จุลสารชีวเคมี ฉบับพิเศษ 12ปี ครอบครัวชีวเคมี

Page 1

จุลสารภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ครบรอบ ๑๒ปี ครอบครัวชีวเคมี


สัมภาษณ์อาจารย์อาวุโส

สัมภาษณ์อาจารย์อาวุโส ดร.ร้อยโทหญิง สายศิริ มีระเสน ผู้เรียบเรียง

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่าน เนื่องจากภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดโครงการครบรอบ ๑๒ ปี ครอบครัวชีวเคมี ขึ้นในวัน เสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของภาควิชาชีวเคมี ตั้งแต่ยังเป็นโครงการจัดตั้งภาค วิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และถูกยกฐานะเป็นภาควิชาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ภาควิชาชีวเคมี ได้ถูกตัดโอนย้ายบุคลากรมาสังกัดคณะแพทยศาสตร์ และได้มีการโอนย้ายบุคลากรในภาควิชามา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ภาควิชาฯ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาชีวเคมี ชีวเคมีพื้นฐาน ชีวเคมีการแพทย์พื้นฐาน ๑, ๒ และรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนเป็นรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือกในระดับปริญญาตรีให้แก่นิสิตหลักสูตรวิทยา ศาสตรบัณฑิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและกลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาชีวเคมี เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี ในปีการศึกษา ๒๕๔๘ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ นับจากจุดเริ่มต้นโครงการจัดตั้งจนถึงปัจจุบัน ภาควิชาชีวเคมีมีการดำเนินงานมาเป็นเวลา ๑๒ ปี จุลสาร ฉบับนี้จึงมีสกู๊ปพิเศษคือ การสัมภาษณ์อาจารย์อาวุโสของภาควิชาชีวเคมีที่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งภาควิชาชีวเคมี เพื่อมาบอกเล่าประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งภาควิชา การจัดการเรียนการสอนให้แก่นิสิตในคณะต่างๆ งานวิจัย และเครือข่ายความร่วมมือ ที่มาของการจัดทำหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของภาควิชา บุคลากรของภาควิชาในอดีต ความผูกพันที่มีต่อภาควิชาชีวเคมี และคำอวยพรเนื่องในวัน ๑๒ ปี ครอบครัวชีวเคมี โดยมีอาจารย์อาวุโสที่ให้สัมภาษณ์นี้ได้แก่ “รศ.ดร.ศุภกร พงศบางโพธิ์” หรือ “รศ.ดร.สุพักตร์ พ่วงบางโพ” และ “รศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล” ผู้เขียนต้องกราบขออภัยที่ขาดบทสัมภาษณ์ของ “รศ.ดร.ดาวัลย์ ฉิมภู่” อาจารย์ อาวุโสที่เป็นที่เคารพรักของบุคลากรในภาควิชา เนื่องจากอาจารย์ได้เกษียณอายุราชการ และไม่สามารถติดต่อ อาจารย์ได้ ขอเชิญคุณผู้อ่านมาร่วมย้อนอดีตวันวานของภาควิชาชีวเคมีด้วยกัน

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์

ท่านแรกคือ “รศ.ดร.ศุภกร พงศบางโพธิ์” หรือ “รศ.ดร.สุพักตร์ พ่วงบางโพ” ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง 
 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: สวัสดีค่ะอาจาย์ ขอความกรุณาอาจารย์บอกเล่าถึงโครงการจัดตั้งภาควิชาชีวเคมี และอาจารย์ มารับราชการที่ภาควิชาชีวเคมีเมื่อไหร่คะ รศ.ดร.ศุภกร: ย้อนอดีตพูดถึ งการจัดตั้งภาควิชาชีวเคมี โดยเฉพาะสำหรั บคนเก่าๆ นะคะ พี่คงเป็ นนักชีวเคมีคน เดียวและน่าจะเป็นคนแรกสมัยที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๒๙ ในคณะ วิทยาศาสตร์สังกัดภาควิชาเคมี หลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ตอน นั้นยังไม่มีรายวิชาชีวเคมีค่ะ พี่ก็สอนเคมีอินทรีย์ ตอนหลังย้ายมาสังกัดภาควิชาชีววิทยาให้ถูกต้องตามความ ต้องการของภาควิชาเจ้าของทุนที่ขอไป ต่อมาพี่ไปเรียนต่อปริญญาเอก พ.ศ.๒๕๓๒ ช่วงเวลานั้นอาจารย์ผู้ใหญ่ หลายท่ า นได้ ท ำงานเพื่อ เตรี ย มการแยกเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย เอกเทศและเมื่อ พี่ก ลั บ มาต้ น ปี พ.ศ.๒๕๓๖ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ก็ได้รับการยกฐานะเป็นเอกเทศ ได้รับพระราชทานนาม "มหาวิทยาลัย นเรศวร" แล้ว และพร้อมเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (comprehensive university) มีการจัดตั้งคณะต่างๆ ในกลุ่มศิลปศาสตร์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำเป็นต้องมีการจัดการเรียนการสอนการ สอนในวิชาที่เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ด้วยการบริหาร ที่ต้องการให้มีการจัดการรวมศาสตร์พื้นฐานเหล่านี้อยู่ด้วยกันเพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากร ผู้บริหารจึงดำริให้ มีโครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ขึ้น มี รศ.ดร.พาลาภ สิงหเสนี ตันติยาสวัสดิกุล (จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย) เป็นผู้อำนวยการฯ พี่เป็นรองผู้อำนวยการฯ ทำได้ไม่นานพี่ไปช่วยงานเป็นรองคณบดีบัณฑิต วิทยาลัยฝ่ายวิชาการ แต่ถือว่าโชคดีมากเพราะมีอาจารย์สุภาพร อาจปรุ (กายวิภาคศาสตร์) มาเป็นรองผู้อำนว ยการฯ แทนซึ่งอาจารย์ได้ช่วยงานท่านผู้อำนวยการอย่างดีเยี่ยม มีการจัดตั้งภาควิชาต่างๆ รวมทั้งภาคชีวเคมี ขึ้น แล้วนักชีวเคมีซึ่งตอนนั้นสังกัดภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์ ก็ได้ย้ายเข้ามารวมตัวอยู่ในภาควิชาชีวเคมีนี้ มี ท่านอาจารย์ดาวัลย์รักษาการหัวหน้าภาควิชาฯ ขณะนั้นมหาวิทยาลัยนเรศวรมีการเติบโตอย่างมาก มีอาคาร สิ่ง ก่อสร้าง คณะใหม่ๆ เกิดขึ้น อาจารย์จำนวนมากขึ้น นิสิตมากขึ้น ตอนนั้นพี่เป็นรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยและ หัวหน้าศูนย์วิทยบริการที่จังหวัดเชียงใหม่ท่านอธิการบอกว่าต้องมาช่วยกันในภาควิชาชีวเคมีเพราะเป็นภาควิชา ที่ต้องสอนในทุกหลักสูตรที่เป็นวิทยาศาสตร์สุขภาพและบางหลักสูตรของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พี่มาเป็น หัวหน้าภาควิชาซึ่งมีอาจารย์อยู่กันไม่ถึง ๑๐ คน ซึ่งก็ยังคงเหนียวแน่นช่วยงานกันมาจนถึงบัดนี้ก็หลายคน ลา ออกและย้ายกันไปตามเหตุผลและความจำเป็นก็หลายคน แต่การจัดตั้งคณะยังไม่เรียบร้อย อยากจะพูดว่าภาค วิชาจึงถูกฝากไว้ที่คณะวิทยาศาสตร์ การบริหารจัดการก็เหมือนเป็นแบบฝากจริงๆ แต่อาจารย์ทุกคนในภาควิชา น่ารักมาก ตั้งใจทำงานในหน้าที่และมีความรับผิดชอบสูง ร่วมมือร่วมใจกันอย่างดี สอนวิชาชีวเคมีและวิชาที่อาจ มีชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละหลักสูตรที่ต้องการให้สอน เขียนคู่มือการสอน เอกสารประกอบการสอนทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ช่วยกันคนละบทคนละตอน รวมตัวกันฉันท์พี่น้อง จำได้ว่าทำงานอย่างมีความสุข สนุกสนาน คาดเดาว่าน้องๆ ก็คงมีความสุขเช่นเดียวกัน ห้องเรียนเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่และยังมีหลายห้องที่ เรียนพร้อมกันที่เรียกกันว่า "ห้องเรือพ่วง" สมัยนั้น ทั้งห้องบรรยายและห้องปฏิบัติการ ห้องทำงานก็อยู่ร่วมกัน เห็นหน้ากันทุกวันในอาคารคณะเภสัชศาสตร์ปีกหนึ่ง มีห้องวิจัย ๑ ห้องอยู่ด้วยกัน จากนั้นก็มีการย้ายภาควิชา ชีวเคมีไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์ ย้ายที่ทำงานไปอีกปีกหนึ่งของอาคารคณะเภสัชศาสตร์ แต่ไม่ว่าจะย้ายไป สังกัดคณะไหน ชาวชีวเคมีก็ยังคงทำงานกันอย่างเข้มแข็ง จนกระทั่งปี ๒๕๔๔ ได้มีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขึ้น ภาควิชาชีวเคมีจึงได้มาสังกัดคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์จนกระทั่งปัจจุบัน

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์

ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: ขอความกรุณาอาจารย์ขยายความเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้แก่นิสิตในคณะต่างๆ และบรรยากาศการทำงาน การจัดการเรียนการสอนในสมัยโครงการจัดตั้งภาควิชาชีวเคมีเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่ง ขึ้นค่ะ รศ.ดร.ศุภกร: วิชาชีวเคมี ถูกกำหนดให้เรียนในเกือบทุก หลักสูตรในคณะเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสห เวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะ เภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทย์ศาสตร์ นิสิตจึงเยอะมาก อาศัยห้องเรียนที่เรียก ห้องเรือพ่วง มีอาจารย์ที่สอนและผู้ ช่วยสอนประจำห้องพ่วง และอาจารย์ลงสอนหมดภาควิชา เวลาปฏิบัติการ ช่วยกันจัดทำคู่มือ เอกสารประกอบการ สอน ประชุมรวมคะแนน ตัดเกรด ด้วยความที่ห้องทำงาน รวมอยู่ด้วยกันจึงดูเหมือนว่าจะมีการรวมตัวกึ่งประชุมกัน บ่อยๆ อาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับลูกศิษย์ และดูแลใกล้ ชิดกันพอสมควร หัวข้อการสนทนาส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่อง ของบรรยากาศในการเรียนการสอน ประสบการณ์ที่แต่ละ คนเจอ หรือแม้แต่พฤติกรรมการเรียนของลูกศิษย์ เสมือน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้อยทีถ้อยอาศัย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: ขอให้อาจารย์เล่าถึง ที่มาของการเปิด หลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาชีวเคมี งานวิจัย และเครือข่ายความร่วมมือของภาควิชาชีวเคมี รศ.ดร.ศุภกร: ช่วงแรกๆ น้องๆกำลังมีพลังต่อเนื่องจากการที่ เพิ่งสำเร็จการศึกษากันมา ก็ทำวิจัยกันเอง หาทุนกันแม้แต่รับ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนิสิตจากคณะอื่น ก็ทำให้มีผลงาน วิจัยออกมากันบ้าง บางคนก็ได้รับทุนไปทำวิจัยต่างประเทศ จน กระทั่งพร้อมในการเปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษา และเนื่องจากชีวิตผกผันให้พี่มารับตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่าย วิชาการ ตั้งแต่มกราคม ๒๕๔๔ ทำให้พี่ห่างภาควิชามาเป็นลำดับ จากช่วยสอนเฉพาะภาคทฤษฎีตามหัวข้อรับผิด ชอบเดิม ก็เริ่มมาเป็นบางหัวข้อ บางชั่วโมง บางครั้งก็ต้องให้น้องๆ สอนแทนอย่างกระทันหัน สุดท้ายได้แต่เข้าร่วม กิจกรรมและก็เป็นเพียงบางกิจกรรม รายละเอียดของการดำเนินการหลังจากนี้ยกเป็นความดีให้กับน้องๆ ทุกคนค่ะ พี่ไม่อาจตอบในรายละเอียดส่วนนี้ได้ดีเท่าน้องๆ แต่ก็คอยติดตามดูการบริหารและการทำงานของภาควิชาตลอดค่ะ งานของภาควิชามากขึ้น อาจารย์ภาระงานมากขึ้น แต่ด้วยประสบการณ์และเครือข่ายที่น้องๆ มี ก็ช่วยให้สามารถ แก้ปัญหา และดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำและบริหารจัดการ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์

ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: ความผูกพันที่มีต่อภาควิชาชีวเคมี รศ.ดร.ศุภกร: แม้ว่าจะมาอยู ่มหาวิทยาลัยพะเยาแต่ตลอดเวลา พี่ยังระลึกเสมอค่ะว่า ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวรคือ ส่ ว นหนึ ่ ง ของชี วิ ต การทำงานของพี ่ พี ่ ถื อ ว่ า ชี วิ ต และ ประสบการณ์การทำงานของพี่เกิดจากที่นี่นะคะ ระลึกถึงความ สุข ความสนุกสนานในการทำงาน และน้องๆ ทุกคน ไม่ว่าจะ เป็นอาจารย์ เจ้าหน้าที่ธุรการ ห้องปฏิบัติการ และแม่บ้าน ทำความสะอาดทุกคนค่ะ

ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์กล่าวอวยพรให้แก่ บุคลากรและนิสิตของภาควิชา เนื่องในวัน ๑๒ ปี ครอบครัว ชีวเคมี รศ.ดร.ศุภกร: ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและบารมีแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้โปรดดลบันดาลและ ประทานพรให้น้องๆ บุคลากรทุกคนในภาควิชา พบแต่ความสุข ปลอดภัยจากโรคภัยภยันตรายทั้งปวง เติบโตและ ก้าวหน้าในวิชาชีพ และมีกำลังกายและกำลังใจนำพาภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มีชื่อเสียงขจรไกลไป ทั่วทุกสารทิศค่ะ

ถึงแม้ปัจจุบันอาจารย์ได้ย้ายไปเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยพะเยา แต่ความรักความผูกพันที่มีต่อภาควิชาชีวเคมี ยังคงเหนียวแน่นไม่จืดจาง อาจารย์ยังคงให้ความอนุเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การมารับหน้าที่เป็นประธาน กรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชา เมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมา ขอกราบ ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


รศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล

ท่านที่สองถ้าเอ่ยชื่อท่านเชื่อว่าคนมอนอไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ท่านคือ “รศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล” ปัจจุบันท่านดำรง ตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย Scientific Research Science and Innovation บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC จังหวัดระยอง มาฟังท่านเล่าถึงเส้นทางการมาลงเอยที่มอนอของเรากันค่ะ ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอความกรุณา อาจารย์เล่าถึงการมาเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีวเคมีค่ะ รศ.ดร.สุขกิจ: สวัสดีครับนิสิตนักศึกษาน้องๆ และป้าๆ จากโครงการที่ผ มได้ มี โ อกาสร่ ว มงานกั บ ทางภาควิ ช า ชีวเคมี เกิดเมื่อปี ๒๐๐๑ เป็นโครงการสมองไหลกลับ (Reverse brain project) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อ ที่จะเชิญนักวิจัยที่อยู่ในต่างประเทศกลับมาถ่ายทอดความ รู ้ แ ละประสบการณ์ ใ ห้ กั บ อาจารย์ แ ละนิ สิ ต ที ่ อ ยู ่ ใ น ประเทศไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับทุนนี้มา พอดี อาจารย์สุพักตร์ (รศ.ดร. สุภกร พงศบางโพธิ์) รอง อธิการบดีฝ่ายวิชาการ รุ่นพี่ที่จบมหิดลด้วยกัน นึกถึง อยากให้มาถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานและการใช้ ชีวิตในอเมริกา เทคโนโลยีสมัยใหม่ งานวิชาการทาง Molecular Biology และ Nueroscience ให้น้องๆและ อาจารย์ นิสิต เป็นโอกาสที่จะตอบแทนให้กับประเทศชาติ ปีแรกมาอยู่หนึ่งเดือน มาได้สามปีติดกัน ปีละหนึ่งเดือน ใช้ การลาพักผ่อนกลับมาเมืองไทย ครั้งแรกโครงการนี้มาอยู่ที่ มหิดลก่อนสองสัปดาห์ แลัวมาอยู่มหาวิทยาลัยนเรศวร ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: ก่อนหน้านั้นอาจารย์ทำงานอยู่ที่ไหนคะ รศ.ดร.สุขกิจ: อเมริกาตั้งแต่ ปี ๑๙๘๘ ไปเรียนปริญญาเอก เมื่อจบ ปี ๑๙๙๓ ไปทำวิจัยหลังปริญญาเอกที่ Harvard Medical School อยู่ ๓ ปี แล้วทำวิจัยหลังปริญญาเอกที่ University of California ที่ San Diego สองปีแล้วบรรจุเป็นนักวิจัย (Research assistant, Research associate) ซึ่งเทียบเท่ากับ ผศ. รศ. ในเมืองไทย แต่เน้นที่งานวิจัย มี งานสอนน้อยมาก

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


รศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล

ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: แล้วอะไรที่เป็นแรงดึงดูดให้อาจารย์มาเยือนที่มหาวิทยาลัยนเรศวรถึงสามปีซ้อน และมีแรง บันดาลใจอะไรที่ทำให้อาจารย์ตัดสินใจมาเป็นอาจารย์อยู่ที่นี่คะ รศ.ดร.สุขกิจ: มหาวิทยาลัยนเรศวรเชิญมาทุกปี แสดงว่าปีแรกได้สร้างความประทับใจ แต่ตกใจพอสมควรกับ มหาลัยต่างจังหวัด ดูแห้งๆไม่มีอะไร ประทับใจมากคือหากาแฟสดไม่ได้ ซึ่งอาจารย์แก้วพาไปหากาแฟที่เติมน้ำ ร้อนใส่ลงไปที่ไม่ใช่กาแฟสด ซึ่งเมื่อก่อนกาแฟสดยังไม่เป็นที่รู้จัก พอมาถึงจังหวะที่คุณแม่ไม่ค่อยสบาย เลยกลับ เมืองไทย ตอนแรกคิดว่าจะมาทำงานที่ไหน สมัยนั้นอธิการบดีอาจารย์มณฑล แล้วอาจารย์สุพักตร์ รอง อธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นอาจารย์อยู่ชีวเคมี ให้มาทำงานที่นี่ รู้จักคุ้นเคยกับน้องๆที่ภาควิชาชีวเคมีอยู่แลัว จะ ได้ไม่ต้องปรับตัวมาก เป็นโอกาสที่ได้มาพัฒนามหาลัยต่างจังหวัด รับใช้มหาวิทยาลัยนเรศวร ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: ขออนุญาตกระซิบถามดังๆว่า ค่า ตอบแทนที่ได้รับที่เมืองไทยแตกต่างจากที่ประเทศอเมริกา มาก อาจารย์ปรับตัวอย่างไรคะ รศ.ดร.สุขกิจ: จริงๆก็รับไม่ได้หรอก มันต่างกันเยอะเป็น ๑๐ เท่ า แต่เมื ่อตัดสินใจแล้วก็ต้องปรับตัว ต้องบอกว่าการ เป็นอาจารย์ยังคิดค่าประสบการณ์ ตำแหน่งทางวิชาการ มี งานวิจัย ขอทุนเช่น สกว. มีค่าตอบแทนวิจัยก็ยังพอไหวที จะดำรงชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดที่ค่าใช้จ่ายก็ไม่ มาก ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: พออาจารย์ได้เข้ามาทำงานที่ภาควิชาชีวเคมีได้ไม่นาน อาจารย์ก็ได้รับการทาบทามให้ดำรง ตำแหน่งผู้บริหารของคณะ คือรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ รศ.ดร.สุขกิจ: ช่วงนั้น อาจารย์รสริน (รศ.ดร.รสริน วิองวิไลรัตน์ ) ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การ แพทย์ เห็นว่าเรามีประสบการณ์ คิดว่าเราประโยชน์กับคณะ ช่วงนั้นก็เหิมเกริมมากในหลักสูตรของบัณฑิตของคณะ เลยชวนมาช่วยพัฒนาคณะ แล้วบัณฑิตศึกษากำลังเกิดขึ้นต้องการพัฒนา บวกกับประสบการณ์ที่เรามีในต่างประเทศ มานาน ระบบต่างๆในต่างประเทศน่าจะมาพัฒนาบัณฑิตศึกษาได้ดี ซึ่งยังงงว่าเราเป็นนักวิจัยมาตลอด ก็ไม่แน่ใจ เหมือนกัน อาจารย์รสริน มีความตั้งใจดี ตอนนั้นก็พึ่งได้ทุนสกว เป็นทั้งนักวิจัยและผู้บริหาร ตอนนั้นเครือข่ายก็ยังมี ไม่มาก ต้องพยายามนำคนที่รู้จักในแวดวงงานวิจัยในต่างประเทศ มาให้รู้จักกับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัด ประชุม เปิดตัวคณะให้กับโลกภายนอกได้รู้ ตอนนั้นก็ตบตีกันอยู่หลายครั้งกับการพัฒนาภาษาอังกฤษ การที่จะให้ นิสิตมีใจรักษาเรียนรู้ภาษาต่างจังหวัดจะทำยากกว่ากรุงเทพ มีรุ่นพี่ในกรุงเทพเขาก็ขวนขวายกันมากเพราะถ้าเข้าไม่ ทำก็ตามหลังคนอื่น

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


รศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล

ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: จากนั้นอาจารย์ก็ได้ฉายแสงไม่ใช่แค่ในระดับคณะ แต่อาจารย์ได้ฉายแสงไปทั่วมหาลัย และได้ รับการทาบทามให้ตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รศ.ดร.สุขกิจ: ตอนนั้น อาจารย์สุจินต์ (ศ.ดร.สุจินต์ จินายน) เข้ามารับตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และ มีโอกาสที่ได้ประชุมระดับมหาวิทยาลัยหลายครั้ง จนกระทั้งมีการปรับโครงสร้างการผู้บริหารใหม่หมด อาจารย์สุ จินต์เลยชวนไปดูแลงานวิจัยรวมทั้งกิจการต่างประเทศ ก็เห็นว่าเราสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศให้คณะมากมาย เป็นงานท้าทายที่เราต้องทำให้กับมหาวิทยาลัย ต้องคิดให้มากขึ้น ดูแลระบงานวิจัยทั้งมหาลัยก็ไม่น้อย อีกทั้งระบบ เครือข่ายต่างประเทศ ได้ตั้งปนิธานให้กับอาจารย์สุจินต์ว่าเราจะไปปักหมุดของมหาวิทยาลัยนเรศวรปักบนแผนที่ โลกให้ได้ ว่าเราต้องมีชื่อเสียงระดับโลก ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: แล้วก็มีข่าวใหญ่ที่เป็น talk of the town ที่ทำให้ ตกตะลึงกันทั่วมหาวิทยาลัย รศ.ดร.สุขกิจ: ตอนนั้น อาจารย์สุจินต์ เป็นอธิการบดีวาระที่สอง สองปี แรกก็ทำงานกับอาจารย์สุจินต์ ต่อมาได้รับการต่อให้เป็นอีกสมัย ได้มีการ ปรับโครงสร้างนิดหน่อย เราก็ยังอยู่ได้ดูเรื่องของกิจการต่างประเทศโดย เฉพาะ ทำได้สองปีก็มีเทียบเชิญจากทาง พีทีที โกลบอล เคมิคอล เป็น บริษัทลูกของพีทีทีใหญ่ เค้าสนใจที่จะทำ Biotechnology ในเรื่องของ Green chemistry สองปีที่แล้ว เทรนด์ของบริษัทใหญ่จะมีส่วนนึงมีงาน วิจัยที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับประชากรโลก ไปดูเรื่องของเชื้อ การหมัก จึงเรียนปรึกษาอาจารย์สุจินต์ ซึ่งเราทำงาน ด้านการศึกษามาตลอด ตีพิมพ์งานวิจัย เราขอทุนวิจัยก็ต้องตีพิมพ์ แต่ เรามาอยู่ในอุตสาหกรรมเค้าจะไม่ตีพิมพ์ เค้าจะเป็นเงิน จดทรัพย์สินทาง อุตสาหกรรม (Industrial Property) ที่เชิญไปให้เป็น vice president ในส่วนงานวิจัยเบื้องต้นซึ่งตรงกับงานเรา เราพอจะทำไหว อาจารย์สุจินต์ บอกไปดี เลยให้ไป ตอนอยู่อเมริกาเปลี่ยนงานบ่อย เลยเปลี่ยนงาน หาประสบการณ์ใหม่ๆ หาความท้าทาย ซึ่งอยู่ที่ เดิมก็เริ่มชินล่ะ อยากจะฝากน้องๆด้วยว่า คนไทยมักจะมีความรู้สึกว่า ได้งานแล้วจบ ซึ่งการอยู่ต่างประเทศมา ๑๙ ปีไม่มีความรู้สึกอย่างนั้น เราก็เปลี่ยนมาตลอดเป็นเรื่องปกติ คิดว่าเทรนด์แบบนี้ การเปลี่ยนบ่อยๆ เป็นเทรนด์ของ คนรุ่นใหม่ พอมีอะไรที่ใหม่กว่าท้าทายใหม่ก็ไป ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: นิสิตบัณฑิตศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีสองคน คือน้องเอ (นาย ณรงค์ แก้วสุวรรณ์) และน้องต้า (นายนัธวุฒิ พุ่มอยู่) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้เข้าทำงานที่บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) น้องๆ เค้าไปทำงานในส่วนไหนคะ

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


รศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล

รศ.ดร.สุขกิจ: ชีวิตการทำงานในสังคม เครือข่ายนั้นสำคัญ จะได้งานหรือไม่ได้ ขึ้นกับเครือข่าย พอดีมีตำแหน่ง ลูก ศิษย์ทั้งสองคนเราก็สมัครด้าน Biotechnology ซึ่งเราคิดว่าสองคนนี้ทำแลปได้ เราต้องการคนที่พร้อมใช้ เลยให้ไป สัมภาษณ์แลัวผ่านรับเข้าทำงานภายใต้กลุ่ม Biotechnology ต้าจบทางด้านวิทย์แพทย์และชีวเคมี ดูแลงานอีกด้าน นึง ส่วนเอที่มีพื้นฐานทางด้านจุลชีววิทยาก็ดูแลด้านเชื้อ การพัฒนาเชื้อ ก็คนละด้านกัน ดูจากการทำงานก็ไปได้ดีทั้ง คู่ แต่ไม่เด่นนักก็ต้องปรับตัว เพราะว่าทุกคนต้องปรับตัวจากนักวิจัย ดร.ร.ท.หญิงสายศิริ: สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์ฝากข้อคิดและกล่าวอวยพรให้แก่บุคลากรและนิสิตของภาควิชา เนื่อง ในวัน ๑๒ ปี ครอบครัวชีวเคมี ค่ะ รศ.ดร.สุขกิจ: สำหรับครอบครั วชีวเคมี เรายังผูกพันกันอยู่ อยากฝากข้อคิดนิดนึง Think Smart ทำอะไรก็ให้มีจุดมุ่ง หมายที่ชั ด เจน การทำงานร่ ว มกั น สำคั ญ มากในสั ง คม ปัจจุบันและอนาคต แน่นอนมีสิ่งที่เราชอบและไม่ชอบใน เพื่อนร่วมงาน เราก็เซตซ้ายในสิ่งที่ไม่ดี เอาสิ่งดีๆมาใช้ ถ้า ทิ้งเค้าไปไม่รู้หรอกว่าเมื่อไหร่คนนั้นจะกลับมาอีกในชีวิต เชื่อเสมอว่าถ้าทำอะไรด้วยใจรักเราไปได้อยู่แล้ว เช่นถ้ารักที่ จะทำงานวิ จั ย อย่ า งไงคุ ณ ก็ ไ ปได้ รั ก ษาความเป็ น นั ก วิชาการของเราไว้ รู้อะไรให้รู้จริง รักษาเพื่อนของเราไว้อย่า ทิ้งเพื่อน แลัวก็ถ้ามีโอกาสให้ตอบแทนกลับมาสู่สถาบัน

นี่เป็นข้อคิดจากอาจารย์รุ่นพี่ ซึ่งอาจารย์ไม่ได้สอนด้วยคำพูด อาจารย์แสดงด้วยการกระทำเป็นตัวอย่างให้เห็น ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ในข้อคิดเหล่านี้ ตอบแทนพระคุณ เป็นเพื่อนรักกันตลอดไป

คลิป VDO สัมภาษณ์ link : https://www.youtube.com/watch?v=iKggn6bkDqo

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


โรคอัลไซเมอร์

สารสกัดข้าวก่ำกับการป้องกันการตายเซลล์ประสาทอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคสมอง เสื่อม (Dementia) เกิดจากเสื่อมของเซลล์ประสาท โดย เฉพาะสมองที่ค วบคุ ม เกี่ย วกั บ การเรี ย นรู้แ ละความจำ และมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยขนาดและ สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และต่อ เนื่อง ฉะนั้นอุบัติการณ์เกี่ยวกับโรคโรคอัลไซเมอร์ มี จำนวนเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุของเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังไม่ เป็นที่แน่ชัดแต่ปัจจุบันพบว่าปัจจัยหลักๆ ได้แก่ การสร้าง amyloid β-peptide ที่มีขนาด 40 หรือ 42 amino acid ที่สะสมเป็น plaque เหนี่ยวนำให้มีการสังเคราะห์ reactive oxygen species สูง ส่งผลให้เซลล์ประสาทอยู่ ในสภาวะ oxidative stress และเกิดการตายในที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าการเกิด Neurofibrillary tangles จากโปรตี น tau ซึ่ง เป็ น องค์ ป ระกอบสำคั ญ ของ microtubules ที่ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการคงสภาพรูป ร่างของเซลล์ประสาทและระบบนำส่งของเซลล์ประสาท ความผิดปกตินี้มีผลทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถคงรูป ร่าง ไม่สามารถขนส่งผ่านทาง axon และไม่สามารถทำให้ การติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทเกิดขึ้นได้ และ เซลล์ประสาทตายได้ในที่สุดซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการ สูญเสียเซลล์ประสาทในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ปัจจุบันโรคนี้ไม่ สามารถรักษาให้หายขาด แต่ช่วยชะลอความก้าวหน้าของ โรคและการเสริมสร้างความจำ ดังนั้นจึงสนใจศึกษาวิจัย สารที่สามารถลดการตายของเซลล์ประสาทหลายชนิด พบว่า ข้าวก่ำเป็นพันธุ์ข้าวเหนียว (Oryza saliva L.) ที่มี เมล็ดเป็นสีออกแดงหรือแดงก่ำ ซึ่งปลูกมากในภาคเหนือ ของประเทศไทย มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดที่ สำคัญได้แก่ cyanidin-3-glucoside มีฤทธิ์เป็นสาร antioxidant ดังนั้นผู้วิจัยทำการศึกษาสารสกัดหยาบจาก ข้าวก่ำ เปรียบเทียบกับสาร cyanidin-3-glucoside ที่ เป็นสารสำคัญจากข้าวก่ำ ในการป้องกันการตายของเซลล์ ประสาทเพาะเลี้ยงที่เหนี่ยวด้วย amyloid β-peptide

ผศ.ดร.จิราภรณ์ โตจรัส

ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ 
 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รูปที่ 1 ข้าวก่ำ (http://www.matichon.co.th/online/ 2011/11/13214465701321446710l.jpg)


โรคอัลไซเมอร์

รูปที่ 2 ลักษณะรู ปร่างของเซลล์จากการทำ Transmission electron microscope (TEM A: เซลล์กลุ่มควบคุม (control) B: เซลล์กลุ่ม ที่ได้รับสารสกัดหยาบข้าวก่ำเพียงอย่างเดียว C: เซลล์ กลุ่มที่ได้รั บ สาร Cyanidin-3glucoside เพียงอย่างเดียว D: เซลล์กลุ่มที่ได้ รับ amyloid β-peptide อย่างเดียว E: เซลล์กลุ่มที่ได้รับ amyloid β-peptide ร่วม กับ สารสกัดหยาบข้าวก่ำ F: เซลล์กลุ่มที่ได้ รั บ amyloid β-peptide ร่ ว มกั บ Cyanidin-3-glucoside

ผลการวิจัยเป็นที่น่าสนใจว่าสารสกัดหยาบจากข้าวก่ำมีฤทธิ์ในการป้องกันการตายของเซลล์ประสาทได้ มีผลยับยั้งการ ตายของเซลล์ประสาทแบบ apoptosis ด้วยวิธี Flow cytometry โดยทำการย้อมสี Annexin V-FITC/PI double staining ที่จะเข้าจับกับ phosphatidyl inositol ที่เกิดการ flip-flop จากชั้น inner membrane มายัง extracellular surface ในระหว่างการเกิดกระบวนการ apoptosis และจากผล Transmission electron microscope (TEM) พบว่าสารสกัดข้าวก่ำลดการเกิด chromatin condensation และ nucleus fragmentation ได้ จึงได้ทำการศึกษาถึงกลไกการตายที่ผ่าน mitochondrial death pathway พบว่าสารสกัดข้าวก่ำ ลดการ expression ของ apoptotic โปรตีน ได้แก่ Bax, caspase-3, caspase-9 ได้ และมีฤทธิ์ในการ scavenging สาร อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นโดยไปมีลดปริมาณของ reactive oxygen species (ROS) และ reactive nitrogen species (RNS) และผลการศึกษาที่ได้สอดคล้องกับผลที่ได้จากสาร cyanidin-3-glucoside ซึ่งใช้ปริมาณสารทดสอบอยู่ในช่วง ระหว่าง 0.001-0.1 µg/ml ในขณะที่สารสกัดหยาบข้าวก่ำปริมาณสารทดสอบที่ใช้อยู่ในช่วงระหว่าง 0.001-0.1 mg/ ml จากผลการทดสอบที่ได้คาดว่าสารออกฤทธิ์จากข้าวก่ำที่มีฤทธิ์ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทตัวที่น่าสนใจคือ cyanidin-3-glucoside จึงเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาผลของสาร cyanidin-3-glucoside ในกลไกอื่น ๆ ต่อการ ป้องกันการตายของเซลล์ประสาท รวมถึงการนำไปใช้ทดสอบในสัตว์ทดลองต่อไปในอนาคต เอกสารอ้างอิง Thammayot S, Tocharus C, Pinkaew D, Viwatpinyo K, Sriangarm K, Tocharus J (2014) Neuroprotective effect of purple rice extract and its constituent against amyloid beta-induced neuronal cell death in SKN-SH cells. Neurotoxicology 45: 149-158.

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


พรมมิ

“พรมมิ” ผักพื้นบ้านธรรมดาที่ไม่ธรรมดา พรมมิ หรือ ผักมิ เป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักพื้นบ้าน ไม้ประดับและ สมุนไพรในต้นเดียวกัน หลายๆท่านอาจเคยรู้จักหรือได้ยินสรรพคุณอันโดด เด่นในเรื่องของการบำรุงสมองและความจำของสมุนไพรชนิดนี้กันบ้างแล้ว ใน วันนี้เรามาทำความรู้จัก “พรมมิ” ให้ลึกซึ้งมากขึ้นกันนะคะ พรมมิ หรือ Brahmi มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Bacopa monnieri จัดอยู่ในวงศ์ Scrophulariaceae เป็นผักพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเนปาลและอินเดีย เป็นพืชสะเทิ้นน้ำสะเทินบก ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ เช่น ตามริมตลิ่ง ริมคลอง ลักษณะทั่วไป มีลำต้นใหญ่ อวบน้ำ ไม่มีขน เลื้อยทอดไปตามพื้นดินและชูยอดขึ้น ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่และค่อนข้างยาว โคนใบแคบ ปลายใบกว้างมนกลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาวหรือครามอ่อน โดยพรมมิได้ถูกบันทึกในคัมภีร์ อายุรเวทของอินเดีย เมื่อกว่า 3,000 ปีก่อน มีสรรพคุณเด่นในด้านการบำรุง สมอง เพิ่มความจำ เพิ่มความสงบ ทำให้อ่อนวัย รวมถึงเป็นยาในตำรับอายุ วัฒนะ โดยในประเทศไทยนั้นมีการรับประทานพรมมิเป็นอาหารมานาน โดย รับประทานเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก ว่ากันว่าอร่อยมากจนมีการตั้งสมญานามว่า ผักลืมสามีกันเลยทีเดียวค่ะ

ดร.กนกทิพย์ เพชรรัตน์ สาขาวิชาชีวเคมีและโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

พรมมิ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิต่อระบบประสาท การกระตุ้นการเรียนรู้ และความจำพบว่า สารออกฤทธิ์สำคัญที่ มีผลต่อระบบประสาทที่พบในต้นพรมมิเป็นสารในกลุ่มไตรเทอปีนอยด์ซาโปนิน (triterpenoid saponin) ที่ชื่อว่าบาโค ไซด์ (bacoside) มีรายงานการวิจัยที่ศึกษาถึงผลของพรมมิต่อการป้องกันการตายเซลล์ประสาทที่ถูกชักนำด้วยสารก่อ อนุมูลอิสระต่างๆ ไม่ว่าจะทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยงตลอดจนในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้มีการศึกษาที่ลงลึกไปถึงกลไกระดับ เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำพบว่าพรมมิน่าจะมีผลในการส่งเสริมความจำและป้องกันการเสื่อมของเซลล์ ประสาทผ่านกลไกการส่งสัญญาณภายในเซลล์ทางวิถีของ ERK/MAPK (extracellular signal regulated kinase/ mitogen-activated protein kinase) และ PI3K/Akt (phosphatidylinositol 3-kinase/Akt or protein kinase B) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆภายในเซลล์โดยเฉพาะการอยู่รอดของเซลล์ประสาท สำหรับการศึกษาพฤติกรรม หนูทดลองยังพบว่าหนูมีการเรียนรู้และความจำดีขึ้น เมื่อทำการทดลองในโมเดลของสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโร คอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมอันดับหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ พบว่าสารสกัดจากพรมมิ ทำให้สัตว์ทดลองดังกล่าวมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ในการศึกษาทางพิษวิทยาพบว่าพรมมิไม่ทำให้เกิดพิษในสัตว์ ทดลองเมื่อให้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จึงนับได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อไป

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


พรมมิ

ปัจจุบันทีมวิจัยนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. กรกนก อิงคนินันท์ จากภาควิชาเภสัชเคมีและเภสัชเวท คณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพรมมิขนาด 300 มิลลิกรัม ในรูปแบบยาเม็ดเคลือบที่มี คุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมและมีความคงตัวดี และศึกษาผลของพรมมิในอาสาสมัครวัยกลางคนและสูงอายุ (อายุ มากกว่า 55 ปี) จํานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้ยาหลอก และ ได้ผลิตภัณฑ์สารสกัดพรมมิขนาด 300 และ 600 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า สารสกัดพรมมิ เพิ่มคุณภาพชีวิตโดยเพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัว เพิ่มการตื่น ตัวต่อสิ่งเร้า มีสมาธิมากขึ้น เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความจำ คลายอาการซึมเศร้า และไม่พบอาการพิษและ ภาวะข้างเคียงใดๆในกลุ่มอาสาสมัครดังกล่าว งานวิจัยนี้ ได้ถูกถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังองค์การเภสัชกรรม และทาง องค์การเภสัชกรรมได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพรมมิ GPO และจัดจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 จุดเด่นประการหนึ่งของพรมมิ คือ เป็นพืชล้มลุกที่สามารถเพาะปลูกและขยายพันธุ์ได้ง่ายในประเทศไทย มีสาร ซาโปนิน (saponin) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่พบในโสม หรือ แปะก๊วย (ginkgo) ดังนั้น หากมีการนำพรมมิมาใช้ ประโยชน์ก็จะถือเป็นการลดต้นทุนในการนำเข้าสมุนไพรอย่างโสม หรือ แปะก๊วย ที่เป็นสมุนไพรที่ต้องนำเข้าจากต่าง ประเทศได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ผักมากคุณค่าโตไว ปลูกง่าย สามารถปลูกประดับได้แบบนี้ น่าสนใจนะคะ รู้อย่างนี้ แล้วมาปลูกพรมมิไว้จิ้มน้ำพริกทานประจำบ้านกันสักหน่อยเป็นไงคะ อร่อยและได้ประโยชน์อีกด้วยนะ เอกสารอ้างอิง: 1. Uabundit N, Wattanathorn J, Mucimapura S and Ingkaninan K. (2010). Cognitive enhancement and neuroprotective effects of Bacopa monnieri in Alzheimer's disease model. Journal of Ethnopharmacology, 127(1), 26-31. 2. Petcharat K, Singh M, Ingkaninan K, Attarat J, Yasothornsrikul S. (2015). Bacopa monnieri protects SH-SY5Y cells against tert-Butyl hydroperoxide-induced cell death via the ERK and PI3K pathways. Siriraj Medical Journal, 67(1), 20-26. 3. http://admin.pha.nu.ac.th/Documents/news/Bacopa.pdf 4. http://www.medplant.mahidol.ac.th/document/bacopa.asp ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


สารเร่งเนื้อแดง

อันตรายจากสารเร่งเนื้อแดง สพ.ญ.ดร. จันทร์เพ็ญ ชำนาญพูด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนล่าง จ.พิษณุโลก จากการที่ผู้เลี้ยงสุกรส่วนหนึ่งมีการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดง ผสมในอาหารสัตว์เพื่อปรับปรุงคุณภาพซากสุกร ให้มีเนื้อแดงเพิ่มขึ้นและไขมันลดลง เพื่อตอบสนองค่านิยมในการบริโภคเนื้อสุกรของคนไทยที่มีความเชื่อว่าเนื้อสุกรที่สี แดงสดใสมีความน่ารับประทาน ทำให้ร้านขายเนื้อสุกรต้องการสุกรขุนที่นำมาฆ่าชำแหละแล้วเนื้อที่ได้ต้องมีสีแดงและไข มันบาง ส่งผลให้ผู้เลี้ยงสุกรต้องหาวิธีปรับปรุงคุณภาพซากให้ได้ตรงความต้องการของผู้ซื้อ วิธีที่ใช้เช่น การปรับปรุงสาย พันธุ์สุกร และการใส่สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (สารเร่งเนื้อแดง) ในอาหารสุกร กรมปศุสัตว์ในฐานะผู้รับผิดชอบในการ ผลิตเนื้อสุกรที่ปลอดภัย จึงต้องกวดขันและให้ความสำคัญกับปัญหาสารเร่งเนื้อแดง ดังกล่าว

สารเร่งเนื้อแดงคืออะไร สารเร่งเนื้อแดง หรือ สารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์เป็นสารในกลุ่ม Catecholamine ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้าย Noradrenaline สามารถออกฤทธิ์เป็นได้ทั้งสารสื่อประสาทและฮอร์โมนโดยจะจับกับตัวรับโดยเฉพาะบนผิวเซลล์ (Beta receptor) สามารถแบ่งตัวรับบนผิวเซลล์เป็น 2 ชนิด คือ เบต้าวัน (ß1) และเบต้าทู (ß 2) ตัวรับเบต้าวันจะพบที่หัวใจ และระบบประสาท ส่วนตัวรับเบต้าทูจะพบที่หลอดเลือด ท่อทางเดินอาหาร เซลล์ไขมันและเซลล์กล้ามเนื้อ สามารถดูด ซึมได้ดีโดยทางการกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีความเข้มข้นสูงสุดในเลือดภายในเวลา 2.5 ชั่วโมง โดยมีค่า elimination half life ในเลือดที่ประมาณ 2.7 - 7 ชั่วโมง จากนั้นส่วนใหญ่จะถูก metabolite ที่ตับ และถูกกำจัดออก โดยทางไตเป็นหลัก โดยจะถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ 72% ของปริมาณที่ได้รับภายในเวลา 24 ชั่วโมงทางปัสสาวะ และมีค่า elimination half life ในเลือดที่ประมาณ 4 ชั่วโมง

ชนิดตัวอย่างและยากลุ่มสารเร่งเนื้อแดง ในปัจจุบันมียาและสารเคมีที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นสารเร่งเนื้อแดงหลายตัว เช่น Salbutamol, Clenbuterol, Bromobuterol, Cimbuterol, Mapenterol, Mabuterol, Tolobuterol, Clenpenterol, Clenproperol, Terbutaline, Carbuterol, Cimaterol และ Ractopamine เป็นต้น

การออกฤทธิ์ของสารเร่งเนื้อแดง พบว่าสารซัลบูตามอลมีผลทำให้สุกรกินอาหารลดลง ช่วยปรับปรุงอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักสุกร และมีผลทำให้เปอร์เซ็นต์ไขมันรวมและกระดูกรวมในซากลดลง แต่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงในซากรวมในซากเพิ่มขึ้น

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


สารเร่งเนื้อแดง

ข้อเสียและอันตรายของการใช้สารเร่งเนื้อแดง สารเร่งเนื้อแดงก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อตัวสัตว์ ทำให้สัตว์เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้น ในสัตว์บางชนิดอาจ พบการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้การสร้างความร้อนในตัวสัตว์ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้สัตว์ทนต่อความร้อนได้ ลดน้อยลงและอาจเกิดภาวะเครียดจากความร้อน (heat strees) ได้ สำหรับในคนผลข้างเคียงคือ ทำให้กล้ามเนื้อ โครงร่างสั่นกระตุก ขนลุก หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ถ้าหากได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อสุกร เนื้อสุกรที่ดีจะมีสีชมพูปนแดงเรื่อๆ นุ ่ม ผิ วเป็นมัน เนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือมีสีเขียวและส่วนที่เป็น มันแข็งควรเป็นสีขาวขุ่น ควรเลือกซื้อเนื้อสุกรจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ กรณีซื้อ เนื้อสุกรแช่เย็น ควรสังเกตวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งไม่ควรเกิน 3 วัน นับจากวันผลิตจนถึงวันที่ซื้อ ไม่ควรเลือกซื้อ เนื้อสุกรที่มีสีแดงเกินไปและมีไขมันบาง เพราะมีความเป็นไปได้สูงที่จะปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง เนื้อสุกรที่ปนเปื้อน สารเร่งเนื้อแดงถ้าหั่นและปล่อยทิ้งไว้เนื้อสุกรจะมีลักษณะแห้ง ส่วนเนื้อสุกรปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำซึมออกมา บริเวณผิว ส่วนของสามชั้น เนื้อสุกรปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน (33%) แต่สำหรับเนื้อสุกรที่มีการใช้สาร เร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อแดงสูงถึง 3 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน (25%) นั่นคือมีเนื้อแดงมากกว่ามัน เอกสารอ้างอิง กรมปศุสัตว์. 2554. การเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์. รายงานประจำปี 2554. หน้า 63. เรืองยุทธ ชัยวรพร. 2536. เลนดอล (เคลนบูเทอรอลกับการใช้เพิ่มคุณภาพซากสุกร). สุกรสาส์น, 19 (76). หน้า 9-10. สมโภชน์ ทับเจริญ เสน่ห์ ทองเอีย เนรมิต สุขมณี ศรีสุวรรณ ชมชัย. 2538. ผลการใช้สาร Beta-Adrenergic Agonist (salbutamol) ต่อสมรรถภาพการผลิตและลักษณะซากสุกรลูกผสม ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองและเหมยซาน. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33. หน้า 176-182. สุพล เลื่องยศลือชาสกุล. 2534. การใช้สารกลุ่ม Phenethanolamine ปรับปรุงคุณภาพซากสุกร ประโยชน์และอันตราย. ประชุมวิชาการทางสัตวแพทย์ ครั้งที่ 18 สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศ ไทย 4-6 พฤศจิกายน 2534. หน้า 173-178. Douglas Pharmaceuticals Ltd. 1999. “BUVENTOL EASYHALER®”. Information for health professionals. New Zealand medicines and medical devices safety authority. Online. http://www.medsafe.govt.nz/profs/datasheet/b/ buventolinhalpwd.htm. 11 January 2016. Hansen, J.A., Yen, J.T., Nelssen, J.L., Nienabe,r J.A., Goodban, R.D. and Wneeler, T.L. 1997. Effect of Somatotropin and Salbutamol in Three Genotypes of Finishing Barrows: Growth, Carcass and Calorimeter Criteria. J. Anim. Sci. 75. P. 1798-1804. Renold, J.E.F. and Prasdel, A.B. 1982. The Pharmaceutical Press. Martindale The Extra Pharmacopoeia 28th edition. London. P. 7-9. Warriss, P.D., Kestin, S.C., Rolph, T.P. and Brown, S.N. 1990. The Effects of the Beta-Adrenergic Agonist Salbutamol on Meat Quality in Pigs. J. Anim. Sci. 68. P. 128-136. Yen, J.T., Meramann, H.J., Hill, D.A. and Pond, W.G. 1990. The Effects of Ractopamine on Genetically Obese and Lean Pigs. J. Anim. Sci. 68. P. 3705-3712.

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


เสื้อ 12 ปี ครอบครัวชีวเคมี

ความหมาย ด้านหน้า ประกอบไปด้วยตราสัญลักษณ์ของสาขาและภาคเราตรงกลางมีชื่อมหาวิทยาลัย ด้านหลัง สื่อถึงงานครบรอบ 12 ปีครอบครัวชีวเคมี นาฬิกาสื่อถึงวันวานกาลเวลาหมุนมา ครบบรรจบรอบครอบครัวเรา 12 ปี ซึ่งประกอบด้วยรูปการ์ตูนเด็กคือนิสิตและรูปอาจารย์ กล้องสื่อถึงความทรงจำ

ผู้ออกแบบ นางสาวภัทราภรณ์ ป้องสาลี และ นายรัฐพงษ์ ภูมิภู 
 นิสิตสาขาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล ชั้นปีที่ 2

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


สวัสดี เราเป็นนักวิทยาศาสตร์

ผมเป็นลิง ครับ

เราอยากจะมาเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่ทั่วไปสำหรับพวกเธอแล้ว

เออ…กูรู้

เป็นเรื่องที่น่ารู้ แต่ไม่ต้องรู้ก็ได้ ไม่ค่อยมีประโยชน์หรอก อ่าว ?

(เป็นที่มาของคำว่า กูรู)

เอะ! แต่รู้ไว้ก็ดี แต่ก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าอยากรู้ก็อ่านได้ “ 10 เรื่องน่ารู้ ที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ ” ถ้าไม่อยากอ่าน ก็อ่านซะหน่อยเหอะ เริ่มงงละครับ

แล้วต้อ งยัง ไง

ยากอ่ะ!!

กินครบ 5 หมู่ แคลลอรี่ที่กิน กับเผาผลาญ ทำให้ส มดุล ลด ของมัน ของทอด

น้ำทะเลเค็มเท่ากันหมด เค็มเท่าเดิมเป็นร้อยปี คือมี NaCl ความเข้มข้น ~ 35 g/L หรือ ~ 0.6 M เดี๋ยวจะเอา NaCl ในแลปมาลอง ละลายกิน

เออ…อ่านไปเหอะ

2. กินอาหารพวกแป้ง (Carb.) มาก = อ้วน งดแป้ง ออกกำลังกาย เน้นโปรตีน = เก๊าท์

1. น้ำทะเลที่ว่าเค็มนั้นเค็มเท่าไร?

3. ดอกทานตะวันหันหน้าไปทางดวง อาทิตย์เพราะเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (แสง) เพียงด้านเดียว (Positive Phototropism) ทำให้ฮ อร์โมน Auxin ย้ายไปอยู่ด้านที่ไม่โดน แสงทำให้ด้านนั้นยืดยาวจึง ทำให้ดอกโค้ง หัน เข้าหาแสง

เออ…แล้วแต่

4. เคยได้กลิ่นเหรียญไหม ? จริงๆแล้ว เหรียญไม่มีกลิ่น แต่ก ลิ่นที่เราเคยได้ดมกัน คือกลิ่น “Octenone” ซึ่งมาจากไขมันจากมือเรา เอง โดยโลหะหลายตัวสามารถทำให้เกิดสารนี้ ได้และกลิ่นโลหะได้เช่นกัน

เอ้ายิ้มม

เออ…งั้นอ้วนเถอะ

5. LPG ขนาด 48 กก. 2 ถัง

6. ไวน์แดงดื ่ ม กั บ เน ื ้ อ เพราะไ วน ์ แ ดงม ี

ผลิต ภัณฑ์จากปิโตรเคมีจะได้ทั้งหมดนี้ Tannin สูงซึ่งจะเป็นตัวที่ช่วยจับตัวกับไขมันที่ม ี เชื้อเพลิง - เสื้อ 200 ตัว - หุ้งข้าว 1 ลิต รได้ มากในเนือ้ แดง ไวน์ขาวต้ อ งดื ่ ม กั บ ปลา - ท่อน้ำสีด ำขนาด6“ ยาว 7,000 หม้อ หรือไก่เพราะไวน์ขาวมีความเป็ น ก รดรสออก 12 เมตร หรือ - ยางมอเตอร์ไซค์ 2เส้น เปรี้ยวเสริม ให้อาหารรสชาติดีขึ้น - เติมรถยนต์วิ่งได้ - ประตูไม้ไวนิล 1 บาน 1,900 กม. มาววละจ้า - ขวดน้ำใสขนาด 1.5 L ประมาณคือไป 143 ขวด กลับกทม.- สงขลา - CD 690 แผ่น - ตู้เย็น ขนาด 9 คิว 2 ตู้

8. เมฆ 1 ก้อนนั้นมีน้ำหนัก มากกว่าช้าง 2 ตัว แต่ที่ลอยอยู่บนฟ้าได้ ก็เพราะเมฆนั้นคือหยดน้ำและเกร็ดน้ำแข็งที่มี ขนาดไม่เกิน 0.2 mm. กระจายตัวเป็นวงกว้าง และมีปริมาณมหาศาล

9. ที่ยาขมเพราะว่าสารส่วนใหญ่ที่ มีฤทธิ์เป็นยาจะมี Alkaloid อยู่ใน โครงสร้างซึ่งเป็นตัวที่ทำให้มีรสขม ฉะนั้นยาจึงขม

7. คาเฟอีนในกาแฟนั้นมีประโยชน์ใน การป้องกันและรัก ษาโรคอัลไซเมอร์เพราะ มันไปช่วยลดการสร้าง Beta- amyloid ที่เป็น สาเหตุของโรคได้ สักแก้วละกัน แต่ว่า คุณเป็นใครครับ

สงสัยต้อ งให้ กินวันละลิต ร

10. ตดที่มีกลิ่นเหม็นเกิดจากการย่อย อาหารที่มีโปรตีนสูง ตดที่ม ีแต่เสียงเกิด จากการย่อยอาหารประเภทแป้ง ลมตดจึง แรงและดัง

หวานเป็นลม ขมเป็นอะไร? ขมเป็นคนพา หวานไปโรงบาล

ขมเป็นยา

เออ…ไปพร้อมกันเลยไหม

อุ้ย.... ลั่น

ตดแบบนี้ขรี้เถอะ

แพรดด !!

*เนื้อหาเหล่าสามารถหาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ทั่วไปสอบถามพูดคุยกันได้ครับ

ณรงค์ แก้วสุวรรณ์ : เอ


Convert Units

แอพพลิเคชั่นดีมีประโยชน์ นัฐวุธ พุ่มศิลา ผู้เรียบเรียง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมมีแอพพลิเคชั่นดีมีประโยชน์มานำเสนอให้กับ ชาว ม.นเรศวรครับ แอพพลิเคชั่นที่อยากจะนำเสนอมีชื่อว่า “Convert Units ” Convert Units เป็น แอพพลิเคชั่นบน iOS ที่มีผู้ใช้จำหลายล้านคนทั่วโลก โดยทำหน้าที่ช่วย ให้การแปลงหน่วยเป็นเรื่องง่าย สะดวก รวดเร็ว และเหมาะกับโลกยุคปัจจุบัน ที่ต้องการ ความสะดวก และฉับไวอย่างมาก ซึ่ง Convert Unit สามารถแปลงหน่วยได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงิน (มีการอัพเดทค่าเงินด้วย) อุณหภูมิ หน่วยเวลา ความเร็ว หน่วยความดัน ความเข้มข้น หน่วยวัดปริมาตร เป็นต้น วิธีการแปลงหน่วยของแอพพลิเคชั่นนี้ ก้อไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอย่างใดเลย เพียงแค่เราเลือกประเภทของหน่วยที่อยากจะแปลงค่า พิมพ์ตัวเลขที่ต้องการ แล้วเลือกหน่วยที่เราจะเปลี่ยน เราก้อได้ค่าที่ต้องการออกมา ถือว่า ทำได้ง่ายมากๆครับ Convert Units สามารถมา Download ได้ Free ย้ำอีกครั้งนะครับ Free บน iTunes แนะนำนะครับแล้วคุณจะรู้ว่า เรื่องการแปลงหน่วย ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัวอีกต่อไป

ที่มา:https://itunes.apple.com/us/app/convert-units-free-best-unit/id337224035?mt=8

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


ครอบครัวชีวเคมี

ข้อมูลศิษย์เก่าชีวเคมี เข้าศึกษาปี 2548 รหัสนิสิต

คำนำหน้า

ชื่อ

นามสกุล

หลักสูตร

48030757 นาง

จันทร์เพ็ญ

ชำนาญพูด

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

48030771 นางสาว

เนรัฐชลา

สุวรรณคนธ์

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

48061850 นางสาว

เปี่ยมภัทรภิรมย์

เพ็ญสุวรรณ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

48061867 นางสาว

สมลักษณ์

กันธิยะวงษ์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

48061874 นาย

กรุง

ผิวพรรณ์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

48061881 ร้อยตำรวจโท

ขวัญใจ

คำยศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

48061904 นาย

สุรศักดิ์

ใจเขียนดี

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

เข้าศึกษาปี 2549 รหัสนิสิต

คำนำหน้า

ชื่อ

นามสกุล

หลักสูตร

49060494 นางสาว

เจนจิรา

บุญธิมา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

49061255 นาย

พิสิฐ

ภมรศิลปธรรม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

49061934 นางสาว

สินีนาฏ

เข็มบุบผา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

49062139 นางสาว

สุวภา

น้อยจาก

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

49062207 นางสาว

อธิรดา

บุญเดช

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

49062344 นางสาว

อัจฉโรบล

ธัญญะเจริญ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

49062375 นาย

อาทิตย์

ทิมอ่วม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

49062429 นาย

จักรพงษ์

คนธรรม์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

เข้าศึกษาปี 2550 รหัสนิสิต

คำนำหน้า

ชื่อ

นามสกุล

หลักสูตร

50030410 ร้อยโทหญิง

สายศิริ

มีระเสน

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

50031509 นางสาว

กนกทิพย์

เพชรรัตน์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

50060179 นางสาว

จุฑามาศ

เทพมาลี

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

50060180 นางสาว

นงนุช

สิงห์แรง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

50060181 นางสาว

นริศรา

จันทรประเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

50060182 นางสาว

นิจติยา

สุวรรณสม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

50060183 นางสาว

รุ่งทิพย์

ทองบุญโท

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

50060278 นางสาว

ปราณี

เลิศแก้ว

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


ครอบครัวชีวเคมี

เข้าศึกษาปี 2551 รหัสนิสิต

คำนำหน้า

ชื่อ

นามสกุล

หลักสูตร

51061468 นาง

คุรุวัลย์

กลิ่นบำรุง

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

51061642 นางสาว

ธิดารัตน์

พรหมมา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

51061659 นาย

พฤฒิ

บุญยิ้ม

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

51062588 นาย

ธงชัย

หน่อแก้ว

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

51063295 นาย

ชาติชาย

ไชยชนะ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

เข้าศึกษาปี 2552 รหัสนิสิต

คำนำหน้า

ชื่อ

นามสกุล

หลักสูตร

52060415 นาย

ณรงค์

แก้วสุวรรณ์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

52062853 นาย

นัฐวุธ

พุ่มศิลา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

เข้าศึกษาปี 2553 รหัสนิสิต

คำนำหน้า

ชื่อ

นามสกุล

หลักสูตร

53062746 นางสาว

วนิดา

ถุงคำ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

53062753 นาย

วิวัฒน์

สนมฉ่ำ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

53061053 นาย

ปิยะ

ประจำวงศ์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

เข้าศึกษาปี 2555 รหัสนิสิต

คำนำหน้า

55030019 นางสาว

ชื่อ กัญจน์ณัฏฐ์

นามสกุล เทอญชูชีพ

หลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี

เข้าศึกษาปี 2556 รหัสนิสิต

คำนำหน้า

56061685 นางสาว

ชื่อ วาจาทิพย์

นามสกุล บูรณวิชิต

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.