ดาวเพดาน
มนัสนันท์ ได้ลาภ
ดาวเพดาน มนัสนันท์ ได้ลาภ
2
3
การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวงานศิลปกรรม “ลวดลายเพดานประดับวิหาร ในเขตอำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง” ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและคติความเชื่อเกี่ยวกับการสร้าง ลวดลายรวมถึงเทคนิควิธีการสร้างลวดลายดาวเพดานประดับวิหาร ซึ่ง จังหวัดลำ�ปางเป็นดินแดนที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาควบคู่กับ ดินแดนล้านนา อีกทั้งยังมีความสำ�คัญและความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธ ศาสนาศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง สืบต่อกันมาหลาย ยุคหลายสมัย ดังนั้นจึงปรากฏหลักฐานในรูปของงานศิลปกรรม ลวดลาย ที่ปรากฏในงานศิลปกรรมในจังหวัดลำ�ปางได้แสดงถึงเทคนิควิธีการในการ สร้างสรรค์ลวดลายขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เรียกได้ว่า “งานสกุลช่าง ลำ�ปาง” โดยเฉพาะลวดลายที่รังสรรค์ผ่านในงานศิลปกรรมเนื่องในศาสนา ปรากฏให้เห็น เช่น ลวดลายในงานปูนปั้น งานแกะสลัก งานฉลุไม้ งานลายคำ� เป็นต้น สิ่งสำ�คัญประการหนึ่งในลวดลายเหล่านี้ก็คือ การผสมผสานลวดลาย หรือรับอิทธิพลจากลวดลายภายนอกวัฒนธรรม มีพัฒนาการของลวดลายที่ได้ รับลวดลายแบบจีน ลวดลายแบบรัตนโกสินทร์ ลวดลายแบบพม่า เป็นต้น
4
อีกช่วงเวลาหนึ่งที่พม่าเข้ามาอิทธิพลในจังหวัดลำ�ปางคือ ช่วงปลาย พุทธศตวรรษที่ 23 สมัยรัชกาลที่ 5ในขณะนั้นพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ได้เข้ามาทาสัมปทานป่าในเขตล้านนา โดยเฉพาะในจังหวัดลำ�ปางและเชียงใหม่ จนมีฐานะดีและร่ำ�รวย ชาวพม่าจึงได้เข้ามามีอิทธิพลในการสร้างและบูรณะวัด ในลำ�ปาง ในรูปแบบศิลปะพม่าของตนเอง ประกอบของวัด ประกอบด้วยงาน ศิลปกรรมมากมาย ทั้งในด้านของานสถาปัตยกรรม เช่น พระวิหาร พระอุโบสถ อีกทั้งงานจิตรกรรม งานประติมากรรม เช่น งานสร้างพระพุทธรูป รวมถึงองค์ ประกอบต่างๆภายใสอาคาร เช่น ธรรมาสน์ ฐานชุกชี ตลอดจน ดาวเพดาน “ดาวเพดาน” นี้มีความสำ�คัญอย่างมาก เพราะส่วนนี้สะท้อนให้เห็นถึง ความเชื่อ และคติจักรวาล
5
“ดาวเพดาน” ภายในอาคารพุทธศาสนาใช้สัญลักษณ์ดอกบัวกันมา ตลอด ทำ�ให้นึกถึงคติของอินเดียดึกดาบรรพ์ที่ยึดถือดอกบัวว่าเป็นสัญลักษณ์ ของจักรวาล ก่อนที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของพุทธปัญญา ในภายหลัง ที่ถ้าตุงฮวงในประเทศจีน ช่างสมัยถังก็ได้สร้างดาวเพดานขึ้นในถ้าวิหาร มีเส้นขอบจัตุรัสซ้อนกันเป็นห้วงๆกลางห้วงนี้มีดอกบัวใหญ่ ล้อมด้วยขอบนอก ที่มีลวดลายคล้ายดอกจอกของดาวเพดานสมัยอยุธยา ดาวเพดานอันนี้เป็น สัญลักษณ์ “ครอบฟ้าสวรรค์”
6
ลวดลายที่ใช้ในการประดับเพดานวิหาร
เทคนิคงานลงรักปิดทองลายฉลุ เป็นงานตกแต่งลักษณะหนึ่ง ทำ�ขึ้นด้วยการลงรักแล้วปิดทองคำ�เปลวให้เป็นลวดลายแบบต่างๆ โดยอาศัย แบบลายฉลุ เป็นเครื่องกำ�หนด ให้เกิดเป็นลวดลายเช่นนั้น งานลงรักปิดทอง ลายฉลุนี้ พึงหาตัวอย่างดูได้ตามเพดาน ท้องขื่อ ฝ้าเฉลียง ไขรา ฝาผนังใน พระอุโบสถ พระวิหาร หอพระธรรมพระมณฑป เป็นต้น ลักษณะทั่วไปมักเป็น ลวดลายหย่อม เช่น ลายดาว ลายดอกจอก ลายดาวรังแตน ลายดอกไม้ร่วง หรือ ทาเป็นลวดลายติดต่อ เช่น ลายก้านแย่งดอกใน ลายกรวยเชิง ลายเกลียว ก็มีลักษณะของลวดลายเป็นสีทองบนพื้นสีแดงบ้าง สีคราม และสีเขียวบ้าง ลวดลายแบบนี้มีลักษณะเป็นตัวขาดจากกัน ไม่ต่อเนื่องกันดัง เช่น ลายเขียน ทั้งนี้เนื่องจากมี “ขื่อ” ทำ�ขึ้นในแบบลายฉลุเป็นเครื่องกั้นลาย แต่ละ ตัวให้ขาดกัน
7
งานลงรักปิดทองลายฉลุ และ วิธีการลงรักปิดทองลายฉลุนี้ เป็น มาด้วยการแก้ปัญหาทางการช่าง ในการทำ�ลวดลายตกแต่งตามที่สูงๆ เป็นต้น ฝ้าเพดาน ท้องขื่อ หรือฝ้าปีกนก ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ดาดอยู่เหนือศีรษะ เป็นตำ�แหน่ง ที่ยาก และลำ�บากแก่การแหงนหน้าขึ้นเขียนลวดลายที่ประณีต และละเอียด จึงได้ใช้วิธีทำ�แบบลวดลายขึ้นบนกระดาษบ้าง หนังแพะบ้าง แล้ว ฉลุตัวลายให้ขาดเป็นช่องๆ ตามรูปแบบลายนั้น ขึ้นไว้บนพื้นกระดาษนั้น เมื่อ จะทำ�ลวดลาย ก็เอาน้ำ�ยาขึ้นไปทาพื้น ตรงที่จะทาให้เป็นลวดลาย แล้วเอาแบบ ลวดลายปะติดเข้าตรงที่ต้องการ
8
9
งานเครื่องไม้จำ�หลัก งานศิลปกรรมที่ทำ�บนเนื้อไม้ด้วยวิธีการสลัก หรือจำ�หลัก ให้เป็น รูปร่าง ลวดลาย ด้วยเครื่องมือต่างๆ เป็นงานประณีตศิลป์อย่างหนึ่งที่ ช่างผู้ดำ�เนินงานต้องมีความรู้ความชำ�นาญเฉพาะตัว เพราะต้องใช้ความ ประณีตในการถ่ายทอดรูปแบบและลวดลายลงบนวัสดุที่เป็นไม้ ด้วยการใช้ เครื่องมือที่ทาจากโลหะในการแกะสลัก
งานประดับกระจก โดยการประดับด้วยกระจกสีต่างๆผิวมันวาว ซึ่งได้รับการตัดแบ่งและ แต่งเป็นชั้นเล็กชิ้นน้อยติดต่อกันเป็นลวดลายหลากหลายแบบด้วยกัน
งานเขียนน้ำ�ยาปิดทองรดน้ำ� บางแห่งเรียกอย่างสั้นๆ ว่า “ปิดทองรดน้ำ�”เป็นรูปภาพชนิดเอกรงค์ คือ มีลักษณะโดยรวมของรูปลักษณะที่ปรากฏเป็น “ลวดลาย” สีทองบนพื้น สีดำ�เสียเป็นส่วนมาก ที่เขียนเป็นภาพมนุษย์ หรือ ภาพสัตว์ ในลักษณะงานตาม กล่าวนี้ มีเป็นส่วนน้อย แต่ก็แสดงรูปลักษณะทั้งนั้น เป็นสีทองเช่นกัน ลวดลาย หรือ รูปภาพที่ทาให้สำ�เร็จในขั้นสุดท้าย ด้วยการ“รดน้ำ�” ชาระล้าง“น้ำ�ยา” ซึ่งได้ดำ�เนินการเขียนตามกรรมวิธีเขียนน้ำ�ยามาแต่ต้น ให้น้ำ�ยาหลุดถอน และ คงเหลือแต่สีทองที่ต้องการให้เป็นลวดลาย หรือ รูปภาพบนพื้นนั้น อาศัยสาระ ของกระบวนการขั้นสุดท้าย ของงานเขียนดังว่ามานี้ จึงมีชื่อเรียกเป็น อีกอย่างหนึ่งว่า“ลายรดน้ำ�”
10
ลวดลายทีใ่ ช้ในการประดับตกแต่ง ลายเครือเถา มีลักษณะคล้าย เถาวัลย์ ใบไม้ หรือช่อกิ่ง ใบที่เกาะกัน เป็นช่อหรือเถาขนาดใหญ่ ลายชนิดนี้ อาจจะมีดอกเดียวหรือไม่มีดอกเลย เน้นที่ก้านและใบ ลายดอกไม้และใบไม้ มักเป็น ดอกไม้ที่มีก้านและใบประกอบก้าน มีลักษณะเป็นธรรมชาติ มีทั้งที่แบบ คล้ายภาคกลางและมีลักษณะเฉพาะ ของล้านนาส่วนมากเป็นดอกบาน ส่วนดอกที่ตูมจะมีน้อยกว่า ลายสัตว์ จะใช้ลวดลายที่รูปสัตว์ ต่างๆแตกต่างกันออกไป อาทิ กระต่ายนกยูง เป็นต้น
11
เอกลักษณ์อันเด่นชัดของลวดลายที่ปรากฏในล้านนา จะเห็นได้ว่า ลักษณะอันเป็นลายประเภทของพันธุ์พฤกษา แรงบันดาลใจที่เป็นเหตุแห่ง การสร้างสรรค์ประเภทแรก อาจเกิดจากการรับเอาแนวคิดและอิทธิพลทาง ศิลปะจากดินแดนอื่นเข้ามา และต่อมาได้มีการดัดแปลงให้เข้ากับรสนิยม ในท้องถิ่น และลักษณะการใช้งานของพื้นที่ ถ้าพูดถึงลักษณะของงาน ศิลปกรรมในล้านนาจะพบว่า วัสดุแต่ละอย่างจะให้ผลในงานศิลปะต่างกัน รวม ถึงวิธีการประดิษฐ์ การแก้ไขปัญหาของช่าง และเทคนิคต่างๆ เป็นต้น ลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรมไม้ เนื่องจากในดินแดนล้านนาเป็น ดินแดนซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ โดยเฉพาะไม้สักถือเป็นวัตถุดิบในการนำ� มาสร้างสรรค์งานศิลปกรรมจึงปรากฏรูปแบบงานศิลปะอันสร้างสรรค์มาจาก ไม้เป็นจำ�นวนมาก รูปแบบของลวดลายที่พบและนิยมในหมู่ช่างนั้นมีที่มาจาก พระพุทธศาสนาและแรงบัลดาลใจจากธรรมชาติเป็นสำ�คัญ ซึ่งรูปแบบของ ลวดลายได้ปรากฏและรับใช้ทั้งงานพุทธศิลป์ และศิลปะประดับตกแต่งที่พัก อาศัยทั่วไปนอกจากนี้ การสร้างลวดลายดาวเพดานประดับวิหาร มีความเชื่อ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย รูปแบบดาวเพดานในงานสถาปัตยกรรมล้านนา โดยส่วนมากจะเห็นได้ว่า ลักษณะลวดลายจะมีลักษณะเป็นลวดลายดอกไม้ ใบไม้ในการมาสร้าง ลวดลายดาวเพดาน หรือลวดลายที่เกี่ยวกับสัตว์ในราศีต่างๆ รูปแบบ ดาวเพดานจะสร้างในรูปแบบของคติความเชื่อในเรื่องของคติจักวาล ถ้าเรา พิจารณาดูส่วนละเอียดดาวเพดานนี้ ส่วนมากนักจะเป็นลวดลายของดอกไม้ ใบไม้ มีการยึดถือดอกบัวว่าเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลที่สำ�คัญ
12
13
ลวดลายดาวเพดานประดับวิหาร ทำ�ให้ทราบถึงรูปแบบลักษณะของ ลวดลายและเทคนิคในการสร้างลวดลาย จากการที่ได้ไปศึกษาลวดลายดาว เพดานประดับวิหารในเขตอาเภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง ลวดลายส่วนใหญ่จะเป็น ลวดลายพันธ์พฤกษา เช่น ลายเครือเถา มีลักษณะคล้ายเถาวัลย์ ใบไม้ หรือ ช่อกิ่ง ใบที่เกาะกันเป็นช่อหรือเถาขนาดใหญ่ ลายชนิดนี้อาจจะมีดอกเดียว หรือไม่มีดอกเลยเน้นที่ก้านและใบ ลายดอกไม้และใบไม้ มักเป็นดอกไม้ที่มีก้าน และใบประกอบกัน มีลักษณะเป็นธรรมชาติ มีทั้งที่แบบคล้ายภาคกลางและมี ลักษณะเฉพาะของล้านนาส่วนมากเป็นดอกบาน ส่วนดอกที่ตูมจะมีน้อยกว่า เป็นต้น ในส่วนของเทคนิคที่พบส่วนมากจะเป็นการใช้เทคนิคลงรักปิดทองการ ลงรัก คือใช้ยาง จากต้นรัก ยางมีสีดำ� เหนียว คล้ายกาว ยางรัก เมือถูก หรือ สัมผัสผิวหนังจะมีอาการ คัน เรียกว่าแพ้รัก เมื่อทารักเสร็จก็เอาทองคำ�เปลว ปิดลงไป เค้าจึงเรียกว่า ลงรักปิดทองงานที่ออกมา จะคงทน สวยงาม และ อีกเทคนิคหนึ่งคือลายคำ� ในความหมายของศิลปกรรมล้านนา คือ ลวดลาย ที่ประดับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ อาคารสถานที่ด้วยทองคาเปลว มีลวดลายสี ทองบนพื้นสีแดงหรือดำ� หากดูแต่ผิวเผินแล้วจะเห็นเป็นเพียงลวดลาย 2 มิติ ที่ ใช้วิธีการประดับลวดลายโดยการฉลุแบบแล้วปิดทองคำ�เปลว ซึ่งเป็นวิธีการที่ นิยมใช้กันโดยทั่วไป แต่แท้จริงแล้วการประดับตกแต่งลายคาของล้านนานั้น มี วิธีการแบบอื่นที่ต่อเนื่องจากการฉลุ การฉลุแบบปิดทองคาเปลว เป็นวิธีการที่ พบมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีการประดับตกแต่งที่มีกระบวนการไม่ยุ่งยากซับ ซ้อนมากนัก โดยวิธีการเจาะฉลุลวดลายแม่แบบกระดาษตามต้องการ แล้วนำ� ไปวางทาบตรงส่วนที่ต้องการจะประดับตกแต่งลวดลาย แล้วปิดทองคำ�เปลวลง ไปตามช่องที่ฉลุลวดลายนั้นตามต้องการ
ดาวเพดาน มนัสนันท์ ได้ลาภ 530310135 ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย มนัสนันท์ ได้ลาภ