มะเร็งหลอดอาหาร
อาการและอาการแสดง
ระยะของโรค มะเร็งหลอดอาหาร แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 – ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังอยู่เฉพาะในตัวหลอด อาหาร
มะเร็งหลอดอาหารเป็นมะเร็งของผู้ใหญ่ พบบ่อย เป็นอันดับ 7 ทั่ว โลก พบมากในประเทศที่กาลังพัฒนา พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมากกว่าร้ อยละ 90 พบในช่วงอายุ 55-65 ปี
สาเหตุ สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่าเกิดจากการ ระคายเคืองเรื้อรัง และอาจจะสัมพันธ์กับ 1. เชื้อชาติ พบอุบัติการณ์สูงในประชากรที่อาศัยใน อเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก 2. การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มปัจจัยเสี่ยง 3. อาหารที่มีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) เป็นปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ในหลายอวัยวะรวมทั้งมะเร็งหลอด อาหาร
อาการเริ่มแรกของมะเร็งหลอดอาหาร คือ อาการ กลืนลาบากและน้าหนักลด ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วย อาการอื่นๆที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ อาการกลืน แล้ ว เจ็ บ อาเจี ย นเป็ น เลื อ ด ถ้ า มี ก ารลุ ก ลามของโรค ผู้ป่วยอาจจะมีอาการไอเป็นเลือด อุจจาระสีดา เสียงแหบ หรืออาจคลาต่อมน้าเหลืองได้ที่คอ เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัย 1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย 2. เมื่อสงสัยมะเร็งหลอดอาหาร แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติม ด้วยการเอกซเรย์กลืนแป้ง หรืออาจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่ อ ดู ภ าพ ต าแหน่ ง และพยาธิ ส ภาพของหลอดอาหาร การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อหาระยะของโรคและประเมิน ผู้ป่วยเพื่อวางแผนการรักษา 3. การตรวจเอกซเรย์ปอด การอัลตราซาวน์ตับ การตรวจ ภาพสแกนกระดูก เพื่อดูการแพร่กระจายของโรค 4. การตรวจเลือด ดูการทางานของไขกระดูก ตับ ไต การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ในผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
ระยะที่ 2 – ก้อนมะเร็งลุกลามมากขึ้น ลุกลามไปต่อม น้าเหลืองใกล้เคียง ระยะที่ 3 – ก้อนมะเร็งลุกลามออกมาทะลุเนื้อเยื่อของ หลอดอาหาร และมีการลุกลามไปต่อมน้าเหลืองใกล้เคียง ระยะที่ 4 – ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะใกล้เคียง หรือ มีการกระจายไปต่อมน้าเหลืองไกลๆ หรือกระจายไปยัง อวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกได้ ได้แก่ ปอด ตับ หรือกระดูก เป็นต้น
การรักษา การรักษามะเร็งหลอดอาหาร มีการรักษาหลัก 3 วิธี คือ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาเคมีบาบัด 1.การผ่าตัด ระยะต้นๆ
การผ่าตัดใช้ได้ผลดีกับมะเร็งหลอดอาหาร และเป็นมะเร็งหลอดอาหารในตาแหน่งทีผ่ ่าตัดได้
นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทาอาการกลืนลาบากโดยการผ่าตัด เอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออก แต่ในผู้ป่วยระยะ ลุกลาม ผู้ป่วยไม่สามารถกลืนอาหารทางปากได้ อาจผ่าตัด โดยการให้อาหารทางสายบริเวณหน้าท้อง เข้ากระเพาะ อาหารหรือลาไส้เล็กแทนได้
2. การฉายรังสี มีหลายลักษณะ อาจเป็นการฉายรังสี เพียงอย่างเดียว หรือการฉายรังสีร่วมกับการให้เคมีบาบัด หรือทั้งฉายรังสี ให้เคมีบาบัด และผ่าตัด ซึ่งการเลือก ลักษณะหรือวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์คานึงจากระยะของ โรคและผู้ป่วยเป็นรายๆไป
HPMD MF03358
การติดตามการรักษา เมื่อได้รับการรักษาครบเรียบร้อยแล้ว โดยทั่วไป แพทย์จะนัดติดตามอาการ โดยในช่วง 1-2 ปีแรก หลัง การรักษา อาจนัดติดตามอาการทุก 1-2 เดือน ปีที่ 3-5 หลังการรักษา อาจนัดตรวจทุก 2-3 เดือน ในปีที่ 5 อาจนัด ตรวจทุก 6-12 เดือน
มะเร็งหลอดอาหาร
วัตถุประสงค์ของการฉายรังสี แบ่งได้ 2 ประการ คือ 1) ใช้รักษาเพื่อควบคุมโรค ใช้รักษาในผู้ป่วยระยะลุกลาม ไม่มาก และสุขภาพแข็งแรงดี 2) ใช้รักษาเพื่อประคับประคองอาการ ซึ่งจะใช้รักษาใน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากมะเร็งลุกลามมาก หรือ มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย
3. การให้เคมีบาบัด ลักษณะเช่นเดียวกับการฉายรังสี อาจให้ร่วมกับการฉายรังสี หรือให้ร่วมกับการฉายรังสีและ การผ่าตัด คานึงจากระยะของโรคและผู้ป่วยเป็นรายๆ เช่นกัน
จัดทาโดย เนื้อหาโดย : นางสาวสุนัน เลขวรรณวิเศษ พยาบาลชานาญการพิเศษ ห้องตรวจศัลยกรรม แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จัดทาโดย : นางสาวธัญญลักษณ์ ทอนราช นักวิชาการสาธารณสุข หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ สนับสนุนการพิมพ์โดย : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทร. 043 – 363077-9 เว็ปไซด์ : http://www.srinagarind.md.kku.ac.th
ที่ปรึกษา อาจารย์นพ. วัชรพงศ์ โยธาทัย นางมาสินี ไพบูลย์