ตัวอย่าง aw tsp freemag

Page 1

ISSUE 01 | JULY 2016

If you can’t find a Creator, be One

Let’s Start - Up NARATA boutique studio ÊÌҧ´ŒÇÂÁ×Í ·Ó´ŒÇÂ㨠Cover Story ºÙŒ - ¸¹Ñ¹µ ºØÞÞ¸¹ÒÀÔÇѲ¹ If you can’t find a Creator, be One Think Tank The new Space on earth ¾×้¹·Õ่ãËÁ‹ã¹âÅ¡ ÊÌҧÊÃä

FREE COPY


Think Tell ISSUE 1: Where Ideas Inspire JUNE 2016

Editor’s Note

C

M

Y

กระบวนการของความคิด คุณว่ามันเริ่มมาจากตรงไหน? เราเป็นคนหนึ่งที่มักถามตัวเองอยู่หลายครั้ง และก็ได้ค�ำตอบมาว่า มันเริม่ มาจากข้างใน และข้างในของเราก็คอื “หัวใจ” นแี่ หละ คุณเคย คิดไหมว่าความคิดของคนๆหนึ่ง จะสามารถแตกไอเดียออกมาได้ กี่ล ้านเรื่อง และมั นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มี “แรงบันดาลใจ” หลายครั้งเวลาผู้เขียนคิดอะไรไม่ออก วิธีแก้ไขคือปล่อยวางและ เริม่ ออกหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ และบางครัง้ ก็ไม่นา่ เชือ่ เลย มันอาจจะ อยูร่ อบๆ ตัวเราอย่างคาดไม่ถงึ บางครัง้ มันผ่านมาทางดวงตา บางครัง้ มันเกิดจากการกระท�ำ และก็ในบางครัง้ มันอาจจะเริม่ มาจากตัวอักษร เพียงตัวเดียว… แรงบันดาลใจมันไม่เริ่มตามหาคุณหรอก มีแต่คุณ ที่จะต้องออกไปตามหามัน MR. THINKING

บรรณาธิการบริหาร

CM

MY

CY

CMY

K

CONTENT P.4 P.5 P.6 P.12 P.14 P.22 P.24 P.26

Topic : Let’s Get Naked เปลือยกายอย่าง’น่า’ไม่อาย The List Cover Story : If You Can’t Find A Creator, Be One Time to Travel : Japan Time สร้างเรื่องให้ชวนเที่ยว Think Tank : The New Space On The Earth Mix & Match : Thinker Space & Malcer Space Talks : Handmade, Heartmade Exclusive Interview : THINK SPACE B2S: Thoughtful Interior Design


The List

Topic

Let’s get naked เปลือยกายอย่าง’น่า’ไม่อาย

อาสาสมัครทุกคนจะได้รับการบอดี้เพ้นท์ แต่งหน้าและแต่งตัวด้วยสีที่บ่งบอก ถึงความเป็นทะเลเพือ่ สือ่ สารในเชิงนามธรรมว่ามนุษย์กบั ทะเลแยกออกจากกัน แต่กย็ งั มีความสัมพันธ์กันอยู่ในทางใดทางหนึ่ง “ผมรู ้ สึ ก ทึ่ ง ที่ รู ้ ว ่ า พื้ น ที่ ที่ เ คยเต็ ม ไปด้ ว ยน�้ ำ ทะเลกลายเป็ น ถนน และ สวนสาธารณะไปหมดแล้ว ภาพถ่ายของผมจึงสื่อสารเกี่ยวกับประเด็นนี้ มันจะสะท้อน ออกมาในรูปแบบของทะเลแห่งมนุษยชาติที่ท่วมล้นเข้ามาในเขตของความเป็นเมือง” “ส�ำหรับใครทีส่ นใจเรือ่ งศิลปะนูด้ แต่เป็นคนค่อนข้างเหนียมอาย นีเ่ ป็นโอกาส ที่สวยงามมากจริงๆ ที่จะได้เปิดตัวเองโดยมีสีที่ช่วยปกปิดได้ในระดับหนึ่ง” ช่างภาพ วัย 49 ปีกล่าว เขาจัดงาน installation ครั้งที่สองในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคมที่นอร์ธ ลินคอล์นเชียร์ (North Lincolnshire) โดยจะชักชวนอาสาสมัครที่ร่วมถ่ายภาพเปลือย ทีฮ่ ลั ล์มาร่วมด้วยซึง่ ผลงานชิน้ นีถ้ กู จัดขึน้ เป็นนิทรรศการและเปิดขายเป็นคอลเลคชันให้ ผูก้ ล้าเปลือยทุกคนได้รบั ผลงานแบบ limited edition กลับไป และเราจะได้เห็นศิลปะนูด้ ที่มีทะเลมนุษย์กว่า 100 คนเป็นนิทรรศการที่แกลเลอรี Ferens ที่เมืองฮัลล์ พร้อมกัน ทั่วหน้าในปี 2560 ใครที่บอกว่าการเปลือยกายนั้นน่าอาย ก็อาจจะจริง แต่ก็ไม่เสมอไป ป.ล. ภาพที่เห็นเป็นผลงานที่ผ่านมาแล้วของ สเปนเซอร์ T

ถ้าคุณเป็นชาวเมืองฮัลล์ (Hull) วันดีคืนดีคุณอาจจะได้มีโอกาสเปลื้องผ้า ต่อหน้าสาธารณชนกับผูค้ นนับร้อยเพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ของงานศิลปะนูด้ ระดับโลก นอกจาก จะประกาศความเป็นเสรีแบบไม่ต้องเขินอายมากนัก แล้วผลงานที่มีคุณรวมอยู่จะได้ ปรากฏอยู่ในงานแสดงและแกลเลอรีที่มีผู้เข้าชมหลายพันคนอีกด้วย Nude art หรือศิลปะเปลือยอาจไม่ใช่ประเด็นที่หวือหวาเท่าไหร่ในยุคนี้ ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปท�ำให้ศิลปินหรือช่างภาพต่างตีความ ‘ความเปลือย’ กันตามบริบท ทางวัฒนธรรมและความเชื่อที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ ก่ อ นหน้ า นี้ ปาโบล ปิกัส โซ (Pablo Picasso) จิ ตรกรเอกระดั บโลกหรื อ คะสึชิกะ โฮะกุไซ (Katsushika Hokusai) เจ้าของภาพวาดคลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ ก็ฝากผลงานภาพวาดเปลือยมาก่อน จนมาถึงในยุคนี้คอนเซ็บของการเปลือยกายก็ พัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ มันสามารถเป็นได้ทั้งศิลปะไปจนถึงการแสดงออกทางสังคม ของผูค้ น และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าศิลปะเปลือยก็ยงั สร้างความตืน่ เต้นให้กบั ผูช้ มได้แม้วา่ มันจะเป็นเรื่องที่อยู่กับเรามานานแสนนานแล้วก็ตาม ส�ำหรับงานแสดงภาพนู้ดครั้งล่าสุดนี้ Spencer Tunik ช่างภาพชาวอเมริกัน ผู ้ มี ชื่ อ เสี ย งจากการแสดงงานแบบ mass nude art installations หรื อ การ ถ่ า ยภาพนู ้ ด ในสเกลใหญ่ เ ป็ น ผู ้ อ ยู ่ เ บื้ อ งหลั ง งานแสดงภาพนู ้ ด ‘Sea of Hull’ หรือทะเลแห่งเมืองฮัลล์ที่ผ่านมานี้ แน่นอนว่าจุดหมายของเขาคือเมืองฮัลล์ ในแถบยอร์คเชียตะวันออกซึ่งเพิง่ จะ ได้รับต�ำแหน่ง UK City of Culture (เมืองแห่งวัฒนธรรม) ส�ำหรับปี 2560 ไปหมาดๆ Spencer มีโปรเจ็กต์ภาพถ่ายมาแล้วกว่า 90 โปรเจ็กต์ทวั่ โลก ทัง้ ในโอเปราเฮ้าส์ ที่ออสเตรเลีย, แม็กซิโก, สนามกีฬาเอิร์น ฮาพเพิลที่เวียนนา หรือเมืองมิวนิกในประเทศ เยอรมันนี โดยโปรเจ็กต์ชวนกันเปลือยแบบมหาชนครั้งนี้ เขาชวนชาวเมืองฮัลล์กว่า 100 ชีวิตมาพร้อมใจกันปลดเปลื้องเสื้อผ้า และทาสีเรือนร่างเป็นเฉดต่างๆ ของทะเล (ตามสีของภาพวาดในแกลเลอรี Ferens) เพื่อสื่อสารถึงประวัติศาสตร์การเป็นเมืองท่า ที่ส�ำคัญของฮัลล์ ที่น่าดีใจคือประชาชนของเมืองนี้ก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดีเพราะมี ผูส้ นใจสมัครเข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ในโปรเจ็กต์กว่า 2,000 คน แต่ฝง่ั ตะวันออกของอังกฤษ ในเวลานี้สภาพอากาศไม่ค่อยใจดีเท่าไหร่ การเปลื้องผ้าท่ามกลางอากาศหนาวราว 11 องศาจึงไม่ใช่เรื่องตลก หวังว่าลมหนาวจะปรานี และให้ไออุ่นต่อผู้กล้าเหล่านี้ด้วย

4

ทีม่ า theguardian.com / hull2017.co.uk / independent.co.ukt และ dazeddigital.com

อาหารที่เหลือจากภัตตาคารมากมาย จะเอาไปทิ้งที่ไหนได้หมด?

Bento watch นาฬิกาน่าอร่อย

ซาลารีมัง (salary man) หรือพนักงานออฟฟิศชาวญี่ปุ่นมักจะมีภาพ ของการท�ำงานตัวเป็นเกลียว ไม่คอ่ ยสนใจสุขภาพร่างกาย หาอะไรก็ได้ทอี่ มิ่ ท้อง ทานเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเดดไลน์สุดโหด บริษัทจ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชทาคิอิ (Takii) จึงจับมือแพทย์ศัลยกรรม ให้ตัดแต่งอาหารเป็นชิ้นสวย จากนั้นให้เชฟปรุงรส แล้วให้ผู้ประดิษฐ์นาฬิกา ประกอบร่างมันให้เป็นหนึ่งเดียว กลายเป็น Bento watch หรือนาฬิกาข้าวกล่อง ทีส่ วยงามทัง้ ดีไซน์และคุณภาพ เข้มข้นไปทัง้ สารอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ในมือ้ เล็กๆ พร้อมตะเกียบทีฝ่ งั มากับตัวเรือนและเตือนเวลาทานข้าวทีต่ รงเวลาให้ดว้ ยในตัว แต่นา่ เสียดายอยูอ่ ย่างเดียวคือนาฬิกาข้าวกล่องทีด่ ลู ำ�้ สมัยเรือนนีไ้ ม่มี อยู่จริง! (อ้าว...โธ่) นี่เป็นเพียงแคมเปญการตลาดของบริษัททาคิอิ ที่ต้องการ โปรโมทความส�ำคัญของการบริโภคสารอาหารทีม่ ปี ระโยชน์เท่านัน้ แต่กส็ ามารถ สร้างการพูดคุย และเสียงตอบรับมากมายหลังจากที่ปล่อยคลิปวิดิโอออกไป

เมื่อ Minu Pauline เจ้าของร้านอาหาร Pappadavada ที่เมืองโคจิ (Kochi) ประเทศอินเดีย เห็นผูห้ ญิงเร่รอ่ นก�ำลังคุย้ ขยะจากร้านอาหารของเธอเพือ่ หาอาหารประทังชีวติ เธอจึงได้ไอเดียใหม่ทจี่ ะช่วยผูค้ นเหล่านี้ หลักการง่ายๆ คือ การน�ำตู้แช่ไปวางไว้ที่หน้าร้านตลอด 24 ชั่วโมง อาหารที่อยู่ในตู้ไม่เพียงต่อชีวิต ให้กับคนเร่ร่อน แต่ยังเป็นการก�ำจัดเศษอาหารไปจากระบบสิ่งแวดล้อมด้วยวิธี ที่ง่ายและเป็นประโยชน์ ในปี 2556 ข้อมูลจาก slumdog.org ระบุวา่ ประเทศอินเดียมีจำ� นวนคน เร่ร่อนถึง 78 ล้านคน จากประมาณ 100 ล้านคนทั่วโลก ปัญหาสังคมสเกลใหญ่ อาจไม่สามารถแก้ได้ด้วยการวางตู้แช่บริจาคอาหารเหลือ เพียง 1 ตู้ แต่ความ เข้าใจและการแบ่งปันก็เป็นการเริ่มต้นเล็กๆ

We rewear it.

หลังจากที่ปล่อยเพลง Borders ออกมาเพื่อสะท้อนภาวะวิกฤตของ ผู้ลี้ภัย ล่าสุด M.I.A. แร็ปเปอร์หญิงเอกลักษณ์คมคายชาวอังกฤษได้จับมือกับ แบรนด์ H&M ผลิตผลงานเพลง ‘Rewear it’ เนื่องในแคมเปญ World Recycle Week ระหว่างวันที่ 18-24 เมษายนทีผ่ า่ นมา จุดประสงค์เพือ่ รับเสือ้ ผ้าทีไ่ ม่ใช้แล้ว จ�ำนวน 1,000 ตันมาเพือ่ รีไซเคิลให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิ้ ใหม่และทีส่ ำ� คัญคือสะท้อน ให้เห็นปัญหาสิง่ แวดล้อมทีเ่ กิดจากวงการแฟชันทีเ่ น้นแต่เรือ่ งความรวดเร็วและ ทันสมัย (fast fashion) ในมิวสิควิดิโอ เราจะเห็นแรปเปอร์สาวร้องและเต้นอยู่บนตึกสูงและ ข้างหน้าเต็นท์ทตี่ กแต่งจากเสือ้ ผ้ารีไซเคิล พร้อมท�ำนองทีแ่ ปลกหูนา่ ฟังตามด้วย เนื้อที่ร้องว่า ‘We rewear it.’ ซ�้ำๆ “ตอนที่ H&M ติดต่อมาฉันอยูท่ อี่ นิ เดีย และก�ำลังคิดถึงวิธที เี่ ด็กรุน่ ใหม่ เข้าถึงแฟชันในสมัยนีพ้ อดี มันเลยค่อนข้างสมเหตุสมผลทีจ่ ะร่วมงานกับแบรนด์ high-street ที่พร้อมจะผลักดันปัญหาสิ่งแวดล้อม” แม้ว่าเธอจะใส่เสื้อผ้าซ�้ำๆ ในมิวสิควิดิโอเป็นประจ�ำ แต่เธอเองก็ไม่ ได้เต็มใจ 100% ในการท�ำงานเพื่อโปรโมทแฟชันหรือแบรนด์ high-street อย่าง H&M แต่ทา้ ยทีส่ ดุ แล้วแรปเปอร์สาวก็เผยว่าเราต้องเปิดใจรับคนในอุตสาหกรรม ทีพ่ ยายามจะเปลีย่ นแปลงและแก้ปญ ั หาสิง่ แวดล้อมภายใต้พนื้ ฐานทีพ่ วกเขาจะ ท�ำได้

Trunkster แค่กระเป๋าใบเดียวจบ

กระเป๋าเดินทางที่ดีในยุคนี้อาจไม่ได้มีฟังก์ชันแค่บรรจุเสื้อผ้าหรือ สิ่งของ ถ้ามันสามารถควบหน้าที่เป็น gadget อีกตัวหนึ่งที่ช่วยลดทอนปัญหา และช่วยให้ผู้ใช้เดินทางสะดวกและ ‘ง่าย’ ขึ้น ก็น่าจะตอบสนองความต้องการ ของนักธุรกิจหรือนักเดินทางทีม่ ไี ลฟ์สไตล์แบบฉับไวได้อย่างไม่นา่ เชือ่ น่าเสียดาย ที่มันไม่มี... ไม่หรอก...จริงๆ กระเป๋าที่ตอบสนองความต้องการเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง แล้ว นั่นคือ Trunkster กระเป๋าเดินทางรูปลักษณ์เท่ที่ผลิตจากโพลีคาร์บอเนตที่ มีความทนทานสูง น�้ำหนักเบาและกันน�้ำ มีช่องเปิดกระเป๋าแบบประตูบานม้วน ท�ำให้หมดปัญหาเรือ่ งซิบติดขัดหรือแพ็คของได้ไม่หมด แล้วยังมีชอ่ งเสียบ USB เพื่อชาร์ตมือถือได้มากที่สุดถึง 9 ครั้ง เทคโนโลยีที่ดีไซน์เพิ่มเติมจากที่กล่าวมาคือ GPS แบบ built-in ที่ลด ทอนหนึ่งในปัญหาใหญ่ของนักเดินทางคือกระเป๋าสูญหาย ท�ำให้ผู้ใช้สามารถ ตามหากระเป๋าได้ไม่ว่าจะหายไปอยู่ที่ไหน และ digital scale ที่ติดตั้งไว้คอย เตือนน�้ำหนักของกระเป๋าอีกด้วย เรียกได้ว่าไฮเทคขั้นสุด T

5


Cover Story

If you can’t find a Creator,

be One บู ้ - ธนันต์ บุ ญญธนาภิวัฒน์ เรื่อง: กานดา หน้ามึน ภาพ: ณัฐนิช ชนะฤทธิชยั

จุดเริม่ ต้นของการนัดเจอ ‘บู’้ หรือ ‘ธนันต์ บุญญธนาภิวฒ ั น์’ มือเบสวง Slur นัน้ มาจากสเตตัสหนึง่ ของเพือ่ นในเฟซบุค๊ ทีต่ งั้ สเตตัสว่า ‘ซือ้ รองเท้า ไม่ทัน แม่ง...นาทีเดียวหมดแล้ว’ ครั้งแรกเข้าใจว่ารองเท้าที่เพื่อนคนนั้นพูดถึงเป็นแบรนด์จากค่ายสามขีด หรืออาจเป็นรองเท้าค่ายเครื่องหมายถูก พอสืบสาวราวเรื่องไปถึง พบว่ารองเท้านั้นเป็นรองเท้าแฮนด์เมดทรงย้อนยุคที่บู้ เป็นคนออกแบบเอง คิดเอง และขายเองในนามแบรนด์ ‘Rompboy’ รองเท้าคู่ที่ขายหมดไวชนิด ที่ว่าควรจะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การขายของออนไลน์ของประเทศนี้คือ Rompboy รุ่น Rompboy shoes 1 (special edition) ที่ขายเพียงนาที กว่าๆ เกลี้ยง! ย�้ำแค่นาทีกว่าๆ!! ยิ่งพอย้อนกลับไปดูรองเท้า Rompboy คอลเล็คชั่นอื่นๆ บางรุ่นราคาถีบสูงเป็นเท่าตัวกลายเป็น Rare Item ที่มีความ ต้องการอย่างสูงตามกระแสความนิยม สาเหตุที่รองเท้าของบู้ ขายหมดเร็วนั้น ไม่ใช่เพราะรองเท้าทุกคอลเล็คชั่นท�ำขายแบบ Limited เท่านั้นหรือเพราะเจ้าของเป็นบู้ Slur ทว่าใน ความเป็นจริงรองเท้าทุกคู่ที่บู้ ท�ำนั้นเขาไม่ใช่ท�ำรองเท้าเพราะแค่อยากจะท�ำขายแล้วจบไป แต่ในรองเท้าทุกคู่ (เราเน้นว่า ‘ทุกคู่’ เพราะเป็นรองเท้า ทั้งหมดนั้นท�ำด้วยมือ) มีความสร้างสรรค์ มีเรื่องราวระหว่างกระบวนการผลิต มีต�ำหนินิดๆ ในแบบที่ท�ำซ�้ำก็ไม่ได้ หรือให้พยายามตั้งใจท�ำเลียนแบบก็ ไม่เหมือน ท�ำให้รองเท้าทุกคูม่ คี วามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ นัน่ จึงเป็นเสน่หท์ ที่ ำ� ให้ Rompboy ได้รบั ความนิยมระดับรุนแรงเนือ่ งจากเรือ่ งราวในรองเท้า ท�ำให้มันมีมูลค่าทางจิตใจ Rompboy จึงขายดีในระดับวินาที ความส�ำเร็จเช่นนี้ไม่ใช่ว่าบู้ ก�ำเงินแล้วเดินไปบอกโรงงานท�ำรองเท้าว่า “ผมขอรองเท้าแบบนี้ 500 คู่!” เพราะการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดขึ้น มาเป็นจริงและจับต้องได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกขั้นตอนต้องผ่านกระบวนการคิดแล้วคิดอีก และยากไปกว่านั้นคือท�ำอย่างไรให้คนอื่นเข้าใจถึงมูลค่าที่ แฝงอยู่ กว่าที่บู้ จะเดินทางมาถึงวันที่เรื่องราวของ Rompboy เป็นที่ยอมรับในวงกว้างนั้นไม่ง่าย แต่ไม่ใช่ว่าเขาจะเป็นผู้สร้างขึ้นมาไม่ได้ วันนี้เราจะได้รับรู้เรื่องราวของเขาที่น่าสนใจไม่แพ้เรื่องราวที่อยู่ในรองเท้าเลย

6

7


ก่อนมีแบรนด์ของตัวเองคุณเป็นคนทีช่ อบการค้าขาย มาก่อนหรือเปล่า บู้ : ผมเคยขายถุงเท้ามาก่อนทีจ่ ะท�ำ Rompboy ช่วงนั้นเราท�ำ Slur ไปด้วย แต่พอเวลาอยู่บ้านมันฟุ้งซ่าน เลยอยากท�ำธุรกิจสักอย่างหนึง่ ซึง่ ผมเลือกทีจ่ ะขายถุงเท้า แรงบันดาลใจเริ่มจากผมเคยเข้าไปที่ร้านถุงเท้า แล้วเจอ ถุงเท้าเต็มร้านไปหมด ผมเลยอยากขายถุงเท้าที่แตกต่าง กว่าชาวบ้าน เราลงทุนบินไปญีป่ นุ่ ไต้หวัน จีน เกาหลี เพือ่ หาถุงเท้าที่ดีที่สุดมาขายแต่กลายเป็นเราเจอจุดอ่อนของ แบรนด์เต็มไปหมด และผู้ประกอบการบางรายขายตัด ราคากัน ผมคิดว่าถ้ารับสินค้ามาขายปลีกแบบคนอืน่ ๆ ต่อ ไปคงอยูไ่ ม่ได้ แม้ตอนแรกจะขายดีมากแต่ยงิ่ ท�ำจะยิง่ แย่ เลยกลับมาคิดใหม่ว่าถ้าเราจะขายอะไรสักอย่างมันต้อง ออกมาจากตัวเรา 100% ต้องดีไซน์เองทุกกระบวนการ ต้องหนีคู่แข่งตลอดเวลา ในเวลาต่อมาเมื่อผมท�ำ Rompboy เราจึงยึดแนวทางนัน้ ในการท�ำสินค้าว่า ทุกอย่างต้อง ใหม่ ห้ามหยุดอยู่กับที่ ต้องเดินทุกวัน จะท�ำอะไรซ�้ำไม่ได้ และทุกอย่างต้องมีจ�ำนวนจ�ำกัด หากโดน เลียบแบบก็ไม่ ว่านะ แต่ก็จะได้แค่คอลเล็คชั่นเก่าของผมไป เริ่มต้นสร้างแบรนด์ Rompboy ตั้งแต่เมื่อไหร่ บู้ : ต้องเล่าก่อนว่าผมเริ่มต้นท�ำธุรกิจจากขาย สินค้าผ่านทาง Facebook กับ IG ก่อน เพราะโดนแม่ สั่งให้เอารองเท้าที่อยู่เต็มบ้านไปขายให้หมด (หัวเราะ) มันเยอะเกินไปทั้งรองเท้ามือหนึ่ง มือสอง ผมก็ลงขาย ปรากฎขายหมดเป็นวินาทีเลย เราอยากมี Moment นั้น อีกครั้งที่ขายสินค้าออกเป็นวินาที ประกอบกับแนวคิดที่ ว่าถ้าจะขายอะไรสักอย่างต้องท�ำเองทั้งหมด ผมเลยเริ่ม ต้นสร้างแบรนด์สินค้าแฟชั่น Rompboy ขึ้นมาเมื่อสามปี ก่อนโดยตั้งว่าสินค้าทุกชิ้นจะมีจ�ำนวนจ�ำกัดเป็น Limited Edition หมดแล้วหมดเลย ครั้งแรกเราเริ่มจากเสื้อผ้าที่ อยากใส่เป็นแรงบันดาลใจ เราท�ำมาเรื่อยๆ ค่อยๆ เริ่มโต ผมเคยขายกางเกงยี นส์ ผ้าแคนวาสคอลเล็ค ชั่นหนึ่ง ปรากฏว่า ยอดขายกว่า 40,000 บาทต่อวัน ผมคิดในใจ ว่า ถ้าเราขายได้วนั ละประมาณนี้ เดือนหนึง่ ได้เงินเป็นล้าน เลยนะ (หัวเราะ) ก็ฝันลมๆ แล้งๆ ไป แต่พีคสุดๆ แบบที่ ขายหมดได้ในหลักวินาทีก็คือช่วงที่ขายรองเท้านั่นแหละ เพราะคุณเป็นคนที่ชอบแต่งตัวก็ เลยเอาความชอบ นั้นมาเป็นแรงผลักดัน บู้ : ผมบ้าแต่งตัว บ้ารองเท้ามาตั้งแต่ช่วงมัธยม ต้น ผมเป็นเด็กมีปมน่ะ (หัวเราะ) ตอนเด็กผมอยู่กับอาม่า และอาแปะ ส่วนพ่อแม่ผมท�ำงานอยู่อีกที่อื่น ครอบครัว ที่ผมอยู่มีพี่ชายคนหนึ่งเวลาอยากได้อะไร พ่อเขาจะซื้อ ให้ แต่ผมอยากได้อะไรต้องเก็บไว้ในใจเราไม่ใช่ลูกเขา แต่ผมไม่ได้อยากได้ของเล่นนะ เราอินกับเสื้อผ้า อยาก แต่งตัว สมัยก่อนแฟชั่นจะออกแนวคล้ายวง Limp Bizkit กางเกงสไตล์จงั โก้ เสือ้ ยืดตัวใหญ่สไตล์ฮปิ ฮอปเรารูส้ กึ ว่า มันเท่ อยากใส่ ผมเก็บเงินไว้สว่ นหนึง่ กินข้าววันละ 10 บาท เพือ่ จะได้มเี งินไปซือ้ เสือ้ ผ้าทีจ่ ตุจกั รทุกอาทิตย์ แล้วซือ้ ของมือ สองด้วย เพราะไม่มตี งั ค์ ซือ้ ทัง้ เสือ้ กางเกง รองเท้า ซือ้ เก็บ มาเรื่อยๆ เวลาไปจตุจักร ผมจะอยู่แต่โซนเสื้อผ้า รองเท้า มือสองอย่างเดียว เพราะราคามันถูกกว่ามือหนึ่ง 3-4 เท่า แล้วเรารู้สึกว่าของบางชิ้นเราใส่ได้คนเดียว เหมือนกับ

ของมันเลือกเราด้วย เพราะร้านเสื้อมือสองตัวที่เราอยาก ได้อาจไม่มีไซส์ให้เลือก การเจอเสื้อผ้าไซส์ที่พอดีกับเรา มันยาก และมันจะเหมือนมีพลังบางอย่าง ให้เราไปเจอ ไปเลือก ไปหยิบขึ้นมา แต่ไม่ได้คิดถึงขั้นท�ำธุรกิจเราซื้อ เก็บเฉยๆ ตอนตัดสินใจท�ำรองเท้า Rompboy มันค่าใช้จ่าย มหาศาลมากเลยนะท�ำไมถึงกล้าลุย บู้ : ผมอยากท�ำรองเท้าให้เด็กวัยรุ่นใส่ในราคา ไม่แพงรูปลักษณ์สวยงาม ตอนผมคิดจะท�ำรองเท้าแฟน ผมยังบอกว่า ผมบ้า (หัวเราะ) เนื่องจากการสั่งท�ำรองเท้า ผ้าใบนัน้ ใช้งบประมาณสูง ขัน้ ต�ำ่ ต้องสัง่ ผลิตจ�ำนวนมากๆ เพราะการเดินเครื่องผลิตใช้ต้นทุนสูง โมหุ่นรองเท้าต่อ แบบราคาหลายหมืน่ แล้ว ใครทีอ่ ยูใ่ นวงการรองเท้าผ้าใบ จะทราบว่า ใช้ทุนเริ่มต้นสูงจริงๆ เหมือนราคารถยนต์มือ สองคันหนึ่งเลย แล้วโดยส่วนใหญ่เขาจะหุ้นกัน แต่ผมลุย เดี่ยวตั้งแต่เริ่มต้นเลย ช่วงแรกทีต่ ดั สินใจเริม่ ต้นท�ำรองเท้า หลังจากคุย กับโรงงาน จ่ายเงินค่าผลิตแล้วผมก็มาลุน้ ว่าหน้าตาทีอ่ อก มาจะเป็นอย่างไร ปรากฏรองเท้าล็อตแรกทีอ่ อกมาไม่สวย เลย ร้องไห้ เครียด ปรึกษาทีบ่ า้ นว่าจะเลิกดีไหม แต่ทบี่ า้ น บอกว่า ท�ำแล้วต้องท�ำให้สดุ ตอนนัน้ ยังมีเงินไม่ถงึ และยัง ค้างจ่ายค่าผลิตรองเท้ากับโรงงานอยูด่ ว้ ยก็ตอ้ งขายเสือ้ ผ้า หาเงินไปโปะโรงงานให้หมด คิดว่าต้องท�ำให้ดที สี่ ดุ ผมเลย สั่งแก้แบบกับช่าง 2-3 รอบ แทบกราบช่างเลยเพราะไม่มี ใครขอให้แก้แบบเยอะเท่าผม คุยไปคุยมาจนเขายอม คุณบอกกับช่างว่าอย่างไรเขาถึงยอม บู้ : ผมบอกกับช่างแก้แบบรองเท้าว่า “พี่...ผม ต้องการปฏิวัติวงการรองเท้าบ้านเรา ผมก�ำลังจะเอารอง เท้าเก่าๆ กลับเข้าสู่วงการ เด็กวัยรุ่นจะได้ใส่รองเท้าผ้าใบ ไทย ไม่ต้องซื้อรองเท้าแบรนด์นอกแพงๆ ถ้าพี่ช่วยผม อีกครั้งผมว่ามันต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง” พี่ช่างซึ่งเป็น เจ้าของโรงงานเขาก็ยอมแก้ให้ สรุปแก้แบบไป 4 ครั้ง พอ แบบที่ 4 ออกมามันใช่เลย ผมเอาไปให้เพื่อนๆ ดู ทุกคน รู้สึกเหมือนกับผมว่ามันใช่แล้วล่ะ มันขายได้แน่. ขนาด เจ้าของโรงงานยังงงๆ ว่าทรงก็สูง กาวก็เลอะถามผมว่า นี่คือรองเท้าที่น้องอยากได้เหรอ ผมตอบว่าใช่ครับแบบ นี้แหละครับ ผมบรีฟกับช่างท�ำรองเท้าว่าให้ใส่ความเป็น ช่างไปเยอะๆ งานไม่ต้องเนี้ยบมากติดขอบกาวเหลื่อม หรือสองข้างไม่เท่ากัน ป้ายยี่ห้อจะกลับหัวก็ไม่เป็นไรผม ชอบ ช่างก็มึนๆ กับผม (หัวเราะ) วันที่วางขายแล้วได้รับ การตอบรับอย่างดีผมดีใจมากที่มีคนชอบรองเท้าเกรด B รองเท้าป่วยๆ ของผม หลังจากนั้นเราบอก Passion ของ เราผ่านเฟสบุ๊คตลอดว่ารสนิยมแบบนี้ก็เท่ได้ ถึงจะมีคน Unfollow 100 คน แต่ถ้ามี 1 คนเข้าใจเราก็โคตรแฮปปี้ แล้ว เราคนพันธุ์เดียวกัน ที่น่าดีใจคือตอนนี้มีกลุ่มที่ชอบ งานเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เคยคิดมาก่อนไหมว่าจะมีความคลั่งไคล้ในรองเท้า ของคุณมากมายขนาดนี้ บู้ : ไม่คดิ เลย ทีผ่ า่ นมาก่อนจะท�ำรองเท้า Rompboy เคยท�ำเสื้อผ้าขายมาก่อน แต่ยอดขายก็ยังไม่กระฉูด ขนาดนี้ ตอนขายเสื้อก็เรื่อยๆ ไม่หวือหวาเริ่มแรกผมเปิด ตลาดด้วยกางเกงขาสั้นแบบมีกระเป๋าเยอะๆ ถึงลูกค้า 8

จะไม่มากแต่ก็พอขายได้ พอมาถึงกางเกงขาสั้น คอลเล คชัน่ 2 ปรากฏเริม่ ขายดี ขายหมดเร็ว จนหลังๆ มาท�ำอะไร ออกมาขายส่วนใหญ่จะขายได้หมดเกลีย้ งตลอดจนมาถึง รองเท้า ที่ขายดีเพราะคุณเป็นบู้ Slur ด้วยหรือเปล่า บู้ : จริงๆ ผมก็เคยคิดนะว่าที่ขายรองเท้าได้ เพราะกูเป็น บู้ Slur หรือเปล่า (หัวเราะ) ผมเริ่มขายเสื้อผ้า มา 3 ปีก็พอรู้ว่ามีศิลปินคนอื่นที่ขายของจ�ำนวนไม่น้อย เหมือนกัน แต่ถา้ สินค้าไม่ดจี ริงๆ คุณจะมีชอื่ เสียงแค่แป๊บ เดียว ไม่นานก็ดบั เพราะสุดท้ายลูกค้าจะเลือกสินค้าต่อไป ถ้ามันดีจริง ผมยอมรับว่าช่วงแรกลูกค้าทีม่ าซือ้ Rompboy จ�ำนวนไม่นอ้ ยเป็นแฟนคลับ Slur แต่ทกุ วันนีท้ มี่ ลี กู ค้าเพิม่ ขึ้นจากกลุ่มอื่น ผมไม่เคยท�ำการตลาด ไม่เคยท�ำโฆษณา เลย ไม่เคยเสียตังค์ให้ เฟซบุ๊ค หรืออินสตราแกรมเลย ทุก อย่างเกิดขึ้นจากปากต่อปาก มีคนต้องการรองเท้าเยอะขนาดนี้ ท�ำไมไม่ขายเป็น Mass Product ไปเลย บู้ : เราเอาตัวเองเป็นที่ตั้งว่าคนที่จะใส่รองเท้า Rompboy คงไม่อยากใส่ซำ�้ กับชาวบ้านเขาหรอก เราจึง ขอเป็น Niche Product ดีกว่าขายได้นอ้ ยแต่มคี วามภูมใิ จ ทุกคอลเลคชัน่ ดังนัน้ ทุกอย่างจึงเป็นปัจเจกหมดเลย ทัง้ วิธี การขายที่เจาะช่องทางออนไลน์เป็นหลัก หรือขายในร้าน รองเท้าที่เป็น Selected Shop เท่านั้น ทั้งสไตล์ของสินค้า กระทั่งคนที่ชอบสินค้าของผมก็เหมือนถูกคัดมาแล้วว่า ต้องเหมาะสมกับรองเท้าเราจริงๆ รู้ไหมว่าคนๆ แรกที่ซื้อ รองเท้าได้ถึงกับไปบนเอาไว้เลยว่าขอให้ซื้อรองเท้าได้ทัน (หัวเราะ) ผมถึงบอกว่ารองเท้ามันเลือกคนเหมือนกันนะ รองเท้าที่คุณท�ำหากพูดในแง่ของคุณค่ามันให้อะไร กับผู้บริโภคบ้าง บู้ : คิดง่ายๆ สมัยนี้วัยรุ่นเสียเงินซื้อรองเท้าคู่ หนึ่งแพงมาก บางคนซื้อมาตั้งโชว์แทบไม่ใส่จริงๆ กลัว จะพัง แต่รองเท้าที่ผมท�ำขึ้นมาเราใช้วัสดุเก่า ขั้นตอนวิธี การท�ำงานแบบเก่าๆ ท�ำมือทั้งหมด แล้วรองเท้าเป็นไอ เท็มที่พังเร็วที่สุดเพราะอยู่กับฝุ่น น�้ำ ขี้ดิน ขี้โคลน ต่อให้ ราคารองเท้าหลักหมื่นมันก็กร่อนไปเรื่อยๆ ถ้าคุณซื้อกับ ผมราคาคู่ละประมาณ 2,000 บาท คุณจะใส่เที่ยว ลุยน�้ำ ปีนเขา สมบุกสมบันได้หมดโดยไม่เสียดาย ผมรู้สึกว่านี่ คือการให้อะไรกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง เราเลือกใช้วัสดุ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ ใช้งานได้จริง มีเรือ่ งราว และมีความเป็นลิมเิ ต็ด ส่ ว นตั ว ผมเคยซื้ อ รองเท้ า แบรนด์ ดั ง ๆ ใส่ ม าทุ ก แบบ เราเป็นคนหนึ่งก็รู้จักคุณค่า และรูปแบบของรองเท้าใน แต่ละยุคไม่แพ้ใคร ถ้ า มี ค นจะมาบอกว่ า ผมท� ำ รองเท้ า เหมื อ น แบรนด์อื่นๆ ก็ไม่เป็นไรให้เขาตัดสินกันไปได้เลย ผมชอบ Converse แต่ผมก็ชอบรองเท้าหน้าตาน่าเกลียดๆ ใน ยุค 60 เหมือนกันมันมีจิตวิญญาณ รองเท้าที่ประกอบมา เบี้ยวๆ หัวปูดๆ 2 ข้างไม่เท่ากัน งานมือล้วนๆ มีเสน่ห์นะ งานเกรด B เนี้ย แถมมีคนที่ชอบสินค้าลักษณะนี้เหมือน กับเราด้วย ผมเคยโพสขายรองเท้าจากอิตาลีแบรนด์หนึ่ง เป็นรองเท้าทีพ่ ยายามท�ำเลียนแบบ Converse แต่ทำ� ออก มาไม่ถึงปรากฎว่ามีคนชอบงานแบบนี้เหมือนกับผมมาก เยอะมาก มีคนขอซื้อเยอะมาก และให้ราคากันสูงมากๆ 9


‘‘

ผมบอกกับช่ างแก้แบบรองเท้าว่า “พี่...ผมต้องการปฏิวัติ วงการรองเท้าบ้านเรา ผมก�ำลังจะเอารองเท้าเก่าๆ กลับ เข้าสู่วงการ เด็กวัยรุ ่นจะได้ใส่รองเท้าผ้าใบไทย ไม่ต้องซือ้ รองเท้าแบรนด์นอกแพงๆ ถ้าพี่ช่วยผมอีกครัง้ ผมว่ามัน ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง”

10

ดังนั้นผมจึงชอบรองเท้าเกรด B มากๆ แล้วผมจะเอาคอน ไม่มีการรับเงินก่อนใดๆ ทั้งสิ้น เราเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ที่ เซ็ปต์เหล่านี้มาเป็นแนวทางในการผลิตสินค้านั่นเอง ต้องท�ำทุกอย่างให้แฟร์กับผู้บริโภคอะไรที่เราไม่ชอบ เรา ก็จะไม่ท�ำกับลูกค้าเหมือนกัน ทุกอย่างต้องแฟร์ หรือถ้า เสน่ห์ของสินค้าเกรด B หรือของที่มีต�ำหนิน่าสนใจ ลูกค้าต่อว่ามา เราก็ต้องน้อมรับ ตรงไหน บู้ : ผมชอบอะไรที่เป็นเกรด B ไม่ใช่แค่เสื้อผ้า มีสูตรส�ำเร็จของ Rompboy ไหมที่ท�ำอะไรก็ขายดี รองเท้า รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วยทั้งหนัง เพลง ขนาดดู เหมือนแจกฟรี หนังยังชอบดูหนังไดโนเสาร์ปลอมมากกว่าไดโนเสาร์จริง บู้ : ผมเองก็ยงั ไม่รู้ แต่ตอนนีส้ ว่ นใหญ่คอนเลคชัน่ เลย (หัวเราะ) เพราะความที่ไม่เป๊ะมันคือเสน่ห์ แต่จริงๆ ที่ปล่อยออกมา ขายดี และขายหมดตลอด จนรู้สึกว่า เสือ้ ผ้าแบรนด์เนมผมก็มนี ะแต่ผมเลือกทีจ่ ะซือ้ เพือ่ เอามา ตอนนี้อยากเปลี่ยนไปท�ำอย่างอื่นที่ไม่ใช่เสื้อผ้า เพราะ มิกซ์กับเสื้อผ้าที่ผมออกแบบมากกว่า ในตัวผมอย่างไรก็ เราอยากท�ำอะไรที่มีไฟอยู่ตลอดเวลา ตอนนี้ผมเริ่มคิด ต้องมีความเป็นเกรด B เสมอ แล้วว่า รองเท้าของผม ทิศทางต่อไปจะเป็นยังไง หรือเสื้อ ผ้าคอลเลคชั่นใหม่จะเป็นอย่างไรผมเราสนุกกับมันมาก ดีไซน์ของสินค้าทุกอย่างของ Rompboy ถูกดีไซน์หรือ พอแล้ว อยากกระโดดไปท�ำอย่างอื่นแทน คิดค้นด้วยวิธีคิดแบบไหน บู้ : คอนเซ็ปต์ของทุกชิน้ ต้องสนุก ไม่ตอ้ งวินเทจก็ ไปท�ำอย่างอื่นไม่กลัวจะเจ๊งเหรอ ได้แต่ ‘ต้องสนุก’ ‘แปลกใหม่’ และ ‘แตกต่างตลอดเวลา’ 3 บู้ : สุดท้ายมันอยู่ที่วิธีคิด ถ้าสิ่งที่ท�ำมีคุณค่า ค�ำนี้คือนิยามในการออกแบบสินค้าแฟชั่นของเรา สมมติ จริงๆ ยังไงก็ไปต่อได้แต่ต้องเป็นอะไรที่แตกต่างและต้อง ถ้าจะท�ำกางเกงขาย มันต้องเกิดจากฟังก์ชั่นของกางเกง ไม่มีใครท�ำ 2 - 3 ตัวมารวมกัน ผมจะเอารายละเอียดที่ผมชอบมาก ที่สุดมาผสมกัน ฉะนั้นสินค้าของผมแต่ละแบบใช้เวลา ท�ำไมคุณเชื่อมากๆ ว่าเสื้อผ้าจะส่งมอบคุณค่าให้คน ในการพัฒนานานกว่าแบรนด์อื่น คอลเลคชั่นหนึ่งอาจใช้ อื่นๆ ได้ เวลาประมาณ 2 - 3 เดือนกว่าจะได้ 1 แบบ แต่ก็พยายาม บู้ : เสือ้ ผ้ามันคืองานดีไซน์ทเี่ ราอวดได้ 24 ชัว่ โมง ดึงสไตล์วินเทจเข้ามาด้วย เพราะวินเทจจะหยิบมาใส่กับ ผมเองก็เป็นพวกโรคจิตทีช่ อบสังเกตการแต่งตัวของเพือ่ น สินค้าทุกอย่างเมือ่ ไหร่กไ็ ด้ มันเป็นสไตล์กลางๆ ผมสังเกต ในทุกๆ รายละเอียด มันคือการโชว์เฟอร์นเิ จอร์ มันคือการ เหมือนกันว่าเสือ้ ผ้าของ Rompboy แบบทีห่ วือหวาจะขาย โชว์หรือแสดงงานศิลปะอย่างหนึ่ง แบบแอบแฝง ไม่ดี ผมเคยท�ำเสือ้ ผ้าทีม่ ลี ายออกมาขายไม่ดเี ลย แทบจะ เอาน�ำ้ มันราดแล้วจุดไฟเผาทิง้ (หัวเราะ) เพราะลูกค้าก็ไม่ การท�ำธุรกิจ เหมือนกับท�ำดนตรีไหม ชอบ หรือกางเกงสีแดงทีผ่ มท�ำมาก็ขายไม่ดตี ลอดเลย แต่ บู้ : เหมือนครับ เปรียบเทียบเหมือนกับว่าวง สินค้าที่โทนสี Play Save อย่างสีเขียว สีครีม สีน�้ำเงิน โดย ดนตรีวงหนึง่ มันจะบ่งบอกความเป็นวงนัน้ ๆ ด้วยคาแรกเตอร์ เฉพาะยีนส์ ผมมัน่ ใจว่าหมด แต่ไม่ใช่วา่ ผมจะท�ำอะไรออก ยกตัวอย่างเช่น ผมมองว่า Slur คือผู้ชายวัยรุ่นซึ่งตามเท มาแล้วขายดีเลยนะ กางเกงขาสั้นล็อตแรกสุดตอนเริ่ม รนด์ตลอดเวลา หรือถ้าเป็นศิลปินตลกก็เหมือนเราเล่น ท�ำ Rompboy ผมผลิตแค่ 60 ตัว ใช้เวลาขายครึ่งปี กว่า มุกแต่ไม่ได้ฮามากออกแนวกวนตีน และไม่ได้ดูเป็นเด็ก จะหมด (หัวเราะ) ล่าสุดผมท�ำคอลเลคชั่นนั้นขายใหม่อีก มากเกินไป แต่ Rompboy คือเด็กผู้ชายที่วิ่งเล่นไม่หยุด รอบ เชื่อไหมไม่กี่นาทีหมด ซึ่งขายดีขนาดนี้ผมจะท�ำขาย วิ่งไปข้างหน้าเรื่อยๆ และไม่วิ่งตามใคร ไม่หยุดอยู่กับที่ ใหม่เรื่อยๆ ก็ได้ แต่จะเหมือนการดูถูกลูกค้า เพราะลูกค้า ต้องสนุก และแตกต่าง โดยผมใช้คอนเซ็ปต์เหล่านี้สร้าง ต้องพัฒนาไปกับเรา ต้องโตไปกับเรา แบรนด์ขึ้นมาตลอดเวลา และไม่เคยหลุดตามคอนเซปต์ ที่ตั้งไว้เลย ผมจะขายสินค้าที่เหมาะกับคอนเซปต์ของเรา นอกจากงานดีไซน์ ท�ำไมลูกค้าชอบซื้อสินค้าแบรนด์ เท่านั้น Rompboy บู้ : ผมว่าผมแฟร์กบั ลูกค้า ผมบอกลูกค้าว่าถ้าได้ เท่าทีค่ ยุ กันดูเป็นคนทีเ่ วลาสนใจอะไรจะบ้าด�ำดิง่ กับ สินค้าอย่าเพิ่งใส่ใช้งาน ให้ลองก่อนถ้าไม่ถูกใจ ส่งคืนมา สิ่งนั้นไปเลยใช่ไหม แล้วผมคืนเงินให้เต็มจ�ำนวน หรือถ้าเสียหายส่งคืนมาผม บู้ : ใช่...แต่ผมอาจจะได้สิ่งนี้จากที่บ้านมาด้วย ซ่อมให้ฟรี บางครั้งลูกค้าเอารองเท้าไปใส่เกือบปี สภาพ บ้านผมเป็นครอบครัวศิลปะ ผมจึงพยายามเอาความ เละเทะ ตาไก่หลุด หัวพัง ผมก็รบั ซ่อมให้ ทัง้ ทีผ่ มต้องส่งต่อ ครีเอทีฟของเรา มาท�ำเป็นธุรกิจ เป็นการเอามาพัฒนา ไปให้โรงงานซ่อมให้อกี ครัง้ แต่กร็ บั ผิดชอบการด�ำเนินการ ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดในสิ่งที่คนอื่นไม่ท�ำหรือมอง ซ่อมให้ลูกค้าด้วย และไม่มีการเอาใจใครเป็นพิเศษเวลา ข้ามไป บางทีความคิดสร้างสรรค์ ก็เกิดขึ้นมาจากความ ประกาศขายสินค้าคอลเลคชั่นใหม่ ไม่ว่าคนที่ซื้อสินค้า บังเอิญ สุดท้ายส�ำหรับผมการท�ำธุรกิจอะไรสักอย่างมัน เราเป็นแฟนคลับ Slur หรือแฟนคลับ Rompboy บางคน ต้องเกิดขึ้นจากความสนุกหรือสิ่งที่เราชอบมันจริงๆ เคย ขอจองสินค้าก่อน หรือขอซื้อนอกเวลาแม้จะรู้จักกันแค่ มีหมอดูทักว่าดวงผมเปิดร้านขายเครื่องดื่มจะดี แต่ผมรู้ ไหนก็ให้ไม่ได้ผมจะไม่มีการให้จองก่อน ไม่มีพรีออเดอร์ ว่าผมไม่อินเลยไม่ท�ำดีกว่า

11

ดูสนุกกับการคิดท�ำธุรกิจนะ บู้ : ผมชอบ รู้สึกว่าตัวเองก็เป็นพ่อค้า เราชอบ หาไอเดีย ชอบเสี่ยงที่จะลงทุน ตอนไหนที่บอกกับตัวเองว่าเราเป็นพ่อค้า บู้ : ช่วงที่ท�ำ Rompboy ไปสักพักรู้สึกว่ายิ่งท�ำ ยิ่งสนุก ยิ่งท�ำแล้วเป็นไปตามเป้าก็ยิ่งสนุกมากขึ้นไปๆ มาๆ กลายเป็นอาชีพ และได้เงินด้วย เราจึงรู้ว่าเราก็เป็น พ่อค้า เมื่อก่อนผมเคยคิดว่าคนที่จะท�ำธุรกิจต้องแก่ ต้อง คิดแต่เรือ่ งเงิน แต่พอเราได้ใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปใน ทุกอย่างที่เราท�ำ มันกลับเป็นเรื่องสนุก มันคือศิลปะที่ท�ำ เงินได้ด้วย ผมมองว่ารองเท้า Rompboy ยังเป็นแค่บันได ขั้นต้นเท่านั้น ผมยังคิดการใหญ่อยู่ และต้องการจะปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทย อาจจะพูดได้ว่าผมเป็นคน ประเภทมั่นใจในอะไรที่ดูผิดๆ (หัวเราะ) แต่ผมคิดว่าที่คิด อยู่นั้นจะต้องมีกลุ่มคนที่คิดแบบเราอยู่ เหมือนตอนที่ผม คุยกับช่างท�ำรองเท้าเพื่อขอแก้งานครั้งที่ 4 ตอนนั้นที่พูด แบบบ้าๆ ออกไปก็เพราะความเชือ่ ของตัวเองล้วนๆ ว่าจะ มีกลุม่ ทีย่ อมรับรองเท้าของเราแน่นอน โชคดีทพี่ เ่ี ขาเชือ่ ใน ความบ้าบอของเรา (หัวเราะ) ถ้าชั่งน�้ำหนักระหว่าง นักดนตรี กับ พ่อค้า คุณให้น�้ำ หนักความชอบอะไรมากกว่ากัน บู้ : ชอบบทบาทการเป็นพ่อค้ามากกว่า ส่วนนัก ดนตรีเป็นความฝันในวัยเด็ก การที่เราไปเล่นดนตรี ขึ้น คอนเสิร์ต แล้วมีคนมาดู 20,000 - 30,000 คน ส�ำหรับ ผมมันคือจุดทีส่ งู สุดแล้ว ส่วนตัวผมมองว่าเพดานของการ เป็นศิลปิน มันมีกรอบความคิด ต้องรับฟังคนอืน่ ด้วย และ มันมีวนั ถึงจุดสิน้ สุด ส่วนการท�ำธุรกิจหรือท�ำอะไรทีท่ ำ� คน เดียวแล้วชอบ ถ้าท�ำแล้วส�ำเร็จ ผลตอบรับกลับมาดี มันจะ ยังไปต่อได้เรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด แต่ก็ยังชอบเพลงอยู่เหมือน เดิม ทิ้งดนตรีไม่ได้ ท่ า มกลางการตลาดออนไลน์ ที่ แ ข่ ง ขั น กั น สู ง มาก Rompboy จะวิ่งต่อไปข้างหน้าด้วยวิธีไหน บู้ : ผมรูว้ า่ สักวันหนึง่ ต้องมีขาลง เพราะเทรนด์มี ขึน้ มีลง เรามองว่าถ้าไปจนถึงจุดทีพ่ คี สุดๆ ผมก็พอใจมาก แล้ว ผมอยากให้มองคอนเซ็ปต์ที่วางเอาไว้ตั้งแต่แรกว่า Rompboy คือการให้อะไรกับกลุ่มลูกค้าของผม ผมยังคง เชื่อว่าถ้าท�ำอะไรแล้วมอบคุณค่าให้กับกลุ่มของผม พวก เขาก็ยังพร้อมสนับสนุนเราไปเรื่อยๆ เราจะไม่ท�ำในสิ่งที่ ต้องตามใคร เราไม่ได้ท�ำอะไรเพื่อเน้นผลประโยชน์ เรา แค่อยากท�ำอะไรขึ้นมาเพื่อวงการ และมันจะท�ำให้ไปต่อ ได้เรื่อยๆ ด้วยตัวของมันเอง. ทุกวันนี้ยังไปเดินสวนจตุจักรอยู่ไหม บู้ : ไปตลอด มันเป็นสิ่งที่ต้องท�ำ แล้วตัวเองก็ ชอบด้วยเหมือนกับบางคนมีความสุขกับการเล่นเกม มี ความสุขกับการปั่นจักรยาน ผมก็มีความสุขกับการได้ไป สวนจตุจักรทุกอาทิตย์ T


Time to Travel

Japan Time สร้างเรื่องให้ชวนเที่ยว หากในวันนีค้ ณ ุ ลองเลือ่ นนิว้ ไปตามทามไลน์ คุณอาจจะพบว่าใครๆ ก็ไปญีป่ นุ่ คุณอาจจะรูส้ กึ เช่นนีเ้ วลาทีเ่ ปิดหน้าโซเชียลเน็ตเวิรค์ ในวันหยุดยาว แล้วเห็น เพือ่ นก�ำลังอวดภาพถ่ายกับป้ายนักวิง่ กูลโิ กะในโอซาก้า หรือว่าภาพถนนใหญ่ซงึ่ มีคน เดินขวักไขว่กนั ไปมาในมหานครโตเกียว ตงั้ แต่เมือ่ ไรทีญ ่ ปี่ นุ่ กลายเป็นเมืองท่องเทีย่ ว ยอดนิยม คงเพราะการเดินทางที่แสนจะถูก และง่ายดายเช่นนั้นหรือ ก็มีส่วนหรือจะ เป็นเพราะวัฒนธรรมบางอย่างทีเ่ ราซึมซับมาตัง้ แต่เด็ก ก็ไม่เชิง และอย่างนัน้ เหตุใด ญีป่ นุ่ ถึงได้เป็นหนึง่ ในไม่กปี่ ระเทศของโลกทีไ่ ม่วา่ คุณจะเดินไปยังเมืองไหน ไปชุมชน ใด คุณก็จะพบกับประสบการณ์แปลกใหม่ในทุกครั้งที่ได้ไปเยือน ต้องยอมรับโดยดีวา่ ญีป่ นุ่ เป็นประเทศทีเ่ ทีย่ วได้ทงั้ ปี เพราะมีกจิ กรรม และ ประเพณีมากมายให้เรารูส้ กึ เป็นส่วนหนึง่ รวมไปถึงไมตรีของคนท้องถิน่ ก็เรียกความ ประทับใจให้กบั นักท่องเทีย่ วมาแล้วนักต่อนัก เมือ่ ปีทผี่ า่ นมา กระแสการเดินทางท่อง เทีย่ วญีป่ นุ่ แบบอยูย่ าว ณ ทีใ่ ดทีห่ นึง่ ซึง่ อาจจะเป็นต่างจังหวัด ตามสวนออร์แกนนิก แล้วท�ำงานกับเจ้าของบ้านเพื่อแลกอาหาร และที่พักอาศัย ใช้ช่วงเวลาสั้นๆ เรียนรู้ วิถีชีวิตคนในชุมชน และความเป็นญี่ปุ่นในดินแดนนั้นๆ ที่เรียกว่าการไป WWOOF (World Wide Opportunities on Organic Farms) ก�ำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นเลย ทีเดียว นั่นเพราะไม่ใช่เพียงการเดินทางเพื่อท่องเที่ยว แต่เป็นการเดินทางเพื่อเรียนรู้ แต่สงิ่ หนึง่ ทีเ่ ป็นจุดแข็งของการท่องเทีย่ วในแดนปลาดิบ ก็คอื ความร่วมมือ จากแต่ละท้องถิน่ ในการผลักดันจุดเด่นของเมือง หรือชุมชนของตัวเอง สร้างเรือ่ งราว แล้วแสดงออกมาเป็นจุดขายให้กบั คนทัว่ ไป หรือจะเป็นเพราะเสน่หข์ องการท่องเทีย่ ว ในการสร้างเอกลักษณ์ในแต่ละจังหวัดทีเ่ ปิดโอกาสให้นกั ท่องเทีย่ วได้เข้าไปสัมผัสถึง ความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ประจ�ำจังหวัดนั้นๆ ได้ต่างหากที่ท�ำให้ ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศส�ำหรับท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ไล่ตั้งแต่เหนือสุดของประเทศอย่างแถบฮอกไกโด ลงมายันใต้สุดอย่าง เกาะคิวชู ดูเหมือนว่าทุกสถานที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ�้ำกัน อย่างแถบคันไซภูมิภาคเขต เศรษฐกิจหลักของญี่ปุ่น เป็นสถานที่ตั้งของเมืองโอซาก้า กับปราสาทที่ครั้งหนึ่งเคย ยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในญีป่ นุ่ และยังมีปราสาทนารา ซึง่ ผูท้ แี่ วะไปเยีย่ มชมสถานทีแ่ ห่งนีจ้ ะได้ สัมผัสกับเจ้ากวางน้อยในระยะชิดใกล้ รวมไปถึงย่านโกเบ กับเนื้อย่างสุดแสนอร่อย ที่ใครมาก็ต้องลิ้มลอง หรือจะไปเดินส่องเมืองยอดนิยมอย่างโตเกียว เมืองหลวงอัน ทรงเสน่ห์ผู้ผสานวัฒนธรรมเก่าให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ได้อย่างลงตัว แค่ตัวเมือง โตเกียวก็กินพื้นที่ไป 1 ใน 4 ของญี่ปุ่น ไม่ต้องพูดถึงความสะดวกสบาย ที่นี่มีบริการ คุณได้อย่างเต็มที่ ถ้าเบือ่ เมืองใหญ่ ลองแวะไปเมืองหลวงในอดีตอย่างเกียวโตทีโ่ ชว์จดุ เด่นใน ด้านธรรมชาติ และความสวยงามของสถาปัตยกรรมอย่างปราสาทสวยงามจากอดีต มาเป็นจุดขาย และยังมีซอยเล็กๆ ทีย่ งั คงรูปแบบถนนในยุคสมัยเอโดะ ครัง้ อดีตให้ได้ สัมผัส รวมถึง ‘อิโกะจัง’ มาสคอสสีเขียวประจ�ำเมืองก็นา่ รักใช่เล่น หรือหากสัมผัสกับ

ความสงบและความสบายจากธรรมชาติ ที่จังหวัดคุมะโมโตะ ในแถบคิวชูก็มีเจ้าหมี สีดำ� แก้มแดงอย่าง ‘คุมะมง’ ทีเ่ ราคุน้ หน้ากันดีตามสือ่ ต่างๆ มาคอยต้อนรับนักท่องเทีย่ ว ที่แวะเข้าไปเยี่ยมเยียน คุมะมง จัดเป็นทูตด้านการท่องเทีย่ วทีโ่ ด่งดังทีส่ ดุ ตัวหนึง่ ของญีป่ นุ่ เนือ่ งจาก คาแรคเตอร์ ทีถ่ กู เซ็ตออกมาให้โดดเด่น มีความร่าเริง กวนประสาท ขีเ้ ล่นผิดวิศยั ของ คนญี่ปุ่นอย่างที่เราคุ้นเคย จึงไม่แปลกที่คาแรคเตอร์ของคุมะมง จะติดใจผู้ชมตั้งแต่ แรกเห็น จนจดจ�ำและชวนให้เราไปตามหาหมีที่เมืองคุมาโมโต้ดว้ ยตัวเอง ทัง้ นีก้ ต็ อ้ ง ชืน่ ชมทีมโปรโมทด้วยเช่นกัน ทีพ่ ยายามผลักดัน สร้างกิจกรรมให้คมุ ะมง ออกสือ่ สร้าง วีรกรรมแผลงๆ เยอะแยะ แต่ได้ผลมากเลยแฮะในด้านการจดจ�ำ แถมยังสอดแทรก ความรู้ สถานที่ท่องเที่ยวในคุมาโมโต้ ได้อย่างเนียนมาก การสร้างเรือ่ งเพือ่ ให้คนไปเยือนเมืองต่างๆ ในญีป่ น่ นัน้ ก็ไม่ได้มแี ต่โปรเจค ระดับมหภาคทีส่ อื่ สารคนทัว่ โลกอย่างเดียว แต่ยงั มีโปรเจคเล็กๆ ทีแ่ ต่ละเมืองก็เลือก สื่อของแต่ละประเทศเป้าหมายเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ด้วย อย่างเช่น เมืองซากะ ก็ เลือกทีจ่ ะใช้ GTH (ก่อนจะเปลีย่ นชือ่ มาเป็น GDH 559) สร้างมินซิ รี ยี เ์ รือ่ ง ‘Stay : ซากะ ฉันจะคิดถึงเธอ’ เพื่อชวนคนไปเที่ยวเมืองซากะ ผ่านเรื่องราวน่ารักของคนไทย 4 คน ที่มีโอกาสไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน ถึงเมืองซากะ โดยในซีรีย์ก็สอดแทรกวัฒนธรรม อาหารการกิน ความเชื่อ วิถีชีวิตแบบเนียนๆ ไม่รู้สึกว่าโดนยัดเหยียดจนรู้สึกอึดอัด หรือเมืองนางาซากิ ก็เลือกใช้วง ‘ละอองฟอง’ วงดนตรีแนวป็อบใสๆ ในไทย ให้เป็นทูตด้านการท่องเที่ยวประจ�ำเมืองนางาซากิ คอยประชาสัมพันธ์เรื่องความน่า รักของเมืองนางาซากิ ในมุมอืน่ บ้างเพือ่ ลบภาพจ�ำเดิมๆ ว่านางาซากิ เคยเป็นเมืองที่ บอบช�ำ้ จากสงคราม เพือ่ ดึงดูดให้คนไทยอยากไปสัมผัสความน่ารักในเมืองนางาซากิ ผ่านเรื่องราวใน MV และบทเพลงที่พวกเขาแต่งขึ้นมา ด้วยแนวเพลงของวงละออง ฟอง ก็มีกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ยากที่จะสื่อสารกับผู้ฟัง เมืองเมืองหนึง่ จะเติบโตได้ไม่ใช่เพียงเพราะคนกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ แต่ตอ้ งเกิด จากความร่วมมือร่วมใจของคนภายในประเทศนัน้ ๆ ในการร่วมกันสร้าง และมองเห็น จุดเด่นของตัวเอง ทุกอย่างเริม่ ต้นทีต่ วั คนมากกว่าจะรอการพึง่ พา ไม่แปลกใจถ้าหาก ญีป่ นุ่ จะเป็นเมืองท่องเทีย่ วกันดับต้นๆ ของโลก และเป็นหนึง่ ในจุดหมายของนักเดินทาง ณ ตอนนี้ ท�ำไมหลายคนทีไ่ ปญีป่ นุ่ หนึง่ ครัง้ แล้วอยากจะกลับมาทีน่ อี่ กี ค�ำถามนีอ้ าจ ไม่ต้องคิดเยอะให้มากความ มองดูปฏิทิน ตอบค�ำถามตัวเองให้ได้แค่ว่าถ้าไม่ได้ไป ในชีวติ นีจ้ ะเสียดายไหม ถ้าเสียดาย หาวันพักผ่อนเหมาะๆ แล้วจองตัว๋ ไปเทีย่ วญีป่ นุ่ กันเลย

ประเทศไทยในตอนนี้ก็กำ�ลังค่อยๆ สร้างเมืองท่องเที่ยวโดยขับเน้นจุดเด่นของแต่ละจังหวัดขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นเรื่องวัฒนธรรมและธรรมชาติ แต่จังหวัด ที่สร้างเรื่องให้เมืองน่าเที่ยวด้วยตัวเองก็คือ ‘บุรีรัมย์’ จากจังหวัดทางผ่าน วันนี้บุรีรัมย์ สร้างเมืองด้วย ‘กีฬา’ ทีมฟุตบอลปราสาทสายฟ้า บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, สนาม ฟุตบอลไอโมบายส์ สเตเดี้ยม และสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต กลายเป็นดั่งแลนด์มาร์คสำ�คัญเรียกให้คนไปเยือนบุรีรัมย์ได้ตลอดทั้งปี การสร้างเมือง ให้คกึ คัดด้วยกีฬา สร้างอาชีพให้เกิดขึน้ ในท้องถิน่ ไม่ได้เกิดจากภาครัฐฯ แต่มาจากวิศยั ทัศน์ของ ‘เนวิน ชิดชอบ’ ประธานสโมสรบุรรี มั ย์ ยูไนเต็ด และอดีตนักการ เมืองคนนี้คนเดียว ซึ่งอนาคตเขาจะสร้างให้บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งกีฬาอย่างเต็มตัวมากกว่านี้ T ภาพจาก japantimes.co.jp , wwoof.ne

12

13


Think Tank

THE NEW SPACE ON THE EARTH พืน้ ที่ใหม่ในโลกสร้างสรรค์ “ความสำ�คัญของสปุ๊ตนิกไม่ได้อยู่ที่ว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ แต่มันคือการนำ�มาซึ่งยุคแห่งการสื่อสารคมนาคมผ่านทางดาวเทียมไปทั่วโลก” จอห์น ไนส์บิตต์ นักอนาคตวิทยาชื่อดังเคยกล่าวไว้ในปี 1984 เมื่อสิ่งที่เราเห็นไม่ใช่สิ่งที่มันเป็นอีกต่อไป ‘Space’ หรือพื้นที่ต่างๆ ในสังคมแห่งคริสศตวรรษที่ 21 ก็ถูกตีความไปในแง่มุมที่หลากหลาย ต่อไปนี้พื้นที่ของ การทำ�งานอาจจะไม่ได้อยู่ในรูปร่างของตึกสูง หรือพื้นที่ศิลปะก็อาจจะไม่ได้ถูกกำ�หนดว่าต้องอยู่ในแกลเลอรีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เมื่อพื้นที่ใหม่ๆ ในโลกนี้ไม่ได้ ถูกจำ�กัดด้วยนิยามเดิมๆ เช่นนั้นพื้นที่ใหม่ในโลกใบนี้หน้าตาเป็นอย่างไร เลื่อนสายตาสู่บรรทัดถัดไปเพื่อไปท่องพื้นที่ใหม่บนโลกใบเดิมด้วยกัน 14

Work space ทีท่ �ำงานทีไ่ ม่ใช่ แค่ ‘ทีท่ �ำงาน’ “ระยะทางก�ำลังจะตาย” เป็นค�ำพูดที่ฟรานเชส แคร์นครอสนัก เศรษฐศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเอ็กส เตอร์ ใช้อธิบายวิถีชีวิตของผู้คนในยุค 90 ที่มี อินเทอร์เน็ตกอบกุมพื้นที่ และเชื่อมต่อระยะทาง ระหว่างฟากโลกได้อย่างหมดจด ฉะนั้นค�ำว่า ‘พื้นที่’ หรือ ‘ระยะทาง’ จึงไม่ใช่เรื่องที่มีอยู่จริงอีก ต่อไป ตราบใดที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ฟรี แลนซ์สักคนจะแบกแล็ปท็อปไปท�ำงานบนยอด เขาสู ง แล้ ว ค่ อ ยส่ ง ให้ ลู ก ค้ า ก็ ย ่ อ มได้ (ยกเว้ น บนยอดเขาจะไม่มีเน็ต) หากเขามีทักษะในการ สื่อสาร เขาก็ยิ่งสามารถสานสัมพันธ์กับลูกค้า แบบ real-time และสมบูรณ์ได้โดยที่ไม่จ�ำเป็น ต้องเจอหน้ากันเลย ข้อสังเกตก็คอื ว่าหากเราสามารถส่งงาน ผ่านอีเมล์ และประชุมผ่านการ Video conference หรือ Skypeดีลงานผ่าน application ง่ายๆ อย่าง Line ได้ แล้วออฟฟิศทีบ่ รรจุมนุษย์ไว้ทำ� งาน อยู่ทุกวันนี้ก�ำลังจะหมดอายุลงหรือไม่ ถ้ามันไม่มีความหมายบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง Apple คงไม่ทุ่มทุนจ้างนอร์แมน ฟอสเตอร์ สถาปนิกชือ่ ดังมาออกแบบ Apple campus แห่ง ใหม่ที่กว้างถึง 445 ไร่ บรรจุพนักงานได้ไม่ต�่ำ กว่า 13,000 คนพร้อมหอประชุมใต้ดินที่จุคนได้ ถึง 1,000 คน หรือถ้าการมีออฟฟิศมันไม่ใช่เรื่อง ใหญ่อะไรมาก บ๊อบ กรีนเบิร์ก ซีอีโอของบริษัท R/GA ก็คงไม่คิดปรับปรุง ‘พื้นที่ภายนอก’ ให้ล�้ำ เทคโนโลยีมากขึ้นด้วยการเพิ่มฟังก์ชันดิจิตอลที่ เชื่อมโยงบริษัทกว่า 17 แห่งเข้าด้วยกัน “เราจะสร้างตึกที่สามารถผลักดันการมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในบริษัท ท�ำให้พวกเขาได้ ท�ำงานอยู่ภายใต้ข้อจ�ำกัดรูปแบบใหม่” ในวิดิโอ โปรโมทแคมปัสอ้างไว้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีดิจิตอล หลายคนให้ข้อสังเกตว่าแม้ว่าหลายบริษัทจะ ปรับตัวให้พนักงานมีอิสระในการท�ำงานมากขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่อยากท�ำงาน ‘ที่ไหนก็ได้’ เพราะลึกๆ แล้วการท�ำงานให้สนุก และส�ำเร็จต้องอาศัยการพูดคุยถกเถียง, ระดม สมอง และแชร์ความรู้เพื่อตีโจทย์และฟาดฟันต่อ อุปสรรคใดๆ ก็ตามทีเ่ กิดขึน้ ในเนือ้ งาน โดยเฉพาะ ในธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ การผนึกก�ำลังและดึงทึง้ ไอ เดียยิ่งเป็นสิ่งส�ำคัญล�ำดับต้นๆ การยกเลิ ก คอกกั้ น แบบเดิ ม ๆ เพิ่ ม เติมโต๊ะปิงปองเข้าไปสันทนาการพนักงาน หรือ ปรับปรุงเฟอร์นเิ จอร์ตกแต่งให้เพลินตาน่าท�ำงาน มากขึ้ น จึ ง อาจไม่ ใ ช่ ค� ำ ตอบสุ ด ท้ า ยของการ ประสบความส�ำเร็จในศตวรรษนี้

ถ้าย้อนกลับไปประมาณ 15 ปีที่แล้ว Co-working space อาจจะเป็นพื้นที่ใหม่แกะ กล่องที่นักสร้างสรรค์รู้สึกตื่นเต้น แต่ในยุคแบบ คอมพูโทเปีย (Computopia) ที่สังคมเอื้อให้เรา ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศเพื่อ สื่อสารได้อย่างอิสระ มันคือประชาธิปไตยที่ไม่ ค่อยมีใครสังเกตการณ์ ปราศจากผูค้ มุ อ�ำนาจและ บีบอัดเวลาไปจนระยะทางไม่มคี วามหมาย สังคม แบบรวมกลุ่ม การท�ำงานจึงเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุน วิถีการท�ำงานใน ‘พื้นที่’ ใหม่ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว Impact Hub เป็น Coworking space ที่มีตัวตนอยู่เพียงแค่ 2 สาขา ในสหรัฐอเมริกา แต่เวลานี้ความต้องการพื้นที่ ใหม่ๆ แห่งการท�ำงานท�ำให้ Impact Hub เติบโต ไปอยู่ใน 48 ประเทศทั่วโลก ยังไม่รวม Indy Hall ในฟิลาเดเฟียที่มีสมาชิกหลากหลายตั้งแต่นัก วิทยาศาสตร์, นักพัฒนาเว็บไซต์, ศิลปินไปจนถึง ผู้ประกอบการ ความหลากหลายของ Co-working space สร้างความแตกต่างที่มีสีสันให้กับการ ท�ำงานร่วมกันในสิ่งแวดล้อมใหม่ แต่ละที่ได้รับ การดีไซน์ มาเพื่อจุดความคิดสร้างสรรค์ มีการจัด กิจกรรมหรือคลินิกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ ประกอบการ หรือจัดเวทีถกเถียงเป็นวาระเพือ่ การ มีสว่ นร่วมของสมาชิก ในขณะทีฟ่ รีแลนซ์หรือผูใ้ ช้ งานทีอ่ ยากจะแยกตัวไปท�ำงานคนเดียวก็สามารถ ท�ำได้ พื้นที่ใหม่ตอบโจทย์ชีวิตในแง่ที่ว่าได้ผสาน ชีวิตท�ำงานกับชีวิตจริงเข้าด้วยกัน ท่ามกลาง บรรยากาศของการท�ำงานที่เป็นอิสระและมีสิทธิ ที่จะ ‘เลือก’ Space หรือยานแม่แห่งใหม่จึงแง้ม โอกาสให้เราแสดงตัวตนของเราออกมาในสังคม การท�ำงาน จริงๆ แล้วเราไม่ได้อยากเห็นคุณค่า ของตัวเองอยูค่ นเดียว และท�ำงานในพืน้ ทีท่ ที่ ำ� ให้ รูส้ กึ ไม่มอี ำ� นาจ Co-working space คลายปมตรง นัน้ เพราะถึงแม้คณ ุ จะเป็นแค่ฟรีแลนซ์ ก็สามารถ คุยเรื่องเทรนด์โลกหรือหัวข้อที่สนใจได้ในพื้นที่ แห่งนี้ จึงไม่แปลกอะไรถ้า Co-working space ชือ่ ดังของนิวยอร์กอย่าง Wework ทีม่ สี มาชิกรอบ โลกกว่า 40,000 รายจะพัฒนาระบบ We live ขึ้นมารองรับผู้ที่ไม่อยากย้ายตัวออกจากบ้านมา ท�ำงานอีกต่อไป ผู้เช่าสามารถใช้พื้นที่ชีวิตร่วม กันได้ (400 ห้องในย่านวอลล์สตรีท) และเข้าร่วม กิจกรรมต่างๆ เช่น ฟิตเนส, โต๊ะพูล หรือร่วมทาน อาหารค�ำ่ ทีเ่ พือ่ นร่วมบ้านน�ำมา (Potluck dinner) มีบริการซักรีด, อาหารและเครื่องดื่มให้ครบครัน ทุกกิจกรรมท�ำได้ผ่านแอพพลิเคชันในมือถือ กระแสการปฏิวัติวงการออฟฟิศคงไม่ จางไปง่ายๆ เพราะ Co-working space ชื่อดัง รอบโลกก�ำลังขยายสาขาและมีการพัฒนาพื้นที่ ของการท�ำงานให้ไปไกลถึงขั้นอยู่อาศัยร่วมกัน 15

‘นาเดีย โบเอกลี’ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ Co-working space นาม The Changer ในเบอร์ลินให้ข้อสังเกตว่า ธุรกิจเชิงนวัตกรรมแบบนี้จะช่วยบรรเทาปัญหา สั ง คมลงไปได้ เพราะผู ้ ค นมาอยู ่ ร ่ ว มกั น เพื่ อ สร้างสรรค์ความคิด พื้นที่ดิจิตอลจะช่วยอ�ำนวย ความสะดวกและท� ำ ให้ เ ราส� ำ รวจปั ญ หาได้ รวดเร็วมากขึ้น แต่นี่เป็นเพียงการทดลองดีไซน์พื้นที่ แห่ ง ใหม่ โ ดยวิ จั ย จากสภาพแวดล้ อ ม และ พฤติกรรมของคนในยุค 20 มันยังอยู่ในขั้นของ การคัดกรองว่าการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของ มนุษย์เกิดจากการรวมกลุ่มหรือการอยู่ในสภาพ แวดล้ อ มแบบไหน บริ ษั ท ต่ า งๆ จึ ง ขยั น ผลิ ต เทคโนโลยีใหม่ๆ ขึน้ มา เพือ่ วัดว่าพฤติกรรมของเรา ตอบสนองกับพื้นที่หนึ่งอย่างไร ท�ำให้เราผลิต ผลงานได้มากขึ้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นหรือไม่ แน่นอนว่ามันส่งผลกระทบต่ออาชีพ อย่างสถาปนิก, นักพัฒนาหรือนักสื่อสารสังคม ที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมการท�ำงานในยุคต่อๆ ไปให้ลำ�้ กว่านี้ พวกเขาต้องตกผลึกเพือ่ หาหนทาง ทีจ่ ะท�ำให้มนุษย์ co-work กันให้ได้ดที สี่ ดุ ไม่วา่ จะ อยู่ใน space แบบใดก็ตาม เรเชล บอตส์ แ มน เจ้ า ของหนั ง สื อ What’s Mine Is Yours: The Rise of Collaborative Consumption กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “การ ท�ำงานในลักษณะ co-work คือการย้ายตัวเอง จากวัฒนธรรมของ ‘ฉัน’ไปสู่วัฒนธรรมของ ‘เรา’ ผู้คนต่างมองหาทางที่จะสื่อสารความเป็นตัวเอง แต่ยคุ สมัยท�ำให้พวกเขาอยากเป็นตัวเองให้สงั คม มองเห็น” Co-working space สามารถสะท้อน และยกเครื่ อ งพฤติ ก รรมการท� ำ งาน สร้ า ง วัฒนธรรมร่วมที่น่าสนใจ ไม่แน่ว่าในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้าการออกไปท�ำงานบนยอดเขา อาจจะมี ประสิทธิภาพและเจ๋งกว่าก็เป็นได้


Think space พืน้ ทีข่ องความคิดใหม่ๆ ในรู ปแบบใหม่

Sound space สุนทรียะแห่งการ ‘ฟั ง’ ที ไ่ ร้ขีดจ�ำกัด

“เราคิดค้น iTunes ขึ้นมาเพราะเราต่างชอบฟัง เพลง เราจึงผลิตตู้เพลงที่ดีที่สุดและพกพาห้องสมุดเสียง เพลงไปกับเราทุกที่ ทีมของเราท�ำงานกันหนักมาก แต่นนั่ ก็ เพราะว่าเรารูว้ า่ มันเป็นสิง่ ทีท่ กุ คนต้องการ ลูกค้า 100 คน แรกที่จะซื้อคือพวกเราเอง เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เรื่องของ วัฒนธรรมป๊อปหรือการหลอกขายของให้ผู้คนที่ไม่อยาก จะได้ มันเป็นเพราะเรารู้แล้วว่าเราต้องการอะไร” สตีฟ จ็อบส์ ซีอโี อโลกไม่มวี นั ลืมของ Apple พูด ไว้ในนิตยสาร Fortune เมื่อปี 2551 และนวัตกรรมนี้ก็ได้ สร้างปรากฏการณ์การเข้าถึงเพลงทีเ่ ปลีย่ นไปอย่างสิน้ เชิง ในศตวรรษ 21 iPod เปิดตัวตามมาติดๆ ในปี 2554 เปิดโอกาส ให้เรามีเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาที่บรรจุเพลงเป็นล้านๆ เพลงได้ พร้อมตัวเลือกในการ shuffle รองรับความสนุก สนานเล็กๆ เดาว่าต่อไปจะได้ฟังเพลงอะไร รวมไปถึงการ สร้างสรรค์เพลย์ลสิ ต์ของตัวเอง iTunes และ iPod ส่งผลให้ พฤติกรรมการฟังเพลงของคนทั่วโลกเริ่มขยับไปในทาง แรนดอม และมีลูกเล่นมากขึ้น ในปี 2558 สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของ สหรัฐอเมริกา หรือ RIAA ระบุวา่ ธุรกิจ Music streaming เป็นช่องทางที่ท�ำรายได้มากที่สุดถึง 2.4 พันล้านดอล ล่าร์สหรัฐในอุตสาหกรรมเพลงของอเมริกา เอาชนะการ โหลดเพลงแบบ digital downloads เป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ และมีแนวโน้มว่าผู้สมัครสมาชิกเพื่อรับ บริการฟังเพลงจะมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 13 ล้านคนในเดือน ธันวาคม 2559 แบบส�ำรวจนี้จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายให้หลาย บริษทั ดีไซน์ชอ่ งทางในการเปิดสตรีมมิง่ พืน้ ทีใ่ หม่ทคี่ นฟัง ไว้ใจ ปัจจุบนั เทคโนโลยีการฟังเพลงแบบ Music streaming เปลีย่ นแปลงวิธกี ารเข้าถึงเพลงของผูฟ้ งั ไปโดยสิน้ เชิง เพียงแค่สมัครสมาชิกรายเดือนผู้ใช้ก็ได้หลุดเข้าไปอยู่ใน ระบบที่มีรูปแบบของการฟังเพลงหลากหลาย สวมหูฟัง อยู่ในมิติเมโลดี้แห่งใหม่ จากทีเ่ ราเคยเคยยึดโยงอยูก่ บั แนวเพลงไม่กแ่ี นว เราเคยมอบความศรัทธาแก่ศลิ ปินไม่กกี่ ลุม่ และเฝ้ารอวัน ที่อัลบั้มของพวกเขาจะออก เราเคยแม้แต่กระทั่งคลั่งไคล้ วัฒนธรรม Mixed tape มากมาย ทว่ากาลเวลาเปลีย่ นแนว เพลงอินดีย้ งั เปลีย่ น ผูฟ้ งั ก็มสี ทิ ธิอนิ ดี้ เปลีย่ นวิถกี ารฟังให้ เข้ากับยุคสมัยและตัวตนที่เปลี่ยนไปได้ด้วยเช่นกัน Spotify ผูใ้ ห้บริการสตรีมมิง่ สัญชาติสวีเดน เปิด ตัวนวัตกรรมนี้มาตั้งแต่ปี 2551 มีผู้สนใจใช้บริการถึง 75 ล้านคนทั่วโลก พวกเขาสร้างทีมแห่งการคิวเรทหรือสร้าง ลิสต์เพลงเพื่อดึงความสนใจผู้ฟังเพราะเราไม่มีทางฟัง เพลง 30 ล้านกว่าเพลงได้หมดในชาตินี้แน่ๆ ถึงแม้ว่าเรา จะมีกล่องเพลงของทั้งโลกไว้อยู่แค่ปลายนิ้ว แต่สุดท้าย แล้วเราก็ไม่รู้อยู่ดีว่าอยากจะฟังเพลงอะไร ทีม Spotify เลือกเจาะความละเอียดตรงจุด นั้น พัฒนาลิสต์เพลงที่ช่วยเข้าใจอารมณ์ผู้ฟังด้วยการตั้ง ค�ำถามว่า ตอนนี้คุณอยู่ในอารมณ์แบบไหน, อยากกลับ ไปในยุค 80 หรือเปล่า หรือแนะน�ำ 40 เพลงที่ได้รับความ นิยมจากเรา เหมือนเป็นเพือ่ นคนหนึง่ ทีพ่ ยายามจะเข้าใจ ว่าเพื่อนอยากฟังเพลงอะไร

บวกกับฟังก์ชัน Discover Weekly ที่สามารถ เลือกเพลงให้ตรงกับจริตของผูฟ้ งั แต่ละคนได้อย่างไม่นา่ เชือ่ ทัง้ ๆ ทีม่ ผี ฟู้ งั มากมายถึง 75 ล้านคนทัว่ โลก ระบบจะศึกษา รสนิยมและพฤติกรรมการฟังเพลงของเราว่าคลัง่ ไคล้แนว ดนตรีหรือ music curator คนไหน และวิเคราะห์ออกมา เป็นเพลงทีเ่ ราน่าจะชอบจากข้อมูลเพลย์ลสิ ต์กว่า 2,000 ล้าน เพลย์ลสิ ต์ คล้ายกับฟังก์ชนั For you ใน Apple music หรือ ในประเทศไทยเอง fungjai.com ก็เป็นแพลตฟอร์มทีม่ เี พลลิสย์ ตามอารมณ์และวาระไว้เย้าแหย่คนฟังเพือ่ สร้างความมีสว่ นร่วม เช่น เห็ดฮิตติดหลังคา, I hate you, love หรืออร๊างงง (18+) สตรีมมิง่ จึงเป็นตูเ้ พลงร่วมสมัย ฮิปพอประมาณ ที่ส�ำคัญยังสะท้อนตัวตนของผู้ฟังไปในเวลาเดียวกันด้วย เพลย์ลสิ ต์กค็ อื วัฒนธรรมทีเ่ ราสร้างขึน้ เปลีย่ นแปลงไปตาม ความชอบหรือเทรนด์ การแชร์เพลงทีเ่ ราฟังก็คอื การสะท้อน รสนิยมและตัวตนในสังคม แต่รูปแบบใหม่ของมันเปิด โอกาสให้สังคมมองเราได้กว้างขึ้นกว่าเดิม มันอาจจะไม่ จ�ำเป็นอีกต่อไปแล้วว่าคุณจะเป็นขาร็อค, อินดี,้ อิเล็กโทร หรือฟังก์เพียงอย่างเดียว แต่เพลย์ลสิ ต์ทเี่ ป็นคุณก็คอื ตัวของ คุณเอง ไม่จำ� เป็นต้องได้รบั การนิยามใดๆ Audio books ที่คนฟังกันอย่างแพร่หลาย ก็ นับเป็นเทรนด์ใหม่ที่การรับรู้ไม่ใช่แค่อ่าน การฟังเป็นอีก ทางเลือกหนึ่งของการเสพความรู้ที่ไม่ต่างอะไรกับการฟัง ทอล์กโชว์ หรือชมซีรสี ท์ เี่ กิดขึน้ จากเสียงพูดเป็นส่วนใหญ่ จินตนาการของยุคนี้ไม่ได้จ�ำกัดไว้แค่การดูทีวีเพียงอย่าง เดียวแล้ว ‘พอดแคสต์’ ก็สามารถตอบสนองความบันเทิง ของผูฟ้ งั ได้แม้วา่ จะไม่มภี าพเคลือ่ นไหวประกอบ สถาบันวิจยั PEW เพิง่ จะท�ำการวิจยั ออกมาว่า ประชากรไม่ถงึ ครึง่ ในสหรัฐอเมริการูจ้ กั พอดแคสต์ โดยมี ร้อยละ 17 ทีช่ อบฟังรายการอยูแ่ ค่รายการเดียวเท่านัน้ ทว่า fastcompany.com ก็ระบุอกี เช่นกันว่ายอดดาวน์โหลดของ ซีรสี่ ์ serial ทีเ่ ล่าเรือ่ งการสืบสวนเหตุฆาตกรรมปริศนา เฮ มิน ลี ในพอดแคสต์มีมากกว่ายอดของคนที่ดูซีรี่ส์เรื่อง Girls, Mad men หรือ Louie เสียอีก อาจเป็ น เพราะพอดแคสต์ เ ป็ น อุ ต สาหกรรม บันเทิงแบบ niche ผูฟ้ งั สามารถเปิดฟังเมือ่ ไหร่กไ็ ด้ ไม่มี วาระทีแ่ น่นอน คอนเทนต์ทงั้ หมดจึงถูกดีไซน์อย่างเฉพาะ เจาะจง มีความละเมียดละไมที่จะเล่า และสร้างความ สัมพันธ์ทลี่ กึ ซึง้ กับผูฟ้ งั อย่างเหนียวแน่น และเปลีย่ นแปลง พฤติกรรมการดูและการฟังของเราไปได้ในครัง้ เดียว 16

แม้ ว ่ า เราจะคุ ้ น เคยกั บ การดู ซี รี ส ์ หรื อ ดู ข ่ า ว มากกว่า ‘ฟัง’ ซีรสี่ ์ กระนัน้ พอดแคสต์กเ็ ป็นพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ แห่งใหม่ทไี่ ร้ระเบียบกฏเกณฑ์ ไม่มรี ปู แบบหรือความยาว ทีแ่ น่นอน ใครก็สามารถเป็นดาราได้โดยทีไ่ ม่จำ� เป็นต้องไป โผล่ตวั ตนออกทาง Netflix หรือ HBO หากทัง้ ผูพ้ ดู และผูฟ้ งั เป็นพวกไม่ชอบเข้าสังคมด้วยกันทัง้ คู่ แต่กไ็ ม่อยากปลีกตัว ไปเป็นตัวละครลับในสังคมขนาดนัน้ และมีเรือ่ งทีจ่ ะเล่าเต็ม กระบะ พอดแคสต์กเ็ ป็นทางเลือกทีน่ า่ สนใจมากของผูฟ้ งั ที่ จะได้รบั สารทีห่ ลากหลายมากขึน้ รวมถึงมีโอกาสได้พดู ใน ขอบเขตความเชีย่ วชาญของตัวเองอีกด้วย หากวันหนึง่ ผูจ้ ดั มีชอื่ เสียงโด่งดังขึน้ มา โฆษณา ก็จะเริม่ เข้า พวกเขาสามารถสร้างรายได้มหาศาลจากการ อ่านสปอต เพราะสถาบัน Midroll ท�ำการส�ำรวจผู้ฟัง พอดแคสต์ 60,000 คน พบว่า ร้อยละ 63 ซื้อผลิตภัณฑ์ ที่ผู้จัดรายการโฆษณาจริงๆ หรือในแง่ของวงการศิลปะ ศิลปินอย่าง Doug Benson และ Greg Proops ก็ติดเทป อัดเสียงไว้เวลาที่พวกเขาท�ำการแสดงบนถนนเพื่อไปต่อ ยอดเป็นพอดแคสต์ ใช้ในการโปรโมทออนไลน์ WTF พอดแคสต์ชื่อดังของนักแสดงตลก ‘มาร์ค มารอน’ ก็ดำ� เนินมาถึงตอนที่ 700 แล้วในระยะเวลา 6 ปีที่ ผ่านมา เขาสามารถชวนพิธกี รรายการชือ่ ดังอย่าง ‘โคนัน โอ ไบรอัน’ หรือแม้กระทั่งนางแบบแห่งยุค 90 อย่าง ‘ซินดี้ ครอว์ฟอร์ด’ มาร่วมพูดคุยถกเถียงและสร้างความนิยม ได้อย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเองก็มีพอดแคสต์หลายแบบอยู่ใน แอพฯ soundcloud และแอพฯ PodCast ของ Apple เช่น Weslide Radio ที่ชวนคุยเรื่องประเด็นร่วมสมัยในสังคม, Omnivore ทีเ่ ล่าประเด็นทีข่ น้ คลัก่ หนักแน่นในเชิงความรู้ และ วัฒนธรรม ทีว่ เิ คราะห์ได้อย่างมีมติ หิ รือ Get talks พอตแคสต์ สายเฮฮาอารมณ์ดี ชวนฮาไปกับมุกตลกปนสาระเล็กๆ น้อยๆ ในชีวติ ประจ�ำวัน แต่บางครัง้ ก็แอบมีสาระหนักแน่น ผ่านการเชิญแขกรับเขิญมาพูดคุย อนาคตของพอดแคสต์ หรือการสตรีมมิ่งคงจะ ล�้ำไปกว่านี้มากในอีก 10 ปีข้างหน้า มันอาจจะเป็นยุคที่ เราไม่ต้องเลือกฟังอะไรด้วยตัวเองแล้ว หรือเป็นยุคที่ทุก คนสามารถเป็น Music curator และสื่อสารกับผู้ฟังรอบ โลกได้ แต่ไม่วา่ เทคโนโลยีจะพัฒนาไปแค่ไหน สิง่ ทีส่ ำ� คัญ ที่สุดการที่ผู้ฟังเลือกที่จะฟัง ผู้บริการการฟังก็ควรดีไซน์ ระบบและคอนเทนต์ให้น่าฟังตามไปด้วย

ถ้าให้กดปุม่ เลือกสถานทีท่ ำ� งานทีน่ า่ สนใจในยุค นี้ คงต้องผลิตปุม่ เป็นร้อยๆ ปุม่ เพราะเทคโนโลยีสร้างทาง เลือกให้มนุษย์ยา้ ยตัวเองไปอยูใ่ นพืน้ ทีใ่ หม่ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ, ห้องสมุด หรือสวนสาธารณะ เรา เปลี่ยนที่ท�ำงานกันด้วยพื้นฐานความคิดใหม่ๆ ที่ไม่อยาก ใช้ชีวิตแบบจ�ำเจ พูดให้ดูเกินจริงหน่อยก็คือเหมือนเรา ตามหาบ้านหลังที่สองกันทุกวี่วัน และบ้านหลังนั้นต้องติดอินเทอร์เน็ตแบบอันลิ มิเต็ดให้ด้วย แต่พนื้ ทีท่ ไี่ ม่ได้รบั การดีไซน์มาให้ตอบสนองการ ท�ำงาน 100% ก็สร้างความหงุดหงิดใจให้ผู้ใช้ได้ไม่น้อย ร้านกาแฟเก๋อาจให้ไวไฟฟรีแค่ 1-2 ชั่วโมง ห้องสมุดบาง ที่เงียบกริบเกินไป สวนสาธารณะในเมืองไทยก็จอแจเกิน กว่าจะมีสมาธิกับอะไรได้ Think Space B2S จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับวิถีชีวิต และการท�ำงานในยุคของ การเปลี่ยนผ่าน ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์มีความ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเสมอ หากสถานที่ท�ำงานสามารถ ผสานเข้ากับวิถีชีวิต แล้วแปรรูปมันออกมาเป็นการพัก ผ่อน และต่อยอดแรงบันดาลใจได้ ก็น่าสนใจว่ามันจะ สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของเราไปได้ในทิศทางไหน Think space B2S แบ่งพืน้ ทีอ่ อกเป็น 5 ส่วนด้วย กัน คือ Lifestyle Book Space, Play x Learn Space, Art x Idea Space, Entertainment Space และ Networking Space เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย แม้เราจะเสพข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเป็นส่วน ใหญ่ แต่ในพื้นที่ Lifestyle Book Space เป็นโซนที่เห็น

ความส�ำคัญต่อการสัมผัสกระดาษและอรรถประโยชน์ของ สื่อสิ่งพิมพ์ รวบรวมหนังสือและนิตยสารเชิงสร้างสรรค์ไว้ ในโซนหนังสือทั้งหมด 13 โซน เลือกอ่านได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หมวดหมู่ของหนังสือแบ่งตามความ สนใจพื้นฐานของมนุษย์จริงๆ รวมไปถึงการจัดเวิร์คช็อบ เพื่อทดลองและฝึกฝนไอเดียในรูปแบบที่หลากหลาย และยังต่อยอดไอเดียเชิงศิลปะได้ที่โซน Art x Idea Space แกลเลอรีบนวอลเปเปอร์สขี าวจะถูกเวียนกัน แสดงผลงานของศิลปินชาวไทยไปเรือ่ ยๆ ผูใ้ ช้สามารถเก็บ รายละเอียดต่อด้วยการเดินชมเฟอร์นิเจอร์ฝีมือดีไซเนอร์ ชาวไทย แต่ดังไปไกลในระดับโลก ไม่วา่ ผูใ้ ช้งานจะเป็นนักท่องเทีย่ ว ศิลปิน หนอนหนังสือ กูรูด้านอาหาร หรือคอเพลงตัวยง Think Space B2S เป็น พื้นที่แห่งการค้นหาตัวตน และรับรองตัวตนเหล่านั้นไว้ ด้วยวัตถุดิบที่หลากหลาย เช่น ใน Entertainment Space เราจะมีโอกาสได้ฟงั เสียงทีเ่ ราอยากฟังอย่างเต็มที่ มี B&O Shop in Shop ของ Bang & Olufsen แบรนด์เครื่องเสียง ระดับพรีเมี่ยมเก่าแก่จากเดนมาร์กไว้บริการ พร้อมการ แสดงสดของดีเจในบริเวณ Music Room Networking Space เป็นพื้นที่แห่งความเป็น ไปได้ส�ำหรับ Start up หรือนักธุรกิจที่อยากต่อยอดแผน งาน หรือใครก็ตามที่ต้องการถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ และไอเดียกันในหัวข้อต่างๆ บรรยากาศทีร่ นื่ ตากับเอสเปร สโซร้อนๆ ช่วยท�ำให้พื้นที่โซนนี้เป็น Co-working Space ที่ส่งเสริมความกระปรี้กระเปร่า และไม่เครียดจนเกินไป เพราะนอกจากจะมีอุปกรณ์และโต๊ะท�ำงานที่พร้อมใช้ คุยธุรกิจแล้ว พื้นที่ร้านอาหาร COVER ll COVER ของ เชฟพล ตัณฑเสถียร ผสมผสานกับเบเกอรีแ่ ละคาเฟ่จาก AmatissimoCafé ก็ยังช่วยให้การพูดคุยถกเถียงเป็นไป ได้อย่างนิ่มนวลมากขึ้นด้วย ปิดท้ายที่ Play x Learn Kids Space วัยเยาว์

17

เป็นวัยทีค่ วรจะได้รบั การทะนุถนอมด้วยไอเดียสร้างสรรค์ ทักษะการเรียนรู้ด้วยการ ‘เล่น’ จึงส่งผลต่อพฤติกรรม และการใช้ชีวิตของเด็กในอนาคต Play x Learn Space เปิดพื้นที่ให้กับโรงเรียนสอนศิลปะสามมิติ Clayworks, โรงเรียนสอนท�ำอาหารผ่านกระบวนการเรียนรู้จากญี่ปุ่น Chefutown หรือโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและพัฒนา ทักษะและความรู้ต่างๆ ถึง 7 สถาบัน เหนือไปกว่านั้นมัน เชือ่ มความแข็งแกร่งของสถาบันครอบครัวและการท�ำงาน ของพ่อแม่เข้าไปเป็นหนึ่งเดียว อุตสาหกรรมการท�ำงานในยุคคอมพูโทเปียอาจ อ�ำนวยความสะดวกให้การท�ำงานของเรามีประสิทธิภาพ และรวดเร็วขึน้ แต่ตวั แปรของความสุข หรือแรงขับเคลือ่ น ก็อาจหล่นหายไประหว่างทางด้วยเช่นกัน พืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ ที่มีความพิเศษ และตอบสนองทั้งวัฒนธรรมการท�ำงาน และการใช้ชวี ติ จึงเป็นจิก๊ ซอว์ทสี่ ำ� คัญในยุคทีค่ วามส�ำเร็จ เกิดได้พริบตาด้วยแค่ค�ำว่า ‘ไอเดีย’ ถ้าให้กดปุม่ เลือกสถานทีท่ ำ� งานทีน่ า่ สนใจในยุค นี้ ‘Think space B2S’ ก็น่าจะเป็นปุ่มที่น่ากดอีกปุ่มหนึ่ง ไม่ใช่แค่พนื้ ทีส่ ร้างสรรค์เท่าทีม่ สี อื่ ถึง ‘ความคิด’ แต่ความหมายของความคิดก็ยงั หมายถึงสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นสมอง คนด้วย เพราะว่าความคิดนั่นเป็นสิ่งที่อยู่ติดตัว และเป็น พืน้ ฐานของมนุษย์เป็นหนึง่ ในพืน้ ทีส่ ำ� คัญทีก่ อ่ ให้เกิดอะไร ขึ้นหลายๆ อย่างโดยเริ่มต้นจากความคิด และสติปัญญา ซึ่งเราก�ำลังจะพูดถึงการพัฒนาด้าน ‘กระบวนการคิด’ ใน เชิงวิวัฒนาการของยุคนี้นั่นเอง


ในปี 2558 เว็บไซต์ Telegraph รายงานว่า IQ ของคนทั่วโลกก�ำลังก้าวต�่ำลงเรื่อยๆ ปัญญาสะสมหรือ ปัญญาร่วม (Collective intelligence) ก็ลดตามลงไป 1 แต้มไอคิวด้วยเช่นกันในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหนึ่ง ก็เพราะว่าชีวติ ความเป็นอยูแ่ ละพฤติกรรมการบริโภคของ คนในสังคมเมืองส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสมอง และไอ คิวพื้นที่ทางความคิดเราจึงเต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่จ�ำเป็น “ความเครียดและความกังวลคือปัญหาสุขภาพ ของคนทั่วไปที่แก้ยากที่สุดในเวลานี้” เทรซี่ เดนนิส ศาสตราจารย์ประจ�ำภาคจิตวิทยา ที่วิทยาลัยฮันเตอร์กล่าว เหตุก็เพราะว่าสุขภาพภายใน ที่อ่อนแอส่งผลให้สุขภาพภายนอก,ความเป็นอยู่, การ ท�ำงานหรือการเข้าสังคมอ่อนแอตามไปด้วย เราจึงสังเกตเห็นแอพพลิเคชันมากมายที่อ้าง ตัวว่าเป็นยาถอนพิษความเครียดออกจากสมอง และ กระบวนการคิด ตั้งแต่เกม Dr. Kawashima’s Brain Training ในเครือ่ งนินเทนโด ดีเอส ทีช่ ว่ ยพัฒนาเซลล์สเี ทา ของผู้สูงอายุ ไปจนถึงแอพฯ ที่เน้นการพัฒนาฟังก์ชันการ รับรู้ เช่น Luminosity ที่อ้างว่าสามารถช่วยกระตุ้นความ ทรงจ�ำ และประมวลผลทางความคิดได้เร็วขึ้น เหมาะ ส�ำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ประสบภาวะโรคเกี่ยวกับความ ทรงจ�ำอีกเช่นกัน ตัวช่วยในการฝึกสมอง และความคิดจึงมีพนื้ ทีใ่ หม่ อยูใ่ นแอพฯ และอุปกรณ์พกพาทัง้ หลายจ�ำพวกสมาร์ทโฟน หรือแท็บแล็ต การฝึกฝนในลักษณะนี้สะดวกสบายกว่า การนั ด ปรึ ก ษาจิ ต แพทย์ หรื อ แพทย์ ป ระสาทวิ ท ยาที่ โรงพยาบาลเป็นไหนๆ และยังตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มี วิถีชีวิตเร่งรีบและมีพฤติกรรมติดหน้าจอได้ไม่มากก็น้อย แอพฯ ส่วนใหญ่จะฝังฟังก์ชัน ‘smart’ ไว้เพื่อ โฆษณาสรรพคุณของตัวเอง ซึง่ โดยมากแล้วฟอร์แมตของ

แอพฯ เหล่านี้จะประกอบไปด้วยเกมเล็กๆ หลายๆ เกมที่ ถูกคิดค้นมาเพื่อทดสอบเชิงความคิดกับผู้เล่น เราจะเห็น กราฟพัฒนาการเป็นช่วงๆ รวมไปถึงตัวเลือกของการสมัคร สมาชิกเพื่อลองทดสอบสมองในเกมอื่นๆ ด้วย Peak เป็นแอพพลิเคชันฝึกสมองที่ประกอบไป ด้วยมินิเกมทดสอบความจ�ำ, ภาษา, ความรวดเร็วในการ คิด และสมาธิ โดยในแต่ละวัน Peak จะเลือกเกมจ�ำนวน 4 เกมมาให้เล่นเพื่อทดสอบทักษะทั้ง 4 ด้าน เพิ่มความ ยากไปตามเวลา และด่านที่ผ่านไปถึง เมื่อเราผ่านด่าน ทั้งหมดในแต่ละวัน แอพฯ จะประเมินผลเป็นกราฟให้ หรือแอพพลิเคชัน Elevate ก็เป็นคู่แข่งที่สูสีกันกับ Peak เพราะมีฟอร์แมตของมินิเกมที่คล้ายกัน คือการทดสอบ ประสิทธิภาพในการจ�ำ, สมาธิ, ความสามารถในการอ่าน และกระบวนการทางความคิดอื่นๆ แอพฯจะเตือนให้เรา ล็อกอินเข้าไปเล่นอยู่ตลอดเวลา ด่านยากก็จะเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน “การพัฒนาทักษะทางความคิดและการมอง โลกในแง่บวกจะท�ำให้เราเห็นมุมดีๆ ในสถานการณ์เลว ร้าย เราจึงต้องหาวิธที จี่ ะปรับตัว และอยูใ่ นโลกแห่งความ หลากหลายให้ ไ ด้ ” ด๊ อ กเตอร์ เ ดนนิ ส นั ก วิ ช าการจาก วิทยาลัยฮันเตอร์กล่าวไว้ เธอเป็นผู้คิดค้นแอพพลิเคชัน Personal Zen เพื่อละลายความเครียดในโลกแห่งความ เป็นจริงของผูเ้ ล่น และแนะน�ำว่าการเล่นแอพฯ เพียง 10 นาที ต่อวันจะช่วยเสริมสร้างความคิดเชิงบวกให้แก่ผู้เล่นได้ Lumosity ก็เป็นอีกหนึง่ แอพฯ ทีค่ นนิยมเล่นกันมาก พุ่งเป้าไปที่ความสามารถในการจดจ�ำ, สมาธิและการแก้ ปัญหาเฉพาะหน้าเหมือนเกมฝึกสมองอืน่ ๆ ผูเ้ ล่นจะต้องเล่น ภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด ต้องมีความรวดเร็วในการคิด และหาทางออก ซึ่งผู้ที่พัฒนาแอพฯ นี้ยืนยันว่าผู้เล่นจะมี ทักษะในการคิดทีพ่ ฒ ั นาขึน้ จากการเล่นเพียง 1 เซ็ตเท่านัน้ 18

แต่ทา้ ยทีส่ ดุ แล้ว ทางบริษทั ทีผ่ ลิต Lumosity ก็ตอ้ ง จ่ายค่าปรับถึง 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐให้กบั คณะกรรมาธิการ การค้าแห่งสหพันธรัฐ (FTC) ข้อหาหลอกลวงผู้บริโภค ในประเด็นที่ว่าเกมสามารถฟื้นฟูความทรงจ�ำที่หายไป, ซ่อมแซมภาวะดีเมนเทียหรือแม้กระทั่งโรคอัลไซเมอร์ได้ ถึงแม้ว่าพื้นที่ใหม่ในโลกดิจิตอลอย่างแอพฯ เหล่านี้จะมีความสามารถในการกระตุ้นความทรงจ�ำหรือ ฝึกวิธีการคิด ท�ำให้เรามีช่องทางในการปรับปรุงความจ�ำ และโครงสร้างไอเดียในวิถที งี่ า่ ยขึน้ แต่กไ็ ม่ได้หมายความ ว่าหน้าจอแท็บเล็ตของเราจะมีปุ่มวิเศษที่ช่วยเพิ่มทักษะ เหล่านั้นในเวลาอันสั้น และแน่นอนว่าแอพฯ เหล่านั้นก็ ไม่ได้มีประสิทธิภาพทั้งหมด จอร์จ รีบ็อก นักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยเกี่ยวกับเกม ฝึกสมองพบว่าแอพพลิเคชันช่วยพัฒนาระบบความคิด ได้จริงในระดับหนึ่ง แต่มันไม่ได้ทรงพลังถึงขั้นที่ว่าเรา สามารถหยุดกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตแล้วมุ่งแต่เล่นแอพฯ เพื่อฝึกสมองได้ ดังนั้นแอพฯ เหล่านี้จึงไม่มีอ�ำนาจในการ เสกมนตร์แห่งความเฉลียวฉลาดหรือท�ำให้ผู้เล่นมีความ สุขมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มันอาจจะช่วยในเรื่องสมาธิ ต่อการท�ำงาน, ระบบความคิดและไอเดียหรือการควบคุม อารมณ์ของตัวเอง แต่แน่นอนว่าเทคโนโลยีก็มีอันตรายที่ แฝงมาในความล�้ำสมัย เราจึงต้อง ‘คิด’ ให้ถี่ถ้วนว่าพื้นที่ใหม่ที่อ้างว่า สามารถพัฒนาทักษะทางความคิดและสมองได้นั้นน่า ไว้ใจหรือน่าขับไล่ออกไปจากระบบความคิดของเรา

space เปิ ดพืน้ ทีใ่ ห้ศิลปะอย่างไร้ ขอบเขต

Art

35 ปีทแี่ ล้วโรเบิรต์ มอริส ศิลปินและนักเขียนเคย ตั้งค�ำถามที่น่าสนใจไว้ว่า ‘ถ้าเรามีศิลปะในที่สาธารณะ (Public art)แล้วศิลปะในที่ส่วนตัว (Private art) คืออะไร’ ค�ำถามนั้นยังไม่ได้รับการตอบตายตัว เพราะ แค่ค�ำว่า ‘ศิลปะ’ ในพจนานุกรมก็ไม่ได้ระบุความถูกต้อง แม่นย�ำไว้ในโลกแห่งความเป็นจริง การเจอผลงานศิลปะ ตามผนังบ้าน หรือตึกร้างจึงอาจจะระบุได้ไม่เต็มปากว่า เป็นศิลปะในพืน้ ทีส่ าธารณะ การพิจารณา และตัดสินล้วน ขึน้ อยูก่ บั บริบททางสังคมและการตีความของคนในพืน้ ทีท่ ี่ มีวัฒนธรรมรูปแบบเฉพาะ แต่สถานที่ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล หรือมีสญ ั ลักษณ์ทางสังคมบางอย่างอาจจะเรียกได้วา่ เป็น Public art เช่น East side gallery อนุสรณ์แห่งเสรีภาพ ที่ยาวถึง 1.3 กิโลเมตรบนก�ำแพงเบอร์ลิน ก็ก�ำเนิดขึ้น

มาตั้งแต่ปี 2533 นัยยะทางประวัติศาสตร์ และแก่นของ ความหมายที่ซ่อนอยู่ผนังต่างดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่ว โลก และยังเป็นตัวแทนของเสรีภาพที่ท�ำให้ระลึกถึงเลือด เนือ้ เยอรมันตะวันออก และตะวันตก หรือภาพวาดฝาผนัง ในเมืองจอร์จทาวน์ ปีนังก็เป็นสตรีทอาร์ตที่ค่อนข้างเป็น ที่นิยมของมวลชน เปี่ยมไปด้วยคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ จากการเป็นเมืองมรดกโลกตั้งแต่ปี 2551 ด้ า นประเทศไทยเอง เทศกาลศิ ล ปะบุ ก รุ ก Bukrukurban art festival ที่รวมเอางาน street art, illustration และ เทศกาลเพลงเข้าด้วยกันก็ถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ที่สร้างความสนใจต่อผู้คนในกรุงเทพฯ ไม่ น้อย วัฒนธรรมใต้ดินที่แสดงออกด้วยผลงานศิลปะบน ผนังตามย่านเมืองเก่า รวมกับแสง สี เสียงและดนตรีจาก ศิลปินมากมายสร้างพืน้ ทีก่ ารอยูร่ ว่ มกันของศิลปะบันเทิง หลายแขนง ธีมของงานก็ไม่พน้ ความส�ำคัญในเชิงวัฒนธรรม และความคูลของเมืองฝั่งตะวันออก และตะวันตก มัน ไม่ใช่อารมณ์ของการเดินดูโบราณวัตถุในพิพธิ ภัณฑ์อกี ต่อ ไป รูปแบบการน�ำเสนอศิลปะทีน่ า่ สนใจต่างหากทีช่ กั ชวน ให้เหล่าผู้ชมทุกเพศทุกวัยมีส่วนร่วม และแชร์ลงโซเชียล มีเดียได้ไม่ว่านั่นคือการซึมซับศิลปะ หรือความงดงาม ของไลฟ์สไตล์ ‘ปกติศิลป์’ ก็เป็นนิทรรศการศิลปะรูปแบบใหม่ ในเมืองราชบุรี ที่ฝังผลงานศิลปะไว้ตามร้านข้าวหมูแดง, ห้องสมุดศิลปะ, ร้านท�ำผม หรือเก้าอี้บนรถทัวร์ ที่สร้าง ความหมายของการเป็นศิลปิน ให้เจ้าของพื้นที่นั้นๆ ให้ เห็นคุณค่าของเมือง และคุณค่าความเป็นศิลปินที่แฝง อยูใ่ นตัว รวมถึงสร้างการรับรูข้ องคนในท้องถิน่ ด้วยกันเอง ตัง้ แต่ปา้ ร้านช�ำไปจนถึงเด็กนักเรียนมัธยมให้ตงั้ ค�ำถามว่า ‘ศิลปะ’ ทีเ่ กิดขึน้ ในเมืองคือพืน้ ทีข่ องความสร้างสรรค์ หรือ ความแปลกประหลาด Art space ที่เกิดขึ้นตามท้องถนน หรือตึกราม บ้านช่องจึงอาจไม่ใช่พนื้ ทีใ่ หม่เสียทีเดียว แต่ยคุ สมัย และ การน�ำวัตถุดบิ ทางศิลปะไปประยุกต์ใช้ตา่ งหากทีส่ ามารถ บ่งบอกถึงนวัตกรรมทางความคิดของศิลปิน และการ แปรรูปพื้นที่ที่สดใหม่ในปัจจุบันให้กลายเป็นสตรีทอาร์ต หรื อ พื้ น ที่ ท างศิ ล ปะ ผลงานเหล่ า นั้ น สามารถสะท้ อ น คุณค่าความเป็นเมือง หรือสังคมของการอยูร่ ว่ มกัน ศิลปะ ในพื้นที่สาธารณะจึงค่อนข้างจะเป็นกิจกรรมของเสียง สะท้อน ที่คนในสังคมมีส่วนร่วม เป็นหนึ่งในความหมาย ของศิลปะ และอาจส่งผลสะท้อนอย่างทรงพลังในชุมชน และโลก ในประเทศอียิปต์ เมืองซาบาลีน (Zabbaleen) เป็นเมืองที่ถูกทั่วโลกขนานนามว่า ‘เมืองแห่งขยะ’ จุด หมายปลายทางของขยะและสิ่งปฏิกูลทั้งหมดในเมือง ไคโร จะถูกถมทิง้ ไว้ทเี่ มืองแห่งนี้ เรียกได้วา่ มันตัง้ เด่นเป็น กองมโหฬารเหมือนงาน installation ของศิลปินทีไ่ ม่พสิ มัย ความหอมกันเลย ซาบาลีน เกือบจะเป็นเมืองที่โดดเด่นด้านความ เหม็นอย่างสมบูรณ์แบบ และเต็มไปด้วยคนเก็บขยะขาย เดินสวนกันไปมาแล้วด้วยซ�้ำไป ถ้า eL Seed ศิลปินชาว ฝรั่งเศส - ตูนิเซียไม่มาท�ำอะไรสักอย่างกับมันก่อน เขามี ชื่ อ เสี ย งในการตกแต่ ง เมื อ งใหญ่ ๆ ทั่ ว 19

โลกแบบไม่ธรรมดาอยู่แล้วครั้งนี้จึงเป็นการสร้างสีสันให้ เมืองด้วยศิลปะแบบ calligraphy หรือการเพ้นท์ตัวอักษร วิจิตรค�ำว่า ‘Perception’ ที่แปลว่าการรับรู้ไว้ที่ผนัง สี แดง,ส้ม,เหลืองที่คนในเมืองนั้นมองเห็นจะครอบคลุมตึก กว่า 50 ตึก และจะสามารถประสมมันเป็นค�ำๆ นี้ได้ก็ต่อ เมื่อไปยืนอยู่ใกล้ๆ แถบภูเขา Mokattam เท่านั้น “ผมก�ำลังตัง้ ค�ำถามว่าการทีเ่ ราตัดสินมนุษย์บน พื้นฐานของความไม่เท่าเทียม และอยู่ร่วมในสังคมที่ชอบ ทึกทักเอาเองมันจะส่งผลกระทบขนาดไหนต่อชุมชนที่มี ความแตกต่างเหมือนๆ กัน คนเหล่านี้ถูกเรียกว่า ‘มนุษย์ ขยะ’ ไปแล้ว ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ได้เรียกตัวเองแบบนั้นเลย พวกเขาไม่ได้ด�ำรงชีวิตอยู่กับขยะ แต่ด�ำรงชีวิตอยู่ ‘ได้’ เพราะขยะ ขยะที่ไม่ได้เป็นของพวกเขาฝ่ายเดียวด้วยซ�้ำ แต่เป็นขยะของคนทัง้ เมือง มีแค่พวกเขาเท่านัน้ ทีท่ ำ� ความ สะอาดไคโรให้กับคนอื่น” ถ้าพูดถึงพื้นที่สาธารณะทางศิลปะ ก็คงจะข้าม โปรเจคเจ็บๆ หลายสิบชิน้ ของศิลปินคนนีไ้ ปไม่ได้ ‘JR’ เขา เป็นช่างภาพทีเ่ รียกตัวเองอย่างเก๋ๆ ว่า Photograffeur เขา ไม่เคยบอกชื่อจริงของตัวเองกับสื่อที่ไหนเพราะการเป็น ศิลปินไร้ตัวตนท�ำให้เขาสามารถเดินทางไปยังประเทศ ต่างๆ และท�ำงานศิลปะแสบๆ ได้โดยที่ไม่เสี่ยงโดนรวบ ตัวไปก่อนได้ลั่นชัตเตอร์ เจ้าของรางวัล TED ในปี 2554 เคยพูดไว้ว่า ‘ถนนเป็นแกลเลอรีทใี่ หญ่ทสี่ ดุ บนโลกนี’้ เงินรางวัลจ�ำนวน แสนดอลล่าร์สหรัฐจาก TED ถูกใช้ไปในโปรเจ็กต์ Inside Out ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้คนทั่วโลกกว่า 150,000 คนจาก 108 ประเทศเป็นตัวแทนสังคมของโดยการแปะภาพพอร์ต เทรตของตัวเองลงไปจัดแสดงในพื้นที่ที่ตัวเองอาศัยอยู่ เขายังเป็นศิลปินทีต่ งั้ ใจถ่ายรูปผูค้ นในพืน้ ทีท่ คี่ กุ รุน่ ทางการเมืองอย่างบุ่มบ่าม JR เคยท�ำโปรเจ็กต์ Face2face ที่จับชาวปาเลสไตน์และอิสราเอลมาถ่ายรูปตอน ที่พวกเขาก�ำลังหัวเราะหรือท�ำหน้าตาประหลาด และน�ำ รูปเหล่านั้นไปปริ้นขนาดใหญ่และแปะมันไว้ในพื้นที่ของ ทั้ง 2 ประเทศ ค� ำ ถามของเขาคื อ แยกออกไหมว่ า ใครเป็ น อิสราเอล ใครเป็นปาเลสไตน์ ดูไม่ออกใช่ไหม เพราะศิลปะ และเสียงหัวเราะท�ำลายก�ำแพงอคติทุกอย่างนั่นแหละ – ไอเดียแหลมคมและบาดลึกจนอยากยืนปรบมือให้นานๆ เลยใช่ไหม ผลงานชิน้ นีเ้ ป็น Public art หรือ private art อาจ จะไม่ส�ำคัญอีกต่อไปแล้ว ‘ความหมาย’ และ ‘คุณค่า’ ต่างหากที่เป็นคอน เทนต์ใหม่ๆ ที่ศิลปินในยุคเทคโนโลยีเฟื่องฟูก�ำลังค้นหา และลงมือท�ำ มันเปิดพืน้ ทีใ่ ห้เราต่อกรกับศิลปะทีค่ ดิ ว่าไม่ เวิร์ค ความจริงประเด็นของศิลปะประชาคมยังเป็นหัวข้อ ถกเถียงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะผู้คนในชุมชนต่างมีสิทธิ ที่จะไม่รับสารที่ศิลปินอยากจะสื่อ หรือผลประโยชน์เบื้อง หลังการผลิตผลงานนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ Art space หรือพืน้ ทีท่ างศิลปะในสาธารณะ ก็มอี ำ� นาจมากพอจะสร้างความหมายร่วม และสือ่ สารทัง้ ทางตรงและทางอ้อม ถกเถียงกันจนสาดสีเทสีว่าสุดท้าย แล้วเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร


Health Space สุขภาพดีสร้างได้ดว้ ย การท้าทาย รูปกุ้งแม่น�้ำขนาดสองเท่าฝ่ามือพร้อมมันเยิ้ม หรือเนือ้ ปลาแซลมอนเน้นๆ เรียงตัวสวยในจานกระเบือ้ งสี ขาวทีข่ นึ้ มาในหน้า News feed เฟซบุค้ สร้างความสะเทือน ใจให้กับเราในทุกค�่ำคืน นีย่ งั ไม่รวมในเทศกาลวันหยุด, งานเลีย้ งรุน่ , งาน แต่งงานเพื่อน หรือโอกาสการเฉลิมฉลองใดๆ ที่ท�ำให้เรา ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ไปกับภัตตาคารนอกบ้าน ปาร์ตี้หนักๆ, ใช้ชีวิตประหนึ่งผีเสื้อกลางคืน อุปนิสัยในการบริโภคของ ตัวเองอาจท�ำให้เราหงุดหงิดกับกระทูค้ นลดน�ำ้ หนักได้ 20 กิโลกรัมใน 2 เดือน หรือจ�ำนวนกิโลเมตรในแอพฯ Nike run ของเพื่อนสมัยมหาวิทยาลัย ทว่าอีกนัยหนึ่งความกดดันที่มองไม่เห็นจาก สังคมรวมหมู่ก็หยุดให้เราไม่ทานของหวานร้านโปรดได้ บ้าง พื้นที่ใหม่ของการรักษาสุขภาพเกิดขึ้นเพราะคนกลุ่ม หนึ่ง (ซึ่งใหญ่พอสมควร) ออกก�ำลังกายกันไม่ยั้งและแชร์ รูปซิคแพ็ค, เอวบางขนาดกระดาษ A4, กระทู้พันทิพ หรือ เหรียญจากการวิ่งมาราธอนของตัวเองตามโซเชียลมีเดีย หลายคนจึงเริม่ ตรวจสภาพร่างกาย ค�ำนวณระดับคลอเรส เตอรอล และถอยหลังมาทบทวนเรื่องจ�ำนวนกิโลเมตรใน แอพฯ Nike run มากขึ้น แล้วมันก็มากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้นจนการวิ่ง ทุกรูปแบบ, Antigravity โยคะ, เซิร์ฟบก กลายเป็นกีฬา ที่ดีต่อกาย, ใจ และสถานะทางสังคม เป็นพื้นที่ที่คนรัก สุขภาพใช้มันไว้ระบุตัวตนรายวัน และสื่อสารมันออกมา ในแง่ของการเอาชนะขีดจ�ำกัดของตัวเอง เริ่มง่ายๆ จาก การอยากลดน�้ำหนักสองสามกิโลกรัม ไปจนถึงการลง แข่งวิ่งมาราธอนครั้งแรก ไปจนถึงการวิ่งฟูลมาราธอน 42 กิโลเมตร รูต้ วั อีกทีกจิ กรรมออกก�ำลังกายในพืน้ ทีเ่ หล่านีก้ ็ เพิ่มมากขึ้นจนแอคทีฟตามไม่ไหว แต่สิ่งที่แซงหน้าการออกก�ำลังกาย คือตัวช่วย และอุปกรณ์เสริมทั้งหลายที่จะท�ำให้การออกก�ำลังกาย ของเรามีสุนทรียะและน่าหลงใหลมากขึ้น ไม่ว่าจะหลบ หลีกในท่าไหนก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับแรงดึงดูดของเสื้อรุ่น ใหม่ รองเท้าวิ่งใหม่ก็ต้องซื้อในแบบที่ตรงใจที่สุด สายรัด มือถือก็จำ� เป็น ยังไม่รวมแว่นกันแดดหรือกระเป๋าคาดเงิน และ Energy gel แอพพลิเคชันหรือธุรกิจ Start-Up จึงเกิดใหม่ขนึ้ นับไม่ถ้วนเพื่อตอบโจทย์การอยากมีสุขภาพที่ดีขึ้นๆ ของ คนจ�ำนวนมาก พวกเขาจะไม่หยุดสร้างกล้ามเนื้อ และ ส่วนโค้งส่วนเว้าถ้ายังเอาชนะโลกนี้ไม่ได้ พื้นที่ของการ ออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพจึงเป็นพื้นที่แห่งวิวัฒนาการ เทคโนโลยีเป็นตัวละครหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และรสนิยมของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ที่มีไว้ตรวจเช็คสุขภาพ หรือวัดอัตราการใช้งานของร่างกายมนุษย์ (Wearable Device) จ�ำพวกนาฬิกาวัดชีพจรหรืออุปกรณ์คำ� นวณการ เผาผลาญแคลอรี จึงกลายเป็นสินค้าในตลาดขนาดใหญ่ ที่ล้นไปด้วยดีมานด์และซับพลาย ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลในยุคของประธานาธิบดี โอบามา สนับสนุนเรื่องการประกันสุขภาพ ต่อจากนั้น หลายบริษทั ก็ออกแบบระบบเพือ่ สนับสนุนเทคโนโลยีเพือ่ สุขภาพในสมาร์ทโฟน, เครือข่ายของคนรุน่ ใหม่ และแหล่ง

ข้อมูลเชิงสถิติในการการวิเคราะห์วิจัยในประเด็นสุขภาพ ขณะเดียวกันทางด้านไอทีกเ็ ริม่ อัพเกรดระบบให้กลายเป็น เครื่องมือทางสังคม สวมใส่พกพาได้และเข้าถึงได้ทุกที่ สัญญาณไวไฟท�ำให้คนเช็คสุขภาพ และสื่อสารระหว่าง ชุมชนคนออกก�ำลังกายได้ทุกที่ทุกเวลาเกิดเป็นชุมชนคน รักการวิ่ง, การเล่นโยคะ หรือการลงแข่งไตรกีฬา หรื อ แม้ แ ต่ ใ นวงการแพทย์ ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการอาหารและยา (FDA) ก็รับรองแอพพลิเคชัน AliveCor ในไอโฟนที่สามารถการวัดการเต้นของหัวใจได้ เรียบร้อยแล้ว ยังมีอุปกรณ์แทร็กเกอร์สุขภาพอย่าง Fitbit ที่ได้รับการดีไซน์มาให้เบามากพอที่จะเกาะติดตัวมนุษย์ ได้ตลอดเวลา มันคอยนับก้าวที่เราเดิน จ�ำนวนชั่วโมงที่ เราได้นอนพักผ่อน หรือปริมาณแคลอรีที่เราเผาผลาญไป ในแต่ละวัน สนิทกันยิ่งกว่าครอบครัวหรือแฟน ที่แน่ๆ คือ อุปกรณ์ตรวจสุขภาพพวกนีร้ จู้ กั เราดีกว่าตัวเราเองเสียอีก นาฬิกา Garmin Forerunner, Sony หูฟังบลูทูธ ส�ำหรับการออกก�ำลังกาย, แว่น Radarlock หรือรองเท้า Nike รุน่ Flyknit lunar ก็ลว้ นเป็นไอเท็มทีส่ นับสนุนให้การ ออกก�ำลังกายไม่ใช่แค่การออกก�ำลังกายอีกต่อไป การ ออกก�ำลังกายกลายเป็นกิจกรรมทีเ่ ปลีย่ นชีวติ และตัวตน ของมนุษย์หนึ่งคนได้ โซเชียลมีเดียเอื้อให้เราได้พูดคุยกับ คนคอเดียวกัน เห็นพัฒนาการและการแข่งขัน รีวิวเครื่อง วัดน�้ำหนักที่เก็บข้อมูลดัชนีมวลกาย และค่าคาร์บอนได ออกไซต์ในอากาศ เริ่มทดลองใช้สายรัดข้อมือที่เชื่อมต่อ กับแอพฯ วิ่งหรือจักรยาน วงการกีฬามีส่วนเชื่อมร้อยกัน จนหนาแน่น เราเริ่มรู้สึกถึงเคมีความสุขจากการลงแข่ง ไตรกีฬาหรือวิ่งฟูลมาราธอน 42 กิโลเมตร ความท้าทาย คือยาชูก�ำลังใจที่อร่อยที่สุดในโลกใบนี้ การออกก�ำลังกายจึงอาจไปสุดถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ ลงมือท�ำได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่ส�ำคัญมาก หรือหล่น หายไปในชีวิต นอกจากพื้นที่ใหม่ทางยุคสมัยแล้ว พื้นที่ ทางจิ ตใจก็ ดูเ หมื อนจะกว้ า งขวางขึ้ นอย่ า งบอกไม่ ถูก บางทีมนั เดินทางไปไกลถึงการตืน่ รูแ้ ละเข้าถึงวังของความ ว่างเปล่า การออกก�ำลังกายคือการเคี่ยวกร�ำก�ำลังวังชา และจิตใจจนมอดไหม้ไปกับดวงอาทิตย์ เหมือนที่ฮา รูกิ มูราคามิ นักเขียนชาวญี่ปุ่นเจ้าของฉายา ‘มูราคามิ เอ็ฟเฟ็กต์’ เคยเอ่ยไว้ว่า “เวลาวิ่ง จิตใจของผมล้างตัวเองจนว่างเปล่า ความคิดต่างๆ ที่เข้ามาในหัวผมขณะวิ่งเหมือนกับลม ที่พัดเข้ามาเบาๆ เข้ามาวูบนึงแล้วหายไป และไม่ได้ เปลี่ยนแปลงอะไรทั้งสิ้น”

20

Creative space พืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ที่ รอการสรรสร้าง สิงหาคม ปี 2551 Airbnb เว็บไซต์แห่งการปล่อย เช่าที่อยู่อาศัยทั่วโลกก�ำเนิดขึ้น ท�ำให้วิถีการท่องเที่ยว คนรอบโลกเปลี่ยนไป แถมยังเป็นโมเดลธุรกิจร่วมสมัยที่ ร้ายกาจ หนึ่งในโครงสร้างหลักๆ ของ Airbnb คือการใช้ พืน้ ทีใ่ ห้เป็นประโยชน์สงู สุด เริม่ จากในบ้านหรือทีอ่ ยูอ่ าศัย ของตัวเองก่อน เพราะเราล้วนครอบครองพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ งาน และไม่ได้ท�ำอะไรกับมันนอกจากสุมของกองไว้จน กลายเสียเปล่า การใช้ ‘พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้’ อย่างสร้างสรรค์ท�ำให้ ผู้ที่ปล่อยเช่าพื้นที่สามารถหาเลี้ยงชีพได้อย่างมั่นคง ใน เว็บไซต์ของ Airbnb เองก็มีฟังก์ชัน ‘Host Your Space and Make Money with Airbnb’ ไว้ให้เป็นข้อมูล เว็บไซต์ เชิงวิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจก็ออกมาแนะน�ำวิธีที่จะ สร้างธุรกิจที่มีประสิทธิภาพจากการปล่อยเช่าพื้นที่ผ่าน Airbnb กันโครมคราม น่าแปลกทีว่ นั ดีคนื ดี พืน้ ทีท่ ไี่ ม่ถกู ใช้สอยบนโลก มากมายก็กลับมีประโยชน์ขึ้นมาเพราะมีคนมองเห็นมัน ในแง่ของศิลปะและการน�ำไปใช้ พื้นที่ที่ถูกลืม หรือถูกทิ้งร้างก็สามารถเป็นพืน้ ที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ ได้ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะเล็กเท่าโรงแรมแคปซูลในญี่ปุ่นหรือ แคบที่สุดเหมือนบ้านในอัมสเตอร์ดัม เพราะแม้แต่ท่อระบายน�้ำเล็กๆ ที่ถูกทิ้งร้างใน อิตาลี Biancoshock ศิลปินสายสตรีทก็ยังสามารถน�ำ มันมาดีไซน์ และตกแต่งให้กลายเป็นโปรเจ็กต์ ‘Borderlife’ ได้ ท่อระบายน�้ำขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้ากลายเป็นห้องครัว, ห้องน�้ำ หรือห้องนั่งเล่นและได้รับการตกแต่งจนเป็น เอกลักษณ์ ชวนให้นึกถึงอพาร์ตเม็นต์แคบจัดในฮ่องกงที่ ดูแล้วจินตนาการไม่ออกเลยว่าคนจะเข้าไปอยูไ่ ด้อย่างไร

ทีม่ ากไปกว่าความแปลก และความสวยงาม คือ Biancoshock ใช้พื้นที่ที่ใหญ่กว่ารูหนูหน่อยหนึ่งในเมือง มิลานถากถางและดึงความสนใจของผูค้ นในประเด็นของ คนเร่ร่อนในเมืองบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ประชากร กว่า 600 คนในเมืองนีด้ ำ� รงชีวติ อยูใ่ นอุโมงค์ทอ่ ระบายน�ำ้ เสียข้างล่างในขณะทีห่ ลายคนนอนหลับสบายอยูบ่ นเตียง คิงไซส์เขาให้ความเห็นเกี่ยวกับโปรเจ็กต์นี้ว่า “ถ้าปัญหาบางอย่างมันหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ อะลุ่มอล่วยให้มันหน่อยแล้วกัน” อีกด้านหนึ่งในย่านธาราวี แหล่งเสื่อมโทรม ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย Jorge Mañes Rubio และ Amanda Pinatih ศิลปินและคิวเรเตอร์ที่ท�ำงาน ในอัมสเตอร์ดัมออกแบบโปรเจ็กต์ ‘Design museum Dharavi’ เพื่อเป็นตัวแทนสถาบันทางวัฒนธรรมที่จะช่วย ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของคนในพืน้ ที่ และบิดมุมมอง ของโลกที่มีต่อค�ำว่า พิพิธภัณฑ์ ไปได้โดยสิ้นเชิง ประชากรมากกว่า 1 ล้านคนอัดอาศัยกันอยู่ใน พื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตร แต่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะประสบ ความยากล�ำบากในการด�ำรงชีวติ แต่คนท้องถิน่ ในธาราวี ก็สามารถน�ำเสนอไอเดีย, ดีไซน์ และโฆษณาสินค้าใน พื้นที่ของตัวเองได้ Design Museum Dharavi จึงมีหน้า ที่เสริมสร้าง และผลักดันการแสดงออกทางสังคมของ ชาวมุมไบต่อโลก เป้าหมายหลักของโปรเจ็กต์คอื การใช้ดไี ซน์เป็น เครือ่ งมือในการเปลีย่ นแปลงสังคม สร้างชุมชนสร้างสรรค์ และท้าทายการรับรู้ที่สาธารณชนมีต่อมนุษย์ด้วยกัน ผลลัพธ์ของมันคือในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ รายทั้งย่อย และรายใหญ่ต่างให้ความสนใจกับธุรกิจเชิง สังคมในพื้นที่ที่ถูกมองว่าเป็นชุมชนแออัดขนาดใหญ่ แต่ ในขณะเดียวชาวมุมไบในพื้นที่ข้างเคียงและคนบางกลุ่ม ทั่วโลกก็ยังมองว่าธาราวีเป็น ‘สลัม’ ขนาดมหึมาอยู่ดี “ถ้าเรามองธาราวีอีกด้านหนึ่ง เราจะเห็นความ

แตกต่างมากเลย อย่างเช่น พื้นที่นี้มีโรงงานเล็กๆ อยู่ถึง 200,000 โรงงาน ซึง่ จะมีระบบการจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ และสร้างสรรค์มากหากเราใช้เครือ่ งมือในการพัฒนาทีถ่ กู ต้อง” Pinatih กล่าว ช่างฝีมือท้องถิ่นในธาราวีมีโอกาสได้ดีไซน์ และ ผลิตผลงาน Handmade เพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ติด ล้อทีเ่ ปิดตัวไปในเดือนกุมภาพันธ์ทผี่ า่ นมา มีการจัดเวิรค์ ช็อบ เสริมสร้างอาชีพในชุมชน และเปิดโอกาสในการร่วมงาน กับดีไซเนอร์ท้องถิ่น มากไปกว่านั้นโปรเจ็กต์นี้ยังเอื้อให้ ใช้พน้ื ทีใ่ นธาราวีเพือ่ จัดการแข่งขันคริกเก็ตขึน้ โดยไม้คริกเก็ต ก็เป็นฝีมือของช่างไม้ในชุมชนชุดแข่งของทีมทั้ง 4 ทีม ก็มาจากฝีมอื การดีไซน์ของช่างปัก, ช่างเย็บผ้าและช่างเย็บหนัง อีกเช่นกัน Rubio กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงสร้างของ Design Museum Dharavi พัฒนามาจากบทสนทนาที่ได้แลก เปลี่ยนกับชาวธาราวีและชาวมุมไบในพื้นที่อื่น พวกเขา มองว่าประชากรในพื้นที่นี้มีลักษณะของความเป็นผู้ใช้ แรงงานมากกว่านักออกแบบเชิงสร้างสรรค์ แผนการใน อนาคตของโปรเจคจึงเกีย่ วกับการดีไซน์ถนิ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของ ตัวเองหรือการออกแบบโรงงานผลิตอาหารที่สะอาดเพื่อ ทดลองดูว่า เรื่องชนชั้นทางสังคมส่งผลต่อการการดีไซน์ ของชาวอินเดียอย่างไรบ้าง การสรรค์สร้างพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์จงึ เชือ่ มโยงอยูก่ บั ประเด็นทางวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันอย่างเสียไม่ได้ ไม่วา่ จะเป็นในเชิงธุรกิจอย่าง Airbnb หรือเชิงสังคมอย่าง Borderlife หรือ Design Museum Dharavi การตีความ พืน้ ทีท่ เี่ ห็นก็ลว้ นขึน้ อยูก่ บั จินตนาการ, ความรูแ้ ละการไม่ มองข้ามสิ่งที่คนส่วนใหญ่ตัดสินว่าไม่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ในโลกนี้ยังมีอยู่มากมาย มันไม่ ได้ตายหรือจากไปชั่วนิรันดร์ กลับกัน พื้นที่เล็กๆ เหล่านี้ อาจจะรอวันทีน่ กั สร้างสรรค์ตาดีๆ สักคนมองเห็นก็เป็นได้ T 21

ภาพจาก jr-art.net/projects/face-2-face, techinsider.io, mentalfloss.com, curbed.com, businessinsider.com, telegraph. co.uk, theguardian.com, hollywoodreporter.com, fastcompany.com, ibtimes.co.uk, idealog.co.nz, creativeboom.com, hbr.org, theguardian.com


เรื่อง: ชิดชนก วรรณนุรักษ์ ภาพ: อติพล สาธิตนาถ

Mix & Match

Thinker Space

MAKER Space

Curated by THINK SPACE B2S fans

จงจ�ำไว้วา่ สิง่ ทีอ่ ยูร่ อบตัวล้วนเป็นวัตถุดบิ ชัน้ ดี เป็นจุดเริม่ ต้นของความคิดชัน้ ยอดของเหล่านักคิด สิง่ รอบตัวทีอ่ ยูใ่ นชีวติ ประจ�ำ วันของเหล่านักคิดเป็นเหมือนพลังที่คอยเติมเต็มพร้อมเป็นแรงขับเคลื่อนที่ท�ำให้พวกเขาคิดค้นสิ่งแปลกใหม่ มาดูกันว่าพื้นที่ ของนักคิด จะมีสิ่งของอะไรน่าสนใจพร้อมเป็นแรงบันดาลใจที่ดีได้บ้าง

1

3

5

Curated by THINK SPACE B2S fanS

พืน้ ทีท่ เี่ ต็มไปด้วยไอเทมทีน่ า่ สนใจมากมาย พืน้ ทีท่ เี่ ต็มไปด้วยความสนุกสนาน แรงบันดาลใจ และไอเดียดีๆ เหล่าเมคเกอร์ตวั จริง มักเป็นคนทีไ่ ม่หยุดนิง่ และต้องปลดปล่อยความคิดและจิตนาการ พร้อมรังสรรค์ออกมาให้เห็นเป็นชิน้ งานทีไ่ ม่เหมือนใคร สิง่ ของ เหล่านี้ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการถ่ายทอดผลงานที่เต็มไปแรงบันดาลใจของพวกเขา

2

1

3

4

4

6

5

2 6

8

10 9

7

7

9 8

1.Crosley Cruiser Portable Turntable ส�ำหรับมือใหม่ที่ก�ำลังอยากลองฟังแผ่นเสียง แนะน�ำเทิร์นเทเบิลตัวนี้ รับรองตอบโจทย์ แล้วยังสามารถ หิ้วไปนั่งชิลในวันหยุดพักผ่อนได้ด้วย 2. แผ่นเสียง A Moon Shaped Pool จาก Radiohead วงร็อกที่มีความอินดี้สุดโต่ง วงอัจฉริยะที่มี พัฒนาการทางด้านดนตรีเหนือการคาดเดา หลังจากปล่อยเรารอคอยนานถึง 5 ปี ในที่สุดก็กลับมาพร้อมกับอัลบั้มที่บอกได้ค�ำเดียวว่าคุ้มค่ากับ ทุกการรอคอย 3. ทุกครั้งที่หันไปมองนาฬิกาเรือนนี้ รู้สึกว่าห้องท�ำงานสีขาวเรียบๆดูน่าสนใจและมีดีไซน์อย่างไม่น่าเชื่อ ที่เท่สุดๆคือ On-time Clock เรือนนี้ไม่ต้องง้อตะปู ไม่ต้องเจาะให้ผนัง ด้วยเทคนิคกาวสองหน้าและแม่เหล็ก แค่ติดแล้วลอก ง่ายมาก ได้รางวัล Good design ด้วย 4. ส�ำหรับคนที่คิดจะเริ่มท�ำธุรกิจของตัวเอง แนะน�ำ How to think like an entrepreneur โดย Philip Delves Broughton เล่มนี้ให้วิธีคิดดีๆที่จะเป็น ประโยชน์กับทั้งธุรกิจ และชีวิตส่วนตัวของคุณ 5. เวลาเครียดและเหนื่อยล้าจากการท�ำงาน เราใช้น�้ำมันหอมระเหยของ Prann กลิ่น ‘Relaxing’ ใช้เวลาที่ต้องการการผ่อนคลาย ‘Refreshing’ เวลาที่ต้องการความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ใช้หยดในอ่างอาบน�้ำหรือใช้กับเตาเผาน�้ำมันระเหย 6. เป็น คนที่ต้องมีสมุดโน้ตติดตัวตลอดเพราะชอบคิดนู้นคิดนี่ คิดแล้วต้องรีบจดกันลืม ตอนนี้ใช้ THINKIN’ Success Planner เป็นทั้งสมุดโน้ตและตาราง ชีวิต 7. ชอบความคลาสสิกของดินสอไม้ Bibliophile Pencil Set ของ THINKIN’ ค�ำที่สกรีนบนแท่งดินสอทุกค�ำบอกความเป็นตัวตนที่ชอบอ่าน หนังสือของเราแบบถูกทุกข้อ 8. พลิกชีวิต คิดอย่าง อาดัม สมิธ (How Adam Smith Can Change Your Life) เล่มนี้เค้าบอกว่า “ช่วยให้เราเลือก หนทางทีเ่ หมาะสมในการเป็นทีร่ กั ของผูค้ นรอบข้าง พร้อมกับการหาความหมายของชีวติ ” อ่านแล้วก็รสู้ กึ อย่างนัน้ จริงๆ นะ 9. ผลงานศิลปะทีม่ คี วาม หมาย “JK’s Monz” ของคุณเหนือ-จักรกฤษณ์ อนันตกุล งานชุดนี้รวบรวมเหล่า monster ที่คุณเหนือสร้างขึ้น รายได้จากการขายภาพชุดนี้มอบ ให้กับโรงเรียนบ้านดอยช้าง จังหวัดเชียงราย เพื่อบูรณะซ่อมแซมหลังจากเกิดแผ่นดินไหวไปเมื่อปี พ.ศ. 2557 22

1. เป็ น คนชอบตั ว ต่ อ เลโก้ และชอบสะสมของเล่ น nano block ก็ ส ะสมอยู ่ ห ลายซี รี่ ย ์ พวกสถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว ไอคอนนิ ค ส� ำ คั ญ ๆของโลก ตอนนี้ก�ำลังต่อ London Tour Bus เพราะเพิ่งไปเที่ยวอังกฤษมา 2. เราเป็นคนชอบธรรมชาติ แต่ด้วยสเปซที่จ�ำกัดของคอนโด แล้วไหนจะเวลา ที่ ไ ม่ ค ่ อ ยจะมี อี ก สวนขวดอั น นี้ จ าก Nature Collectors ดู แ ลไม่ ย าก ท� ำ ให้ รู ้ สึ ก ใกล้ ชิ ด กั บ ธรรมชาติ ทุ ก ครั้ ง ที่ ม อง 3.Compact Scissor กรรไกรแบบพกพาจาก Midori 4. เซตเครื่องเขียนใหม่ล่าสุดจาก THINKIN’ ได้มาจาก THINK SPACE B2S เห็นแวบแรกชอบเลย ชอบโลโก้ ชอบสี ชอบค�ำบนปกสมุดที่แต่ละสีมีคาแรกเตอร์ของตัวเอง ที่ชอบสุดคือเซตดินสอ ในกล่องมี6แท่ง แล้วแต่ละแท่งมีค�ำที่ให้แรงบันดาลใจ ที่ไม่ซ�้ำกัน 5. ชอบแนวคิดของ NATURE MADE ECO ERASER ยางลบเปลือกหอยเชลล์จาก Gray Ray ที่ท�ำสินค้าออกมาด้วยความคิดที่ดี ที่ ส�ำคัญลบสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพเพราะปราศจากสารก่อมะเร็ง 6. Applique iron-on ตัวรีดติดเสื้อ เอาไว้personalizeเสื้อ กาง เกงยีนส์ หรือกระเป๋าผ้าของเราให้ไม่เหมือนใคร 7. ชอบวาดรูป โดยเฉพาะเวลาที่ออกไปเที่ยวช่วงวันหยุด กระดาษวาดภาพสีน�้ำ Canson เซตสีน�้ำ Winsor & Newton และพูก่ นั คือของต้องเอาติดกระเป๋าไปด้วยทุกครัง้ 8. GoPro Hero4 Silver action cam ทีใ่ ช้บนั ทึกความทรงจ�ำทีม่ ีคณ ุ ค่าด้วยมุม มองทีแ่ ปลกใหม่ 9. Failed it! by Erik Kessels ชอบความผสมผสานระหว่าง Photo Book, Non-Fiction Book และ Art Book เล่มนีร้ วบรวมcaseเจ๋งๆ ที่บอกเราว่า บางทีความผิดพลาดก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างMasterpiece ทั้งในงานศิลปะ ดีไซน์ หรือแม้แต่สถาปัตยกรรม 10. Keep Clam and Cook Fusion หนังสือที่อ่านแล้วอยากลุกขึ้นมาท�ำอาหารเลยทันที T

23


Talks

จิตนารถ พิชัยยา Handmade, Heartmade - สร้างด้วยมือ ท�ำด้วยใจ เรื่อง: กานดา หน้ามึน ภาพ: ขวัญ อัตถาวุ ธ

24

“เราเป็นคนเชียงรายโดยก�ำเนิด ครอบครัวเราอยู่ที่นี่ เราเลยอยากกลับมาบ้าน เพื่อท�ำงานที่รักและได้อยู่ใกล้คนที่เรารัก” ‘ไผ่ - จิตนารถ พิชัยยา’ สาวเหนือร่างเล็กเจ้าของ NARATA boutique studio แบรนด์เสื้อผ้าท�ำมือชื่อดังในเชียงรายเล่าถึงที่มาของการตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิต จาก เด็กคณะอักษรศาสตร์ กลายมาเป็นนักออกแบบเสื้อผ้า โดยเปิดสตูดิโอเล็กๆ น่ารักอยู่ ในเชียงราย เพื่อท�ำตามความฝัน ซึ่งเธอรู้ดีว่าตัวเองหลงรักการแต่งตัว และหลงเสน่ห์ ของเสื้อผ้ามาตั้งแต่ยังเด็ก ประกอบกับสมัยยังเป็นนักศึกษาปี 1 เธอใช้เวลาว่างไปกับ การขายเสือ้ ผ้ามือสอง เมือ่ จบปริญญาตรี ไผ่ จึงเรียนต่อนุปริญญาด้านแฟชัน่ ดีไซน์ เพิม่ เติมก่อนจะตัดสินใจกลับบ้านเกิดมาเพื่อสร้างแบรนด์ NARATA boutique studio “ชื่อแบรนด์ของเราคือ NARATA boutique studio ซึ่งทุกค�ำมีความหมาย ‘NARATA’ มาจากค�ำว่า ‘นารถ’ ในภาษาบาลีแปลว่า ‘ที่พึ่ง’ ซึ่งค�ำนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ ชื่อจริงของเรา ส่วน ‘boutique’ ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงร้านขายเสื้อผ้าที่เจ้าของร้าน คือผูผ้ ลิตเอง studio ก็เอามาขยายความให้เห็นลักษณะการท�ำงานของเรามากขึน้ ว่าเรา ไม่ใช่โรงงาน ไม่ใช่ factory นะ เราเป็นสตูดิโอที่ผลิตงานด้านเสื้อผ้าเท่านั้นเอง” ไผ่ เล่าถึงที่มาเกี่ยวกับสตูดิโอของเธอก่อนที่จะขยายความต่อถึงความเป็น เอกลักษณ์เฉพาะที่ NARATA มีไม่เหมือนที่ไหน “เสื้อผ้าของเราเริ่มต้นจากการท�ำเองทุกขั้นตอน รายละเอียดบนเสื้อผ้าทุกตัว นั้นเป็นงาน handmade ทั้งหมด ไม่ซ�้ำแบบใคร ที่ส�ำคัญเราพยายามท�ำให้เสื้อผ้าเป็น งานศิลปะที่สวมใส่ได้ในชีวิตประจ�ำวัน” “มาอยูเ่ ชียงราย ตอนแรกก็กลัวเหมือนกันว่าจะเป็นจุดอ่อนในการสร้างแบรนด์” เธอตอบข้อสงสัยเมื่อเราถามถึงข้อดี - ข้อเสียในการเลือกที่จะสร้างโอกาสใน ชีวติ ให้ตวั เองทัง้ ทีเ่ ชียงรายทัง้ ทีก่ รุงเทพฯ หรือเชียงใหม่อาจจะท�ำให้กจิ การของเธอเติบโต กว่า หาวัตถุดิบง่ายกว่า ขายได้ง่ายกว่า แต่เธอกลับเลือกที่จะกลับมาบ้านเกิดแทน “เราเป็นคนเชียงรายโดยก�ำเนิด ครอบครัวของเรา ญาติพี่น้องส่วนใหญ่ก็อยู่ที่ นี่ เราก็อยากกลับมาท�ำงานอยูใ่ กล้ๆ พวกเขา จะได้ดแู ลกันได้ ซึง่ การท�ำเสือ้ ผ้ามันก็ตอบ โจทย์ชีวิตของเราได้ เราสามารถท�ำงานพร้อมๆ กับดูแลครอบครัว และคนรอบข้างไปได้ แล้วยังสนุกกับการหยิบจับประสบการณ์ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น สิ่งที่เราเจอ วัตถุดิบที่เรา พบในเชียงราย มันมีแฟชั่นของมันที่ไม่ค่อยพบในเมืองใหญ่ๆ” “แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีจุดอ่อนเลย” เธอเริ่มประเด็นเหมือนจะรู้ว่าก�ำลังจะถาม อะไรต่อ “จุดอ่อนที่เห็นชัด ส�ำหรับเราน่าจะเป็นเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิตบาง อย่างที่นี่ไม่มี งานล่าสุดเราออกแบบชุดให้ลูกค้า เราอยากใช้ผ้าพลีทในดีไซน์ของเรา แต่ที่นี่ก็ไม่มีจ�ำหน่าย หรือสถานที่รับท�ำพลีทก็ไม่มี เราต้องหาวิธีท�ำพลีทด้วยตัวของเรา เอง เลยต้องใช้เวลาท�ำนานขึ้น หรือวัตถุดิบที่เป็นงานท�ำมือ เช่น ผ้าทอ การให้สีก็จะไม่ สม�่ำเสมอเท่ากันในทุกๆ รอบ ท�ำให้เราไม่สามารถผลิตในจ�ำนวนมากได้” “แต่เราก็ใช้จดุ อ่อน และอุปสรรคในการท�ำงานเป็นจุดแข็งของแบรนด์ เนือ่ งจาก กระบวนการบางอย่างต้องท�ำเอง หรือการผลิตที่ท�ำได้ปริมาณน้อย ก็เลยเอาข้อจ�ำกัด เหล่านี้มาปรับใช้ให้งานของเรา NARATA เป็นเครื่องแต่งกายที่วิธีการผลิตแทบจะใกล้ เคียงกับบริการร้านรับตัดเย็บเสือ้ ผ้าสตรีมากกว่าจะเป็นการน�ำเสนอแบบ Fast Fashion และค่อนข้างมีเอกลักษณ์โดดเด่น ด้วยตัววัตถุดิบที่ผลิตมาในจ�ำนวนน้อย ลูกค้าที่ได้รับ สินค้าก็มั่นใจได้ว่าชุดนี้เป็นของเขาจริงๆ เพราะเราสร้างแบบจากสัดส่วนของเขา และ ออกแบบจากลักษณะรูปร่างของเขา ใส่แล้วไม่ซ�้ำใคร เสริมบุคคลิกเขาได้” เธอเล่าด้วย รอยยิ้ม ส่วนในแง่ของการขายและท�ำตลาด การอยูเ่ ชียงรายไม่ใช่อปุ สรรค ไผ่บอกกับเรา เช่นนั้นเนื่องจากอินเทอร์เน็ตท�ำให้ NARATA สามารถแบรนด์ตัวเองได้เรื่อยๆ “อินเตอร์เน็ตมีผลด้านการตลาดมาก เพราะเป็นช่องทางหลักในการติดต่อ สือ่ สาร การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และตลาดการซือ้ ขาย ส่วนใหญ่เราใช้ระบบออนไลน์ หมด เพื่อให้งานขยายไปได้ในวงกว้าง เราท�ำงานคนเดียวในทุกกระบวนการ ฉะนั้นการ บริหารจัดการเวลาเป็นสิง่ ส�ำคัญมาก เราใช้เวลากลางวันท�ำงานในส่วนของการผลิต หรือ ติดต่อสือ่ สารกับแหล่งวัตถุดบิ กลางคืนจัดการเอกสาร ซึง่ แค่สองส่วนนีก้ ก็ นิ เวลาไปเกือบ

ทัง้ วันแล้ว แต่เรามีอนิ เตอร์เน็ตเป็นหน้าร้านซึง่ เปิดการขายอยูต่ ลอด 24 ชัว่ โมงทีเ่ ดินทาง ไปไหนมาไหนกับเราได้ตลอด” อีกหนึง่ สิง่ ทีเ่ ธอภูมใิ จนอกเหนือจากการผลิตเสือ้ ผ้าทีม่ เี อกลักษณ์กค็ อื ไม่นานมานี้ NARATA ได้รบั เชิญไปร่วมแสดงงานศิลปะโดยมีดนตรีแจ๊สเป็นส่วนประกอบ กับ JazZ happens! ผับแจ๊ซชือ่ ดังย่านถนนพระอาทิตย์ทขี่ ยายสาขามาทีเ่ ชียงรายในวัน เปิดร้าน “ครั้งหนึ่งเราได้รับโอกาสจากทางร้าน JazZ happens! ซึ่งเขาขยายสาขามา เปิดทีเ่ ชียงราย เขาอยากให้ JazZ happens! เป็นสังคมการแลกเปลีย่ นเรียนรูท้ างศิลปะ หลายๆ แขนงด้วย ก็เลยชวนเรามาร่วมสนุกในวันเปิดงานโดยงการแสดงของเราต้องเกีย่ ว กับดนตรีแจ๊ส เราคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี และเป็นเรื่องสนุกที่ไม่เคยท�ำมาก่อน ตอนนั้นได้ โจทย์มาสั้นๆ เท่านี้ แล้วให้เราไปคิดต่อยอดว่าจะเล่นอะไรบนเวที เลยนึกถึงการแสดง Performance ขึ้นมา โดยคิดอยากจะสร้างบรรยากาศให้คนดูเหมือนอยู่ในห้องท�ำงาน ของเรา แล้วดนตรีแจ๊สก็ส่งผลให้เกิดสีสัน เกิดลวดลาย เกิดเป็นรูปร่าง รูปทรงจนส�ำเร็จ เป็นเสื้อผ้าชุดหนึ่ง ตอนที่ท�ำงานร่วมกันเราซักซ้อมกันแค่เวลา โดยไผ่จะไม่ฟังเพลงที่บรรเลงวัน นัน้ มาก่อน ส่วนทางเขาก็ไม่ทราบว่าเราจะท�ำเสือ้ ผ้าแบบไหน มารูพ้ ร้อมกันวันแสดงจริง เพราะเราอยากได้ความสดบนเวที เราได้ยนิ สีออกมาจากเพลงของแจ๊ซ แล้วเราก็สะท้อน มันลงบนเสือ้ ผ้า ซึง่ ผลตอบรับทีไ่ ด้จากวันนัน้ คนดูกต็ นื่ ตาตืน่ ใจ ส่วนผูแ้ สดงทัง้ นักดนตรี และตัวเราเองก็รู้สึกมีแรงบันดาลใจที่จะท�ำงานของตัวเองต่อไป” อนาคตหลังจากนี้จิตนารถ มุ่งมั่นอยากสร้างงานด้วยวิธีใดก็ได้ให้ตอบโจทย์ กับลูกค้ามากที่สุดแต่ไม่ทิ้งอัตตลักษณ์ของแบรนด์ NARATA นอกจากนี้แผนต่อไปเธอ อยากท�ำให้ NARATA boutique studio เป็นสถานทีแ่ ลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์ ส�ำหรับกลุ่มคนรักงานฝีมือ และงานศิลปะ โดยเฉพาะงานเย็บปักถักร้อย เริ่มจากเวิร์ค ชอปของเธอเองก่อน แล้วค่อยชักชวนเพื่อนๆ ในสายงานเดียวกันมาจัดกิจกรรมร่วมกัน บ้างในอนาคตซึ่งหลังจากนี้เราเชื่อว่าเธอน่าจะเติบโตไปอย่างไม่หยุด “เราเป็นคนเชียงรายโดยก�ำเนิด ครอบครัวเราอยูท่ นี่ ี่ เราเลยอยากกลับมาบ้าน เพือ่ ท�ำงานทีร่ กั และได้อยูใ่ กล้คนทีเ่ รารัก” เธอย�ำ้ ประโยคเดิมถึงการตัดสินใจครัง้ ส�ำคัญ ในชีวิต...ที่ไม่ผิดพลาด T ติดตามความเคลื่อนไหวของ NARATA boutique studio ได้ที่ facebook@NarataBoutiqueStudio

25


How do you start working with B2S?

You have been created so many impressive works in international arena. For THINK SPACE B2S, what are you presenting to Thailand, and what do you think is the challenge of this job?

Astrid: We were invited by Central Group because they have seen a bookstore project we’ve done in Japan and they like it very much. They would like to bring more lifestyle approach to the bookstores in Thailand by changing the notion and adapting more to today’s lifestyle of people rather than just being a shop. Mark: I think there have been a big change in retail over the last few years because of the online shopping. Everybody think they can buy online and so retail has become much more about experiences and not about shopping. I think everybody likes to go shopping but it is more than just shopping now, we got to provide environment that really special and really different, and something they haven’t seen before. And I think this is the starting point of this project, which is trying to develop something that there’s no one in Thailand or the world have seen before. Astrid: And I think more than anything, everybody wants to be comfortable and hang out. I mean, it’s very much Thai culture already, all these night markets in the evening where people is just being outside and meeting with friends, you very good at that. So, here, we are providing an indoor space, an air-conditioned space where you can comfortably hanging out *laugh*. And of course, if you can also educate yourself a little bit on the way with books, magazines and all the better.

Mark: It’s much hotter here! *laugh*. I think the retail environment here is very high level. It was a real good challenge to come here and work in that environment. And I am also impressed with CentralFestival EastVille as a shopping center, about how you have an outdoor space and you have an indoor mall, that’s really amazing. Astrid: It makes you breath, it makes you relax. So, the idea of having a bookstore here where we have such a large open space is a very luxury to start with. At THINK SPACE B2S, the whole atmosphere, the lighting will be a little bit more subdue not fluorescent white, and also a little bit quieter. I think in a lot of Thai spaces, there are so many hard surfaces that the sound is very echo and very loud all the time, and it is tiring, so what we really want to do is to quiet down visually and also acoustically by having a lot of carpet. You know, it slows you down and makes you relax a minute. And we’re really happy with the Book Terraces! Because from architectural point of view, usually the shopping mall experience is very sort orthogonal, you have a parallel floor, a parallel ceiling whereas here there are sort of different levels. So, you sight line changes and that’s give you different experiences, and somehow you don’t feel bored.

What is your design concept and what is the inspiration?

THINK SPACE B2S: thoughtful interior design

เรื่อง: C. WANNANURAKS ภาพ: THINK TEAM

Exclusive Interview with Astrid Klein and Mark Dytham, the founders of Klein Dytham architecture (KDa)

26

In term of architectural and interior design, what do you think is the highlight of this store?

Mark: I think B2S has been seen as four walls and ceiling, and it is not quite an experience. So, what we try to do is to open up and try to change the whole culture of B2S into much more lifestyle with lifestyle stationaries, lifestyle books and hanging out place where you can stay in B2S all day, or 2-3 hours, not 2-3 minutes. Astrid: In a lot of retail environments, we can’t really sit down. We usually go sit down in a coffee shop. There is no space as such where you can sit down and do your own things, read your own books. But at THINK SPACE B2S, we provide that environment where you actually can do a little bit of work or entertain yourself without necessarily have to buy something. Now, it may sound counterproductive to a shop to provide the space where you don’t need to buy, but we’d like to think that today’s customers are so educated and sophisticated that they know, of course, that the shop want you to buy, so, you don’t have to reinforce that, but by respecting the customers and say “it’s ok, you can hang out, just browse, have a good look, have a good time” and the customers will have a good time and they will be happy. And usually when you’re happy, you spend much more money just because you want the memory of that good time and you want to pay back, people want to pay back. I believe in a good of people.

Mark: The highlight would be the Book Terraces. I think it is very impressive. From any approach you come in, it is when you realize how big this bookstore is. I am very happy in the way the lighting in the day and lighting in the evening is going to work, especially on the bookshelves, we have the light on the shelves which is really warm and inviting. Astrid: The best thing is if people doesn’t think of it as a shop but think of it as a place to hang out, as a place to meet friends or family, or to go on a date rather than shop. Mark: Have a date in the bookstore!

If you have to choose one zone which would be your favorite? Mark: For me, I’d love to sit along the high counter area on the 2nd floor to see how people flow to the space, I want to see them browsing, and the way the natural light comes in this area is very cool. Astrid: I think a lot of spaces are not really considering or not really design with the customers in mind, in the sense that they not really design to make the customers look good. But if they come here, it is an aspirational place, they are going to look good. They will like to be seen here. Mark: I think it’s going to crop up on Instagram and Facebook a lot, everyone is going to be taking pictures, like ‘Look where I am!’ T

This project is the first job for KDa in Thailand. Astrid and Mark: That’s right! And we enjoy the experience very much. Everybody is so friendly. Actually, I have to compliment B2S for having a vision to ask us to do this job since this is the first job in Thailand and you don’t really know KDa. It a bit of a gamble really, right? It takes courage, and these are the clients we like most, the ones who have courage to do something new and try something different. Because we are too, we always want to challenge and improve ourselves. But we can’t do that on our own we need to do it with client, so if the client doesn’t have a vision, we can’t do anything. In that sense it’s been really nice experience for us to do something that we’ve never done either.

ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ใน www.thinkspaceb2s.com

27



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.