จดหมายข่ า ว
มูล นิธิเ ล็ก -ประไพ วิริยะพั น ธุ์
ฉบับที่ ๑๐๐
ประชาธิปไตยจากข้างล่าง ศรีศักร วัลลิโภดม
“มรดกโลกที่วัดพู” ฟื้นฝอยหามรดก ยุคอาณานิคมของอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส วลัยลักษณ์ ทรงศิริ สะพานหัน กับวิกลิเกหลวงสันท์
สุดารา สุจฉายา
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ Lek-Prapai Viriyahpant Foundation !"#!"$ #% & '( ) *( ) +,-้ / $0 1 ',2"% 3 &4!!$ 5&% # 5&6 & ),!/&6 ! % ) +์ 8 9: ่ / 9% 3 &, 8<=>9!่ 8 9: ่ / ),!*( ) +,-/25,4,!?@& จดหมายข่าวรายสามเดือน ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๑๐๐ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๖
มู ล นิ ธ ิ เ ล็ ก -ประไพ วิ ร ิ ย ะพั น ธุ ์
เจ้าหน้าที่ สุดารา สุจฉายา, ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร,
ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ อมร ทองธิว กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ,์ ตุ๊ก วิริยะพันธุ์, รับพร วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม, ดร.ธิดา สาระยา
ศรีสมร ฉัตรแก้ว, มรกต สาตราคม, วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, สมนึก กิจเจริญผล, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์, อรรถพล ยังสว่าง, พรพิมล เจริญบุตร, ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง, อภิญญา นนท์นาท มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ที่อยู่ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
ประชาธิปไตยจากข้างล่าง ! ในฐานะข้าพเจ้าเป็นคนไทยคนหนึ่งในสยามประเทศ การเคลื่อนไหว [Social Movement] ของมหาชนสยามที่ออกมาขับไล่รัฐบาลทรราช “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” ที่ดังสนั่นโลกครั้งนี้ ไม่ใช่ปัญหาเรื่องการล้มล้าง การปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ ท รงเป็ น พระประมุขแต่อย่างใด หากแต่เป็นการขจัดการโกงกิน คอร์รัปชั่นของ นักการเมือง ข้าราชการ และบรรดานายทุนกลุ่มผลประโยชน์ในรัฐบาลที่ ไม่มีความโปร่งใส [Good Government] ภายใต้การบงการของอดีต นายกรัฐมนตรีหนีคุกที่อยู่นอกประเทศ หนีกฎหมาย และเร่ขายประเทศ ชาติบ้านเมืองและทรัพยากรให้แก่ประเทศนายทุนต่างชาติในขณะนี้ ! เป็นกระบวนการทุจริตโกงกินและหลอกลวงประชาชนที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” อันเป็นระบอบที่อาศัยความเป็นประชาธิปไตยจาก ข้างบนเป็นสิ่งปกป้องและพรางกาย ! แต่ฝ่ายรัฐทรราชไม่ยอมผิดในเรื่องความชั่วร้ายของการโกงกิน คอร์รัปชั่นอย่างที่กล่าวหา แต่พยายามดื้อแพ่งและเบี่ยงเบนไปเรื่องการ ขับไล่รัฐบาลของตนที่เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพราะได้รับ เลือกตั้งมาจากคะแนนเสียงส่วนมากกว่า ๑๕ ล้านเสียง เพราะฉะนั้น จะทำอะไรก็ถูกต้องทั้งสิ้น เพราะประชาชนเสียงข้างมากให้สิทธิและ อำนาจถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น การเสนอผ่านกฎหมายและ พระราชบัญญัติต่างๆ ก็ล้วนได้รับการเห็นชอบจากเสียงผู้แทนส่วนใหญ่ ในรัฐสภาด้วย จึงเกิดการละเมิดรัฐธรรมนูญขึ้นเมื่อกฎหมายบางฉบับ ๒
โทรศัพท์ : ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘, แฟกซ์ : ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ Email : Vlekprapaifoundation@gmail.com
!"#$"%&!$็( ศรีศักร วัลลิโภดม โดยเฉพาะการผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นสิ่งผิดและศาลรัฐธรรมนูญ ก็ตัดสินให้ว่าผิด แต่รัฐทรราชไม่ยอมรับผิดและลาออก แต่แก้เกี้ยวด้วย การยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ทนโท่แล้วว่า ฝ่ายทรราชก็คงใช้เงินและใช้อิทธิพลซื้อเสียงให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง เข้ามาใหม่ ! ซึ่งทางฝ่ายมวลมหาชนที่ออกมาขับไล่ต้องการให้รัฐบาลลาออกจาก รัฐบาลรักษาการณ์แล้วยุติการเลือกตั้งไว้ก่อน หันมาปฏิรูปการเมืองการ ปกครองเสียใหม่แล้วจึงให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลทรราชไม่มีทางยอม กลับดื้อดึงยืนยันว่าจะต้องให้มีการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญและความเป็นประชาธิปไตย พร้อมทั้งปลุกปั่นประชาชนที่รู้ ไม่ทันและบรรดาประชาชนที่อยู่ในอำนาจให้ออกมาต่อต้านและสร้าง ความรุนแรง ! ความได้เปรียบที่ชั่วร้ายของกลุ่มทรราชก็คือ ได้สถาบันตำรวจแห่ง ชาติมาเป็นเครื่องมือที่มีอำนาจในการบังคับกฎหมาย กลุ่มข้าราชการที่ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
S
E
Q
U
O
ทุจริต และทหารบางคนบางเหล่าที่มีอำนาจในกองทัพมาเป็นพรรคพวก แต่ที่สำคัญก็คือนักวิชาการเสื้อแดงโดยเฉพาะด็อกเตอร์ด็อกตีนผู้จบมา ทางด้านกฎหมาย ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และการปกครองจาก อเมริกาและประเทศในกลุ่มทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ข้าพเจ้าใคร่เรียก อย่างย่อๆ ว่า “ประชาธิปไตยแบบไอ้กัน” ที่บรรดาประเทศต่างๆ ได้ เรียนรู้และลอกมาเป็นแบบอย่างประชาธิปไตยในประเทศของตน ! ถ้าหากย้อนไปดูประวัติศาสตร์สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่โลก แบ่ ง ขั ้ ว ออกเป็ น ๒ ขั ้ ว ด้ ว ยแนวคิ ด ในทางการเมื อ งที ่ เ รี ย กว่ า ประชาธิปไตย ประเทศมหาอำนาจฝ่ายหนึ่งเป็นอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รวมมาถึงไทยด้วยอยู่ในขั้วประเทศทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ในขณะที่ รัสเซีย จีน และอีกหลายประเทศในยุโรปอยู่ในขั้วประเทศ สังคมนิยม ประชาธิปไตย คือเป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันคือทุนนิยมกับ สังคมนิยม ! แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับรู้ว่าพวกสังคมนิยมเขาก็อ้างความเป็น ประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่คนไทยถูกสอนให้เรียกว่า “สังคมนิยม คอมมิวนิสต์” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “คอมมิวนิสต์” ส่วนตัวเองเรียกว่า “ประชาธิปไตย” และต้องเป็นประชาธิปไตยแบบอเมริกันด้วยจึงจะ ถูกต้อง ! จนทำให้ ด ู เ หมื อ นประเทศไทยจะเป็ น ประเทศเดี ย วที ่ เ ป็ น ประชาธิปไตยแบบเกลียดสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และถูกอบรมสั่งสอน โดยอเมริกาให้เกลียดชังประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และลงโทษ ผู้ที่มีความคิดเอนเอียงไปทางสังคมนิยม ! และพยายามอบรมให้คนไทย ข้าราชการ พ่อค้า นักศึกษา และ เอกชนว่าพวกคอมมิวนิสต์ใจร้าย ทำลายครอบครัว ทำลายชุมชน และ ทำลายสถาบันกษัตริย์ ! แต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา อเมริกาเป็นมหามิตร เป็นนายทุน เป็นสังคมที่มีเกียรติภูมิรุ่งเรืองและร่ำรวย และที่สำคัญเป็น แหล่งเรียนรู้ในทางศาสตร์ต่างๆ ทั้งด้านการปกครองพัฒนาประเทศ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รัฐบาล ส่งนักศึกษา นักเรียน ข้าราชการไปอบรมศึกษายังแหล่งตักศิลาแห่งนี้ ทั้งการให้ทุนรัฐบาลสนับสนุนและทุนช่วยเหลือของอเมริกาและชาติ มหาอำนาจในขั้วทุนนิยมเสรี ! ผลที่ตามมา คนไทยรุ่นพ่อมาถึงรุ่นลูกและหลานในทุกวันนี้ที่ ผ่านมารวม ๕๐ ปี เป็นพวกทำอะไร คิดอะไรเป็นอเมริกันไปหมด [Americanization] แม้แต่รูปแบบในการดำเนินชีวิต คนที่ได้ไปเรียนที่ อเมริกาถือว่ามีเกียรติ มีหน้ามีตา แต่ถ้าไปเรียนที่ประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ดูด้อยไป และที่ไม่อยู่ในสายตาก็คือที่ไปเรียนมาจากจีน ไต้หวัน เวียดนาม เขมร อะไรทำนองนั้น ! ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อที่จะให้เห็นว่า คนไทยแต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ถูกอเมริกันครอบเสียจนสมองเสื่อม คิดไม่เป็น แต่เก่งในการลอกเลียน แบบอเมริกัน และนำเอาอเมริกันมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ทั้งทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม H แต่ ท ี ่ ด ิ ้ น ไม่ ห ลุ ด ก็ ค ื อ ความคิ ด ในเรื ่ อ งการเมื อ งเศรษฐกิ จ ที ่ เ ป็ น เสรีทุนนิยมประชาธิปไตยแบบไอ้กัน จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
I
A
C
L
U
B
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
! แต่แล้วเมื่อโลกเปลี่ยนไป ยุคสงครามเย็นหมดไป เปลี่ยนมาเป็นยุค การจัดระเบียบโลกใหม่ [New World Order] ที่ตามมาด้วยโลกาภิวัตน์ อันเป็นยุคทุนนิยมเสรีฟุ้งเฟื่อง อเมริกาก็มีวิสัยทัศน์ใหม่ [New Vision] ในการอบรมคนไทยที่ไปเรียนต่อที่อเมริกา และในประเทศทางฝ่าย ทุนนิยมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ความมั่งคั่งและความใหญ่โตของอเมริกา ! โดยเปลี่ยนจากการอบรมให้คนไทยเกลียดชังสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ว่าทำลายสถาบันครอบครัว ความเป็นเสรีชน และทำลายสถาบันกษัตริย์ มาเป็นให้เป็นประเทศทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยอย่างถูกต้องตามแบบ ประเทศที่เจริญแล้ว ! โดยอบรมให้แลเห็นว่าสถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่กีดกั้นความเจริญ ทางสังคมประชาธิปไตยแทน ใช้แนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการ [Evolution] แบบหลุดโลกไปนานแล้ว และไม่มีการพูดถึงทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ ถึ ง แม้ ว ่ า จะล้ า หลั ง ไปแล้ ว ก็ ต าม แต่ ย ั ง ใช้ ใ นการถ่ ว งดุ ล กั บ ทฤษฎี วิวัฒนาการแบบหลุดโลกได้ นั่นคือ ! สถาบันกษัตริย์โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ ยังทรงหน้าที่ในการ รักษาโครงสร้างสังคมของคนไทยอยู่ จึงได้ไม่ทำให้บ้านเมืองขัดแย้งและ ฆ่าฟันกันอย่างในประเทศอื่น ! พวกนักวิชาการด็อกเตอร์ด็อกตีนเสื้อแดงจากมหาวิทยาลัยใหญ่น้อย ในเมืองไทยที่ออกมารับใช้เผด็จการทรราชทักษิณ-ยิ่งลักษณ์เหล่านี้ ก็ยัง เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาธิปไตยทุนนิยมเสรีแบบอเมริกัน จึงออก มาเป็นตัวตั้งตัวตีกับการเรียกร้องของมวลมหาประชาชนที่ต้องการปฏิรูป โครงสร้างการเมืองการปกครองเสียใหม่เพื่อขจัดการปกครองแบบ ประชาธิปไตยสาธารณ์และทุนนิยมสามานย์ของเหล่าทรราชที่ต้องการให้ ปฏิรูปก่อนโดยสภาของประชาชนแล้วจึงให้มีการเลือกตั้ง ! สิ่งที่ดูแล้วงี่เง่าก็คือนักวิชาการสมองพิการเหล่านี้มองประชาธิปไตย เพียงแต่ต้องเลือกตั้งก่อน และความถูกต้องของการเป็นประชาธิปไตย ต้องได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้นโดยไม่ คำนึงถึงการซื้อเสียง การหลอกลวงผู้คนที่ตามไม่ทันโลกให้เข้ามา ลงคะแนนให้ ! บรรดานักวิชาการเหล่านั้น ล้วนแสร้งเมินเฉยต่อความเป็นจริง ที่การออกมาคัดค้านและการขับไล่ทรราชนั้น ไม่ใช่จากปัญหาการเป็น ประชาธิปไตยแต่อย่างใด หากแต่เป็นปัญญาของความไม่โปร่งใสใน การบริหารบ้านเมืองที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชั่นกินบ้านกินเมือง ขาย แผ่นดิน ขายทรัพยากรที่นำไปสู่การกดขี่แย่งชิงทรัพยากร และการฆ่า ทำร้ายประชาชน ! อี ก ทั ้ ง นั ก วิ ช าการเหล่ า นี ้ ก ็ ไ ม่ เ คยวิ พ ากษ์ ว ิ จ ารณ์ ก ารเลื อ กตั ้ ง ของรัฐบาลทรราชที่เต็มไปด้วยการใช้เงินและอำนาจ ซื้อเสียงเพื่อให้ได้ ชนะการเลือกตั้ง รวมทั้งไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การเป็นเผด็จการรัฐสภา ที่อ้างแต่การมีเสียงส่วนมากที่ไม่ยอมฟังเสียงส่วนน้อยแต่อย่างใด ! จากพฤติกรรมในการเป็นขี้ข้าทาสปัญญาอเมริกันของนักวิชาการ เสื้อแดงแล้ว คนรุ่นใหม่ของมวลมหาประชาชนที่มีการตื่นรู้แล้ว ยัง แลเห็นการเผยร่างเปลือยกายของรัฐบาลอเมริกันในฐานะผู้นำในการ ปกครองแบบประชาธิ ป ไตยทุ น นิ ย มในยุ ค โลกาภิ ว ั ต น์ ท ี ่ แ ท้ จ ริ ง คื อ การรวมกลุ่มรวมหัวกับประเทศทุนนิยมที่เป็นเครือข่ายต้องการที่จะเอา ๓
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๖
อนุ ส าวรี ย ์ ป ระชาธิ ป ไตย ในวั น ที ่ ม ี ก ารประท้ ว งรั ฐ บาล ที ่ น ำโดยรั ก ษาการนายกรัฐ มนตรี ยิ่งลักษณ์ ชิ นวั ต ร
ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์จากความหลากหลายทางชีวภาค ของประเทศ ด้วยการเข้ามาลงทุนในเรื่องต่างๆ ทางอุตสาหกรรม เช่น การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า ท่าเรือ และแหล่งเกษตร อุตสาหกรรมทั้งด้านพลังงานและเข้าครอบครองพื้นดินที่อยู่อาศัยและ ทำกิน จนคนไทยส่วนใหญ่จะหมดสภาพจากเคยเป็นเกษตรกรมีที่ดิน ของตนเองมาเป็นกรรมกรแรงงานรับจ้างให้กับบรรดานายทุนนานาชาติ ! สิ่งเหล่านี้คนผู้ตื่นรู้รุ่นใหม่ได้แลเห็นและมองออก ข้าพเจ้าอดนึก ไม่ได้เมื่อเวลาเขียนบทความใดๆ ที่เกิดความขัดแย้งกับนักวิชาการเสื้อ แดงขี้ข้าอเมริกัน ก็มักถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกชาตินิยม คลั่งชาติ และเป็น พวกรอยัลลิสต์อะไรต่างๆ นานา ! คนเหล่านั้นพยายามมอมเมาคนอื่นๆ ด้วยวาทกรรมจากชาตินิยม หรือคลั่งชาติมาเป็นโลกไร้พรมแดนในยุคโลกาภิวัตน์ และการทำอะไร ต่างๆ จำเป็นต้องนึกถึงความเป็นคนอยู่โลกเดียวกัน อันเป็นการสวนทาง กับความเป็นจริงของคนในโลกทั่วไปในเรื่องสำนึกบ้านเกิดเมืองนอน [Patriotism] ! โลกไร้ พ รมแดนคื อ การโกหกคำโตๆ ของอเมริ ก ั น ที ่ ใ ช้ เ ป็ น วาทกรรมเพื่อการเข้าแย่งทรัพยากรของประชาชนที่ตามโลกไม่ทัน เท่านั้น ! แต่คนไทยรุ่นใหม่ที่ข้าพเจ้าเคยนึกประณามก่อนหน้านี้ว่าไม่เอา ไหน ไม่นำพาต่อการโกงกินบ้านเมืองของรัฐทรราช กลับรู้ทันอย่างมี สติปัญญา คนส่วนใหญ่แลเห็นภาพพจน์และการกระทำของอเมริกาและ ประเทศในระบอบประชาธิปไตยสาธารณ์และทุนนิยมสามานย์ในยุคหลัง สงครามเย็นและยุคโลกาภิวัตน์ แลเห็นไอ้กันอยู่เบื้องหลังของรัฐบาล ทรราชอย่างเต็มตา ทั้งการกระทำที่ซ่อนเร้นและออกหน้า ดั่งเห็นได้จาก กระทรวงการต่างประเทศอเมริกาออกหนังสือส่งสารแสดงความคิด ๔
เห็นมาช่วยรัฐบาลทรราชขอให้มีการเลือกตั้งก่อนเพื่อธำรงไว้ซึ่งความ เป็นประชาธิปไตย ! แต่การตื่นรู้ของมวลมหาประชาชนชาวสยามทุกภาคส่วน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติพันธุ์ และทุกศาสนาที่มีสำนึกต่อมาตุภูมิ กำลังแสดงออก ทางวาทกรรมของความเป็นประชาธิปไตยด้วยสิ่งที่ข้าพเจ้าเรียกว่า ! “ประชาธิปไตยจากข้างล่าง” ! ซึ่งเป็นประชาธิปไตยทางเลือกอย่างหนึ่ง อันที่ถ้าฉุกคิดอย่างมีสติ ปัญญาและความรู้แล้วก็จะเห็นได้ว่า H ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานของสังคมมนุษยชาติที่เกิดจาก วิวัฒนาการของความเป็นมนุษย์มานานแล้ว แต่ปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้น ในช่ ว งเวลาและสถานที ่ ใ นสั ง คมมนุ ษ ย์ ท ี ่ แ ตกต่ า งหลากหลายกั น ใน พื้นพิภพ ! อย่างเช่นสังคมนิยมประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าระบอบ คอมมิวนิสต์นั้น ก็เป็นประชาธิปไตยอีกรูปแบบหนึ่ง แต่คนไทยถูกไอ้กัน และมหาอำนาจทางฝ่ายทุนนิยมอบรมครอบงำให้รู้จักแต่ประชาธิปไตย ทุนนิยมเท่านั้น แล้วปิดตาให้มองสังคมนิยมประชาธิปไตยเป็นเพียงแค่ ระบอบคอมมิวนิสต์อันเป็นระบอบเผด็จการ ! ถ้าทบทวนให้ดี สังคมนิยมประชาธิปไตยของรัสเซีย จีน และ เวี ย ดนามนั ้ น พั ฒ นาขึ ้ น จากการปกครองที ่ ก ดขี ่ ข องรั ฐ เผด็ จ การ และนายทุ น ที ่ แ ย่ ง ชิ ง ทรั พ ยากรและที ่ ด ิ น ของประชาชนจนเกิ ด ความยากแค้นและอดอยาก จึงเกิดการลุกฮือ [Uprising] ของประชาชน จากเบื้องล่างขึ้นมาจัดการกับรัฐเผด็จการ โดยใช้ระบบคอมมิวนิสต์เป็น แนวทางวิธีการและกลไกที่สำคัญอย่างรุนแรงจนเกิดการฆ่าฟันกันขนาน ใหญ่ และสำเร็จลงด้วยความรุนแรงที่ทำให้ที่ดินทรัพยากรกลับคืนมา จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
เป็นของแผ่นดิน ขจัดระบบนายทุนออกไป แต่ก็ประสบความเดือด ร้อนอย่างฉิบหายวายวอดด้วยการรุกรานของอเมริกันและบรรดา มหามิตรที่รวมทั้งไทยด้วย ! แต่หลังจากที่เอาชนะไล่ไอ้กันได้สำเร็จ การปกครองประเทศที่เป็น เผด็จการคอมมิวนิสต์ก็ผ่อนคลายเพราะมีรัฐบาลที่มีความรักชาติ รักแผ่นดิน นำเอาระบบทุนนิยมเสรีเข้ามาผสมผสาน และเปิดโอกาส ให้คนเวียดนามที่เคยเป็นทุนนิยมที่ลี้ภัยต่างประเทศ โดยเฉพาะไปอยู่ ในประเทศนายทุนเช่นอเมริกากลับคืนมาช่วยพัฒนาประเทศ ซึ่งคน
ความมั่นคงทางสังคมในระดับท้องถิ่นแทน เพราะที่เป็นอยู่ในขณะนี้ สถาบันตำรวจแห่งชาติคือเครื่องมือและกลไกในการรับใช้ทรราชใน การขูดรีด กดขี่ และฆ่าฟันประชาชนจนได้รับการขนานนามทั่วไปว่า รัฐในระบอบทักษิณ คือรัฐตำรวจที่มีตำรวจเป็นกองทัพ มียศชั้นสูง เช่นทหาร และแลเห็นประชาชนเป็นอริราชศัตรู ! การปฏิวัติประเทศจากการปกครองประชาธิปไตยทุนนิยมแบบ อเมริ ก าในระบอบทั ก ษิ ณ ของมวลมหาประชาชนครั ้ ง นี ้ เป็ น ที ่ มหัศจรรย์ พร้อมพรั่งไปด้วยสติปัญญาและความรู้ที่เท่าทันโลก
“แ ละ แส ดงออกด้ ว ยค วามก ล้ า ห า ญทา ง จ ร ิ ย ธ รร ม [ M or al C o u ra ge ] ที่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในทุกภาคส่วนออกมาแสดงความคิดเห็น แ ละพร ้ อ มท ี ่ จะป ฏิ บ ั ต ิ ก ารโดยไ ม่ ก ลั ว เ กร ง ต ่ อ อ ำ นา จ เผ ด็ จ กา ร ขอ ง ท รร า ช ที ่ ข ่ มข ู ่ ด้ ว ย การส ร้ า งว ิ น าศกรรม [ Terro rism] ข ณะ เ ดี ย ว กั นก ็ เก ิ ดกร ะบ ว นกา ร เร ี ย นรู ้ ใ นเร ื ่ อ ง สั ง ค ม ว ั ฒ นธ รร ม เศรษฐกิ จ การเมื อ งขึ ้ น แก่ เ ย าวช นแ ล ะเ ด็ กท ี ่ พ า กั นอ อ ก มา แ สดง อ อ ก อ ย ่ า ง ร่ า เ ริ ง เพราะทุ ก ค นมี เ ป้ า ห มา ย อ ั น เดี ย ว ก ั นคื อ ก ู ้ ช า ต ิ ” “ข้าพเจ้าแลเห็นแสงสว่างในการกลับมาของศีลธรรมและจรรยาบรรณ ใ นหมู ่ ม หา ช นช าวส ย า มอ ี ก ว า ระ ห นึ ่ ง”
เหล่านี้ล้วนแต่มีสำนึกในความรักชาติแผ่นดินเกิด ได้นำเอาทั้งความ มั่งคั่งและความรู้สมัยใหม่และเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาประเทศ เช่น เวียดนามปัจจุบันมีระบบการเมืองทั้งทุนนิยมและสังคมนิยมที่อยู่กัน อย่างมีดุลยภาพ ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองล้ำหน้ากว่าประเทศไทย ในขณะนี้ ! แต่ในการตื่นรู้ของคนไทยทั้งชาติทุกรุ่นทุกวัยทุกเพศ ชาติพันธุ์ และศาสนาในครั ้ ง นี ้ ม ี ท ั ้ ง สติ ป ั ญ ญา ความรู ้ และความรั ก ชาติ [Patriotism] สร้ า งประชาธิ ป ไตยทางเลื อ กที ่ ข ้ า พเจ้ า เรี ย กว่ า “ประชาธิปไตยจากข้างล่าง” เพราะเกิดขึ้นฉับพลันเป็นฉันทามติ ใช้ อำนาจของมวลมหาประชาชนปฏิวัติ ล้มล้างประชาธิปไตยนายทุนแบบ อเมริกาในระบอบทักษิณ อันเป็นระบอบเผด็จการช่วยระบบอำมหิต ของนายทุน แย่งชิงทรัพยากรที่ดินกดขี่ฆ่าฟันประชาชน เช่นทางสาม จังหวัดภาคใต้ และร่วมกับรัฐบาลเผด็จการเขมรฮุนเซนขายประเทศ ขายทรัพยากรให้แก่ไอ้กันและประเทศมหาอำนาจ ! แก่นแท้ของหลักที่จะเป็นพื้นฐานทางโครงสร้างใหม่ที่จะเกิดขึ้น ก็คือ การล้มล้างระบบการปกครองและการบริหารที่รวมศูนย์ ยกเลิก พรรคการเมืองที่ผลักดันเข้ามามีอำนาจและโกงกินที่จะนำมาถกกันถึง เรื ่ อ งว่ า จะให้ ม ี ก ารเลื อ กตั ้ ง โดยผ่ า นตั ว แทนแบบเดิ ม หรื อ เป็ น ประชาธิปไตยทางตรง ที่สัมพันธ์กับการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น กำจัดระบบการมีผู้ว่าราชการจังหวัดอันเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค มาเป็นการปกครองท้องถิ่นที่มีประชาสังคม [Civil Society] เป็น พื้นฐาน ! แต่ที่สำคัญอย่างสุดๆ ก็คือ ทำลายล้างสถาบันตำรวจแห่งชาติให้ หมดไป แล้วเปลี่ยนมาเป็นตำรวจของท้องถิ่นเพื่อดูแลสวัสดิภาพและ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ในหมู่ผู้คนทุกรุ่น ทุกวัย ทุกเพศ ทุกเผ่าพันธุ์ และศาสนาที่ถูกผลักดัน โดยสำนึกในความรักชาติรักแผ่นดินเกิดที่นักวิชาการเสื้อแดงกล่าวหา ว่า “คลั่งชาติ” ! และแสดงออกด้ ว ยความกล้ า หาญทางจริ ย ธรรม [Moral Courage] ที่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในทุกภาคส่วนออกมาแสดง ความคิดเห็นและพร้อมที่จะปฏิบัติการโดยไม่กลัวเกรงต่ออำนาจ เผด็จการของทรราชที่ข่มขู่ด้วยการสร้างวินาศกรรม [Terrorism] ขณะเดียวกันก็เกิดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองแก่เยาวชนและเด็กที่พากันออกมาแสดงออก อย่างร่าเริง ! จากการที่เฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชนครั้งนี้ จากทั้งแลเห็นจากสื่อหลายรูปแบบ และจากประสบการณ์ที่เข้าไปร่วม และสังเกตการณ์ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเป็นการรุกฮือต่อต้านที่เป็นมหกรรม ของความรื่นเริงเบิกบานในงานนักขัตฤกษ์มหรสพประจำปี คนทุกวัย ทุกรุ่นแต่งตัวอย่างมีสีสันและมีสไตล์ทุกหมู่เหล่าพากันมาเป็นกลุ่ม เป็ น ครอบครั ว มี อ าหารการกิ น ที ่ ฟ รี แ ละมี ค ุ ณ ภาพแก่ ค นทั ่ ว ไป ส่วนคนที่มีเงินก็เข้าร้านค้า ภัตตาคาร ซื้อกินและซื้อของกันอย่างร่าเริง มีความสะดวกสบายในเรื่องระบบขับถ่ายและสถานที่รักษาพยาบาล ! แต่ที่สำคัญที่ยิ่งใหญ่ไม่มีการลักขโมยหรือทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะทุกคนมีเป้าหมายอันเดียวกันคือ “กู้ชาติ” ! ข้ า พเจ้ า แลเห็ น แสงสว่ า งในการกลั บ มาของศี ล ธรรมและ จรรยาบรรณในหมู่มหาชนชาวสยามอีกวาระหนึ่ง
๕
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๖
!"#$%&#'%&#()#* +,*!$-&.",/0122$ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เมืองโบราณสำคัญในเส้นทางข้ามภูมิภาค
! เชื่อกันว่า “เมืองเศรษฐปุระ” เป็นศูนย์กลางของบ้านเมืองขนาดใหญ่ ที ่ ม ี เ ครื อ ข่ า ยกว้ า งขวางในเขตลุ ่ ม น้ ำ โขงตอนกลาง คื อ “เจนละ” นักวิชาการชาวฝรั่งเศส เช่น ยอร์ช เซเดส์ วิเคราะห์ว่า เศรษฐปุระเป็น ศูนย์กลางของบ้านเมืองในวัฒนธรรมเขมรก่อนเมืองพระนครเมื่อราว พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ เรียกว่า เจนละบกและมีเจนละน้ำที่อยู่ทางตอน ใต้บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ! เจนละปรากฏชื่อและตำแหน่งที่ตั้งในจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์สุย (Sui Dynasty พ.ศ. ๑๑๓๒-๑๑๖๑) กล่าวถึงเมืองหลวงที่อยู่ใกล้ภูเขาซึ่ง มีนามว่าลิงคปรวตา [Lingaparvata] หรือลึงคบรรพต ที่ยอดเขามีทหาร เฝ้าทั้งวันทั้งคืนถวายแด่เทพเจ้าที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “ภัทเรศวร” ปางหนึ่งของพระศิวะ ซึ่งเป็นการนับถือเทพเจ้าองค์เดียวกับพระเจ้าภววรมันแห่งอาณาจักรจามปาที่หมี่เซิน ภูเขาที่มีรูปลักษณ์เป็นแบบสวยัมภูลึงค์ (การเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ) ในภาคกลางของเวียดนามปัจจุบัน เช่น เดียวกับลึงคบรรพตที่ภูเก้า เมืองจำปาสัก! ! การพบจารึ ก ที ่ เ ก่ า แก่ ท ี ่ ส ุ ด หลั ก หนึ ่ ง ในภาคพื ้ น เอเชี ย ตะวั น ออก เฉียงใต้คือ “จารึกเทวนิกา” [Devanika Stele] ซึ่งยอร์ช เซเดส์ เชื่อว่า เป็ น กษั ต ริ ย ์ จ ากจามปาที ่ จ ดหมายเหตุ จ ี น กล่ า วถึ ง ในช่ ว ง พ.ศ. ๙๙๘-๑๐๑๕ (พุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑) ก็สอดรับกับการเป็นเมืองใหญ่ ที่มีความสัมพันธ์กับบ้านเมืองขนาดใหญ่ตามชายฝั่งทะเลหลายแห่งใน อาณาจักรจามปาที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียในการนับถือศาสนา และสร้ า งศาสนสถานที ่ บ ู ช าพระศิ ว ะที ่ ผ สมกลมกลื น กั บ การนั บ ถื อ เทพแห่งภูเขาเช่นเดียวกันกับทางวัดพูที่เมืองเศรษฐปุระ ! ในขณะเดียวกันก็พบหลักฐานบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและยโสธร ที่เกี่ยวเนื่องกับความเป็นบ้านเมืองเก่าแก่แบบเจนละ เพราะพบทั้งจารึก ของพระเจ้าจิตรเสน ทับหลัง และซากศาสนสถานแบบสมโบร์ไพรกุกและ ไพรกเมง นักวิชาการเช่น อาจารย์ธิดา สาระยา จึงให้ความเห็นเพิ่มเติม จากนักวิชาการชาวฝรั่งเศสว่า บ้านเมืองศูนย์กลางที่เป็นจุดกำเนิดของ เจนละ นอกจากบริเวณเมืองเศรษฐปุระที่เชื่อว่าเป็นเมืองหลวงใหญ่ของ เจนละแล้ ว ก็ น ่ า จะเชื ่ อ มโยงถึ ง บริ เ วณอุ บ ลราชธานี แ ละยโสธรใน ประเทศไทยด้วย ! และการศึกษาทางโบราณคดีของนักโบราณคดีฝรั่งเศสที่บริเวณวัดพู ในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๔ พบประติมากรรมมีจารึกกล่าวถึงพระ เจ้ามเหนทรวรมัน ฐานของศิวลึงค์และทับหลังสมัยสมโบร์ไพรกุกซึ่งมี อายุุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เช่นเดียวกับทางยโสธรและอุบลราชธานี ๖
“มรดกโลกที่วัดพู” ฟื้นฝอยหามรดกยุคอาณานิคม ของอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส ! บริเวณลุ่มน้ำโขงตอนกลางนี้เมื่อผ่านบริเวณโขงเจียมซึ่งเป็นแนวเขา ทั้งสองฝั่ง และเป็นจุดบรรจบของลำน้ำมูลที่ไหลมาสบบริเวณนี้ทำให้เกิด เกาะแก่งและผาชันและเป็นจุดที่พบจารึกจิตรเสนอีกแห่งหนึ่ง แม่น้ำโขง เลี้ยวไปทางตะวันออกเลียบแนวภูเขาที่เรียกว่าภูควาย เป็นจุดเริ่มต้นของ เทือกเขาพนมดงเร็ก บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของเมืองปากเซ ซึ่งฝั่งตรงกันข้าม มีแนวเขาสูงใหญ่เทือกหนึ่ง มียอดเขาสำคัญอยู่ ๓ แห่งคือ ภูหลวง ภูจำปาสัก และภูเก้า ซึ่งมีรูปลักษณ์แปลกตาเพราะยอดเขามีหินตั้งขึ้น คล้ายเดือยตามธรรมชาติ จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคน ท้องถิ่นและในศาสนาฮินดูเป็นที่สถิตของพระศิวะจึงเรียกว่าลึงคบรรพต ต่อมาคนลาวเห็นคล้ายการเกล้าผมมวยตั้งขึ้นบนศีรษะ จึงเรียกว่า ภูเกล้าหรือภูเก้า ส่วนชาวบ้านเรียกว่า ภูควาย ! เมืองโบราณริมแม่น้ำโขงฝั่งตะวันตกที่อยู่เหนือดอนโขง คอนพะเพ็ง และหลี่ผี เกาะแก่งใหญ่กลางแม่น้ำโขงที่เมืองโขง และถัดมาคือเมือง สตึงเตรงหรือเมืองเชียงแตงใกล้กับชายแดนกัมพูชาและเมืองธาราบริวัตรขึ้นมาทางทิศเหนือราว ๑๐๐ กว่ากิโลเมตร ! ส่ ว นพื ้ น ที ่ บ ริ เ วณฝั ่ ง ตะวั น ออกของแม่ น ้ ำ โขง เป็ น เขตรอยต่ อ ของที่ราบสูงบอลิเวน และที่ราบลุ่มลำน้ำเซกะมานและเซกอง ต่อเนื่องกับ เขตที่สูงและเทือกเขาทางเวียดนาม เป็นอาณาบริเวณของกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ ที่ยังเป็นชนเผ่าและยังไม่มีการสร้างบ้านเมืองในระดับรัฐหรือ อาณาจักรแต่อย่างใด ! ที่ราบเชิงเขาเป็นแนวยาวมีลำน้ำลำห้วยหลายสาย ผู้คนในสมัย โบราณจึงทำแนวคันดินดักทางน้ำทดน้ำสำหรับปลูกข้าวทำนา ยังพบร่อง รอยทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเป็นแนวคันดินยาว ซึ่งก็ถูก ตีความว่าเป็น “ถนนเส้นทางโบราณที่เดินทางไปยังนครวัด (แม้ว่าจะไม่มี เส้นทางที่ต่อเนื่องไปถึงเมืองพระนครแห่งนั้นก็ตาม) เพราะมีความอุดม สมบูรณ์อย่างยิ่ง บ้านเมืองที่ขุดคูน้ำคันดินล้อมรอบขนาดใหญ่โตกว้าง ยาวราวๆ ด้านละ ๑ กิโลเมตร คือเมืองที่เรียกกันว่า “เศรษฐปุระ” ที่มี ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้านหลัง เขาด้านหน้าที่สูงย่อมกว่าเป็นที่ตั้งของปราสาท สำคัญของท้องถิ่น คือ “ปราสาทวัดพู” ส่วนด้านหน้ากลางแม่น้ำโขงคือ ดอนแดง เกาะใหญ่กลางแม่น้ำโขงที่มีหมู่บ้านตั้งอยู่ได้หลายแห่ง ปากน้ำ ฝั่งตรงข้ามคือกลุ่มโบราณสถานที่เรียกว่า โตะโมะ ! ในยุคต่อมายังมีการสร้างเมืองจำปาสักที่เป็นเมืองศูนย์กลางของ ราชอาณาจักรลาวใต้ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ลงมา อันเนื่องมาจาก การขยายตัวของหัวเมืองจากล้านช้างลงมาทางใต้และเป็นเมืองที่แทบจะ ทับซ้อนกันโดยอยู่ติดชิดกับริมแม่น้ำโขง ทางฝั่งตะวันตกนี้มีพื้นที่เหมาะ สมแก่การเพาะปลูกมากกว่าทางฝั่งตะวันออกที่ติดชิดกับที่สูงและภูเขา จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
! เมืองจำปาสักในยุคนี้ผ่านช่วงเวลาที่เป็นบ้านเมืองทางพุทธศาสนาที่มี ผู้นำสำคัญคือ พระครูหลวงโพนสะเม็กหรือยาคูขี้หอม พระอริยสงฆ์ สำคัญของลุ่มน้ำโขง และกลายเป็นหัวเมืองสำคัญในยุคอาณานิคมที่มี บ้านเรือนแบบอาณานิคมอยู่ไม่น้อย ต่อมาความสำคัญของเมืองเอกใน แขวงจำปาสักก็เปลี่ยนไปอยู่ที่ปากน้ำเซโดนอันเป็นที่ตั้งของเมืองปากเซ ! เรื่องราวของเมืองเศรษฐปุระหรือปราสาทวัดพูนี้จึงเป็นเสมือนเมือง ใหญ่ที่อยู่ในเส้นทางคมนาคมโบราณ จากบ้านเมืองในเขตภายในเขตลุ่ม น้ำมูลที่ต่อเนื่องไปจนถึงบ้านเมืองทางอีสานตอนใต้และภาคตะวันออก ชายทะเลและไปจนจรดต่อกับเขตทุ่งกุลาร้องไห้ กลุ่มเมืองชายฝั่งทะเลใน ปริมณฑลของจามปาและบ้านเมืองที่อยู่เหนือขึ้นไปตามแม่น้ำโขงที่เป็น เมืองในกลุ่มแคว้นศรีโคตรบูร ! หากเห็นภาพเช่นนี้แล้ว ผู้คนที่ไปเยือนวัดพูและเมืองจำปาสักก็จะ เข้าใจในความยิ่งใหญ่ในความเป็นเมืองสำคัญของบ้านเมืองในลุ่มน้ำโขง ตอนกลางขึ้นมาทันที เพราะนอกเหนือจาก “ปราสาทวัดพู” โบราณสถาน ที่สวยสง่าบนยอดดอยเหนือเมืองเศรษฐปุระที่มีภูเก้าและศาสนสถาน ศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาเป็นฉากหลัง ยังมีความหมายของบ้านเมืองโบราณที่ สำคัญแห่งหนึ่ง ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ยุคต้นของภูมิภาคนี้ให้ สมบูรณ์ขึ้นได้มากกว่าการไปเที่ยวปีนป่ายปราสาทในสภาพแวดล้อมที่ งดงามแต่เพียงอย่างเดียว ! การทำให้กลายเป็นโบราณสถานเชิงพาณิชย์
! แล้ววัดพูก็เดินสู่เส้นทางการทำโบราณสถานให้กลายเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์อย่างชัดเจนเมื่อถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกโดย องค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ถือเป็นมรดก โลกแห่งที่ ๒ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อจากเมือง หลวงพระบาง มรดกโลกแห่งแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ! พื้นที่โดยรอบวัดพูได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกรวมทั้งสิ้น ๓๙๐ ตารางกิโลเมตร มีการลงนามความร่วมมือกับต่างประเทศ เช่น อินเดีย ฝรั่งเศส และอิตาลี สนับสนุนงบประมาณบูรณะโบราณสถาน ขอความร่วมมือให้อนุรักษ์อาคารบ้านเรือนแบบเก่าตามสไตล์ฝรั่งเศส และลาว ให้มีการจำกัดสิ่งปลูกสร้างใหม่หรือห้ามมิให้มีการขุดรื้อถอน ใดๆ บนพื้นที่ลึกกว่า ๕๐ เซนติเมตร พร้อมกับรณรงค์ให้ชาวบ้านรักษา ขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตดั้งเดิม ! ! ประเทศที่ต้องการขอขึ้นทะเบียนจะต้องส่งคำขอไปยังศูนย์มรดกโลก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดย คำขอจะต้องประกอบด้วยข้อมูล แผนบริหารจัดการพื้นที่เขตแกน [Core Zone] การกำหนดพื้นที่กันชน [Buffer Zone] เพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ขอขึ้น ทะเบียนและต้องแนบแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนที่ชัดเจน ศูนย์มรดก โลกจะส่งองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก International Council on Monuments and Sites หรืออิโคโมส [ICOMOS] ซึ่งทำ หน้าที่กลั่นกรองคำขอขึ้นทะเบียนไปสำรวจสถานที่และจัดทำรายงาน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อมูลด้านวัฒนธรรมและเทคนิคเสนอเพื่อบรรจุใน ระเบียบวาระของการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
! ปั จ จุ บ ั น มี ส ิ ่ ง ก่ อ สร้ า งทางวั ฒ นธรรมและสภาพแวดล้ อ มตาม ธรรมชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก แล้วทั้งสิ้น ๓๓ แห่ง ใน ๗ ประเทศ ยกเว้นแต่สิงคโปร์ บรูไน และพม่า ซึ่งในกรณีของพม่านั้นมีความพยายามเสนอพุกามและอังวะเป็นมรดก โลกและเคยเสนอที่พยู่มาแล้วแต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ เพราะการบูรณะ ซ่อมแซมโบราณสถานหลายแห่งของรัฐบาลทหารในอดีต ไม่ถูกต้องตาม รูปลักษณะเดิม ซึ่งพม่าเป็นภาคีหนึ่งของที่ประชุมมรดกโลกมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และต้องการได้รับคัดเลือกเพื่อให้เป็นมรดกโลกอย่างยิ่ง วัตถุประสงค์ก็เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีมากขึ้น ! แต่ อ าจจะด้ ว ยสาเหตุ จ ากการที ่ ม ี ร ั ฐ บาลทหารและความเข้ ม งวด ทางการเมืองรวมทั้งการบูรณะโบราณสถานแบบพม่าที่นิยมสร้างขึ้นใหม่ ตามรูปแบบเดิมในสถานที่เดิม และการใช้โบราณสถานเป็นศาสนสถาน ในชีวิตประจำวันอาจจะเป็นสาเหตุหลักที่ยังทำให้พม่าไม่มีมรดกโลกที่ขึ้น ทะเบียนกับองค์การยูเนสโกแล้วเป็นของตนเองก็ได้ แม้สิ่งก่อสร้างใน อดีตของพม่าจะยิ่งใหญ่งดงามและมีชีวิตชีวามากมายกว่าโบราณสถาน ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งอื่นๆ ก็ตาม ! การท่องเที่ยวถือเป็นวิธีการสร้างรายได้อย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นอกเหนือจากงานประเพณีประจำปีในช่วงวันเพ็ญเดือนสามที่มี นักท่องเที่ยวมาเที่ยววัดพูอยู่แล้ว รัฐบาลลาวจัดตั้งคณะกรรมการรับผิด ชอบงานบูรณะแหล่งโบราณสถานเพื่อความสมบูรณ์พร้อมในฐานะเป็น แหล่งมรดกโลกและให้เอกชนสัมปทานสร้างสีสันและการประชาสัมพันธ์ โดยการนำเอาตำนานท้องถิ่นมาจัดแสดงเป็นละครประกอบแสงสีเสียงใน ยามค่ำคืน โดยมีบริษัทรับเหมาจัดทำให้ทั้งหมด นำเรื่องราวความรักใน ยุคต่างๆ มาแสดงเรื่อง The Legend of VatPhuo H มีตลาดสินค้าพื้นเมือง อาหาร เครื่องดื่ม แข่งขันร้องเพลง รำ เพื่อ รำลึกวันประวัติศาสตร์มิตรภาพลาว-เวียดนาม และมรดกโลกวัดพู ประกวดนางสาวจำปาสัก ขายอาหารโต๊ะจีน จัดแสดงหมู่บ้านจำลองวิถี ชีวิตของชาวเจนละในอดีต กิจกรรมบริการขี่ช้างพานักท่องเที่ยวโดยรอบ การแสดงจาก เวียดนาม กัมพูชา และไทย H และงานแสดง แสง สี เสียง ตำนานเกี่ยวกับท้าวบาเจียง ตำนานวัดพู และการก่อตั้งอาณาจักรจำปาสัก เรื่องราวซึ่งเกี่ยวพันถึงความรักไม่ สมหวังของหนึ่งหญิงสองชาย เช่น ตำนานของท้าวบาเจียง นางมะโรง และท้าวจำปาสัก H เห็นได้ว่าเป็นการเดินตามการจัดการท่องเที่ยวแบบล้มเหลวของเมือง ไทย การปรับปรุงการท่องเที่ยวเช่นนี้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสำหรับการเดิน ทางเข้าเที่ยวชมมากขึ้น เช่น ราคาค่าเข้าชม ๓๕,๐๐๐ กีบ หรือราวๆ ๑๔๐ บาท ค่ารถอีกคันละ ๒๐ บาท ค่าผ่านทาง 14A เที่ยวละ ๒๐,๐๐๐ กีบ หรือราวๆ ๘๐ บาทต่อเที่ยวซึ่งสะดวกกว่าการใช้เรือแพข้ามแม่น้ำ โขง มีห้องอาหารร้านกาแฟให้พัก มีรถรับส่งขนาดเล็กจนถึงเชิงทางขึ้น ปราสาทและเนินเขา ปรับปรุงการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นำโบราณวัตถุ สำคัญมาจัดแสดงเพิ่มขึ้น ! แต่ ท ี ่ ผ ิ ด พลาดอย่ า งไม่ น ่ า เป็ น ไปได้ ค ื อ การนำเอาโบราณวั ต ถุ ปลอมที่พบได้จากตลาดพระแถวท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ไปจัดแสดง เสียตู้หนึ่ง ๗
*+,( น - วาคม ) # - . ( ๒๕๕๖ +,( /001 ตุ!ล)าคม-ธั
ภู เ ก้ า หรื อ ลึ ง คบรรพต ภู เ ขาศั ก ดิ ์ ส ิ ท ธิ ์ ของเมื อ งเศรษฐปุ ร ะ ซึ ่ ง มี ป ราสาทวั ด พู ท ี ่ อ ยู ่ เ ชิ ง เขาเป็ น ศาสนถานขนาดใหญ่ ต ามที ่ แ สดงไว้ ใ น ภาพแสดงภู ม ิ ท ั ศ น์ ด ้ า นล่ า ง
ถวิลหาอินโดจีนของฝรั่งเศส ในนิทรรศการมรดกโลกที่พิพิธภัณฑ์วัดพู
แผนที ่ แ สดงที ่ ต ั ้ ง มรดกโลกที ่ อ ยู ่ ในดิ น แดนอิ น โดจี น ของฝรั ่ ง เศส ได้อ ย่า งบัง เอิญ
! “อิ น โดจี น ของฝรั ่ ง เศส” [Indochine française] อาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้น ในปี ค.ศ. ๑๘๘๗ โดยประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสาม แห่งรวมกันเป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๘๙๓ จึงรวมเอาลาวเข้ามาด้วย อินโดจีนมีไซ่ง่อนหรือโฮจิมินห์ เป็นเมืองหลวง จนถึงปี ค.ศ. ๑๙๐๒ จึงย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ! เมื่อปรับเปลี่ยนเป็นโบราณสถานในความหมายของมรดกโลก โดยมี การจัดการเพื่อนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ปราสาทวัดพูที่มีความหมาย ของการเป็น “วัด” ของท้องถิ่นเมืองจำปาสักก็ค่อยๆ ลบเลือนไป ชาว บ้านโดยรอบเคยมาใช้พื้นที่อย่างอิสระ เช่น แม่หญิงลาวชาวบ้านที่เคย ขายดอกไม้ธูปเทียนและการขึ้นไปไหว้พระบนวัดพูของชาวลาวทั่วไป กลายเป็นกิจกรรมที่ถูกห้าม ความหมายของวัดพูจึงเปลี่ยนแปลงกลาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวราคาแพงและเป็นพื้นที่ทดลองบูรณะโบราณสถาน ขององค์กรเครือข่ายประเทศต่างๆ ในองค์การยูเนสโก ! ที่น่าเศร้าใจที่สุดคงเป็นเนื้อที่ในอาคารพิพิธภัณฑ์ส่วนหนึ่งมีการจัด แสดงนิทรรศการ ๔๐ ปีแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และ นิทรรศการเรื่องมรดกโลกในภูมิภาคนี้ ดูจากแผนที่แสดงให้เห็นว่าส่วน ใหญ่อยู่ในดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของอินโดจีนของฝรั่งเศส และไม่ลืม ที่จะลงรายละเอียดบนแผนที่บริเวณพระวิหารที่แม้ยังมีปัญหาในประเด็น การใช้ พ ื ้ น ที ่ แ ต่ ก ็ ส ามารถขึ ้ น ทะเบี ย นตั ว โบราณสถานไปแล้ ว เพี ย ง ฝ่ายเดียว ! นิทรรศการนี้เน้นเรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทหินในแง่มุมของราย ละเอียดในทางประติมานวิทยาและโบราณวัตถุที่พบมากกว่าเรื่องอื่นๆ และที ่ แ น่ น อนคื อ ไม่ ล ื ม ที ่ จ ะใส่ ก ารสร้ า งเนื ้ อ หาเกี ่ ย วกั บ ราชมรรคา ทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งเมืองพระนคร ทั้งๆ ที่เมือง ๘
เศรษฐปุระมีอายุเก่ากว่ารัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ หลายร้อยปี และไม่มีสิ่งใดที่จะแสดงให้เห็นถึงโบราณสถานหรือโบราณวัตถุสำคัญๆ ในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๗ หรือ ๑๘ แต่อย่างใด ! เป็ น ขนบวิ ธ ี ก ารศึ ก ษาโบราณสถานแบบฝรั ่ ง เศสที ่ ม อบให้ ผ ่ า น กระบวนการเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ที่แฝงไว้ด้วยการอธิบาย อดีต เป็นประวัติศาสตร์แบบการเมืองในยุคอาณานิคมซึ่งเป็นสิ่งที่ ฝรั่งเศสเคยศึกษา และมอบให้ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและการศึกษา ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ให้กับบ้านเมืองในอดีตอาณานิคมของ ตนเอง สร้างปัญหาในการศึกษาที่มองไม่เห็นท้องถิ่นหรือการมีอยู่ของ บ้านเมืองอื่นๆ นอกเสียจากอาณาจักรอันยิ่งใหญ่แห่งเมืองพระนครที่ เป็นเจ้าปกครองบ้านเล็กเมืองน้อยต่างๆ ที่มีโบราณสถานแบบปราสาท หินตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ! แต่สำหรับภาพรวมของนิทรรศการที่มีความสำคัญเกือบหนึ่งห้อง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งปราสาทวัดพู ให้ความสำคัญกับเมืองเศรษฐปุระและปราสาทวัดพูในฐานะเป็นเพียงปริมณฑลของอำนาจอาณาจักร ขอมที่เมืองพระนครเท่านั้นเอง จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ท ี ่ ๑๘ ฉบั บ ที ่ ๑๐๐
สะพานหัน กับวิกลิเกหลวงสันท์
32.0!24, 0 )5 '
สุดารา สุจฉายา ! เมื่อไม่นานมานี้ได้สำเนาเอกสารเก่าจากหอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึง เรื่องลิเกหลวงสันท์ที่สะพานหัน ทำให้ต้องรื้อเทปบันทึกเรื่องราวของ สะพานหันและลิเกคณะนี้มาปัดฝุ่น เพราะแหล่ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเป็นลิเก ดัง ขนาดสาวแก่แม่หม้ายติดกันงอมแงมเลยทีเดียว ! ! ! “...ทั้งสาวแก่แลแม่หม้ายH H H H ลูกผัวไม่นำพาH H H H H H H เฝ้าผัดหน้าทาขมิ้นH H H H H H พอได้ชมสมคะเนH H H H
เฝ้ามุ่งหมายใฝ่ฝันหา ถึงเวลาดูลิเก ไปหาชิ้นไม่ห่างเห ชอบลิเกคุณหลวงสรรค์”
H เรื่องราวของลิเกคณะนี้ที่เคยสืบค้นได้ข้อมูลมาอย่างกะปริดกะปรอย จึงถึงคราวต้องนำมาปะติดปะต่อกับเรื่องราวของสะพานหันที่ตั้งวิก ให้ปรากฏในข้อเขียนชิ้นนี้แล้ว สะพานหันในย่านสำเพ็ง
! ในหนังสือ เปิดกรุภาพเก่า ของคุณเอนก นาวิกมูล ที่มีภาพปกรูป ประตูเมืองบนถนนพาหุรัดนั้น คือประตูสะพานหัน ซึ่งชาวจีนเรียกว่า “ซำเพ้งเซียมึ้ง” เพราะเป็นประตูเมืองที่จะออกไปสู่ย่านสำเพ็ง--ตลาดการ ค้าและถิ่นฐานอาศัยสำคัญของคนจีนนอกกรุงรัตนโกสินทร์ ประตู ดังกล่าวสร้างขึ้นมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ โดยแรกเริ่มนั้นเป็นประตูช่องกุด พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๒๐ โปรดให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ปรับเปลี่ยนเป็นประตูทรงตัดเรียบ มีดาดฟ้าด้านบน แล้วมีงานสมโภชประตู แต่พอถึง พ.ศ. ๒๔๓๑ ก็แปลงประตูสะพานหัน เป็นประตูยอดดั่งภาพในหน้าปกหนังสือ กระทั่งวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ในรัชกาลที่ ๖ ประตูยอดนี้ก็พังทลายลงมา ซึ่งเหตุการณ์ครั้ง นั้นมีบันทึกไว้เป็น “แหล่เครื่องเล่นกัณฑ์มหาพน” ในหนังสือ ประชุม แหล่เครื่องเล่นมหาชาติ ว่า ! H H H H H H
! H H H H H H
! H H H H H H
! “ที่ ๒๖ กันยายน H H ที่ประตูยอดสะพานหันH H ....................................H H H สองทุ่มหย่อน ๒๐ มินิต H H เลื่องลือลั่นพาราHH H H ทั้งไทยทั้งเจ๊กเด็กผู้ใหญ่H H เสียงโจษกันลั่นสนั่นหูH H
เกิดโกลาหลอัศจรรย์ พังทลายลั่นเสียงครืนคราน ...................................... เวลาเมื่ออิฐพังลงมา ต่างคนต่างพากันไปดู บ้างชวนกันไปเป็นหมู่ๆ ว่าจะไปดูประตูพัง.....”H
! ประตูพังครั้งนั้นก็เพราะความเก่าชราเป็นเหตุให้ต่อมาประตูเมือง ต่างๆ ก็ถูกรื้อออกหมดในที่สุด คงเหลือประตูเมืองตรงถนนพระสุเมรุ ประตูเดียวที่รักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้
จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
! อย่างไรก็ดีแม้ประตูนี้จะเป็นทางเข้าสู่สำเพ็ง แต่ไม่มีคนไทยเรียกว่า “ประตูสำเพ็ง” กลับเรียก “ประตูสะพานหัน” เนื่องจากพอลอดผ่าน ประตูออกไปนอกพระนครก็เจอสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างหรือคลองรอบ กรุง เป็นสะพานไม้แผ่นเดียวทอดข้ามคลอง ปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ อีกปลายวางพาดกับฝั่งตรงข้ามโดยไม่ตอกตรึง สามารถจับหันเพื่อเปิด ทางให้เรือผ่านและหันปิดสำหรับคนสัญจรข้ามไปได้ สะพานแบบนี้จึงถูก เรียกว่า “สะพานหัน” และกลายมาเป็นชื่อเรียกประตูเมืองไปด้วย ! ตรงจุดบริเวณสะพานนี้แหละที่เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่ย่านการค้าสำเพ็ง ผู้คนจึงหนาแน่น มีแผงขายของระเรื่อยไป โดยเฉพาะยามเมื่อเปลี่ยนจาก สะพานหันมาเป็นสะพานเหล็กในรัชกาลที่ ๔ และเมื่อถึงรัชกาลที่ ๕ ก็ ปรับเปลี่ยนเป็นสะพานโค้งค่อนข้างสูง ซึ่งขุนวิจิตรมาตราหรือกาญจนาค พันธุ์ได้เห็นเมื่อตอนเป็นเด็ก และได้เขียนบันทึกไว้ใน “กรุงเทพฯ เมื่อ ๗๐ ปีก่อน” และบทความเรื่อง “สามเพ็ง” ว่า H ...พื้นสะพานตรงกลางเป็นไม้เรียบ สองข้างสะพานเป็นห้องแถวไม้ ติดต่อกันตลอด ฟากหนึ่งราว ๗ หรือ ๘ ห้อง โดยสร้างยกพื้นขึ้นไปเป็น ชั้นๆ หรือเป็นห้องๆ มาบรรจบตรงกลางสะพานที่โค้งสูงสุด หลังคาห้อง ทั้งหมดก็ลำดับเป็นชั้นๆ ด้วย ห้องแต่ละห้องเป็นห้องเล็กๆ เป็นที่คนอยู่ และขายของได้ ด้านหลังของห้องเป็นหน้าต่าง ระหว่างห้องทั้งสองข้าง เป็นทางเดินสำหรับคนเดินข้าม กว้างราวสัก ๓ ศอก ห้องทั้งหมดมี คนเช่าอยู่และขายของเต็ม ! บริเวณที่ออกจากประตูสะพานหันไปนอกพระนครนี้ ในอดีตเรียกว่า ตำบลสามเพ็ง เป็นต้นไป และเมื่อลงจากสะพานหันเข้าไปสู่ย่านอาศัยและ การค้าของชาวจีน มีถนนหรือสมัยก่อนต้องเรียกว่าตรอกสามเพ็งหรือ สำเพ็ ง ตั ด ผ่ า นชุ ม ชนยาวออกไปจนจรดวั ด กาลหว่ า ร์ ท ี ่ ต ลาดน้ อ ย ซึ่งปัจจุบันก็คือ แนวถนนวานิช ๑ และถนนวานิช ๒ โดยถนนวานิช ๑ ตั้งต้นจากถนนจักรเพชรไปบรรจบถนนทรงวาดและถนนทรงสวัสดิ์ที่ข้าง วัดสัมพันธวงศ์หรือวัดเกาะ ส่วนถนนวานิช ๒ แยกจากถนนทรงวาด บริเวณวัดปทุมคงคาไปจนถึงวัดกาลหว่าร์ที่ถนนโยธานั่นเอง และ ระหว่างช่วงประตูสะพานหันถึงถนนจักรวรรดิที่เรียกกันว่า “ย่าน หัวเม็ด” คนจีนเรียก “ติ๊ดเกย” นั้น เป็นชุมชนสะพานหัน แม้จะเป็น ส่วนหนึ่งของย่านสำเพ็ง แต่สะพานหันในอดีตก็เป็นแหล่งค้าขายที่มี เอกลักษณ์ต่างจากในปัจจุบันและเป็นถิ่นอาศัยของขุนน้ำขุนนางมากกว่า คนจีนดั่งเช่นปัจจุบัน ผลไม้ ดอกไม้ เครื่องหอม ไปจนถึงเครื่องเพชรเครื่องทอง
! คุณหญิงศรีศิริ กฤษณจันทร หรือนามสกุลเดิม คุ้มเกษ วัย ๘๐ กว่าปี ผู้เกิดในย่านสะพานหันและใช้ชีวิตวิ่งเล่นอยู่ในย่านนี้ถ่ายทอด ๙
ตุ ล าคม-ธั น วาคม ๒๕๕๖
สภาพค้าขายที่ตนเห็นมาแต่ครั้งเยาว์ว่า แถบพื้นที่สะพานหันในเวลานั้น บ้านเรือนอาศัยถ้าไม่เป็นของบรรดาพระยา คุณพระ คุณหลวง ก็เป็นของ พวกคหบดีคนไทยและเจ้าสัว ที่จดจำได้ก็มีพระยาภิรมย์ภักดี บ้านอยู่ต้น คลองโอ่งอ่าง บ้านพระยาพิชัยสงคราม บ้านพระยาสโมสรวิเศษฐการ บ้านพระกรณีศรีสำรวจ บ้านนายย้อย วิเศษกุล ที่น้องสาวไปดองกับ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี บ้านหลวงสันทนาการกิจที่ตั้งวิกลิเกดังใน ย่านนี้ คนทั่วไปเรียกสั้นๆ ว่า “วิกหลวงสันท์” นอกจากนั้นก็มีเจ้าสัว ชาวจีน แขกขายผ้า และคนจีนที่มาขายยาฉุนในตรอกยาฉุนบ้าง อย่างไร ก็ดี คุณหญิงศรีศิริเน้นว่า “สะพานหันเป็นย่านคนไทย” พร้อมกับฉาย ภาพการขายและจับจ่ายซื้อสินค้าในเวลานั้น ! “ก่อนขึ้นสะพานหัน สองข้างเป็นร้านขายผลไม้ต่างประเทศ แอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น เครื่องกระป๋อง เครื่องแห้งของจีน วางเต็มสองฟาก พวกผลไม้ ๑๐
ไทยตามฤดูกาลและทวาย อย่างลำไย ทุเรียน ผลไม้พื้นเมือง ต่างๆ มีหมด คัดมาสวยๆ ดีๆ เหมือนอย่างในตลาด อตก. ปัจจุบัน แม่ค้าจะใส่กระจาดมาตั้งเหมือนบางลำพูสมัยก่อน อย่างลำไยลูกโตๆ ก็ใส่กระเช้า...เปิดชิมได้ พวกแม่ค้านั้น พูดจาอ่อนหวานกับลูกค้า เรียกท่านเจ้าคะ เจ้าขา บ่าวเก็บ เอาไว้ให้นะคะ ของบ่าวอร่อยทั้งนั้น ซื้อเสร็จก็เอาของมาส่ง ให้ถึงรถสามล้อ รถเจ๊ก เพราะเจ้านายให้บ่าวมาซื้อกัน ทั้งนั้น” ! ! สอดคล้องกับที่ ศรี เกษมณี เขียนเล่าไว้ในหนังสือ เมื่อ วานนี้ ว่า “แม่ไปซื้อผลไม้ เช่น องุ่น แอปเปิ้ลที่สะพานหันซึ่ง เป็นแหล่งรวมผลไม้ดีๆ จากต่างประเทศ ของที่สะพานหัน จัดว่าแพงชนิดจดไม่ลง คนซื้อต่อรองราคาแทบไม่ได้ ถ้าไม่ ซื้อคนขายก็จะเมินหน้าไม่ง้อให้เสียเวลา ลูกค้าที่มีเงินยังเดิน เข้าออกสะพานหันให้พลุกพล่าน” ! พอขึ้นตัวสะพานหัน คุณหญิงอธิบายว่าพื้นทำด้วยไม้ มีลูกระนาดคั่นเป็นขั้นๆ ลงไป เพื่อกันไม่ให้ลื่น สองฟากตัวสะพานเป็นร้านขายของ ! “ทำเป็นห้องๆ ที่จำได้มีร้านแขกขายผ้าเป็นพวกผ้า มุ้ง ผ้าม่าน ผ้าลูกไม้ ผ้าสำลี ผ้าต่วนเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้ขายผ้าอย่างดี เพราะของสวยๆ นั้นจะขายกันที่ พาหุรัด ส่วนร้านขายผ้าของผู้หญิง เป็นพวกผ้าลาย พวกนางงามจะมาซื้อ มานั่งเลือกผ้า เขาจะวางขาย บนอัฒจันทร์เตี้ยๆ ไม่มีโต๊ะเก้าอี้ใดๆ คนซื้อก็ขึ้นไป นั่งพับเพียบบนแท่น ดูของนั่นของนี่ ต่อรองราคากัน บนนั้นเลย ไม่มีใครยืนซื้อ ลงจากสะพานมีร้านขาย น้ำอบไทย ชื่อร้านเก็งนา แล้วก็ร้านแม่อ้นขาย ดอกไม้ธูปเทียนเกี่ยวกับไหว้พระ พวกพุ่มเทียน กระแจะ หมากหอม แล้วก็พวกดอกไม้แห้ง ดอกไม้ จัน สะพานหันมีอยู่หลายร้าน บ้างร้อยมาลัยแห้ง พวกดอกมะลิที่ทำจากกระดาษ ดอกไม้เข้าพรรษา กระดาษย่นสีๆ เครื่องบวช บางร้านก็ขายพระพุทธรูปอย่างเดียว ขายดอกไม้สดก็มี เลยออกไปทาง หัวเม็ดมีร้านทอง ขายเครื่องเพชร อย่างแม่กิมลั้ง แม่กิมตี่ พวกนี้เป็นลูกครึ่งไทย-จีน ถ้าร้านทองที่เยาวราชคนจีนขาย สมัยก่อน ใครจะแต่งงานต้องมาซื้อเพชรที่สะพานหัน ไว้ใจได้ไม่มีหลอกลวง นอกจากนี้ ก็มีร้านขายยาของคนจีน เดี๋ยวนี้ก็เหมือนจะยังอยู่ แล้วก็มีซ่อง มีโรงยาฝิ่น สมัยก่อนสะพานหันคนไม่แออัดแน่นอย่างปัจจุบัน เดินซื้อของกันสบาย” ! ภาพบรรยากาศการค้าแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เนื่องมาจนถึงหลัง สงคราม (มหาเอเชียบูรพา) เช่นนี้ คงดำเนินต่อมากระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๕ จึงได้มีการรื้อสะพาน แล้วสร้างใหม่เป็นคอนกรีตดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ นานาสินค้าในย่านสะพานหันก็มีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นของอุปโภค บริโภค เช่น อาหาร ขนม เสื้อผ้า เครื่องเย็บปักถักร้อย ไปจนถึงร้าน ขายกิฟต์์ช้อปที่ขยายตัวมาจากสำเพ็ง ร้านค้าดั้งเดิมแทบหายไปเกือบหมด มีการเปลี่ยนมือให้คนเช่า เหลือไว้แต่ป้ายชื่อร้านเก่าพอให้จับ เค้า รางได้เท่านั้น จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
วิกยี่เกหลวงสันท์ ริมคลองสะพานหัน
! นอกจากภาพจำเกี่ยวกับตลาดสะพานหันแล้ว ความประทับใจอีกสิ่ง หนึ่งที่คลุกคลีอยู่ในย่านสะพานหันของคุณหญิงศรีศิริก็คือ ชีวิตในวิกยี่เก หลวงสันท์ โรงมหรสพของครอบครัวเครือญาติที่เกาะเกี่ยวดำเนินกิจการ อยู่ในย่านสะพานหัน เป็นวิกลิเกดังโรงหนึ่งในยุคที่ลิเกทรงเครื่องกำลัง เฟื่องในพระนคร ! ลิเกหรือยี่เกเป็นมหรสพที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่า “มาจากเพลงสวดของแขก ส่วนการแสดงน่ะยี่เกน่ะไทยแท้...” โดย อาจารย์สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ผู้ค้นคว้าเรื่องลิเก อ้างถึงหนังสือ สาส์น สมเด็จ ระบุว่า กำเนิดมาจากการสวดอย่างอิสลามในงานพระราชพิธี บำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ แล้วการสวดนี้ก็พัฒนาแตกแขนงเป็น “ลิเก” และ “ลำตัด” ต่อมา ! การแสดงลิเกในระยะแรกมี ๒ ชนิด คือ ลิเกบันตนและลิเกลูกบท (อ่านรายละเอียดใน ลิเก โดย สุรพล วิรุฬห์รักษ์์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ห้องภาพสุวรรณ, ๒๕๒๒.) แต่งตัวธรรมดา แต่สีสันสดใส มาถึงยุค พระยาเพชรปาณี (ตรี) เจ้าของวิกหน้าวัดราชนัดดา ได้คิดเครื่องแต่งกาย ใหม่อย่างหรูหรา สวมปันจุเหร็จยอด ใส่เสื้อเยียรบับ นุ่งโจงผ้ายก สวม ถุงเท้าขาว ประดับสังวาลนพรัตน์กำมะลอ เลียนแบบเครื่องแต่งกาย ขุนนาง ท้าวพญามหากษัตริย์ อันเรียกได้ว่าเป็นการแต่งองค์ทรงเครื่อง ชาวบ้านทั้งหลายจึงเรียกว่า “ลิเกทรงเครื่อง” ที่นอกจากจะปฏิวัติการ แต่งกายแล้ว ยังเล่นแสดงเป็นเรื่องแบบละคร อีกทั้งมีการรำนิดๆ หน่อยๆ ดำเนินเรื่องเร็ว แทรกการเล่นตลกขบขัน เป็นที่ถูกอกถูกใจ ชาวบ้านร้านตลาด จนเกิดวิกยี่เกหลายแห่งในช่วงสมัยนั้น ! หนึ่งในนั้นก็คือ วิกของหลวงสันทนาการกิจ (โหมด ภูมะธน) ข้าราชการในกระทรวงทหารเรือ ที่บ้านและวิกของท่านตั้งอยู่ริมคลอง สะพานหัน ใกล้สะพานภาณุพันธุ์ โดยมีภรรยาของท่าน คือ อำแดงทับทิม เป็นโต้โผใหญ่ประจำโรงยี่เก ซึ่งคุณหญิงศรีศิริเรียก ย่าทับทิม ด้วยท่าน เป็นธิดาของหลวงสุนทรโกษา (จาด คุ้มเกษ) ผู้เป็นทวดของคุณหญิง ! “บ้านหลวงสันท์อยู่ด้านในตลาด ติดกับพวกสิงหเสนีเป็นบ้านไม้ใหญ่ แบบโบราณ ส่วนตัววิกอยู่ข้างหน้าบ้าน คุณย่าเป็นคนดูแล ตกเย็นญาติ พี่น้องต้องมาทำโรงลิเกกันหมด มาทำฉาก ซ่อมประตู กวาดโรง เก็บเงิน หน้าโรงวิก ทำกับข้าวกับปลาเลี้ยงคนแสดง แม่ดิฉันถูกมอบหมายให้เป็น คนเก็บเงินค่าเข้าชม ตัวดิฉันก็เลยวิ่งเล่นอยู่แถวนี้ พอตอนหลังวิกเลิก มีคนมาเช่าแล้วจึงรื้อทำโรงหนัง ปัจจุบันเป็นศูนย์การค้าสะพานหันไง เท่าที่ทราบเดิมวิกเคยอยู่ที่ประตูสามยอด” ! คุณหญิงศรีศิริรื้อฟื้นความทรงจำในวัยเด็ก ซึ่งหลายสิ่งเป็นสิ่งที่ฟัง ผู้ใหญ่เล่ามา โดยเฉพาะเรื่องวิกที่เคยอยู่ประตูสามยอดนั้น จากการ สัมภาษณ์คุณถิน และคุณพงษ์สิทธิ์ ภูมะธน ซึ่งเป็นหลานของย่าทับทิม ได้คำชี้แจงว่า วิกยี่เกหลวงสันท์อยู่สะพานหันมาแต่แรก วิกประตูสาม ยอดเป็นของหม่อมสุภาพ กฤดากร หม่อมในกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ (ต้น สกุลกฤดากร) ซึ่งเป็นยี่เกโรงใหญ่ มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๖ ด้วยมีการปรับปรุงการเล่นใกล้ละครรำมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งแบบแผนในการรำ การที่คุณหญิงเข้าใจผิดว่าเคยอยู่ประตูสามยอดก็ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เนื่องจากย่าทับทิมรับกิจการยี่เกของหม่อมสุภาพมาดำเนินการต่อนั่นเอง และนี ่ อ าจเป็ น ที ่ ม าที ่ ห ้ า มไม่ ใ ห้ ล ิ เ กโรงนี ้ ร ้ อ งเพลงรานิ เ กลิ ง ของนาย ดอกดิน เสือสง่า ด้วยเห็นว่าเป็นลิเกบ้านนอก ลิเกเร่ร่อน ! คุณถินยังบอกอีกว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ มีการสวนสนาม ทหารหน้าวิก บนถนนเยาวราช พวกลิเกจึงพากันออกมารำ เอาดอกไม้ไป ยื่นให้เจ้าพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และที่จำได้ วิกหลวงสันท์กลางวันเป็นบ่อนปลากัด กลางคืนจึงเป็นวิกยี่เก ! ขณะที่คุณพงษ์สิทธิ์ว่า ก่อนเปิดวิกทุกครั้งต้องมีโหมโรง เล่นดนตรี ตีระนาดเรียกคน เริ่มเล่นราวทุ่มสองทุ่ม จุดตะเกียงเจ้าพายุเล่น เล่นกัน ถึงเที่ยงคืนก็เลิก สมัยนั้นคนสะพานหันจะมีคำพูดที่รู้จักกันทั่วย่านว่า “หน้าพ่อพัก” คือ หน้าสวยขึ้นเครื่องลิเก เพราะพ่อพักเป็นพระเอกประจำ วิกหลวงสันท์ คู่กับนางเอกชื่อนายเจือ เป็นชายแต่เล่นเป็นหญิง เนื่องจาก สมัยนั้นการเล่นยังไม่ได้ใช้ชายจริงหญิงแท้ คนดูส่วนใหญ่จึงเป็นหญิง เป็นแม่ยกเยอะ และตัวแสดงที่สำคัญอีกตัว เป็นตัวโกงชื่อ ตารวน เวลา เดินเข้าตลาดสะพานหัน พวกแม่ค้าเห็นต้องถ่มน้ำลายรดพื้น เพราะไม่ ชอบใจ ด้วยอินกับบทโกงของแก ถึงกับเล่าต่อๆ กันว่า เวลาแสดงตาม ท้องเรื่อง คนดูถึงกับขว้างกระป๋องน้ำหมากใส่แกขึ้นไปบนเวที แกก็มี ปฏิภาณไว เอามือป้องปากบอกคนดูว่า “คุณน้าให้รางวัลผมอีกแล้ว” ! พ่อพักและนายเจือนี้ ถือเป็นศิลปินลิเกมีชื่อดังมากในยุคลิเกทรง เครื่อง ในหนังสือ ลิเก ของสุรพล วิรุฬห์รักษ์ ระบุว่าทั้งคู่เป็นผู้คิดทำ หลอดไฟฟ้าดวงเล็กๆ มาประดับแซมเครื่องเพชรให้คนดูตื่นเต้นกับความ วูบวาบของแสงสี และมาตอนหลังทั้งคู่ไปเล่นที่วิกเมรุปูน วัดสระเกษ ลิเก หอมหวนเมื่อเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ ที่วิกตลาดทุเรียน บางลำพู ยังต้อง แข่งขันกับนายพัก นายเจือ ทำให้หอมหวลหาทางเล่นใหม่ โดยมีการปรับ เครื่องแต่งกาย ลดการรำลง และด้นกลอนเข้าสู้ จนกล่าวว่า ใครอยากดู ลิเกรำก็ไปดูนายพักนายเจือ ใครอยากฟังกลอนเด็ดๆ ก็มาดูลิเกหอมหวล ! ความดังของตัวเอกวิกหลวงสันท์นี้แหละเป็นเหตุให้วิกหลวงสันท์ ต้องเลิกไป เพราะ “เจ๊ง” ด้วยค่าตัวพระเอกสูงถึงวันละ ๘ บาท และต้อง ง้อให้เล่นตลอดเวลา อีกทั้งโต้โผก็ชรามากแล้ว ตัวแสดงในโรงก็มีถึง ๓๐ กว่าชีวิต ดูแลไม่ไหว จึงขายคณะยี่เกให้กับแม่ของคุณพงษ์สิทธิ์ชื่อ แม่ทองอยู่ ซึ่งท่านได้นำเครื่องละครและดนตรีปี่พาทย์ลงไปเล่นที่ นครศรีธรรมราช โดยไม่มีวิกแน่นอน รับเล่นไปเรื่อยใช้ชื่อ วิกแม่ทองอยู่ แสดงอยู่ ๔-๕ ปีก็เลิกในที่สุด เรื่องราวของวิกหลวงสันท์จึงลาโรง อย่างสมบูรณ์ เอกสารค้นคว้า กาญจนาคพันธุ์ (นามแฝง). “สามเพ็ง”, เมืองโบราณ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๖ (ส.ค.-ก.ย. ๒๕๒๒). สุรพล วิรุฬห์รักษ์, ลิเก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ, ๒๕๒๒. สัมภาษณ์คุณหญิงศรีศิริ กฤษณจันทร วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๘. สัมภาษณ์คุณพงษ์สิทธิ์ ภูมะธน วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙. บทสัมภาษณ์คุณถิน ภูมะธน โดย อาจารย์ภูธร ภูมะธน. ขอขอบคุณ : คุณหญิงศรีศิริ กฤษณจันทร, คุณพงษ์สิทธิ์ ภูมะธน และอาจารย์ภูธร ภูมะธน ที่ติดต่อประสานงานเรื่องการสัมภาษณ์
๑๑
ตุ ล าคม-ธั น วาคม ๒๕๕๖
)+(.*,2#3,+4+%56้8-#่(:+(
67$8",/0122$
ภูมิวัฒนธรรม
เทือกเขาสันกาลาคีรี-แม่น้ำสายบุรี งามพล จะปากิยา
การเข้าไม่ถึงความต้องการของคนในท้องถิ่น คือสิ่งที่เป็นปัญหาของรัฐไทยในทุกวันนี้ ศรีศักร วัลลิโภดม นิเวศวัฒนธรรมเทือกเขาสันกาลาคีรี-แม่น้ำสายบุรี
@ แม่น้ำสายบุรีเขตต้นน้ำนั้นไหลผ่านภูมิประเทศที่เป็นแนวทิวเขา สันกาลาคีรี มีภูเขาขนาบทั้งสองด้าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสุคิริน อำเภอ จะแนะ และอำเภอศรีสาคร ในจังหวัดนราธิวาส ลำน้ำมีลักษณะคดโค้งมี แนวแก่งหินกลางลำน้ำ ตลิ่งสูงชัน บางแห่งเป็นเวิ้งหาดทรายและใน แม่น้ำมีร่องน้ำลึก ! ตลอดแนวทิวเขาสันกาลาคีรีเขตภูมิประเทศนี้มีลำน้ำสาขามากมายที่ เกิดจากร่องลำธารต่างๆ บนภูเขา ลำธารเหล่านี้ล้วนไหลลงสู่แม่น้ำสายบุรี @ ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่วัฒนธรรมนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำสวนยางพารา สวนไม้ผล ทุเรียน ลองกอง แบ่งเขตวัฒนธรรมเป็น ๒ แบบ คือ ! “นิ เ วศวั ฒ นธรรมภู เ ขา” มี ก ลุ ่ ม บ้ า นตั ้ ง อยู ่ บ ริ เ วณที ่ ร าบแคบๆ ระหว่างภูเขา กลุ่มบ้านในเขตภูเขาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบ้านใหม่ที่คนจาก ภายนอกอพยพมาบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อเกษตรกรรม ชื่อบ้านในเขตนี้มี การตั้งชื่อตามชื่อของสายลำธารในบริเวณนั้น อาทิ บ้านไอร์แตแต บ้าน ไอร์บาลิง บ้านไอร์จูโจ๊ะ เป็นต้น ! ในภาษามลายูคำว่า “ไอร์” แปลว่า “สายน้ำ” ในพื้นที่นิเวศวัฒนธรรมนี้มีชื่อพื้นที่ที่มีคำว่า “ไอร์” นำหน้าร่วมร้อยชื่อ วิถีชีวิตของคนใน ท้องถิ่นสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศสภาพ แวดล้อมของท้องถิ่นที่ตนอยู่ นอกจากวิถีชีวิต ที่สัมพันธ์กับภูเขาและที่ราบลุ่มแล้ว ท้องถิ่นที่ อยู่ใกล้แม่น้ำก็มีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับสายน้ำ อีกด้วย ! อี ก กลุ ่ ม หนึ ่ ง คื อ “นิ เ วศวั ฒ นธรรมที ่ ราบลุ่ม” มีกลุ่มบ้านที่ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มทุ่งนา ระหว่างภูเขากับแม่น้ำสายบุรี ท้องถิ่นนี้มี ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเก่าแก่ที่สืบอายุได้เกือบ ๒๐๐ ปี อาทิ บ้านซากอ บ้านตอแล บ้านตามุง ในอำเภอศรีสาคร ! แม่ น ้ ำ สายบุ ร ี เ ป็ น แม่ น ้ ำ เดี ย วที ่ ย ั ง ไม่ ม ี การสร้างเขื่อนขวางกั้นแต่ใช่ว่านโยบายของรัฐ ๑๒
ไม่เคยมีความคิดนี้สำหรับแม่น้ำสายบุรี ตลอดที่ผ่านมาเคยมีนโยบายการ สร้างเขื่อนสายบุรีหลายครั้งหลายคราจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ได้รับการต่อต้านจากคนในท้องถิ่นที่อยู่ตลอดลำน้ำสายบุรี ! ในเขตทิวเขาสันกาลาคีรี ผู้คนในท้องถิ่นที่อยู่ใกล้แม่น้ำพวกเขาใช้ ทรัพยากรจากแม่น้ำทุกฤดูกาล โดยเฉพาะหน้าฝนที่มีน้ำมากและมีปลา และกุ้งมากด้วย ชาวบ้านแถบนี้สร้างเครื่องมือจับปลาที่มีลักษณะเฉพาะ ตามภูมิประเทศและช่วงฤดูกาล แม่น้ำสายบุรีที่ไหลผ่านเขตภูเขายาม ฤดูฝนมีน้ำเชี่ยวไหลแรง เครื่องมือจับปลานี้ เรียกชื่อตามคำท้องถิ่นว่า “ซูแก” “ซูแก” เครื่องมือจับปลาภูมิปัญญาท้องถิ่น
@ เครื่องมือจับปลาชนิดนี้รูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแนวยาว ประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร และเปิดที่ด้านบน ตั้งอยู่กลางลำน้ำบริเวณที่มี น้ำไหลเชี่ยว สร้างด้วยไม้ไผ่ ทำเป็นฝาทั้งสามด้าน ตอกยึดอยู่กลางลำน้ำ ด้วยท่อนไม้กลมที่มีขนาดและความยาวต่างกันตามความลึกและความแรง ของน้ำ ! การทำซูแกต้องใช้แรงงานหลายคน ดังนั้นกิจกรรมจับปลาด้วย เครื่องมือขนาดใหญ่เช่นนี้ต้องลงขันช่วยกันตามขนาดของซูแก ซูแกใหญ่ อาจมีคนทำร่วมกันถึง ๑๐ คน พวกเขาจะเริ่มสร้างซูแกในช่วงฤดูร้อนที่ ซู แ กหรื อ เครื ่ อ งมื อ ประมงที ่ ท างภาคกลางเรี ย กว่ า “โพงพาง” ที ่ ต ั ้ ง ขวางลำน้ ำ บริ เ วณ ต้นน้ำสายบุรี ในอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
เมื่อฝนตกและน้ำขึ้นสูงครั้งแรก เป็นเวลาที่ดีที่สุดของชาวซูแก เพราะพวก เขาอาจจับปลาได้มากถึง ๔๐๐-๕๐๐ กิโลกรัมต่อครั้งสำหรับซูแกที่มี ขนาดใหญ่ และซูแกบางแห่งได้กุ้งถึง ๒๐๐-๓๐๐ ตัว และหลังจากนั้น พวกเขาจะได้ปลาน้อยลง หากซูแกที่มีขนาดเล็กหรือสร้างอย่างไม่แข็งแรง มั่นคงก็จะพังลงเพราะแรงน้ำ และน้ำขึ้นสูงครั้งที่สองหรือสาม ซูแกส่วน ใหญ่มักจะพังลงเพราะน้ำไหลเชี่ยวจากเทือกเขาที่สูง รวมทั้งปริมาณน้ำ มากมายพัดพาท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ มาชนและติดค้าง ซูแกแม้้แข็งแรง มากเท่าใดก็มักจะพังลงเพราะต้านทานแรงธรรมชาติไม่ได้นั่นเอง ! ซูแกจึงไม่ใช่เครื่องมือจับปลาที่อยู่กลางลำน้ำอย่างถาวร แต่เป็น เครื่องมือที่สร้างขึ้นเฉพาะเวลาและฤดูกาล ที่เมื่อหมดสิ้นฤดูกาลจับปลา สิ่งเหล่านี้ก็หายไปพร้อมกับสายน้ำเชี่ยว การเปลี่ยนแปลง
! ในแต่ละปีจะมีการสร้างซูแกเพิ่มมากขึ้นบนลำน้ำที่มีสภาพแวดล้อม แบบเชิงเขาซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ เนื่องจากบริเวณที่จะตั้งทำซูแกได้มี พื้นที่จำกัด จึงเกิดกรณีพิพาทในการจับจองบริเวณร่องน้ำที่ดีในการ สร้างซูแก บางทีตกลงระหว่างกันไม่ได้ต้องใช้คนกลางอย่างกำนัน มาตัดสิน เครื่องมือจับปลา “ซูแก” ในยามต้นฤดูฝน บริเวณบ้านซากอ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
! แต่หน่วยงานราชการ สำนักเจ้าท่าภูมิภาคมีหนังสือราชการแจ้งถึง องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประจำทุกปีเรื่องการห้ามปลูกสร้างอาคาร หรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำน้ำเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า แต่มักจะเป็น เรื่องพิธีกรรมที่ชาวบ้านไม่รับรู้ นอกจากนั้นก็พบปัญหาจำนวนปลาและ กุ้งที่ลดลงทุกปี เกิดจากการบุกเบิกพื้นที่เพื่อปลูกยางพารา การใช้ยาเบื่อ กุ้งปลาในเขตต้นน้ำ @ จากระยะทางร่วม ๒๐๐ กิโลเมตรจากต้นน้ำสายบุรีที่อยู่บนเทือกเขา สูงชายแดนไทย-มาเลเซีย ผ่านภูมิประเทศที่หลากหลายทำให้เกิดท้องถิ่น ที่มีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรม อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่ยัง ไม่มากนัก นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการศึกษา รู้จัก ศึกษา เข้าใจ ภูมิวัฒนธรรมแบบเทือกเขา-แม่น้ำแห่งหนึ่งที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจาก การทำลายระบบนิเวศด้วยการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ! ผู้คนในเทือกเขาสันกาลาคีรีและที่ราบลุ่มแม่น้ำสายบุรี ในวันนี้ พวก เขายังคงดำรงวิถีคนหาปลาตามที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ แท้จริงในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินและการสับเปลี่ยน ของกลางคืนและกลางวันนั้น ล้วนเป็นสัญญาณสำหรับ บรรดาผู้มีวิจารณญาณ อัลกุรอาน ๔ : ๑๙๐
วันเล็ก-ประไพรำลึกครั้งที่ ๑๑ “ปฎิ บัติ ก ารประวั ติ ศาสตร์ ท้องถิ่น” วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ! มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ถือโอกาสเนื่องในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงคุณเล็กและคุณประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้ก่อตั้งเมืองโบราณและดำเนินกิจกรรมทางสังคมอีก มากมาย นอกเหนือไปจากกลุ่มธุรกิจด้านต่างๆ ตลอดหลายปีที่ ผ่านมา เริ่มเมื่อ ๑๑ ปีที่แล้วมูลนิธิฯ มีการจัดเสวนาทั้งเรื่องการ สืบและประกาศเจตนารมณ์แนวทางในการสร้างเมืองโบราณของ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ การนำชมการอบรมให้ความรู้ในเรื่องของ เมืองโบราณที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ และเรื่อยมาจนถึง แนวทางการศึกษาท้องถิ่นเพื่อรู้จักท้องถิ่น เช่น การเรียนรู้เรื่อง การสร้างประวัติศาสตร์บอกเล่า การเรียนรู้เรื่องแผนที่เพื่อใช้งาน กับการศึกษาท้องถิ่น ฯลฯ แนวทางและวิธีการต่างๆ เหล่านี้เป็น แนวทางการทำงานหลักของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ตลอด มาจนถึงปัจจุบัน ! เนื่องในวันเล็ก-ประไพ รำลึกครั้งที่ ๑๑ มูลนิธิฯ จัดให้มีการ อบรมเรื่อง ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในระหว่างวันที่ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
๑๓
ตุ ล าคม-ธั น วาคม ๒๕๕๖
๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ และได้รับความร่วมมือจากค่ายริมขอบฟ้า และเมืองโบราณ สมุทรปราการ โดยเชิญกลุ่มท้องถิ่นต่างๆ ที่สนใจใน การศึกษาและทำงานเพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์และภูมิวัฒนธรรมของท้อง ถิ่นของตนเข้าร่วม ๕ กลุ่ม ! แต่ละกลุ่มมีจำนวนผู้เข้าร่วมการอบรมสัมมนากลุ่มละ ๘-๑๐ คน ประกอบด้วย กลุ่มพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี ตัวแทนจากโรงเรียนบ้านแพรกวิทยาเป็นกลุ่มนักเรียนที่ทำกิจกรรมนำ ชมพิพิธภัณฑ์มาพร้อมกับผู้ก่อตั้งและดูแลพิพิธภัณฑ์คือ อาจารย์ ประสาร เสถียรพันธุ์ กลุ่มพิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่ง ดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างเป็นทางการมาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว มีอาจารย์ที่ปรึกษาของยุวมัคคุเทศก์ อาจารย์รุจิรา เชาวน์ธรรม และ ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ มณีรัตน์ แก้วศรี ร่วมกับเด็กๆ อาสาสมัคร ยุวมัคคุเทศก์์วัยรุ่นจำนวนหนึ่ง ทั้งสองกลุ่มนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ใช้กำลังหลักในการจัดการและดูแลจากโรงเรียนมัธยมในพื้นที่ เพียง แต่พิพิธภัณฑ์จันเสนนั้นอยู่ในความดูแลของวัดจันเสนและองค์การ บริหารส่วนตำบลที่ทำให้การบริหารงานดูออกจะมีความชัดเจนและ ทำงานอย่างต่อเนื่องและจริงจังได้มากกว่าที่บ้านแพรก
!
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มครูอาจารย์ พระสงฆ์ และผู้สนใจในท้องถิ่น สมุทรปราการ ซึ่งที่ผ่านมาเมืองโบราณ บางปู ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดให้มี โครงการเผยแพร่ ค วามรู ้ แ ก่ ค รู ใ นท้ อ งถิ ่ น และการจั ด พิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ อ ยู ่ หลายแห่ง และเพิ่งเริ่มมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แนวทางการศึกษาท้องถิ่น กับมูลนิธิฯ ในโอกาสวันเล็ก-ประไพรำลึก ! จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันราชภัฏ สกลนคร ส่วนมากแล้วมาจากคณะครุศาสตร์ที่มีความสนใจในงาน ศิ ล ปวั ฒ นธรรมพื ้ น บ้ า นและประวั ต ิ ศ าสตร์ ว ั ฒ นธรรมของท้ อ งถิ ่ น แม้จะไม่ใช่คนที่เกิดจากภูมิลำเนาในเมืองสกลนครโดยตรง แต่เมื่อเกิด กรณีต่อต้านการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบซึ่งเป็นการผลักดันของคณะ สงฆ์วัดธรรมกายที่ดอนสวรรค์อันเป็นพื้นที่สาธารณะในหนองหารและ มี ค วามสำคั ญ ต่ อ ความทรงจำและประวั ต ิ ศ าสตร์ ส ั ง คมของคนเมื อ ง สกลนคร น้องๆ เหล่านี้ออกมาช่วยกิจกรรมของท้องถิ่นและกลุ่มรักษา ดอนสวรรค์ที่เป็นแกนนำสร้างความตื่นตัวทางสังคมและเป็นกำลังในการ ทำงาน ปัจจุบันการออกโฉนดดังกล่าวดูเหมือนจะจบวาระเพราะติดขัด ทางกฎหมายและผิดจารีตศีลธรรมนานาประการ น้องๆ นักศึกษากลุ่มนี้ ก็ดูเหมือนจะรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางสังคมและมีความพยายามจะ รวบรวมและช่วยกันสร้างประวัติศาสตร์สังคมของตนเอง โดยมี คุณ จักรพงษ์ วงศ์กาฬสินธุ์ ผู้อาวุโสในเมืองสกลนครท่านหนึ่งเป็นผู้ให้ คำแนะนำอย่างใจดี ! ทางภาคใต้กลุ่มจากยุวชนสร้างสรรค์สุราษฎร์ธานี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ ๓ ติดต่อกันแล้วที่ทั้งเยาวชน ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ตลอดจนพี่เลี้ยงที่ เป็นเยาวชนรุ่นพี่มาร่วมงานอบรมประจำปีกับมูลนิธิฯ เนื่องจากเป็นกลุ่ม เครือข่ายที่มีเด็กและเยาวชนทั่วทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นสมาชิก จึ ง ผลั ด เปลี ่ ย นหมุ น เวี ย นกั น มาร่ ว มกิ จ กรรม แม้ จ ะยั ง ไม่ เ คยนำ กระบวนการศึกษาท้องถิ่นต่างๆ ที่ได้รับการแนะนำไปทดลองปฏิบัติ อย่างจริงจังในโครงการของกลุ่มก็ตาม แต่คาดหมายได้ว่าน่าจะมีผลต่อ วิธีคิดและปฏิบัติการโครงการที่กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ที่มีเครือข่ายการ ๑๔
ทำงานเรื่องการศึกษาและกระบวนการถ่ายทอดดนตรีนาฏศิลป์ท้องถิ่น อย่างจริงจังมาโดยตลอด ! กลุ่มสุดท้ายจากในพื้นที่ทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีกลุ่มนิเวศ วัฒนธรรมชายแดนใต้เป็นกลุ่มหลัก มีตัวแทนจากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ขุนละหารและมีหนุ่มๆ รวมกลุ่มในท้องถิ่นออกศึกษาสภาพแวดล้อม อธิบายเรื่องราวต่างๆ ในท้องถิ่นของตนเองคือ กลุ่ม Saiburi Looker และแว้งที่รัก สถาปนิกจากกลุ่มศึกษาสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ซึ่งส่วน ใหญ่รู้จักกันจากเครือข่ายทางสังคมที่ใช้ “เฟสบุ๊ก” เป็นสื่อกลางเพราะ เหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่รวมทั้งระยะทางห่างไกล พวกเขาไม่มี โอกาสได้รวมตัวพบปะกันมากนัก สิ่งที่ทำงานกันผ่านมาถือว่าเป็น รูปธรรมอย่างชัดเจนที่ทำให้คนภายนอกจากสังคมไทยส่วนใหญ่ผู้ไม่มี โอกาสได้ทำความเข้าใจในคนมลายูท้องถิ่นและประเพณีปฏิบัติทางสังคม ของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามได้เข้าใจในสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตและ ความนึกคิดของผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งในพื้นที่แห่งความรุนแรงที่เสียงของ ชาวบ้านธรรมดาหรือเสียงของผู้คนซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นดินเกิดทางใต้สุด มักแผ่วเบาและไม่มีข้อมูลปรากฏมากนัก อันทำให้เกิดความไม่เข้าใจซึ่ง กันและกันตามมา ! กลุ่มทางสามจังหวัดชายแดนใต้ที่เข้าร่วมกิจกรรมในช่วงสองปีหลัง มานี้ นอกจากจะนำแนวคิดจากมูลนิธิฯ ไปใช้ในการปฏิบัติการศึกษาและ รวบรวมข้อมูลท้องถิ่นได้แล้ว ก็ยังทำหน้าที่ได้ชัดเจนในการเปิดโอกาสให้ ผู้คนในสังคมที่มาจากภูมิภาคอื่นๆ ได้เข้าใจคนและสังคมของตนเองที่ดู เหมือนในอดีตจะมีเพียงความลึกลับและน่ากลัว เป็นภาพเพียงมิติเดียว แต่การอยู่ร่วมกันในเวลาเพียงไม่นานกลับทำให้เกิดความคิด ความรู้สึก และความเข้าใจที่แตกต่างไปจากเดิมในกลุ่มผู้ร่วมงานอบรมปฏิบัติการฯ นี้อย่างชัดเจน ! ในการอบรมความรู้ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นครั้งนี้ได้รับ โอกาสจากคุณปั้น ทองธิว ตัวแทนเมืองโบราณและผู้สืบสานความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์มาร่วมเปิดงานอบรมและเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ การทำงานของเมืองโบราณในบรรยากาศของสังคมและเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของประเทศไทยในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา และ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่ปรึกษามูลนิธิฯ บรรยายเรื่อง “ความรู้เบื้อง ต้นเรื่อง ‘ภูมิทัศน์ท้องถิ่น’ [Local Landscape] และความหมายของ นิเวศวัฒนธรรม ภูมิวัฒนธรรม และชีวิตวัฒนธรรม” และวิทยากรจาก มูลนิธิฯ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ บรรยายเรื่อง “ความสำคัญของ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในประเทศไทย” สุดารา สุจฉายา บรรยายเรื่อง “การนำเอาข้อมูล ท้องถิ่นไปเขียนงานสารคดีและบทนิทรรศการ” ! นอกจากนี้ยังมีวิทยากรรับเชิญคนสำคัญผู้เขียนงานประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นเล่มสำคัญของสามจังหวัดชายแดนใต้ พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม บรรยายเรื่อง “การเขียนประวัติศาสตร์ปาตานี” H มูลนิธิฯ ยังทำเอกสารประกอบการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อสร้างความ เข้าใจพื้นฐานให้แก่ผู้อบรมฯ นำไปทบทวนแนวคิดในการทำงานสร้าง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในเอกสารประกอบด้วย “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ประวัติศาสตร์ของสังคมที่หายไป” เรื่อง ศรีศักร วัลลิโภดม เรียบเรียง วลัยลักษณ์ ทรงศิริ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : แนวคิดและวิธีการ” โดย จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
งานวั นเล็ก -ประไพ รำลึ ก ครั ้ ง ที ่ ๑๑ “ปฏิ บ ั ต ิ ก าร ประวั ต ิ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ ่ น ”
จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
๑๕
ตุ ล าคม-ธั น วาคม ๒๕๕๖
ศรีศักร วัลลิิโภดม “เพื่อมาตุภูมิ” เรื่อง ศรีศักร วัลลิโภดม เรียบเรียง วลัยลักษณ์ ทรงศิริ “การศึกษาสังคมไทยผ่านภูมิวัฒนธรรม” เรื่อง ศรีศักร วัลลิโภดม เรียบเรียง วลัยลักษณ์ ทรงศิริ “พื้นที่ทาง วัฒนธรรม : การโต้กลับทางภูมิปัญญาของคนใน” โดย ศรีศักร วัลลิิโภดม “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : พัฒนาการโดยย่อ” โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
! ในช่วงเวลา ๓ วันนี้ แม้เป็นเวลาไม่มากนัก แต่ผู้เข้าร่วมอบรมทุก ท่านก็ใช้เวลาอย่างมีค่าและกระตือรือร้นมากที่สุด เมื่อสดับฟังความรู้ และตั้งวงพูดคุยกันแล้วยังมีการชมเมืองโบราณในช่วงเวลาเกือบครึ่งวัน จากนั้นจึงเป็นการนำเสนอปัญหาในการทำงานเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นของแต่ละกลุ่มซึ่งมูลนิธิฯ บันทึกเป็นข้อมูลเพื่อทำงานกับชุมชน ต่างๆ ในการทำงานเผยแพร่เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการศึกษา ท้องถิ่นต่อไป
เมื่อไปร่วมกิจกรรม
! อย่างไรก็ตามกลุ่มของเรา เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ถือว่า เป็นกลุ่มที่เริ่มต้นใหม่ การที่ได้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้จึงเป็นการมาเพื่อ เป็นการเปิดโลกทัศน์ทางวิชาการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์รวมไป ถึงการบอกเล่าถึงปัญหาในการจัดการสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการลงพื้นที่เพื่อการศึกษาเรื่องราวของ ท้องถิ่นของตนเอง ! ทั ้ ง นี ้ ก ่ อ นการเข้ า ร่ ว มอบรมทางกลุ ่ ม ก็ ไ ด้ ม ี โ อกาสรั บ ฟั ง การ บรรยายของ คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเล็ก–ประไพ วิริยะพันธ์ุบ้างแล้ว การรับฟังในครั้งนั้นก่อให้เกิดกระบวนการคิดให้ กับกลุ่มในการทำงานที่เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาประวัติศาสตร์ อีกด้วย ! การจัดโครงการของมูลนิธิเล็ก–ประไพ วิริยะพันธุ์ ในครั้งนี้จึง เป็ น การให้ โ อกาสกั บ กลุ ่ ม ต่ า งๆ ในท้ อ งถิ ่ น ได้ ร ่ ว มแลกเปลี ่ ย น กระบวนการและรูปแบบวิธีการศึกษาและการเขียนประวัติศาสตร์ เพื่อ จะนำไปปรับใช้แก้ปัญหาในการจัดสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของ ตนเอง การศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน จัดเป็นการศึกษาแต่เฉพาะ ที่มาจากส่วนกลางโดยเรียนรู้เรื่องราวของการสร้างชาติเท่านั้น หาก แต่เรื่องราวซึ่งนำมาสู่ตัวตนของความเป็นชุมชนที่เราอาศัยอยู่ไม่ได้ รับการเหลียวแลและมักจะขาดการบอกเล่า จนจางหายไปจากความ ทรงจำของคนในชุมชน ! การที่ทางกลุ่มของเราได้เข้าร่วมบอกเล่า ปัญหาและแลกเปลี่ยนเรื่องราววิธีการศึกษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนนั้น เป็นผลดีต่อ พั ฒ นาการศึ ก ษาประวั ต ิ ศ าสตร์ ท ้ อ งถิ ่ น ของ ตนเองอย่างยิ่ง การศึกษาประวัติศาสตร์ท้อง ถิ่นเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะได้เรียนรู้ตัวตนของ ตนเอง อย่างไรก็ตามการเข้ารับการอบรมครั้ง นี้ก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะนำความรู้จาก การอบรมมาใช้ในท้องถิ่นของตนเองในด้าน แนวคิดและวิธีการศึกษาท้องถิ่นของตนเอง ! การเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ทำให้ได้วิธี คิ ด และแนวทางที ่ ห ลากหลาย โดยเฉพาะ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่ง ที่ได้ปลุกกระแสในการสร้างสำนึกการเรียน รู ้ ป ระวั ต ิ ศ าสตร์ ท ้ อ งถิ ่ น ในจั ง หวั ด สกลนคร
“ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”
ที่เมืองโบราณ
อลิสา ทับพิลา กลุ่มศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
! การเข้ า ร่ ว มโครงการอบรมปฏิ บ ั ต ิ ก ารประวั ต ิ ศ าสตร์ ท ้ อ งถิ ่ น ณ ค่ายริมขอบฟ้า เมืองโบราณ สมุทรปราการ ระหว่างวันที่ ๑๐–๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมาทำให้กลุ่มเยาวชนผู้สนใจประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นจังหวัดสกลนครได้รับความรู้และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ กลุ่มที่ทำงานในท้องถิ่นต่างๆ ได้รับฟังการบรรยายทางวิชาการจาก วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน การที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในครั้งนี้ยัง ทำให้ ไ ด้ ร ั บ ทราบรู ป แบบวิ ธ ี ค ิ ด และกระบวนการทำงานของกลุ ่ ม ที ่ ทำงานในท้องถิ่นต่างๆ หลายแห่ง อีกทั้งยังได้รับฟังเรื่องราวของวิธี การเขี ย นประวั ต ิ ศ าสตร์ ป าตานี ซ ึ ่ ง ไม่ เ คยรู ้ ไ ม่ เ คยได้ ร ั บ ฟั ง มาก่ อ น ซึ่งท่านวิทยากรก็ได้ให้แนวคิดและวิธีการเขียนมามากทีเดียว
๑๖
จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
มาก่ อ นแล้ ว การบรรยายของท่ า นได้ ส อดแทรกแนวคิ ด และ กระบวนการวิธีการทำงานด้านประวัติศาสตร์ได้เป็นที่น่าสนใจได้เป็น อย่างดี และอีกท่านหนึ่งคือ คุณสุดารา สุจฉายา เจ้าหน้าที่มูลนิธิเล็ก– ประไพ วิริยะพันธ์ุ บรรยายเรื่องของการเขียนบทนิทรรศการจากข้อมูล ที่มีอยู่ในท้องถิ่นก็ทำให้ทางกลุ่มได้แนวคิดเพื่อที่จะนำไปปรับปรุง แนวคิดและวิธีการดำเนินงานในการลงพื้นที่การทำงานเพื่อให้เกิดการ ต่อเนื่องและให้ได้ข้อมูลที่ต่อเนื่องให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง และครบถ้วน อีกทั้งเป็นการเสริมการเรียนรู้รูปแบบการเขียนผลงาน เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ตั้งแต่บทเริ่มต้นไปจนถึงบทสรุปอย่างมี ระเบียบหลักการ
นั ก เฝ้ า มองแห่ ง สายบุ ร ี SAIBURI LOOKER จิรนันท์ กิจสนิท, พัชญาภรณ์ เชื้อเมืองพาน, นิชาภา อินทะอุด
นักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
@ ห้วงแห่งความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้นานเกือบ ๑๐ ปี ทำให้คนภายนอกแทบจะไม่มีการรับรู้เลยว่าคนในพื้นที่เป็นอยู่และใช้ ชีวิตกันอย่างไร พื้นที่ในท้องถิ่นนี้ปกคลุมด้วยความหม่นมัวและอึมครึม จากสายตาผู ้ค นในสั งคมไทยซึ่ง กำหนดตนเองให้ อยู่ ไกลๆ โดยไม่ พยายามเข้าใจหรือไม่ก็ไม่มีเรื่องราวข้อมูลมากพอที่สามารถสื่อสารออก ไปในสังคมได้ ! แต่เมื่อไม่นานมานี้มีปรากฏการณ์เปลี่ยนโฉมหน้าสังคมและการ ติดต่อของคนทั้งโลกใหม่ในระบบการสื่อสารที่มีพลังและประสิทธิภาพ มหาศาล การสร้างเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เช่น Facebook กลายเป็น จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
! กิ จ กรรมการอบรมในครั ้ ง นี ้ เ ป็ น กิ จ กรรมที ่ ท ำให้ เ กิ ด การ แลกเปลี่ยนแนวความรู้ จากท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทำให้เกิด แนวคิดต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ ทางกลุ่มขอขอบคุณมูลนิธิเล็ก–ประไพ วิริยะพันธุ์ที่ได้จัดโครงการที่ปลุกจิตสำนึกและให้ความรู้ด้านทักษะ กระบวนการ วิธีการในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ส่งเสริม การเรียนรู้เรื่องราวในชุมชน โดยคนในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการและที่ สำคั ญ ยั ง ทำให้ เ กิ ด เครื อ ข่ า ยหรื อ กลุ ่ ม กระบวนการทำงานทาง ประวัติศาสตร์ ในพื้นที่เพื่อให้เกิดการวางรากฐานของการสำนึกรักและ หวงแหนพร้อมสามารถบอกเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นของตนได้อย่างน่า สนใจ และสามารถไปเผยแพร่ต่อได้อย่างเกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชน ตนเองและประเทศชาติต่อไป
ช่องทางที่ใครในโลกนี้ก็สามารถสร้าง “สื่อ” ของตนเองได้ และไม่รอคอย โอกาสจากคนภายนอกที่จะเข้ามานำเอาเรื่องราวของตนเองหรือท้องถิ่น ออกไปประกาศแทน แต่ทุกคน “พูด” ถึงตัวเองได้โดยมีรายละเอียดที่ถูก ต้อง แสดงทัศนะต่อปัญหาและการมองโลกได้อย่างที่ตั้งใจไม่ต้องมี ตัวแทนในการสื่อสาร อาจจะเป็นการพลิกโลกแห่งความหม่นมัวและอึม ครึมนั้นให้กลายเป็นพื้นที่แห่งแสงแดดและความสว่างสดใสอย่างคาดไม่ ถึงได้ทีเดียว ! คนหนุ่มกลุ่มหนึ่งในอำเภอสายบุรีรวมตัวกันสร้างเพจในเฟสบุ๊กบอก เล่าถึงชีวิตของตนเอง บ้านเมือง สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวที่สวยงาม ความรู้สึก ความรัก ความใฝ่ฝัน การออกเดินทาง และความทรงจำบอก เล่าผ่านเรื่องราว ภาพถ่าย หนังสั้น รูปแบบการสื่อสารต่างๆ เท่าที่คน หนุ ่ ม อย่ า งพวกเขาจะถ่ า ยทอดประสบการณ์ ใ นบ้ า นเกิ ด เมื อ งนอนที ่ สวยงามแห่งหนึ่งได้ พวกเขาเรียกตนเองว่า SAIBURI LOOKER @ พวกเขาเป็นเพื่อนบ้านกันอายุตั้งแต่ ๒๒-๓๓ ปี ได้รับการศึกษาทั้ง จบจากกรุงเทพฯ สงขลา ยะลา และในบ้านเกิด ต่างกลับมาพบปะ สังสรรค์กันตามร้านน้ำชาพูดคุยกันตามแบบชีวิตคนท้องถิ่น เมื่อกลับ บ้านมาแล้วก็ทำอาชีพหลากหลายมีทั้งครู นักธุรกิจค้าขาย และทำ งานพาณิิชย์ศิลป์ การเติบโตและใช้ชีวิตในพื้นที่แห่งความรุนแรงเป็นเรื่อง ไม่ง่ายนัก แต่พวกเขาก็มีแง่งามของชีวิตและเห็นความหมายและความ ลึกซึ้งของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ไม่เคยคิดจะละทิ้งไป ๑๗
ตุ ล าคม-ธั น วาคม ๒๕๕๖
ฮับฮาร์ เบญจมนัสกุล และอานัส พงศ์ประเสริฐ แห่ง SAIBURI LOOKER
! ! ใน Facebook พวกเขาใช้ [www.facebook.com/saiburilooker] นำ เสนอเรื่องราวของคนในสายบุรีผ่านเลนส์กล้องเพราะพวกเขาแม้เป็นมือ สมัครเล่นแต่มีพื้นฐานความรักและชอบในการถ่ายภาพ เริ่มต้นด้วยคน ๖ คนที่ชอบท่องเที่ยวและถ่ายภาพ ! SAIBURI LOOKER สำหรับพวกเขามีความหมายว่า “มุมมองของ ผู้คนในการมองความเป็นสายบุรี” เพื่อนำเสนอประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสายบุรี โดยสื่อออกมาทาง ภาพถ่าย ผ่านมุมมองของผู้ดูแลเพจทั้ง ๖ คน ไม่จำกัดว่าจะต้องนำเสนอ แต่เรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวเก่าๆ ในอดีตเท่านั้น แต่ จะนำเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแต่อาจถูกมองข้ามไป และเรื่อง ราวเหตุการณ์สำคัญ สถานที่สำคัญซึ่งถูกละเลยปล่อยทิ้งไว้ ทางทีมงาน สายบุรีลุกเกอร์ก็จะไปสืบเสาะศึกษาเรื่องราวเหล่านั้น ถ่ายทอดออกมา เป็นภาพถ่าย พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาชมได้เข้าใจใน มุมมองที่ช่างภาพต้องการที่จะสื่อออกมาได้ @ พวกเราพบตัวแทนของหนุ่มๆ SAIBURI LOOKER ในงานอบรม “ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” เนื่องในวันเล็ก-ประไพรำลึกครั้งที่ ๑๑ ที่ค่ายริมขอบฟ้าและเมืองโบราณ บางปู สมุทรปราการ พวกเขาเริ่ม ต้นด้วยการเล่าถึงบ้านเกิดที่สายบุรีว่า มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
! ช่วยเล่าเรื่องความเป็นมาของท้องถิ่นของ SAIBURI LOOKER สั้นๆ หน่อยนะคะ และมีเหตุผลอย่างไรจึงสร้างเพจชื่อนี้ขึ้นมา อานัส พงศ์์ประเสริฐ
! สายบุรีเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตและเป็นเมืองท่า ที่สำคัญของจังหวัดปัตตานีประชาชนในพื้นที่จะประกอบอาชีพการประมง ๑๘
ซึ่งมีทั้งประมงชายฝั่งและประมงขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งติดชายฝั่งทะเล ที่ราบชายฝั่งและเชิงเขารวมทั้งมีภูเขา ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ราว ๘๐ เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาพุทธราว ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ! เพราะสายบุ ร ี เ ป็ น เมื อ งที ่ ม ี ป ระวั ต ิ ศ าสตร์ ค วามเป็ น มาของผู ้ ค น ที่หลากหลาย ทำให้เราอยากจะบันทึกเรื่องราวเหล่านั้นไว้ บวกกับเราไป เห็นเรื่องราวของที่อื่นด้วย เช่นที่ เชียงคาน เราเห็นแล้วแบบ เฮ้ย!! น่า สนใจดีมากที่มีคนทำแบบนี้ แล้วนำเรื่องราวเหล่านี้มาโพสต์แบ่งปันกันใน เฟสบุ๊กจะได้หาความรู้กันได้ง่าย เลยคิดกันว่า “ในเมื่อบ้านเราก็มีของดี เหมือนกันก็น่าจะทำอะไรกันบ้างเพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นถูกหลงลืมไปตาม กาลเวลา” มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
@ เป้าหมายของเพจ SAIBURI LOOKER คืออะไร ? อานัส พงศ์์ประเสริฐ
! เด็กยุคใหม่สมัยนี้ รวมทั้งผมด้วย บางคนไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่า สายบุรีมีร่องรอยความเจริญที่หลากหลาย รุ่งเรืองมากในอดีต แน่นอน ล่ะ รุ่นหลานๆ ต่อไปจบแน่ๆ คิดกันว่า “จะทำยังไงให้เขาได้รู้มากกว่าที่ เรารู้” ลอง “ค้นหาเรื่องราวเก่าๆ ในสายบุรีมาใส่ในความทรงจำใหม่” ขนาดตัวผมเอง บางเรื่องยังไม่รู้ แต่พอรู้แล้วก็อยากให้คนอื่นได้รู้เรื่อง ราวเหล่านี้ด้วย เลยเอามาโพสต์ลงเฟสบุ๊ก ! สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายหลักของ SAIBURI LOOKER แต่เป้า หมายลึกๆ เราหวังว่าพื้นที่เล็กๆ ตรงนี้สร้างการมีส่วนร่วม ในการเชื่อม ความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมที่เคยเป็นมาใน อดีต เคยสังสรรค์กันยังไงก็ให้เป็นเหมือนเดิม อยากเห็นภาพบรรยากาศ เดิมๆ ที่ชาวมุสลิมมีความสัมพันธ์กับคนพุทธ มีกิจกรรมการละเล่นร่วม กัน เคยร่วมงานด้วยความสนุกสนานมีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ! แต่ทุกวันนี้ภาพพวกนี้หาดูยาก แต่ผมยังมีความเชื่อลึกๆ ว่า ชาวสายบุรีก็ยังอยากเห็นภาพเหล่านั้นกลับคืนมาอีกครั้งในอนาคต จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
@ ทำไมถึงเลือกที่จะทำเพจใน Facebook เป็นตัวสื่อให้คนได้รับรู้ ? อานัส พงศ์์ประเสริฐ
H ในสังคมปัจจุบันข่าวสารในอินเทอร์เน็ตฉับไวมาก ผมคิดว่าคน เสพข่าวทาง Social Network มากกว่าทางโทรทัศน์เสียอีก และที่สำคัญ ยุคนี้ทุกคนมี Facebook จึงเป็นช่องทางที่ง่าย สะดวก ในการเผยแพร่ เรื่องราวเกี่ยวกับสายบุรีได้ง่าย ! และอีกอย่าง พวกเราสามารถใช้สื่อออกมาทางภาพถ่ายทั้งเก่าและ ใหม่ เพจ SAIBURI LOOKER จึงเป็นช่องทางในการนำเสนอผลงาน ภาพถ่ายของพวกเราไปในตัวด้วย การที่เราสร้างเพจในเฟสบุ๊กนั้นก็เป็น ที่ตอบรับที่ทั้งชาวสายบุรีเองและคนที่เคยมาเที่ยวสายบุรีด้วยก็ล้วนแต่ให้ ความสนใจเข้ามากดไลค์เพจเรา ! โพสต์รูปอะไรลงไปก็มีคนเข้ามาคอมเมนต์ว่า “ใช่เราเคยเห็นภาพ แบบนี้ ที่นี่เราไปเที่ยวมาแล้ว ตรงนี้เรารู้จัก อยู่ใกล้บ้านเรา” นั่นคือเสียง ตอบรับที่ดีตอบกลับมา ! แต่ผมคิดว่า เสียงตอบรับจากคนในพื้นที่นั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบ กับคนนอก เราอยากได้เสียงตอบรับข้อมูลจากตรงนี้มากกว่า ! เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ พวกเราจะสืบค้นข้อมูลของ สถานที่หรือสิ่งของเหล่านั้นก่อนที่จะลงพื้นที่เพื่อศึกษาและสัมภาษณ์ชาว บ้าน หรือผู้ที่จะสามารถให้ความรู้ บอกเล่าข้อมูล ตอบคำถาม ข้อสงสัย ให้ได้ ! ส่วนหนึ่งก็จะอิงจากความเป็นคนในพื้นที่ เคยได้ยินเรื่องราวเหล่านั้น มาจึงคิดที่จะนำกลับมาเสนออีกครั้ง เมื่อได้ทั้งข้อมูลและภาพเก่ามาแล้ว เราลองไปถ่ายภาพจากสถานที่เดียวกันในช่วงเวลาปัจจุบัน เป็นอีกหนึ่ง มุมมองที่สามารถทำให้เราได้เห็นว่า สถานที่เดียวกันกับอดีตแต่ใน ปัจจุบันนั้นมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด แล้วบอกเล่า เรื่องราวว่าสถานที่เหล่านั้นมีอะไร และเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง ! หลายคนอาจคิดว่าในเพจ SAIBURI LOOKER จะนำเสนอแต่เรื่อง ราวของชาวมุสลิมเพียงอย่างเดียวเพราะมีแต่ชาวมุสลิมอยู่เยอะ แต่ไม่ใช่ แบบนั้น พื้นที่เล็กๆ ของ SAIBURI LOOKER จะนำเสนอในทุกเรื่องราว ทุกแง่มุม และทุกความเชื่อของคนในสายบุรี พวกเรานำเสนอในเรื่องของสถานที่ของสายบุรีที่มีความสวยงาม วันวาน ความผูกพันฉันท์พี่น้องที่ดีที่มีต่อกัน โดยละทิ้งเรื่องความต่างใน อุดมการณ์และศาสนาออกไป คนในอำเภอสายบุรีไม่เคยมีความรู้สึก แตกแยกระหว่าง ชาวพุทธ ชาวมุสลิม และชาวจีน เลยอยู่ร่วมกันได้แบบ พหุสังคม ! แต่ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ขึ้นมาก็เหมือนมีเส้น บางๆ ที่กั้นไว้ ผมคิดว่าถึงอย่างไรชาวสายบุรีก็สามารถอยู่ด้วยกัน ได้แบบเดิมที่เคยเป็นมา ! SAIBURI LOOKER ต้องการที่จะถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตของชาว สายบุรีออกมาเป็นสารคดี พร้อมทั้งจัดนิทรรศการการเรียนรู้ของท้อง
จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ถิ่นและจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้พหุวัฒนธรรมของชาวสายบุรีไว้ให้เป็น สถานที่ที่ให้ความรู้แก่คนในพื้นที่และบุคคลที่สนใจ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
@ การทำงานในพื้นที่มีความรุนแรงยังคงปรากฏอยู่เสมอๆ มีปัญหา เรื่องใดบ้างคะ ? อานัส พงศ์์ประเสริฐ
H การออกไปทำงานแบบนี้ในพื้นที่อำเภอสายบุรีและบริเวณใกล้ เคียง ค่อนข้างมีความยุ่งยากและลำบากมาก ทีมงานจะถูกมองในแง่ลบ ทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ จะไม่ค่อยได้รับความ ร่วมมือจากคนในท้องถิ่นเพราะเขาไม่เห็นความสำคัญของประโยชน์ที่ พวกเราทำ ชาวบ้านจะไม่เข้าใจว่าจะได้รับประโยชน์อะไร เพราะสิ่งที่ทำ ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรมเมื่อเทียบกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือศูนย์ความรู้ที่ มีหลักฐานเป็นรูปธรรมชัดเจน ! อุปสรรคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ยังไม่ค่อยมีการตอบรับจากคนใน พื้นที่ อาจจะเป็นเพราะเพจยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่คนสายบุรีเอง ก็ยังให้ความร่วมมือในการแชร์เรื่องราวที่ตนเองรู้หรือบอกกล่าวถึง สถานที่ที่สำคัญเพื่อมาเผยแพร่ให้คนอื่นทราบ ! การทำงานของพวกเรามีอุปกรณ์สำคัญคือ “กล้องถ่ายภาพ” เพราะ ต้องพกพาไปไหนมาไหนในพื้นที่เขตความมั่นคงเป็นปัญหาและอุปสรรค อย่างมาก ถ้าถือกล้องตัวหนึ่งไปตระเวนถ่ายภาพในเขตพื้นที่ความมั่นคง เป็นเรื่องยากมาก มักจะถูกชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จับตาดูทันที เช่น การลงไปในพื้นที่ชุมชนที่ไม่คุ้นเคยไปสอบถามเรื่องต่างๆ ก็อาจจะ ถูกมองจากชาวบ้านว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาสืบหาข้อมูล ถ้าเข้าไปในชุมชน แล้วเจอเจ้าหน้าที่ก็จะถูกสอบถามว่ามาทำอะไรในพื้นที่และจะถูกตรวจ ค้นในทันที บ้างก็จะถูกกล่าวหาว่ามาเก็บข้อมูลในพื้นที่ออกไปทำเรื่อง ไม่ดี พวกเราจึงทำงานได้ค่อนข้างลำบากทีเดียวครับ ! คนภายนอกอาจรับรู้ว่าสายบุรีคือพื้นที่หนึ่งที่มีความรุนแรงใน สามจังหวัดชายแดนใต้ แต่อาจจะไม่ทราบว่าเมืองชายทะเลแห่งนี้มี รากเหง้าความเป็นมาที่ยาวไกลและเต็มไปด้วยร่องรอยของความทรงจำ อันมีค่า มีภาพของสภาพแวดล้อมที่งดงามและมีผู้คนหลากหลายทาง วัฒนธรรม H การเห็นสังคมแต่เพียงมิติเดียวคือปัญหาใหญ่ของเมืองไทย การไม่รู้ จักซึ่งกันและกันยิ่งเป็นสิ่งที่ตอกย้ำความแตกต่าง การลุกขึ้นมาพูดและ สร้างพื้นที่เพื่อให้คนทั้งในท้องถิ่นและคนข้างนอกได้เข้าใจในความงาม และความเป็นจริงของสังคมท้องถิ่นกลายเป็นพลังอย่างเหลือเชื่อและ สร้างความหมายต่อชีวิตผู้คนที่ไม่เคยมีเสียงออกสู่โลกภายนอก แต่เมื่อ คนสายบุรีเริ่มเฝ้ามอง พวกเขาอธิบายต่อโลกได้ด้วยแววตาของคน หนุ่มสาวที่มีพลังไม่รู้จบ H วันนี้พวกเรารู้จัก “สายบุรี” ผ่าน SAIBURI LOOKER แล้วใช่ไหม ? ขอบคุณ คุณอานัส พงศ์ประเสริฐ, คุณฮับฮาร์ เบญจมนัสกุล และทีมงาน SAIBURI LOOKER ทุกท่าน ๑๙
ตุ ล าคม-ธั น วาคม ๒๕๕๖
422(#(+#1#29.
สรุปการบรรยายสาธารณะเรื่อง
อารยธรรมซายฟอง [Say Fong Civilization] มรดกประวัติศาสตร์แบบ อาณานิคม
ศิริรุ่ง ศรีสิทธิพิศาลภพ
! วันพุธที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ มีการบรรยายสาธารณะของมูลนิธิเล็ก-
ประไพ วิริยะพันธุ์ เรื่อง “SAY FONG CIVILIZATION” มรดก ประวัติศาสตร์แบบอาณานิคม โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เจ้าหน้าที่มูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ! มีความเข้าใจมาโดยตลอดว่า “เมืองซายฟอง” นั้นเป็นเมืองเก่าสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งมีอโรคยศาลและกล่าวกันว่า “เป็นพระราช อำนาจของกษัตริย์ชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอมซึ่งอยู่เหนือสุดใน ดินแดนภาคพื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จนแม้การแบ่งช่วงเวลาทาง ประวัติศาสตร์ของชาติลาวก็ยังเรียกช่วงนี้ว่า “อารยธรรมซายฟอง” แต่ หากจะมี ก ารนำเสนอสมมติ ฐ านจากการตรวจสอบหลั ก ฐานทาง โบราณคดีและตรวจสอบข้อมูลใหม่ว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาของการค้น พบหลักฐานต่างๆ จากยุคอารยธรรมซายฟองที่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส บันทึกไว้ และพบว่า “การสร้างอารยธรรมซายฟอง” เป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างประวัติศาสตร์แบบยุคอาณานิคม ก็คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่ อย่างใด ! การบรรยายครั้งนี้มีการเสนอหลักฐานจากการสำรวจประกอบ เพื่อ เสนอว่า “ซายฟอง” เป็นส่วนหนึ่งของบ้านเมืองสองฝั่งโขงในยุคที่ได้รับ อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรและทวารวดี และเป็นส่วนหนึ่งของรัฐศรีโคตร๒๐
บูร ที่สัมพันธ์กับบ้านเมืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำงึมในเขตสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของผู้คน ในพื ้ น ที ่ ท ี ่ ไ ม่ อ าจมองอย่ า งแยกส่ ว นได้ ต ามแบบประวั ต ิ ศ าสตร์ ยุคอาณานิคมที่สร้างกับดักทางความคิดให้ผู้คนในปัจจุบัน ! ประเด็นที่สำคัญคือการศึกษาประวัติศาสตร์ในระหว่างประเทศแบบ รัฐสมัยใหม่ที่ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมเคยวางรากฐานไว้ในแถบประเทศ เพื่อนบ้านก็เป็นตัวก่อปัญหาที่สร้างความซับซ้อนและหนักขึ้นเรื่อยๆ อย่างในกรณีของปราสาทพระวิหารที่ประเทศกัมพูชานำไปขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว เป็นการใช้วิธีคิดโดยจินตนาการแบบการ จำลองความเป็นเจ้าเหนือดินแดนต่างๆ ในรัฐอารักขาสวมเข้าไปในวิธี การเขียนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบยุค อาณานิคม สิ่งนี้สร้างความขัดแย้งให้ประเทศในดินแดนสุวรรณภูมิที่จ้อง จะตีกันเองอย่างกรณีของไทยกับกัมพูชา ทั้งๆ ที่ดินแดนเหล่านี้ไม่เคยมี รูปแบบของรัฐอาณาจักร [Empire State] แต่เป็นเรื่องการเกิดมณฑล แห่งอำนาจและรัฐแบบหลวมๆ [Mandara, in term of historical, social and political sense.] จารึกอโรคยศาลหรือจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
! อย่างจารึกที่ Georges Maspero อ้างว่าพบนี้ คือ “จารึกอโรคยศาล หรือจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗” ระบุศักราชราว พ.ศ. ๑๗๒๙ รูปแบบ หลักหินจารึกสลักลงทั้งสี่ด้าน ภาษาสันสกฤต อักษรขอมโบราณ และ ข้อความเรื่องการสร้างโรงพยาบาลหรืออโรคยศาลคล้ายคลึงกับจารึก พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งพบที่เมืองพิมาย, ด่านประคำ จังหวัดบุรีรัมย์, ปราสาทตาเมียนโตจ, ที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และกู่บ้าน หนองบัว จังหวัดชัยภูมิ และเพิ่งพบอีก ๒ หลักที่จังหวัดร้อยเอ็ดเมื่อไม่กี่ ปีมานี้ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอพระแก้ว ในกรุงเวียงจันทน์์ ส่วนรูปปั้น ที่หมายถึงรูปสลักจากหินทรายแบบลอยตัวที่เชื่อว่าเป็นพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วิหารคดรอบพระธาตุหลวง เวียงจันทน์ ! หลุยส์ ฟีโนต์ [Louis Finot] ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักฝรั่งเศส แห่งปลายบูรพาทิศ เขียนบันทึกที่ให้ข้อสังเกตว่า จารึกหลักนี้เป็นพยาน สำคัญที่ทำให้เห็นการมีอยู่ของ “กัมพูชา” ที่อยู่ไกลเกินกว่าฐานข้อมูล ของเอโมนิเยร์ [Etienne Francois Aymonier] ผู้เดินทางสำรวจโบราณ สถานแบบเขมรในกัมพูชา ไทย ลาว และตอนใต้ของเวียดนามอย่างเป็น ระบบคนแรกและเป็นผู้เชี่ยวชาญการอ่านจารึกโบราณด้วย ! การค้นพบของ Maspero ดังกล่าวและการนำเสนอบทความของ Finot ก็เพียงพอที่จะถูกสืบต่อมาเรื่อยๆ ว่าอำนาจทางการเมืองของเขมร สามารถควบคุมลุ่มน้ำโขงทั้งหมดได้ และอำนาจจากอาณาจักรอัน เข้มแข็งและยิ่งใหญ่แผ่ขึ้นมาสุดที่เมืองซายฟอง ! การนำเสนอแบบนี้คือปัญหาทางวิชาการ เนื่องจากสร้างความ ชอบธรรมแก่ฝรั่งเศสที่ยึดครองลาวได้แล้ว และกัมพูชาที่พนมเปญและ จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
กำลังพยายามขอเสียมเรียบและจังหวัดอื่นๆ ที่สยามครอบครองอยู่ ความเคลื อ บแคลงนี ้ ม ี ก ารวิ เ คราะห์ ต ่ อ มาอย่ า งมากมายถึ ง บทบาท ดังกล่าว เพราะโดยตัวนักสำรวจนั้นเป็นนักวิชาการชาวฝรั่งเศสอยู่ใน ฐานะของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายอาณานิคม ! เมื ่ อ ประกอบหลั ก ฐานทางโบราณสถานและโบราณวั ต ถุ ท ั ้ ง อโรคยศาล ธรรมศาลา จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระพุทธรูปนาคปรก พระไภษัชยคุรุ เป็นต้น ก็กลายเป็นแม่บทให้กับนักศึกษารุ่นหลังเพื่ออ้าง ความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์พระองค์นี้ตามๆ กันมา โดยเน้นสร้างความยิ่ง ใหญ่ให้เหนือจริงเพื่อเหตุผลทางการเมืองทั้งในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส ด้วยจินตนาการของประเทศแม่ที่ต้องกอบกู้ บอกเล่าเมืองนครที่สูญสลาย ไป เป็นตัวแทนถึงประเทศฝรั่งเศสอันยิ่งใหญ่สืบทอดสู่หลังยุคอาณานิคม โดยเฉพาะจากกัมพูชาด้วยเหตุผลในการสร้างชาตินิยมเพื่อความเป็น รัฐชาติสมัยใหม่ ! การกล่าวถึงอำนาจทางการเมืองโดยนัยของ “กัมพูชา” ที่ประกาศ ตามนักวิชาการชาวฝรั่งเศส อาณาจักรขอมมีอำนาจกว้างไกลไปจรดบ้าน เมืองต่างๆ ที่ปรากฏชื่อในจารึกปราสาทพระขรรค์นั้น เป็นอำนาจ เบ็ดเสร็จเหมือนการเป็นเจ้าอาณานิคมในยุคนั้นที่มี “อำนาจทางการ เมือง” เหนือบ้านเมืองอื่นๆ เช่น จามปาในเวียดนาม ภาคกลางของ ประเทศไทย ไปจนถึงเวียงจันทน์์ที่ซายฟอง โดยใช้หลักฐานศิลปกรรม แบบขอมที่ปรากฏในศาสนสถานและวัตถุ เป็นการมองที่หยุดนิ่งและ ผิดไป เพราะรูปแบบอำนาจแบบมันดาลามีการศึกษาชัดเจนและยอมรับ โดยแทนที่วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบอาณานิคมแล้วในเวลาถัดมา (ศึกษาความสัมพันธ์ของบ้านเมืองระยะเริ่มแรกของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้จากงานของ Wolter, O.W.History, Culture and Region in Southeast Asia Perspectives. Institute of Southeast Asia Studies, Revised Edition, 1999.) ! การอ้างถึง “มรดกการศึกษาทางประวัติศาสตร์จากยุคอาณานิคม” คือ การพบเห็นโดยทั่วไปในรายรูปแบบการศึกษาประวัติศาสตร์ใน ประเทศอินโดจีนของฝรั่งเศสในอดีต และถูกนำไปใช้จนกลายเป็น ประเด็ น ทางการเมื อ ง และแม้ ก ระทั ่ ง การศึ ก ษาประวั ต ิ ศ าสตร์ ใ น ประเทศไทยตั ้ ง แต่ ย ุ ค แรกเริ ่ ม จนถึ ง ปั จ จุ บ ั น และไม่ เ คยตกเป็ น รั ฐ อาณานิคมแต่อย่างใด ก็ยังเป็นการรับเอาความคิดอิทธิพลการศึกษาแบบ อาณานิคมมาใช้จนฝังรากลึกจนยากจะแก้ไข ! สิ่งที่ปรากฏเห็นเด่นชัดในการรับเอาแนวคิดการเขียนประวัติศาสตร์ (Historiography) แบบยุคอาณานิคมมาใช้ในปัจจุบัน คือ เอกสาร ทางการจากสาธารณรัฐประชาชนลาวเรื่อง “ความเป็นมาของนครหลวง เวียงจันทน์” โดยนักวิชาการลาวเสนอว่า คนในเวียงจันทน์ในสมัยแคว้น ศรีโคตรบองเป็นเมืองส่วยของจามและเขมร หากเขมรมีความขัดแย้ง ภายในหรือมีสงครามกับพวกจาม แคว้นศรีโคตรบองก็จะแข็งข้อต่อเขมร จนถึงยุคซายฟองจึงขึ้นตรงต่อเขมรในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เมื่อ อำนาจเขมรลดลงเวียงจันทน์์จึงเป็นอิสระจนถึงศตวรรษที่ ๑๓ แต่นัก วิชาการเช่น สุเนตร โพธิสาร เสนอว่า รูปแบบศิลปะแบบซายฟองนี้เป็น สิ่งที่พัฒนาการขึ้นในบริเวณนี้มากกว่ารับอิทธิพลจากเขมร พัฒนาการ ของท้องถิ่นในช่วงรัฐเริ่มแรกเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับวัฒนธรรมแบบเขมร และได้รับอิทธิพลทั้งแบบทวารวดีและเขมรซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของ การศึกษาประวัติศาสตร์แบบวิวัฒนาการ โดยมีอาณาจักรใหญ่แห่งหนึ่ง จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เป็นเจ้า และการเป็นบ้านเมืองในรัฐอารักขา ดังที่ดินแดนแถบแม่น้ำโขง คือส่วนที่อำนาจทางการเมืองจากเขมรมีอยู่เหนือสุด และเป็นการเขียน ประวัติศาสตร์ในธรรมเนียมเดิมที่กล่าวได้ว่ารับอิทธิพลจากการเขียน ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมอย่างชัดเจน ! เมื่อสงครามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มสงบลง สำนัก ฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ, Ecole francaise d’Extreme-Orient [EFEO] สถาบันนี้เปิดสำนักงานในภูมิภาคอินโดจีนแต่เดิมตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. ๑๙๘๙ และเปิดสำนักงานที่ลาวเมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๓ Michel Lorrillard นักวิจัยสำนักงาน EFFO ได้กล่าวถึงการแบ่งยุคสมัยใน ประวัติศาสตร์ลาวที่เรียกยุคสมัยนี้ว่า “อารยธรรมซายฟอง” “ยุคซาย ฟอง” หรือ “ศิลปะแบบซายฟอง” และเขาเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่ ควรเชื่อถือแต่อย่างใด โดยเขียนบทความมาตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๐๑ เพราะไม่ พบร่องรอยโบราณสถานแบบเขมรในเขตบริเวณซายฟอง แต่ Lorrillard เสนอว่า ทั้งจารึกและรูปสลักลอยตัวพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ น่าจะนำมา จากอโรคยาศาลที่ใกล้เวียงจันทน์์ที่สุด คือที่ “กู่บ้านพันนา” ในอำเภอ สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน ดังที่เอโมนิเยร์สำรวจในช่วง ต้นศตวรรษที่ผ่านมา และฟิโนต์ก็ยังบันทึกในบทความร่วมสมัย กรม ศิลปากรขุดค้นที่กู่บ้านพันนาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น เศียรพระวัชรธร ชิ้นส่วนพระโพธิสัตว์วัชรปานีทรงครุฑ พระยมทรง กระบือ พระกรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และไม่พบร่องรอยวัตถุพวก จารึกหรือรูปสลักอื่นๆ แต่อย่างใด เป็นไปได้มากที่วัตถุอื่นๆ ที่มีพร้อม กับอโรคยศาลถูกเคลื่อนที่นำไปไว้ในสถานที่อื่นๆ นักวิชาการที่เข้ามา ศึกษาเรื่องการจัดการมรดกวัฒนธรรมเมืองเวียงจันทน์์ก็พยายามค้นหา ข้อมูลที่เสนอโดย Maspero โดย Anna Karlstrom รายงานว่าที่ซายฟอง สำรวจพบซากวัดร้างราว ๓๐ แห่ง แต่ชาวบ้านในท้องถิ่นเล่าว่า บริเวณนี้ มีวัดอยู่ถึง ๓๐๐ แห่ง ที่ฝั่งเวียงคุกแม้เรียกว่า “เมืองใหญ่ซายฟอง” แต่มี วัดราวๆ ๘๐ แห่งที่เหลืออยู่ที่ฝั่งนี้ และไม่มีคำบอกเล่าใดเลยเกี่ยวกับ เขมรแต่เรื่องราวนั้นสัมพันธ์กับท้องถิ่นในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เท่านั้น ! หลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดค้นไม่อาจบอกได้ว่ามีเมืองหรือ การอยู่อาศัยในวัฒนธรรมเขมร และไม่มีร่องรอยของอโรคยศาลที่นี่ แต่อย่างใด มีการอยู่อาศัยเล็กน้อยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ สันนิษฐานจากใบเสมาซึ่งก็ไม่อาจยืนยันได้แน่ชัด และวัดร้างส่วนใหญ่น่า จะอยู่ในช่วงอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ! ผลการสำรวจทางโบราณคดีในแถบภูพาน พระบาทบัวบาน-บัวบก ที่ กรมศิลปากรเรียกว่าภูพระบาท เมืองพานที่บ้านหนองกาลืม และต่อ เนื่องไปจนถึงท่าบ่อ พานพร้าว เวียงคุก เวียงจันทน์์ จนถึงที่ราบลุ่มน้ำงึม บริเวณนี้เรียกว่า เวียงคำเมืองไผ่หนาม จนเห็นพ้องกับนักวิชาการที่ ศึกษาเรื่องเมืองเวียงจันทน์์และลาวทั้งสอง จนเดินทางไปสำรวจที่แถบ ซายฟอง ซึ่งอยู่ในระหว่างพื้นที่คดโค้งของแม่น้ำโขง พื้นที่ทั่วไปมีสภาพ ของหนองบึงและที่ลุ่มอันเกิดจากการตกตะกอนของแนวชายหาดโค้ง บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านชนบทของเมืองเวียงจันทน์ เนื่องจากเมื่อข้ามสะพาน ไทย-ลาว จากนครพนมก็ ว ิ ่ ง ตั ด ตรงสู ่ เ วี ย งจั น ทน์ ์ โ ดยผ่ า นหมู ่ บ ้ า น ริมชายฝั่งเหล่านี้ไป และไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องจากการอยู่อาศัยใน ช่วงร่วมสมัยกับการสร้างอโรคยศาลแต่อย่างใด คงมีแต่วัดร้างและร่อง รอยของชุมชนในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ลงมา ! การเป็นเมืองคู่นี้น่าจะเป็นธรรมเนียมปกติของบ้านเมืองในแถบนี้ ๒๑
ตุ ล าคม-ธั น วาคม ๒๕๕๖
จารึกสุโขทัยเรียกชื่อว่า “เวียงจัน-เวียงคำ” ซึ่งมีหลายท่านสันนิษฐานว่า เวียงคำน่าจะเป็นเมืองไผ่หนามในตำนานและอยู่ที่ต้นที่ราบลุ่มแม่น้ำงึม ช่วงก่อนจะเข้าเขตเทือกเขาสูงซึ่งเป็นเส้นทางเดินทางสู่หลวงพระบาง และ มีตำนานเรื่องพระบางและพระเจ้าฟ้างุ้มก่อนจะรวบรวมบ้านเมืองเป็น อาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา คนในท้องถิ่นแถบเวียงจันทน์์รับรู้เรื่อง ราวในตำนานเวียงคำเป็นอย่างดี ! เมื่อผู้บรรยายเข้าไปสำรวจบริเวณเวียงคุก จึงพบว่ามีหลักฐานร่อง รอยของบ้านเมืองที่เก่ากว่ายุครุ่งเรืองในการเป็นศูนย์กลางการค้าขายใน ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ วารสารเมืองโบราณไปสำรวจและถ่ายภาพ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ พบเทวรูป พระพุทธรูป ที่วัดยอดแก้ว วัด เทพพลประดิษฐาราม และเสนอว่าน่าจะอยู่ในช่วงลพบุรีตอนปลายกับ ล้านช้าง การสำรวจเพิ่มเติม ยังพบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับแบบศิลปะ ลพบุรีที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเขมรในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ เป็นต้นมา บริเวณวัดเทพพลฯ มีร่องรอยฐานศาสนสถานแบบ เขมรอยู่แน่นอน เช่น ก้อนศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยม สระน้ำขนาดเล็ก กลีบ ขนุน ที่ทำจากหินทรายและนำไปใช้เป็นใบเสมาในปัจจุบัน ยังมีการ พบพระพุทธรูปขนาดเล็กและการแกะสลักที่ทำให้เห็นว่าเป็นฝีมือช่างแบบ ท้องถิ่น เช่นเดียวกับรูปสลักหินลอยตัวรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เมืองเวียงคุก-ซายฟอง เมืองคู่สองฝั่งโขง
! ทางฝั่งเวียงคุก พบหลักฐานที่เราเรียกว่าศิลปะแบบลพบุรีมากมาย หลายชิ้น รวมทั้งโบราณสถานที่น่าจะเป็นรูปแบบเรื่องในวัฒนธรรมเขมร แม้จะไม่ชัดเจนนักแตกต่างจากฝั่งซายฟองที่แทบไม่พบร่องรอยอื่นใดแม้ จากการสำรวจขุดค้นหลุมทดสอบก็ตามหากเราใช้วิธีหาข้อสรุปเพื่อกล่าว ว่า ที่จริงแล้วศาสนสถานเนื่องในวัฒนธรรมเขมรน่าจะอยู่เวียงคุก ฝั่ง ประเทศไทย ก็เป็นการเดินตามรอยยื้อแย่งความสำคัญหรือสร้างความ เชื่อเรื่องท้องถิ่นนิยมตามแบบประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมที่สร้างกับดัก ทางความคิดเช่นนี้เสมอ การนำข้อมูลมาพิจารณาทั้งหมดใหม่ ก็จะเห็น ภาพพลวัตรบ้านเมืองที่ห่างไกลศูนย์กลางอำนาจที่เมืองพระนคร แต่ได้ รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมรและแบบทวารวดี จนกลายเป็น ลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องกลายเป็นรัฐอารักขาของเขมร เหมือนกับที่ประวัติศาสตร์แบบอาณานิคมมักวิเคราะห์ไปในทางนั้น ! โดยกรณีของเมืองซายฟองนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเป็นเขตอิทธิพล เหนือสุดของอำนาจทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ดังที่เกิด
๒๒
“ความเชื่อ” ที่หวนกลับมาอีกครั้งในสำนึกทางประวัติศาสตร์ของชาว กัมพูชา หากกล่าวถึงเมืองซายฟองโดดเดี่ยวโดยไม่พิจารณาเอาเมืองคู่ที่ อยู่ฝั่งตรงข้ามและยังคงหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากมากล่าวด้วย เป็นวิธีการเลือกปฏิบัติในประวัติศาสตร์แบบรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ใช้เส้น พรมแดนเป็นตัวแบ่งเขต ทั้งๆ ที่ธรรมชาติของเมืองทั้งสองฝั่งโขงนั้นไร้ พรมแดนมาตลอด แม้จนทุกวันนี้ผู้คนทั้งสองฝั่งยังคงเป็นเครือญาติ ไป มาหาสู่กันบางกลุ่ม ! บ้านเมืองที่มีความเคลื่อนไหวเหล่านี้ สัมพันธ์กันกับ “แคว้นศรี โคตรบูร” ซึ่งเป็นเมืองสองฝั่งโขงก่อนสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มและล้านช้าง โดย ศูนย์กลางอยู่ที่แถบหนองหารสกลนคร อันเป็นเมืองใหญ่เนื่องใน วัฒนธรรมเขมร ต่อเนื่องสัมพันธ์กับจามปาที่ริมทะเลในแถบเวียดนาม ตอนกลางด้วย สิ่งเหล่านี้ปรากฏร่องรอยในตำนานอุรังคธาตุและโบราณ สถานและวัตถุหลายแห่งในเขตอีสานตอนเหนือและสองฝั่งโขง ! ข้อสันนิษฐานจากการบรรยายครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์ใหม่จาก หลักฐานที่มีอยู่ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ และพยายามชี้ให้เห็นถึง ความคลุมเครือและที่มาของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ในสมัยอาณานิคม รวมทั้งการกำหนดให้จินตนาการมีอิทธิพลเหนือ ข้อเท็จจริง เพราะการให้ความสำคัญที่เกินเลยถึงการมีอยู่ของอโรคยศาล ธรรมศาลา จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระพุทธรูปนาคปรก พระ ไภษัชยคุรุ เป็นต้น กลายเป็นแม่บทให้กับนักศึกษารุ่นหลังเพื่ออ้างความ รุ่งโรจน์เป็นเจ้าอาณาจักรอันไพศาลของกษัตริย์ชัยวรมันที่ ๗ ในทุกวัน นี้ อันเนื่องมาจากการสร้างความยิ่งใหญ่ให้เหนือจริงเพื่อเหตุผลทางการ เมืองทั้งในยุคอาณานิคมโดยฝรั่งเศส อันมีสาเหตุมาจากจินตนาการของ ประเทศแม่อาณานิคมที่ต้องกอบกู้ดินแดนในอารักขา บอกเล่าอาณาจักร เมืองพระนครที่สูญสลายไปซึ่งเป็นตัวแทนถึงประเทศฝรั่งเศสที่ยิ่งใหญ่ และสืบทอดสู่หลังยุคอาณานิคมโดยเฉพาะจากกัมพูชาด้วยเหตุผลในการ สร้างชาตินิยมเพื่อความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ของกัมพูชาเอง ! สิ ่ ง ที ่ ย ั ง เหลื อ อยู ่ ค ื อ “มรดกการศึ ก ษาทางประวั ต ิ ศ าสตร์ จ าก ยุคอาณานิคม” ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในรูปแบบการศึกษาประวัติศาสตร์ใน ประเทศอินโดจีนของฝรั่งเศสในอดีต และถูกนำไปใช้จนกลายเป็น ประเด็ น ทางการเมื อ ง และแม้ ก ระทั ่ ง การศึ ก ษาประวั ต ิ ศ าสตร์ ใ น ประเทศไทยตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่เคยตกเป็นรัฐใน อาณานิคมแต่อย่างใดก็ยังรับนำเอาอิทธิพลของการศึกษาแบบอาณานิคม มาใช้จนฝังรากลึกและยากจะแก้ไข
จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ปี ที ่ ๑ ๘ ฉ บั บ ที่ ๑ ๐ ๐
จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
๒๓
สารบัญ ประชาธิปไตยจากข้างล่าง ในฐานะข้าพเจ้าเป็นคนไทยคนหนึ่งในสยามประเทศ การเคลื่อนไหว [Social Movement] ของมหาชนสยามที่ออกมาขับไล่รัฐบาลทรราช อำมหิต “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” ที่ดังสนั่นโลกครั้งนี้ ไม่ใช่ปัญหาเรื่อง การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขแต่อย่างใด....หน้า ๒
วันเล็ก-ประไพรำลึกครั้งที่ ๑๑ “ปฎิบ ั ติก าร ประวั ติศ าสตร์ ท ้ อ งถิ่น ”
เมื่อไปร่วมกิจกรรม “ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ที่เมืองโบราณ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ถือโอกาสเนื่องในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึก ถึงคุณเล็กและคุณประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้ก่อตั้งเมืองโบราณและดำเนินกิจกรรมทางสังคมอีก มากมาย นอกเหนือไปจากกลุ่มธุรกิจด้านต่างๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ...หน้า ๑๓, ๑๖
“มรดกโลกที่วัดพู” ฟื้นฝอยหามรดก ยุคอาณานิคมของอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส เชื่อกันว่า “เมืองเศรษฐปุระ” เป็นศูนย์กลางของบ้านเมืองขนาดใหญ่ ที่มีเครือข่ายกว้างขวางในเขตลุ่มน้ำโขงตอนกลาง คือ “เจนละ” นักวิชาการชาวฝรั่งเศส....หน้า ๖
สะพานหัน กับวิกลิเกหลวงสันท์
เมื่อไม่นานมานี้ได้สำเนาเอกสารเก่าจากหอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึง เรื่องลิเกหลวงสันท์ที่สะพานหัน ทำให้ต้องรื้อเทปบันทึกเรื่องราวของ สะพานหันและลิเกคณะนี้มาปัดฝุ่น เพราะแหล่ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเป็น ลิเกดัง ขนาดสาวแก่แม่หม้ายติดกันงอมแงมเลยทีเดียว...หน้า ๙
นั ก เฝ้ า มองแห่ ง สายบุร ี SAIBURI LOOKER
ห้วงแห่งความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้นานเกือบ ๑๐ ปี ทำให้คนภายนอก แทบจะไม่มีการรับรู้เลยว่าคนในพื้นที่เป็นอยู่และใช้ชีวิตกันอย่างไร พื้นที่ในท้องถิ่นนี้ปกคลุม ด้วยความหม่นมัว และอึมครึมจากสายตาผู้คนในสังคมไทยซึ่งกำหนดตนเองให้อยู่ไกลๆ โดยไม่พยายามเข้าใจ ...หน้า ๑๗
สรุปการบรรยายสาธารณะเรื่อง อารยธรรมซายฟอง [Say Fong Civilization] มรดกประวัติศาสตร์แบบอาณานิคม
วันพุธที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ มีการบรรยายสาธารณะของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เรื่อง “SAY FONG CIVILIZATION” มรดกประวัติศาสตร์แบบอาณานิคม โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ...หน้า ๒๐
! ภูมิวัฒนธรรมเทือกเขาสันกาลาคีรีแม่น้ำสายบุรี
แม่น้ำสายบุรีเขตต้นน้ำนั้นไหลผ่านภูมิประเทศที่เป็นแนวทิวเขาสัน กาลาคีรี มีภูเขาขนาบทั้งสองด้าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสุคิริน อำเภอจะแนะ และอำเภอศรีสาครในจังหวัดนราธิวาส ลำน้ำมีลักษณะ คดโค้งมีแนวแก่งหินกลางลำน้ำ...หน้า ๑๒
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ที่อยู่ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ : ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘, แฟกซ์ : ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ Email : Vlekprapaifoundation@gmail.com เฟสบุ๊ ก https://www.facebook.com/lekfound เว็บไซต์ www.lek-prapai.org