พันธุ์ไม้ ไม้ ผลไม้ สมุนไพร ชาดก มหาชาติชาดก

Page 1



คู่มือการศึกษาพันธุ์ไม้ ในมหาชาติล้านนา



คณะท�ำงาน *ที่ปรึกษา - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรินทรีย์ เยาว์ธานี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย - อาจารย์ ดร.ศรีวรรณ ไชยสุข ผอ. สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้อง ถิ่นและอาเซียน *ข้อมูล - อ. ดร. สมหวัง อินทร์ไชย ผอ.ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม - อ. ดร. อดิเทพ วงค์ทอง รอง. ผอ. ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม - ดร. เจษฎา สอนบาลี นายอณุสรณ์ บุญเรือง น.ส. สมลักษณ์ ยาเจริญ - นางสุรีย์ ใจดี นายศิวัชโณทัย กุค�ำใส นายกฤตภาส ยะกันโท - น.ส.ศศิธร หาสาตร์สิน *ภาพถ่าย - นายสุทธิ มลิทอง จัดพิมพ์โดย : สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิง่ แวดล้อมเพือ่ พัฒนาท้องถิน่ และอาเซียน ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม พิมพ์ครัง้ ที่ : ๑ (สิงหาคม ๒๕๖๐) จ�ำนวนพิมพ์ : ๙๐๐ เล่ม ISBN : ออกแบบและพิมพ์ท่ี : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด เทคโนปริ้นติ้งเซ็นเตอร์


ค�ำน�ำ หนังสือ “คู่มือการศึกษาพันธุ์ไม้ในมหาชาติล้านนา” ฉบับนี้ เป็นผลงานต่อ เนื่องจากการศึกษาเอกสารโบราณล้านนาเรื่องมหาชาติล้านนาฉบับสร้อยรวมธรรม ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์มีการกล่าวถึงนิเวศวิทยาพันธุ์ไม้ไว้หลาย แห่ง โดยเฉพาะกัณฑ์ที่ ๖ จุลพน (ป่าเล็ก) และกัณฑ์ที่ ๗ มหาพน (ป่าใหญ่) ซึ่งเป็น กัณฑ์ที่มีชื่อพันธุ์ไม้ปรากฏมากที่สุด ปราชญ์ล้านนาในอดีตที่รจนามหาชาติล้านนา ฉบับสร้อยรวมธรรมขึ้น ได้รวบรวมรายชื่อและสภาพทั่วไปของพันธุ์ไม้พื้นเมืองไว้ มากมาย ดังนั้น คณะผู้จัดท�ำจึงน�ำมาเรียบเรียง วิเคราะห์ และจัดท�ำเป็นคู่มือขึ้น โดย มีเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ในล้านนา ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับ พันธุ์ไม้ ต้นฉบับของมหาชาติล้านนากัณฑ์ที่ ๖ – ๗ และข้อมูลพันธุ์ไม้พร้อมทั้งรูปภาพ ประกอบ เพื่อให้ผู้สนใจได้ใช้เป็นคู่มือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ การจัดพิมพ์ในครั้งนี้ ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับความร่วมมือกับ สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน และคณะมนุษยศาสตร์ เพื่อร่วมกันสร้างจิตส�ำนึกให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัย และผู้สนใจทั่วไป ให้ร่วมกันอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นล้านนา ตาม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการศึกษาพันธุ์ในมหาชาติล้านนา เล่มนี้ จะเป็นข้อมูลที่ส�ำคัญส�ำหรับผู้ที่สนใจใคร่เรียนรู้ และเป็นการช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาอีกทางหนึ่งด้วย

คณะผู้จัดท�ำ


สารบัญ พันธุ์ไม้ในมหาชาติล้านนา ฉบับสร้อยรวมธรรมที่ปรากฏ ในพิธีกรรมของชาวล้านนา พันธุ์ไม้ในมหาชาติล้านนา ฉบับสร้อยรวมธรรมที่สัมพันธ์กับ คติความเชื่อของชาวล้านนา พืชสมุนไพรที่ปรากฏในมหาชาติล้านนา ฉบับสร้อยรวมธรรม การปริวรรตมหาชาติล้านนา ฉบับสร้อยรวมธรรมกัณฑ์ที่ ๖ จุลพน และ กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน พันธุ์ไม้ในมหาชาติล้านนา ฉบับสร้อยรวมธรรม บรรณานุกรม



พิธีกรรม (rite) พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึง การบูชา แบบ อย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา โดยมาจากค�ำว่า พิธี ซึ่งแผลงมา จากค�ำว่า วิธี แต่มาในภายหลัง ค�ำว่า พิธี มีความหมายเลือนลางและคลาดเคลื่อนไป ท�ำให้ลักษณะการใช้จึงมีความหมายแตกต่างกันไปบ้าง ในดินแดนล้านนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน “พิธีกรรม” ถือเป็นสิ่งแสดงออกหนึ่ง ของการเป็นผู้มีซึ่งวัฒนธรรม ดังจะสังเกตได้จากความหลากหลายทางประเพณีและ ธรรมเนียมปฏิบัติอันน่าสนใจเต็มไปด้วยเสน่ห์และมนต์ขลังของกระบวนวิธีการ อีกทั้ง ดินแดนล้านนามีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตภูเขาสลับกับพื้นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา ความหลากหลายของผู้คนที่อาศัยอยู่มีความกระจัดกระจายตัวแบ่งกันเป็นกลุ่มๆ ที่ เรียกว่า กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา โดยแต่ละกลุ่มจะมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมเก่าแก่ เป็นของตนเอง มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละชาติพันธุ์ แต่ก็ยังมีองค์ประกอบส�ำคัญที่ คงคล้ายคลึงกันอยู่มาก อาทิ ส�ำเนียงการพูด ศิลปะการขับร้อง ฟ้อนร�ำ การด�ำรงชีวิต แบบชุมชนเกษตรกรรม การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของบรรพบุรุษ ความ เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทการ การแสดงออกของความรู้สึก นึกคิดและอารมณ์โดยผ่านภาษาวรรณกรรม ดนตรี และงานหัตถกรรมฝีมือต่าง ๆ แม้ กระทั่งการส่งต่อองค์ความรู้โดยผ่านรูปแบบหรือสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมของคนล้าน นาที่มีมาแต่โบราณ ในพิธีกรรมของคนล้านนา พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ถูกน�ำมาใช้เป็นเครื่องประกอบพิธี เช่น พิธีสืบชะตา พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ พิธีบูชาไม้ศรีมหาโพธิ เป็นต้น โดยจะแสดงถึงนัยยะ ความหมายเชิงคติธรรมค�ำสอนเป็นหลัก และใช้เป็นสัญลักษณ์ความเป็นมงคลนาม ตามชื่อของพันธุ์ไม้ ซึ่งเชื่อกันว่าหากใช้เป็นเครื่องประกอบพิธีหรือการได้ใช้ประโยชน์ ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีกรรมนั้นจะสามารถดลบันดาลให้สิ่งดี ๆ บังเกิดมีแก่ตนเองและ ครอบครัวรวมถึงผู้เข้าร่วมประกอบพิธีดังกล่าวนั้นด้วย


ภาพ : 1โขงสืบชะตาในพิธกี รรมสืบชะตาล้านนา

ดังนั้น ในการประกอบพิธีกรรม ต่างๆ ของล้านนา จึงมีพันธุ์ไม้มากมาย ทั้ง ไม้ดอก ไม้ผล และไม้ประดับ เข้าไป เกี่ยวข้องเพื่อเป็นส่วนหนึ่งพิธีกรรม และ พันธุ์ไม้เหล่านั้น ก็เป็นตัวแทนของความ ดี ง ามความเจริ ญ งอกงามให้ แ ก่ ผู ้ ประกอบพิธีและผู้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของพิธี รวมถึงเป็นเครื่องรางป้องกันสิ่ง ชั่วร้ายต่างๆ เช่น ข้าว กล้วย อ้อย มะพร้าว ต้นอ้อ หญ้าคา ไม้ไผ่ เป็นต้น

อีกประการหนึ่งระบบคิดของ คนสมั ย โบราณพั น ธุ ์ ไ ม้ ที่ น� ำ มาใช้ ใ น พิธีกรรมส่วน ใหญ่หากเปรียบเทียบกับ ความคิด สามารถใช้แทนเงินตราหรือ ทรั พ ย์ สิ น ราคาเพื่ อ น� ำ มามอบให้ แ ก่ พิทธาจารย์ ผู้ประกอบพิธีการบูชาเฉก เช่นเดียวกับการมอบปัจจัยเงินทองให้ แก่ มั ค ทายกผู ้ ท� ำ หน้ า ที่ ป ระกอบ พิธีกรรมในปัจจุบัน

ภาพ : 2 สะตวง หรือกระบะเครื่องบัตรพลี



นอกจากพืชจะให้ประโยชน์แก่มนุษย์ในแง่เป็นอาหารเลี้ยงชีวิตให้มีพละ ก�ำลังสามารถกระท�ำกิจกรรมต่างๆ ที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีพและเป็นยาหรือสมุนไพร บ�ำรุงสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์ บ�ำบัดและบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บได้แล้ว พืช ยังมีบทบาทต่อคนในสังคมอีกแง่หนึ่งคือ ในแง่ของการเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งมี อิทธิพลต่อสังคมและหล่อหลอมจนกลายเป็นคติความเชื่อที่ผู้คนในสังคมนั้นๆ ยึดถือ และปฏิบัติสืบต่อๆ กันมา ดังจะเห็นได้ว่าในทุกสังคมต่างก็มีความเชื่อเรื่อง พืชพรรณ ไม้ด้วยกันทั้งนั้น แต่อาจจะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อ การเกิด การเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ พื้นฐานความรู้ความเข้าใจของผู้คนต่อธรรมชาติ หรือสิ่ง เหนือธรรมชาติ ตลอดจนความเข้มแข็งของสังคมในอันที่จะอนุรักษ์มรดกทาง วัฒนธรรมของตนได้มากน้อย ยาวนานเพียงใด ในสังคมไทยทั่วไป บรรพบุรุษของเรามีความเชื่อเกี่ยวกับพรรณไม้และทิศ ที่ เหมาะสมในการปลูก ดังปรากฏใน “ต�ำราพรหมชาติ” ซึ่งมีรายละเอียดเรื่อง การปลูก ต้นไม้ในบริเวณบ้าน ว่าทิศไหนควรจะปลูกต้นไม้ชนิดใด จึงจะเป็นสิริมงคล หรือใน ทางตรงกันข้ามอาจจะน�ำความอัปมงคลมาสู่ผู้อยู่อาศัยก็ได้ เช่น ทิศอุดร (เหนือ) ควรปลูก ส้มป่อย ส้มซ่า มะเดื่อ ทิศทักษิณ (ใต้) ควรปลูก มะม่วง มะพลับ ตะโก ทิศบูรพา (ตะวันออก) ควรปลูก ไผ่สีสุก กุ่ม มะพร้าว ทิศประจิม (ตะวันตก) ควรปลูก มะขาม มะยม พุทรา หากพิเคราะห์ดู จะเห็นว่าพันธุ์ไม้ที่มีชื่อกล่าวไว้ข้างต้นนี้ นอกจากจะเป็น ประโยชน์แก่เจ้าของบ้านในด้านเป็นอาหาร เป็นยา แล้วชื่อของต้นไม้ยังมีความหมาย ดี หรือเป็นมงคลอีกด้วย เช่น ปลูกมะขาม เพื่อคนอื่นจะได้เกรงขาม ปลูกกุ่ม ท�ำให้ ครอบครัว ทรัพย์สมบัตร ข้าวของเป็นกลุ่มเป็นก้อน ไม่กระจัดกระจาย ปลูกมะยม ท�ำให้เป็นที่นิยมชมชอบของผู้อื่น ฯลฯ


นอกจากจะชี้แนะให้ปลูกไม้มงคลแล้ว คนโบราณยังได้กล่าวห้ามปลูกไม้ อัปมงคลไว้ด้วย เพราะเชื่อว่าหากผู้ใดน�ำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านก็จะยังผลให้เกิด ความทุกข์ ความเสื่อมเสีย น�ำโชคร้ายมาสู่ชีวิตตนและครอบครัวได้ ไม้ที่คนโบราณ ถือว่าเป็นไม้อัปมงคล เช่น ลั่นทม เพราะจะมีแต่ความทุกข์ระทม ตะเคียน เพราะเชื่อ ว่ามีผีนางตะเคียนสิงอยู่ ระก�ำ ก็จะท�ำให้พบแต่ความชอกช�้ำระก�ำใจ สน ก็จะพบแต่ ความขัดสนจนปัญญา เป็นต้น ในสังคมล้านนา คติความเชื่อเกี่ยวกับพรรณไม้มงคลหรืออัปมงคลเข้ามามี บทบาทต่อวิถีชีวิตของคนล้านนาเป็นอย่างมาก ทั้งในชีวิตประจ�ำวัน ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ฯลฯ เช่น ไม้ที่ควรปลูกในบริเวณบ้าน ได้แก่ ไม้หนุน (ขนุน) เชื่อว่า จะ ได้รับการเกื้อหนุนจุนเจือจากผู้อื่น ช่วยหนุนข้าวหนุนของ ไม้แก้ว (พิกุล) จะท�ำให้อุดม สมบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง เป็นต้น ส่วนไม้ที่นิยมใช้ในประเพณี พิธีกรรม เช่น กล้วย อ้อย พร้าว (มะพร้าว) ตาล เหล่านี้ เชื่อว่าเป็นของสูง การน�ำไปใช้ในพิธีกรรมจึง เป็นการให้เกียรติ แสดงความเคารพยกย่อง ประกอบกับ พันธุ์ไม้ดังกล่าวมีผลดอก ก็ จะเชื่อว่าจะท�ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เจริญงอกงามไปด้วย ส่วนพรรณไม้อัปมงคล ตามความเชื่อของชาวล้านนานั้น เช่น ลมแล้ง ลั่นทม หากปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เชื่อ ว่าจะน�ำความแห้งแล้งกันดาร ความทุกข์ ระทม มาสู่คนในบ้าน ส่วนไม้ที่ห้ามน�ำมาส ร้างบ้านแปลงเรือน เช่น ไม้ตะเคียน ไม้ไส้กลวง (ประเภทไผ่) ไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้ศาล ประจ�ำหมู่บ้าน ฯลฯ เชื่อว่าจะท�ำให้ เดือดร้อน อยู่ไม่เป็นสุข โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ท�ำมาหากินไม่ขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวล้านนายังมีความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับพืชพรรณไม้อีกด้วย เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแฝด เชื่อว่าจะท�ำให้มีลูกแฝด ไม่ให้กินพืชผักที่มีมือ เกาะ เช่น ต�ำลึง ฟักแฟง เพราะจะท�ำให้คลอดยาก เนื่องจากรกเกาะติด ห้ามผู้ที่มี คาถา อาคม สักยันต์ต่างๆ กินผักปลัง เชื่อว่าจะท�ำให้คาถาเสื่อม หรือไม่ขลังอีกต่อไป


ส�ำหรับพืชสมุนไพรในมหาพนต�ำรายา นอกจากผู้จัดท�ำจะได้รวบรวมความ เชื่อ ในเรื่องประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะประโยชน์ทางยา ทั้งช่วยในการบ�ำบัด รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นยาบ�ำรุงร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ยังได้น�ำเสนอ ความเชื่อของชาวล้านนาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรแต่ละชนิดในแง่อื่นๆ ทั้งในแง่ที่ดีและ ไม่ดี เช่น ควรปลูกพืชชนิดไนไว้ทางทิศใดของบ้าน ปลูกอย่างไรจึงจะเจริญงอกงาม มี ข้อห้ามและข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับพืชเหล่านั้นอย่างไรบ้าง เช่น ให้เด็ดปลายใบพลู ออก ก่อนที่จะน�ำมากินกับหมาก หากไม่ท�ำดังกล่าว จะท�ำให้คาถาอาคมเสื่อม หมาเหนือง (หมามุ่ย) ปรุงผสมกับสมุนไพรตัวอื่น กินแล้วจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพ ทางเพศ และ ท�ำให้มีลูกดก ห้ามหญิงโสดน�ำดอกสะบันงา (กระดังงา) มาเหน็บผม หรือถวายพระ เชื่อว่าหากแต่งงานไปแล้วจะท�ำให้เป็นหม้าย ฯลฯ พันธุ์ไม้ในมหาชาติล้านนา ฉบับสร้อยรวมธรรมทั้ง ๑๓ กัณฑ์ มีมากมาย หลายชนิด ซึ่งคณะผู้จัดท�ำได้รวบรวมมีจ�ำนวนถึง ๑๕๐ กว่าชนิด ซึ่งชาวล้านนาได้มี คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ไม้เหล่านั้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ด้านประเพณี พิธีกรรม การรักษาพยาบาลโรคภัยไข้เจ็บ การน�ำมารับประทานเป็นอาหาร การจัดท�ำ สิ่งปลูกสร้าง ตลอดถึงการเพาะปลูก เป็นต้น ในที่นี้จะได้น�ำเอาคติความเชื่อที่ปรากฏ ในพันธุ์ไม้ในมหาชาติล้านนาบางชนิดมาแสดงไว้เป็นตัวอย่าง เพื่อแนวทางในการ ศึกษา ดังนี้ ๑. กล้วยกับคติความเชื่อของชาวล้านนา กล้วยเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง คนล้านนาออกเสียงว่า “ก้วย” หรือ “โก้ย” มี หลายชนิด ซึ่งในมหาชาติล้านนาไม่ได้เจาะจงว่าเป็นกล้วยชนิดใด โดยทั่วไป คนล้าน นาจะมีความเชื่อแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป ดังนี้ ๑. ห้ามหญิงมีครรภ์รับประทานกล้วยจนหมดลูก จะท�ำให้ลูกในท้องอ้วน คลอดยาก ๒. ห้ามหญิงมีครรภ์รับประทานกล้วยแฝด เชื่อว่าหากรับประทานแล้ว ลูก ออกมาจะเป็นลูกแฝด ตัวติดกันเหมือนกล้วย


๓. คนที่มีคาถาห้ามลอดใต้ต้นกล้วยที่คอตก หรือโค้งงอลงมา เชื่อว่าจะท�ำให้ คาถาเสื่อม ๔. ใบกล้วยตีบแห้ง แช่น�้ำให้แม่มาน (หญิงมีครรภ์) อาบจะท�ำให้คลอดง่าย ๕. ใบกล้วยตีบดิบใช้ในพิธีกรรม “คนฮักคนหุม” โดยการน�ำใบดิบมาลง อักขระ และชื่อคนที่ต้องการให้รักกันลงไป แล้วน�ำไปให้วัวกิน จะท�ำให้คนที่มีชื่อใน ใบตองกระวนกระวายใจ คิดถึงกันตลอดเวลา ๖. หญิงให้นมลูกที่ไม่มีน�้ำนม ให้กินหัวปลีกล้วยตีบค�ำ จะท�ำให้มีน�้ำนมมาก ขึ้น ๗. ใบกล้วยน�้ำว้าที่ลิดออกจากก้าน เพื่อจะน�ำไปห่อขนมถวายพระห้ามข้าม เชื่อว่าบาป ไม่เป็นสิริมงคลส�ำหรับตนเอง ๘. ก้านใบกล้วยที่ตัดใบตองมาแล้ว เมื่อจะน�ำไปทิ้ง ต้องตัดเป็นท่อนๆ ให้ หมด เชื่อว่าหากไม่ตัด เอาไปทิ้งทั้งอย่างนั้น ผีโพงหรือผีกระสือจะน�ำก้านกล้วยนั้นมา พุ่งข้ามหลังคา ท�ำให้คนทั้งเรือนกลายเป็นผีโพงหรือผีกระสือไปด้วย ๙. ตองกล้วยง�ำเครือ คือ ใบกล้วยที่ปกอยู่บนเครือกล้วยนั้น สามารถใช้เสก คาถาแล้วกั้นที่ใบหน้า เมื่อมองผ่านออกไปยังสาวที่เป็นผีกระ จะพบว่ามีลิงสองตัว เกาะที่บ่าคอยเลียแก้มให้ขาวนวลเปล่งปลั่งอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า ถ้าเขียน คาถาองคุลีมาลลงบนใบตองชนิดนี้แล้ว และใช้แช่ให้หญิงใกล้คลอดได้อาบบ่อยๆ แล้ว จะช่วยให้หญิงนั้นคลอดได้ง่าย ๒. ต้นแก้วกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ต้นแก้วหรือดอกแก้ว เป็นชื่อของดอกพิกุลนั่นเอง เป็นไม้ดอกที่ล้านนนาให้ ความส�ำคัญมาก เป็นการเปรียบหญิงสาวที่สวยงามว่าเป็น “ดอกแก้ว” เช่นที่ปรากฏ ในเพลงน้อยไจยาว่า ...ดอกพิกุลก็คือดอกแก้ว ไปเป็นของเพิ่นแล้วละเนอ...” ความ เชื่อของคนล้านนาที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ ๑. ต้นแก้วหรือพิกุล หากปลูกไว้กับบ้านจะท�ำให้มี แก้วแหวนเงินทอง และ ทรัพย์สินมาก


๒. ใบแก้ว ใบขนุน และใบบ่าตัน (พุทรา) น�ำมารองไว้ก้นยุ้งข้าว เชื่อว่าจะ ช่วยหนุนน�ำให้มีข้าวอุดมสมบูรณ์ พอเพียงส�ำหรับกินตลอดปี ๓. กาสะลองกับคติความเชื่อของชาวล้านนา กาสะลอง อ่านว่า “ก๋าสะลอง” ตามภาษาล้านนา ภาคกลางเรียกว่า “ดอก ปีบ” ต้นกาสะลองมีทั้งชนิดกาสะลองธรรมดาและกาสะลองค�ำ ชาวล้านนามีความ เชื่อดังต่อไปนี้ ๑. กาสะลองเป็นไม้มงคล มีกลิ่นหอม จึงนิยมใช้ในงานมงคลต่างๆ ๒. ตามคัมภีร์ล้านนาบางฉบับกล่าวว่า ดอกกาสะลองได้บานเต็มต้นเพื่อบูชา พระมาลัย ดังนั้น เมื่อมีการเทศน์มหาชาติ ชาวล้านนาจึงน�ำเอาไม้ไผ่ขัดแตะที่ กระหนาบดอกกาสะลองเป็นแผงแขวนไว้รอบธรรมาสน์ เพื่อบูชาพระเทศน์กัณฑ์ มาลัยต้นและมาลัยยปลาย ๓. กาสะลองเป็นไม้ที่ชุ่มเย็น หากน�ำไปถวายพระจะท�ำให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากเรื่องราวเดือดร้อนต่างๆ ๔. หมากขามกับคติความเชื่อของชาวล้านนา หมากขามหรือบ่าขาม คือมะขามตามชื่อเรียกของภาคกลาง คนล้านนามี ความเกี่ยวข้องกับมะขามหลายแง่มุม เช่น ในปริศนาค�ำทายว่า “เมื่อหน้อยมันแหน้ นมันหนา ใหญ่มาดังโละๆ หรือว่า เค้าเท่าเรือไม้ห่อเกลือบ่มิด”ในด้านความเชื่อมีดังนี้ ๑. มะขามต้นใดที่มีรสหวาน หากน�ำผลอ่อนหรือผลดิบมาจิ้มน�้ำตาลหรือ เกลือ เชื่อว่าจะท�ำให้ต้นนั้นกลายเป็นมะขามเปรี้ยวภายใน ๓ ปี ๒. มะขามเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้หน้าบ้าน เชื่อว่าจะท�ำให้มีคนเกรงขาม ๓. นิยมใช้ไม้มะขามท�ำเขียง เชื่อว่าหากน�ำเนื้อมาลาบกับเขียงไม้มะขาม แล้ว เอาขี้เขียง (เศษเนื้อที่ติดเขียง) ไปผสมอาหารให้สุนัขกิน จะท�ำให้สุนัขดุขึ้นและกัดเก่ง ๔. ห้ามผู้หญิงขึ้นต้นมะขาม เพราะจะท�ำให้ต้นมะขามแตกแยกออกจากกัน


๕. หมากขามป้อมกับคติความเชื่อของชาวล้านนา หมากขามป้อมหรือบ่าขามป้อม คือ มะขามป้อมสัมพันธ์กับความเชื่อใน พระพุทธศาสนาเกี่ยวกับต้นไม้ตรัสรู้ หรือไม้โพธิพฤกษ์ โดยมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปุสสะทรงตรัสรู้ภายใต้ต้นไม้มะขามป้อม ส่วนความเชื่อของชาวล้านนา คือ คนมีคาถาจะไม่กินมะขามป้อม เชื่อว่าจะท�ำให้ยันต์ คาถาที่มีอยู่เสื่อมลงหรือไม่ขลัง อีกต่อไป เช่น หากเกิดการต่อสู้ ชกต่อยกัน แม้แต่ไม้ต๋ง (ไม้เครื่องเรือนที่วางบนรอด หรือคาน ส�ำหรับรองพื้นกระดานหรือฟาก) ที่ผุๆ ยังสามารถท�ำให้ร่างกายบาดเจ็บถึง เลือดตกยางออกได้ ๖. เข้าสาลีหรือเข้าโพดกับคติความเชื่อของชาวล้านนา เข้าสาลีหรือข้าวสาโล ภาคกลางเรียกว่าข้าวโพด ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ในขณะ ปลูกข้าวโพด หรือข้าวสาลีนั้น ผู้ปลูกห้ามยิ้มหรือหัวเราะ เพราะว่าถ้าผู้ปลูกมีฟันห่าง หรือฟันหลอ จะท�ำให้ข้าวโพดออกไม่เต็มแถว มีเมล็ดห่าง ไม่สวย ๗. ผักแคบกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ผักแคบก็คือผักต�ำลึงของภาคกลาง เป็นพืชผักสวนครัวชนิดหนึ่งใช้ปรุงเป็นอาหาร ชนิดต่างๆ มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. ผักแคบจะมียางเหนียวๆ เชื่อว่า ยางเหนียวนี้จะเป็นตัวน�ำให้สาน (ซีดหรือ ก้อนไขมันในร่างกาย) ไปเกาะตามร่างกาย เมื่อคนที่เป็นลมสานกินเข้าไปจะท�ำให้สาน กระจายไปเกาะตามเส้นเลือด หรือกระจายไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของ ร่างกาย เช่น แขน ขา เป็นต้น ๒. ห้ามหญิงมีครรภ์รับประทาน เพราะเมื่อคลอดจะท�ำให้รกเกาะ ไม่ยอม ออกเหมือนกับมือผักแคบ


๘. เครือเขาค�ำกับคติความเชื่อของชาวล้านนา เครือเขาค�ำเป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง ที่มักจะขึ้นตามต้นไม้ทั้งที่เป็นไม้พุ่มและไม้ ยืนต้น มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. เครือเขาค�ำที่ขึ้นต้นบ่าเขือบ้าหรือล�ำโพง ยาสูบ และถอบแถบน�้ำ ไม่ควร กิน หากกินเข้าไปจะท�ำให้มีอาการมึนเมา สติแตก เป็นบ้าได้ ๒. หญิงมีครรภ์ และคนท้องผูก ไม่ควรกินเมล็ดพืชนี้ เชื่อว่าจะท�ำให้รกเกาะ ติด และจะไม่ถ่ายท้อง เพราะจะท้องผูกเป็นเส้นสายยืดยาวเหมือนเครือเขาค�ำ ๙. เข้าหมิ้นกับคติความเชื่อของชาวล้านนา เข้าหมิ้นหรือขมิ้นในภาษาไทยกลาง มีหลายชนิด เช่น เข้าหมิ้นขึ้น เข้าหมิ้น เครือ เข้าหมิ้นหัว เข้าหมิ้นต้น เป็นต้น แต่ละชนิดมีลักษณะเด่นเหมือนกันคือมีสี เหลือง มีความเชื่อที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. ขมิ้นชันหรือเข้าหมิ้นขึ้นที่มีคุณภาพ ต้องมีอายุอย่างน้อย ๘ – ๑๐ เดือน ต้องไม่เก็บไว้นานจนน�้ำมันหอมระเหยไปหมด และต้องเก็บให้พ้นแสง ๒. ใช้ขมิ้นชันทาหน้าและผิวพรรณเป็นประจ�ำจะช่วยท�ำให้ผิวหน้านุ่มนวล ผิวพรรณผุดผ่อง และป้องกันไม่ให้ขนงอก ๓. เอาหัวขมิ้นชันมาเสกด้วยคาถา “อิกะวิติโอม พญาขมิ้น ลิ้นกูเป็นทองแดง ตับกูแข็งเป็นดังศิลาแลง หัวกูแข็งยิ่งกว่าคนทังหลาย เดชะคุณครูประสิทธิให้กู โอม สวาหะ” เสก ๓ คาบ ๗ คาบ จึงเคี้ยวกินหัวขมิ้นนั้น หรือเก็บติดตัวไป เชื่อว่าสามารถ ป้องกันศาสตราวุธ ของมีคมต่างๆ ได้ ๔. หากรับประทานขมิ้นเป็นประจ�ำจะท�ำให้มีอายุยืนยาว เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาก�ำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ๕. พกขมิ้นติดตัวเวลาเดินทาง จะช่วยป้องกันสัตว์ร้ายและศัตรูมิให้ท�ำ อันตรายได้


๖. เอาขมิ้นมาท�ำเป็นน�้ำมันมนต์หรือขี้ผึ้ง แตะริมฝีปากหรือใบหน้าก่อนออก จากบ้านไปท�ำมาค้าขายหรือพบผู้ใหญ่ เชื่อว่าจะท�ำให้ค้าขายคล่อง เป็นที่รักของผู้ พบเห็น และผู้ใหญ่ที่ไปพบ ๗. ชายฉกรรจ์สมัยโบราณ ก่อนจะออกรบกับข้าศึกศัตรูจะต้องผ่านพิธีกรรม คุณไสย “ข่าม” เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน และจะทาขมิ้นทั้งตัวในวันข้างขึ้น ๓ ครั้ง และ ท�ำให้ฟันแทงไม่เข้า ๘. หลังจากปลูกต้นขมิ้นเสร็จแล้ว ก่อนรดน�้ำให้เสกคาถา “อิติปิโสภควา” จนจบ ๑ จบ หรือ “นะโม พุทธายะ” ๓ จบจะท�ำให้ต้นขมิ้นเจริญเติบโตงอกงาม มี สรรพคุณและฤทธิ์ที่แรง ๙. เป็นไม้มหามงคล หากปลูกไว้กับบ้าน จะช่วยปกป้องคุ้มครองผู้อาศัยอยู่ ในบ้านเรือน ๑๐. หากพกติดตัวในระหว่างเดินทาง จะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากสัตว์ ร้ายทั้งปวง และศัตรูที่คิดร้าย หากจะให้ผลดีต้องท่องคาถาก�ำกับด้วยว่า “เมกะ มะอุ นะโม พุทธายะ” ๓ จบ ๑๑. การปลูกต้นขมิ้นจะให้เจริญเติบโตได้ดี และมีสรรพคุณดีต้องปลูกวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น ๑๐. จักไคร้กับคติความเชื่อของชาวล้านนา ความเชื่อเกี่ยวกับจักไคร้หรือตะไคร้ของชาวล้านนา มักจะเน้นเกี่ยวกับความ ศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้ หากไม่ต้องการให้ฝนตกในช่วง วัน เวลาใด เช่น วันงานปอยต่างๆ หรือวัน งานพิธีส�ำคัญๆ ให้ท�ำพิธีกรรม “แป๋งฝน” เป็นการบวงสรวงเทวดาให้ช่วยห้ามฝน โดย ให้หญิงหม้ายที่สามีตาย ปลูกจักไคร โดยการเอาส่วนปลายลงปลูก เชื่อว่าจะท�ำให้ฝน ไม่ตกในช่วงวันเวลาดังกล่าว


๑๑. จ�ำปากับคติความเชื่อของชาวล้านนา ต้นจ�ำปา ชาวล้านนาออกเสียงว่า “จ�๋ำปา” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. ไม่นิยมปลูกต้นจ�ำปาในบริเวณบ้าน เชื่อว่าจะท�ำให้ร้อนข้าวร้อนของ คือ เก็บเงินไม่อยู่ ดังนั้น จึงมักปลูกตามวัด หรือที่สาธารณะ ๒. หญิงสาวที่ต้องการน�ำดอกจ�ำปามาเสียบผม เมื่อเก็บมาจากต้น ไม่ควรสูด ดมกลิ่นทันที ยิ่งเป็นดอกที่อยู่บนต้นไม้ยิ่งไม่ควรดม เพราะอาจจะถูกคาถาที่มีผู้มาลง ไว้ได้ จะท�ำให้เกิดอาการคลั่งไคล้ใหลหลงเจ้าของอาคมนั้นได้ จึงมีเคล็ดว่าถ้าต้องการ จะดมให้เอาดอกไม้เช็ดผ้าถุงก่อน เพื่อป้องกันคาถาที่อาจมีผู้มาเสกไว้ ๑๒. ชุ่งชาลิงกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชุ่งชาลิง ออกเสียงว่า “จุ่งจาลิง” แปลตรงตัวคือชิงช้าลิงหรือวานรนั่นเอง ภาคกลางเรียกว่า “บอระเพ็ด” เป็นเครือเถาวัลย์ขึ้นและเจริญเติบโตตามต้นไม้ต่างๆ มีรสขม มีอยู่ ๒ ชนิด คือ ชุ่งชาลิงตัวผู้เถาเป็นตุ่ม และชุ่งชาลิงตัวเมียเถาไม่เป็นตุ่ม มี ความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ หากรับประทานจุ่งจาลิงที่ดองกับน�้ำผึ้ง ขนาดหนึ่งข้อมือทุกวัน เชื่อว่าจะ ท�ำให้มีก�ำลังกายที่แข็งแรง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ และจะท�ำให้อายุยืน ๑๓. ไม้ดู่กับคติความเชื่อของชาวล้านนา ไม้ดู่คือไม้ประดู่ เป็นไม้ยืนต้นมีแก่น ใช้ท�ำประโยชน์ได้มากมาย มี ๒ ชนิด คือ เปลือกสีเทามียางน้อย และเปลือกสีน�้ำตาลมียางมาก มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. ดู่เหลืองที่มีเปลือกติดอยู่ หากน�ำมาท�ำเสาเรือนจะอยู่ทนทาน และถ้าน�ำ มาท�ำเผือไถ คราดจะท�ำให้ใช้การได้นาน ๒. บ่อน�้ำที่เป็นน�้ำบาดาล มีลักษณะสีแดง-เหลือง ให้ผ่าไม้ประดู่เป็นซีกๆ ใส่ ลงไปในบ่อ จะท�ำให้น�้ำใสขึ้น ๓. ดู่ที่มีเปลือกสีน�้ำตาลเข็ม มียางมาก มีเนื้อสีแดง เป็นดู่ที่หายาก นิยมท�ำดุม เกวียน เชื่อว่าสามารถรับน�้ำหนักการบรรทุกสิ่งของต่างๆ ได้ดี และมีน�้ำหนักเบา


๑๔. ไม้ทองกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ต้นไม้ทอง ออกเสียงว่า “ไม้ตอง” ตรงกับไม้ทองหลางในภาษากลาง มีความ เชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. ไม่ควรปลูกต้นทองในบริเวณบ้าน เชื่อว่าขึด ๒. ไม่นิยมน�ำไม้ทองมาท�ำครก เชื่อว่าจะขึด (ไม่ดี, อัปมงคล) ดังมีค�ำกล่าวว่า “บ่ดีแป๋งครกไม้ทอง บ่ดีแป๋งมองไม้ม่วง” (อย่าเอาไม้ทองหลางมาท�ำครก อย่าเอาไม้ มะม่วงมาท�ำครกกระเดื่อง) ๑๕. หมากทันกับคติความเชื่อของชาวล้านนา หมากทันหรือบ่าทัน ออกเสียงว่า “หมากตันหรือบ่าตัน” ตรงกับพุทราใน ภาษาไทยกลาง มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. เรือนใดที่มีหญิงคลอดลูกใหม่ มักจะเอาหนามหมากทันมัดสุมไว้ใต้เรือน ตรงกับที่หญิงนั้นนั่ง จะท�ำให้ผีกระสือกลัวหนามเกี่ยวไส้ ไม่กล้ามารบกวน ๒. หนังลูกควายที่ตายคาช่องคลอด ให้น�ำมาตากแล้วลงอักขระ ม้วนหุ้มด้วย ครั่งไม้หมากทัน ท�ำเป็นยันต์กาสะท้อน เชื่อว่าสามารถป้องกันอาวุธต่างๆ ได้ ๓. ใบหมากทัน ใบขนุน และใบแก้ว (พิกุล) น�ำมารองไว้ในยุ้งข้าว ตอนเอา ข้าวขึ้นยุ้ง เชื่อว่า จะช่วยหนุนน�ำและส่งผลให้มีข้าวกินตลอดทั้งปี ๑๖. นมนางกับคติความเชื่อของชาวล้านนา เป็นชื่อพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ภาคกลางเรียกว่า “ตานเสี้ยน” มีความเชื่อ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. ผู้ที่ต้องการให้นม หรือหน้าอกโต ให้น�ำไม้นมนางต้มรวมกับกวาวเครือ ขาว จะท�ำให้หน้าอกโตขึ้นอย่างทันตา ๒. เปลือกต้นนมนางช่วยรักษาน�้ำนมหลงรู คือ มีอาการคัดนม น�้ำนมไม่ไหล โดยบีบหัวนม เป่าคาถาใส่ 3 ครั้ง จะท�ำให้น�้ำนมไหล


๑๗. น�้ำแน้กับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อไม้เถาหลายชนิดออกดอกสีม่วงอ่อนเป็นช่อห้อยย้อย ตรงกับภาษาไทย กลางว่า “รางจืด” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. น�้ำแน้สามารถต้านพิษงูได้ทุกชนิด ๒. เมื่อจะเข้าไปในป่า ให้น�ำเครือน�้ำแน้พกติดตัวไปด้วย เชื่อว่าจะไม่มีงูมา ใกล้ หรือท�ำอันตรายได้ ๓. เมื่อจับงูได้ ให้เอาเครือน�้ำแน้มัดงูไว้ เชื่อว่าจะท�ำให้งูอ่อนก�ำลัง ไม่มี เรี่ยวแรงที่จะดิ้นหรือท�ำร้ายได้ ๔. เมื่อถูกงูกัด บริเวณแขนหรือขาให้น�ำเครือน�้ำแน้มามัดไว้เหนือบริเวณที่ถูก งูกัด จะท�ำให้พิษไม่ขึ้น หรือหากถูกงูเห่าพ่นพิษใส่ตา ให้น�ำเครือน�้ำแน้ท�ำเป็นบ่วง คล้องคอไว้ จะท�ำให้ตาไม่บอด ๕. เถาหรือรากน�ำ้ แน้ น�ำมาเหน็บไว้ทกี่ ระพุง้ แก้ม กล่าวกันว่าดืม่ สุราจะไม่เมา ๑๘. ผักปลังกับคติความเชือ่ ของชาวล้านนา ผักปลัง ออกเสียงแบบล้านนาว่า “ผักปัง๋ ” เป็นพรรณไม้ชนิดเถา ใบอวบน�ำ้ เถา และใบสีเขียวอ่อนหรือแดง มียางเป็นเมือก ผลสุกสีมว่ งด�ำ มีความเชือ่ ทีเ่ กีย่ วข้องดังนี้ ๑.หญิงจะคลอด ให้เอาเถาผักปลังท�ำเป็นห่วงคล้องคอลอดจนถึงปลายเท้า จะ ท�ำให้คลอดลูกง่าย ๒.ใช้ทดสอบคนทีเ่ ป็นโรคสาน หากกินผักปลังเข้าไปแล้ว มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และปรากฎเป็นเม็ดขึน้ ตามร่างกาย เช่น คอ แขน หลัง แสดงว่าเป็นโรคสาน ๓.ห้ามผูท้ มี่ คี าถาอาคมกินผักปลัง เชือ่ ว่าจะท�ำให้คาถาเสือ่ ม


๑๙. ผักเผ็ดกับคติความเชือ่ ของชาวล้านนา ชื่อพืชล่มลุกชนิดหนึ่ง ภาษาไทยกลางว่า “ผักคราด, ผักคราดหัวแหวน” มี ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ เป็นสมุนไพรที่เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เชื่อว่า ผู้ชายที่เสื่อมสมรรถภาพทาง เพศ หากน�ำผักคราดไปปรุงเป็นยารับประทาน จะให้มีสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น ๒๐. ไม้ไผ่กบั คติความเชือ่ ของชาวล้านนา ไม้ไผ่เป็นชือ่ ทีช่ าวล้านนาเรียกไม้ไผ่ทวั่ ไปโดยใช้ไม้นำ� หน้า เช่น ไม้รวก ไม้บง ไม้ ซาง และถ้ากล่าวถึงไม้ไผ่โดยรวมเรียกว่า “ไม้บวั่ ” มีความเชือ่ ทีเ่ กีย่ วข้องดังนี้ ๑. ในฤดูหนาว หากน�ำภาชนะ เช่น ขวด มัดติดกับปลายไม้รวกทีอ่ ยูใ่ นกอ ทิง้ ไว้ 1 คืน จะปรากฏน�ำ้ สีขาวขุน่ อยูเ่ ต็มขวด แสดงว่าเป็นน�ำ้ ไม้รวก เชือ่ ว่าหากกินเข้าไปจะ ท�ำให้มเี สียงทีส่ ดใสไม่แหบแห้ง ๒. คนสมัยโบราณนิยมน�ำกระบอกไม้รวกมาท�ำเป็นทีเ่ ก็บพระธาตุ เชือ่ ว่า พระ ธาตุชอบอยูใ่ นกระบอกไม้รวก และจะน�ำพระธาตุจากทีอ่ นื่ มาอยูด่ ว้ ย ท�ำให้มจี ำ� นวนมาก ขึน้ เรือ่ ยๆ ๓. คนโบราณเชือ่ ว่าไม้เฮีย้ สามารถป้องกันศาสตราอาวุธทุกชนิดได้ ดังนัน้ เมือ่ จะออกศึกจะพกไม้เฮีย้ ติดตัวไปด้วย เพือ่ เป็นการสร้างขวัญและก�ำลงใจ ๔. ไม้ไผ่ทกุ ชนิดเป็นไม้มงคล เชือ่ ว่าหากปลูกในบริเวณบ้าน ทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะท�ำให้บา้ นมีความสงบร่มเย็น คนในบ้านมีความสุขกาย สุขใจ ท�ำมาค้าขึน้ มีเงินจับจ่ายใช้สอยตลอด และประสบความส�ำเร็จในทุกด้าน ๕. การปลูกไม้ไผ่ทกุ ชนิด ถ้าจะให้ดี ควรให้ผเู้ ฒ่าผูแ้ ก่เป็นคนปลูก เชือ่ ว่าจะ ท�ำให้ตน้ ไม้รวกอายุยนื ในทางตรงข้ามหากคนหนุม่ สาวปลูก ต้นไม้จะอายุสน้ั ๖. ไม้ไผ่ทกุ ชนิดเมือ่ ออกดอก ต้นจะตายทันที เรียกว่าไผ่ตายขุย และหาก ออกดอกในบ้าน เชือ่ ว่าจะเกิดเรือ่ งเดือดร้อนขึน้ ในบ้านเรือน เช่น คนในบ้านไม่สบาย


๒๑. หมากพร้าวกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อไม้ยืนต้นชนิด Coconucifera Linn. ออกเสียงแบบล้านนาว่า “หมากป้าว หรือ บ่าป้าว” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. หญิงที่ก�ำลังตั้งครรภ์ ห้ามผ่ามะพร้าว เชื่อว่าจะท�ำให้ลูกหัวโตคลอดยาก ๒. หญิงที่ก�ำลังมีระดูห้ามดื่มน�้ำมะพร้าว จะท�ำให้ระดูเคลื่อน ๓. ผู้ที่ฝ่าเท้าเป็นหอทราย คือ เป็นรูเล็กๆ เชื่อว่าหากเหยียบ หรือเอาฝ่าเท้า ถูกเนื้อมะพร้าวที่ใช้ในพิธีศพแล้ว จะท�ำให้หายจากการเป็นหอทรายได้ ๔. ผู้ที่นอนกัดฟันหากได้กินเนื้อมะพร้าวที่ผ่าเอาน�้ำล้างหน้าศพแล้ว เชื่อว่า จะหายจากอาการดังกล่าวได้ ๕. มะพร้าวที่ออกหน่อทางด้านหัว ไม่นิยมน�ำมาปลูก เชื่อว่าหากต้นโตขึ้น ฟ้า จะผ่าต้นมะพร้าวนั้น ๖.มะพร้าวเป็นไม้มงคล และก�ำหนดปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของบริเวณ บ้าน เชื่อว่าจะท�ำให้ผู้อาศัย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ อยู่เย็นเป็นสุข ๒๒. พลูกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ใบมีรสเผ็ดร้อนใช้กินกับหมากและท�ำยาได้ ออกเสียงแบบ ล้านนาว่า “ปู” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. คนโบราณใช้ทดสอบคนที่เรียกกันว่ามือร้อน มือเย็น คือ ถ้าคนมือเย็น จะ สามารถปลูกต้นพลูขึ้นได้อย่างง่ายดาย แต่หากเป็นคนมือร้อน เมื่อปลูกต้นพลูแล้วจะ ท�ำให้เหี่ยวแห้ง และตายไปทันที ๒. ก้านของใบพลู ใช้เขียนคิ้วเด็ก เชื่อว่าเมื่อโตขึ้นจะท�ำให้คิ้วสวย ๓. ก่อนน�ำใบพลูไปกินกับหมากจะต้องเด็ดปลายออก หากไม่เด็ด เชื่อว่าสิ่งที่ เล่าเรียนมา เช่น คาถาอาคม และของขลังต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวจะเสื่อมไปด้วย


๒๓. พิดพิวขาวกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ดอกสีขาว รากเผ็ดร้อน ใช้ท�ำยาสมุนไพร มีความ เชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑.หญิงมีครรภ์หากรับประทานปิ๊ดปิวขาวเข้าไป จะท�ำให้แท้งบุตรได้ เพราะสารจาก รากมีฤทธิ์บีบมดลูก ๒.หญิงภาวะปรกติ หากรับประทานเข้าไปมากๆ จะท�ำให้มดลูกแห้ง ท�ำให้เป็นหมัน ได้ ๒๔. พิดพิวแดงกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ดอกสีแดง รากเผ็ดร้อน ใช้ท�ำยาสมุนไพร มีความ เชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ผู้ที่ไปฮิบยา (เก็บสมุนไพร) หากเอามือเปล่าๆ ไปสัมผัส หรือถูกต้องปิ๊ดปิวแดง จะ ท�ำให้ร้อนมือ และเกิดแผลรอยไหม้ที่มือได้ ๒๕. พูเลยกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้ล้มลุกชนิดมีหัว ต้นและใบคล้ายขิง หัวสีเหลืองอมเขียว ล้านนา ออกเสียงว่า “ปูเลย” ภาษาไทยกลางเรียกว่า “ไพล” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ใช้รักษาอาการคันจากตัวบุ้ง โดยหั่นปูเลยเป็นแว่นบางๆ 3-4 แว่น ชุบหมิ่นหม้อ หรือ เขม่าที่ติดกับหม้อต้มน�้ำ แล้วเสกคาถาใส่ พร้อมกับถูบริเวณที่คัน เชื่อว่าจะท�ำให้ขน บุ้งหลุดออก และอาการคันจะหายไป


๒๖. พูเลยด�ำกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้ชนิดเดียวกับพูเลย หรือ ไพลด�ำ มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. นิยมใช้ในทางไสยศาสตร์ เช่น ในทางคาถาเรียก คาถาแมวลอดช่อง โดย ใช้ปูเลยด�ำรวมกับสิ่งของอื่นประกอบพิธี จะสามารถหายตัวหรือล่องหนได้ เชื่อกันว่า แม้บ้านเรือนที่ปิดประตูมิดชิดแล้ว คนที่มีคาถาแมวด�ำยังสามารถเข้าไปได้ โดยการ ลอดช่องหรือลอดรูที่มีอยู่ตามแผ่นไม้กระดานเรือน ๒.ในการปลูกพูเลยด�ำ จะใช้เฉพาะดินที่มีสีด�ำเท่านั้น หากเอาดินสีอื่นมาปลูก จะท�ำให้พูเลยด�ำตายภายใน ๓ วัน ๒๗. ฟักกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้เถามีหลายชนิด มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. เก็บฟักไว้ในหลองข้าวหรือยุ้งข้าว แมลงต่างๆ จะไม่มารบกวน ๒. ฟักสามารถก�ำจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ ได้ คนโบราณเมื่อมีคนตายในบ้าน มัก จะเอาฟักผ่าแล้วน�ำไปใส่ในโลงศพ เชื่อว่าจะช่วยดับกลิ่นเหม็นเน่าของศพได้ ๓. เด็กทารกที่จะนอนอู่ (ลงเปล) เป็นครั้งแรก พ่อแม่ หรือผู้เฒ่าผู้แก่จะเอา ฟักหม่นลูกเล็กๆ ใส่ในเปลก่อนที่จะเอาเด็กลงนอน และจะใส่ไว้ตลอดจนกว่าเด็กจะ เลิกนอนอู่ เชื่อว่าจะช่วยดูแลปกป้องเด็กจากภัยอันตรายต่างๆ ๔. การกินฟักหม่น บ้างก็ว่าจะลด บ้างก็ว่าจะเพิ่มความก�ำหนัด หรือความ ต้องการทางเพศ ๒๘. ฟักแก้วกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้เถาล้มลุก ภาษไทยกลางว่า “ฟักทอง” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ที่ชอบรับประทานฟักทองจะมีผิวพรรณผ่องใส และดวงตาแจ่มใส


๒๙. หมากเฟืองกับคติความเชื่อของชาวล้านนา หมากเฟืองหรือบ่าเฟือง เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ภาษไทยกลางเรียกว่า “มะเฟือง” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. ผู้ที่เป็นนิ่ว เพียงแต่ลอดใต้ต้นมะเฟือง เชื่อว่าท�ำให้นิ่วหายได้ ๒. หญิงมีครรภ์ หากรับประทานมะเฟืองมาก อาจท�ำให้แท้งได้ ๓๐. หมากยมกับคติความเชื่อของชาวล้านนา หมากยมหรือบ่ายม เป็นพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ภาษาไทยกลางเรียกว่า “มะยม” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. มะยมเป็นไม้มงคล โดยทั่วไปจึงนิยมปลูกตามบ้าน โดยเฉพาะหน้าบ้าน เชื่อว่าจะท�ำให้เป็นที่นิยมชมชอบ เป็นที่รักของผู้อื่น มีคนไปมาหาสู่เป็นประจ�ำ ๒. หากปลูกต้นมะยมไว้ทางทิศตะวันตก เชื่อว่าจะสามารถป้องกันผีได้ ๓๑. รางฅาวกับคติความเชือ่ ของชาวล้านนา ชือ่ พรรณไม้ลม้ ลุกชนิดหนึง่ เหง้ามีกลิน่ ฉุนแรง ขึน้ ในพืน้ ทีแ่ ฉะ ล้านนาออก เสียงว่า “ฮางคาว” ภาษาไทยกลางว่า “ว่านน�ำ้ ” มีความเชือ่ ทีเ่ กีย่ วข้องดังนี้ รางฅาวทีป่ ลูกบริเวณชืน้ แฉะ แหล่งชะล้างต่างๆ เช่น ตีนคัน่ ได (บันได) พืน้ ขี้ หม่า (บริเวณทิง้ น�ำ้ โสโครกของห้องครัว) หากน�ำมาใช้ปรุงยา เชือ่ ว่าสรรพสิง่ สกปรกทัง้ มวลจะท�ำให้มยี ามีฤทธิแ์ รง สามารถข่มโรค ท�ำให้โรคต่างๆ หายขาดได้ ๓๒. ลมแล้งกับคติความเชือ่ ของชาวล้านนา ชือ่ พรรณไม้ชนิดยืนต้น ดอกสีเหลือง ช่อดอกยาวห้อย ขณะออกดอกไม่มใี บ หรือใบน้อย ฝักเรียบ ภาษาไทยกลางเรียกว่า “ราชพฤกษ์” มีความเชือ่ ทีเ่ กีย่ วข้องดังนี้ ไม่ควรปลูกต้นลมแล้งในบริเวณบ้านจะเกิดความเดือนร้อน คนในบ้านจะอยูไ่ ม่ เป็นสุข มีแต่ปญ ั หา หากมีตน้ ลมแล้งอยูใ่ นบริเวณบ้านให้ยา้ ยออกไปปลูกนอกบ้าน เช่น กลางทุง่ ริมถนน เป็นการแก้เคล็ด


๓๓. ลิ้นไม้หรือลิดไม้กับคติความเชื่อของชาวล้านนา ลิ้นไม้ ลิดไม้ หรือบ่าลิดไม้ เป็นพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ฝักแบนยาวใหญ่ ฝัก อ่อนมีรสขมกินได้ ภาษาไทยกลางว่า “เพกา หรือ ลิ้นฟ้า” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. คนที่เป็นโรคเก๊าต์ห้ามรับประทานลิดไม้ จะท�ำให้ปวดมากขึ้น ๒. ผู้ที่รับประทานลิดไม้มาก จะท�ำให้ตาฝ้าฟาง ๓๔. สะบันงากับคติความเชื่อของชาวล้านนา เป็นชื่อพรรณไม้ดอกยืนต้นชนิดหนึ่ง มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน หากเก็บดอกสะบันงามาเหน็บผม หรือน�ำไปถวายพระ เชื่อว่า เมื่อแต่งงานไปไม่นานจะเป็นหม้าย ๓๕. สะเลียมกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้ ภาษาไทย กลางว่า “สะเดา” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. สะเลียมมีรสขม หากรับประทานมากจะท�ำให้ตาฝ้ามัว จนอาจมองไม่เห็นได้ ๒. นิยมปลูกสะเลียมไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เชือ่ ว่าจะป้องกันโรคร้ายต่างๆ ได้ ๓. กิ่งและใบสะเลียมช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้ ๓๖. หมากหนุนกับคติความเชื่อของชาวล้านนา หมากหนุนหรือบ่าหนุน เป็นไม้ยืนต้นชนิหนึ่ง ภาษาไทยกลางเรียกว่า “ขนุน” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. ถ้าอยากทราบว่าเป็นโรคสานหรือไม่ ให้น�ำขนุนไปแกง หากมีอาการปวด ศีรษะทันทีภายหลังจากกินขนุน แสดงว่าเป็นสาน เพราะขนุนจะท�ำให้ลมสานขึ้น ๒. หากปลูกขนุนไว้ในบริเวณบ้าน จะท�ำให้หนุนข้าวหนุนของ คือ ท�ำให้ ร�่ำรวยเงินทอง


๓. ขวั้น หรืองวงขนุน น�ำไปต้มให้หญิงหลังคลอดกิน หรือหญิงที่ไม่มีน�้ำนมให้ ลูกกิน จะท�ำให้มีน�้ำนมมาก ๔. ผลขนุน หากแกงวันปากปี ซึ่งเป็นวันเข้าสู่ปีใหม่ของชาวล้านนา ตรงกับ วันที่ 16 เมษายน เชื่อว่าขนุนนั้นจะหนุนข้าวหนุนของ ท�ำให้คนในครอบครัวมีเงินทอง ใช้ไม่ขาดตลอดปี ๕. ในการสร้างบ้าน ให้น�ำกิ่งและใบของขนุนมารองหลุมเสามงคล หรือ เสาเอก จะช่วยอุดหนุนเจ้าของเรือนให้มีความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ๖. ล�ำต้นขนุน หากน�ำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปไม้ถวายวัด เชื่อว่าผู้สร้าง ถวายวัดจะประสบแต่โชคลาภ มั่งคั่งร�่ำรวยสมบัติตลอดไป ๗. ใบขนุน ใบหมากทัน (พุทรา) และใบแก้ว (พิกุล) น�ำมารองไว้ก้นยุ้งข้าว ตอนเอาข้าวขึ้นยุ้ง เชื่อว่าจะหนุนน�ำให้มีข้าวกินตลอดทั้งปี ๓๗. หมาเหยืองกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้เถาหลายชนิด ฝักมีขนท�ำให้คันมาก ภาษาไทยกลางเรียกว่า “หมามุ่ย” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ปรุงกับสมุนไพรตัวอื่น เป็นยาก�ำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ (โดยเฉพาะเพศ ชาย) และท�ำให้มีลูกดก ๓๘. ผักหละกับคติความเชื่อของชาวล้านนา พรรณไม้พุ่มรอเลื้อยมีหนาม กลิ่นแรง ใบเล็กเป็นฝอย ยอดและใบอ่อนกินได้ ภาษาไทยกลางเรียกว่า “ชะอม” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. แม่ก�๋ำเดือน หรือหญิงที่อยู่ไฟ หากรับประทานหรือให้ได้กลิ่นผักหละ เชื่อ ว่าจะท�ำให้เกิดการผิดกินผิดสาบ กลายเป็นโรคลมผิดเดือนได้ ๒. หนามผักหละแก่ ใช้บง่ ฝีหรือตุม่ ทีใ่ สๆ ท�ำให้แผลแตกและไม่ลกุ ลามอักเสบ


๓๙. หอมเทียมกับคติความเชื่อของชาวล้านนา หอมเทียม ออกเสียงแบบไทยกลางว่า “หอมเตียม” ตรงกับภาษาไทยกลาง ว่า “กระเทียม” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. หอมเทียมที่เรียกว่า หอมต๊อก หรือกระเทียมโทน เชื่อว่าสามารถเพิ่ม สมรรถภาพทางเพศได้ ๒. ต้น ใบ และหัวอ่อน ใช้พอกแผลแก้พิษแมลง เช่น ตะขาบ ผึ้งแมงป่อง ๓. ถ้าต้องการให้ทองค�ำเปลวติดองค์พระ หรือวัตถุบูชาได้ง่าย และไม่หลุด ใช้ใช้หอมเทียมถูบริเวณที่จะติดทองนั้นเสียก่อน เพราะยางเหนียวของหอมเทียมจะ ช่วยยึดทองค�ำเปลวไว้ ๔๐. หอมบั่วกับคติความเชื่อของชาวล้านนา หอมบั่ว ภาษาไทยกลางเรียกว่า “หอมแดง หรือ หัวหอม” มีความเชื่อที่ เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. รับประทานหอมแดงมากจะท�ำให้ตาฝ้ามัว เลือดน้อย ฟันเสีย ประสาท เสีย หลงลืมง่าย ๒. หัวสด ทุบพอแตก น�ำไปไว้ในห้องหรือบริเวณที่ทาสีใหม่ๆ จะช่วยดูดซับ กลิ่นสีให้จาง หรือหายไปอย่างรวดเร็ว


๔๑. อ้อยกับคติความเชื่อของชาวล้านนา อ้อยเป็นชื่อพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. น�้ำอ้อยที่ได้จากการหีบแล้วน�ำไปเคี่ยวในกระทะจนข้น เรียกว่า น�้ำอ้อย แคว่ง ใครก็ตามหากผ่านไปมา เจ้าของน�้ำอ้อยจะต้องชวนให้ชิม จะท�ำให้เป็นขี้เหนียว ไม่ได้ เชื่อว่าหากขี้เหนียวจะได้น�้ำอ้อยปริมาณน้อย แต่ถ้าเป็นคนใจกว้างแจกจ่ายไปก็ จะได้จ�ำนวนน�้ำอ้อยเพิ่มขึ้น ๒. ล�ำอ้อยด�ำ สมัยโบราณใช้เป็นไม้พลิกศพขณะเผา เรียกกันว่า ไม้โธวา เชื่อ ว่าจะท�ำให้ศพไหม้เร็วยิ่งขึ้น ๓. ล�ำอ้อยที่ถูกรมควันไฟจากการเผาศพ ให้น�ำไปให้คนที่เป็นโรคลมบ้าหมู กิน เชื่อว่าจะท�ำให้คนๆ นั้น หายจากโรคดังกล่าวได้ ๔. อ้อย นิยมใช้ในพิธีมงคลต่างๆ เช่น การแต่งงาน เชื่อว่า เป็นมงคลส�ำหรับ คู่บ่าวสาว ท�ำให้ชีวิตการแต่งงานสดชื่น หอมหวานเหมือนกับอ้อย ๔๒. เองชันกับคติความเชื่อของชาวล้านนา ชื่อพรรณไม้เถาจากต่างประเทศ ดอกสีครามแก่ ขาว และม่วงอ่อน ภาษา ไทยกลางว่า “อัญชัญ” มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องดังนี้ ผู้ที่มีผมบนศีรษะน้อย หากน�ำดอกเองชันมาขยี้ทาศีรษะเป็นประจ�ำ เชื่อว่า จะท�ำให้ผมขึ้นดก ด�ำและเป็นเงางาม


พืชสมุนไพร ทีป่ รากฏในมหาชาติลา้ นนา ฉบับสร้อยรวมธรรม


พันธุ์ไม้ในมหาชาติล้านนา ฉบับสร้อยรวมธรรม สามารถน�ำมาแบ่งกลุ่มพันธุ์ ไม้ที่ใช้เป็นพืชสมุนไพร ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ ตามการศึกษาได้ดังนี้ ๑. พันธุ์ไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ได้เพาะปลูก แต่จะขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามสถานที่หรือ แหล่งต่างๆ เป็นต้นว่า ป่าเขา หนองน�้ำ เช่น เครือเขา ได้แก่ เครือเขาเอ็น เครือเขาแข เครือเขาหุบ เครือเขาน�ำ้ เครือเขาปูน ฯลฯ ไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้ดู่ ตะเคียน ไม้ตาน ไม้ทองหลาง นมนาง ไม้ฝาง ฯลฯ ผัก ได้แก่ ผักชี ผักหมแดง ผักหมขาว ผักแคบ ผักเสีย้ น ผักพูลงิ ผักหมากขีห้ ดู ฯลฯ พืชน�้ำ ได้แก่ บัวชนิดต่างๆ เช่น พ้านจังกร จังกรเขียว จังกรขาว จังกรแดง จังกรออน ดอกบัวขาว ผักหนาม ผักบุ้ง ผักตบ ผักคราบ ผักปอดน�้ำ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนหาได้เมื่อเข้าป่า โดยเฉพาะหากเป็นป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ ๒. พันธุ์ไม้ที่ปลูกไว้เพื่อประโยชน์ใช้สอย พันธุ์ไม้ที่ปลูกไว้เพื่อประโยชน์ใช้สอย คือ ๑. ปลูกไว้เพื่อเป็นพืชผักสวนครัว การปลูกไว้เพื่อเป็นผักสวนครัว บางครั้งก็ ไม่จ�ำเป็นต้องดูแลมาก บางชนิดที่มีมือเกาะ เช่น ถั่ว ผักแคบ ฟัก หมากนอยต่างๆ ก็ จะท�ำ “ฮั้วฮี้” หรือ “ค้าง” หรือ “ซั้ง” ให้ขึ้นเอง ดูแลโดยการ หมั่นรดน�้ำพรวนดิน ก็ เจริญเติบโตออกดอกผลได้ดี บางชนิด เช่น หอมขาว พริก หอมแดง หอมบั่ว หอมป้อม หรือผักชี จ�ำเป็นต้องดูแลอย่างดี เพราะหากดูแลไม่ดีก็จะท�ำให้เจริญเติบโตไม่เต็มที่ ผลผลิตที่ได้ก็จะออกมาไม่ดี


๒. ปลูกไว้เป็นไม้มงคล คนล้านนามีความเชื่อในเรื่องของความเป็นมงคล กระท�ำแล้วคิดว่าจะส่งผลให้ในทางที่ดี หรือมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ดังนั้น ต้นไม้ หรือพันธุ์ไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคลจึงมักจะเป็นพันธุ์ไม้ที่มักจะมีชื่อเป็นมงคล หรือมี ความหมายดี เช่น ดอกแก้ว มะยม ไม้ขาม ฯลฯ ส�ำหรับ พืชหรือต้นไม้ที่ไม่ เป็นมงคล คนล้านนามีความเชื่อว่าหากปลูกหรือเกิดขึ้นในบริเวณที่อยู่อาศัย จะไม่เป็นมงคล ส�ำหรับคนในบ้านเรือน เช่น หญ้าขัด เดื่อปล่อง ลมแล้ง ป่าเหี้ยวหมอง เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องตัดหรือท�ำลาย หรือย้ายออกจากบริเวณบ้านไป สถานที่เหมาะสม ในการปลูก พืชดังกล่าวนี้จึงมักจะเป็นสถานที่สาธารณะ ที่รกร้าง วัด ป่าช้า ตามข้างทาง เป็นต้น ๓. ปลูกไว้เพื่อเป็นผลไม้รับประทาน ผลไม้ที่พบมีหลากหลายชนิด เช่น มะยม มะม่วงชนิดต่างๆ ล�ำไย หมากลางลิง หมากเต้า หมากต้อง หมากผาง หมากเฟือง หมากแฟน ฯลฯ ผลไม้เหล่านี้จะมีตามฤดูกาล ทุกฤดูกาล โดยจะปลูกไว้ ในบริเวณ บ้าน ตามสวนหรือไร่นาทั่วไป ๔. ปลูกไว้เพื่อความสวยงาม หรือเป็นไม้ประดับ มักจะปลูกไว้ใน บริเวณที่อยู่ อาศัยหรือบริเวณที่จัดไว้โดยเฉพาะ เพื่อความสวยงาม เพลิดเพลิน หรือให้ความสดชื่น ไม้เหล่านี้ได้แก่ ไม้แก้ว เข็ม จ�ำปา มะลิ สุรภี เค็ดเค้า ดอกแซว สะบันงา ดอกซ้อน บัว เป็นต้น ๕. ปลูกไว้เฉพาะเป็นยา การปลูกพืชไว้ส�ำหรับเป็นยาส่วนใหญ่แล้ว มักจะ ปลูกไว้เฉพาะกับบ้านของผู้ที่เป็นหมอเมืองหรือพ่อเลี้ยง เพราะมีคุณประโยชน์ เฉพาะ ทางยาเท่านั้น บางชนิดหาไม่ได้ทั่วไป เช่น พิดพิวแดง พิดพิวขาว รางคาว เทียนชนิด ต่างๆ หวานน�้ำ หวานชักมดลูก หวานนางล้อม หวานพร้าว จุ่งจาลิงหรือ บอระเพ็ด เครือเขาต่างๆ เช่น เครือปอไก่ เครือปอเกียน ผักง้วน เป็นต้น ๖. ปลูกเป็นอาหารส�ำหรับคนหรือสัตว์ ประเภทข้าวต่างๆ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวนก ข้าวป้างชนิดต่างๆ เช่น ป้างเดือย ป้างหางช้าง ป้างนก ป้างหลวง เป็นต้น โดย มักจะปลูกในบริเวณหรือพื้นที่ที่กว้างๆ มีน�้ำเพียงพอส�ำหรับการเจริญ เติบโต ในระยะ เริ่มแรกของการเจริญเติบโตอาจต้องให้น�้ำในปริมาณมาก จากนั้น ค่อยลดปริมาณ น�้ำลง และงดให้น�้ำเมื่อแก่เต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยวได้


๗. ปลูกไว้เพื่อประโยชน์อื่น ได้แก่ – ปลูกเพื่อต้องการเส้นใย ได้แก่ ปอชนิดต่างๆ – ปลูกเพื่อน�ำไปท�ำวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ท�ำเขียง ครก กลอง เครื่องเรือนต่างๆ เป็นต้น ๘. ปลูกเป็นอาหารส�ำหรับคนหรือสัตว์ ประเภทข้าวต่างๆ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้างนก ข้าวป้างชนิดต่างๆ เช่น ป้างเดือย ป้างหางช้าง ป้างนก ป้างหลวง เป็นต้น โดยมักจะปลูกในบริเวณหรือพื้นที่ที่กว้างๆ มีน�้ำเพียงพอส�ำหรับการเจริญ เติบโตในระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต อาจต้องให้น�้ำในปริมาณมาก จากนั้น ค่อยลดปริมาณน�้ำลง และงดให้น�้ำเมื่อแก่เต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยวได้


การปริวรรตมหาชาติลา้ นนา ฉบับสร้อยรวมธรรม กัณฑ์ท่ี ๖ จุลพน (ป่ าเล็ก) และ กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน (ป่ าใหญ่)


การปริวรรตมหาชาติเวสสันดรชาดก ฉบับสร้อยรวมธรรม กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน จ�ำนวน ๓๕ คาถา ๑. เนื้อความย่อกัณฑ์ที่ ๖ กัณฑ์จุลพน กล่าวถึงพราหมณ์ชูชกเดินทางผ่านเขาวงกต ตามค�ำกล่าวแนะน�ำอย่าง ละเอียดของพรานเจตบุตร พร้อมกันนี้ พรานเจตบุตรยังเลี้ยงอาหารและจัดเสบียงให้ ไปกินระหว่างทาง จนพราหมณ์ชูชกเดินทางไปถึงที่อยู่ของอัจจุตฤษี ๒. อานิสงส์ในการฟังมหาชาติกัณฑ์จุลพน ผู้ใดบูชากัณฑ์จุลพน แม้จะบังเกิดในภพใดๆ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ บริวาร จะมีอุทยานอันดารดาษไปด้วยดอกไม้หอมตลบอบอวน จะมีสระโบกขรณีอัน เต็มไปด้วยปทุมชาติ ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยทิพยสมบัติในที่สุคติโลกสวรรค์สืบไป ๓. ข้อคิดประจ�ำกัณฑ์มหาพน ๑) ผู้มีอ�ำนาจหากขาดปัญญาย่อมถูกหลอกได้ง่าย ๒) คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด (แกมโกง) ๓) ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตัว


๔. การปริวรรตมหาชาติล้านนากัณฑ์จุลพน หน้าลาน ๑ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมสมฺพุทฺธสฺสฯ เอวํ เชตปุตฺโต พฺราหฺมณํ โภเชตฺ วา ปาเถยฺยสฺส สตฺถาย ตสฺส มธุโน ตุมฺพญฺเจว ปกฺกมิคสตฺถิญฺจ ทตฺวา มคฺเค ฐเปตฺวา ทกฺขิณหตฺถํ อุกฺขปิตฺวา วสโน กาสํ อาจิกฺขนฺโต อาหฯ ล�่ำดับธัมมเทสนามาแต่เค้า ส่วนพราหมณ์หนุ่มเหน้าชื่นเชตบุตต์ผู้ใจกล้า ถือเครื่องฆ่า เดินไพร กันหื้อปู่จังไรพราหมณ์เถ้า ได้กินข้าวอาหาร มีประการหลากหลาย อันตน หากน�ำมา แล้วก็ดาบอกไม้ ใส่น�้ำเผิ้งใหม่รสหวาน ชิ้นกวางฟานตากแห้ง ใส่ถงแถ้ง หลายหลาม ยื่นปันพราหมณ์ปู่เถ้า อันจักไต่เต้าเทียวไป แล้วเร็วไวน�ำปู่ ไปตั้งอยู่มัคคา ยกมือขวาสุดศอก เพื่อจักบอกทางไป จิ่งจักไขกล่าวถ้อย เปนบาทถ้อย คาถาว่า เอส เสโล มหาพฺรหฺมเณ ดั่งนี้เปนต้น ว่าดูราพราหมณ์เถ้า อันว่าท้าวเจ้าตนบุญ ทรงคุณ วิเศษ อยู่ในเขตตีนดอย ไกลจอยวอยนักแก่ เตียวเรงแท้จิ่งจักหัน ดอยผาจันสูงใหญ่ มีชื่อไว้ว่าคันธะหน้าลาน ๒ มาทนะคีรี ลักขณะดีปูนผ่อ หินผาก่อกองกันท้าวจอมธรรม์ยอดสร้อย อยู่กับ ลูกน้อยและเมียตนกลางไพรสณฑ์ประเทศ อยู่ด้วยเพศระสี ถือขอรีเกี่ยวลูกไม้ หมวด เกล้าไว้เปนชะฎา นุ่งหนังสือหนาลายถี่ ใบไม้กลี่รองนอน ยกมือวอนใส่เกล้า ทุกค�่ำ เช้าปูชาไฟ และพราหมณ์เหยฯ ดูราพราหมณ์ไม้ทังหลายมากล้น มีลูกแต่ต้นถึงปลาย สูงเหลือหลายเพียงเมฆ พัณณวิเศษนานา ดั่งเขาอัญชัญดาเผียบได้ ในป่าไม้หิมพานต์ ไม้ดงดานฝูงนั้น เปนหลืบชั้นเหลือหลาย กือตะเคียนยายตั้งอยู่ ตะแบกหมู่หูกวาง ทัง ไม้ยางสูงพ้นเพื่อนนกเหล้นเลื่อนไปมา สะเคาะดาเปนถ้อย ต้นใหญ่น้อยยายไย ลมพัด ไกวกิ่งค้อม เอนอ่อนน้อมไปมา ดั่งมาณะวาหนุ่มเหน้า ดูดกินเหล้ากล่าวสักเสริญ นก บินเหิรเปนหมู่ จับไม้กู่ผัวเมีย ร้องเสียงเซียในป่า แล้วบินกว่าตามกัน เสียงเนืองนันมี่ ก้อง ดั่งเสียงพาทย์ฆ้องมหาพรหม นั้นและนาฯ นกนานาเถื่อนถ้อง คือโพรดกร้อง เสียงใส ตะเหวาไปเปนหมู่


หน้าลาน ๓ ร้องถ้องคู่ขานขัน ปาใจมันปนแป่ง ดั่งเสียงขันทิพย์แห่งเทวดา นั้นและนาฯ จุ มสาขากิ่งไม้ ยาวสอดใคว่สนสาน ยามลมปานพัดฟาด กิ่งไม้วาดกวัดไกว เสียงวอนไย คะค้อย ฟังชื่นช้อยปาเมา ดั่งจักเรียกเอาคนมาใหม่ หื้อเข้าใกล้หุมชม หื้อหายขีขมหิว หอดบ่คึดรอดเคืองคา คนใดมาอยู่เก่า สุขใจเล่าเหลือหลายฯ ท้าวบุญผายยั้งอยู่ กับ ด้วยกู่บุตตา และนางพญาเปนเพื่อน ในถ้องเถื่อนดงรีเปนระสีทรงเพศ หมวดเกล้าเกษ เกษี ถือขอรีเกี่ยวลูกไม้ กันหาได้แล้วน�ำมา นุ่งหนังเสือหนาลายถี่ ใบไม้กลี่รองนอน ยอ มือวอนใส่เกล้า ทุกค�่ำเช้าปูชาไฟ และนาฯ ตโต ล�่ำดับนั้นไปพายหน้า พรานใจกล้าชื่อ เตชะบุตร ยังบ่สุดค�ำกล่าว จักไขกล่าวจาขาน ยังสถานอยู่สร้าง แห่งพระเจ้าช้างบุญมี จิ่งไขวาทีกล่าวถ้อย เปนบาทถ้อยคาถาว่า อมฺพา กปิตฺถา ปน สา ดั่งนี้เปนต้นว่า ดูรา พราหมณ์ ไม้นานาน้อยใหญ่ อยู่ที่ใกล้อาราม มีหลายหลามเต็มข่วง กือหมากม่วงเตม แดน หน้าลาน ๔ ทังไม้แหนปาแป้ง หมากกวิดแสร้งไยยาย ขนุนหลายพร้อมพร�่ำ ไม้รังล�่ำจุมปู ไม้สมอดูงามอาจ ขามป้อมหยาดยายไย หมากทันไพรลูกมาก มีหลายหลากถมถอง หมากคับทองเหลืองชะโชติ หมากนิโครธยายทาง ทังหมากซางหมากเดื่อ หล่นทุกเมื่อ หลวงหลาย กล้วยงาช้างยายล�ำใหญ่ กล้วยค้าวไขว่เชื่อกัน ทังกล้วยจันทน์กล้วยตีบ ลูกบ่ลีบงามดี เทียนย่อมมีในป่า ดูต่างล่าเอากิน ทังเผิ้งดินเผิ้งไม้ หาแม่บ่ได้ยังรวง อยู่ ในกวงและค่าไม้ ดูต่างไซ้เอากินและพราหมณ์เหยฯ หมากม่วงมีหลายส�่ำ ลูกห้อยต�่ำ เปียงดิน หล้างพ่องกินขมผ่อย หล้างพ่องพ่อยสุกราม สีเขียวงามสะพรั่ง ผ่อเปนหลัง เขียดเขียว คนใดเทียวไปใกล้ หยุบเอาได้ด้วยง่าย บ่ได้ก่ายเกินเอา หวานบ่เบาชื่นช้อย ยิ่งกว่าอ้อยสุนตาล แดนสถานย่านกว้าง ที่พระเจ้าช้างบวชเป็นชี อัสจันมีหลายแหล่ ใคว่จุแง่ดวงไพร เสียงเรไรมี่ก้อง สัตว์สิ่งร้องจอมกัน ปรากฎหันทุกเรศ แดนด้าวเขต อาราม ผ่อดูงามดั่งที่อยู่ แห่งเทพไท้หมู่เทวดา


หน้าลาน ๕ ไม้นานามจุด้าว กือหมากพ้าวลูกเปนเครือ แดนดินเชื่อปุมเป้งป่า รสหอมล่า เอาใจลมพัดไกวปูนผ่อเปนดั่งช่อปลิวลม มีถองถมหมู่ไม้ ยายหยาดไว้ดูดี โกฏิสอมีเปน ถ้อย ทังมูกน้อยเพื่อนตักกัน แกฝอยบานทุกขอก ผ้งเปนดอกดวงบาน หมากนาวการ ม่วงหมื่น กิ่งก้านยื่นถึงกัน ทองหลางผันลมแล้ง ใบบ่แห้งจดเจื่อ ไม้หมกเกลือบ่ต�่ำ ก�ำยานพร�่ำเกษณา อัญชันเขียวดาระดาด ไม้จวงอาจดูงาม กุ่มบกหลามเปนหมู่ กุ่มน�้ำ อยู่เปนสาย ไม้ไคร้หลายเหลือแหล่ ตระแบกแผ่ถึงกัน ไม้รังหันเปนดอก ผับทุกขอก สถาน ตกเจือนจานแต่เค้า ดั่งท่านปลูกข้าวกองเฟือง นั้นและนาพราหมณ์เหยฯ อันว่า โบกขรณีหลวงใหญ่กว้าง ที่จิ่มข้างอาราม ท่าเพียงงามระรื่น ปูนสนุกชื่นใจคน ดอกบัว สนกันอยู่ อุบลกู่สนสาน ดั่งอุยยานฟากฟ้า ในแหล่งหล้าตาวะติงสา ไม้นานาน้อยใหญ่ แดนที่ใกล้อาราม ดอกบานงามหอมหื่น รสฟุ้งตื่นหอมไกล ตระเหว่าเสียงใสไซ้ดอก ไซ้ แล้วออกตามกัน หน้าลาน ๖ เสียงเนืองนันมี่ก้อง ที่ใกล้ห้องอาราม เกษรงามบ่น้อย หอมชื่นช้อยเอาใจ โบกขรณีใสงามแง่ ดอกบัวแผ่เปน กอ ลมเจยตอดอกไม้ หอมจากใต้ถึงเหนือ หอมจด เชื่อวันตกวันออก รอดสะรอกแดนไกล อาศรมใดท่านอยู่ ดอกไม้กู่เรืองยาย ละออง ผายฟุ้งออก ตามข้างยอกอาราม โบกขรณีงามท่ากว้าง อยู่จิ่มข้างอาศรม กระจับจม อยู่ใต้ ลูกน้อยใหญ่แกมกัน เข้าสาลีอันไผบ่ปลูก หากเปนลูกเหลือตาชุมปลาฝาแลเต่า ลอยเหล้นเล่าผันผาย ปูดาหลายเหนี่ยงเหนี้ยว เหล้นสอดเสี้ยววังธาร ระสะหวาน ไหลออก ผับทุกขอกเหง้าบัว หวานมันหนัวชื่นช้อย ดั่งน�้ำอ้อยใส่สูนงาฯ ดอกนานา หอมหื่น แม่เผิ้งจื่นบินตอม สูดดมดอมดอกไม้ เข้าสอดไซ้เกษร ได้แล้วจรบินสู่ ยังที่อยู่ รังมันฯ นกดงตันหลายแหล่ พ่องบินแผ่ไปมา พ่องจับสาขากิ่งไม้ ที่จิ่มใกล้จอมกัน ร้อง เสียงนันมี่ก้อง ที่ใกล้ห้องอาราม ดูราพราหมณ์ นกทังหลายสี่หมู่ เขาร้องอยู่ทังวัน หมู่ หนึ่งร้องว่าพระจอมธรรม์เปนเจ้า


หน้าลาน ๗ อย่าหม่นเส้าหมองขี จุ่งยินดีในป่าฯ หมู่หนึ่งร้องว่า พระเจ้าฟ้าจุ่งเจยบาน กับ สองกุมารลูกเต้า และนางหน่อเหน้าแปงเมืองฯ หมู่หนึ่งร้องว่า พระบุญเรืองยอดสร้อย จุ่งชื่นช้อยทีฆา กับสองบุตาน้อยนาฏ กับนางแก้วราชมัททีฯ หมู่หนึ่งร้องว่า อย่าเคือง ขีโศกเศร้า พ่อแม่ลูกเต้าสี่พระองค์ อยู่ในดงป่ากว้าง อดเร่งสร้างทางบุญ แด่เต๊อะฯ ดูราพราหมณ์ อาศรมงามทุกขอก มีดวงดอกบานเรือง หล้างพ่องเหลืองชะช่อนพ่อง แดงอ่อนงามตากัณณิกามีจุแห่ง ดั่งช่อน้อยแกว่งไปมา มีนานาหลายหลาก กลิ่นรส หากผับดง และนาฯ ยตฺถ เวสฺสนฺตโต ราชา อันว่าพญาเวสสันตระตนผ่านแผ้ว อยู่กับ ลูกแก้วสองศรี และราชมัททีอะคร้าว อยู่ด่านด้าวแดนใด ดูเพิงใจใช่ช้า ดั่งเมืองฟ้าโขง สวรรค์ พระจอมธรรม์เจ้าช้างป�่ำเป็งสร้างปาระมี เปนระสีป่าไม้ หมวดเกล้าไว้เปน ชะฎา นุ่งหนังเสือหนาลายถี่ ใบไม้กลี่รองนอน ยอมือวอนใส่เกล้า ทุกค�่ำเช้าปูจาไฟ และนาพราหมณ์เหยฯ เอวํ เตชปุตฺโต หน้าลาน ๘ อันว่าพรานเชตะบุตรหนุ่มเหน้า ไขบอกเล่าก�ำงาม หื้อปู่พราหมณ์แจ้งถี่ ได้รู้ ที่ทางไป พราหมณ์มีใจชื่นช้อย จิ่งกล่าวถ้อยคาถา ว่า อิทญฺจ เม สตฺตุภตฺตํ ดั่งนี้เปนต้น ว่า ดูราพรานหนุ่มเหน้า เทียวไต่เต้าแดงดง อันว่าเข้าสัตตุผงและก้อน อันนางน้อย อ่อนอมิตตา หากดวงดาแต่งไว้ ใส่ถงใหญ่ปามา ลุงนี้นาใจชื่น จักยกยื่นปันหลาน เปนปัณณาการเสี้ยงใคว่ บ่หลอไว้อันใดฯ พรานพงไพรต้านต่อ ออกปากล่อก�ำงาม ว่า ดูราพราหมณ์ปู่เถ้า อันว่าถงห่อข้าวเทียวทาง อันมึงจักวางยกยื่น ด้วยใจชื่นปันกู กูบ่ชู รับได้ กูอยู่ป่าไม้ดงดาน มีอาหารหลายแหล่ บ่เว้นแว่อันใด มึงจุ่งเอาไปอย่าช้ากินพาย หน้าตามใจ ทางดงไพรป่าไม้ ปอไต่ได้คนเดียว จุ่งดั้นดงเขียวไปสู่ ยังที่อยู่ระสี ตนมี วัตรดีบ่เส้า ชื่อว่าเจ้าอัจจุตะระสี ในดงรีป่ากว้าง ที่จิ่มข้างมัคคา ท่านตนนั้นนาวิเศษ หมวดเกล้าเกษแกมธุลี เขี้ยวขาวดีสะอาด ใบไม้ลาดรองนอน ยอมือวอนใส่เกล้า ทุก ค�่ำเช้าปูจาไฟ กันมึงไป


หน้าลาน ๙ รอดแล้ว ถามพระหน่อแก้วระสี ท่านยินดีจักบอก หื้อมึงออกเทียวไพ ชะและ นาฯ เตน วุตฺตํ เหตุดั่งอันคาถาพันธนะอันชื่นช้อย พระยอดสร้อยเทสนาว่า อิทํ วตฺวา พฺราหฺมพนฺธุ ดั่งนี้เปนต้น ภิกขเว ดูราภิกขุ ตังหลาย อันเปนสายอริยชาติ ศีลสะอาดดู งาม ส่วนชูชกะพราหมณ์เถ้าแก่ สืบมาแต่วงสา แห่งพราหมณาแต่เค้า ฟังพรานหนุ่ม เหน้าไขปัน มีใจมันชมชื่น ปีติตื่นเชยบาน ก็ประทักษิณพรานหนุ่มเหน้า ครบใคว่เล่า สามที แล้วก็หนีจากหั้น เทียวสอดดั้นดงรี อันว่าเจ้าอัจจุตะระสีตนวิเศษ อยู่ด้าว เขตแดนใด มันก็ไปชะไช้ ในป่าไม้หิมพานต์ ก็มีด้วยประการดั่งกล่าวมานี้ และนาฯ จุล วนวณฺณนา นิฏฺฐิตา ขียา สังวรรณนาวิเศษ จาห้องเหตุจุละพน อันประดับด้วยคาถาว่า ได้ ๓๕ คาถา ก็บังคมสมเร็จ สะระเด็จ เท่านี้ก่อนแลฯ


การปริวรรตมหาชาติเวสสันดรชาดก ฉบับสร้อยรวมธรรม กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน จ�ำนวน ๘๐ คาถา ๑. เนื้อความย่อกัณฑ์ที่ ๗ กัณฑ์มหาพน กล่าวถึงพราหมณ์ชูชก เมื่อเดินทางไปถึงอาศรมพระอัจจุตฤาษี ก็ได้ใช้ เพทุบายลวงว่าจะมาสนทนาธรรมกับพระเวสสันดร พระอัจจุตฤษีหลงเชื่อจึงต้อนรับ เลี้ยงดูอย่างดี แล้วแนะทางไปเขาวงกตให้อย่างละเอียด โดยพรรณนาถึงต้นไม้ดอกไม้ สัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่ในเส้นทางให้ชูชกฟัง เมื่อไปถึงเป็นเวลาพลบค�่ำชูชกก็ซ่อนตัวบน ชะง่อนเขาด้วยคิดว่า ต้องรอรุ่งเช้าให้พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ เพราะนางคงไม่ ยอมยกลูกให้ใครแน่ ๒. อานิสงส์ในการฟังมหาชาติกัณฑ์มหาพน ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาพน จะได้เสวยสมบัติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วจะได้ลงมา เกิดเป็นกษัตริย์ คฤหบดี หรือ เศรษฐี มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมาก มีอุทยานและสระ โบกขรณีเป็นที่พร้อมพูน เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่วทวีป อีกทั้งจัก ได้ประสบแต่สิ่งดีๆ ในชีวิต ๓. ข้อคิดประจ�ำกัณฑ์มหาพน ๑) ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติก็เสียทีพลาดท่าให้แก่คนอื่นได้ ๒) สงสารขาดปัญญามักฉิบหาย เชื่อคนง่ายมักเป็นทุกข์ ๓) คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย


๔. การปริวรรตมหาชาติล้านนากัณฑ์มหาพน หน้าลาน ๑ นโต ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺสฯ คจฺฉนฺโต โส ภารทฺวาโช อทฺทส อจฺจุ ตํ อิสิงฯ ทิสฺวา ทํ ภารทวารโชสมฺมโมทิ อิสินา สหฯ สาธโว ดูรา สัปปุริสะตังหลาย ตังญิงจายมวลหมู่ อันมานั่งอยู่หน�ำหนา ส่วน ว่าพราหมณ์พาลาปู่เถ้า ก็ลัดป่าเส้าดงดาน ตามอันพานเชตะบุตรชี้ช่อง มันก็ไปรอด ห้องอาศรม แห่งเจ้าอุดมบุญใหญ่กือเจ้าที่ไหว้อัจจุตะระสี มันยินดีชทชื่น ยกมือยื่น วันทา อันจักเจียรจาต้านเล่า ซึ่งท่านเจ้าระสี ก็ไขวาทีกล่าวถ้อย เปนบาทสร้อยคาถา ว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ กจฺจิ โภโต อนามยํ ดั่งนี้เปนต้นว่า ข้าแด่พระระสีที่ไหว้ เจ้ามา อยู่ป่าไม้ดงหนา ชุมโรคาพยาธิ์ บ่มาปาดเบียนควี ทุกข์บ่มีมาต้อง ในแห่งห้องหรทัย มี ชีวิตเปนไปบ่ยาก ลูกไม้มากปอฉันชะรือฯ อันหนึ่งเหลือบยุงบ่มาตอมไต่ งูน้อยใหญ่บ่ มาเบียน สัตว์อาเกียรในป่า บ่มาล่าราวี ชะรือฯ ที่นั้น เจ้าอุจจุตะระสี ฟังก�ำดีอ่อนอ้อย แห่งพราหมณ์ถ่อยพาลา จิ่งไขจาตอบเล่า ว่า กุสลญฺเจว เม หน้าลาน ๒ พรหเม ดั่งนี้เปนต้น ว่าดูราพราหมณ์ผู้เถ้า อันไต่เต้าดงหนา เรานี้นาหาเพียธิ บ่ได้ บ่เมื่อยไข้หนาวใน หวัดจามไอหลายแหล่ บ่มาแผ่ราวี ลูกไม้มีบ่ไร้ ยังหาได้ปอฉัน เหลือบยุงผันสะสว่า มีชุป่าดงหนา ก็บ่มาตอมไต่ งูน้อยใหญ่บ่อมาเบียน สัตว์อาเกียร หยาบช้า อันอยู่ป่าดงตัน บ่ผายผันมาสู่ ยังที่อยู่อารามฯ ดูราพราหมณ์ผู้เถ้า เมินแท้ เล่าหน�ำหนา แต่เรามาอยู่สร้าง ในป่ากว้างดงรี บ่หันมีพยาธิ์ มาต้องปาดกายาฯ ท่าน พราหมณ์มาด้วยชอบ เรานี้ขอบใจหลาย ท่านผันผายเทียวท่อง ดั้นเถื่อนถ้องดงไพร หนทางไกลดั่งใกล้ มารอดได้คนเดียว ลัดดงเขียวหลายส�่ำ ท่านจุ่งไปโรงน�้ำศาลา ช�ำระ ปาทาทังกู่ แล้วมาสู่โรงเรา จากั่นแด่เต๊อะฯ ตินทุกานิ ปิยาลานิ อันนี้หมากกับทองกิน ฝาด ทังหมากหาดสุกยาง ทังหมากซางหมากเหม้า เชิญพราหมณ์เถ้ากินตาม ใจฯ อทัมปิ ปานิยํ สิตํ น�้ำอันนี้ใสเย็นหลายแหล่ ไหลออกแต่รูผา เราไกลกลาไปอาบ ตัก แล้วหาบมากิน เพิ่นอาจิณค�่ำเช้า เชิญพราหมณ์เถ้าดูดกิน แด่เทอะฯ


หน้าลาน ๓ ที่นั้น พราหมณ์ยินดีชื่นช้อย ยกมือยื่นวันทา แล้วเจียรจาต้านเล่า ซึ่งท่านเจ้า ระสีว่า ปฏิคฺคหตํ ยํ ทินฺนํ ดั่งนี้เปาเค้า ว่าข้าแด่เจ้าบุญหนา เครื่องปูชาแขกแก้ว ข้าก็ รับแล้วจ�ำเริญใจ เท่าว่าข้ามาไกลนักโสด ย้อนประโยชน์ยังมี กือใคร่หันพระระสีเวสัน ตระราช อันอยู่อาวาสดงไพร ท่านรู้ทางไปขอกล่าว หื้อรู้ข่าวคราวทางแด่เทอะฯ ที่นั้น เจ้าระสียอดสร้อย จิ่งตอบถ้อยก�ำพราหมณ์ว่า น ภวํ เอต ปุญฺญตฺถํ ดั่งนี้เปนต้นว่า ดูรา พราหมณ์ผู้เถ้า อดลัดป่าเส้าดงหนา ท่านนี้นาบ่ชอบ บ่ประกอบหวังบุญ ท่านหวังหัน ขุนท้าวไท้ เที่ยงหวังใคร่ได้สิ่งสักอัน ดั่งเราร�่ำเปิงหันคึดสอด รอยท่านใคร่ได้ยอดมัทที ผู้วัตรดีผ่องแผ้ว แก่เจ้าหน่อแก้วเสสันดร รือจักไปขอวอนคะค้อย เอาลูกน้อยญิงชายกื อชาลีสาย ธิราช นางแก้วอาจกัณหา น�ำสองขาหน่อหล้า ไปใช้ต่อหน้าตีนมือ บ่อั้น จักขอสองบุญลือลูกเต้า ทังนางหน่อเหน้า มัทที ท่านอยู่ดงรีในป่าไม้ ทุกข์ยากไร้หนา หน�ำ บ่มีเงินค�ำช้างม้า ทังฝูงหมู่ข้าญิงชาย และพราหมณ์เหยฯ ที่นั้น ชูชกะ หน้าลาน ๔ พราหมณ์ปู่เถ้า อันล่ายเจ้าระสี จิ่งกล่าวก�ำดีชื่นช้อยเปนบาทถ้อยบาลีว่า อกฺ กุทฺธ รูปาหํ โภโต ดั่งนี้เปาเค้า ว่าข้าแด่เจ้าทะรงคุณ ตนมีบุญมากกว้าง ท่านกล่าวอ้าง ก�ำใด ข้าบ่มีใจส้มเสียด บ่ได้เคียดเคืองคา ข้าเดินดงหนาทุกเมื่อ บ่หวังเพื่อขอทาน ย้อนใจบานคะค้อย ใคร่หันพระยอดสร้อยราชา ตามโบราณจาแต่ก่อน เจ่นปู่หม่อน สอนปัน ว่าการอันใดหันและอยู่กับท่านผู้มีบุญ ย่อมเปนคุณอันมาก ข้านี้หากร ประสงค์ อดเดินดงมารอด ย้อนใคร่หันยอดจอมธรรม อันไพร่จ�ำเจียรจาก หนีละพราก เวียงชัย กันเจ้าศีลใสสอดรู้ ที่ท้าวอยู่พ�่ำเพงธัมม์ ขอไขก�ำบอกกล่าว หื้อรู้ข่าวตามมี แด่ เทอะฯ ส่วนเจ้าระสีบุญกว้าง ฟังพราหมณ์อ้างมุสา บ่สังกาสักกาก จิ่งออกปากก�ำงาม ว่าดูราพราหมณ์ผู้เถ้า อันไต่เต้าดงรี แม่นว่ามีดั่งอั้น จุ่งไว้หั้นรอรา วันนี้นาดาค�่ำ ตาวัน ต�่ำลงแลง จุ่งจักแฝงยั้งหย่อน คืนหนึ่งก่อนจอมเรา หื้อบางเบาหิวหอด วันพูกรอดยาม งาย ก่อยผันผายเตียวออก เราจักบอกทางไปฯ พราหมณ์จังไรปู่เถ้า ฟัง


หน้าลาน ๕ ก�ำเจ้าระสี ใจยินดีบ่น้อย จาตอบถ้อยนานา แล้วกินผาลาลูกไม้ มีบ่ไร้เหลือ หลาย พราหมณ์ผีพรายปู่เถ้า ก็นอนกับเจ้าระสี เสี้ยงรวายตรีคืนรุ่ง กันสายฟ้าพุ่งเรือง ไร ตาวันใสแจ้งส่อง หันใคว่ห้องดงรี เจ้าระสีตนวิเศษ จักบอกเหตุทางไป จิ่งน�ำจังไร เถ้าปู่ ไปยืนอยู่ที่มัคคา ยอมือขวาสุดศอก เมื่อจักบอกทางไป จิ่งจาไขกล่าวถ้อย เป นบาทสร้อยคาถา เอส เสโล มหาพรหเม ดั่งนี้เปาเค้า ว่าดูราพราหมณ์เถ้าปูมหลาม ดอยสูงงามเปียงจอมหมอก ที่ข้างขอกดงหนา ชื่อคันธะมาทนะปูนผ่อ หินผาก่อกอง กัน พระจอมธรรม์เจ้าช้าง อยู่ก่อสร้างปารมี ริมคีรีดอยใหญ่ กับลูกแก่นไท้สองขา และ ราชชายาหนุ่มเหน้า ท้าวบวชเปนเจ้าเปนชี ถือขอรีเกี่ยวลูกไม้ หมวดเกล้าไว้เปนชะฎา นุ่งหนังเสือหนางามอาจ ห้อยบ่าลวาดเทียมตน กระท�ำผลชะไช้ แต่งค่อยไหว้ปูชาไฟ และนาฯ ดูราพราหมณ์ ไม้ทังหลายมวลหมู่ ตั้งต้นอยู่เป็นสาย พ่องมีลูกหลายล�้ำหมอก พ่องผ้งดอกหลายสี ใบเขียวดีชมชื่น กิ่งก้านยื่นสนสาน ยามลมปานอ่อนค้อม หน้าลาน ๖ กิ่งก้านน้อมกวัดไกว เสียงวอนใยชื่นช้อยผ่อดอกสร้อยดวงบาน ดั่งสวน อุยยานชั้นฟ้า อันชื่อว่านันทะวันฯ ไม้ดงตันใช่ช้า สูงรอดฝ้าล�ำเรียว มีใบเขียวเสี้ยงใคว่ ดั่งดอยใหญ่ชื่ออัญชนะ ปัพพะตาฯ ไม้นานาหลายแหล่ ตระแบกแผ่ใบบาง ไม้หูกวาง ยอดซ้อง ไม้หมากต้องหมากดะ ไม้ข�ำขัวะขามป้อม ลูกอ้อมล้อมกลมงาม พราหมณ์บ่ ถามก็รู้ หมากลืมชู้กินเมา ไม้หมากเยาใบหม่น ลูกสุกหล่นเหลือหลาย ตะเคียนยาย เตมป่า ไม้ล�้ำค่าล�ำกวง ไม้ยางหลวงพ้นเพื่อน กิ่งก้านเลื่อนถึงกันลมปั้ดผันกิ่งค้อม อ้วน อ่อนน้อมไปมา ดั่งมาณวาหนุ่มเหน้า ดูดกินเหล้าจอมกัน ลวดเมามันแอ่นฟ้อน อยู่ บ่อนสุรา นั้นและพราหมณ์เหยฯ นกนานาเถื่อนถ้อง คือโพรดกร้องเสียงใส ตะเหวา ไปเปนหมู่ ร้องถ้องกู่ขานขัน พาใจมันพ้นแป่ง ดั่งเสียงขับทิพย์แห่งเทวดาฯ ชุมสาขา กิ่งไม้ ยาวยื่นไขว่สนสาน ยามลมปานพัดฟาด กิ่งไม้วาดกวัดไกว เสียงวอนไยคะค้อย ฟังชื่นช้อยพาเมา ดังจักเรียกเอาคนมาใหม่ หื้อเข้าใกล้หุมจม หื้อ


หน้าลาน ๗ หายขีขมหิวหอด บ่กดึ๊ รอดเคืองกา คนใดมาอยูเ่ ก่า สุขใจเล่าเหลือหลายฯ ท้าว บุญผายยัง้ อยู่ กับด้วยคูบ่ ตุ ตา และนางพญาเปนเพือ่ น ในถ้องเถือ่ นดงรี เปนระสีทรงเพศ หมวดเกล้าเกษเกษี ถือขอรีเกีย่ วลูกไม้ กันหาได้แล้วน�ำมา นุง่ หนังเสือหนาลายอาจ ใบไม้ ลวาดรองนอน ยอมือวอนใส่เกล้า ทุกค�ำ่ เช้าปูชาไฟ และพราหมณ์เหยฯ กเรสิ มาลา วิคตา ดูราพราหมณ์ผเู้ ถ้าทางไต่เต้าดงดาน พาใจบานชมชืน่ ปูนระรืน่ หน�ำหนา ดอก นานาตกยายหยาด ดัง่ ผ้าลาดปูดนิ แม่เผิง้ บินคืน่ เค้า หอมรสเร้าพาเมา ไม้เงาเลาสูงใหญ่ มีผบั ใคว่ดงรี หล้างทีม่ ไี ม้กมุ่ กิง่ ค้อมฟุม่ เฟือยใบ จดเชือ่ ไปด้วยหญ้าแพด ผับใคว่แวดดูดี ผงธุลมี กุ มุน่ บ่ปลิววุน่ ยามเทียว หญ้าแพดเขียวชืน่ ช้อย ผ่อดัง่ สร้อยคอนกยูง ยายต้นสูง ชะช่อน มียอดอ่อนสุขมุ าล สูงประหมาณสีน่ วิ้ มือขว้าง บ่มหี า่ งติดกัน เกาะเกีย้ วหวันบ่ ขาด เชือ่ ดินลวาดเดินไปฯ ไม้ในไพรเตมข่วง กือหมากม่วงชุมพู หมากกวิดดูหลายหลาก หมากเดือ่ หากกินหวาน ในดงดานทุกสิง่ จ�ำเริญยิง่ ปันปวง หน้าลาน ๘ กลางดงหลวงเถื่อนถ�้ำ มีแม่น�้ำนะที น�้ำใสดีเลิศแล้ว เปนดั่งแก้ววิตุลปูปลาสูน ฝูงเต่า ลอยเหล้นเล่าไปมา ดอกนานาหอมหื่น คันธะชื่นเอาใจ เทียนย่อมไหลผดออก จากข้างขอกคีรี มีโบกขรณีหลวงใหญ่กว้าง ที่จิ่มข้างอาราม พื้นเพียงงามเรียงราบ ท่า กว้างอาบเย็นใจ บัวขาวใสมีทุกขอก อุบลดอกเรืองงาม ดั่งอารามฟากฟ้า อันมีชื่อว่า นันทะวะอุยยาน ดอกบัวบานสามสิ่ง เกิดพร้อมยิ่งดูดี ในสระศรีทุกที่ พ่องผ้งกลี่บาน งาม ประจิตตามด้วยหว่าง วรรณต่างๆ หลายพรรณ์หล้างพ่องหันขาวผ่อง หล้างพ่อง ส่องสีแดง หล้างพ่องเหลืองแฝงกันอยู่ ตั้งเปนคู่ยายก่อ และพราหมณ์เหยฯ เจ้าระสี ตนบุญกว้าง ไขกล่าวอ้างตามมี ยังโบกขรณีป่าไม้ หื้อพราหมณ์ใฝ่หุมหัน จิ่งไขปัน กล่าวอู้ หื้อพราหมณ์รู้ถัดไป ยังสระใสปายหน้า อันมีจื่อว่ามุจจลินทร์เจ้าตนมีศีลชื่น ช้อย จิ่งกล่าวถ้อยคาถาว่า โข มา ว ตตฺถ ปทุมา ดั่งนี้เปนเค้า ว่าดูราพราหมณ์เถ้าเหย มีสระอันหนึ่งนางามพ้นแห่ง มีสี่แจ่งเสมอกัน ในดงตันป่าไม้ มีชื่อไว้ว่า


หน้าลาน ๙ มุจจลินทร์ ดั่งองค์อินทร์แต่งสร้าง อยู่จิ่มข้างอาราม ดอกบัวงามถ้วนหน้า เปนดั่งผ้าโขมา หันเหลือตาดอกป๊าน ผับจุด้านดอกจังกร ผักตบซอนจุก�้ำ ข้างสระน�้ำ วังธาร เลิ๊กประหมานเพียงเข่า น�้ำใสเล่างามดี บ่ห่อนมีมุกมุ่น ธุลีฝุ่นสูนดิน ปูนดีกินแล อาบ มีท่าราบเพียงงาม ดอกบัวจามจรดถี่ ผ้งบานกลี่ดูพาว บ่ว่ายามหนามและร้อน มี จุบ่อนวังธาร กือบัวค�ำบานเรืองเรื่อ มีทุกเมื่อถมถอง ดอกบัวตองผ่องแผ้ว ดอกบัวแก้ว ใสสี ดูงามดีเรืองราบ บัวเก้ากาบบานเมิน ดอกบัวเงินเปนหมู่ ดอกป๊านกู่จังกรนีลุบล ซอนหลายแหล่ ต้นหนุ่มแก่แกมกัน แม่เผิ้งหวันดวงดอก ลวดลืมปอกรวงรัง ที่ริงวังฝั่ง กว้าง ทุกฝ่ายข้างสระศรี ดอกสารพีบานแย้มยอด ลมพัดรอดราวไพร งามปอใจจุสิ่ง ประจิตยิ่งเหลือตา เผิ้งมิ้นมาทุกสะรอก เข้าตอมดอกดวงบาน ริมวังธารที่ไกล้ มีต้นไม้ เหลือหลาย ไม้ตุ่มยายเหลือแหล่ แกฝอยแผ่ใบบาง ไม้ตองหลางเป็นดอก บานทุกขอก ดงรี ผักจิกมีเปนหมู่ ตั้งต้นอยู่แฝงกัน ไม้สักหันจุแห่ง ลมแล้วแกว่ง หน้าลาน ๑๐ กวัดไกวช้างน้าวไหวกิ่งค้อม อยู่รอบอ้อมมุจจลินทร์ และพราหมณ์เหยฯ ไม้ ขะจาวเปนหมู่ ตั้งต้นอยู่แฝงกัน ในดงตันทุกขอก ไม้ขักมอกหนาหน�ำ ยางปายด�ำเปน หมู่ ปายขาวอยู่เปนลอม ดู่ดอกหอมพาชื่น ไม้หมากมื่นกวาวด�ำ ไม้หมากค�ำตาไก่ ไม้ แก้วไขว่ยมหิน อินทะนินผ้งดอก บานกลี่ออกเปนพวง ในดงหลวงทุกเขต ดอกกาเกด และกัณณิกา ดอกนานาหลายส�่ำ มีพร้อมพร�่ำหลายสี รกฟ้าขาวมีหลายแหล่ รกฟ้าด�ำ แผ่ดูพาว ตังต้นกวาวผ้งดอก บานกลี่ออกแดงดี ไม้ตีนเป็ดมีเปนถ้อย ต้นใหญ่น้อยเต มดอน ดอกค�ำซอนเปนจ่อ กล้วยอ้อยหน่อแฝงกัน ไม้กอนตาหันจุขอก สีเสียดดอกจุ ปาย ไม้ทังหลายพร้อมพร�่ำ ทังนอดน�้ำล�ำเจินดอกตาเหินหอมอ่อน มลิซ้อนจ�ำปี หมาก ไฟมีทุกเขต ทังงิ้วเทศกาสะลอง ดอกก�ำปองและไม้ช้างน้าว ดอกจุด้าวดูพาว ดอกพุด ขาวเหลือแหล่ ดอกพุดแดงแผ่ซ้อนกัน ตังตักกันเปนหมู่ ไม้เกลืออยู่เปนสาย โกฏหาง ช้างยายเปนถ้อย ดูดอกสร้อยเปนพวง ดอกดงหลวงหลายสิ่ง มีพร้อมยิ่งนานา


หน้าลาน ๑๑ ในดงหนาป่ากว้าง ที่จิ่มข้างอาราม ผ่อ ดูงานพร�่ำพร้อม ยายแวดอ้อมโรงไฟ ท่านและนาพราหมณ์เหยฯ อเถตฺถ อุทกนฺตสฺมึ ดูราพราหมณ์ ฝั่งสระงามสะพู่ ผักบุ้ง อยู่เปนเครือถั่วตาเสือถั่วขว้าง เตมป่าข้างอาราม ถั่วเงินจากเครือแลบ ตังถั่วแปบ ปลอมเครือ มีจดเจื่อพร้อมใคว่ ดั่งปลูกไว้หลายเดือน สระน�้ำเฟือนยะยั่ง ต้องข้างฝั่ง ผานๆ ดอกไม้บานสะพู่ แม่เผิ้งอยู่พายบน กันว่าคนเด็ดละไว้ หอมอยู่ได้เจ็ดวันฯ ดอก ดงตันบ่ไร้ ในที่ใกล้อาราม ผักตบงามผ้งเปนดอก สีเหลื้อมหมอกสอยตอย ดูดั่งดอย งามสะอาด ปานอากาศใสงาม จมคนราม ทัดดอกไม้ หอมรอดใคว่ ๑๕ วัน ดอกเองจัน สะพู่ ผ้งบานอยู่เหลือตา กัณณิกาผ้งเปนดอก มีทุกขอกสระศรี ช้อแมวมีหลายแหล่ ตระสีแผ่เปนเครือ มีจดเจือหลืบชั้น แดนป่านั้นปูนเคย เปนร่มเฟือยดอกไม้ วังแวด ใกล้อาราม แม่เผิ้งจามตอยดอก บินเข้าออกเนืองนัน และนาฯ ดูราพราหมณ์ หมาก ฟักมีสองส�่ำ ข้ามฝั่งน�้ำโบกขรณี ส�่ำหนึ่งมีลูกใหญ่ จาเผียบได้เท่าไหตาล หน้าลาน ๑๒ สองส�่ำหวานชื่นช้อย ลูกใหญ่น้อยเท่าไหราม ข้างสระงานสะอาด มีผักกาด หอมเทียม หาบ่เขียมหอมบั่ว หอมขาวทั่วดงรี พาวตาลมีเปนหมู่ ตั้งต้นอยู่เรียงกัน ผัก ตบหันดอกใหญ่ พาใจใฝ่หุมชม เครือนางนมเปนหมู่ หนามดินอยู่เจือจาน ชะเอม หวานเครือใหญ่ ครามป่าใคว่ดงรี อโศกมีเหลือแหล่ เทียนไก่แผ่ดูพาว ดอกเข็มขาว ยายถี่ เข็มแดงกลี่หน�ำหนา สะบันงาเปนถ้อย สลิดห้อยจามเครือ มีจดเจือไขว่ขว้าง ด้วยหญ้าทางช้างวิเศษ ชะเอมเทศหนาหน�ำ กวางแดงด�ำขาวใคว่ เคี้ยวต้นไม้ถึงบน แดนไพรสณฑ์ทุกที่ ปูนดีตี่ตาแยง ไม้ชุมแสงหลายแหล่ ต้นฝางแก่ดูพาว ดอกแซ่วขาว รสเร้า ดอกเค็ดเค้าเอาใจ สัตตะบุตต์ไขหอมชื่น หงอนไก่ขึ้นทุกสถาน บัวบกบานปูน ผ่อ ตั้งเปนช่อเหลือตา กัณณิกาผ้งเปนดอก บานแย้มออกหนาหน�ำ ดั่งข่ายค�ำเรื่องรุ่ง ผ่อพุพุ่งดั่งเปลวไฟ และนาฯ ดอกทังหลายบนบกในน�้ำ มีชุก�้ำสระศรี สัตว์น�้ำมีหลาย หมู่ แล่นสะสู่ไปมา คือปลานานาและเต่า กุ้งเหนี้ยวเล่าเปนสาย จักเข้ยายละเลื่อน


หน้าลาน ๑๓ ปลาขาเพื่อนมักกร ทังปลาจรปลาปีก ปลาดุกหลีกปลาฝา ทังแมงดาสะลาก ปลาสะป้ากสะวาย สะเด็ดหลายบ่น้อย ปลาซิวสร้อยซิวค�ำ แมงเหนี่ยงด�ำตัวใหญ่ ปลาก้วนใฝ่ตีฟอง ปลากังปองจอมหมู่ ปลากดอยู่เปนสาย ปลาค้าวหลายสะลาด ทัง ปลาจรวดปลาหลิม อยู่ตามริมสระใหญ่ แฝงอยู่ใต้ใบบัว ปลากัดหนัวแล่นแหล้น ปลา ดาบลาวเต้นสนสาน ทังปลาหวานปลากั้ง อยู่ตามฝั่งหน�ำหนา ปลานานาหลายส�่ำ มี พร้อมพร�่ำหลายพันธุ์ จาตทังวันบ่ไคว่ ทังน้อยใหญ่เหลือหลาย ต่างผันผายเปนหมู่ ล่า เหล้นอยู่ไปมา บ่พาลากล้าหยาบ บ่กั๊นก้าบกินกัน ย้อนเมตตาธัมม์กันกว้าง แห่ง พระเจ้าช้างบุญมีฯ บนสระศรีนั้นไส้ มีต้นไม้จดเจือ คือชะเอมเครือยาวใหญ่ ก�ำยานใช่ สามานย์ เหนี้ยวหนูหวานหลายแหล่ สัตตะบุตแผ่ดูดี สารพีดวงใหญ่ ตักกันใคว่เจือ จาน สะมุลละแว้งหวานชื่นช้อย ต้นใหญ่น้อยเกษณา แฝกด�ำหาบ่ไร้ แฝกขาวใคว่ดงรี บัวบกมีเปนหมู่ ดองดึงอยู่เจือนกัน ดินปันถันและข้าวหมิ้น มีจุถิ่นหนาหน�ำ ตังเหลือง ด�ำพร้อมใคว่ หน้าลาน ๑๔ เปนคุ่มใหญ่พิดพิวแดง พิดพิวขาวแฝงกันอยู่ ขางแดงกู่ขางขาว ทังเครือกวาว ด�ำก�่ำ มีจุก�้ำดงรี หรดาลมีจุแง่ หว้านยายแผ่เปนสาย โกฎทังหลายมีมาก ไม้แหนหาก ล�ำสูง การะบุนมุงหลายแหล่ รางแดงแผ่ปันปวง ในดงหลวงป่าไม้ มีพร้อมใคว่นานา เครื่องกระต�ำยาทุกสิ่ง มีพร้อมยิ่งเหลือใจ และนาฯ แดนป่ากว้างดงรี มีราชสีห์แรดช้าง เสือโคร่งอ้างเอาคน แม่ยักษ์ตามนเปนหมู่ เสพสร้างอยู่หนาหน�ำ ทังทะรายค�ำเหนอ้ม เหนเหม็นส้มเหนหอม ทังพังพอนระมั่ง ฟานค�ำกั่งในไพร ทังหมาไนจิ้งจอก กระต่าย ออกรอมคา บ่างเซาะหาลูกไม้ จามมะรีไซ้ขนหาง ทะรายกวางมีมาก ลิงลมหากปลอม เฟือย วอกกางเลยไล่เหล้น นางนีเต้นเกาะเฟือย กวางเขาเงยเปนค่า ระมั่งป่าหนาหน�ำ หมีตัวด�ำหางสั้น งัวเถื่อนดั้นกอบง ปังปอนวงแวดล้อม กระแตย่อมมีหลาย อ้นซาง ยายเปนหมู่ อ้นแดงอยู่เรียงกัน ปรากฏหันที่ใกล้ สระใหญ่ชื่อมุจจลินทร์ และนาฯ ประการหนึ่งกลางดงมีควายเถื่อน จิ้งจอกเพื่อนหมาไน ปอมข่าง


หน้าลาน ๑๕ อาศัยอยู่ในป่า ออกเหล้นหากัน แลนค�ำหันเหลือแหล่ เสือดาวแผ่นันเนือง ทัง เสือเหลืองออกล่า กระต่ายป่าเปนชุม ฝูงแร้งอยู่จ�ำศีล ราชสีห์กินหมาป่า เสือแผ้วล่า เปนสาย นกยูงหลายเถื่อนถ้อง สีทูตร้องปูนกลัว หงสาตัวขาวหม่น นกกวักล่นเรวไว ไก่ในไพรขันยามเที่ยง ทังนกเอื้องเขาเขียว มันบินเรวไววาด ขึ้นอากาสบินเสย นกยาง เฟือยยากขอก โพรดกออกบินกราย นกแต้หลายสะสู่ หัสดีลิงค์อยู่หลายแซง นกแหลว แดงเหลวคอด บินเสี้ยวสอดหากัน เสียงเนืองนันมี่ก้อง มีใคร่ห้องดงดอย นกฅ้นหอย นอนฝั่ง ปะหิตหลั่งลงมา นกกระทาเปนหมู่ กาแกอยู่เปนสาย ไก่เถื่อนหลายจุห้อง นก ขวากร้องเสียงจาง นกจอกขางรังอยู่ นกแซวสู่รังนอน นกเตนจับขอนไม้แห้ง จีแจ้บ แสร้งเลยกัน การะวีกขันมี่ก้อง กระไนร้องเสียงดี นกกินปลีปากเส้า ทังนกเค้าตาหลวง นกพันพวงน้อยใหญ่ มีพร้อมใคร่ดงตัน ร้องขานขันมี่ก้อง ในเถื่อนถ้องดงดาน เขาจม บานเปนคู่ ผัวเมียอยู่คอนเดียว หน้าลาน ๑๖ ร้องเซียวๆ ในป่า แล้วบินกว่าตามกัน นกดงตันป่าไม้ เกิดแต่ไข่สองที มีหลาย สีพร้อมใคร่ ทังน้อยใหญ่นานา ในดงหนาป่ากว้าง ที่จิ่มข้างอาราม บางตัวงามชะช่อน สร้อยฅออ่านปูนดู ย่อมมาชูที่ใกล้ สระใหญ่มุจจลินทร์ แลนาฯ นกดงรีหลายส�่ำ คือนก กดพร�่ำเปนสาย ฝูงแหลวหลายเปนหมู่ บินสะสู่ไพมา นกเปล้าดาเตมเถื่อน แขกเต้า เพื่อนสาริกา นกไฟเขียวมาเปนหมู่ นกไฟเหลืองคู่ไฟแดง นกกะลิงแฝงชุบ่อน นกเค้า ซ่อนใบหนา นกแลหลัวนกขอก จีแจ้บออกดงรี หงส์ขาวมีหลายแหล่ ค้อนหอยแผ่เต มดง หงส์ค�ำลงทุกขอก หงส์แดงออกเปนชุม ปะหิตสุมเปนหมู่ โพรดกอยู่นอนคอน จากพรากจรจุก�้ำ ทังกาน�้ำกาปง หัสดีลิงค์ดงปากกว้าง เปนดั่งช้างพายสาร ร้องขัน ขานสองเผ่า ทังค�่ำเช้าเนืองนัน นกเขาขันมี่ก้อง การะวีกร้องเสียงดี ตัวเมียมีแอบข้าง นกแซวช่างปลอมเฟือย นกพ่อเหยเปนหมู่ เขามาสู่จอมกัน ร้องเนืองนันสะซ้าว ริมเขต ด้าวมุจจลินทร์ และนาฯ ประการหนึ่ง กลางดงมีกระต่าย ทะรายม่าย


หน้าลาน ๑๗ เสือเหลือง ช้างนองเนืองในป่า เทียนย่อมกว่าตามกัน เครือเขาวัลย์เปนหมู่ เคี้ยวไม้อยู่ดูดี ข้าวนกมีหลายแหล่ ข้าวฝ้างแผ่เหลือหลาย ข้าวดอยยายกอใหญ่ งาม แท้ไส้ดูปาว ข้าวสาลีขาวมีมาก บ่ต�ำหากเปนสาร อ้อยกินหวานชื่นช้อย หวานกว่าอ้อย เมืองคน และพราหมณ์เหยฯ ดูราพราหมณ์ผู้เถ้า ทางไต่เต้าดงเขียว พอตีนผู้เดียว เตียวไต่ได้ ตนท้าวไท้บุญหน�ำ กับสององค์ค�ำลูกเต้า และนางหน่อเหน้าอุดม อยู่อาศรม ใหญ่กว้าง ที่จิ่มข้างเขาค�ำ ทรงธัมม์วิเศษ อยู่ด้วยเพศระสี ถือขอรีเกี่ยวลูกไม้ หมวดเก ล้าไว้เปนชะฎา นุ่งหนังเสือหนาผืนใหญ่ นอนเฟือยไม้เหนือดิน พระนรินทร์เปนเจ้า ทุกค�่ำเช้าปูชาไฟ กันท่านไปชะไช้ ก็เที่ยงจักได้เลงหัน บ่อย่าชะแลนาฯ ชูชกะพราหมณ์ ปู่เถ้า ได้ยินเจ้าระสี ไขวาทีบอกกล่าว มันรู้ข่าวทางไป มันมีใจชื่นช้อย ไหว้ยอดสร้อย ระสี แล้วก็หนีเข้าป่า เพื่อดั้นกว่าไปหา ยังท้าวบุญหนายศใหญ่ คือเจ้าแก่นไท้ เวสสันดร วันนั้นและนาฯ ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห สพฺพญฺญู หน้าลาน ๑๘ ยอดสร้อย หันบาทถ้อยบาลี บทหลังมีไป่แจ้ง พระจิ่งแสร้งเทสนา ว่า อิทํ สุตฺ วา พฺราหฺมณพนฺธุ ดั่งนี้เปนต้น ภิกฺขเว ดูราภิกขุสงฆ์ ตนทรงศีลใสวิเศษ ส่วนเถ้าผีเผต ชื่อชูชกะพราหมณ์ ฟังก�ำงามบ่อเส้า แห่งท่านเจ้าระสี มันยินดีชมชื่น ยอมือยื่นวันทา แล้วไกลกลาบ่ช้า เข้าสู่ป่าดงไพร เจ้าจอมไตรเวสสันตระราช กับนางน้อยนาฎมัทที และสองศรีลูกเต้า อยู่ป่าเส้าแดนใด มันก็ไปที่หั้น บุบุ่นดั้นไปหา ก็มีด้วยประการดั่ง กล่าวมานี้ และนาฯ มหาวนวณฺณนา นิฏฺฐิตา ขียา สังวรรณนาวิเศษ จาห้องเหตุ มหาพน อันประดับประดาไปด้วยคาถา ว่าได้ ๘๐ ทัศ ค็บังคมสมเร็จ สระเด็จ เท่านี้ ก่อนแลฯ


พันธุไ์ ม้ในมหาชาติลา้ นนา ฉบับสร้อยรวมธรรม


กระดูกไก่ ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Chloranthus erectus (Buch.-Ham.) Verdc. ชือ่ วงศ์ : CHLORANTHACEAE ชือ่ พื้นเมือง : หอมไก๋(ภาคเหนือ); กระดูกไก่(ภาคกลาง) ลักษณะทัว่ ไป : พืชล้มลุกอายุหลายปี ล�ำต้นตั้งตรงสูง 0.5–2.0 ม. ขึ้นเป็นกอ ขนาด ใหญ่ ต้นกลมสีเขียวเข้ม ผิวเรียบมันและแบ่งเป็นข้อ บริเวณข้อพองออก ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3–10 ซม. ยาว 8–29 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบยาวคล้ายหาง ขอบใบหยัก ใบค่อนข้างหนา ผิวเรียบ เป็นมันทั้งสองด้าน มีเส้นใบ 5–9 คู่ ก้านใบยาว 1.0–1.7 ซม. ก้านใบมักมีสีม่วง ดอก ช่อออกซอกใบและ ปลายยอด ช่อเชิงลดยาว 3–5 ซม. ดอกขนาดเล็กมีลักษณะ เป็น เม็ดกลมสีขาวติดเรียงบนก้านดอก แต่ละดอกไม่มีก้านดอก มีกลิ่นหอมเย็น ดอก ดอก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบรอง รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กสีเขียวรองรับ ดอกมี ใบประดับรูปไข่สีขาว ปลายกลีบโค้งเข้าด้านใน ผิวด้านในมีเกสรเพศผู้ 3 อันติดอยู่ รังไข่ 1 อันอยู่ใต้วงกลีบ ผล ผลรูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5–7 มม. ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดแข็งและค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีขาว การใช้ประโยชน์ : ยอดเป็นผักสดรับประทานกับ ชาวล้านนาใช้ดอกประกอบพิธี บายศรีสู่ขวัญ และนิยมปลูกประดับตามบ้านเรือนเพราะดอก มีกลิ่นหอมเย็น



กฤษณา ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte ชือ่ วงศ์ : THYMELAEACEAE ชือ่ สามัญ : Eagle wood ชือ่ พื้นเมือง : กฤษณา ไม้หอม ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–40 ม. ไม่ผลัดใบ ล�ำต้น เปลา ตรง แต่ต้นที่มีอายุมากมักจะมีพูพอนที่โคนต้น เปลือกนอก สีขาวหรือเทาหรือสีเทา อมน�้ำตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกนอก อาจจะปริแตกเป็นร่องตามยาว ยอดอ่อนและ ช่อดอกมีขนสั้น สีเงินหรือเกือบเกลี้ยง ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ถึงรูปไข่หรือ รูปขอบขนาน กว้าง 2–5 ซม. ยาว 5–10 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบ ใบเป็นคลื่น ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขนประปรายตามเส้นใบด้านล่าง เส้นใบ 12–16 คู่ ก้านใบ ยาว 3–6 มม. ดอก ดอกช่อออกซอกใบตอนปลายกิ่ง ช่อดอกสั้น มีดอกย่อย 8–10 ดอก กลีบเลี้ยง 5 เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ยาว 3–4 มม. กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 10 ติดที่ปากหลอดกลีบเลี้ยง ผล ผลรูปไข่มีสันแคบตาม ความยาว ของผล ผลกว้าง 1.5–2.5 ซม. ยาว 2–4.0 ซม. เปลือกบาง เหนียวมีรอยย่น และมีขนสีเทาปกคลุม ผลแก่แตกอ้าตามรอย ประสาน เมล็ดรูปไข่ปลายเป็นติ่งแหลม การใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้แกะสลัก นิยมใช้ท�ำเป็นเครื่องหอม ธูป ผงไม้หอม ใช้เป็นยา บ�ำรุงหัวใจ



กาหลง ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Bauhinia acuminate L. ชือ่ วงศ์ : FABACEAE ชือ่ สามัญ : White Orchid Tree ชือ่ พื้นเมือง : เสี้ยวน้อย โยธิกา ส้มเสี้ยว ลักษณะทัว่ ไป : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1.3 เมตร กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว กิ่งแก่ผิว ค่อนข้างเกลี้ยงใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีกว้าง ปลายใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบ เรียบ แผ่นใบเป็นสีเขียวอ่อน มีเส้นใบออกจากโคนใบ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมี ติ่งเล็ก หูใบเรียวแหลม ร่วงง่าย ละมีแท่งรยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ดอกเป็นช่อ กระจะแบบสั้นๆ ออกบริเวณปลายกิ่งประมาณช่อละ 2-3 ดอก ดอกย่อยสีขาว มีกลิ่น หอมอ่อนๆ โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ รูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ดอก ตูมเป็นรูปกระสวย กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน รูปวงรีหรือรูปไข่กลับ สีขาว ปลายกลีบมน โคนสอบ กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบปลายกลีบเรียว แหลมและแยกเป็นพูเส้นสั้นๆ 5 เส้น เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละก้านจะ ยาวไม่เท่ากัน อับเรณูขอบขนาน สีเหลืองสด เกสรเพศเมียอยู่ระหว่างกลางอีก 1 อัน มีขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรเพศผู้รังไข่รูปขอบขนาน ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่น กลม ผลเป็นฝักแบน ขอบฝักเป็นสันหนา ส่วนปลายฝักและโคนฝักสอบแหลม ปลาย ฝักมีติ่งแหลมขอบของฝักเป็นสันหนา ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาล เมล็ด 5-10 เมล็ด แบนหรือรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก การใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ต้น มีสรรพคุณแก้ลักปิดลักเปิด ต้น และราก มีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะ ราก ใช้ต้มเป็นยาดื่มช่วยแก้อาการไอ ดอก มี สรรพคุณช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน



ก�ำยาน ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Styrax benzoides Craib ชือ่ วงศ์ : STYRACACEAE ชือ่ สามัญ : Siam benzoin, Sumatra benzoin ชือ่ พื้นเมือง : ก�ำยาน ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10–15 ม. ล�ำต้นเปลาตรง แตกกิ่ง ก้านสาขาออกด้านข้างมาก กิ่งข้างขนานกับพื้นดิน เปลือกต้นสีเทาหม่นเรียบหรือมี ร่องตื้นตามยาว มียางใส กิ่งอ่อนมีขนสีขาวเทาปกคลุม เมื่อแก่ผิวเรียบ ใบเดี่ยวเรียง สลับ ระนาบเดียว ใบรูปไข่ รูปรี รูปใบหอก หรือรูปขอบขนาน กว้าง 5–7 ซม. ยาว 10–15 ซม. โคนใบมนปลายใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีขนรูปดาวสี เงินปกคลุมหนาแน่น ขอบใบเรียบ เส้นใบ 6–11 คู่ ก้านใบ 0.6–1.5 ซม. ดอกช่อ ออก ซอกใบ และปลายยอด ช่อดอกยาว 10–15 ซม. ดอกมี กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 5 สีเขียว อ่อน ผิวมีขนสีเงินปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลาย กลีบ แยกรูปขอบขนาน ดอกบานปลายกลีบม้วนออกด้านนอก เกสรเพศผู้ 10 ก้าน เกสรเพศผู้สีขาว อับเรณูขนาดใหญ่ รูปขอบขนานสีเหลืองเข้มเห็นชัดเจน รังไข่เหนือ วงกลีบมีขน ปกคลุม ผลกลมแป้นสีเขียวอมเทา เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5–1.5 ซม. ผิวมี ขนสั้นรูปดาวสีเงิน ปกคลุมหนาแน่น ผลแก่แห้งแตกออก เป็นสามส่วน การใช้ประโยชน์ : ไม้เนือ้ อ่อน ใช้ทำ� ก้านไม้ขดี เปลือกไม้มยี างทีม่ กี ลิน่ หอม ใช้ทำ� เครือ่ ง หอม



กุ่มน�ำ้ ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Crateva magna (Lour.) DC. ชือ่ วงศ์ : CAPPARACEAE ชือ่ พื้นเมือง : กุ่ม กุ่มน�้ำ(ภาคกลาง) ผักกุ่ม(ภาคเหนือ) ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5–20 ม. เปลือกเรียบสีเทา ใบประกอบ แบบนิ้ว มือ มีใบย่อยสามใบ ใบย่อยรูปใบหอก กว้าง 1.5–6.5 ซม. ยาว 5–23 ซม. ปลายใบ เรียวแหลม โคนใบสอบแคบ ใบที่อยู่ ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยวเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้าง หนามันคล้าย แผ่นหนัง ก้านใบยาว 4–14 ซม. ที่ปลายก้านจะมีต่อมสีน�้ำตาล ขนาด ประมาณ 1 มม. ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อ เชิงหลั่น ยาว 10–16 ซม ก้านดอกย่อยยาว 4–7 ซม. กลีบเลี้ยง รูปไข่ปลายแหลม กว้าง 1.5–2.5 มม. ยาว 2.0– 3.5 มม. กลีบดอกรูปรูปรีหรือรูปไข่ปลายมนโคนสอบแคบไปยังก้าน กลีบกว้าง 1.5– 2.0 ซม. ยาว 1.5–3.0 ซม. ก้านกลีบดอก ยาว 5–15 มม. กลีบดอกสีขาว เมื่อใกล้โรย เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้มี 15–25 อัน ยาว 5.5–8.0 ซม. ก้านเกสรเพศผู้ และ อับเรณูสีม่วงแดง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีก้านชูรังไข่สีม่วงเข้ม ยาวระดับเดียวกับก้าน เกสรเพศผู้ รังไข่สีเขียว ยอดเกสรเพศเมีย สั้นสีม่วงแดง ผลรูปกลมหรือรูปไข่ เส้นผ่า ศูนย์กลาง 5–8 ซม. เปลือกผลสีครีม มีก้านผลยาว 9–12 ซม. เมล็ดจ�ำนวนมาก รูป ร่างคล้ายเกือกม้า การใช้ประโยชน์ : ใบอ่อนและดอกอ่อนน�ำมาดอง น�ำไปประกอบอาหาร เช่น ย�ำ แกง



แก้ว ชือ่ อืน่ : กะมูนิง แก้วขาว แก้วขี้ไก่ แก้วพริก แก้วลาย จ๊าพริก ตะไหลแก้ว ชือ่ สามัญ : Andaman satinwood, Chinese box tree, Moxk orange, Orange jasmine ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack ชือ่ วงศ์ : LUTACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ไม้พุ่มกิ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ไม่ผลัดใบ ต้นแตก กิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกล�ำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่องๆ เนื้อไม้สีขาวนวล ใบ ประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ ใบย่อย 5-9 ใบ รูปไข่ปลายและโคนใบ แหลม ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนเล็กน้อย แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังบางๆ หลังใบเป็น สีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบมีสีอ่อนกว่า ใบมีต่อมน�้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุน คล้ายผิวส้มเป็นน�้ำมันติดมือ ดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมี กลิ่นหอมจัด กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปกลมรี ร่วงง่าย โคนกลีบดอกติด กัน เกสรเพศผู้จ�ำนวน 10 อัน ผลรูปกลมรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ผลอ่อน เป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน�้ำมัน เมล็ด 1-2 เมล็ด รูปรีหรือเป็น รูปไข่ ปลายสอบ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด สีขาวขุ่น ส่วนที่มีกลิ่นหอม : ดอก ระยะเวลาการออกดอก – ผล : ออกดอกตลอดปี การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : ราก ช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ท�ำให้การไหล เวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น รากและใบ น�ำมาต้มใช้ชะล้างบริเวณที่ถูกแมลงกัด ต่อย ใบ มีรสเผ็ดรอนและขมมีสรรพคุณช่วยบ�ำรุงธาตุในร่างกาย ใบ ใช้เป็นยาขับ พยาธิตัวตืด



ขนุน ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam. ชือ่ วงศ์ : MORACEAE ชือ่ สามัญ : Jack fruit tree ชือ่ พื้นเมือง : ขนุน(ภาคกลาง) มะหนุน(ภาคเหนือ) หมักมี้(ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ) ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15–30 ม. ทรงพุ่มรูปทรงกระบอก ทุกส่วนของต้น มียางสีขาว เป็นไม้เนื้ออ่อน แก่นสีเหลือง มีหูใบ ขนาดใหญ่หุ้มปลายยอด หูใบหลุด ร่วงง่าย ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี กว้าง 5–8 ซม. ยาว 10–17 ซม. โคนใบมน ปลายใบทู่ ถึงแหลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมันและเป็นแผ่นหนาเหมือนหนัง ท้องใบสาก ก้านใบยาว 1.0–2.5 ซม. ดอกช่อเป็นแท่งกลมยาว ออกตามล�ำต้นหรือกิ่งขนาดใหญ่ ช่อดอกเพศผู้ และเพศเมีย แยกกัน แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศเมียจะออกที่โคนกิ่ง ล�ำต้น หรือก้านขนาดใหญ่ ดอกเพศผู้มักออกตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมคล้ายส่าเหล้า จึงเรียก ว่า “ส่า” ผลเป็นผลรวม ในหนึ่งผลใหญ่จะมีผลย่อยหลายผล ผลมีขนาดใหญ่ ผิวมี หนามสั้น เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีเหลือง เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน การใช้ประโยชน์ : ใบอ่อนรับประทานสดหรือลวกกินกับน�้ำพริก ผลอ่อนประกอบ อาหาร ผลสุกกินเป็นผลไม



ค�ำมอกหลวง ชือ่ อืน่ : ไข่เน่า ค�ำมอกช้าง ผ่าด้าม ยางมอกใหญ่ แสลงหอมไก๋ หอมไก๋ ชือ่ สามัญ : Golden Gardenia ชือ่ วิทยาศาสตร์ : GarDenia sootepensis Hutch. ชือ่ วงศ์ : RUBIACEAE ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้น สูง 7-15 เมตร ผลัดใบในช่วงสั้นๆ ก่อนออกดอก ทรงพุ่มกลม และโปร่งแตกกิ่งน้อย กิ่งอ่อนเป็นรูปสีเหลี่ยม และมีขน ใบเดี่ยว รูปวงรี รูปขอบขนาน แกมไข่กลับหรือรูปไข่กลับ ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด เรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก ปลายแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีชมพูอ่อน มีขนสีเงิน ใบแก่เขียว เข้มเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียด เส้นใบข้าง 16-20 คู่ ตรงและขนานกันและโค้งจรด กันที่ขอบใบ เส้นแขนงใบเห็นชัดเจน เนื้อใบหนา แข็ง กรอบ หูใบเป็นปลอกรอบกิ่ง ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ หรือตามปลายยอด กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติด กันเป็นหลอดทรงกระบอกแคบ ปลายแยก 5 พู แผ่ออก บิดเป็นเกลียว กลีบดอกสีขาว นวลเมื่อแรกบานแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มี 5 อัน ไม่มีก้านชู เรียงสลับกับกลีบดอกบนปากหลอด เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบมี 1 ช่อง มีออวุล จ�ำนวนมาก ปลายเกสรเพศเมียรูปกระบอง ก้านเกสรเพศเมียยาวโผล่พ้นปากหลอด กลีบดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 แฉก ปลายเป็นพูเล็กๆ ด้านหนึ่งแยกลึก ด้านนอกมีขนละเอียดเหนียวๆ ผลสด มีเนื้อ สีเขียวเข้ม เมื่อแก่ เปลี่ยนเป็นสีด�ำ รูปกระสวยแกมไข่กลับหรือรูปขอบขนาน ผิวมีปุ่มหดกับช่องอากาศ มีติ่งที่ปลายและสันตื้นๆ 5 สัน มีเนื้อ เมล็ดหลายเมล็ด ขนาดเล็ก การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : แก่น น�ำไปใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน แก่น ใช้ผสม กับแก่นมะพอก น�ำมาต้มรวมกันให้หญิงอยู่ไฟใช้อาบและสระผม เนื้อไม้ ใช้เข้ายากับ โมกเตี้ยและสามพันเตี้ย ใช้ต้มกับน�้ำเป็นยาดื่มแก้บิด และถ่ายเป็นมูกเลือด เมล็ด น�ำ มาต้มเคี่ยวกับน�้ำใช้ผสมเป็นยาฆ่าเหา



จงกลนี ชื่ออื่น : บัวสาย บัวขี้แพะ บัวแดง ปริก ป้าน ป้านแดง สัตตบรรณ สัตตบุษย์ ชือ่ สามัญ : ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Nymphaea pubescens Willd. ชือ่ วงศ์ : NYMPHAEACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชน�้ำอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝังอยู่ในโคลนเลน ก้านอยูใ่ ต้นำ�้ ก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลีย้ งและไม่มหี นาม ใบ เดีย่ ว เรียงสลับ แผ่นใบกลม ขอบใบหยักและแหลม ฐานหยักเว้าลึก หูใบเปิดผิวใบอ่อน วางอยูบ่ นผิวน�ำ้ แผ่นใบด้านบนเรียบเป็นมันมีสเี ขียวเหลือบน�ำ้ ตาลอ่อนหรือสีแดงเลือด หมู ผิวใบด้านล่างของใบอ่อนเป็นสีมว่ ง ใบเมือ่ แก่จะเป็นสีเขียว ผิวใบด้านล่างของใบแก่ เป็นสีนำ�้ ตาลมีขนนุม่ ๆ เส้นใบใหญ่นนู ส่วนก้านใบมีสนี ำ�้ ตาลอมเขียวอ่อน ค่อนข้าง เปราะ ข้างในก้านใบเป็นรูอากาศ ดอกเดีย่ ว มีหลายสี เช่น สีชมพู ขาว แดง ม่วงแดง เหลือง เขียว คราม น�ำ้ เงิน กลีบเลีย้ ง 4 กลีบ สีเขียวเหลือบน�ำ้ ตาลแดง ดอกเป็นรูปครึง่ วงกลม ถึงค่อนข้างกลม กลีบดอกจ�ำนวนมากเรียงซ้อนกันอยูห่ ลายชัน้ รูปหอกกลับเกสร เพศผูส้ เี หลือง มีจำ� นวนมาก เป็นแผ่นแบน เกสรเพศผูอ้ บั เรณูเป็นร่องขนานตามยาว เกสรเพศเมียรังไข่มขี นาดใหญ่ตดิ กับชัน้ ของกลีบดอก และก้านดอกมีสนี ำ�้ ตาล ผล ผลสด เรียกว่า “โตนด” เมล็ดมีขนาดเล็กสีดำ� อยูใ่ นเนือ้ หุม้ เป็นวุน้ ใส การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : ก้านดอกและไหล ใช้รับประทานได้ โดยน�ำก้านดอกหรือ ใบมาลอกผิวหรือเปลือกที่หุ้มอยู่ออกแล้วเด็ดดอกและใบทิ้งแล้วน�ำมาใช้รับประทาน เป็นผักสดร่วมกับน�้ำพริก หรือน�ำไปปรุงเป็นอาหาร ดอก ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน ช่วยแก้ อาการร้อนใน



จันทร์แดง ชือ่ อืน่ : จันทน์ผา ลักกะจันทร์ ชือ่ สามัญ : ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Deacaena cochinchinensis (Lour.) S. C. Chen. ชือ่ วงศ์ : ASPARAGACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง1.5-4 เมตร ไม่ผลัดใบ ล�ำต้นตั้งตรงกลม มีแผลใบเป็นร่องขวางคล้ายข้อ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันถี่ๆ ที่ปลาย กิ่งรูปยาวรีขอบขนานหรือเป็นแถบยาวแคบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบ หุ้มล�ำต้น ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนากรอบ โคนใบจะติดกับล�ำต้นหรือโอบคลุมล�ำต้น ไม่มีก้านใบ และมักจะทิ้งใบเหลือเพียงยอดเป็นพุ่มดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ โค้งห้อยลง ออกตามซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยขนาดเล็กและมีจ�ำนวนมาก ดอกเป็นสีขาว นวล หรือขาวครีม หรือเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีจุดสีแดงสดกลีบ ดอกมี 6 กลีบ เกสรเพศผู้จ�ำนวน 6 ก้าน ก้านเกสรมีความกว้างเท่ากับอับเรณู ก้าน เกสรเพศเมียปลายแยกเป็นพู 3 พู ชั้นกลีบเลี้ยงเป็นหลอด ที่ปลายกลีบแยกเป็นพู แคบๆ 6 พู ไม่ซ้อนกัน ผลสด รูปทรงกลมขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นพวง ผิวผลเรียบ ผล อ่อนเป็นสีเขียวอมสีน�้ำตาล ส่วนผลแก่เป็นสีแดงคล�้ำ เมล็ดเดียว การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : ทั้งต้น ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก่น มีรสขม เย็น ช่วย บ�ำรุงหัวใจ ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดีพิการ เมล็ด ใช้รักษาดีซ่าน



จามจุรี ชือ่ อืน่ : ก้ามกรามก้ามกุ้ง ก้ามปู ฉ�ำฉา ตุ๊ดตู่ ลัง ส�ำสา ชือ่ สามัญ : Cow tamarind, Rain tree ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Alibizia saman (Jacq.) Mer. ชือ่ วงศ์ : FABACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น มีขนาดใหญ่สูงได้ถึง 20 เมตร เนื้อไม้อ่อน แตกกิ่ง ก้านเรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่ม เปลือกล�ำต้นสีน�้ำตาลเข้มเกือบด�ำ แตกสะเก็ดเป็น ร่องตลอดล�ำต้น ใบประกอบขนนกสองชั้น ออกสลับ สีเขียวเข้ม ใบย่อย 2-10 คู่ รูปรี หรือรูปขนมเปียกปูนเบี้ยว ปลายใบมน โคนใบมนและเบี้ยว ห้องใบหรือใต้ใบสีเขียว นวลมีขน ดอกช่อสั้นๆ แบบช่อกระจุกรูปร่มค่อนข้างกลมตามปลายยอด ดอกสีชมพู รูปกรวยขนาดเล็กเชื่อมกันเป็นหลอด มีเส้นเกสรเพศผู้เป็นพู่ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบนหนา รูปขอบขนาน เมื่อแก่มีสีน�้ำตาลอมด�ำ เนื้อในสีด�ำนิ่ม รสหวาน เมล็ดมี 15-25 เมล็ด รูปรีค่อนข้างกลม การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : เปลือกต้น รสฝาด สมานแผลในปาก คอ แก้โรคเหงือก บวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ท้องร่วง แก้โลหิตตกใน ใบ รสเย็นเมา ท�ำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ด รสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ



จ�ำปา ชือ่ อืน่ : จ�ำปาเขา จ�ำปาทองจ�ำปาป่า จุมปา จุ๋มป๋า จ�ำปากอ มณฑาดอย ชือ่ สามัญ : Champak ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Magnolia champaca (L.) aill. Ex Pierre var. champaca ชือ่ วงศ์ :MAGNOLIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ทรงพุ่ม โปร่งเป็นรูปกรวยคว�่ำ ค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งจ�ำนวนมากที่ยอด ที่เปลือกมีสีเทาอมขาว และมีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน ขนาดใหญ่สีเขียวเป็นมัน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม เนื้อใบบาง ใบอ่อนมีขนส่วนใบแก่เกลี้ยงเส้นใบ 16-20 คู่ โคนก้านใบ ป่อง ดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีเหลืองอมแสด มีกลิ่นหอมแรงดอก ตั้งขึ้น ดอกตูมเป็นรูปกระสวยมีแผ่นสีเขียวคลุมอยู่และจะหลุดไปเมื่อดอกบาน กลีบ ดอกและกลีบเลี้ยงลักษณะเหมือนกัน มีจ�ำนวน 12-15 กลีบ แต่ละกลีบรูปยาวรีแกม รูปหอก ผลกลุ่ม ผลย่อยค่อนข้างกลม เมล็ดหลายเมล็ด รูปร่างค่อนข้างกลม มีสีด�ำ เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดงแสด การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : เนื้อไม้ ช่วยบ�ำรุงประจ�ำเดือนของสตรี ใบ น�ำมาต�ำคั้น เอาแต่น�้ำรักษาโรคล�ำไส้ใหญ่อักเสบได้ ดอก ช่วยบ�ำรุงธาตุ ช่วยบ�ำรุงหัวใจ ช่วยบ�ำรุง ประสาท ช่วยกระจายโลหิตท�ำให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยบ�ำรุงโลหิต ผล ช่วยรักษาแผล ที่เท้าและอาการเท้าแตก



จ�ำปี ชือ่ อืน่ : ชือ่ สามัญ : White champak ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Magnolia x alba (DC.) Figlar ชือ่ วงศ์ : MAGNOLIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางสูง 10-20 เมตร ล�ำต้นมีสีน�้ำตาลแตกเป็น ร่องถี่ๆ กิ่งมีขนสีเทา เปราะและหักง่าย ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ สีเขียว โคนใบมน ปลาย ใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนา ดอกเดี่ยว มีสีขาวคล้ายกับสีงาช้าง มีกลิ่นหอม ดอกตูม เป็นรูปกระสวยมีแผ่นสีเขียวคลุมอยู่และจะหลุดไปเมื่อดอกบาน กลีบดอกซ้อนกันอยู่ 8-10 กลีบ ส่วนตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็กๆ ผลเป็นกลุ่มเมื่อแก่จะแห้ง แตก รูปคล้ายทรงไข่หรือทรงกลม บิดเบี้ยวเล็กน้อย ผลแก่มีสีแดง เมล็ด 1-4 เมล็ด ขนาดเล็ก สีด�ำ การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : ดอกตูม ใช้ส�ำหรับการรักษาอาการหลังการแท้งบุตร ช่วย บ�ำรุงประสาท ช่วยกระจายโลหิตท�ำให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยบ�ำรุงโลหิต กลีบดอก มี น�้ำมันหอมระเหย สามารถใช้ทาแก้อาการปวดศีรษะ



ชงโค ชือ่ อืน่ : เสี้ยวดอกแกง เสี้ยวหวาน ชือ่ สามัญ : Orchid tree, Purple Bauhinia ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Bauhinia purpurea L. ชือ่ วงศ์ : FABACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบเดี่ยวคล้ายรูป หัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน ดอก ช่อออกตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 6-10 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ มีชมพูถึง สีม่วงแดง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตรงกลางของดอกจะมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นออกไปด้านหน้า โค้งขึ้นด้านบนเกสรเพศเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้น ยาวกว่าเกสรเพศ ผู้ ผลเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว ฝักแก่จะมีสีน�้ำตาล และเมื่อแก่จัดจะมีสีด�ำ ฝักแก่จะ แตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก เมล็ดรูปร่างค่อนข้างแบน การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : เปลือกต้น มีรสเปรี้ยวฝาด แก้ไอ ฟอกโลหิต ใบ มีรส เปรี้ยวฝาด เป็นยาขับระดูและขับัสสาวะ



ชุมเห็ดเทศ ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Sennaalata(L.)Roxb. ชือ่ วงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ชือ่ สามัญ : Canelabra bush, Ringworm bush ชือ่ พื้นเมือง : สับมืนหลวง (ภาคเหนือ), ชุมเห็ดใหญ่ ลักษณะทัว่ ไป : ไม้พุ่มสูง 1-3 ม. ล�ำต้นแข็งมีเนื้อไม้ ล�ำต้นแตกกิ่งก้านน้อย กิ่งตั้งขึ้น ด้านบน ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบยาว 30-60 ซม. มีใบย่อย 8-20 คู่ ใบย่อย รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. ใบหนาแข็ง ปลายใบมนขอบ ขนานแกมรูปรี กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. ใบหนาแข็ง ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ฐานใบมนและเบี้ยว ขอบใบเรียบเป็นสีแดง หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบ ขอบ ใบเรียบ ดอกช่อใหญ่ ยาว 30-50 ซม. ช่อแคบเรียว ช่อดอกออกปลายยอดหรือซอก ใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยจ�ำนวนมาก ดอกจะบานไล่ตั้งแต่โคน ช่อไปหาปลาย ก้านดอกย่อยยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบรูปขอบขนาน สีเขียว ตรง ปลายแหลม กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองทอง รูปไข่ยาวประมาณ 2 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน มี 2 อันที่ยาวมากกว่าอันอื่น ดอกย่อยมีใบประดับสีน�้ำตาลแกมเหลืองหุ้มดอก ฝัก รูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.0 ซม. ยาว 10-15 ซม. ฝักสีน�้ำตาลเข้มเกือบด�ำ มีสัน 4 สัน ฝักแก่แตกตามยาว มีเมล็ด 50-60 เมล็ด เมล็ดจะแบนเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้าง 0.50.8 ซม. ยาว 0.7-1.0 ซม. ผิวนอกจะขรุขระเป็นสีด�ำ การใช้ประโยชน์ : ผลนึ่งกินกับน�้ำพริก ใบสดหรือดอก คั่วไฟชงดื่มเป็นยาแก้ท้องผูก ใบ แก่ ต�ำผสมเหล้าและข้าวจ้าวทาแก้กลากเกลื้อน ราก ขับปัสสาวะ ต้น แก้กลากเกลื้อน ฝัก ขับพยาธิตัวตืด ไส้เดือน ทั้งต้นถ่ายพิษซางตานในเด็ก สภาพนิเวศวิทยา : ไม้กลางแจ้งชอบแสงแดดจัด พบตามที่ชุ่มชื้นและชายน�้ำ พบที่ ความสูงจากระดับน�้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 1,500 ม.



ตะเคียนทอง ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb. ชือ่ วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ชือ่ สามัญ : Iron wood ชือ่ พื้นเมือง : จะเคียน(ภาคเหนือ) แคน(ภาคอีสาน) ตะเคียน ตะเคียนทอง ตะเคียน ใหญ่(ภาคกลาง) ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20–40 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบกลม หรือรูปเจดีย์ เปลือกต้นหนาสีน�้ำตาลด�ำ แตกเป็น สะเก็ด กระพี้สีน�้ำตาลอ่อน แก่นสี น�้ำตาลแดง ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่แกมใบหอก หรือรูปขอบขนานค่อนข้างยาว กว้าง 3–6 ซม. ยาว 10–14 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมน ป้านและ เบี้ยว หลังใบมีขนขนาดเล็กสีด�ำอยู่ตามซอกเส้นใบ เส้นใบ 9–13 คู่ ปลายโค้ง แต่ไม่ จรดกัน ดอกเป็นช่อออกตาม ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ก้านช่อดอก ก้านดอก และกลีบเลี้ยงมีขนนุ่ม ช่อดอกยาว 5–7 ซม. กลีบเลี้ยง 5 มี ขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบโคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายกลีบ หยักและบิด เกสรตัวผู้ 15 อัน โคนเชื่อมติดกับกลีบดอก ผลแห้งไม่แตก รูปทรงกลมหรือรูปไข่ ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 0.5 ซม. ยาว 1 ซม. มีปีกยาว 2 ปีก รูปใบพาย ปลายปีก กว้างเรียวมาทาง โคนปีก เส้นปีกมี 9–11 เส้น ปีกกว้าง ประมาณ 1 ซม. ยาว 4–6 ซม. มีปีกสั้น 3 ปีก ปีกสั้นมี ความยาวไม่เกินความยาวตัวผล การใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็ง ใช้สร้างบ้านเรือน เครื่องเรือน



เต่าร้างแดง ชือ่ วิทยาศาสตร์ : CaryotamitisLour. ชือ่ วงศ์ : PALMAE ชือ่ สามัญ : Fish tail palm, art fish tail paim, Burmese fishtail palm ชือ่ พื้นเมือง : เขือง (ภาคเหนือ), เต่าร้างแดง ลักษณะทัว่ ไป : ปาล์มล�ำต้นแยกแขนง สูง 10-20 ม. แตกกอด้านข้างเป็นกลุ่มใหญ่ ล�ำต้นเป็นปล้องสีเขียว เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-15 ซม. ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกที่ข้อของล�ำต้น ใบยาว 2-4 ม. มีกาบใบหุ้มรอบข้อ ก้านใบชั้นที่ 1มี 7-23 คู่ แต่ละ ก้านมีใบย่อย 7-20 คู่ ใบย่อยรูปพัด กว้างประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ปลาย ใบหยักแบบฟันปลา ใบคู่ปลายใหญ่สุด รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ก้านใบรวมยาว 0.52.0 ม. มีขนสีน�้ำตาลแดงถึงด�ำปกคลุม เมื่อต้นโตเต็มที่แล้วจึงจะออกดอก โดยช่อดอก จะออกซอกใบที่อยู่ใกล้ยอดก่อนแล้วจึงออกไล่ลงมาด้านล่าง มีช่อดอก 4-7 ช่อ เมื่อ ออกดอกและติดผลถึงด้านล่างแล้วต้นก็จะตายไป ช่อดอกห้อยลงยาว 1.0-1.5 ม. ใน ช่อดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ดอกเพศเมียกลีบเลี้ยง 3 สีเขียวอ่อนรูปกลม ขอบกลีบหยัก กลีบดอก 3 กลีบสีเหลือง รังไข่ 1 อันอยู่เหนือวงกลีบ ผลรูปกลม ขนาด 0.6-2.0 ซม. ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีแดงก่อนแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีด�ำ มักมีเมล็ดเดียว การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนน�ำมาประกอบอาหาร เช่น แกง ชาวล้านนานิยมน�ำก้าน ใบมาผูกตุง (ธง) ส�ำหรับประกอบพิธีทานตุงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือน�ำมาปลูก เป็นไม้ประดับ สภาพนิเวศวิทยา : เกิดตามล�ำธาร ในป่าดงดิบ ป่าแล้งทั่วไป ความสูงจากระดับน�้ำ ทะเลปานกลาง ไม่เกิน 800 ม.



ทองกวาว ชือ่ อืน่ : กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองเต้น ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ดอกจาน ชือ่ สามัญ : Bastard Teak, Bengal Kino, Flame of the Forest ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub. ชือ่ วงศ์ : FABACEAE ลักษณะทาพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 12-18 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสี น�้ำตาลหนา ลักษณะของการแตกกิ่งก้านจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่เป็นระเบียบ ส่วน เปลือกต้นจะเป็นปุ่มปม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ ปลายรูปไข่ กลีบแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว ขอบใบเรียบ ดอกช่อ สีแดงส้มหรือแสด ดอกย่อยเกาะกันเป็นกลุ่ม เมื่อดอกบานมี กลีบ 5 กลีบ ผลเป็นฝักแบน ฝักอ่อนสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่ ผิว ฝักมีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน ฝักโค้งงอเล็กน้อยไม่แตก ส่วนด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดเดียว ขนาดเล็ก การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : ราก สรรพคุณช่วยบ�ำรุงธาตุ น�ำมาใช้ประคบบริเวณที่เป็น ตะคริว ใบ ใช้ต�ำพอกฝีและสิว แก้อาการปวด และช่วยถอนพิษได้ ใบหรือฝักหรือ เมล็ด น�ำมาต้มเอาแต่น�้ำใช้เป็นยาขับพยาธิ หรือพยาธิตัวกลม



ทุเรียนเทศ ชื่ออื่น : มะทุเรียน หมากเขียบหลด ทุเรียนแขก ทุเรียนน�้ำ ชือ่ สามัญ : Soursop, Prickly custard apple ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Annona muricata L. ชือ่ วงศ์ : ANNONACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-6 เมตร แตกกิ่งก้านค่อนข้างมาก ใบ เดี่ยวค่อนข้างหนา เรียงสลับกันไปในระนาบเดียวกับกิ่ง รูปร่างรี ผิวใบอ่อนเป็นมัน เมื่อฉีกใบจะได้กลิ่นเหม็นเขียวฉุนจัด ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ห้อยลงที่ซอกใบ อยู่รวมกัน 3-4 ดอก กลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมหนาแข็ง จ�ำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ มีสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่ายผลรูปกลมรีมีสี เขียว มีหนามนิ่มที่เปลือกผล ภายในมีเนื้อคล้ายน้อยโหน่ง สีขาว มีรสเปรี้ยว รสหวาน เล็กน้อย เนื้อจะไม่แยกแต่ละเมล็ดเป็นหนึ่งตาเหมือนน้อยหนา ถ้าผลดิบมีรสอม เปรี้ยว และมีรสมันเล็กน้อย เนื้อจะไม่แยกแต่ละเมล็ดเป็นหนึ่งตาเหมือนน้อยหน่า ถ้า ผลดิบมีรสอมเปรี้ยว และมีรสมันเล็กน้อย เมล็ดแก่สีน�้ำตาลด�ำ หุ้มด้วยเนื้อสีขาว การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : ใบ น�ำมาใช้ชงดื่มช่วยท�ำให้นอนหลับสบาย ใบ เป็นยาแก้ อาการท้องอืดด้วยการน�ำมาขยี้ผสมกับปูนแล้วน�ำมาทาบริเวณท้อง ผลสุก ช่วยเพิ่ม น�้ำนมกับหญิงให้นมบุตร เมล็ด น�ำมาใช้ในการช่วยสมานแผลและห้ามเลือด



ไทรย้อย ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Ficusbenjamina L. ชือ่ วงศ์ : MORACEAE ชือ่ สามัญ : Golden fig. Weeping fig ชือ่ พื้นเมือง : ไทร ไทรย้อย ไทรย้อยใบแหลม ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดเล็กสูงไม่เกิน 10 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดกลม แผ่กว้าง เปลือกต้นสีน�้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง โตช้า มีรากอากาศห้อยย้อยสวยวาม ทนต่อ สภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทนลม ทนน�้ำท่วมขัง ระบบรากแข็งแรง มีน�้ำยางขาว ใบ เดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5.0 ซม. ยาว 5-12 ซม. โคนใบมน ปลายใบ เรียวแหลม แผ่นใบหนาค่อนข้างเป็นมัน เส้นแขนงใบจ�ำนวนมาก ก้านใบ ยาว 0.6-1.8 ซม. หูใบแหลม ยาว 0.8-1.1 ซม. ดอกช่อออกซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกทรงกลมคล้ายผล ขนาดประมาณ 0.8 ซม. ผล สดรูปทรงกลมหรือรูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสี เหลืองส้มและแดงเข้มตามล�ำดับ การใช้ประโยชน์ : รากขับพยาธิ บ�ำรุงโลหิต บ�ำรุงน�้ำนม ขับปัสสาวะ รากอากาศขับ ปัสสาวะ ยางใส่บาดแผล ผลเป็นอาหารของนก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา สภาพนิเวศวิทยา : ไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด



บัวหลวง ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaerth ชือ่ วงศ์ : NELUMBONACEAE ชือ่ สามัญ : Lotus ชือ่ พื้นเมือง : บัว ลักษณะทัว่ ไป : เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นท่อนยาว และจะมี ส่วนที่จะเจริญเป็นต้นใหม่เรียกว่าไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปโล่หรือรูปกลม แผ่นใบชู เหนือน�้ำ ขอบใบเป็นคลื่น ผิวมีนวล โคนใบแบบก้นปิด ก้านใบแข็งมีหนาม เมื่อตัดตาม ขวางจะเห็น เป็นรูภายใน ก้านมีน�้ำยางสีขาว และสายสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลาย ม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอม ชมพูจ�ำนวนมากเรียงซ้อนกัน เกสรเพศผู้จ�ำนวนมาก เกสรเพศเมียจ�ำนวนมากฝังอยู่ ใน ฐานรองดอกรูปกรวย ออกดอกตลอดทั้งปี ผล เป็นผลแห้ง เมล็ดล่อน ผลอ่อนเป็น สีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาล การใช้ประโยชน์ : ดอกใช้บูชาพระ ผลแก่(ฝักบัว) น�ำมารับประทานสด หรือ ประกอบ ในขนมหวาน



บัวสาย ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Nymphaea pubescens Willd. ชือ่ วงศ์ : NYMPHAEACEAE ชือ่ สามัญ : Red Indian water lily ชือ่ พื้นเมือง : ดอกป้าน ลักษณะทัว่ ไป : ล�ำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายหัวเผือก ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูป กลม ขอบใบจัก โคนใบแบบก้นปิด ใบอ่อนสีแดงเลือดหมู ใบแก่สีเขียว เส้นใบนูน แผ่น ใบจะลอยอยู่ระดับเดียวกับผิวน�้ำ ดอก เป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง กลีบดอก จ�ำนวนมาก สีชมพู เกสรเพศผู้จ�ำนวนมาก ลักษณะเป็นแผ่นแบน เกสร เพศเมียติดกับ รังไข่ ก้านดอกสีน�้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอดปี การใช้ประโยชน์ : ก้านดอกน�ำมาประกอบอาหาร เช่น แกงใส่ปลา แกงกะทิสายบัว



บุนนาค ชือ่ อืน่ : ก๊าก่อ ก�้ำก่อปะนาคอ สารภีดอย ชือ่ สามัญ : Ceylon ironwood ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Mesua ferrea L. ชือ่ วงศ์ : CALOPHYLLACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบแผ่นใบหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุมอยู่ ใบอ่อนสีชมพูออก แดง ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้มส่วนด้านล่างมีนวลสีเทา เส้นใบไม่เห็นชัด ใบห้อยลง เป็นพู่ ดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว จนถึงสีเหลืองอ่อน ซ้อนกัน รูปไข่หัวกลับ ปลายบานและเว้า โคนสอบ ปลายกลีบย่น เล็กน้อย เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบจะแผ่กว้างออก ดอกกลิ่นหอมเย็น ส่งกลิ่นได้ไกล ดอกห้อยลงเกสรเพศผู้มากกว่า 50 อัน สีเหลืองส้ม และเป็นฝอย อับเรณูสีส้ม เกสร เพศเมีย รังไข่ 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย สีขาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ คล้ายรูปซ้อนแยกเป็น 2 วง รูปกลม แข็งหนาและอยู่คงทนเมื่อเป็นผลก็ยังคงติดกับผลอยู่ ผลรูปไข่แข็งมาก ส่วนปลายโค้งแหลม ปลายไม่แตก เปลือกผลมีรอยด่างสีน�้ำตาล ผลสีส้มแก่หรือมีสี ม่วงน�้ำตาลีเปลือกเป็นเส้นใยห่อหุ้มอยู่ และมีหยดยางเหนียง ที่ฐานมีกลีบเลี้ยงหนา รองรับอยู่ 4 กลีบติดอยู่ และขยายโตขึ้นเป็นกาบหุ้มผล เมล็ดมี 1-4 เมล็ด แบนและ แข็ง สีน�้ำตาลเข้ม การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : ราก แก่นและดอก ช่วยชูก�ำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย ช่วยแก้กระหาย แก้ร้อน อาการกระสับกระส่าย ช่วยบ�ำรุงธาตุในร่างกาย แก่น มีรส เฝื่อน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน แก้โลหิตก�ำเดาไหล ช่วยแก้เสมหะในล�ำคอ



ประดู่ ชือ่ อืน่ : ฉะนอง ดู่ ดู่ป่า ประดู่ป่า ประดู่เสน ชือ่ สามัญ : Burmese rosewood ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz ชือ่ วงศ์ : FABACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ แต่ละช่อใบจะมีใบย่อย 5-11 ใบย่อย รูปค่อนข้างมนหรือรูปไข่ถึง รูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลมส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย ใบแก่เกลี้ยงผิวใบมีขนสั้นปกคลุมท้อง ใบมากกว่าหลังใบ ก้านใบอ่อนมีขนอ่อนปกคลุมเล็กน้อย ดอกช่อออกตามซอกใบและ ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลง สีเหลือง ดอกรูปถั่วกลีบเลี้ยงสีน�้ำตาลอมเขียวหรือสีเขียว มี 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น 2 แฉก แบ่งเป็นอันบน 2 กลีบ ติดกัน และอัน ล่าง 3 กลีบติดกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีเหลืองแกมแสด ขนาดเล็ก รูปผีเสื้อ เกสร เพศผู้ 10 อัน ด้านชูอับเรณูติดกัน เป็น 2-3 กลุ่ม เกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ สีเขียว มีขนเล็กๆ ขึ้นปกคลุม ก้านเกสรเพศเมียโค้งเล็กน้อย ยอดเกสรเป็นตุ่ม มีกลิ่นหอมแรง ส่งกลิ่นไปได้ไกล ผลเป็นฝักกลมแบนมีปีกคล้ายจานบิน ผลอ่อนสีเขียว อ่อน ผลแก่สีน�้ำตาลแกมเทา ตรงกลางมีเปลือกคลุม แข็งและหนา เมล็ด 1-2 เมล็ด สี น�้ำตาลแดง การใช้ประโยชน์/สรระคุณ : เปลือกต้น มีรสฝาดจัด มีสรรพคุณเป็นยาบ�ำรุงร่างกาย แก่นเนื้อไม้ มีรสขมฝาดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาบ�ำรุงโลหิต บ�ำรุงก�ำลัง บ�ำรุงธาตุใน ร่างกาย ใบ น�ำมาตากแห้งใช้ชงกับน�้ำร้อนเป็นชาใบประดู่ น�ำมาดื่มจะช่วยบรรเทา อาการระคายคอได้



ปี บ ชือ่ อืน่ : กาซะลอง กาสะลอง เต็กตองโพ่ ชือ่ สามัญ : Indian Cork Tree, Tree jasmine ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L. f. ชือ่ วงศ์ : BIGNONIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ล�ำต้นตรง สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อเจริญเป็นต้น ใหม่ได้ ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ใบย่อย 4-6 คู่ รูปร่างคล้ายรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักเป็นซี่หยาบๆ เนื้อใบเกลี้ยงบาง คล้ายกับกระดาษ ดอกช่อกระจุกแยกแขนง กลีบเลี้ยงสีเขียว ดอกมีกลิ่นหอม เชื่อม กันเป็นหลอดปากแตร แยกออกเป็น 5 แฉก 3 แฉก รูปขอบขนาน 2 แฉกล่างค่อนข้าง แหลม เกสรเพศผู้ 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ 1 อัน ผลแห้งแตกผลแบนยาวรูปขอบขนาน มีเนื้อ เมล็ดจ�ำนวนมาก เป็นแผ่นบางมีปีก การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : ดอก น�ำมาตากแห้งแล้วผสมกับยาสูบมวนบุหรี่ ใช้สูบ ท�ำให้ชุ่มคอ ท�ำให้ปากหอม น�ำมาตากแห้งชงใส่น�้ำร้อนดื่มเป็นชากลิ่นหอมละมุ นอ่อนๆ มีรสชาติหวานแบบนุ่มนวล



ไผ่ซางทอง ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Phyllostachyssulphurea(Carr.) A. & C. Riv. ชือ่ วงศ์ : GRAMINEAE ชือ่ สามัญ : Ougon-Kou Chiku ชือ่ พื้นเมือง : ไผ่ซางทอง ไผ่เหลือง ลักษณะทัว่ ไป : พืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นกอขนาดใหญ่ ล�ำต้นตั้งสูง 10-15 ม. ล�ำต้น กลม เป็นทรงกระบอกกลวง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. ผิวต้นเรียบเกลี้ยง สี เหลืองมีเส้นแถบสีเขียวอ่อนตามยาวบ้าง ไม่มีหนาม เนื้อไม้แข็ง มีข้อปล้องชัดเจน แต่ละปล้องยาว 30-40 ซม. มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ 2 แถว ใบรูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 10-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบคม ผิวใบด้านบน เรียบเป็นมันสีเขียวแซมด้วยลายสีขาวเป็นแถบ ผิวใบด้านและล่างมีไข มีกาบใบสีม่วง หุ้มล�ำต้น ตอนปลายกาบตรงที่ต่อกับใบจะมีลิ้นใบ การใช้ประโยชน์ : ทรงพุ่มสวย นิยมปลูกประดับสวน ล�ำต้นมีสีเหลืองทอง สวยงาม สภาพนิเวศวิทยา : ความชื้นสูง แดดเต็มวัน หรือที่ร่มร�ำไร



พะยอม ชือ่ อืน่ : ทะยอม ขะยอม เชียง เซียว พะยอมดง พะยอมทอง ยอม แดน ยางหยวก ชือ่ สามัญ : White Meranti ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G. Don ชือ่ วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-20 เมตร ผลัดใบ เปลือกต้นสีน�้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเด็กหนา เนื้อไม้สี เหลืองถึงสีน�้ำตาล ทรงพุ่มกลม แตกกิ่งก้านจ�ำนวนมาก ใบเดี่ยว รูปมนรี ผิวเกลี้ยงเป็น มัน โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอเรียบเป็นคลื่นด้านหลังใบมีเส้นใบมองเห็น ชัดเจน ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของกิ่ง ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่น หอม กลีบดอกมี 3 กลีบ เรียบโค้งเล็กน้อย โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะ กลม ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น ผลแห้งมีปีก รูปไข่และกระสวย ซ่อนตัวอยู่ใน กระพุ้ง โคนปีกมีปีก 5 ปีก ปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก เมล็ดเดียว การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : เปลือกต้นหรือไม้ชิ้นเล็กๆ น�ำมาใช้ใส่เครื่องหมักดองเพื่อ กันบูดกันเสีย ดอกอ่อน น�ำมารับประทานสดได้ หรือจะน�ำมาลวกเป็นผักไว้จิ้มกินกับ น�้ำพริก ผัดกับไข่ ชุบไข่ทอด



พิกุล ชือ่ อืน่ : กุน แก้ว ซางดง พิกุลเขา พิกุลเถื่อน พิกุลป่า ชือ่ สามัญ : Bullet wood, Spanish cherry ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi L. ชือ่ วงศ์ : SAPOTACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกันห่างๆ รูปไข่ รูปรีหรือรูปขอบขนาน โคนใบมน ปลายใบแหลม เป็นติ่งสั้นๆ ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สี เขียวสด เรียบเป็นมันหูใบรูปเรียวแคบ ร่วงง่าย ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก 2-6 ดอก ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีกล่นหอม กลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ กลีบเลี้ยงด้านนอกมีขนสั้นนุ่มสีน�้ำตาล รูปใบหอก ปลายแหลม ติดทน กลีบดอก สั้นกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย กลีบดอก 8 กลีบ โคนเชื่อมกันเล็กน้อย กลีบดอกแต่ละกลีบ จะมีส่วนยื่นออกมาด้านหลัง 2 ชิ้น ซึ่งส่วนที่ยื่นออกมาแต่ละชิ้นจะมีลักษณะ ขนาด และสีคล้ายคลึงกันกับกลีบดอก ท�ำให้ดูคล้ายกลีบดอกมีทั้งสิ้น 24 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นนอกมี 8 กลีบ ชั้นในมี 16 กลีบ กลีบดอกสีขาวนวล มีกลิ่นหอมเย็น กลิ่นยังคงอยู่ แม้ตากแห้งแล้ว ดอกร่วงง่าย เมื่อใกล้โรยเป็นสีเหลืองอมน�้ำตาล เกสรเพศผู้สมบูรณ์มี 8 อัน อับเรณูรูปใบหอก ยาวกว่าก้านชูอับเรณู และเกสรเพศผู้เป็นหมันมี 8 อัน มีขน เกสรเพศเมียรังไข่มี 8 ช่อง ผลสดแบบผลมีเนื้อ รูปไข่ ปลายแหลมสีเขียว ที่ขั้วผลมี กลีบเลี้ยงติดคงทน ผลอ่อนสีเขียว มีขนสั้นนุ่ม ผลสุกสีเหลืองถึงสีส้ม มีรสหวานเล็ก น้อย รับประทานได้ เมล็ดเดียวรูปแบนรี เปลือกแข็ง สีน�้ำตาลเข้มหรือด�ำมัน การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ : แก่น รากและดอกแห้ง ใช้เป็นยาบ�ำรุงหัวใจ แก่น ใช้เป็น ยาแก้ไข้ ดอกสด ใช้เข้ายาหอมสรรพคุณช่วยบ�ำรุงหัวใจ ดอก ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อและตามร่างกาย ผลสุก ใช้รับประทานแก้อาการปวดศีรษะ



เพกา ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Oroxylumindicum(L.) Kurz ชือ่ วงศ์ : BIGNONIACEAE ชือ่ สามัญ : Indian trumpet flower ชือ่ พื้นเมือง : มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ), ลิ้นฟ้า หมากลิ้นฟ้า (อีสาน) ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. ล�ำต้นตั้งตรง เรือนยอดแคบ กิ่ง เปราะหักง่าย ไม่แตกกิ่งข้างหรือแตกกิ่งข้างน้อยมาก เปลือกต้นเรียบ สีเทาอ่อน ใบ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายยอด ใบประกอบแบบขนนกสามถึงสี่ชั้น ใบขนาดใหญ่เรียงตรง ข้ามกัน ใบยาว 1-2 ม. ใบย่อยรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 5-7 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบหรือมีขนสั้นที่ผิวใบ ด้านล่าง ดอกช่อออกที่ปลาย ยอด ช่อดอกยาว 150-300 ซม. ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-4 ซม. กลีบดอก 5 ยาว 8-12 ซม. กลีบดอกหนาเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร กลีบ ดอกสีเหลืองนวล โคนกลีบสีม่วงแดง ปลายกลีบย่น เกสรเพศผู้ 5 ขนาดยาว 1 คู่ สั้น 1 คู่ เป็นหมัน 1 อัน ดอกจะบานตอนกลางคืนและร่วงตอนเช้า ผลเป็นฝักรูปดาบ กว้าง 6-9 ซม. ยาว 45-100 ซม. เปลือกแข็งเมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก ตามแนวยาว เมล็ดจ�ำนวนมาก ยาว 4-8 ซม. มีปีกบางสีขาว การใช้ประโยชน์ : ฝักอ่อนรับประทานเป็นผัก โดยการเผาหรือลวก ดอกและยอดลวก จิ้มน�้ำพริก กินกับลาบ เปลือกต้น ปรุงรสลาบ ราก แก้ท้องร่วง แก้อักเสบ แก้บิด เปลือกต้น บ�ำรุงน�้ำเหลือง ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร แก้บิด ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร แก้บิด ฝัก แก้ร้อนในกระหายน�้ำ บ�ำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้ปวด ท้อง เปลือกต้นเป็นสีย้อมผ้าฝ้ายให้สีเขียว สภาพนิเวศวิทยา : ขึ้นที่โล่ง บริเวณชายป่าป่าดงดิบที่ระดับต�่ำ จนถึงความสูง 800 ม. ชอบแดดจัด ชอบดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุย ระบายน�้ำได้ดี



มะกอก ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Spondiaspinnata (L.f.)Kurz ชือ่ วงศ์ : ANACARDIACEAE ชือ่ สามัญ: Hog plum ชือ่ พื้นเมือง : มะกอก มะกอกบ้าน ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นผลัดใบ สูง 15-25 ม. เปลือกต้นหนาสีเทาอ่อน ผิวต้นเรียบ มีน�้ำ ยาง กิ่งก้านมีช่องอากาศกระจัดกระจาย ใบประกอบรูปขนนกปลายคี่ เรียงสลับใบ ย่อย 9-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. ใบย่อยบริเวณโคนต้น โคนใบเบี้ยว ผิวใบเรียบเกลี้ยง ใบอ่อนเป็นสีชมพูแกมม่วง ใบแก่สีเหลืองทอง ดอกช่อ แยกแขนง ดอกช่อแยกแขนงออกที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบของกิ่งที่ใบร่วง ดอกย่อย จ�ำนวนมาก ขนาดเล็ก มีสีขาวหรือครีมอมเหลือง กลุ่มช่อดอกยาว 20-30 ซม. ออกใน ซอกใบบนๆ แต่ละก้านดอกย่อยสั้นไม่มีขน กลีบเลี้ยงรูปถ้วยปลายแยก 5 หรือ 4 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 หรือ 4 กลีบ รูปไข่แคบปลายโค้ง ยาว 2.5-3.0 มม. กลีบ ดอกไม่ซ้อนกันในดอกตูม เกสรเพศผู้ 8-10 อัน หมอนรองดอกเป็นพูตื้นๆ 10 พู รังไข่ 5 หรือ 4 หน่วย อัดแน่นแต่ไม่เชื่อมรวมกัน ดอกสมบูรณ์เพส และดอกแยกเพศอยู่บน ต้นเดียวกัน ผล 3.0-4.5 ซม. สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเทา ผลรูปไข่ มีเนื้อและ ชั้นหุ้มเมล็ดแข็งตรงกลาง ระหว่างแฉกมีเมล็ดมากถึง 5 เมล็ด การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดจิ้มน�้ำพริก ลาบ ผลสุกใช้ ประกอบอาหารที่ต้องการรสเปรี้ยว รากท�ำให้ชุ่มคอ แก้ร้อนในกระหายน�้ำ แก้ท้อง ร่วง เปลือกต้น แก้กระหายน�้ำ แก้ไขร้อนใน ผล แก้กระหายน�้ำ แก้ร้อนใน ท�ำให้ชุ่มคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน เปลือกต้นน�ำมาท�ำสีย้อม ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ให้สีเขียว สภาพนิเวศวิทยา : ขึ้นประปรายในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้งทั่วไปที่ มีการระบายน�้ำดีและสูงจากระดับน�้ำทะเลปานกลาง 50-500 ม.



มะขามป้อม ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L. ชือ่ วงศ์ : EUPHORBIACEAE ชือ่ สามัญ : Embic myrabolan, Malacca tree, Indian gooseberry ชือ่ พื้นเมือง : บะขามป้อม, บ่าขามป้อม ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดกลางสูง 8–12 ม. เรือนยอดรูปกลมหรือรูปร่มโปร่ง ล�ำต้น มักคดงอหรือไม่เปลาตรง เปลือกนอกสีน�้ำตาลอมเทา ผิวบางเรียบหลุดลอกเป็นแผ่น ใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบเรียงชิดกัน ใบรูปขอบขนาน กว้าง 0.2–0.5 ซม. ยาว 0.8–1.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมนบางทีมีรอยหยักเว้า เล็กน้อย ขอบใบ เรียบ ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้านเมื่อแก่ ผิวเรียบ ก้านใบสั้นมาก ดอกแยกเพศ แต่เกิดบนกิ่งและต้น เดียวกัน ดอกออกซอกใบ 3–5 ดอก ดอกส่วนใหญ่เป็นดอก เพศ ผู้ ดอกเพศผู้ก้านดอกยาว 2.0–2.5 มม. กลีบเลี้ยง 6 สีขาวนวล ไม่มีกลีบดอก เกสร เพศผู้ 3 อัน ก้านเกสรเพศผู้ เชื่อมติด ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยง 6 เชื่อมติดกันเป็นรูป ถ้วย สีเขียวอ่อน รังไข่มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน ปลายแยก 3 ดอก ผลก ลม มีเนื้อหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2–2.0 ซม. ผลแก่สีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้ว ตามยาว 6 เส้น เนื้อรับประทานได้ มีรสฝาด เปรี้ยวอมหวาน เมล็ด สีเขียวเปลือกหุ้ม เมล็ดแข็งมี 6 สัน การใช้ประโยชน์ : ผลแก่รับประทานเป็นผลไม้ มีรสเปรี้ยวอมฝาด แก้ไอ แก้กระหายน�้ำ



มะเกลือ ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff. ชือ่ วงศ์ : EBENACEAE ชือ่ สามัญ : Ebony tree ชือ่ พื้นเมือง : มะเกลือ ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15–30 ม. ล�ำต้นเปลาตรง เรือนยอดกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มปกคลุมทั่วไป เปลือกนอก เป็นสีด�ำแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1.5–4.0 ซม. ยาว 4–8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ใบอ่อนมีขนสีเงินปกคลุม ใบแก่เกลี้ยง เมื่อใบแห้งมีสีด�ำ เส้นใบข้าง 10–15 คู่ ก้านใบ 0.5–1.0 ซม. ดอก ดอกออกตามซอกใบ แยกเพศอยู่ คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ มีประมาณ 3 ดอกย่อย กลีบเลี้ยง 4 เชื่อมติดกัน ปลายแยก 4 โค้งไปข้างหลัง กลีบดอกเชื่อมติดกัน เป็นหลอดปลายแยก 4 เกสรเพศผู้ 14–24 อัน ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ กลีบดอกสีเหลือง อมเขียว เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 8–10 อัน รังไข่มีขนปกคลุม ผล เป็นผลสด รูปกลม หรือรูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.4–2.2 ซม. มีกลีบเลี้ยงเป็นจุกผล 4 กลีบ โค้งไปด้าน หลัง ผลดิบสีเขียว ผลแก่สีด�ำ การใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้มีสีด�ำเป็นมันใช้ท�ำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ แกะสลัก ผลดิบ สด ถ่ายพยาธิตัวตืด และพยาธิไส้เดือนตัวกลม



มะไฟ ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Baccaurearamiflora Lour. ชือ่ วงศ์ : EUPHORBIACEAE ชือ่ สามัญ: Baccaurea ชือ่ พื้นเมือง : มะไฟ ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ สูง 10-15 ม.ล�ำต้นคดงอ โคน ต้นเป็นร่อง เรือนยอดกลมทึบแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน�้ำตาลอ่อนหรือสีครีม ผิวเรียบ หรือหลุดลอกเป็นแผ่น เปลือกในสีน�้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงเวียนปลายกิ่ง รูปรีแกมใบหอก รูปใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 6-10 ซม. ยาว 18-20 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบ แหลม ขอบใบหยักตื้น ใบอ่อนมีขนสีน�้ำตาลปกคลุมทั้งสองด้าน ใบแก่ผิวเรียบทั้งสอง ด้าน เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบเห็นชัดด้านหลังใบ เส้นใบ 6-11 คู่ ก้านใบยาว 4-7 ซม. ดอกช่อออกที่ซอกใบ กิ่งก้านและล�ำต้น ช่อดอกห้อยลง แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ยาว 5-10 ซม. กลีบเลี้ยง 4 สีเหลืองอ่อน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 4-8 อัน ดอกเพศเมียยาวได้ถึง 30 ซม. กลีบเลี้ยง 4 สีเหลืองอ่อน ไม่มีกลีบดอก รังไข่มีขนสี น�้ำตาลปกคลุม ผลสดรูปกลม รูปรี หรือรูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลสุกมีสี เหลือง สีส้ม หรือสีม่วง มี 1-4 เมล็ด เมล็ดสีขาวหรือชมพูมีเนื้อชุ่มน�้ำหุ้ม มีรสเปรี้ยว อมหวาน การใช้ประโยชน์ : ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ มีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้อไม้แปรรูป ใช้ ท�ำเครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน ท�ำเครื่องเรือน ราก แก้วัณโรค แก้โรคตานทราง บ�ำรุงธาตุ ใบแก้กลากเกลื้อน แก้เรื้อน ผล แก้พิษฝี สภาพนิเวศวิทยา : ขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบใกล้ล�ำธาร ที่ความสูงจากระดับน�้ำ ทะเลปานกลาง 400-500 ม.



รัง ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Shorea siamensis Miq. ชือ่ วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ชือ่ สามัญ : Burmess sal, Ingyin ชือ่ พื้นเมือง : เปา ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–25 เมตร ล�ำต้นเปลาตรง เปลือก แตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ด ใบ เป้นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน กว้าง 7–10 ซม. ยาว 10–20 ซม. ปลายใบมน โคนใบเว้ารูปหัวใจ ดอก เป็นดอกช่อแยกแขนง สี เหลืองอ่อน ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ เรียง เวียงกัน ออกดอกเดือนมกราคม–มีนาคม ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่ กว้าง 1 ซม. ยาว 1.5 ซม. มีปีกสั้น 2 ปีก ปีกยาว 3 ปีก การใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน



สมอพิเภก ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb. ชือ่ วงศ์ : COMBRETACEAE ชือ่ สามัญ : Beleric myrobalan ชือ่ พื้นเมือง : สมอพิเภก(ภาคกลาง) แหน แหนขาว แหนต้น(ภาคเหนือ) ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-40 ม. ล�ำต้นเปลาตรง โคนต้นมักมี พูพอน เรือนยอด เป็นพุ่มกลม แผ่กว้างและ ค่อนข้างทึบ เปลือกนอกสีน�้ำตาลปนเทา แตกเป็นเกล็ดบาง เปลือกในสีเหลืองอ่อนปนน�้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ หรือมนแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-23 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายติ่งแหลม ก้านใบยาว 4-6 ซม. กึ่งกลางก้านใบจะมีต่อม 1 คู่ เส้นแขนง 6-7 คู่ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบอ่อนผิวใบด้านบนมีขนสีเทาอ่อนนุ่ม ปกคลุม ด้านล่างมีขนสี น�้ำตาลอ่อนปกคลุมหนาแน่น ใบแก่ ผิวเรียบ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีน�้ำตาลแดง ดอก ออกเป็น ช่อเดี่ยวบนกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอมเหมือนน�้ำผึ้ง ช่อดอกแบบ หางกระรอกออก ซอกใบ ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกสีขาวอม เหลืองอ่อน ดอกแยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้จะอยู่ ปลายช่อ ดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อดอก กลีบเลี้ยง 5 โคน กลีบเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย มีขนปกคลุม เกสรเพศผู้ 10 อัน เรียงซ้อนกับอยู่เป็นสอง แถว รังไข่ ค่อนข้างแบน ภายในมี ช่องเดียว มีไข่ 2 อัน ผลสดรูปกลมหรือกลมรี กว้าง 1.5-2.0 ซม. ยาว 2.5-3.0 ซม. มีเหลี่ยม 5 เหลี่ยมตื้นๆ ผิวมีขนคล้าย ก�ำมะหยี่สี น�้ำตาลเข้มเหลืองเงิน การใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ท�ำเครื่องเรือน ลูกแก่ ขับเสมหะ ท�ำให้ชุ่มคอ บ�ำรุง ธาตุ แก้ไข้



สมอไทย ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. var. chebula ชือ่ วงศ์ : COMBRETACEAE ชือ่ สามัญ : Chebulic myrobalans, Myrobalan Wood ชือ่ พื้นเมือง : มะนะ(ภาคเหนือ) สมอไทย(ภาคกลาง) ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15–20 ม. ล�ำต้น เปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกนอกหนา สีน�้ำตาล ค่อนข้างด�ำ มีรอยแตกตามยาวเป็น ร่องลึก ขรุขระ เปลือกใน สีน�้ำตาลแดง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน�้ำตาลแดงหนา แน่น ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปรี และรูปไข่กว้าง กว้าง 5–10 ซม. ยาว 8–20 ซม. โคนตัดหรือเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบแหลม โคนใบมีต่อม 1 คู่ เนื้อใบ บางและเหนียว ขอบใบ เรียบ ก้านใบยาว 2.0–2.5 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน�้ำตาลหนาแน่น ใบแก่ผิวเรียบ เส้นใบ 12-18 คู่ ดอกช่อแต่ละช่อจะมีช่อแขนง 4–7 ช่อ ปลายช่อจะ ห้อยลงสู่พื้นดินหรือตั้งขึ้น ดอกบานเส้นผ่า ศูนย์กลาง 3–4 มม. ดอกมีกลิ่นหอม กลีบ เลี้ยงมี 5 กลีบเชื่อม ติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนแน่นทางด้านใน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ มี 10 อัน เรียงตัวเป็นสองแถวล้อมรอบรังไข่ รูปไข่ภายในมี ช่องเดียว มีไข่ 2 อัน ผล สด รูปไข่กลับ รูปไข่ รูปกระสวย หรือรูปกลม กว้าง 2–3 ซม. ยาว 3–4 ซม. ผิวเรียบมี 5 พู เมล็ดแข็ง 1 เมล็ด ผลแก่สีเขียวอมเหลือง การใช้ประโยชน์ : ผลแก่รับประทานเป็นผลไม้ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคาร บ้าน เรือน ลูกแก่ แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้บิด แก้ท้องผูก



สะเดา ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Azadirachtaindica Juss. Var. siamensis Valeton ชือ่ วงศ์ : MELIACEAE ชือ่ สามัญ : Siamese neem tree, MargosaNeem, Neem tree ชื่อพื้นเมือง : สะเดา (ภาคกลาง), กะเดา (ภาคใต้), สะเลียม (ภาคเหนือ) ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นสูง 10-15 ม. ล�ำต้นตั้งตรง ทรงพุ่งกลม เปลือกต้นสีน�้ำตาลเทา หรือเทาปนด�ำแตกเป็นสะเก็ดยาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ใบอ่อนสี แดง ใบยาว 15-35 ซม. มีใบย่อย 7-9 คู่ ใบย่อยรูปหอก กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เส้นใบประมาณ 15 คู่ ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-2 มม. ช่วงที่จะออกดอกจะทิ้งใบหมดทั้งต้น ช่อดอกออก พร้อมกับใบใหม่ ดอกช่อกระจุกแยกแขนง ยาวได้ถึง 30 ซม. ดอกออกซอกใบ ดอกมี กลิ่นหอม ดอกขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็น รูปกรวยยาวประมาณ 1 มม. ปลายแยกเป็นแฉกกลม มีขน ขอบกลีบมีขน กลีบดอก 5 กลีบสีขาว ยาว 4-6 มม. รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายมนและม้วนออก เกสร เพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกันเป็นหลอด อับเรณูรูปกระสวยแคบ ยาวประมาณ 0.8 มม. ผลสดรูปกระสวย ยาวประมาณ 1-2 ซม. เนื้อผลฉ�่ำน�้ำ ผลสุกสีเหลือง การใช้ประโยชน์ : ยอดและดอกอ่อน น�ำมาลวกเป็นผักเคียงลาบ จิ้มน�้ำพริก ช่วยให้ เจริญอาหาร ไม้ใช้ในการก่อสร้าง ใบเป็นยาแก้ไข้ ต้นเป็นยามะเร็งคุด รากขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง เปลือกต้น แก้บิด แก้ไข้ทับฤดู ใบบ�ำรุงไฟธาตุ เป็นยาพอกฝี ดอกรักษา โรคก�ำเดา รากขับถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย น�้ำมันจากเมล็ด แก้โรคผิวหนัง ทุกส่วนน�ำ มาต้มหรือแช่น�้ำเพื่อก�ำจัดมดและแมลง เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าสีแดง สภาพนิเวศวิทยา : เกิดตามป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่งทั่วไป สามารถขึ้นได้ในสภาพดินที่ มีความแห้งแล้ง ดินหิน ดินเหนียวและดินตื้น



เสี้ยวดอกขาว ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Bauhinia variegate L. ชือ่ วงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ชือ่ สามัญ : Mountain ebony tree St. Thomas tree ชือ่ พื้นเมือง : เสี้ยวดอกขาว ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 10-12 ม. ล�ำต้นและกิ่งก้านมักคดงอ ทรง พุ่มโปร่ง เปลือกต้นเกลี้ยงสีน�้ำตาลอ่อน มีรอยแตกหยาบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่มสั้นปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่กว้างถึงค่อนข้างกลม ยาว 6-15 ซม. โคนใบเว้ารูปหัวใจ ปลายเว้าลึกครึ่งของความยาวใบ เส้นใบออกจากโคนใบ 9-13 เส้น ใบอ่อนมีขนนุ่ม ปกคลุม ใบแก่ผิวใบด้านบนมีนวล ด้านล่างมีขนสีขาวปกคลุม ใบมีหูใบที่หลุดร่วงง่าย ดอกช่อสั้นออกตามกิ่งและซอกใบ ช่วงที่ออกดอกจะผลัดใบทั้งต้น จ�ำนวนดอกในช่อ น้อย ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-10 ซม. กลีบเลี้ยง 5 เมื่อ ตูมกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกระสวย ไม่มีสัน เมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยงแยก 1-2 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบดอกสีขาวบอบบางยาว 2.5-3.0 ซม. กลีบดอกตรงกลาง 1 กลีบ ที่ตรงกลางกลีบมีสีเหลืองอ่อนมีเส้นริ้วสีแดง เกสรเพศผู้ 10 อัน มี 5 อันเป็นหมันและ ลดขนาดลง รังไข่มีก้านยาว ฝักรูปขอบขนาน กว้าง 2.0-2.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. เปลือกฝักแข็งเมื่อแก่แตกตามแนวยาว มี 10-25 เมล็ด การใช้ประโยชน์ : ใบอ่อนและดอกอ่อนประกอบอาหาร เปลือกไม้ ใช้รักษาอาการท้อง ร่วง โรคบิด มาลาเรีย เลือดก�ำเดาไหล โรคผิวหนัง เปลือกมีสารแทนนินใช้ย้อมแห อวน ให้คงทน ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ สภาพนิเวศวิทยา : เป็นพืชทนแล้ง พบได้ทั่วไปทั้งป่าผลัดใบ ป่าไผ่ที่โล่งแจ้ง โดยเฉพาะ ที่เป็นหินปูน ความสูงจากระดับน�้ำทะเลปานกลาง 500-800 ม.



หว้า ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Syzygium cumini (L.) Skeels ชือ่ วงศ์ : MYRTACEAE ชือ่ สามัญ : Black plum, Jambolan, Java plum ชือ่ พื้นเมือง : หว้า มะห้าขี้แพะ ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 10–25 ม. ล�ำต้นค่อนข้างเปลาตรง ทรงพุ่ม แน่น ทึบรูปไข่ เปลือกต้นค่อนข้างเรียบสีเทาอ่อน หรือหลุดลอก เล็กน้อย เปลือกชั้นในสี ม่วง ปลายกิ่งห้อยลง ใบ ใบเดี่ยวเรียง ตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 6–10 ซม. ยาว 3–7 ซม. เส้นใบ 19–30 คู่ ก้านใบยาว 0.6–2.8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบ มน ใบอ่อนจะมีสีแดงเรื่อ ใบแก่หนาคล้ายหนัง เส้นแขนง ใบละเอียดอ่อนและเรียง ขนานกัน ดอก เป็นดอกช่อสีขาว ช่อสั้น ออกตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อดอกยาว 4.5–10 ซม. ดอกย่อย ไม่มีก้านดอก ดอกบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. กลีบ เลี้ยง 4 ขนาดยาว 2.5–6.0 มม. เชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย มีก้านชูกลีบยาว 1–2 มม. และพูสั้น 4 พู กลีบดอก 4 กลับสีขาว เชื่อมเป็นถุงขณะดอกตูมและหลุดร่วงเมื่อดอก บาน บนกลีบมีต่อม เป็นจุด เกสรเพศผู้ จ�ำนวนมาก ยาว 4–6 มม. ผล ผลกลมหรือรี ผลอ่อนสีเขียว พอเริ่มแก่สีชมพู แก่จัดสีด�ำ รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวานอมฝาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7–0.9 ซม. การใช้ประโยชน์ : ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ ผลดิบ แก้ท้องเสีย



หูกวาง ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L. ชือ่ วงศ์ : COMBRETACEAE ชือ่ สามัญ : Bengal almond, Indian almond, Sea almond, Singapore almond, Tropical almond ชือ่ พื้นเมือง : หูกวาง ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-30 ม. ล�ำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็น พุ่มกลมแผ่กว้าง กิ่งแตกจากจุดเดียวในแนวระนาบ เป็นชั้นแบบฉัตร เปลือกนอกค่อน ข้างเรียบ เปลือกในสีชมพู หรือแดง กิ่งอ่อนมีขนสีน�้ำตาล เมื่อแก่เกลี้ยง ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่ที่ปลายยอด ใบรูปไข่กลับ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-25 ซม. โคนใบรูปหัวใจ แคบหรือกลม ปลายใบแหลม เป็นติ่งสั้น เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบใบเรียบ เส้น ใบมี 8-12 คู่ ก้านใบยาว 0.5–1.2 ซม. มีต่อมเล็ก 2 ต่อมที่ส่วนบน ใบที่จะร่วงจะ เปลี่ยนจากเขียวเข้มเป็นสีแดงสด ดอก ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ช่อดอกยาว 8-12 ซม. แบ่งเป็นดอกเพศผู้ และดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเพศผู้มักอยู่ตอนปลายช่อ ดอกเพศ เมีย อยู่ที่โคนช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ผิวมีขน กลีบสีขาว เกสรเพศผู้ 10 อัน ผล ผล รูปกรวยหรือรีค่อนข้างแบนทางด้านข้าง มีสันแคบ 2 สัน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ผิวผลมัน ผลแก่สีเหลือง มีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด การใช้ประโยชน์ : หูกวางมีทรงพุ่มที่แผ่กว้างนิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา



อินทนิลบก ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia macrocarpa Wall. ชือ่ วงศ์ : LYTHRACEAE ชือ่ สามัญ: Queen’s flowers ชือ่ พื้นเมือง : กากะเหลา (อีสาน), จ้นล่อ จะล่อ (เหนือ) ลักษณะทัว่ ไป : ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 8-15 ม. เรือนยอดทรงกระบอก เปลือก นอกสีน�้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรือมีสะเก็ดของเปลือกเป็นแผ่นบางติดอยู่เล็กน้อย ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 12-17 ซม. ยาว 20-30 ซม. เนื้อใบหนามีขนาดใหญ่มาก ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันไม่มีขนทั้งสองด้าน เส้นใบมี 12-20 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. ใบอ่อนสีน�้ำตาลแดง ใบแก่หลังใบเขียว เข้มกว่าท้องใบ ดอกช่อออกปลายยอดและซอกใบ ดอกบานเต็มที่กว้างถึง 12 ซม. กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย มีสันนูนตามยาวพอมองเห็นได้ 12 สัน มีขนคลุมประปราย ทางด้านนอก ด้านในเกลี้ยง ปลายแยกเป็นแฉกแหลมทู่ 6 แฉก ดอกตูมเป็นรูปข่าง ตรงกลางของส่วนบนสุดของดอกตูมมีรอยบุ๋มเป็นแอ่งลงไปเล็กน้อย ซึ่งแตกต่างไป จากอินทนิลน�้ำที่ตรงกลางเป็นติ่งยื่นออกมา กลีบดอก 6 กลีบแยก แต่ละกลีบเป็น แผ่นกลม กว้างประมาณ 3 ซม. กลีบดอกสีม่วงสด ใกล้ร่วงสีขาวซีด เกสรเพศผู้จ�ำนวน มาก รังไข่ 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ไม่มีขนคลุม ภายในแบ่งเป็น 5-6 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ อ่อนจ�ำนวนมาก ผลชนิด ผลแห้ง ผิวเกลี้ยง รูปไข่หรือรูปรี ยาว 3.0-3.5 ซม. ผลแก่จัด จะแตกทางด้านบน 5-6 ซีก เมล็ดเล็ก มีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก การใช้ประโยชน์ : ไม้เสี้ยนตรง ตบแต่งขัดเงาได้ง่าย นิยมใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ท�ำเสา กระดานพื้น ผลดิบหรือผลแห้งฝนกับหินฝนยา ทารักษาแผลอักเสบหรือฝีหนอง ปลูก เป็นไม้ประดับ ดอกขนาดใหญ่สะดุดตา เห็นเด่นชัดและสีสวยงาม สภาพนิเวศวิทยา : เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน แสงแดดจัด



บรรณานุกรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน). ๒๕๓๙. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ ในประเทศไทย. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. กรุงเทพฯ : จีรวัฒน์ เอ็กซเพลส จ�ำกัด. ๒๕๔๖. เต็ม สมิตินันท์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ประชาชนจ�ำกัด. ๒๕๔๑. นันทวัน บุณยประภัศร. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : ประชาชนจ�ำกัด. ๒๕๔๑. พรรณเพ็ญ เครือไทย. มหาพนต�ำรายา. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. ๒๕๔๓. มณี พยอมยงค์. ประเพณีสอบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์. ๒๕๓๗. ศรีวรรณ ไชยสุข (บก.). พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ๒๕๕๕. ____________. พรรณไม้หอมในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ๒๕๖๐. สมหวัง อินทร์ไชย (บก.). พรรณไม้ในมหาชาติล้านนา เล่ม ๑. เชียงราย : สถาบัน ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ๒๕๕๖.


____________. พรรณไม้ในมหาชาติล้านนา เล่ม ๒. เชียงราย : สถาบัน ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ๒๕๕๗. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์. ๒๕๔๒. องค์กรสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สวน พฤษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. ๒๕๔๖. อุดม รุ่งเรืองศรี. เวสสันดรชาดก ฉบับไผ่แจ้เรียวแดง. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง. ๒๕๔๕. ____________. พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ มิ่งเมือง. ๒๕๔๗.





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.