เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
I30201
IS1 การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ Research and Knowledge Formation
ม. 5
ชื่อ-นามสกุล _______________________________ _____________ ชั้น ม.5 / _____ เลขที่ _____ ครูประจําวิชา _____________________________________________________ _________________________ ______________________ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
คํานํา โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เป็นโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) เป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่ใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน การพั ฒ นายกระดั บ การจั ด การศึ ก ษาให้ มีคุณ ภาพมาตรฐานเที ย บเท่ า สากล นั กเรี ย นมี ศั กยภาพและ ความสามารถทัดเทียมกับผู้เรียนนานาประเทศ รายวิชา I30201 IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ เป็นรายวิชาที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวั ดสุทธิวราราม เป็นการจัดการเรียนรู้ในสาระการศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study: IS) นับเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งที่ใช้อย่างกว้างขวาง ในการพั ฒ นานั กเรี ย น เพราะเป็ น การเปิ ดโลกกว้ า งให้ ผู้ เ รี ย นได้ ศึกษาค้ น คว้ า อย่ า งอิ ส ระในเรื่ องหรื อ ประเด็นที่ตนสนใจ รายวิชา IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกําหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึก ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ เริ่มตั้งแต่การกําหนดประเด็นปัญหาซึ่งอาจเป็น Public Issue และ Global Issue และดําเนินการค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนําไปสู่การสรุปองค์ความรู้ จากนั้ น ก็ ห าวิ ธี การที่ เ หมาะสมในการสื่ อสารนํ า เสนอให้ ผู้ อื่น ได้ รั บ ทราบ และสามารถนํ า ความรู้ ห รื อ ประสบการณ์ ที่ได้ จากการศึกษาค้ นคว้าไปทําประโยชน์ แก่ส าธารณะ ซึ่ งสิ่งเหล่า นี้เ ป็นกระบวนการที่ เชื่อมโยงต่อเนื่องกันตลอดแนว ดังนั้นเพื่อให้การจัดการเรียนสอนในรายวิชา IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน กลุ่มสาระการเรีย นรู้ภาษาไทยจึงจัด ทําเอกสารประกอบการเรียนวิชา I30201 IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ เพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้าสําหรับรายวิชา รัฐพล ศรีบูรณะพิทักษ์ เรียบเรียง
สารบัญ บทที่ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study: IS) คําอธิบายรายวิชา บทนํา การแสวงหาความรู้ ความหมายของการแสวงหาความรู้ ความรู้แต่ละระดับ การเรียนรู้ วิธีการแสวงหาความรู้ การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง บทที่ 1 การตั้งประเด็นปัญหา ระดับของการตั้งคําถาม คําถามท้ายบท บทที่ 2 การตั้งสมมติฐาน ความหมายของสมมติฐาน ลักษณะของสมมติฐาน ความแตกต่างของสมมติฐานกับการพยากรณ์ การตั้งสมมติฐานที่ดี หลักการตั้งสมมุติฐาน คําถามท้ายบท บทที่ 3 ข้อมูลและการรวบรวมข้อมูล ความหมายของข้อมูล ประเภทของข้อมูล กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาในการใช้ข้อมูล บทที่ 4 แหล่งสารสนเทศ ความหมายและประเภทของแหล่งสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ คําถามท้ายบท บทที่ 5 ทรัพยากรสารสนเทศ ความหมายและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
หน้า 1 2 3 3 4 6 7 8 10 10 13 14 14 15 15 15 15 17 18 18 19 21 23 26 27 27 28 32 33 33 30
สารบัญ (ต่อ) บทที่ บทที่ 6 การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น รูปแบบการสืบค้น ระดับการค้นหาข้อมูล (Search Engine) บทที่ 7 การประเมินสารสนเทศ คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ การวิเคราะห์สารสนเทศ หลักการวิเคราะห์สารสนเทศ การสังเคราะห์สารสนเทศ หลักการสังเคราะห์สารสนเทศ หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศจากเว็บไซต์ การประเมินคุณภาพเว็บไซต์ข้อมูลสารสนเทศ บทที่ 8 การสรุปองค์ความรู้ ความหมายขององค์ความรู้ แหล่งกําเนิดขององค์ความรู้ ประเภทขององค์ความรู้ การจัดการองค์ความรู้ การสังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ ประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง บรรณานุกรม กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
หน้า 41 41 41 46 46 46 48 49 49 49 49 50 53 53 54 54 54 55 55 57 60
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Independent Study: IS) การจัดกระบวนการ การเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้น สามารถดําเนินการได้หลากหลายวิ ลากหลาย ธีและการให้ เรียนได้ เรียนรู้ สาระการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Independent Study : IS) นับเป็นวิธีการที่มี ประสิทธิภาพวิธีหนึ่งที่ใช้อย่ อย่างกว้างขวางในการพั งขวาง ฒนาผู้เรียน เพราะเป็นการเปิ เปิดโลกกว้ โลก างให้ผู้เรียนได้ ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื สระในเรื่องหรือประเด็นที่ตนสนใจ เริ่มตั้งแต่การกํ การกําหนดประเด็นปัญหาซึ่งอาจเป็ อาจ น Public Issue และ Global Issue และดําเนินการค้นคว้าแสวงหาความรู หาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการวิ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี ราย ่ยนความคิดเห็น เพื่อนําไปสู่การสรุปองค์ความรู้ จากนั้ น ก็ ห าวิ ธี การที่ เหมาะสมในการสื เ หมาะสม ่ อสารนํ า เสนอให้ ผู้ อื่น ได้ รั บ ทราบ และสามารถนํ สามารถนํ า ความรู้ ห รื อ ประสบการณ์ ที่ได้ จากการศึ จ ากการศึ กษาค้ น คว้ า ไปทํ า ประโยชน์ แ ก่ ส าธารณะ ซึ่ งสิ่ งเหล่ล่ า นี้ เ ป็ น กระบวนการ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันตลอดแนว ภายใต้สาระการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Independent Study : IS) ซึ่งแบ่งเป็น 3 สาระ ประกอบด้วย IS 1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research Research and Knowledge Formation) เป็นสาระทีที่มุ่งให้ผู้เรียนกําหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และ ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ IS 2 การสื่อสารและการนําเสนอ (Communication Communication and Presentation) เป็นสาระทีที่มุ่งให้ผู้เรียนนําความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการถ่ายทอด/สื ยทอด ่อสารความหมาย/ แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนําเสนอที่เหมาะสมหลากหลายรูรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ IS 3 การนําองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Social Service Activity) เป็ น สาระทีที่ มุ่ง ให้ ผู้ เ รี ย น นํ า องค์ ความรู้ / ประยุ ก ต์ ใช้ องค์ ความรู ความรู้ ไปสู่ ก ารปฏิ บั ติ หรื อ นําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ (Public Service) โรงเรียนต้ต้องนําสาระ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) ไปสู่การเรียน การสอน ด้ว ยการจั ดทํา รายวิช า ออกแบบหน่ว ยการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒ นาผู้ เรีย น ตามแนวทาง ที่กําหนด โดยพิจารณาให้ ให้สอดคล้องกับบริบท วัยและพัฒนาการของผู้เรียน ซึ่งอาจแตกต่างกันในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
1
คําอธิบายรายวิชา รหัสวิชา I30201 รายวิชา IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จํานวน 1.0 หน่วยกิต เวลา 40 ชั่วโมง คําอธิบายรายวิชา การศึกษา วิเคราะห์ ฝึกทักษะ ตั้งประเด็นปัญหา/ตั้งคําถามเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและ สังคมโลก ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลที่สนับสนุนหรือโต้แย้งประเด็นความรู้ โดยใช้ความรู้จากศาสตร์สาขา ต่าง ๆ และมีทฤษฎีรองรับออกแบบ วางแผน รวบรวมข้อมูล ค้นคว้าแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสมมติฐาน ที่ ตั้ ง ไว้ จ ากแหล่ ง เรี ย นรู้ ทั้ ง ปฐมภู มิ แ ละทุ ติ ย ภู มิ แ ละสารสนเทศ อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและพิ จ ารณา ความน่าเชื่อถือของแหล่งเรียนรู้อย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้วิธีการที่เหมาะสม สังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ร่วมกัน มีกระบวนการกลุ่มในการวิพากษ์ แลกเปลี่ยน ความคิ ด เห็ น โดยใช้ ค วามรู้ จ ากสาขาวิ ช าต่ า ง ๆ เสนอแนวคิ ด วิ ธี ก ารแก้ ปั ญ หาอย่ า งเป็ น ระบบด้ ว ย กระบวนการคิด ฝึกกระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะในการค้นคว้า แสวงหาความรู้ สังเคราะห์ สรุป อภิปรายผลเปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้ ความเป็นมาของศาสตร์ เข้าใจหลักการและวิธี คิดในสิ่งที่ศึกษา เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่ อให้ เ กิ ด ความรั ก ชาติ ศาสน์ กษั ต ริ ย์ มี วิ นั ย ใฝ่ เ รี ย นรู้ มี ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ มี มารยาท ในการสื่อสารและการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ผลการเรียนรู้ 1. ตั้งประเด็นปัญหา จากสถานการณ์ปัจจุบันและสังคมโลก 2. ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลที่สนับสนุนหรือโต้แย้งประเด็นความรู้โดยใช้ความรู้ จากสาขาวิชาต่าง ๆ และมีทฤษฎีรองรับ 3. ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือกจากแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล 6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยสถิติที่เหมาะสม 7. สังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม 8. เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ รวม
8 ผลการเรียนรู้
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
2
บทนํา
การแสวงหาความรู้
ทุกคนมีโอกาสในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การเปิดโอกาสให้มนุษย์แสวงหาความรู้โดยมี แหล่ ง ความรู้ ไ ว้ ร องรั บ ในแต่ ล ะชุ ม ชน เช่ น ห้ องสมุ ด ศู น ย์ ข้ อ มู ล เป็ น การสร้ า งสั งคมแห่ งภู มิ ปั ญ ญา ในระบอบประชาธิปไตย การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญามีทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย การรู้วิธีแสวงหาความรู้ การรักการเรียนรู้กับการมีแหล่งความรู้ที่ดีจึงเป็นเสมือนไก่กับไข่ ว่าสิ่งใดควรเกิดก่อน ควรให้ความสําคัญกับสิ่งใด แม้ว่าทั้งสามสิ่งจะมีความสําคัญเหมือนกัน
ความหมายของการแสวงหาความรู้ การแสวงหาความรู้ คือ ทักษะที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้และวิธีการฝึกฝนจนเกิดความชํานาญ ช่ ว ยทํ า ให้ เ กิ ด แนวความคิ ด ความเข้ าใจที่ ถู กต้ องและกว้ า งขวางยิ่ งขึ้ น เพราะผู้ เ รี ย นจะเกิ ด ทั กษะใน การค้นคว้า สิ่งที่ต้องการและสนใจใคร่รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จะทาให้ทราบข้อเท็จจริง และสามารถ เปรียบเทียบข้อเท็จจริงที่ได้มาว่าควรเชื่อถือหรือไม่ เกษม วัฒนชัย (2544) กล่าวถึงความรู้ว่าเป็นกระบวนการรวบรวมความคิดของมนุษย์ จัดให้ เป็นหมวดหมู่และประมวลสาระที่สอดคล้องกัน โดยนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นสิ่งที่เป็นสาระในระบบ ข้อมูลข่าวสาร คือ ความรู้ ความรู้ใหม่ต้องสร้างขึ้นบนฐานของความรู้เดิมที่มีอยู่ ความรู้ใหม่จึงเกิดจากฐาน การวิจั ยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ จากรูปแสดงความสัมพันธ์ของความรู้ ปัญ หาและการวิ จัย (สุภางค์ จันทวานิช, 2545: 3) ความรู้เดิม
ปัญหา
(กระบวนการวิจัย)
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
ความรูใ้ หม่
3
การแสวงหาความรู้ใหม่ จึงควรศึกษาฐานความรู้เดิมก่อน เพื่อไม่ให้การศึกษาค้นคว้าใด ๆ ต้อง เริ่มต้นใหม่ทุกครั้ง เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย จากรูปแสดงถึงความรู้ใหม่ที่ได้จะผนวกเข้ากับ ความรู้ เ ดิ ม และเกิ ดปั ญ หาขึ้ น ใหม่ ทําให้ มีการวิ จั ย เพื่ อตอบปั ญหาต่ อไปอีก วิ ธีการหรื อกระบวนการ แสวงหาความรู้ที่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ เช่น วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์และวิธีการถกเถียงกันอยู่ เช่น การคาดคะเน การหยั่ งรู้ เป็ น ต้ น กระบวนการหรื อวิ ธี การเชิ ง วิ ทยาศาสตร์ เป็ น การใช้ ความคิ ด และ การกระทําเพื่อค้นหาประจักษ์พยาน หรือข้อมูลแล้วนํามาแปลความ ตีความ และสร้างคําอธิยาย จึงต้องมี การวางแผน การออกแบบสํารวจ การจัดสถานการณ์ การทดลอง เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ ซึ่งได้มาจากการใช้ ประจักษ์พยาน จากการสังเกต การค้นคว้า นํามาแปลความให้สอดคล้องกับสิ่งที่สังเกตได้ สรุปออกมาเป็น ความรู้ที่นําเอามาใช้ประโยชน์ได้ ความรู้จากตําราเป็นความรู้ที่มีการศึกษาไว้แล้ว ตําราจึงมีไว้ใช้เป็ น ฐานความรู้เดิม ที่จุดประกายความคิดที่จะค้นคว้าหาความรู้ต่อไป (สุนีย์ คล้ายนิล, 2546: 5) อาจกล่าว ได้ว่าความรู้ใหม่เป็นความรู้นอกตํารา ดังนั้นการคิดค้นสิ่งใหม่หรือความคิดใหม่ไม่ได้หมายถึงเพียงการประดิษฐ์สิ่งใหม่ในรูปแบบของ เครื่องยนต์กลไกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการทําสิ่งต่าง ๆ ที่ต่างไปจากเดิม เช่น การมีมุมมองใหม่ ๆ การจัด ระเบียบสิ่งต่าง ๆ ในแบบใหม่ วิธีการใหม่ในการนําเสนอ รวมถึงการมีความคิดใหม่ๆ ด้วย ซึ่งสามารถช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการทํางานได้เช่นกัน
ความรู้แต่ละระดับ ความแตกต่างของภูมิปัญญาและความรู้มีหลายระดับ การมีปัญญาแตกต่างจากการมีความรู้ เพราะปัญญาเกิดจากการคิด การรอบรู้ การแสวงหาความรู้รอบด้าน รู้เหตุ รู้ผล และเชื่อมโยงภาพรวม ของทุ กสิ่งที่สัมพันธ์กันได้ การแสวงหาความรู้เ ป็นขั้น ตอนแรกของการจั ดการความรู้ของแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่หรือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ภู มิ ปั ญ ญา หมายถึ ง ความรู้ ความชํ า นาญ และความสามารถในการเรี ย นรู้ การคิ ด และ การนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความรู้มีอยู่มากมายรอบ ๆ ตัวเรา และสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ (มนตรี จุฬาวัฒนทล, 2537: 2) ได้แก่ ระดับ แรก ความรู้เ กี่ย วกั บสิ่ งรอบตัว เรา ซึ่งสามารถรับ รู้ได้โ ดยประสาทสัมผัส มองเห็ น ได้ ยิ น ดมกลิ่ น และลิ้ มรสสั มผั ส เช่ น ความร้ อ น-ความเย็ น ความสว่ า ง-ความมื ด เสี ย งดั ง -เสี ย งเบา กลิ่นหอม-กลิ่นเหม็น และรสเค็ม-รสหวาน เป็นต้น ความรู้ระดับต้นนี้อาจเรียกว่า ความรู้สึก ระดับที่สอง ได้แก่ ความรู้ด้านภาษา ซึ่งจะทําให้อ่านและเขียนหนังสือได้ ฟังเข้าใจ ฟังวิทยุ และดูโทรทัศน์รู้เรื่อง ตลอดจนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้สะสมและตกทอดกันมา ระดั บ ที่ ส าม ได้ แก่ ความรู้ ด้ า นวิ ช าการ ซึ่ ง ได้ จ ากการศึ กษาเล่ า เรี ย น ทํ าให้ คิ ด เลขเป็ น คํานวณดอกเบี้ยได้ ออกแบบอาคารได้ เขียนบทละครได้ ใช้คอมพิวเตอร์เป็น รู้กฎหมายบ้านเมือง รู้จัก กฎเกณฑ์ เป็นต้น ความรู้วิชาการเหล่านี้ มักจะต้องเรียนรู้จากครู อาจารย์ เอกสาร ตําราทางวิชาการ หรือ ผู้ที่รู้เรื่องนั้น ๆ มาก่อน เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
4
ระดั บ ที่ สี่ ได้ แ ก่ ความรู้ ใ หม่ เป็ น ความรู้ ที่ ไ ม่ เ คยมี อ ยู่ ก่ อ น ได้ ม าโดยการค้ น คว้ า วิ จั ย การคิดค้นกระบวนการใหม่ และควรจะหาแนวทางในการนําความรู้ใหม่ไปใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อให้เกิด การพัฒนา สังคมไทยจําเป็นต้องพัฒนาการศึกษาให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและการสร้างองค์ความรู้ ศาสตราจารย์ ดร.วิ จิต ร ศรีส อ้าน (2546: 17) กล่า วว่า “...ถ้าการศึกษาไม่สร้ างคนให้ทํ าได้ ไม่ส ร้าง องค์ ความรู้ ให้ รู้พ อที่ จ ะแก้ ปั ญ หาของเราเอง เราจะแข่ ง กับ ใครได้ คนที่พึ่ ง ตนเองไม่ ได้ ท างภูมิ ปั ญ ญา แข่งกับใครไม่ได้...” การสร้า งองค์กรหรือชุมชนแห่งการเรี ยนรู้จํ าเป็น ต้ องพัฒ นานวั ต กรรมการเรี ยนรู้ของคนใน องค์กร เพื่อให้รู้ว่าความรู้พื้นฐานที่ตนมีหรือองค์กรมีนั้นมีอะไรบ้าง จะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ได้อย่างไร การรวบรวมความรู้ไว้ในคลังความรู้ เช่น ห้องสมุด ศูนย์ข้อมูล ศูนย์สารสนเทศ ช่วยให้ค้นหาความรู้เดิมได้ ง่ายและเป็นการต่อยอดความรู้ใหม่ ปัจจุบันการรู้วิธีการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ มีความสําคัญยิ่งเพราะความรู้มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ วตามสั งคมโลกาภิ วั ต น์ และความก้ าวหน้ า ของเทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสาร การรู้ วิ ธี การแสดงความความรู้จึงมีความสําคัญกว่าการให้ความรู้เพียงอย่างเดียว ดังคํากล่าวที่ว่า “ถ้าเราให้ปลา เขากินอิ่มได้เพียงมื้อเดียว ถ้าเราสอนวิธีหาปลา เขาจะหาปลารับประทานได้เองตลอดชีวิต” (Give a man a fish, he can eat for a day. Teach a man to fish, he can eat for the rest of his life.) การแสวงหาความรู้ ใ หม่ แ ละการใฝ่ รู้ เ ป็ น ทั ก ษะที่ จํ า เป็ น สํ า หรั บ การทํ า งานยุ ค ใหม่ เพราะ การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดําเนินชีวิต คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ตั่งแต่เกิดจนตาย ดังคํา กล่าวที่ว่า ไม่มีใครแก่เกินเรียน (No one is too old too learn.) ซึ่งการเรียนรู้ช่วยให้เกิดความคิด สร้างสรรค์ เป็นการส่งเสริมการคิดให้ได้มาซึ่งสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ไม่ซ้ําเดิมและมีการพัฒนาตัวเองอย่าง สม่ําเสมอ การเรียนรู้มีหลายวิธี นอกจากการเรียนในสถานบันการศึกษาแล้ว ยังสามารถเรียนรู้ได้จาก การอ่าน การได้ยิน การได้ลงมือทํา การสังเกต การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ การมีประสบการณ์ตรง การเลียนแบบผู้อื่น การศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่ผ่านการสอนนี้ ทําให้มีผลต่อการรับรู้ หรือการจําหรือการเกิดความคิดในเชิงจินตนาการและสร้างสรรค์มากกว่า (อุทัย ดุลยเกษม, 2542, หน้า 86) เหนือสิ่งอื่นใด คือ การมีความรู้จากการเรียนรู้ นอกจากนี้การแสวงหาความรู้ใหม่มีหลายระดับ ได้แก่ การศึกษาค้นคว้า หมายถึง การหาข้อมูลหรือการหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อหาคําตอบจาก ปัญ หาใดปัญ หาหนึ่ งโดยมี จุด มุ่งหมายเพื่อให้ ได้ รับ ความรู้ ในเรื่ องนั้น ๆ การศึ กษาค้ น คว้ า จึงเป็ นการ แสวงหาความรู้ เพื่อให้ได้คําตอบหรือเพื่อนําความรู้นั้นไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินได้ การวิจัย (Research) หมายถึง การสืบสวนตรวจตรา (Investigate) เพื่อหาคําตอบในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งอย่างมีระเบียบแบบแผนและมีขั้นตอน ตามระเบียบวิธีการวิจัย การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็น ระบบ คือ ที่มาของการวิจัย ความสงสัยในเรื่องที่ต้องการหาคําตอบ คือ ปัญหาในการวิจัย หารหาคําตอบ เป็นการเติมช่องว่างระหว่างระบบความคิดกับระบบข้อเท็จจริง เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
5
รายงาน (Report) เป็นผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า วิจัย มีการเรียบเรียงตามระเบียบ ขั้นตอนทางวิชาการ ตามรูปแบบการเขียนรายงาน
การเรียนรู้ การเรียนรู้ (Learning) เป็นกระบวนการในการเปลี่ยนพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ แต่ละบุคคลได้รับมา (มาลี จุฑา, 2544, หน้า 64) ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในทางที่ดีขึ้น โดยการเรียนรู้ทําให้เกิดประสบการณ์ และประสบการณ์ทําให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต วิธีการเรียนรู้ จึงเป็นการใช้พลังงานของสมาธิ ความจําและความคิด เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ขั้นที่ 1 เปิดใจรับข้อมูล โดยการฟัง การอ่าน การสังเกต ขั้นที่ 2 คิด วิเคราะห์ ไตร่ตรองจนเข้าใจ ขั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้ในทางสร้างสรรค์ หรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ขั้นตอนของการคิดเป็น เป็นขั้นตอนสําคัญของการเรียนรู้ การคิดเป็นการใช้สมองของแต่ละ บุคคล โดยการคิดมีหลายลักษณะ เช่น การคิดแนวตั้งหรือการคิดแบบปกติ และการคิดแนวขวางหรือการ คิดนอกกรอบ กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีลักษณะที่ให้ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเรียนรู้ ทั้ง ทางร่างกายและจิตใจ โดยให้ผู้เรียนมีพฤติกรรม ดังนี้ 1. ทํางานเป็นทีม 2. แสดงออกอิสระ 3. ปฏิบัติจริง 4. มีส่วนร่วม 5. คิดด้วยตนเอง การที่ผู้เรียนจะเกิดปัญญานั้น ผู้เรียนจะต้องคิดเป็น และคิดด้วยตัวเอง 6. การแสวงหาความรู้ อย่ า งอิส ระ เป็น การเปิดโอกาสให้ ผู้ เ รี ยนได้ เ รี ยนรู้ สิ่ งต่ างๆ จาก ธรรมชาติ จินตนาการ ความงาม ความจริง และการแสวงหาความรู้วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การอ่านหนังสือ พื้น ฐานของการแสวงหาความรู้ 4 ประการ ซึ่ งเป็ น พื้ น ฐานของการเรี ย นรู้ต ลอดชี วิต ได้ แก่ การอ่าน การฟัง การไต่ถาม และการจดบันทึก ซึ่งสอดคล้องกับหลักหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ สุ ได้แก่ สุด คือ การฟัง การฟังเป็นการเปิดใจเพื่อรับฟังข้อมูลข่าวสารก่อนที่จะคิดว่าเรื่องที่ รับฟังนั้น มีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่เพียงใด การฟังเป็นเครื่องมือของการแสวงหาความรู้เช่นกัน จิ ได้แก่ จินตนะ คือ การคิด การคิดเป็นการทํางานของสมอง สมองของคนเรามี 2 ซีก ซีกซ้าย และซี กขวาทํ า หน้ า ที่ แตกต่ า งกั น โดยซี กซ้ า ย ทํ า หน้ า ที่ ควบคุ มการใช้ เ หตุ ผ ล ใช้ ต รรกะ การคํ า นวณ เปรียบเทียบ การแจงนับ การวิเคราะห์เจาะลึก ส่วนซีกขวาทําหน้าที่ควบคุมความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ จิตใจ สัญชาตญาณและลางสังหรณ์
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
6
ปุ ได้ แ ก่ ปุ จ ฉา คื อ คํ า ถาม การซั ก ถามเรื่ อ งที่ ส งสั ย และต้ อ งการข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม เป็ น การแสวงหาความรู้ หลังจากการอ่านและการฟัง เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้เกิดความ กระจ่าง และความเข้าใจที่ถูกต้อง ลิ ได้แก่ ลิขิต คือ การเขียน การเขียนหรือจดบันทึก เป็นการบันทึกข้อความเพื่อเตือนความจํา เพื่อประโยชน์ในการนําบันทึกนั้นมาทบทวนภายหลัง ควรจดเฉพาะใจความสําคัญเป็นการจดสรุปความ เพื่อความเข้าใจอีกชั้นหนึ่ง และป้องกันการสับสนหรือหลงลืม หากเราใช้หลักหัวใจนักปราชญ์ในการแสวงหาความรู้ย่อมทําให้ผลของการเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย ผลที่ได้จากการเรียนรู้คือความใฝ่รู้ ได้แก่ 1. ความคิด คือ ความคิด ความเข้าใจ และความจําในเนื้อหาสาระ ความรู้มี 2 ส่วน คือ ส่วน แรกเป็นความรู้ในเนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ อีกส่วนหนึ่ง คือ ความรู้ว่าจะหาความรู้นั้นได้จากที่ใด 2. ทักษะ เช่น การพูด การกระทํา การเคลื่อนไหว เป็นต้น 3. เจตคติ หรือ ความรู้สึก เช่น 3.1 คุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความจริง ความดีงาม ความถูกต้อง 3.2 จริยธรรม หมายถึง ความรับผิดชอบในหน้าที่ และปฏิบัติตามสัญญา 3.3 ค่านิยม หมายถึง ความคิด ความเชื่อ
วิธีการแสวงหาความรู้ ความรู้ ของมนุษย์ ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง และทฤษฎีต่าง ๆ การแสวงหาความรู้ของมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยสติปัญญาและการฝึกฝนต่าง ๆ วิธีเสาะแสวงหาความรู้ของมนุษย์ จําแนกได้ ดังนี้ 1. การสอบถามจากผู้รู้ (Authority) เช่น ในสมัยโบราณ เมื่อเกิดน้ําท่วมหรือโรคระบาด ผู้คนก็จะถามผู้ที่เกิดก่อนว่าจะทําอย่างไร ซึ่งในสมัยนั้นผู้ที่เกิดก่อนก็จะแนะนําให้ทาพิธีสวดมนต์อ้อนวอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ปัจจุบันก็มีการแสวงหาความรู้ที่ใช้วิธีการสอบถามจากผู้รู้ เช่น ผู้พิพากษาในศาลเวลา ตัดสินคดีเกี่ยวกับการปลอมแปลงลายมือยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านลายมือให้ช่วยตรวจสอบให้ ข้อควรระมัดระวังในการเสาะแสวงหาความรู้โดยการสอบถามจากผู้รู้คือต้องมั่นใจว่าผู้รู้นั้นเป็นผู้รู้ในเรื่องที่ จะสอบถามอย่างแท้จริง 2. การศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณี (Tradition) วิธีการเสาะแสวงหาความรู้ของ มนุษย์อีกวิธีหนึ่งที่ใกล้เคียงกันกับการสอบถามจากผู้รู้ก็คือการศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณีหรือ วัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น ในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายประจาชาติต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้วิธีการแสวงหา ความรู้แบบนี้ต้องตระหนักว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจนเป็นขนบธรรมเนียมนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ ถูกต้องและเที่ยงตรงเสมอไป ถ้าศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์จะพบว่ามีข้อปฏิบัติหรือ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันมา หลายปี และพบข้อเท็จ จริงในภายหลังถึ งความผิ ดพลาดข้อปฏิบั ติหรื อทฤษฎีเ หล่า นั้นก็ ต้องยกเลิกไป เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
7
ดังนั้นผู้ที่จะใช้วิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยการศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น ควรจะได้นามา ประเมินอย่างรอบคอบเสียก่อนที่จะยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง 3. การใช้ประสบการณ์ (Experience) วิธีการเสาะแสวงหาความรู้ที่มนุษย์ใช้กันอยู่บ่อย ๆ คื อ การใช้ ป ระสบการณ์ ต รงของตนเอง เมื่ อ เผชิ ญ ปั ญ หา มนุ ษ ย์ พ ยายามที่ จ ะค้ น คว้ า หาคํ า ตอบใน การแก้ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์ตรงของตนเองที่เคยประสบมา เช่น เด็กมักจะมีคําถามมาถามครู บิดา มารดา ญาติ ผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า บุคลเหล่านั้นมักจะใช้ประสบการณ์ตรงของตนเองในการตอบคําถาม หรือแก้ปัญหาให้กับเด็ก การใช้ประสบการณ์ตรงนั้นเป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิ ธี อาจจะทาให้ได้ข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องได้ 4. วิธีการอนุมาน (Deductive method) การเสาะแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการอนุมานนี้ เป็นกระบวนการคิดค้น จากเรื่องทั่ ว ๆ ไป ไปสู่เรื่ องเฉพาะเจาะจง หรื อคิดจากส่ว นใหญ่ ไปสู่ส่ วนย่อย จากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ วิธีการอนุมานนี้ประกอบด้วย 1) ข้อเท็จจริงใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่แล้วในตัวมันเอง 2) ข้อเท็จจริงย่อย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกรณีของข้อเท็จจริงย่อย และ 3) ข้อสรุป (Conclusion) ถ้าข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อยเป็นจริง ข้อสรุปก็จะต้องเป็นจริง เช่น สัตว์ทุกชนิดต้องตาย สุนัขเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ข้อสรุป สุนัขต้องตาย 5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็นวิธีการแสวงหาความรู้โดยใช้หลักการ ของวิธีการอุปมานและวิธีการอนุมานมาผสมผสานกัน โดยมีขั้นตอนการเสาะแสวงหาความรู้โดยเริ่มจาก การที่ มนุ ษย์ เ ริ่ มเรี ย นรู้ ทีล ะเล็ กที ละน้ อยจากประสบการณ์ ต รงความรู้ เ ก่ า ๆ และการสั งเกต เป็ น ต้ น จนกระทั่งรวบรวมแนวความคิดเป็นแนวความรู้ต่าง ๆ ที่สมมติขึ้นมา ซึ่งเป็นวิธีการอุปมานและหลังจาก นั้นก็ใช้วิธีการอนุมานในการแสวงหาความรู้ทั่วไป โดยเริ่มจากสมมติฐานซึ่งเป็นส่วนรวม แล้วศึกษาไปถึง ส่วนย่อย ๆ เพื่อที่จะศึกษาถึงการหาความสัมพันธ์ ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวม เพื่อให้ได้ข้อสรุปของ ความรู้ต่างๆ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็นวิธีการแสะแสวงหาความรู้ที่ดีในการแก้ ปั ญ หาต่ า งๆ ไม่ เ พี ย งแต่ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารวิ ท ยาศาสตร์ เ ท่ า นั้ น แต่ ยั ง สามารถนามา ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางการศึกษาได้ด้วย
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
8
การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กรมสามัญศึกษา (2545: 12-20) กล่าวว่า การศึกษาหาความรู้มีขั้นตอน ดังนี้ 1. การกําหนดประเด็นค้นคว้า ประกอบด้วย 1.1 การตั้งประเด็นค้นคว้า 1.2 การกําหนดขอบเขตของประเด็นค้นคว้า 1.3 การอธิบายประเด็นค้นคว้าซึ่งเป็นการนําเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นค้นคว้า 1.4 การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นค้นคว้า 2. การคาดคะเน ประกอบด้วย 2.1 การตั้งประเด็นคาดคะเน 2.2 การอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นคาดคะเนผล 2.3 การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นคาดคะเนผล 3. การกําหนดวิธีค้นคว้าและการดําเนินการ ประกอบด้วย 3.1 จําแนกวิธีการค้นคว้า คือ การระบุแนวทางต่าง ๆ 3.2 เลือกวิธีการค้นคว้าพร้อมระบุเหตุผล 3.3 วางแผนค้นคว้าตามแนวทางที่ได้แสดงขั้นตอนการดําเนินการค้นคว้า 3.4 การคาดคะเนสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคในการค้นคว้า 3.5 ดําเนินการค้นคว้า 4. การวิเคราะห์ผลการค้นคว้า ประกอบด้วย 4.1 การจําแนก จัดกลุ่ม และจัดลาดับข้อมูล 4.2 การพิจารณาองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยจัดลําดับความสําคัญ 5. การสรุปผลการค้นคว้า ประกอบด้วย 5.1 การสังเคราะห์ข้อมูล คือ การเรียบเรียงข้อมูลที่ค้นพบจากการค้นคว้า และสรุปเป็นประเด็น 5.2 การอภิปรายผลการค้นคว้า คือ การแสดงความเห็นอย่างมีเหตุผล เกี่ยวกับประเด็น ที่พบจากการค้นคว้าพร้อมทั้งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ค้นพบที่สามารถ เรียบเรียงไปถึงประเด็นค้นคว้าใหม่ 5.3 การสรุปกระบวนการในการค้นคว้า คือ การระบุขั้นตอนหลักของกระบวนการค้นคว้า 5.4 การประเมินกระบวนการที่ใช้ในการค้นคว้า คือ การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางแก้ไขกระบวนการค้นคว้าที่กําหนด
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
9
บทที่ 1
การตั้งประเด็นปัญหา
การใช้คําถามเป็นเทคนิคสําคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด สามารถนําไปสู่การเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การถามเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ช่วยให้นักเรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ กระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะ การคิด ทําความเข้าใจให้กระจ่าง ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่าง ๆ ส่งเสริม ความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย
ระดับของการตั้งคําถาม การตั้งคําถามมี 2 ระดับ คือ คําถามระดับพื้นฐาน และคําถามระดับสูง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. คําถามระดับพื้นฐาน เป็นการถามความรู้ ความจํา เป็นคํ าถามที่ใช้ ความคิดทั่ วไป หรื อ ความคิดระดับต่ํา ใช้พื้นฐานความรู้เดิมหรือสิ่งที่ประจักษ์ในการตอบ เนื่องจากเป็นคําถามที่ฝึกให้เกิด ความคล่องตั วในการตอบ คํา ถามในระดั บนี้ เป็ นการประเมิ นความพร้อมของนั มของนักเรี ยนเรี น ยนก่อนเรีย น วินิจฉัยจุดอ่อน-จุดแข็ง และสรุปเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว คําถามระดับพื้นฐาน ได้แก่ 1.1 คําถามให้สังเกต เป็นคําถามที่ให้นักเรียนคิดตอบจากการสังเกต เป็นคําถามที่ต้องการ ให้นักเรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสืบค้นหาคําตอบ คือ ใช้ตาดู มือสัมผัส จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส และหูฟังเสียง ตัวอย่างคําถาม เช่น เมื่อนักเรียนอ่ น านบทประพันธ์นี้แล้วรู้สึกอย่างไร แม่การะเกดในเรื่องบุพเพสันนิวาสนี าส ้มีบุคลิกภาพอย่างไร นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามร้องเพลงชาติและเพลงโรงเรียน เป็นอย่างไร พื้นผิวของโต๊ ของ ะในห้องเรียนเป็นอย่างไร เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนอง (IS1)
10
1.2 คําถามทบทวนความจํ า เป็ นคําถามที่ใช้ทบทวนความรู้ เดิมของนักเรีย น เพื่อใช้ เชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ก่อนเริ่มบทเรียน ตัวอย่างคําถามเช่น ดาวเคราะห์ดวงใดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ใครเป็นผู้แต่งเรื่องอิเหนา เมื่อเกิดอาการแพ้ยาควรโทรศัพท์ไปที่เบอร์ใด 1.3 คําถามที่ให้บอกความหมายหรือคําจํากัดความ เป็นการถามความเข้าใจ โดยการให้ บอกความหมายของข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างคําถามเช่น คําว่าสิทธิมนุษยชนหมายความว่าอย่างไร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร สถิติ (Statistics) หมายความว่าอย่างไร 1.4 คําถามบ่งชี้หรือระบุ เป็นคําถามที่ให้ผู้เรียนบ่งชี้หรือระบุคําตอบจากคําถามให้ถูกต้อง ตัวอย่างคําถามเช่น คําใดต่อไปนี้เป็นคําควบกล้ําไม่แท้ ระบุชื่อสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ประเทศใดบ้างที่เป็นสมาชิก APEC 2. คําถามระดับสูง เป็น การถามให้คิดค้ น หมายถึ ง คํา ตอบที่ นักเรี ยนตอบต้องใช้ความคิ ด ซับซ้อน เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้นักเรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ในการคิดหาคําตอบ โดยอาจใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาเป็นพื้นฐานในการคิดและตอบคําถาม ตัวอย่างคําถามระดับสูง ได้แก่ 2.1 คําถามให้อธิบาย เป็นการถามโดยให้นักเรียนตีความหมาย ขยายความ โดยการให้ อธิบายแนวคิดของข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างคําถามเช่น นักเรียนควรมีบทบาทหน้าที่ในโรงเรียนอย่างไร ชาวพุทธที่ดีควรปฏิบัติตนอย่างไร นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะทําให้ร่างกายแข็งแรง 2.2 คํ า ถามให้ เ ปรี ยบเที ยบ เป็ น การตั้งคํ าถามให้ นักเรีย นสามารถจํา แนกความเหมื อน ความแตกต่างของข้อมูลได้ ตัวอย่างคําถามเช่น จงเปรียบเทียบวิถีชีวิตของคนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย DNA กับ RNA แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร สังคมเมืองกับสังคมชนบทเหมือนและต่างกันอย่างไร
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนอง (IS1)
11
2.3 คํา ถามให้ วิเ คราะห์ เป็น คํา ถามให้ นักเรี ยนวิ เคราะห์ แยกแยะปัญ หา จัด หมวดหมู่ วิจารณ์แนวคิด หรือบอกความสัมพันธ์และเหตุผล ตัวอย่างคําถามเช่น อะไรเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดภาวะโลกร้อน วัฒนธรรมแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง สาเหตุใดที่ทําให้นางวันทองถูกประหารชีวิต การติดยาเสพติดของเยาวชนเกิดจากสาเหตุใด 2.4 คํ า ถามให้ ย กตั ว อย่ า ง เป็ น การถามให้ นั ก เรี ย นใช้ ค วามสามารถในการคิ ด นํ า มา ยกตัวอย่าง ตัวอย่างคําถามเช่น ร่างกายขับของเสียออกจากส่วนใดบ้าง ยกตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ หินอัคนีสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง อาหารคาวหวานในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานได้แก่อะไรบ้าง 2.5 คําถามให้สรุป เป็นการใช้คําถามเมื่อจบบทเรียน เพื่อให้ทราบว่านักเรียนได้รับความรู้ หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนมากน้อยเพียงใด และเป็นการช่วยเน้นย้ําความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว ทําให้ สามารถจดจําเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างคําถามเช่น จงสรุปเหตุผลที่ทําให้พระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวง เมื่อนักเรียนอ่านบทความเรื่องนี้แล้วนักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้าง จงสรุปแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ําเพื่อให้เกิดคุณค่าสูงสุด จงสรุปขั้นตอนการทําผ้าบาติค 2.6 คําถามเพื่อให้ประเมินและเลือกทางเลือก เป็นการใช้คําถามที่ให้นักเรียนเปรียบเทียบ หรือใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่หลากหลาย ตัวอย่างคําถามเช่น การว่ายน้ํากับการวิ่งเหยาะ อย่างไหนเป็นการออกกําลังกายที่ดีกว่ากัน ระหว่างน้ําอัดลมกับนมอย่างไหนมีประโยชน์มากกว่ากัน เพราะเหตุใด ไก่ทอดกับสลัดไก่ นักเรียนจะเลือกรับประทานอาหารชนิดใด เพราะเหตุใด 2.7 คําถามให้ประยุกต์ เป็นการถามให้นักเรียนใช้พื้นฐานความรู้เดิมที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ใหม่หรือในชีวิตประจําวัน ตัวอย่างคําถามเช่น นักเรียนมีวิธีการประหยัดพลังงานอย่างไรบ้าง เมื่อนักเรียนเห็นเพื่อนในห้องขาแพลง นักเรียนจะทําการปฐมพยาบาลอย่างไร นักเรียนนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิต ประจําวันอย่างไรบ้าง นักเรียนจะทําการส่งข้อความผ่านทางอีเมลได้อย่างไร เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนอง (IS1)
12
2.8 คําถามให้สร้างหรือคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ หรือผลิตผลใหม่ ๆ เป็นลักษณะการถามให้ ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ํากับผู้อื่นหรือที่มีอยู่แล้ว ตัวอย่างคําถามเช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้แล้ว สามารถนําไปประดิษฐ์ของเล่นอะไรได้บ้าง กล่องหรือลังไม้เก่า ๆ สามารถดัดแปลงกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว นักเรียนจะนําไปดัดแปลงเป็นสิ่งใดเพื่อให้เกิดประโยชน์ นักเรียนจะนํากระดาษที่ใช้เพียงหน้าเดียวมาประดิษฐ์เป็นสิ่งใดบ้าง การตั้งคําถามระดับสูงจะทําให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดระดับสูง และเป็นคนมีเหตุผล นักเรียน ไม่เพียงแต่จดจําความรู้ ข้อเท็จจริงได้อย่างเดียวแต่สามารถนําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ และ ประเมินสิ่งที่ถามได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระสําคัญของเรื่องราวที่เรียนได้อย่างถูกต้อง และ กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลมาตอบคําถามด้วยตนเอง การตอบคําถามระดับสูง ต้องให้เวลานักเรียนในการคิดหาคําตอบเป็นเวลามากกว่าการตอบ คํา ถามระดั บพื้ น ฐาน เพราะนักเรีย นต้องใช้ เ วลาในการคิด วิ เคราะห์ อย่ า งลึ กซึ้งและมี วิจ ารณญาณใน การตอบคําถาม ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของการตั้งคําถามคือ การถามแล้วต้องการคําตอบในทันทีโดย ไม่ให้เวลานักเรียนในการคิดหาคําตอบ
คําถามท้ายบท 1. เทคนิคสําคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด คือ 2. จากที่กล่าวว่า "การตั้งปัญหานั้นสําคัญกว่าการแก้ปัญหา" นักเรียนเห็นด้วยกับคํากล่าวข้างต้น หรือไม่เพราะเหตุใด 3. ระดับของการตั้งคาถามมีกี่ระดับ อะไรบ้าง 4. คําถามระดับพื้นฐาน หมายถึง 5. คําถามระดับพื้นฐาน ได้แก่ 6. คําถามระดับสูง เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง 7. จงยกตัวอย่างคําถามระดับสูง ได้แก่ 8. นักเรียนคิดว่าการตั้งประเด็นปัญหา หรือประเด็นคําถามมีความสําคัญอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนอง (IS1)
13
บทที่ 2
การตั้งสมมติฐาน
ความหมายของสมมติฐาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (2556) ให้ความหมายของคําว่า “สมมติฐาน” หรือ “สมมุติฐาน” ว่าหมายถึง ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย สมมติฐาน หมายถึง ความเชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรืออาจกล่าว ได้ว่า สมมติฐานเป็นสิ่งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคาดว่าจะเกิดขึ้นโดยที่ความเชื่อหรือสิ่งที่คาดนั้นจะเป็นจริง หรือไม่ก็ได้ เช่น เจ้าของร้านค้าสหกรณ์คาดว่าจะมีกําไรสุทธิจากการขายสินค้าต่อปี ไม่ต่ํากว่า 500,000 บาท หัวหน้าพรรคการเมือง A …..คาดว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในคราวหน้า พรรคอื่น ๆ จะได้ที่นั่งในสภาไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 ของทั้งหมด คาดว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของประชากรในจังหวัดพิษณุโลกเท่ากับ 15,000 บาท จะเห็นได้ว่า การตั้ งสมมติฐ านเป็นการคาดคะเนหาคํา ตอบที่อาจจะเป็น ไปได้อย่างมีเหตุผ ล สําหรับประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้ ซึ่งการคาดคะเนดังกล่าวจะเป็นจริงหรือไม่นั้น ผู้ตั้งสมมติฐานจะต้องทําการ พิสูจน์หรือทดลองเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ วิธีการทางสถิติ หลักการ ทฤษฎี หรือข้อค้นพบ จากการศึกษาวิจัยที่ทํามาก่อนหน้านี้
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
14
ลักษณะของสมมติฐาน สมมติฐานเป็นการคาดเดาคําตอบของประเด็นปัญหาอย่างสมเหตุสมผลไว้ล่วงหน้า ซึ่งคําตอบที่ คาดเดาไว้นี้จะถูกต้องหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การคาดคะเนเพื่อหาคําตอบจึงเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุ และสิ่ ง ที่ เ ป็ น ผลอั น เกิ ด จากสาเหตุ นั้ น หมายความว่ า จะต้ อ งมี สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ป็ น สาเหตุ ทํ า ให้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ และตัวเหตุนี้เอาทําให้เกิดผลตามมา
ความแตกต่างของสมมติฐานกับการพยากรณ์ การตั้ งสมมติ ฐ าน คื อ การทํ า นายผลล่ ว งหน้ าโดยไม่ มีห รื อไม่ ทราบ ความสั มพั น ธ์ เ กี่ ย วข้ อง ระหว่างข้อมูล การพยากรณ์ คือ การทํานายผลล่วงหน้าโดยการมีหรือทราบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ เกี่ยวข้องในการทํานายล่วงหน้า
การตั้งสมมติฐานที่ดี การตั้งสมมติฐานที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย มักนิยมใช้วลี “ถ้า…ดังนั้น” 2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้ 3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง 4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์ กับปัญหาที่ตั้งไว้ สมมติ ฐานที่เคยยอมรับอาจล้มเลิกได้ถ้า มีข้อมู ลจากการทดลองใหม่ๆ มาลบล้าง แต่ก็มีบาง สมมติฐานที่ไม่มีข้อมูลจากการทดลองมาคัดค้านทาให้สมมติฐานเหล่านั้นเป็นที่ ยอมรับว่าถูกต้อง เช่น สมมติ ฐานของเมนเดลเกี่ ยวกับ หน่ วยกรรมพัน ธุ์ ซึ่งเปลี่ย นกฎการแยกตั วของยีน หรือสมมติ ฐานของ อโวกาโดรซึ่งเปลี่ยนเป็นกฎของอโวกาโดร
หลักการตั้งสมมุติฐาน การตั้งสมมติฐานในประเด็นปัญหาหรือหัวข้อที่นักเรียนต้ องการศึกษาสามารถตั้ งสมมติฐาน ได้มากกว่าหนึ่งสมมติฐาน ซึ่งการตั้งสมมติฐานนั้นจะพิจารณาจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของ ประเด็น ปัญหาหรือหัวข้อที่ต้องการศึกษาค้นคว้า นักเรียนจะสามารถตั้งสมมติฐานเพื่อคาดคะเนคําตอบของประเด็นปัญหาได้อย่างสมเหตุ สมผล ต้องทําการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้ 1. การศึกษาเอกสาร ตํารา บทความวิชาการ และผลงานวิจัย 2. สนทนากับผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือครูที่ปรึกษา 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือปรึกษาหารือกับบุคคลอื่น ๆ ในลักษณะการระดมสมอง
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
15
วิธีการตั้งสมมติฐาน มีวิธีการดังนี้ เมื่ อนั กเรี ย นกํ าหนดประเด็ น ปั ญหาหรื อเรื่ องที่ ตนเองต้ องการศึกษาค้ น คว้ า แล้ ว การตั้ ง สมมติฐานในเรื่องที่นักเรียนสนใจศึกษามีดังนี้ 1. คาดเดาคําตอบจากเรื่องที่ต้องการจะศึกษาว่านักเรียนต้องการได้รับอะไรจากการศึกษา ในครั้งนี้ ซึ่งนักเรียนจะต้องทราบก่อนว่าตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น ตัวแปรตามคืออะไร 2. เขียนสมมติฐานที่นักเรียนคิดว่าจะได้จากการศึกษาค้นคว้า เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ให้สั้น กระชับ อ่านเข้าใจง่าย 3. สมมติฐานที่นักเรียนเขียนขึ้นมานั้นจะต้องเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือ เป้าหมายของการศึกษาความรู้ 4. ในการเขียนสมมติฐานในแต่ละข้อนั้น ให้นักเรียนเขียนสมมติฐานตอบคําถาม เพียงหนึ่งข้อต่อหนึ่งคําถาม ไม่ควรเขียนสมมติฐานครั้งเดียวเพื่อตอบคําถามหลาย ๆ ข้อ เพราะอาจจะทําให้ สับสนได้ 5. การเขียนสมมติฐานจะต้องเขียนโดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของการได้มาของคําตอบ ที่นักเรียนจะต้องไปศึกษาค้นคว้า ตัวอย่างสมมติฐาน ได้แก่ ยอดงบประมาณในการใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาน้ําอัดลมมีความสัมพันธ์กับยอดขาย ในทางบวก (หมายความว่า ยิ่งใช้งบประมาณในการโฆษณามากก็จะมียอดขายน้ําอัดลม มากขึ้นไปด้วย แสดงว่า การโฆษณามีความสัมพันธ์กับยอดการจําหน่ายสินค้า) ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับความกล้าแสดงออก ของนักเรียน (หมายความว่า นักเรียนที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงจะมีความกล้าแสดงสูง ตามไปด้วย) ต้นพืชที่ปลูกในบริเวณที่ได้รับแสงแดดไม่เท่ากันจะมีการเจริญเติบโตแตกต่างกัน (หมายความว่า แสงแดดเป็นตัวแปรอิสระที่เป็นสาเหตุทําให้เกิดผลหรือตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโตของพืชตามมา แสดงว่า พืชที่ได้รับแสงแดดมากจะมีการเจริญเติบโต มากกว่าพืชที่ได้รับแสงแดดน้อย) สมมติ ฐ านต้ อ งเป็ น ข้ อ ความที่ บ อกความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ตั ว แปรต้ น กั บ ตั ว แปรตาม ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ อาจตั้งหนึ่งสมมติฐานหรือหลายสมมติฐานก็ได้ สมมติฐานที่ตั้งขึ้นอาจจะถูกหรือผิด ก็ได้ ดังนั้นจําเป็นต้องมีการทดลองเพื่อตรวจสอบว่า สมมติฐานที่ตั้งขึ้นนั้นเป็นที่ยอมรับหรือไม่ซึ่งจะทราบ ภายหลังจากการทดลองหาคําตอบแล้ว
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
16
คําถามท้ายบท 1. ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้ 1) สมมติฐาน หมายถึง 2) การตั้งสมมติฐาน คือ 3) การพยากรณ์ คือ 4) จงบอกหลักในการตั้งสมมติฐาน 5) จงบอกลักษณะการตั้งสมมติฐานที่ดี 2. ให้นักเรียนตั้งสมมติฐานตามประเด็นปัญหาที่กําหนดให้ 1) การสํารวจพฤติกรรมการใช้ผงชูรสในการประกอบอาหารของร้านอาหารโรงเรียน 2) การสํารวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) การศึกษาสมุนไพรที่มีผลต่อการดับกลิ่นเท้า 4) สํารวจพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารกลางวันของนักเรียน 5) การสํารวจการเล่นเกมออนไลน์ของนักเรียน ……………………………………………………………………………………………........................................................
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
17
บทที่ 3
ข้อมูลและการรวบรวมข้อมูล
กระบวนการรวบรวมข้อมูลถือเป็นขั้นตอนสําคัญของการศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองเป็น อย่างมาก เพราะเป็นขั้นตอนการเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้ การค้นคว้าหาคําตอบให้กับประเด็นปัญหา หรือสมมติฐานที่นักเรียนได้กําหนดไว้
ความหมายของข้อมูล ข้อมูล เป็นข้อความจริงหรือสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์ หนึ่ง โดยที่ข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้ เช่น ในปี พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรีกําหนดมาตรการ ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนก หรือในเดือนกันยายน 2547 น้ํามันเบนซิน 91 จําหน่าย ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลราคาลิตรละ 20.99 บาท โดยทั่วไป ข้อมูลมักจะอยู่ในรูปตัวเลขซึ่งมีหลาย ๆ จํา นวนที่ ส ามารถนํ า มาเปรี ย บเที ยบขนาดกั น ได้ เช่ น ตั้ งแต่ วั น ที่ 1 มกราคม ถึง 30 กั น ยายน 2547 ไทยส่งออกข้าวไปยังประเทศหนึ่งรวม 2.88 ล้านตัน ลดลงจาก 5.00 ล้านตัน ของการส่งออกในช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.4 ข้อมูลเชิงสถิติเป็นข้อมูลที่สามารถนํามาประมวลผลหรือวิเคราะห์ด้วยกระบวนการหรือวิธีการ ต่าง ๆ เพื่อตอบคําถามในประเด็นต่าง ๆ ได้
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
18
ประเภทของข้อมูล ประเภทของข้อมูลสามารถจําแนกได้จากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และจากลักษณะของข้อมูล 1. การจําแนกข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อจําแนกประเภทของข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) และ ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) 1) ข้อมู ลปฐมภู มิ คื อข้อมูล ที่ผู้ใช้จะต้องเก็ บรวบรวมจากผู้ ให้ ข้อมู ลหรื อแหล่งที่มาของ ข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจทําได้โดยการสัมภาษณ์ วัด นับ หรือสังเกตจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เนื่องจากข้อมูล เหล่านี้ไม่เคยมีผู้ใดเก็บรวบรวมไว้ก่อน การเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ทําได้ 2 วิธีคือ การสํามะโน (census) และการสํารวจ จากกลุ่มตัวอย่าง (sample survey) (1) การสํามะโน คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากรหรือสิ่งที่เรา ต้องการศึกษา ซึ่งการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้ทําให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลมาก การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีนี้จึงไม่ค่อยนิยมใช้ในทางปฏิบัติ ยกเว้นกรณีที่ประชากรมีขนาดเล็กหรือมี ขอบเขตไม่กว้างขวางนัก (2) การสํารวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบางหน่วยที่เลือกมาเป็น ตัวแทนจากทุก ๆ หน่วยของประชากรหรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาเท่านั้นเนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูล จากทุ กหน่ว ยของประชากร อาจทําให้เสี ยเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จํา เป็น เพราะสิ่งที่ต้องการศึกษา อาจจะมีบางกลุ่มที่มีลักษณะที่ต้องการศึกษาอยู่เหมือน ๆ กัน หรือใกล้เคียงกันมาก การเลือกตัวอย่างหรือ ตั ว แทนของแต่ ล ะกลุ่ มมาทํ า การศึ กษาก็ เ ป็ น การเพี ย งพอที่ จ ะทํ าให้ ส ามารถประมาณค่ า ของสิ่ งที่ เ รา ต้องการศึกษาทั้งหมดได้ เช่น การสํารวจราคาเฉลี่ยของสินค้าชนิดหนึ่งที่มีขนาดบรรจุใกล้เคียงกันจาก ร้านค้าปลีกทั่วประเทศ ราคามักจะใกล้เคียงกันด้วย ดังนั้นเราอาจเลือกร้านค้าปลีกเพียงบางร้านมาเป็น ตัวแทนของร้านค้าปลีกทั้งหมดได้ แต่จํานวนร้านค้าปลีกที่เลือกมาเป็นตัวแทนจะมีจํานวนมากหรือน้อย เพียงใดขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เก็บรวบรวมข้อมูลว่าต้องการให้ราคาเฉลี่ยของราคาสินค้าชนิดนั้นที่ หาได้จากราคาสินค้าในร้านค้าตัวอย่างที่เลือกขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ใกล้เคียงกับค่าที่ควรเป็นจริง ซึ่งได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากร้ายค้าปลีกทุก ๆ ร้านมากน้อยเพียงใด ถ้าต้องการให้ได้ผลใกล้เคียง มากก็ควรเลือกตัวอย่างร้านค้าปลีกมาเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นจํานวนมาก 2) ข้อมูลทุติยภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของ ข้อมูล โดยตรง แต่ได้จ ากข้ อมู ล ที่มีผู้อื่นเก็ บรวบรวมไว้ แล้ว ข้ อมูล ประเภทนี้ ผู้ ใช้ไม่ต้ องเสีย เวลาและ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอง สามารถนําข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้วมาใช้ได้เลย แต่อย่างไร ก็ตามผู้ใช้จะต้องระมัดระวังในการนําข้อมูลประเภทนี้มาใช้ให้มาก เนื่องจากมีโอกาสผิดพลาดได้มากหากผู้ เก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่เหมาะสม เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
19
แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สําคัญ คือ (1) รายงานต่ า ง ๆ ของหน่ ว ยงานราชการและองค์ ก ารของรั ฐ บาล โดยทั่ ว ๆ ไป หน่วยงานราชการหรือองค์การของรัฐบาล มักจะมีรายงานแสดงข้อมูลพิมพ์ออกมาเผยแพร่เป็นประจําซึ่ง อาจเป็นรายงานรายเดือน รายสามเดือน หรือรายปี ข้อมูลที่ได้จากรายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ และองค์การของรัฐบาลนี้อาจถือได้ว่าเป็นที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สําคัญที่สุด (2) รายงานและบทความจากหนังสือหรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน หน่วยงานของ เอกชนบางแห่ ง โดยเฉพาะหน่ ว ยงานใหญ่ ๆ จะพิ มพ์ ร ายงานเกี่ ย วกั บ ผลการดํ า เนิ น งานของตนออก เผยแพร่เช่นเดียวกับหน่วยงานของราชการ เช่น รายงานประจําเดือนของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์รายวัน หรือสื่ออื่น ๆ มักจะมีข้อมูลทุติยภูมิประกอบบทความหรือรายงานด้วย 2. การจําแนกประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล เมื่อจําแนกประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูลจะจําแนกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) 1) ข้ อมู ลเชิ งปริ มาณ คื อ ข้ อมู ล ที่ ใช้ แทนขนาดหรื อปริ มาณซึ่ งวั ด ออกมาเป็ น จํ า นวนที่ สามารถนํามาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น ปริมาณการผลิตน้ํามันดิบของกลุ่มโอเปกในแต่ละปี อัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ จํานวนสมาชิกโดยเฉลี่ยของครอบครัวไทย 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นจํานวนได้โดยตรงแต่อธิบาย ลักษณะหรือคุณสมบัติในเชิงคุณภาพได้ เช่น เพศของสมาชิกในครอบครัวสถานภาพสมรสของพนักงานใน บริษัทห้ างร้า นหรือความคิดเห็ นของประชาชน การวิ เคราะห์ข้อมูลประเภทนี้ส่วนใหญ่ทําโดยการนั บ จํานวนจําแนกตามลักษณะเชิงคุณภาพ เช่น นับจํานวนพนักงานที่เป็นโสด ที่สมรสแล้ว ที่หย่าร้าง และที่ เป็นหม้ายว่ามีอย่างละกี่คน ข้อมูลเชิงคุณภาพบางลักษณะสามารถวัดออกมาเป็นลําดับที่หรือตําแหน่งที่ได้ เช่น ความชอบ วัดในรูป ชอบมากที่สุด ชอบมาก ชอบปานกลาง ชอบน้อย ไม่ชอบเลย ในกรณีที่ข้อมูลเชิงคุณภาพใดไม่สามารถวัดออกมาเป็นลําดับที่หรือตําแหน่งที่ได้ เช่น กลุ่มนักเรียนของโรงเรียนรัฐบาลกับกลุ่มนักเรียนของโรงเรียนเอกชน หรือ กลุ่มพนั กงานชายกับกลุ่ ม พนักงานหญิง หากมีความจําเป็นต้องกําหนดเป็นจํานวนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติอาจใช้ 0 แทนกลุ่มนักเรียนของโรงเรียนรัฐบาลหรือกลุ่มพนักงานชาย และใช้ 1 แทนกลุ่มนักเรียนโรงเรียนเอกชน หรือกลุ่มพนักงานหญิง จํานวนที่ใช้แทนข้อมูลเชิงคุณภาพเหล่านี้ไม่สามารถนําไปตีความหมายในเชิง ปริมาณได้ ความหมายของจํานวนที่ใช้แทนข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้แทน “กลุ่ม” ต่าง ๆ เท่านั้น
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
20
3. การจําแนกประเภทตามสภาพของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่าง 1) ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงส่วนตัวของกลุ่ม ตัวอย่าง เช่น ชื่อสกุล อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา เป็นต้น 2) ข้อมูลสิ่งแวดล้อม (Environmental Data) คือ ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ลักษณะท้องถิ่นที่กลุ่มตัวอย่างอาศัย 3) ข้อมูลพฤติกรรม (Behavioral Data) คือ ข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของ กลุ่มตัวอย่าง เช่น คุณลักษณะด้านความสามารถสมอง ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ หรือการเรียน เช่น ความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ ความถนัด สติปัญญา ความสนใจ ความวิตกกังวล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มโนภาพเกี่ยวกับตนเอง การปฏิบัติ การกระทําสิ่งต่าง ๆ 4. การจําแนกประเภทตามการนําไปใช้กับคอมพิวเตอร์ 1) ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจํานวนตัวเลข สามารถนําไป คํานวณได้ เช่น จํานวนเงินเดือนราคาสินค้า 2) ข้อมูลตัวอัก ษร (Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่ เป็นตัวอักษร และสัญ ลักษณ์ เช่ น ชื่อ สกุล ที่อยู่ 3) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด 4) ข้อมูลภาพ (Images Data) คือ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่าง ๆ เมื่อนํามาเรียงต่อกันแล้วเกิด รูปภาพขึ้น เช่น ภาพถ่าย ภาพลายเส้น เป็นต้น 5) ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ หรือภาพที่ทําจากโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น การรวบรวมข้ อมู ล เป็ นจุ ด เริ่ มต้ น ของการดํ าเนิ น งาน การรวบรวมข้ อมู ล ที่ ดี จ ะได้ ข้อมู ล ที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยํา ครบถ้วน
กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การที่นักเรียนจะเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับประเด็น ปัญหา หรือข้อคําถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีขั้นตอน มีกระบวนการที่ดีจะส่งผลให้ได้ข้อมูลที่ เป็นประโยชน์ สามารถนําไปใช้กับการศึกษาค้นคว้าความรู้ของนักเรียนได้ 1. การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพต้องดําเนินการในรูปแบบกระบวนการ หมายถึ ง การออกแบบเพื่อวางแผนในการพิจารณาวิธีการหรือรูปแบบในการศึกษาค้นคว้า การกําหนดขอบเขต ของข้ อมู ล รวมทั้ งการกํ า หนดขั้ น ตอน กระบวนการในการเก็ บ รวบรวมข้ อมู ล ซึ่ งมี กระบวนการเก็ บ รวบรวมข้อมูล ดังแผนภูมิ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
21
การกําหนดขอบเขต ของข้อมูล การออกแบบ
ดําเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล
การวางแผน การกําหนดขั้นตอน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การศึกษาค้นคว้า ด้ว ยตนเองเป็น รายวิช าที่ นักเรีย นต้ องรู้จักการวางแผนการเรียนอย่ างเป็ น ระบบ เมื่อนักเรียนทําการสํารวจความต้องการ ความสนใจ และความถนัดทางการเรียนของตนเอง และได้ กํ า หนดประเด็ น ปั ญ หาหรื อ คํ า ถามที่ ต้ อ งการจะศึ ก ษาค้ น คว้ า ความรู้ เ ป็ น ที่ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว นั ก เรี ย น จําเป็นต้องศึกษาหาแนวทางในการแสวงหาคําตอบภายใต้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามแผนผัง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และดําเนินการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อน การออกแบบการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เป็ น การนํ า เอาสิ่ งที่ เ ป็ น แนวความคิ ด หรื อ จิ น ตนาการ เกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้คําตอบของประเด็นปัญหาหรือ ข้อคําถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทําการศึกษาค้นคว้า โดยนําองค์ประกอบของความคิด ดังกล่าวมาจัดวางให้ เชื่อมต่อสัมพันธ์กัน และมองเห็นความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตลอดแนว อย่างไรก็ตาม การจําแนกประเภทหรือชนิดของข้อมูลมีหลากหลายประเภท นักเรียนจะต้อง วางแผนการเลือกใช้ข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง ออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่ละ ประเภทให้มีความเหมาะสม ตลอดจนการเลือกใช้เครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือการ เก็บรวบรวม ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งยิน (Yin, 2003) กล่าวว่า ลักษณะของคําถามหรือประเด็น ปัญหามีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้ คําตอบของประเด็นปัญหาและได้แนะนําว่า รูปแบบ (Form) ของ ประเด็นปัญหาหรือข้อคําถามจะเป็น สิ่งที่กําหนดว่าผู้ทําการศึกษาค้นคว้าควรเลือกใช้วิธีการใดในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการวางแผน การกําหนดขอบเขตของข้อมูล รวมถึงการกําหนดขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลและ ดําเนินการเก็บข้อมูลจะดําเนินการ อย่างไร ลักษณะของรูปแบบและวิธีการในการศึกษาค้นคว้าเพื่อตอบประเด็นปัญหา สรุปได้ดังตาราง รูปแบบของคําถาม/ประเด็นปัญหา วิธีการศึกษาค้นคว้า อย่างไร (How?) ทําไม (Why?) วิธีการทดลอง ใคร (Who?) อะไร (What?) ที่ไหน วิธีการสํารวจ (Where?)จํานวนเท่าไร (How many?) มากน้อยเพียงใด (How much?) อย่างไร (How?) ทําไม (Why?) วิธีการทางประวัติศาสตร์ อย่างไร (How?) ทําไม (Why?) วิธีการแบบกรณีศึกษา (Case Study) เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
22
เมื่อนั กเรีย นได้คําตอบแล้ว ว่าจะใช้วิธี การใดในการศึ กษาค้ นคว้า เพื่อหาคํา ตอบของประเด็ น ปัญหาหรือประเด็นคําถามแล้ว ในการดําเนินการขั้นตอนต่อไปคือ ขั้นตอนการออกแบบการเก็บ รวบรวม ข้อมูลในลักษณะของการคิดหรือสร้างจินตภาพว่าควรจะดําเนินการอย่างไร ใช้องค์ประกอบ ด้านใดบ้าง ทั้งนี้ วิธีการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ 1. ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบของประเด็นปัญหาหรือประเด็นคําถามที่จะศึกษาค้นคว้าว่า เป็น ประเด็นปัญหารูปแบบใดตามตารางการวิเคราะห์รูปแบบของคําถาม/ประเด็นปัญหา 2. เลือกวิธีการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจจะใช้วิธีการสํารวจ การทดลอง กระบวนการ ทางประวัติศาสตร์ หรือกรณีศึกษา ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสม 3. กําหนดเลือกชนิดของข้อมูลที่จะจัดเก็บว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลเชิงคุณภาพ และ ควรเน้นข้อมูลที่เป็นปฐมภูมิเป็นหลักหรือหากจําเป็นผสมผสานข้อมูลทุติยภูมิด้วยก็ได้ 4. กําหนดขอบเขตของข้อมูลที่ต้ องการหาคําตอบของประเด็ นปัญหา เช่น จํานวนนักเรีย น ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นคนอ้วนเท่านั้น 5. เลื อกวิ ธี การหรื อเครื่ องมื อที่ จ ะใช้ในการเก็ บรวบรวมข้อมู ล ให้ เ หมาะสม เช่ น อาจจะใช้ วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การศึกษาเอกสาร เป็นต้น 6. กําหนดขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล นั่นคือจะเก็บข้อมูลโดยติดต่อหน่วยงานใด เก็บ ข้อมูลจากใคร สถานที่ใด ใครเป็นผู้เก็บ เก็บข้อมูลอะไร เก็บในช่วงระยะเวลาใด จํานวนกี่ครั้ง แต่ละครั้งใช้ เวลาเท่าใด
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 1. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งอาจทําได้โดยการสํามะโน หรือสํารวจสามารถทําได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปมี 5 วิธีคือ 1) การสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ นิยมใช้กันมากกว่าการเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีอื่น ๆ เนื่องจากโอกาสที่จะได้คําตอบกลับคืนมามีมาก นอกจากนี้หากผู้ตอบข้อถาม ไม่ เ ข้ า ใจข้ อ ถามใด ๆ ก็ ส ามารถถามได้ จ ากผู้ สั ม ภาษณ์ โ ดยตรง แต่ ก ารเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล โดยวิ ธี นี้ ผู้สัมภาษณ์ ต้องมีความซื่อสัต ย์ไม่ตอบข้ อถามแทนผู้ถูกสั มภาษณ์ เพราะจะทํ าให้ ข้อมูล ที่รวบรวมได้ มี ความคลาดเคลื่อนจากที่ควรจะเป็นจริงมาก
ที่มา http://fbd.forest.go.th/th/?p=7217 เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
23
2) การสอบถามทางโทรศัพท์ การสอบถามวิธีนี้นิยมใช้น้อยกว่าวิธีอื่นถึงแม้ว่าการเลือก ตัวอย่างผู้ตอบสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ทําได้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลน้อยก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลทําได้เฉพาะผู้ตอบสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เท่านั้น การสอบถามทางโทรศั พ ท์ โ ดยทั่ ว ๆ ไป มั ก ใช้ กั บ แบบสอบถามที่ ไม่ ใ ช้ เ วลาในการ สัมภาษณ์มากนักและข้อมูลที่ต้องการถามจากผู้ตอบสัมภาษณ์เป็นข้อมูลที่ผู้ตอบสัมภาษณ์สามารถตอบได้ ทันทีโดยไม่ต้องไปค้นหาหลักฐานหรือสอบถามจากผู้อื่น การสอบถามทางโทรศัพท์ที่ใช้กันอยู่เสมอ ๆ เช่น การสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กําลังได้รับความสนใจ
ที่มา http://news.ch3thailand.com/rerun/6/132107
4) การสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตมักใช้ประกอบกับการเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยวิธีอื่น ๆ เชื่อถือได้ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากความไม่ร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลหรืออาจจะเกิดจาก ความรู้ขั้นพื้นฐานหรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ของผู้ตอบไม่ดีพอ เช่น การสอบถามเกี่ยวกับรายได้ของ ครอบครัวหรือกําไรของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ข้อมูลดังกล่าวนี้ผู้ตอบไม่ต้องการเปิดเผย นอกจากนี้อาจใช้ การสังเกตเมื่อต้องการรวบรวมข้อมูลในเชิงลึก เช่น ครูสังเกตพฤติกรรมนักเรียนในการทํางานร่วมกัน และ การมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/190496
5) การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องมี การทดลองหรือปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาแก้ปวดหลาย ๆ ชนิด ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากการทดลองนี้ จะมีความถูกต้องและเชื่อถือได้มาก ถ้าไม่เกิดความคลาดเคลื่อนจากการวัดหรือการวางแผนการทดลอง
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
24
ที่มา http://www.nsm.or.th/about-science-square-museum/education-science-squaremuseum/science-laboratory-nsm-science-square-2.html
2. วิธี เก็ บรวบรวมข้ อมูลทุ ติยภูมิ ซึ่ งส่ว นใหญ่มักจะอยู่ ในหนั งสื อ รายงาน บทความหรื อ เอกสารต่าง ๆ ควรดําเนินการดังต่อไปนี้ 1) พิ จ ารณาตั วบุ คคลผู้เ ขี ยนรายงาน บทความ หรื อเอกสารเหล่า นั้น เสีย ก่ อนว่า เป็น ผู้ มี ความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนถึงขั้นพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่ การเขียนอาศัยเหตุผลและหลัก วิชาการมากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่จะนํามาใช้ซึ่งรวบรวมจากรายงาน บทความ หรือเอกสารดังกล่าวควรใช้ ข้ อ มู ล ที่ ผู้ เ ขี ย นเก็ บ รวบรวมมาเองโดยตรง เช่ น ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการสํ า รวจหรื อ สํ า มะโน หากไม่ มี ความจําเป็นไม่ควรใช้ข้อมูลที่ผู้เขียนนํามาจากแหล่งข้อมูลอื่น เนื่องจากอาจมีการคลาดเคลื่อนจากข้อมูลที่ ควรจะเป็นจริงได้มาก 2) ถ้าข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมสามารถหาได้จากหลาย ๆ แหล่ง ควรเก็บรวบรวมมา จากหลาย ๆ แหล่งเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่าข้อมูลที่ต้องการมีความผิดพลาดเนื่องจากการลอกผิด พิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิดบ้างหรือไม่ นอกจากนี้ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลควรจะใช้ความรู้ความชํานาญของตนเอง เกี่ยวกับข้อมูลเรื่องนั้น ๆ มาพิจารณาว่าข้อมูลที่จะนํามาใช้นั้นน่าจะเป็นไปได้หรือไม่ เช่นจํานวนประชากร ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2546 ที่นําเสนออยู่ในรายงานฉบับหนึ่งเป็น 36 ล้านคน จํานวนดังกล่าวน่าจะ เป็นไปไม่ได้ ที่ถูกต้องควรจะเป็น 63 ล้านคน ความผิดพลาดดังกล่าว อาจเนื่องมาจากการคัดลอกของผู้ นําเสนอหรือการพิมพ์ก็ได้ กล่าวคือคัดลอกหรือพิมพ์เลขโดดกลับกัน 3) พิจารณาจากลักษณะของข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมว่าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียน ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติ ข้อมูลประเภทความลับ หรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบ อาจต้องเสียประโยชน์จากการตอบ ถ้าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียนหรือข้อมูลที่ เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้สูง แต่ถ้าเป็นข้อมูลประเภทความลับ หรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบอาจต้องเสียประโยชน์จากการตอบ ส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้น้อย 4) ถ้าข้อมูลทีเก็บรวบรวมได้มาจากการสํารวจจากกลุ่มตัวอย่าง หรือต้องผ่านขั้นตอนการ วิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติมาก่อน ควรจะต้องตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขนาด กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการวิเคราะห์ว่าเหมาะสมที่จะใช้หรือไม่
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
25
ปัญหาในการใช้ข้อมูล 1. ปัญหาในการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ไม่ทราบว่าจะใช้วิธีเลือกตัวอย่างหรือวิธีการวางแผนการทดลองแบบใดจึงจะเหมาะสม 2) ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร 3) ไม่ทราบว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรในกรณีข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่ครบถ้วนหรือ ขาดหายไปมากเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้ข้อมูล 2. ปัญหาในการใช้ข้อมูลทุติยภู มิ การใช้ข้อมู ลทุติย ภูมิมักจะมี ปัญหาเกี่ย วกับเรื่องต่ าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล 2) ความทันสมัยของข้อมูล 3) การขาดหายไปของข้อมูลบางรายการ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
26
บทที่ 4
แหล่งสารสนเทศ
ความหมายและประเภทของแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ (Information Sources) หมายถึง แหล่งที่มา แหล่งผลิต แหล่งเผยแพร่ และให้บริการสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นบุคคล สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ แยกประเภทตามที่มาและลําดับการผลิต แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 1. สารสนเทศปฐมภู มิ (Primary sources) หมายถึ ง สารสนเทศที่ เ รี ย บเรี ย งขึ้ น จาก ประสบการณ์ของผู้ เ ขีย น หรือเป็น ผลการค้ น คว้ า วิจั ย นํ าเสนอความรู้ใหม่ ๆ ได้แก่ รายงานการวิ จั ย วิทยานิพนธ์ เอกสารการปฏิบัติงาน รายงานการประชุมทางวิชาการ บทความวารสารวิชาการ เอกสาร สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐาน เอกสารจดหมายเหตุ 2. สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการนํา สารสนเทศปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ ได้แก่ หนังสือทั่วไป หนังสือตํารา หนังสือคู่มือการทํางาน รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ บทคัดย่อ งานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ วารสารสาระสังเขป เป็นต้น 3. สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของ สารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ ได้แก่ หนังสือนามานุกรม บรรณานุกรม และดัชนีวารสาร เป็นต้น แหล่งสารสนเทศมีความสําคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่า สารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริง มากกว่าสารสนเทศทุติยภูมิและสารสนเทศตติยภูมิ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
27
สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบั น บริ ก ารสารสนเทศ หมายถึ ง องค์ การที่ ได้ รั บ การจั ด ตั้ งขึ้ น เพื่ อทํ า หน้ า ที่ ให้ บ ริ การ สารสนเทศตามความต้ องของผู้ใช้ ซึ่งจํ าแนกได้ ห ลายประเภทตามขอบเขต หน้ าที่ และวั ตถุ ประสงค์ ได้แก่ (ชุติมา สัจจานันท์, 2531) 1. ห้องสมุดหรือหอสมุด (Library) ห้องสมุด เป็ น แหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศทั้งที่เ ป็ นวั สดุ ตีสิ่ งพิมพ์และวั สดุ ไม่ ตีพิมพ์ มี บ ริ การครอบคลุ มหลายด้ า น แต่ ส่ ว นใหญ่ เ น้ น บริ การด้ า นการอ่ า น บริ ก ารยื ม -คื น และบริ ก ารช่ ว ย การค้นคว้า ห้องสมุดจําแนกตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง แบ่งได้เป็น 5 ประเภทได้แก่ 1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (School library) จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ อํานวยความสะดวกด้านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน และ จัดบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสอนของครูอาจารย์ ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้รับการจัดให้เป็น ศูนย์สื่อการศึกษานอกเหนือจากการบริการด้านสื่อสิ่งพิมพ์
ที่มา ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
1.2 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึ กษา (Academic library) เน้นการให้บริการสารสนเทศ ครอบคลุ มทุ กสาขาวิช าที่มหาวิทยาลั ย หรื อสถาบั นต้ น สังกั ด เปิ ด ทํา การสอน เพื่อสนับ สนุ นการศึ กษา ค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์ ในปัจจุบันห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใช้ชื่อเรียกต่างกันไป เช่น สํานักหอสมุด สํานักบรรณสาร สํานักวิทยบริการ ศูนย์บรรณสาร และศูนย์สื่อการศึกษา เป็นต้น
สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มา https://www.ku.ac.th/web2012/index.php?c=adms&m=selcon_th&time=20120717111043
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
28
1.3 ห้องสมุดเฉพาะ (Special library) เน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องกับสถาบันต้นสังกัด มักสังกัดอยู่กับสมาคม หน่วยงานทางวิชาการ หรือสถาบันทางวิชาการ เฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุดธนาคาร ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ห้องสมุดสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น
ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ที่มา https://vajiramedlib.wordpress.com/about-2/history-and-aim/
1.4 ห้องสมุดประชาชน (Public library) เป็นห้องสมุดที่รัฐให้การสนับสนุน จัดตั้งขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทุกระดับอายุและระดับการศึกษา ทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมที่จัดขึ้นมุ่งที่ประโยชน์ของประชาชน ห้องสมุดประชาชนมีให้บริการ ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ
ห้องสมุดประชาชน สวนลุมพินี ที่มา http://the-library4you.blogspot.com/p/blog-page_4966.html
1.5 หอสมุดแห่งชาติ (National library) เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและบํารุงรักษาทรัพยากร สารสนเทศของชาติ ทั้งที่ เ ป็น หนั งสื อต้ น ฉบั บ ตั วเขี ย น เอกสารโบราณและจารึ ก สื่ อสิ่ งพิ มพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในประเทศและต่างประเทศ ให้บริการการอ่าน ศึกษาค้นคว้า และวิจัยแก่ประชาชนเพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย หอสมุดแห่งชาติทําหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์กําหนด เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN) และเลข มาตรฐานสากลประจําวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN) ศูนย์กําหนด รายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศ ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ใน ระดับชาติและนานาชาติ ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ขององค์กรสหประชาชาติ และจัดทําบรรณานุกรมแห่งชาติ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
29
หอสมุด แห่ งชาติ ปัจ จุบั นตั้ งอยู่ที่ท่าวาสุ กรี ถนนสามเสน เขตดุ สิต กรุงเทพมหานคร สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และมีสาขาให้บริการในต่างจังหวัด
หอสมุดแห่งชาติ ที่มา http://www.museumthailand.com/th/museum/National-Library-of-Thailand
2. ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร (Information center or documentation center) ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารเป็นหน่ วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้า น แก่ผู้ใช้ เฉพาะกลุ่มสาขาวิ ชาหรื อสาขาวิชาชีพ เช่น นั กวิทยาศาสตร์ นักวิจัย มีลักษณะคล้ ายห้องสมุด เฉพาะ ให้ข้อมูลที่จัดทําขึ้นโดยศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารนั้น เช่น ข้อมูลสถิติ ตัวเลข รายงานการวิจัย สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา 3. ศูนย์ข้อมูล (Data center) ศูนย์ข้อมูลทําหน้าที่รับผิดชอบการผลิตหรือรวบรวมข้อมูล ตัวเลข จัดระบบและเผยแพร่สู่ ผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย มักเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน เช่น ศูนย์ข้อมูลธนาคารกรุงเทพ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ หลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย สังกัดสํานักงาน พลังงานแห่งชาติ เป็นต้น 4. หน่วยงานทะเบียนสถิติ (Statistical office) หน่วยทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน และ รวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะ ภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยเวชระเบียนของโรงพยาบาลต่าง ๆ กองการทะเบียนของกรมการปกครอง ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ และสํานักงานสถิติแห่งชาติ เป็นต้น 5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information analysis center) ศู น ย์ วิ เ คราะห์ ส ารสนเทศให้ บ ริ ก ารสารสนเทศเฉพาะสาขาวิ ช า โดยนํ า มาคั ด เลื อ ก วิเคราะห์ สรุปย่อและจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล ใบข้อมูล (sheet) และปริทัศน์ (review) เพื่อใช้ใน การตอบคําถามและจัดส่งให้กับผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทันสมัย เนื่องจากกระบวนการทํางาน ของศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงต้องมีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จึงมักประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการ ตัวอย่างของ ศูนย์ วิเคราะห์สารสนเทศ เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
30
6. ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (Information clearing house) ศู น ย์ ป ระมวลและแจกจ่ า ยสารสนเทศทํ า หน้ า ที่ ใ ห้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ในการเข้ า ถึ ง แหล่ ง สารสนเทศ แนะนําแหล่งสารสนเทศ (Referral service) ที่เหมาะสม หรือทําหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวม ทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ต้องการ โดยการจัดทําสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม ดัชนี และสาระสังเขป และรายชื่อเอกสารที่ศูนย์ทําหน้าที่ประสานการแจกจ่าย ได้แก่ ห้องสมุดยูเนสโก หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ (British Library) หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) และ หอสมุดแห่งชาติของไทย เป็นต้น 7. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (referral centers) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ ทําหน้าที่รวบรวมแหล่งข้อมูลและแหล่งสารสนเทศ โดยจัดทํา เป็นคู่มือ หรือรายการบรรณานุกรมและดัชนี เพื่อให้คําแนะนําแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมตามที่ ผู้ ใ ช้ ต้ อ งการ ส่ ว นใหญ่ จ ะแนะแหล่ ง สารสนเทศเฉพาะสาขาวิ ช า เช่ น ศู น ย์ แ นะแหล่ ง สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ หอสมุด รั ฐ สภาอเมริ กัน ศู น ย์ แนะแหล่ งสารสนเทศสิ่ งแวดล้ อม นานาชาติ เป็นต้น (ศรีสุภา นาคธน, 2548) 8. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archive) หน่วยงานจดหมายเหตุ ทํ าหน้า ที่รวบรวมและอนุรั กษ์เอกสารราชการ และเอกสารทาง ประวั ติ ศ าสตร์ ได้ แ ก่ คํ า สั่ ง ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ บั น ทึ ก หนั ง สื อ โต้ ต อบ รายงาน แผนที่ ภาพถ่ า ย แบบแปลน เพื่อเป็นหลักฐานการดําเนินงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทั้ง เพื่อการปฏิบัติงานและค้นคว้าทางวิชาการ ตัวอย่างเช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วน ภูมิภาคและท้องถิ่น หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย และหอ จดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นต้น 9. เครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information services network) เครือข่ายบริการสารสนเทศเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันบริการสารสนเทศ เพื่ อเพิ่ มประสิ ทธิภ าพในการดํ า เนิน งานด้ า นการบริการทางบรรณานุ กรม ได้ แก่ การทํ า บัต รรายการ การพัฒนาทรัพยากร การยืมระหว่างห้องสมุด และการบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครือข่าย ยูนิเน็ต (UniNet) สรุปได้ว่า แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งที่ให้บริการสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นบุคคล สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ ประเภทแหล่งสารสนเทศแบ่งตามลําดับการผลิตได้เป็น 3 ประเภทคือ สารสนเทศปฐมภูมิ สารสนเทศทุติยภูมิ สารสนเทศตติยภูมิ ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจาก แหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศ ในลํ าดั บรอง ปัจจุ บัน สถาบัน หลายแห่ งได้ร่ว มกั นเป็น เครือข่า ยบริการสารสนเทศ โดยเน้น การใช้ ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน เพื่อลดต้นทุนการดําเนินงาน และให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
31
คําถามท้ายบท 1. แหล่งสารสนเทศมีกี่ประเภท อะไรบ้างจงอธิบาย 2. ห้องสมุดแบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง แต่ละประเภทมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ต่างกันอย่างไร 3. บริการสารสนเทศที่มีความสําคัญและมีประโยชนต่อการศึกษาค้นคว้า มีอะไรบ้าง จงอธิบายมาอย่างน้อย 5 บริการ 4. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทใด และรวบรวมอะไรบ้าง 5. หนังสือที่รวบรวมความรู้และข้อเท็จจริงสั้นๆ เพื่อค้นคว้าอ้างอิงเฉพาะด้าน เรียกว่า 6. นักเรียนจงยกตัวอย่างวัสดุย่อส่วน มี 5 ชนิด 7. ซากศพ เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด
คําถามท้ายบท
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
32
บทที่ 5
ทรัพยากรสารสนเทศ
ความหมายและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อหรือวัสดุที่ใช้เก็บบันทึกสารสนเทศ เราใช้วัสดุหลายรูปแบบ ในการบันทึก ทั้งนี้เนื่องจากสารสนเทศมีทั้งตัวอักษร ข้อความ รูปภาพ และเสียง ซึ่งอาจจัดกลุ่มทรัพยากร สารสนเทศได้เป็น 3 ประเภทคือ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม, 2549) 1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed materials) 2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-printed material) 3. ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic database)
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
33
1. วัสดุตีพิมพ์ วัสดุตีพิมพ์ หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพและสัญลักษณ์ อื่น ๆ โดยผ่านกระบวนการตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ กฤตภาค เป็นต้น วัสดุตีพิมพ์ จัดแยกประเภทตามลักษณะรูปเล่มและวัตถุประสงค์ในการจัดทําได้ดังนี้ 1.1 หนังสือ หนั งสื อเป็น สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมสารสนเทศทั้ งทางด้า นวิ ช าการ สารคดี และบั นเทิงคดี ให้เนื้อหาที่จบบริบูรณ์ในเล่มเดียวหรือหลายเล่มที่ เรียกว่า หนังสือชุด ประเภทของหนังสือจัดแยกตาม ลักษณะเนื้อหา ได้ดังนี้ 1) หนั ง สื อวิ ช าการหรื อ หนั งสื อ ตํ า รา (Text book) หมายถึง หนังสือที่ให้ความรู้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยผู้ แต่งที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา การนําเสนอเนื้อหา มักใช้คําศัพท์เฉพาะทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง มีภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิ แผนที่ แผนผัง เพื่อการอธิบายเรื่องราวให้ งราว ละเอียดชัดเจน 2) หนังสือสารคดี หมายถึง หนังสือที่นําเสนอ เรื่องราวกึ่งวิชาการเพื่อความเพลิดเพลินในการอ่าน และหลีกเลี่ยง การใช้ คํ า ศั พ ท์ เ ฉพาะทางวิ ช าการเพื่ อ ให้ เ ข้ า ใจเนื้ อ หาสาระได้ โดยง่าย เช่น หนังสือนําเที่ยว หนังสือสรรพสาระ (Reader Dijet) เป็นต้น 3) หนังสือแบบเรียน หมายถึ ง หนั ง สื อ ที่ จั ด ทํ า ขึ้ น ตามหลั ก สู ต ร รายวิชาเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนของนักเรียนนักศึกษาใน ระดับต่าง ๆ นําเสนอเนื้อหาตามข้อกําหนดในหลักสูตร ต่างจาก หนังสือตําราทั่วไปที่มีคําถามท้ายบทเพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินผล การเรียนและทบทวนบทเรียน 4) ห นั ง สื อ อ้ า ง อิ ง ( Reference books) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมเรื่องราวข้อเท็จจริงในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ การศึ ก ษาค้ น คว้ า เช่ น หนั ง สื อ สารานุ ก รม พจนานุกรม นามานุกรม หนังสืออ้างอิงชีวประวัติ หนังสืออ้างอิง ภูมิศาสตร์ หนังสือรายปี หนังสือบรรณานุกรม หนังสือดัชนีและ สาระสังเขป และหนังสือคู่มือ เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
34
5) วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ (Thesis or dissertation) เป็นรายงานผลการ ค้นคว้าวิจัยเพื่อขอรับปริญญาตามหลักสูตรในระดับปริญญาโท (Thesis) และปริญญาเอก (Dissertation) เนื่องจากเป็นรายงานผลการค้นพบสาระความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ได้จากการสํารวจ ทดลอง วิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบภายใต้การให้คําปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ต่าง ๆ จึงเหมาะสําหรับการใช้เป็นข้อมูลประกอบการเขียนเอกสารตําราวิชาการ หรือรายงานภาคนิพนธ์ 6) รายงานการวิจัย (Research report) เสนอ สารสนเทศที่ เ ป็ น ผลผลิ ต จากการศึ ก ษาค้ น คว้ า วิ จั ย เนื้ อ หามั ก ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ข้อความเกี่ยวกับ ผู้เขียน สาระสังเขป บทนํา วัตถุประสงค์ ขอบเขต และวิธีดําเนินการวิจัย ผลการวิจัย บทสรุป และ รายการอ้างอิง 7) รายงานการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ให้สารสนเทศที่ได้จากการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเป็นข้อสรุปในการแก้ปัญหา ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ค้นพบ หรือข้อตกลงในแผนงานหรือนโยบายใหม่ ที่นักวิชาการนําเสนอในการประชุม ทางวิชาการหรือวิชาชีพ 8) นวนิ ย ายและเรื่ อ งสั้ น (Short story collection) เป็ น หนั ง สื อ ที่ แ ต่ ง ขึ้ น ตาม จินตนาการ เน้นความสนุกความเพลิดเพลิน และความซาบซึ้งในอรรถรสวรรณกรรม สารสนเทศจาก นวนิยายนํามาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงข้อเท็จจริงไม่ได้ 1.2 วารสารและนิตยสาร วารสารและนิตยสารมาจากคําในภาษาอังกฤษ 3 คํา คือ Magazine, Journal และ Periodical มีความหมายแตกต่างกันตามลักษณะเนื้อหาที่นําเสนอ Magazine หรือเรียกว่า “นิตยสาร” มักจะเน้นเนื้อหาทางด้านบันเทิงคดี Journal หรือเรียกว่า “วารสาร” จะเน้นเนื้อหาทางวิชาการ ส่วนคํา ว่ า Periodical หมายถึ ง สิ่ ง พิ ม พ์ ที่ อ อกเป็ น วาระ มี ค วามหมายรวมทั้ ง Magazine และ Journal เช่นเดียวกับคําว่า “วารสาร” ในภาษาไทยที่มีความหมายรวมถึงสิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นวาระ มีความหมาย รวมทั้งนิตยสารและวารสาร วารสารเป็ น สิ่ งพิ มพ์ ที่ ออกตามกํ า หนดระยะเวลาอย่ า งสม่ํ า เสมอ เช่ น รายสั ป ดาห์ รายปักษ์ (สองสัปดาห์) หรือรายเดือน ให้สารสนเทศในรูปแบบ “บทความ” จากผู้แต่งหลายคน เนื้อหา สาระอาจเป็นเรื่องในสาขาวิชาเดียวกัน หรือรวมเรื่อง ซึ่งอาจแบ่งประเภทวารสารตามลักษณะเนื้อหาเป็น 3 ประเภท คือ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
35
1) วารสารวิชาการ (Journals or periodicals) เช่น ราชภัฏกรุงเก่า/ จุฬาลงกรณ์ รีวิว/ วารสารวิจัย/ วารสารราชบัณฑิตยสถาน/ พัฒนาชุมชน/ วารสารกฎหมายเพื่อชีวิต/ Journal of Science, Technology and Humanities/ Journal of Teacher Education / Educational Research/ ASEAN Journal on Science เป็นต้น
2) วารสารทั่ ว ไปหรื อ นิ ต ยสาร (Magazine) เช่ น เที่ ย วรอบโลก / สารคดี / สมุนไพรเพื่อชีวิต/ รักลูก/ สกุลไทย/ หญิงไทย/ สร้างเงินสร้างงาน/ สานแสงอรุณ/ ไฮ-คลาส/ ต่วย’ตูนพิเศษ/ National Geographic/ Discover/ Reader’s Digest เป็นต้น 3) วารสารข่ า วหรื อวิ จ ารณ์ ข่ า ว (News magazine) เช่ น มติ ช นสุ ด สั ป ดาห์ / สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์/ เอกสารข่าวรัฐสภา/ Time/ Newsweek/ AsiaNews 1.3 หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ (newspaper) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกตามระยะเวลาที่กําหนด อาจเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายปักษ์ แต่ส่วนใหญ่จะพิมพ์เผยแพร่เป็นรายวัน
1.4 จุลสาร จุลสาร (pamphlets) คือสิ่งพิมพ์ที่มีขนาดเล็ก ปกอ่อน ความหนาอยู่ระหว่าง 2 – 60 หน้า เป็นสิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานราชการ องค์การ บริษัท ห้างร้าน สถาบัน สมาคมและหน่วยงานต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแพร่เรื่องราว ความรู้สั้น ๆ เนื้อหาทันสมัย อ่านเข้าใจง่าย แม้จะให้รายละเอียดไม่มากนัก แต่ใช้สําหรับค้นคว้าเพิ่มเติมและอ้างอิงได้
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
36
1.5 กฤตภาค กฤตภาค (clipping) เป็นวัสดุตีพิมพ์ที่เกิดจากการเลือกและจัดเก็บ บทความที่น่าสนใจ จากหนังสือพิมพ์หรือวารสารฉบับล่วงเวลา ซึ่งอาจเป็นข่าว บทความวิชาการหรือรูปภาพ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้ 1.6 สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ สิ่งพิ มพ์ ลั กษณะพิ เ ศษ หมายถึ ง สิ่ งพิ มพ์ ที่มีความพิ เศษที่ แตกต่า งจากสิ่ งพิ มพ์ ทั่ว ไป ทางด้ า นลั กษณะรู ป ทรง วั ส ดุ ที่ใช้ ในการบั น ทึ ก และการนํ า เสนอเนื้ อหาสารสนเทศในลั กษณะพิ เ ศษ เฉพาะเจาะจง สิ่ งพิ มพ์ ลั กษณะพิ เศษที่ จัดให้ บ ริการในห้ องสมุ ด และสถาบัน บริ การสารสนเทศ ได้ แก่ เอกสารสิทธิบัตร (patents) เอกสารมาตรฐาน (Standards) แผนภูมิ (charts) แผนภาพ (diagrams) แผนที่ (maps) 2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่บันทึกไว้ในสื่อที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการตีพิมพ์ มีหลายประเภทดังนี้ (ศรีสุภา นาคธน, 2548) 2.1 ต้นฉบับตัวเขียน ต้ น ฉบั บ ตั ว เขี ย น (Manuscript) คื อ ทรั พ ยากรสารสนเทศที่ จั ด ทํ า ขึ้ น โดยใช้ ลายมือเขียน ได้แก่ หนังสือที่จัดทําในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการพิมพ์ โดยการใช้จาร หรือสลักลงบนวัสดุ ต่าง ๆ เช่น สมุดข่อย ใบลาน แผ่นปาปิรัส (papyrus) แผ่นดินเหนียว แผ่นหนังสัตว์ ศิลาจารึก เป็นต้น
2.2 โสตวัสดุ โสตวัสดุ (Audio materials) คือ วัสดุสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอด สารสนเทศ เช่น แผ่นเสียง (Phonodiscs) แถบบันทึกเสียงหรือเทปบันทึกเสียง (Phonotape) แผ่นซีดี (compact discs)
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
37
2.3 ทัศนวัสดุ ทัศนวัสดุ (Visual materials) คือ วัสดุสารสนเทศที่ต้องใช้สายตาเป็นสื่อในการรับรู้ สารสนเทศโดยการมองดู อาจดูโดยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สําหรับฉายประกอบ เช่น รูปภาพ (Picture) ลูกโลก (Globe) ภาพเลื่อน หรือฟิล์มสตริป (Filmstrips) ภาพนิ่ง หรือสไลด์ (Slides) แผ่นภาพ โปร่งใส (Transparencies) หุ่นจําลอง (Model) ของจริง (Realia)
2.4 โสตทัศนวัสดุ โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ถ่ายทอดโดยการใช้ทั้ง ภาพและเสี ย งประกอบกั น เช่ น ภาพยนตร์ (Motion pictures) สไลด์ ป ระกอบเสี ย ง (Slide multivisions) วีดิทัศน์หรือเทปบันทึกภาพ (Videotapes)
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
38
2.5 วัสดุย่อส่วน วัสดุย่อส่วน (Microforms) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ใช้เทคนิคการถ่ายภาพย่อส่วนจากของ จริ งลงบนแผ่ นฟิ ล์มหรือวัส ดุ ที่ใช้บั นทึ กภาพ ประโยชน์ ที่ได้ คือ เพื่ อประหยั ด เนื้ อที่ ในการจัด เก็บ เมื่ อ ต้องการใช้สารสนเทศ จะต้องนําฟิล์มย่อส่วนนั้นมาเข้าเครื่องอ่าน จึงจะสามารถอ่านได้ และถ้าต้องการทํา สําเนาเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ ต้องมีเครื่องพิมพ์หรือเครื่องทําสําเนาภาพจากวัสดุย่อส่วนด้วย สามารถแบ่ง ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้อีก ได้แก่ ไมโครฟิล์ม (Microfilms) ไมโครฟิช (Microfiches) ไมโครบุค (Microbook) อุลตราฟิช (Ultrafiche) ไมโครโอเพค (Micro-opague) 2.6 วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่จัดเก็บสารสนเทศใน รูปอักษร ภาพ และเสียงไว้โดยการแปลงสารสนเทศให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีเครื่องมือ สําหรับจัดเก็บและแสดงผลออกมา โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง อีก ครั้งหนึ่ง เช่น เทปแม่เหล็ก (Magnetic tape) จานแม่เหล็ก/แผ่นดิสเก็ต (Disket) แผ่นจานแสง (Optical disc) 3. ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมู ลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สารสนเทศที่จัด เก็บไว้ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยมี ชุดคําสั่งระบบจัดการฐานข้อมูล ทําหน้าที่ควบคุมการจัดการและการใช้ฐานข้อมูล ประเภทของฐานข้อมูลแบ่งตามลักษณะการใช้งานแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ฐานข้อมูลออฟไลน์ และฐานข้อมูลออนไลน์ แบ่งตามเนื้อหาสารสนเทศที่ให้บริการแบ่งได้เป็น ฐานข้อมูลบรรณานุกรม และ ฐานข้อมูลฉบับเต็ม ประเภทของฐานข้อมูลแบ่งตามลักษณะการใช้งานแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ฐานข้ อ มู ล ออฟไลน์ (Offline Database) หมายถึ ง ฐานข้ อ มู ล ที่ จั ด เก็ บ สารสนเทศไว้ ในสื่ ออิ เ ล็ กทรอนิ กส์ ต่ า ง ๆ เช่ น ซี ดี ร อม (CD-ROM) การปรั บ ปรุ งและการเรี ย กใช้ งาน ฐานข้อมูลไม่สามารถทําได้ตลอดเวลา 2) ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) หมายถึง ฐานข้อมูลที่ให้บริการผ่านทาง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ผู้จัดการฐานข้อมูลสามารถปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัยและผู้ใช้สามารถ เข้าถึงได้ตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันจะให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ประเภทของฐานข้อมูลแบ่งตามเนื้อหาสารสนเทศที่ให้บริการแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ฐานข้อมูลบรรณานุกรม หมายถึง ฐานข้อมูลที่ให้สารสนเทศทางบรรณานุกรม เช่น ชื่อผูแต่ง ชื่อเรื่อง แหล่งผลิต และอาจมีสาระสังเขป เพื่อแนะนําผู้ค้นคว้าให้ไปอ่านรายละเอียดจาก ต้นฉบับจริง ได้แก่ ฐานข้อมูลโอแพค (OPAC) ของห้องสมุดฐานข้อมูล TIAC ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและ สาระสังเขปของวิทยานิพนธ์ไทย ฐานข้อมูล DAO ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปของวิทยานิพนธ์ ต่างประเทศ หรือฐานข้อมูล ERIC ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปของหนังสือและบทความจาก วารสารด้านการศึกษา เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
39
2) ฐานข้อมูลเนื้อหาฉบับเต็ม หมายถึง ฐานข้อมูลที่ให้สารสนเทศครบถ้วนเช่นเดียว เหมือนต้นฉบับ เช่น ฐานข้อมูล IEEE/IEE และ ACM เป็นฐานข้อมูลฉบับเต็มของบทความจากวารสาร นิ ต ยสาร รายงานการประชุ ม ความก้ า วหน้ า ทางสาขาวิ ช าวิ ศ วกรรมไฟฟ้ า และอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เราสามารถเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ โดยมีหลักในการ พิจารณาดังนี้ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549) 1. มีความสอดคล้องกับเนื้อหาสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการสารสนเทศเฉพาะวิชา ควรเลือกใช้ทรั พยากรสารสนเทศประเภทหนังสืออ้างอิง ตํ าราและวารสารวิชาการ มากกว่าประเภท หนั ง สื อ ทั่ ว ไปและนิ ต ยสาร หากต้ อ งการสารสนเทศที่ แ สดงความสั ม พั น ธ์ ข องเรื่ อ งราวอย่ า งชั ด เจน ควรเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นภาพเคลื่อนไหวเช่น วีดิทัศน์ วีซีดีหรือ ดีวีดี เป็นต้น หากต้องการ ฟังการบรรยาย เพลง ดนตรี ควรเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีบันทึกเสียง เช่น เทป ซีดี หรือ วีซีดี เป็นต้น 2. การพิ จ ารณาความน่ า เชื่ อ ถื อ ในตั ว ทรั พ ยากร ผู้ เ รี ย นจะต้ อ งพิ จ ารณาจากชื่ อ เสี ย ง ประสบการณ์หรือคุณวุฒิของผู้แต่ง สํานักพิมพ์หรือผู้ผลิตทรัพยากรสารสนเทศด้วย เช่น หนังสืออ้างอิงจะ มีความน่ าเชื่ อถือมากกว่ าหนั งสื อทั่ วไป เพราะเขีย นและรวบรวมโดยผู้ ทรงคุ ณวุฒิ ห รือผู้ เ ชี่ย วชาญใน สาขาวิชา 3. ความสะดวกในการใช้งาน ทรัพยากรประเภทตีพิมพ์จะสามารถนํามาใช้งานได้ง่ายกว่า ทรัพยากรประเภทไม่ตีพิมพ์ หรือทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสามารถใช้งานได้ทันที ไม่จําเป็นต้องใช้ อุปกรณ์ในการแสดงผลเหมือนกับทรัพยากรประเภทไม่ตีพิมพ์หรือ ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ 4. ความทันสมัยของเนื้อหา เช่น หากผู้เรียนต้องการสารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์แล้ว ก็ สมควรเลือกพิจารณาสารสนเทศที่ได้จากทรัพยากรประเภทอินเทอร์เน็ต เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทําให้ ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา หรือเลือกใช้ทรัพยากรตีพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ที่มีการให้ข้อมูลที่กําลังเป็นที่ น่าสนใจและได้รับความสนใจในปัจจุบัน สรุปได้ว่า ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้ในสื่อต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอด สารสนเทศสู่ผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้บริการสารสนเทศต้อง เลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศให้เหมาะสมจะสามารถประหยัดเวลาในการศึกษาและจะได้ข้อมูลตรงตาม ความต้องการ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
40
บทที่ 6
การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
รูปแบบการสืบค้น รูปแบบการสืบค้น เสิร์ชเอนจิน (Search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วย ในการสื บ ค้ น หาข้ อ มู ล โดยเฉพาะข้ อ มู ล บนอิ น เทอร์ เ น็ ต โดยครอบคลุ ม ทั้ ง ข้ อ ความ รู ป ภาพ ภาพเคลื่ อนไหว เพลง ซอฟต์ แวร์ แผนที่ ข้ อมู ล บุ คคล กลุ่ มข่ าว และอื่ น ๆ ซึ่ งแตกต่ า งกั น ไปแล้ ว แต่ โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคําสําคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ ป้อนเข้าไป จากนั้นจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบันเสิร์ชเอนจิน บางตั ว เช่ น กูเ กิ ล จะบั น ทึ กประวั ติ การค้ น หาและการเลื อกผลลั พธ์ ของผู้ใช้ ไว้ ด้ว ย และจะนํ าประวั ติ ที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
ระดับการค้นหาข้อมูล (Search Engine) แบ่งออกเป็น 2 ระดับ 1. ระดับ Basic Search คือ เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งมีรูปแบบ การค้นหาข้อมูลและฟังก์ชั่นในการค้นหาข้อมูลแบบง่าย 2. ระดับ Advance Search คือ เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งช่วย ในการจํากัดขอบเขตในการค้นหาข้อมูล จะมีส่วนช่วยในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะช่วยทําให้ นักเรียนได้รายชื่อเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของนักเรียนมากขึ้น
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
41
ระดับ Basic Search เป็นการค้นหาข้อมูลอย่างง่ายไม่มีฟังก์ชั่นในการค้นหาที่สลับซับซ้อนมาก เหมาะสําหรับผู้ที่ เริ่มต้นใช้ ซึ่งการค้นหาข้อมูลแต่ละเว็บไซต์ รวมถึงรายละเอียดในการค้นหาข้อมูลนั้นแตกต่างกัน แต่ในที่นี้ ของหยิบยก Search Engine ของ Google มาอธิบาย เพราะเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิ บความนิยมที่สุดในการ ค้นหาข้อมูล
บริการของ Google มีดังต่อไปนี้ 1. บริการค้นหาเว็บไซต์ คือ การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆ โดยการใส่ข้อความ 2. บริการค้นหารูปภาพ คือ การค้นหาไฟล์รูปภาพในเว็บไซต์ 3. บริการค้นหากลุ่มข่าว คือ การค้นหากลุ่มข่าวที่ต้องการในเว็บไซต์ 4. บริการค้นหาสารบนเว็บ คือ การจัดหมวดหมู่ข้อมูลของ Google หรือการจัดให้เป็น Directory นั่นเอง ซึ่งมีการจัดแยกโดยอาศัยแรงงานคนในการจัดแยก วิธีการค้นหาข้อมูล โดยใช้ Google.co.th 1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google.co.th 2. นึกถึงคําที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการ เช่น ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ก็ต้อง นึกคําว่า health fitness ปัญหาสุขภาพ การออกกําลังกาย เป็นต้น 3. พิมพ์คําที่คิดว่าเกี่ยวข้องในที่นี้ คือ คําว่า “การออกกําลังกาย”
4. คลิกที กที่ปุ่ม ค้นหา หรือ กด Enter เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ค้นหาข้อมูล 5. ผลของการค้นหาจะปรากฏเว็บเพจที่เกี่ยวกับคําว่า “การออกกํ การออกกําลังกาย” กาย ออกมา
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
42
6. คลิกเลือกเว็บเพจที่ต้องการ ระดับ Advance Search คือ เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งช่วยในการจํากัดขอบเขตในการค้นหา ข้อมูล จะมีส่วนช่วยในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะช่วยทําให้นักเรียนได้รายชื่อเว็บไซต์ที่ตรงกับ ความต้องการของนักเรียนมากขึ้น มีหลักการง่ายๆ ดังนี้ 1. การบีบประเด็นให้แคบลง หรือหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาให้แคบลง เช่น นักเรียน ต้องการข้อมูลของการเต้นแอโรบิกนักเรียนลองใช้คําว่า “การออกกําลังกาย”
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
43
หลังจากนั้นสมมติว่านักเรียนนึกคําอื่นที่จะค้นหาได้ ในที่นี้สมมติว่านักเรียนนึกคําว่า “แอโรบิก” ได้ หลักจากนั้นนักเรียนก็ลองพิมพ์คําว่า “แอโรบิก” ต่อท้ายคําว่า “การออกกําลังกาย”
2. หลีกเลี่ยงการใช้คํา ข้อความ หรือวลีที่ยาวเกินไป เมื่ อนั ก เรี ย นค้ น หาข้ อ มู ล นั ก เรี ย นคงเคยเจอ ที่ นั กเรี ย นค้ น หาข้ อมู ล แล้ ว ไม่ เ จอ เนื่องจากสาเหตุหลายประการ โดยหนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การใช้คําสําคัญที่ยาวเกินไป สมมติว่านักเรียน ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ “เครือข่ายคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีที่จําเป็นสําหรับระบบสํานักงานอัตโนมัติ” แต่เซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้ เนื่องจากข้อความที่ใช้ในการค้นหายาวเกินไป ฉะนั้นนักเรียนก็ลอง เปลี่ยนมาใช้คําค้นว่า คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี 3. การใช้เงื่อนไข AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคําสําคัญที่อยู่ติดกับคําว่า AND ทั้ง 2 คํา เช่น “คอมพิวเตอร์” AND “เทคโนโลยี” หมายความว่าให้ค้นหาคําที่มีคําว่า คอมพิวเตอร์ และคํา ว่า เทคโนโลยี ทั้ง 2 คําอยู่ในเอกสารเดียวกัน 4. การใช้เงื่อนไข OR ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคําสําคัญตัวใดตัวหนึ่งที่ติดอยู่กับคําว่า OR เช่น “คอมพิวเตอร์” OR “เทคโนโลยี” หมายความว่าให้ค้นหาคําที่มีคําว่า คอมพิวเตอร์ หรือ เทคโนโลยี คําใดคําหนึ่งก็ได้ หรือ ค้นหาทั้ง 2 คํา ซึ่งทั้ง 2 คําจะอยู่หน้าเดียวกัน หรือมีเพียงคําใดคําหนึ่ง ในแต่ละหน้าก็ได้
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
44
5. การใช้เงื่อนไข NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคําสําคัญที่อยู่หน้าคําว่า NOT แต่ไม่ ต้องการค้นหาคําที่อยู่หลังคําว่า NOT เช่น “คอมพิวเตอร์” NOT “เทคโนโลยี” หมายความว่า ให้ค้นหา ข้อมูลที่มีคําว่า คอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีคําว่า เทคโนโลยี อยู่ด้วย 6. การใช้เครื่องหมาย +, - ช่วยในการค้นหา โดย + คือ การใช้กับ คําที่นั กเรี ยนต้ องการให้ ปรากฏอยู่ บนหน้าจอ และ คือ การใช้กับคําที่นักเรียนไม่ต้องการให้ปรากฏอยู่บนหน้าจอ ตัวอย่างเช่น ถ้านักเรียนต้องการให้ Office ปรากฏบนหน้าจอ แต่ไม่ต้องการให้ 97 ปรากฏบนหน้าจอ ให้นักเรียนใช้คําว่า +office-97 7. ใช้หาคําศัพท์ โดยการใช้รูปแบบคําสั่ง ดังนี้ define : ตามด้วยศัพท์ที่ต้องการ เช่น ต้องการรู้ความหมายของคําว่า boy ให้ นักเรียนใช้คําว่า define:boy ค้นหาข้อมูลมีข้อแม้ว่า ไม่สามารถหาคําศัพท์ และ คําแปลที่เป็นภาษาไทย ได้ 8. ใช้ในการคํานวณคณิตศาสตร์ คุณสามารถป้อนตัวเลขและเครื่องหมาย + - * / เพื่อใช้ในการคํานวณได้ เครื่องหมายดําเนินการ + * / ^ % % of Sqrt
ความหมาย บวก ลบ คูณ หาร ยกกําลัง หารเอาเศษ เปอร์เซ็นต์ รากที่ 2
ตัวอย่าง 3+44=47 13-2=11 5*8=40 12/6=2 8^2=64 8%7=1 20% of 150=30 sqrt(9)=3
คําถามท้ายบท
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
45
บทที่ 7
การประเมินสารสนเทศ
การประเมินสารสนเทศได้อย่างมีวิจารญาณ สามารถสรุป แนวคิด ความสําคัญจากสารสนเทศ ที่ ร วบรวม โดยใช้ เ กณฑ์ การประเมิ น สารสนเทศและแหล่ งสารสนเทศ ได้ แก่ ความน่ า เชื่ อถื อ ความ เที่ยงตรงความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิด ใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่า อะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคื อสิ่ งที่ คล้ อยตามกั น และตั ด สิ น ใจเลื อกรั บ สารสนเทศที่ นํ า เสนอไว้ อย่ า งหลากหลาย โดย การพิจารณาทบทวนถึงเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจํา คาดการณ์โดยยังไม่คล้อยตามสารสนเทศที่นําเสนอ เรื่ อ งนั้ น ๆ แต่ ต้ อ งพิ จ ารณาใคร่ ารณา คร่ ค รวญ ไตร่ ต รองด้ ว ยความรอบคอบและมี เ หตุ ผ ลว่ า สิ่ ง ใดสํ า คั ญ ก่อนตัดสินใจนําไปใช้
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ (เอกภพ อินทรภู่, 2558, หน้า 72) 72 1. มีความน่าเชื่อถือ เป็นสารสนเทศที่ได้จากผู้แต่งหรือแหล่งที่เชื่อถือได้ 2. มีความถูกต้อง เป็นสารสนเทศที่ให้ข้อเท็จจริง ไม่มีความผิดพลาด 3. เข้าถึงได้ง่าย เป็นสารสนเทศที่มีรูปแบบเหมาะสม เรียกใช้ได้ง่าย 4. มีความชัดเจน เนื้อหาไม่คลุมเครือ 5. มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ให้เนื้อหาสําคัญอย่างครบถ้วน 6. ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 7. ทันเวลา หรือทันต่อความต้องการของผู้ใช้ 8. มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน (Up to Date) 9. สามารถพิสูจน์ได้ มีหลักฐานอ้างอิงตรวจสอบได้ ต ว่ามีความถูกต้อง
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
46
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ คุ ณ ภาพของสารสนเทศนั้ น นอกจากจะขึ้ น อยู่ กับ ความต้ อ งการของแต่ ล ะบุ ค คลแล้ ว ยั ง มี หลักการประเมินประกอบการพิจารณา ดังนี้ 1. ความเกี่ยวข้อง (Relevance) เป็นการพิจารณาว่าสารสนเทศที่ได้รับนั้นมีความเกี่ยวข้อง ความเหมาะสม ความเกี่ยวพันกัน หรือตรงกับหัวข้อที่ต้องการหรือไม่ โดยพิจารณาจากขอบเขตความ ต้องการของตนเองว่าต้องการสารสนเทศประเภทใด เช่น บทความ หนังสือ เว็บไซต์ หรือสื่อประเภทอื่น ๆ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด แล้วสารสนเทศที่ค้นได้นั้น ให้ข้อมูลตรงตามนั้นหรือไม่ มีการยกตัวอย่างหรือ ให้ข้อมูลที่สนับสนุนเรื่องที่ต้องการหรือไม่ มีจุดเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ กรณีสืบค้นรายการ ทางบรรณานุ กรมในการเลื อกรายการนั้ น จะต้ อ งพิ จ ารณาจากชื่ อ เรื่ อ งและคํ า สํ า คั ญ ว่ า ตรงกั บ เรื่ อ ง ที่ต้องการหรือไม่เป็นลําดับแรก 2. ความถูกต้อง (Accuracy) เป็นการตรวจสอบเนื้อหาของสารสนเทศที่ได้ว่ามีความถูกต้อง หรือไม่โดยพิจารณาว่าสารสนเทศที่ได้นั้นมีลักษณะการเสนอข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็น เป็นกลางหรือมี อคติ มีห ลักฐานอ้า งอิ งหรือไม่ มีการสรุ ปอย่างเป็ นเหตุ เป็ นผล มี การอ้ างอิ งที่ ชัด เจนไม่ว่า จะเป็ นในรู ป เชิงอรรถหรือบรรณานุกรม รวมทั้งพิจารณาว่าสารสนเทศที่ได้นั้นประกอบไปด้วยสารสนเทศจากแหล่ง อื่นๆ หรือไม่กรณีประเภทของสารสนเทศ ที่ได้รับนั้นแตกต่างกัน สารสนเทศปฐมภูมิซึ่งเป็นสารสนเทศ ต้นฉบับจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะเป็นต้นกําเนิดของสารสนเทศเรื่องนั้น ส่วนสารสนเทศทุติยภูมิ เป็นสารสนเทศที่คัดลอกมาจาก สารสนเทศปฐมภูมิอีกชั้นหนึ่ง ความน่าเชื่อจะมีไม่เท่าสารสนเทศปฐมภูมิ และหากจําเป็นจะต้องใช้สารสนเทศทุติยภูมิ จะต้องตรวจสอบกับต้นฉบับว่าตรงกันหรือไม่ 3. ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทํา (Authority) เป็นการพิจารณาที่ผู้จัดทําหรือผู้เขียนว่าเป็นผู้ที่ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ และมีชื่อเสียง ตลอดจนมีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในหัวข้อ เรื่องหรือสาขาวิชานั้น ๆ หรือไม่ โดยพิจารณาจากข้อมูลการศึกษา ประสบการณ์การทํางาน และหน้าที่ การงานของผู้เขียนที่รับผิดชอบ ซึ่งมักมีระบุไว้ในส่วนหนึ่งหรือส่วนท้ายของสารสนเทศ นอกจากนี้ยังควร พิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของสถาบัน หรือหน่วยงานที่ผลิตสารสนเทศ หรือหน่วยงานของเอกชน และ เป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียงหรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่นําเสนอสารสนเทศหรือไม่ เช่น เอกสารหรือ บทความเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่เขียนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็ง หรือผลิตโดยสถาบันมะเร็งก็ย่อมมี ความน่าเชื่อถือมากกว่าสถาบันอื่น เป็นต้น 4. ความทันสมัย (Currency) เป็นการพิจารณาถึงความทันสมัย ความทันต่อเวลา หรือ การปรับปรุงครั้งล่าสุด และหลีกเลี่ยงการใช้สารสนเทศที่ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นเวลานาน โดยปกติแล้ว หากสารสนเทศมีอายุเกิน 5 ปีแล้ว อาจไม่ทันสมัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ต้องการด้วย กล่าวคือ หากเป็น เรื่องทางด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ หรื อการแพทย์ ที่ มีความก้าวหน้ าและความเปลี่ยนแปลงอย่า ง รวดเร็ ว ก็ จํ า เป็ น จะต้ อ งใช้ ส ารสนเทศที่ เ ป็ น ปั จ จุ บั น หรื อ ทั น สมั ย ที่ สุ ด แต่ ห ากเป็ น เรื่ อ งทางด้ า น ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ก็ไม่จําเป็นที่จะต้องมีความทันสมัยหรืออยู่ในปีที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นจึงควร พิจารณาความทันสมัยของสารสนเทศให้เหมาะสมกับลักษณะเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
47
5. ความครอบคลุม (Coverage) เป็นการพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นมีความครอบคลุมใน หัวข้อที่ต้องการค้นหามากน้อยเพียงใด ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ เขียนให้นักวิชาการหรือคน ทั่ว ไปอ่า นให้ข้อมู ลในเชิงลึกมากน้ อยเพี ยงไร รวมทั้งให้ ข้อมูล ใหม่ ๆ เพิ่ มเติมข้อมูล เดิ มที่ มีอยู่ห รือไม่ ลักษณะของสารสนเทศเป็นอย่างไร เช่น สารสนเทศวิชาการ รายงานการประชุม ข่าว หรือโฆษณา ทั้งนี้ สามารถพิ จ ารณาได้ จ ากรายละเอี ย ดในแต่ ล ะหั ว ข้ อ ของสารสนเทศ เช่ น สารบั ญ คํ า นํ า บทนํ า วัตถุประสงค์ ดรรชนี สาระสังเขป เป็นต้น 6. พิจารณาเนื้อหาของสารสนเทศว่าอยู่ในระดับใด เป็นสารสนเทศปฐมภูมิ ทุติยภูมิ หรือ ตติยภูมิ 6.1 สารสนเทศปฐมภู มิ (Primary Information) มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ มากที่ สุ ด เนื่องจากเป็นสารสนเทศที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโดยตรงของผู้เขียนและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เช่น ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายส่วนตัว รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาล สารสนเทศ ประเภทนี้ถือ ว่ามีความน่าเชื่อถือควรนํามาอ้างอิงมากที่สุด เพราะเป็นข้อมูลจริงที่ได้จากผู้เขียน และยังไม่ได้ผ่านการ เรียบเรียงหรือปรับแต่งใหม่จากบุคคลอื่น 6.2 สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information) เป็นการนําสารสนเทศปฐมภูมิ มาเขี ย นใหม่ อธิ บ าย เรี ย บเรี ย ง วิ จ ารณ์ ใหม่ ให้ เ ข้ า ใจง่ า ยเพื่ อให้ เ หมาะกั บ ผู้ ใช้ ส ารสนเทศ หรื อ เป็ น เครื่องมือช่วยค้นหรือติดตามสารสนเทศปฐมภูมิ เช่น หนังสือ บทความวารสาร บทคัดย่องานวิจัย และบท วิจารณ์หนังสือเป็นต้น 6.3 สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ 2 ระดับแรกที่ไม่ได้ให้เนื้อหาสารสนเทศโดยตรงแต่เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ เช่น บรรณานุกรมดรรชนีวารสาร และสาระสังเขปเนื้อหา
การวิเคราะห์สารสนเทศ การวิเคราะห์สารสนเทศ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะสารสนเทศแต่ละส่วนที่ประกอบกันเป็น เรื่ อ งหรื อ หั ว ข้ อ โดยเลื อ กเฉพาะประเด็ น ที่ มี ลั ก ษณะเนื้ อ หาและคุ ณ สมบั ติ ต รงตามความต้ อ งการ การวิเคราะห์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ให้รู้ว่าสารสนเทศมีลักษณะเนื้อหาใด ตรงตามความต้องการหรือไม่ 2. นําสารสนเทศทั้งเรื่อง หรือทุกเรื่องที่สืบค้นได้ไปสรุป หรือทําสาระสังเขปเนื้อหา เพื่อให้สามารถนําไปใช้ได้โดยสะดวก และเข้าใจง่าย 3. เขียนวิจารณ์ หรือบรรณนิทัศน์ของเรื่องที่อ่าน 4. กําหนดคําเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหา เช่น ดรรชนี คําสําคัญ เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
48
หลักการวิเคราะห์สารสนเทศ 1. สารสนเทศประเภทสิ่ งพิ มพ์ ให้ ต รวจสอบรายละเอี ย ดทางบรรณานุ กรม เช่ น ประเภท สิ่งพิมพ์ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อบทความ ภาษา ปีที่พิมพ์ หัวเรื่อง และคําสําคัญ เป็นต้น 2. สารสนเทศที่ ไ ด้ จ ากข่ า วหนั ง สื อพิ ม พ์ ตรวจสอบหั ว ข้ อ ข่ า วที่ เ ด่ น ที่ สุ ด เนื้ อเรื่ องตรงกั บ วัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือไม่ 3. สารสนเทศที่ได้จากการสืบค้นฐานข้อมูล ตรวจสอบรายละเอียดบรรณานุกรม คําสําคั ญ สาระสังเขป 4. สารสนเทศที่ได้จากเว็บไซต์ ตรวจสอบว่าเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ และมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เพียงใด หน่วยงานใดรับผิดชอบ วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อใด
การสังเคราะห์สารสนเทศ การสังเคราะห์สารสนเทศ หมายถึง การศึกษาสารสนเทศในเรื่องเดียวกันจากสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วนํามาวิเคราะห์หาสารสนเทศโดยการตีความ (Interpretation) ให้ทําความเข้าใจ สํารวจ ตรวจสอบสารสนเทศที่มีอยู่และที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปประเด็นเนื้อหาอย่างเป็นระบบให้ได้คําตอบตามที่ ต้องการและสามารถอภิปรายให้กับบุคคลอื่นได้
หลักการสังเคราะห์สารสนเทศ 1. 2. 3. 4.
คัดเลือกสารสนเทศ วิเคราะห์เนื้อหา กําหนดขอบเขตและขั้นตอนการนําเสนอสารสนเทศ รวบรวมสารสนเทศต้นฉบับที่มีการอ้างอิงรายการทางบรรณานุกรมอย่างถูกต้อง เขียนตามแผนที่กําหนดอย่างสร้างสรรค์และใช้สํานวนของตนเองด้วยภาษาที่ถูกต้อง ประเมินผลด้วยตัวเอง พร้อมรับฟังข้อวิจารณ์เพื่อปรับปรุงแก้ไข และสร้างสรรค์งานใหม่
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศจากเว็บไซต์ 1. ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบจากหัวข้อ เช่น About the author/ About us เป็นต้น 2. ผู้รับผิดชอบควรเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา ซึ่งมียูอาร์แอลที่ลงท้ายด้วย .edu, .gov, .org, .net เพราะย่อมมีความเชื่อถือมากกว่าเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ยูอาร์แอลที่ลงท้ายด้วย .com เป็นต้น 3. มีการอ้างอิงที่มาของสารสนเทศหรือไม่ ทัง้ สารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ภาพ สื่อมัลติมีเดีย หรือกราฟ 4. มีโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บหรือไม่ หากมี อาจทําให้การนําเสนอสารสนเทศ มีความลําเอียงได้ 5. มีการระบุวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ไว้ชัดเจนหรือไม่ ซึ่งดูได้จากหัวข้อ เช่น วิสัยทัศน์ (Mission), วัตถุประสงค์ (Purpose) เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
49
การประเมินคุณภาพเว็บไซต์ข้อมูลสารสนเทศ ปัจจัยที่เป็นแนวทางในการตรวจสอบและประเมินคุณภาพเว็บไซต์ 9 ด้าน มีดังนี้ 1. ความทันสมัย ความทันสมัยของเว็บไซต์ จัดเป็นหัวข้อสําคัญของการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานก็เมื่อข้อมูลนั้น เป็นข้อมูลที่ใหม่ ทันต่อสถานการณ์และได้รับการปรับปรุงแก้ไขตามระยะเวลาอย่างเหมาะสม 2. เนื้อหาและข้อมูล เว็บไซต์ต้องมีเนื้อหาและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่ตรวจสอบและวัดความเป็นเว็บไซต์ ที่ดีได้ง่าย รวมทั้งสามารถประเมินคุณค่าของเว็บไซต์ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะถ้าเว็บไซต์มีเนื้อหาข้อมูลที่ ตรงตามหลักสูตรและการเรียนการสอนของนักศึกษา หรือทําให้เป็นเนื้อหาข้อมูลประกอบการเรียนตาม หลักสูตรและน่าสนใจชวนติดตามย่อมเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเนื้อหาที่นําเสนอบนเว็บไซต์ เป็นเนื้อหาที่หาไม่ได้ในห้องสมุด ย่อมเป็นเนื้อหาที่มีคุณค่า นําไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง แสดงให้เห็นถึง ประโยชน์ของระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนว่าเป็นแหล่งเนื้อหาและข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ ที่แตกต่าง ออกไปจากแหล่งเรียนรู้เดิมๆ อย่างห้องสมุด เนื้อหาที่นําเสนอนั้นย่อมมีความหมายและเป็นประโยชน์ 3. ความน่าเชื่อถือ เว็บไซต์ที่มีคุณภาพไม่ใช่เพียงแต่ทันสมัย มีเนื้อหาและข้อมูลที่ดี ความน่าเชื่อถือต่อเว็บไซต์ เป็นเรื่องสําคัญในการจะนําเอาข้อมูลไปอ้างอิงหรือใช้ประโยชน์ เพราะข้อมูลและเนื้อหาจะได้ถูกนําไปใช้ ประโยชน์ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าเว็บนั้นน่าเชื่อถือ เช่น ถ้าต้องการเรื่องเกี่ยวกับโรคติดต่อข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด ก็ควรเป็นข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลต่างๆ นั่นหมายความว่า ผู้เข้าไปใช้ประโยชน์ จากเว็บก็จะพยายามหาข้อมูลจากเว็บที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการ ทันสมัยและมีข้อมูลเนื้อหาที่ดี 4. การเชื่อมโยงข้อมูล การประเมินเว็บไซต์ที่ดีควรจะแสดงการเชื่อมโยงไปยังส่วนต่างๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและ อ่านได้อย่างชัดเจน การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ จะมีชื่อเรียกว่า ลิงค์ (Link) การลิงค์หรือการเชื่อมโยงนั้น ถ้าหน้าแรกสามารถบอกได้ว่า เว็บไซต์นั้นมีการจัดการอย่างไร มีเงื่อนไขในการเชื่อมโยงอย่างไร และมี หัวข้ออะไรที่จําเป็นต้องเชื่อมโยงไปบ้าง ลักษณะอย่างนี้อาจจะมีห น้าพิเศษต่างหากที่เรียกว่ าแผนภู มิ เว็บไซต์ หรือ site map 5. การนําไปใช้งานจริง เว็บเพจที่ดีควรจะมีเนื้อหาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ และมีการแสดงผลอย่า ง รวดเร็ ว ในเว็ บ เพจต้ อ งทํ า ให้ ผู้ เ ข้ า ชมรู้ สึ ก ว่ า ไม่ เ สี ย เวลา ไม่ ไ ร้ ป ระโยชน์ ห รื อ เว็ บ เพจไม่ เ ป็ น ไปตาม วัตถุประสงค์ ผู้ออกแบบต้องคํานึงเสมอว่า ในการนําไปใช้งานจริง ผู้สืบค้นข้อมูล หรือผู้เข้าชมเว็บเพจ ย่อมเข้ามาเพื่อคิดว่าเว็บเพจที่จัดทํานั้นมีวัตถุประสงค์ตามหัวเรื่องของเว็บเพจ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
50
6. ความเป็นมัลติมีเดีย ความเป็น มัลติมีเดีย (multimedia) สําหรับเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจาก เว็บไซต์ต้องออนไลน์อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต ในข้อจํากัดของแบนด์วิท และความเร็วในการเสนอจึงยากที่ จะทําให้เว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์มีความเป็น มัลติมีเดีย ดังนั้น องค์ประกอบที่สําคัญของความเป็น มัลติมีเดีย ภายในเว็บไซต์ คือ เสียง ภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ควรสอดคล้องกับเนื้อหาภายในเว็บ นอกจากนี้ควร จะเป็น มัลติมีเดีย ที่เพิ่มความสนใจให้ผู้เข้าชม ภาพเคลื่อนไหวที่นําเสนอควรจะมีเวลาที่เหมาะสมและไม่ รบกวนเนื้อหา ภาพกราฟิกที่ใช้ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปสามารถแสดงผลหรือโหลดขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องทําความเข้าใจในความเป็น มัลติมีเดียของเว็บก็คือ เว็บไซต์ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมได้ ทันที เนื่องจากการออกแบบเว็บไซต์ไม่สามารถทําให้ใช้เทคนิคหรือกระบวนการได้มากมายอย่างที่เป็น stand alone ภายในระบบดังนั้นความเป็น มัลติมีเดีย ของเว็บไซต์ จึงหมายถึงการจัดทําภาพประกอบ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ หรือภาพนิ่ง โดยเป็นการเสริมหรือเพิ่มให้เว็บไซต์มีคุณค่า และที่สําคัญ มัลติมีเดีย ที่นํามาใช้ต้องสอดคล้องกับเนื้อหา และเป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจให้กับผู้เข้าชม เว็บไซต์ 7. การให้ข้อมูล ในการให้ข้อมูลภายในเว็บไซต์ ข้อมูลที่สําคัญควรจะเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่มีความ สลับซับซ้อน แต่การนําเสนอข้อมูลควรมีการจัดรูปแบบและหมวดหมู่ของข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ง่าย ต่อการตรวจสอบและการใช้งานข้อมูล นอกจากนี้ข้อมูลที่ใช้ควรมีเนื้อหาที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ โดย แสดงได้จากวั นเวลาที่ปรั บปรุง ขณะเดียวกัน เมื่อจัด ทําเว็บไซต์ ตามวั ตถุป ระสงค์ แล้ ว เว็บไซต์ ควรจะ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของเว็บ ถ้าเว็บไซต์นั้นจัดทําได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มนักศึกษา หรือ วัยรุ่น ก็จะทําให้เว็บนั้นได้รับความนิยม แสดงถึงคุณภาพของผู้ดําเนินการจัดทํา 8. การเข้าถึงข้อมูล สิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ เว็บไซต์สามารถแสดงผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เมื่อผู้ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ หมายถึง เมื่อผู้ใช้ต้องการเข้าสู่เว็บไซต์โดยการพิมพ์ที่อยู่ของเว็บเช่น URL หรือโดเมนเนม (Domain Name) แล้วกดปุ่ม Enter การแสดงผลของหน้าแรกจะต้องปรากฏอย่างรวดเร็วโดยไม่เสียเวลานานจะทํา ให้ผู้ใช้รู้สึกพึงพอใจ แต่ถ้าเว็บใดออกแบบให้มีกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเนื้อหาจํานวนมาก เว็บนั้นก็จะ แสดงผลได้ช้า ก็จะทําให้ผู้ใช้รอและเบื่อหน่าย การให้ผู้ใช้รอบ้างย่อมรับได้ แต่ถ้าผู้ใช้รอนานเกินไปก็อาจ เบื่อหน่ายและเปลี่ยนไปเว็บอื่นในที่สุดการเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์นอกจากจะแสดงผลรวดเร็วแล้ว เว็บไซต์ ควรหาได้สะดวกจากเว็บประเภทสืบค้นข้อมูลหรือ Search Engine หรือเว็บได้ Add URL เอาไว้ใน Search Engineเช่น Google หรือ Yahoo ถ้าเป็นในประเทศไทยก็เช่น Sanook , Sansarn ก็จะทําให้ ผู้ใช้สามารถสืบค้นจากเครื่องมือสืบค้นได้รวดเร็ว การโหลดของเว็บได้อย่างรวดเร็วทําให้เสียเวลาน้อยลง ในการค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ที่แสดงผลจากการค้นหาได้รวดเร็ว ย่อมเป็นที่นิยมของผู้ใช้เพราะค้นเจอเสมอ แสดงว่าเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
51
9. ความหลากหลายของข้อมูล ประเด็นสําคัญในส่วนของข้อมูลก็คือ เว็บควรมีความหลากหลายและมีเรื่องที่เป็นประโยชน์ หลายๆ เรื่อง มีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบข้อมูลได้ ข้อมูลนั้นก็จะได้ความนิยมและแนะนํากันให้เข้ามา ชมอีก กรณีที่เ ว็บมีข้อมูล ไม่มากมายนัก แต่ เว็บมี ข้อมู ลสํา คัญเพี ยงพอไม่ ยาวเกินไป ไม่สั้นมากเกินไป ใช้ประโยชน์ได้เหมาะสม สรุปได้ว่า การดําเนินชีวิตประจําวันสารสนเทศมีความสําคัญนานับประการในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ซึ่งจําเป็นต้องใช้สารสนเทศที่ถูกต้องทันเหตุการณ์ ทั้งด้านการศึกษา การวิจัย การดําเนิน ชีวิต รวมถึงด้านวิทยาการและเทคโนโลยี การประเมินสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนา คุณภาพชีวิตให้เกิดความรู้ความสามารถ ทักษะและกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ ทุกรูปแบบ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
52
บทที่ 8
การสรุปองค์ความรู้
การเรี ย นรู้ ด้ ว ยการศึ ก ษาค้ น คว้ า ความรู้ ด้ ว ยตนเองเป็ น การเรี ย นรู้ ที่ นั ก เรี ย นต้ อ งมี ความรับผิดชอบ และมีวินัยในตนเองสูง ถ้านักเรียนไม่วางแผนการเรียนรู้ของตนเองให้ชัดเจนและเป็น ระบบ การบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้รายวิชาก็ทําได้ยาก อย่างไรก็ตาม เมื่อนักเรียนได้ ทําการศึกษาค้นคว้าข้อมูลความรู้เพื่อเตรียมการตอบประเด็นปัญหาหรือข้อคําถามต่าง ๆ ตามความสนใจ ความต้องการและความถนัดจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างหลากหลายแล้ว ขั้นตอนที่จะทําให้นักเรียน สามารถหารายละเอียดข้อมูลที่เชื่อถือได้ไปประกอบการอภิปรายผลเพื่อการเปรียบเทียบหรือเชื่อมโยง ความรู้ในการตอบประเด็นปัญหาหรือคําถามที่ตั้งไว้ก็คือ การสังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้อย่างเป็น ระบบ
ความหมายขององค์ความรู้ จาก “ความรู้ (Knowledge) ซึ่งเบนจามิน บลูม (Benjamin Bloom in Krathwohl. 2002: 213) ระบุว่า “ความรู้” หมายถึง สาระ ข้อมูล แนวคิดที่บุคคลได้จากการเรียนรู้ เช่น ความรู้เฉพาะในด้าน คําศัพท์ คํานิยาม ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ โครงสร้างและวิธีการในการแก้ปัญหา ในขณะที่ “องค์ความรู้” หมายถึ ง ความรู้ ที่เ ป็ น แนวคิ ด หลั ก การ ทฤษฎี ที่ ผ่ า นการประมวล คั ด เลื อก จั ด หมวดหมู่ หรื อ ผ่ า น การวิเคราะห์อย่างมีแบบแผน และได้รับการพัฒนาจนมีความชัดเจนสมบูรณ์ หรืออีกความหมายหนึ่ง องค์ ค วามรู้ หมายถึ ง ความรู้ ที่ ผ่ า นการกลั่ น กรองอย่ า งเป็ น ระบบและสั่ งสมจนกลายเป็ น สติ ปั ญ ญา ภูมิปัญญา และประสบการณ์เฉพาะบุคคล เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
53
สรุปว่า องค์ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่ผ่านการประมวลผล หรือผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็ น ระบบจนมีความสมบูรณ์ชัดเจนและสั่งสมจนกลายเป็นสติปัญญา ภูมิรู้ และประสบการณ์เฉพาะ แต่ละ บุคคล
แหล่งกําเนิดขององค์ความรู้ 1. 2. 3. 4. 5.
ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลอื่น ความรู้เกิดจากประสบการณ์การทํางาน ความรู้ที่ได้จากการวิจัยทดลอง ความรู้จากการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ความรู้ที่มีปรากฏอยู่ในแหล่งความรู้ภายนอกองค์กรและองค์กรได้นํามาใช้
ประเภทขององค์ความรู้ แบ่งได้ เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. องค์ความรู้ที่สามารถอธิบายได้ เป็นองค์ความรู้ซึ่งทําความเข้าใจได้จากการฟัง การอ่าน และสามารถนํ า ไปอธิ บ าย หรื อนํ าไปใช้ ป ฏิ บั ติ ได้ โดยจั ด ไว้ อย่ า งมี แบบแผนมี โ ครงสร้ า งและอธิ บ าย กระบวนการที่สามารถนําไปใช้ได้ 2. องค์ความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายได้หรืออธิบายได้ยาก เป็นองค์ความรู้ที่อธิบายได้ยากหรือ ในบางครั้งไม่สามารถอธิบายว่าเกิดความรู้ เหล่านั้นได้อย่างไร ไม่มีระเบียบแบบแผน โครงสร้างที่ชัดเจน มักเกิดขึ้นกับตัวบุคคล ผลของการถ่ายทอดขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายทอดและผู้รับเป็นสําคัญ
การจัดการองค์ความรู้ การจัดการองค์ความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือ เอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุดโดยที่ความรู้ มี 2 ประเภท คือ 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของ แต่ ล ะบุ คคลในการทํ า ความเข้ าใจในสิ่ งต่ า งๆเป็ น ความรู้ ที่ไม่ ส ามารถถ่ า ยทอดออกมาเป็ น คํ า พู ด หรื อ ลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะการทํางาน งานฝีมือหรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้งเรียกว่าเป็น ความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎีคู่มือต่างๆและบางครั้งเรียกว่าเป็น ความรู้แบบรูปธรรม
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
54
การสังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ การสังเคราะห์องค์ความรู้ เกิดจากการรวบรวมข้อมูล องค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย แล้ ว นํ า มาวิ เ คราะห์ แยกแยะ จั ด หมวดหมู่ อย่ า งเป็ น ระบบ ให้ ส อดคล้ องกั บ เป้ า หมายของการศึ ก ษา หาความรู้ที่ได้กําหนดเอาไว้ การวิเคราะห์เพื่อจัดประเภทองค์ความรู้ ได้แก่ การจัดประเภท การอธิบาย ข้อมูล หรือการรวบรวมเหตุการณ์ที่มีความสัมพันธ์ กันเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน หรือการแจกแจงข้อเท็จจริงใน ด้านต่าง ๆ แล้วผสมผสานและจัดระบบให้ เป็นสิ่งใหม่ เป็นเรื่องใหม่ หรือโครงสร้างใหม่ที่มีความแตกต่าง ไปจากข้อมูลเดิม เป็นการจัดระบบความคิดที่หลากหลายให้อยู่ในรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นหนึ่งเดียว การสังเคราะห์องค์ความรู้ที่จะทําให้ได้ความรู้ที่นักเรียนได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ หลายแหล่ง นักเรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้ ดังนี้ 1. กําหนดประเด็นหัวข้อหรือเป้าหมายที่ต้องศึกษาเรียนรู้ให้ชัดเจน 2. ค้นคว้ารายละเอียดข้อมูลความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น จากหนังสือ เอกสาร ตํารา บทความ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ 3. อ่านรายละเอียดและวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลแต่ละส่วนโดยพิจารณาดูว่ามีส่วนใดเป็น เรื่องเดียวกันที่สามารถสรุปรวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน หรือจัดไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกันได้บ้าง 4. คัดกรองข้อมูลที่ได้จากแหล่งความรู้ โดยคัดเลือกข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5. จัดเรียงหมวดหมู่หรือหัวข้อของข้อมูลแต่ละส่วนตามโครงสร้างหรือโครงร่างใหม่ หรือ ตามประเด็นหัวข้อหรือเป้าหมายที่กําหนด 6. เรียบเรียงรายละเอียดของข้อมูลโดยใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียนตามความรู้ความเข้าใจ ของตนเอง การเรียบเรียงข้อมูลที่มีฐานความคิดมาจากงานของผู้อื่นในแต่ละส่วนต้อง อ้างอิงตาม หลักวิชาการทุกครั้ง ถึงแม้รายละเอียดนั้น ๆ จะถูกปรับเปลี่ยนไปเป็น ข้อความใหม่ทดแทนข้อความ เดิมแล้วก็ตาม 7. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้ครบถ้วน 8. นําข้อมูลซึ่งเป็นองค์ความรู้ไปใช้งาน
ประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นต้นทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning) ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ยั่งยืนกว่าวิธีการเรียนรู้ที่นักเรียนนั่งเรียนในห้องเรียนหรือ ฟัง ครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว การศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้เพื่อที่จะเป็น (Learning to be) อย่างที่นักเรียนมีความสนใจ มีความต้องการและมีความถนัด ซึ่งมีประโยชน์ และมีคุณค่าอย่าง มากมายสําหรับนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยไม่มีขีดจํากัด 2. นักเรียนได้ฝึกความมีวินัย ความรับผิดชอบต่อภาระงานของตนเอง และได้มีการฝึกคิด ตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการศึกษาค้นคว้า เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
55
3. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทํางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติ เช่น การอภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น การทํางานเป็นทีม การร่วมมือช่วยเหลือแบ่งปัน และความเสียสละ 4. นักเรียนได้ฝึกการพัฒนาความเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี รู้จักความยืดหยุ่น การปรับตัว เข้ากับสังคม การเสนอแนะความคิด 5. นักเรียนมีอิสระทางด้านความคิดในการสร้างสรรค์งานที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า หาความรู้ด้วยตนเอง 6. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มองเห็นคุณค่าและความสามารถของตนเอง 7. นักเรียนมีโอกาสได้ใช้ทั้งความรู้ (Knowledge) และทักษะความสามารถ (Skill/Process) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attribute) ในการสร้างงาน ในความรับผิดชอบของตนเองอย่างอิสระ 8. นักเรียนรู้จักการบริหารจัดการเวลาในการสร้างงานอย่างเหมาะสม 9. นักเรียนได้พัฒนาทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ 10. นักเรียนมีโอกาสพัฒนาความสามารถในการใช้ข้อมูลสารสนเทศและสื่อเทคโนโลยี 11. นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง 12. นักเรียนได้ฝึกหัดการเป็นผู้เสียสละและใส่ใจต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมทั้งได้รับ การพัฒนาให้เป็นผู้มีจิตสาธารณะและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สรุปได้ว่า ความรู้และองค์ความรู้มีความหมายแตกต่างกัน ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดจาก การจดจําสําหรับองค์ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่ผ่านการประมวล คัดเลือก จัดหมวดหมู่ หรือผ่านการวิเคราะห์อย่างมีแบบแผนและได้รับการพัฒนาจนมีความชัดเจน และสมบูรณ์ สามารถนําข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งในการสังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้นักเรียนควรทําความเข้าใจ เกี่ยวกับ หลักการ วิธีการให้ถ่องแท้เสียก่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้นักเรียนสามารถสังเคราะห์และสรุป องค์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
56
บรรณานุกรม กฤติยา อัตถากร. 2528. 1, กรกฎาคม “ระบบสารนิเทศและบริการ”. วิทยบริการ. 7 (1): 26-31. อัดสําเนา. กลุ่มสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. 2561. ชุดฝึก IS1 การศึกษาค้นคว้าและ สร้างองค์ความรู้. ยโสธร: โรงเรียนมหาชนะชัยวิทยาคม. เกษม วัฒนชัย. 2544. พฤษภาคม “นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ”. Thailand Education. 2 (11): 39-40. อัดสําเนา. ฉัตรแก้ว เภาวิเศษ. ม.ป.ป. หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช. ชุติมา สัจจานันท์. 2531. การเลือกและการจัดหาวัสดุห้องสมุด. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู. ธนู ทดแทนคุณ. 2554. การเขียนรายงานทางวิชาชีพ (Professional Report Writing). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ธนู บุญญานุวัตร. 2561. บทที่ 1 ความรู้เรื่องสารสนเทศชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://tanoo.wordpress.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5 %E0%B9%88-1, 7 เมษายน 2561. . 2561. บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://tanoo.wordpress.com/ %E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2, 7 เมษายน 2561. . 2561. บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://tanoo.wordpress. com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-3, 7 เมษายน 2561. นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ. 2526. มกราคม-มีนาคม “บริการสารสนเทศ”. ห้องสมุด. 27 (1): 17-26. อัดสําเนา น้ําทิพย์ วิภาวิน. 2547. การจัดการความรู้กับคลังความรู้ Knowledge Management and Knowledge Center. กรุงเทพฯ: เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์. น้ําทิพย์ วิภาวิน. 2547. การใช้ห้องสมุดยุคใหม่ (Using Modern Library). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิพนธ์ อินสิน และสมาน ลอยฟ้า. 2521. การค้นคว้าและการเขียนรายงาน. สกลนคร: สกลนครการพิมพ์. พวา พันธุ์เมฆา. 2541. สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: าควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บรรณานุกรม (ต่อ) พูลสุข เอกไทยเจริญ. 2551. การเขียนรายงานการค้นคว้า. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. ไพโรจน์ คชชา. 2538. สารสนเทศศาสตร์และการค้นคว้า. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี. อัดสําเนา. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556. การค้นคว้าและ การเขียนรายงาน. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์. มนตรี จุฬาวัฒนฑล. 2537. ระบบการวิจัยและพัฒนาในประเทศ. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. 2561. บทที่ 1 การประเมินสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.dpu.ac.th/laic/kminternal/wp-content/uploads/2015/02/%E0%B8% 9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1-%E0%B8%81%E0%B8% B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8% A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8% AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A81.pdf, 1 เมษายน 2561. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. 2561. บทที่ 4 การประเมินเว็บไซต์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.dpu.ac.th/laic/kminternal/wp-content/uploads/2015/02/%E0%B8% 9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-%E0%B8%81%E0%B8% B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8% A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8% 9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C1.pdf, 1 เมษายน 2561. ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพัลลิเคชั่น. วิจิตร ศรีสอ้าน. 2546. โฉมหน้าการศึกษาไทยภายหลังการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสําเนา. วิภาภรณ์ บํารุงจิตต์. 2542. ทักษะทางสารนิเทศและการใช้ทรัพยากรสารนิเทศของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต บรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. ศรีสุภา นาคธน. 2548. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และการค้นคืน. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ศรีอร เจนประภาพงศ์. 2557. เกณฑ์การประเมินค่าทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.slideshare.net/thai2104/6-31651325, 23 มีนาคม 2561. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา. 2561. ห้องสมุด. (ออนไลน์). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
บรรณานุกรม (ต่อ) สุกัญญา กุลนิติ. 2549. ห้องสมุดและสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. สุนีย์ คล้ายนิล. 2546. 24, พฤศจิกายน “คิดแบบวิทยาศาสตร์ ใน สน.ชวนคิด...วิทย์วันนี้”. ผู้จัดการรายวัน. 14 (4042): 5. อัดสําเนา สุภางค์ จันทวานิช. 2545. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อริสา บุตรดามา. 2561. เอกสารประกอบการเรียน IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) รหัสวิชา I32201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา. เอกสารประกอบการเรียน. อัมพร ปั้นศรี. 2520. วิธีใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง. อัดสําเนา. เอกภพ อินทรภู่. 2558. ความรู้เท่าทันสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.teacher. ssru.ac.th/aekkaphob_in/file.php/1/PDF Unit5.pdf, 26 มีนาคม 2561.
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1 IS1)
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
60
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และการบริหารงานกลุ่ม
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง
ลําดับที่
ให้นักเรียนทําความรู้จักและสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนสมาชิกในห้องเรียน จากนั้นให้นักเรียนเข้ากลุ่มสัมพันธ์ โดยมีการบริหารจัดการสมาชิกโดยใช้กระบวนการ กลุ่ม และการเลือกตั้งประธาน รองประธาน กรรมการ และเลขานุการกลุ่ม เลข ประจําตัว
ชื่อ-สกุล
ชั้น
เลขที่
ตําแหน่ง
1
ประธาน
2
รองประธาน
3
เลขานุการ
4
กรรมการ
5
กรรมการ
6
กรรมการ
7
กรรมการ
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
61
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อกิจกรรม
การตั้งประเด็นปัญหา - ประเด็นที่สนใจ
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง ลําดับ 1
2
3
ให้นักเรียนตั้งประเด็นปัญหาหรือประเด็นคําถามในประเด็นที่นักเรียนสนใจ ทั้งจากตนเอง โรงเรียน ชุมชน สถานการณ์ปัจจุบันและสังคมโลก คนละ 3 ประเด็น ประเด็น (Topic) ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ………………………………………………………
เหตุผลสําคัญ ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… ………………………………………………… …………………………………………………
ระดับคุณภาพ ☺ ดีมาก ☺ ดี พอใช้ ปรับปรุง ☺ ดีมาก ☺ ดี พอใช้ ปรับปรุง ☺ ดีมาก ☺ ดี พอใช้ ปรับปรุง
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาประจําวิชา ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
62
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3 ชื่อกิจกรรม
การตั้งสมมติฐาน
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง ประเด็น ประเด็น 1
ประเด็น 2
ประเด็น 3
ให้นักเรียนตั้งสมมติฐานจากประเด็นที่นักเรียนสนใจ ทั้งจากตนเอง โรงเรียน ชุมชน สถานการณ์ปัจจุบันและสังคมโลก คนละ 3 ประเด็น ประเด็น (Topic) สมมติฐาน ระดับคุณภาพ ……………………………………………… สมมติฐานที่ 1 ……………………………………………… …………………………………………………......... ☺ ดีมาก ……………………………………………… …………………………………………………......... ☺ ดี พอใช้ ……………………………………………… สมมติฐานที่ 2 ……………………………………………… …………………………………………………......... ปรับปรุง ……………………………………………… …………………………………………………......... ……………………………………………… สมมติฐานที่ 1 ……………………………………………… …………………………………………………......... ☺ ดีมาก ……………………………………………… …………………………………………………......... ☺ ดี พอใช้ ……………………………………………… สมมติฐานที่ 2 ……………………………………………… …………………………………………………......... ปรับปรุง ……………………………………………… …………………………………………………......... ……………………………………………… สมมติฐานที่ 1 ……………………………………………… …………………………………………………......... ☺ ดีมาก ……………………………………………… …………………………………………………......... ☺ ดี พอใช้ ……………………………………………… สมมติฐานที่ 2 ……………………………………………… …………………………………………………......... ปรับปรุง ……………………………………………… ………………………………………………….........
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาประจําวิชา ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
63
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 4 ชื่อกิจกรรม
สงสัยใคร่รู้
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง
ให้นักเรียนและสมาชิกในกลุ่มเลือกประเด็นปัญหา หรือประเด็นคําถามที่เพื่อนสมาชิก ในกลุ่ม นําเสนอมา 3 ประเด็น ที่กลุ่มของนักเรียนสนใจมากที่สุด พร้อมเหตุผลสําคัญ ที่ตัดสินใจเลือก
ลําดับที่ ประเด็นที่ 1
ประเด็น (Topic) ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… …………………………………………………………
ประเด็นที่ 2
ประเด็นที่ 3
เหตุผลสําคัญ …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… ……………………………………………………………
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาประจําวิชา ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
64
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 5 ชื่อกิจกรรม
Discuss & Debate สนทนาโต้ตอบและการอภิปรายอย่างมีเหตุผล
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง
ให้นักเรียนอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่กลุ่มนําเสนอมาทั้ง 3 ประเด็น พร้อมเหตุผลสนับสนุน
ลําดับที่
ประเด็น (Topic)
ประเด็นที่ 1
………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… …………………………………………………………
ประเด็นที่ 2
ประเด็นที่ 3
อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประเด็นที่กลุ่มเลือก (ทั้ง 3 ประเด็น) …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… …………………………………………………………… ……………………………………………………………
การอภิปรายแสดงความคิดเห็น แสดงความคิดเห็น เห็นด้วย - ไม่เห็นด้วย - เหมาะสม - ไม่เหมาะสม อย่างไร พร้อม อธิบายเหตุผลประกอบให้ครอบคลุมชัดเจน ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาประจําวิชา ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
65
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 6 ชื่อกิจกรรม
ประเด็นที่กลุ่มสนใจร่วมกัน
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง
ให้นักเรียนและสมาชิกในกลุ่มเลือกประเด็นปัญหา หรือประเด็นคําถามที่เพื่อนสมาชิก ในกลุ่มสนใจร่วมกันเพียงประเด็นเดียว พร้อมเหตุผลประกอบ ประเด็นที่กลุ่มสนใจร่วมกัน
สมมติฐาน
เหตุผลที่ตัดสินใจเลือกประเด็นที่เสนอ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาประจําวิชา ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
66
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 7 ชื่อกิจกรรม
การเสนอหัวข้อการศึกษาค้นคว้า
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง
ให้นักเรียนเสนอหัวข้อรายงานการศึกษาค้นคว้าในประเด็นที่กลุ่มสนใจร่วมกัน
หัวข้อที่จะศึกษา ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... เหตุผลที่ต้องการศึกษา (ตอบเป็นประเด็น) ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... เนื้อหาที่คาดว่าจะศึกษาตามโครงร่างที่นักเรียนนําเสนอ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
67
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... แนวทางการทําความรู้ไปใช้บริการสังคม ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาประจําวิชา ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... อนุญาต
ไม่อนุญาต เพราะ ......................................................................................
ลงชื่อ ................................................. ครูที่ปรึกษาประจําวิชา
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
68
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 8 ชื่อกิจกรรม
การออกแบบและวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง
วัน/เดือน/ปี
ให้นักเรียนออกแบบและวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลของตนเอง ว่าจากประเด็นที่กลุ่ม สนใจ นักเรียนจะมีแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นคว้าหาคําตอบในประเด็นที่ สนใจอย่างไร รายการดําเนินการ
สถานที่ดําเนินการ
หมายเหตุ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาประจําวิชา ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
69
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 9 ชื่อกิจกรรม
การศึกษาค้นคว้าและการแสวงหาคําตอบ
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง
ให้นักเรียนออกแบบและวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลของตนเอง ว่าจากประเด็นที่กลุ่ม สนใจ นักเรียนจะมีแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นคว้าหาคําตอบในประเด็นที่ สนใจอย่างไร หัวข้อ
แหล่งข้อมูล
ผู้ค้นคว้า
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาประจําวิชา ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
70
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 10 ชื่อกิจกรรม
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม
คําชี้แจง
ให้นักเรียนและสมาชิกในกลุ่มสรุปความรู้ที่ได้รับหลังจากศึกษาค้นคว้าและอภิปราย โต้ตอบประเด็นความรู้กับเพื่อนสมาชิกภายในกลุ่ม
ความรู้ที่ได้รับ ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................
ลงชื่อ ................................................. ครูที่ปรึกษาประจําวิชา
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
71
แบบบันทึกการเข้าปรึกษาครู ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
ประเด็นที่ปรึกษา
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS1)
สมาชิกที่ขาด ลายมือชื่อครู
72
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดสุทธิวราราม 252 ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร