26
บ้ า นพิ ชั ย ตั้ ง อยู ่ ริ ม แม่ น�้ ำ วั ง ฝั ่ ง ตะวั น ออก ประวัติชุมชนกล่าวไว้ว่า เป็นขุมชนที่ตั้งมาเป็นเวลา เกือบ 200 ปี พร้อมๆ เช่นเดียวกับชุมชนอื่นๆ เช่น ชาวปงสนุก ชาวเชียงแสนในช่วงเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้า ใส่เมือง ที่มีครูบาเจ้าโพธาเป็นผู้น�ำชุมชน แต่เดิม ชาติพันธุ์ของคนบ้านพิชัยเป็นชาวไทลื้อ โดยพบหอผี บรรพบุรุษคือหอผีลื้อพิชัย เมื่อมีการย้ายเข้ามา ตั้งชุมชน ครูบาเจ้าโพธาก็ได้สร้างวัดพิชัยขึ้นในปี พ.ศ. 2325 วัดพิชัยจึงเป็นวัดหนึ่งที่มีความเก่าแก่ ในจังหวัดล�ำปาง ซึ่งบ้านพิชัยมีวัดแยกเป็นสองวัด คือ วัดพิชัยและวัดม่อนคีรีชัย ที่ชาวบ้านมักเรียก วัดพิชัยว่า วัดลุ่ม และเรียกวัดม่อนคีรีชัยว่า วัดบน เพราะตั้ ง อยู ่ บ นเนิ น ภู เขาขนาดเล็ ก ที่ ค นล้ า นนา เรียกว่า ม่อน หรือดอยนั่นเอง 2
ม่อนหรือดอยที่ตั้งของวัดม่อนคีรีชัย แต่เดิม เรียกว่า ม่อนไก่เขี่ย ซึ่งในอดีตเป็นวัดร้างมีเพียงเจดีย์ ที่มีรูปแบบศิลปะพม่าที่มีความทรุดโทรมมาก เมื่อเจ้า ผูค้ รองนครล�ำปางองค์สดุ ท้ายคือ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ ได้รว่ มกับชาวบ้านช่วยกันบูรณะ โดยเจ้าหลวงบุญวาทย์วงษ์มานิตย์รับอุปถัมภ์วัดมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงแก่ พิราลัยในปี 2470 ชาวบ้านจึงช่วยกันอุปถัมภ์ และ ดูแลวัดมาโดยตลอด และร่วมกันสร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด หนึ่งในนั้นคืออาคารโถง ณ ปัจจุบันใช้ท�ำเป็น พิพิธภัณฑ์ชุมชน ในอดี ต บ้ า นพิ ชั ย เป็ น หมู ่ บ ้ า นที่ มี ก ารท� ำ เครือ่ งเงินมีลวดลาย และเทคนิคการท�ำทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ ที่ โ ดดเด่ น ดั ง ปรากฏในหนั ง สื อ อนุ ส รณ์ คุ ณ ย่ า แดง ว่า คุณย่าเล่าว่าเอาเงินหมันเงินรูปีมาหลอม แล้วจ้าง ช่างเงินจากบ้านพิชยั ทางหัวเวียง มานัง่ ตีเป็นของใช้ตา่ งๆ ที่ ใต้ถุนบ้านของคุณย่า นับว่าบ้านพิชัยมีทรัพยากร ที่เป็นแหล่งความรู้ ที่หลากหลายมีความน่าสนใจไม่น้อย
3
พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วั ด พิ ชั ย และวั ด ม่ อ นคี รี ชั ย มี ขึ้ น ใน พ.ศ.2467จากความร่วมมือจากพระครูโกศล บุญสารร่วมกับ ชาวบ้าน เมื่อเริ่มแรกได้รวบรวมของเก่าภายในวัด มาจัด หมวดหมู่ภายหลังจึงมีการรับบริจาคจากประชาชนทั่วไป เช่น ได้รับข้าวของต่างๆ จากตระกูล ณ ล�ำปางซึ่งเป็นของ ที่น�ำมาจากคุ้มหลวงกลางเวียงที่ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว เช่น เสื้ อ ของเจ้ า หลวงนรนั น ท์ ชั ย เชาวลิ ต วราวุ ธ เจ้ า ผู ้ ค รอง นครล� ำ ปางล� ำ ดั บ ที่ 9 (พ.ศ. 2430-2439) น�้ ำ ต้ น ดาบ จาน ชามลายคราม เป็นต้น และยังมีงานศิลปกรรมต่างๆ อีกมากมายที่ทางวัดได้ท�ำการจัดเก็บ และจัดแสดงภายใน พิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นที่เรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจ และบางส่วนก็ได้รับ จากวั ด พิ ชั ย มาด้ ว ยเช่ น แจกั น เงิ น ฝี มื อ ช่ า งบ้ า นพิ ชั ย ที่ สร้างสรรค์ผลงานจากความศรัทธา แล้วน�ำมาถวายไว้ให้ เป็นสมบัติของวัดซึ่งสิ่งต่างๆ ได้รวบรวมไว้มากจนกลายเป็น พิพธิ ภัณฑ์แหล่งเรียนรูข้ องชุมชนรูปแบบ เทคนิค ความส�ำคัญ ประวัติความเป็นมาของงานศิลปกรรมภายในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมี ความส� ำ คั ญ และสามารถบอกเล่ า เรื่ อ งราวเก่ า ๆ ในอดี ต ได้เป็นอย่างดี มคี ณ ุ ค่าทัง้ ทางด้านศิลปะและทางประวัตศิ าสตร์
4
วัสดุที่น�ำมารังสรรค์ในงานศิลปกรรม เป็นวัสดุที่ หาได้ ภ ายในท้ อ งถิ่ น และมี บางส่ ว นที่ น� ำ เข้ า มาจากที่ อื่ น ที่มีความสวยงามและเหมาะสมในหน้าที่การใช้สอย ซึ่งใน ปัจจุบนั ไม่สามารถท�ำในรูปแบบและเทคนิคแบบเดิมได้อกี แล้ว ความคิดและค่านิยมก็เกิดการเปลีย่ นแปลงไปด้วย การเข้ามา ของอารยะธรรมใหม่ๆ รวมไปถึงวัฒนธรรมจากแหล่งอื่นที่มี อิทธิพลต่องานศิลปกรรมต่างๆ ในล้านนา ดังนั้นพิพิธภัณฑ์ วั ด ม่ อ นคี รี ชั ย และวั ด พิ ชั ย จึ ง เป็ น สถานที่ ซึ่ ง อนุ รั ก ษ์ ง าน ศิลปกรรม และท�ำให้มองเห็นถึงวิวฒ ั นาการความเปลีย่ นแปลง ที่เกิดขึ้นให้เกิดความชัดเจน
5
งานหัตถศิลป์ที่พบภายใน พิพิธภัณฑ์วัดมอนคี ่ รีชัย และวัดพิชัย
ขันดอก
1
ขั น ดอกเป็ น งานหั ต ถศิ ล ป์ ป ระเภท เครื่องไม้ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและความ ศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ซึง่ เป็นสิง่ ทีบ่ รรพบุรษุ ได้ ยึ ด ถื อ ปฎิ บั ติ สื บ ทอดกั น มาอย่ า งยาวนาน ขันดอก เป็นอีกสัญลักษณ์ของการคารวะและ บูชาพระพุทธศาสนาของคนล้านนา ขันดอก ส่วนใหญ่เป็นฝีมือของชาวไทขืนเชียงตุงหรือ ฝีมอื ของชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า เช่น ขันดอกไม้กลึง ขันซี่ ขันไม้กลึงทรงขันโตกและ ขันโอเป็นต้นงานบางชิ้นมีการตกแต่งดอกดวง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
6
ส่วนขันดอกพานเงินในช่วงศตวรรษทีผ่ า่ น มานัน้ ชาวล้านนานิยมขันดอกทีท่ ำ� จากเงินแท้ หรือ เงิ น รู ป ี จ ากอิ น เดี ย ดุ น ลายสวยงามตามแต่ ล ะ สกุลช่าง ขันดอกไม่ว่าจะมีรูปทรงใดหรือท�ำจาก วัสดุใดก็ตาม ประโยชน์ที่ใช้สอยหลักก็คือใช้วาง ดอกไม้ ธูป เทียนและเครือ่ งถวายอืน่ ๆ เพือ่ การบูชา คาราวะ ทัง้ การบูชาพระและใช้ในพิธกี รรมความเชือ่ แบบพื้นเมือง ขันดอกมักเสริมให้เครือ่ งเซ่นไหว้ กลายเป็น ของสู ง มี ค วามสง่ า งาม เปี ่ ย มด้ ว ยคุ ณ ค่ า และ ความหมายที่เป็นทิพย์ทางสัญลักษณ์ ขันดอกที่มี การตกแต่งด้วยเงิน ทอง และแก้วช่วยเสริมความ วิจิตรตระการตาแก่ตัวภาชนะและเครื่องเซ่นไหว้ นอกจากนี้แล้ว ตัวขันดอกเองก็มีรูปทรงที่แสดงถึง ศิลปะการออกแบบอันถือว่าเป็นงานประติมากรรม ได้ด้วย
7
โครงสร้ า งของขั น ดอกที่ พ บใน ล้านนานัน้ พบว่ามีหลายรูปแบบ บางใบเป็น เครือ่ งสานโดยเฉพาะไม้ไผ่ หวาย และบางใบ เป็นไม้กลึง ซึ่งทั้งสองรูปแบบส่วนใหญ่มี รูปแบบรูปทรงคล้ายกันคือ มีตีนขัน เอวขัน และตัวขันหรือปากขัน ซึง่ จุดเด่นของโครงสร้าง อยูท่ ชี่ ว่ งเอวขันทีม่ หี ลายรูปแบบ โดยเฉพาะ ทีน่ ยิ มมากก็คอื แบบทึบและแบบโปร่ง ส่วน การตกแต่งขันดอก ส่วนใหญ่นยิ มลงพืน้ ด้วย การทารัก ทาชาด เป็นช่องลายภายนอกหาก เป็ น ขั น ดอกของผู ้ มี ฐ านะ ชนชั้ น สู ง หรื อ ของวัดที่ส�ำคัญมักตกแต่งลวดลายให้เป็น พิเศษคือ การ ปิดลายทอง บ้างก็ประดับ แก้วจืน ดังขันต่อมก้อมหรือสุ่มดอกของ วัดพิชัย ซึ่งมีความสวยงามและแสดงให้เห็น ถึงฝีมือเชิงช่างได้เป็นอย่างดี
8
สุ่มดอกหรือขันต่อมก้อม คือขันดอก อีกรูปทรงหนึ่งที่ใช้จัดดอกไม้เพื่อการสักการะ บู ช า เมื่ อ จั ด แต่ ง แล้ ว คล้ า ยพานพุ ่ ม สุ ่ ม ดอก ส่วนใหญ่สงู ประมาณ 80-100 เซนติเมตร เฉพาะ เสาหลักที่ประดับตกแต่งดอกไม้ สูงประมาณ หนึ่งฟุต ลักษณะของโครงสร้างโดยรวมคล้าย ขันดอก เพียงแต่สมุ่ ดอกจะมีเสาไม้สเี่ สา และส่วน ที่เป็นเสาแกนอยู่ตรงกลางเพื่อให้ปลายเสาไป รวมกันด้านบนเสาทั้งสี่ต้น ท�ำเป็นรูปพญานาค หรือหางวัน ส่วนยอดแกะสลักเป็นดอกบัวตูม ตกแต่งด้วยไม้กลึง ยอดแหลมคล้ายยอดเจดีย์ ลงรักลงชาดปิดทองลายค�ำ ติดแก้วจืนให้สวยงาม
9
ศาสตราวุธ
2
ดาบเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ท�ำจากเหล็กใช้เป็น อาวุ ธ มี ด ้ ว ยกั น หลายแบบหลายขนาดตามความ ต้องการ ในการใช้งานในล้านนาสมัยโบราณ ดาบ คืออาวุธที่ใช้ในยามศึกสงคราม นอกจากนี้ดาบยัง เป็นอาวุธประจ�ำเรือนด้วย โดยทั่วไปแล้วตัวดาบ หรื อ ใบดาบจะท� ำ ด้ ว ยเหล็ ก ดี มี ส ่ ว นกว้ า งที่ สุ ด ประมาณ 3 นิ้วมือขวาง ยาวประมาณหนึ่งศอก ถึงสองศอก มีกั่นคือส่วนที่ฝังเข้าไปในด้ามประมาณ ครึ่ ง ฝ่ า มื อ ส่ ว นด้ า มนิ ย มท� ำ ด้ ว ยไม้ ไ ผ่ ขั ด ด้ ว ย เส้นหวายหรือเส้นใยอื่นๆ ท�ำเป็นปลอกหรือปอบ สวมรัดอยู่เต็ม หรืออาจท�ำด้วยลวดเงินหรือหุ้มเงิน เป็นระยะๆ ส่วนฝักท�ำด้วยไม้สัก หรือไม้โมกมัน ประกบกันเพื่อให้ตัวดาบสอดเข้าไปมีปลอกหวาย
10
หรืออาจท�ำด้วยลวดเงินหรือหุ้มเงินเป็นระยะๆ ส่วนฝักท�ำด้วยไม้สัก หรือไม้โมกมันประกบกัน เพื่อให้ตัวดาบสอดเข้าไปมีปลอกหวายหรือ ลวดเงินรัดให้คงรูป และเพื่อความสวยงามยังมีเชือกมัดที่ฝักเป็นห่วง เพือ่ ใช้สะพายไขว้หลังหรือสะพายบ่าภายในพิพธิ ภัณฑ์วดั ม่อนคีรชี ยั และ วัดพิชัย จะมีลักษณะปลายบัวและปลายตัดซึ่งได้รับความนิยมในกลุ่ม ไทลือ้ ซึง่ ดาบปลายบัว ดาบปลายมน หรือดาบหัวบัว เป็นดาบเน้นความ สวยงามและการใช้งานมี 2 ลักษณะคือ 1. ดาบปลายบัว ปลายดาบคล้ายดอกบัวตูมหรือกลีบดอกบัว ตัวดาบ มีขนาดความกว้างเสมอกันทั้งเล่ม หรือโคนดาบเล็กกว่าปลายดาบ เล็กน้อยคล้ายดาบจีน แต่ปลายดาบจะมนกว่า 2. ดาบปลายบัวหัวเหยีย่ น หรือดาบหัวเหยีย่ นปลายดาบมีลกั ษณะคล้าย ส่วนหัวของปลาไหล (เหยีย่ นปลาไหล) โคนดาบมีขนาดเล็กว่าปลายดาบ แล้วค่อยกว้างขึ้น ส่วนปลายด้านสันเชิดขึ้นเล็กน้อย ดาบปลายมน ปลายดาบมั ก ท� ำ เป็ น สองคม ดาบปลายตั ด หรื อ ดาบปลายเปี ย ง ดาบชนิ ด นี้ ตั ว ดาบมั ก มี ข นาดกว้ า ง ส่ ว นปลายซึ่ ง ปกติ จ ะแหลม กลับมีลักษณะเหมือนถูกตัดหรือดาบหัก เน้นประโยชน์การใช้งาน เล่ากันว่าเป็นดาบของชาวเชียงใหม่ยุคพม่าปกครอง พม่าเกรงว่า ชาวเชียงใหม่จะคิดกบฏจึงตัดปลายทิ้ง ขนบการท�ำดาบปลายเปียง จึงหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน
11
หีบธรรม และแผงพระพิมพ ์
3
หีบธรรม ล้านนาไทยนิยมเรียกว่า หีดธรรม หมายถึ ง ตู ้ ใส่ พ ระธรรมคั ม ภี ร ์ นั่ น เองทางล้ า นนา ไม่เรียกว่าหีบ สันนิษฐานว่าไม่อยากจะพ้องกับค�ำว่า ไม้ หี บ หรื อ หี บ ปลา หี บ เนื้ อ แม้ ใ นมหาเวสสั น ดรชาดก กัณฑ์นครกัณฑ์ ก็กล่าวถึงเครื่องประดับของ พระนางมั ท รี ที่ พ ระพี่ น างผุ ส ดี ท รงประทานให้ ว ่ า เครื่องง้าแง่สัพเพ แม่ผัวเททุกหีด ล้วนแล้วแต่ประณีต อาภรณ์ เครื่องนุ่ง นอนบัวริโภค เครื่องหย้องควรทรง
12
1. ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ส่วนฝาของหีบธรรมทรง สี่เ หลี่ ย มคางหมู ท� ำ เป็ น รู ปฐานปั ท ม์ ปากผาย มี อ กไก่ ท� ำ ครอบลงเพื่ อ รั บกั บ ขอบสลั ก ของตั ว หี บ ธรรม ประดั บ ตกแต่ ง ด้ ว ยเทคนิ ค ประดั บ แก้วจืนและลายค�ำ ส่วนของตัวหีบธรรมประดับ ตกแต่ ง ด้ ว ยแก้ ว จื น เป็ น ดอกประจ� ำ ยามอยู ่ ตรงกลางมี ก ารปั ้ น รั ก กระเหนะ เพิ่ ม ลายค� ำ ประดับมุมทั้งสี่ด้านเป็นลวดลายเครือเถา ส่วน ตี น ของหี บ ธรรมท� ำ เป็ น ฐานปั ท ม์ มี อ กไก่ อ ยู ่ ตรงกลาง มีการประดับตกแต่งด้วยการประดับ แก้วจืน ลายค�ำ และทารักทาชาด
13
2. ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนฝาของหีบธรรมเป็นรูป สี่เหลี่ยมคางหมู มีการตกแต่งด้วยเทคนิคลายคำ� และทารั ก ทาชาดตั ว หี บ ธรรมทรงสี่ เ หลี่ ย มจั ตุ รั ส แต่ละด้านมีการตกแต่งเทคนิคลายคำ� และลงรัก ล่ อ งชาด ประดั บ กระจกจื น ตามร่ อ งไม้ ด้ า นหน้ า มี ก รอบกระจกใส่ แ ผ่ น จารึ ก ผู้ ส ร้ า งถวาย แต่ ใ น ปัจจุบันได้ชำ�รุดจนไม่สามารถอ่านจารึกได้ มีการ ตกแต่ ง ลายคำ�เป็ น ลายอดี ต พุ ท ธทั้ ง หมด 3 รู ป ส่วนฐานของหีบธรรมทำ�เป็นฐานปัทม์ มีการตกแต่ง ด้วยลายคำ� และลงรักล่องชาด ประดับแก้วจืน โครงสร้างของหีบธรรมในเขตพื้นที่ล้านนา นั้นโดยทั่วไปแล้วมักจะมีรูปแบบสวยงาม ซับซ้อน แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ แต่รูปแบบส่วนใหญ่ เน้นความคงทนแข็งแรงเป็นสำ�คัญ เนือ่ งจากเป็นงาน พุทธศิลป์ ทีส่ ร้างขึน้ มาเพือ่ เก็บรักษาพระธรรมคัมภีร์ ต่างๆ ภายในวัด จึงให้ความสำ�คัญในการสร้างมาก เป็นพิเศษ
14
แผงพระพิ ม พ์ เป็ น งานพุ ท ธศิ ล ป์ อี ก ประเภทหนึ่ ง ที่ นิ ย มสร้ า งถวายตามคติ ค วามเชื่ อ เรื่องอดีตพุทธซึ่งมีแนวคิดที่ว่า พระพุทธเจ้าในอดีต มีเทียบเท่ากับเม็ดทรายในมหาสมุทร แต่มอี ดีตพุทธ เพียง 27 พระองค์เท่านั้นที่บรรลุอรหันต์ แล้วนำ� หลั ก ธรรมออกเผยแพร่ สั่ ง สอนให้ แ ก่ สั พ พะสั ต ว์ ทั้งหลายให้เห็นแจ้งเห็นธรรมไปสู่ความหลุดพ้นจาก บ่วงกรรมอดีตพุทธทั้ง 27 พระองค์นี้จึงได้รับการ ยกย่องและควรแก่การสักการะบูชา พุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาทนั้นถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นเพียงมนุษย์ ธรรมดาแต่ได้สั่งสมบารมีไว้มาก จนสามารถบรรลุ โพธิญาณได้ พระองค์เป็นศาสดาผู้นำ�ศาสนิกชนให้ เข้าสู่ความสงบสุขของชีวิต โดยอาศัยธรรมะที่แสดง และวิ นั ย ที่ บั ญ ญั ติ ไว้ เ ป็ น หลั ก คั ม ภี ร์ พุ ท ธวงศ์ ไ ด้ กล่าวถึงอดีตพระพุทธเจ้า 27 พระองค์
15
• พระตัณหังกรพุทธเจ้า • พระเมธังกรพุทธเจ้า • พระสรณังกรพุทธเจ้า • พระทีปังกรพุทธเจ้า • พระโกณฑัญญพุทธเจ้า • พระมังคลพุทธเจ้า • พระสุมนพุทธเจ้า • พระเรวตพุทธเจ้า • พระโสภิตพุทธเจ้า • พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า • พระปทุมพุทธเจ้า • พระนารทพุทธเจ้า • พระปทุมุตตรพุทธเจ้า • พระสุเมธพุทธเจ้า 16
• พระสุชาตพุทธเจ้า • พระปิยทัสสีพุทธเจ้า • พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า • พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า • พระสิทธัตถพุทธเจ้า • พระติสสพุทธเจ้า • พระปุสสพุทธเจ้า • พระวิปัสสีพุทธเจ้า • พระสิขีพุทธเจ้า • พระเวสสภูพุทธเจ้า • พระกกุสันธพุทธเจ้า • พระโกนาคมนพุทธเจ้า • พระกัสสปพุทธเจ้า
มีพระพิมพ์ท�ำด้วยตะกั่ว พุทธลักษณะแสดงปาง มารวิชัยประทับอยู่บนโพธิบัลลังก์จ�ำนวน 10 องค์ และ ปางห้ามญาติ 2 องค์ การประดับตกแต่งท�ำด้วยเทคนิคปิดค�ำ ส่วนล่างของแผงพระพิมพ์ท�ำด้วยไม้ ด้านข้างทั้งสองแกะ สลักไม้ท�ำเป็นรูปเสาขอมปากแล มีพระพิมพ์ท�ำด้วยตะกั่ว ซึ่ง สามแถวด้านบนมีพระพิมพ์ มีพทุ ธลักษณะแสดงปางมารวิชยั ประทับอยู่บนโพธิบัลลังก์จ�ำนวน 24 องค์ และสองแถวล่าง เป็นปางห้ามญาติ 14 องค์ การประดับตกแต่งท�ำด้วยเทคนิค ลายค�ำบนตัวแผง และ ตัวพระพิมพ์ตกแต่งด้วยเทคนิคปิดค�ำ
17
เครื่องใชในชี ้ วิตประจำ�วัน
เครือ่ งลายคราม
4
เครื่องถ้วยจีนที่ตกแต่งด้วยลายที่เขียน ใต้เคลือบนั้น มีวิวัฒนาการที่มาก่อนการเขียน บนเคลือบด้วยสีหลายสีเป็นเวลานาน เครื่องถ้วย พวกนั้นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือพวกเขียนลายใต้เคลือบสีน�้ำเงิน หรื อ ที่ เรี ย กว่ า พวกเครื่ อ งลายคราม ซึ่ ง ภายใน พิพิธภัณฑ์วัดม่อนคีรีชัยและวัดพิชัย ได้รับเครื่อง ถ้วยลายครามจากตระกูล ณ ล�ำปางเนื่องจากมี การรื้อถอนคุ้มหลวงกลางเวียง ซึ่งเป็นเครื่องถ้วย ของเจ้าอุปราช ทิพจักร ณ ล�ำปาง 18
ตัวชามลายครามลวดลายมังกรมีเล็บสามเล็บ เป็นทีน่ ยิ ม ในกลุ่มผู้มีอันจะกิน ตามที่คนจีนมีความเชื่อโดยสัญสักษณ์กัน ส�ำหรับระดับชนชั้นกษัตริย์เป็นรูปมังกรห้าเล็บ นอกจากนี้ยังมี ชามลายครามเขียนลวดลายใต้เคลือบเป็นรูปหงส์ สัญลักษณ์ มงคลตามความเชื่อของชาวจีน และลวดลายดอกไม้ด้วย จานเครือ่ งเคลือบ มีการตกแต่งด้วยการเขียนลายคราม เป็นลวดลายอุบะเฟือ้ ง ซึง่ เป็นลวดลายทีพ่ บในกลุม่ งานศิลปกรรม ของไทยบนตัวจานมีการเขียนปีรัตนโกสินทร์ศก 126 ซึ่งตรงกับ ปี พ.ศ. 2430 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการเขียน บนจาน “ทพจ” ซึ่งเป็นนามย่อของเจ้าทิพจักร ณ ล�ำปาง ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอุปราชในเวลานั้น
19
ผ้าตัง้ ธรรมหลวง (ก๊างธรรม)
5
ผ้ า ตั้ ง ธรรมหลวง นั บ เป็ น เครื่ อ งพิ ธี ก รรม อีกสิ่งหนึ่งที่น้อยคนนักจะรู้จักและเคยพบเห็น เนื่อง ด้วยว่าได้มีการปรับเปลี่ยนและตัดทอนรายละเอียด ของการตระเตรียมเครื่องพิธีลงให้กระชับ อีกทั้งได้ ขาดช่ ว งของการสื บ ทอดภู มิ ป ั ญ ญาและฝี มื อ การ สร้างสรรค์ของช่างผู้ท�ำเครื่องพิธีชนิดนี้
20
ผ้ า ตั้ ง ธรรมหลวง แต่ เ ดิ ม มี บ ทบาทและหน้ า ที่ ใ นการเป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระธรรมเทศนาเรื่ อ ง พระเวสสั น ตะระหรื อ พระเวสสันดรชาดก อันเป็นมหาชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนเสด็จมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นการที่จะอัญเชิญ ใบลานเรื่องพระเวสสันตะระมาประดิษฐานยังมณฑลพิธี จึงต้อง มี ที่ จั ด อยู ่ อ ย่ า งพิ เ ศษ ด้ ว ยการกางโครงไม้ ก ลึ ง สามขาหรื อ สี่ขาไขว้ที่เรียกว่า ก๊างธัมม์หรือกากะเยีย แต่ความพิเศษอยู่ ตรงทีท่ งั้ สามหรือสีด่ า้ นของ “ก๊างธัมม์” นัน้ จะมีผา้ ปักเป็นรูปเทวดา พนมมืออยู่ด้านละผืน หากเป็นแบบผ้าแขวนสี่ด้านมักเรียกว่า ผ้ า พรหมสี่ ห น้ า โดยมี ค วามยาวตั้ ง แต่ ส ่ ว นบนของก๊ า งธั ม ม์ จรดจนถึงพื้น และมีความกว้างเท่ากันทั้งทุกด้านของหน้าผ้า และก๊างธัมม์ การสร้างงานประเภทนี้ ถือเป็นงานที่สตรีได้ เข้ามามีบทบาทอีกครั้ง ของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาที่ จัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปี ด้วยเหตุที่ต้องมีการใช้ฝีมือในการเย็บปัก ถักร้อย อันเป็นงานประดิษฐ์ทลี่ ะเอียดอ่อน ถึงลวดลายกระหนก พันธุ์พฤกษา และเทวดา นอกจากนี้ยังมีการปรับใช้วัสดุที่มีค่า เช่น แผ่นโลหะเงินทอง เป็นต้น มาตัด ฉลุ และดุนโดยช่างบุรุษ ด้วยรูปแบบเดียวกัน
21
เครื่องเงิน
6
เครือ่ งเงินในทีน่ หี้ มายถึงเฉพาะการท�ำ เครื่องใช้โดยมีเงินเป็นวัสดุหลัก เครื่องเงินใน พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วั ด ม่ อ นคี รี ชั ย และวั ด พิ ชั ย เป็ น เครื่องเงินที่ผลิตในหมู่บ้านและการรับบริจาค จากบุคคลภายนอก ซึ่งท�ำให้มีรูปแบบหลาย ลั ก ษณะ ซึ่ ง มี ก ารเลี ย นแบบงานอื่ น ๆ เช่ น งานแจกันเงินที่ท�ำโดยช่างท้องถิ่นแต่มีรูปแบบ และได้รับอิทธิพลจากพม่าอย่าเห็นได้ชัด จาก ลวดลายการดุนเงินนั่นเอง
22
สลุง เป็นภาษาชาวเหนือที่เรียกขันเงิน เป็นภาชนะอีกอย่างหนึง่ ทีแ่ สดงถึงความมีฐานะดี ของแต่ ล ะครั ว เรื อ น เป็น ภาชนะที่ค รัว เรือ น ส่ ว นใหญ่ ต ้ อ งมี เ มื่ อ มี กิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ วั ด วา และพระศาสนาหรืองานที่เกี่ยวข้องกับเจ้านาย ผู้หลักผู้ใหญ่ ภาชนะที่นิยมถือติดไปมักเป็น เครื่องเงิน เรียกรวมกันว่า คัวเงิน ในพิพิธภัณฑ์ยังมีสลุงเกลี้ยง ส่วนปากของสลุง เกลีย้ ง ทรงกลม ไม่มลี วดลายประดับส่วนก้นสลุง มีลักษณะกลมซึ่งเรียกว่าทรงขันโอ แจกั น เงิ น ทรงปากแตร มี ล วดลายดอกแบบ ศิลปะล้านนาผสมศิลปะพม่าตัวแจกันดุนลาย เป็นสัตว์มงคลอยู่ในซุ้มทั้งหมดเจ็ดซุ้มส่วนฐาน ของแจกันลักษณะเป็นกรวยตัด ดุนลายเป็น ลวดลายพันธุ์พฤกษาแบบเครือเถา
23
สิ่ ง จั ด แสดงในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ มี รู ป แบบ ลักษณะ เทคนิค ที่แตกต่างกันในรายระเอียด ออกไป มีแนวคิดที่บ่งบอกถึง สกุลช่างล�ำปาง และความเกี่ยวพันธ์กับชุมชนอย่างเห็นได้ชัด หรื อ มี แ นวคิ ด ที่ ส อดรั บ กั บ ความเชื่ อ ในเรื่ อ ง หน้าที่การใช้งาน และลักษณะรูปแบบงานของ ชนชั้ น สู ง และคนธรรมดาสามั ญ ซึ่ ง มี ค วาม สัมพันธ์ระบบสังคม สะท้อนให้เห็นถึงฝีมือเชิง ช่างในอดีตได้เป็นอย่างดี และสามารถบอกเล่า เรือ่ งราวในอดีตว่ามีความรุง่ เรือง การน�ำเอาวัสดุ ที่มีอยู่น�ำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ ท�ำให้ชิ้นงาน มีคุณค่าทั้งด้านศิลปะและประวัติศาสตร์ ในปัจจุบนั ไม่สามารถท�ำในรูปแบบและ เทคนิคเดิมได้อีกแล้ว ด้วยมีความเปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเวลา ความคิ ด และค่ า นิ ย มก็ เปลี่ยนแปลงไปด้วย การเข้ามาของวัฒนธรรม ใหม่ๆ มีอิทธิพลต่องานศิลปกรรมต่างๆ ใน ล้านนา ซึ่งท�ำให้งานศิลปกรรมเหล่านี้ได้ถูกลด บทบาทลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นเราจึงควรจะ อนุ รั ก ษ์ เพื่ อ เป็ น การสื บ ทอดผลงานของ บรรพบุรุษให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน
24
งานหัตถศิลป์บ้านพิชัย C ภาพและเนื้อเรื่อง (2557) โดย อัศม์เดช มาลัย, 540310148
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบรูปเล่มโดย อัศม์เดช มาลัย ตัวหนังสือหน้าปก TH K2D July8 74 points ตัวหนังสือTH Sarabun PSK 15, 17, 21 points หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดท�ำขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดทางการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
25
สิ่งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มีรูปแบบ ลักษณะ เทคนิค ที่แตกต่างกันในรายระเอียดออกไป มีแนวคิดที่บ่งบอกถึง สกุลช่างล�ำปาง มีความเกี่ยวพันธ์กับชุมชนอย่างเห็นได้ชัด ทัง้ แนวคิดทีส่ อดรับกับความเชือ่ ในเรือ่ งหน้าทีก่ ารใช้งาน และ ลักษณะรูปแบบงานของชนชั้นสูงและคนธรรมดาสามัญ ซึ่งมี ความสัมพันธ์ระบบสังคม สะท้อนให้เห็นถึงฝีมอื เชิงช่างในอดีต ได้เป็นอย่างดี และสามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตว่ามีความ รุ่งเรือง การน�ำเอาวัสดุที่มีอยู่น�ำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ ท�ำให้ ชิ้นงานมีคุณค่าทั้งด้านศิลปะและประวัติศาสตร์