-01.jpg

ภาพที่ 2-2 หนังของจีน ทีมา http://images.visitbeijing.com.cn/20121107/Img214766634.jpg

เกิดขึ้นไม่ต่ํากว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในตอนแรกใช้ผ้าไหม ผ้าแพรวา วาดตัดเป็นรูปตัวหนัง ภายหลังจึงเปลี่ยนมาใช้หนังแพะเพราะคุณสมบัติดีกว่า ส่วนใหญ่แสดงให้ชมแต่ในราชสํานัก นิยมเล่นเรื่องราววรรณคดีของจีน

มีหลายแบบ แต่ที่ขึ้นชื่อและรูจ้ ักกันดี คือ วายังปูรวา ซึ่งยังได้รับ ความนิยมมากจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะยังเป็นมหรสพที่เล่นกันในชวาและ บาหลี ชอบเล่นเรื่องรามายณะ มหาภารตะ และปันหยี ตัวหนังลักษณะ ตัวบาง แขนเล็กยาว หน้าตาผมเผ้าดูไม่ค่อยคล้ายคน เนือ่ งจากศาสนาอิสลาม ห้ามมิให้สร้างรูปเคารพ หรือรูปคน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 11

ปีการศึกษา 2557

- หนังของเขมร

ภาพที่ 2-4 หนังของเขมร ทีมา karmaimages.com.au

มีมากว่าพันปีแล้ว และเชื่อว่าไทยรับแบบอย่างการเล่นหนังมาจาก เขมรในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เรียกว่า หนังเสป็ค (NANGSBEK) หรือ แสบก โดยมีขนาดเล็กกว่าหนังใหญ่ของไทย คือ สูงประมาณ 4-5 ฟุต คล้ายสี่เหลี่ยม มีลวดลายไม่ละเอียดเท่าของไทย

- หนังของอียปิ ต์ หนังของตุรกี เป็นหนังที่คล้ายกับของเอเชีย มีจํานวนไม่มากนัก หนังของอียิปต์ เป็นสีขาวดํา หนังของตุรกีมีหลายสีเช่นเดียวกับของจีน ตัวหนังมีขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 ฟุต

ภาพที่ 2-5 หนังของอียิปต์ และหนังของตุรกี ทีมา http://ecx.images-amazon.com

- หนังของมลายู

ภาพที่ 2-6 หนังของมลายู ทีมา http://ombre.chinoise.free.fr

คล้ายกับชวามาก เพราะรับแบบอย่างมาโดยตรง มีลักษณะคล้าย หนังปักษ์ใต้ของไทย และที่นา่ สนใจคือการเล่นหนังอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “วา ยังเสียม” (WAYANG SIAM) หรือ หนังสยามนิยมเล่นในรัฐที่เคยเป็นดินแดน ของไทย ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า มีลักษณะลวดลาย รูปร่างคล้ายของไทย


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 12

ปีการศึกษา 2557

2.1.3 การแสดงหนังในมหรสพไทย และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ก่อนที่เทคโนโลยี และสื่อสมัยใหม่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคน ไทย ทําให้ความนิยมในศิลปะการแสดงหนังใหญ่ลดลงอย่างมาก ปัจจุบัน หลงเหลือหนังใหญ่เพียง 22 ชุด หรือประมาณ 900 กว่าตัวโดยคณะการ แสดงหนังใหญ่เพียง 3 แห่งเท่านั้น ได้แก่ 1.คณะหนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี (11 ชุ ด 313 ตัว) ภาพที่ 2-7 ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ไทย

2.คณะหนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี (4 ชุ ด 270 ตัว) 3.คณะหนังใหญ่ วัดบ้านดอน จ.ระยอง (6 ชุ ด 209 ตัว)

หนัง (การแสดงหนังใหญ่) เป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงในงานมหรสพ เช่นเดียวกับ โขน ละครหุ่น ระบํา ระเบง และการแสดงหนังใหญ่นั้นเป็น ศิลปะการแสดงที่รวบรวมเอาศิลปะไทยทุกๆแขนง อันได้แก่ งานหัตถศิลป์ คือการประดิษฐ์ตัวหนัง, นาฏศิลป์ คือ ท่วงท่าการเชิดหนัง, คีตศิลป์ คือวง มโหรีปี่พาทย์ต่างๆ, งานวรรณกรรม คือการพากย์ หรือเนื้อเรื่องที่นํามาแสดง และงานมัณฑนศิลป์ คือการประกอบฉาก หรือโรงมหรสพต่างๆ องค์ประกอบเหล่านี้หล่อหลอมรวมกันก่อให้เกิดเป็นคณะการแสดง เป็น มหรสพขึ้น


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 13

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 2-8 แสดงพื้นที่ และจํานวนหนังใหญ่ที่ยังคงหลงเหลือ, กฤษดา ซิ้มเจริญ ที่มา : แผนที่ https://kingkan2536.wordpress.com/2011/12/


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 14

ปีการศึกษา 2557

2.1.4 ประวัติศาสตร์หนังใหญ่ไทย

ภาพที่ 2-9 ประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ไทย, กฤษดา ซิ้มเจริญ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 15

ปีการศึกษา 2557

2.1.5 ชนิดของตัวหนังใหญ่ไทย

๒.๑.๖ ลักษณะของตัวหนังใหญ่ไทย ภาพที่ 2-10 ชนิดของตัวหนังใหญ่ไทย, กฤษดา ซิ้มเจริญ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 16

ปีการศึกษา 2557

มีลักษณะเป็นแผ่นหนังวัวบางยึดติดกับไม้ตับหนังที่ทําจากไม้ไผ่เหลา ทั้งสองข้างสําหรับใช้จับตัวหนัง มีการทาสีขาว ดํา แดง เหลือง และเขียว โดยมีลวดลายมาจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสิ้น โดยสอดแทรกฉาก บริบทแบบไทย รวมถึงลวดลายไทย (ลายกนก, ลายเครือเถา) เป็น องค์ประกอบเฉพาะของตัวหนังใหญ่ไทย

เมื่อได้หนังมาสดๆ มาก็คลุกเข้ากับขี้เก้าแล้วนํามาขึงในกรอบไม้ แล้วนําไปตากแดดจนแห้ง และใช้มีดขูดเอาพังผืด และไขมันออกก่อนนําไป ฟอก 2.การฟอกหนังในปัจจุบัน

2.1.6 กรรมวิธีในการสร้างตัวหนังใหญ่ของไทย 1.การเตรียมหนัง มีหนังสัตว์หลายชนิดที่สามารถนํามาทําได้ เช่น หนังโค หนังกระบือ หนังเสือ หนังหมี หนังแพะ แต่คนไทยนิยมหนังวัวมากกว่าหนังชนิดอื่นๆ เนื่องจากหนังวัวมีความบางกว่า โปร่งใสกว่า เช่น หนังแก้ว ถ้าเป็นหนังลูกวัว จะบางใสกว่า ถ้าสมัยโบราณจะเรียกว่า “กรรมวิธีฆ่าหนังให้ตาย” โดยนํา หนังวัวมาหมักไว้กับน้ําปูนขาว แล้วเอามาตําในครกตําข้าวให้นิ่ม แล้วแช่ใน น้ําแช่ด้วยลูกลําโพง ลูกลําโพงจะฟอกเอาความขื่นขม พิษที่มีอยู่ในแผ่นหนัง ออก ประมาณ 3 - 5 วันพอเห็นว่าหนังอ่อนนิ่มได้ที่ก็นําไปขึงให้ตึง ผึ่งแดด ให้แห้งสนิท แล้วจึงเริ่มทําการให้สีพื้นหนัง โดยบางแห่งไม่มีการหมักหนัง ก่อน

ภาพที่ 2-11 กรรมวิธีฟอกหนัง ที่มา : งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

ในบางท้องถิ่นใช้ลูกมะเฟือง ข่า ใบสมอ หรือ สัปปะรดมาใช้ในการ ฟอกหนัง แต่ที่นิยมคือใช้น้ําส้มสายชู เพราะสะดวก ใช้เวลาน้อยโดยใช้ น้ําส้มสายชู 1 ลิตร ผสมน้ํา 20 ลิตร นําผืนหนังที่ขูดตกแต่งเอาขนกับไขมัน ออกแล้วมาแช่น้ําแล้วนําไปหมักในอ่างหรือโอ่งที่ผสมน้ําส้มสายชู ทิ้งไว้ ประมาณ 3 ชัว่ โมง นําหนังไปล้าง แล้วตากลมจนแห้ง


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 17

ปีการศึกษา 2557

3.การเขียนลายบนตัวหนัง

บนผืนหนัง แล้วจึงแกะฉลุลายตามเส้นนั้นๆ ซึ่งตัวหนังจะมีรูปร่างสวยงาม มี ความวิจิตรมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการเขียนลายนี้เอง 4.การแกะสลักลวดลาย

ภาพที่ 2-12 กรรมวิธีเขียนลาย ที่มา : งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

สมัยโบราณจะเอาเขม่าก้นหม้อ หรือกาบมะพร้าวเผาละลายกับ น้ําข้าว เช็ดทาผืนหนังให้ทั่วทัง้ สองด้าน ใช้ใบฟักขาวเช็ดจนหนังลื่นเป็นมัน แล้วเขียนลวดลายด้วยดินสอพอง ในปัจจุบัน สามารถใช้ดินสอ หรือปากกาเขียนลายได้เลย ถ้าช่าง เขียนลายฝีมือไม่เที่ยงพอ มีการเขียนลายผิดบ่อยๆ จะใช้เหล็กแหลม “เหล็ก จาร” เขียนลายเพราะสามารถลบออกได้ง่าย เพียงแต่ใช้น้ําเช็ดรอยที่เขียนก็ ลบออกทันที การลอกลาย ใช้วิธีการลอกลายเส้นจากหนังเก่า หรือลวดลายจากฝา ผนังโดยใช้กระดาษไขวางทับลวดลายและเส้น แล้วนํามาถ่ายพิมพ์เขียวติด

ภาพที่ 2-13 กรรมวิธีแกะสลักลวดลาย ที่มา : งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

ส่วนที่เป็นลวดลาย และเส้นต่างๆ ช่างแกะฉลุจะใช้มุก หรือปัจจุบัน เรียกว่า ตาไก่ ตอก และใช้มดี แกะสลักในส่วนที่ต้องการให้ลอยตัว ถ้า ลวดลายกลมๆ ช่างจะใช้มุกตอกตามลวดลาย ถ้าลายเป็นเหลี่ยมๆจะใช้มดี แกะ ส่วนของช่องไฟของลวดลายต่างๆจะใช้สิ่วขนาดต่างๆ ในส่วนที่เป็นลาย โปร่งจะเป็นสีขาว


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 18

ปีการศึกษา 2557

5.การลงสีบนตัวหนัง สําหรับหนังที่เล่นได้ทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน สีที่ปรากฏมี หลายสี เช่น สีขาว สีดํา สีเขียว สีเหลือง สีแดง ซึ่งแต่ละสีเริ่มจากการลงสีดํา ไว้ก่อน ขูดให้บางทั้งสองด้านจนเป็นสีขาว แล้วค่อยลงสีตามต้องการ สีเขียว ใช้จุนสีผสมกับน้ํามะนาวทา, สีแดง ใช้น้ําฝางผสมกับสารส้ม ทา, สีเหลือง ใช้น้ําฝางทาแล้วเอาน้ํามะนาวถู

น้อยกว่าแบบธรรมชาติ เมื่อสีแห้งแล้วจึงทําการเคลือบตัวหนังให้เงางาม และ คงทนต่อสภาพอุณหภูมิ และความชื้นต่างๆด้วยยางมะขวิดดิบ 6.การผูกไม้ตบั หนัง ขั้นตอนสุดท้ายของการทํารูปหนังใหญ่ คือ การผูกไม้ตับหนังสําหรับ เชิด เรียกว่า “ไม้ตับหนัง” หรือ “ไม้คีบหนัง” ลักษณะคล้ายตับปิ้งปลา ถ้า เป็นหนังตัวเล็กใช้ไม้ประกบเป็นไม้ตับคู่เดียว ถ้าเป็นตัวหนังใหญ่ๆ ใช้ไม้ ประกบไม้ตับ 2 คูแ่ ละให้ห่างกันพอสมควร ไม้ตับหนังนิยมใช้ไม้ไผ่ทแี่ ก่จดั เหลาให้เล็กๆ ด้านในแบนเรียบติดกับ ผืนหนัง ด้านผิวเหลาให้มนไม่ให้หนา หรือบางจนเกินไป ขนาดหนาประมาณ ครึ่งนิ้วถึง 1 นิว้ ส่วนปลายเล็กกว่าส่วนโคนเล็กน้อยเพื่อกันมอด และแมลง

ภาพที่ 2-14 กรรมวิธีลงสีตัวหนัง ที่มา : งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

ในอดีตจะนิยมใช้สีจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันส่วนมากจะใช้สี วิทยาศาสตร์ เพราะมีความสะดวกมากกว่า แต่ความสวยงาม ความคงทนจะ

กินไม้ ต้องนําไม้ตับหนังมารมควันไฟเสียก่อน การผูกจะใช้หวายที่เหลาเป็น เส้นเล็กๆ ผูกให้แน่นเหมือนผูกขอบกระด้งหรือขอบตะแกรง เหลือโคนให้ยาว ลงมาสําหรับจับประมาณ 50 เซนติเมตร ถ้าเป็นหนังตัวใหญ่เหลือไม้ตับไว้ ประมาณ 75 เซนติเมตร


ปีการศึกษา 2557

7.การบูชาครู หรือการเข้าพิธี

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 19

2.1.7 องค์ประกอบในการแสดงหนังใหญ่ 1.สถานที่ (โรงหนัง จอหนัง แสง)

ภาพที่ 2-15 กรรมวิธีบูชาครู ที่มา : งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

หนังใหญ่ทุกตัวจะต้องมีการเข้าพิธีบูชาครู ก่อนนําไปใช้ในการแสดง หนังบางตัวมีแผ่นทองคําเปลวติดอยู่ แสดงว่าผ่านการเข้าพิธีมาแล้ว หรือผ่าน การแสดงมาหลายครั้ง ซึ่งเท่ากับเพิ่มความขลังความศรัทธาให้กับผู้ที่ได้ชม แต่ตัวหนังพระลักษณ์ต้องปิดทองที่หน้า ต้องลงสีด้วยสีเหลืองซึ่งจะทําให้ตัว หนังดูเด่น และสง่างามสมภาคภูมิ

ภายที่ 2-16 จอหนัง และเปรีบเทียบคุณภาพแสงเงาจากแสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ ที่มา : ผู้เขียน, งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

ใช้พื้นที่อย่างน้อย 200 ตารางวา โดยไม่ต้องปลูกร้านยกพื้น เหมือนการแสดงอื่นๆ ตัวหนังจะอยู่สูงกว่าระดับพื้นของสถานที่ที่ใช้ ในการแสดงประมาณ 2.50 เมตรผู้ชมจึงสามารถเห็นได้ทั่วถึง จอหนังมีขนาดยาว 16 เมตร สูง 6 เมตร ใช้ผ้าสีขาวมาทํา จอโดยชักรอก ขึงจอให้ตั้งขึ้นสูงกว่าพื้นดินประมาณ 1 เมตร ในอดีต จะใช้ไม้ไผ่มาทําเป็นจอหนัง แต่ปัจจุบันนิยมใช้เหล็กแป๊ปน้ํา หรือท่อ อะลูมิเนียมที่สามารถถอดต่อกันได้แทน เพราะสะดวกในการขนย้าย


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 20

ปีการศึกษา 2557

แสงสว่างที่ใช้แสดงให้แสงเงา ในสมัยก่อนจะให้แสง ทางด้านหลังตอนกลางของจอเป็นร้านเพลิง (ใช้แสงธรรมชาติจาก กะลาเผา) ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกสบายจะใช้แสงประดิษฐ์เป็น หลัก (หลอดไฟนิออน สปอตไลท์) ซึ่งจะให้อารมณ์ และบรรยากาศ ได้น้อยกว่าแบบแสงธรรมชาติ ขาดชีวิตชีวา การลุกไหวของเปลวไฟ

3.เครื่องดนตรีประกอบ

2.ผู้ทอดหนัง รูป 2-18 วงดนตรีปี่พาทย์ ที่มา : http://www.laksanathai.com/book3/p007.aspx

ภาพที่ 2-17 พื้นที่หลังฉาก สําหรับการทอดหนัง, ที่มา : ผู้เขียน

จะทําหน้าที่ทอดหนังไว้ให้ผู้เชิดหนังด้วยการเอาตัวหนังพิง ซ้อนทับกันไว้บนเสื่อที่ปูบริเวณด้านหลังของจอหนัง ต้องมีความรู้ ความชํานาญ มีความเข้าใจเรื่องราว ลําดับหมวดหมู่ของตัวหนังที่ใช้ ในการแสดง

ส่วนใหญ่จะใช้วงดนตรีปี่พาทย์ “เครื่องห้า” “เครื่องคู่” “เครื่องใหญ่” แล้วแต่ฐานะของงาน แต่จะมีเครื่องดนตรีชนิดพิเศษ อยู่ 3 ชนิดที่เรียกว่า ปี่กลาง กลองติ๋ง และโกร่ง โดยวงปี่พาทย์จะ ตั้งอยู่ด้านหน้าของจอหนังใหญ่ อยู่ระหว่างพื้นที่กึ่งกลางจอหันหน้า เข้าหาจอ โดยห่างจากจอประมาณ 4 เมตร 4. คนพากย์ และเจรจา (ตัวตลก) มีอย่างน้อย 2-3 คน ต้องเป็นผู้ที่มีความชํานาญในเรื่องที่จะ เล่น สามารถจดจําคําพากย์ได้อย่างแม่นยํา เช่น บทพากย์ไหว้ครู นอกจากนั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องฉากการแสดงนั้นๆ คิดแต่งคํา กาพย์ ร่าย ฉันท์ ด้วยปฏิภาณของตนเองได้ รวมถึงมีอารมณ์ขัน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 21

ปีการศึกษา 2557

สามารถโต้ตอบบท เพื่อสร้างความสนุกสนานได้ คนพากย์ต้องมี น้ําเสียงที่ดี กังวาน ฟังชัดเจน เพราะต้องใช้เวลาพากย์ยาวนานเป็น ชั่วโมง หรือตลอดทั้งคืน 5. คนเชิดหนัง และวิธีการเชิด

(ลิงขาวลิงดํา) แล้วจึงจับเรื่องใหญ่แสดงต่อไปตามเนื้อเรื่องตอนใด ตอนหนึ่งของรามเกียรติ์ (ตอนประจําของแต่ละคณะ) 7. วิธีการแสดง ถ้าเป็นตอนกลางวัน จะแสดงจับระบําชุดเมขลา-รามสูร มา แสดงประกอบกับตัวหนังใหญ่ ถ้าเป็นตอนกลางคืน จะเริ่มต้นด้วย พิธีเบิกหน้าพระ หรือการไหว้ครู โดยจะทําพิธีพากย์บทไหว้ครู 3 ตระซึ่งมี 3 ทวยด้วยกัน ต่อด้วยการแสดงชุดเบิกโรง นิยมเล่นชุดจับ ลิงหัวค่ํา (ลิงขาวลิงดํา) เพื่อเป็นการเรียกคนดู เพราะเสียงปี่พาทย์มี ความเร้าใจ ประกอบกับบทเจรจาที่ติดตลก ครึกครื้น

ภาพที่ 2-19 จํานวนนักแสดง, ที่มา : ผู้เขียน

ใช้จํานวนผู้เชิด 10 – 15 คนต่อ 1 รอบการแสดง โดยจะได้รับการฝึกฝนจากคุณครูภูมิปัญญา ผู้เชิดแต่ละคนจะได้รับ บทบาทตัวละครที่เชิดแตกต่างกัน 6. เรื่องสําหรับการแสดง นิยมใช้เรื่องรามเกียรติ์ ถ้าเป็นการแสดงสําหรับตอน กลางคืนต้องมีการแสดงเบิกหน้าพระ หรือบทไหว้ครูก่อนแสดง จากนั้นจะแสดงเรื่องสั้นๆ เป็นการเบิกโรงเสียก่อน เช่น จับลิงหัวค่ํา

ภาพที่ 2-20 พิธีเบิกหน้าพระ, ที่มา : ผู้เขียน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 22

ปีการศึกษา 2557

2.1.8 ประเพณี พิธีกรรมความเชื่อ

2.1.10 การเชิดหนังใหญ่

- พิธีกรรมนําหนังลงโอ่ง - พิธีกรรมเบิกโรง - พิธีกรรมเฉลิมพระเนตร - พิธีกรรมตั้งจอปักเสา - ประเพณีการไหว้ครู หรือครอบครูประจําปี (13-14 เม.ย. ของทุกปี)

- การคัดเลือกคนเชิดหนังใหญ่ (แบ่งได้ 2 พวกคือ 1.เลือกจาก ชาวบ้านในบริเวณนั้น 2.เลือกจากพวกที่เป็นโขนและละครอยู่แล้ว) - การฝึกหัดเชิดหนังเบื้องต้น (เริ่มต้นจากการเต้นเสา, การเก็บเท้า เข้าจังหวะ, การหัดยืด-ยุบ กระทบเท้า ลงเหลี่ยม, การหัดขยั้นเท้า กระดกเท้า, การหัดชูตัวหนัง ตามลําดับ)

ภาพที่ 2-21 บรรยากาศพิธีไหว้ครู และครอบครูหนังใหญ่ประจําปี ที่มา : วารสารอาษา,งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

2.1.9 ระยะเวลาในการแสดง การแสดงระยะสั้น 1 ชั่วโมง / การแสดงเต็มชุด 2 – 3 ชั่วโมง

ภาพที่ 2-22 บรรยากาศการเรียนหนังใหญ่ ที่มา : งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

- ลีลาในการเชิดหนังใหญ่ (จะมีท่วงท่าเฉพาะ และความแตกต่าง กันในประเภทหนังแต่ละตัว ถ้าเป็นตัวยักษ์จะมีลีลาที่เข้มแข็งหนักหน่วงกว่า ตัวลิงที่เน้นความว่องไวมากกว่า สําหรับตัวพระนางจะมีความใกล้เคียงกัน โดยตัวนางจะเคลื่อนไหวช้ากว่า ยกเท้าแคบกว่าตัวพระ)


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 23

ประวัติความเป็นมาหนังใหญ่ และชุมชนวัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี - พ.ศ. 2399 มีการสร้างวัดสว่างอารมณ์ขึ้นโดยพระครูสิง หมุรีเป็นเจ้าอาวาส วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนเริ่มมีการรวบรวม หนังใหญ่เก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เอาไว้จํานวนหนึ่ง และให้ช่าง พื้นบ้านสร้างหนังใหญ่เพิ่มเติม ภาพที่ 2-23 การแต่งกายทั้ง 2 แบบของนักแสดง งานวิจัยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้หนังใหญ่, ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์

- ลักษณะการแต่งกายของคนเชิดหนังใหญ่ (มี 2 แบบ 1.แบบ ชาวบ้าน นุ่งผ้าโจงกระเบนสีต่างๆ ใส่เสื้อคอกลม 2.แบบสวยงามตามโขน ละคร นุ่งผ้าเกีย้ ว สวมเสื้อแขนกระบอกคอตั้ง คาดรัดประคด)

- “ครูเปีย” หัวหน้าคณะหนังเร่ที่อพยพภัยสงครามในสมัย นั้นได้นําหนังใหญ่จํานวนหนึ่งมาถวายวัด เริ่มมีการฝึกหัดชาวบ้านให้ แสดงหนังใหญ่โดยนายนวม ศุภนคร และตระกูลศุภนครต่อกันมา - นายเชื้อ ศุภนคร (ลูกชายคนโต) รับช่วงการแสดงหนัง ใหญ่ต่อมา โดยได้เริ่มถ่ายทอดให้คนในพื้นทีช่ ุมชน

2.1.11 ชุมชนหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บรุ ี (ชุมชนบ้านบางมอญ)

- พ.ศ.2543 ทางวัดได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก SIF สําหรับ จัดทําพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ขึ้น

เป็นชุมชนท่าเก่า เนื่องจากตั้งอยู่ติดแม่น้ําเจ้าพระยาทําให้ เป็นพื้นที่ค้าขายหยุดพักของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า และนายหนัง คณะ การแสดงหนังใหญ่ในสมัยนัน้ ทําให้ชุมชนดังกล่าวเป็นพื้นที่ๆเกิด การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมากมาย

- ปัจจุบันตระกูลศุภนครยังคงเป็นผู้สืบทอด และถ่ายทอด องค์ความรู้หนังใหญ่สู่เยาวชนในพื้นที่ โดยมีการเรียนการสอนเชิด พากย์ และทําหนังใหญ่ในบริเวณวัด มีคณะการแสดงเป็นของวัดเอง สําหรับรับงานแสดงจากภายนอก


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 24

ปีการศึกษา 2557

2.1.12 การถ่ายทอดความรูว้ ิชาหนังใหญ่

ผสมกับภาคปฏิบัติโดยคุณครูภูมิปัญญาของชุมชน ร่วมกับการดูแล ของรุ่นพี่ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง และคุณครูจากโรงเรียนภายนอก

ปัจจุบันมีการบูรณาการวิชาภูมิปัญญาศิลปะการแสดง ท้องถิ่นหนังใหญ่เข้ากับหลักสูตรชั่วโมงกิจกรรม(เรียนอาทิตย์ละ 2 ครั้ง/ 2 ชม.) ในกลุ่มโรงเรียนในเครือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง โดยแบ่งเป็นนักเรียนออกเป็น 2 ช่วงได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 รวมจํานวนนักเรียนกว่า 800 คน ใน 1 ปีการศึกษา โดยสถานที่เรียนส่วนมากจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับโอกาส ต่างๆ บางครั้งจะให้ครูภูมิปญ ั ญาไปสอนในพื้นที่ของโรงเรียนเป็น การเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน หรือบางครั้งถ้าเรียนภาคปฏิบัติ หรือ มีทัศนศึกษาก็จะใช้พื้นที่พิพิธภัณฑ์ของวัด รวมถึงในวันเสาร์ หรืออาทิตย์จะมีกลุ่มเยาวชนใจรักหนัง ใหญ่จํานวนกว่า 10 – 15 คนต่อรุ่น (อายุระหว่าง 10 – 15 ปี) มา เข้าเรียนการเชิดและพากย์หนังใหญ่เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันรวมกลุ่ม เยาวชนใจรักทั้งสิ้น 7 รุ่น โดยการเรียนการสอนจะมีทั้งภาคทฤษฏี

ภาพที่ 2-24 บรรยากาศการเรียนการสอนแบบบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่น ที่มา : หลักสูตรท้องถิ่น หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี, โรงเรียนอนุบาลเทศบาล 3


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 25

ปีการศึกษา 2557

2.2 วิเคราะห์ข้อมูลเรื่องหนังใหญ่ และชุมชน

ภาพที่ 2-25 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่สถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา, กฤษดา ซิ้มเจริญ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 26

ปีการศึกษา 2557

จากการศึกษาข้อมูลเรื่องศิลปะการแสดงหนังใหญ่เพื่อออกแบบศูนย์ การเรียนรู้เพื่อการตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะการแสดงหนังใหญ่นั้น จึง สังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ด้วยการตั้งคําถามที่ว่า "ทําไมหนังใหญ่จึงได้รับ ความนิยมลดลงจากอดีต" และการตอบคําถามเชื่อมโยงด้วยแผนผังความคิด (Mind Mapping) ทําให้เห็นมิติที่หลากหลายของข้อมูล คนไทยในปัจจุบันมีทัศนคติต่อศิลปะการแสดงหนังใหญ่แตกต่างจาก คนสมัยก่อน เนื่องจากทัศนคติต่อหนังใหญ่ และพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน ที่นิยมเสพสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทมี่ ีความรวดเร็ว สะดวกสบายมากกว่า แตกต่างกับคนสมัยก่อนที่มองว่าการแสดงหนังใหญ่เป็นสือ่ บันเทิง เพียงไม่กี่ชนิดที่พอจะให้ความสุขยามค่ําคืน หนังใหญ่สามารถสร้าง จินตนาการ และสร้างอารมณ์ร่วมแก่ผู้ชมได้ ประกอบกับโอกาสในการแสดง ที่มีนานๆครั้ง คนสมัยก่อนจึงให้ความสําคัญมากกว่า ซึ่งในปัจจุบันคณะหนังใหญ่ไทยได้เริ่มพัฒนาเทคนิคการแสดงให้มี ความร่วมสมัย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เช่น การประยุกต์สี ลวดลายของ ตัวหนังให้ร่วมสมัยมากขึ้น การใช้เทคนิคแสงประดิษฐ์ หรือปรับเปลี่ยนบท พูดหรือบทตลกให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้คนหันมาสนใจ ศิลปะการแสดงหนังใหญ่มากขึ้น รวมถึงสถานการณ์หนังใหญ่ และชุมชนในปัจจุบัน เกี่ยวกับรูปแบบ การจัดแสดง การจัดเก็บตัวหนัง และพื้นที่การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับหนังใหญ่เดิม

ทําให้มองเห็นความเชื่อมโยงกันของข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนําไปเป็นแนวทางในการนําเสนอ และพัฒนาการออกแบบต่อไป

2.3 กรณีศึกษา 2.3.1 กรณีศึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการ กรณีศึกษาที่ 1

พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี

ที่ตั้ง

วัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

วันเวลาทําการ

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.30 น. มีการสาธิตการแสดงทุกวันเสาร์เวลา 10.00 น.

วัตถุประสงค์โครงการ โครงการในพระราชดําริของสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ โดยมีการสาธิต และจัดแสดงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ในแนวทางอนุรักษ์ มีการปรับปรุงอาคารเรือนไทย เดิมเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ และจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนในวาระโอกาสสําคัญ ต่างๆ3 3

(http://phd-drsbaronesse.blogspot.com/2013/09/blog-post_4243.html)


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 27

ปีการศึกษา 2557

ข้อมูลอาคาร

เดิมเป็นอาคารศาลาการเปรียญ โดยออกแบบภายในใหม่

(Renovation) พื้นที่ประมาณ 560 ตารางเมตร รวมพื้นที่โครงการทั้งหมด 1,035 ตารางเมตร

ภาพที่ 2-27 ผัง และบรรยากาศภายในโครงการ ที่มา : ผู้เขียน ภาพที่ 2-26 องค์ประกอบของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน

วิเคราะห์โครงการ

ในการบริหารจัดการการเข้าชมไม่มีการกําหนด

จํานวนรอบที่แน่นอน ใช้การดูแลแบบชาวบ้าน มีวิทยากรรองรับ 1 คน ส่วนนิทรรศการใช้เวลารอบละ 20 นาที / 15 คน ส่วนการแสดงในโรงมหรสพใช้เวลารอบละ 40 นาที / 300 คน โดยเบื้องต้นจะให้ผู้เข้าชมรับชมส่วนสาธิตการแสดงร่วมกันทั้งหมดก่อนที่จะ ให้อิสระผู้เข้าชมได้เลือกชมส่วนจัดแสดงที่ตนสนใจก่อน (ส่วนจัดแสดงตัว หนัง, พื้นที่เรียนรู้หนังใหญ่, นิทรรศการชุมชน, ไหว้พระ)

ข้อดี

- มีสัดส่วนในแต่ละพื้นที่กิจกรรมที่ชัดเจน - มีภาพจําต่อโครงการที่ดี ไม่ซ้ําใคร ข้อเสีย - ขาดความต่อเนื่องของพื้นที่การรับชม และเรียนรู้ ผู้ชมสนใจเลือก เข้าชมแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง - ขาดความเข้าใจในการนําเสนอ ในส่วนพื้นที่คลังความรู้ จํานวน รอบการแสดง และการให้ข้อมูลความรู้มีน้อยเกินไป สิ่งที่จะนําไปใช้ในการออกแบบ ประยุกต์ใช้กับการออกแบบจุดยืนของ โครงการ โครงสร้างการบริหารโครงการ รวมถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการ รับชม


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 28

ปีการศึกษา 2557

กรณีศึกษาที่ 2

Kaosiung Shadow Play Museum

จัดแสดง, โรงแสดงดิจิตอล, พื้นที่ประสบการณ์, คลังข้อมูลงานวิจัย,

ที่ตั้ง

Kaosiung, Taiwan

สํานักงาน, พื้นที่สร้างสรรค์ และรองรับกิจกรรม4

วันเวลาทําการ

เปิดให้วันอังคาร - เสาร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 17.00 น. วัตถุประสงค์โครงการ เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะการเล่นเงาของจีนโดยองค์การ บริหารส่วนจังหวัด

วิเคราะห์โครงการ เริ่มต้นจะให้ผู้เข้าชมเข้าฟังการบรรยายสั้นๆในห้อง กิจกรรมสัมมนา มีการเวิร์คชอป และทํากิจกรรมเล็กน้อยในขณะที่ทยอย แบ่งกลุ่มผู้เข้าชมเข้าชมส่วนนิทรรศการ สิ่งที่จะนําไปใช้ในการออกแบบ การจัดกิจกรรมให้ผู้เข้าชมเข้าร่วมระหว่าง รอชมนิทรรศการ หรือส่วนการแสดง 2.3.2 กรณีศึกษาด้านพื้นที่สาํ หรับการจัดแสดงนิทรรศการ

ภาพที่ 2-28 พิพิธภัณฑ์ศิลปะการเล่นเงา Kaosiung ประเทศไต้หวัน ที่มา : www.arteimedia.net/shadowplay/eng/home02.aspx?

ข้อมูลอาคาร

อาคารมี 5 ชั้น (พื้นที่รวม 1,150 ตารางเมตร) โดยแบ่ง

พื้นที่ของโครงการออกเป็น 8 ส่วนได้แก่ พื้นที่ต้อนรับ, พื้นที่การแสดง, พื้นที่

กรณีศึกษาที่ 1

พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี

การจัดแสดง มีการออกแบบฉากสําหรับแสดงตัวหนัง โดยเฉพาะ โดยวางตัวหนังทาบกับฉากทั้ง 2 ด้านมีหลอดไฟสีขาวอยู่ตรง กลาง ฉากดังกล่าวจะทําหน้าที่กั้นพื้นที่จัดแสดงเป็นมุมเล็กๆ ซึ่งรวมตัวหนังที่ จัดแสดงทั้งหมดกว่า 313 ตัว โดยตัวหนังแต่ละตัวจะมีแผ่นข้อมูลของตัว 4

(www.arteimedia.net/shadowplay)


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 29

ปีการศึกษา 2557

ละครนั้นๆกํากับไว้ มีการวางพื้นที่ตัวหนังที่มีความสําคัญที่สุดไว้ในพื้นทีด่ ้าน ในสุด การให้แสงจะเน้นแสงธรรมชาติ มีการให้แสงไฟสีส้มเป็นจุดๆ เพื่อ สร้างบรรยากาศแบบชาวบ้าน

เนื่องจากพื้นที่จํากัดทําให้การจัดเรียงฉากมีความหนาแน่น สลับซับซ้อน ไม่มีรูปแบบที่ชดั เจน ไม่มีการแบ่งพื้นที่ตามประเภท, พื้นที่ ด้านหลังอาคารจะมีศาลาเล็กๆ สําหรับสาธิตการทําตัวหนังใหญ่โดยแต่ละ ขั้นตอนสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้ กรณีศึกษาที่ 2

Kaosiung Shadow Play Museum

การจัดแสดง มีพื้นที่การจัดแสดงทั้งหมด 4 ชั้น ชั้นที่ 1 – นิทรรศการประวัติความเป็นมาของศิลปะการเล่นเงาตั้งแต่ 300 ปีก่อนโดยอิงจากประเทศจีน กระบวนการผลิต พื้นเพของตัว ละครรวมถึงการแบ่งประเภทต่างๆ (วีดีทัศน์ + วางตัวอย่างหนัง กับ panel มีการติดตั้งไฟสวยงาม มีจอข้อมูลดิจิตอล และใช้ กราฟฟิคทีเ่ ข้าใจง่าย) ชั้นที่ 2 – สํานักงาน และห้องคลังความรู้ ชั้นที่ 3 – เป็นโรงแสดงมีการนําเสนอให้ผู้ชมเห็นทั้งพื้นที่หน้าฉาก และ หลังฉาก มีระบบแสงสีเสียงเต็มรูปแบบ ชั้นที่ 4 – นิทรรศการประสบการณ์ เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ลองเชิดหนัง และ นําเสนอข้อมูลผ่านสื่อดิจติ อล ภาพที่ 2-29 รูปแบบการจัดแสดงหนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี ที่มา : กราฟิกโดยผู้เขียน, รูปภาพ www.sunbet88.blog.com

สิ่งที่จะนําไปใช้ในการออกแบบ รูปแบบการจัดแสดง การแบ่งเรื่องราวเป็น ส่วนๆ ลักษณะการให้แสงการเก็บรักษาตัวหนัง tabulation


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 30

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 2-30 ผัง และบรรยากาศการจัดแสดง พิพิธภัณฑ์ Kaosiung Shadow Play ประเทศไต้หวัน ที่มา : (www.arteimedia.net/shadowplay)


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 31

ปีการศึกษา 2557

2.3.3 กรณีศึกษาด้านพื้นที่สาํ หรับการแสดง กรณีศึกษาที่ 1

พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี

พื้นที่การแสดง เป็นอาคารปรับอากาศ รองรับผู้ชมได้ประมาณ 300 คนโดยมีระดับที่นั่งระดับเดียว เมื่อทําการแสดงจะปิดไฟ และใช้ไฟ สปอร์ตไลท์ด้านหลังฉาก ประกอบการแสดงดนตรีไทยสด โดยมีการบอกเล่า ประวัติความเป็นมา และสาธิตการเชิดตอนสั้นๆ 10 – 20 นาที โดยมีโรง เก็บอุปกรณ์เล็กๆอยู่ด้านข้างของอาคาร

สิ่งที่จะนําไปใช้ในการออกแบบ ขนาด ระยะ จํานวนผู้ชม และพื้นที่ใช้งาน หน้าเวที หลังเวทีรวมถึงลักษณะบรรยากาศ แสง สี เสียง รวมถึงขั้นตอนการ แสดงต่างๆ กรณีศึกษาที่ 2

โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา, หัวหิน

สถานทีต่ ั้ง พื้นที่การแสดง

อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีทั้งโรงละครแบบกลางแจ้ง และแบบในร่ม

ภาพที่ 2-32 โรงละครกลางแจ้ง โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา, หัวหิน ที่มา : www.patravadischool.com

ส่วนโรงละครกลางแจ้ง ใช้โครงสร้างเหล็กดันพันเกี่ยวก่อตัวขึ้นเป็น ภาพที่ 2-31 ผัง และบรรยากาศโรงแสดง พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี ที่มา : กราฟิกโดยผู้เขียน, รูปภาพ www.sunbet88.blog.com

รูปโดมดอกไม้ ที่มีความอ่อนช้อยแต่แข็งแรงเป็นสถานที่จัดเลี้ยงที่ต้องการ บรรยากาศแบบใกล้ชิดธรรมชาติ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 32

ปีการศึกษา 2557

พื้นที่การเรียนรู้

ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ของชาน และใต้ถุนเรือน บางครั้งอาจจะมีการเปลี่ยนบรรยากาศไปที่ลาน ของวัด

ภาพที่ 2-33 โรงละครในร่ม โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา, หัวหิน ที่มา : www.patravadischool.com

ส่วนโรงละครแบบในร่ม สามารถรองรับผู้ชมได้กว่า 300 คน ลักษณะผังที่นงั่ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีการแบ่งระดับ ออกแบบให้ผนังมีช่อง เปิดเล็กๆเพื่อให้ลมทะเลสามารถพัดผ่านได้อย่างเย็นสบาย ช่วยประหยัด พลังงาน สิ่งที่จะนําไปใช้ในการออกแบบ โรงละครมีการตกแต่งที่ทันสมัย เชื่อมต่อ กับสภาพแวดล้อม มีองค์ประกอบที่ครบครันสามารถนําไปศึกษาพัฒนาต่อได้ 2.3.4 กรณีศึกษาด้านพื้นที่สาํ หรับการเรียนรู้ กรณีศึกษาที่ 1

พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี

ภาพที่ 2-34 พื้นที่การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี ที่มา : www.asiegolf.com

กรณีศึกษาที่ 2

โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา, หัวหิน

พื้นที่การเรียนรู้ ส่วนอาคารเรียนหลัก หรือห้องเรียนโครงการมีแนวคิดเน้นในเรื่อของ บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกๆพื้นที่ของ โครงการ รูปแบบอาคารเป็นลักษณะโมเดิรน์ เน้นการใช้ช่องเปิดเพื่อรับลม และแสงจากธรรมชาติ ให้ความรู้สึกอิสระ ไม่ซ้ําซากจําเจ ในส่วนงานตกแต่ง หรืออาคารที่สร้างเพิ่มเติมเปรียบเสมือนงานศิลปะที่ส่งเสริมกัน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 33

ปีการศึกษา 2557

ส่วนของห้องเรียนมีความโปร่งโล่ง เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว สามารถ ดัดแปลงพื้นที่ใช้สอยได้หลากหลาย ตามรูปแบบการเรียนการสอน

สิ่งที่จะนําไปใช้ในการออกแบบ - พื้นที่สําหรับการเรียนรู้ และสาธิตการเชิด และการทําตัวหนังใหญ่ - นําไปคิดหลักสูตร และขั้นตอนของบทเรียน - คํานวณจํานวนนักเรียนที่เหมาะสมต่อห้องเรียน - ความสัม พันธ์ของพื้นที่ เรียนรู้ กับธรรมชาติ ทุก ๆพื้นที่เอื้ อต่อการ เรียนรู้ กระตุ้นจินตนาการ

2.4 สรุปจุดยืนโครงการ จากกระบวนศึกษาทั้งการลงพื้นที่ชุมชน การศึกษาศิลปะการแสดง หนังใหญ่ไทย ผ่านการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงข้อมูล การศึกษากรณีศึกษา จึงสรุปเป็นจุดยืนของโครงการ คือ " ศูนย์การเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมของ คนในชุมชน " นําเสนอผ่านสองประเด็น คือ ส่วนการเรียนรู้ที่เน้นการ ปฏิสัมพันธ์ของชุมชน ผ่านการสาธิตจริง ประสบการณ์จริง กับส่วน นิทรรศการหนังใหญ่ทใี่ ช้การออกแบบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเข้ามา ภาพที่ 2-35 พื้นที่การเรียนรู้อาคารเรียนรวม โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา, หัวหิน ที่มา : www.baanlaesuan.com

ช่วยนําเสนอเนื้อหา และการสื่อความหมายได้


ปีการศึกษา 2557

2.5 หัวข้อวิจัยเพื่อการออกแบบ การทดลองออกแบบสถาปัตยกรรมจากปรากฎการณ์แสงและเงาใน การแสดงหนังใหญ่ (Phenomenon of shadow play in architecture) 2.5.1 สมมุติฐานการวิจัย “ ศิลปะการแสดงหนังใหญ่สามารถสื่อสารได้ในเชิงสัญญะ” 2.5.2 คําถามนําการวิจัย “ กระบวนวิธีการแปลงสัญญะผ่านการออกแบบจากทฤษฎี ปรากฏการณ์ศาสตร์แสงและเงาในหนังใหญ่มีวิธีการอะไรบ้าง? ” 2.5.3 วิธีการศึกษา 1. ศึกษาจากกรณีศึก ษา และลักษณะของงานสถาปัตยกรรมกั บ ปรากฏการณ์แสงและเงา 2. วิเคราะห์ และตี ความการแสดงหนังใหญ่ โดยจําแนกลักษณะ พิเศษที่เกิดขึ้นในแง่ปรากฏการณ์แสงและเงา 3. สรุ ป ผลว่ า ลั ก ษณะพื้ น ที่ ข องปรากฏการณ์ แ สงและเงาใน สถาปัตยกรรมควรที่จะมีลักษณะอย่างไรในการออกแบบขึ้นต่อไป

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 34

2.5.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลภาคเอกสาร - บันทึกการแสดงสด และภาพถ่าย - วิเคราะห์จากบันทึกการแสดงสด และภาพถ่าย - ข้อมูลจากหนังสือ บทความต่างๆ เก็บข้อมูลภาคสนาม - คําพูด บทสัมภาษณ์ - รับชมจากการแสดงสดโดยตรง - ทดสอบแสงและเงาในโปรแกรม Sketch Up


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 35

ปีการศึกษา 2557

2.5.5 ศึกษาจากทฤษฎี และกรณีศึกษา น.ศ. ได้นําแนวคิดทฤษฎีแสง และเงาของศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง (ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์) ที่สร้างผลงานจิตรกรรมไทย ประเพณีจากแนวคิด และมุมมองการสังเกตแสงและเงาในงานสถาปัตยกรรม พบว่า “องค์ประกอบที่ทําให้เกิดแสงและเงา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1. แสงต้นกําเนิด (Light source) จะเป็นแสงธรรมชาติ หรือแสงประดิษฐ์ก็ได้ 2. วัสดุตัวกลาง (Shelter) จะเป็นพวกงานโครงสร้าง และองค์ประกอบทาง สถาปัตยกรรม และ 3.ฉากรับภาพ (Shadow & Surface) ซึ่งก็คือ สภาพแวดล้อมอาคาร หรือธรรมชาติโดยรอบ โดยองค์ประกอบดังกล่าวส่ง ผลลัพธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน”5

“ แนวคิด – การสร้างระนาบให้เกิดร่มเงาที่เหมาะสมกับกิจกรรมด้วย ระนาบแนวตั้งเพื่อรักษาความรู้สึกก้ํากึ่งระหว่างภายในภายนอก โดยแต่ละ ระนาบนั้ น จะมี ค วามสู ง ต่ํ า กว้ า ง ยาว ที่ แ ตกต่ า งกั น ทํ า ให้ เ กิ ด เงาที่ เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่สัมพันธ์กับกิจกรรม ความน่ า สนใจ – ในแง่ ข องปรากฎการณ์ แ สง และเงาที่ สั ม พั น ธ์ กั บ กิ จ กรรมที่ ได้ อ อกแบบขึ้น มี ค วามน่ าสนใจ แต่เ นื่ อ งจากเป็ น การประกวด แนวคิดจึงสามารถนําไปพัฒนาต่อได้ ” 6

สําหรับกรณีศึกษางานออกแบบเชิงทดลองสถาปัตยกรรมแสง และเงา น.ศ. เลือกผลงาน Shadow (รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากการประกวด แบบ ASA ปี 2547) มาวิเคราะห์ถึงแนวคิด และกระบวนการออกแบบแสง และเงา ดังนี้ 5

สัมภาษณ์พิเศษศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ หน้า 44-45 6

น.ศ. วิเคราะห์ผลงานจาก วารสารอาษา ฉบับที่ 7 ปี 2547 : 66


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 36

ภาพที่ 2-36 กรณีศึกษาผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับแสงและเงา Shadow ที่มา : วารสารอาษา ฉบับที่ 7 ปี 2547 : 66


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 37

ปีการศึกษา 2557

2.5.6 การวิเคราะห์ตีความศิลปะการแสดงหนังใหญ่ โดย น.ศ. เริ่มต้นจากการศึกษาองค์ประกอบในการแสดงของหนัง ใหญ่ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์เบื้องต้นออกมาดังนี้

- ลักษณะผลลัพธ์ของแสงเงาที่ได้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง แสงไฟธรรมชาติ และแสงไฟประดิษฐ์

- การแสดงหนังใหญ่ ใช้การสื่อสารผ่านตัวหนังที่มีลักษณะบาง (ระนาบ 2 มิติ) แทนตัวละคร แทนฉากนั้นๆ ใช้แสงเงาเข้ามาสร้างให้ตัวหนัง เกิดภาพ 3 มิติขึ้น - แสงและเงาที่เกิดขึ้นเกิดจากองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ 1. แหล่งกําเนิดแสง (Light Source) จากพื้นที่หลังฉาก 2. ตัวกลาง (Shelter / ที่อยู่นิ่ง, ที่เคลื่อนไหว) ในส่วนพื้นที่แสดงส่วน หน้า และหลังฉาก 3. ฉากรับภาพ (Shadow & Surface) – ระนาบจอหนัง ภาพที่ 2-38 เปรียบเทียบผลลัพธ์แสงและเงาจากแสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์

ภาพที่ 2-37 องค์ประกอบในการแสดงหนังใหญ่

พบว่าแสงเงาจากแสงธรรมชาติ มีน้ําหนักความเคลื่อนไหว ดูมี ชีวิตชีวามากกว่าแสงเงาจากแสงประดิษฐ์ทใี่ ห้ความคมชัดกว่าก็จริง แต่ให้ความรู้สกึ ที่นิ่ง และแข็งกระด้าง น.ศ. จึงนําความสัมพันธ์ ดังกล่าวไปทดลองเบื้องต้นกับแสงประดิษฐ์ควบคู่กับแสงอาทิตย์


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 38

ปีการศึกษา 2557

2.5.7 การทดลองเทคนิค และวิธีที่ทําให้เกิดผลลัพธ์แสงและเงา ในโปรแกรม Sketch Up ทางด้านเทคนิคและวิธีการทีท่ ําให้เกิดเงา น.ศ. ทดลองโดยการสร้าง หุ่นจําลองซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นระนาบมาเจาะช่องเปิด และจัดวางให้เกิด พื้นที่ว่าง เพื่อศึกษาวิธีที่ทําให้เกิดผลลัพธ์แสงและเงาในรูปแบบต่างๆดังนี้ ส่วนของแสงประดิษฐ์ 1.เปรียบเทียบการนําระนาบ 2 แผ่นมาเจาะช่องเปิดแล้วจัดวางแบบ ขนาน และแบบเฉียง

ภาพที่ 2-40 ทดลองผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงประดิษฐ์แบบที่ 1 ในโปรแกรม Sketch Up

สาระที่ได้ - ขนาดของภาพเงาอาจขยายใหญ่ หรือหดเล็กลง เพราะตัวกลาง เลื่อนเข้าใกล้ หรือถอยห่างจากแหล่งกําเนิดแสง ภาพที่ 2-39 ISOMETRIC การเจาะช่องเปิด และจัดวางระนาบเพื่อใช้ทดลอง


ปีการศึกษา 2557

- ระยะห่างที่มากขึ้นระหว่างแหล่งกําเนิดแสง และพื้นผิวทีต่ ก กระทบ (มีผลต่อความชัดเจนของขอบเขตแสงและเงา ห่างมาก เงายิ่งพล่าเลือน) 2.เปรียบเทียบการขยับหมุนของแผ่นระนาบ 3x3 (แรงกล)

ภาพที่ 2-41 ทดลองผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงประดิษฐ์แบบที่ 2 ในโปรแกรม Sketch Up

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 39

สาระที่ได้ - เมื่อหมุนระนาบ เงาจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่เมือ่ เปลี่ยนระดับตําแหน่งความสูงของระนาบให้มีความแตกต่างกัน ก่อให้เกิดจังหวะของแสงเงาที่น่าสนใจ 3.เปรียบเทียบการเจาะช่องเปิด (Void) ของระนาบในรูปแบบ เรขาคณิตต่างๆ

ภาพที่ 2-42 ทดลองผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงประดิษฐ์แบบที่ 3 ในโปรแกรม Sketch Up


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 40

สาระที่ได้ - การเลือกรูปทรงในการเจาะระนาบควรเป็นแบบผสมผสาน เพราะผลลัพธ์ของเงามีความใกล้เคียงกับลวดลายไทยของตัว หนังใหญ่ ส่วนของแสงอาทิตย์ 1.เปรียบเทียบผลลัพธ์ของเงาที่เกิดขึ้นจากหุ่นจําลองภายใน 1 วัน ( 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 8.00, 12.00, 16.00 น. )

ภาพที่ 2-43 ผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงอาทิตย์ช่วงเวลา 8.00น. ในโปรแกรม Sketch Up

ภาพที่ 2-44 ผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงอาทิตย์ช่วงเวลา12.00น. ในโปรแกรมSketch Up

ภาพที่ 2-45 ผลลัพธ์แสงและเงาส่วนแสงอาทิตย์ช่วงเวลา16.00น. ในโปรแกรมSketch Up


ปีการศึกษา 2557

สาระที่ได้ - ผลลัพธ์ของเงาที่ได้จากแสงอาทิตย์จะมีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ทําให้การออกแบบต้องคํานึงถึงปัจจัยเงาตกกระทบ หรือเงาจากบริบทโดยรอบด้วย - การเจาะช่องเปิดของกลุ่มหุ่นจําลองที่ใช้ทดลองนั้น ยังมี ลักษณะหยาบเกินไป ทําให้ไม่เห็นผลลัพธ์ของเงาที่ชัดเจน

สรุป จากการทดลองเทคนิค และวิธีที่ทําให้เกิดแสงและเงานั้น ในส่วน ของแสงประดิษฐ์พบว่า สามารถนํามาประยุกต์ใช้หลักการเจาะช่องเปิด การ เล่นระดับของระนาบต่างๆ รวมถึงการเคลื่อนที่แบบแรงกล เพื่อสะท้อน สัญญะหนังใหญ่สู่งานสถาปัตยกรรมได้ในระดับหนึ่ง โดยเบื้องต้นสามารถ นําไปใช้ในส่วนการออกแบบรายละเอียดงานนิทรรศการ (Exhibition )และ เปลือกอาคาร (Facade) ได้ ในขณะที่ส่วนอื่นๆยังคงต้องอาศัยกระบวนการ อื่นๆเพื่อพัฒนาต่อไป

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 41

2.5.8 การทดลองกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้อง กับแสงและเงา (Process A) น.ศ. ได้ นํ า ข้ อ มู ล ที่ วิ เ คราะห์ เ บื้ อ งต้ น มาใช้ ใ นการออกแบบ สถาปัตยกรรมผ่านเครื่องมือ (Time Event Space) โดยการจําลอง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเงา มีการกําหนดตําแหน่งของแหล่งกําเนิดแสง 2 จุด (ตําแหน่งบ้านครู และพิพิธภัณฑ์เดิมตําแหน่งใจกลางวัด), การ กําหนดการจัดวางระนาบให้เกิดที่ว่างโดยคํานึงถึงเรื่องการใช้งาน และเส้น สายของบริบทโดยรอบเป็นหลักเพื่อให้เกิดผลลัพธ์เป็น Space From Graphic เสมือนการฉายหนังใหญ่ให้เกิดเงาลงบนพื้น

ภาพที่ 2-46 การจัดวางระนาบให้เกิดที่ว่างตามการใช้งาน และเงาสมมุติที่เกิดการซ้อนทับ


ปีการศึกษา 2557

1

ว า ง Zoning ข อ ง โครงการในแง่การใช้งาน

3

2

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 42

จัดวางระนาบปิดล้อมให้เกิดขอบเขตพื้นที่ว่างตาม Zoning ที่วาง ไว้โดยอิงระดับความเข้มแสงที่สอดคล้องกับพื้นที่นั้นๆ เช่น พื้นที่ โรงแสดง (แสงน้อย) พื้นที่ห้องเรียน ห้องสมุด (แสงมาก) พื้นที่ นิทรรศการ (แสงสลัว, ปานกลาง) เป็นต้น

ฉายแสงให้เกิดเงาบนพื้น

ภาพที่ 2-47 แสดงกระบวนการวางระนาบปิดล้อมตามพื้นที่การใช้งาน ,กําหนดตําแหน่งแหล่งกําเนิดแสง, ผลลัพธ์ของเงาซ้อนทับกัน (Graphic)

4

นําเงาที่ได้จาก 2 รูป มาซ้อนทับกัน


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 43

ภาพที่ 2-48 หุ่นจําลองแสดงกระบวนการวาง Zoning, ระนาบปิดล้อมตามพื้นที่การใช้งาน , ผลลัพธ์ของเงาซ้อนทับกัน (Graphic)

ภาพที่ 2-49 แสดงกระบวนการซ้อนทับชองเงา 2 รูป และเส้นสายของบริบทที่ตั้ง, ผลลัพธ์ของเงาซ้อนทับกัน (Graphic)


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 44

ปีการศึกษา 2557

โดยการทดลองปรับตําแหน่ง และระดับความสูงต่ําของระนาบไป เรื่อยๆเพื่อให้เกิดผลลัพธ์เงาซ้อนทับ (Graphic) ที่สวยงาม วิธีดังกล่าวทําให้ น.ศ. เสี ย เวลากั บ การทดลองมากเกิ น ไป ในขณะที่ ผ ลลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ ยั ง มี ข้อบกพร่อง และยังไม่ดีที่สุด แบบร่างขั้นต้น (PROCESS A) น.ศ. ได้นําเงากราฟิก ดังกล่าว มาขึ้นเป็นรูปร่างของอาคารโดยมีการ จัดวางระนาบใหม่ เพื่อรองรับมุมมอง และการใช้งานที่มากขึ้น

ภาพที่ 2-51 หุ่นจําลองแบบขั้นต้น PROCESS A

ข้อเสนอแนะ - รูปทรงของอาคารได้เกิดจากเงากราฟิก (Graphic) จริงแต่ยัง ขาดความน่ า สนใจ เนื่ อ งจากเป็ น การขึ้ น รู ป ทรงจากรู ป ร่ า ง (Outline) กราฟิกโดยตรง ยังคิดร่วมกับพื้นที่ว่าง(Space) ทาง สถาปัตยกรรมน้อยเกินไป ภาพที่ 2-50 หุ่นจําลองแบบขั้นต้น PROCESS A


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 45

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 2-52 แบบผังพื้นที่การใช้งาน ในแบบขั้นต้น PROCESS A


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 46

ปีการศึกษา 2557

แบบขั้นสรุปผล (PROCESS A) น.ศ. ได้พัฒนาแบบขั้นสรุปผล โดยคํานึงถึงเรื่องพื้นที่ว่างร่วมกับ รูปทรงของอาคารให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ในขณะที่มีการปรับระนาบ และ ลดทอนกราฟิ กที่ ก่ อให้ เ กิด ที่ว่า งประเภทซอกหลืบ เพื่ อรองรั บ การใช้ ง าน ในทางกลับกันการลดทอนกราฟิกเพื่อรองรับการใช้งานก็เป็นการลดความ ชัดเจนของกราฟิ กเช่นกัน ส่ งผลให้สะท้อนแนวคิดภาพของเงาบนพื้น ลด น้อยลง ภาพที่ 2-54 หุ่นจําลองแบบขั้นสรุป PROCESS B

2.6 บทสรุป

ภาพที่ 2-53 หุ่นจําลองแบบขั้นสรุป PROCESS B

หลังจากที่ได้พัฒนาผลงานมาเรื่อยๆ จนถึงแบบร่างขั้นสรุป (PROCESS A) น.ศ. ได้พบปัญหากับกระบวนการออกแบบดังกล่าว ในส่วน ผลลัพธ์ของเงา Graphic ที่ได้ในตอนแรกนั้นมีเส้นสายที่น่าสนใจก็จริง แต่ ในทางกลับกัน Graphic ดังกล่าวบังคับกรอบในการออกแบบของ น.ศ. มาก เกินไปทําให้การออกแบบเป็นการใส่พื้นที่การใช้งานลงในตัว Graphic เกิด พื้นที่ซอกหลืบที่ไม่สามารถใช้งานได้ทําให้ตัวอาคาร และพืน้ ที่ว่างขาดความ น่าสนใจทําให้ น.ศ. ตัดสินใจล้มเลิกกระบวนการออกแบบดังกล่าว และเริ่ม หากระบวนการออกแบบขั้นต้นใหม่อีกครั้ง


รายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 47

3.1 รายละเอียดโครงการด้านการบริหาร 3.1.1 โครงสร้างการบริหาร โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี เป็นหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดสํานักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในการดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยกํากับดูแลร่วมกันกับเทศบาลตําบลต้นโพธิ์ และชุมชนหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ (บ้านบางมอญ)


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 48

3.1.2 บุคลากรภายในโครงการ ตารางที่ 3-1 แสดงตําแหน่งหน้าที่และจํานวนบุคลากรภายในโครงการ ตําแหน่ง

หน้าที่

จํานวน(คน)

1.ผ่ายงานบริหาร หัวหน้าศูนย์

ดําเนินงาน วางแผน บริหาร และบังคับบัญชาสูงสุด

1

เลขานุการ

ช่วยเหลือ ประสานงาน จัดการประชุม

1

หัวหน้าฝ่าย

ควบคุมดูแลงานด้านธุรการ

1

เจ้าหน้าที่ธุรการ

งานด้านเอกสาร สถิติข้อมูล

1

เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

ตรวจสอบการเบิกจ่าย

เจ้าหน้าที่ประสานงาน

ติดต่อประสานงานหน่วยงานภายในและภายนอก ประสานงานกิจกรรม

งานพัสดุ

เบิกจ่ายพัสดุ ครุภัณฑ์

พนักงานขับรถยนต์

ขับรถและดูแลยานพาหนะ

2.ฝ่ายงานธุรการ

1 1


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 49

ตารางที่ 3-1 แสดงตําแหน่งหน้าที่และจํานวนบุคลากรภายในโครงการ (ต่อ) ตําแหน่ง

หน้าที่

จํานวน(คน)

3.ฝ่ายวิชาการศูนย์ส่งเสริม หัวหน้าฝ่าย

ควบคุมดูแลงานด้านข้อมูลเนื้อหาในพิพิธภัณฑ์

1

ภัณฑารักษ์

บริหารและปฏิบัติการจัดการเนื้อหาทั้งหมด ผู้ดูแลคลังรักษา มีความชํานาญเฉพาะด้าน

2

พนง.ประจําห้องนิทรรศการ

ดูแลผู้เข้าชมนิทรรศการ ควบคุมเวลา

ช่างออกแบบนิทรรศการ

กรณีมีนิทรรศการหมุนเวียน

ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น

สอนการเชิดหนังใหญ่ การพากย์ การเจรจา การทําตัวหนังใหญ่

8

พนังงานประจําคลังรักษา

ติดต่อสอบถาม บัญชีของเข้าออก

1

งานสงวนรักษาโบราณวัตถุ

ดูแลรักษาหนัง(ตัวจริง) งานศิลปกรรม ที่เป็นโบราณวัตถุ

ช่างซ่อมบํารุงทั่วไป

ช่วยเหลือบรรณารักษ์ พัสดุนิทรรศการเกิดการชํารุด

1

4.ผ่ายบริการ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ หัวหน้าฝ่าย

ดูแลควบคุมงานด้านบริการ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์

1

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

ต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลทั่วไป ให้คําปรึกษา ติดต่อสอบถาม

บรรณารักษ์ห้องสมุด

ดูแลหนังสือทั่วไปและหนังสืออ้างอิงต่างๆ ดูแลงานห้องสมุด

1

เจ้าหน้าที่โสต ทัศนูปกรณ์

ดูแลอุปกรณ์เกี่ยวกับแสง เสียง

1

เจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์

ดูแล ตรวจสอบ บํารุง ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 50

ตารางที่ 3-1 แสดงตําแหน่งหน้าที่และจํานวนบุคลากรภายในโครงการ (ต่อ) ตําแหน่ง

หน้าที่

เจ้าหน้าที่ร้านขายของที่ระลึก ขายของที่ระลึก ดูแลการขาย รายได้จากของที่ระลึก

จํานวน(คน) 1

5. ฝ่ายอาคารสถานที่ หัวหน้าฝ่าย

ควบคุมดูแลงานด้านอาคารสถานที่

1

เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาคาร ตรวจสอบระบบไฟ น้ํา เครื่องกล ความปลอดภัย สารสนเทศ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย รักษาความปลอดภัยภายในและภายนอกอาคาร

1

คนสวน

ดูแลพื้นที่นอกอาคาร

2

พนังงานทําความสะอาด

ทําความสะอาดในและนอกอาคาร

2

เจ้าหน้าที่จัดสถานที่

จัดสถานที่และดูแล กรณี นิทรรศการหมุนเวียน มีกิจกรรมพิเศษ

1

จํานวนบุคลากรทั้งสิ้น

30


ปีการศึกษา 2557

3.2 รายละเอียดด้านการใช้สอย และพื้นที่ใช้สอย 3.2.1 จํานวนผู้ใช้โครงการรวม กลุ่มผูใ้ ช้งานโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ. สิงห์บุรี ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้หลัก คือ กลุ่มเยาวชน นักเรียนจากโรงเรียนในเครือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สิงห์บุรีทั้งหมด 4 โรงเรียน แบ่งเป็น - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 รวมทั้งหมดประมาณ 610 คนต่อปี ที่มา : สถิติข้อมูลโรงเรียนสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นปี 2557

และกลุ่มคนในชุมชน กลุ่มผูใ้ ช้รอง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยว หรือผู้ทมี่ ีความสนใจและเรียน ด้านศิลปะการแสดงหนังใหญ่ในหลักสูตรสถาบันการศึกษาจากทั่วประเทศ โดยคํานวณจากข้อมูลทางสถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรีเฉลี่ย พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2556 (ย้อนหลัง 5 ปี) ประกอบด้วยจํานวนผู้เข้าชมทั่วไป และ จํานวนผู้เข้าชมเป็นคณะ

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 51

ผู้เข้าชมทั่วไปประกอบด้วย คนไทยแยกตามอายุ,ชาวต่างชาติ, พระภิกษุ, คนพิการ รวมทั้งสิ้น 137,761 คนต่อปี จากนั้นวิเคราะห์จํานวนผู้เข้าชมทั่วไปจากวัตถุประสงค์ของการเดินทาง ที่มา : สํารวจพฤติกรรมการท่องเที่ยว ปี 2555 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

(ท่องเที่ยว 70% + คาดการณ์เพิ่มเติมในกรณีที่โครงการเสร็จสมบูรณ์ 10%) ดังนั้น 80% ของจํานวนนักท่องเที่ยวสิงห์บุรี คือ 137,761x80/100 = 110,209 คนต่อปี คิดเป็น 302 คนต่อวัน และผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะประกอบด้วยสถาบันการศึกษา ทุกระดับ, หน่วยงานราชการ, มูลนิธิ, สมาคม และอื่นๆ ซึ่งวิเคราะห์จากกรณีศึกษา โครงการพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี ที่มีความใกล้เคียงกันพบว่า จํานวนผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะที่พบมากที่สุดคือ 150 คนต่อวัน (3 คันรถบัส) จึงนําตัวเลขผู้เข้าชมทั่วไปต่อวันมารวมกับจํานวนผู้เข้าชมเป็นหมู่ คณะต่อวันคือ 302+150 = 452 คนต่อวัน สรุปจํานวนผู้ใช้งานโครงการรวม จํานวนผู้เข้าชมโครงการมากที่สุดจํานวน 452 คนต่อวัน จํานวนบุคลากรภายในโครงการจํานวน 30 คน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 52

ปีการศึกษา 2557

3.2.2 จํานวนผู้ใช้โครงการแบบแยกส่วน ส่วนนิทรรศการ - คํานวณจํานวนเฉลี่ยนักท่องเที่ยวต่อวัน จากสถิตินักท่องเที่ยว จังหวัดสิงห์บุรี โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์หลักในการเดินทาง (การท่องเที่ยว) คิดเป็นร้อยละ 80 ของจํานวนทั้งหมด คือ 377 x 80 / 100 = 302 คน/วัน (วิเคราะห์จากกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี)

- จํานวนเฉลี่ยผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะที่พบมากทีส่ ุด คือ 3 คันรถบัส หรือประมาณ 150 คน/วัน (วิเคราะห์จากกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี)

- ใน 1 วันนิทรรศการเปิดทําการ 6 ชั่วโมง ระยะห่างต่อรอบนิทรรศการ 20 นาที จํานวนรอบ (360/20) = 18 รอบ จํานวนผู้เข้าชมสูงสุด (302 + 150) = 452 คน ดังนั้นจํานวนที่นํามาใช้คิดพื้นที่นิทรรศการ คือ (452/18) = 25 คน

ส่วนโรงแสดง - วิเคราะห์จากกรณีศึกษาพบว่าจํานวนผู้ชมสําหรับการแสดงใน ร่มที่เหมาะสม และทั่วถึงสูงสุด คือ 180 คน/รอบ - นักท่องเที่ยวมีจํานวน 302 คน/วัน ดังนั้นจํานวนรอบการแสดง (302/180)= 2 รอบ ส่วนห้องสมุดชุมชน - รองรับร้อยละ 10 ของจํานวนคนในชุมชนทั้งหมด คือ 500x10/100 = 50 คน ส่วนลานกิจกรรมกลางแจ้ง - รองรับได้สูงสุด(จํานวนคนในชุมชน) 500 คน พื้นที่ลานกิจกรรม 820 ตารางเมตร


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 53

ปีการศึกษา 2557

3.2.3 การคํานวณจํานวนครูภูมิปัญญา และห้องเรียน 3.2.3.1 การคํานวณจํานวนครูภูมิปญ ั ญา การจัดการเกี่ยวกับครูภูมิปัญญาเป็นไปในรูปแบบชาวบ้าน โดยครู ภูมิปัญญามีหน้าที่ทั้งสอนเยาวชน เป็นวิทยากรให้ความรูแ้ ก่บุคคลภายนอก รวมถึงเป็นบุคลากรคอยดูแลความสงบในบริเวณวัดและชุมชน

- ครูคณิต ภักดี ( ครูสอนเชิด และพากย์หนังใหญ่ เด็กประถม ) - อ.วีระ มีเหมือน ( รับจ้างสอนเชิดหนังใหญ่แนวทางประยุกต์กับ การแสดงโขน เด็กมัธยม ) - ครูอาวุธ ศุภนคร ( สอนทําตัวหนังใหญ่ ปัจจุบันไม่ได้สอน ) - กลุ่มครูผู้ช่วยสอน (คนในชุมชน, ครูในรายวิชาที่รับผิดชอบจาก โรงเรียนนั้นๆ) มาช่วยดูแลระหว่างการเรียนการสอน เพื่อความทั่วถึงใน 1 ห้องเรียน ควรมีนักเรียนไม่เกิน 30 คน/ครู 2 คน โดยครูภูมิปัญญาสามารถสอนได้ 4 วัน/สัปดาห์ และมากที่สุดครั้งละ 6 ชั่วโมง ( ที่มา : วิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ครูภูมิปัญญา )

ภาพที่ 3-1 ครูภูมิปัญญาในชุมชนที่ยังทําการสอนอยู่ ที่มา : ผู้เขียน, หลักสูตรภูมิปัญญาพื้นถิ่นวัดสว่างอารมณ์

ปัจจุบันในชุมชนมีจํานวนครูภูมิปัญญาทั้งสิ้น 3 ท่าน ได้แก่ - อ.ดํารงค์ ปิ่นทอง ( วิทยากรความรู้พื้นฐาน, ทฤษฏีหนังใหญ่ )

จากการวิเคราะห์หลักสูตร และจํานวนนักเรียนสรุปได้ว่าต้องการครู ภูมิปัญญาเพิ่มอีก 5 อัตรา โดยแบ่งเป็น ครูสอนเชิดและพากย์หนังใหญ่ 3 อัตรา และครูสอนทําตัวหนังใหญ่ 2 อัตรา จากสํานักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร หรือสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งรวมจํานวนครูภูมิปัญญาในโครงการทั้งสิ้น 8 ท่าน (ที่มา : วิเคราะห์จากหน่วยงานรัฐที่รองรับ www.finearts.go.th/traditionalart) โดยในระยะยาวทางชุมชน มีแผนให้เด็กเยาวชนสอนกันเอง มีกลุ่ม นักเรียนที่เป็นศิษย์เก่า มีจิตอาสามาช่วยสอน และรับทําการแสดง (ที่มา : วิเคราะห์จากตัวอย่างโครงการเรียนการสอนหนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี)


ปีการศึกษา 2557

3.2.3.2 การคํานวณจํานวนห้องเรียน วิเคราะห์จากจํานวนนักเรียนหลักสูตรบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์จากโรงเรียนในเครือภูมิปัญญาทั้ง 4 แห่ง

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 54

โดยแบ่งจํานวนดังกล่าวออกเป็น 2 ส่วนวิชา/เทอม (วิชาเชิดและพากย์หนังใหญ่, วิชาทําตัวหนังใหญ่) ตามสัดส่วนความสามารถในการรองรับนักเรียน 3 : 1 ตามลําดับวิชา ส่วนห้องเรียนเชิด และพากย์หนังใหญ่ รองรับนักเรียนจํานวน 400 คน/เทอม จํานวนนักเรียนที่เหมาะสมใน 1 ห้อง คือ 30 คน จํานวนคาบเรียน 400 /30 = 14 คาบ/สัปดาห์ สําหรับหลักสูตรบูรณาการ เปิดบริการ 3 วัน / 2 ช่วง และ 1 วัน / 1 ช่วง ยกตัวอย่างกรณี 1 ห้องเรียน จะสามารถรองรับได้ (3x2)+(1x1)= 7 คาบ/สัปดาห์ ดังนั้น จํานวนคาบทั้งหมด 14 คาบ ต้องใช้ห้องเรียนปฏิบัติทั้งหมด 14/7 = 2 ห้อง

ภาพที่ 3-2 จํานวนนักเรียนที่เข้าร่วมหลักสูตรบูรณาการแยกตามโรงเรียน (ที่มา : สถิติข้อมูลโรงเรียนสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2557)

น.ศ. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ โดยเลือกจํานวน 70 % ของจํานวน นักเรียนทั้งหมดมาคํานวณ 871 x 70 / 100 = 610 คน

ส่วนห้องเรียนทําตัวหนังใหญ่ รองรับนักเรียนจํานวน 210 คน/เทอม จํานวนนักเรียนที่เหมาะสมใน 1 ห้อง คือ 30 คน จํานวนคาบเรียน 210 /30 = 7 คาบ/สัปดาห์ สําหรับหลักสูตรบูรณาการ เปิดบริการ 3 วัน / 2 ช่วง และ 1 วัน / 1 ช่วง


ปีการศึกษา 2557

ดังนั้น จํานวนคาบทั้งหมด 7 คาบ ต้องใช้ห้องเรียนปฏิบัติทั้งหมด 7/7 = 1 ห้อง 3.2.4 หลักสูตรตารางเรียน และกิจกรรมโครงการ 3.2.4.1 หลักสูตรกระบวนการเรียนศิลปะการแสดงหนังใหญ่ น.ศ.ได้ วิ เ คราะห์ และพั ฒ นาจากหลั ก สู ต รบู ร ณาการภู มิ ปั ญ ญา ท้องถิ่นร่วมกับวิชากลุ่มสังคม ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ การงานอาชีพ ที่มีอยู่ เดิมโดยปรับบทเรียนให้เข้ากับเป้าหมายในการศึกษาในกลุ่มนักเรียนแต่ละ ช่วงวัยดังนี้ - กลุ่มเด็กเล็ก (นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6) จะเน้นเกี่ยวกับการปลูกฝัง ความใกล้ชิด ทัศนคติที่ดีต่อหนังใหญ่ ซึ่ง ทําให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหนังใหญ่ โดยจะใช้กิจกรรมรูปแบบ การปฏิบัติจริง แนวทางประยุกต์ต่างๆ เพื่อสร้างความสนใจ สนุกสนาน - กลุ่มเด็กโต (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) จะเน้ น เกี่ ย วกั บ ความเข้ า ใจพื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ หนั ง ใหญ่ และ องค์ประกอบการแสดงที่มากขึ้น ลึกซึ้งขึ้น นักเรียนกลุ่มดังกล่าวสามารถนํา

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 55

ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ หรือเผยแพร่ต่อได้ โดยจะเน้นเรื่องทฤษฎี และ เทคนิคในการแสดงที่มากขึ้น ใน 1 ปีการศึกษา หลักสูตรบูรณาการทั้งสองช่วงจะเรียนวันอังคาร ถึงวันพฤหัสบดี รวมทั้งหมด 32 ครั้ง หรือ 64 ชั่วโมง - กลุ่มเด็กใจรัก (เยาวชนที่มีใจรักในศิลปะการแสดงหนังใหญ่) จะเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาต่อยอด สู่การแสดงจริง โดยเป้าหมายของ กลุ่มนี้ คือ เยาวชนมีความรู้ ความสามารถเฉพาะเกี่ยวกับหนังใหญ่ สามารถ เป็นวิทยากรช่วยรับแขก หรือผู้เข้าชมโครงการได้ มีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ สามารถช่วยสอนรุ่นน้อง หรือสาธิตการแสดง รับงานจากภายนอกได้ โดยในกลุ่มใจรักจะเรียนในวันเสาร์ หรืออาทิตย์เต็มวัน ระยะเวลาการฝึกฝนขั้นพื้นฐาน 70 – 80 ชั่วโมง สําหรับผู้ที่มีพื้นฐาน (นาฏศิลป์, โขน) 30 – 40 ชั่วโมง จึงจะเริ่มทําการแสดงได้ สามารถช่วยสอนได้


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 56

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 3-3 ผังแสดงหลักสูตรกระบวนการเรียนศิลปะการแสดงหนังใหญ่สําหรับโครงการ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 57

ภาพที่ 3-4 ผังแสดงหลักสูตรกระบวนการเรียนศิลปะการแสดงหนังใหญ่สําหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 58

ภาพที่ 3-5 ผังแสดงหลักสูตรกระบวนการเรียนศิลปะการแสดงหนังใหญ่สําหรับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 59

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 3-6 ผังแสดงหลักสูตรกระบวนการเรียนศิลปะการแสดงหนังใหญ่สําหรับเยาวชนกลุ่มใจรัก


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 60

ปีการศึกษา 2557

3.2.4.2 ตารางเรียน และกิจกรรมโครงการ ส่วนของตารางเรียนจะแบ่งเป็นภาคเช้า และบ่ายโดยมีห้องเรียนทั้งหมด 3 ห้องได้แก่ ห้องเรียนเชิดและพากย์ 2 ห้อง ห้องเรียนทําตัวหนัง ใหญ่ 1 ห้อง ทําการเรียนการสอน 5 วัน/สัปดาห์ โดยโครงการจะเปิดทําการวันอังคารถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่ 9.00 – 17.00 น. อาจมีการใช้งาน ล่วงเวลาตามวาระโอกาสสําคัญต่างๆ

ภาพที่ 3-7 ผังตารางเรียนศิลปะการแสดงหนังใหญ่ใน 1 สัปดาห์


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 61

ปีการศึกษา 2557

3.2.5 เนื้อหาในการจัดแสดงส่วนนิทรรศการ 3.2.5.1 เนื้อหาส่วนนิทรรศการถาวร

1.ปฐมบท – เป็นการเริ่มต้นด้วยการนําเสนอประวัติความเป็นมา ของการเล่นหนังจากทั่วโลกจนเข้ามาถึงประเทศไทย โดยตอกย้ําเหตุการณ์ และจุดเปลี่ยนที่สําคัญของหนังใหญ่ คือ จากหนังหลวงสู่หนังราษฎร์รวบรวม เป็นวีดิทัศน์ รวมถึงประเภท และวิวัฒนาการหนังใหญ่ในประเทศไทยผ่าน บอร์ด 3 มิติ และกราฟฟิกบนพื้น ใช้เวลา 10 นาที 2.นาฏยศาลา – นําเสนอเรื่องราวของ ครู ความเชื่อ จารีตและธรรม เนียมปฏิบัติในการแสดง รวมถึงประวัติชุมชนหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ใช้ เวลา 10 นาที

ภาพที่ 3-8 แผนผังการเรียงลําดับห้องนิทรรศการ

จากการสังเคราะห์ข้อมูลทําให้ มองเห็นองค์รวมของข้อมูลทั้งหมด จึงออกแบบส่วนการนําเสนอข้อมูลให้ผู้เข้าชมสามารถรับรู้ข้อมูลเรื่องหนัง ใหญ่อย่างเป็นองค์รวม มีการจัดเรียงการเข้าชมแบบเรียงตามลําดับห้อง และ ลําดับเรื่องจากอดีต ปัจจุบัน อนาคต เพื่อความต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน โดยรวมเวลาในการเข้าชมต่อรอบ 1 ชั่วโมง 10 นาที แบ่งออกเป็น 5 ห้อง นิทรรศการ ได้แก่

3.มหัศจรรย์หนังใหญ่ – นําเสนอองค์ประกอบของการแสดงหนัง ใหญ่ ตั้งแต่ความประณีตของช่างหัตศิลป์ไทยผ่านศิลปะการหนังใหญ่ โดย แสดงขั้นตอนของการผลิตงานของช่างแขนงต่างๆ ประกอบด้วย - บทวรรณกรรม นําเสนอในรูปแบบของบอร์ดข้อมูล - หัตถศิลป์ นําเสนอขั้นตอนการประดิษฐ์ตัวหนังใหญ่ โดยแสดง ชิ้นส่วนจริง อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ต่างๆ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 62

ปีการศึกษา 2557

- นาฎศิลป์ นําเสนอลักษณะการถ่ายทอดความรู้ ท่าทางและลีลา

และเข้าสู่การนําเสนอการต่อยอดความรู้ผ่านผลงานศิลปะการเล่น

การเชิดหนัง โดยการจําลองฉากบรรยากาศใต้ถุนเรือน และรูปภาพท่าทาง

เงาประยุกต์ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ, 3 มิติ โดยในส่วนนี้มีที่นั่งพักไว้รองรับ ใช้

การเชิดในอิริยาบถต่างๆ

เวลา 15 นาที

- มัณฑณศิลป์ นําเสนอขั้นตอนการติดตั้งฉาก และการทําโรงมหรสพ ผ่านแบบจําลอง และอุปกรณ์จริงบางส่วน - คีตศิลป์ แสดงเครื่องดนตรี 5 ชิ้น (วงปี่พาทย์เครื่องห้า) ซึ่งเป็น

5.หนังใหญ่ในปัจจุบัน – เป็นพื้นที่ยกคุณค่าของงานศิลปะแขนงนี้ (HALL OF FRAME) ที่จัดแสดงตัวหนังใหญ่จริงกว่า 20 ตัว, แสดงรายชื่อ

เครื่องดนตรีหลักที่ให้ในการแสดงหนัง ผู้ชมสามารถฟังเสียงได้จากลําโพงที่ให้

ของคนในชุมชนและบุคคลทีม่ ีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวงการหนังใหญ่ไทย

เสียงเฉพาะจุดเหนือศีรษะ เป็นเสียงเพลงจากเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆ ส่วนนี้ใช้

รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวหนังใหญ่ในบริบทของปัจจุบัน อันได้แก่ การ

เวลา 20 นาที

สนับสนุนของสมเด็จพระเทพฯ, กิจกรรมต่างๆของชุมชน, ทัศนคติของคนใน ปัจจุบันกับหนังใหญ่ ใช้เวลา 15 นาที

4.จินตนาการกับหนังใหญ่ – เปลี่ยนผู้เข้าชมเป็นผู้เชิด เป็นตัวหนัง ใหญ่ โดยการลองเชิดตัวหนังจําลอง ในส่วนนี้มีผู้ดูแลและสอนการเชิด

3.2.5.2 เนื้อหาส่วนนิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการหมุนเวียนเป็นพื้นที่จัดแสดงข้อมูลซึ่งเป็นส่วนขยายของ

เบื้องต้น 1 คน ในขณะเดียวกันภายในห้องจะมีการออกแบบแสงทําให้เกิด

นิทรรศการถาวร เน้นเรื่องตัวหนัง หรืองานศิลปะประยุกต์ที่เกิดขึ้นใน

เงาของคน และตัวหนังไปพร้อมๆกัน เพื่อกระตุ้นจินตนาการของผู้เข้าชม

ปัจจุบัน รวมถึงเปิดโอกาสให้ทางชุมชน หรือบุคคลภายนอกเข้ามาแสดงผล

เสมือนว่าเป็นทั้งคนเชิด และตัวหนังใหญ่ที่ผู้เข้าชมสามารถกําหนดท่าทาง

งาน หรือจัดกิจกรรมต่างๆ อาจใช้เป็นพื้นที่กิจกรรมเอนกประสงค์ เช่น การ

การเคลื่อนไหวเองได้

จัดเสวนา อบรม และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 63

ปีการศึกษา 2557

3.2.6 รอบการเข้าชมและเวลาต่างๆ วันและเวลาทําการของโครงการส่วนนิทรรศการคือ 9.00-17.00 น. ดังนั้นในหนึ่งรอบการชมนิทรรศการใช้เวลาทั้งหมด ๗๐ นาที โดยแต่ละรอบ จะห่างกัน 20 นาที จะได้จํานวนรอบการชม 18 ช่วงต่อหนึ่งวัน ช่วงที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

เวลาเข้า 9.00 9.20 9.40 10.00 10.20 10.40 11.00 11.20 11.40 13.00 13.20 13.40

เวลาสิน้ สุด 10.10 10.30 10.50 11.10 11.30 11.50 12.10 12.30 12.50 14.10 14.30 14.50

หมายเหตุ 12.00 ถึง 13.00 ไม่มีรอบ

13 14 15 16 17 18

14.00 14.20 14.40 15.00 15.20 15.40

15.10 15.30 15.50 16.10 16.30 16.50

ตาราง 3-2 แสดงเวลาเข้าและสิ้นสุดแต่ละรอบ

จากจํานวนผู้ใช้งานมากที่สุดต่อวัน 452 คน นํามาหารค่าจํานวน รอบ 18 รอบ (452/18) จะได้จํานวนผู้เข้าชมต่อช่วง คือ 25 คน ซึ่งใช้ จํานวนค่านี้ในการคิดคํานวณพื้นที่ในแต่ละห้องนิทรรศการ 3.2.7 พื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม - โถงต้อนรับ เป็นโถงแรกของการเข้าสู่อาคาร - ส่วนการเรียนรู้ (บ้านศิลปิน) ประกอบด้วยห้องเรียนเชิดหนังใหญ่ การพากย์ การเจรจา การทําตัวหนังใหญ่ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมถึง ส่วนสนับสนุนการเรียนต่างๆได้แก่ ห้องฝึกซ้อมดนตรีไทย ห้องพักครูภูมิ ปัญญา เป็นต้น


ปีการศึกษา 2557

- คลังรักษา ประกอบด้วยคลังเพื่อเก็บรักษา และจดบันทึกเลข ทะเบียนวัตถุหนังแต่ละตัว นอกจากนั้นเป็นคลังเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ของโครงการ อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนซ่อมบํารุง ทั้งการซ่อมแซมวัตถุต่างๆทีเ่ กิด การสึกหรอ ทัง้ วัตถุที่เป็นโบราณวัตถุ นิทรรศการ และอุปกรณ์ทั่วไป - โถงนิทรรศการ เป็นโถงเพื่อให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงรายละเอียดก่อนเข้า ชมนิทรรศการแต่ละรอบให้ผเู้ ข้าชมเฉพาะรอบ และมีการนําเสนอเนื้อหา เบื้องต้นเช่น ภาพข้อมูลต่างๆ - ส่วนโรงมหรสพหนังใหญ่ รองรับผู้ชม 180 คนต่อ 1 รอบการแสดง ใช้สําหรับทําการแสดงหนังใหญ่ทุกวันเสาร์ (มี 2 รอบได้แก่ 10.00 – 11.00 น. และ 13.00 – 14.00 น.) และการฝึกซ้อมการแสดงอย่างเป็นองค์รวม นอกจากนี้พื้นที่ลานกิจกรรมภายนอกยังสามารถรองรับการแสดงหนังใหญ่ แบบกลางแจ้ง ในวาระโอกาสกิจกรรมพิเศษอีกด้วย - ร้านอาหารและเครื่องดื่ม มีไว้เพื่อรองรับพนักงานที่ปฏิบัติงานใน สํานักงานโครงการและผู้เข้าชมที่รอเวลาเข้าชมนิทรรศการหรือหลังเข้าชม นิทรรศการ นอกจากนั้นยังรองรับผู้ใช้ที่จะมารอชมการแสดงหนัง หรือเมื่อมี กิจกรรมพิเศษต่างๆในโครงการ

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 64

- ห้องสมุด เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เฉพาะเรื่องศิลปะการแสดง หนังใหญ่ทั้งหนังสืออ้างอิง สิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์ สูจิบัตรการแสดง และ บันทึกการแสดงในรูปแบบวีดีโอ มีไว้บริการสําหรับนักเรียนนักศึกษาที่ศกึ ษา ด้านศิลปกรรมศาสตร์ และบริการผู้เข้าชมระหว่างรอเข้าชมนิทรรศการหรือ หลังจากชมนิทรรศการแล้วมีความสนใจอยากศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม - สํานักงาน เป็นสถานที่ทํางานของฝ่ายบริหารศูนย์ส่งเสริม และเป็น ที่ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกองค์กรในกรณีมกี ารจัดกิจกรรมต่างๆ - ส่วนบริการอาคาร ประกอบด้วยพื้นที่สําหรับเครื่องจักรกลระบบ ต่างๆทางวิศวกรรม อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ของการจัดการระบบอาคารทั้งหมด ทั้งทางวิศวกรรม และงานบริการ - ส่วนลานกิจกรรมกลางแจ้ง สําหรับรองรับกิจกรรมตามวาระ โอกาสสําคัญต่างๆ เช่น เทศกาลสงกรานต์, พิธีไหว้ครูประจําปี ฯลฯ โดยจะมี การใช้พื้นที่สําหรับการแสดงกลางแจ้งของคณะปีละ 1-2 ครั้ง


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 65

ปีการศึกษา 2557

3.2 รายละเอียดโครงสร้างด้านพื้นที่ใช้สอย

ภาพที่ 3-9 แผนผังแสดงสัดส่วน และการเชี่อมต่อพื้นที่ส่วนต่างๆของโครงการ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 66

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 3-10 แผนผังแสดงการเชื่อมต่อพื้นที่ใช้สอยภายในโครงการ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 67

3.3 ตารางรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยโครงการ ในการคํานวนพื้นที่ใช้สอยโครงการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการใช้งาน และเพียงพอต่อการใช้สอย การคํานวนพื้นที่ใช้สอยที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ส่วนนิทรรศการถาวร นั้น มีการออกแบบเบื้องต้นและคํานวนระยะพื้นที่ต่างๆขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับการนําเสนอข้อมูลนั้นๆ จึงมีการอ้างอิงข้อมูลและ ทฤษฎีจากแหล่งที่มาต่างๆ ดังนี้

A : Architect data

L : Law

T : Time Saver

S : Self Analysis

C : Case study

E : Engineering system

ตารางที่ 3-3 รายละเอียดพื้นที่ใช้สอยโครงการ

1. ส่วนบริการสาธารณะ (Public Facility) พื้นที่ใช้สอย โถงทางเข้าหลัก

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย

พื้นที่รวม

อ้างอิง

151.0

0.8

120.8

A

ส่วนประชาสัมพันธ์

1.0

5.5

5.5

S

พื้นที่นั่งรอเข้าชม

40.0

1.3

50.0

A

ทางสัญจร

44.1

หมายเหตุ จํานวนผู้เข้าชมต่อวัน 302 คน ( แบ่ง เช้า/บ่าย )

ร้อยละ 25 ของพื้นที่

ห้องน้ํา

จํานวนห้องน้ําสาธารณะ

-ห้องน้ําชาย

1.0

18.0

18.0

L

กฎกระทรวงฉบับที่ 63(พ.ศ.2551) ออกตาพรบ.

-ห้องน้ําหญิง

1.0

18.0

21.6

L

ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (ชาย :3ห้องส้วม +


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 68

-ห้องน้ําคนพิการ

1.0

4.2

รวม พื้นที่ใช้สอย

4.2

L

3โถ +3อ่างล้างมือ /หญิง :6ห้องส้วม+3อ่างล้างมือ) 1ชุด

264.2 จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย

พื้นที่รวม

อ้างอิง

หมายเหตุ

ร้านเครื่องดื่ม -เคาน์เตอร์ชําระเงิน

1.0

1.0

1.0

A

-ส่วนทําเครื่องดื่ม

1.0

6.9

6.9

A

-ที่นั่งแบบคู่ (50%)

4 (8คน)

1.0

4.0

A

-ที่นั่งแบบสี่คน (50%)

2 (8คน)

5.8

11.5

A

ทางสัญจร

5.9 รวม

20% ของผู้เข้าชม 2รอบ (หลังเข้าชมและรอเข้าชม) 16 คน ร้อยละ 25 ของพื้นที่ร้านเครื่องดื่ม

29.3

ร้านอาหาร โต๊ะอาหาร (สี่ที่นั่ง)

16.0

5.8

92.0

A

25% ของจํานวนพนักงานโครงการ + จํานวนผู้เข้าชม เป็นหมู่คณะรอบใกล้เที่ยง (0.25*180 = 45คน) 10% ของผู้มาชมการแสดง (0.1*180 = 18คน)

ครัว ทางสัญจร ห้องน้ําร้านอาหาร

1.0

59.0

59.0 37.8

A ร้อยละ25ของพื้นที่ร้านอาหาร จํานวนห้องน้ําภัตตาคาร


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 69

-ห้องน้ําชาย

1.0

14.8

14.4

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมอาคารพ.ศ2554

-ห้องน้ําหญิง

1.0

10.8

10.8

(ชาย :1ห้องส้วม+2โถ+1อ่างล้างมือ /หญิง : 2ห้องส้วม 1อ่างล้างมือ) 1ชุด พื้นที่/หน่วย:ห้องส้วม 2.0 ตรม. ,โถปัสสาวะ0.7 ตรม.อ่างล้างมือ1.0)

รวม ร้านขายของที่ระลึก

214.0 1.0

20.0

พื้นที่รวม ส่วนบริการสาธารณะ (Public Facility)

20.0

C

498.1

2.ส่วนห้องสมุดชุมชน และศิลปะการแสดงหนังใหญ่ (Library) พื้นที่ใช้สอย

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย

พื้นที่รวม

อ้างอิง

หมายเหตุ

ห้องสมุด (1500 B) โถงหน้าห้องสมุด

50.0

0.8

40.0

A

รองรับ 50 คน (1 คนต่อ 30 เล่ม รวม 1500 เล่ม)

ส่วนบริการข้อมูล ยืม คืน

1.0

9.0

9.0

A

รวมพื้นที่ทํางานบรรณารักษ์

พื้นที่ฝากสัมภาระ

1.0

2.0

2.0

S

ส่วนเก็บสิ่งพิมพ์

1.0

2.0

2.0

T

ส่วนเก็บสื่อวิดีทัศน์การแสดง

1.0

2.0

2.0

T

ส่วนบริการคอมพิวเตอร์

5.0

0.9

4.4

S

ร้อยละ 10 ของผู้ใช้บริการห้องสมุด


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 70

พื้นที่นั่งอ่านหนังสือ (โต๊ะ เก้าอี้)

50.0

0.9

43.8

A

พื้นที่ชั้นหนังสือ (1.9x0.5)

3.0

1.0

2.9

S

พื้นที่บริการถ่ายเอกสาร

1.0

0.7

0.7

S

ห้องเรียนเบ็ดเตล็ด 50 คน

1.0

48.0

48.0

S

ทางสัญจร

46.4

พื้นที่รวม ส่วนห้องสมุด (Library)

201.1

ชั้นหนังสือ 1 ตัวรองรับได้ 600 เล่ม (1500/600 = 3) (8x6 = 48 ตร.ม.) ร้อยละ 30 ของพื้นที่

3. ส่วนการเรียนรู้ บ้านศิลปิน (Learning area) พื้นที่ใช้สอย โถงย่อย

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย

พื้นที่รวม

อ้างอิง

หมายเหตุ

90

0.8

72

A

ห้องปฏิบัติการเรียนเชิด และพากย์หนังใหญ

1

180

180

S

(12x15)

ห้องปฏิบัติการเรียนเชิด และพากย์หนังใหญ

1

200

200

S

(10x20)

ห้องดนตรีไทย

1

50

50

S

ห้องเรียนทฤษฎี รองรับ 30 คน

1

40

40

S

1

100

100

S

เชิด และพากย์หนังใหญ่

ทําตัวหนังใหญ่ ห้องเขียนลาย รองรับ 30 คน


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 71

ห้องแกะ ฉลุ และลงสี รองรับ 30 คน

1

130

130

S

พิ้นที่การฟอกหนัง และเก็บอุปกรณ์

1

20

20

S

ส่วนติดต่อ พนง.ประจําคลัง

1

5

5

A

ห้องทํางานเจ้าหน้าที่สงวนรักษา

2

5

10

A

คลังเก็บตัวหนังใหญ่

1

77

77

S

ห้องพักครูภูมิปัญญา

8

4

32

S

ห้องเก็บของทั่วไป

1

30

30

S

10 ตัว

คลังเก็บรักษาวัตถุ(เกี่ยวกับหนังใหญ่)*

ทางสัญจร

193.8

300 ตัว

ร้อยละ 30 ของพื้นที่

ห้องน้ํา

ข้อบัญญัติเรื่องควบคุมอาคารพ.ศ2554 (90 คน)

-ห้องน้ําชาย

2

14.8

29.6

-ห้องน้ําหญิง

2

10.8

21.6

(ชาย:1ห้องส้วม+2โถ+1อ่างล้างมือ /หญิง:2ห้องส้วม 1อ่างล้างมือ) 2 ชุด พื้นที่/หน่วย:ห้องส้วม 2.0 ตรม. ,โถปัสสาวะ 0.7 ตรม.อ่างล้างมือ1.0)

พื้นที่รวม ส่วนคลังรักษาและซ่อมบํารุง

1191.0

4. ส่วนบริหาร (Admin office) พื้นที่ใช้สอย

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย

พื้นที่รวม

อ้างอิง

หมายเหตุ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 72

โถงรับรองผู้มาติดต่อ

1

6.5

6.5

S

ผู้อํานวยการ

1

8

8.0

A

เลขานุการ

1

6

6.0

A

หัวหน้าฝ่าย

1

6

6.0

A

เจ้าหน้าที่พนักงาน

3

3

9.0

A

งานพัสดุ

1

3

3.0

A

ห้องเก็บเอกสาร

1

12

12.0

A

ห้องผ่ายธุรการ

รวม

6

50.5

ห้องฝ่ายวิชาการพิพิธภัณฑ์ หัวหน้าฝ่าย

1

6

6.0

A

ภัณฑารักษ์

2

6

12.0

A

ช่างออกแบบนิทรรศการ

1

6

6.0

A

รวม

4

24.0

ห้องผ่ายบริการ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ หัวหน้าฝ่าย

1

6

6.0

A

เจ้าหน้าที่โสต ทัศนูปกรณ์

1

3

3.0

A

รวม

2

9.0

ชุดโซฟา


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 73

ห้องฝ่ายอาคารสถานที่ หัวหน้าฝ่าย

1

6

6.0

A

เจ้าหน้าที่จัดสถานที่

1

3

3.0

A

รวม

2

9.0

pantry

1

4

4.0

ห้องประชุมพนักงาน(ย่อย)

1

16

16.0

20

สําหรับพนักงาน 10 คน

-ล๊อกเกอร์

14

0.63

8.8

S,A

พื้นที่ล๊อกเกอร์(0.18) พื้นที่หน้าล๊อกเกอร์(0.45)

-ห้องเปลี่ยนชุด

2

1.5

3.0

S

1

12

12.0

A

ห้องเปลี่ยนชุดพนักงาน

ห้องเก็บคุรุภัณฑ์ทั่วไป ทางสัญจร

27.3

ห้องน้ําพนักงาน

ร้อยละ 20 ของพื้นที่ส่วนบริหาร ข้อบัญญัติเรื่องควบคุมอาคารพ.ศ2554

-ห้องน้ําชาย

1

14.8

14.8

-ห้องน้ําหญิง

1

10.8

10.8

(ชาย:1ห้องส้วม+2โถ+1อ่างล้างมือ /หญิง:2ห้องส้วม 1อ่างล้างมือ) 1ชุด พื้นที่/หน่วย:ห้องส้วม 2.0 ตรม. ,โถปัสสาวะ0.7 ตรม.อ่างล้างมือ1.0)

พื้นที่รวม ส่วนบริหาร (Office)

189.2


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 74

5. ส่วนบริการอาคาร (Building Service) พื้นที่ใช้สอย

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย

พื้นที่รวม

อ้างอิง

หมายเหตุ

ห้องควบคุมระบบรวม เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาคาร

1

5

5.0

A

ห้องพักแม่บ้าน คนสวน

1

24

24.0

S

ห้องเก็บอุปกรณ์ทําความสะอาด

2

5

10.0

A

พนักงานรักษาความปลอดภัย

1

6

6.0

A

ห้อง MDB

1

60

60.0

E

ห้องเครื่องกําเนิดไฟฟ้า

1

40

40.0

E

ห้องควบคุมไฟฟ้า LC

2

4

8.0

E

เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบ

ระบบไฟฟ้า

หม้อแปลงนอกอาคาร

1.5-2% ของพื้นที่ใช้งานทั้งหมด ตามจํานวนชั้น ไม่นํามาคิดพื้นที่

ระบบน้ํา ห้องเครื่องสูบน้ําประปา

1

20

20.0

E

ห้องเครื่องสูบน้ําดับเพลิง

1

20

20.0

E

ถังเก็บน้ํา(ไม่น้ํามาคิดพื้นที่) ระบบปรับอากาศ

ไม่นํามาคิดพื้นที่


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 75

ห้อง AHU

12

9

108.0

E

ห้อง Chiller

1

100

100.0

E

Cooling Tower

2

ห้องงานระบบสารสารเทศ MDF

1

30

30.0

ถังทิ้งขยะ

1

6

6.0

AHU 1 ห้องรองรับพื้นที่ได้ 400 ตร.ม. ไม่นํามาคิดพื้นที่

ทางสัญจร

131.1

พื้นที่รวมส่วนบริการอาคาร (Builing Service)

568.1

E ร้อยละ 30 ของพื้นที่

6. ส่วนนิทรรศการถาวร (Main exhibition) พื้นที่ใช้สอย โถงนิทรรศการ*

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย พื้นที่รวม (ตร.ม.) 50

0.8

40.0

อ้างอิง A

หมายเหตุ 2 เท่าของจํานวนผู้เข้าชมต่อรอบ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 76

ส่วนที่ 1 ปฐมบท

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย พื้นที่รวม (ตร.ม.)

อ้างอิง

พื้นที่จัดแสดง "1" ชมวิดีทัศน์

25

0.84

21.0

T, S

ระยะห่างระหว่างที่นั่งชมกับจอวิดีทัศน์

1

6

6.0

S

พื้นที่จัดแสดง "2" ชมบอร์ด 3 มิติ

2

16.8

33.6

S

ทางสัญจร

18.2 รวม

25

หมายเหตุ

ร้อยละ 30 ของพื้นที่

78.8

รูป 3-3-1 tabulation diagram ห้องปฐมบท

รูป 3-3-2 ทัศนียภาพ บรรยากาศห้องปฐมบท


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 77

ส่วนที่ 2 นาฏยศาลา

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย พื้นที่รวม (ตร.ม.)

อ้างอิง

พื้นที่จัดแสดง "1" ตัวหนังครู 3 ตัว

1

13.19

13.2

T, S

พื้นที่จัดแสดง "2" ประเพณีไหว้ครู พื้นที่จัดแสดง "3" จารีต ธรรมเนียมปฏิบัติใ

1 4

5.4 3.96

5.4 15.8

S S

พื้นที่จัดแสดง "4" ความเชื่อเกี่ยวกับหนังให

1

3

3.0

S,C

พื้นที่จัดแสดง "4" ชุมชนบ้านบางมอญ

2

3

6.0

S,C

ทางสัญจร

13.0 รวม

25

หมายเหตุ

ร้อยละ 30 ของพื้นที่

37.9

รูป 3-3-3 tabulation diagram ห้องนาฏยศาลา

รูป 3-3-4 ทัศนียภาพ และบรรยากาศห้องนาฏยศาลา


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 78

ส่วนที่ 3 มหัศจรรย์หนังใหญ่

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย พื้นที่รวม (ตร.ม.)

อ้างอิง

พื้นที่จัดแสดง "1" กระบวนการทําตัวหนัง

1

6

6.0

T, S

พื้นที่จัดแสดง "2" อุปกรณ์ กระบวนการทํา พื้นที่จัดแสดง "3" การฝึกฝน การถ่ายทอด

3 2

3.96 9.3

4.0 18.6

S T, S

พื้นที่จัดแสดง "4" ภาษาท่าทาง

3

5.4

16.2

S

พื้นที่จัดแสดง "5" ดนตรี บทพากย์ เจรจา

2

20.4

40.8

S,C

พื้นที่จัดแสดง "6" การทําฉากโรงมหรสพ แ

1

13.7

13.7

T, S

ทางสัญจร

29.8 รวม

51

รูป 3-3-5 tabulation diagram ห้องมหัศจรรย์หนังใหญ่

รูป 3-3-6 ทัศนียภาพ และบรรยากาศห้องมหัศจรรย์หนังใหญ่

105.4

หมายเหตุ

ร้อยละ 30 ของพื้นที่


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 79

ส่วนที่ 4 หนังใหญ่ในปัจจุบัน

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย พื้นที่รวม (ตร.ม.)

อ้างอิง

พื้นที่จัดแสดง "1" ฉากแสดงหนังใหญ่จริง

8

8.91

71.3

S, C

พื้นที่จัดแสดง "2" บอร์ดแบบแขวน

5

2.6

13.0

S

พื้นที่นั่งพัก

10

0.55

5.5

T

ทางสัญจร

53.9 รวม

32

หมายเหตุ

ร้อยละ 60 ของพื้นที่

143.7

รูป 3-3-7 tabulation diagram ห้องหนังใหญ่ในปัจจุบัน

รูป 3-3-8 ทัศนียภาพ และบรรยากาศห้องหนังใหญ่ในปัจจุบัน


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 80

ส่วนที่ 5 จินตนาการกับหนังใหญ่

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย พื้นที่รวม (ตร.ม.)

อ้างอิง

พื้นที่ลองเชิด "1" ส่วนแหล่งกําเนิดแสง

1

51

51.0

S

พื้นที่จัดแสดง "2" งานศิลปะเล่นเงาประยุก

12

2.4

28.8

S

พื้นที่นั่งพัก

10

0.55

5.5

T

พื้นที่นั่งพักคนดูแลการเชิด 1 คน

1

1.5

1.5

ทางสัญจร

26.0 รวม

30

หมายเหตุ ตัวหนังอื่นๆ เชิดคนละ 1 ตัว (8 คน)

ร้อยละ 30 ของพื้นที่

112.8

รูป 3-3-9 tabulation diagram ห้องจินตนาการกับหนังใหญ่

รูป 3-3-10 ทัศนียภาพ และบรรยากาศ ห้องจินตนาการกับหนังใหญ่


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 81

นิทรรศการถาวร

478.5

นิทรรศการหมุนเวียน

1

60

60.0

S

ห้องเก็บของนิทรรศการ

1

40

40.0

S

ทางสัญจร

185.6 รวม

ร้อยละ 30 ของพื้นที่

804.1

7. ส่วนโรงมหรสพหนังใหญ่ (Performance) พื้นที่ใช้สอย พื้นที่นั่งชม

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย

พื้นที่รวม

อ้างอิง

หมายเหตุ

180

1

180.0

A,C

โรงหนังใหญ่ (เวที)

1

56

56.0

C

(3.5x16)

พื้นที่เล่นดนตรีปี่พาทย์

1

15

15.0

C,S

นักดนตรี

พื้นที่ผู้พากย์หนังใหญ่

3

1

3.0

C,S

พื้นที่เตรียมขึ้นแสดง

20

1

20.0

C,S

พื้นที่เตรียมหนังใหญ่ขึ้นแสดง

1

8

8.0

C,S

ห้องพักนักแสดง

34

0.8

27.2

A,C

ผู้กํากับเสียง

1

3

3.0

A,S

ผู้กํากับแสง

1

3

3.0

A,S

นักแสดง (20) นักดนตรี (10) และผู้กํากับเวที(4)


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 82

ผู้กํากับเวที

1

3

3.0

A,S

ผู้กํากับวงปี่พาทย์

1

0.9

0.9

S

ห้องไหว้ครู

25

0.8

20.0

A,S

เก็บอุปกรณ์การแสดง (props) และฉาก

1

30

30.0

S

พื้นที่วางเครื่องเสียง

4

1

4.0

S

ทางสัญจร

93.3

ร้อยละ 25 ของพื้นที่

ห้องน้ํา -ห้องน้ําชาย

3

14.8

44.4

ข้อบัญญัติเรื่องควบคุมอาคารพ.ศ2554

-ห้องน้ําหญิง

3

10.8

32.4

(ชาย :1ห้องส้วม+2โถ+1อ่างล้างมือ /หญิง : 2ห้องส้วม 1อ่างล้างมือ) 3ชุด พื้นที่/หน่วย:ห้องส้วม 2.0 ตรม. ,โถปัสสาวะ0.7 ตรม.อ่างล้างมือ1.0)

พื้นที่รวม จัดแสดงหนังใหญ่ (Performance)

543.2

8. ส่วนที่จอดรถ (Parking) พื้นที่ใช้สอย

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย

พื้นที่รวม

อ้างอิง

หมายเหตุ

ที่จอดรถยนต์บุคคลทั่วไป

39

2.4*5.5

514.8

ภัตตาคาร(10)+ โรงมหรสพ(18) + โถง และเรียนรู้(11)

ที่จอดรถเจ้าหน้าที่

4

2.4*5.5

79.2

1 คัน / 60 ตร.ม.


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 83

ที่จอดรถงานบริการ

1

2.4*5.5

26.4

ที่จอดรถบัส

3

6*8

144.0

ที่จอดรถคนพิการ

1

3.8*6.0

22.8

ที่จอดรถจักรยานยนต์

40

2

80.0

จํานวนพนักงานโครงการ 30 คน

ทางสัญจร

433.6

ร้อยละ 50 ของพื้นที่

พื้นที่รวม ส่วนจอดรถ (Parking)

1300.8

9. ส่วนลานกิจกรรม และการแสดงกลางแจ้ง (Community participation area) พื้นที่ใช้สอย ลานกิจกรรม การแสดงกลางแจ้ง พื้นที่รวม

จํานวน(หน่วย) พื้นที่/หน่วย 1

820

พื้นที่รวม

อ้างอิง

820

S

หมายเหตุ รองรับสูงสุด 500 คน

820.0

รูป 3-3-11 tabulation สําหรับการแสดงอื่นๆ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 84

พื้นที่ใช้สอย

พื้นที่รวม (ตร.ม.)

1. ส่วนบริการสาธารณะ (Public Facility)

498.1

2. ส่วนห้องสมุดศิลปะการแสดงไทย (Library)

201.1

3. ส่วนการเรียนรู้ บ้านศิลปิน (Learning zone)

1191

4. ส่วนบริหาร (office)

189.2

5. ส่วนบริการอาคาร (Building Service)

568

6. ส่วนจัดแสดง (Exhibition)

804.1

7. ส่วนจัดการแสดงหนังใหญ่ (Performance)

543.2

8. ส่วนที่จอดรถ (Parking)

1300.8

9. ส่วนลานกิจกรรม และการแสดงกลางแจ้ง (Community participation area)

820.0

10. ส่วนพื้นที่สีเขียวนอกอาคาร (ร้อยละ 70)

2416

11. ทางสัญจรรวม OSR (ร้อยละ 30)

1198

*** รวมพื้นที่ใช้สอยโครงการทั้งหมด

7609


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 85

ปีการศึกษา 2557

3.4 สรุปรายละเอียดพื้นที่ใช้สอย และพื้นที่ต้องการขั้นต่ํา

ภาพที่ 3-3-12 แผนผังสรุปพื้นที่ใช้สอยโครงการ และพื้นที่ต้องการขั้นต่ํา


การวิเคราะห์ที่ตั้ง


ปีการศึกษา 2557

4.1 แนวคิดในการเลือกที่ตั้งโครงการ 4.1.1 ระดับจุลภาค มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากที่ดินในเขตพื้นที่ชุมชนวัดสว่างอารมณ์ (บ้านบางมอญ) โดยมีเกณฑ์ในการระบุที่ตั้งที่ดิน คือ 1. มีพื้นที่ติดกับถนนหมายเลข 309 เนื่องจากเป็นถนนที่ตัดผ่านเขต ชุมชน และระดับตําบลต้นโพธิ์ โดยมีเส้นทางสัญจรที่เชื่อมต่อกับสถานที่ ท่องเที่ยวที่สําคัญในจังหวัดสิงห์บุรี

ภาพที่ 4-1 เส้นทางสัญจรของสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี และขอบเขตตําบลต้นโพธิ์ ที่มา : ผู้เขียน, แผนการท่องเที่ยวจ. สิงห์บุรี

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 86

2. อยู่ภายในรัศมี 1 กิโลเมตรจากวัดสว่างอารมณ์ (บริเวณเขตพื้นที่ชุมชน ตามความยินยอมของคนในชุมชน)

ภาพที่ 4-2 ขอบเขตของชุมชนวัดสว่างอารมณ์ (บ้านบางมอญ) ที่มา : ผู้เขียน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 87

ปีการศึกษา 2557

3. สภาพพื้นที่เดิมไม่ใช่อาคารอนุรักษ์ หรืออาคารที่มีความสําคัญ ทางประวัติศาสตร์ 4. มีความสัมพันธ์กับชุมชน และพื้นที่โครงการเดิม (วัดสว่าง อารมณ์) สภาพพื้นที่เดิมสมควรได้รับการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้มี ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น

ภาพที่ 4-3 ผังวัดสว่างอารมณ์เดิม ที่มา : โดยผู้เขียน

จากเกณฑ์ดังกล่าวทําให้สรุปพื้นที่ตั้งที่ดินที่มีความเป็นไปได้ทั้งหมด 2 พื้นที่ ดังนี้ ( พื้นที่ตรงข้ามกับอาณาเขตของวัดสว่างอารมณ์ และพื้นที่ ขยายต่อทางทิศเหนือของวัดสว่างอารมณ์กับชุมชนวัดสว่างอารมณ์ )

ภาพที่ 4-4 ที่ดินที่มีความเป็นไปได้สําหรับโครงการ 2 พื้นที่ ที่มา : ผู้เขียน


ปีการศึกษา 2557

4.1.3 วิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนในการเลือกที่ตั้งโครงการ 1.ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน - ศึกษาตําแหน่งของกลุ่มบ้านพักอาศัยในชุมชน ทําให้พบความ หนาแน่นของประชากรในพื้นที่ - ศึกษาเส้นทางการสัญจรในชุมชนพบว่าถนนเส้นเรียบแม่น้ํา เจ้าพระยาเป็นพื้นที่สัญจรชุมชน ในเวลา 16.00 - 19.00 น. (หลังเลิกงาน) ของทุกวันคนในชุมชนจะมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น การพบปะ เดินเล่น ออก กําลังกาย เป็นต้น

ภาพที่ 4-5 ความหนาแน่น และลักษณะการสัญจรในเขตชุมชน, ที่มา : ผู้เขียน

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 88

- พื้นที่วัดสว่างอารมณ์เป็นพื้นที่ศูนย์กลางของชุมชน ลักษณะพื้นที่ ของวัดเป็นแอ่งลดระดับจากระดับถนน 1.50 เมตร - มีข้อจํากัดในการออกแบบเนื่องจากเกิดน้ําท่วมในทุกๆปี โดยระดับ น้ําเฉลี่ยประมาณ 0.30 – 0.50 เมตร

ภาพที่ 4-6 ลักษณะกิจกรรมที่พบในชุมชน, ที่มา : ผู้เขียน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 89

ปีการศึกษา 2557

4.2 เปรียบเทียบที่ตั้ง

ภาพที่ 4-7 เปรียบเทียบสองที่ตั้ง, ที่มา : ผู้เขียน

4.2.1 ที่ตั้ง 1 (ตรงข้ามกับวัดสว่างอารมณ์) ขนาดที่ดนิ 8,020 ตารางเมตร กรรมสิทธิท์ ี่ดนิ ที่ดินของชาวบ้าน (ประกาศขาย) บริเวณโดยรอบ -ทิศเหนือ ติดกลุ่มบ้านพักอาศัย -ทิศตะวันออก ติดถนนหมายเลข 309 (ตรงข้ามวัดสว่างอารมณ์) -ทิศใต้ ติดบ้านศิลปินชุมชนสาขาทัศนศิลป์ (หล่อพระ) -ทิศตะวันตก ติดพื้นที่โล่ง (ทีด่ ินชาวบ้าน)

ภาพที่ 4-8 อาคารโดยรอบที่ตั้ง 1, ที่มา : ผู้เขียน

การเข้าถึง - จากถนนหมายเลข 309 เป็นถนนสองทาง ขนาดกว้างสี่ช่องทาง จราจร แต่เนื่องจากมีคูน้ํา (กว้าง 15 เมตร) ขนานกับทางถนนทําให้ มีทางถนนหน้าพื้นที่เพียงแค่หนึ่งช่องทาง - จากถนนหมายเลข 3026 เป็นถนนสองทาง ขนาดกว้างสี่ช่องทาง จราจร


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 90

ปีการศึกษา 2557

มุมมอง View

มุมมอง B

มุมมอง C

ภาพที่ 4-9 มุมมองโดยรอบที่ตั้งที่ 1, ที่มา : ผู้เขียน

มุมมอง A


ปีการศึกษา 2557

ข้อดี ด้านมุมมอง สามารถมองเห็นจากภายนอกที่ตั้งได้ชัดเจน และพื้นที่ ด้านทิศตะวันตกของที่ตั้งเป็นพื้นที่โล่ง และพื้นที่สําหรับเกษตรกรรมทําให้มี มุมมองที่ดีเมื่อมองจากภายในที่ตั้ง ด้านการเข้าถึงของผู้ใช้ เป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของคนใน ชุมชนต่ํา เนื่องจากอยู่ตรงข้ามกับฝั่งวัด ทําให้โครงการมีความเป็นส่วนตัว

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 91

บริเวณโดยรอบ -ทิศเหนือ ที่ดินชาวบ้าน บ้านพักอาศัย -ทิศตะวันออก กลุ่มบ้านพักอาศัย -ทิศใต้ ติดพื้นที่วัดสว่างอารมณ์ -ทิศตะวันตก ติดศูนย์ประชาบดีเด็กและครอบครัว, ถนนหมายเลข 309

ข้อเสีย ด้านบริบท และความสัมพันธ์กับชุมชน ในกรณีที่ผใู้ ช้งาน (นักศึกษา, คนในชุมชน) ต้องการที่จะใช้บริการจะต้องสัญจรโดยใช้พาหนะ หรือต้องเดินเท้าข้ามถนนถึง 4 ช่องทาง และในแง่การจัดการทําให้ผู้ดแู ล โครงการจะต้องเดินทางไปมาระหว่างวัดและที่ตั้ง ทําให้เกิดอุปสรรค และ ความยุ่งยากในการดําเนินงาน 4.2.2 ที่ตั้ง 2 (ขยายติดกับวัดสว่างอารมณ์) ขนาดที่ดนิ 9,600 ตารางเมตร กรรมสิทธิท์ ี่ดนิ เวนคืนที่ดินที่ติดพื้นที่วัด (ที่ดนิ ชาวบ้าน) สภาพเดิมของพื้นที่ เป็นบ้านร้าง

ภาพที่ 4-10 อาคารโดยรอบที่ตั้งที่ 2, ที่มา : ผู้เขียน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 92

ปีการศึกษา 2557

การเข้าถึง - จากถนนหมายเลข 309 เป็นถนนสองทาง ขนาดกว้างสี่ช่องทาง จราจร สามารถเข้าได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัวและรถทัวร์ท่องเที่ยว - จากถนนของชุมชนที่เรียบติดกับแม่น้ําเจ้าพระยา มุมมอง View มุมมอง A

มุมมอง C

ภาพที่ 4-11 มุมองจากภายนอกสู่ที่ตั้งที่ 2 ( ที่มา ถ่ายโดยผู้เขียน )

มุมมอง B


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 93

ปีการศึกษา 2557

ข้อดี

ข้อเสีย

ด้านบริบท และความสัมพันธ์กับชุมชน การใช้งานโครงการมีความ สะดวก เนื่องจากขยายต่อจากพื้นที่เดิม ทําให้ในกรณีที่ต้องการเดินทางมา โครงการ, วัด หรือศูนย์ชุมชนเกิดความต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กับการใช้งาน อาคารโดยรอบ และสามารถใช้พื้นที่จอดรถหรือส่วนลานกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับวัดและชุมชนได้

ด้านมุมมอง พื้นที่ตั้งถูกแวดล้อมไปด้วยอาคารทําให้ไม่มมี ุมมองที่ดี ภายในที่ตั้ง และอาจทําให้ผใู้ ช้งานรอง (นักท่องเที่ยว) เกิดความสับสนกับ อาคารของวัดได้

ด้านการเข้าถึงของผู้ใช้ พื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่แวดล้อมด้วยกลุ่ม บ้านพักอาศัยของชาวบ้านทําให้ผู้ใช้งานหลักของโครงการ (คนในชุมชน) สามารถเข้าถึงโครงการได้สะดวก


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 94

ปีการศึกษา 2557

4.2.3 เปรียบเทียบเงื่อนไข

ตาราง 4-1 เปรียบเทียบตัวเลือกที่ตั้งทั้งสองที่ตั้ง


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 95

ปีการศึกษา 2557

สรุปที่ตงั้ โครงการ จากการวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของพื้นที่ตั้งโครงการทางเลือกทั้ง สองแล้ว พิจารณาให้น้ําหนักเรื่องความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นหลัก ประกอบ กับการพิจารณาเรื่องการเข้าถึงของผู้ใช้โครงการซึ่งมีความสะดวกมากกว่า ที่ตั้ง 1 จึงเลือกที่ตั้ง 2 เป็นพื้นที่ตั้งโครงการเพื่อออกแบบอาคารศูนย์ส่งเสริม ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

4.3 ข้อกําหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสิงห์บุรี พ.ศ. 2554 - พื้นที่สีชมพู (เขตชุมชน) ความสูง:

อาคารสูงไม่เกิน 15 เมตร

ระยะร่น :

ระยะร่นริมแม่น้ําเจ้าพระยา 15 เมตร สร้างอาคารสูงได้ไม่ เกิน 15 เมตร ระยะร่นจากถนนที่มีความกว้าง 10 เมตร เท่ากับ 6 เมตร จากกึ่งกลางถนนระยะร่นรอบอาคาร 2 เมตร

OSR (Outdoor Space Ratio): กําหนดให้มีพื้นที่ว่างไม่ต่ํากว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ใช้สอยโครงการ

รูป 4-12 ขอบเขตที่ดินที่ตั้งโครงการ, ที่มา : ผู้เขียน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 96

ปีการศึกษา 2557

4.4 สรุปการใช้ประโยชน์ที่ดิน

รูป 4-13 การซ้อนชั้นของอาคาร

อาคารจะมีพื้นที่ใช้สอยรวม 7,609 ตารางเมตร และจากการ วิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่าโครงการมีความต้องการที่ดินเพิ่มเติมอีกบางส่วนเพื่อ รองรับโครงการ โดยจะมีการขยายพื้นที่จอดรถเดิมเพื่อรองรับโครงการขยาย และปรับปรุงส่วนอาคารศูนย์ชุมชน และส่วนอาคารปฏิบัติธรรมเดิมเพื่อ เชื่อมต่อกับโครงการ ทั้งนี้การจัดพื้นที่ใช้สอยอาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง - ทําให้พื้นที่ตั้งโครงการจากเดิมที่มีขนาด 9,600 ตารางเมตร - รวมกับการปรับปรุงพื้นที่วัดเพิ่มเติมอีก 10,700 ตารางเมตร ดังนั้น สรุปพื้นที่ตั้งโครงการรวมทั้งหมด 9,600 + 10,700 = 20,300 ตารางเมตร โดยมีเงื่อนไขการจํากัดความสูงของพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 15 เมตร จึง มีแนวทางในการซ้อนชั้นอาคารดังรูป 4 - 12 โดยจัดพื้นที่ใช้สอยอาคารแบบ หยาบเพื่อที่จะสามารถคํานวณค่า OSR ให้ได้ตามกฎหมาย

รูป 4-14 แนวทางการใช้พื้นที่เบื้องต้น, ที่มา : ผู้เขียน


แนวความคิดและปรัชญาในการออกแบบ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 97

ปีการศึกษา 2557

5.1 แนวความคิดของโครงการ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จังหวัดสิงห์บุรี เป็นพื้นที่สําหรับ ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องศิลปะการแสดงหนังใหญ่ สําหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจ เป็นศูนย์รวมข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนังใหญ่ ทั้งในภาคทฤษฎีประวัติความเป็นมาต่างๆ และภาคปฏิบัติ การพากย์ การ เชิด กระบวนการทําตัวหนังต่างๆ รวมถึงเป็นพื้นที่กิจกรรมของชุมชนบ้าน บางมอญ (วัดสว่างอารมณ์) โดยโครงการมุ่งเน้นให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ เกิดกระบวนการเรียนรู้ อย่างมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน และคนภายนอก รวมถึงเชื่อมต่อกับกิจกรรม เดิมที่เกี่ยวข้องกับวัดและชุมชน ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางให้ชาวบ้าน และทุก ภาคฝ่ายอนุรักษ์ และสืบสานศิลปะการแสดงหนังใหญ่ไว้ให้คงอยู่สืบไป

5.2 แนวความคิด และปรัชญาในการออกแบบ (Conceptual Design) คงแนวคิดสถาปัตยกรรมที่เกิดจากปรากฏการณ์แสงและเงาในหนัง ใหญ่อยู่ โดยเพิม่ ในส่วนความประทับใจ และประสบการณ์ร่วมจากการรับชม ศิลปะการแสดงหนังใหญ่เสริมเข้าไป เน้นน้ําหนักแนวความคิดไปทางการรับรู้ สัญญะความเป็นชุมชนหนังใหญ่ ผ่านการมองเห็น (Perception&Visual) เป็นหลัก โครงการนี้ไม่ใช่เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตัวหนังใหญ่ทั่วไป แต่ เป็นศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ทมี่ ีส่วนคลังความรู้ พื้นที่การเรียนรู้ และใช้งานเฉพาะเพิ่มเติม รวมไปถึงความต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่น่าสนใจ แก่คนรุ่นใหม่ จึงปรับภาพลักษณ์ให้กับโครงการโดยการเปรียบอาคาร สถาปัตยกรรมเสมือนเป็นทั้งตัวหนังใหญ่ และฉากรับภาพในเวลาเดียวกันที่ กําลังล้อเล่นกับแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ โดยมีองค์ประกอบ และ โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมบางอย่างเป็นตัวกลางที่ทําให้เกิดแสงและเงาใน ที่ว่างที่สื่อสัญญะความเป็นชุมชนหนังใหญ่แก่โครงการ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 98

ภาพที่ 5-1 แสดงแนวความคิดในการออกแบบโดยการคลี่ความสัมพันธ์ และองค์ประกอบของปรากฏการณ์การแสดงหนังใหญ่สู่งานสถาปัตยกรรม


ปีการศึกษา 2557

เมื่อได้แนวทางที่ชัดเจนแล้วจึงทําการทดลอง และตีความข้อมูลของ การแสดงหนังใหญ่ออกมาในรูปแบบขององค์ประกอบทางศิลปะ โดยการ พัฒนา Conceptual Model หลากหลายรูปแบบ โดยสนใจเฉพาะประเด็น การสื่อสัญญะผ่านพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรมเท่านั้น ดังนี้ Conceptual Model 01

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 99

คําอธิบาย: ปรากฏการณ์แสงและเงาที่เกิดขึ้นเกิดจากความสัมพันธ์ของ องค์ประกอบบางอย่างที่ผสมกันอย่างลงตัว พื้นที่ว่างดังกล่าวก็เป็นอีกหนึ่ง ปัจจัยที่สามารถสะท้อนบรรยากาศความประทับใจได้ชัดเจน น.ศ. จึงได้ ตีความพื้นที่ว่างที่พบในปรากฏการณ์แสดงในหนังใหญ่ออกมาเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. พื้นที่หน้าฉาก (พื้นที่สําหรับการแสดง) 2. พื้นที่หลังฉาก (พื้นที่สําหรับการแสดง) 3. พื้นที่คนดู (พื้นที่สําหรับการรับชม) หลังจากนั้นจึงทําการวิเคราะห์พื้นที่ทั้ง 3 ส่วนผ่านประเด็นต่างๆ ดังนี้ (บรรยากาศ, เทคนิคการแสดง, ประสบการณ์คนดู) 5.2.1 ด้านบรรยากาศ วิเคราะห์ลักษณะของแสงเงา และสถานะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น โดยมองคนในบทบาทนั้นๆเป็นตัวกลางที่ทําให้เกิดเงา (effect) หรือ ความรู้สึกที่แตกต่างกัน

ภาพที่ 5-2 หุ่นจําลองศึกษาพื้นที่ว่างทั้ง 3 ในปรากฏการณ์แสดงในหนังใหญ่


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 100

สรุป สําหรับด้านบรรยากาศ พื้นที่หน้าฉาก และหลังฉากมีสถานการณ์เคลื่อนไหวที่เหมือนกัน คนที่อยู่ในพื้นที่ทําหน้าที่สร้างเงา แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ส่วนพื้นที่หน้าฉากจะรับรู้บรรยากาศได้มากกว่าหลังฉากซึ่งรับรู้ได้ถึงพื้นที่หน้าฉากเท่านั้น ในส่วนพื้นที่คนดูจะรับรู้ได้มากที่สุดเนื่องจากกําลังนั่งชมการ แสดง (สถานะนิ่ง) โดยให้ความสนใจกับพื้นที่แสดงมองเห็นภาพรวมทั้งหมด น.ศ. จึงนําสาระ ผลลัพธ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบพื้นที่ใน โครงการที่ต้องการสะท้อนบรรยากาศเฉพาะข้างต้น ภาพที่ 5-3 แสดงการวิเคราะห์ลักษณะแสงเงา และสถานการณ์เคลื่อนไหวในประเด็นด้านบรรยากาศ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 101

ปีการศึกษา 2557

5.2.2 ด้านเทคนิคในการแสดง - เทคนิค และผลของแสงเงา

สรุป

ส่วนพื้นที่หน้าฉากพบเทคนิคของการเชิดตัวหนัง และจับฉากไปพร้อมๆกันทําให้ผลของแสงเงาที่ออกมามีการเคลื่อนไหวชัดเจน ดูมีชีวิตชีวา ส่วนพื้นที่หลังฉากพบเทคนิคของการย่องเข้าฉาก ทําให้ภาพของแสงเงามีลักษณะผิดรูปร่าง ไม่ชัดเจน สามารถเพิ่มลดขนาดได้ทําให้คาดเดาไม่ได้ ส่วนพื้นที่คนดูจะเห็นภาพรวมของเงาทั้ง 2 ระดับ มีความลึกตื้นของภาพทั้งส่วนหน้าฉาก และหลังฉากไปพร้อมๆกัน ภาพที่ 5-4 แสดงการวิเคราะห์ลักษณะการใช้เทคนิค และผลของแสงเงาที่พบในประเด็นด้านเทคนิคการแสดง


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 102

ปีการศึกษา 2557

Conceptual Model 02

Conceptual Model 03

ภาพที่ 5-5 หุ่นจําลองการจัดองค์ประกอบระนาบ 2 กับภาพตัวอย่าง

ภาพที่ 5-6 หุ่นจําลองการจัดองค์ประกอบระนาบ 3 กับภาพตัวอย่าง

คําอธิบาย: การจัดองค์ประกอบระนาบเพื่อสื่อถึง “ การเคลื่อนไหวของเงาหนัง ใหญ่ ” โดยการลดระดับของระนาบให้เกิดเป็นจังหวะล้อไปมา เสมือนการ เชิดตัวหนังให้เคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ ทําให้เกิดการเปลี่ยนขนาดของเงา

คําอธิบาย: การจัดองค์ประกอบระนาบเพื่อสื่อถึง “การรับรู้ความลึกของภาพใน การแสดงหนังใหญ่ ” โดยการวางระนาบซ้อนทับกันให้เกิดระยะใกล้ ไกล ในขณะที่ลดทอนรายละเอียด เสมือนการรับรู้ภาพบรรยากาศตัวหนังหลายๆ ตัวที่กําลังเชิดอยู่พร้อมๆกัน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 103

ปีการศึกษา 2557

Conceptual Model 04

ซ้อนทับกันได้ จึงควรเพิ่มวัสดุกึ่งโปร่งแสงเข้าไปในการทําหุ่นจําลองจึงจะ สะท้ อ นภาพได้ ชั ด เจนยิ่ ง ขึ้ น รวมถึ ง ยั ง ไม่ ท ราบว่ า จะนํ า ไปพั ฒ นาในการ ออกแบบส่วนไหน และพัฒนาต่ออย่างไร สํ า หรั บ ประเด็ น ด้ า นเทคนิ ค ในการแสดงส่ ว นแรกเกิ ด จากการ วิเคราะห์จากผลลัพธ์ภาพของแสงเงาที่เห็นเป็นหลัก

ภาพที่ 5-7 หุ่นจําลองการจัดองค์ประกอบระนาบ 4 กับภาพตัวอย่าง

คําอธิบาย: การจัดองค์ประกอบระนาบเพื่อสื่อถึง “ การบิดเฉือนแนวแกน ” โดยการจั ดวางระนาบแนวเอียงในขอบเขตที่ซ้อนทับกับระนาบแนวฉาก เสมือนตัวหนังที่กําลังเคลื่อนไหวทําลายแนวแกนตั้งฉากของจอหนังอยู่ เสมือนมีอิสระในการเคลื่อนไว มีชีวิตชีวา ข้อเสนอแนะ: จากหุ่นจําลองแนวคิดแบบที่ 2, 3 และ 4 นั้นสามารถสะท้อน ความหมายได้ในระดับหนึ่ง แต่ น.ศ. เลือกใช้วัสดุทึบในการทําทั้งหมด ซึ่งใน ความเป็นจริงแล้ วหนั งใหญ่ มี ลักษณะที่กึ่งโปร่งแสง ภาพของเงาสามารถ

ในส่ ว นถั ด มาจะเป็ น การวิ เ คราะห์ เ ทคนิ ค การแสดงจากวิ ธี และ ท่วงท่าเฉพาะในการเชิดโดยแบ่งลักษณะของฉากการแสดงที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะออกเป็น 5 รูปแบบ สําหรับการวิเคราะห์เรื่องเส้นทางการเคลื่อนไหว (Circulation), ตําแหน่งของตัวหนังที่กําลังสื่อสารกัน (Position) ในฉากการ แสดงนั้นๆด้วยกัน ดังนี้ 1. ฉากกราวใน 2. ฉากเคลื่อนทัพ 3. ฉากเข้าเฝ้า 4. ฉากเข้าเฝ้า 5. ฉากสู้รบ

(เข้าฉาก - INTRO) (เดินทาง - JOURNEY) (เจรจาตัวพระ - TALK) (เจรจาทหาร – TALK) (ลิงขาวลิงดํา - BATTLE)


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 104

- เส้นทางการเคลื่อนไหวในการเชิดตัวหนัง (Circulation) / ตําแหน่งของตัวหนังทีก่ ําลังสื่อสารกัน (Position) ในฉากนัน้ ๆ

ภาพที่ 5-8 แสดงการวิเคราะห์ลักษณะการใช้เทคนิค และผลของแสงเงาที่พบในประเด็นด้านเทคนิคการแสดง


ปีการศึกษา 2557

คําอธิบาย: ในเรื่ อ งเส้ น ทางการเคลื่ อ นไหวในการเชิ ด (Circulation) และ ตําแหน่งของตัวหนังที่กําลังสื่อสารกัน (Position) ในฉากนั้นๆ จะพบว่ามี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยสามารถสรุปสาระเฉพาะทางด้านเทคนิคการ แสดงในแต่ละฉาก (Scene) ได้ ดังนี้ 1. ฉากกราวใน (เข้าฉาก - INTRO) – การเชิดจะเริ่มต้นจากพื้นที่ หลังฉากแล้วเดินอ้อมจอหนังมายังพื้นที่หน้าฉาก โดยกลุ่มผู้เชิดจะเคลื่อนไหว ไปในทิศทาง และระนาบแนวเดียวไปพร้อมๆกัน ทําให้สามารถสรุปสาระ เฉพาะของฉากดังกล่าวเป็นเรื่อง “ การซ้ํา ” 2. ฉากเคลื่อนทัพ (เดินทาง - JOURNEY) – การเชิดจะอยู่ในพื้นที่ หน้ า ฉากเท่ า นั้ น โดยกลุ่ ม ผู้ เ ชิ ด จะเดิ น วนลั ก ษณะเป็ น วงกลม โดยการ เคลื่อ นไหวในการเชิ ด จะมี ห ลายระนาบ มีก ารเพิ่ม และลดระดับ ความสู ง เรื่อยๆ เกิดเป็นจังหวะ ทําให้สามารถสรุปสาระเฉพาะของฉากดังกล่าวเป็น เรื่อง “ จังหวะ และลวดลาย” 3. ฉากเข้าเฝ้า (เจรจาตัวพระ - TALK) – การเชิดจะอยู่นิ่งกับที่โดย ตําแหน่งของตัวหนังตัวพระจะอยู่หน้าฉาก และตัวหนังตัวทหารจะอยู่หลัง ฉาก เป็นฉากเดียวที่ผู้เชิดใช้พื้นที่หน้าฉาก และหลังฉากพร้อมกัน ทําให้เห็น ภาพของเงาที่ชัด เงาที่เบลอชัดเจน ทําให้สามารถสรุปสาระเฉพาะของฉาก ดังกล่าวเป็นเรื่อง “ ระยะใกล้ไกล และความลึกของภาพ”

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 105

4. ฉากเข้าเฝ้า (เจรจาทหาร – TALK) – จะใช้พื้นที่ส่วนหน้าฉากใน การแสดงทั้งหมดโดยผู้เชิดจะยืนเรียงแถวหน้ากระดาน ผู้ที่เชิดตัวหนังทหาร ตัวหลักจะอยู่ในตําแหน่งกลาง และทําหน้าที่ป่วนแนวแถว (มีการเคลื่อนไหว ที่มากเป็นพิเศษ ในขณะที่ผู้เชิดคนอื่นจะอยู่นิ่งกับที่) ทําให้สามารถสรุปสาระ เฉพาะของฉากดังกล่าวเป็นเรื่อง “ การเน้นพื้นที่ในตําแหน่งศูนย์กลาง” 5. ฉากสู้รบ (ลิงขาวลิงดํา - BATTLE) – จะใช้พื้นที่ในส่วนหน้าฉาก ทั้งหมดเช่นกัน แต่การเชิดจะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน เริ่มแรกแต่ละฝ่ายจะ เชิ ด ตั ว หนั ง เดี่ ย ว 2 ตั ว โดยเคลื่ อ นไหวเป็ น รู ป วงกลม ซึ่ ง จะมาเจอกั น ที่ ตําแหน่งแนวศูนย์กลางของจอหนัง เพื่อนําหนังมาตีกันก่อนที่จะแยกกันไป โดยทําวนซ้ําไปเรื่อยๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนหนังจากหนังเดี่ยว 2 ตัวที่กําลังสู้รบ กันอยู่เป็นหนังเรื่อง (ใหญ่ 1 ตัว) สําหรับดําเนินเรื่องต่อไป เสมือนตัวละครใน หนังใหญ่มีชีวิตจริง ทําให้สามารถสรุปสาระเฉพาะของฉากดังกล่าวเป็นเรื่อง “ การเคลื่อนไหวในฉากสู้รบ ” สรุป จากสาระเฉพาะของฉากการแสดงทั้ง 5 ฉากข้างต้น ได้แก่ 1. ฉากกราวใน (การซ้ํา), 2. ฉากเคลื่อนทัพ (จังหวะ และลวดลาย), 3. ฉากเข้าเฝ้าเจรจาตัวพระ (ระยะใกล้ไกล และความลึกของภาพ), 4.ฉาก เข้าเฝ้าเจรจาทหาร (การเน้นพื้นที่ในตําแหน่งศูนย์กลาง), 5.ฉากสู้รบ (การ เคลื่อนไหวในฉากสู้รบ)


ปีการศึกษา 2557

ข้อเสนอแนะ: การศึกษา และแบ่งฉากการแสดงออกเป็น 5 ฉากการแสดง มีความน่าสนใจ จึงควรวิเคราะห์ต่อว่าจะนําสาระดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ใน พื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรมอย่างไร ฉากการแสดงไหนมีความเหมาะสมกับ พื้นที่ส่วนใดในโครงการอย่างมีเหตุมีผล 5.2.3 ด้านประสบการณ์ร่วมจากคนดู

ภาพที่ 5-9 ลักษณะมุมมอง ความรู้สึก พื้นที่ว่างที่พบในประเด็นด้านประสบการณ์ร่วมจากคนดู

ในส่วนนี้ น.ศ. ได้วิเคราะห์สาระจากประสบการณ์การรับชม ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ผ่านการสังเกตการณ์โดยตรงได้ ดังนี้ พื้นที่ว่างในการรับชมหนังใหญ่แบบกลางแจ้ง (ดั้งเดิม) นั้น จะเป็น การให้คนดูนั่งบนเสื่อ หรือนั่งกับพื้น โดยจะมีลักษณะอิสระ ไม่เป็นระเบียบ กระจัดกระจาย ส่งผลให้คนดูเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เป็นมิตร ในแง่มุมมอง

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 106

ภาพการแสดงที่เห็นนั้นจะมีลกั ษณะเป็นทัศนียภาพ 3 มิตทิ ี่มีการบีบมุมมอง เล็กน้อย เนื่องจากคนดูนั่งในระดับที่ต่ํากว่าตัวหนัง

5.3 สรุปแนวคิดในการออกแบบ การทํา Conceptual Model แต่ละอัน รวมถึงการวิเคราะห์สาระ หนังใหญ่ผ่านกราฟิกต่างๆ ทําให้มีการเพิ่มองค์ประกอบมากขึ้นเรื่อยๆ จนใน ที่สุดเป็นโมเดลที่ยังคงแนวคิดการแปลงสัญญะของศิลปะการแสดงหนังใหญ่ “บรรยากาศความประทับใจ + เทคนิคในการแสดง + ประสบการณ์ร่วมคน ดู” เป็นการเชื่อมโยงจากนามธรรมสู่รูปธรรมสู่พื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ในภาพรวมจะนําสาระเฉพาะของฉากการแสดงทั้ง 5 ฉากในด้าน เทคนิคการแสดง และสาระในด้านบรรยากาศดังกล่าว ไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อออกแบบ และจัดองค์ประกอบของระนาบทางสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะ เป็นพื้น ผนัง หรือเพดานที่สนใจให้เป็นฉากรับภาพ มาสร้างแสงและเงาให้ เกิดเป็นพื้นที่ว่างในส่วนพื้นที่เชื่อมต่อต่างๆ เพื่อสื่ออารมณ์ ความหมาย หรือ สะท้อนบรรยากาศฉากการแสดงบางอย่างให้เกิดขึ้น เสมือนจําลองบรรยากาศ เพื่อสร้างประสบการณ์ในที่ว่างให้แต่ละจุด เสมือนเป็นที่ว่างหน้าฉาก หลังฉาก ที่กําลังถ่ายทอดฉากการแสดงหนังใหญ่ ฉากนั้นๆอยู่ออกเป็น 5 พื้นที่ด้วยกัน


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 107

ภาพที่ 5-10 กราฟิกแสดงเครื่องมือในการออกแบบ (ความสัมพันธ์กันของบรรยากาศ + เทคนิคการแสดง + ประสบการณ์ร่วมคนดูในหนังใหญ่)


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 108

รวมไปถึงการนําสาระอื่นๆ เช่น ด้านประสบการณ์ร่วมจากคนดู จะ นําไปใช้ในการออกแบบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม แล้วเชื่อมโยงต่อไป เป็นการออกแบบเส้นสายภูมิสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับที่ว่างในส่วนพื้นที่ ลานทางเข้า และลานกิจกรรมต่างๆ ส่วนโมเดลอันอื่นๆก็จะนําไปใช้ในส่วน การออกแบบปลีกย่อยต่อไป

5.4 แนวคิดในออกแบบพื้นที่นิทรรศการถาวร

ภาพที่ 5-12 แนวคิดการลําดับภาพบรรยากาศพื้นที่นิทรรศการถาวรทั้ง 5 ห้อง

ภาพที่ 5-11 แนวคิดการเอียงแนวแกนสําหรับผังห้องนิทรรศการ

อธิบายแผนภาพ : แนวคิดในการวางผังนิทรรศการแบบเอียงจากแนวแกนฉากเดิม มา จาก Conceptual model 4 เพื่อสร้างความน่าสนใจให้เส้นทางการเดิน รวมถึงรูปแบบการจัดแสดงของบอร์ด เฟอร์นิเจอร์ และพืน้ ที่ว่างต่างๆเสมือน มีชีวิตเคลื่อนไหวไปมา สําหรับทางเดินเข้านิทรรศการห้องที่(1) จะเริ่มจากการบีบเส้นทาง เดินให้แคบสามารถเดินผ่านได้ทีละคน เสมือนการผ่านห้วงเวลาย้อนไปใน สมัยอดีตโดยในนิทรรศการห้องที่ (1) จะมีการนําเสนอข้อมูลตัวหนังสือ และ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 109

ปีการศึกษา 2557

รูปภาพกราฟฟิกบนพื้น และผนัง ก่อนจะเข้าสู่พื้นที่นิทรรศการที่ 1(2) เป็น การฉายวิดีทัศน์ มีการกําหนดขอบเขตของพื้นที่นั่งชม และกดเพดานให้ต่ําลง จากนั้นเข้าสู่ห้องนิทรรรศการ(2) ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อและครูใน หนังใหญ่โดยแสดงตัวหนังใหญ่ครูทั้ง 3 ตัวที่เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ไว้ในตําแหน่ง ศูนย์กลางของห้องมีการยกระดับของพื้นให้สูงขึ้น และออกแบบที่ว่างเป็น double space เพื่อให้เกิดความอลังการ มีการตกแต่งบรรยากาศด้วย ระแนงไม้ กับไม้ไผ่สานเพื่อให้เกิดแสงสลัว และสะท้อนบรรยากาศชาวบ้าน ไปพร้อมๆกัน จากนั้นเข้าสู่ห้องนิทรรศการ(3) มหัศจรรย์หนังใหญ่ซึ่งเป็นการจัด แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบในการแสดง ห้องนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าห้อง อื่นๆ โดยมีการตกแต่งที่สะท้อนบรรยากาศใต้ถุนของเรือนไทยสมัยก่อน เสมือนว่าผู้เข้าชมกําลังแอบดูการฝึกเชิดพากย์ และทําตัวหนังใหญ่อยู่จริงๆ เมื่อชมนิทรรศการ 3 ห้องแรกจบแล้ว น.ศ. มีแนวคิดในการสร้าง พื้นที่ว่างเพื่อให้ผู้เข้าชมได้พักสายตาเล็กน้อย อาจจะเป็นในรูปแบบของทาง เชื่อมระหว่างอาคารกับธรรมชาติ และบริบทภายนอก หรือในส่วนของบันได ทางลาดต่างๆที่จะมีการออกแบบพื้นผิว (SKIN) อาคารเพื่อสอดแทรกสัญญะ ความเป็นหนังใหญ่บางอย่างให้ผู้เข้าชมได้ซมึ ซับในระหว่างการเดิน เป็นต้น

จากนั้นเดินเรื่อยไปจนถึงห้องนิทรรศการ(4) ซึ่งนําเสนอเกี่ยวกับ จินตนาการกับหนังใหญ่ ห้องนี้จะใช้แสงประดิษฐ์ และเป็นห้องปิดเพื่อสร้าง แสงเงา ผังจะมีลักษณะเป็นห้องวงกลมตรงกลาง ในส่วนจุดศูนย์กลางของ ห้องจะมีการวางไฟสปอร์ตไลท์ แล้วขึงผ้าขาวล้อมรอบซึ่งในส่วนนี้จะเปิด โอกาสให้ผู้ชมได้ลองเชิดตัวหนังสมมุติให้เกิดเงาลงบนผนังห้อง เสมือนอยู่ใน โลกของจินตนาการ จากนั้นเดินเรื่อยไปจนถึงห้องนิทรรศการ(5) หนังใหญ่..ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นห้องสุดท้ายที่จะต้องมีการแสดงตัวหนังใหญ่จริงกว่า 28 ตัวพร้อมให้ ข้อมูลสั้นๆประกอบ รวมถึงการแสดงภาพกิจกรรมต่างๆของชุมชนที่มีต่อหนัง ใหญ่ โดยมีการเจาะช่องเปิดรอบๆห้องเพื่อรับมุมมองฉากหลังให้เห็นแม่นา้ํ เจ้าพระยา สภาพแวดล้อมของวัด และชุมชนโดยรอบ1

1

หน้า 61-62

ขยายความส่วนนิทรรษการจากบทที่ 3, 3.2.5 เนื้อหาในการจัดแสดงส่วนนิทรรศการ


การออกแบบขัน้ ต้น


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 110

ปีการศึกษา 2557

6.1 การออกแบบขั้นต้น การออกแบบขั้นต้นเริ่มจาก รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการจาก บทที่ผ่านมา มาวิเคราะห์ หาข้อจํากัด และแนวความคิดในการออกแบบ ผนวกเข้ า ด้ ว ยกั น และเริ่ ม วิ เ คราะห์ ก ารวางพื้ น ที่ ใ นที่ ตั้ ง โครงการ ส่วนประกอบต่างๆ และขนาดพื้นที่เชื่อมโยงกับที่ตั้งโครงการ เมื่อวิเคราะห์จากที่ตั้งโครงการจะเห็นได้ว่าที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ ระหว่างวัดและชุมชน ทางทิศใต้ ทางทิศเหนือ

ขนานกับวิหารของวัด 2 หลัง ถูกล้อมด้วยบ้านพักอาศัยของคนในชุมชน (บ้านหลังคาจั่ว สูง 2 ชั้น)

ดั ง นั้ น การออกแบบข้ า งต้ น จึ ง ต้ อ งเคารพบริ บ ทบริ เ วณรอบที่ ตั้ ง โครงการเป็นสําคัญ โดยเชื่อมต่อพื้นที่กิจกรรมลานชุมชนเดิม พื้นที่ของวัด สว่างอารมณ์ รวมถึงพื้นที่ตั้งของโครงการที่ขยายต่อมา ภาพที่ 6-1 ขอบเขตที่ตั้งโครงการ และบริ บทโดยรอบ


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 111

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่๖-๓ มุมมองทางด้านหน้าที่ต้ งั โครงการ

ภาพที่ 6-2 มุมมองแสดงความสัมพันธ์ที่ตั้งโครงการ และบริบทโดยรอบ


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 112

พิจารณาที่ตั้งโครงการ และบริบทโดยรอบเพื่อจะจัดว่าผังโครงการจาก ที่ตั้งโครงการจะเห็นว่าสามารถแบ่งพื้นที่ตามบริบทโดยรอบได้ 3 โซน คือ 1. บริเวณพื้นที่ลานกิจกรรมของชุมชนเดิม ที่อยู่บริเวณทิศตะวันออก ของที่ตั้งโครงการ โดยเป็นลานขนาดใหญ่ที่เปิดมุมมองรับวิวแม่น้ํา เจ้าพระยา ทําหน้าที่ดึงดูดผู้คนและกิจกรรมเข้ามาในโครงการเป็น พื้นที่สาธารณะให้กับชุมชน 2. บริเวณพื้นที่ใจกลางของโครงการที่ขนานตามแนวยาวกับวิหาร (พื้นที่ของวัด) จะมีส่วนโถง และแนวอาคารนิทรรศการ สํานักงาน หรืองานรองรับอื่นๆ ขนานล้อกับแนวอาคารเดิมของวัด 3. บริเวณด้านทิศเหนือ เป็นพื้นที่ขยายต่อที่ติดกับถนนใหญ่หน้า โครงการโดยจะให้เป็นพื้นที่ของส่วนการเรียนรู้เพื่อความสะดวกใน การดูแลจัดการ

ภาพที่ 6-3 ผังชุมชนแสดงการแบ่งพื้นที่ที่สอดคล้องกับที่ตั้งโครงการ


ปีการศึกษา 2557

เมื่อได้โซนตามการวิเคราะห์พื้นที่ตั้งแล้วก็จะนําพื้นที่ต่างๆใน โครงการมาทดลองจัดวางพื้นที่ใช้สอยตามทีไ่ ด้คํานวณไว้แล้วในบทที่ 3 โดยพื้นที่ต่างๆในโครงการ สามารถแบ่งออกเป็นส่วนหลักได้ดังนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 113

การจัดพื้นที่แบบที่ 1 (Schematic Zoning 1)

โถงส่วนกลาง ส่วนการเรียนรู้ ส่วนโรงแสดง (โรงประลอง) ส่วนนิทรรศการ ส่วนสํานักงาน และงานรองรับโครงการ ลานกิจกรรมกลางแจ้ง ส่วนงานระบบอาคาร ส่วนจอดรถ

ในการทดลองการจัดวางพื้นที่ใช้สอย การก่อรูปอาคาร และพื้นที่ ว่าง ใช้หลักการแบ่งโซนของที่ตั้งตามบริบทของวัด และชุมชนโดยนําเอาทาง สัญจรของคนเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ตั้งโครงการ ทําให้เกิดการเชื่อมต่อ ของพื้นที่ว่างในรูปแบบต่างๆกัน (Schematic Zoning) ดังนี้ ภาพที่ 6-4 แสดงการจัดพื้นที่แบบที่ 1


ปีการศึกษา 2557

คําอธิบาย: นําส่วนของโรงแสดงไว้ในส่วนการเรียนรู้ โดยตั้งอยู่ใน ตําแหน่งทิศเหนือสุดของโครงการ วางส่วนอาคารนิทรรศการไว้ตําแหน่ง ทางเข้ า หลั ก ของโครงการตามแนวยาว โดยมี ส่ ว นงานรองรั บ โครงการ (สํานักงาน, ร้านค้า, ห้องสมุด) อยู่ที่ส่วนปลายของอาคารนิทรรศการทั้ง 2 ฝั่ง ขยายที่จอดรถหน้าวิหารเดิมให้กว้างขึ้น เพื่อเปิดรับลานขนาดใหญ่ในส่วน ทางเข้า และลานชุมชนทางทิศตะวันออก ข้อเสนอแนะ: ส่วนพื้นที่จอดรถที่ขยายจากเดิมนั้นเป็นพื้นที่ที่จํากัด ทําให้ไม่สามารถออกแบบที่จอดรถได้ และบดบังทัศนียภาพทางเข้าควรที่จะ หาพื้นที่จอดรถใหม่ ในส่วนโรงแสดงนั้นอยู่ไกลจากทีจ่ อดรถเกินไปจึงควร ย้ายเข้ามาใกล้ทางเข้าหลักมากขึ้น ในส่วนพื้นที่ลานตรงทางเข้าโครงการมี ขนาดใหญ่เกินไป สามารถใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์มากกว่าเป็นลานอย่าง เดียว

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 114

ร้านค้า และสํานักงานวางขนานกับทางเข้าหลักโครงการทางทิศตะวันตก และย้ า ยตํ า แหน่ ง ของห้ อ งสมุ ด และร้ า นอาหารว่ า งให้ ข นานกั บ อาคาร นิทรรศการทางทิศเหนือเป็นแนวยาวเกิดพื้นที่คอร์ดเชื่อมต่อตรงกลาง

การจัดพื้นที่แบบที่ 2 (Schematic Zoning 2) คําอธิบาย: วางพื้นที่จอดรถใหม่เป็นแนวยาวทางทิศใต้ของโครงการ ทางทิศเหนือแบ่งอาคารส่วนการเรียนรู้เป็น 2 หลัง (อาคารเรียนเชิดและ พากย์, อาคารเรียนทําตัวหนัง) โดยจัดวางเป็นรูปตัว L ให้เกิดพื้นที่ลาน กิจกรรมตรงกลาง ส่วนโรงแสดงนั้นได้ปรับเลื่อนตําแหน่งให้ใกล้กับทางเข้า หลั ก มากขึ้ น ประกอบกั บ ขยายพื้ น ที่ ง านรองรั บ โครงการโดยนํ า ส่ ว นของ

ภาพที่ 6-5 แสดงการจัดพื้นที่แบบที่ 2


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 115

ข้อเสนอแนะ: การจัดพื้นที่ตอบสนองการใช้งานมากขึ้น และมีความ น่ า สนใจในส่ ว นพื้ น ที่ ร องรั บ ส่ ว นทางเข้ า ที่ เ ปิ ด พื้ น ที่ ว่ า งในขณะที่ มี ค อร์ ด เชื่อมต่อภายในอาคาร ในขณะที่อาคารสํานักงานถูกวางแยกออกไปทําให้ ขัดแย้งกับส่วนอื่นๆ ส่วนการจัดพื้นที่จอดรถยังใช้พื้นที่ได้ไม่คุ้มค่าและเป็น พื้นที่โล่งมากเกินไป การจัดพื้นที่แบบที่ 3 (Schematic Zoning 3) คําอธิบาย: เน้นส่วนของโรงแสดงให้เด่นขึ้นโดยย้ายมาไว้ตรงทางเข้า หลักของโครงการเพื่อรับมุมมองทางเข้าจากวัด และที่จอดรถ รวมถึงกระจาย ก้อนอาคารนิทรรศการเป็น 2 ส่วน (เป็นรูปตัว L ตามขอบเขตที่ตั้ง) มีส่วน งานรองรับโครงการ ร้านค้า และห้องสมุดต่างๆวางเรียงเป็นแนวยาวขนาน กับอาคารนิทรรศการทางทิศเหนือ และทางทิศเหนือ ในส่วนการเรียนรู้ได้ ปรับรวมอาคารเรียนรู้เป็นอาคารหลังใหญ่หลังเดียว โดยหันหน้าติดกับถนน ใหญ่ เว้นพื้นที่ด้านทิศตะวันออกไว้สําหรับเป็นลานกิจกรรม ข้อเสนอแนะ: การจัดพื้นที่โรงแสดงในตําแหน่งทางเข้าหลักโครงการ เนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีขนาดใหญ่ ทําให้บดบังทัศนียภาพ และทําให้โครงการ ดูแน่น ไม่ไหลลื่น ในส่วนการเรียนรู้ควรย้ายพื้นที่ส่วนลานมาติดถนนใหญ่ เพื่อกรองเสียง มลพิษ และสร้างมุมมองที่ดีให้กับโครงการ

ภาพที่ 6-6 แสดงการจัดพื้นที่แบบที่ 3


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 116

ปีการศึกษา 2557

การจัดพื้นที่แบบที่ 4 (Schematic Zoning 4)

คําอธิบาย: สําหรับส่วนการเรียนรู้ทางทิศเหนือได้กระจายอาคาร ออกเป็น 4 หลังจัดวางแบบโอบล้อมให้เกิดพื้นที่ลานตรงกลาง ในส่วนพื้นที่ ทางเข้าหลักโครงการได้ปรับแนวของโรงแสดง และอาคารนิทรรศการให้เกิด พื้นที่ว่างระหว่างอาคารมีลักษณะบีบสายตาเข้าไปในโครงการ โดยย้ายส่วน งานรองรั บ โครงการไปอยู่ ท างทิ ศ ตะวั น ออกของโครงการ จั ด วางเป็ น แนวขนานให้เกิดพื้นที่เชื่อมต่อตรงกลางเช่นกัน ข้อเสนอแนะ: การปรับพื้นที่ในส่วนการเรียนรู้ และพื้นที่ทางเข้าหลัก ทําให้พื้นที่ว่างมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่วนพื้นที่จอดรถมีการปรับให้ใช้งาน พื้นที่ได้คุ้มค่ามากขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาว่าเป็นพื้นที่ว่างที่มีขนาดใหญ่มาก สามารถให้บางส่วนของอาคารยื่นมาเป็นชายคาพื้นที่จอดรถได้หรือไม่ รวมถึง ปรับตําแหน่งของสํานักงาน และเพิ่มพื้นที่ Drop off เพื่อรับกับส่วนโรงแสดง และทางเข้าหลักเพิ่มเติม

ภาพที่ 6-7 แสดงการจัดพื้นที่แบบที่ 4

สรุป น.ศ. ได้วิเคราะห์ข้อดี และข้อเสียในการจัดพื้นที่แต่ละแบบพบว่า การ จัดพื้ นที่ แ บบที่ 4 ดีที่ สุด เพราะตอบโจทย์ทั้ง ในแง่ก ารใช้ง าน และความ น่าสนใจของพื้นที่ว่าง จึงตัดสินใจนําแบบดังกล่าวไปพัฒนาต่อในขั้นแบบร่าง ขั้นต้นต่อไป


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 117

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 6-8 แสดงกราฟิก และหุ่นจําลองการจัดพื้นที่แบบที่ 1 - 4


แบบร่างขั้นต้น


ปีการศึกษา 2557

7.1 แบบร่างขั้นต้น จากการทดลองจั ด วางพื้ น ที่ดั ง กล่ า ว ในบทที่ 6 น.ศ.ได้ เลื อ กแบบ ทดลองที่ 4 มาพัฒนาต่อ ในขั้นตอนทําแบบร่างขั้นต้นเป็นการวางผังแบบร่าง ของแต่ละการใช้งานตามแนวความคิดที่ได้วางไว้ โดยการตัดหุ่นจําลองเพื่อดู รูปทรงอาคารให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับการจัดวางพื้นที่ที่สรุปได้คือ - ส่วนการเรียนรู้ถูกจัดอยู่ทางทิศเหนือของที่ตั้งโครงการ เนื่องจากโซน นี้จะเป็นตัวเชื่อมกับถนนใหญ่หน้าโครงการ ซึ่งอํานวยความสะดวกแก่กลุ่ม นักเรียน นักศึกษาที่ใช้ถนนเส้นหลักในการสัญจรด้วยรถของโรงเรียน และ แยกกลุ่มอาคารออกมาเพื่อการดูแลจัดการที่ง่ายขึ้น - ส่วนใจกลางของที่ตั้งควรเป็นพื้นที่ของโถงกลางใช้หลักการวางทาง สัญจรมาวางโซน เพื่อแจกจ่ายการใช้งานส่วนต่างๆ ได้แก่ ส่วนนิทรรศการ ส่วนโรงแสดง และส่วนงานรองรับโครงการ - แนวคิดของ Circulation คือ จะเข้าถึงทุกพื้นที่การใช้งานจากโถง กลางโดยทางเข้าหลักจะเข้าจากลานสู่โถงกลาง และแจกเข้าสู่ตัวพื้นที่ใช้สอย ต่างๆโดยเน้นพื้นที่เชื่อมต่อได้แก่ พื้นที่ใต้ถุน, ชาน หรือลานกิจกรรม - ในส่วนทิศใต้ และทิศตะวันออกจะเป็นพื้นที่สาธารณะชุมชน และ ส่ ว นงานรั บ รองโครงการ ได้ แ ก่ ส่ ว นห้ อ งอเนกประสงค์ ส่ ว นสํ า นั ก งาน ห้องสมุด และร้านค้าต่างๆ ซึ่งวางตัวอาคารเป็นแนวยาวขนานเชื่อมกับแนว

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 118

อาคารวั ดและพื้นที่ ลานชุมชมเดิ ม ให้ บรรยากาศเหมื อนตลาดย่อ มๆเพื่ อ ส่งเสริมให้คนจากภายนอก และภายในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน

ภาพที่ 7-1 การแบ่งพื้นที่โครงการหลัก 3 ส่วนบนหุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลางภาค)


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 119

- อาคารส่วนใหญ่เป็นอาคารชั้นเดียว ยกเว้นส่วนอาคารนิทรรศการที่ มี 2 ชั้น และส่วนโรงแสดงที่จะมีระดับความสูงมากกว่าอาคารทั่วไป - ในส่วนอาคารนิทรรศการได้มีการจัดตําแหน่งห้องนิทรรศการ โดย เริ่มต้นจากชั้น 1 ได้แก่ ส่วนโถงต้อนรับนิทรรศการ (Reception), ห้อง นิทรรศการที่ 1 และ 2 ก่อนที่จะเดินขึ้นชั้น 2 ได้แก่ ห้องนิทรรศการ 3, 4 หลังจากนั้นจึงเดินลงมาชั้น 1 เพื่อชมนิทรรศการห้องที่ 5 ที่เป็น Double Space ก่อนที่จะเดินออกไปพบส่วนโถงกลางอีกครั้ง ข้อเสนอแนะ: - เริ่มมีพื้นที่ว่างบางอย่างที่น่าสนใจ สามารถนําแนวคิดฉากการแสดง บางฉากเข้ า ไปใช้ ไ ด้ เช่ น ในส่ ว นพื้ น ที่ โ ถงทางเข้ า หลั ก ที่ มี ลั ก ษณะการ เผชิญหน้า และบีบมุมมองซึ่งมีความสอดคล้องกับฉากสู้รบได้ ในส่วนพื้นที่ ว่างอื่นๆ ต้องมีการปรับพัฒนาต่อไป - การจัดการเกี่ยวกับนิทรรศการยังไม่ลงตัว ทั้งในส่วนการใช้งาน การ จัดวางห้องนิทรรศการเพื่อเดินรับชมต่างๆยังขาดความน่าสนใจ รวมถึง รูปทรงอาคารที่เป็น 2 ชั้นบดบังส่วนอาคารร้านค้า และห้องสมุดต่างๆควร ปรับตําแหน่งสลับกันให้รับกับมุมมองภายนอกอาคาร - ลักษณะการขึ้นรูปทรงอาคาร และหลังคาเป็นไปในแนวทางสมัยใหม่ เกินไป ขัดแย้งกับบริบทโดยรอบชัดเจน

ภาพที่ 7-2 หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลางภาค) แสดงพื้นที่นิทรรศการทั้ง 5 ห้อง


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 120

ปีการศึกษา 2557

ส่วนการเรียนรู้

คลังหนัง ใหญ่

โถงกลาง โรงแสดง

ร้านค้า

1 2

ห้องสมุด ลานกิจกรรม

ภาพที่ 7-3 ผังพื้นชั้นที่ 1 แสดงส่วนต่างๆในโครงการ (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลางภาค)


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 121

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 7-4 ผังพื้นชั้นที่ 2 แสดงพื้นที่ส่วนงานนิทรรศการ, และงานระบบ (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลางภาค)


ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 7-5 หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลางภาค) แสดงพื้นที่โถงทางเข้า

พื้นที่ส่วนโถงทางเข้าหลักที่มีการเปิดรับ และบีบมุมมองพื้นที่ว่าง เสมือนมีการเผชิญหน้ากันระหว่างระนาบ 2 ระนาบ เหมาะสมกับแนวคิด ฉากการแสดงสู้รบ ซึ่งจะนําไปออกแบบพัฒนาพื้นที่ว่างดังกล่าวต่อไป

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 122

ภาพที่ 7-6 หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลางภาค) แสดงพื้นที่ลานภูมิปัญญาส่วนเรียนรู้

การวางตําแหน่งของอาคารเรียนรู้ 4 หลัง ได้แก่ อาคารเรียนเชิด และพากย์ 2 หลัง อาคารเรียนทําตัวหนังใหญ่ 1 หลัง และอาคารคลังหนัง ใหญ่ 1 หลัง ในลักษณะโอบล้อมมีพื้นที่ลานภูมิปัญญาตรงกลาง


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 123

ปีการศึกษา 2557

ร้านค้าอื่นๆขนานกัน เกิดพื้นที่เชื่อมต่อตรงกลาง ซึ่งพบว่าลักษณะของพื้นที่ ว่างดังกล่าวมีความน่าสนใจ และสอดคล้องกับแนวคิดฉากการแสดงฉาก เจรจา (ตัวทหาร) ที่มีการป่วนพื้นที่ และเน้นพื้นที่ตรงกลาง รวมถึงการ วิเคราะห์ตําแหน่งการวางจอหนังใหญ่ เพือ่ ทําการแสดงกลางแจ้งในส่วนลาน กิจกรรม ในแนวทางต่างๆ พบว่า แนวทางที่ดีที่สุด คือ การหันจอฉากหนัง เข้าสู่โครงการทางทิศตะวันตก เพราะ ทิศทางของลม และเสียงที่รบกวน พื้นที่ส่วนอื่นๆน้อยที่สุด รวมถึงส่งเสริมกับมุมมองทางเข้าของชุมชนอีกด้วย

7.2 สรุปแบบร่างขั้นต้น เนื่องจาก น.ศ. ได้ล้มเลิกกระบวนการออกแบบในตอนแรก (หัวข้อ วิจัย) ทําให้ต้องศึกษา และเริ่มกระบวนการใหม่จึงทําให้แบบร่างขั้นแรกพบ ปัญหาในการออกแบบมากมาย ได้แก่ การจัดพื้นที่การใช้งานที่ยังไม่ลงตัว รู ป ทรงของอาคารที่ ขั ด แย้ ง กั บ บริ บ ทที่ เ ป็ น วั ด และชุ ม ชนเกิ น ไป รวมถึ ง ภาพที่ 7-7 หุ่นจําลอง (แบบร่างที่ 1 – ขั้นกลางภาค) แสดงพื้นที่งานรองรับโครงการ และลานชุมชน

พื้นที่ในส่วนทางเข้าของชุมชนนั้น มีแนวคิดที่ต้องการไล่ระดับของ อาคารให้ใกล้ชดิ กับผู้ใช้งานมากขึ้น มีการเปิดพื้นที่ลานเพื่อเชื่อมมุมมอง ชุมชน และแม่น้ําเจ้าพระยา โดยวางแนวอาคารนิทรรศการ และอาคาร

กระบวนการขึ้ น รู ป ทรงอาคาร และพื้ น ที่ ว่ า งเป็ น เพี ย งการออกแบบเพื่ อ รองรับการใช้งาน และความสวยงามเท่านั้น ยังไม่ถูกคิดร่วมกับแนวความคิด ต่างๆที่วางไว้ในบทที่ 5 ทําให้ น.ศ. ต้องกลับมาให้ความสําคัญในการรวม แนวคิดเข้าสู่การออกแบบให้มากขึ้น


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 124

ปีการศึกษา 2557

หุ่นจําลองที่ 1 ขั้นทดลองหัวข้อวิจัย “Space from Graphic”

หุ่นจําลองการจัดพื้นที่ แบบที่ 4 ที่เลือกมาพัฒนา ในขัน้ แบบร่างขั้นต้น

หุ่นจําลองสรุปผล ขั้นทดลองหัวข้อวิจัย “Space from Graphic”

หุ่นจําลองแบบร่างขั้นที่ 1 โดยขึ้นรูปทรง และพื้นที่ว่าง อาคารจากการใช้งานเป็นหลัก

ภาพที่ 7-8 ภาพรวมหุ่นจําลองในขั้นกระบวนการทดลองหัวข้อวิจัย จนถึงขั้นแบบร่างขั้นที่ 1 นําเสนอกลางภาคการศึกษา


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 125

ภาพที่ 7-9 ภาพรวมแผ่นนําเสนองานขั้นพัฒนาแบบสถาปัตยกรรม (แบบร่างขั้นต้น) นําเสนอกลางภาคการศึกษา


การพัฒนาแบบสถาปัตยกรรม


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 126

ปีการศึกษา 2557

8.1 พัฒนาแบบขั้นที่ 1 (พัฒนาจากแบบร่าง) 8.1.1 ผังอาคาร

ภาพที่ 8-1 แปลนชั้น 1 พัฒนาแบบขั้นที่ 1

ภาพที่ 8-2 แปลนชั้น 2 พัฒนาแบบขั้นที่ 1


ปีการศึกษา 2557

อาคารประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ กลุ่มอาคารส่วนการเรียนรู้ฝั่ง ทิศเหนือติดกับถนนใหญ่ (สีฟ้า), ส่วนอาคารโรงแสดง และอาคารนิทรรศการ ฝั่งทางเข้าหลักโครงการ (สีแดง และส้ม) และส่วนอาคารรองรับโครงการและ ชุมชน (สีเขียว) ทั้ง 3 ส่วนถูกเชื่อมด้วยพื้นที่โถงกลาง และลานย่อยเพื่อให้ เกิดความลื่นไหล และง่ายต่อการเข้าถึงในทุกๆส่วน - กลุม่ อาคารส่วนการเรียนรู้ (สีฟ้า) มีการจัดวางเป็นรูปตัว U ให้เกิด พื้นที่ลานภูมิปัญญาตรงกลาง ส่วนนี้ประกอบด้วย อาคารเรียนเชิด และ พากย์หนังใหญ่ 2 หลัง และอาคารคลังหนังใหญ่ (F) 2 ชั้น 1 หลัง โดยมีการ จัดวางตําแหน่งของห้องเรียน และพื้นที่เรียนรู้ต่างๆให้มีมมุ มองที่เชื่อมต่อถึง กันสู่ลานตรงกลาง - ส่วนอาคารโรงแสดง และอาคาร (สีแดง และส้ม) จะอยู่บริเวณ ทางเข้าหลักโครงการเพื่อความสะดวกในการเข้าถึง โดยจัดวางให้อาคารทั้ง คู่ขนานกัน เชื่อมต่อด้วยพื้นที่ลานต้อนรับ และโถงกลาง - ส่วนโรงแสดงนั้นจะมีการออกแบบให้มีพนื้ ที่โล่ง ใช้ประตูบานเฟี้ยม ขนาดใหญ่เพื่อรับมุมมองจากลานต้อนรับ และบ่อน้ําด้านทิศตะวันออก มี พื้นที่ลานกองไฟสําหรับกรณีที่ต้องการใช้แสงแบบธรรมชาติ (กะลาเผา) ใน การแสดง ส่วนพื้นที่พักนักแสดง ห้องเก็บเครื่องมือ รวมถึงห้องน้ําที่รอบรับ ส่วนโรงแสดงจะจัดให้อยู่ทางทิศตะวันตกของอาคาร โดยวางเรียงเป็นแนว ยาว

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 127

- สําหรับส่วนอาคารนิทรรศการจะมี 2 ชั้น และมีการกระจายอาคาร ออกเป็น 2 อาคาร มีทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารโดยเริ่มต้นผู้ใช้งานจะเข้า มาจากโถงกลาง แล้วเข้าสู่โถงนิทรรศการ (Reception) พื้นที่ดังกล่าวเป็น พื้นที่ที่ต้องควบคุมการเข้าออก เนื่องจากเป็นส่วนนิทรรศการถาวรซึ่งจะต้อง มีตั๋วเพื่อเข้าชม โดยเริ่มต้นรับชมในส่วนอาคารนิทรรศการ 1 ชั้นที่ 1 (ห้องที่ 1,2) ก่อนที่จะขึ้นบันได หรือทางลาดสู่ชั้นที่ 2 เพื่อรับชมนิทรรศการ (ห้องที่ 3) หลังจากรับชมนิทรรศการห้องดังกล่าวเสร็จจะมีการวางตําแหน่งห้องน้ํา และทางเชื่อมอาคารให้ผู้เข้าชมได้พักผ่อน ก่อนที่จะเดินเข้าสู่ส่วนอาคาร นิทรรศการ 2 ชั้นที่ 2 เพื่อรับชมนิทรรศการ (ห้องที่ 4) ต่อหลังจากนั้นเดินลง บันได หรือทางลาดสู่ชั้นที่ 1 เพื่อรับชมนิทรรศการ (ห้องที่ 5) ซึ่งเป็นห้อง สุดท้ายก่อนที่จะเดินออกอาคารนิทรรศการสู่โถงกลาง นอกจากนั้นยังมีส่วนของห้องงานระบบ ห้องเก็บวัตถุจัดแสดง รวมถึงพื้นที่งานบริการอาคารไว้ทางทิศเหนือของอาคารเพื่อง่ายต่อการ จัดการ และซ่อมบํารุง - ส่วนอาคารรองรับโครงการและชุมชน (สีเขียว) จะมี 2 ชัน้ ลักษณะ เป็นแนวยาวขนานต่อจากอาคารนิทรรศการ โดยชั้น 1 ได้แก่ ส่วนห้องน้าํ ร้านค้า ร้านอาหารว่าง พื้นที่รับประทาน และส่วนสํานักงานโครงการ มีลาน ย่อยเชื่อมต่อระหว่างอาคารสู่ลานกิจกรรมชุมชนขนาดใหญ่ทางทิศตะวันตก


ปีการศึกษา 2557

ส่วนชั้น 2 จะเป็นพื้นที่ห้องสมุดชุมชน (G) ซึ่งจะมีพื้นที่อ่านหนังสือทั้งแบบ ภายในอาคาร และบริเวณระเบียงทางเชื่อมอาคารภายนอก - ส่วนลานกิจกรรมชุมชน เป็นพื้นที่กลางแจ้งที่รองรับกิจกรรมเดิม ของชุมชน คือ พื้นที่พบปะ ส่วนสนามบาสเกตบอล และพืน้ ที่ออกกําลังกาย ต่างๆ โดยมีการปรับตําแหน่งพื้นที่การใช้งานเพื่อรองรับกิจกรรมที่เพิ่มขึน้ สําหรับโครงการ เช่น พื้นที่ตลาดชุมชน พื้นที่รองรับการแสดงหนังใหญ่แบบ กลางแจ้ง ซึ่งมีการออกแบบเนินดินระหว่างส่วนอาคาร และลานให้มลี ักษณะ เป็นขั้นๆ สามารถเป็นที่นั่งรับชมการแสดงได้ รวมถึงมีศาลาสําหรับรองรับ พื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย น.ศ. ได้พัฒนาผังโครงการจากแบบร่างขั้นต้น (บทที่ 7) โดยปรับให้มี การกระจายของตัวอาคาร เพื่อลดขนาดรูปทรงอาคารให้สะท้อนความเป็น สถาปัตยกรรมชุมชนมากขึ้น คํานึงถึงการเชื่อมต่อ, ความลืน่ ไหลของพื้นที่ว่าง โดยเริ่มมีการกําหนดบริเวณพื้นที่ว่าง (พื้นที่เชื่อมต่ออาคาร) ที่สอดคล้องกับ แนวคิดฉากการแสดงทั้ง 5 ฉากต่างๆ ดังนี้ - พื้นที่ว่างฉากการแสดงสู้รบ (A) จะอยู่บริเวณทางเข้าหลักโครงการ ในส่วนลานต้อนรับก่อนเข้าถึงโถงกลาง เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ทแี่ สดงแนวคิด เพื่อสะท้อนสัญญะได้มากทีส่ ุดของโครงการ โดยจะมีการวางระนาบผนังใน ส่วนโรงแสดง และโถงกลางให้บีบเข้าหากัน เพื่อบีบมุมมองของผู้เข้าใช้ให้มี

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 128

การรับรู้พื้นที่ว่างเป็นลําดับก่อนที่จะพักสายตาสู่บ่อน้ํา และงาน ประติมากรรมหนังใหญ่ (แผ่นโลหะฉลุ) เสมือนเทคนิคการเปลี่ยนหนังที่พบ ในการแสดง ในขณะที่ระนาบผนังดังกล่าวทําหน้าที่สื่อถึงตัวละครลิงขาว ลิง ดําที่กําลังเผชิญหน้า สู้รบกันอยู่ - ส่วนลานทางเข้า และพื้นที่โถงกลางจะมีการวางพื้นที่ให้เกิดการ เชื่อมต่อ โดยกําหนดให้พื้นที่ส่วนลานทางเข้า และลานกิจกรรมชุมชนสะท้อน ถึงพื้นที่ว่างของคนดู พื้นที่ว่างในฉากการแสดงต่างๆสะท้อนถึงพื้นที่หน้าฉาก และพื้นที่โถงกลาง หรือภายในอาคารจะสะท้อนถึงพื้นที่หลังฉาก - พื้นที่ว่างฉากการแสดงเคลื่อนทัพ (B) เนื่องจากต้องการให้ผู้ใช้มี การเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับการเชิด และตัวละคร ทําให้เลือกบริเวณทาง เชื่อมอาคารนิทรรศการ - พื้นที่ว่างฉากการแสดงเจรจาพระ (C) จะมีแนวคิดในเรื่องมุมมอง ภาพที่มีความลึกตื้น น.ศ. ได้เลือกพื้นที่ในส่วนการเรียนรู้บริเวณลานภูมิ ปัญญา โดยจะมีการออกแบบทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร, การวางตําแหน่ง อาคาร และกําหนดพื้นที่เรียนเชิดและพากย์ให้ผู้เข้าชมได้เห็นภาพที่มีความ ลึกตื้น ชัดเบลอ เป็นต้น - พื้นที่ว่างฉากการแสดงกราวใน (D) นําเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการซ้ํา ที่มีการเคลื่อนที่ ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริเวณพื้นที่ว่างด้านหลังบ่อน้ํางาน ประติมากรรม, ลานกองไฟ และทางลาดขึ้นชั้น 2 ของอาคารนิทรรศการ


ปีการศึกษา 2557

พื้นที่ดังกล่าวมีความน่าสนใจ เพราะมีมุมมองที่เชื่อมต่อถึงกันรวมถึงสามารถ เล่นกับพื้นผิว (Skin) อาคารนิทรรศการเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน รวมถึงเป็น ระนาบบังสายตา (Buffer) ระหว่างส่วนนิทรรศการ และการเรียนรู้ได้ดี - พื้นที่ว่างฉากการแสดงเจรจาตัวทหาร (E) มีความสอดคล้องกับ บริเวณคอร์ดกลางในส่วนพื้นที่ชุมชน เนื่องจากเป็นพื้นที่ระหว่างส่วนงาน รองรับโครงการ ร้านค้า พื้นทีร่ ับประทาน ห้องสมุด รวมไปถึงสํานักงาน โครงการ โดยผู้ใช้งานจะมีการเคลื่อนที่ และใช้งานบริเวณดังกล่าวถือเป็นการ เน้นพื้นที่ศูนย์กลาง

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 129

ส่วนการจัดการนั้นยังไม่ลงตัว เพราะมีทางเข้า และทางเชื่อมสู่ เส้นทางนิทรรศการมากกว่า 1 เส้นทางโดยต้องปรับลดให้เหลือเพียงเส้นทาง เดียว ในส่วนเส้นทางการรับชมนั้นไม่จําเป็นต้องมีห้องน้ํารองรับระหว่างการ รับชม ควรย้ายพื้นที่หอ้ งน้ําไปรวมกับพื้นที่ห้องน้ําส่วนอาคารรองรับโครงการ ชั้น 1 ให้เหลือเพียงส่วนเดียวเพื่อการจัดการที่สะดวกขึ้น รวมถึงปรับย้าย พื้นที่ห้องสมุดเนื่องจากอยู่บนชั้น 2 ทําให้เข้าถึงยากเกินไป ส่วนรูปแบบของ หลังคาควรปรับให้สัมพันธ์กนั ทั้งโครงการ 8.1.2 หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขัน้ ที่ 1

วิจารณ์ : การวางผังอาคารมีความน่าสนใจ และสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้นอย่าง เห็นได้ชัด มีการเริ่มต้นให้เหตุผล และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดกับ การกําหนดพื้นที่ว่างทั้ง 5 พื้นที่ที่มีเหตุมผี ลขึน้ และสามารถพัฒนาต่อไปได้ แต่ต้องแก้ปัญหาเรื่องสัดส่วนพื้นที่ลานด้านหน้าต่อพื้นที่อาคารซึ่งมี ขนาดใหญ่เกินไป, การปรับแนว และตําแหน่งอาคารบางส่วน (Lay out) ให้ มีความสวยงามยิ่งขึ้น, ในส่วนอาคารนิทรรศการนั้นพบปัญหาในหลายส่วน ส่วนการออกแบบห้องนั้นยังไม่ตอบรับกับแนวคิดเท่าที่ควร การจัดห้อง เกิดขึ้นจากช่วงเสาของอาคารทําให้ขาดความน่าสนใจ ควรปรับใหม่ ภาพที่ 8-3 หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขั้นที่ 1


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 130

ปีการศึกษา 2557

8.2 พัฒนาแบบขั้นที่ 2 8.2.1 ผังอาคาร

ลานกิจกรรมชุมชน

ภาพที่ 8-4 แปลนชั้น 1 พัฒนาแบบขั้นที่ 2

ภาพที่ 8-5 แปลนชั้น 2 พัฒนาแบบขั้นที่ 2


ปีการศึกษา 2557

การพัฒนาแบบขั้นที่ 2 เป็นการพัฒนาจากการพัฒนาแบบขั้นที่ 1 โดยเพิ่มรายละเอียดของการจัดพื้นที่ใช้สอยภายใน เช่น ตําแหน่งเฟอร์นิเจอร์ ตําแหน่งของผนัง แผงกั้นต่างๆ เพื่อตรวจสอบว่าพื้นที่นั้นมีขนาดไม่เล็กหรือ ใหญ่จนเกินไป และสามารถใช้ได้อย่างสะดวกสบาย กําหนดตําแหน่งและ ระยะของบันไดหลัก และทางลาดแต่ละส่วนให้มีความเหมาะสมกับการใช้ งาน และเป็นไปตามกฏหมายควบคุมอาคาร รวมถึงการปรับเปลี่ยนตําแหน่ง พื้นที่การใช้งานบางส่วนเพื่อการจัดการ และใช้งานที่ดีขึ้น ดังนี้ ในส่วนการเรียนรู้ (สีฟ้า) มีการปรับตําแหน่งห้องเรียนเชิดและพากย์ ให้เชื่อมต่อกับห้องเรียนทฤษฎี (Lecture) และห้องดนตรีไทย ในกรณีที่ ต้องการใช้งานร่วมกันก็สามารถเปิดประตูบานเฟี้ยมได้ รวมถึงในส่วนอาคาร คลังหนังใหญ่ได้ปรับให้เป็นอาคารเรียนทําตัวหนังใหญ่เป็นหลัก โดยย้ายพื้นที่ ส่วนคลังหนังใหญ่ (F) ขึ้นไปไว้บนชั้น 2 เนื่องจากเป็นพื้นที่ๆต้องมีการ ควบคุมความปลอดภัย โดยจะมีพนักงานประจําในส่วนเอกสาร และบันทึก ทะเบี ย น 1 คนโดยจะแยกพื้ น ที่ ชั้ น 2 ออกเป็ น 2 ส่ ว นได้ แ ก่ 1.พื้ น ที่ สํานักงานสําหรับงานเอกสาร งานจดทะเบียน งานบันทึกต่างๆ 2.คลังห้อง จัดเก็บตัวหนังใหญ่ ซึ่งจะต้องคํานึงถึงเรื่องภาวะน่าสบายของตัวหนัง อากาศ ไม่ชื้น และอับจนเกินไป รวมถึงคิดวิธีแก้ปัญหาเรื่องชองปลวก, สัตว์เล็กต่างๆ ซึ่งอาจจะเข้าไปทําลายตัวหนังได้

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 131

สําหรับพื้นที่ชั้น 1 นั้นจะเป็นส่วนเรียนทําตัวหนังใหญ่ โดยจะมีการ แบ่งพื้นที่เรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ มีการออกแบบเฟอร์นิเจอร์เฉพาะส่วน เพื่อให้ตอบรับกับกระบวนการทําตัวหนังในแต่ละขั้นตอน ดังนี้ 1.พื้นที่เขียนลาย จะเป็นโต๊ะม้าหินกลมสําหรับการทํางานร่วมกัน 2.พื้นที่แกะสลัก จะมีแท่นขนาดใหญ่สําหรับเป็นทั้งโต๊ะ และพื้นที่นั่ง 3.พื้นที่ลงสีและงานซ่อมแซม จะเป็นโต๊ะม้าหินเช่นกัน โดยอยู่ใน ส่ว นลานภายนอกอาคาร มีห ลั ง คาเพื่ อ บั ง แดด รวมถึง ปรั บ ตํ าแหน่ ง ของ ห้องน้ําให้ลึกเข้าไปเกิดพื้นที่ว่างด้านหน้าเชื่อมต่อกับลานภูมิปัญญา

ภาพที่ 8-6 แปลนขยายส่วนการเรียนรู้ ชั้น 1 (พัฒนาแบบขั้นที่ 2)


ปีการศึกษา 2557

รูป 8-7 แปลนขยายส่วนคลังหนังใหญ่ ชั้น 2 (พัฒนาแบบขั้นที่ 2)

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 132

เดินผ่านทางเชื่อมเพื่อเข้าสู่พื้นที่อาคารนิทรรศการ 2 ชั้น 2 เพื่อรับชมห้อง นิทรรศการที่ 4 และ 5 โดยจะจบนิทรรศการในตัวตั้งแต่พื้นที่ดังกล่าวก่อนที่ จะเดินลงบันได หรือทางลาดเพื่อกลับเข้าสู่โถงกลาง ในส่วนงานรองรับโครงการ และชุมชน (สีเขียว) ได้มีการปรับย้าย พื้นที่ห้องสมุด (G), สํานักงานโครงการ และห้องกิจกรรมอเนกประสงค์ซึ่ง เป็นอาคารชั้นเดียวมาไว้ทางด้านหน้าติดกับพื้นที่จอดรถ โดยเรียงขนานกับ อาคารนิทรรศการเป็นแนวยาว

ในส่วนโรงแสดง (สีแดง) ได้มีการกําหนดตําแหน่งพื้นที่นั่งคร่าวๆ โดยต้องการสะท้อนแนวคิดความไร้ระเบียบ กระจัดกระจายแบบการแสดง กลางแจ้งจึงวางเก้าอี้นั่งแบบสุ่ม และเริ่มแบ่งพื้นที่นั่งออกเป็น 3 ระดับ คือ นั่งบนพื้นเสื่อ, นั่งบนแคร่เป็นกลุ่ม, นั่งบนเก้าอี้ เป็นต้น ในส่วนอาคารนิทรรศการ (สีส้ม) ได้ปรับย้ายส่วนอาคารนิทรรศการ 2 มาไว้ ด้ า นหลั ง เพื่ อ เชื่ อ มต่ อ กั บ อาคารนิ ท รรศการ 1 และควบคุ ม เรื่ อ ง เส้ น ทางการรั บ ชมนิ ท รรศการได้ ส ะดวกขึ้ น ในขณะที่ ป รั บ ให้ ท างลาด นิทรรศการชั้น 2 ขาลงหันหน้าเข้าหาคอร์ดซึ่งเชื่อมต่อกับทางเชื่อมอาคาร และสร้างมุมมองที่ดีเข้าสู่พื้นที่วัดได้ ในส่วนเส้นทางการรับชมนิทรรศการจะ ปรับเปลี่ยน โดยเริ่มต้นชมนิทรรศการห้องที่ 1 , 2 , 3 ตามลําดับ ก่อนที่จะ

ภาพที่ 8-8 แปลนขยายส่วนโรงแสดง นิทรรศการ และชุมชน ชั้น 1 (พัฒนาแบบขั้นที่ 2)


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 133

ภาพที่ 8-9 แปลนขยายส่วนนิทรรศการ ชั้น 2 (พัฒนาแบบขั้นที่ 2)

มีทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร รวมถึงการปรับพื้นที่ชั้น 1 ของอาคาร นิทรรศการ 2 ให้เป็นพื้นที่ใต้ถุน รองรับงานโครงการต่างๆ ได้แก่ พื้นที่ ร้านค้า, ร้านอาหารว่าง, พื้นที่รับประทาน และห้องน้ําต่างๆ ซึ่งวางเรียงเป็น แนวยาวติดกับถนนส่วนงานบริการทางด้านหลัง การปรับเปลี่ยนรูปแบบหลังคาของโครงการให้สัมพันธ์กันมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นหลังคาทรงจั่ว และทรงเพิงหมาแหงน มีการซอยหลังคา หรือซ้อนชั้นหลังคาบางส่วนเพิ่มเติมเพื่อความสวยงาม

ภาพที่ 8-10 ISOMETRIC แสดงพื้นที่อาคารนิทรรศการ 1 และ 2, ที่มา : ผู้เชียน


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 134

วิจารณ์ : การวางผังอาคารมีความลงตัวในด้านความงาม และการใช้งานดี แล้ว แต่อาจจะปรับ หรือเน้นพื้นที่บางส่วนเพื่อพัฒนาร่วมกับแนวคิดฉากการ แสดง เช่น ขยายพื้นที่ของทางลาดนิทรรศการขาลงให้กว้างขึ้น มีคอร์ดต้นไม้ อยู่ตรงกลางสร้างความร่มรื่นและแสงเงาให้กับลูกเล่นที่จะออกแบบ, การ ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และพื้นที่ลานทางเข้าของโครงการ อาจจะเป็น พื้นที่ที่เน้นให้คนมารวมตัว มีกิจกรรม นั่งพักผ่อน เพื่อให้สะท้อนแนวคิดพื้นที่ คนดู พื้นที่หน้าฉากมากขึ้น 8.2.2 พื้นที่ว่าง ภาพที่ 8-12 ISOMETRIC แสดงแนวคิดการจัดองค์ประกอบของระนาบ พื้นที่ว่าง1 และ 4, ที่มา : ผู้เชียน

- พื้นที่วา่ งที่ 1 (แนวคิดฉากสูร้ บ) น.ศ. ได้ปรับระนาบในส่วนที่บีบเข้าหากันให้เกิดการลดหลั่นระดับ เพื่อเน้นความเคลื่อนไหวมากขึ้น โดยเริ่มมีการคิดเรื่องวัสดุของระนาบเพื่อ แทนค่าตัวละครในฉาก เช่น ระนาบผนังฝั่งโรงแสดงจะเป็นลิงดําจึงเลือกใช้ วัสดุศิลาแลงซึง่ เป็นวัสดุทึบตันมาก่อและมีการเจาะช่องเปิดให้สื่อถึงการ เคลื่อนไหว ส่วนระนาบผนังฝั่งโถงกลางจะสื่อถึงลิงขาวจึงเลือกใช้แผงระแนง ไม้เพื่อสร้างความโปร่งโล่งให้โถงกลางแต่ก็ยังให้แสงและเงากับพื้นที่ได้เช่นกัน ภาพที่ 8-11 ISOMETRIC แสดงแนวคิดการจัดองค์ประกอบของระนาบให้เกิดพื้นที่ว่าง, ที่มา : ผู้เชียน


ปีการศึกษา 2557

โดยมี ก ารทาสี เ ป็ น ลวดลายของลิ ง ขาวกํ า ลั ง เคลื่ อ นไหว ใน ขณะเดียวกันในส่วนลานทางเข้าหลัก และส่วนโรงแสดงนั้นได้มีการยื่น และ เพิ่มโครงสร้างบางส่วนเพื่อรับกับทางเดินโดยมีการเล่นระดับความสูงต่ําให้ เกิดเป็นจังหวะล้อกับระนาบที่เคลื่อนไหว ในส่วนภูมิสถาปัตยกรรมมีการปลูก ต้นไม้ และเพิ่มเล่นระดับของพื้นบางส่วนให้มีความสูงต่ําสามารถให้ผู้คนเข้า มานั่งพักผ่อนได้เพื่อสื่อถึงแนวคิดพื้นที่คนดู โดยมีการจังวางแบบไร้ระเบียบ กระจัดกระจาย ก่อนที่จะเข้าสู่ส่วนโถงต้อนรับ (พื้นที่หน้าฉาก)

ภาพที่ 8-13 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 1, ที่มา : ผู้เชียน

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 135

- พื้นที่วา่ งที่ 4 (แนวคิดฉากกราวใน) เนื่องจากพื้นที่ว่างเดิมมีมุมมองที่เชื่อมโยงถึงกันสู่บ่อน้ําและงาน ประติมากรรม ทําให้ น.ศ. ได้เริ่มออกแบบพื้นผิวอาคารส่วนทางลาด นิทรรศการขาขึ้น และวางระนาบเป็นจังหวะซ้ําเพิ่มเติมบริเวณ Background ของประติมากรรมเสมือนการสร้างจอหนังก่อนที่จะเดินผ่านเข้าสู่ส่วนการ เรียนรู้ (ฉากการแสดงใหม่)

ภาพที่ 8-14 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 4, ที่มา : ผู้เชียน


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 136

ภาพที่ 8-16 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 3, ที่มา : ผู้เชียน ภาพที่ 8-15 ISOMETRIC แสดงแนวคิดการจัดองค์ประกอบของระนาบ พื้นที่ว่าง 3, ที่มา : ผู้เชียน

- พื้นที่วา่ งที่ 3 (แนวคิดฉากเจรจาพระ) ในส่วนนี้ได้ออกแบบระนาบผนังโปร่งแสง (โพลีคาร์บอเนต) ในส่วน ผนังที่เชื่อมต่อกับลานภูมิปัญญา และวัสดุมุงหลังคาบางส่วนเพื่อสร้างผลลัพธ์ ภาพเงาบริเวณห้องเรียนเชิดหนังใหญ่ ผู้คนที่อยู่ภายนอกอาคารจะมองเห็น ภาพเงากิจกรรมที่เกิดขึ้นในห้องเรียนเสมือนอยู่หลังฉากของการแสดงหนัง ใหญ่ ในขณะเดียวกันได้มีการปรับตําแหน่งอาคารให้มีความเหลื่อมกัน มีการ เล่นกราฟิกลวดลายตัวเลขไทยบนผนังอาคารเสมือนกําลังเคลื่อนไหวอยู่

ภาพที่ 8-17 ISOMETRIC แสดงแนวคิดการจัดองค์ประกอบของระนาบ พื้นที่ว่าง 2 และ 5, ที่มา : ผู้เชียน


ปีการศึกษา 2557

- พื้นที่วา่ งที่ 2 (แนวคิดฉากเคลื่อนทัพ) ในส่วนนี้ได้ขยายพื้นที่ของทางลาดนิทรรศการขาลงให้กว้างขึ้น เพิ่มพื้นที่ คอร์ดต้นไม้ตรงกลางเพื่อสร้างร่มเงาให้แก่พื้นที่ โดยมีการจัดวางระนาบให้ เกิดจังหวะล้อกับทางลาดเสมือนเป็นนิทรรศการย่อมระหว่างเสร็จสิ้น นิทรรศการ โดยระนาบดังกล่าวจะใช้เป็นแผงระแนงเหล็ก และวัสดุโปร่งแสง Screen ลายตัวละครทหารยักษ์และลิงกําลังเคลื่อนไหว ในขณะเดียวกันผู้คน ที่กําลังสัญจรบนทางเชื่อมและต้นไม้บริเวณนั้นก็ทําหน้าที่ช่วยส่งเสริม บรรยากาศเช่นกัน

ภาพที่ 8-18 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 2, ที่มา : ผู้เชียน

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 137

- พื้นที่วา่ งที่ 5 (แนวคิดฉากเจรจาพระ) เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นคอร์ดโล่งเพื่อเน้นให้เกิดกิจกรรม การ เคลื่อนไหวของผู้ใช้งานจึงมีการเพิ่มทางเชื่อมระหว่างอาคารสํานักงาน ห้องสมุด และอาคารนิทรรศการ 2 เพื่อให้เกิดการกรอบภาพสายตาไปสู่ โถงกลาง ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มโครงสร้าง ประติมากรรมบางส่วนบริเวณ อาคารสู่ลานกิจกรรมชุมชนเพื่อสะท้อนแนวคิดพื้นที่คนดู ซึ่งโครงสร้าง ดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมพิเศษของชุมชนได้ เช่น เป็น โครงสร้างของร้านค้าตลาดชุมชน รวมถึงสามารถจัดกิจกรรมพิเศษอื่นๆ เป็นต้น

ภาพที่ 8-19 ภาพบรรยากาศแสดงแนวคิดพื้นที่ว่าง 5, ที่มา : ผู้เชียน


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 138

8.2.3 รูปแบบอาคาร และพืน้ ที่การใช้งานเฉพาะหนังใหญ่

ภาพที่ 8-20 รูปแบบอาคาร และพื้นที่การใช้งานเฉพาะหนังใหญ่, ที่มา : ผู้เชียน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 139

ปีการศึกษา 2557

8.2.4 การพัฒนารายละเอียดการใช้วัสดุ

ดี จากช่ อ งรอยต่ อ ระหว่ า งการสาน แสงจากรู เ ล็ ก ๆ เหล่ า นี้ ก็ ช่ ว ยสร้ า ง บรรยากาศแบบเรือนพื้นถิ่นได้อีกด้วย - แผ่นโลหะฉลุลาย จะใช้ในส่วนพื้นผิวของอาคาร (Skin) เพื่อสร้าง แสงและเงาให้กับพื้นที่โครงการโดยจะยึดกับโครงสร้างและระแนงเหล็ก - โพลีคาร์บอร์เนต และวัสดุโปร่งแสง Screen ลายเป็นวัสดุที่ใช้ ตกแต่งสําหรับเป็นผนัง และหลังคาบางส่วน - ศิลาแลง เป็นอีกวัสดุหนึ่งที่สะท้อนความเป็นธรรมชาติของพื้นดิน จึงนํามาปรับ ใช้กับ ผนัง โค้งส่วนโรงแสดงส่วนทางเข้ า และลานกลางแจ้ ง บางส่วน - สังกะสีอินเดีย, Metal sheet ใช้มุงหลังคาเพื่อความกลมกลืนกับ สภาพแวดล้อม ความเป็นสนิมแบบสังกะสีเมื่อเกิดสีที่เปลี่ยนแปลงสภาพของ โลหะก็เคลือบน้ํายาไว้เพื่อให้ได้อารมณ์ของความเป็นพื้นถิ่น โดยจะเลือกใช้ ตามความเหมาะสมในแต่ละอาคาร 8.2.5 พัฒนาโครงสร้าง

ภาพที่ 8-21 วัสดุที่ใช้ในโครงการ

- ผนังโครงเคร่าไม้ลายตาราง และผนังไม้ไผ่สาน มักใช้กับส่วนผนังที่ เป็นชั้นสองของอาคารช่วงเรื่อยการระบายอากาศแบบ Passive Cooling ได้

ในส่วนของโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่จะใช้โครงสร้างพื้นเป็น โครงสร้างคอนกรีต ส่วนโครงสร้างเสาคานจะมีทั้งแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก และเหล็ก หากส่วนไหนที่ต้องการให้ความรู้สึกไม่แข็งจนเกินไปก็จะใช้วัสดุไม้ มาประกบตกแต่งเข้ากับโครงสร้าง ส่วนโครงสร้างหลังคาจะเป็นโครงสร้าง


ปีการศึกษา 2557

เหล็กทั้งหมด โดยเฉพาะอาคารบางส่วนที่มีระยะห่างของช่วงเสาที่มากกว่า ปกติ เช่น อาคารเรียนเชิดและพากย์หนังใหญ่ และโรงแสดงซึ่งมีระยะห่าง สูงสุดกว่า 15 เมตร ประกอบกับแนวคิดของอาคารที่ต้องการให้มีความโปร่ง โล่ง น.ศ. จึงปรับโครงสร้างหลังคาส่วนดังกล่าวเป็นโครงสร้างเหล็ก Truss

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 140

ใหญ่จากตัวละครในฉากนั้นๆ หรือแม้กระทัง่ ลายกนกไทยโดยตรงซึ่งได้นํามา จัดองค์ประกอบใหม่ มีการจัดจังหวะ การเจาะช่องเปิด การนําภาพเงามา ซ้อนทับกันเสมือนเคลื่อนไหวได้ รวมถึงการตีความใหม่โดยลดถอน องค์ประกอบบางส่วนจากความเข้มแสง หรือความหนาแน่นของลายเส้นเพื่อ สร้างมิติใหม่ เกิดการรับรู้สัญญะผ่านภาพ ผ่านแสงและเงาได้หลายระดับขึ้น

ภาพที่ 8-22 โครงสร้าง truss พิเศษที่ใช้กับโรงแสดง และอาคารบางส่วน ที่มา : www.aboutcivil.org/steel-structure-types-tension-compression-trusses-shell.html

8.2.6 พัฒนาผิวอาคาร เนื่องจากที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตวัด และชุมชนจึงเลือกใช้วัสดุไม้ (timber cladding), ไม้ไผ่สานเป็นหลักเนื่องจากไม้ให้อารมณ์ที่นุ่มนวล สีสัน ไม่โดดเด่นมากจนเกินไป โดยยึดติดกับโครงเหล็กและใช้ร่วมกับวัสดุกึ่งโปร่ง อื่นๆผสมผสานกันเสมือนการฉลุตัวหนังใหญ่ มีการใช้ลวดลายจากตัวหนัง

ภาพที่ 8-23 แนวคิดการพัฒนาลวดลายผิวอาคาร, ที่มา : ผู้เชียน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 141

ปีการศึกษา 2557

8.2.7 พัฒนาแบบส่วนเวทีการแสดง

ภาพที่ 8-24 ที่มาของการออกแบบส่วนนั่งชมการแสดงหนังใหญ่


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 142

ปีการศึกษา 2557

8.2.8 หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขั้นที่ 2

ภาพที่ 8-26 หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขั้นที่ 2 รูปที่ 2

ภาพที่ 8-25 หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขั้นที่ 2 รูปที่ 1

ภาพที่ 8-27 หุ่นจําลองการพัฒนาแบบขั้นที่ 2 รูปที่ 3


สรุปการออกแบบขัน้ สมบูรณ์


ปีการศึกษา 2557

9.1 สรุปการออกแบบสมบูรณ์ พื้นที่ในโครงการสามารถแบ่งออกเป็น ส่วนหลัก ดังนี้ 1) ส่วนการเรียนรู้ - อาคารเรียนเชิด และพากย์หนังใหญ่ 2 หลัง (รองรับ 60 คน) - อาคารเรียนทําตัวหนังใหญ่ 1 หลัง (รองรับ 30 คน) - ส่วนคลังหนังใหญ่ 2) อาคารนิทรรศการถาวร (นิทรรศ.. หนังใหญ่ 5 ห้องนิทรรศการ) 3) โรงแสดงหนังใหญ่ (โรงประลอง รองรับ 180 คน) 4) ห้องสมุดชุมชน 5) ส่วนสํานักงานโครงการ 6) ส่วนงานรองรับโครงการ (ร้านค้าอาหารของว่าง, พื้นที่รับประทาน, ร้านขายของที่ระลึก) 7) ส่วนลานกิจกรรมชุมชน 8) ส่วนงานระบบ 9) ที่จอดรถ แบบขั้นสมบูรณ์ได้พัฒนาทั้งการวางผังให้เกิดความลื่นไหลของการ ใช้พื้นที่และจังหวะของที่ว่าง ในภาพรวมเป็นกลุ่มอาคารขนาดเล็ก 3 กลุม่

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 143

อาคารวางเชื่อมเข้าหากัน การวางผังอาคารยึดถือการวางแนวแกนอาคาร ตามบริบทของพื้นที่ตั้งโครงการ ( รูปตัว L ) และการบิดแนวอาคารบางส่วน เข้าหามุมมองที่ต้องการ การออกแบบพื้นที่ตั้งแต่ทางเข้าโครงการ เข้าสู่พื้นที่โถงกลางมี ลักษณะการรับรู้เป็นลําดับขึ้น ตั้งแต่ส่วนลานภูมิสถาปัตยกรรมด้านหน้า (สะท้อนพื้นทีน่ ั่งชมหนังใหญ่ที่มีความอิสระ ไร้ระเบียบ) ผู้ใช้งานที่เข้ามาถึง จุดนี้จะสามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของพื้นที่ว่างระหว่างอาคารส่วนโรง แสดงและโถงต้อนรับ (ฉากสูร้ บของลิงขาวลิงดํา) ที่มีลักษณะการจัดวาง ระนาบผนังโค้ง 2 ระนาบให้มีการเผชิญหน้ากัน มีการลดหลั่นของระนาบเพื่อ สื่อถึงความเคลื่อนไหว ก่อนที่จะบีบมุมมองไปสู่ประติมากรรมหนังใหญ่ด้าน ในโครงการเสมือนการเปลี่ยนตัวหนังในฉากสู้รบ เข้าไปจนถึงโถงกลางที่โอบ ล้อมด้วยพื้นที่ว่างต่างๆซึ่งเป็นพื้นที่ซ้อนทับกันระหว่างพื้นที่หน้าฉาก และ หลังฉากสมมุติ ทําให้ผู้ใช้รับรูถ้ ึงการเคลื่อนที่บางอย่างของคนภายนอก และ ภายในพื้นที่โถงกลาง รวมถึงแสงเงาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ ลอดผ่านผนังไม้ระแนง หรือช่องผนังศิลาแลงก่อให้เกิดการรับรู้สัญญะหนัง ใหญ่ ให้ความรู้สึกต้อนรับก่อนทีจะเข้าสู่ตัวอาคารหลัก


ปีการศึกษา 2557

ห้องนิทรรศการถาวรทั้งหมดถูกจัดให้อยู่ในอาคารนิทรรศการ 2 ชั้น ซึ่งแยกออกเป็น 2 อาคารย่อย (ฝั่งติดบ้านพักอาศัยและชุมชน) เนื่องจากมี ถนนส่วนตัวเทียบด้านหลังโครงการ มีพื้นทีจ่ อดรถส่วนงานบริการ และ อาคารงานระบบอยู่ใกล้เคียงทําให้ง่ายต่อการเชื่อมโยง และการบํารุงรักษา ส่วนโรงแสดงหนังใหญ่ (โรงประลอง) ที่รองรับการฝึกซ้อม การ สาธิตการแสดงต่างๆ โดยส่วนมากจะจัดขึ้นในช่วงเวลากลางวันมีการ ออกแบบให้เป็นลักษณะพื้นทีก่ ึ่งในกึ่งนอก ไม่มีผนังปิดทึบเพื่อให้รับลมเย็น และแสงธรรมชาติจากภายนอก ส่วนของอาคารการเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่ ห้องเรียนเชิดและพากย์หนัง ใหญ่ พื้นที่เรียนทําตัวหนังใหญ่ ห้องเรียนทฤษฏี ห้องดนตรีไทยรวมไปถึง พื้นที่คลังหนังใหญ่ซึ่งอยู่บนชั้น 2 จะมีการเชื่อมต่อกันของมุมมองทั้งภายใน และภายนอกอาคาร โดยวางตัวโอบล้อมพื้นที่ลานภูมิปัญญาตรงกลาง มี ทางเดินเชื่อมที่เล่นจังหวะของโครงสร้างเสา และหลังคาโดยการเปิดพื้นที่ บางส่วนเพื่อรับแสงก่อให้เกิดภาพของเงาที่ตกกระทบเคลื่อนไหวไปมาบนพื้น ลาน ส่วนงานรองรับโครงการ ได้แก่ ร้านค้า ร้านของว่าง พื้นที่ รับประทาน สํานักงานโครงการ และห้องสมุดจะถูกจัดวางให้เป็นแนวยาว 2

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 144

ฝั่งขนานกันกับขอบเขตที่ตั้ง มีพื้นที่ของทางลาดนิทรรศการที่ขยายให้เกิด คอร์ดย่อย รวมไปถึงลานประชุมที่เชื่อมต่อพื้นที่ว่างระหว่างอาคารดังกล่าว เพื่อให้ผู้คนที่สว่ นใหญ่จะอยู่ในบริเวณโถงต้อนรับจะสามารถ มองเห็น และดึงดูดผู้คนให้เข้าไปใช้งานได้เป็นการวางพื้นที่การใช้งานเพื่อให้ ผู้ใช้ต้องสัญจรผ่าน (สะท้อนการเน้นพื้นที่ส่วนกลางตามแนวคิดฉากเจรจาพล ทหาร) จุดเด่นของการออกแบบคือการจัดวางระนาบให้เกิดจังหวะของ ที่ว่างที่มีความลื่นไหล และการเลือกใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ได้แก่ พื้นผิวอาคาร แผงระแนงไม้และเหล็ก แผ่นโลหะฉลุลายต่างๆ เข้ามาทําให้ เกิดแสงและเงาในพื้นที่ว่าง เกิดการสื่อสารสะท้อนสัญญะความเป็นชุมชน หนังใหญ่สผู่ ู้ใช้งานตามแนวคิดการออกแบบด้วย


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 145

ปีการศึกษา 2557

9.2 ผังอาคาร

B

C

A

ภาพที่ 9-1 ผังโครงการชั้นที่ 1


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 146

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 9-2 ลําดับพื้นที่ใช้สอย (ประกอบผัง)


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 147

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 9-3 แปลนขยายส่วนการเรียนรู้ (A) ชั้นที่ 1 ภาพที่ 9-4 แปลนขยายส่วนโรงแสดง นิทรรศการ งานรองรับโครงการและชุมชน (B) ชั้นที่ 1


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 148

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 9-5 แปลนขยายส่วนคลังหนังใหญ่ และส่วนนิทรรศการ (C) ชั้นที่ 2


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 149

9.3 รูปตัด

ภาพที่ 9-6 คีย์แปลนรูปตัด 01 และ 02

ภาพที่ 9-7 รูปตัด 01 ( นําเสนอการไหลลื่นของพื้นที่ว่างภายในโรงแสดง – ลานต้อนรับ – โถงกลาง – ลานประชุม – ลานกิจกรรมชุมชน )

ภาพที่ 9-8 รูปตัด 02 ( นําเสนอการเชื่อมต่อของห้องเรียนเชิดและพากย์หนังใหญ่ – อาคารเรียนทําตัวหนังใหญ่ )


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 150

ภาพที่ 9-9 คีย์แปลนรูปตัด 03 และ 04

ภาพที่ 9-10 รูปตัด 03 ( นําเสนอการเชื่อมต่อของห้องเรียนเชิดและพากย์หนังใหญ่ – ลานภูมิปัญญา – โรงแสดงหนังใหญ่ – ลานทางเข้า )

ภาพที่ 9-11 รูปตัด 04 ( นําเสนอการเชื่อมต่อของห้องเรียนทําตัวหนังใหญ่ – ลานกองไฟ – บ่อน้ําประติมากรรม – ลานต้อนรับ – ลานทางเข้า )


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 151

ภาพที่ 9-12 คีย์แปลนรูปตัด 05

ภาพที่ 9-13 รูปตัด 05 ( นําเสนอการเชื่อมต่อของสํานักงานโครงการ – ลานประชุม – อาคารนิทรรศการ 2 )


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 152

ปีการศึกษา 2557

9.4 รูปด้าน

ภาพที่ 9-14 รูปด้านทิศเหนือ

ภาพที่ 9-15 รูปด้านทิศตะวันตก


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 153

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 9-16 รูปด้านทิศใต้

ภาพที่ 9-17 รูปด้านทิศตะวันออก


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 154

ปีการศึกษา 2557

9.5 รูปทัศนียภาพ

ภาพที่ 9-18 รูปทัศนียภาพภายนอกอาคาร มุมมองทางเข้าหลักโครงการ

ภาพที่ 9-19 รูปทัศนียภาพภายนอกอาคาร มุมมองทางเข้าจากพื้นที่ชุมชน


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 155

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 9-20 รูปทัศนียภาพในโรงแสดง (โรงประลอง)

ภาพที่ 9-21 รูปทัศนียภาพในห้องเรียนเชิดและพากย์หนังใหญ่

ภาพที่ 9-22 รูปทัศนียภาพภายในอาคารส่วนโถงกลาง

ภาพที่ 9-23 รูปทัศนียภาพภายในห้องเรียนทฤษฎี


ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 9-24 รูปทัศนียภาพผลลัพธ์แสงเงาบริเวณทางลาดนิทรรศการขาขึ้น

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 156

ภาพที่ 9-25 รูปทัศนียภาพภายในอาคารนิทรรศการ และทางเชื่อมอาคาร


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 157

ปีการศึกษา 2557

9.6 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย

ภาพที่ 9-26 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย1 (บริเวณทางเข้าโครงการอาคาร)

ภาพที่ 9-27 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย2 (บริเวณทางเข้าส่วนการเรียนรู้)

ภาพที่ 9-28 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย3 (บริเวณทางเข้าส่วนพื้นที่ชุมชน)

ภาพที่ 9-29 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย4 (ลานภูมิปัญญา และพื้นที่ห้องเรียน)


ปีการศึกษา 2557

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 158

ภาพที่ 9-30 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย5 (มุมมองจากลานกองไฟเข้าสู่อาคารนิทรรศการ)

ภาพที่ 9-32 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย7 (บริเวณทางลาดขาลงนิทรรศการ)

ภาพที่ 9-31 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย6 (พื้นที่เวทีการแสดง และพื้นที่รับชมภายในอาคารโรงแสดง)

ภาพที่ 9-33 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย8 (แบบขยายพื้นที่ว่างส่วนลานต้อนรับ)


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 159

ปีการศึกษา 2557

ภาพที่ 9-34 หุ่นจําลองขั้นสุดท้าย9 (หุ่นจําลอง 1:200, หุ่นจําลองขยายพื้นที่ว่าง 1:100, หุ่นจําลองแนวคิด)


บทพิสูจน์สมมติฐาน สรุป และข้อเสนอแนะ


ปีการศึกษา 2557

10.1 บทพิสูจน์ จากสมมติฐานที่ว่า ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี มุ่งเน้นการออกแบบสถาปัตยกรรม และพืน้ ที่ว่างที่สื่อสารสัญญะชุมชนหนัง ใหญ่ โดยศึกษาวิธีการออกแบบให้เกิดการสื่อสารสัญญะ และความหมาย 2 วิธี ได้แก่ 1. การขึ้นอาคารจากปรากฏการณ์แสงและเงา โดยมองผลของเงาที่ ได้เป็นหลัก 2. การแปลงองค์ประกอบ และความประทับใจในหนังใหญ่สู่การจัด องค์ประกอบของระนาบให้เกิดพื้นที่ว่างเพื่อสื่อความหมาย โดยวิเคราะห์ข้อดีของแต่ละวิธีการ พบว่าวิธีการที่ 1 นั้นมี จุดบกพร่อง และยังไม่สามารถตอบโจทย์ในการออกแบบได้ชัดเจน จึงได้ เสนอการออกแบบแนวทางที่ 2 ที่เน้นในเรือ่ งของมุมมอง และการรับรู้ สัญญะความเป็นชุมชนหนังใหญ่เป็นหลัก โดยตีความจากการคลี่ องค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ่ออกเป็นพื้นที่ส่วนต่างๆ ได้แก่ พื้นทีห่ น้า ฉาก หลังฉาก และคนดูต่างๆ สําหรับการวิเคราะห์สาระอื่นๆ ( บรรยากาศ เทคนิคการแสดง และประสบการณ์ร่วม )

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 160

แล้วนํามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบอาคาร ทั้งรูปทรงของพื้นที่ว่าง ภายนอกภายใน การเชื่อมต่อพื้นที่ให้เกิดการรับรู้อย่างต่อเนื่อง และลวดลาย พื้นผิวอาคาร โดยเน้นการออกแบบในตําแหน่งที่ผู้ใช้โครงการสามารถ มองเห็นในระดับสายตาเป็นหลัก

10.2 สรุปโครงการวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ. สิงห์บุรี เป็นโครงการที่มุ่งเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดง หนังใหญ่อย่างเป็นองค์รวม จะทําให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าของ ศิลปะการแสดงหนังใหญ่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์มากขึ้น และสร้างแรง บันดาลใจในการต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหนังใหญ่ให้กบั คนรุ่นใหม่และผู้ที่ สนใจ การมีพื้นที่เวทีการแสดงหนังใหญ่โดยเฉพาะทําให้คณะหนังใหญ่มี พื้นที่ในการแสดงได้บ่อยครั้งยิ่งขึ้น และเป็นพื้นที่รองรับสําหรับการเรียนรู้ ของเยาวชน และคณะหนังใหญ่ต่อไปในอนาคต


ปีการศึกษา 2557

การออกแบบสถาปัตยกรรม เป็นการออกแบบที่เน้นการตีความจาก องค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ่ (บรรยากาศ, เทคนิคการแสดง , ประสบการณ์ร่วมของผู้ชม) ทําให้เกิดการออกแบบ และจัดวางองค์ประกอบ ของระนาบให้เกิดพื้นที่ว่างที่สื่อสัญญะ บรรยากาศ ตัวละคร ฉากการแสดง หนังใหญ่ต่างๆ สอดแทรกเข้าไปในพื้นที่เชื่อมต่อ “ ชาน ลาน โถง ” ของ โครงการจะเป็นการดึงดูดความสนใจจากคนรุ่นใหม่ได้

10.3 ข้อเสนอแนะ ในการทําวิทยานิพนธ์นี้มีการตั้งโจทย์ในการออกแบบไว้ 3 ข้อ ได้แก่ 1. การสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อสื่อสัญญะชุมชนหนังใหญ่ 2. การออกแบบพื้นที่ว่างเพื่อการใช้งานเฉพาะเกี่ยวกับหนังใหญ่ 3. การออกแบบที่สอดคล้องกับบริบทวัด และชุมชนโดยรอบ สําหรับโจทย์ในการออกแบบข้อ 1 น.ศ. มีกระบวนการคิดในการ แปลงสัญญะจากเทคนิค และฉากการแสดงในหนังใหญ่ตา่ งๆสู่พื้นที่ว่างทาง สถาปัตยกรรมที่เข้าใจได้ แต่พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภายนอกอาคาร มีเพียงพื้นที่โถงกลางโครงการซึ่งเป็นพื้นที่ภายในอาคารส่วนน้อย ทําให้ แนวคิด ความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายใน ภายนอกไม่ได้ถูกคิดร่วมกัน พื้นที่ว่าง

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 161

ยังผสมกันไม่กลมกล่อม ดังนั้นการออกแบบอาคารจึงควรทําไปพร้อมๆกันทั้ง ภายใน และภายนอก ตั้งแต่การวางผังจนถึงการขึ้นรูปทรงถ้าแก้ไขในส่วนนี้ ได้จะเป็นโครงการที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สําหรับโจทย์ในการออกแบบข้อ 2 และ 3 นั้นผลงานสามารถตอบ วัตถุประสงค์ได้ชัดเจน แต่อาจจะมีการปรับลดการให้น้ําหนักในการออกแบบ ข้อที่ 3 (การออกแบบที่สอดคล้องกับบริบทวัด และชุมชนโดยรอบ) ลง เพื่อให้ผลงานตอบโจทย์ข้อที่ 1 (สะท้อนสัญญะความเป็นชุมชนหนังใหญ่) ได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น กระบวนการออกแบบมุ่งเน้นไปที่การแปลงองค์ประกอบ ความ ประทับใจ หรือประสบการณ์ร่วมในหนังใหญ่ซึ่งเป็นนามธรรมไปยังการ ออกแบบพื้นที่ว่างที่สื่อสัญญะดังกล่าว น.ศ. เลือกใช้การสือ่ สารสัญญะทาง สถาปัตยกรรมตั้งแต่ การนํารูปทรงของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือการสร้าง ประติมากรรมจากตัวหนังใหญ่โดยตรง (นําสัญญะเดิมมาสื่อสารอย่าง ตรงไปตรงมา) ไปจนถึงการนําความหนาแน่น ความเข้มของแสงเงาจาก ลวดลายหนังมาสร้างช่องเปิด (Void) สร้างลวดลายใหม่ (Pattern) ให้ผนัง และพื้นผิวอาคาร รวมถึงการแปลงเทคนิค เส้นทางการเชิดหนังในแต่ละฉาก ไปสู่เส้นทางการเดินของผู้เข้าชม การจัดวางระนาบให้เกิดขอบเขตพื้นที่


ปีการศึกษา 2557

บางอย่างเพื่อสื่อความหมายถึงฉากการแสดงนั้นๆ (การแปลงสัญญะที่มีความ ซับซ้อนมากขึน้ ) เครื่องมือในการออกแบบดังกล่าว ทําให้เกิดองค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลายมากเกินไป น.ศ. อาจจะต้องปรับลดน้ําหนัก ในการแปลงสัญญะให้น้อยลง เลือกใช้วิธีที่สื่อสารได้ง่าย ตรงไปตรงมา ให้ มากขึ้น ในส่วนการออกแบบโครงการ เนื่องจากพื้นที่ตั้งโครงการมีข้อจํากัดที่ มาก ทําให้แนวทางในการวาง หรือซ้อนชั้นอาคารมีไม่มากนัก สําหรับการ ออกแบบรายละเอียดของระนาบ และพื้นผิวอาคารภายนอก (Façade design) บางครั้งผลลัพธ์ของแสงเงาที่ น.ศ. ต้องการให้เกิดอาจจะไม่ชัดเจน เท่าที่ควร ในแง่ความเป็นจริง ควรศึกษาหาวิธีแก้ปัญหาเพิ่มเติม รวมถึงในช่วงการออกแบบขั้นต้น (Conceptual Design + Process A) ได้มีการทดลองผลลัพธ์ของเงา จากการจัดองค์ประกอบของ ระนาบร่วมกับแสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ในโปรแกรม Sketch Up ไว้ มากมาย รวมถึงกระบวนการทดลองออกแบบในหัวข้อวิจัย การขึ้นพื้นทีว่ ่าง ทางสถาปัตยกรรมจากกราฟิก (Space from graphic) แต่ในขั้นตอนของ การพัฒนาแบบสถาปัตยกรรม ไม่สามารถนําเข้ามาใช้ได้ จึงควรให้เวลาใน ขั้นตอนการพัฒนาแบบในกระบวนการออกแบบ (PROCESS B) ให้มากขึ้น

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี 162

หรือเพิ่มกระบวนการศึกษาในการแปลงแนวคิด (concept design) สู่การ ออกแบบรายละเอียด (Detail design) ให้ละเอียดขึ้นซึ่งต้องใช้เวลาในการ พัฒนามากกว่านี้จึงจะทําให้เห็นผลลัพธ์โครงการที่ชัดเจน


บรรณานุกรม


ปีการศึกษา 2557

บรรณานุกรม ปิยชาติ สึงตี (2557). “การดํารงอยู่ของหนังใหญ่วัดขนอนและการก้าว ย่างสู่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดขนอน”. บทความ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ปราณี กล่ําส้ม (2557). “หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์”. บทความ วารสารเมือง โบราณ โรงเรียนอนุบาลเทศบาล 3 สังกัดเทศบาลเมืองสิงห์บุรี “หลักสูตรท้องถิ่น หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี”

ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

164

ผะอบ โปษะกฤษณะ (2520)“วรรณกรรมประกอบการเล่นหนังใหญ่ วัด ขนอน จังหวัดราชบุรี” อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ (2543) “การเชิดหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัด สิงห์บุรี” เปรมรัศมี ธรรมรัตน์ (2552).“การวิเคราะห์และคุณค่าการดํารงอยู่ของหนัง ใหญ่ วัดขนอน ราชบุรี”. งานวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปกรณ์ คงสวัสดิ์ “รอยเงาเชิดไหว.. ก่อนมีหนังใหญ่กรุงสยาม”.บทความ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

ผลการสํารวจสัดส่วนพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดสิงห์บุรี ปี 2555 (มกราคม ถึง ธันวาคม) กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและ กีฬา

ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์ (2548). “การพัฒนากระบวนการเรียนรู้สืบทอดหนัง ใหญ่”. งานวิจัย กระทรวงวัฒนธรรม

สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี http://www.singburi-cul.org/data/page050.htm

รัตนพล ชื่นค้า. “การพากย์ เจรจา หนังใหญ่ มรดกภูมิปญ ั ญาทางวัฒนธรรม ที่กําลังเลือนหาย ”.งานวิจัย


ประวัติผู้เขียน


ศูนย์ น ส่งเสริมศิลปะการแสดดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

ปีการศึกษา 25557

166

- สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจาก ษ โรงเรียนอัสสัมชัญ สมุทรปรากาาร

ประวัติผู้เขียน

ปีการศึกษา 2552

ประสบการณ์ - ปี พ.ศ.2556 ฝึกงานโครงการ SCG S Excellent Internship Prrogram - ปี พ.ศ.2557 ฝึกงานสหกิจบริษัษทั Department Of O Architecture และฝึกงานภาคฤดูดูร้อนบริษัท IDIN ชื่อ

น นายกฤษดา ซิม้ เจริ​ิญ

วัน เดือน ปี เกิด

14 กุมภาพันธ์ 25335

ภูมิลําเนา

อํอาเภอพระโขนง จังงหวัด กรุงเทพมหาานครฯ

ประวัติการรศึกษา

- สําเร็จการศึกษาชัชั้นประถมศึกษาจากก โรงเรียนอัสสัมชัญ สมุทรปราการ ปีการศึกษา 25466

ARCHITECTS - ปี พ.ศ. 25566 ค่ายฝึกงานก่อสร้าง า ณ สันป่าเกี๊ยะ อําเภอเชียงดาวว จังหวัดเชียงใหม่ - ปี พ.ศ.25555 และ 2557 เป็นตั น วแทน น.ศ. สถาปัตย์ ไทยเข้าร่วมโครรงการ ARCASIA STUDENT JAMBOREE ทีประเทศอิ ่ นโดนีเซีย และมาเลเซีย


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะการแสดงหนังใหญ่ จ.สิงห์บุรี

ปีการศึกษา 2557

ผลงานที่ได้รับรางวัล

- ปี พ.ศ.2553 - 2556 ผู้เข้าชิงรางวัล ผลงานการออกแบบดีเด่นประจําสตูดิโอ1, 3, 4 (DESO) - ปี พ.ศ.2555 ได้รับรางวัลผลงานการ ออกแบบดีเด่นประจําสตูดิโอ 3 (DESO) - ปี พ.ศ.2555 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 และรางวัลขวัญใจสื่อมวลชน workshop การออกแบบเชิงปฏิบัติการ กระดาษลังสะท้านฟ้า ในงานสถาปนิก ล้านนา - ปี พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 และได้รับเลือกเป็นตัวแทน น.ศ. เข้าแข่งขันในรายการโทรทัศน์ “Nescafe จิบฝันบันดาลใจ ตอน สถาปนิก ” ช่อง GTH ON AIR

- ปี พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัลชมเชย จาก การประกวดออกแบบโรงเรียนอนุบาล โครงการ Built It First Competition โดย นิตยสาร B-1 Magazine - ปี พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 การประกวดออกแบบบ้านสวย ด้วยตราช้าง - ปี พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลชมเชย การ ประกวดออกแบบโรงรถ จากนิตยสาร Garage life design competition - ปี พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดีเด่น ประจําปี พ.ศ. 2557

167


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.