รายการบรรณานุกรมสำ�เร็จรูป (CIP) รายการบรรณานุกรมสำ�เร็จรูป (CIP) ของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มข. พีระ สมบัติดี ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก = Dengue Fever (DF), Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) / พีระ สมบัติดี, สายสมร พลดงนอก, ภพ โกศลารักษ์.- - พิมพ์ครั้งที่ 1. - - ขอนแก่น : หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์, 2558.
11 หน้า : ภาพประกอบ
1. ไข้เลือดออก. 2. เด็งกี. (1) ชื่อเรื่อง. (2) สายสมร พลดงนอก. (3) ภพ โกศลารักษ์. (4) โรงพยาบาลศรีนครินทร์. งานเวชกรรมสังคม. หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ . [WC528 พ796 2558]
คำ�นำ�
หนั ง สื อ ความรู้ เรื่ อ ง “โรคไข้ เ ลื อ ดออก” นี้ ไ ด้ จั ด ขึ้ น มาเนื่ อ งจาก โรคไข้ เ ลื อ ดออกเป็ น โรคที่ เ กิ ด จากยุ ง เป็ น พาหะ เป็ น ปั ญ หาสาธารณสุ ข ของประเทศไทยและปัญหาสาธารณสุขโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น ดั ง นั้ น การให้ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจเรื่ อ งโรคและการป้ อ งกั น โรคเป็ น สิ่งจำ�เป็นที่ต้องดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สามารถ ปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคและดูแลตนเองขณะเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ ส่งผลให้ประชาชนปลอดภัยและสามารถป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในประเทศไทยได้ คณะผู้จัดทำ� มิถุนายน 2558
กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า, รศ.นพ.ภพ โกศลารักษ์ และ นางกาญจนศรี สิงห์ภู่ ที่ให้คำ�ปรึกษาและคำ�แนะนำ�ในการจัดทำ�คู่มือสำ�หรับ ประชาชน ขอขอบคุณโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ที่สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำ�คู่มือ สำ�หรับประชาชนฉบับนี้
สารบัญ ไข้เลือดออก สาเหตุของโรคไข้เลือดออก การติดต่อของโรค กลุ่มผู้ป่วย การระบาดของโรค อาการของโรคไข้เลือดออก การวินิจฉัยโรค การปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองเมื่อป่วย การรักษาโรค ภาวะแทรกซ้อนของโรค การป้องกันโรค
หน้า 1 1 2 3 3 4 6 7 8 9 10
ไข้เลือดออก
ชื่อภาษาไทย ไข้เลือดออก ไข้เด็งกี ชือ่ ภาษาอังกฤษ Dengue Fever (DF), Dengue Hemorrhagic Fever (DHF)
สาเหตุของโรคไข้เลือดออก
โรคนี้มียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำ�โรค โยเกิดจากเชื้อ ไข้เลือดออกซึ่งเป็นไวรัสมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ เด็งกี (Dengue) กับชิกุนคุนยา (Chigunkunya) ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีสาเหตุ จากเชื้อเด็งกี ซึ่งยังแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อยๆ ได้อีก 4 ชนิด ได้แก่ ชนิด 1, 2, 3, และ 4 เชือ้ เด็งกีเหล่านีส้ ามารถทำ�ให้เกิดไข้เลือดออกทีร่ นุ แรงได้ ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีสาเหตุจากเชื้อชิกุนคุนยา ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง คือไม่ทำ�ให้เกิดภาวะช็อกเช่นที่เกิดจากเชื้อเด็งกี 1
การติดต่อของโรค
มียงุ ลายเป็นพาหะนำาโรค โดยยุงลาย จะกั ด คนที่ มี เชื้ อ โรคไข้ เ ลื อ ดออกแล้ ว ไปกัดคนปกติแล้วจะถ่ายทอดเชื้อไปสู่ คนปกติได้ โดยส่วนใหญ่เป็นยุงลายบ้าน ที่มีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในภาชนะขังนำ้า ที่มนุษย์สร้างขึ้นในบ้านและรอบบ้าน
2
กลุ่มผู้ป่วย
ผู้ป่วยโรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จากรายงานทางระบาดวิทยา พบว่า กลุ่มอายุที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ เด็กอายุ 5-14 ปี แต่ปัจจุบันพบในผู้ใหญ่มากขึ้น พบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ผู้ที่ป่วยแล้ว มีโอกาสเป็นซํ้าได้อีกและถ้าเป็นซํ้าครั้งต่อมาผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงและ จะมีโอกาสเสียชีวิตสูง
การระบาดของโรค
ช่วงเวลาการระบาดของโรคพบได้ ตลอดทั้งปี แต่พบมากในฤดูฝน ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ของทุกปี
3
อาการของโรคไข้เลือดออก อาการของไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
อาการของไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง
ผู้ ป่ ว ยจะมี ไข้ สู ง ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ฉั บ พลั น มี ลั ก ษณะไข้ สู ง ลอยตลอดเวลา (กินยาลดไข้กม็ กั จะไม่ลด) หน้าแดง ปวดศีรษะ อาจมีอาการเบือ่ อาหารและอาเจียน ร่วมด้วย บางรายอาจบ่นปวดท้องในบริเวณใต้ลนิ้ ปีห่ รือชายโครงขวา หรือปวดท้อง ทั่วไป อาจมีอาการท้องผูก หรือถ่ายเหลว บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ คอแดง เล็กน้อย หรือไอบ้างเล็กน้อย แต่ในราววันที่ 3 ของไข้ อาจมีผื่นแดงไม่คันขึ้น ตามแขน ขา และลำ�ตัว
ระยะที่ 1 ระยะช็อกและมีเลือดออก มักจะพบในไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 อาการจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 3 - 7 ของโรคซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤติ ของโรค อาการไข้จะเริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการไม่สบาย เช่น มีอาการ ปวดท้องและอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเท้าเย็น 4
เหงือ่ ออก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว และความดันตาํ่ ซึง่ เป็นอาการ ของภาวะช็อก ถ้าเป็นรุนแรงผู้ป่วยอาจมีอาการไม่ค่อยรู้สึกตัว หากไม่ได้รับ การรักษาได้ทันท่วงทีก็อาจเสียชีวิตได้ภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจ มีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจํ้าเขียวพรายยํ้าขึ้น) เลือดกำ�เดาไหล อาเจียน เป็นเลือดสดๆ หรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆ ถ้าเลือดออกมักทำ�ให้ เกิดภาวะช็อกรุนแรงถึงเสียชีวติ ได้อย่างรวดเร็ว ระยะที่ 2 นี้ จะกินเวลาประมาณ 24-27 ชั่วโมง ถ้าหากผู้ป่วยสามารถผ่านช่วงวิกฤติไปได้ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว ในรายทีม่ ภี าวะช็อกไม่รนุ แรง เมือ่ ผ่านช่วงวิกฤติไปแล้ว จะมีอาการดีขนึ้ อย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกรุนแรง เมื่อได้รับการรักษาอย่าง ถูกต้องและทันท่วงที ก็จะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ อาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยดีข้ึน คือ ผู้ป่วยจะเริ่มอยากกินอาหาร อาการต่างๆ จะกลับคืนสู่สภาพปกติ ระยะนี้อาจ กินเวลา 7-10 วัน หลังผ่านระยะที่ 2 5
ก�รว�นิจฉัยโรค 1. การว�นิจฉัยเบื้องต้น โดยการทดสอบทูร์นิเคต์ (tourniquet test) โดยใช้ เ ครื่ อ งวั ด ความดั น รั ด เหนื อ ข้ อ ศอกของผู้ ป่ ว ยหรื อ ใช้ ย างหนั ง สติ๊ ก รั ด เหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย (ยังพอคลำาชีพจรที่ข้อมือได้) นาน 5 นาที ถ้าพบ มีจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตำาแหน่งที่รัดเป็นจำานวน มากกว่า 10 จุด ในวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว (เท่ากับเหรียญบาทโดย ประมาณ) แสดงว่าการทดสอบได้ผลบวก การทดสอบนี้จะได้ผลบวกได้มากกว่า ร้อยละ 80 ตั้งแต่เริ่มมีไข้ได้ 2 วันเป็นต้นไป 2. การว�นจิ ฉัยโดยแพทย์ แพทย์จะทำาการเจาะเลือด ตรวจดูความเข้มข้น ของเลือด (ฮีมาโทคริต) ซึ่งจะพบว่ามีความเข้มข้นมากกว่าปกติ และตรวจนับ จำานวนเกล็ดเลือด ซึ่งจะพบว่าตำ่ากว่าปกติ ซึ่งมักพบในระยะวิกฤตช่วงไข้ลดลง การวินิจฉัยที่แน่นอน คือ การตรวจเลือดพบเชื้อสารพันธุกรรมของเชื้อหรือ ภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก 6
การปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองเมื่อป่วย ในระยะ 2-3 วันแรกของการเป็นไข้อาการอาจไม่ชัดเจน ก็อาจให้ การดูแลแบบไข้ทั่วๆ ไป ดังนี้ 1. นอนพักผ่อนให้มากๆ 2. เช็ดตัวลดไข้ด้วยนํ้าอุณหภูมิห้อง
3. ดืม่ นํา้ ให้มากๆ โดยทยอยจิบทีละน้อยตลอดทัง้ วัน อาจเป็นนาํ้ สุกเปล่าๆ นํ้าส้มคั้น นํ้ามะนาวคั้น นํ้าหวาน นํ้าอัดลม (ควรหลีกเลี่ยงนํ้าที่มีสีแดง สีดำ� หรือ สีนํ้าตาล เพราะหากผู้ป่วยมีอาการอาเจียนเป็นเลือด อาจทำ�ให้เข้าใจผิดว่าเป็นสี ของนํ้าที่ดื่มเข้าไปได้) ควรดื่มนํ้ามากๆ ให้ได้ทุกวันจนพ้นระยะวิกฤติ (ประมาณ 7 วัน)
7
4. ให้กินยาลดไข้ พาราเซตามอล • ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 1 เม็ด • เด็กโต กินครั้งละ ครึ่ง - 1 เม็ด หรือตามแพทย์สั่ง • เด็กเล็ก ใช้ชนิดนาํ้ เชือ่ ม กินครัง้ ละ 1-2 ช้อนชา (ดูขนาดตามฉลากยา) • ห้ามกินยากลุ่มแอสไพรินหรือยาลดไข้อื่นๆ เป็นอันขาด 5. เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง อาเจียน กินไม่ได้ ดื่มนํ้าได้น้อย ซึม ปัสสาวะออกน้อยและเป็นสีนํ้าชา มีจุด แดงจํ้าเขียวขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออก ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว
การรักษาโรค 1. แพทย์ ทำ � การวิ นิ จ ฉั ย โดย การซักถามประวัติและตรวจร่างกาย อย่างละเอียด 2. ทดสอบทูร์นิเคต์ 3. ประเมินว่าสามารถดูแลทีบ่ า้ น ได้หรือต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยพิ จ ารณาระยะการเจ็ บ ป่ ว ยและ การกิน โดยเฉพาะการดืม่ นํา้ ได้เพียงพอ หรือไม่
8
4. บางรายอาจต้องทำ�การตรวจเลือดเป็นระยะ 5. การรักษา 5.1 ถ้าเป็นไม่รุนแรงอาจกินยาลดไข้ พาราเซตามอล และปฏิบัติตัว ตามคำ�แนะนำ� แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจดูทุก 1-2 วัน จนแน่ใจว่าหายดี (อาจกินเวลา 7-10 วัน) 5.2 ในรายที่เป็นรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้ นํ้าเกลือทางหลอดเลือดดำ� และทำ�การตรวจเลือดดูความเข้มข้นของเลือด (ฮีมาโทคริต) เป็นระยะๆ
ภาวะแทรกซ้อนของโรค
1. ภาวะเลือดออกรุนแรง 2. ภาวะช็อก 3. ภาวะตับวาย (มีอาการดีซ่าน) ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงทำ�ให้เสียชีวิตได้ มักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกอยู่นาน (อาจมีการหายใจลำ�บากจากภาวะมีนํ้า ในโพรงเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย) 4. ถ้าได้รับนํ้าเกลือมากไป อาจเกิดภาวะปอดบวมนํ้า (pulmonary edema) เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 9
การป้องกันโรค 1. ปัจจุบันกำ�ลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ซึ่งอาจมีใช้ ในอนาคต การป้องกันที่สำ�คัญในปัจจุบันอยู่ที่การทำ�ลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น • ปิดฝาโอ่งนํ้า • เปลี่ยนนํ้าในแจกันทุก 7 - 10 วัน • จานรองตูก้ บั ข้าว ควรใส่นาํ้ เดือดลงไปทุก 10 วัน หรือใส่เกลือแกง ในนํ้าที่อยู่ในจานรองตู้ ขนาด 2 ช้อนชาต่อนํ้า 1 แก้ว • ควรเก็บกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่าๆ หรือสิ่งที่จะเป็นที่ขังนํ้า ในบริเวณบ้าน โรงเรียน และแหล่งชุมชน ทำ�ลายหรือฝังดินให้หมด • ปรับพื้นบ้านและสนามอย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อที่มีนํ้าขังได้ • วิธีที่สะดวก คือ ใส่ทรายอะเบต (abate) ชนิดร้อยละ 1 ลงใน ตุ่มนํ้าและภาชนะกักเก็บนํ้าทุกชนิด ในอัตราส่วน 10 กรัมต่อนํ้า 100 ลิตร (ตุ่มมังกรขนาด 8 ปีบ ใช้ทรายอะเบต 2 ช้อนชา, ตุ่มซีเมนต์ขนาด 12 ปีบ ใช้ทรายอะเบต 2.5 ช้อนชา) ควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน นํ้าที่ใส่ทรายอะเบต สามารถใช้ดื่มกินได้อย่างปลอดภัย 2. เด็กที่นอนกลางวันควรกางมุ้งหรือทายากันยุงเพื่อป้องกันยุงกัด 3. กำ�จัดยุงโดยการใช้ยาฆ่ายุง 4. การใช้กลิ่นกันยุง เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม เป็นต้น
10
บรรณานุกรม กังสดาล สุวรรณรงค์. (2547). โรคไข้เลือดออก: มติการป้องกันควบคุมโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. สุจิตรา นิมมานนิตย์. (2542). ไข้เลือดออก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. มานิต ธีระตันติกานนท์ และนิรุทน์ อุทธา. (2540). การควบคุมโรคไข้เลือดออก. โดยกลวิธีเชิงรุกจังหวัดขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์เพ็ญพริ้นติ้ง. ยรรยงค์ ม่วงอินทร์ และชอบเรียน วงศ์ศิริ. (2544). ทางเลือกของการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. วารสารเภสัชศาสตร์และ วิทยาศาสตร์สุขภาพ.
ประวัติผู้เขียน นายพีระ สมบัติดี คุณวุฒิ : พยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำ�แหน่ง : พยาบาลปฏิบัติการ หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (043) 363078 รศ.นพ. ภพ โกศลารักษ์ คุณวุฒิ : แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำ�แหน่ง : รองศาสตราจารย์นายแพทย์ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นางสายสมร พลดงนอก คุณวุฒิ : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำ�แหน่ง : พยาบาลชำ�นาญการพิเศษ หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (043) 363077
พิมพ์ที่ : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา 232/199 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 Tel. 0-4332-8589-91 Fax. 0-4332-8592 E-mail : klungpress@hotmail.com 2558