เสถียรธรรมสถาน ที่ที่ความดียั่งยืน

Page 1


“ถ้าเราถอดถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกนี้ได้ ใจของเราก็จะเกลี้ยงเกลาจากกิเลส อย่าปล่อยให้ใจของเราเป็นที่สะสมของเก่า คืออารมณ์เก่าๆ เห็นอารมณ์แค่มาแล้วไป...ใจเป็นอิสระ แล้วการเดินทางของเราจะเป็นหนึ่งในเรื่องราวที่เล่าไว้ในประวัติศาสตร์ ไม่มีเรื่องราวใด...ไม่มีประวัติศาสตร์” ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต


เพราะอยากให้เป็นมากกว่าค�ำทักทาย | ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต พุทธศักราช 2529… เสถียรธรรมสถานถือก�ำเนิดขึ้นพร้อมการเสนอตัวเป็นผู้รับใช้ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ปลอดภัยโดยธรรมที่สังคมพึ่งได้ ด้วยเราไม่มีค�ำสอนที่ผิด อีกทั้งมีชุมชนที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย และมีหัวใจเบ่งบานที่จะอาสาออกไปรับใช้ผู้คนอยู่เนืองนิตย์ นี่คือ...ความงดงามโดยธรรมที่เรามีโอกาสได้ท�ำกุศลร่วมกัน ... พุทธศักราช 2559 30 ปีที่ผ่าน บอกได้ดีว่าการท�ำงานคือการร่วมเรียนรู้ ความมีส�ำนึกในงาน ที่จะใช้งานเป็นฐานแห่งการละวางความยึดมั่นถือมั่น ใช้งานเป็นไปเพื่อสละความเห็นแก่ตัว ไม่ใช้งานเป็นข้ออ้างเพื่อเพิ่มอัตตาตัวตน ความส�ำเร็จของเสถียรธรรมสถาน คือการขัดเกลาจิตใจของเราให้เกลี้ยงเกลาจากกิเลส การขัดเกลาจิตใจของเราให้เป็นพุทธะ คือรู้ ตื่น และเบิกบาน ซึ่งเป็นก้าวที่จะพิสูจน์ได้ว่า เราจะมีเสาเข็มที่มีชีวิตที่เดินทางไปกับเราในทุกช่วงวัยของชีวิต... อย่างเคารพชีวิต อย่างมีการเติบโตทางจิตใจ อย่างมีความละอายและเกรงกลัวที่จะใช้ชีวิตอยู่ในกระแสที่น�ำไปสู่ความทุกข์ นี่คือ...‘ความดีที่ยั่งยืน’ ... ก้าวย่างแห่งปัญญาสู่ทศวรรษที่ 4 เสถียรธรรมสถานยังคงท�ำงานอย่างต่อเนื่อง ยังคงมีจิตที่คิดจะให้ มีความสุขที่ได้ให้ และจะให้ให้ได้มากกว่าที่เคยให้ เพื่อชีวิตที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์ร่วมกัน พร้อมๆ กับยังคงให้โอกาสทุกคนในการร่วมเรียนรู้ เพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และทุกคนควรมีจิตส�ำนึกในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง งานในทศวรรษต่อไปจากนี้จึงคือการสร้างจิตส�ำนึก จิตส�ำนึกในการที่จะเคารพชีวิตโดยการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ... ด้วยมีคุณธรรมของพระอารยตารามหาโพธิสัตว์อาบรดใจ หนึ่งในนั้นคือ...ไม่ว่างานนั้นจะยากเพียงใด...ก็จะท�ำให้ส�ำเร็จ


2 |


เริ่มที่ดินแค่ก้อนหนึ่ง | พิกุล วิภาสประทีป...เรียบเรียง

ธรรมชาติ...ธรรมะ...ธรรมดา เสถียรธรรมสถาน… คือป่าในเมือง เป็นหยดน�้ำเล็กๆ ที่ท�ำให้ชีวิตงอกงามได้ คนที่ ก้าวเข้ามาในสวนแห่งนีจ้ ะรูส้ กึ สบาย และบอกกับตัวเองได้วา่ ชีวติ ยังมีโอกาสที่จะเดินทางไปอย่างมีตัวเองเป็นเพื่อน และอย่างอ่อน โยนกับตัวเอง จริงๆ แล้วไม่ว่าคุณจะสุข ทุกข์ หรืออาจไม่แน่ใจว่าคุณสุขหรือ ทุกข์ คนทุกคนก็ควรจะมีทที่ รี่ สู้ กึ ว่านัง่ นอนยืนเดินได้อย่างปลอดภัย และก็เป็นที่ซึ่งไม่พยายามจะท�ำให้คุณต้องรู้อะไรมากไปกว่าการ ท�ำให้คุณรู้จักตัวเอง เพราะเมือ่ คุณรูจ้ กั ตัวเอง คุณจะเลือกรับสิง่ ทีเ่ หมาะกับตัวคุณ แล้วก็ใช้สิ่งที่คุณรับมานั้นเป็นวิธีการ เป็นศิลปะที่จะท�ำให้คุณมีชีวิตที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 3


เสถียรธรรมสถาน… คือทีท่ ที่ กุ ตารางนิว้ เป็นศิลปะ ศิลปะทีส่ วยทีส่ ดุ ในบรรดาศิลปะ ของโลกนี้คือศิลปะในการใช้ชีวิตอย่างไรที่จะท�ำให้เราพ้นทุกข์ ใน สวนธรรมแห่งนี้ ถ้าลมพัด...ก็เย็น ถ้าฝนตก...ก็เปียก ถ้าตากแดด... ก็ร้อน ถ้าคิดผิด...ก็ไม่พ้น ถ้าคิดถูก...ก็ไม่ทุกข์ นี่คืออารมณ์ของสวนธรรมแห่งนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสวนข้าง นอก แต่ขึ้นอยู่กับใจข้างในของคนที่ก�ำลังเดินเล่นในสวน

4 |


เสถียรธรรมสถาน... เป็นที่ที่เกิดจากความรัก ถ้าแผ่นดินนี้ไม่มี ‘ความรัก’ ก็ไม่มี ‘เสถียรธรรมสถาน’ และ ความรักที่มี...ก็เป็นความรักทีม่ ีความเข้าใจ เป็นความรักที่ไม่ยึดถือครอบครอง เป็นความ รักที่ส่งเสริมสนับสนุน พร้อมเกื้อกูล ให้โอกาส ให้ความศรัทธาในสิ่งที่ตนเองรัก และมี ความกตัญญู ความกรุณาเป็นพื้นฐานในการท�ำให้เกิดความยั่งยืนของความรัก เมือ่ เราปิดประตูความหลงลงได้ ความรูท้ จี่ ะท�ำให้เกิดการถนอมรัก และเป็นรักที่ ยั่งยืน ก็ไม่เกินความสามารถของมนุษยชาติ

เสถียรธรรมสถาน... กับก้าวย่างแห่งปัญญาสู่ทศวรรษที่ 4 เวลา 30 ปีที่ผ่านมา เราได้ใส่เมล็ดพันธุ์แห่ง ความรักลงไปในแผ่นดิน เติมความเข้าใจ ความศรัทธา ความกรุณา และความกตัญญู... ต่างปุ๋ย ก่อเกิดเป็นรากแห่งความเป็นอริยะของผู้คน ที่ไม่ว่าจะมามืด...หรือมาสว่าง แต่ทุกคนสามารถที่จะเดินทางอยู่บนหนทางของอริยะ บนหนทางของปัญญา ศีล สมาธิ ที่จะท�ำให้เป็นอิสรชนได้อย่างเท่าเทียมด้วยความรักที่ไม่มีเงื่อนไข... เป็นความรักที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง

เสถียรธรรมสถาน… เริ่มที่ดินแค่ก้อนหนึ่ง...ให้ไออุ่นต้นกล้าต้นหนึ่ง...จากนั้นก็มีสายธารเมตตา หลั่งไหล เข้ามา ช่วยดูแลให้เติบโต... ทุกๆ หยดของน�้ำใจ ก่อเกิดร่มเงาที่ยิ่งกว้างใหญ่...ก้าวเดินสู่การตื่นรู้ด้วยปัญญา รัก เอาใจใส่...ยิ่งท�ำให้คุณความดีเติบโต... จากดวงใจทีร่ อ้ น ทีว่ นุ่ วาย...ผ่านมาพักเพือ่ รับร่มเงาสงบสุขนัน้ ...เปลีย่ นเป็นใจทีพ่ ร้อม พร้อมที่จะแบ่งปัน...เป็นของขวัญให้คนทุกคนด้วยไมตรี... แม้ทุกอย่างนั้นแปรเปลี่ยน...แต่ความศรัทธานั้นยังเต็มเปี่ยม...เกื้อกูลด้วยความ เมตตา...ท�ำให้ใต้ร่มเงานี้... เป็นที่ที่ความดีจะยั่งยืน

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 5


6 |


เราอธิษฐานเพื่อพัฒนาสติปัญญา…เพื่อปกป้องชี วาของเพื่อนมนุษย์ษา

จาก ‘ผู ้ได้’ โอกาส สู่ ‘ผู ้ให้’ โอกาส เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วทีเ่ สถียรธรรมสถานน�ำธรรมะออกไปรับใช้ ผู้คนในทุกช่วงวัยของชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ในวาระก้าวย่างแห่ง ปัญญาสู่ทศวรรษที่ 4 จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะน�ำเสนอเรื่องราวอัน เป็นย่างก้าวที่ส�ำคัญนัก คือ ‘ธรรมาศรม’ อาศรมของผูป้ ฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ ในทุกช่วงวัย ของชีวติ ตัง้ แต่เกิดจนตาย บนวิถอี ยูอ่ ย่างไรอย่างไม่ตายทัง้ เป็น ‘ธรรมาศรม’ เป็นงานมหากุศลที่จะช่วยคนให้ 'อยู่อย่างมี ความหมาย...ตายอย่างมีคุณค่า'

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 7


8 |


วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นปีแห่ง ‘พุทธ ชยันตี’ บรรยากาศยามเช้าของเสถียรธรรมสถานสงบงามด้วยภาพ ของเด็กๆ ที่เคยเข้ามาร่วมเรียนรู้ในทุกงานของเสถียรธรรมสถาน แต่งชุดขาวเดินจูงมือคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย ผ่านประตูรั้วอิฐสีแดงเข้ามาด้วยความร่าเริง พิธอี ญ ั เชิญ พระพุทธชยันตีองค์ดำ� นาลันทา เพือ่ ประดิษฐาน เป็นพระประธานในงาน ‘สวดมนต์ข้าม 26 ศตวรรษ’ ณ ท้อง สนามหลวง ที่เกิดขึ้นในวันนั้นนับเป็นนิมิตใหม่ของสังคมที่ท�ำให้ เห็นการเคลื่อนเปลี่ยนไปสู่ ‘การสร้างสังคมแห่งปัญญา และการ เยียวยากันด้วยความรักอย่างลึกซึ้งของคนแต่ละรุ่นที่อยู่ร่วมกัน ในสังคมไทย’ ตกตอนสายของวัน ผู้คนมากมายในเครื่องแต่งกายสีขาว สะอาดตาได้มารวมตัวกัน ณ ท้องสนามหลวง ด้วยเป็นเวลาและ วันอันส�ำคัญแห่งการอัญเชิญ พระพุทธชยันตีองค์ด�ำ นาลันทา มาเป็นพระประธานในการสวดมนต์ข้าม 26 ศตวรรษ เฉลิมฉลอง พุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ในคืนวันวิสาขบูชา 4 มิถุนายน และจากการท�ำงานตามพุทธกิจในกาละพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในปี พ.ศ. 2555 เสถียรธรรมสถานก็ได้เคลือ่ นขบวน ธรรมยาตรา พระพุทธชยันตีองค์ดำ� นาลันทา ออกไปเยียวยาผูป้ ว่ ย 76 จังหวัดทัว่ ประเทศ โดยมีผคู้ นกว่า 10 ล้านคนภายในระยะเวลา สี่ปีที่ได้นมัสการพระองค์ ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้กล่าวถึงการท�ำงานเยียวยา ตามพุทธกิจว่า “ผู้ป่วยทุกคนเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ของข้าพเจ้า ที่ท�ำให้รู้ว่าการ เยียวยาคือความงามของโลกใบนี้ เป็นความงดงามของคนสอง

กลุ่ม คือกลุ่มคนที่เข้าไปเยียวยา และกลุ่มที่ได้รับการเยียวยา ใน ความเป็นจริง พลังของการเยียวยาเกิดขึ้นในหัวใจของคน ด้วย ศรัทธาที่แรงกล้าในกันและกัน เราในฐานะที่เข้าไปเรียนรู้กับผู้ ป่วย เคารพหัวใจของผู้ป่วย และปรารถนาที่จะเข้าไปถ่ายถอน ความทุกข์ของผองเพื่อนที่อยู่ข้างหน้าเราในฐานะของเพื่อนร่วม ทุกข์ ท�ำให้เราได้เห็นพลังของพระธรรมที่ท�ำให้ใจของเรามีความ เป็นเพื่อน แม้แต่การเอาทุกข์นั้นมาเป็นของเรา มันจึงท�ำให้เห็น ถึงความศักดิส์ ทิ ธิข์ องการท�ำงานด้วยจิตทีไ่ ม่ขนุ่ มัวเช่นนี้ และการ ได้มโี อกาสสอนให้บคุ ลากรในโรงพยาบาล ตลอดจนญาติผปู้ ว่ ย ใช้ ธรรมะในการท�ำให้คนป่วยทีท่ กุ ข์กายแต่ไม่เป็นทุกข์ใจ บทบาทของ การดูแลจึงเปลี่ยนเป็นผู้ดูแลไม่ใช่เป็นแค่ผู้เฝ้าไข้ แต่คือผู้ที่ก�ำลัง ได้รบั โอกาสทีจ่ ะเข้าไปพัฒนาการเป็นผูร้ บั ใช้ดว้ ยจิตวิญญาณของ คนทีท่ ำ� งานตามพุทธประสงค์ทกี่ ล่าวว่า การดูแลผูป้ ว่ ยคือการดูแล เราตถาคต’ จากการจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชนท�ำให้ พบเจอความทุกข์ยากมากมาย... จากความเชี่ยวชาญในการท�ำงานเยียวยากว่าสี่ปี... จึงเป็นความพร้อมของเสถียรธรรมสถานที่จะท�ำให้เกิดการ สร้าง ‘ธรรมาศรม’ ห้องแล็บวิจัยชีวิต เพื่อรองรับ เพื่อตอบสนอง ไลฟ์สไตล์ของคนที่ประสงค์จะ ‘อยู่อย่างมีความหมาย’ แล้วก็กล้า ที่จะคืนไม่ฝืนไว้อย่างมั่นคงแม้กระทั่งถึงเวลาตายก็สามารถ ‘ตาย อย่างมีคุณค่า’ โดยวิธีการใช้วิถีชีวิตอย่างมีปัจจุบันขณะที่รู้ตัวทั่ว พร้อม กินอยู่หลับนอนอย่างเป็นมิตรและใกล้ชิดกับธรรมชาติ... เพื่อให้ทุกคนได้รับโอกาสในการเรียนรู้ด้านการเยียวยาได้ อย่างเป็นรูปธรรม ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 9


10 |


ธรรมาศรม | สุนทรี กุลนานันท์

‘ธรรมาศรม’ อาศรมของผู ้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ‘อยู ่อย่างมีความหมาย...ตายอย่างมีคุณค่า’

ก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 เสถียรธรรมสถาน...กับงาน ‘ธรรมาศรม’ จุดเริม่ ต้นของการชุบชีวติ ให้ผนื ดินทีแ่ ห้งผากกลายเป็นสถานปฏิบตั ธิ รรมอันสัปปายะ ส�ำหรับคนทุกวัย มีเพียงความกตัญญูที่ ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ในวัยเพียง 33 ปี ขณะนั้น มีต่อ พระครูภาวนาภิธาน หรือ พระครูเส็ง เจ้าอาวาสวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต พระอุปชั ฌาย์ทชี่ แี้ นะไว้กอ่ นล่วงลับว่า “ถ้ามีสติปญ ั ญา สมบัตกิ ไ็ ม่เป็นทุกข์” เสมือนกับจะ ล่วงรู้ว่า เมื่อสิ้นครูบาอาจารย์แล้ว สิ่งที่จะท�ำให้แม่ชีนักท�ำงานที่ยังอยู่ในวัยสาวสามารถ ด�ำรงอยูใ่ นเพศของนักบวชได้ยนื ยาวนัน้ มิใช่วถิ ปี ฏิบตั ธิ รรมทีห่ ลีกเร้นจากโลก แต่เป็น ‘การ งานทีส่ งบเย็นและเป็นประโยชน์’ บนผืนดินแห่งนี้ อันเป็นพุทธประสงค์ทพี่ ระพุทธองค์ทรง มอบหมายพุทธกิจแก่เหล่าอริยสาวกสาวิกาทัง้ หลายว่า ‘เธอจงจาริกไปเพือ่ ประโยชน์และ ความสุขแห่งมหาชน จึงเกิด ‘เสถียรธรรมสถาน’ สถานที่ที่มีธรรมะอันมั่นคง อันเป็นชื่อ ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภะ) หรือ หลวงพ่อใหญ่ ผู้เป็นอาจารย์ของ หลวง พ่อภาวนาภิธาน ตั้งให้ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 11


วั น นี้ . ..ครบสามทศวรรษที่ เ สถี ย รธรรมสถานท� ำ งานหนั ก เพื่ อ ประโยชน์ สุ ข ของ มนุษยชาติอย่างต่อเนื่อง และเริ่มย่างก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 4 ด้วยการสร้างสรรค์ ทศวรรษที่ 1 ท�ำงานตั้งรับ…กับการท�ำงานแก้ปัญหา ‘เด็ก ผู้หญิง และครอบครัว’ ทศวรรษที่ 2 บุกงานเชิงรุก…เริ่มงานป้องกัน ‘เตรียมความพร้อม ไม่ให้เกิดความ พร่อง’ ทศวรรษที่ 3 เติบโตทางปัญญา ถอดองค์ความรู้ สู่การสร้าง ‘สาวิกาสิกขาลัย’ มหา วิชชาลัยธรรมะเพื่อเยียวยาสังคม วันนี้...เสถียรธรรมสถานพร้อมก้าวสู่... ทศวรรษที่ 4 เดินหน้ากับการสร้าง ‘ธรรมาศรม’ งานมหากุศลซึ่งจะช่วยคนให้ ‘อยู่ อย่างมีความหมาย...ตายอย่างมีคุณค่า’ ธรรมาศรม...คือมรดกที่เราจะให้กับโลก “ธรรมาศรมคือมรดกทีเ่ ราจะให้กบั โลก” เป็นเจตนารมณ์ทที่ า่ นแม่ชศี นั สนียไ์ ด้ประกาศ ไว้เมือ่ ครบรอบการบวช 36 พรรษา ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และในการก้าวเข้า สูท่ ศวรรษที่ 4 เสถียรธรรมสถานได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ในการจัดการศึกษาร่วมกันเพื่อมอบองค์ความรู้ธรรมะเพื่อเยียวยา สังคมให้เป็นมรดกแก่โลกต่อไป “ธรรมาศรมไม่ใช่อีกหนึ่งโครงการ แต่เป็นการร้อยเรียงงานทั้งหมดตลอด 30 ปีของ เสถียรธรรมสถานให้เป็นศูนย์วจิ ยั ทางธรรม หรือธรรมวิจยั เพือ่ สาธิตการน�ำธรรมะออกไป เยียวยาสังคม ด้วยองค์ความรูท้ างพุทธศาสนาตลอดสายตัง้ แต่การปริยตั -ิ ปฏิบตั -ิ ปฏิเวธ เป็นการน�ำประสบการณ์มากมายตลอดสามทศวรรษมาสกัดในห้องแล็บวิจัยชีวิต สร้าง ‘แคปซูลธรรมะ’ คือการน�ำแก่นธรรมในพุทธกาลมาสูป่ จั จุบนั กาล ท�ำของยากให้งา่ ย ท�ำให้ แพร่หลาย ท�ำให้เข้าไปอยู่ในครัวเรือน ช่วยมนุษย์ให้ ‘อยู่อย่างมีความหมาย’ และ ‘ตาย อย่างมีคุณค่า’ ได้ทุกเพศและวัย ตั้งแต่ปฏิสนธิจิตจนคืนชีวิตสู่ธรรมชาติ”

12 |


ธรรมาศรม...ห้องแล็บวิจัยชี วิต ธรรมาศรม หมายถึงอาศรมของผู้ปฏิบัติธรรม หรือที่อยู่ของผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ใน ทุกช่วงวัยของชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายที่จะช่วยคนให้ ‘อยู่อย่างมีความหมาย’ และ ‘ตาย อย่างมีคุณค่า’ จากสามทศวรรษทีผ่ า่ นมา ผูม้ ที กุ ข์เดินผ่านเข้าออกเสถียรธรรมสถานมากมายราวกับ เม็ดทราย ทรายบางเม็ดใช้ความทุกข์พาให้พบธรรมด้วยการเจียระไนตนเองจนงดงาม ทรายหลายเม็ดได้รวมตัวกันและหล่อหลอมตนเองด้วยงานธรรมอาสา จับมือกับผู้มีสุข เพราะยืนอยู่เหนือความทุกข์ได้ น�ำพาผู้คนให้พ้นทุกข์ร่วมกัน...เปลี่ยนจาก ‘ผู้มีทุกข์’ เป็น ‘ผู้มีธรรม’ ในทศวรรษที่ 4 เสถียรธรรมสถานจึงเชือ้ เชิญผูม้ ธี รรมทีย่ นิ ดีมอบชีวติ ให้เป็นธรรมทาน มาสร้างคุณความดีร่วมกันในการพิสูจน์ว่าความทุกข์ (ป่วย) กายและทุกข์ (ป่วย) ใจของ คนทุกวัยสามารถดูแลได้ด้วยธรรมะ โดยพื้นที่เพียง 2.5 ไร่ด้านในของเสถียรธรรมสถาน จะพัฒนาให้เกิด ‘อาคารธรรมาศรม’ เพื่อเป็นอาศรมของผู้ปฏิบัติธรรมระยะยาว รองรับ ชีวิตทุกขั้นตอนตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย สาธิตให้สังคมตระหนักถึงความส�ำคัญของสร้าง ชุมชนแห่งธรรมทีเ่ กือ้ กูลกันได้แม้อยูใ่ นสังคมเมือง เพราะในขณะทีส่ งั คมกังวลกับสภาวะ เศรษฐกิจ ท�ำให้งานเยียวยาสังคมในภาคประชาชนทั่วไปต้องชะลอตัว แต่เสถียรธรรม สถานกลับสวนกระแสว่า “เมื่อโลกยิ่งมืดยิ่งต้องจุดไฟ เมื่อโลกยิ่งแล้ง (น�้ำใจ) ยิ่งต้องการแหล่งน�้ำ” อาคารธรรมาศรม = ธรรมนิเวศ + ธรรมชาติบ�ำบัด อาคารธรรมาศรมใช้องค์ความรูท้ าง ‘ธรรมนิเวศ’ คือการสร้างสิง่ แวดล้อมทีส่ ปั ปายะ ในทุกด้านทีเ่ กือ้ กูลต่อวิถชี วี ติ ของผูป้ ฏิบตั ธิ รรม ร่วมกับองค์ความรูท้ าง ‘ธรรมชาติบำ� บัด’ สร้างวิถชี วี ติ ใหม่อย่างเข้าใจธรรมะ ธรรมชาติ และการพึง่ พาตนเอง ตัง้ แต่การกินอาหารที่ ปลอดภัยปราศจากการเบียดเบียน การอยูท่ า่ มกลางต้นไม้และสรรพชีวติ ใหญ่นอ้ ยทีเ่ กือ้ กูล ต่อการเห็นธรรมจากธรรมชาติ การหลับนอนในอาคารสถานทีท่ เี่ กือ้ กูลสอดคล้องกับสภาพ ร่างกายของผู้ปฏิบัติธรรมทุกวัย ตั้งแต่แม่ที่ตั้งครรภ์ แม่ลูกอ่อน ผู้ป่วย คนชรา และผู้ ต้องการธรรมเยียวยาในระยะสุดท้ายของชีวิต โดยอาคารถูกออกแบบให้สามารถรองรับ ผูป้ ฏิบตั ธิ รรมแบบระยะยาวได้ถงึ 100 ห้อง ทีม่ าอุทศิ ชีวติ ร่วมกันในการสร้างชุมชนธรรม วิจัย ผ่าน ‘การเปลี่ยนร้ายกลายดี’ ของตนเอง

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 13


สุข-ทุกข์เป็นสากล...ทุกคนเสมอกันด้วย ‘จิตที่คิดจะให้’ ในหอประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเป็นครั้งสุดท้าย ว่า “ความตายเป็นที่สุดรอบของชีวิต เธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด” ซึ่งท่าน แม่ชีศันสนีย์ใช้ภาษาในปัจจุบันว่า “การเกิดและตายเป็นแพ็กเกจเดียวกัน” ไม่มีใครเกิด แล้วไม่ตาย ความเจ็บป่วยและความตายไม่ได้มาถึงเมื่อเราแก่ชราเท่านั้น แต่มาเยือนได้ ตั้งแต่มนุษย์ยังอยู่ในครรภ์มารดา ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ นับถือศาสนาใด ความตายก็ยังคงเป็นที่สุดรอบของชีวิตเหมือนกัน ความต่างอยู่ที่ใครจะ สามารถมีชีวิตที่ ‘อยู่ได้...อย่างไม่ตายทั้งเป็น’ เคล็ดลับของการ ‘อยูอ่ ย่างไร…ไม่ตายทัง้ เป็น’ นัน้ เป็นธรรมหลักในการสอนของเสถียร ธรรมสถานมาตลอดสามทศวรรษว่า “ปฏิจจสมุปบาทจะท�ำให้เราพ้นทุกข์ได้เพราะจิตเห็น การเกิดดับฉับพลัน ไม่เผลอเพลิน เอ๋ออวย จ่อมจม งมงาย แต่ด้วยการเจริญสติในทุก การกระท�ำ เมื่อมีการกระทบ เห็นการกระเทือน แต่ไม่กระแทกให้ใครเจ็บปวดเพราะจิต ปรุงแต่งอย่างมีอวิชชาของเรา และ ‘อริยะสร้างได้ ไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย’ การเป็นชาวพุทธ ต้องมีเป้าหมาย พัฒนาชีวิตตนเองในชาตินี้ให้พ้นจากปุถุชน ก้าวขึ้นมาเดินบนหนทาง อริยะ หรืออริยมรรค หนทางของปัญญา ศีล สมาธิให้ได้ นั่นจึงจะเป็นชีวิตที่ไม่ตายทั้ง เป็น หรือหายใจทิ้งไปวันๆ เป็นมนุษย์ที่แท้ ไม่เป็นแค่เหยื่อของอารมณ์” การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรูท้ จี่ ะอยูร่ ว่ มกันอย่างศานติทำ� ให้ในสามทศวรรษทีผ่ า่ นมา เสถียรธรรมสถานกลายเป็นแหล่งเรียนรูท้ างจิตวิญญาณแห่งหนึง่ ของโลก เป็นแลนด์มาร์ก ทางจิตวิญญาณของผู้แสวงหาจากทั่วโลก และการสอนอย่างไม่งมงาย เจาะลึกเข้าไปถึง ธรรมที่เป็นหัวใจของการพ้นทุกข์ จึงท�ำให้เพื่อนมนุษย์ต่างชาติต่างศาสนาเข้ามาท�ำงาน ร่วมกันเพื่อให้ความทุกข์ที่เป็นสากลถูกแปรเปลี่ยนเป็นความสุขที่เป็นสากล ด้วยธรรมะ ที่เป็นสากลกับคนทุกศาสนา ‘ตารากลับบ้าน’...บ้านแห่งการท�ำงานเพื่อช่ วยผู ้หญิงให้บรรลุธรรม วันหนึง่ ทีท่ า่ นแม่ชศี นั สนียเ์ ดินทางไปยังเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ดินแดนที่ ไกลคนละซีกโลก ท่านได้รบั มอบ ‘พระอารยตารามหาโพธิสตั ว์’ อายุกว่า 2,000 ปี ซึง่ เป็น พระโพธิสัตว์ที่ชาวพุทธวัชรยานให้ความนับถือ จาก ดร. ฮง เชม อดีตผู้อ�ำนวยการกอง บ�ำรุงก�ำลัง องค์การสหประชาชาติ บุคคลผูท้ แี่ ม้เพิง่ พบท่านแม่ชเี ป็นครัง้ แรก แต่ซาบซึง้ กับการท�ำงานของท่านแม่ชใี นฐานะนักบวชหญิงทีเ่ ปิดเสถียรธรรมสถานให้เป็นบ้านทีช่ ว่ ย เหลือผู้หญิงซึ่งถูกกระท�ำความรุนแรง นาทีนั้นดร. ฮงได้กล่าวค�ำที่มีความหมายมากว่า

14 |


“ตารา...กลับบ้าน” ท่านแม่ชีศันสนีย์มิได้สนใจที่ความล�้ำค่าของพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ในฐานะรูป เคารพอันศักดิ์สิทธิ์ วัตถุโบราณอายุกว่า 2,000 ปี หรือต�ำนานการค้นพบ แต่ท่านตั้ง ค�ำถามว่า “เหตุใดจึงมีผคู้ นนับถือพระอารยตารามหาโพธิสตั ว์พระองค์นมี้ ายาวนาน และ ชาวอินเดียเชื่อว่าท่านคือพระมารดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์” และค�ำตอบจากการ สืบค้นนั้นพบว่า ‘ความอัศจรรย์คือคุณธรรมของท่าน’ ซึ่งนับตั้งแต่วันนั้น คุณธรรมของ พระอารยตารามหาโพธิสัตว์ก็กลายมาเป็นพลังใจในการท�ำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ของท่านแม่ชีศันสนีย์และชาวชุมชนเสถียรธรรมสถาน ปี พ.ศ. 2549 ได้รับพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ มาประดิษฐานเป็นการถาวร ณ เสถียรธรรมสถาน ปี พ.ศ. 2556 สร้างถ�ำ้ พระอารยตารามหาโพธิสตั ว์ ห้องภาวนา คุณธรรมแปดประการของพระอารยตารามหาโพธิสตั ว์ ที่เหมือนอยู่ในท้องของแม่ ไม่มีความถือตัวอวดดี ปี พ.ศ. 2558 สร้างพระมหาเจดียพ์ ระอารยตารามหาโพธิสตั ว์ ไม่มีความโง่เขลา หมื่นพระองค์ รองรับการประดิษฐานของพระศรีอาริยเมตไตรย ไม่มีความอาฆาตพยาบาททั้งปวง รายล้อมด้วยพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ ผู้อธิษฐานจิตที่จะเป็น ไม่มีความอิจฉาริษยา พระมารดาของพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ไม่มีความคิดเห็นที่ผิด ไม่มีความโลภ ธรรมาศรม...การเยียวยาด้วยหัวใจแม่...หัวใจโพธิสัตว์ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ในขณะที่เสาเข็มของอาคารธรรมาศรมต้องแข็งแรง อาสา ไม่มีความยึดติด ความเคลือบแคลงสงสัยทั้งปวง สมัครและผู้มีส่วนร่วมในงานมหากุศลนี้ก็ต้องท�ำตนให้เป็น ‘เสา เข็มที่มีชีวิต’ พัฒนาตนเองทั้งทักษะการเยียวยาทางกาย และมี โพธิจิตที่จะมอบความเมตตาเยียวยาทางใจได้อย่างลึกซึ้ง จึงเป็นงานที่อาสาสมัครต้อง น้อมน�ำ ‘หัวใจแม่...หัวใจโพธิสัตว์’ มาใช้ในการท�ำงาน ซึ่งท่านแม่ชีเชื่อมั่นเสมอว่าเวลาที่ เราท�ำงานยากให้สำ� เร็จได้นนั้ เป็นเพราะเรามีหวั ใจแม่ คือผูใ้ ห้อย่างไม่มเี งือ่ นไข คุณธรรม ของพระอารยตารามหาโพธิสตั ว์จงึ เป็นหัวใจส�ำคัญของการท�ำงานธรรมาศรม...งานทีย่ าก แต่ต้องท�ำให้ส�ำเร็จ ดังที่ท่านแม่ชีศันสนีย์กล่าวอย่างมุ่งมั่นว่า “ความโดดเด่นของพระอารยตารามหาโพธิสัตว์คือผู้หญิงที่ปราศจากความกลัว พระบาทซ้ายของพระองค์อยู่ในท่าที่สงบเย็น พระบาทขวามีดอกบัวรองรับ นั่นหมาย ถึงการดีดตัวออกไปช่วยผู้อื่นอย่างมีพุทธะ พระหัตถ์ขวาที่หงายขึ้นของพระองค์คือการ ยืนยันการให้พรทุกคน พระหัตถ์ซ้ายของพระองค์ที่ทรงจับดอกบัวอย่างมั่นคง แต่ไม่ยึด ไม่กำ� หมายถึงการท�ำงานอย่างปล่อยวาง และมีปญ ั ญา ข้าพเจ้าท�ำงานสร้างเสถียรธรรม สถานอย่างคนตายจาก เสถียรธรรมสถานเป็นสมบัติของคนตายจาก เสถียรธรรมสถาน ไม่ใช่ของข้าพเจ้า นี่จึงเป็นการยืนยันที่ท�ำให้ข้าพเจ้าหมดสงสัยว่าท�ำไมพระอารยตารา มหาโพธิสัตว์จึงกลับบ้านหลังนี้... “ขอให้เราร่วมกันสร้าง ‘ธรรมาศรม’ ด้วยความเป็นเสาเข็มที่มีชีวิต คือลดความเห็น แก่ตัว และออกไปท�ำประโยชน์ให้กับคนได้มากที่สุด” ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 15


‘ผู ้’ ท�ำ ‘บุ ญ’ เป็น ‘ทุน’ ในการสร้าง ‘ธรรมาศรม’

งานมหากุศลที่จะช่ วยคนให้ 'อยู อ่ ย่างมีความหมาย...ตายอย่างมีคณ ุ ค่า' หนึ่งท่าน...หนึ่งห้อง

คุณสุพัฒนา วัฒนรังสรรค์ “คิดว่าเรามีบุญวาสนาที่ได้มาพบคุณแม่และสถานที่ซึ่งสร้าง ขึน้ มาอย่างดีเลิศแห่งนีท้ เี่ ผือ่ แผ่ให้พวกเราทุกคนได้มาปฏิบตั ิ และมาสร้างบารมีร่วมกัน นับเป็นบุญอย่างยิ่งที่ได้มาเยือน สถานที่ซึ่งสวยสงบ มีผู้น�ำที่เข้มแข็ง และมีการบริหารจัดการ ทีด่ เี ยีย่ ม นีเ้ ป็นส่วนทีท่ ำ� ให้ตดั สินใจว่าอยากเป็นส่วนหนึง่ ของ โครงการธรรมาศรมที่คุณแม่ท�ำค่ะ”

คุณชัญญา เศรษฐบุ ตร (แม่ครู อู่) นักธรรมชาติบ�ำบัด

“ครูบาอาจารย์ให้โอกาสเราท�ำสิ่งที่ดี ที่สุด เราก็ท�ำ เราไม่ดื้อ” คุณจันทนา สุขุมานนท์ ที่ปรึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน)

“ขอบคุณท่านแม่ชีศัน สนีย ์ ที่ ใ ห้ โอกาสได้ เป็ น สะพานบุ ญ หรือท�ำบุญ บางคนมีเงิน บางคนก็มีก�ำลังกาย เราท�ำได้ ทั้งนั้น ถ้าเราอยากจะท�ำ” คุณจันทิรา กิตติฐิติกุล คุณเกศนี จิรวัฒน์วงศ์ “เป็นปณิธานอันมั่นคงของคุณแม่ศันสนีย์ที่จะเกื้อกูลผู้คน ในด�ำริซึ่งเป็นที่สุดของครูบาอาจารย์ ในฐานะที่เราเป็นศิษย์ ผู้มีกตัญญู สิ่งใด อย่างไรที่เราจะสามารถปวารณาท�ำงาน ถวายท่านได้ ถือเป็นการรับใช้ ถวายเป็นอาจาริยบูชา ก็ตั้งใจ อย่างเต็มที่ ส่วนตัวแล้วมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เกือ้ กูลต่อคนมากทีส่ ดุ การท�ำให้คนมีชวี ติ อยูไ่ ด้อย่างสบายไม่ เจ็บป่วย และเข้าใจชีวิตด้วยการดูแลตัวเองอย่างง่ายๆ ด้วย ธรรมชาติเป็นเรื่องที่ทุกคนท�ำได้ เมื่อคนหนึ่งมีความสุข ก็จะ ท�ำให้ครอบครัวมีความสุข แต่ถ้าหนึ่งคนเจ็บป่วย ครอบครัว ก็คงไม่มีความสุข ดังนั้น นี้จึงเป็นงานที่มุ่งมั่นตั้งใจมาก เป็น อาจาริยบูชาและเป็นการกตัญญูต่อท่าน” 16 |

บริษัท ห้างทองลายกนก จ�ำกัด

“ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างที่ พักอันสัปปายะให้ผู้ปฏิบัติธรรม”

คุณไพนัดดา จินดาเนตร “หัวใจพระศาสนาอยู่ที่นี่ จึงอยากจะ ช่วยค่ะ”


คุณจันทิรา ธรรมวัฒนะ และครอบครัว “ตัง้ ใจมาร่วมสร้างทีป่ ฏิบตั ธิ รรมทีส่ ปั ปายะให้ผปู้ ฏิบตั ธิ รรม”

ครอบครัว Teo Choo Guan นักธุรกิจชาวมาเลเซีย

“ท�ำบุญเพราะอยากให้ทุกคนมีความสุข”

คุณวัลภา สถิรชวาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเกิลส์ แอร์แอนด์ซี (ประเทศไทย) จ�ำกัด

“ท�ำบุญเพราะอยากช่วยให้โครงการนี้ส�ำเร็จค่ะ”

ด้วยเหตุดงั กล่าวนี้ การสร้างยอดฉัตรพระมหาเจดียพ์ ระอารยตารามหาโพธิสัตว์หมื่นพระองค์ จึงเป็นเสมือนการวางรากฐานการสร้าง เสาเข็มให้กับงาน ‘ธรรมาศรม’ ผู้ที่สนใจร่วมบุญมหากุศลในครั้งนี้สามารถเข้าร่วมได้โดยการบูชา ‘พระอารยตารามหาโพธิสัตว์’ ปัจจัยทั้งหมดเพื่อการสร้าง ‘ธรรมาศรม’ ณ เสถียรธรรมสถาน ๏๏ ร่วมบุญ 300 บาท...รับพระอารยตารามหาโพธิสัตว์องค์สัมฤทธิ์ ๏๏ ร่วมบุญ 500 บาท...รับพระอารยตารามหาโพธิสัตว์องค์สามกษัตริย์ ๏๏ ร่วมบุญ 1,000 บาท...รับเหรียญพลังงานพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ ๏๏ ร่วมบุญ 3,000 บาท...รับแม่พิมพ์พระอารยตารามหาโพธิสัตว์ปิดทอง จารึกชื่อของท่านแล้วน�ำขึ้นประดิษฐานบนพระมหาเจดีย์ฯ ๏๏ ร่วมบุญ 100,000 บาท...รับพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ขนาด 6 นิ้ว อัญเชิญไปสักการะที่บ้าน และจารึกชื่อของท่านไว้ที่พระมหาเจดีย์ฯ ๏๏ ร่วมบุญ 1,000,000 บาท...รับพระอารยตารามหาโพธิสัตว์สององค์ องค์หนึ่ง...อัญเชิญไปสักการะที่บ้าน องค์หนึ่ง...จารึกชื่อของท่าน แล้วน�ำขึ้นประดิษฐานบนพระมหาเจดีย์ฯ และจารึกชื่อของท่านไว้บน อาคารธรรมาศรม ๏๏ หรือร่วมบริจาคเพือ่ สนับสนุนการสร้าง ‘ธรรมาศรม’ ตามก�ำลังศรัทธา โดยโอนเงินเข้าบัญชี ชื่อบัญชี เสถียรธรรมสถาน ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาวัชรพล เลขที่ 796-2-00003-1 ธนาคารกรุงไทย สาขารามอินทรา กม. 4 เลขที่บัญชี 174-1-11765-8 ชื่อบัญชี มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาซอยวัชรพล เลขที่บัญชี 796-2-02843-2 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาวัชรพล (รามอินทรา) เลขที่บัญชี 161-2-12346-0 ธนาคารกรุงไทย สาขารามอินทรา กม. 4 เลขที่บัญชี 174-0-03079-6 ธนาคารกรุงไทย สาขาพาราไดซ์พาร์ก เลขที่บัญชี 597-0-22154-6 ธนาคารธนชาต สาขาวัชรพล เลขที่บัญชี 082-6-03110-8 กรุณาส่งหลักฐานใบโอนเงิน โดยระบุว่า ‘สนับสนุนการสร้างธรรมา­ ศรม’ พร้อมชื่อ - นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และ e-mail address ของท่านทีช่ ดั เจนมาทีโ่ ทรสาร 02-519-4633 หรือที่ sds.account@gmail. com หรือ Line ID : sds.office ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 17


อานิสงส์ของการดูแลผู ้ป่วย สมัยพุ ทธกาลได้กล่าวถึงอานิสงส์ของการดูแลผู ้ป่วยไว้ว่า

“ผู ้ใดต้องการอุ ปัฏฐากเราตถาคต ผู ้นัน้ จงไปอุ ปัฏฐากผู ้ ป่ วยไข้เถิด” ด้วยบุ ญนี้จะเป็นปั จจัยแก่สวรรค์และนิพพาน ด้วยบุ ญนี้สามารถอธิษฐานให้เป็นปั จจัยแก่การบรรลุเป็น พระมหาสาวก พระอัครสาวก พระปั จเจกพุ ทธเจ้า และ พระสัมมาสัมพุ ทธเจ้าในอนาคตกาลได้

สนใจองค์ความรู ้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองและดูแลผู ้ป่วย สามารถเข้าร่วม... หลักสูตร ‘ลูกกตัญญู...ดูแลพ่อแม่ที่ป่วยไข้’ หลักสูตรนี้จัดขึ้นเพื่อการพัฒนาบุคลากรที่ต้องการหลักการในการดูแลผู้ป่วยตามพุทธวิถีที่เป็นการดูแลทั้งกายและใจ ดังที่ พระพุทธองค์ทรงด�ำริไว้ว่า “ให้ดูแลผู้ป่วยไข้เหมือนดูแลเราตถาคต” ซึ่งจัดขึ้นทุกสองเดือน ปีละหกครั้ง ณ เสถียรธรรมสถาน หลักสูตร ‘ธรรมชาติบ�ำบัด...เพื่อชีวิตเป็นสุข’ หลักสูตรนี้จัดขึ้นเพื่อการดูแลทั้งกายและใจ มีจุดเริ่มต้นที่การเปลี่ยนหัวใจของคนให้มีความเข้มแข็งในการด�ำเนินชีวิตตั้งแต่การ กินอยู่ หลับนอน ดูแลสุขภาพใจด้วยวิถีธรรมชาติบ�ำบัดและพระพุทธศาสนา เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างไรอย่างไม่ตายทั้งเป็น จัดขึ้น ทุกสองเดือน ปีละหกครั้ง ณ เสถียรธรรมสถาน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-519-1119 หรือ www.sdsweb.org 18 |


‘ธรรมาศรม’ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากหนึ่งในปัจจัยส�ำคัญ คือประสบการณ์การท�ำงานเชิงรุกเพื่อมนุษยชาติในทุกช่วงวัยของ ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายอย่างต่อเนื่องและยาวนานผ่านโครงการต่างๆ อันได้แก่ โครงการจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ โครงการโรงเรียนพ่อแม่ โครงการอารยตาราภาวนาวิชชาลัย โครงการการบวชพุทธสาวิกา โครงการเยาวชน บ่มเพาะ แตกหน่อ ต่อยอดเมล็ดพันธุแ์ ห่งปัญญา Seeds Of Spirituality - SOS โครงการศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา สาวิกาสิกขาลัย มหาวิชชาลัยธรรมะเพื่อเยียวยาสังคม โครงการธรรมชาติบ�ำบัด โครงการเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ...โครงการธรรมวิจัย ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 19


จิตประภัสสรตัง้ แต่นอนอยู ่ในครรภ์ | สุนทรี กุลนานันท์

จิตประภัสสร ทุนชี วิตที่พ่อแม่ให้ลูกได้ตัง้ แต่ในครรภ์

20 |


“จิตประภัสสร...ทุนชี วิตที่พ่อแม่ให้ลูกได้ตงั้ แต่ในครรภ์” เป็นประโยคทรงพลังยิ่งที่ คุณแม่ – คุณยายจ๋า หรือ ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ใช้ปลุกหัวใจของพ่อแม่ให้กลับมาเตรียมสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดให้ลูก สิ่งนั้นไม่ใช่หมอที่เก่ง โรง พยาบาลที่มีชื่อเสียง เสื้อผ้า ของใช้นอกกาย แต่เป็น ‘จิตใจ’ ที่ ‘ประภัสสร’ หรือที่คุณ ยายจ๋าใช้ค�ำว่า ‘จิตที่ไม่ขุ่นมัว’ ทว่าเมื่อสิบกว่าปีก่อน พ.ศ. 2547 ยุคที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่องความเชื่อมโยง ของสมองและจิตใจยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย แม้แต่โรงพยาบาลก็ยังกังวลว่าการ ชักชวนแม่ท้องให้ปฏิบัติธรรมนั้นจะมีผลข้างเคียง และการพัฒนาเด็กให้เรียนรู้ได้ตั้งแต่ อยู่ในครรภ์ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในวงวิชาการ วันนั้นคุณยายจ๋ากล้าบุกเบิกเรื่องนี้ ในสังคมไทย ท่านน�ำพาเหล่าจิตอาสา ทั้งพ่อแม่ แพทย์ พยาบาล ครู ผู้เชี่ยวชาญด้าน สุขภาพ รวมทั้งสื่อมวลชน ที่เชื่อมั่นว่า ‘การลงทุนตั้งแต่ในครรภ์คือการพัฒนาเด็กที่ง่าย และคุม้ ค่าทีส่ ดุ ’ ตัง้ แต่นนั้ มา ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนจึงกลายเป็นวันพิเศษของเสถียร ธรรมสถาน ที่เหล่าอาสาสมัครจะได้ต้อนรับพ่อแม่ผู้ก�ำลังสร้างลูกให้โลก โดยการลงทุน เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของตัวเอง ท่านน�ำธรรมะเรื่อง ‘ภาวนา 4’ และ ‘ปฏิจจสมุปบาท’ มาสอนแบบหยิกแกมหยอก ด้วยเรื่องแง่งอนของพ่อแม่ โฆษณา ‘จ๊ะเอ๋...บ๊ายบาย’ การนอนภาวนากับเสียงคริสทัล โบวล์ รวมทั้งบทเพลงภาวนาที่คุณพ่อหลายคนยืนยันว่า ขณะที่โอบท้องของคุณแม่และ ได้สัมผัสกับลูกที่เคลื่อนไหวนั้น เพิ่งรู้สึกว่าได้เป็น ‘พ่อ’ จริงๆ ขณะที่เรียนรู้วิธีจัดใจให้มีความสุข ความทุกข์อันมาจากความกังวลเรื่องสุขภาพของ ลูกและการคลอดก็ถูกคลี่คลายด้วยการให้ปัญญาและความรู้ที่ถูกต้องทันสมัยจากวงศา คณาญาติผู้เชี่ยวชาญ แม้แต่กรณีการตั้งครรภ์ที่แพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยง หรือคุณแม่ที่ประสบปัญหา ครอบครัว ก็เรียนรู้การประคับประคองครรภ์ ส่งผ่านลมหายใจแห่งสติสู่ลูกและก้าว ผ่านประสบการณ์ยากล�ำบากด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง ในวันรับขวัญหลานๆ ในโครงการ ‘จิต ประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์’ เราจึงเห็นคุณยายจ๋าอุ้มหลานทุกคนด้วยรอยยิ้มแห่ง ความสุข เพราะเด็กๆ คือประจักษ์พยานในความส�ำเร็จของโครงการ ‘จิตประภัสสรตัง้ แต่ นอนอยู่ในครรภ์’ นั่นคือการน�ำธรรมะเข้าสู่มนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจิต สร้างกุศลโครโมโซม และเซลล์สมองให้ลูกด้วยสองมือพ่อแม่ ดังที่ท่านเคยปลุกใจพ่อแม่ไว้ว่า “การมีลกู ครัง้ นี… ้ อย่าแค่เป็นพ่อแม่ของลูก แต่มาเป็นพ่อแม่ของโลก ใช้เก้าเดือน ในครรภ์สร้างลูกให้เป็นของขวัญของโลกกันเถอะ” ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 21


“น�ำธรรมะเข้าสู่มนุษย์ตัง้ แต่ปฏิสนธิจิต สร้างกุศลโครโมโซม และเซลล์สมองให้ลูกด้วยสองมือพ่อแม่”

คุณพ่อ-ทันตแพทย์นิปุณ สุขโกษา คุณแม่-เภสัชกรหญิงภาวิดา สุขโกษา คุณลูก-ด.ช. นันท์ปวิธ สุขโกษา จากจังหวัดเลย

“คุณหมอสัง่ ให้ยตุ กิ ารตัง้ ครรภ์ถงึ สองครัง้ ครัง้ แรกเป็นท้องลม ครั้งที่ 2 พบว่าเด็กมีความผิดปกติ ต่อมาดิฉันได้ตั้งครรภ์อีกครั้ง ด้วยอายุที่มากขึ้น เมื่ออายุครรภ์ได้ 17 สัปดาห์ คุณหมอแนะน�ำ ให้เจาะเลือดหรือเจาะน�้ำคร�่ำเพื่อดูว่าเด็กผิดปกติหรือไม่ ผลของ การเจาะเลือดคือ Positive เด็กมีความเสี่ยง 1:120 คุณหมอจึง แนะน�ำให้เจาะน�้ำคร�่ำซึ่งจะให้ผลแม่นย�ำกว่า ดิฉันสับสนและคิด หนักมาก แต่ทสี่ ดุ ก็ตดั สินใจว่าไม่วา่ ผลจะเป็นอย่างไรดิฉนั จะเลีย้ ง เขาเอง จึงตัดสินใจทีจ่ ะไม่เจาะน�ำ้ คร�ำ่ แต่ดฉิ นั ก็ยงั อดคิดมากไม่ได้ จึงคิดหาสถานที่ที่จะท�ำให้จิตใจดีขึ้น บังเอิญไปเปิดเจอวิดีโอของ เสถียรธรรมสถาน พบว่ามีกิจกรรมโครงการ ‘จิตประภัสสรตั้งแต่ นอนอยู่ในครรภ์’ จึงชวนสามีมาเข้าโครงการ สิ่งที่ได้จากโครงการ เปลี่ยนแปลงความคิดของดิฉันอย่างมาก…

22 |

“ตอนมาเข้าโครงการฯ ได้พบคุณแม่บางท่านที่ลูกไม่สบาย ตั้งแต่อยู่ในท้อง ปัญหาของเขาหนักกว่าเราเยอะ แต่เขาก็ยังเข้ม แข็ง มีสติ ก็เลยบอกตัวเองว่าเราก็ต้องท�ำได้ การได้มาเข้ากลุ่ม ท�ำให้สามารถกลับไปใช้ชวี ติ ต่ออย่างมีสติ อยูก่ บั ปัจจุบนั ตามทีค่ ณ ุ ยายจ๋าสอน ทั้งนี้ก็เพื่อลูกของเราเอง ถ้าแม่ยังคิดมาก ยังกังวล ยังเครียด ลูกก็จะแย่ตามไปด้วย เพราะเราคิดอะไร รู้สึกอย่างไร เขาก็รับรู้ได้ ระหว่างที่รอลูกลืมตามาดูโลก ดิฉันนั่งสมาธิ ตั้งสติ ทุกครั้งเวลาเริ่มจะคิดมาก หมั่นสวดมนต์อธิษฐานจิตถึงองค์พระ อารยตารามหาโพธิสัตว์ให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี ทุกวันนี้ดิฉัน ก็ยังปฏิบัติตามค�ำสอนต่างๆ ของคุณยายจ๋าเสมอค่ะ”


คุณแม่-ณัทนิศวร์ ภิระอัครโรจน์ คุณลูก-ด.ญ. ของขวัญ ภิระอัครโรจน์

คุณพ่อ-จักรรัตน์ จุ ลโกศัย คุณแม่-สุธาสินี รุ ่งอาญา คุณลูก-ด.ช. พุ ฒิเศรษฐ์ จุ ลโกศัย อายุ ห้าขวบ “เข้าร่วมโครงการจิตประภัสสรฯ ตั้งแต่อายุครรภ์สามเดือน ด.ช. อนันต์ จุ ลโกศัย อายุ สามขวบ

ในฐานะคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ช่วงแรกรู้สึกสับสนว่าจะเลือกเดินต่อ ไปทางไหนจึงจะถูกต้อง คุณยายจ๋าบอกสั้นๆ ว่าถ้าเลือกที่จะเก็บ ลูกไว้ ให้เราเพียรท�ำกุศลของเรา คนอืน่ จะท�ำอะไรก็เป็นกรรมของ เขา จากนัน้ ดิฉนั กับลูกก็มาโครงการจิตประภัสสรฯ ไม่เคยขาด แม้ จะเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวแต่ไม่เคยรู้สึกโดดเดี่ยวเลย ที่นี่เต็มไป ด้วยกัลยาณมิตรที่น่ารัก ค�ำสอนของคุณแม่ลดความพยาบาทใน ใจของดิฉัน ท�ำให้จิตใจเข้มแข็งขึ้นมาก พร้อมที่จะเลี้ยงลูกด้วย ใจที่เป็นสุข ค�ำสอนที่ว่า ‘ครรภ์ของแม่คือโลกของลูก’ คอยเตือน ให้อารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ กลับมาอยู่ที่ลมหายใจและคิดถึงลูกน้อยใน ครรภ์ ลูกท�ำให้เกิดปาฏิหาริยแ์ ห่งการเปลีย่ นแปลง ดิฉนั กลายเป็น คนทีค่ ดิ ถึงความรูส้ กึ ของคนรอบข้างมากขึน้ โดยเฉพาะแม่ของตัว เอง อ่อนโยนมากขึน้ มีความอดทน และรักเด็ก กราบขอบพระคุณ คุณยายจ๋าที่ให้ความรักความเมตตาแก่ดิฉันและครอบครัวเสมอ มา ขอบคุณโครงการจิตประภัสสรฯ ที่ท�ำให้ลูกสาวเป็นเด็กที่เลี้ยง ง่ายมาก อารมณ์ดี มีความสุข และขอบคุณลูกสาวที่ท�ำให้แม่คน นี้มีความสุขล้นหัวใจ”

และก�ำลังตัง้ ท้องอีกหนึ่งคน เด็กทัง้ สามคนเป็นเด็กใน โครงการจิตประภัสสรตัง้ แต่นอนอยู ่ในครรภ์

“เมื่อก่อนผมท�ำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่มีเวลาเป็นของ ตัวเอง ต่อมาเริ่มไม่มีความสุขกับงานที่ท�ำ และคิดว่าถ้าล้มป่วย ลง คงไม่มใี ครมารับช่วงต่อได้ จึงคิดใหม่ทำ� ใหม่ตามหนึง่ ในค�ำสอน ของคุณแม่ คือ ‘ท�ำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย’ ผมจัดระบบองค์กร ใหม่ จัดรูปแบบการท�ำงานใหม่ ท�ำงานยากให้เป็นงานง่าย ท�ำให้ ผมท�ำงานได้อย่างมีความสุข มีเวลาอยูก่ บั ครอบครัวมากขึน้ และมี ความสุขมากขึน้ รวมทัง้ อีกหลายๆ ค�ำสอนของคุณแม่ทผี่ มน�ำมาใช้ ในชีวติ เช่น รักเป็น...ไม่เป็นทุกข์, กระทบ...ไม่กระเทือน, จ๊ะเอ๋–บ๊าย บาย, อริยะสร้างได้ ฯลฯ กราบขอบพระคุณคุณแม่ทที่ ำ� โครงการจิต ประภัสสรตัง้ แต่นอนอยูใ่ นครรภ์ และอีกหลายๆ โครงการ ขอบคุณ ทีมงานจิตอาสาทีท่ ำ� งานอย่างหนัก และขอบคุณลูกทีน่ ำ� พาผมและ ครอบครัวมาอยู่ในชุมชนเสถียรธรรมสถานแห่งนี้”

‘จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์’ จัดทุกวันอาทิตย์แรกของทุกเดือน เวลา 9.00-18.00 น. ครอบครัวที่เตรียมตัวหรือก�ำลังตั้งครรภ์ สนใจเข้าร่วม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครล่วงหน้าได้ที่เสถียรธรรมสถาน โทร. 02-519-1119, 091-831-2294 หรือ www.sdsweb.org ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 23


24 |


โรงเรียนพ่อแม่ | พนิดา มาสกุล

โรงเรียนพ่อแม่ อริยะสร้างได้...ไม่ใช่ ส่ิงสุดวิสยั จากการท�ำงานสร้างโลกโดยผ่านเด็กจนก้าวย่างเข้าสูท่ ศวรรษที่ 4 ของเสถียรธรรม สถาน เป็นการสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่ท�ำให้เห็นว่า...อริยะสร้างได้ ไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย ด้วยการท�ำให้เกิดจิตวิญญาณของการท�ำงานร่วมกันอย่างมีบวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน ที่ไม่มีรั้วกั้น โดยน�ำความอบอุ่นของบ้าน ความมีวินัยของวัด คือการอยู่ร่วมกันอย่างไม่ เบียดเบียน ทัง้ ต่อตนเองและผูอ้ นื่ และการจัดกระบวนการการเรียนรูต้ ามวัยของโรงเรียน มาบูรณาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรูข้ องคนทุกวัยในครอบครัวจนเกิดเป็น ‘โรงเรียนพ่อ แม่’ โครงการทีท่ ำ� ให้พอ่ แม่เป็นครูคนแรกของลูก และบ้านเป็นห้องเรียนห้องแรกของลูก การท�ำงานโรงเรียนพ่อแม่จึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการศึกษาเพื่อน�ำไปสู่การพ้นทุกข์ของ มนุษย์ที่ถอดองค์ความรู้จากการท�ำงานกว่าสามทศวรรษของเสถียรธรรมสถานในการน�ำ ธรรมะออกมารับใช้สังคม เป็นงานสร้างโลกโดยผ่านเด็กที่เชิญชวนให้ผู้ใหญ่ในสังคมมา ร่วมกันสร้างวงศาคณาญาติในการเลีย้ งดูเด็ก ผ่านการท�ำงานอนุบาลฝีมอื พ่อแม่ บ้านวัน อาทิตย์ ครอบครัวแห่งสติ รวมถึงการจัดการศึกษาวิถพี ทุ ธระดับปฐมวัยในบ้านเรียนแห่ง รักและศานติ (ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์วดั ศิรพิ งษ์ธรรมนิมติ ) ซึง่ ทัง้ หมดนีเ้ ป็นการท�ำงานทีเ่ ชิญ ทุกคนมาลงแขกลงขันลงทุนร่วมกันทีจ่ ะเรียนรูก้ ารสร้างโลกให้มอี ริยะ...ด้วยการสร้างเด็ก ‘โรงเรียนพ่อแม่’ จึงเป็นหนึ่งในการท�ำงานของเสถียรธรรมสถานที่เป็นการน�ำธรรมะ มารับใช้สังคม โดยการส่งเสริมให้พ่อแม่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก มีสัมมาทิฏฐิ หรือความคิดเห็นทีถ่ กู ต้องโดยธรรมในการครองชีวติ และครอบครัวอย่างมีความเข้าใจใน การอบรมเลีย้ งดูลกู ด้วยการเรียนรูเ้ รือ่ งการจัดการอารมณ์ของตนเองก่อน โดยใช้ลกู เป็น บทเรียนเพือ่ การเติบโตของพ่อแม่ เมือ่ พ่อแม่เรียนรูว้ ธิ ที จี่ ะพัฒนาชีวติ ตนเองในการอยูก่ บั โลกอย่างทีโ่ ลกเป็นแล้วไม่เป็นทุกข์ได้ จึงจะเป็นต้นแบบชีวติ ทีเ่ จริญอย่างอริยชนให้ลกู ได้ และเมือ่ พ่อแม่ฝกึ ฝนการเฝ้าสังเกตตนเองตามหลักพุทธศาสนา พ่อแม่กจ็ ะเกิดความ เข้าใจในทุกข์สุขของลูกที่แสดงออกผ่านพฤติกรรมต่างๆ หาหนทางแก้ไขพฤติกรรมที่ เป็นจุดอ่อนและส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นจุดแข็งได้อย่างเหมาะสม การท�ำงาน ‘โรงเรียน พ่อแม่’ จึงเป็นอีกหนึ่งรูปธรรมการท�ำงานของเสถียรธรรมสถานที่ท�ำให้เห็นรูปแบบของ การน�ำธรรมะมาใช้ได้จริง... เพื่อน�ำไปสู่เป้าหมายคือความสงบเย็นและเป็นประโยชน์ของสังคมโลก

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 25


“เมื่ อ พ่ อ แม่ เ รี ย นรู ้ วิ ธี ท่ี จ ะพั ฒ นาชี วิ ต ของตนเองในการอยู ่กับโลกอย่างที่โลก เป็นแล้วไม่เป็นทุกข์ได้ จึงจะเป็นต้นแบบ ชี วิตที่เจริญอย่างอริยชนให้ลูกได้”

26 |


คุณพ่อ–ชยายส คุณพ่อ–กัมพล คุณแม่–กานนภัส คุณแม่–เบ็ญจมาภรณ์ คุณลูก–ด.ญ. ธนัฐดา คุณลูก–ด.ญ. ชยาภรณ์ มีลักษณะ ด.ช. อัศวา แต้พานิช

คุณพ่อ–สุทธิ วิทยสุนทร คุณแม่–สุภาภรณ์ จันทรประภา คุณลูก–ด.ญ. สุนัฏฐา วิทยสุนทร

“‘โรงเรียนพ่อแม่’ ท�ำให้ครอบครัวเรา ได้เรียนรู้ในการอยู่ร่วมกัน ท�ำกิจกรรมด้วย กัน มีส่วนร่วมที่จะท�ำให้กันและกันมีความ สุข ได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือคนอื่น เมื่อ เราเห็นคนอื่นมีความสุขเราก็เป็นสุขด้วย ท�ำให้เรามีจิตที่คิดจะให้...ให้โดยไม่หวังสิ่ง ตอบแทน ให้เพื่อท�ำให้คนที่เรารักมีความ สุข ตามค�ำสอนของคุณยายจ๋า (ท่านแม่ชี ศันสนีย์) ที่สอนว่า ‘สุขง่ายใช้น้อย สุขเมื่อ สร้าง สุขเมื่อให้’”

“การเข้าร่วมกิจกรรม ‘โรงเรียนพ่อแม่’ ท�ำให้ครอบครัวของเราได้เรียนรูก้ ารท�ำงาน จากค�ำสอนของคุณยายจ๋าที่สอนว่า ‘ยอม ตนให้คนใช้ ฝึกตนเพื่อใช้คน ไม่รอให้ใคร ใช้’ จึงท�ำให้เรารู้จักการท�ำงานร่วมกับผู้ อื่นอย่างเป็นสุข เข้าใจการท�ำงานอย่างลด อัตตา จึงเห็นว่าตัวตนเล็กงานจึงใหญ่ ผล ที่ได้รับคือการมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ มี ความเมตตาตนเองและผู้อื่นมากขึ้น”

“‘โรงเรียนพ่อแม่’ ท�ำให้เราเห็นว่าลูก เป็นครูของเราได้ เพราะลูกแสดงสัจธรรม ให้เห็น สอนให้รู้จักความรัก รู้จักการให้ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด รู้จักการเสียสละเพื่อคน อืน่ เราแม่ลกู ใช้ชวี ติ อย่างเคารพซึง่ กันและ กัน รับฟังกัน ให้เกียรติกันเสมอ ลูกมีพระ ธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงและขับเคลื่อน ให้เรียนรู้โลก ท�ำให้ลูกมีหิริและโอตตัปปะ ขอบคุณคุณยายจ๋าที่สอนให้เราได้ ‘เห็นลูก อย่างที่ลูกเป็นแล้วไม่เป็ทุกข์’”

สนใจงาน ‘โรงเรียนพ่อแม่’ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกวันอาทิตย์ที่ 3 ของทุกเดือน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครล่วงหน้าได้ที่เสถียรธรรมสถาน โทร. 02-519-1119, 091-831-2294 หรือ www.sdsweb.org ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 27


อารยตาราภาวนาวิชชาลัย | พนิดา มาสกุล

อารยตาราภาวนาวิชชาลัย นวัตกรรมการศึกษาเพื่อสร้างอริยชน

28 |


‘อารยตาราภาวนาวิชชาลัย’ เป็นนวัตกรรมการศึกษาบนฐานชีวิตชุมชน เพื่อการเรียน รู้ตลอดชีวิตบนพื้นฐานของ ‘ความดี ความงาม ความจริง’ ที่ใช้คุณธรรมของพระอารย ตารามหาโพธิสัตว์มาเป็นพุทธกิจในการจัดการศึกษา โดยเป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ เพือ่ การเรียนรูต้ ลอดชีวติ และด�ำเนินชีวติ อย่าง ‘สงบเย็นและเป็นประโยชน์ ไม่วา่ ยาก อย่างไรก็จะท�ำให้ส�ำเร็จเพราะมีปัญญา’ ด้วยการใช้คุณธรรมแปดประการของพระอารย ตารามหาโพธิสัตว์ อันได้แก่ ไม่มีความถือตัวอวดดี ไม่มีความโง่เขลา ไม่มีความอาฆาต พยาบาททั้งปวง ไม่มีความอิจฉาริษยา ไม่มีความคิดเห็นที่ผิด ไม่มีความโลภ ไม่มีความ ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีความยึดติดและความเคลือบแคลงสงสัยทั้งปวง มาเป็นหลักในการ ด�ำเนินชีวิต รูปแบบในการจัดการศึกษาของ ‘อารยตาราภาวนาวิชชาลัย’ เป็นการจัดการศึกษาโดย ชุมชน ตามพระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่มีเป้าหมายส�ำคัญคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดองค์ความรู้ทางความคิด สามารถแก้ปัญหา และด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยยึดหลักการจัดการ ศึกษาในมาตรา 7 (2) ให้มีการจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการการจัดการศึกษาอย่างมี เอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบตั ิ กอปรกับมาตรา 29 ทีใ่ ห้สถาน ศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยการจัดกระบวนการการเรียนรู้ภายในชุมชน ด้วยเหตุนี้ ‘อารยตาราภาวนาวิชชาลัย’ จึงจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยมีลักษณะของการจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่ใช้ community learning เป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการการเรียนรู้ ดังนั้น ลักษณะเด่น ของการจัดการศึกษาของ ‘อารยตาราภาวนาวิชชาลัย’ คือการเปิดโอกาสให้พ่อแม่เข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ และมีสหวิชาชีพที่มีความช�ำนาญเฉพาะ ด้านเข้ามาเป็นทีมสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งด้านข้อมูล เทคนิควิธีการ และการลงสอนจริง ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 29


“‘อารยตาราภาวนาวิชชาลัย’ จัดการศึกษาตัง้ แต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษา ใช้ community learning เป็นเครื่องมือในการจัด กระบวนการการเรียนรู ้ เปิ ดโอกาสให้พอ่ แม่เข้ามามีสว่ นร่วมในการจัดการศึกษา อย่างเต็มรู ปแบบ และมีสหวิชาชีพที่มีความช� ำนาญเฉพาะด้านเป็นทีมสนับสนุน การเรียนรู ้”

ลักษณะการเรียนของ ‘อารยตาราภาวนาวิชชาลัย’ จึงเป็นการเรียนรู้จริงบนฐานของ การท�ำงานในชุมชน มีระบบการเรียนที่เป็นการบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบ ท�ำให้ผู้เรียน สามารถน�ำทฤษฎีมาสูก่ ารปฏิบตั จิ ริงได้ เนือ่ งจากมีความต่อเนือ่ งของการน�ำภาคทฤษฎีไป ใช้ปฏิบัติได้จริงทันทีในฐานของการปฏิบัติในแต่ละงานของชุมชน ก่อให้เกิดเป็นรูปแบบ การเรียนรู้ที่สร้างองค์ความรู้ทั้งด้านวิชาการไปพร้อมกับการเติบโตภายในคือการพัฒนา ทางด้านจิตวิญญาณไปพร้อมกันได้อย่างสอดผสานกลมกลืน ทั้งหมดนี้เป็นการจัดกระบวนการการศึกษาที่เกิดจากการเฝ้าสังเกตในทุกงานที่เป็น ฐานการเรียนรู้ของมนุษย์กว่าสามทศวรรษของเสถียรธรรมสถาน จนเกิดเป็นการจัดการ ศึกษาที่อยู่บนฐานของความจริง เพื่อเป็นการยืนยันค�ำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า อริยะ สร้างได้ ไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย และการสร้างอริยชนคือหมู่คนที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้แหละคือ ทางรอดของโลก ‘อารยตาราภาวนาวิชชาลัย’ จึงเป็นการศึกษาที่ท�ำให้เกิดทางรอดของ โลกในทุกความหมาย ดังเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่กล่าวว่า เด็กต้องมีคุณสมบัติของมนุษย์ที่ ‘สงบเย็น...เป็นประโยชน์...ไม่ว่ายากอย่างไรก็ จะท�ำให้ส�ำเร็จเพราะมีปัญญา’

30 |


คุณพ่อ-ณัฐพงษ์ คุณแม่-ดารินทร์ คุณลูก-ด.ญ. ณัฐรดา ด.ช. นรภัทร เอกวินัย

คุณพ่อ-บรรพต วรธรรมบัณฑิต คุณแม่-กาญจนา ไหมด�ำ คุณลูก-ด.ญ. แพรววนิต ด.ช. ภฌา วรธรรมบัณฑิต

“การเรี ย นที่ น่ี ท� ำ ให้ แ ม่ ไ ด้ ม องเห็ น เข้าใจ และยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็น สอง ปี ที่ เ รี ย นรู ้ ไ ปพร้ อ มกั บ ลู ก ท� ำ ให้ เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลงกับตัวเอง คือเรียนรู้ที่จะตั้ง สติอยู่กบั ลมหายใจ และพบว่าเมื่อใจสบาย ทุกอย่างก็แก้ไขได้”

“การจั ด การศึ ก ษาเช่ น นี้ ท� ำ ให้ เ ราได้ ฝึกการเฝ้าสังเกตลูกอย่างเข้าใจ มองลูก อย่างที่ลูกเป็น ลดการจัดการกับลูก ปล่อย ให้ลูกได้เรี ย นรู ้ ด้ วยตั วเอง โดยมี สังฆะ (กลุ่มนักบวช) และแม่คอยแนะน�ำ รับรู้ ความสุขความทุกข์ของลูกทีแ่ สดงออกผ่าน พฤติกรรมต่างๆ ที่เราคิดว่าเป็นจุดอ่อน และส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นจุดแข็ง เพื่อ ให้พ่อแม่เติบโตทั้งภายนอกและภายในไป พร้อมๆ กับการเติบโตของลูก”

คุณพ่อ-พงศธร คุณแม่-ปณิกา ด.ช. กฤติน - ด.ช. พีรวิชญ์ อุ ดมสิน “สิ่งที่ได้เรียนรู้คือได้เห็นต้นแบบที่ดี สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม คือเบ้าหลอม ให้เด็กเติบโต ซึ่งไม่เพียงแต่เด็กที่เติบโต ตัวแม่เอง ก็ได้ซึมซับและพัฒนา คือลด การเพ่งโทษคนอื่น ลดการคาดหวัง เริ่ม ให้ความส�ำคัญกับการลงทุนในเหตุปัจจุบัน มากขึ้น และที่เราแม่ลูกได้เปลี่ยนแปลง ก็เป็นเหมือนกระจกเงาสะท้อนให้คุณพ่อ ที่ปกติไม่ค่อยได้เข้ามาได้รับผลของการ เปลี่ยนแปลงเช่นกัน”

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 31


การบวชพุ ทธสาวิกา | พิกุล วิภาสประทีป

เด็กคือเมล็ดพันธุ ์ท่ีรอการบ่มเพาะ พุทธสาวิกาน้อยคือการลงทุนที่ไม่มีการขาดทุน

32 |


วันที่ 8 ธันวาคม 2552 ขณะที่ ท่านแม่ชศี นั สนีย์ เสถียรสุต อยูร่ ะหว่างการสวดพระไตรปิฎก นานาชาติ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย บริเวณที่องค์สมเด็จ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็ได้มีเสียงการตัดสินใจของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ส่ง ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขออนุญาตว่าเธอปรารถนาที่จะบวช... และเป็นการบวชปลงผม! ด้วยวัยเพียงห้าขวบเท่านั้น! เหตุผลคือเพื่อจูงศพของคุณทวดขึ้นเมรุ ในครัง้ นัน้ ดูเหมือนจะเป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นไปไม่ได้ ทว่าเด็กหญิงวัยห้าขวบได้ยนื ยันอย่างมัน่ คง ว่า จะเป็นการบวชแบบปลงผม ซึง่ ค�ำยืนยันนี้ เธอให้เหตุผลว่าสิง่ ทีร่ กั ตายจาก แต่ความสุขที่ ได้รกั ยังอยู่ แล้วเมือ่ สืบไปว่าเหตุใดเธอยังคงมีความมัน่ คงอยู่ จึงปฏิเสธเหตุปจั จัยตัง้ แต่เริม่ ต้นของการได้ชวี ติ ของเธอไม่ได้ คือเธออยูใ่ นโครงการจิตประภัสสรตัง้ แต่นอนอยูใ่ นครรภ์ ที่ แม่ตั้งใจพาเธอมาฟังธรรมตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และธรรมะที่เธอได้ยินอยู่เนืองนิตย์ ก็เป็นวิถี ชีวิตของผู้คนที่เสถียรธรรมสถาน คือการรู้ว่าเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จะมีได้ อย่างไร กระแสธรรมชาตินี้ เราเรียกว่า ‘ปฏิจจสมุปบาท’ ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 33


34 |


เมื่อเธอเกิด ในวันที่มีอายุครบหนึ่งเดือน เธอถูกพามาขริบ ผมครั้งแรก เหมือนเป็นการยืนยันว่า ความรักที่พ่อแม่มีให้ลูกคน หนึง่ ...เป็นสิง่ ทีจ่ ะใส่เมล็ดพันธุแ์ ห่งปัญญาลงไปในหัวใจของเด็กได้ ถ้าพ่อแม่ทมุ่ เทให้กบั ลูกในวัยทีแ่ ม้เราจะมีเงินอย่างไรก็ไม่สามารถ ซื้อเวลาในช่วงนี้กลับมาได้ การทุ่มเทที่ดีคือการมีพ่อแม่ที่เป็นพระอรหันต์ในบ้าน การบ่ม เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาในหัวใจเด็กนั้น...ยิ่งเด็กมากเท่าไร...ก็ ง่ายมากเท่านั้น! แล้ว ‘เด็กหญิงพอฟ้า พรรณเชษฐ์’ ก็กลายเป็น ‘พุทธสาวิกา น้อยพอฟ้า’ คงไม่มีใครนึกถึงว่า จากการกระท�ำของเด็กหนึ่งคน แล้วมี ผู้คนมาเห็นเธอในวันที่เธอรับบาตรวันปีใหม่ แล้วไปโพสต์ลงใน ยูทูปนั้นท�ำให้มีคนกล่าวค�ำว่า “สาธุ” ดังขึ้นมากกว่า 300,000 เสียงในเวลา 24 ชั่วโมง พุทธสาวิกาน้อยพอฟ้าบวชระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม 2552 – วันที่ 1 มกราคม 2553 ภาพที่เผยแพร่ออกไปในครั้งนั้นได้ ต่อยอด...กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กผู้หญิงอีกกลุ่มหนึ่งมี ศรัทธาทีจ่ ะเข้ามาบวชในสามเดือนต่อมา โครงการบวชพุทธสาวิกา ภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการน�ำธรรมะกลับมาสู่ใจคนก็ เกิดขึ้น ด้วยท่านแม่ชีศันสนีย์ตระหนักว่า “เด็กคือเมล็ดพันธุ์ที่รอการบ่มเพาะ พุทธสาวิกาน้อยคือการ ลงทุนที่ไม่มีการขาดทุน” และในวันจักรี 6 เมษายน 2553 การเข้ามาเรียนรู้ของเด็ก หญิงกลุ่มหนึ่งก็เริ่มขึ้นที่เสถียรธรรมสถาน จากเด็กหญิงหนึง่ คนทีเ่ ผชิญกับความสูญเสีย เธอได้เรียนรูก้ บั สัจจะของชีวติ ว่า แม้จะเกิดความจากพราก แต่ความสุขทีไ่ ด้รกั ยัง มี กลายเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่! ... วันหนึ่งในปี 2555 ท่านแม่ชศี ันสนีย์ เสถียรสุต ได้รบั โทรศัพท์ ทางไกลจาก ท่านเจ้าคุณพระเทพโพธิวิเทศ สมณศักดิ์เดิมใน ขณะนั้นคือ พระราชรัตนรังษี (ว.ป. วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรม ทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ท่าน ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 35


“‘เสถียรธรรมสถาน’ เป็นชุ มชนแห่งการ เรียนรู ท้ ่ปี ลอดภัยโดยธรรมของสังฆะผู ห้ ญิง เข้าใจธรรมชาติผูห้ ญิง จึงเหมาะแก่การบวช เด็กผู ้หญิง งานของเสถียรธรรมสถานจึง คือการมุ ่งมั่นทุ่มเทในการสร้างเด็กผู ้หญิง ให้เป็นกุลสตรีท่เี ป็นอริยชน”

36 |


การบวชพุทธสาวิกาสี่แผ่นดิน ครั้งที่ 7 45 วัน มหัศจรรย์ชีวิต ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม - 30 เมษายน 2559

อาจารย์มคี วามประสงค์ทจี่ ะสนับสนุนการท�ำงานของสาวิกาสิกขาลัยให้เป็นอริยสาวิกา และ เชิญชวนให้สตรีทมี่ คี วามตัง้ ใจทีจ่ ะบวชพุทธสาวิกาในภาคฤดูรอ้ นปีนนั้ ไปบวชทีพ่ ทุ ธคยา โดย ท่านอาจารย์จะเมตตาเป็นประธานในการบวชให้ เมือ่ ได้รบั ฟังค�ำของครูบาอาจารย์ทปี่ ระสงค์ จะสนับสนุนหนทางที่จะท�ำให้เกิดความเป็นอริยะ ท่านแม่ชีศันสนีย์จึงนับเป็นบุญนักที่ได้อยู่ ในบวรพุทธศาสนาที่มีหมู่สงฆ์เป็นเหมือนกัลยาณมิตร เป็นคล้ายพี่ที่คอยชี้ช่องทางที่ถกู ต้อง วันนั้น...คือที่มาของโอกาสของผู้หญิง! และจากการบอกเล่าปากต่อปาก บรรดาเด็กและสตรีทมี่ คี วามประสงค์จะบวชพุทธสาวิกา ก็แจ้งความจ�ำนงเข้ามา จากหนึ่ง...เป็นสอง...เป็นสาม...เป็นสี่...เป็นสิบ...เป็นสิบๆ...จนเกินเรือนร้อย แล้วการบวชพุทธสาวิกาสองแผ่นดินครั้งประวัติศาสตร์ ระหว่างวันที่ 2 - 12 เมษายน 2555 ณ แดนพุทธภูมิ และระหว่างวันที่ 13 - 22 เมษายน 2555 ณ แดนสุวรรณภูมิ (เสถียร ธรรมสถาน) จึงเกิดขึ้นตามล�ำดับ! นี้จึงเป็นการบวชครั้งที่ 3 ซึ่งเสถียรธรรมสถานได้น�ำคณะว่าที่พุทธสาวิกาไปบวชที่เมือง พุทธคยา ประเทศอินเดีย เพือ่ เป็นการฉลองพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรูข้ ององค์สมเด็จ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพือ่ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา เพือ่ ถวายเป็นพระราช กุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา เนื่องในโอกาสก้าว ย่างแห่งปัญญาสู่ปีที่ 25 ของเสถียรธรรมสถาน ห้าปีสาวิกาสิกขาลัย มหาวิชชาลัยธรรมะที่ เยียวยาสังคมเพื่อส่งเสริมการบรรลุธรรม และนับเป็นการท�ำงานระหว่างพระธรรมทูตของ ประเทศอินเดียกับเสถียรธรรมสถาน และสาวิกาสิกขาลัย ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 37


ทั้งนี้ ท่านเจ้าคุณพระเทพโพธิวิเทศ ‘ได้ให้โอกาส’ โดยเมตตา เป็นพระอุปชั ฌาย์ และเป็นทีป่ รึกษาของโครงการบวชพุทธสาวิกา สองแผ่นดิน ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ท�ำให้เด็กผู้หญิงได้เดินบน เส้นทางของอริยชน ให้โอกาสได้บวช ได้กตัญญูต่อผู้ให้ชีวิต ต่อ ผู้มีพระคุณ และกตัญญูต่อตนเอง ให้โอกาสได้เรียนรู้ธรรมะ ได้ สร้างกุศลร่วมกัน จนเกิดการแตกหน่อต่อยอดเรือนเพาะช�ำพระ รัตนตรัยสืบต่อศาสนา ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต กล่าวว่า “การบวช...คือการขัดเกลาจิตใจ เป็นการค้นคว้าด้านในทีจ่ ะพบ กับความมหัศจรรย์ของสิง่ ทีเ่ รียกว่า ‘ชีวติ ’ เพือ่ บ่มเพาะเด็กผูห้ ญิง ให้เป็นกุลสตรีที่เป็นอริยชน ซึ่งคือน�ำค�ำสอนของพระพุทธเจ้ามา ขัดเกลาจิตใจ และน�ำไปปฏิบตั จิ นเห็นผล เป็นอิสระจากความทุกข์ ได้จริง เราสามารถเข้าถึงความจริงได้ในทุกวัย และมีหลากหลาย วิธีการ และหนึ่งในนั้นคือการด�ำริที่จะทิ้งในความหมายสองนัยยะ ทางโลกคือการทิ้งเพื่อออกจากความคับแคบของบ้านเรือน ทาง ธรรมคือการทิ้งตัวตน ซึ่งน่าจะเป็นการเขย่งก้าวกระโดดที่สำ� คัญ ของเด็กๆ และผู้หญิงในอีกวิธีการหนึ่ง การค้นหาตัวตนที่แท้จริง ของการได้เกิดครั้งนี้จึงส�ำคัญนัก และโอกาสในการเกิดที่ไม่เกิด อีกแห่งทุกข์นี้...ไม่พึงที่จะมองข้าม ดังค�ำตรัสของพระบรมศาสดา ที่ว่า ‘ธิดาของเราเป็นผู้มีปัญญามาก ฉลาดในทางและมิใช่ทาง’” จากนั้นในทุกปีต่อมา เด็กหญิงที่สนใจศึกษาพระธรรมก็มี ‘เสถียรธรรมสถาน’ เป็นบ้านหลังที่ 2 ซึง่ มีหลักในการท�ำงานเชิงรุก กับเด็กๆ ว่า “เราจะน�ำธรรมะกลับสูห่ วั ใจของเด็ก ยิง่ เล็กมากเท่าไร ยิง่ ง่ายมากเท่านัน้ ” รวมทัง้ ‘เสถียรธรรมสถาน’ เป็นชุมชนแห่งการ เรียนรูท้ ปี่ ลอดภัยโดยธรรมของสังฆะผูห้ ญิง เข้าใจธรรมชาติผหู้ ญิง จึงเหมาะแก่การบวชเด็กผู้หญิง งานของเสถียรธรรมสถานจึงคือ การมุง่ มัน่ ทุม่ เทในการสร้างเด็กผูห้ ญิงให้เป็นกุลสตรีทเี่ ป็นอริยชน ปัจจุบัน พ.ศ. 2559 กับการก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 แห่งการ ท�ำงานของเสถียรธรรมสถาน โครงการการบวชพุทธสาวิกา ด�ำเนินมาถึง ‘การบวชพุทธสาวิกาสี่แผ่นดิน” ซึ่งได้ขยายเส้น ทางการจาริกไปยังดินแดนพม่าด้วย โดยนับเป็นการบวชพุทธ สาวิกาครั้งที่ 7 38 |


พุ ทธสาวิกาอารยา ศรีจ�ำเริญ

Asmita Luwagun

สมคิด ชัยจิตวนิช

อายุ 11 ปี บวชเมื่อ ปี 2555

ชาวเนปาล อายุ 17 ปี บวชเมื่อปี 2555

ช่างภาพมืออาชีพ จิตอาสาสอนวิชาการถ่ายภาพ แก่พุทธสาวิกาน้อย

“บวชแล้ ว มี ส ติ ม ากขึ้ น อยากเป็ น ธรรมทูต เพราะเมื่อบวชแล้วได้เรียนรู้ พระพุทธศาสนา เห็นว่าน่าจะเชื่อมโยง ทุกประเทศบนโลกนีใ้ ห้อยูร่ ว่ มกันได้แม้จะ ไม่ใช่ศาสนาเดียวกัน เพราะศาสนาสอน เรื่องการพ้นทุกข์และมีสันติ”

“ตั้งใจจะบวชให้พ่อกับแม่ แต่ไม่คิด ว่าจะบวชได้นานขนาดนี้ บางครัง้ ก็คดิ ถึง บ้านอยากกลับบ้าน แต่ทยี่ งั บวชอยูเ่ พราะ เชื่อว่าค�ำสอนของพระพุทธเจ้าจะช่วยให้ พ้นทุกข์ได้ รวมทัง้ ช่วยให้รจู้ กั พระศาสนา ตามความจริง ไม่ใช่ตามความเชื่อตาม ค�ำพูดที่พูดต่อๆ กันมา ธรรมะท�ำให้เรา เติบโตขึ้น อยากศึกษาธรรมะให้ถ่องแท้ เพื่ อ กลั บ ไปช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ห ญิ ง ที่ เ นปาล เพราะผู้หญิงที่เนปาลล�ำบาก ไม่รู้จักค�ำ สอนที่ถ่องแท้ของพระพุทธเจ้า”

“เคยมีคนถามว่าท�ำไมต้องสอนพุทธสาวิกา น้อยถ่ายภาพ ค�ำตอบก็คอื เด็กคืออนาคตของ ชาติ พุทธสาวิกาน้อยคืออนาคตของเสถียร ธรรมสถาน คอร์สการถ่ายภาพที่จัดขึ้นเพื่อ พุทธสาวิกาน้อยจะถูกดีไซน์เพื่อสอนให้มอง ข้างนอกเพื่อย้อนกลับไปมองข้างในตัวเอง... “จริงๆ การถ่ายภาพคือการภาวนาข้างใน นั่นเอง ซึ่งเหมาะกับนักบวชมาก ช่างภาพที่ ดีต้องมีความอดทน ต้องช่างสังเกต ต้องรู้จัก รอคอย รูจ้ กั แบ่งปัน การเสียสละ การเอือ้ เฟือ้ เวลาท�ำงานเป็นทีม...ถ้าจะเปรียบก็เหมือนการ เตะฟุตบอล ไม่ใช่ทกุ คนต้องเป็นกองหน้า ต้อง มีคนเสียสละเป็นกองหลังด้วย เวลาออกไป ถ่ายภาพ ทุกคนรู้ว่ามุมนี้เป็นมุมที่ดีที่สุด เป็น มุมที่น่าถ่ายที่สุด แต่ถ้าเราท�ำงานเป็นทีม เรา ต้องเสียสละที่จะกระจายไปตามมุมต่างๆ ที่ อาจจะไม่ใช่มุมที่ดีที่สุด แต่เมื่องานจบลง เรา จะได้ภาพครบสมบูรณ์ทุกมุม... “นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้เรื่องลมหายใจ เวลากดชัตเตอร์ต้องกลั้นหายใจอย่างไร จะ เห็นได้วา่ การถ่ายภาพนัน้ เชือ่ มโยงไปถึงธรรมะ ได้เป็นอย่างดี ที่ส�ำคัญ ธรรมชาติของเสถียร ธรรมสถานคือห้องเรียนที่ดีมากทีเดียว”

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 39


บ่มเพาะ แตกหน่อ ต่อยอดเมล็ดพันธุ ์แห่งปั ญญา Seeds Of Spirituality – SOS | ศันสนีย ศีตะปั นย์ สมุ ทรผ่อง

SOS สัญญาณใจ สัญญาใจ

40 |


“‘เสถียรธรรมสถาน’ เปิ ดโอกาสให้ทุกชีวิตอาสาก้าวเข้า มาท�ำงานเพื่อให้พระธรรมกะเทาะเปลือกตัวตน บ่มเพาะ เมล็ดพันธุ ์ แตกหน่อเป็นต้นกล้า ต่อยอดให้ความร่มเย็น แก่สังคม”

“เด็กหรือผู ใ้ หญ่ไม่ได้ตดั สินที่อายุ หรือประสบการณ์ เด็กหัวใจผูใ้ หญ่ หรือผูใ้ หญ่หวั ใจ เด็ก ก็มีให้เห็นถมเถไป คนเราทุกคนมีเด็กดื้อในหัวใจ เผลอเมื่อไร ก็ออกมาอาละวาด SOS คือโอกาสที่จะฟังสัญญาณใจของกันและกัน...เพื่อรักกันได้ ทั้งที่เขาและเรายังเป็น เด็กบ้างในบางครั้ง” คือบทสรุปทีฉ่ นั เขียนไว้หลังเสร็จงานเยาวชนค่ายแรกทีเ่ สถียรธรรมสถานเมือ่ เกือบสิบ ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันฉันก็ยังคงใช้งานเยาวชนกะเทาะเปลือกตัวตน เพื่อบ่มเพาะ แตก หน่อ ต่อยอดจิตใจของตัวเองต่อไป โดยมีเยาวชนเป็นคนน�ำทาง เสถียรธรรมสถานถอดรหัสนวัตกรรมแห่งชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย มีสวนธรรมเป็นดิน อันอุดม มีพระธรรมเป็นน�้ำรด เมล็ดพันธุ์จากไหนปลิวมาตก โอกาสงอกจึงมีสูง จากการ เดินทางก้าวย่างแห่งปัญญาของ ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ตั้งแต่ปี 2543 เพื่อร่วมใน การประชุมเพื่อศานติภาพโลกของผู้น�ำทางจิตวิญญาณและศาสนาแห่งสหัสวรรษ (The Millennium World Peace Summit of Religious and Spiritual Leaders) ที่กรุง นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พลังของผู้หญิงจะน�ำมาซึ่งสันติภาพโลก ตามด้วยการ เป็นผู้น�ำร่วมในการประชุมผู้น�ำสตรีทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อศานติภาพโลก (The Global Peace Initiative of Religious and Spiritual Leaders) ที่กรุงเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ในปี 2545 มีบทสรุปส�ำคัญคือ เยาวชนเป็นไม้ผลัดที่จะน�ำสันติภาพ มาสู่โลก เยาวชนเป็นอย่างไร...โลกเป็นอย่างนั้น การเดินทางของท่านแม่ชีศันสนีย์เพื่อ น�ำภาวนาและเป็นแสงสว่างแห่งสติปัญญาในการประชุมนานาชาติเพื่อเยาวชนทั่วทุก มุมโลกจึงตามมา อาทิ การประชุมสุดยอดผู้น�ำเยาวชนแอฟริกันที่ประเทศเซเนกัลและ โมร็อกโก, การประชุมสุดยอดผูน้ ำ� เยาวชนเอเชียทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ , การประชุมสุดยอดผูน้ ำ� เยาวชนละตินอเมริกันและแคริบเบียนที่ประเทศบราซิล รวมทั้งร่วมวางแผนการเตรียม ความพร้อมผู้น�ำเยาวชนทั่วโลกเพื่อความพร้อมทางจิตวิญญาณและความมั่นคงภายใน เพื่อประชุมสุดยอดผู้น�ำเยาวชนโลก ณ องค์การสหประชาชาติ ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศ สหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคม ปี 2549 อีกด้วย ค่ายเยาวชน SOS ไทย, ธรรมโฆษณ์-ธรรมยาตรา และ SOS Inter จึงเกิดขึ้นด้วย ความกตัญญูตอ่ โลก ต่อแผ่นดิน ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ต่อครูบาอาจารย์ และ ต่อตนเอง...ด้วยพระธรรม ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 41


“ยอมตนให้คนใช้ ฝึ กตนเพื่อใชค้ น ไม่รอให้ใครใช้ หวัง ให้โลกนี้มีสันติภาพอย่างแท้จริง ด้วยศานติภายในใจ ในขณะท�ำหน้าที่เยาวชนจิตอาสา”

42 |


SOS ย่อมาจาก Seeds Of Spirituality บ่มเพาะ แตกหน่อ ต่อยอดเมล็ดพันธุ์ แห่งปัญญา ไม่ใช่สัญญาณแห่งการร้องขอ แต่เป็นสัญญาณแห่ง การบ่มเพาะ ‘กะเทาะ ตัวตน ให้เห็นชีวิตจริง กว่าจะมาเป็นฉันในวันนี้’ แตกหน่อ ‘จากการเข้าใจตนเองสู่การ รับใช้ผู้อื่น’ และ ต่อยอด ‘การขยายผลความดี ความงาม ความจริง ในระดับมหภาค’ ค่าย SOS ไทย สวนธรรมที่มีธรรมะอันยั่งยืนจึงได้มีโอกาสโอบกอดเยาวชนคนดีที่มี งานอาสาเพื่อส่วนรวม ทุกศาสนา ทุกภาคทั่วไทย ด้วยคติประจ�ำใจที่ว่า ‘ยอมตนให้คนใช้ ฝึกตนเพื่อใช้คน ไม่รอให้ใครใช้’ หวังให้โลกนี้มีสันติภาพอย่างแท้จริง ด้วยศานติภายใน ใจในขณะท�ำหน้าที่เยาวชนจิตอาสา ค�ำสอนของครูบาอาจารย์ถูกน�ำมาสอดแทรกไว้ในทุกกิจกรรม นักวิชาการระดมพลัง ถอดรหัสด้วยกระบวนการการจัดการความรู้ Knowledge Management บันทึกองค์ความ รู้จากชีวิตและงานของเยาวชนคนดี อาทิ อาสาฉีดยาศพ, วิทยุอาสาเพื่อเยาวชน, อาสา ปลูกป่าโกงกาง, ทายาทหุ่นละครเล็ก โจ หลุยส์, ประธานองค์กรเยาวชนมุสลิมชายแดน ใต้, อาสาสมัครบ้านโฮมฮักเพื่อเด็กเอชไอวี เป็นต้น เยาวชนอาสาทุกคนจากค่ายทุกค่ายไปด้วยมีพระธรรมเป็นสัญญาใจ ท�ำงานอาสา อย่างไรไม่ทุกข์ แต่สงบเย็น…และเป็นประโยชน์ ค่าย SOS inter ในเดือนมิถุนายน 2549 เป็นความงดงามที่ได้เห็นผู้น�ำเยาวชนอาสา ไทยเข้าร่วมประชุมเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้น�ำเยาวชนอาสาจากทั่วโลก หลากประเทศ หลายทวีป อาทิ ผู้น�ำเยาวชนแพนเอเชีย จากประเทศยูกันดา, ผู้น�ำเยาวชนแพนเอเชีย แปซิฟิก จากประเทศญี่ปุ่น และยังมีผู้น�ำเยาวชนจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, โมร็อกโก, ยูกันดา, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บราซิล ที่ส�ำคัญ คือ บุตรสาวของครอบครัวผู้น�ำในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งมีประสบการณ์การสูญเสีย โดยตรงและอย่างรุนแรง แต่สวนธรรมที่มีความดีอันยั่งยืนคือเสถียรธรรมสถาน ได้ ประคับประคองด้วยความรักและเมตตา ท�ำให้เยาวชนอาสาทุกชาติทุกภาษาได้หอบ พลังแห่งศานติในใจกลับไป ในช่วงที่ประเทศไทยเฉลิมฉลอง 60 ปีแห่งการครองราชย์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลายคนซับน�้ำตาเมื่อก้มกราบความดีของสมเด็จย่า ที่ดอยตุง และเอ่ยพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยค�ำว่า ‘พ่อ’ เมื่อร่วมอยู่ ในการชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ส�ำคัญที่สุดคือ ทั้งผู้น�ำเยาวชนไทยและนานาชาติก้าวเข้าสู่การประชุมผู้น�ำเยาวชนที่ ตึกสหประชาชาติที่กรุงเทพมหานคร ด้วยความมั่นคงทางจิตวิญญาณ และเข้าใจอย่าง ลึกซึ้งว่า...สันติภาพโลกเกิดจากศานติในใจ การท�ำงานด้วยมีพระธรรมน�ำทางของชุมชนแห่งศานติ ‘เสถียรธรรมสถาน’ เปิด โอกาสให้ทุกชีวิตอาสาก้าวเข้ามาท�ำงานเพื่อให้พระธรรมกะเทาะเปลือกตัวตน บ่มเพาะ เมล็ดพันธุ์ แตกหน่อเป็นต้นกล้า ต่อยอดให้ความร่มเย็นแก่สังคม ฉันเป็นหนึ่งในนั้นที่ ไม่เคยตัดสินคนที่วัยหรือประสบการณ์ แต่พร้อมจะยกมือไหว้หัวใจของทุกคนที่พร้อมจะ เปลีย่ นแปลงในทางทีด่ ขี นึ้ เพราะฉันเองก็ยกมือไหว้เด็กดือ้ ในหัวใจของตัวเองทุกวัน เห็น เด็กดื้อมา เห็นเด็กดื้อไป และตัวตนเล็กลงได้ เพราะมี ‘เยาวชน’ เป็นครู See the change…Be the change…เปลี่ยนแปลงโลก…เปลี่ยนที่ตัวเอง ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 43


ศิลปะการพัฒนาชี วิตด้วยอานาปานสติภาวนา | พุ ทธสาวิกาโมลี เขียวสะอาด

ลมหายใจ...คืออาวุ ธอันศักดิ์สิทธิ์

44 |


“ลมหายใจ...คือเพื่อนแท้ท่ไี ม่เคยทิง้ เรา” ท้องฟ้าในเวลาค่อนรุ ง่ มืดมิด บรรดาชีวติ นอกรัว้ ชุมชนแห่งการ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างศานติยังคงหลับใหล ทว่าภายในรั้วนั้น เล่า ทุกวันในเวลาตีสี่ตรง เสียงเชิญระฆังแห่งสติดังขึ้น...มาเป็น เวลากว่า 30 ปีไม่เคยขาด เพื่อบอกว่า...วิถีชีวิตเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง เวลา 24 ชั่วโมงอันใหม่เอี่ยมและมีค่าได้มาถึงอีกครา เหล่าพุทธสาวิกาน้อยใหญ่มุ่งหน้าสู่หอประดิษฐานพระบรม สารีรกิ ธาตุเพือ่ ท�ำวัตรเช้า...เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกัน...อันเป็น กิจแรกแห่งวัน ครั้นฟ้าสว่าง...การเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ฝึกการให้ก็เริ่มขึ้น เหล่าพุทธสาวิกาใหญ่น้อยเดินแถวอย่างเป็นระเบียบตามเส้น ทางการบิณฑบาต การพิจารณาอาหารเป็นไปอย่างสงบเงียบ และเรียบง่าย บาตร เดียว อาสนะเดียว ขณะทีใ่ นใจก็หวนระลึกถึงค�ำสอนของ ท่านแม่ ชีศันสนีย์ เสถียรสุต “รับอาหารด้วยความอ่อนน้อม กินข้าวชาวบ้านแล้วต้องเจริญ สติ รูท้ นั กาย รูท้ นั ใจ จนกระทัง่ เรีย่ วแรงแห่งเมล็ดข้าวเหล่านัน้ ก่อ เกิดเป็นความสงบเย็นและเป็นประโยชน์ เป็นเนือ้ นาบุญทีด่ ตี อ่ กัน” จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการปฏิบัติธรรมผ่านการท�ำงาน หรือมี งานเป็นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมนั่นเอง ตั้งแต่เช้า...เข้าบ่าย...ถึงเย็น...จรดค�่ำ ทุกอิริยาบถ ทุกการ เคลื่อนไหว ด�ำเนินไปพร้อมกับ อานา - ลมหายใจเข้า ปานะ - ลม หายใจออก ในทุกขณะ อานาปานสติภาวนา จึงเป็นกิจทีฝ่ กึ เจริญสติ ด�ำเนินไปพร้อม กับทุกลมหายใจเข้าและออก เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา ท่านแม่ชีศันสนีย์ได้กล่าวถึง ‘อานาปานสติภาวนา’ ไว้อย่าง ชัดเจนเข้าใจง่ายว่า “อานาปานสติคือเทคนิคที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ในทุกการกระท�ำ ทุกค�ำพูด ทุกความคิด ใน

ทุกลมหายใจเข้าและออก เพื่อเตรียมจิตให้ควรแก่การงาน งาน เป็นฐานแห่งการภาวนา หมายความว่าคุณต้องเจริญอานาปาน สติ กายเคลื่อนไหว ใจตั้งมั่น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ‘ความหวั่น ไหวโยกโคลงทางกายหรือความหวั่นไหวโยกโคลงทางจิต ย่อม มีขึ้นไม่ได้ด้วยอ�ำนาจของการเจริญ ท�ำให้มากซึ่งอานาปานสติ’ ฉะนั้น งานของจิตคือการภาวนาด้วยอานาปานสติ ถ้าคุณท�ำงาน อยู่บนฐานของอานาปานสติ ก็เท่ากับคุณใช้งานเป็นฐานแห่งการ ภาวนาด้วยเช่นกัน... “วิถีชีวิตของเสถียรธรรมสถานใน 24 ชั่วโมง หรือหนึ่งวัน อยู่ บนเทคนิคของอานาปานสติ บนพืน้ ฐานของลมหายใจทีเ่ ป็นเครือ่ ง มือในการเจริญสติ ฉะนั้น ทุกๆ 24 ชั่วโมง จึงเป็นเวลาแห่งการ ภาวนา ตั้งแต่ลืมตาจนถึงหลับตา และในทุกๆ วัน อานาปานสติ ภาวนาอยู่ในชีวิตของเราทุกขณะ เสถียรธรรมสถานบ่มแผ่นดิน ผืนเล็กๆ ให้เป็นพื้นที่อานาปานสติ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ตามที่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้” ทุกวันศุกร์ - เสาร์ - อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันส�ำคัญ ทางพระพุทธศาสนา เป็นปกติที่เสถียรธรรมสถานจะจัดการอบรม ‘ศิลปะการพัฒนาชีวติ ด้วยอานาปานสติ’ เพือ่ เปิดโอกาสให้ผสู้ นใจ เข้ามาเป็น ‘สังฆะชัว่ คราว’ ร่วมเรียนรูก้ ารฝึกการหายใจอย่างมีสติ ไปพร้อมๆ กับ ‘สังฆะประจ�ำ’ ของชุมชนเสถียรธรรมสถาน ที่ใช้ อานาปานสติก�ำกับชีวิตอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้ว และปัจจุบัน ชุมชนแห่งธรรมแห่งนี้ก็เปิดประตูต้อนรับ ‘สังฆะ ชัว่ คราว’ ทีต่ อ้ งการเข้ามาใช้ชวี ติ ช่วงหนึง่ อย่างมีคณ ุ ภาพได้ทกุ วัน ลมหายใจ...คือเพือ่ นแท้ทไี่ ม่เคยทิง้ เรา ฉะนัน้ คงจะดีถา้ เรา ฝึกที่จะเรียนรู้เพื่อดูแลเพื่อนเก่าคนนี้ให้ดีที่สุด

สนใจเข้าร่วมโครงการ ‘ศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา’ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เสถียรธรรมสถาน โทร. 02-519-1119, 091-831-2294 หรือ www.sdsweb.org ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 45


สาวิกาสิกขาลัย | ดร. ไจตนย์ ศรีวังพล

สาวิกาสิกขาลัย...เยียวยาตน...เยียวยาคน...เยียวยาโลก “พวกเธอควรศึกษาพระพุ ทธศาสนาให้ถงึ ที่สดุ ทัง้ ปริยตั ิ ปฏิบตั ิ ปฏิเวธ และที่ส�ำคัญ พวกเธอต้องรู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร จากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง” นี่คือสิ่งที่ ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้กล่าวกับพวกเรา บรรดาอาสาสมัครของเสถียรธรรมสถานทั้งหลาย เมื่อปลาย ปี 2547 และหลังจากนั้นพวกเราก็มีหนังสือชุด ‘ธรรมะจาก พระโอษฐ์’ คนละชุด ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย พุทธประวัติจาก พระโอษฐ์ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น, ภาคปลาย และปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ซึง่ เป็นหนังสือทีท่ า่ น อาจารย์พุทธทาสภิกขุใช้เวลานานกว่า 20 ปี ในการคัดเฉพาะค�ำ ของพระตถาคตจากพระไตรปิฎกออกมารวบรวมไว้ 46 |

เรามีใต้ตน้ โพธิเ์ ป็นห้องเรียนนัง่ ล้อมวงสนทนาสิง่ ทีไ่ ด้จากการ อ่านหนังสือทัง้ ห้าเล่ม โดยมีทา่ นแม่ชศี นั สนียผ์ ซู้ งึ่ เป็นเสมือนทัง้ แม่ และครูของพวกเราร่วมสนทนาด้วย ไม่มถี กู ไม่มผี ดิ ทุกอย่างเป็นไป ตามธรรมชาติและภูมิรู้ของเราแต่ละคน ณ ขณะนั้น กระทั่งวันที่ ทุกอย่างลงตัว สาวิกาสิกขาลัย มหาวิชชาลัยธรรมะเพือ่ เยียวยา สังคม การศึกษาระดับมหาบัณฑิตจึงเกิดขึน้ ภายใต้รม่ เงาของมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นิสติ รุน่ แรกของสาวิกาสิกขาลัยนัน้ นอกจากเรือ่ งหลักวิชาการ หรือปริยัติแล้ว ท่านแม่ชีศันสนีย์ในฐานะผู้อ�ำนวยการของสาวิกา สิกขาลัยได้นำ� เราปฏิบตั เิ ข้มข้นทัง้ ในรูปแบบและในชีวติ ประจ�ำวัน ในรูปแบบนัน้ ท่านให้เราถือธุดงควัตร รับประทานภาชนะเดียวนอน


บนพื้นดินในทุกที่ที่ได้ชื่อว่าเป็นอาณาบริเวณของเสถียรธรรมสถาน ท่านสอนเสมอว่า “พวกเธออย่าคิดว่าศึกษาในมหาวิชชาลัยธรรมะเพื่อเยียวยา สังคมแล้วจะออกไปเยียวยาใครได้ ถ้าเธอไม่เยียวยาตัวเองเสียก่อน” เราจึงถูกสอนให้ กลับมาทีใ่ จตัวเองทุกครัง้ เยียวยาใจตัวเองให้มนั่ คงแข็งแรง ไมว่าจะอยูใ่ นสถานการณ์ ใด ต้องฝึกทีจ่ ะมองไปด้านนอกแล้วกลับมาพัฒนาด้านใน ดังปรากฏในพระไตรปิฎกใน มหาปรินิพพานสูตร พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่า หนึ่งไม่ว่าจะในบัดนี้หรือเมื่อเราล่วงไปแล้ว จะเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มี สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้น จักอยู่ในความเป็นผู้เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”1 และเมือ่ ได้เวลาทีเ่ หมาะสม ท่านได้มอบหมายให้เราไปแบ่งปันกับบุคคลภายนอก ที่ แรกทีเ่ ราไปคือ โรงพยาบาลประจ�ำจังหวัดอ่างทอง และทีน่ นั่ เราได้พบกับ นายแพทย์ ภิญโญ ศรีวีระชัย ที่ตามมาเป็นนิสิตสาวิกาสิกขาลัย รุ่นที่ 2 ตามประเพณีของสาวิกาสิกขาลัย เมือ่ รุน่ พีจ่ บการศึกษาไปแล้ว ต้องกลับมาแบ่งปัน ให้รุ่นน้องตามภูมิรู้ ภูมิธรรมที่ได้ศึกษาและปฏิบัติ ข้าพเจ้าเองได้รับโอกาสอันดีนี้จาก ท่านแม่ชีศันสนีย์ให้มาแบ่งปันวิชา ‘อานาปานสติ วิถีแห่งปัญญาสู่สันติสุข’ แก่นิสิต จากรุ่นที่ 3 จนถึงปัจจุบัน และหนึ่งในจ�ำนวนนี้คือ นรีกระจ่าง คันธมาส มหาบัณฑิต ของสาวิกาสิกขาลัย รุ่นที่ 6 เธอเป็นนักร้องระดับแนวหน้าของประเทศที่มีความตั้งใจ จริงทีจ่ ะศึกษาและปฏิบตั ธิ รรมให้เกิดประโยชน์ตอ่ ตนเองและผูอ้ นื่ โดยการน�ำหลักการ ทางพระพุทธศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการร้องเพลง รวมถึงการเป็นวิทยากรบรรยาย ธรรมะ ธรรมชาติ ได้อย่างรื่นรมย์กลมกลืน อย่างไรก็ตาม เราได้รับการย�้ำเตือนเสมอจากผู้อ�ำนวยการของสาวิกาสิกขาลัยว่า สาวิกาสิกขาลัยไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนแคบๆ เท่านั้น หากแต่การศึกษาเรียน รู้ของเราจะอยู่ในทุกที่ เพราะการเข้าใจชีวิตที่ประกอบด้วยกายและใจ คือการเข้าใจ ธรรมะอันลึกซึ้ง การได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติจะท�ำให้เราได้รับผลของการกระท�ำนั้น ด้วยตัวของเราก่อนที่จะขยายไปสู่ครอบครัว สังคม ชุมชน ประเทศชาติ และโลกใบ นี้ ซึ่งก็หมายถึงปฏิเวธนั่นเอง มหาบัณฑิตของสาวิกาสิกขาลัยทุกคน เมือ่ จบการศึกษาต่างก็แยกย้ายไปท�ำหน้าที่ ตามความถนัด ตามก�ำลังความสามารถของตน ข้าพเจ้าในฐานะศิษย์ผหู้ นึง่ ของสาวิกา สิกขาลัยที่ท�ำงานด้านสื่อเพื่อสังคม ข้าพเจ้าได้น�ำทุกค�ำสอนที่ได้จากการศึกษาปฏิบัติ มาเป็นอีกแรงหนึง่ ในการขับเคลือ่ นให้สงั คมของเราเป็นสังคมแห่งการให้อย่างเป็นรูป ธรรมให้สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “...พวกเธอจงจาริกไปเพือ่ ประโยชน์สขุ แก่ชนจ�ำนวนมาก เพือ่ อนุเคราะห์ชาว โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์...”2 1  ที.มหา. (ไทย) 10/165/111 2  วิ.มหา ผไทย) 4/12/40

นายแพทย์ภิญโญ ศรีวีระชัย นายแพทย์ประจ�ำศูนย์บริรักษ์ โรงพยาบาล ศิริราช (Palliative Care Center)

“ ส า วิ ก า สิ ก ข า ลั ย ไ ม ่ ไ ด ้ ส อ น ใ ห ้ เปลี่ยนแปลงหรือหนีออกไปจากโลก แต่ สอนวิชาแห่งชีวิตที่ไม่มีที่ใดเคยสอน คือ สอนให้เรารูว้ า่ เราจะอยูอ่ ย่างไรในโลกอย่าง ที่โลกเป็น”

นรีกระจ่าง คันธมาส นักร้อง

“การมี โ อกาสได้ เ รี ย นวิ ช าอานาปาน สติท�ำให้ข้าพเจ้าได้เพียรฝึกดูลมหายใจ ไม่ขาด เมื่อจิตฟุ้งซ่านส่งออกนอกกาย เมื่อไรก็ให้รู้ และกลับมาอยู่ที่ลมหายใจ ทันที คือเมื่อคิดแล้วเป็นอกุศลก็ให้ทิ้งเสีย หมั่นรู้ตนอย่างนี้เป็นประจ�ำ เห็นผลลัพธ์ ทันตา การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดมากของ ตัวเองคือเป็นคนรู้กิจ รับผิดชอบได้อย่างมี ประสิทธิผลมากขึน้ มาก เป็นผูม้ ศี ลี รักษาตน รักษาผูอ้ นื่ อย่างสม�ำ่ เสมอ จากคนทีม่ อี ตั ตา สูงกลายเป็นผูว้ า่ ง่าย มีเหตุมผี ล เพราะรูถ้ งึ ธรรมชาติของชีวิต ลมหายใจที่สูดเข้าไป และปล่อยออกมาทุกครั้งมีคุณค่า จึงเลือก คิดแต่สิ่งที่เป็นกุศล” ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 47


48 |


ธรรมชาติบ�ำบัด | พิกุล วิภาสประทีป

‘ธรรมชาติบ�ำบัด’ ไม่ลองก็ไม่รู้ แล้วนี่คุณรออะไรอยู ่! ชั ญญา เศรษฐบุตร หรือ แม่ครูอู่ ทนทุกข์ทรมานกับอาการของโรคลมชักแบบเงียบมา ตั้งแต่วัยยังไม่ถึงสิบขวบ คุณหมอที่ดูแลอาการป่วยของเธอบอกว่าในประเทศไทยมีคน ป่วยเป็นโรคนี้เพียงแค่ 12 คน และเป็นโรคที่พร้อมจะเสียชีวิตได้ตลอดเวลา เธอมีชวี ติ อยูก่ บั อาการทีต่ อ้ งหมดสติวนั ละหลายครัง้ ครัน้ ตืน่ ขึน้ มาก็จำ� ไม่ได้ถงึ สาเหตุ ของการหมดสติครัง้ นัน้ ๆ มาตลอด ทัง้ ยังต้องกินยาต่างอาหารถึงวันละ 50 เม็ด จากหญิง สาวรูปร่างเล็ก แต่ด้วยฤทธิ์ของยาและอาการของโรคท�ำให้น�้ำหนักของเธอพุ่งขึ้นถึงกว่า 90 กิโลกรัม ‘บวม’ คือค�ำที่เธอใช้ หาใช่ภาวะ ‘อ้วน’ เหมือนคนทั่วไป วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550 คือวัน เดือน และปีที่เธอต้องเข้ารับการผ่าตัดสมอง เพื่อรักษาอาการของโรคลมชัก ทว่าก่อนหน้านั้นไม่นาน เธอได้เดินทางมาที่เสถียรธรรม สถาน และได้ทราบจาก ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ว่าจะมีการอบรมคอร์ส ‘ธรรมชาติ บ�ำบัด’ โดยคุณหมอจากประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 6 – 13 เมษายน ด้วยความที่ถ้าผ่า แล้วประสบความส�ำเร็จ ก็ตอ้ งใช้เวลาฟืน้ ความจ�ำอีกเป็นเวลาสองปี หรือในกรณีทผี่ า่ แล้ว ไม่หาย ก็ต้องผ่าใหม่ ในภาวะหลังชนฝา ไม่มีอะไรจะเสีย เธอจึงตัดสินใจสมัครเข้าอบรม เป็นเวลาแปดวันทีค่ ณ ุ หมอบอกหรือห้ามอะไร เธอจะปฏิบตั ติ วั ตามนัน้ อย่างเคร่งครัด “เข้าไปสามวันแรกนีแ่ ทบตาย โชว์อยูค่ นเดียวเลย เป็นลมตึงๆๆ เพราะเขาไม่ให้ใช้ยา เลย ดิฉันก็หักดิบเลย คือจากที่กินยาวันละ 50 เม็ด ไม่เคยหยุดยาเลยตั้งแต่เก้าขวบก็ หยุด เป็นไงเป็นกัน สามวันแรกเลยน็อกโชว์ เป็นลมตลอด ตื่นขึ้นมาทีไรก็โดนเอาน�้ำราด หัว แต่พอหลังสามวันไปแล้วรู้สึกโล่งมาก คนไม่เคยกินยาเยอะๆ จะไม่รู้หรอกว่าการได้ หยุดยาวันเดียวมันมหาศาลมากแค่ไหน” แล้วก็ไม่มีการผ่าตัดสมองเกิดขึ้นในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550 หลังจากได้ประโยชน์ตนแล้ว แม่ครูอู่ก็ ‘ให้’ คืนเป็นประโยชน์ท่าน ด้วยการศึกษา แลกเปลีย่ น และเรียนรูเ้ กีย่ วกับศาสตร์ ‘ธรรมชาติบำ� บัด’ อย่างทุม่ เทและจริงจัง ทุกวันนี้ นอกจากแม่ครูอจู่ ะด�ำรงบทบาทเป็นนักธรรมชาติบำ� บัดทีค่ อยดูแลให้ความรูท้ งั้ ทางทฤษฎี และปฏิบัติแก่ผู้เข้าอบรมในคอร์สธรรมชาติบ�ำบัด ซึ่งจัดขึ้นเดือนเว้นเดือนที่เสถียรธรรม สถานแล้ว เธอก็ยังคงดูแลตัวเองด้วย ‘ธรรมชาติบ�ำบัด’ อย่างเข้มข้นและเข้มแข็ง เพื่อ ความแข็งแรงของทั้งกายและใจอย่างยั่งยืน “‘ธรรมชาติบำ� บัด’ คือศาสตร์แห่งการใช้ชวี ติ เป็นศิลปะแห่งการดูแล การดูแลตนเอง และความเป็นอยู่ให้เกิดความสมดุล ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ โดยเชื่อมั่นในศักยภาพ ของตัวเองว่า ร่างกายของเราเป็นหมอใหญ่ที่เก่งและดีที่สุด... ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 49


“เข้าไปสามวันแรกนี่แทบตาย โชว์อยู ่คนเดียวเลย เป็นลมตึงๆๆ เพราะเขาไม่ให้ใช้ยาเลย ดิฉันก็หักดิบเลย คือจากที่กินยาวันละ 50 เม็ด ไม่เคยหยุ ดยาเลยตัง้ แต่เก้าขวบก็หยุ ด เป็นไงเป็นกัน สามวันแรกเลยน็อกโชว์ เป็นลมตลอด ตื่นขึ้นมาทีไรก็โดนเอาน�้ำราดหัว แต่ พอหลังสามวันไปแล้วรู ส้ กึ โล่งมาก คนไม่เคยกินยาเยอะๆ จะไม่รูห้ รอกว่าการได้หยุ ดยาวัน เดียวมันมหาศาลมากแค่ไหน” “‘ธรรมชาติบ�ำบัด’ คือการอยู่อย่างสะอาด ให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งตรงกับที่ ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต สอนว่า ‘จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว’ เราไม่สามารถมี สุขภาพที่ดีในร่างกายที่อ่อนแอได้ พูดง่ายๆ ก็คือเมื่อจิตใจแย่ สามารถท�ำให้ร่างกายแย่ตามไปด้วยได้ เพราะจิตใจส�ำคัญที่สุด... “สิ่งส�ำคัญที่สุดของ ‘ธรรมชาติบ�ำบัด’ คือการมีลมหายใจเป็น เครื่องมือที่ส�ำคัญ จ�ำไว้ว่าเราต้องมีลมหายใจแห่งสติเป็นเพื่อน ตลอดเวลาแล้วเราจะรอด ต้องหายใจให้เป็น อย่าขี้เกียจหายใจ... การทีเ่ รามาเข้าคอร์สธรรมชาติบำ� บัดนัน่ ก็คอื การเรียนรูท้ จี่ ะเข้าใจ ร่างกายของตัวเอง ดูแลเขาอย่างอ่อนโยน และไม่ท�ำร้ายร่างกาย โดยการน�ำพิษเข้ามาใส่ให้ร่างกาย เราจึงต้องท�ำความเข้าใจเรื่อง ของการกิน อยู่ หลับ นอน ว่าท�ำอย่างไรจึงจะเกิดความสมดุลและ เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคนและแต่ละโรคทีเ่ ราเป็นอยูด่ ว้ ย ตลอดเวลาทีเ่ ราอยูร่ ว่ มกันสีว่ นั สามคืนนี้ เราจะเรียนรูเ้ รือ่ งการพอก โคลน แช่สะโพก อาบแดด ออกก�ำลังกาย การนอนและการกิน แต่สงิ่ ส�ำคัญทีส่ ดุ คือเราต้องท�ำทัง้ หมดนีด้ ว้ ยลมหายใจแห่งสติ เรา จึงจะเข้าถึงหัวใจของธรรมชาติบำ� บัดคือ ใจสะอาด...กายสะอาด… “ยิง่ นานดิฉนั ก็ยงิ่ พบว่า ‘ธรรมชาติบำ� บัด’ ไม่มอี ะไรยุง่ ยาก อยู่ ที่ความพยายาม การเฝ้าสังเกต การเข้าใจศาสตร์ของการใช้ชีวิต และไม่เอาพิษใส่ทั้งร่างกายและจิตใจ” ปัจจุบนั ผูค้ นมากมายในสังคมเมืองหันมาสนใจสุขภาพของตัว เอง ด้วยการใส่ใจการบริโภคมากขึน้ การออกก�ำลังให้รา่ งกายแข็ง แรงอย่างสม�่ำเสมอ ครัน้ เลีย่ งทีจ่ ะเกิดอาการป่วยไข้ไม่ได้ ก็หนั มา ให้ความสนใจในการใช้ธรรมชาติดแู ลตัวเองก่อนทีจ่ ะปรึกษาแพทย์ ก็มีอยู่ไม่น้อย คอร์สการอบรม ‘ธรรมชาติบ�ำบัด’ ที่มีคุณภาพจึง เกิดขึ้นมากมาย

50 |

จากประโยชน์ตน...สู่ประโยชน์ท่าน ก้าวเข้าสู่ ปี 2559 คอร์ส ‘ธรรมชาติบำ� บัด’ ของเสถียรธรรมสถาน จัดอบรมมาแล้ว 45 ครัง้ หากมีคำ� ถามว่า ท�ำไมต้องมา ‘ธรรมชาติบำ� บัด’ ทีเ่ สถียรธรรมสถาน ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้เคยให้ค�ำตอบกับค�ำถามนี้ไว้ว่า “‘ธรรมชาติบ�ำบัด’ ตามแนวทางของเสถียรธรรมสถานนั้นไม่ สามารถแยกธรรมะกับธรรมชาติออกจากกันได้เลย ธรรมะคือการ เกิดขึน้ ตัง้ อยู่ และดับไป โรคภัยไข้เจ็บก็เหมือนกัน เมือ่ เกิดขึน้ ถ้า เราดูแลดีๆ เขาก็หายไปได้ ดับไปได้... “และเพราะเสถียรธรรมสถานเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่จะ ฝึกฝนในเรือ่ งของ ‘ภายใน’ ไม่วา่ จะเป็นบรรยากาศทีเ่ ป็นธรรมชาติ ซึ่งสอนให้คนเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ อย่างสมดุล หรือความเงียบที่เป็นเสมือนวิธีการสื่อสารที่จะดึงให้ คนกลับเข้ามาดูจิตใจของตัวเอง... “ธรรมชาติบ�ำบัดคือการกลับไปเคารพธรรมชาติในตัวเรา มี ส�ำนึกทีจ่ ะปฏิบตั ติ อ่ ชีวติ ของเราอย่างไม่เบียดเบียน เมือ่ มนุษย์ทกุ คนเคารพธรรมชาติในตัวเองได้ มนุษย์ก็จะเคารพโลกได้... “งานธรรมชาติบ�ำบัดไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เมื่อพึ่งตัวเองได้แล้ว เราต้องกลับไปให้โลกพึ่ง ชีวิตที่โก้ที่สุดคือชีวิตที่ไม่เบียดเบียน ถ้า เรากินอาหารไม่ดี นั่นคือเราก�ำลังเบียดเบียนตัวเอง... “โลก...คือกายและใจของเรา หากเรามองโลกอย่างที่โลกเป็น อย่างอ่อนโยนอยู่ด้วยกุศล เราจะเห็นว่า ไม่ว่าโลกจะเป็นอย่างไร ใจของเราจะไม่ทุกข์ และถ้าเราอยู่กับโลกอย่างเหนือโลก เราจะ พบกับอิสระอย่างแท้จริง... “โรค...ก็คือกายและใจของเรา หากเรามองโรคอย่างที่โรค เป็นอย่างอ่อนโยนอยู่ด้วยกุศล ร่างกายที่เจ็บป่วยจะไม่ใช่ปัญหา ของเรา และจิตของเราก็จะเป็นอิสระ แต่วิธีการนี้ต้องควบคู่ไป กับการดูแลร่างกายของเราด้วย และ ‘ธรรมชาติบ�ำบัด’ ก็เป็น หนึ่งในทางเลือก” ‘ธรรมชาติบ�ำบัด’ ไม่ลองก็ไม่รู้ แล้วนี่คุณรออะไรอยู่!


จินรัตน์ เทียมอริยะ

วีรณา โอฬารรักษ์ธรรม

อาสาสมัครงาน ‘ตาราอวอร์ด’

ผู้อ�ำนวยการบริหาร (Executive Director) “เชื่ อ มั่ น ในการดู แ ลสุ ข ภาพร่ า งกาย บริษัท ทีซีบีเอ็น จ�ำกัด

ด้วยวิถีธรรมชาติบ�ำบัด รู้สึกมีก�ำลังใจว่า เรามีทางเลือกและเป็นอิสระจากการใช้ยา เพราะโดยส่วนตัวไม่ชอบใช้ยาหรือทาน อาหารเสริม คอร์สธรรมชาติบำ� บัดให้ความ รูใ้ นเรือ่ งการกินอาหารให้เป็นยาเพือ่ ไม่ตอ้ ง กินยาเป็นอาหาร แม่อู่สอนได้ละเอียดลึก ซึง้ ถึงสภาวะอารมณ์ ความรูส้ กึ ในจิตใจ เมือ่ รวมกับการปฏิบตั ภิ าวนาทีค่ ณ ุ แม่เมตตาสัง่ สอน หากน�ำไปใช้จริงจัง จะมีผลมาก จิตใจ ดี ร่างกายดี กุศลดี จริงทีว่ า่ ธรรมชาติบำ� บัด รักษาได้ทุกโรคแต่ไม่ทุกคน... “ส�ำหรับบางคนแม้ไม่มโี รค ไม่ปว่ ย การ เข้าคอร์สก็เหมือนกับเราได้ทำ� ความสะอาด บ้าน ทุกห้อง ทุกซอกมุม ถ้าสามารถปฏิบัติ ต่อเนือ่ งบ้านก็สะอาดเสมอ แต่ถา้ จบคอร์ส แล้วไปตามใจปากตามความอยาก ก็เหมือน กลับไปคลุกโคลนเปื้อนเลอะเทอะทั้งตัว แล้วเดินย�่ำทั่วบ้าน นั่งโซฟา ขึ้นไปกลิ้งบน ที่นอน บ้านก็สกปรกอีก”

“ความเปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าคอร์ส ธรรมชาติ บ� ำ บั ด ของฉั น ประการแรกคื อ ความรูใ้ นเรือ่ งทีเ่ รียบง่ายทีส่ ดุ ธรรมดาทีส่ ดุ และส�ำคัญที่สุด นั่นคือเรื่องธรรมชาติ... “ประการที่ 2 คือ ความกล้าหาญ ฉัน เลิกหาข้ออ้างที่จะท�ำหรือไม่ท�ำ น่าแปลกที่ คอร์สธรรมชาติบำ� บัดไม่มใี ครมาบอกให้เรา กล้า แต่เรากลับมีความกล้าหาญทีจ่ ะอดใน สิ่งที่ชอบ และทนในสิ่งที่ไม่ชอบ โดยที่ ‘ใจ ยังเป็นสุข’ ที่ผ่านมาฉันกินอาหารมังสวิรัติ ด้วยความทุกข์มากกว่าสุข หรือไม่ก็เพราะ การบนบานศาลกล่าว แต่ครั้งนี้ ไม่มีใคร สั่ง ไม่มีใครบังคับ ยิ่งฉันไม่ได้ป่วยเป็น โรคร้ายแรง ฉันยิ่งพร้อมจะเลิกอยู่บนวิถี ธรรมชาติบ�ำบัด แต่มันกลับตรงกันข้าม ใจ ฉันเป็นสุข... “ประการที่ 3 ธรรมชาติบ�ำบัดเปลี่ยน ให้ฉนั เป็นคนประณีต จากทีต่ อ้ งท�ำทุกอย่าง อย่างเร่งรีบ เป็นค่อยๆ ท�ำ และมีความสุข เพราะใจไม่มีความร้อนรน ธรรมชาติบ�ำบัด ไม่ใช่แค่เรื่องกินผักผลไม้ มันถึงขั้นเปลี่ยน พฤติกรรม...ไปจนถึงเปลี่ยนสันดานกันเลย ทีเดียว!” ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 51


อาบแดด, แช่หลัง, พอกโคลน

น�้ำมหัศจรรย์...ของขวัญจากธรรมชาติ

ล้างคอ, ล้างตา, ล้างจมูก

เพิ่มพลัง...ด้วยอาหารธรรมชาติ 52 |


วิถีชีวิตของ ‘ธรรมชาติบ�ำบัด...เพื่อชี วิตเป็นสุข’ “ไม่มใี คร...ท�ำให้เราเศร้าได้ ไม่มใี คร...ท�ำให้เราทุกข์ได้ ไม่มใี คร...ท�ำให้ เราสุขได้ เราต้องสร้าง ‘เมล็ดพันธุ แ์ ห่งความสุข’ ด้วยตัวของเราเอง แล้วก็หว่านไปให้งอกงาม...อย่างเบิกบาน...ไม่ขุ่นมัว” แม่ครู อู่ ชัญญา เศรษฐบุ ตร

กายเคลื่อนไหว...ใจตั้งมั่น (โยคะ)

ดูแลทั้งกายและใจด้วยคลื่นเสียง (สาธยายมนต์) และการอธิษฐานจิต

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 53


54 |


การเยียวยาผู ้ป่วยระยะสุดท้าย | ทวีวัฒนา ทุนคุ้มทอง นิสิตสาวิกาสิกขาลัย ผู ้ผันตัวเองจาก 'ผู ้ป่วย' มาเป็นผู ้เยียวยา

แปร ‘พลังแห่งการเยียวยา’ เป็น ‘ปาฏิหาริย์แห่งการเปลี่ยนแปลง’ ความเจ็บป่ วยเป็นความทุกข์ท่มี นุษย์ทกุ คนต้องเผชิ ญ หากแต่ เมือ่ เกิดความเจ็บป่วยขึน้ บางคนอาจจะจมอยูใ่ นกองทุกข์ ส่วนบาง คนได้เรียนรูท้ จี่ ะใช้ความทุกข์จากความเจ็บป่วยเป็นครูสกู่ ารพัฒนา สติปัญญา สามารถเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง ซึ่งนับเป็นผู้ป่วย ที่โชคดีที่สามารถพ้นทุกข์ทางใจได้ และด้วยกรุณาจากหัวใจและความตั้งใจมั่นที่จะท�ำงานตาม พุทธประสงค์ทวี่ า่ “การดูแลผูป้ ว่ ยคือการดูแลเรา...ตถาคต” ท�ำให้ ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ทุ่มเท และอุทิศแรงกายแรงใจท�ำงานน�ำธรรมะออกมาเยียวยาสังคม อย่างผู้รับใช้ เพื่อชีวิตที่สงบเย็นและเป็นสุขส�ำหรับคนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เกิดจนตาย เริ่มต้นจากงานจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ใน ครรภ์ ถึงการเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่เป็นการใช้โอกาสแห่ง ทุกข์จากความเจ็บป่วยเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นสะพานสาน สายใยอันงดงามแห่งความรักและความสัมพันธ์ของสมาชิกใน ครอบครัวซึ่งเป็นหัวใจแห่งการเยียวยา งานเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น ส่วนหนึ่งด�ำเนินไปพร้อม กับการบรรยายธรรมในเส้นทางการเคลื่อนไปของพระพุทธชยันตี องค์ด�ำ นาลันทา พระผู้เป็นเลิศแห่งปัญญาและการเยียวยา เพื่อ ให้ผู้คนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้เคารพสักการะ และการแสดง ธรรมเกี่ยวกับการด�ำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ร่วมกับการให้ ความรู้และความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจโพธิสัตว์แก่ บุคลากรด้านการแพทย์และพยาบาล และอีกส่วนหนึ่งคือการไป เยี่ยมเยียนให้ก�ำลังใจผู้ป่วย ให้ความรู้แก่ญาติหรือผู้ที่ท�ำหน้าที่ เป็นผูเ้ ยียวยาตามแนวทางของนวัตกรรมการสร้างมนุษยชาติทไี่ ด้ ภาวนาไปกับการเยียวยาผูป้ ว่ ยระยะสุดท้ายด้วยความรักและความ เข้าใจ เพราะจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากการเดินทางไปตาม สถานที่ต่างๆ กว่า 400 สถานที่ เป็นโรงพยาบาลกว่า 200 แห่งใน

เกือบ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ท�ำให้ได้สัมผัสและสื่อสารกับผู้ป่วย มากมาย ในมุมมองของท่านจึงเห็นว่า “ส�ำหรับชาวพุทธ การดูแลผูป้ ว่ ยระยะสุดท้ายเป็นงานชัน้ เลิศที่ บอกให้เราได้รู้ถึงสัจธรรม และพบว่าความตายนั้นมีความซับซ้อน และลึกซึ้งกว่าที่เราคิด จิตของคนใกล้ตายนั้นหากมีความพร้อมที่ จะหลุดพ้น จะเปี่ยมไปด้วยความกตัญญูต่อทุกสิ่งที่เกื้อกูลต่อการ มีชีวิตที่ผ่านมา เขาสามารถสื่อสารกับคนเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ค�ำ พูด” ซึ่งท่านแม่ชีย�้ำว่าช่วงเวลาแห่งความเข้าใจนั่นเองคือช่วง เวลาอันงดงามที่จะท�ำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการเยียวยาและผู้เยียวยา ได้ตระหนักถึงความกตัญญูและความรักที่ท่วมท้นในหัวใจของอีก ฝ่าย จนเมื่อเวลาของการจากพรากมาถึงทุกคนก็จะมีจิตใจที่เข้ม แข็งและยอมรับความจริงได้ อีกส่วนหนึ่งคือการบรรจุไว้ในชั้นเรียนของสาวิกาสิกขาลัย ที่ สอนให้นิสิตรู้วิธีการเยียวยาผู้ป่วยให้อยู่กับความทุกข์โดยไม่เป็น ทุกข์ ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ การศึกษาดูงาน และการฝึกงาน ตัวอย่างเช่น เมือ่ ผูเ้ ขียน ซึง่ เป็นนิสติ สาวิกาสิกขาลัย รุน่ ที่ 1 ได้ไป พ�ำนักรักษาตัวที่ อโรคยาศาล สถานอภิบาลผู้ป่วยมะเร็งด้วยการ แพทย์ทางเลือกแบบผสมผสานอย่างเป็นองค์รวม ตั้งอยู่ที่วัดค�ำ ประมง จังหวัดสกลนคร (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลเฉพาะทางด้าน มะเร็งจังหวัดสกลนคร) ซึ่งที่นั่นเป็นหนึ่งในสถานที่ศึกษาดูงาน ของนิสิตในเรื่องการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคอง ท�ำให้ได้ใช้ความทุกข์จากความเจ็บป่วยครั้งนั้นเรียนรู้ ที่จะยอมรับและเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง จนกระทั่งอาการดี ขึ้นก็สามารถน�ำบทเรียนของตัวเองไปแนะน�ำและให้ก�ำลังใจแก่ ผู้ป่วยตลอดจนญาติหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยให้เข้าใจ และยอมรับความเป็นจริงของชีวติ ช่วยให้ทงั้ ผูป้ ว่ ยและครอบครัว มีความรู้สึกดีขึ้น เป็นทุกข์น้อยลง ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 55


“ส�ำหรับชาวพุ ทธ การดูแลผู ้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นงานชั้นเลิศที่บอกให้เราได้รู้ถึงสัจธรรม และพบว่าความตาย นัน้ มีความซับซอ้ นและลึกซึ้งกว่าที่เราคิด จิตของคนใกล้ตายนัน้ หากมีความพร้อมที่จะหลุดพ้น จะเปี่ ยมไปด้วย ความกตัญญู ต่อทุกสิ่งที่เกื้อกูลต่อการมีชีวิตที่ผ่านมา เขาสามารถสื่อสารกับคนเป็นได้โดยไม่ต้องใชค้ �ำพู ด... “บัว...จาก ‘ผู ้ป่วย’ กลายเป็น ‘ครู ’ ที่สอนให้ผู้คนได้เห็นความงดงามของการให้อภัย และในที่สุด ด้วยการคืน ไม่ฝืนไว้ เธอก็ได้คืนลมหายใจให้โลกนี้อย่างอย่างสงบและงดงาม... “เมธาวี...จากผู ป้ ่ วยที่ ‘ไม่สามารถแม้แต่จะหายใจได้ด้วยตัวเอง’ กลับ ‘สามารถขยับปากเหมือนก�ำลังออกเสียง สวดมนต์บทสรรเสริญพระพุ ทธคุณ’ ไปกับท่านแม่ชีจนจบ ด้วยรอยยิม้ จากดวงตาที่เปล่งประกายอย่างร่าเริง และมีความสุข” 56 |


นอกจากนี้ยังมีกรณีของ บัว ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีโอกาสได้พบท่านแม่ชี ศันสนีย์ในช่วงสุดท้ายของชีวิต จากความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดแสนสาหัสทาง กายเพราะโรคร้ายที่รุมเร้าและความทุกข์ในใจที่ยังไม่อาจคืนคลายความโกรธ ความไม่ เข้าใจ เธอได้เรียนรู้ธรรมะในขณะที่ร่างกายเจ็บป่วยจนสามารถใช้ชีวิตในปัจจุบันขณะที่ เหลืออยู่ให้มีความสุขด้วยความเมตตาและให้อภัย ท�ำให้จาก ‘ผู้ป่วย’ กลายเป็น ‘ครู’ ที่ สอนให้ผคู้ นได้เห็นความงดงามของการให้อภัย และในทีส่ ดุ ด้วยการคืนไม่ฝนื ไว้ เธอก็ได้ คืนลมหายใจให้โลกนี้อย่างสงบและงดงาม ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือเรื่องราวของ เมธาวี อาภรณ์ศรี วัย 38 ปี ผู้ป่วยด้วยโรคกล้าม เนือ้ อ่อนแรงจนไม่สามารถแม้แต่จะหายใจได้ดว้ ยตัวเองมานานกว่าหกปี มีแต่คณ ุ พ่อและ ครอบครัวคอยช่วยเหลือดูแลทุกอย่าง วันหนึง่ เมือ่ ท่านแม่ชเี ดินทางไปท�ำงานทีจ่ งั หวัดอุบลราชธานี ท่านได้ทราบเรือ่ งราวของ ผูป้ ว่ ยรายนี้ จึงเกิดความเมตตาและได้เดินทางไปเยีย่ มผูป้ ว่ ยและครอบครัวของเขา สิง่ ที่ เกิดขึ้นคือท่านสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่อ่อนโยน และด้วยความเมตตาอย่างไม่มีสิ่งใด เคลือบแฝง ท�ำให้ผปู้ ว่ ยมีกำ� ลังใจทีเ่ ข้มแข็งพอทีจ่ ะส่งพลังผ่านร่างกายทีไ่ ร้เรีย่ วแรงออก มาผ่านการขยับปากและสายตาที่เปี่ยมด้วยความรู้สึก จากผู้ป่วยที่ไม่สามารถแม้แต่จะหายใจได้ด้วยตัวเองกลับสามารถขยับปากเหมือน ก�ำลังออกเสียงสวดมนต์บทสรรเสริญพระพุทธคุณไปกับท่านแม่ชีจนจบ ด้วยรอยยิ้มจาก ดวงตาที่เปล่งประกายอย่างร่าเริงและมีความสุข ท่ามกลางความปลื้มปีติของคุณพ่อผู้ ป่วยที่ไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าลูกสามารถสื่อสารได้มากขนาดนี้ ท่านแม่ชียังขอบคุณ ผู้ป่วยและบอกกับพวกเราว่าผู้ป่วยทุกคนเป็นเสมือนครูที่สอนให้เราได้เรียนรู้ความเป็น จริงของชีวิตและท�ำให้ได้รู้ว่าทุกคนมีพลังที่จะเยียวยาตนเองและผู้อื่นได้ด้วยใจที่งดงาม ด้วยความรักและความเมตตา การได้เยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่เพียงแต่ท�ำให้ผู้ป่วยป่วยแต่กายแต่ใจไม่ป่วย หรือมีความสุขในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น แต่ยังท�ำให้ผู้เยียวยาได้เรียนรู้และ ยอมรับได้ว่าความตายเป็นความเป็นจริงตามธรรมชาติของโลกที่ไม่มีใครหนีพ้น การเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงเช่นนี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถมีชีวิตที่สงบเย็นและ เป็นประโยชน์ เป็นชีวิตที่อยู่อย่างไม่ตายทั้งเป็น และท้ายที่สุดเราจะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ว่า ‘พลังแห่งการเยียวยา’ สามารถสร้าง ‘ปาฏิหาริย์แห่งการเปลี่ยนแปลงตัวเอง’ ให้เกิด ขึ้นได้ เพื่อเป็นคนใหม่ที่พร้อมออกไปรับใช้ผู้คนได้อย่างเข้มแข็งทั้งกายและใจ...ให้เป็นผู้ ให้ให้ได้มากกว่าที่เคยให้... เพื่อสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขพ้นทุกข์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 57


ธรรมวิจัย | พุ ทธสาวิกาอภิฤดี จรุ งพาณิชย์เจริญ

สืบค้นจาก ‘ต้นน�้ำ’ พบเจอ ‘สายธารแห่งกรุ ณา’

“ธรรมาศรม...เป็นมหากุศลที่จะช่ วยคนให้อยู ่ อย่างมีความหมาย...ตายอย่างมีคุณค่า”

58 |


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร

“พระพุ ทธศาสนาจะช่ วยอะไรสังคมได้บ้าง” เป็นประโยคค�ำถามที่ปลุกจิตส�ำนึกแห่งการรับใช้ของนักบวช สตรีให้ลุกขึ้นมาท�ำงานรับใช้มวลมนุษยชาติเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว และยังคงรับใช้สืบเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน ประโยคค�ำถามสั้นๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน เป็นค�ำถามที่ ต้องการค�ำตอบให้กบั สังคมทีเ่ ต็มไปด้วยการเบียดเบียน ไม่นา่ เชือ่ ว่าในขณะนั้นสถิติการถูกทารุณกรรมทางเพศของผู้หญิงสูงมาก จนถึงขั้นที่เด็กผู้หญิงถูกข่มขืนทุกหกนาที ในจ�ำนวนนั้นคลอดลูก แล้วทิ้งลูกไว้ที่โรงพยาบาลวันละหกคน และด้วยค�ำถามสั้นๆ ใน วันนัน้ เองทีท่ ำ� ให้ ท่านแม่ชศี นั สนีย์ เสถียรสุต ผูก้ อ่ ตัง้ เสถียรธรรม สถาน ต้องหันมาตั้งค�ำถามกับตัวเองอย่างจริงจังว่า “แล้วธิดาของผูม้ พี ระภาคเจ้าจะต้องท�ำอย่างไร...ในฐานะทีเ่ รา เป็นผู้หญิงด้วยกัน” จุดเริม่ ต้นของการตัง้ ค�ำถามกับตัวเองของท่านแม่ชศี นั สนียใ์ น ครั้งนั้น ท�ำให้เกิดโครงการต่างๆ มากมายในเสถียรธรรมสถานที่ มุ่งเน้นการ ‘อยู่รอด’ ของผู้หญิงในทุกช่วงวัยของชีวิตตั้งแต่เกิด จนตาย นับตั้งแต่โครงการจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ โครงการโรงเรียนพ่อแม่ โครงการการบวชพุทธสาวิกา ฯลฯ จนถึง ธรรมาศรม – วิถชี วี ติ ทีด่ แู ลร่างกายและจิตใจให้สมดุล ผสมผสาน กับการใช้ธรรมโอสถในการรักษาสมดุลของชีวิต ใช้สมาธิและการ ภาวนาในทุกการเคลื่อนไหวอย่างผ่อนคลาย และรักษาใจให้รู้ ตื่น และเบิกบาน โดยสอดคล้องกับธรรมชาติ ตั้งแต่เกิดจนตาย รวม ถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยแก่ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย โครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้ เป็นเสมือน แหล่งรวบรวมความรู้ที่เสถียรธรรมสถานสะสมมาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดองค์ความรู้อันทรงคุณค่าต่อสังคม ในวาระที่เสถียรธรรม สถานก�ำลังจะก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 ท่านแม่ชีศันสนีย์จึงมีด�ำริให้เกิด โครงการ ‘ธรรมวิจัย’ ขึ้น โดยท่านให้แนวทางไว้ว่า

“ธรรมวิจยั มีความโดดเด่นและแตกต่างจากงานวิจยั ทัว่ ไปตรง ที่เป็นงานวิจัยซึง่ ใช้หลักธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือความสอดส่อง สืบค้น วินิจฉัยธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในโพชฌงค์เจ็ดองค์คุณแห่งการ ตรัสรูธ้ รรมเพือ่ เข้าถึงการบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นแนวทางหลัก ในการด�ำเนินงาน ด้วยหวังว่างานธรรมวิจยั ของเสถียรธรรมสถาน จะเป็นเสมือนการน�ำธรรมะกลับไปสู่หัวใจของทุกคน และเพื่อให้ ตระหนักว่า แท้จริงแล้วธรรมะอยู่ในลมหายใจของทุกคนตั้งแต่ เกิดจนกระทั่งตาย” โครงการ ‘ธรรมวิจัย’ อยู่ภายใต้การด�ำเนินงานของ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร อาจารย์ประจ�ำ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งได้ แสดงทัศนะเกี่ยวกับโครงการ ‘ธรรมวิจัย’ ไว้ว่า “โครงการ ‘ธรรมวิจยั ’ เป็นชุดโครงการวิจยั ทีจ่ ะเป็นการท�ำงาน ร่วมกันระหว่างนักวิจัยทางโลกกับนักวิจัยทางธรรม ซึ่งจะช่วยกัน ถอดองค์ความรู้ของเสถียรธรรมสถานที่ได้สะสมมาตลอดระยะ เวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยระบบของงานวิจัย...จริงๆ แล้วองค์ ความรู้ของเสถียรธรรมสถานมีมากมาย แทบจะเรียกได้ว่าทุกจุด ของเสถียรธรรมสถานสามารถสกัดออกมาเป็นงานวิจัยได้เลย แต่ในช่วงแรกของโครงการ ‘ธรรมวิจัย’ จะมุ่งถอดบทเรียนจากสี่ โครงการ คือ จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ โรงเรียนพ่อแม่ การบวชพุทธสาวิกา และธรรมาศรม เพือ่ ให้เห็นวิธคี ดิ กระบวนการ ท�ำงาน พัฒนาการ และผลที่เกิดทั้งทางโลกและทางธรรม...ต้อง เน้นว่า ‘ทั้งทางโลกและทางธรรม’ เนื่องจากความโดดเด่นของ เสถียรธรรมสถานคือการผสมผสานระหว่างทางโลกกับทางธรรม ได้อย่างสมดุล และสามารถน�ำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาผนวก กับแนวปฏิบัติทางธรรมได้อย่างลงตัว ทีมวิจัยคาดหวังว่างานวิจัย ทีเ่ กิดขึน้ ภายใต้โครงการ ‘ธรรมวิจยั ’ จะสามารถตอบโจทย์ได้อย่าง ชัดเจนว่า ทีผ่ า่ นมาเสถียรธรรมสถานได้สร้างอะไรให้กบั สังคม และ ก�ำลังจะสร้างอะไร ทั้งในเชิงองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อให้ สังคมได้เรียนรู้และน�ำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป” และ...ที่สุดแล้ว งานวิจัยที่เกิดขึ้นก็จะเป็นค�ำตอบที่ชัดเจน ส�ำหรับค�ำถามข้างต้น “พระพุทธศาสนาจะช่วยอะไรสังคมได้บ้าง” และก�ำลังเป็นหนทาง (อริยมรรค) ของเสถียรธรรมสถานใน ทศวรรษที่ 4 ว่า “ธรรมาศรม...เป็นมหากุศลที่จะช่วยคนให้อยู่อย่างมีความ หมาย...ตายอย่างมีคุณค่า” ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 59


ที่ใดมีแสงสว่าง...ความมืดบนโลกก็เลือนหายไป | พนิดา มาสกุล

ธรรมนิเทศ...ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นของสื่อ “การเผยแผ่ธรรมะต้องท�ำของยากให้งา่ ย…ปาฏิหาริยข์ อง สื่อ คือช่ วยขยายการรับรู ้ทางการอ่าน ดู ฟั ง สนทนา ให้กว้างไกลแม้อยู ่คนละมุ มโลก ให้คนอยู ่ท่ ใี ดก็รับธรรมะ ได้เหมือนมีหูทิพย์ ตาทิพย์...ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นของสื่อ คือสื่อมีหน้าที่น�ำธรรมะออกไปปลุกสังคมให้ต่ ืนขึ้นจาก ความงมงาย...น�ำธรรมะที่ลึกซึ้ งมาตั้งแต่ครั้งพุ ทธกาลไป ท�ำให้คนในปั จจุ บันซาบซึ้ง...ช่ วยคนในสังคมให้พน้ ทุกข์รว่ ม กันให้ได้”

60 |


วิสยั ทัศน์ในการเผยแผ่ธรรมะของเสถียรธรรมสถานเป็นเรื่อง ที่ก้าวล�้ำสมัยมาโดยตลอด เมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน ได้ปลุกส�ำนึกของสื่อมวลชน ที่มาเป็นอาสาสมัครของเสถียรธรรมสถานว่า “การเผยแผ่ธรรมะต้องท�ำของยากให้ง่าย…ปาฏิหาริย์ของสื่อ คือช่วยขยายการรับรู้ทางการอ่าน ดู ฟัง สนทนาให้กว้างไกลแม้ อยู่คนละมุมโลก ให้คนอยู่ที่ใดก็รับธรรมะได้เหมือนมีหูทิพย์ ตา ทิพย์...ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นของสื่อ คือสื่อมีหน้าที่น�ำธรรมะออก ไปปลุกสังคมให้ตนื่ ขึน้ จากความงมงาย...น�ำธรรมะทีล่ กึ ซึง้ มาตัง้ แต่ ครัง้ พุทธกาลไปท�ำให้คนในปัจจุบนั ซาบซึง้ ...ช่วยคนในสังคมให้พน้ ทุกข์ร่วมกันให้ได้” ก้าวย่างสู่ทศวรรษที่ 4 ในการท�ำงานธรรมนิเทศของเสถียร ธรรมสถาน อันเป็นการน�ำธรรมะออกไปเยียวยาสังคม งานธรรม นิเทศจึงเป็นงานทีน่ ำ� ค�ำสัง่ สอนและหลักประพฤติปฏิบตั ใิ นศาสนา ออกไปแสดง จ�ำแนก แจกแจง อธิบาย ขยายความ ออกไปสู่ สังคมในหลายช่องทางการสื่อสาร เพื่อเป็นการยืนยันค�ำสอนของ พระพุทธองค์ทจี่ ะท�ำให้มนุษย์พน้ ทุกข์ได้ ท่านแม่ชศี นั สนียไ์ ด้กล่าว ถึงการท�ำงานธรรมนิเทศไว้ว่า “สือ่ ท�ำให้คนหลับก็ได้ สือ่ ท�ำให้คนตืน่ ก็ได้ ฉะนัน้ สือ่ ต้องแสดง ปาฏิหาริย์ในการตื่นของผู้คน จึงจะได้ชื่อว่าสื่อมีปาฏิหาริย์ในการ ช่วยคน ถ้าเราจะท�ำงานธรรมนิเทศ เราต้องมีเจตนาทีจ่ ะใช้สอื่ นีใ้ ห้ เป็นไปเพือ่ การตืน่ ขึน้ ของผูค้ นทีม่ สี ำ� นึกทีจ่ ะอยูบ่ นโลกนีอ้ ย่างน�ำมา ซึ่งสันติภาพ โดยเริ่มต้นการใช้สื่อที่น�ำเสนอความมั่นใจในตนที่จะ ด�ำรงชีวติ อย่างไม่เบียดเบียน คนทีไ่ ม่เบียดเบียนคือคนทีโ่ ก้ทสี่ ดุ บน โลกใบนี้ คนร�่ำรวยที่อยู่บนพื้นฐานของการแสวงหาผลประโยชน์ แม้จะมีอ�ำนาจการใช้สื่อในมือมากมาย ก็ไม่สามารถท�ำให้สื่อนั้น เกิดปาฏิหาริย์แห่งการตื่นของผู้คนได้” และ... “การท�ำงานธรรมนิเทศเป็นการท�ำงานทีใ่ ช้ศลี ในอริยมรรค นัน่ คือสัมมาวาจา ทีห่ มายถึงการสือ่ สารอย่างมีสมั มาทิฏฐิ และรูปแบบ

ของการสือ่ สารธรรมของเสถียรธรรมสถานเป็นการสือ่ สารอย่างมี สัมมาวาจาผ่านสื่อต่างๆ ที่หลากหลาย เป็นการใช้วาจาของเราแก้ ปัญหาทุกปัญหาไม่ว่าเรื่องนั้นจะเล็กเพียงไหนก็ตาม แต่ถ้าการ สื่อสารเข้าไปช่วยแล้วท�ำให้ที่ตรงนั้นพ้นทุกข์ได้ เราก็จะท�ำ เพื่อ เป็นการยืนยันค�ำสอนของพระพุทธองค์วา่ ...มนุษย์พน้ ทุกข์ได้จริง” ดังนั้น วินัยการท�ำงานสื่อสารในงานธรรมนิเทศของเสถียร ธรรมสถานคือ การท�ำงานสื่อที่อยู่บนมรรคภาวนาคือหนทางแห่ง การหลุดพ้น สารที่สื่อออกไปต้องเป็นสารที่ไม่พูดร้าย ไม่แสดง ทัศนะต่อสังคมในเชิงร้าย เชิงลบ ไม่ใช้วาจาหรือสารทีส่ ง่ ผ่านช่อง ทางต่างๆ ทีเ่ ป็นการแพร่ขา่ วสารทีผ่ ดิ ทีไ่ ม่รจู้ ริง นีค่ อื ตัวอย่างของ ความเป็นรูปธรรมของการใช้วาจาที่ไม่ใช่แค่ใช้ปากพูด แต่ต้องใช้ ทุกสารทีจ่ ะสือ่ ออกไปเป็นเครือ่ งมือทีจ่ ะท�ำให้ทั้งคนที่เป็นผูส้ ง่ สาร และผูร้ บั สารก้าวไปสูค่ วามพ้นทุกข์ได้อย่างจับต้องได้จริงและเป็น รูปธรรม ทั้ ง หมดนี้ เ พื่ อ เป็ น การยื น ยั น ต่ อ สั ง คมว่ า ค� ำ สอนของ พระพุทธเจ้าต้องไม่เป็นเพียงนามธรรม หากแต่ต้องท�ำให้เห็น เป็นรูปธรรมของการท�ำงานที่อยู่บนมรรคภาวนา และเกิดผลของ การท�ำที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลก เมื่อคนสร้างสื่อฝึกตนให้มีชีวิตและการงานที่สงบเย็น ปลุก ตนเองให้ตื่นจากอารมณ์โลภ โกรธ หลงได้ การงานจึงสร้าง ปาฏิหาริยข์ องสือ่ ได้ และสือ่ ทีม่ พี ลังจะสามารถพาสังคมเข้าสูค่ วาม สงบเย็นและเป็นประโยชน์ร่วมกัน คือ ‘นิพพาน’... ‘นิพพาน’ อันเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ แล้วพระองค์ ก็ทรงสามารถใช้นิพพานในชีวิตไปเรื่อยๆ ด้วยความสงบเย็น และเป็นประโยชน์กับสังคมโลกมาจนถึงทุกวันนี้ ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 61


62 |

ติดตาม ‘สื่อของเสถียรธรรมสถาน’ ได้ท่ี…

วิวัฒน์ วงศ์กระพันธุ ์

• รายการวิทยุสองรายการ ได้แก่ 1. รายการวิทยุ ‘สาวิกา’ สื่อเพื่อชีวิตที่งดงามและ เป็ น อิ ส ระ กระจายเสี ย งทางเครื อ ข่ า ยวิ ท ยุ ม ก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ AM 1107kHz ทุกวัน เสาร์และอาทิตย์ เวลา 9.00 ถึง 10.00 น. รับฟัง พร้อมกันทัว่ โลกได้ทาง www.radio.ku.ac.th และรับ ชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง www.sdsweb.org ทุก วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 9.00 ถึง 11.30 น. 2. รายการ ‘ใต้ร่มธงไทย’ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ กองทัพบก FM103 kHz ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 18.20 ถึง 19.00 น. • รายการโทรทัศน์สี่รายการ ได้แก่ 1. รายการ ‘บ้านนี้มีอริยะ’ ทางช่อง TNN 24 2. รายการ ‘ถักโลกด้วยธรรม’ ทางช่อง TGN 3. รายการ ‘A Walk Of Wisdom’ ทางช่อง TGN 4. รายการ ‘ธรรมสวัสดี’ ทางช่อง workpoint 23 • สื่ อ อื่ นๆ ได้ แ ก่ สิ่ง พิม พ์ ‘นิต ยสารธรรมสวัสดี’ , เว็บไซต์ www.sdsweb.org และช่องทาง social media ได้แก่ www.facebook.com/sdsface, Instragram (IG), LINE, YOUTUBE sds channel

เจ้าของโปรดักชั่นเฮาส์ THE SHOOD

“ตอนคุณแม่ (ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต) ชวนให้ท�ำธรรม โฆษณา ‘จ๊ะเอ๋…บ๊ายบาย’ ก็คิดว่าธรรมโฆษณาแค่ 30 วินาที จะ เอาธรรมะแบบไหนไปให้ คนเรา...พอบอกว่าธรรมะก็ไม่ดแู ล้ว แล้ว จะท�ำอย่างไรให้คนดูธรรมะ จุดมุ่งหมายของเราก็คือบีกินเนอร์ (beginner) ผู้เริ่มต้น ให้คนที่ไม่สน ไม่เอาธรรมะ หาทางให้เขา สนให้ได้…คุณแม่สามารถย่อยธรรมะให้สำ� หรับคนทีเ่ ป็นบีกนิ เนอร์ ได้ดี...ท�ำให้สนุกหน่อย ย่อยง่าย เล่าให้ง่าย อิมแพ็กต์ให้แรง...ถ้า จะพูดกับคน โดยเฉพาะคนหมู่มาก... “สิ่งที่ท่านท�ำอยู่ ผมยินดีช่วย เพราะรู้สึกว่าส�ำหรับก้าวแรก ของคนทีส่ นใจธรรมะ เสถียรธรรมสถานย่อยให้งา่ ย ไม่ได้หนักเกิน ไป…ผมว่าเป็นเรือ่ งส�ำคัญทีเ่ ราจะมีหนึง่ ก้าวแรกทีส่ ร้างภูมคิ มุ้ กันให้ ตัวเอง...ธรรมะแบบทีค่ ณ ุ แม่ทำ� คือธรรมะส�ำหรับคนทีม่ คี วามรูเ้ ป็น ศูนย์ และผมก็เชือ่ ว่าคุณแม่มคี วามรูข้ นั้ แอดวานซ์ (advance) ให้ กับคนที่ปฏิบัติมาเยอะเช่นกัน”


พรรณพรรณ ทรงข�ำ

พุ ทธสาวิกาเสาวลักษณ์ กนกโพธิ

อาสาสมั ค รงานสื่ อ ธรรมนิ เ ทศ ผู ้ ก� ำ กั บ มืออาชีพผู้สร้างงานธรรมซีรี่ย์ ‘ความรัก ศรัทธา ปาฏิหาริย์’ และ ‘นมัสเต จ๊ะเอ๋... บ๊ายบาย’ “กว่าแปดปีทผี่ มท�ำงานเป็นอาสาสมัคร ด้านสื่อธรรมนิเทศให้กับเสถียรธรรมสถาน ผมพบว่าการท�ำสื่อธรรมะท�ำให้ผมได้เรียน รู้เรื่องส�ำคัญที่ไม่มีที่ไหนจะสอนผมได้คือ การสร้างความสุขให้กับผู้ชมอย่างแท้จริง ไม่ใช่ความสุขที่เกิดจากความสนุก แต่คือ คนดูเกิดปีติสุข อีกเรื่องหนึ่งคือ การท�ำให้ ทีมงานคิดงานในเชิงบวก...การท�ำงานอย่าง เป็นการให้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด... “ประสบการณ์ เ หล่ า นี้ ท� ำ ให้ ผ มเกิ ด การพัฒนาด้านใน คือการท�ำงานอย่างมี ความสุขขึน้ จากทีเ่ มือ่ ก่อนท�ำงานแล้วทุกข์ เครียด แต่พอมาท�ำสื่อธรรมะ แล้วได้ปรับ เปลี่ยนวิธีการท�ำงานใหม่ รู้ว่าความงามคือ อะไร ไม่ใช่แค่สวย และสิง่ ส�ำคัญคือรูส้ กึ ว่า คิดงานอื่นๆ ได้เร็วและคมขึ้น”

พุทธสาวิกาสองแผ่นดิน รุ่นที่ 2

วชิ ระ ค่ายค�ำ

เยาวชนในงาน ‘ธรรมนิเทศ’ ของเสถียรธรรม “ตอนเริ่ ม ท� ำ งานธรรมนิ เ ทศ รั บ ผิ ด สถาน

ชอบการถ่ายทอดสดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ผ่านทาง www.sdsweb.org เป็นงานที่ ต้องตัดสินใจอย่างชัดเจนและไม่ผิดพลาด ท�ำให้กังวลและกลัว จึงเป็นทุกข์ แต่พอได้ ฟังค�ำสอนของคุณยายจ๋าที่ว่า ‘ทุกข์มีไว้ให้ เห็น...ไม่มไี ว้ให้เป็น’ บ่อยๆ ท�ำให้เห็นว่าการ ที่เรามานั่งทุกข์กับการตัดสินใจไม่ได้มันไม่ เกิดประโยชน์ เราต้องข้ามความรู้สึกนี้ไป ให้ได้ ต้องมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ และ ท�ำปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่ต้องกังวลกับผลที่ เกิดขึ้น ก็เลยหายทุกข์ กล้าตัดสินใจและ ท�ำงานได้ดีขึ้นค่ะ”

“เวลาถ่ายท�ำรายการกับคุณยายจ๋าจะ ได้ฟังค�ำสอนมากมาย แต่ที่ผมประทับใจ มากคือที่คุณยายจ๋าถามว่า ‘โต๊ะหนักไหม’ ผมก็ตอบว่า ‘หนัก’ แล้วท่านก็บอกว่า ‘มัน จะหนักได้ยังไงถ้าเราไม่แบก’ ค�ำสอนนี้ ท�ำให้ผมเปลี่ยนแปลงวิธีคิดในการท�ำงาน ทันที แต่ก่อนถ้ามีปัญหาผมจะเอาความ รู้สึกเอาใจเข้าไปจับ ท�ำให้กว่าจะท�ำงาน เรื่องหนึ่งๆ ให้จบได้ก็ต้องใช้เวลานานเป็น อาทิตย์ เพราะมัวติดอยู่กับอารมณ์ แต่ เดีย๋ วนีผ้ มรูว้ า่ ต้อง ‘ท�ำปัญหาให้เป็นปัญญา’ ดังนั้น พอมีปัญหา ผมก็เปลี่ยนวิธีการมอง ปัญหาทันที ไม่เอาใจเข้าไปจับปัญหา และ ไม่ใช้อารมณ์กับปัญหา ใช้ความคิดแทน ก็ พบว่ามันดีกับการท�ำงาน ท�ำให้ผมท�ำงาน อย่างมีความสุขครับ”

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 63


มา...พวกเรามาชมสวน...สวนชวนให้ใจชื่ นบาน | พิกุล วิภาสประทีป

มีอะไรข้างใน ‘สวน’

ด้วยการสัมผัสในระดับสายตาจากภายนอกขณะสัญจรผ่านช่วง ต้นของถนนวัชรพล ไม่แปลกเลยทีผ่ คู้ นทีไ่ ม่คนุ้ เคยอาจหาค�ำจ�ำกัด ความไม่ได้ว่า ‘เสถียรธรรมสถาน’ คืออะไร หากสิ่งที่พอจะบอก ได้ทันทีที่เห็นคือ เขียว...และสวย และความเขียวกับความสวยนี้เอง ที่ท�ำให้อาคันตุกะเข้ามา เยือนเพื่อท�ำความรู้จักมากมายนับไม่ถ้วนได้ ครั้นได้ก้าวเท้าผ่านประตู ได้ใช้เวลาเดินดู ได้เรียนรู้ ได้สัมผัส ค�ำสามค�ำที่ผุดตามมาคือ สงบ...สบาย...และศิลปะ ต่างคนต่างใจ...จึงต่างเก็บเกี่ยวจากความสนใจที่ต่างกัน แต่แม้ความสนใจจะไม่เหมือนกัน ทว่านี่...คือสิ่งที่ไม่อาจมอง ผ่านด้วยประการทั้งปวง 64 |


ธรรมสวัสดี ธรรมสวัสดี...แปลว่าขอให้ปลอดภัยโดยธรรม... เป็นซุม้ เล็กๆ ทีย่ นื ตัวรอทักทายและน�ำผูม้ าเยือนให้ เดินเข้าสู่วิถีชีวิตที่สงบเย็นและเกื้อกูล...คือที่ที่คุณ เป็นคนพิเศษส�ำหรับเรา

หอประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นหอประดิษฐานของพระบรมสารีรกิ ธาตุซงึ่ ได้รบั ประทานจากสีป่ ระเทศ คือ สมเด็จ พระมหานายะกะ ประธานสงฆ์สยาม นิกายอรัญวาสี ประเทศศรีลังกา เพื่อเป็นการ สืบสานสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศศรีลงั กา เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 250 ปี ที่พระอุบาลีมหาเถระได้เป็นพระธรรมทูตไปยังประเทศศรีลังกา...สมเด็จพระ ญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประเทศไทย...ท่านลามะ เติงซัง จากเทือกเขาหิมาลัย ประเทศทิเบต...และหลวงพ่อไจทีเซา ประเทศพม่า เป็น มิตขิ องการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าในการปฏิบตั ธิ รรม และท�ำให้คนเข้าสูป่ จั จุบนั ขณะ เพราะตระหนักรู้ว่าความตายเป็นที่สุดรอบของชีวิต เราจึงต้องท�ำปัจจุบันขณะ ให้ดี ไม่ปล่อยตนให้ตายทั้งเป็น

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 65


ห้องสมุ ด ‘สาวิกา’ สะอาด...สว่าง...สงบ...บนชั้นที่สามของ อาคารสาวิกา มีหนังสือธรรมะและหนังสือเด็ก ดีๆ มากมายให้อ่าน แต่อย่าเพลินจนลืมอ่าน หนังสือเล่มใน...คือใจของตัวเอง

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ยืนต้นอยู่เคียงข้างหอประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ได้รับ ประทานมาพร้อมกับพระบรมสารีรกิ ธาตุจากประเทศศรีลงั กา เมือ่ ครั้งฉลองสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศศรีลังกา เมื่อแรกที่มาถึงเสถียรธรรมสถาน ยังคงเป็นกิ่งโพธิ์น้อย ต้องเข้า ห้องอนุบาลอยู่นานหลายเดือน แล้วจึงปลูกลงดินจริงเมื่อวันศุกร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นวันประสูติของ พระเจ้าหลาน เธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ สามารถอธิษฐานจิต รดน�้ำต้น โพธิ์ให้เจริญงอกงามได้ ในขณะเดียวกันใจของเราก็เจริญขึ้นด้วย 66 |


ลานโพธิ์ ลานหญ้าเขียวขจีซึ่งมีต้นโพธิ์ที่งามสง่ายืนต้นตระหง่านสอนเรื่องการมีชีวิตอย่างมีความสุขที่ได้ให้โดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังเช่น ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อมองดูต้นโพธิ์ เราจะเห็นว่าตลอดชีวิตของเรา เราก็เหมือนต้นไม้เล็กๆ ที่ เมื่อเดินทางมาสักระยะหนึ่งก็เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ มีร่มเงาให้นกหนูมาอาศัย มีผู้คนมาอาศัยร่มเงาได้อย่างไม่เลือกปฏิบัติเช่นกัน” ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 67


ถ�้ำพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ ตาราอวอร์ด เป็นอีกหนึ่งในการท�ำงานของเสถียรธรรมสถานเพื่อสร้างเครือข่ายของคน ท�ำความดีด้วยการมอบรางวัลส�ำหรับปลุกหัวใจสังคมด้วยหัวใจโพธิสัตว์ โดย การค้นหาบุคคลผู้มีหัวใจโพธิสัตว์ผู้เสียสละท�ำงานรับใช้สังคมและโลกอย่างไม่ หวังผลตอบแทน ตาราอวอร์ดเป็นรางวัลที่เชิดชูคุณความดี แสดงถึงคุณธรรม ของความเสียสละ ท�ำงานอย่างทุ่มเทแรงกายและแรงใจ ไม่หวังชื่อเสียงและ ลาภสักการะใดๆ ท�ำงานรับใช้อย่างผูม้ ตี วั ตนเล็ก แต่งานยิง่ ใหญ่ สร้างประโยชน์ และความสุขให้เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก สัญลักษณ์ของตาราอวอร์ดคือ หยกที่แกะสลักเป็นรูปพระอารยตารามหา โพธิสตั ว์ โดยความหมายคือเป็นพระผูเ้ ป็นดัง่ แสงสว่างแห่งความรักทีส่ อ่ งน�ำทาง ให้ผคู้ นก้าวพ้นจากความทุกข์ ด้วยมิตทิ างความคิดทีม่ คี ณ ุ ธรรมแปดประการเป็น หลักในการด�ำเนินชีวิตและการท�ำงาน การมอบตาราอวอร์ดจึงเป็นอีกหนึ่งในวิธี การยกย่องคนท�ำความดีด้วยการเคารพหัวใจของโพธิสัตว์ที่ท�ำงานอย่างหนัก เพื่อรับใช้มวลมนุษยชาติ ให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุขพ้นทุกข์ร่วมกัน โดยจัดขึ้นเป็น ประจ�ำทุกปี ปีละสองครั้ง ครั้งที่ 1 ในวันทุกวันที่ 22 กุมภาพันธ์ของทุกปี ครั้ง ที่ 2 เป็นอินเตอร์เนชั่นแนลตาราอวอร์ด จัดขึ้นในทุกวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี 68 |


ธรรมศาลา ศาลาทรงกลมทีต่ งั้ อยูใ่ จกลางสถานทีท่ มี่ ธี รรมอัน มั่นคง เปิดโล่งเพื่อรองรับกิจกรรมทางธรรม

ถ�้ำนิพพานชิ มลอง ท�ำความคุ้นเคยกับพื้นทราย...นั่งอยู่กับใจตัวเอง “นิพพานชิมลอง ใช้ค�ำไหนก็ได้ นิพพานน้อยๆ ชั่วขณะ เป็น ตัวอย่างสินค้า ตัวอย่างมักจะดีกว่าสินค้าที่ขายจริง...นิพพานชิม ลอง ก็เป็นของที่ชิมลองดูก่อน ถูกใจแล้วจึงค่อยซื้อก็ได้ ชิมลอง ดูก่อนสิ” พุทธทาสภิกขุ

อาคารสาวิกา – สิกขาลัย ห้องเรียนที่เรียบง่าย งดงาม ประหยัดพลังงาน สร้างพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสูส่ งั คมมารุน่ แล้วรุน่ เล่า

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 69


ประติมากรรม ‘อนุสาวรีย์พระอาทิตย์ท่ีติดดิน’ ประติมากรรมรูปพระอาทิตย์ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสอง เมตร น�ำ้ หนักกว่าหนึง่ ตัน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ และแผ่นทองแดง ที่เหล่าพสกนิกรได้จารึกนามไว้พร้อมกับความดีที่จะท�ำถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดสร้างขึ้นโดย มีแรงบันดาลใจจากการทรงงานอย่างหนักของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ด้วยว่าพระองค์เปรียบประดุจแสงแห่งปัญญาของ แผ่นดิน เป็นดั่งพระอาทิตย์ที่ส่องสว่างเรืองรองไปทั่วทุกหนแห่ง ทว่ากลับทรงด�ำเนินพระชนม์ชีพอย่างเรียบง่าย พอเพียง และ เป็นแบบอย่างแก่พสกนิกรชาวไทยด้วยพระราชจริยวัตรอันงดงาม ตามแนวพระราชด�ำรัสของสมเด็จพระบรมราชชนนีที่ว่า “...อันทีจ่ ริงเธอก็ชอื่ ภูมพิ ลทีแ่ ปลว่าก�ำลังของแผ่นดิน แม่อยาก ให้เธออยู่กับดิน...” ประติมากรรมตั้งอยู่บนเนินดิน ณ เสถียรธรรมสถาน เมื่อวัน ที่ 5 ธันวาคม 2550

ประติมากรรม ‘นั่งร่วมด้วยช่ วยชี้ แจง ในวาระชาตกาล 100 ปีท่านเจ้าคุณอาจารย์พุทธทาสภิกขุ เสถียรธรรมสถานได้ถอดคุณธรรมของท่านอาจารย์ออกมาเป็น ประติมากรรมรูปเหมือน ซึง่ ได้นำ� มาประดิษฐานไว้ ณ ลานโรงเรียน พ่อแม่ โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) เมตตามา เป็นประธานในการหล่อและประธานในการรับประติมากรรมมา ประดิษฐาน ณ เสถียรธรรมสถาน เมื่อวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2549 Open Secret Open Secret ที่ นี่ ...ไม่ มี ค วามลั บ ...กั บ ...หนั ง สื อ ศิล ปะ ลมหายใจ ดนตรี และชีวิต 70 |


ประติมากรรม ‘หัวใจผู ้หญิง...หัวใจแม่...หัวใจโพธิสัตว์’

พระพุ ทธเมตตา

อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศน พระผู้เป็นเลิศแห่งการเป็นที่รักและไม่ขัดสน อัญเชิญมาจาก ศิลป์ (ประติมากรรม) มอบให้เสถียรธรรมสถาน เพือ่ เป็นสัญลักษณ์ แดนพุทธภูมิ (ประเทศอินเดีย) สู่แดนสุวรรณภูมิ ของการประชุมนานาชาติศากยธิดา ครั้งที่ 12 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวัน ประดิษฐานถาวร ณ เสถียรธรรมสถาน ที่ 12-18 มิถุนายน 2554 เพื่อบ่งบอกถึงการจับมือกันของผู้หญิง เพื่อก้าวเดินบนมรรคาสู่การหลุดพ้น ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 71


สถูปมนต์ประภัสสร สถูปมนต์คือสถานที่ที่ใช้ในการปฏิบัติธรรม เป็นพุทธศิลป์แบบวัชรยาน เมื่อ มีกลั ยาณธรรมชาวพุทธได้มอบพระอารยตารามหาโพธิสตั ว์ ซึง่ มีอายุกว่า 2.000 ปีกลับบ้าน เสถียรธรรมสถานจึงจัดบ้านต้อนรับพระองค์ และใช้เป็นสถานที่ให้ ผู้หญิงได้ปฏิบัติธรรม สถูปมนต์ประภัสสรเป็นสถูปผ้าจึงเป็นพระสถูปที่ถูกที่สุด แต่ได้อานิสงส์มากที่สุด เพราะประหยัดพลังงาน เป็นพระสถูปมนต์ที่สร้างแบบ คนละไม้คนละมือ มีสามัคคีธรรมและไม่เบียดเบียนธรรมชาติ รวมทั้งท�ำงาน ด้วยหัวใจผู้หญิง หัวใจแม่ หัวใจโพธิสัตว์ เพื่อให้เกิดการปรองดองด้วยสองมือ แม่ และท�ำเพือ่ ใช้ประโยชน์ให้แม่ทอ้ งได้มาอธิษฐานจิต จึงได้อานิสงส์มากเพราะ ส่งเสริมให้คนบรรลุธรรม ผืนธงแต่ละผืนถูกสกรีนด้วยบทมนตรา แล้วผูกเป็นชั้น โดยด้านบนสุดจะ มีลักษณะเหมือนร่ม เหมือนฉัตร เมื่อเข้าไปอยู่ภายใต้ร่มเงาของสถูปจะรู้สึก ประหนึ่งอยู่ในอ้อมกอดของพระพุทธเจ้า และได้รับการปกป้องโดยมนตรา ธง มนต์ห้าสี ประกอบด้วยสีฟ้า สีเขียว สีแดง สีขาว และสีเหลือง แทนธาตุทั้งห้า คือ ดิน...สีเหลือง น�้ำ...สีขาว ลม...สีเขียว ไฟ...สีแดง อากาศธาตุ...สีฟ้า

72 |

ถ�้ำจิตประภัสสร ถ�้ ำ ที่ เ ปรี ย บประหนึ่ ง ท้ อ งของแม่ การเดิ น เข้าไปภายในถ�้ำจึงให้ความรู้สึกอบอุ่นไม่ต่างจาก การมีโอกาสได้กลับเข้าไปซึมซับไออุ่นภายในท้อง ของแม่ ผนังถ�้ำทุกด้านถูกประดับด้วยรอยพิมพ์ มือหลากสีสันของเด็กๆ บนถ�้ำเป็นที่ประดิษฐาน ของพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ด้วย


เรือนไทย “บ้านหลังนอกที่ส่งเสริมให้บ้านหลัง ใน หรือบ้านใจ อบอุ่น มั่นคงหนักแน่น อาจหาญที่จะปล่อยวางในขณะที่ท�ำหน้าที่ และพบกับความเป็นอิสระที่แท้จริง” ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

ห้องจังหวะชี วิต ห้องทีด่ คู ล้ายว่างเปล่า...แต่ภายในกลับเต็มไปด้วยจังหวะของ ดนตรีและชีวิต...ที่สนุกสนาน รองรับคอร์ส ‘จังหวะชีวิต (Mindfulness Workshop)’ คือการเปิดโอกาสให้ตนเองได้แลกเปลี่ยน – เรียนรู้ - เข้าใจจิตใจของตนอย่างลึกซึ้ง ถ้าคุณ ‘รักและเมตตา ตนเอง’ ของขวัญที่มีคุณค่าที่คุณควรมอบให้กับตนเองและคนที่ คุณรัก คือการได้มีโอกาสเข้าคอร์ส ‘จังหวะชีวิต (Mindfulness Workshop)’ ซึ่งเหมาะกับทุกคน ทุกเพศ ทุกศาสนิก ทุกความ เชื่อ ทุกวัย (ตั้งแต่เจ็ดขวบขึ้นไป)

เรือนอริยธรรมาศรม ที่อันสัปปายะส�ำหรับธรรมสปา...ภาวนากับการนวด

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 73


ประติมากรรม ‘อนุสาวรีย์แห่งความดี ความงาม ความจริง’ รูปทรงหลักของประติมากรรมนีค้ ลีค่ ลายมาจากรูปทรงของผูห้ ญิงทีก่ างมือออก ทั้งซ้ายและขวาเพื่อโอบอุ้มรูปทรงต่างๆ ทั้ง 72 ชิ้นที่ถูกห้อยไว้ โดยรูปทรงเหล่า นี้หมายถึงผลแห่งคุณความดีของผู้ที่ประกอบกรรมดี ประติมากรรมนี้ถือก�ำเนิด ขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษาของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเหล่าพสกนิกรได้ประจักษ์แล้วในภารกิจที่ทรงท�ำเพื่อบ�ำบัด ทุกข์บ�ำรุงสุขให้พสกนิกรชาวไทยอย่างต่อเนื่อง จึงร่วมใจกันแสดงกตัญญุตาด้วย การบริจาคทรัพย์และแผ่นโลหะซึ่งจารึกนามของผู้ที่เป็นความดี ความงาม และ ความจริงของตนเอง แล้วน�ำมาเป็นส่วนหนึ่งของการหล่อประติมากรรม

ซุ ้ม ‘จัดดอกไม้...จัดใจ’ ดอกไม้สำ� หรับสักการะพระบรมสารีรกิ ธาตุ เมื่อคนจัดดอกไม้ ดอกไม้ก็จัด (ใจ) คน

ลานโรงเรียนพ่อแม่ ศาลาแปดเหลีย่ มเปิดโล่งทีแ่ วดล้อมด้วยต้นไม้ ใหญ่นอ้ ย เพือ่ รองรับนานากิจกรรมของ ‘ครอบครัว แห่งสติ’ และเป็นสถานที่ดูแลจิตใจพ่อแม่...เป็น ส�ำคัญ

74 |


สะพานแห่งสติ ไม้แต่ละแผ่นถูกวางพาดเรียงเป็นแนวยาวสูงต�ำ่ ต่างกันน�ำทาง สู่ลานโพธิ์ เมื่อใดที่ทอดสะพานแห่งสติ เมื่อนั้นชีวิตจะปลอดภัย

อัฒจันทร์แห่งรัก ลานเล็กๆ ท่ามกลางสวนสวย รองรับกิจกรรมอันส�ำคัญมา มากมาย การเทศน์มหาชาติของเหล่าพุทธสาวิกามรรค 8, การ อาคารไตรสิกขา แสดง Spiritual Entertainment ที่สนุกสนาน, การเสวนาธรรม ทีพ่ กั ส�ำหรับผูป้ ฏิบตั ธิ รรมทีเ่ งียบ ง่าย และยืนหยัดอย่างงดงาม อันส�ำคัญ, การจัดรายการวิทยุ ฯลฯ ล้วนเคยเกิดขึ้นที่นี่ ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 75


76 |


พระมหาเจดีย์พระอารยตารามหาโพธิสัตว์หมื่นพระองค์ พระมหาเจดียท์ รี่ องรับการประดิษฐานของพระศรีอาริยเมตไตรย รายล้อมด้วยพระอารยตารามหาโพธิสัตว์ ผู้อธิษฐานจิตที่จะเป็น พระมารดาของพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 77


อู ่ข้าวอู ่น้ำ� พบกับ Clean food ที่รับประกันว่า Good Taste เพราะอาหาร (ทุกจาน) ปรุงด้วย รักและความเอาใจใส่ ครัวของ ‘อูข่ า้ วอูน่ ำ�้ ’ เป็นครัวทันสมัยทีไ่ ด้รบั การออกแบบจากทีมงานมืออาชีพ โดยได้ รับการบริจาคจาก คุณฤทธิ์ และ คุณยุพิน ธีระโกเมน แห่ง บริษัทเอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จ�ำกัด "เราต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า สิ่งที่ไม่ดีห้ามท�ำให้ลูกค้าเด็ดขาด" คุณยุพิน ธีระโกเมน กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น MK กล่าวไว้ ณ เสถียรธรรมสถาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 ที่ ‘อู่ข้าวอู่น�้ำ’ อาหารมังสวิรัติทุกจาน เราเตรียมด้วยความรัก ผักและวัตถุดิบที่น�ำ มาประกอบอาหารทุกจาน ส่วนหนึ่งมาจาก ‘ความรัก ความศรัทธา’ มาด้วย ‘จิตที่คิดจะ ให้’ ของบรรดาพ่อค้าแม่ขายที่ตลาดสี่มุมเมือง ซึ่งนักบวชสตรีและทีม ‘อู่ข้าวอู่น�้ำ’ ออก ไปรับทุกสัปดาห์ อีกส่วนหนึง่ ได้มาจากการเรียนรูร้ ว่ มกันของเด็กๆ ในโครงการ ‘อารยตาราภาวนาวิชชา ลัย’ เช่น การเพาะเห็ด การเพาะถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน การปลูกใบกะเพรา พริก ขี้หนู แบบไร้สารพิษ ซึ่งได้ถูกน�ำไปเป็นอาหารในคอร์สธรรมชาติบ�ำบัดด้วย ในส่วนของการปรุงรส ก็ปราศจากสารปรุงรสทีท่ ำ� ลายสุขภาพ เราเลือกสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ ให้ กับลูกค้าที่อยู่ข้างหน้า เพราะ ‘คนที่อยู่ข้างหน้าคือคนพิเศษส�ำหรับเรา’ เสมอ เมนูแนะน�ำ ผัดไทยเส้นมะละกอ, ก๋วยเตีย๋ วเห็ดตุน๋ , ย�ำต้นอ่อนทานตะวัน, ย�ำผลไม้, ซูชิไข่ชะอมน�้ำพริกกะปิ, โรตี - มะตะบะ นึกถึงอาหารมังสวิรัติจานอร่อย...นึกถึง ‘อู่ข้าวอู่น�้ำ’ “เราจะไม่ถามว่าคุณจะกินอะไร แต่เราจะถามว่าเมื่อกินแล้ว คุณจะท�ำอะไร...ให้ใคร ได้บ้าง” 78 |


Grow Grow เป็นร้านกาแฟเล็กๆ ที่รสชาติไม่เล็กตามขนาดร้าน ส่วนหนึง่ ของเบเกอรีท่ จี่ ำ� หน่ายในร้าน เด็กๆ ในโครงการ ‘อารยตาราภาวนาวิชชาลัย’ มีส่วนร่วมทั้งในการลงมือท�ำและจ�ำหน่าย ทุกเช้าวันเสาร์ – อาทิตย์ รวมทั้งการเขียน ลวดลายและถ้อยค�ำให้กำ� ลังใจลงบนปลอกกระดาษกันร้อนของถ้วยกาแฟ ซึง่ เป็นการฝึก เด็กในการให้ก�ำลังใจคน เพราะ ‘คนที่อยู่ข้างหน้าคือคนพิเศษส�ำหรับเรา’ Grow สนับสนุนโดยผู้ใหญ่ใจดี...คุณจิรวรรณ พิริยเลิศศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ภัตตาคาร ‘ฮั่วเซ่งฮง’ และ ‘มูอิ เบเกอรี่’ "ให้สิ่งดีๆ แล้วสิ่งดีๆ จะกลับมาหาเรา" คุณจิรวรรณกล่าวไว้ ณ เสถียรธรรมสถาน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2558 Grow ร้านกาแฟในสวน ‘ตา’ ดูธรรมชาติ ‘หู’ ฟังธรรมะ ‘ใจ’ สงบ ‘ปาก’ จิบ Spiritual Sip เริ่มชีวิตดีๆ ได้ทุกเช้าที่นี่ อู่ข้าวอู่น�้ำ และ Grow ไม่ใช่แค่เพียงร้านอาหารมังสวิรัติหรือร้านกาแฟเล็กๆ ใน สวนสวยๆ หากแต่เป็นประหนึ่งโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิชาชีวิต ไม่ว่าจะ เป็นการเพาะเมล็ดพันธุห์ ลากหลายจนกลายเป็นวัตถุดบิ ของอาหารทีเ่ ป็น 'Clean food' ใน ร้าน ท�ำให้เด็กๆ ตระหนักว่า เงินแต่ละบาททีไ่ ด้มา...มาจากเหตุปจั จัยใด ในขณะเดียวกัน ก็เป็นอีกหนึง่ สถานทีท่ เี่ อือ้ ให้คนหันมาดูแลสุขภาพผ่านการบริโภคอาหารและเครือ่ งดืม่ ที่ มีรสชาติดี ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย อิ่มสบายทั้งกายใจและกายไปพร้อมๆ กัน ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 79


“แม้เขาจะไม่เคยรู ้เลยว่าท�ำไมผู ้หญิงท่านนี้จึงไม่มีผม รู ้เพียงว่าผู ้หญิงท่านนี้เป็น นักบวชชาวพุ ทธ แต่ความเป็นพุ ทธะได้เปล่งรัศมีไปทั่วจากการธรรมยาตราไปใน ท่ามกลางสายตาของผู ้คนต่างชาติต่างศาสนา”

80 |


จับมือกันเป็นวงกลม...จับมือกันเป็นวงกลม | พรรณวดี อมรมณีกุล

ถักโลกด้วยธรรม...การเดินทางอยู ่บนอริยมรรค หว่านโปรยเมล็ดพันธุ ์แห่งปั ญญา น�ำธรรมะสู่สังคมโลก เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชน จากสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมคือสภาพผืนดินแห้งแล้งกลายเป็นสวนธรรมอันร่มรื่น สัปปายะ และเกือ้ กูลต่อผูค้ นตัง้ แต่ปฏิสนธิจติ จนคืนชีวติ สูธ่ รรมชาติ นามธรรมทีส่ มั ผัสได้ คือเสถียรธรรมสถานสะสมองค์ความรูท้ างพุทธธรรมเพือ่ เยียวยาสังคมได้อย่างกลมกลืน กับยุคสมัย ท่านแม่ชศี นั สนีย์ เสถียรสุต ได้จาริกไปเพือ่ ปฏิบตั พิ ทุ ธกิจเช่นเดียวกับศิษย์ของตถาคต ในครั้งพุทธกาล คือการออกไปช่วยมวลมนุษยชาติให้เข้าถึงหนทางของการพ้นทุกข์ ท่าน ได้น�ำพุทธศาสนาไปเผยแผ่ทั่วทุกทวีปในโลกโดยการแสดงธรรมให้เพื่อนต่างชาติ ต่าง ศาสนา สัมผัสได้ถึง ‘จิตพุทธะ’ ผ่านรอยยิ้มอันก่อให้เกิดไมตรีจิต ความเบิกบาน เปี่ยม ไปด้วยความมุ่งมั่นและถ่อมตน ซึ่งเป็นภาพแห่งความทรงจ�ำที่ท�ำให้เพื่อนต่างชาติ ต่าง ศาสนา และต่างลัทธิความเชื่อตระหนักได้ว่านักบวชสตรีชาวพุทธในชุดขาวนี้เป็นแบบ อย่างแห่งการประกาศว่า ‘ธรรมะศักดิ์สิทธิ์เมื่อแก้ปัญหาชีวิตได้จริง’ เมื่อผู้คนรอบข้างสัมผัสได้ถึงพุทธิภาวะที่ ‘สุขให้เห็น เย็นให้สัมผัส’ ของท่านแม่ชี การแสดงความคิดเห็นใดๆ ของท่านบนเวทีโลกจึงแสดงให้เห็นถึงปัญญาของท่านอัน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ท่านเป็นประธานร่วมขององค์กรผู้น�ำสตรีเพื่อสันติภาพโลก (Global Peace Initiative of Women : GPIW) ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์กรใน พ.ศ. 2545 และยังคงด�ำรงต�ำแหน่งจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 ที่จะถึงนี้ เสถียรธรรมสถานได้ รับเกียรติอกี ครัง้ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครบรอบ 15 ปีของการก่อตัง้ องค์กร GPIW ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างสูงสุด การเดินทางของท่านแม่ชีศันสนีย์เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2543 ณ ส�ำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยขณะนัน้ มี การรวมตัวของผูน้ ำ� ทางศาสนาและจิตวิญญาณทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ครัง้ แรกของโลก คือกว่า 600 ท่านมาจับมือร่วมแลกเปลีย่ นมุมมองเพือ่ ท�ำความเข้าใจกันระหว่างศาสนา โดยเชือ่ ว่าเมือ่ ผู้น�ำในศาสนาต่างๆ เข้าใจและเป็นเพื่อนกัน จะท�ำให้ศาสนิกเข้าใจกัน อันจะลดความขัด แย้งที่เกิดจากความไม่เข้าใจระหว่างศาสนาลงได้ และสันติภาพของโลกจะเกิดตามมา ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 81


ครัง้ นัน้ ท่านแม่ชไี ด้รว่ มเดินทางกับคณะสงฆ์ไทยในฐานะผูต้ ดิ ตาม และอีกสองปีถดั มา กลุม่ ผูน้ ำ� ทางจิตวิญญาณสตรีทวั่ โลกกว่า 400 ท่านได้มารวมตัวกัน ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ ที่เสถียรธรรมสถาน ประเทศไทย เพื่อแบ่งปันหัวใจของความเป็น แม่ว่าจะช่วยโลกอย่างไรให้ลูกชายหญิงของเรามีความสุขมากขึ้น และท�ำให้โลกผาสุก มีสันติภาพมากขึ้น การรวมตัวครั้งนั้นท�ำให้เกิดการก่อตั้งองค์กรระดับนานาชาติ ชื อ ่ Global Peace Initiative of Women โดยท่านแม่ชเี ป็นหนึง่ ใน การประชุมผู้น�ำสตรีทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อ สันติภาพโลก ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผูก้ อ่ ตัง้ และเป็นประธานร่วมมาจนถึงปัจจุบนั ท่านมีบทบาทส�ำคัญในฐานะผูเ้ ชือ่ มสัมพันธ์ ระหว่างผู้หญิงชาวปาเลสไตน์กับอิสราเอลซึ่งเป็นสองเชื้อชาติที่มีความขัดแย้งกันอย่าง พ.ศ. 2545 รุนแรง ด้วยความถ่อมตัว ความมีปัญญาในการรู้จังหวะของการเจรจา การวางตัว และ “เมื่อผู ้น�ำในศาสนาต่างๆ เข้าใจและเป็น รอยยิ้มของท่าน ได้เชื่อมความสัมพันธ์อันบอบบางราวเส้นด้ายให้กลับมาเป็นเส้นไหมที่ เพื่อนกัน จะท�ำให้ศาสนิกเข้าใจกัน อัน เหนียวและนุ่มนวลไม่บาดมือได้อย่างน่าอัศจรรย์ การประชุมลักษณะนี้ได้ถูกจัดขึ้นต่อเนื่องหลายครั้งในหลายประเทศ เช่น อิสราเอล จะลดความขัดแย้งที่เกิดจากความไม่ เข้าใจระหว่างศาสนาลงได้ และสันติภาพ จอร์แดน นอร์เวย์ รวมทั้งการเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในเมืองรามัลเลาะฮ์ เขตปาเลสไตน์ โดยต้องเดินผ่านจุดผ่านแดนที่อันตรายมาก แต่นั่นท�ำให้เกิดมิตรภาพระหว่างเชื้อชาติ ของโลกจะเกิดตามมา” และศาสนาที่ยิ่งเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อแม่ของโลกจับมือกันแบ่งปั นปั ญญา

เมือ่ ผูห้ ญิงรวมตัวกันด้วยหัวใจของแม่ทหี่ ว่ งใยลูก จึงมีขอ้ ตกลงร่วมกันว่า สิง่ ทีผ่ หู้ ญิง ผู้เป็นแม่ของโลกจะท�ำร่วมกันคือ การส่งไม้ผลัดให้กับคนรุ่นต่อไป ดังนั้น สองปีหลังการ ก่อตั้ง GPIW จึงเกิดการบ่มเพาะทางสติปัญญาให้คนรุ่นใหม่ และสร้างกลุ่มผู้น�ำเยาวชน ที่มีศักยภาพในแต่ละประเทศ ผู้น�ำทางจิตวิญญาณในต่างศาสนาวัฒนธรรมจับมือกัน ท�ำงานในฐานะแม่ผู้ช่วยแบ่งปันปัญญาอบรมบ่มเพาะให้เยาวชนมีมุมมองของการเป็น ผู้น�ำที่ดี มีจิตส�ำนึกของการรับใช้โลก มีจิตวิญญาณของผู้ให้ กล้าหาญในการมีจุดยืนด้าน คุณธรรม เป็นผู้ฟังที่ดี ซึ่งปัจจุบันโลกขาดแคลนผู้น�ำลักษณะนี้จนท�ำให้สังคมไร้สุขและ ประธานร่วมองค์กร Global Peace Initiative of เต็มไปด้วยความรุนแรง ‘การประชุมสุดยอดผูน้ ำ� เยาวชนโลก’ จึงเกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ งใน Women ณ การประชุมสานสัมพันธ์อิสราเอลและ ช่วงปี พ.ศ. 2547 - 2549 จ�ำนวนห้าครั้ง ครั้งละสี่ถึงเจ็ดวัน ในแต่ละภูมิภาคมีเยาวชน ปาเลสไตน์ ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ พ.ศ. 2546 เข้าร่วมแต่ละครั้งกว่า 300 คน เริ่มต้นครั้งแรกที่เสถียรธรรมสถาน และครั้งต่อๆ มาใน แต่ละภูมิภาค ได้แก่ เซเนกัล โมร็อกโก ญี่ปุ่น บราซิล เพื่อน�ำเสนอครั้งสุดท้ายในเวที ใหญ่สหประชาชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี ท่านโคฟี่ อานัน ให้เกียรติแสดงทัศนะร่วมกับเยาวชน และการประชุมทุกครั้งท่าน แม่ชีศันสนีย์จะเป็นหนึ่งในผู้น�ำภาวนาเพื่อมอบปัญญาและเป็น แบบอย่างให้แก่เยาวชนว่า...การท�ำงานท่ามกลางความขัดแย้งแต่ ยังรักษาความสุขไว้ได้นั้นมีอยู่จริง ทุกครั้งที่ท่านปรากฏตัวและน�ำภาวนาได้สร้างความประทับ ใจให้แก่เยาวชน เห็นได้ชัดจากการที่เยาวชนเข้ามาแสดงความ ชื่นชมด้วยสายตาที่บ่งบอกถึงความศรัทธา ความรัก และความ ไว้ใจ ราวกับท่านเป็นแม่ของพวกเขา พร้อมกับขอบคุณในค�ำพูด การประชุมสุดยอดผู้น�ำเยาวชนโลก ณ ประเทศเซเนกัล พ.ศ. 2547 82 |


ที่เตือนให้เขากลับเข้ามาดูแลจิตใจภายใน (มากกว่าชื่นชมค่านิยม ของวัตถุนยิ มภายนอก) แม้เขาจะไม่เคยรูเ้ ลยว่าท�ำไมผูห้ ญิงท่านนี้ จึงไม่มผี ม รูเ้ พียงว่าผูห้ ญิงท่านนีเ้ ป็นนักบวชชาวพุทธ แต่ความเป็น พุทธะได้เปล่งรัศมีไปทัว่ จากการธรรมยาตราไปในท่ามกลางสายตา ของผู้คนต่างชาติต่างศาสนา กล่าวได้ว่าท่านแม่ชีเป็นตัวอย่างใน การปฏิบตั ใิ ห้ดู มีความสุขให้เห็น จนผูอ้ นื่ พากันท�ำตาม ท่านจึงเป็น ที่รักของเยาวชนในหลากหลายศาสนา จุดตรวจจากอิสราเอลสู่ปาเลสไตน์ ณ เมืองรามัลเลาะฮ์ พ.ศ. 2547

“การสมานฉั น ท์ ข องผู ้ ห ญิ ง ชาว ปาเลสไตน์และอิสราเอล...ความถ่อม ตัว ความมีปัญญาในการรู ้จังหวะ ของการเจรจา การวางตัว และรอย ยิม้ ของท่าน ได้เชื่อมความสัมพันธ์อนั บอบบางราวเส้นด้ายให้กลับมาเป็นเส้น ไหมที่เหนียวและนุ่มนวลไม่บาดมือได้ อย่างน่าอัศจรรย์”

ถักโลกด้วยธรรม

หลังจากสองทศวรรษของการสร้างสังฆะของเสถียรธรรมสถานจนมีความ มั่นคงงอกงามแล้ว ทศวรรษที่ 3 จึงเป็นการน�ำธรรมะออกเดินทางสร้างอริยชน ท่านได้ออกธรรมยาตราไปในประเทศต่างๆ มากมาย ท�ำให้เสถียรธรรมสถานเป็น ที่รู้จัก มีผลท�ำให้เพื่อนต่างชาติต่างศาสนาต่างนิกายทั่วโลกผลัดกันแวะเวียนมา เยีย่ มเยียนและทักทายสวนธรรมแห่งนีไ้ ม่ขาดสาย จนเสถียรธรรมสถานกลายเป็น แลนด์มาร์กทีผ่ นู้ ำ� และผูแ้ สวงหาหนทางทางจิตวิญญาณทัว่ โลกต้องมาให้ถงึ ในขณะ เดียวกันกับทีค่ วามพยายามของผูห้ ญิงในการบ่มเพาะเยาวชนสัมฤทธิผ์ ล ด้วยบัดนี้ เขาเหล่านัน้ เติบโตเป็นผูน้ ำ� ในประเทศของตัวเอง บางคนเป็นนักเคลือ่ นไหวด้านสิง่ แวดล้อมระดับนานาชาติ บางคนอยู่ในองค์กร NGO ระดับส�ำคัญของโลก บางคน มีบทบาทส�ำคัญในระดับการเมืองของประเทศ มีเยาวชนในประเทศแซมเบียท่าน หนึ่ง เมื่อมีปัญหาครอบครัว ก็ได้เลือกที่จะเดินทางมาเยียวยาตนเองและเรียนรู้ โลกภายในกับท่านแม่ชี ณ เสถียรธรรมสถานเป็นเวลาหนึ่งเดือน วันนี้เธอเป็นหัวหน้ากลุ่มชาวบ้านเกษตรอินทรีย์กว่า 6,000 คนใน ประเทศของเธอ ปณิ ธ านข้ อ หนึ่ ง ที่ ท ่ า นอาจารย์ พุ ท ธทาสภิ ก ขุ ชี้ ท างไว้ คื อ “พยายามท�ำตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน พยายามช่วย กันถอนตัวออกจากอ�ำนาจของวัตถุนิยม และพยายามท�ำความ เข้าใจระหว่างศาสนา” ยังคงก้องกังวานในใจของท่านแม่ชศี นั สนีย์ และได้กลั่นออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วในวันนี้

หัวใจแม่...หัวใจโพธิสัตว์

‘มุมมองของผู้หญิงทั่วโลกต่อการปฏิวัติอิสลาม’ ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2547

การท�ำงานขององค์กรผู้น�ำสตรีเพื่อสันติภาพโลก (GPIW) ด�ำเนินไปอย่าง ต่อเนื่อง อย่างส่งเสริมซึ่งกันและกันในระดับนานาชาติ ทั้งยังมีการท�ำงานระดับ ประเทศของแต่ละท่านทีม่ บี ทบาทมากในประเทศของตน การแบ่ง ปันความรู้ ความสามารถ ความเป็นมิตรที่มีไมตรีต่อกันของกลุ่ม ผู้หญิงจึงเป็นประโยชน์ไม่เพียงแค่ประเทศของตัวเอง แต่ขยาย เครือข่ายไปยังสังคมโลกอีกด้วย ท่านแม่ชีมักได้รับเกียรติและความไว้วางใจจากเพื่อนต่าง ศาสนาอยู ่ เ นื อ งนิ ต ย์ เช่ น เมื่ อ ครั้ ง ที่ ไ ด้ รั บ เชิ ญ จากกระทรวง วัฒนธรรมอิหร่าน ไปในการประชุม ‘มุมมองของผู้หญิงทั่วโลก ต่อการปฏิวัติอิสลาม’ ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งท่านเป็นนักบวชสตรีใน พระพุทธศาสนาเพียงท่านเดียวในงาน ทัง้ ยังได้รบั เกียรติให้แสดง ความคิดเห็นบนเวทีท่ามกลางสตรีมุสลิมหลายร้อยคนในประเทศ ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 83


งานเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี แห่งการภาวนา เพื่อสันติภาพโลก ณ มหาวิหารนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เชิญโดย สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ท่ี 16 แห่งวาติกนั พ.ศ. 2554

อิหร่าน และหลังจากที่ท่านได้มีโอกาสพบสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 แห่งวาติกัน ในงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 25 ปี แห่งการภาวนาเพื่อสันติภาพของโลก ณ มหาวิหารนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2557 ท่านก็ได้รบั เกียรติจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ให้เข้า ร่วมประชุมผูน้ ำ� ศาสนาโลกเพือ่ ลงนามแสดงความไม่ยนิ ดีตอ่ การก ระท�ำทีเ่ ป็นการค้ามนุษย์ การกดขีท่ างเพศ การใช้แรงงานเด็ก และ การทารุณกรรมต่อสตรีและเด็ก ณ ส�ำนักวาติกัน

ร้อยหัวใจ...คนไทยในต่างแดน

ขณะทีอ่ อกธรรมยาตราไปทัว่ โลก ท่านแม่ชยี งั ระลึกถึงคนไทยในต่างแดนด้วยหัวใจ ของกัลยาณมิตรที่ห่วงใยผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างต่อสู้ดิ้นรนในชุมชนที่ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะใช้ชีวิตในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศของตัวเอง ชาวไทยใน ต่างแดนที่พบส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง การสนทนาธรรมจึงเป็นไปในลักษณะของผู้หญิง สอนผู้หญิง ท่านกล่าวว่าผู้หญิงที่มีธรรมะเปรียบเสมือนดอกไม้ที่หอมทวนลม ท่านจึง ใช้ธรรมะร้อยหัวใจผูห้ ญิงไทยในต่างแดนไว้ดว้ ยกัน ท�ำให้เธอเหล่า นั้นมีแนวทางการใช้ชีวิตอย่างมีธรรม เป็นอิสระจากทุกข์ ท่านให้ ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญด้วยความกรุณาและ ปัญญาของท่าน ทั้งยังรับฟังและท�ำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ท�ำให้ หลายคนมีชวี ติ ใหม่ได้ดว้ ยการเปลีย่ นทิฏฐิ มุมมอง และการวางตัว ด้วยเหตุนี้เอง ในระยะหลังท่านจึงเดินทางไปเยี่ยมเยียนชุมชน ผู้หญิงไทยที่มีจ�ำนวนมากในประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป อย่างสม�่ำเสมอ หลายปีต่อมาท่านจึงมีเครือข่ายชาวไทยทั่วโลกที่ จับมือกันท�ำงานช่วยเหลือชาวไทยในต่างแดนได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ซึ่ง ท่านได้มอบแนวทางชีวิตแก่คนไทยในต่างแดนไว้ว่า “ขอให้คุณได้รับรู้ว่าการเดินทางที่เป็นการลงทุนก็คือการเดิน ทางที่หว่านโปรยเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา ข้าพเจ้าได้พบปะพูด คุย ได้แลกเปลี่ยนกับผู้คน และมีโอกาสได้ร่วมอนุโมทนาบุญกับ ทุกท่านที่มีจิตที่คิดจะให้ มีความสุขที่ได้ให้ และปรารถนาที่จะให้ การให้ครั้งนี้ซึ่งเป็นการให้ที่ไม่เข้าไปครอบครอง แต่เป็นการให้ ที่ต้องขอบคุณผู้รับ เพราะมีผู้รับจึงมีผู้ให้ และเมื่อผู้ให้มีจิตที่คิด จะขอบคุณผู้รับ การให้การรับนี้จึงเสมอกันด้วยจิต ความกตัญญู เช่นนี้ต้องอาศัยการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา…เมื่อเราเริ่ม เดินทางอย่างมีอริยมรรค” การเดินทางของท่านแม่ชีศันสนีย์ไม่เคยจบ เพราะเป็นการ เดินทางตามพุทธประสงค์ขององค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธ­ เจ้าที่ว่า การประชุมผู้น�ำศาสนาโลกเพื่อลงนามแสดงความไม่ยินดี “เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชน” ต่อการกระท�ำที่เป็นการค้ามนุษย์ฯ เชิญโดยสมเด็จพระ สันตะปาปาฟรานซิส ณ ส�ำนักวาติกัน ประเทศวาติกัน พ.ศ. 2557 84 |


ชอง มาร์ก ซู ล (Jean Marc Soule)

แอนนี่ กาส อิเวอร์เซน (Anne Kaas Iversen)

ศิลปินชาวฝรั่งเศส วาดภาพแนวศิลปะพุทธทิเบต เป็นอาสาสมัครวาด แพทย์ฝังเข็มชาวนอร์เวย์ ภาพตารามันดาลาเป็นเวลาหลายเดือนที่เสถียรธรรมสถาน มีคลินิกฝังเข็มในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์

“เมื่อคืนที่ปารีส...ประเทศผมมีการวางระเบิด คนจ�ำนวนมาก เสียชีวิตในความรุนแรง เป็นวันเดียวกับที่ผมได้รับรางวัลตารา อวอร์ด ผมจะขอเชื่อมโยงระหว่างสถานที่นี้...เสถียรธรรมสถาน... กับโลกในปัจจุบัน โลกเราในปัจจุบันมีการพูดถึงสงคราม มีความ รุนแรงเกิดขึ้นในทุกหย่อมหญ้า...และมีมากขึ้นทุกที มันจึงส�ำคัญ มากที่จะต้องมีคนอย่างท่านแม่ชีศันสนีย์ที่ใช้เวลาและพลังงาน ของท่านช่วยให้คนได้เพิม่ ศักยภาพภายใน เรียนรูท้ จี่ ะดูแลอารมณ์ ของตัวเองไม่ให้ไปกระทบผูอ้ นื่ และเสถียรธรรมสถานก็เป็นสถาน ที่ที่ให้โอกาสคนได้เรียนรู้ที่จะมีโลกที่ดีขึ้น... “ครั้งแรกที่ผมมาเสถียรธรรมสถาน ผมรู้สึกแปลกใจที่ได้เห็น วัดตารา ซึ่งไม่เคยเห็นในประเทศไทย และรู้สึกประทับใจเมื่อได้ พบท่านแม่ชีศันสนีย์ ท่านเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของคุณธรรมตา ราที่แสดงออกในงานในโครงการต่างๆ ของท่าน ผมรู้สึกประทับ ใจในตัวท่านและการท�ำงานของท่านที่มีแต่ให้ ผมจึงขอวาดตารา มันดาลาซึง่ เป็นสิง่ ทีผ่ มท�ำได้ ถวายท่านเพือ่ ขอบคุณในการท�ำงาน เผยแผ่ธรรมะและการเป็นประโยชน์ของท่าน”

“ฉันมีโอกาสได้พบท่านแม่ชศี นั สนียเ์ มือ่ สีป่ ที แี่ ล้ว รูส้ กึ ประทับ ใจในความเบิกบานและความสง่างามของท่าน ปีนี้ (พ.ศ. 2558) ฉันได้ขอโอกาสมาเรียนรู้กับท่าน... “คนยุโรปมีความเครียด ความเร่งรีบในชีวิตมาก พวกเขา พยายามหาค�ำตอบในชีวิตจากภายนอกมากกว่าภายใน ดังนั้น ฉัน จึงจัดการให้คำ� ปรึกษา และจัดคอร์สการเข้าถึงหัวใจตัวเอง ซึง่ พูด เกีย่ วกับเรือ่ งภายในจิตใจ การได้มาเรียนรูท้ เี่ สถียรธรรมสถานเป็น เวลา 14 วัน และได้ใกล้ชิดท่านแม่ชีในการท�ำงานที่จังหวัดภูเก็ต ท�ำให้เห็นวิธีการท�ำงานและมุมมองในการแก้ปัญหาด้วยปัญญา ของท่าน การได้เรียนรู้จากท่านแม่ชีมีประโยชน์ในการท�ำงานของ ฉันมาก เมื่อกลับไปฉันจะปรับคลินิกให้มีลักษณะของการภาวนา มากขึ้น นอกจากนี้ ฉันประทับใจในสมาชิกของชุมชนเสถียรธรรม สถานทีม่ รี อยยิม้ มีความเอือ้ เฟือ้ ตัง้ แต่คนทีอ่ ยูห่ ลังกล้องไปจนถึง คนในครัว พุทธสาวิกาน้อย อาสาสมัคร ฉันรู้สึกว่าเสถียรธรรม สถานเป็นเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของฉัน” หลังเดินทางกลับไปห้าเดือน แอนนีไ่ ด้จดั เวิรก์ ชอปชือ่ ‘เสถียร ธรรมสถาน’ ซึ่งน�ำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเสถียรธรรมสถาน ค�ำ สอนของท่านแม่ชีศันสนีย์ และประสบการณ์การใช้ชีวิตที่เสถียร ธรรมสถาน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ภายในที่ ส�ำคัญและเป็นการท�ำการบ้านเพื่อเตรียมต้อนรับท่านแม่ชีที่จะ เดินทางไปท�ำงานต่อยอดที่ประเทศนอร์เวย์ตามค�ำเชิญของเธอ

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 85


86 |


“‘เสถียรธรรมสถาน’ คือสถานที่ท่ีมีธรรมะมั่นคง ยั่งยืน ไม่ใช่ เพราะเพียงการท�ำให้คนอื่นยอมรับ แต่ มั่นคงยั่งยืนเพราะเรายอมรับในสิ่งที่ท�ำอยู ่ทุกวัน” ขอมอบความรักของฉัน...แด่ทุกสิ่งพลันในโลกนี้ | ถมทอง ทองนอก

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต บนก้าวย่างแห่งปั ญญาสู่ทศวรรษที่ 4 ของเสถียรธรรมสถาน กับ ‘ภาพจ�ำ’ ที่ ‘เป็นจริง’

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 87


“ถ้าเราสนใจเสียงสรรเสริญเสียงนินทา เราจะ ท�ำอะไรไม่ได้เลย เพราะมีคนนินทามากกว่า คนสรรเสริญแน่ๆ แต่ถ้าเราท�ำได้แล้วไม่ท�ำสิ นั่นเท่ากับเราด้อยโอกาส”

88 |


ถ้าอยากรู ้ว่าบ้านเป็นอย่างไร จงเข้าไปท�ำความรู้จักกับเจ้าของ บ้าน เพราะเจ้าของบ้านคือคนทีส่ ามารถบอกเล่าเรือ่ งราวของบ้าน ให้ฟงั ได้ดที สี่ ดุ ละเอียดทีส่ ดุ และลึกซึง้ ทีส่ ดุ ดังนัน้ เมือ่ อยากรูจ้ กั ‘เสถียรธรรมสถาน’ อยากรู้ว่า 30 ปีที่ผ่านมาของสวนธรรมแห่งนี้ เกิดขึ้น...ตั้งอยู่...และจะด�ำเนินต่อไปอย่างไร จึงไม่มีใครที่เราควร นัง่ ลงพูดคุยด้วยไปมากกว่า ท่านแม่ชศี นั สนีย์ เสถียรสุต ผูก้ อ่ ตัง้ และเปลีย่ นแปลงผืนดินรกร้างแห่งนีใ้ ห้กลายเป็นสวนธรรมทีเ่ ขียว ชอุ่มและชุ่มเย็น บทสนทนานี้ ไ ด้ รั บ การบั น ทึ ก ขณะที่ ผู ้ สั ม ภาษณ์ แ ละผู ้ ใ ห้ สัมภาษณ์นั่งอยู่ ณ จุดสูงสุดของเสถียรธรรมสถาน บริเวณที่เมื่อ ทอดสายตาลงมา จะเห็นสถานที่แห่งนี้ได้ชัดเจน…และครอบคลุม ที่สุด

ค�ำถาม เสถียรธรรมสถานในตอนนี้ ใช่เสถียรธรรมสถานที่ท่าน

แม่ชีตั้งใจให้เป็นตั้งแต่เมื่อครั้งที่ลงมือสร้างหรือไม่คะ

ค�ำตอบ ตอนสร้างเสถียรธรรมสถาน แรกๆ ข้าพเจ้าไม่รหู้ รอกว่า

เมือ่ มองลงไปเราจะเห็นกลิน่ อายของการเลีย้ งดู บ่มเพาะ ให้โอกาส และการจัดกระบวนการการเรียนรูใ้ นชีวติ ของคนตัง้ แต่เกิดจนตาย ทีข่ า้ พเจ้าพูดบ่อยๆ ว่าเราควรเลีย้ งเด็กให้เป็นลูกของโลก ประโยค นี้เห็นได้ชัดเจนมากที่นี่ เพราะเสถียรธรรมสถานไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อ ตัวเองหรือตระกูลของตัวเอง แต่มีขึ้นเพื่อให้มนุษยชาติได้มีที่ที่ ปลอดภัย ใครก็อยู่ที่นี่ได้…ถ้าใจถึง ในวันที่คุณขึ้นมาอยู่บนที่สูง คุณต้องมองลงไป แล้วคิดว่าวัน นี้ตื่นขึ้นมาแล้วจะช่วยใครได้บ้าง จะท�ำงานอะไรบ้าง เราไม่เคย คิดว่าจะขายอะไร เพราะส�ำหรับที่นี่ ก�ำไรอยู่ที่ว่าวันนี้จะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับชีวิตของคนที่เราได้รับใช้อย่างไรบ้าง ข้าพเจ้าขอบคุณ โอกาสที่ท�ำให้เราได้รับใช้ผู้อื่น เสถียรธรรมสถานเติบโตได้เพราะ เป็นผู้รับใช้จริงๆ ทุกวันนี้ เข้าสู่ทศวรรษที่ 4 แล้ว เสถียรธรรมสถานมีภาคีใหม่ๆ เข้ามาร่วมท�ำงานเพิม่ ขึน้ ทุกวัน ทัง้ หมดนีเ้ ริม่ ต้นขึน้ มาได้จากการที่ เรารับใช้และไม่ปฏิเสธผู้อื่น ข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่มีการช่วยเหลือใดที่ ไม่มผี ล จงอย่าปฏิเสธการช่วยเหลือ แล้วสังคมจะดีขน้ึ ลองมองไป รอบๆ สิ ต้นไม้พวกนี้เราช่วยมาทั้งหมด เขามายืนสง่างามเพราะ ได้รับการช่วยเหลือ แต่เวลาที่เขาคืนลมหายใจ คือคืนออกซิเจน ให้โลก มันเป็นหน้าที่ของเขานะ ไม่ใช่หน้าที่ของคนช่วย คนช่วย แค่ช่วยแล้วก็จบ และโลกก็ได้รับรางวัลจากการช่วย จากโอกาสที่ ต้นไม้ได้จากการไม่ถูกโค่นให้ตาย

เสถียรธรรมสถานจะเป็นแบบนี้ แต่วันนี้ เห็นเป็นอย่างนี้ ก็พอใจ ท�ำไมพอใจ ก็เพราะรู้ว่ามันเกิดขึ้นด้วยสติปัญญา ไม่ได้เกิดขึ้น ด้วยความอยาก มันเกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะท�ำความกตัญญูให้ เป็นรูปธรรม เสถียรธรรมสถานแสดงรูปธรรมของค�ำว่า ‘กตัญญู กตเวทิตา’ ทั้งต่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ต่อพระอริยสาวกสาวิกา ครูบาอาจารย์ สังฆะ พ่อแม่ ญาติมิตร และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตทั้งในปัจจุบันที่รู้จักและไม่รู้จัก ค�ำถาม การช่วยเพื่อให้ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือได้มีโอกาสไป ท�ำหน้าที่ของตนต่อคือเป้าหมายในการช่วยของท่านตั้งแต่แรกๆ หรือแม้แต่ในอดีตที่อาจทิ้งชีวิตไปแล้ว ซึ่งหมายถึงพ่อแม่ เลยหรือคะ ค�ำถาม ทราบว่าค�ำว่า ‘กตัญญู’ และ ‘ซื่อสัตย์’ เป็นค�ำที่ส�ำคัญ ค�ำตอบ ตอนนั้นคิดแค่ว่าช่วยก็คือช่วย ช่วยให้มีลมหายใจต่อ มากส�ำหรับที่นี่ ไป ถ้าเขาจะหายใจต่อไปเพื่อท�ำกุศลมันก็เป็นกรรมของเขา ถ้า ค�ำตอบ เพราะกตัญญูเป็นปัญญาค่ะ ถ้าคุณไม่กตัญญูตอ่ โอกาส เขาอยากจะมีชีวิตต่อไปอย่างเป็นอกุศล มันก็เป็นกรรมของเขา ที่ได้รับ คุณก็ยังเป็นคนด้อยโอกาสอยู่นั่นเอง คุณต้องกตัญญูแม้ แต่เราก็พยายามให้พื้นที่ ให้พลังงาน ให้ความรัก ให้ความเข้าใจ กระทั่งต่อลมหายใจของคุณเอง ถ้าคุณยังหายใจอยู่ คุณก็ยังมี ให้การสนับสนุน ให้เมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่า ชีวิตอยู่ คุณต้องกตัญญูกับชีวิตที่คุณได้รับโอกาสเพื่อจะใช้ชีวิต ทุกคนมีพลังงานอยู่ในตัวเอง ถ้าใช้พลังงานที่มีอย่างถูกต้อง ตัว อย่างคนที่เป็นอิสระจากทุกข์ สงบเย็น และเป็นประโยชน์ ความ เขารอด โลกก็รอด กตัญญูท�ำให้เราไม่ติดหนี้ คนไม่เป็นหนี้ก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ในโลก หมดสงสัยเรื่องการเป็นหนี้ ก็หมดทุกข์ อย่าใช้ชีวิตอย่างเป็นหนี้ ค�ำถาม จากการช่วยเหลือคนกลุ่มเล็กๆ เช่น งาน ‘บ้านสาย สัมพันธ์’ ที่ใช้ธรรมะเยียวยาผู้หญิงที่ตั้งท้องนอกสมรส และถูก เพราะขาดกตัญญู ถ้านัง่ มองจากชัน้ บนสุดของพระมหาเจดียพ์ ระอารยตารามหา ทารุณกรรมทางเพศ กลายมาเป็นการสร้างเครือข่ายการท�ำงาน โพธิสัตว์หมื่นพระองค์นี้ เราจะเห็นว่าที่นี่เกิดได้ด้วยความกตัญญู เพื่อมนุษยชาติโดยใช้ธรรมะตั้งแต่เมื่อไรคะ ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 89


ค�ำตอบ อย่างที่บอกว่าข้าพเจ้าไม่ได้คิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิด มันเล็ก...แต่ผลมหาศาลมาก เพราะฉะนั้น ท�ำไปเถอะ ท�ำเรื่องที่

ขึ้น ไม่ได้ท�ำเพื่อให้เกิดขึ้น แต่สังฆะที่นี่เราท�ำทุกอย่างกันในวิถี ชีวิต ท�ำเป็นปกติ กระทั่งความเป็นปกตินั้นแข็งแรง ที่นี่จึงไม่ได้ ท�ำโครงการ ไม่ได้สร้างเครือข่าย แต่กิจวัตรประจ�ำวันของเรามัน กลับกลายเป็นสังคมอริยชนไปเอง และเพราะเราเห็นว่าไม่วา่ จะมี ปัญหาอย่างไรก็เป็นปกติทจี่ ะแก้ปญ ั หา ไม่ได้รสู้ กึ ว่าต้องไม่ทำ� หรือ หนี ทุกอย่างจึงเกิดขึน้ อาจบอกได้ว่าทุกอย่างที่นี่เกิดมาจากความ เสถียร ความมั่นคงไง พอมันมั่นคงขึ้น ก็ก้าวออกไปท�ำงานอย่าง มั่นคง อย่างมีก�ำลังได้ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือการเคลื่อนพระพุทธชยันตีองค์ด�ำ นาลันทา ในช่วงสามปีครึ่งที่ผ่านมา งานนี้เป็นงานที่ยากมาก ส�ำหรับคนทีเ่ คยอยูส่ บายๆ ไม่ตอ้ งออกไปพบปะผูค้ น ใครอยากมา หาก็มาหา แต่นี่คือต้องออกไป เวลากลับจากไปช่วยคน ข้าพเจ้า จะคิดทุกครัง้ ว่าจะให้อะไรเขาได้มากกว่านี้ จะพยายามจัดเวลาทุก อย่างให้ไปท�ำงานให้ได้มากที่สุด ความตายเดินเข้ามาทุกวัน สมมติว่ามีเวลาอีก 20 ปี ก็เท่ากับ 50 ปีของเสถียรธรรมสถาน ถ้าข้าพเจ้าตั้งใจไว้ว่าจะท�ำอะไร มากมาย แต่ยงั ไม่ได้เริม่ ท�ำ แล้วกลายเป็นว่าจริงๆ ข้าพเจ้ามีเพียง แค่ 20 เดือนล่ะ หรือ 20 วันล่ะ จะท�ำอย่างไร ชีวิตไม่แน่นอน หรอก เพราะฉะนัน้ ถ้าท�ำได้ แล้วผัดไป บอกว่าตอนนีย้ งั ไม่ตอ้ งท�ำ หรอก คราวหน้าค่อยท�ำก็ได้ ข้าพเจ้าคงต้องบอกว่าไม่แน่หรอกว่า จะได้ท�ำ ที่เสถียรธรรมสถานใช้นโยบาย ‘ท�ำ...ท�ำทันที’ เช่นตอนนี้ ที่คิดว่าจะสร้างธรรมาศรม ยังไม่รู้เลยว่าจะต้องใช้เงินเท่าไร แต่ก็ ต้องบอกว่าจะท�ำและท�ำทันที มันไม่เกินวิสยั หรอก เพราะเราไม่เริม่ ต้นท�ำงานอย่างเป็นหนี้ มีเท่าไรก็ท�ำเท่านั้นก่อน แต่ที่แน่ๆ คือมัน มีผลในการท�ำระยะยาวแน่นอน เสถียรธรรมสถาน…ถ้าคนตีราคา ก็คงบอกว่า “เสียดายนะ...พืน้ ทีข่ นาดนี”้ แต่ทนี่ เี่ ราไม่พดู อย่างนัน้ เราพูดว่า “คงเสียดายนะ...ถ้าไม่ได้ทำ� ” เสียดายทีช่ วี ติ มาถึงตรงนี้ แล้วยังไม่ได้ท�ำอะไร และต่อไปก็จะเป็นการพัฒนา จากความสวยงามไปสู่ความ งดงาม ความงอกงาม เสถียรธรรมสถานไม่ใช่สถานที่ท่ีสวยงาม มันงดงามและงอกงามจริงๆ มันงอกงามโดยผ่านหัวใจของผู้คน ถ้าเราท�ำให้ผู้คนเหล่านี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างของมนุษยชาติที่รู้จัก การเริ่มต้นที่ถูกต้อง อยู่บนหนทางที่ถูกต้อง ใช้ชีวิตอยู่อย่างถูก ต้อง ถ้าเขารู้ว่าชีวิตนี้มันไปได้ไกลที่สุดคือพ้นทุกข์จะเกิดอะไรขึ้น ล่ะ ก็จะเกิดสังคมอริยชน สังคมของคนที่เป็นอิสระจากทุกข์ และ พอถึงเวลานัน้ เราจะรูว้ า่ สิง่ ทีเ่ ราท�ำในวันนีไ้ ม่ได้ใหญ่โตอะไรหรอก 90 |

ใครเขาบอกว่าท�ำยากน่ะ ท�ำไป เพราะไม่มีอะไรยากเกินความ สามารถที่เราจะท�ำ

ค�ำถาม ตลอดระยะเวลาแห่งการท�ำงานที่ยาวนาน มีช่วงไหน

ในการท�ำงานที่ท�ำให้ท่านต้องกลับมาสงสัยหรือตั้งค�ำถามไหมคะ ว่า ‘นี่เราก�ำลังท�ำอะไรอยู่’

ค�ำตอบ ข้าพเจ้าไม่ค่อยสงสัยหรือตั้งค�ำถามกับตัวเอง เพราะ เตรียมจิตก่อนจะท�ำงานเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ได้ท�ำงานด้วยความ อยากตามอารมณ์ ท�ำอยู่บนพื้นฐานของความจริง

ค�ำถาม ท่านแม่ชมี นั่ ใจในสิง่ ทีต่ วั เองท�ำ แต่คงปฏิเสธไม่ได้วา่ คง

มีคนที่ไม่เข้าใจและสงสัย

ค�ำตอบ ถ้าเราไปสนใจความสงสัยของคนอื่น เราจะไม่กล้าท�ำ

อะไรเลย เพราะอะไร เพราะมนุษย์ที่ยังไม่ถึงความศรัทธาของตัว เองจะท�ำอย่างคนที่ปกป้องตัวเอง เช่น ถ้าจะท�ำดีแล้วมีคนสงสัย ฉันไม่ท�ำดีกว่า แต่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ถ้าจะท�ำดี ต้องเสีย สละให้คนรู้ว่าท�ำดีนะ หมายถึงคนที่ท�ำดีต้องยอมเสียสละตัวตน ใครจะชมว่าดี จะด่าว่าชั่ว ไม่ต้องไปสนใจ เพราะมันอยู่เหนือการ สรรเสริญนินทาไปแล้ว ถ้าเราสนใจเสียงสรรเสริญเสียงนินทา เราจะท�ำอะไรไม่ได้เลย เพราะมีคนนินทามากกว่าคนสรรเสริญ แน่ๆ แต่ถ้าเราท�ำได้แล้วไม่ท�ำสิ นั่นเท่ากับเราด้อยโอกาส เราท�ำ เพราะเราท�ำได้ จะไปกลัวอะไรกับเสียงร�่ำลือ มีคนนินทาไหม มีสิ ท�ำไมจะไม่รู้ (หัวเราะ)

ค�ำถาม เป้าหมายของเสถียรธรรมสถานคืออะไรคะ อะไรที่ยิ่ง

ใหญ่จนท�ำให้คนคนหนึง่ ท�ำงานโดยไม่สนใจว่าใครจะมองว่าอย่างไร

ค�ำตอบ เสถียรธรรมสถานเป็นตัวอย่างของการน�ำค�ำสอนของ

พระผู้มีพระภาคเจ้ามาพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าธรรมะศักดิ์สิทธิ์ อย่าง ชื่อเลยค่ะ ‘เสถียรธรรมสถาน’ คือสถานที่ที่มีธรรมะมั่นคงยั่งยืน ไม่ใช่เพราะเพียงการท�ำให้คนอืน่ ยอมรับ แต่มนั่ คงยัง่ ยืนเพราะเรา ยอมรับในสิ่งที่ท�ำอยู่ทุกวัน เพราะเรารู้ว่าเราท�ำอยู่บนพื้นฐานของ การไม่เบียดเบียน บนพื้นฐานที่มีศีล สมาธิ ปัญญา คืออริยมรรค ท�ำอยู่บนพื้นฐานของการพิสูจน์ว่ามนุษย์เป็นอิสรชนได้ ไม่ใช่สิ่ง สุดวิสัย และท�ำอยู่บนพื้นฐานของค�ำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า “จงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชน ทั้งประโยชน์ ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นงานของเรา” ท�ำตามค�ำสอนพ่อ


“ถ้าจะท�ำให้คนเข้าใจพระธรรมค�ำสอนของพระผู ้มี พระภาคเจ้าในยุ คสมัยของเรา ก็ต้องเอาค�ำสอน ของพระองค์มาบอกว่าอย่าท�ำของยากให้ยาก ให้ ท�ำของยากให้ง่าย”

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 91


ค�ำถาม ในยุคที่ความเชื่อในศาสนาสั่นคลอน อะไรคือสิ่งที่ท�ำให้

การบรรลุธรรมเป็นเรือ่ งทีข่ า้ พเจ้าตัง้ ใจ ข้าพเจ้ามีความศรัทธา ท่านยังคงเชื่อในค�ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยไม่มีความ ในการพิสูจน์เรื่องนี้ เพราะฉะนั้น เวลาเห็นใครสอนธรรมะในรูป แบบอื่น ข้าพเจ้าก็มองเห็น แต่เพราะไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียวที่ สงสัย ค�ำตอบ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นและศรัทธาในการเดินทางด้านในของ จะท�ำให้บรรลุธรรมได้ มันมีการบรรลุธรรมได้มากมาย ตัวเอง ให้โลกไหวมากกว่านี้ข้าพเจ้าก็ไม่กระเทือน เพราะรู้ทัน ค�ำถาม ท่านสอนให้คนบรรลุธรรมตามความเชือ่ ของพุทธศาสนา ไหว ใจตื่นอยู่ตลอดเวลา ให้โลกมากระทบ ให้มีคนมา...แทบจะ แต่กย็ งั คงท�ำงานกับหลายความเชือ่ และศาสนา และทีเ่ สถียรธรรม เรียกว่าเลื่อยหนังเข้าไปจนถึงเอ็นถึงกระดูก เราก็ไม่กระเทือน สถานเองเราก็เห็นสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่ใช่สไตล์พุทธแบบที่คุ้นเคย เพราะพระพุทธองค์ทรงสอนว่า อย่าห่างไกลพระองค์ อย่ามีจติ คิด กัน...นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งซึ่งคนสงสัย ประทุษร้ายแม้ขณะทีก่ ำ� ลังมีผทู้ ำ� ร้าย นัน่ หมายความว่า ถ้ามีคนมา ค�ำตอบ ก็พอ่ เดียวกันนี่ (ยิม้ ) ชาวพุทธหินยาน วัชรยาน มหายาน ท�ำร้ายคุณแล้วคุณมีจิตคิดประทุษร้ายคนที่ท�ำ ก็เท่ากับว่าคุณยัง ก็พ่อเดียวกัน เพียงแต่คุณจะใส่ยูนิฟอร์มไหนเท่านั้นเอง ขณะ ห่างไกลพระพุทธองค์ เราอยู่ใกล้พระองค์ไว้ดีกว่าไหม (หัวเราะ) เดียวกัน คริสต์และอิสลาม ถ้าเข้าไปถึงค�ำสอนที่เป็นแก่นของ เมือ่ เป็นอย่างนี้ ค�ำถามนีจ้ งึ เล็กไปเลย ทีค่ นอืน่ จะมองเราว่าดีหรือ ศาสนาเขา เราก็จะเข้าใจ ข้าพเจ้ายึดค�ำสอนของท่านเจ้าคุณ ไม่ดี...เล็กไปเลย สร้างภาพหรือเปล่า...ก็เล็กไปเลย เพราะก็สร้าง อาจารย์พทุ ธทาสทีว่ า่ ‘เราท�ำหน้าทีศ่ าสนิกของศาสนานัน้ ให้ถงึ ค�ำ ภาพอยู่ทุกวันนี่แหละ แต่เป็นการสร้างภาพให้เป็นจริง ให้เห็นกัน สอนที่ถูกต้อง ก็ท�ำงานด้วยกันได้’ ถูกต้องไหมคะ อยู่ทุกวัน (หัวเราะ) ค�ำถาม ทุกอย่างทีท่ ำ� วนกลับมาทีจ่ ดุ เริม่ ต้น คือการช่วยเหลือคน ค�ำถาม เคยได้ยนิ คนภายนอกเขาจัดล�ำดับของเสถียรธรรมสถาน ไว้ว่าเป็นสถานปฏิบัติธรรมที่เหมาะกับบีกนิ เนอร์ (beginner) หรือ ค�ำตอบ ใช่ค่ะ เวลาคิดจะช่วยคนนี่ ข้าพเจ้าคิดได้ทันที ไม่มี คนทีอ่ ยากเริม่ ต้นศึกษาเท่านัน้ ถ้าจะศึกษาธรรมะแบบลึกให้ไปทีอ่ นื่ เงื่อนไข เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นเรื่องสติปัญญา เชื่อมั่นว่าจะแก้ ปัญหาได้ และเสถียรธรรมสถานก็มีคนท�ำงาน งานไหนคนข้างใน ท่านแม่ชีมีความเห็นอย่างไรคะ ท�ำไม่ได้ ก็มจี ติ อาสา มีคนนอกช่วยได้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คน ค�ำตอบ มันก็เป็นความคิดของเขา เขาจะคิดอย่างไรก็คิดได้ อื่นเข้ามาร่วมงานด้วย จะเห็นว่ามันมีวิธีการจัดการของมันอยู่ ถ้า อย่าไปกลัวความคิดของคนบนโลกนี้ อย่าไปคิดว่าเราจะเป็นอย่าง มีใครสักคนอยากช่วยคน คงไม่ถูกที่จะดึงเขาไว้เพียงเพราะคิดว่า ที่คนอื่นคิด ข้าพเจ้าว่าเราเป็นได้ทั้งบีกินเนอร์ (beginner) และ “อย่าท�ำเลย ไม่มีใครท�ำได้หรอก” ใช่ไหม ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกอย่าง แอดวานซ์ (advance) ในเวลาปัจจุบันนี้เลยทีเดียว ถ้าจะท�ำให้ เป็นไปได้ ถ้าตั้งใจดี เราจะท�ำได้ คนเข้าใจพระธรรมค�ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าในยุคสมัยของ ข้าพเจ้าท�ำงานโดยใช้ปัญญาน�ำทาง ไม่ต้องดูหรอกว่าศาสนา เรา ก็ต้องเอาค�ำสอนของพระองค์มาบอก...ว่าอย่าท�ำของยากให้ ไหน ความเชื่อไหน ที่ไหนมีความทุกข์ ที่นั่นต้องมีเพื่อนร่วมทุกข์ ยาก ให้ท�ำของยากให้ง่าย เป็นการสอนที่ศักดิ์สิทธิ์...เสถียรธรรม อะไรที่เหมาะกับเรา เหมาะกับหลักการสัปปุริสธรรมของเรา ถ้า สถานท�ำอยู่ แค่พูดเรื่องการบรรลุธรรม ใครๆ ก็ว่ายากใช่ไหม ที่ เข้าไปแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลง จังหวะนี้ยังท�ำไม่ได้ เข้าไปไม่ได้ นี่เพียงท�ำให้มันง่าย คนเลยอาจจะมองว่าเราเป็นบีกินเนอร์ แต่ ต้องคนอื่นเข้าไป ก็ให้เขาเข้าไป แล้วเราค่อยวางแผน แต่เราไม่ จริงๆ ก็คือ มันไม่มีบีกินเนอร์หรือแอดวานซ์หรอก ถ้ามันพ้นทุกข์ เลือกปฏิบัติอยู่แล้ว ถ้าที่ไหนมีโอกาสที่จะเข้าไปรับใช้ได้ ข้าพเจ้า ได้ ก็ตรงนั้นแหละ...นิพพาน จิตของเราไม่มีสภาพใดที่ปรุงแต่งได้ ก็ไป พระพุทธองค์รับสั่งว่า “นี่แน่ะนายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสีย อีกส่วนหนึ่งก็เพราะข้าพเจ้ารับปากกับตัวเองว่าจะใช้ชีวิตที่ แล้ว เจ้าจะท�ำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป โครงเรือนทั้งหมดของ เหลืออย่างคนที่ไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือ ถ้าท�ำเองได้ ข้าพเจ้าก็ท�ำ เจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงแล้ว แต่ถ้าท�ำไม่ได้ ก็ส่งต่อ จะไม่บอกว่าอย่าช่วย เรื่องความซื่อสัตย์ ซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้น เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ส�ำคัญ เพราะค�ำนี้เป็นสัจจะอธิษฐาน มีหลาย ไปแห่งตัณหา” นิพพานไม่ใช่เรื่องยากเลย แบบนี้แอดวานซ์หรือ ระดับมาก ตั้งแต่ระดับธรรมดาๆ อย่างการออกก�ำลังกายอย่าง บีกินเนอร์ล่ะ (หัวเราะ) ต้องไปท�ำให้เครียดท�ำไม 92 |


“ข้าพเจ้าท�ำงานโดยใช้ปัญญาน�ำทาง ไม่ต้องดูหรอก ว่าศาสนาไหน ความเชื่ อไหน ที่ไหนมีความทุกข์ ที่น่ัน ต้องมีเพื่อนร่วมทุกข์” สม�่ำเสมอ นี่ก็เป็นสัจจะพื้นฐานที่จะท�ำให้ร่างกายตัวเองแข็งแรง เพื่อจะรับใช้คนได้มาก ไปจนถึงการพูดถึงค�ำว่าซื่อสัตย์ในขั้น ปรมัตถ์ ทีข่ า้ พเจ้าต้องบอกตัวเองเสมอว่าคือเรือ่ งของการนิพพาน ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ต้องท�ำให้ได้ ต้องมีสัจจะที่จะไม่ส่งจิตออกไปจม อยูก่ บั อารมณ์ใดอารมณ์หนึง่ กระทัง่ ไม่มพี ลังทีจ่ ะก้าวข้ามโคตรภูมิ ต้องฝึกจิตไว้เสมอ… ต้องอยู่ในลมหายใจแห่งสติปัญญาให้ต่อเนื่อง

ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 93


เพลงเพราะเพราะเธอ...จิตอาสา หนังสือ ‘เสถียรธรรมสถาน...ที่ที่ความดียั่งยืน’ บอกเล่าเรื่อง ราวในแง่มุมต่างๆ ของเสถียรธรรมสถานเมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น...ความเป็นมา การท�ำงาน ผลงาน ความส�ำเร็จ รวม ทั้งทิศทางที่เสถียรธรรมสถานจะมุ่งไปในกาละของก้าวย่างแห่ง ปัญญาสู่ทศวรรษที่ 4 บนเส้นทางการท�ำงานเพื่อพระธรรมของเสถียรธรรมสถาน ตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั หนึง่ ในเฟืองส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ทกุ งานประสบ ความส�ำเร็จอย่างสวยงาม คือ...เหล่าจิตอาสา...ตัวเล็กๆ...จากหลาก สาขาอาชีพ...หลายความถนัดความสนใจ...ที่มาด้วยใจ...ไร้ค่าตัว โดยหนึ่งในนั้นคือจิตอาสาในวงการบันเทิง...ที่สร้างสรรค์ผล งานเพลงมากมายให้กบั ชุมชนแห่งการเรียนรูท้ จี่ ะอยูร่ ว่ มกันอย่าง ศานติ...มาเป็นเวลานาน นอกจากจะฟั ง ไพเราะจนเป็น ที่ก ล่าวขานมานานเนิ่ น แล้ ว ธรรมะทีแ่ ฝงอยูก่ ส็ อนใจได้จริง...และทันสมัยเสมอ และเมือ่ น�ำมา ร้อยเรียงเป็นชื่อคอลัมน์ต่างๆ ของหนังสือเล่มนี้ ก็สอดคล้องต้อง กันอย่างลงตัวกับเนื้อหาที่แต่ละคอลัมน์น�ำเสนอ ชื่อคอลัมน์ ‘เจ็ดคอลัมน์’ มีที่มาจากเพลง ‘เจ็ดเพลง’ และนี่คือเนื้อเพลงเต็มๆ ของเพลงเพราะๆ ที่เชื่อว่าจะไม่ ถูกอ่านเพียงผ่านๆ อย่างแน่นอน

94 |

เพลง ‘ธรรมสวัสดี’ ค�ำร้อง / ท�ำนอง / เรียบเรียง / ขับร้อง มาเซน อาลีซา, พรทิพย์ โตวัฒนา และ อภินันท์ เชาวนจินดาภรณ์

“เพราะอยากให้เป็นมากกว่าค�ำทักทาย และอยากให้เป็นมากกว่าค�ำพูดง่ายดาย ให้ค�ำหนึ่งค�ำนี้มีความหมาย...มากกว่า...ที่เคยเป็นมา สวัสดี...สวัสดี...สวัสดีด้วยธรรมะ สวัสดี...สวัสดี...สวัสดีด้วยธรรมะ สวัสดีมีชัยให้ไร้โรคา...อย่าให้หมู่มารใดมา...ท�ำร้ายตัวเธอ สวัสดี...สวัสดี...สวัสดีด้วยธรรมะ สวัสดี..สวัสดี...สวัสดีด้วยธรรมะ สวัสดีจากใจกว่าที่เคยเป็นมา กล่าวค�ำที่มีค่าแก่ทุกคน...ธรรมสวัสดี”

เพลง ‘ที่ท่คี วามดีย่งั ยืน’

ค�ำร้อง สุภาวรรณ พวงงาม ท�ำนอง / เรียบเรียง อภิไชย เย็นพูนสุข ขับร้อง เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

“เริ่มที่ดินแค่ก้อนหนึ่ง...ให้ไออุ่นต้นกล้าต้นหนึ่ง จากนัน้ ก็มสี ายธารเมตตา...หลัง่ ไหลเข้ามา...ช่วยดูแลให้เติบโต ทุกๆ หยดของน�้ำใจ...ก่อเกิดร่มเงาที่ยิ่งกว้างใหญ่ ก้าวเดินสู่การตื่นรู้ด้วยปัญญา...รักเอาใจใส่ ยิ่งท�ำให้คุณความ ดีเติบโต จากดวงใจที่ร้อน...ที่วุ่นวาย ผ่านมาพักเพื่อรับร่มเงาสงบสุขนั้น เปลี่ยนเป็นใจที่พร้อม...พร้อมที่จะแบ่งปัน เป็นของขวัญให้คนทุกคนด้วยไมตรี แม้ทุกอย่างนั้นแปรเปลี่ยน...แต่ความศรัทธานั้นยังเต็มเปี่ยม เกื้อกูลด้วยความเมตตา...ท�ำให้ใต้ร่มเงานี้ เป็นที่ที่ความดีจะยั่งยืน”


เพลง ‘ความรัก ศรัทธา ปาฏิหาริย์’

เพลง ‘ชมสวน’

ค�ำร้อง / ท�ำนอง ธเนส สุขวัฒน์ เรียบเรียง ธเนส สุขวัฒน์, ต่อพงษ์ นิ่มนวล ขับร้อง เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

ค�ำร้อง อภิสิรี จรัลชวนะเพท ท�ำนอง / เรียบเรียง ธเนส สุขวัฒน์, กัมพล มณี ขับร้อง ชรัส เฟื่องอารมย์, วิยะดา โกมารกุล ณ นคร, ผุสชา โทณะวณิก และ ป้อม ออโตบาห์น

“วันที่โลกมืดมน...เพราะเส้นทางแห่งชีวิต วันที่หัวใจของเธอ...ร้าวราน อกตรอมตรมอยู่ข้างใน...จิตใจวนเวียนกับความคิด ว่าฉันจะผ่านชีวิตไปได้อย่างไร เพราะใจที่จมกับเรื่องราวที่เจ็บช�้ำ ทุกครั้งที่คิดคือเธอท�ำร้ายตัวเอง สิ่งที่เธอควรต้องท�ำ...นั่นคือหยุด...หยุดกับความคิด หยุดตอกย�้ำ...เพื่อหยุดความทุกข์ใจ ที่ใดมีแสงสว่าง...ความมืดบนโลกก็เลือนหายไป คล้ายดังเมฆหมอกที่จางหาย เปรียบกับความทุกข์ในใจ...ที่เลือนลบไป เพราะใจของเธอ...ไม่จมอยู่กับความคิด...อดีตก็ปล่อยมันไป ให้มองทางที่สว่าง...ด้วยแรงศรัทธา...ด้วยใจของเรา ความรักมีปาฏิหาริย์...พาเราก้าวข้ามไป ก้าวผ่านอุปสรรคทั้งหลาย...ด้วยใจที่ไม่จม ให้จิตเธออยู่กับลมหายใจของเธอ...ในวันนี้”

เพลง ‘อธิษฐานจิต’

ค�ำร้อง อภิสิรี จรัลชวนะเพท ท�ำนอง / เรียบเรียง ธเนส สุขวัฒน์, อัษฎากร ภักดีณรงค์ ขับร้อง ชรัส เฟื่องอารมย์ และ ป้อม ออโตบาห์น

“เราอธิษฐาน...เพื่อพัฒนาสติปัญญา เพื่อปกป้องชีวา...ของเพื่อนมนุษย์ษา เราอธิษฐาน...เพื่อพัฒนาความรัก เพื่ออยู่อย่างสันติ...กับเพื่อนมนุษย์ษา สรรพสัตว์...พืชและดิน...สรรพสัตว์...พืชและดิน”

“มาพวกเรามาชมสวน...สวนชวนให้ใจชื่นบาน เราสุขส�ำราญ...ชมสวนงาม...พาเย็นใจ ดอกตูมก�ำลังผลิบาน...รับอรุณอันสดใส มา...มารดน�้ำด้วยใจ...ของเรา...ทุกคน มาพวกเรามาท�ำสวน...สวนเสถียรธรรมสถาน เราสุขส�ำราญ...ดอกไม้บาน...ตระการตา ด้วยเพราะพระธรรมเมตตา...งามธรรมชาติพึ่งพา เด็กเหมือนดอกไม้นานา...งามตา...งามใจ”

เพลง ‘จับมือเป็นวงกลม’

ค�ำร้อง / ท�ำนอง ลออ ชุติกร เรียบเรียง ธเนส สุขวัฒน์ ขับร้อง Pine Pine Kids Club

“จับมือกันเป็นวงกลม...จับมือกันเป็นวงกลม จับมือกันเป็นวงกลม...จับมือกันเป็นวงกลม จับมือกันแล้วก็เดิน...จับมือกันแล้วก็เดิน จับมือกันแล้วเดิน...นะ...แล้วก็นั่งลง”

เพลง ‘แผ่เมตตา’

ค�ำร้อง อภิสิรี จรัลชวนะเพท ท�ำนอง / เรียบเรียง ธเนส สุขวัฒน์ ขับร้อง วิยะดา โกมารกุล ณ นคร, ผุสชา โทณะวณิก

“ขอมอบความรักของฉัน...แด่ทุกสิ่งพลันในโลกนี้ พ่อแม่...คุณครู...เพื่อนมิตรไมตรี สรรพสัตว์...และเทพยดา ขอมอบความรักแด่แผ่นดิน...ต้นน�้ำ...ล�ำธาร...ท้องฟ้า ให้อยู่ร่วมกัน...เอื้อสุขพึ่งพา ขอแผ่เมตตา...สิ้นทุกข์...สุขเทอญ” ที่ท่ีความดีย่ังยืน | 95


Contributors พุ ทธสาวิกาโมลี เขียวสะอาด

พุ ทธสาวิกาอภิฤดี จรุ งพาณิชย์เจริญ

เสถียรธรรมสถาน

เสถียรธรรมสถาน

ดร. ไจตนย์ ศรีวังพล

สุนทรี กุลนานันท์

ผู้อ�ำนวยการรายการข่าวจราจร สวพ.FM 91 พธ.ม. (พุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต) สาวิกาสิกขาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย อาสาสมัครของเสถียรธรรมสถาน ปัจจุบันยังคง ‘เดินทาง’ เพื่อ ‘ทิ้ง’ อย่างไม่รู้ เหน็ดเหนื่อย

แม่...ผู้เรียนรู้เพื่อเป็น ‘ผู้เปิดประตูจิตวิญญาณ ของลูก’ และยังคงเรียนไม่รจู้ บ...จากโอกาสทีค่ ณ ุ ยายจ๋ามอบ ให้มาตลอด 14 ปี

พิกุล วิภาสประทีป อาสาสมัครส่วนงานสิ่งพิมพ์ของเสถียรธรรมสถาน เขียน...เขียน...และเขียน ‘สุข’...ขณะเขียน เขียนเสร็จ...‘ยิ่งสุข’

ถมทอง ทองนอก เป็นนักเขียนประจ�ำของนิตยสารผู้หญิงฉบับหนึ่ง งานหลักคือการสัมภาษณ์ ส่วนงานรองคือการตระเวนชิมอาหารทัว่ ทุกสารทิศ นอกจากอาหาร เธอยังสนใจเรื่องนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ ปรักปร�ำศาสตร์ ฯลฯ และยังคงพยายามอ่านหนังสือให้ได้บ่อยและมาก เท่ากับที่เคยอ่านได้ตอนเป็นเด็ก แม้ว่าสปีดการอ่านจะตกลงชนิดแปรผกผันกับอายุ

96 |

ทวีวัฒนา ทุนคุ้มทอง พธ.ม. (พุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต) สาวิกา สิกขาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จิตอาสาท�ำหน้าที่กรรมการเลขานุการมูลนิธิฯ และดูแลผูป้ ว่ ยทีอ่ โรคยาศาล วัดค�ำประมง จังหวัด สกลนคร สถานอภิบาลผู้ป่วยมะเร็งด้วยการแพทย์ทางเลือก แบบผสมผสานอย่างเป็นองค์รวม

พรรณวดี อมรมณีกุล อาสาสมัครส่วนงานต่างประเทศ

ศันสนีย ศีตะปั นย์ สมุ ทรผ่อง

พนิดา มาสกุล

อาสาสมัครส่วนงานธรรมนิเทศ

อาสาสมัครส่วนงานโครงการและงานสร้างโลก โดยผ่านเด็ก


“มีความสุขที่ได้เดิน...ไม่เดินไปหาความสุข มีความสุขขณะที่เดิน...ไม่เบียดเบียนเพื่อนผู ้ร่วมทางที่เดินผ่านคุณไป นี่คือวัฒนธรรมของอริยชน” ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต


เสถียรธรรมสถาน 23 ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 02-519-1119 โทรสาร : 02-519-4633 www.sdsweb.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.