จุลสารชีวเคมี

Page 1

จุลสารภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

NEWS

Biochemistry ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน - กันยายน 2558)

•ประสบการณ์วิจัยในต่างแดน •ถั่วลิสงงอกลดใขมัน •รู้จักโรคติดมือถือ หรือ Nomophobia กันหรือไม่ ? •กรดไขมันสายสั้น (Short chain fatty acid; SCFAs) •แอพพลิเคชั่น “ Protocol Pedia” •โปรแกรม DriverPack Solution •กิจกรรมที่น่าสนใจของนิสิต รหัส 57


Biochemistry ชีวเคมี: ล้ำเลิศวิชาการ | เชี่ยวชาญงานวิจัย | เพื่อไทยพัฒนา | ก้าวหน้าสู่สากล กองบรรณาธิการ รศ.ดร.ดาวัลย์ ฉิมภู่
 ดร.เนตรนภิส วรรณิสสร
 ผศ.น.สพ.ดร.พันธุ์ชนะ สงวนเสริมศรี
 ผศ.ดร.ชนนิษฏ์ ชูพยัตฆ์
 ผศ.ดร.ธารทิพย์ บุญส่ง
 ผศ.ดร.รุ่งแสง นาครำไพ
 ผศ.เอกรินทร์ ชุลีกร
 ร้อยโทหญิงดร.สายศิริ มีระเสน
 ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์
 ดร.สุชาดา พิมเสน
 ดร.ดามรัศมน สุรางกูร
 ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล
 ดร.กัญจน์ณัฎฐ์ เทอญชูชีพ
 ดร.จงรักษ์ อรรถรัฐ
 ดร.เมธวี ศรีคำมูล
 ดร.วราภรณ์ เกษกาญจน์
 ดร.ปนัดดา จันทร์เนย
 ดร.วรศักดิ์ แก้วก่อง
 ดร.อำนาจ เพชรรุ่งนภา
 ดร.พฤฒินันท์ สุฤทธิ์
 ดร.กฤษณ์ ตันตนะรัตน์
 ดร.กมล ไม้กร่าง
 อ.วนิดา ถุงคำ
 ดร.ชยพล ศรีพันนาม
 ดร.หทัยทิพย์ ชาชิโย
 นายภคพล สวนม่วง 
 นางสาวเทอดขวัญ จันทร์นาค
 นางสาวรัตนา อินต๊ะจันทร์
 นางกัญญ์ชลา สีหาโคตร

สวัสดีผู้อ่านจุลสารชีวเคมีทุกท่าน ที่ผ่านมาทางชีวเคมีได้เปิดเทอม ใหม่และบ้านใหม่ ให้กับนิสิตชีวเคมี โดยเฉพาะชาวชีวเคมีต้อนรับได้ ต้อนรับนิสิตปี 1 หลักสูตรปริญญาตรีชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล เข้าสู่บ้านชีวเคมีมาเป็นรุ่นที่ 2 มีกิจกรรมปฐมนิเทศเพื่อทำความคุ้น เคยกับบ้านหลังนี้ ส่วนบัณฑิตก็มีการรับน้องบัณฑิตกันอย่างอย่าง สนุกสนานเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการทำวิจัยและการ เรียน ย้อนถึงความหลังเมื่อมาเรียนชีวเคมีในเทอมแรกจะเจอเรื่อง สารชีวโมเลกุลที่เป็นพื้นฐานของชีวเคมี ผู้อ่านยังจำได้ไหมว่าหมู่กวา นิดีนอยู่ในกรดอะมิโนที่มีชื่อว่าอะไร ทดสอบด้วยวิธีอะไร แอบใบ้ให้ ที่หน้าปกฉบับนี้ (^^) ในฉบับนี้ได้รวมภาพกิจกรรมต่างทั้งในระดับ ป.ตรี และ ป.โท โดยมีกิจกรรมอาสามากมาย เรื่องราวที่จุดประกายงานวิจัยในต่าง แดนไกลถึงญี่ปุ่นที่ไปพัฒนาการปลูกข้าว ถั่วลิสงงอกลดใขมัน รู้จัก ถึงโรคติดมือถือ ทำความรู้จักกับกรดใขมันสายสั้น ทางกองบรรณธิการได้ปรับปรุงการเผยแพร่ในรูปแบบไฟล์อิ เล็กทรอนิค ขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนจุลสารชีวเคมีอย่างต่อ เนื่อง ความติดเห็นของท่านมีผลในการพัฒนาการจัดทำจุลสาร ชีวเคมี และเพื่อขอคำแนะนำหรือหัวข้อที่ท่านอยากอ่าน เราจึงจัด ทำแบบสำรวจออนไลน์ท้ายเล่ม เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อ ไป

ดร. กฤษณ์ ตันตนะรัตน์ 1


กิจกรรมของสมาชิกในภาคชีวเคมี ๓-๕ เม.ย ๕๘ โครงการคุณธรรมและจิตอาสาชีวเคมี ณ วัดป่าน้ำโจน ต.พันชาลี อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

๗ เม.ย ๕๘ พิธีมอบรุ่นไข่บิน รุ่นที่ ๑๗

2


กิจกรรมของสมาชิกในภาคชีวเคมี

๒๐ เม.ย ๕๘ งานรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เนื่องในประเพณีสงกรานต์

๑ พ.ค ๕๘ โรงเรียนรัชดาวิชาการ พิษณุโลก ทัศนศึกษาดูงาน ณ ภาควิชาชีวเคมี


กิจกรรมของสมาชิกในภาคชีวเคมี ๑๑ พ.ค. ๕๘ ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ และ ดร.เมธวี ศรีคำมูล เป็นวิทยากรบรรยาย และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "จริยธรรมในมนุษย์"

๙ มิ.ย ๕๘ กิจกรรมปฐมนิเทศอาจารย์ ใหม่ของภาควิชาชีวเคมี


กิจกรรมของสมาชิกในภาคชีวเคมี ๑๖ มิ.ย ๕๘ คณาจารย์ทำความเข้าใจ IQA

สอบสัมภาษณ์รอบ Admissions ๒๕๕๘

๒๕ มิ.ย ๕๘ ดร.วารุณี ด่านสีทอง บรรยาย หัวข้อ "ทำอย่างไรให้ข้อมูลวิจัยสู่การตีพิมพ์"


กิจกรรมของสมาชิกในภาคชีวเคมี ๒๘ ก.ค ๕๘ งานเลี้ยงแสดงมุฑิตาจิตเนื่องใน วันเกษียณอายุราชการ "รศ.ดร.ดาวัลย์ ฉิมภู่"

๓ ส.ค ๕๘ การรายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ของภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์


กิจกรรมของสมาชิกในภาคชีวเคมี ๕ ส.ค. ๕๘ ปฐมนิสิตใหม่ หลักสูตรปริญญาตรีชีวเคมีและ ชีววิทยาโมเลกุล คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.นเรศวร

๑๕ ส.ค. ๕๘ ปฐมนิเทศและรับน้องนิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิชา ชีวเคมี ณ สวนป่าเขากระยาง อำเภอวังทอง จ.พิษณุโลก


กิจกรรมของสมาชิกในภาคชีวเคมี ๑๘-๑๙ ส.ค. ๕๘ งานวันสัปดาห์วิทยาศาตร์


งานวิจัยชีวเคมี ประสบการณ์วิจัยในต่างแดน

ดร.ปนัดดา จันทร์เนย

การไปทำวิจัยในครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนา ศั ก ยภาพด้ า นการวิ จั ย ภายใต้ โ ครงการวิ เ ทศสั ม พั น ธ์ เ พื่อ มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย (IRU) มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นระยะ เวลา 2 เดือน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน -31 พฤษภาคม 2558 งานวิจัยที่นำไปศึกษาคือ “การศึกษาการแสดงออกของยีนใน ข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลาย โดยใช้เทคนิค real time PCR” ที่มหาวิทยาลัย คากาวา ประเทศญี่ปุ่น

.(http://www.rkmp.co.in/sites/default/files/eis_states/Symptom%2 0of%20attack%20of%20%20Whitebacked%20planthopper.JPG )

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown Planthopper, Nilaparvata lugens) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่พบว่าระบาด ในพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง จะดูดน้ำเลี้ยงบริเวณลำต้นของข้าว จากนั้นข้าวจะมีอาการเหี่ยว (hopperburn) (กรมการข้าว, 2553) ผู้เขียนได้มีโอกาสคุ ยกับชาวนาที่ได้ผลกระทบกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยตรงจากการ สัมภาษณ์ พบว่า ชาวนาใช้ลงเงินทุนจนกระทั่งถึงฤดูการเก็บเกี่ยว จากนั้นเพลี้ยกระโดดจะทำลายเพียง 2-3 วัน จึงขาดทุนและไม่มีเงินลงทุนในฤดูกาลต่อไป การใช้ยาฆ่าแมลงกลับทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดื้อยาและมีประชากรของแมลงเพิ่มขึ้น จึงนำโจทย์วิจัยนี้มา ขอรับทุนสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี 2554-2556 ซึ่งหลัง จากได้รับทุน ได้ใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ แล้วทำให้ทราบว่า โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านทานเพลี้ยกระโดดในข้าว คือ โปรตีนที่ทำหน้าที่สร้างผนังเซลล์จำพวกลิกนินและ Pathogenesis protein (PR protein) โดยเทคนิค TOFmass spectrometry ที่ มหาวิทยาลัยคากาว่า ประเทศญี่ปุ่น 9


งานวิจัยชีวเคมี ในการระบุชนิดโปรตีนในครั้งนี้ ซึ่งช่วยให้งานวิจัยเสร็จอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่มหาวิทยาลัยนี้มีจำนวน เครื่องที่เพียงพอสามารถวิเคราะห์โปรตีนได้ถึง 70 sample ต่อวัน ขณะที่ในประเทศไทยจะมีให้ใช้งานที่ สวทช 1 เครื่อง ตัวอย่างละ 4,000 บาท รอคิว 6-8 เดือนในขณะนั้น ดังนั้นมี 70 sample ทำการ ทดลอง 3 ซ้ำ มีทั้งหมด 210 sample น่าจะใช้เงินถึงประมาณ 900,000 บาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้ าทายมาก สำหรับคนที่เรียนจบใหม่และมีทุนวิจัยเพียงเล็กน้อย ผู้เขียนจึงกำลังจะบอกว่า การมีเครือข่ายการวิจัยกับ ต่างประเทศนั้น หรือหน่วยงานที่มีเครื่องมือเพียงพอเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ผู้เขียนจึงมีแรงบันดาลใจที่ จะทำงานต่อ โดยจะใช้เทคนิค Real time PCR เพื่อยืนยันโปรตีนที่พบโดยเทคนิคโปรตีโอมิกส์ที่เคยทำมา แล้วนั้น โดยได้รับทุนจาก วช ปีงบประมาณ 2558 และโครงการ IRU กลับไปที่มหาวิทยาลัยคากาวา อี ก ครั้ง เนื่องจากประทับใจในความรวดเร็วของเครื่องมือ ความซื่อสัตย์ของการเป็นนักวิจัย ความเป็นอยู่ของ คนญี่ปุ่นที่ดูเรียบง่าย เป็นระเบียบ เค้กและขนมอร่อยและมีความประณีตในการบรรจุ และที่สำคัญคือ ความเอาใจใส่จากอาจารย์ที่ปรึกษา ที่จะคุยผลแลปให้เสร็จในวันนั้นๆ ทำให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำมา ใช้กับลูกศิษย์ในไทยได้ แต่มีข้อเสียคือเป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ซากุระบานให้ได้ชมแค่ประมาณ 10 วัน เนื่องจากฝนตกบ่อย และคนพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้เลย เมืองคากาว่าอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดโอซากา ไปอีก 3 ชั่วโมงโดยรถบัส เป็นเมืองชนบท และเป็นต้นกำเนิดของ SANUKI UDON ที่ถ้าใครชอบทานอู้ด้ง ต้องมาเมืองนี้ โดยคำว่า SANUKI คือ ชื่อเก่าของเมืองนี้ การไปครั ้งล่ าสุดนี้สามารถวิเคราะห์ยีนที่ แสดงออกเพิ่มขึ้นถึง 80 ยีน ในข้าวที่ถูกทำลายด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จากที่ตั้งใจไปวิเคราะห์แค่ 2 ยีน เนื่องจากวัฒนธรรมในแลปคือ มาเช้า กับทีหลังอาจารย์ ทำให้มีเวลาทำงานได้เยอะและไม่ต้องต่อคิว เครื่องมือ จากนั้นโครงการวิจัยในเฟสต่อไปจะทำการ knock out ยีนที่ค้นพบโดยใช้เทคนิค RNAi จากนั้น จะนำข้าวมาทดสอบความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอีกครั้ง ซึ่งผู้เขียนคาดว่าข้าวที่ถูก knock out ยีนต้านทาน จะถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลาย ภายใต้การสนับสนุนจาก ทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ สกว. ประจำ ปี 2558-2560 เอกสารอ้างอิง 1. Panatda Jannoey*, Weerathep Pongprasert, Saisamon Lumyong, Sittiruk Roytrakul, Mika Nomura. (2015). Comparative proteomic analysis of two rice cultivars (Oryza sativa L.) contrasting in Brown Planthopper (BPH) stress resistance. Plant Omic Journal. 8(2):96-105. 2. กรมการข้ า ว. สำนัก วิ จั ยและพัฒ นากรมการข้ า ว. (2553). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.


สุขภาพ ถั่วลิสงงอกลดใขมัน......

ผศ.ดร.ธารทิพย์ บุญส่ง

ถั ่วลิสง (Peanut, Groundnut, Earthnut, Goober, Pindar, Monkey-nut) มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Arachis hypogaea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae หรือ Leguminosae) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว Faboideae (Papilionoideae หรือ Papilionaceae) คุณค่าทางโภชนาการ: เมล็ดถั่วลิสง 100 กรัม ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ มากมาย อาทิ คาร์โบไฮเดรต ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โปรตีน วิตามินบี1 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และให้พลังงาน 570 กิโลแคลอรี่ สรรพคุณต่อร่างกาย: ป้องกันโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง บำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ รักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ และช่วยในการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ

สารสำคัญที่พบมากในเมล็ดถั่วลิสง คือ สาร resveratrol และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) และใน เมล็ดถั่วลิสงงอก (peanut sprout) พบสารต่างๆ ในปริมาณที่สูงขึ้นอย่างมากทั้งสาร resveratrol สารกลุ่ม isoflavones และสารกลุ่ม polyphenols รวมทั้งกรดไขมันจำเป็นและกรดอะมิโนจำเป็น

11


สุขภาพ ถั่วลิสงงอกลดใขมัน...... ฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญของถั่วลิสงที่เป็นที่ทราบกันดี คือ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตามได้มีความ สนใจศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นๆ โดยเฉพาะฤทธิ์ในการลดภาวะโรคอ้วน (Obesity) เนื่องจากโรคอ้วนเป็น โรคเรื้อรังซึ่งการรักษาโดยการใช้ยาอาจมีผลข้างเคียง ดังนั้นนักวิจัยจึงสนใจศึกษาสารสกัดจากพืชชนิด ต่างๆ เพื่อใช้ทดแทนในการป้องกันและ/หรือรักษาโรคอ้วน โดยเฉพาะมีความสนใจการศึกษาในเมล็ดพืช ที่กำลังงอกเนื่องจากมีสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบ กับเมล็ดที่ยังไม่งอก มีผลการศึกษาสารสกัดจากถั่วลิสงงอกสายพันธุ์ของประเทศเกาหลี พบว่ามีฤทธิ์ ลดไขมันและลดน้ำหนักตัวในหนูทดลอง (Kang et al., 2014) นอกจากนี้มีการศึกษาผลของสารสกัดจาก ถั่วลิสงงอกสายพันธุ์ของประเทศไทยในหลอดทดลอง (in vitro) พบว่ามีฤทธิ์ในการลดไขมันในเซลล์เพาะ เลี้ยงเซลล์ไขมัน 3T3-L1 หลังจากได้รับสารสกัดเป็นเวลานาน 9 วัน เมื่อเทียบกับเซลล์ไขมันที่ไม่ได้รับ สารสกัด (0 µg/ml) (แสดงดังภาพ) แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากถั่วลิสงงอกอาจมีศักยภาพในการนำมา ใช้ประโยชน์ในการป้องกันหรือรักษาภาวะโรคอ้วนได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามข้อมูลยังอยู่ในระหว่างการ ศึกษาโดย ผศ.ดร.ธารทิพย์ บุญส่งและคณะ (ทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร) เพื่อศึกษา กลไกต่างๆ ที่มีผลต่อการลดไขมันภายในเซลล์


รู้จักโรค รู้จักโรคติดมือถือ หรือ Nomophobia กันหรือไม่ ? ดร.สุชาดา พิมเสน ต้องยอมรับว่าการใช้ชีวิตหรือ life style ของคนทั่วโลกในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก ในสังคมยุคดิจิตอลนี้ อะไร หลายๆอย่างในชีวิตถูกทำให้ง่ายขึ้น โทรศัพท์มือถือก็กลายมาเป็นสมาร์ทโฟน เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานที่มาก ขึ้น เรียกได้ว่าแทบจะครบวงจร สารพัดแอพพลิเคชั่น เดี๋ยวนี้โทรศัพท์มือถือหายที ค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะข้อมูลข่าวสารทุกอย่าง เรียกดูได้จากในนั้น แน่นอนที่สุดเมื่อประโยชน์มีมาก เจ้าสิ่งนี้ก็มาพร้อมความ เปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเราอย่างไม่รู้ตัว บางครั้งทำให้เรารู้สึกขาดมันไม่ได้แม้แต่วันเดียว เสมือน เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายไปแล้ว ซึ่งอาการนี้เรียกว่า โรคโมโนโฟเบีย (Nomophobia) พูดง่ายๆก็คือโรค ติดมือถือนั่นเอง

credits: cuboiart.blogspot.com

13


รู้จักโรค Nomophobia มาจากประโยคเต็มๆที่ว่า “No mobile phone phobia” เป็นศัพท์ที่บัญญัติโดย YouGov องค์การวิจัยของสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2008 เพื่อใช้เรียกอาการที่เกิดขึ้นจากความหวาดกลัวจากการขาด โทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร ซึ่งจัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล จากงานวิจัยพบว่า 53% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะมีอาการวิตกกังวลเมื่อโทรศัพท์มือถือหาย แบตเตอรี่หมด เงินในบัญชี โทรศัพท์หมด หรืออยู่นอกเขตรับสัญญาณ ประมาณ 58% ของผู้ชาย และ 47% ของผู้หญิงจะพบอาการ เหล่านี้ได้ และ 9% เกิดอาการเครียดได้ จากการสำรวจผู้ใช้โทรศัทพ์มือถือจำนวน 2,163 คน พบกว่า 55% เกิดความกังวลเมื่อไม่ได้ใช้โทรศัพท์เนื่องจากใช้เป็นช่องทางในการติดต่อกับเพื่อนและญาติ การศึกษาอีก เรื่องหนึ่งเป็นการเปรียบเทียบความเครียดที่เกิดขึ้นของการไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือ เทียบเท่ากับความรู้สึกที่ เกิดขึ้นในวันแต่งงาน หรือก่อนเข้าพบทันตแพทย์เลยทีเดียว นอกจากนี้การศึกษาในกลุ่มนักเรียนระดับ ปริญญาตรีเพศชายจำนวน 547 คน พบว่า 23% ถูกจัดว่ามีอาการ monophobia ขณะที่ 64% จัดเป็นผู้มี ความเสี่ยงต่อโมโนโฟเบียเนื่องจาก 77% มีพฤติกรรมการเช็คโทรศัพท์มือถือของตัวเองวันละไม่ต่ำกว่า 35 ครั้ง และเกินครึ่งไม่เคยปิดโทรศัทพ์มือถือเลย


รู้จักโรค อาการหรือพฤติกรรมที่มีแนวโน้มเป็น “โมโนโฟเบีย” 1.

พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา กระวนกระวาย หงุดหงิด ถ้ามือถือไม่ได้อยู่กับตัว

2. หมกมุ่นอยู่กับการอัพเดทข้อมูลในสมาร์ทโฟน แม้ไม่มีเรื่องด่วน ก็หยิบขึ้นมาดูแทบตลอดเวลา 3. ให้ความสำคัญเสียงเตือนโทรศัพท์เป็นอันดับแรก หยิบดูทันที รอไม่ได้ ภารกิจที่กำลังทำจะถูก พักไว้ก่อน ถ้าไม่ได้หยิบดูในทันทีจะขาดสมาธิในการทำภารกิจที่ค้างอยู่ 4. ตื่นนอนปุ๊บ! หยิบสมาร์ทโฟนเป็นอันดับแรก ก่อนนอนก็ยังหลับไปกับการเล่นสมาร์ทโฟน 5. เล่นโทรศัพท์ประกอบการทำกิจกรรมอื่นในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับ รถ หรือระหว่างนั่งรอรถเมล์ ขึ้นรถไฟฟ้า 6. กลัวโทรศัพท์ตัวเองหาย แม้ว่าจะวางอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้วก็ตาม 7. ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย


นิ้วล็อก นิ้วชา ปวดข้อมือ เส้นเอ็นข้อมืออั กเสบ อาการพวกนี้เกิดจากการใช้มือกด จิ้ม สไลด์หน้าจอ ติดต่อนานเกินไป ยิ่งถ้ารู้สึกว่านิ้วมือเริ่มแข็ง กำแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ ต้องรีบไปพบแพทย์

อาการทางสายตา สายตาล้า ตาแห้ง เพราะเพ่งสายตาจ้องหน้าจอเล็ก ๆ นานเกินไป ซึ่งนาน ๆ เข้าจะทำให้ จอ ประสาทตาและวุ้นในตาเสื่อมได้

ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ เกิดจากเวลาเล่นโทรศัพท์ที่เรามักก้มหน้า ค้อมตัวลง ทำให้คอ บ่า ไหล่ เกิดอาการเกร็ง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากเล่นนาน ๆ อาจมีอาการปวดศีรษะตามมา

หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร จากการนั่งผิดท่า นั่งเกร็งเป็นเวลานาน ๆ และทำเป็นประจำจนเป็นนิสัย หากเป็นหนักจนมี อาการปวดมาก ๆ อาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด


ความเครียด เนื่องจากโทรศัพท์มือถือสามารถรับส่งข้อความหรือรับสายได้ตลอดเลา เสียงเรียกเข้า การ สั่นหรือเสียงเตือนต่างๆ ทำให้เพิ่มความเครียดสูงขึ้น มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าปัญหา ระหว่างชายหญิงสาเหตุเกิดจากโทรศัพท์มือถือได้เหมือนกัน หรือกระทั่งรบกวนการนอน หลับ ส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นเป็นอย่างมาก อาการแพ้ต่างๆ เนื่องจากเกิดการสัมผัสกับโทรศัพท์มือถือมากเกินไป ซึ่งอาจะเป็นแหล่งของเชื้อโรค หรือ แบคทีเรีย ซึ่งจะไปทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ นอกจากนี้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจาก โทรศัทพ์มือถือก็ทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน อาจจะมีอาการทางสมอง วิงเวียนศรีษะ อาเจียน ท้องเสีย ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ หรือปัญหาทางด้านจิตใจได้ โรคอ้วน แม้ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สมาร์ทโฟนนาน ๆ โดยตรง แต่ถ้าติดสมาร์ทโฟนมาก ชนิดเล่นทั้ง วันไม่ลุกไปทำกิจกรรมอื่นๆ เลย ร่างกายก็ไม่ได้เผาผลาญพลังงานเท่าที่ควร อาหารที่ทาน เข้าไปก็จะแปรเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ช้าโรคอ้วนก็คงจะถาม หาแน่นอน จริงๆแล้วสมาร์ทโฟนนี้ช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้น แต่มันคงจะเป็นสิ่งที่ผิด หากเราปล่อยให้สิ่ง เหล่านี้มาควบคุมเรา แทนที่เราจะเป็นฝ่ายควบคุมมัน ใช้แต่พอดี ไม่ใช้เวลาไปกับการเช็คทุก อย่าง ทุกโพสต์ ทุกทวิต ลองปล่อยห่างจากสิ่งเหล่านี้ นอกจากสุขภาพกายและสุขภาพจิต จะดีขึ้นแล้วแล้วเราจะพบว่า เวลาที่เราเคยบ่นว่าไม่มีๆ สิ่งที่เคยอยากทำ ทำไมไม่ได้ทำ หรือแม้แต่โลกของความเป็นจริงได้กลับมาสู่ตัวเราแล้ว Let’s take back our lives!

เอกสารอ้างอิง: 1. http://www.cigna.co.th/health-wellness/tip/nomophobia 2. http://www.toptenfindings.com/list-of-top-10-dangers-of-mobile-phones/ 3. https://en.wikipedia.org/wiki/Nomophobia 4. http://www.venusbuzz.com/archives/28102/nomophobia-disease/


วิชาการ กรดไขมันสายสั้น (Short chain fatty acid; SCFAs) ดร.ดามรัศมน สุรางกูร

(ภาพที่1)

กรดไขมันสายสั้น (Short chain fatty acid; SCFAs) เป็นกรดไขมัน ที่มีธาตุคาร์บอนต่อกันเป็นสายสั้นเพียง 2 ถึง 4 ตัวซึ่งกรดไขมัน สายสั้นนั้นสามารถดูดซึมและให้พลังแก่ตับได้อย่างรวดเร็วไม่ ตกค้างหรือสะสม แต่กรดไขมันชนิดนี้พบได้น้อยในอาหารหรือใน น้ำมันจากพืขทั่วไปเนื่องจากสิ่งมีชีวิตจะสะสมกรดไขมันในรูปของ กรดไขมันสายยาวดังนั้นจึงมักพบแต่กรดไขมันสายยาวเป็นองค์ ประกอบหลักเช่น ในน้ำมันมะพร้าวพบ 1 %

ในเนยเหลวพบ 4 % ส่วนน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันมะกอก ไม่พบเลย (ภาพที่1) ประโยชน์ของกรดไขมัน สายสั้นนั้นนอกจากจะให้พลังงานกับร่างกายอย่างรวดเร็วแล้ว งานวิจัยในปัจจุบันพบว่ากรดไขมันเหล่านี้มี พบได้มากที่บริเวณลำไส้ใหญ่ โดยกรดไขมันสายสั้นที่พบมากได้แก่ butyrate propionate และ acetate โดย พบว่ากรดไขมันเหล่านี้สังเคราะห์มาจากการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารกลุ่มที่ละลายน้ำได้ (soluble fiber) เช่น ถั่ว แอปเปิ้ล แป้งที่ย่อยเป็นน้ำตาลยาก (resistant starch) อาหารกลุ่มนี้จะไม่ถูกย่อยในปากหรือลำไส้แต่จะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์บางชนิดในทางเดิน อาหารที่เปลี่ยนเส้นใยเหล่านี้ด้วยขบวนการหมัก (fermentation) ได้เป็นกรดไขมันสายสั้น (ภาพที่ 2) พลังงาน และ แก๊สต่างๆ จากนั้นกรดไขมันสายสั้นจะถูกดูดซึมผ่านเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ ช่วยลด pH ในลำไส้ลดปริมาณ แอมโมเนียและยูเรีย นอกจากนี้ยังพบว่า butyrate ถูกใช้เพื่อเป็นพลังงานสำหรับเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุผิวของลำไส้ใหญ่ และยังพบว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากพบว่า butyrate ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเกิดขบวนการ apoptosis โดยการควบคุมการแสดงออกของยีนผ่านการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ histone deacetylase (HDAC) ส่วน acetate และ propionate ถูกส่งไปที่ตับช่วยในขบวนการเมเทบอลิสมของกลูโคสและไขมัน

18


ซึ่ง acetate จะถูกเปลี่ยนเป็น acetyl-CoA เป็นสารตั้งต้นในขบวนการสังเคราะห์กรดไขมัน (lipogenesis) ส่วน propionate พบว่ายับยั้งขบวนการสังเคราะห์กลูโคส (gluconeogenesis) แต่สามารถเพิ่มการทำงานของ ขบวนการสลายกลูโคส (glycolysis) ดังนั้นจะเห็นว่า กรดไขมันสายสั้นนั้นเป็นกลุ่มกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกายและส่งเสริมสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามอัตราส่วนของกรดไขมันสายสั้นที่ได้รับในปริมาณมากน้อยหรือ สัดส่วนของกรดไขมันแต่ละชนิดจะขึ้นกับชนิดของอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานและชนิดของจุลินทรีย์ ในลำไส้ของแต่ละบุคคล การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารละลายน้ำสูงจึงเป็นการส่งเสริมให้ร่างกายได้ รับกรดไขมันสายสั้นที่มีประโยชน์กับร่างกาย

เอกสารอ้างอิง Scandinavian Journal of Nutrition/Naringsforskning 2001; 45:165-168 Nature 2012; 489: 242–249


งานส่งเสริมและพัฒนานิสติ (ป.โท – ป.เอก)

Ideal advisee Imaginary adviser

See you again!, THANK YOU

20


Application ดีมีประโยชน์

ดร. เมธวี ศรีคำมูล

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่าน พบกันอีกแล้วนะคะกับคอลัมน์ แอพพลิเคชันดีมีประโยชน์ค่ะ ดิฉันเชื่อว่าหลายท่านคงเคย ประสบปัญหาการหาโปโตคอลทำแลปไม่เจอบ้าง จำไม่ได้ว่าจะแพลนแลปแล้วนึกไม่ออกว่าเอาสูตรการเตรี ยมสารไปวางไว้ไหน หรือแม้แต่จะทำเซทแลปใหม่ก็นึกไม่ออกว่าต้องเริ่มตรงไหนดี ฉบับนี้ดิฉันขอนำเสนอ แอพที่จะช่วยให้งานในห้องปฎิบัติการทางชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลที่ทำๆกันอยู่ง่ายขึ้นค่ะ เพียงแค่คุณผู้อ่านมีแอพฯ ฟรีที่ชื่อว่า “Protocol Pedia” งานแลปจะกลายเป็นเรื่องง่าย ขึ้นมาเลยค่ะ แอพฯ นี้ พัฒนาโดย Hue Medscience Pvt Itd มีให้ดาวน์โหลดกันได้ทั้งในระบบ Android และระบบ i.O.S. ค่ะ ปัจ จุปันได้รับการพัฒนาจนเป็นเวอร์ชั่น 4.0 (อัพเดทล่าสุดเมื่อ เดือน มกราคม 2558) แล้วค่ะ ไอคอนเป็นแบบ นี้นะคะ การใช้งานก็ง่าย อยากรู้อะไรก็กดเข้าไปค่ะ

หากจะถามว่าแอพฯนี้ดีอย่างไรทำอะไรได้บ้าง คิดว่าคุณผู้อ่านลองดูจากรูป screenshots ดูนะคะ ที่สำคัญ ไปกว่านั้น ต้องลองโหลดมาใช้ ถ้าไม่พอใจค่อยลบก็ได้ของฟรีค่ะ แต่สำหรับดิฉันแล้ว ใส่ใน favorite เลยค่ะ ไว้เจอกันโอกาสต่อไปนะคะ สวัสดีค่ะ 21


Application ดีมีประโยชน์

ผศ.ดร.รุ่งแสง นาครำไพ

ใครที่เคยต้องติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์เองคงพอรู้ถึงความสำคัญของไดร์เวอร์ (driver) ไม่มาก ก็น้อยว่าจำเป็นที่สุดต่อการทำให้เจ้าคอมพิวเตอร์“รู้จัก”อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามานั้น ซึ่งก็เป็นเหตุที่ทำให้ บรรดาชาวเหล่าพลพรรคคนรักคอมทั้งหลายพอแผ่นหรือแฟ้มไดร์เวอร์หายไปก็ปวดหัวไม่น้อยเพราะไอ้เจ้า อุปกรณ์ราคาสูงได้แปลงร่างเป็นเบื้อเป็นใบ้ไม่ตอบสนองใดๆไปในฉับพลัน โธ่เอ๋ย...แค่ซอฟต์แวร์ชิ้นเล็กๆ แท้ๆ...ขาดมันไปก็ทำให้เจ้ายักษ์ใหญ่มันใช้การไม่ได้ไปเสียแล้ว แล้วจะทำยังไงดีล่ะ วันนี้ผู้เขียนจะขอมาเล่าประสพการณ์จากการลงวินโดวส์ใหม่ในคอมพิวเตอร์ของผู้เขียนที่ทำให้ คอมพิวเตอร์แทบจะใช้การไม่ได้เพราะไม่มีไดร์เวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งๆที่แบ็กอัพของไฟล์ที่มีไดร์ เวอร์ก็อยู่ในฮาร์ดดิสก์แท้ๆแต่วินโดวส์ใหม่ก็มองไม่เห็น ทำยังไงดี!?! โชคดีที่มีเซียนคอมพิวเตอร์ช่วยไป หาซอฟท์แวร์ที่ชื่อ DriverPack Solution มาช่วยในการติดตั้งไดร์เวอร์ใหม่ให้ผู้เขียนและช่วยกู้ คอมพิวเตอร์ขึ้นมาให้ได้ รายละเอียดของ DriverPack Solution นี้ถูกระบุไว้ในเวบไซต์ http://drp.su (ตามรูปข้างล่าง) ว่าฟรีและเหมาะสำหรับอุปกรณ์ทุกชนิดโดยติดตั้งได้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ทุก เวอร์ชั่นทั้งบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) และคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว (laptop) แต่ว่าจริงไม่จริงและดี หรือไม่ดีอันนี้ผู้อ่านจะต้องตัดสินใจและรับผิดชอบเอาเองล่ะนะเพราะการใช้ซอฟต์แวร์มีความเสี่ยงเสมอ.

22


กิจกรรมที่น่าสนใจของนิสิต รหัส 57 น.ส. รัตนา อินทร์ต๊ะจันทร์ สำหรับนิสิตน้องใหม่ที่เข้ามา ก็จะมีพิธีติดกระดุมผูกไทด์ ที่ทาง สโมสรนิสิตเป็นผู้จัดโครงการเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างพี่รหัสนิสิต กับน้องรหัสนิสิต ให้ได้มาพบปะทักทายกัน ในวันที่อากาศแจ่มใส เริ่มเวลาตั้งแต่เช้าตรู่รุ่นพี่ที่มีน้องรหัสเป็นผู้ชาย ก็ต้องทำการผูก ไทด์ให้น้อง ส่วนรุ่นพี่คนไหนมีน้องรหัสเป็นผู้หญิงก็จะทำการติด กระดุมเสื้อให้น้องค่ะ

นอกจากนี้ทางภาควิชาชีวเคมีได้จัดโครงการเตรียมความพร้อมของนิสิต กิจกรรมติวให้กับนิสิต โดยจะ มีอาจารย์ผู้สอนในภาควิชา ที่รับผิดชอบในแต่ละรายวิชา ของรายวิชาศึกษาทั่วไป มาช่ วยสอน บอก เคล็ดลับวิธีคิด ให้กับนิสิตเพื่อช่วยให้นิสิตเข้าใจในเนื้อหาและสามารถทำคะแนนได้ในระดับที่ดี ทั้งนี้ยังมี เพื่อนนิสิต ที่อยู่ในสาขาเดียวกัน ที่ถนัดในวิชานั้นๆมาช่วยสอน หรือติวข้อสอบให้กับเพื่อนในสาขา เดียวกันอีกด้วย

23


กิจกรรมที่น่าสนใจของนิสิต รหัส 57 ที่ผ่านมาภาควิชาชีวเคมี ได้มีการจัดโครงการ “เปิดโลกทัศน์ สัมผัสจริง โคลนนิ่ง ดีเอ็นเอ” ให้กับคณะ อาจารย์รวมถึงเด็กนักเรียนมัธยมของโรงเรียนต่างๆที่ประสงค์อยากเข้าร่วมโครงการ มาเรียนรู้ทั้งทาง ทฤษฏีและได้ลงมือปฏิบัติการจริง ในการสกัดดีเอ็นเอ โดยมีนิสิตชั้นปีที่1 มาช่วยในการจัดงานต้อนรับ และช่วยเหลืองาน ด้านต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายในโครงการจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

เมื่อถึงงานรับปริญญา ที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดขึ้น นิสิตชั้นปีที่ 1 นอกจากจะได้ แสดงความยินดีกับ บัณฑิตของคณะและของมหาลัยที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ทางภาควิชายังจัดกิจกรรม ให้นิสิตชั้นปีที่ 1 ได้ร่วมแสดงความยินดี กับพี่มหาบัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาจากภาควิชา นิสิตชั้นปีที่ 1 ได้เตรียม การแสดงต่างๆ เพื่อต้อนรับและร่วมแสดงความยินดีกับพี่มหาบัณฑิตอย่างสนุกสนานและเป็น กันเอง


กิจกรรมที่น่าสนใจของนิสิต รหัส 57 เพื่อส่งเสริมให้นิสิตไม่เพียงแต่มีการพัฒนาทาง ด้าน IQ เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ทางภาควิชาได้จัด โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยะธรรม เพื่อส่ง เสริมด้าน EQ ให้กับนิสิต โดยการจัดให้นิสิตได้ มีเวลาอยู่กับตัวเอง พิจารณาตัวเอง นิสิตได้รับ ธรรมมะจากพระอาจารย์ เพื่อนำธรรมะนั้น มา ปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างมีสติ เกิด ประโยชน์มากที่สุด รวมถึงการให้นิสิตได้เรียนรู้ การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ในสถานที่ ที่ต้องช่วย เหลือตัวเอง ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม ณ วัดป่าน้ำโจน อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

การบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทางภาควิชาก็ได้จัด ทำบุญภาค วิชา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์เพื่อเป็นสิริ มงคลแก่ภาควิชาและบุคลากรทุกท่านที่มาร่วมงาน รวม ถึงถวายเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ทั้งนี้ยังได้จัดกิจกรรม วัน สงกรานต์รดน้ำดำหัวผู้ใหญในภาควิชา เพื่อรักษาประเพณี ไทยอันดีงามนี้ไว้ โดยนิสิตชั้นปีที่ 1 ก็ได้มาร่วมงานนี้ด้วย อย่างสดชื่นแจ่มใส


ร่วมตอบแบบสอบถาม

Biochemistry

ขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่เข้ามาเยี่ยมชมจุลสารของภาควิชาชีวเคมี คณะผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์และความเพลิดเพลิน จากจุลสารของเราไม่มากก็น้อย หากมีข้อเสนอแนะ หรือข้อ ปรับปรุงแก้ไขส่วนใด รบกวนท่านผู้อ่านให้ข้อคิดเห็นลงในแบบสอบถาม.. แล้วพบกันในฉบับหน้าครับ

แบบสอบถามออนไลน์ http://goo.gl/forms/mMWfxbl9KR ขอขอบคุณในความร่วมมือตอบแบบสอบถาม

26


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.