โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) อัมพฤกษ์ อัม พาต เป็นอาการของแขน ขา หรื อ ใบหน้า ซีกใดซี กหนึ่ งชา อ่อนแรง เคลื่ อนไหวล าบาก หรื อ เคลื่ อ นไหวไม่ ไ ด้ อย่ า งทั น ที ทั น ใด เกิ ด ขึ้ น เนื่ อ งจาก หลอดเลื อ ดแดงที่ ไ ปเลี้ ย งสมองตี บ ตั น หรื อ แตก ท าให้ เนื้ อ สมองขาดอาหาร และออกซิ เ จน เกิ ดภาวะเนื้ อสมอง เสียหาย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มีสาเหตุสาคัญมาจาก 3 ประการ คือ 1. หลอดเลือดแดงในสมองเสื่อม หรือหลอดเลือดแดง ตีบแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจากการสะสมของไขมัน ที่ผนังชั้นในหลอดเลือดแดงเสื่อม จากการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไขมันสูง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน 2. หลอดเลือดแดงสมองอุดตันจากลิ่มเลือด หรือ ชิ้นส่วนของไขมันที่หลุดลอยมา ปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญ คือ
การมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคของลิ้นหัวใจ หรือภาวะ หัวใจโต 3. หลอดเลือดแดงสมองแตก จากภาวะความดันโลหิต สูงที่ควบคุมไม่ได้ หรือควบคุมได้ไม่ดี ปัจจัยเสี่ยงที่ทาให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 1. ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญ เนื่องจากไปทาให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ หลอดเลือดจึงแตก ได้ง่าย 2. การสูบบุหรี่ จะลดปริมาณ ออกซิเจน และเพิ่มความหนืดของ หลอดเลือด ทาให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่เพียงพอโดยเฉพาะสมองทาให้เกิดอัมพาตได้ 3. มีน้าตาลในเลือดสูง ทาให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น และตีบแคบ ทาให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกไปเลี้ยงสมอง ไม่เพียงพอเกิดเป็นอัมพาตได้ 4. ไขมันในเลือดสูง ทั้งโคเลสเตอรอลและ ไตรกลีเซอไรด์ ทาให้เกิดเป็นก้อนไขมันเกาะติดกับผนังหลอด เลือด ทาให้หนาตัวแข็งขึ้นและหลอดเลือดตีบแคบ เลือด ไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทาให้เกิดเป็นอัมพาตได้ 5. การบริโภคที่ไม่ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหาร ในปริมาณที่มากเกินไป การรับประทานอาหารที่มีเกลือและ ไขมันสูง การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณ มากเป็นประจา จะทาให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูง ไขมันและน้าตาลในเลือดสูง ซึ่งเพิ่ม โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตมากขึ้น
6. ประวัติเป็นโรคหัวใจ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็น อัมพาตมากขึ้น ต้องควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ 7. กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องหรือญาติสายตรง และมีประวัติการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีโอกาสเสี่ยงสูง ที่จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
อาการสาคัญและอาการแสดง อาการสาคัญที่ต้องนาส่งโรงพยาบาล 1. F: Face ใบหน้าเบี้ยว หรืออ่อนแรง 2. A: Arm แขนขาชา หรืออ่อนแรง 3. S: Speech พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ 4. T: Time หากพบอาการ ให้รีบรักษา ภายใน 270 นาที อาการแสดง 1. ชา หรือ อ่อนแรงบริเวณใบหน้า หรือแขน หรือขา ซีกใดซีกหนึ่งทันทีทันใด 2. ตามัว หรือเห็นภาพซ้อนทันทีทันใด 3. มึนงง เวียนศีรษะ เดินเซ 4. ปวดศีรษะ อย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
วิธีการรักษาทาอย่างไร การรักษาภายใน 270 นาที 1. ประเมินคัดแยกอาการโรคหลอดเลือดสมอง อย่างทันที 2. ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินอาการทาง ระบบประสาท 3. การตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วนตามมาตรฐานที่ กาหนด โดยการเจาะเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 4. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) เพื่อ แยกอาการว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดใด 5. อธิบายให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบรายละเอียดของ โรคและแผนการรักษา การรักษาระยะยาว 1. ควบคุมภาวะเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและ ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น 2. รับประทานยาและพบแพทย์สม่าเสมอ 3. ออกกาลังกาย ควบคุมน้าหนัก 4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 5. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา
การรักษาโดยยาละลายลิ่มเลือด เมื่อให้ยาภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง (270 นาที) หลังเกิดอาการ จะทาให้อาการผิดปกติทางประสาทดีขึ้นมาก ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีมากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบางกลุ่ม
HPMD D00157
โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)
ที่มา : สมศักดิ์ เทียมเก่า, กาญจนศรี สิงห์ภู่, พัชรินทร์ อ้วนไตร และ ณัฐภรณ์ หาดี. (2557). คู่มือ การดูแลสุขภาพสาหรับประชาชน เรื่อง โรคหลอดเลือดสมอง. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมพ์โดย : นางสาวจุฑามาศ สรรพ์สมบัติ พนักงานเวชสถิติ หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ สนับสนุนการพิมพ์โดย : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จัดทาโดย หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร. 043-363077-9 facebook : หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์//HPU
ที่ปรึกษา : รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า นางกาญจนศรี สิงห์ภู่