Ho dhamma architecture in Wat Ban Luk, lamphun/Kulthirat Wuttiakarapaisarn

Page 1



ประวัติเมืองลำ�พูน ล�ำพูน เป็ นจังหวัดทีเ่ ก่าเเก่ทส่ี ดุ ในภาคเหนือเดิมมีชอ่ื ว่า นครหริภุญชัย สร้างเมือ่ พ.ศ. 1200 โดยฤๅษีวาสุเทพ ได้เกณฑ์พวกเมงคบุตรเชือ้ สายมอญ มาสร้างระหว่างเเม่น้�ำสองสาย ได้เเก่เเม่น้�ำปิงเเละเเม่น้�ำกวง เมือ่ สร้างเสร็จได้ อัญเชิญพระธิดาพระมหากษัตริยแ์ ห่งเมืองละโว้ พระนามว่า จามเทวี มาครอง เมืองหริภุญชัย โดยมีกษัตริยค์ รองเมืองหลายราชวงศ์ สมัยกรุงธนบุร ี พระเจ้ากาวิละ ได้รบั การสนับสนุนจากพระเจ้ากรุงธนบุร ี ให้ทำ� การขับไล่พม่าจนส�ำเร็จ เเละได้ไปครองเมืองเชียงใหม่ ต่อมาเจ้าค�ำฝน ได้ ขึน้ ครองเมืองล�ำพูน ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองล�ำพูน ได้ตกเป็ นเมืองขึน้ โดยมีเจ้าผูค้ รอง นครสืบต่อกันมา จนถึงสมัยพลตรีเจ้าจักรค�ำขจรศักดิ ์ เป็ นผูค้ รองเมือง และใน ปี พ.ศ. 2475 ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงการปกครอง จึงได้มกี ารยกเลิกต�ำแหน่ง ผู้ ครองเมือง

1


ประวัติวัดบ้านหลุก ตำ�บลเหมืองง่า อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�พูน วัดบ้านหลุก ตัง้ อยูเ่ ลขที่ 163 หมูท่ ่ี 8 ต�ำบลเหมืองง่า อ�ำเภอเมือง ล�ำพูน จังหวัดล�ำพูน ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดบ้านหลุกสร้างขึน้ เมือ่ ราวปี พ.ศ. 2325 โดยมีทด่ี นิ 7 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถหอสวดมนต์ ศาลาบ�ำเพ็ญกุศล หอระฆังปูชนียว์ ตั ถุ พระพุทธรูปปรางมารวิชยั ศิลปะล้านนา จ�ำนวน 3 องค์และหอพระไตรปิฎก ภายในบริเวณวัดบ้านหลุกนัน้ มีบ รรยากาศร่ ม รื่น แวดล้ อ มด้ ว ย กลุม่ อาคารเก่าแก่อายุกว่า ๑๐๐ปี เป็ นมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อมา นานหลายช่วงชีวติ คน วัดบ้านหลุก ถูกสร้างขึน้ ในพ.ศ. 2429มีชาวบ้าน ประกอบอาชีพทีห่ ลากหลาย ไม่วา่ จะเป็ น พ่อค้าแม่คา้ ช่างไม้ชา่ งแก้ว ต่างน� ำเอาวิชาความรูใ้ นเชิงช่างติด มาด้วย ส่งผลให้อาคารเก่าแก่ในบริเวณของวัดบ้านหลุกได้แสดงออกถึงฝีมอื ช่างยองอย่างไม่เปลีย่ นแปลง ซึง่ ทีโ่ ดดเด่นคือ “ หอธรรม เป็ นอาคารไม้หลัง ใหญ่ทย่ี นื หยัดท้าแดดฝนมานานอายุกว่า ๑๒๐ ปี 2


หอธรรมวัดบ้านหลุก อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�พูน ประวัติการก่อสร้างและบูรณะ หอธรรมวัดบ้านหลุก สร้างขึน้ เมือ่ พ.ศ. 2429โดยมีพระครูบาปญั ญา เป็ นประธานในการก่อสร้างหอธรรม จนถึงปจั จุบนั หอธรรมวัดบ้านหลุกมี อายุมากกว่า 120 ปี ถูกสร้างขึน้ ด้วยวัสดุทห่ี าได้งา่ ยในท้องถิน่ คือไม้สกั ทัง้ หลัง มีเสาทัง้ หมดประมาณ 30 ต้น ยกพืน้ เป็ น 2 ชัน้ หอธรรมหลังเดิมมุง ด้วยไม้เกล็ด ในปจั จุบนั ได้มกี ารบูรณะหลังคาเป็ นกระเบือ้ งเสาของหอธรรม เดิมนัน้ เป็ นอิฐ ในปจั จุบนั กรมศิลป์ ได้มกี ารเข้ามาช่วยบูรณะเพิม่ เติมให้ม ี ความแข็งแรงมากขึน้ โดยมีการบูรณะล่าสุดเมือ่ ปีพ.ศ.2555

3


ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวัดบ้านหลุก ลักษณะของหอธรรมวัดบ้านหลุกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกใต้ถุนต่ำ� สร้างขึ้นด้วยไม้ทั้งหลังมีเสา 30 ต้น ต้นละประมาณ 90 เซนติเมตร มีเสา รองรับอาคารชั้นบนเป็นหอไตรสองชั้น ใต้ถุนต่ำ� อาคารด้านบนทำ�เป็นห้อง สี่เหลี่ยมมีหน้าต่างรอบด้านหน้าประตูทางเข้าเป็นประตูสองบาน คันทวย หูช้างแกะสลักเป็นรูปลิง และลายกนก มีรูปพรรณพฤกษาแกะสลัก อยู่ที่ มุมทั้งสี่หน้าบันแกะสลักเป็นลายเครือเถาพรรณพฤกษาประดับกระจกสี ใน ส่วนหลังคาเป็นหลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องดินขอ

4


ลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมหอธรรม หอธรรมวัดบ้านหลุกเป็นเครื่องไม้ทั้งหลัง เป็นอาคารขนาดสองชั้นยก ใต้ถุนเตี้ย แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กั้นฝาทึบทั้งสี่ด้าน เจาะช่องหน้าต่าง ด้านละ 4-5 ช่อง โดยทางด้านหน้ามีประตูทางเข้า 1 ประตู และไม่มีบันได ให้ขึ้น หากต้องการจะขึ้นต้องนำ�บันไดมาพาดไว้แล้วยกเก็บเมื่อใช้เสร็จ หลังคาทำ�เป็นหลังคาลดชั้นแต่เดิมมีการบุงด้วยไม้สักทั้งหลังต่อมามีการผุ ผังลง จึงได้มีการบูรณะการมุงหลังคาด้วยกระเบื้อง ซึ่งประกอบด้วย ช่อฟ้า หางหงส์ หน้าบันมีการประดับลวดลายไม้แกะสลักเป็นลายพรรณพฤกษา ในส่วนของตัวหอธรรมก็มักมีการประดับลวดลายไม้แกะสลักเป็นลายพรรณ พฤกษาอย่างสวยงาม

5


งานศิลปกรรมประดับหอธรรม งานศิลปกรรมประดับหอธรรม คือ ส่วนประกอบที่ใช้ในการประดับ ตกแต่งตัวอาคาร เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่สร้างสุนทรียภาพ จะมีการ ประดับตามตำ�แหน่งที่สำ�คัญรอบๆหอธรรม จึงเป็นส่วนที่ไม่สามารถแยก ออกจากงานสถาปัตยกรรมไทยได้ รวมทั้งยังเป็นส่วนที่สร้างขึ้นตามคติทาง พระพุทธศาสนาเช่นกัน

ส่วนรูปแบบทางศิลปกรรมที่ประดับตัวหอธรรมวัดบ้านหลุก อำ�เภอ เมือง จังหวัดลำ�พูนนั้น โดยสามารถจำ�แนกลวดลายประดับตกแต่งได้ดังนี้ 6


1.ลวดลายสัตว์ ประเภทของสัตว์ที่มีการนำ�มาตกแต่งนั้น ต้องเป็นสัตว์ที่มีความเชื่อว่า เป็นสัตว์ที่สามารถปกป้อง คุ้มครอง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ โดยไม่ให้สิ่ง ชั่วร้ายได้เข้ามาใกล้กับ พระคัมภีร์ หรือพระไตรปิฎก เช่น ลิง นกยูง นกหัสดี ลิงค์ เป็นต้น 2.ลวดลายพรรณพฤกษา ลวดลายพรรณพฤกษาเป็นลวดลายที่เป็นที่นิยมมากในการใช้ประดับ ตกแต่ง โดยลักษณะที่ปรากฏออกมานั้นจะเป็นลายเครือเถา หรือที่เรียกว่า ลายก้านขด ดอกไม้ที่นิยมใช้กันมากที่สุดนั้น คือ ดอกบัว นอกจากนี้ยังมี ลายดอกโบตั๋นหรือที่เรียกกันว่าดอกพุดตาน เป็นดอกที่มีการรับอิทธิพลมา จากจีน โดยทั่วไปอาจจะมีการพบลวดลายของดอกสัปปะรด โดยการสังเกตุ ง่ายๆคือ บริเวณตรงกลางของดอกจะมีการทำ�เป็นลายตาราง มีการปรากฏ ใน หน้าบัน คันทวย ต่างๆ 3.ลวดลายเทวดา ลวดลายเทวดามักจะอยู่บริเวณ ประตู หน้าต่าง หน้าบัน โดยมีความ เชื่อว่าเทวดานั้นจะคอยปัดไล่ สิ่งชั่วร้ายออกไป โดยทั่วไปลักษณะของ เทวดานั้น จะอยู่ในท่ายืนพนมกร หรือไม่ก็เทวดาจะมีการถือดอกไม้

7


8


ลักษณะทางศิลปกรรมของวัดบ้านหลุก 1.หลังคา

เป็นหลังคาสองชั้น ชั้นล่างมีการทำ�ครอบคลุมอาคารไม้ทั้งหมด แต่เดิม นั้นหลังคาของหอธรรมวัดบ้านหลุกนั้นมุงไม้ เมื่อมีการผุผังของไม้ต่อมาจึง ได้มีการบูรณะการมุงหลังคาด้วยกระเบื้อง

9


2.ช่อฟ้า

เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่สำ�คัญทางสถาปัตยกรรมของอาคาร ทางพระพุทธศาสนาที่จะประดับตรงปลายสันหลังคน อยู่เหนือบริเวณสัน อกไก่วัสดุที่ใช้เป็นไม้ โดยการแกะสลักเป็นรูปปากหงส์และมีบางวัสดุเป็นวัส ดุอื่นๆ เช่น มีการประดับกระจก (แก้วอังวะ) กระเบื้อง

3.ป้านลมและหางหงส์

เป็นลักษณะของปูนปั้นเรียบไปตามแนวลาดเอียงของหลังคาล้านนา นิยมใช้ในการปิดหัวแปบางครั้งทำ�เป็นลำ�ตัวนาคแบบตรงๆที่ภาคกลาง เรียกว่านาคลำ�ยองจะใช้ไม้เป็นวัสดุในการทำ�เนื่องจากมีนํ้าหนักเบาและหา ได้ง่ายในท้องถิ่น

10


4.หน้าบัน

นิยมใช้ไม้เป็นวัสดุในการก่อสร้างและประดับลวดลาย โครงสร้างอัน เป็นเอกลักษณ์ คือ โครงสร้างแบบขื่อม้าต่างไหม เพราะมีคุณสมบัติในการก ระจายรับน้ำ�หนักของหลังคาลงสู่เสาได้ดี มักมีการประดับประดาลวดลาย เครือเถา พรรณพฤกษา สัตว์หิมพานต์ วัสดุที่ใช้ในการประดับประดาหน้า บัน ได้แก่ ปูนปั้น กระจก หรือเป็นไม้แกะสลัก

5.ประตู

ประตูทางเข้าห้องเก็บคัมภีร์มีการเขียนลายทวารบาลอย่างง่าย

6.แป้นน้ำ�ย้อย

เป็นแป้นที่ติดอยู่กับโครงสร้างของหลังคาด้านล่าง ซึ่งมีการทำ�ให้เกิด ความสวยงาม โดยมีลักษณะการตกแต่งด้วยเทคนิคการแกะสลักไม้ และ ตกแต่งเติมสีลงไป

11


7.ขื่อและแปหัวเสา

เป็นไม้ที่มีหน้าที่ยึดหัวเสาทั้งสองด้านสกัดเข้าหากันเป็นไม้ที่วางตามยาว ของหลังคา ทำ�หน้าที่ยึดหัวเสาระหว่างห้องต่อห้องโดยวางทับปากขอมกับขื่อ รับน้ำ�หนักจากกลอนและแผงหน้าจั่ว

8.ปากแล

เป็นงานไม้แกะสลักประดับอาคารสถาปัตยกรรมล้านนา อยู่ตรงส่วนหน้า ของช่องแผงแลที่ยื่นพ้นตัวอาคาร เป็นรูปเทวดา ประดับเพื่อความสวยงาม โดยที่ มีหงส์ประทับอยู่ข้างหน้าทุกมุม ใช้เทคนิคการปั้นปูน ประดับด้วยกระจก

9.ฝาผนัง

หอธรรมวัดบ้านหลุกเป็นอาคารสองชั้น มีใต้ถุนเตี้ย ข้างล่างเป็นโถงเป็น แผ่นไม้ตีตามยาว ชั้นบนเดิมใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก พระคัมภีร์ต่างๆ มีหน้า ต่างด้านกว้าง 4 บาน ด้านยาว 5 บาน มีการประดับฝาผนังด้วยไม้แกะสลักเป็น รูปพรรณพฤกษา

10.หน้าต่างของหอธรรม

เป็นงานไม้แกะสลักประดับอาคารสถาปัตยกรรมล้านนาหน้าต่างห้องเก็บ คัมภีร์เป็นรูปเทวดาโดยมีความเชื่อว่าเทวดาจะคอยปกป้องคุ้มครองคัมภีร์พระ ไตรปิฎก 12


11.คันทวย

-คันทวยลวดลายสัตว์ ที่มีความเกี่ยวเนื่องทางพระพุทธศาสนา โดยส่วนที่ พบจะเป็นลวดลายวานรลายเดียวกัน จำ�นวน 18 ตัว -คันทวยพรรณพฤกษา ที่มีความเกี่ยวเนื่องทางพระพุทธศาสนา โดยส่วนที่ พบจะเป็นพรรณพฤกษา 2 ลาย จำ�นวน 18 ตัว

13


14


15


หอธรรมวัดบ้านหลุก อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำพูน ภาพและเนื้อเรือ่ ง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย กุลธิรตั น์ วุฒอิ คั รไพศาล, 540310116 สงวนลิขสิทธิ ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครัง้ แรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดยภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย กุลธิรตั น์ วุฒอิ คั รไพศาล หนังสือเล่มนี้เป็ นผลงานทางวิชาการจัดท�ำขึน้ เพือ่ ส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษาภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

16



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.