มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

Page 1

“ซาไก”




“ผู้เขียนมีโอกาสสัมผัสและอยากนำ�มาบอกเล่า เพราะเรื่องนี้น้อยคนจะ ได้รับรู้ นั้นก็คือ เรื่องราวของคนพื้นเมืองเดิมกลุ่มหนึ่ง ที่เคยอาศัยอยู่ บริเวณปลายแหลมมลายู ซึ่งถูกเรียกว่า “ซาไก” สำ�หรับคนกลุ่มนี้ยินดีที่ จะเรียกตัวเองว่า “มานิ” มากกว่า คำ�ว่า “ซาไก” ซึ่งค่อนข้างเป็นคำ�ดูถูก เหยียดหยามต่อกัน” ลักขณาวัลย์ เพ็ชนะ


“การทำ�ความรู้จักวิถ ีช ีวิตคนเมืองของมานิหรือซาไกคงเป็นเรื่องใหญ่แ ละ ลำ�บากมากสำ�หรับการปรับตัวของพวกเขา ในวันนี้ซาไกที่เป็นเหมือนกลุ่ม ชาติพัน ธุ์ที่เก็บซ่อนตัวอย่างมิดชิดในป่าลึก โลกของพวกเขาถูกเปิดให้คน ภายนอกเข้ามามากขึ้นการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ก็เริ่ม ขึ้นด้วย”

. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

Cr


CONTENT

36

01 มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า “ซาไก” 04 อัตลักษณ์ วิถีความเป็นอยู่ 05 การตั้งถิ่นฐาน 07 สังคมและการปกครอง 08 เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม

13


20

12

10 ลักษณะครอบครัว

17 วัฒนธรรมทางภาษา

11 ลักษณะนิสัย

18 วัฒนธรรมทางความเชื่อ

13 อาหารการกินตาม...วิถี 15 ลักษณะการแต่งกาย

19 วัฒนธรรมด้านประเพณี 23 การปรับตัว การใช้ชีวิตใน ปัจจุบัน

36

16

26

26

03


มานิ... ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า “ซาไก”

“ซาไก” มักเรียกตัวเองว่า “มานิ” หมายถึง คน เพราะมีความหมายไปในทำ�นองยกย่องให้เกียรติ ว่าพวกเขาเป็น

คน ดั้งเดิม เป็นเจ้าของถิ่นเดิม ไม่ใช่พวกป่าเถื่อนอย่างคำ�ว่า ซาไก แต่คนส่วนใหญ่จะเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ซาแก หรือที่คนภาค ใต้ทั่วไปเรียกกันว่า “เงาะ” “มานิหรือซาไก”ชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทยมีความแตกต่างจากคนไทยส่วนใหญ่ ทั้งทางด้าน ร่างกาย สังคม และวัฒนธรรม อาศัยอยู่ตามป่าเขาโดยอยู่ตามเชิงผาหรือป่าโปร่งสร้างกระท่อมเล็กๆเป็นที่พักกระจายอยู่ในเขต จังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ คือ พัทลุง ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ตลอดจนไปถึง รัฐเคดาห์ และรัฐปาหัง ประเทศ มาเลเซีย และบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ชนกลุ่มนี้ยังใช้ชีวิตอยู่กับวัฒนธรรมการล่าสัตว์มีความพึงพอใจและรักที่จะ อยู่ตามป่าเขาลำ�เนาไพรมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย โดยมีทัศนคติคือการมีชีวิตอยู่ได้แค่วันเดียว ชีวิตพรุ่งนี้ค่อยคิดกันในวันพรุ่งนี้ มีความรู้ความชำ�นาญในการแสวงหาสมุนไพรมาใช้ในการรักษาพยาบาลตนเองอย่างน่าสนใจ ชนกลุ่มนี้มีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง มักโยกย้าย ถิ่นกันไปอยู่เสมอไม่สามารถระบุจำ�นวนได้แน่ชัด

1

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก



3

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก


อัตลักษณ์ วิถีความเป็นอยู่ มานิเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่รวมกันเป็น กลุ่ ม เล็ ก ๆกระจั ด กระจายอยู่ ต ามพื้ น ที่ ป่ า เขาในภาคใต้ ข อง ประเทศไทย ตลอดไปจนถึงประเทศมาเลเซีย มานิ มีชื่อ เรียก หลายชื่อ อาทิ ชาวพัทลุงเรียก เงาะ เงาะป่า เนื่องจาก เส้นผม ของซาไกหยิก หยองคล้าย เงาะ ที่เป็นผลไม้ ชาว สตูลเรียก ชาวป่า เพราะพวกเขาอาศัยอยู่ตามป่าเขา ไม่ อยู่ในที่ราบโล่ง เหมือนชาวบ้านทั่วไป ชาวไทยมุสลิมแถบ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสเรียก ซาแก ซึ่งแปลว่า แข็งแรง หรือป่าเถื่อน เพราะชาวซาไกชอบอยู่ตามป่า และมีความ ทรหดอดทนบึกบึน แต่ชาวไทยพุทธเรียกเพี้ยนไปเป็น ซาไก ชาวมาเลเซียเรียกว่า โอรัง อัสลี (Orang Asli) ซึ่งแปลว่า คนพื้นเมือง หรือคนดั้งเดิม ซึ่งชาวซาไก โดยทั่วไป มีความ รู้สึกที่ดีและพอใจให้คนอื่น เรียกพวกเขาว่า เป็นพวกโอ รัง อัสลี เพราะ มีความหมายไปในทำ�นองยกย่องให้เกียรติ ว่าพวกเขาเป็นคนดั้งเดิม เป็นเจ้าของถิ่นเดิม ไม่ใช่พวกป่า เถื่อนอย่างคำ�ว่า ซาไก แต่ซาไก เรียกตัวเองว่า มานิ ซึ่ง แปลว่า มนุษย์

โดยทั่วไปแล้ว มานิจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆละ ๒๐-๕๐ คน มานิมีลักษณะสังคมล่าสัตว์และเก็บของป่า ซึ่งเป็นสังคม ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนไม่ อยู่ เ ป็ น หลั ก แหล่ ง ที่ แ น่ น อนจะอพยพโยกย้ า ยที่ อ ยู่ อ าศั ย อยู่เสมอ สาเหตุที่มานิอพยพเรื่อยๆเนื่องจากพวกนั้นอาศัย อาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อแหล่งอาหารคือ เผือก มัน ในบริเวณ ที่อยู่อาศัยหมด ลงก็ต้องย้ายไปหาที่อยู่แห่งใหม่ ที่อุดมสมบูรณ์กว่า และถ้ามีคนตาย เมื่อฝังศพแล้วจะรีบ อพยพหนีไปทันทีเพราะกลัวผีและกลัวเสือมา กินศพและ ทำ�อันตราย แก่คน ที่เหลืออยู่และเมื่อถ่ายอุจจาระมาถึงที่ พักอาศัย ก็จะอพยพย้ายบ้านไป (มานิจะถ่ายอุจจาระจาก บริเวณรอบนอกที่พักแล้วค่อยๆ วกเข้ามาใกล้ที่พักเรื่อยๆ) และหากมีคนนอกเผ่ามาเจอ และขอลูกไปเลี้ยง มานิก็จะ รีบอพยพย้ายบ้านหนีเช่นกัน

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

4


การตั้งถิ่นฐานมานิ มานิ อ าศั ย อยู่ ต ามป่ า เขากระจายอยู่ ท างภาคใต้ ข อง ประเทศไทยไปจนถึงรัฐเคดาห์ และรัฐปะหัง ประเทศ มาเลเซีย บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย สำ�หรับใน ประเทศไทย ชนเผ่ามานิจะเร่ร่อนย้ายถิ่นจากถิ่นหนึ่งไป ยังอีกถิ่นหนึ่งในแถบบริเวณภาคใต้ของไทยจะอยู่กันเป็น กลุ่มๆละประมาณ ๒๐-๓๐ คน มานิจะเลือกทำ�เลที่อยู่อาศัยในภูมิประเทศที่เป็นเนิน สูง มักอยู่ตามป่าลึก มีลำ�ธารหรือน้ำ�ตกอยู่ใกล้ ๆ มีสัตว์ ป่า เผือก มันอุดมสมบูรณ์ และต้องเป็นบริเวณ ที่มีไม้ซาง อยู่ไม่ไกลนัก เพราะมานิใช้ไม้ซางเป็นอาวุธสำ�คัญสำ�หรับ ล่าสัตว์ มานิที่อยู่ป่าเรียกว่า ซาไกตันหยง ส่วนพวกที่ อยู่ ตามเขาเรียกว่า ซาไกบูเกต บ้านของมานิ เรียกว่า ทับ มี ลักษณะเป็นเพิงหมาแหงน สำ�หรับอาศัย ชั่วคราว ใช้ท่อน ไม้สองท่อนทำ�เป็นเสา มีไม้พาดกลาง ๑ เล่ม ใช้ลำ�ไม้ไผ่พาด ให้จดกับพื้นดิน มุงด้วย หลังคาด้วยใบหวาย ใบแฝกหรือใบ คาอย่างเพิงหมาแหงน บางหลังคล้ายกระท่อมติดพื้น ดิน มีหน้าจั่ว ใช้ใบไม้ สานทำ�เป็นฝากั้นที่นอนใช้ไม้ไผ่ทำ�เป็น ฟากภายในบ้านมีเตาไฟสุม ทำ�อาหารและ ให้ความอบอุ่น มักแขวนรวงผึ้งหรือรวงหอย มะพร้าวไว้นอกค่าย เชื่อว่าภูติ ผีปีศาจจะหันเหความสนใจไปยังรูต่าง ๆ ของรวงผึ้งจะได้ไม่ รบกวนเวลาหลับนอน รอบ ๆ ค่ายของ มานิจะมีรั้ว หนาม กั้น ป้องกัน สัตว์ร้าย

5

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก


ที่อยู่ของซาไก หลังจากที่อพยพโยกย้ายถิ่นฐานออกไปแล้ว

การหลับนอน มานิถือว่าเท้าเป็นอวัยวะสำ�คัญที่สุด ใช้

สัญจรและหาอาหารมาเลี้ยงปากท้อง พวกเขาจึงนอนเอาศีรษะ ออกข้างนอก เอาเท้าเก็บไว้ข้างใน เขาบอกว่าเท้ามีความสำ�คัญ กว่าศีรษะ ไปไหนมาไหนได้ก็เพราะเท้า หาอาหารได้ด้วยเท้า หรือเกิดเหตุการณ์ฉุกละหุกกะทันหันภัยมาถึงตัวก็วิ่งหนีได้ด้วย เท้า และการหันศีรษะออกข้างนอกหากเกิดเหตุก็จะรู้สึกตัวเร็ว ถ้าหากมีเสือมาถ้าหันเท้าออกข้างนอกเสือกัดเท้าทำ�ให้ไม่ตาย แต่จะเกิดอาการเจ็บปวด ลำ�บากมาก ไปไหนไม่ได้ แต่เมื่อหัน ศีรษะออกเสือจะได้กัดศีรษะทีเดียวได้ตายเสียเลย ส่วนท่านอน ชอบนอนตะแคงมากกว่านอนหงายหรือนอนคว่ำ�เป็นสัญชาติ ญาณในการระวังภัย ทำ�ให้สะดวกในการลุกหนีเมื่อมีภัย มาถึงตัว

การอพยพโยกย้ายถิ่น

มานิจะโยกย้ายถิ่นที่อยู่ อาศัย มีนิสัยอยู่ไม่เป็นที่ ซาไกจะสร้างทับอยู่อาศัยในที่แห่ง หนึ่ง ๆ ประมาณ ๓-๔ วัน หรือไม่เกิน ๑๕ วัน สาเหตุใหญ่ เกิดจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติร่อยหรอ หรือในกลุ่มมี คนตาย เพราะซาไกกลัวเรื่องผีมาก ก่อนออกเดินทางมานิจะ เอาขี้เถ้าออกจากกองไฟ ทาตัวและหน้าตาก่อนเพราะเชื่อว่า ผีจะจำ�ไม่ได้ ตามไปทำ�ร้ายไม่ถูก สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ ซาไกจะแยกถ่ายอุจจาระจากที่ไกล โดยเอาต้นมันสำ�ปะหลัง ปักไว้บนกองอุจจาระ เพื่อเป็นสัญลักษณ์จะได้ไม่เหยียบ ขยับไล่เข้ามาใกล้ที่พักเรื่อย ๆ ถึงที่พักเมื่อใดเป็นสัญญาณ โยกย้ายถิ่น และเมื่อกลับมา ต้นมันสำ�ปะหลังโตสามารถกิน หัวได้อีก ในการอพยพหัวหน้ากลุ่มจะเดินนำ�หน้าและแบก ของมากกว่าคนอื่นเพราะถือว่าต้องเสียสละมากกว่าผู้อื่น

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

6


“ ด้านสังคมและการปกครอง ”

สังคมมานิเป็นสังคมเล็ก ๆ คือครอบครัวและบ้านเท่านั้น สามีเป็นผู้นำ�สามีภรรยาเป็นผู้ตาม ให้เกียรติ

ถนอมน้ำ�ใจโดยการไม่นอกใจภรรยา เป็นระบบผัวเดียวเมียเดียว มีผู้ใหญ่บ้านปกครองเพียงคนเดียวโดยต้อง เป็นผู้มีอายุมากที่สุดและเป็นคนที่ถูกเลือกขึ้นมา ถ้าลูกบ้านทำ�ผิด ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ตักเตือน ไต่สวน ลงโทษ มีหน้าที่แบ่งงานให้ลูกบ้านเมื่อมีคนมาว่าจ้างให้ทำ�งาน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ถ้างานใดยากหรือเป็น งานหนักผู้ใหญ่บ้านจะรับมาทำ�เอง หน้าที่ด้านปกครองครองชุมชนหัวหน้าหมู่บ้านจะต้องทำ�คือ เป็นประธาน ในการแต่งงาน เป็นผู้ไต่สวนคดี เป็นหัวหน้าในการย้ายที่อยู่และรับหน้าที่แบกสัมภาระหนักกว่าผู้อื่น

7

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก


“ เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม ”

เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม เครื่องประดับสำ�หรับ ความสวยงามนั้น พวกผู้ชายไม่มีเครื่องประดับอื่นใด นอกจากเสื้อผ้า แต่ชาวเงาะที่ จังหวัดสตูล ดูจะพิเศษ ไปกว่าชาวเงาะในที่อื่น ๆ คือบางคนผูกนาฬิกาข้อมือ หิ้ววิทยุ ส่วนผู้หญิงออกจะพิถีพิถันในการแต่งตัวบ้าง แต่ก็ยังเป็นลักษณะชาวป่าดงอยู่นั่นเอง คือตกแต่ง เรือนผมที่ดกดำ� หยิกขมวดกลมติดหนังศีรษะหรือฟู เป็นกระเซิงด้วยใบไม้ ดอกไม้สีต่าง ๆ แต่ชอบสีแดง โดยเอามาเสียบติดกับผม เด็ก ๆ บางคนรู้จักใช้ กิ๊บสี แดงสีเขียว ยังไม่รู้จักใช้หวี อย่างเรา หรือถ้าใช้หวีอย่าง เรา ๆ อาจจะหวีไม่ไปก็ได้เพราะปมหยิกฝอยมาก เขา จึงใช้หวีที่ทำ�ขึ้นเองจากไม้ไผ่แกะเป็นซี่ห่าง

แล้วตกแต่งลวดลายสวยงามสงบนผิวไม้ไผ่ ผู้หญิงบาง คนทาแป้งหน้าขาว ใช้สีแดงจากดอกไม้ หรือบางคนใช้ ลิปสติกที่หาซื้อ ไปจากตลาดเมื่อขายของป่าได้ทาปาก ทาแก้มให้เป็นสีแดง บางคนใส่ตุ้มหู สวมสร้อยทอง ชุบดูแพรวพราวไปเหมือนกันทั้งหมดที่กล่าวมานั้นคือ ลักษณะการแต่งกายของชาวเงาะในปัจจุบันนี้ ซึ่งได้ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหมดแล้ว แต่ ก่ อ นนั้ น โดยปกติ แ ล้ ว ผู้ ห ญิ ง แต่ ง กายกั น ตามแบบ เงาะอย่างสวยงามหญิงที่ยังไม่มีสามีจะใช้ดอกไม้สีขาว ทำ�ตุ้มหู ใช้หวีไม้ไผ่เสียบผม หรือสวมกำ�ไรข้อมือ ส่วนผู้ หญิงที่มีสามีแล้วจะสวมสร้อยคอลูกประคำ�

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

8


9

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก


“ครอบครัว” ครอบครัวของมานิจะมีพ่อแม่ลูก ไม่มีปู่ ย่า ตา ยาย อาจจะเนื่องมาจากอายุสั้นมักจะตายก่อนไม่ทันเข้า สู่วัยชรา ครอบครัวมานิเป็นครอบครัวแบบจุดเริ่ม ต้น เมื่อลูกโตแต่งงานก็แยกไปตั้งครอบครัวใหม่ มา นิมีลักษณะแบบผัวเดียวเมียเดียว ผู้ชายจะมีเมียใหม่ ได้เมื่อผู้หญิงตายเท่านั้น ไม่มีการผิดลูกผิดเมียคนอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาในการทำ�งานสามีจะ เป็นผู้หาที่อยู่อาศัยและจัดสร้างที่อยู่อาศัย ภรรยาเป็น ผู้ดูแลบ้านและเลี้ยงดูลูก การมีเพศสัมพันธ์และการ ร่วมประเวณีของคู่สามีภรรยาจะไม่ทำ�กันในทับ แต่จะ ทำ�กันในป่าเรียกว่า “ขุดมัน” และไม่จำ�กัดเวลาไม่ว่า กลางวันหรือกลางคืนตามความพอใจของเขา บริเวณ ที่สามีภรรยาใช้ร่วมประเวณีจะทำ�เครื่องหมายเรียกว่า “ปักกำ�” ไว้ตรงปากทาง เป็นที่รู้กันว่าเป็นทางห้าม ผ่าน หลังร่วมประเวณีแล้วจะลงเล่นน้ำ�ในลำ�ธารอย่าง สนุกสนาน แล้วหาดอกไม้สีแดงทัดหูเดินกลับทับ

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

10


“ ลักษณะนิสัย ” นิสัยใจคอ โดยปกติมีอุปนิสัยร่าเริง ชอบดนตรีและ เสียงเพลง กลัวคนแปลกหน้า ยิ้มง่ายเมื่อคุ้นเคยกัน เกลียด การดูถูกเหยียดหยาม พูดน้อยตรงไปตรงมาไม่มีเล่ห์เหลี่ยม นับถือผู้ใดแล้วจะเคาระเชื่อฟังอย่างเคร่งครัด กลัวผี อดทน กินจุ กินเก่ง ถ้าไม่มีก็อดได้เป็นวันสองวัน จิตใจสงบสะอาด บริสุทธิ์จนถ้าดูฉาบฉวยแล้วจะมองว่าเป็นคนโง่ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน ไม่มีความคิดที่จะกักตุนอาหาร ไม่สะสม ทรัพย์สมบัติ มีความชื่นชมอยู่กับป่าเขาลำ�เนาไพร เนื่อง มาจากในป่าที่อาศัยมีความอุดมสมบูรณ์จะหาอาหารตาม ธรรมชาติเมื่อใดก็ได จึงไม่มีความจำ�เป็นจะต้องเก็บตุน เพราะจะเป็นภาระเมื่อถึงคราวอพยพและไม่มีความจำ�เป็น ต้องเพาะปลูกเพราะไม่ทันได้ผล 11

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

อพยพและไม่มีความจำ�เป็นต้องเพาะปลูกเพราะไม่ทันได้ ผลพวกเขาก็ถ่ายอุจจาระถึงที่พักเสียก่อนแล้ว ต้องอพยพ ทิ้งที่อยู่ไปหาที่อยู่แห่งใหม่ ถิ่นที่อยู่อาศัย มานิในภาคใต้ของประเทศมีเพียง กลุ่มเดียวที่มีที่อยู่อาศัยแน่นอน คือกลุ่มซาไกจังหวัดยะลา ส่วนซาไกกลุ่มอื่น ๆ ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน ยังอพยพ เร่ ร่ อ นอยู่ ต ามป่ า เขาที่ ห่ า งไกลและมี แ หล่ ง อาหารตาม ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มานิจะเลือกที่อยู่อาศัยตามลักษณะ ทางภูมิศาสตร์คือ เลือกภูมิประเทศที่เป็นเนินสูง มีลำ�ธาร หรือน้ำ�ตกอยู่ใกล้ ๆ มีป่าไม้ใหญ่ปกคลุมโดยทั่วไป มีสัตว์ เผือก มัน ที่ใช้เป็นอาหารอุดมสมบูรณ์


“ อาชีพและการศึกษา ” อาชีพมานิส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ถางป่า ทำ�สวน ขายสมุนไพรและของป่า สำ�หรับการศึกษาไม่มีสถานศึกษา การเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนเน้นการปฏิบัติจริง ผู้สอนคือพ่อแม่ ผู้เรียนคือเด็ก ๆ และสมาชิกทั่วไป หลักสูตรที่สอนคือ การ ดูทิศทาง เรียนรู้ธรรมชาติของสัตว์ วิธีหาอาหารและเครื่องยาจากป่า เวทย์มนต์คาถาที่จำ�เป็น การทำ�และการใช้อาวุธ “ทุกวันนี้จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล จัดการศึกษาให้เงาะป่าได้มากขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จังหวัดสตูล รับลูกชาว เงาะป่า ๔ คน เข้าเรียน ในโรงเรียนบ้านวังลายทอง อำ�เภอละงู โรงเรียนอยู่ห่างจากอำ�เภอ ๓๐ กม. และพวกเงาะป่าอพยพ มาตั้งทับอยู่ห่างจากโรงเรียนไปทางเหนือ ๑๐ กม. หัวหน้ากลุ่มเงาะป่า ชื่อนายไข่ได้ส่งลูก ๓ คน เข้าเรียนที่โรงเรียนนี้ พร้อม ลูกเงาะป่าอื่นอีก ๑ คน รวม ๔ คน”

“ไม่ว่าจะเกิดมาในเผ่าพันธุ์ใด สัญชาติไหน คนทุกคนก็ย่อมมีสถาบันครอบครัวที่คอยมอบ ความรักและความอบอุ่นให้อยู่เสมอ “

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

12


อาหารการกินตาม...วิถี อาหาร เป็นอาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยง สัตว์ถึงแม้หมู่บ้านใกล้ๆ จะมีการเพาะปลูกให้เห็นก็ตาม อาหารหลักคือ หัวเผือก หัวมัน ผลไม้ป่าตามฤดูกาล เช่นกล้วย หน้าที่หาอาหารเป็นหน้าที่ของ ทุกคนช่วยกัน ผู้หญิงและเด็กจะหาเผือก มัน ผัก ผลไม้บริเวณใกล้ ๆ ทับ ส่วน ผู้ชายจะออกหาอาหารจำ�พวกเนื้อสัตว์ในป่า หน้าที่ปรุงอาหารเป็นของผู้หญิง เนื้อสัตว์ป่าได้แก่ เนื้อกวาง เก้ง หมูป่า ปลา ตะพาบน้ำ� เต่า ยกเว้นเนื้องู เนื้อ ช้างและเสือเพราะถือกันว่ารังควานแรง เมื่อล่าสัตว์มาได้จะทำ�พิธีถอนรังควาน หรือเซ่นไหว้วิญญาณทุกครั้งเพราะเชื่อว่าสัตว์ทุกชนิดมีวิญญาณของสัตว์สิง อยู่ ถ้าไม่ทำ�พิธีถอนรังควานวิญญาณของสัตว์ลูกดอกทำ�จากก้านไม้ที่มีความ เหนียว เหลาปลายแหลม ทายางอิโป๊ะ เก็บไว้ใน กระบอกไม้ เหน็บเอวเวลา เดินทาง เวลาบรรจุลูกดอกจะมีปุยไม้คล้ายสำ�ลีอัดให้แน่นเพื่อเวลาเป่าจะได้มี กำ�ลังส่ง สัตว์ที่ล่า ได้แก่ ลิง ค่าง นก ชะนี ส่วนสัตว์ใหญ่ใช้หอกหรือหลาวแทน ลูกดอกทำ�จากก้านไม้ที่มีความเหนียว เหลาปลายแหลม ทายาง-อิโป๊ะ เก็บไว้ใน กระบอกไม้ เหน็บเอวเวลาเดินทาง

13

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

เวลาบรรจุลูกดอกจะมีปุยไม้คล้ายสำ�ลีอัด ให้แน่น เพื่อเวลาเป่าจะได้มีกำ�ลังส่ง สัตว์ที่ ล่าได้แก่ ลิง ค่าง นก ชะนี ส่วนสัตว์ใหญ่ใช้ หอกหรือหลาวแทน ปัจจุบันมานิบางกลุ่มรู้จักกินข้าว โดย นำ�ของป่าไปแลกกับข้าวสารจากชาวบ้าน หรื อ ไปทำ � งานให้ เขาแล้ ว ขอข้ า วสารหรื อ ไม่ก็นำ�ของป่าไปขาย แล้วซื้อข้าวสารหรือ ปัจจัยในการบริโภคอื่นๆมา พวกเขายัง ไม่รู้จักประกอบให้อร่อยชวนรับประทาน แต่รู้จักทำ�ให้สุก ยังไม่รู้จักสะสมอาหาร อาหารที่หามาได้เท่าใดก็จะกินอาหารนั้น จนหมดจึงออกไปหาใหม่บางครั้งจึงต้องอด เพราะหาใหม่ไม่ได้ถ้ามีมากก็จะกินทั้งวัน


ภาชนะที่ใช้ในครัว ส่วนใหญ่จะมีหม้อเก่าๆแค่เพียงใบสองใบ

จนกระทั่งหมดแล้วค่อยออกไปหาใหม่ ถ้า หากมีข้าวสารหรือเผือกมันเหลืออยู่แต่กับข้าว หมดแล้ว จะไม่ออกไปหากินเพิ่ม จะกินข้าว กับเกลือหรือหยวกกล้วยป่าตำ�กับเกลือหรือ ใบไม้ห่อเกลือมากินกับข้าว ถ้าหากข้าวสาร เผือกมันลดลง แต่เนื้อสัตว์ยังมีเขาจะกินเนื้อ สัตว์ให้หมดก่อนเมื่อหมดทุกอย่างแล้วจะออก ไปหาอาหารอีกครั้ง ถ้าหาได้ก็มีกิน ถ้าหาไม่ ได้ก็ต้องอด ภาชนะที่ใช้ในครัวจะมีเพียงไม่กี่ชิ้น ส่วน ใหญ่จะมีหม้อเก่าๆเพียงใบสองใบ เป็นทั้ง หม้อข้าวและหม้อแกง บางกลุ่มก็ไม่มีอะไรเลย จะใช้กระบอกไม้ไผ่แทนภาชนะหุ้งต้ม และ ใช้ใบไม้แทน

สำ�นวน : ที่กล่าวขานกันมาสำ�หรับมานิ “ ลูกชาวบ้านกินเป็ดกินไก่ ลูกซาไกกินแต่มะละกอ ”

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

14


ลักษณะ การแต่งกาย

15

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

สมัยก่อนชาวมานิใช้ใบไม้ เปลือกไม้ หรือตะใคร่น้ำ�ที่เกาะเป็น แผ่นตามก้อนหินใหญ่ ๆ ในป่า โดยการแคะมาจากหินแล้วผึ่ง แดดให้แห้งจนเป็นสีดำ� แล้วนำ�มาถักเป็นเครื่องนุ่งห่ม ผู้หญิง มานินุ่งยาวถึงหัวเข่าหรือครึ่งน่อง ใช้ผ้าคาดอกหรือเปลือยอก ผู้ชายนุ่งสั้นแค่เข่าและเปลือยอก ส่วนเด็ก ๆ จะไม่นุ่งอะไรเลย ชาวเงาะรู้จักใช้ผ้ามาแล้วตั้งแต่สมัยพ่อแม่ของเขา แต่ไม่รู้จัก เอามานุ่งให้เป็นถุงเป็นผืนอย่างชาวบ้าน เขาจะเอามาฉีกออก เป็นชิ้น ๆ ขนาดฝ่ามือเดียวกัน แต่มีผ้าหรือใบไม้นุ่งทับรอบเอว ยาวแค่เข่าหรือครึ่งน่องอีกชั้นหนึ่ง ผ้าคาดอกหรือเปลือยอก เช่นเดียวกับผู้ชาย ปัจจุบันชาวมานิรับเอาวัฒนธรรมการแต่งกายอย่างสังคม ชาวเมืองแล้วมีการสวมเสื้อ ผู้หญิงก็นุ่งโสร่ง นุ่งกระโปรง พวก ผู้ชายนุ่งโสร่งบ้าง ผ้าขาวม้าบ้างหรือนุ่งกางเกงสวมรองเท้า แบบชาวเมืองทั่วไป เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเหล่านี้เขาได้รับแจก จากทางราชการหรือผู้มีกุศลจิตมอบให้ มานิจึงได้นุ่งกางเกง ทรงมอส ทรงเดป อย่างเรา ๆ ทั่วไป แต่ผู้หญิงเท่าที่สังเกต ดูพบว่ายังไม่รู้จักใช้ยกทรง อาจจะเป็นเพราะไม่มีคนแจกให้ หรือไม่มีทรงจะให้ยก เขาเล่าให้ฟังว่าเมื่อนุ่งผ้าอย่างชาวเมือง ใหม่ ๆ รู้สึกคันไปหมด แต่ก็จำ�เป็นต้องนุ่งเพราะถ้าไม่นุ่ง นาย (ตำ�รวจ) จะจับถึงแม้ว่าเขาจะพัฒนาการแต่งการเป็นแบบ สังคมชาวเมืองแล้วก็ตามแต่ลักษณะอนารยะก็ยังแสดงให้เห็น อยู่อย่างเด่นชัด คือ เสื้อยังสกปรก มอมแมม ไม่ค่อยซัก นาน ๆ จะซักสักครั้งหนึ่ง หรือบางคนก็นุ่งห่มกันจนขาด ไม่ได้รับการ ซักเลย เขาไม่รู้จักเก็บรักษาเสื้อผ้า เมื่อได้รับแจกชุดใหม่ก็จะ ถอดเก็บชุดเก่าซุกไว้ และไม่รู้จักสวมให้เข้าชุดกัน



วัฒนธรรมทางภาษา วัฒนธรรมทางภาษาของชาวมานิ มนิเป็นคนป่าเผ่า หนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีตระกูลและภาษา เป็นของตนเอง แบ่งออกเป็น ๔ ภาษา ๑.ภาษาแด็นแอ็น ใช้ในหมู่ชาวมานิที่อยู่อาศัยใน จังหวัดพัทลุง ตรัง และสตูล ๒.ภาษาเดียแด ใช้อยู่ในหมู่ชาวมานิในจังหวัดยะลา นราธิวาส ๓.ภาษายะฮาย ใช้อยู่ในหมู่มานิตอนเหนือของ มาเล ๔ภาษากันซิว ใช้ในหมู่มานิที่อยู่อาศัยแถบอำ�เภอ ธารโต จังหวัดยะลา ต้นตระกูลภาษาของมานิ ได้มีผู้รู้เชี่ยวชาญ ทางด้านภาษาและนิรุคติศาสตร์ทั้งของไทย คือ พระยาอนุมานราชธน นายสุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และ ฝรั่ง คือ นายจอร์น เอช แบรนด์ ได้มีความเห็นตรง กันว่า ภาษามานิมีต้นตระกูลมาจากภาษามอญและ ภาษเขมร ซึ่งเรียกว่า ตระกูลออสโตรเซียนติค เป็น ภาษาชนิคำ�โดด ซึ่งมีบางคำ�เป็นคำ�ควบติดต่อกัน แต่ไม่มาก จำ�นวนคำ�ในภาษามานิแท้จริงนั้น มีน้อย คำ�ที่เกิดขึ้นมีเท่าที่จำ�เป็นและต้องการใช้ในการสื่อ ความหมายเท่านั้น มานิรับเอาภาษามลายู ไปใช้ และรับเอาภาษาไทยไปใช้ด้วย แต่จะรับเอาเฉพาะ คำ�ที่เป็นประโยชน์ต่อเขาเท่านั้น ลักษณะของคำ�ที่ นำ�มาจากภาษามลายู โดยดัดแปลงเสียง รูปคำ�และ ความหมาย ภาษามานิอยู่ในตระกูลภาษาคำ�โดด เช่นเดียวกับ ภาษามอญ-เขมร ในเผ่ามานินี้

17

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

ยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่มชน ตามภาษาอีก ได้แก่ กลุ่มภาษา กันซิว ซึ่งเป็น ภาษาที่ชาวมานิที่อำ�เภอธารโต จังหวัด ยะลาใช้พูดกลุ่มภาษาแต็นแอ๊น กลุ่มภาษาแตะเดะ กลุ่มภาษายะไฮ แต่สภาพการณ์ในปัจจุบัน พอคาด การณ์ได้ว่า ภาษามานิอาจสูญหายไป ในอนาคตอัน ใกล้ ด้วยสาเหตุใหญ่ๆ คือ วิถีชีวิตของซาไกปัจจุบันมี การติดต่อกับผู้อื่นมากขึ้นและใช้ภาษาของชนกลุ่มอื่น มากขึ้น มีการติดต่อรับวัฒนธรรม ของชนกลุ่มใหญ่ มากขึ้นทำ�ให้ วัฒนธรรมภาษาของมานิเปลี่ยนไปจาก เดิมมาก เด็กๆชาวมานิรุ่นใหม่จะพยายามใช้ภาษา ใกล้ตัว ซึ่งเป็นภาษาของชน ที่มีวัฒนธรรมสูงกว่า เช่น ภาษามลายูและภาษา ไทยกันอย่างแพร่หลาย แม้ชาว มานิในจังหวัด ยะลาก็สามารถพูดภาษาไทยกับ ผู้ที่ไป เยี่ยมเยือนได้ดี ประกอบกับภาษา มานิไม่มีตัวอักษรที่ เป็นภาษาเขียน อักษรที่ใช้จึงเป็นอักษร ภาษาไทยหรือ ภาษามลายูเป็นส่วน มากภาษามานิ (Kensiu) หรือ ภาษาเกนซีอู ภาษาโอรัง บูกิต ภาษาโมนิก ภาษาเมนดี มีผู้พูดทั้งหมด ๓,๓๐๐ คน พบในมาเลเซีย ๓,๐๐๐ คน (พ.ศ. ๒๕๒๗) ในบริเวณตอนเหนือของรัฐเกดะห์ใกล้กับ ชายแดนไทย พบในไทย ๓๐๐ คน ทางใต้ของจังหวัด ยะลา พัทลุง สตูล นราธิวาส ตามแนวชายแดนมาเลเซีย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่ม มอญ-เขมร สาขาอัสเลียน สาขาย่อยอัสเลียนเหนือมีคำ� ยืมจากภาษามลายูปะปนอยู่มากเช่น ปะยง (พระจันทร์, ภาษามลายูหมายถึงร่ม) ตาโก๊ะ (เสือ, ภาษามลายูหมาย ถึงกลัว) ชาวมานิที่ติดต่อกับคนไทยรับคำ�ยืมจากภาษา ไทยด้วยเช่นเดียวกัน ภาษามานิมีเสียงนาสิกแต่ไม่มี เสียงควบกล้ำ�และเสียงวรรณยุกต์ เป็นภาษาคำ�โดด มี ลักษณะของภาษาคำ�ติดต่ออยู่บ้างแต่ไม่มากนัก


วัฒนธรรมด้านความเชื่อ

ชาวมานิมีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ และเกรงกลัวต่อ สิ่งที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เชื่อในไสยศาสตร์ เวทมนตร์ และข้อห้ามทางสังคม ที่พวกเขากำ�หนดขึ้น ลักษณะของความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในสังคมของชาวมานิ สรุปได้ดังนี้ ๑. ความเชื่อเรื่องโชคลาง มานิเชื่อว่า เมื่อเดินป่าผ่านบริเวณใดเกิดขนลุก ขนพองใจคอสั่น แสดงว่าบริเวณนั้นเจ้าที่แรง ห้ามไป ทำ�ร้ายสัตว์หรือตั้ง”ทับ”ที่อยู่อาศัย เพราะจะถูกผีเจ้าที่ ลงโทษถึงตาย ๒. ความเชื่อเรื่องเวทมนต์คาถา มานิเชื่อว่า เวทมนตร์คาถาใช้รักษาโรคได้ หมอผู้ รักษาโรคจะเสกหมากพลู แล้วเคี้ยวพ่นอวัยวะที่เจ็บปวด เรียกวิธีรักษาว่าทำ� “ซาโฮซ” ๓. ความเชื่อเรื่องวิญญาณและภูตผี มานิเชื่อว่า คนตายไปแล้ว วิญญาณจะเหลืออยู่ และหลอกหลอนญาติพี่น้องได้ ดังนั้นเมื่อมีคนตาย พวก เขาจะย้ายทับไปอยู่มี่อื่นเมื่อฝังศพเสร็จ ๔. ความเชื่อเรื่องสุขภาพ มานิเชื่อว่าผู้หญิงแม่ลูกอ่อนให้กินได้เฉพาะกล้วย ไข่ ปลาเค็ม เกลือ แต่ห้ามกินหัวเผือก ขนุน กล้วย หิน กล้วยน้ำ�หว้า

๕.ความเชื่อเรื่อง การรักษาความบริสุทธิ์ของหญิงสาว สังคมชาวมานิ เชื่อในการรักษาพรหมจรรย์ของ ผู้หญิงอย่างเคร่งครัด จะต้องรักษาความบริสุทธิ์ไว้ไห้ชาย เพียงคนเดียวเท่านั้น และจะไม่ล่วงเกินได้เสียกันก่อน แต่งงาน ๖. ความเชื่อเรื่องสัญลักษณ์ ชาวมานิจะเชื่อเรื่องรูปสัญลักษณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ จะพบเห็นจากธรรมชาติ และเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพศ หรือ ความรักระหว่างชายกับหญิง การเกี้ยวสาว เช่น “หวี ประดับผม” มีความหมายว่า ยังเป็นสาวบริสุทธิ์ยังไม่ได้ แต่งงาน ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะไม่ใช้หวีประดับผม “ปักกำ�” ๗. ความเชื่อเรื่องความฝัน ชาวมานิเชื่อว่า ความฝัน เป็นลางบอกเหตุ หรือ บอกโชคลางในวันข้างหน้า ๘. ความเชื่อเรื่องข้อห้าม หรือกฏเกณฑ์บางประการ ชาวมานิมีข้อห้ามสำ�หรับ สามี-ภรรยา ว่าห้ามไม่ ให้ร่วมประเวณีกันใน”ทับ” ห้ามไม่ให้ลูกสะใภ้หุงข้าว เผา มันให้พ่อสามีกิน แม้เวลาป่วยไข้ก็ไม่ได้ ห้ามลูกสะใภ้นั่ง สนทนาวงเดียวกันกับพ่อสามี ถ้าจำ�เป็นต้องนั่งวงเดียวกัน จะต้อวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวซาไก

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

18


วัฒนธรรมด้านประเพณี

ประเพณีการเกิด สังคมของชาวมานิ ถือว่าผู้เป็นแม่จะให้กำ�เนิดทารกนั้นมีความสำ�คัญมาก ผู้มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้เป็นมารดา คือหมอ ตำ�แย ซึ่งพวกเขาเรียกว่า “โต๊ะดัน” หรือ “โต๊ะบีดัน” ในระยะเจ็บท้องใกล้คลอดนั้น โต๊ะดัน จะนำ�ยาชนิดหนึ่งมา ทาบริเวณหน้าท้องมีการนวดท้อง เพื่อช่วยให้คลอดง่าย และขณะรอ ให้เด็กคลอดออกมา โต๊ะดันจะว่าคาถาดังนี้ “ ตุ้งตุงฮู ฮีโตลีบีโฮ ตามาซาไก ริฮิฮุด มาตีซิมู” เมื่อคลอดแล้ว โต๊ะดันจะเตรียมน้ำ�อุ่น สำ�หรับอาบน้ำ�ให้ทารก น้ำ�อุ่น นี้จะเป็นน้ำ�อุ่นผสมยากับใบเตยให้มีกลิ่นหอม เมื่ออาบน้ำ�เสร็จ แล้วอุ้มเด็กไปห่อด้วยผ้า และวางบนแคร่ ถ้าเด็กมี อาการชัก โต๊ะดันจะใช้ หัวไพล ไปปิดที่หูของแม่ เชื่อว่าอาการชักจะหายไป และจะตัดสายสะดือ ด้วยเครื่องมือทำ� จากไม้ไผ่บางๆ การตัดสายสะดือให้เหลือยาวเลยขาของเด็กเล็กน้อย คล้ายคลึงกับวิธีการของชาวไทย มุสลิมภาค ใต้ทั่วไป แม่จะเป็นผู้เลี้ยงดูเด็ก ด้วยน้ำ�นมแม่ แต่ถ้าแม่ไปทำ�งาน โต๊ะดันจะเลี้ยงเด็กด้วยผลไม้จำ�พวก กล้วย เผือก มัน

19

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก


ทารกในหมู่บ้านมานิ อ. มะนัง จ.สตูล ขณะนั้นเพิ่งคลอดได้ 8 วัน


“เด็ก” ยังคงความเป็นเด็กไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไหน


ประเพณีการแต่งงาน สังคมของชาวมานิ ไม่มีการจัดพิธีแต่งงานระหว่างหนุ่ม-สาว แต่จะใช้วิธีการง่ายๆ ในการที่จะอยู่ครองคู่เป็น สามี-ภรรยากัน คือ เมื่อชายหนุ่มหญิงสาวพอใจกันฝ่ายหนุ่มก็ให้พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ฝ่ายตน ซึ่งอาจอยู่ทับติด กันกับฝ่ายหญิงไปสู่ขอ ถ้าผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงตกลงก็ให้มีการกินเลี้ยงกัน ในการกินเลี้ยงนั้นฝ่ายหนุ่มต้องแสดง ความสามารถในการล่าสัตว์มาเลี้ยงเพื่อนฝูง และฝ่ายหนุ่มต้องเป็นผู้สร้างทับที่อยู่อาศัย เมื่อกินเลี้ยงเสร็จ สร้างทับเสร็จแล้ว เจ้าบ่าวเจ้าสาวไปยังทับของตน และอยู่กินกันอย่างสามี-ภรรยา เท่านั้นเอง

ประเพณีการตาย ลักษณะประเพณีการตายของชาวมานิ เมื่อสมาชิกในกลุ่มคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมลง ญาติพี่น้องของผู้ตายจะเป็น หญิงหรือชายก็ได้จะต้องไปขุดหลุมฝังศพ กว้างประมาณ ๒ ศอก ลึกประมาณ ๓ ศอก ยาวประมาณ ๓ ศอก ที่ตั้ง ของหลุมจะตั้งอยู่บนเนินใกล้ๆ ลำ�ธาร ห่างจากที่พักประมาณ ๑๐๐ เมตร หลังจากขุดหลุมแล้วเขาจะตัดไม้ไผ่รอง พื้นด้านล่าง โดยวางไม้ไผ่เรียงลำ�ดับให้เรียบร้อย สวยงาม ให้หัวไม้ไผ่หันไปทาง ทิศตะวันตก และวางเป็นแนวเรียง ขนานกัน ต่อมาจะตัดไม้ไผ่มาวางเรียงตามขวางกับแนวแรกเป็นชั้นไม้ไผ่ชั้นที่ ๒ เมื่อตกแต่งเรียบร้อยแล้ว หมอผีจะ นำ�เอาหัวไพล ขนาดเท่านิ้วก้อยมาปลุกเสก ส่งให้ญาติของศพ เคี้ยวจนละเอียดแล้วพ่นลงในหลุมแล้ว ญาติของผู้ ตายจะยกศพลงหลุม เมื่อเสกหัวไพลเรียบร้อยแล้ว แล้ววางศพให้หัวไปทางทิศตะวันตก หันหน้าไปทางทิศใต้ ศพ จะนอนในลักษณะงอคู้ เมื่อวางศพเสร็จแล้วนำ� ไม้ไผ่ซีกมาวางบนศพอีกครั้งหนึ่ง โดยให้ปลายปักลงดินด้านหนึ่ง และพาดปากหลุมอีกด้านหนึ่งไม้ไผ่ที่ใช้จะตัดจากบริเวณใกล้ๆ กับหลุมฝังศพ ศพที่จะนำ�ลงหลุมนั้นจะห่อด้วย ผ้า ซึ่งเป็นผ้าของผู้ตายทั้งหมดที่มีอยู่ และต้องห่อให้มิดชิด พับเข่าศพให้คู้เข้ามา แล้วนำ�ไปวางบนแคร่ไปยังหลุม ที่เตรียมไว้ เมื่อยกศพลงหลุมแล้ว แคร่นั้นจะถูกตัดออกให้พอดีกับหลุมวางพาดบนปากหลุมให้เรียบร้อยปูใบไม้ใน แนวขวางกับแคร่ เมื่อปูใบไม้ตลอดหลุมแล้วก็จะให้ญาติผู้ใหญ่ของผู้ตายขึ้นไปย่ำ�บนปากหลุมให้แน่น และให้สร้าง เพิงหมาแหงนไว้รอบๆ หลุมศพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าสร้างบ้านให้ ศพจะได้ไม่ต้องเดือดร้อน เรื่องที่อยู่อาศัยของ ศพ เพราะมีบ้านอยู่แล้ว ตกตอนกลางคืนพ่อแม่ของผู้ตายต้องไปก่อไฟไว้บนหลุมศพเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ศพ

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

22


มานิ (ซาไก) “ การปรับตัว ใช้ชีวิตในปัจจุบัน ”


หมู่บ้านมานิ ณ อำ�เภอมะนัง จ.สตูล มีมานิกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในป่า ระยะทางที่อยู่อาศัยของมานิ ห่างจากหมู่บ้าน ของชาวบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร มีประชากรมานิที่อาศัยอยู่ประมาณ 20-30 คน เดิมดำ�รงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำ�นาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ ปัจจุบันชาวมานิ มีการติดต่อสัมพันธ์กับคนเมืองมากขึ้น พื้นที่ป่าที่ถูกรุกรานอย่างหนักจากคนพิ้นราบ การให้ข้อเสนอเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกับมานิหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิการรักษาพยาบาล การศึกษา ซึ่งล้วนแล้ว เป็นความหวังดีของคนเมือง นั้นหมายถึงว่าพื้นที่ส่วนตัวของพวกเขาลดน้อยลงเรื่อยๆ การทำ�ความรู้จักวิถีชีวิตคนเมือง ของมานิคงเป็นเรื่องใหญ่และลำ�บากมากสำ�หรับการปรับตัวของพวกเขา ในวันนี้มานิขที่เป็นเหมือนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก็บ ตัวอย่างมิดชิดในป่าลึก โลกของพวกเขาถูกเปิดให้คนภายนอกเข้ามามากขึ้น การปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่จึงเกิดขึ้น

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก

24


25

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก


คำ�ว่า มิตรภาพ เกิดขึ้นได้ทุกที่ไม่แบ่งแยกชนชาติ อายุ หรือแม้แต่สีผิว


มานิในยุคปัจจุบัน เมื่ อ มี ก ารติ ด ต่ อ กั บ ชาวบ้ า นทำ � ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู้ แ ละการถ่ า ยทอด แบบแผนในการดำ � รงชี วิ ต มาผสมผสานกั บ สภาพทางสั ง คมเดิ ม ของ ตน ทำ�ให้เกิดการปรับตัวของหน่วยต่างๆ ทางสังคมและนำ�ไปสู่การ เปลี่ยนแปลงแบบแผนในการดำ�เนินชีวิต ในช่วงเวลาต่อมาโดยจะพบว่า ในปัจจุบันมานิเปลี่ยนมาอาศัยในขนำ� (กระท่อม)ของตนเองแทน การ สร้างเพิงพักอย่างอดีตมีการใช้เสื้อผ้าตามแบบคนบ้านโดยเฉพาะเสื้อผ้าสี ฉูดฉาดและกางเกงยีนส์จะเป็นที่นิยมมาก ภายในทับและขนำ�จะพบของใช้ จากหมู่บ้านหลายชนิด เช่น แป้ง สบู่ อาหารกระป๋อง ผงชูรส ฯลฯ โดยมานิเรียนรู้สภาพดังกล่าวจากชาวบ้านที่มาถางป่าทำ�ไร่ในบริเวณ นั้น และบางส่วนก็เคยเป็นแรงงานในไร่ทำ�การเพาะปลูกให้แก่ชาวบ้านมา ก่อนโดยจะพบว่าในปัจจุบันมานิกลุ่มนี้เริ่มที่จะถางป่า ตัดฟัน โค่น และ เผาต้นไม้ลงเป็นบริเวณกว้าง เพื่อที่จะปลูกข้าวไร่ในช่วงฤดูฝนของแต่ละ ปี และเนื่องจากข้าวเปลือกเป็นอาหารที่สามารถจะเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน เมื่อจะกินก็นำ�มาตำ�ในภายหลัง จึงอาจจะกล่าวว่าข้าวเป็นพืชที่ใช้เป็น อาหารชนิดแรกๆที่มีการเพาะปลูกและเก็บไว้บริโภคในระยะเวลานานๆ ของกลุ่มมานิที่ได้รับรูปแบบมาจากชาวบ้านใกล้เคียง จึงกล่าวได้ว่าแบบแผนในทางสังคมและระบบการผลิตดังกล่าวเป็นการ พัฒนาอีกขั้นตอนหนึ่งของสังคมมนุษย์โดยเฉพาะของกลุ่มซาไกแต่เป็นสิ่ง ที่ได้รับอิทธิพลและเกิดการเรียนรู้จากสังคมภายนอก มิได้เกิดขึ้นจากการ พัฒนาศักยภาพในกลุ่มของสังคมของตนเอง เป็นปรากฏการณ์ของสังคม ที่กำ�ลังเปลี่ยนผ่านและสืบเนื่องจากสังคมล่าสัตว์ ไปสู่สังคมเกษตรกรรม หรือสังคมชาวไร่ในโอกาสต่อไปข้างหน้า ภาพรอยต่อของการเปลี่ยนผ่าน ในสังคมดังกล่าวจึงจัดเป็นพัฒนาการอีกลักษณะหนึ่งของสังคมซาไกที่ ดำ�เนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ ในสังคมไทยซึ่งต่างก็ต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของ ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจัยที่ทำ�ให้วัฒนธรรมพื้นฐานการดำ�รงชีพเปลี่ยน ไปคือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายของรัฐบาลในกาปราบ ปรามคอมมิวนิสต์ ปัจจัยภายนอกได้แก่ ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรธรรมชาติ

27

มานิ ราชาป่าที่ถูกขนานนามว่า ซาไก



การจับจ่ายใช้สอยแบบคนเมือง คือการปรับตัวอย่างหนึ่งของการใช้ชีวิต “มานิหรือซาไก” ในปัจจุบัน


“ โลกที่เปลี่ยน มนุษย์ต้องดิ้นรน ” ไม่มีสังคมใดในโลกนี้ที่มีลักษณะสถิตย์ (static) หยุดนิ่งอยู่กับที่เพราะทุกสังคม ประกอบด้ ว ยกลุ่ ม คนที่ ห ลากหลายด้ ว ยปั จ จั ย ต่ า งๆสั ง คมมนุ ษ ย์ จึ ง มี ลั ก ษณะเป็ น พลวัตร (Dynamic) คือมีการการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งกลุ่มสังคมของ ซาไกด้วย อันเนื่องจากปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง ทำ�ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายกับสังคมซาไก ในสังคมไทยซึ่งต่างก็ต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของความเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจัย ที่ทำ�ให้วัฒนธรรมพื้นฐานการดำ�รงชีพเปลี่ยนไปคือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบาย ของรัฐบาลในกาปราบปรามคอมมิวนิสต์ ปัจจัยภายนอกได้แก่ ความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าชาวมานิ ไม่ใช่คนโง่แต่เป็นคนบริสุทธิ์ ตามสภาพแวดล้อมตาม ธรรมชาติ มานิจึงเป็นมนุษย์ผู้อาศัยในป่าแบบยั่งยืน และป่าใดที่มีมานิอาศัยอยู่ บ่ง บอกถึงความสมบูรณ์ของป่านั้นว่ายังบริสุทธิ์ อยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยช่วยรักษา สมดุลทางธรรมชาติ



อ้างอิง จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร เงาะป่า-ซาไกบนเทือกเขาบรรทัด สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2557, จาก https://www.gotoknow.org/posts โครงการ มานิ (ซาไก) สตูล โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2557,จาก http://www. zakaiizatun.blogspot.com



ผู้จัดทำ� : นางสาวลักขณาวัลย์ เพ็ชนะ อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์นวพรรษ เพชรมณี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.