Tips for Speech Contest

Page 1


เทคนิคการพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ ( Speech Contest) สุพรรณิการ์ สุทธหลวง Speech Contest มี 2 ประเภท 1.

Speech Contest คือ การแข่งขันที่นักเรียนรูห้ ัวข้อและสามารถเตรียมบทพูดก่อนได้ ดังนั้น การเตรียมพร้อม และ ซ้อม ซ้อม ซ้อม จึงเป็นส่วนที่จะสามารถทาให้นักเรียนได้คะแนนมากหรือน้อย เตรียมเนือ้ หาตามกรอบหัวข้อที่กรรมการกาหนด และซ้อม เน้นเรื่อง การออกเสียง ( Pronunciation ) , บุคลิกภาพ ( Characteristic) และ เนื้อเรื่องที่พดู ( Content)

2.

Impromptu speech contest คือ การแข่งขันที่นักเรียนไม่ทราบหัวข้อเรื่อง จับสลากหัวข้อเรื่องและให้คิดก่อน 5 นาทีแล้วพูด ดังนั้นนักเรียนจะต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านคาศัพท์ ไวยากรณ์ ทักษะการเขียนเรียงความ และทักษะการพูดอยู่ในระดับดีมาก


ก่อนพูด (Pre-Speech) 1. ให้เตรียมเนื้อหาให้พร้อม คิดว่า หัวข้อเรือ่ งธรรมดา เช่น Myself จะไม่ธรรมดาได้อย่างไร อยูท่ วี่ ิธีการนาเสนอ ว่าเราจะพูดถึงตัว เราในแง่มุมไหน เช่น การพูดถึงสิ่งที่เราเคยทา เช่น ดิฉันเคยแข่งครอสเวิร์ดครั้งแรก แพ้อย่างราบคาบ แต่หลังจากนั้นดิฉันก็ ซ้อมๆๆๆๆ ทาให้ปีที่สองที่ไปแข่ง ได้เป็นแชมป์ มันน่าเหลือเชื่อมาก ทาให้ดิฉันได้ขอ้ คิดว่า...การทุ่มเทและใส่ใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั้น ไม่เคยเสียเปล่า 2. เตรียมเนือ้ หา ให้มีลาดับขั้นตอนที่ต่อเนื่องและสามารถจดจาได้ เช่น พูดเกี่ยวกับตนเอง ตามด้วยครอบครัว โรงเรียน ครู วิชาที่ เรียน เพื่อน เหตุการณ์ที่ประทับใจ ตามลาดับ 3. เนื้อหาที่เตรียมควรมีการตรวจสอบความถูกต้อง เรื่อง Tense ต่างๆ ทีจ่ ะใช้พูด หากไม่แน่ใจควรให้ครูสอนภาษาอังกฤษท่านอื่น ตรวจสอบหรือเจ้าของภาษาช่วยตรวจสอบ เพราะนักเรียนจะต้องท่องจาบทนั้นไปตลอด 4. การสร้างสรรค์เนือ้ เรือ่ ง ควรเป็นเรือ่ งทีค่ ิดว่ากรรมการอาจไม่เคยได้ยิน ฟังดูน่าสนใจ แต่อยู่ในหัวเรื่องนั้นๆจะทาให้ได้คะแนนแบบ ชนะใจกรรมการได้ง่ายดาย 5. ศึกษาการพูดสุนทรพจน์จากใน Youtube มีตัวอย่างที่ดีให้ดูมากมาย อีกทั้งบทพูดทีส่ ามารถปรับให้เป็นของเราได้ และนักเรียนจะ สามารถเลียนแบบพฤติกรรมจากวีดีโอดังกล่าว


6. ครูต้องพูดให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง ทั้งการออกเสียง สาเนียง และ บุคลิกภาพ นักเรียนส่วนใหญ่จะได้แบบอย่างมาจากครู ดังนั้น ครูต้องเป็นแบบอย่างทีด่ ีนะคะ เราคาดหวังนักเรียนอย่างไร เราต้องสามารถทาอย่างนั้นได้ก่อนนักเรียน 7. ซ้อม ซ้อม ซ้อม ทั้งต่อหน้ากระจก , เพื่อน ,ครู และที่หน้าเสาธงจริงๆ การฝึกพูดบ่อยๆจะทาให้เราไม่รู้สึกประหม่า และสั่นกลัว การขึ้นเวทีบ่อยๆ ทาให้เราเกิดความมั่นใจ ( Confident) 8. พูดกับตัวเองว่า “เราทาได้” I can do it. เพื่อย้าความมั่นใจก่อนเจอสนามจริง 9. ครูควรให้กาลังใจและไม่กดดันนักเรียนด้วยนะคะ...สิ่งนีส้ าคัญเพราะเด็กส่วนใหญ่มักจะเกรงใจครู และกดดันตัวเอง กลัวครูผิดหวัง ในตัวเอง

ระหว่างพูด ( While-Speech) 1. ก่อนพูดจริง 5 นาที ให้อยู่ในอาการสงบ สร้างกาลังใจให้กับตนเอง และย้าความมั่นใจว่าเราต้องทาได้


2. การพูดสุนทรพจน์ เป็นการพูดต่อหน้าประชุมชน จังหวะการพูดต้องไม่เร็วหรือช้าเกินไป หลายคนมักคิดว่า คนที่พูด ภาษาอังกฤษได้เร็วหมายถึงการพูดได้เก่ง จริงๆแล้ว ไม่ใช่เลย การพูดในที่ประชุมชน หรือกล่าวสุนทรพจน์ เราต้องการนาเสนอ ข้อมูลเกีย่ วกับเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นที่น่าสนใจ ยิ่งต้องพูดให้ดึงดูดความสนใจให้มากที่สุด การพูดเร็ว อาจทา ให้คนฟัง ฟังไม่ทัน และอาจพลาดประเด็นที่เราต้องการสือ่ สารไปได้ และทาให้ผู้พูดทีท่ ่องบทมานั้น ลืมได้ง่าย นึกบทที่จะพูด ต่อไปไม่ทัน การพูดชะงัก เสียคะแนนมาก การพูดที่มีจังหวะที่ดี คือการพูดตามความของประโยค หรือคาสันธานที่เชื่อมประโยค ไว้ จะทาให้ผพู้ ูดหายใจได้ตามจังหวะธรรมชาติ ลดอาการตื่นเต้นได้มาก การพูดช้าทาให้ไม่น่าสนใจ และสามารถหาข้อผิดพลาด ได้ง่าย

3. การพูดคาศัพท์ภาษาไทย เช่น กรุงเทพมหานคร ควรพูดด้วยสาเนียงไทย ให้ถูกต้อง ไม่ต้องพูดตามสาเนียงภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ ถูกต้องตามหลักภาษา


4. คนไทยส่วนใหญ่มักคิดว่า ภาษาอังกฤษคือภาษาที่มีการออกเสียง /s/ และ /sh/ คือ เสียง /ส/ และ /ช/ เยอะๆ เช่น กูดส์ มอร์ นิ่ง ( Good Morning) พยายามให้ออกเสียงตามตัวสะกดนั้นๆนะคะ 5. การออกเสียงท้าย เช่น /t/ /s/ /st/ /d/ ฯลฯ พยายามฝึกให้ออกเสียงท้ายให้ชัดเจน แต่ถ้าทาให้การพูดไม่ลื่นไหลให้เน้นคา สาคัญก็พอจะรับฟังได้คะ่ 6. ระหว่างที่นักเรียนพูดนั้น ควรนึกถึงประโยคที่จะพูดต่อไปก่อนพูดจริงหนึ่งประโยค เพื่อกันลืม และออกเสียงได้ถูกต้อง 7. ระหว่างนักเรียนพูด ครูที่ฝึกซ้อมอย่าแสดงสีหน้า อาการไม่พอใจที่นักเรียนพูดผิด เพราะจะทาให้นักเรียนเสียขวัญ กาลังใจ พาล ให้การพูดแย่ลงไปด้วย หากคิดว่าตนเองจะกดดันนักเรียน อาจจะหลบไปอยู่มุมที่นักเรียนเรามองไม่เห็นก็ได้นะคะ 8. ระหว่างทีผ่ ู้เข้ารับการแข่งขันพูด ผู้ฟังไม่ควรถ่ายรูป หรือแสดงอาการทีจ่ ะทาให้ผู้พูดชะงัก เช่น ส่งสัญญาณ ด้วยมือ หรือ ส่าย หน้า อันเป็นการรบกวนสมาธินักเรียน 9. การสบตา ( Eye Contact ) ควรสบตาผู้ฟัง แต่หากคิดว่า สบตาแล้วจะทาให้ตื่นเต้น กดดันและลืมบท สามารถกวาดสายตาไป ทั่วๆ เพื่อให้มองเห็นว่าผู้พูดต้องการสื่อสารให้กับผู้ฟังที่นั่งฟังอยู่ 10.การยิ้มระหว่างที่พูดแสดงถึงความสดใส ในตัวผู้พูด ลดภาวะตึงเครียดให้กับผู้พูดและยังสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง และ กรรมการ สามารถเพิม่ คะแนนให้กับตนเองได้ดีมาก 11.การพูดในรูปแบบของตนเอง คือ เป็นตัวของตนเอง การผายมือ การใช้อวัจนภาษา ให้เป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล เมื่อ เป็นธรรมชาติของผู้พูด ผู้พูดจะสามารถพูดได้ดี ไม่ต้องพะวงเรื่อง มือ ส่งผลให้การพูดดูดี


12.มีบุคลิกภาพที่สดใส ทาให้ผู้ฟังรู้สึกว่า ผู้พูดคนนี้มีพลังในอยู่ตัว เมือ่ พูดแต่ละประโยคช่างน่าฟัง สดใส ฉลาด น่ารัก 13.การจับไมค์ มี 2 แบบ - แบบใช้ขาไมค์ ผู้พูดสามารถใช้มือได้ทั้งสองมือ - มือ 1 ข้างถือไมค์ ดังนั้นจะเหลือมืออีกหนึ่งข้าง ต้องมีการฝึกซ้อมการใช้มือให้เป็นธรรมชาตินะคะ 14.เมื่อพูดจบ ควรกล่าวขอบคุณสั้นๆ ง่ายๆ กะทัดรัด เพื่อให้ดูลื่นไหลในตอนจบ เช่น Thank you for your attention.

หลังพูด ( Post-Speech) 1.

การแข่งขันจบลงแล้ว นักเรียนไม่ตอ้ งกังวลอะไรทั้งสิ้น คิดว่าเราทาดีที่สุดแล้ว

2.

เมื่อเจอคู่แข่งทีเ่ ก่งกว่าให้เรียนรู้เทคนิคการพูดที่ดี และนาไปปรับปรุง

3.

เมื่อเจอคู่แข่งทีอ่ ่อนกว่า ให้เรียนรู้สิ่งที่ไม่ควรทา และเราจะไม่ทา เป็นตัวอย่างบทเรียนการพูดของเรานะคะ


4.

ครูควรให้กาลังใจนักเรียน และเรียนรูเ้ ทคนิคจากคู่แข่งไปพร้อมกับนักเรียนและเตรียมวางแผนสาหรับการแข่งขันต่อไป

5.

อย่าลืมแสดงความยินดีกับผู้ชนะ และกล่าวให้กาลังใจผู้แพ้ นะคะ สิ่งนี้เป็น Spirit น้าใจนักกีฬาที่จะช่วยสร้างเครือข่าย ภาษาอังกฤษของเราค่ะ ผู้เขียนคิดว่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเหล่านี้จะช่วยให้ทั้งครูและนักเรียนได้มองเห็นภาพ สามารถนาไปพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียน ได้มากยิ่งขึ้นค่ะ ขอส่งกาลังใจให้ทั้งคุณครูและนักเรียนในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษค่ะ


Kosut158@gmail.com Facebook|ERIC Nan 2 Facebook|krukook sut


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.