ทักษะพื้นฐานในการฝึกหัดนาฏศิลป์

Page 1

นาฏศิลป์ไทย

สำ�หรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ทักษะพื้นฐานในการฝึกหัดนาฏศิลป์ • นาฏยศัพท์ • ภาษาท่า


คำ�นำ� หนังสืออิเลคทรอนิคส์ (E-Book) ทักษะพื้นฐานในการฝึกหัดนาฏศิลป์ สำ�หรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน เล่มนี้ จัดทำ�ขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ เรียนรู้ได้ใช้ฝึกปฏิบัติท่านาฏยศัพท์ และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ เพื่อได้รู้จักศัพท์ที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ ภาษาท่าทางต่างๆ เพื่อส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก ให้มีเจตคติที่ดีและความพึ่งพอใจในกิจกรรมทางนาฏศิลป์ อีกทั้งใช้ใน การพัฒนาสมาธิ จิตใจ แก้ไขปัญหาทางอารมณ์ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ข้าพเจ้าหวังเป็น อย่างยิ่งว่าหนังสืออิเลคทรอนิคส์เล่มนี้ คงมีประโยชน์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสำ�หรับนักเรียนที่มีความบกพร่องบ้างไม่มากก็ น้อย หากผิดพลาดประการใดผู้จัดทำ�ก็จะขอนำ�ไปแก้ไขและปรับปรุงต่อไป ผู้จัดทำ� นางณัชชา นรรัตน์

-1-


สารบัญ หน้า 3 4 5 5 5 6 7 7 8 9 9 10 11 12 12 13 14 15 16 17

แบบทดสอบก่อนเรียน รู้จักนาฏศิลป์ไทย ความหมายของนาฏยศัพท์ การดัดมือ การดัดแขน การตั้งวง การจีบ การนั่ง การยืน การประเท้า การยกเท้า การก้าวเท้า รู้จักภาษาท่า ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ�ที่มาจากธรรมชาติ ท่าอริยบทของมนุษย์ ท่ารำ�แสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใน ท่ารำ�เลียนแบบธรรมชาติและสัตว์ ภาษาท่าหรือท่ารำ�ที่มาจากการประดิษฐ์ แบบทดสอบหลังเรียน บรรณานุกรม -2-


แบบทดสอบก่อนเรียน จงวง ล้อมรอบตัวอักษร ก, ข, ค หรือ ง ที่เป็นคำ�ตอบที่ถูกที่สุด ๑. การตบเท้า ต่างจาก การประเท้าอย่างไร ก. การตบเท้าต้องย่อเข่า ข. การประเท้าไม่ต้องย่อเข่า ค. การตบเท้าไม่ต้องยกเท้าขึ้น ง. การประเท้าไม่ต้องยกเท้าขึ้น

๖. การจีบปรกหน้ามือจีบอยู่ที่ใด ก. ยกมือขึ้นแล้วโชว์นิ้ว ข. โบกมือไปมา ค. เอามือบังสายตา ง. ประสานมือไว้ที่อก

๒. ภาษาพูดใช้นิ้วใดชี้ที่ปาก ก. นิ้วโป้ง ข. นิ้วกลาง ค. นิ้วชี้ ง. นิ้วนาง

๗. จากภาพเป็นนาฏยศัพท์ข้อใด ก. จีบหลัง ข. จีบหน้า ค. จีบปาก ง. จีบปกข้าง

๓. การตั้งวงบนและวงล่างแตกต่างกันอย่างไร ก. ระดับของวงแขน ข. การเหยียดนิ้ว ค. การหักข้อมือ ง. การจีบนิ้ว

๘. การจีบที่บริเวณหัวเข็ดขัด เป็นการจีบแบบใด ก. จีบหงาย ข. จีบชายพก ค. จีบคว่ำ� ง. จีบปรกข้าง

๔. จากภาพ คือข้อใด ก. ข. ค. ง.

๙. จีบปรกข้าง มือจีบอยู่ระดับใด ก. หน้าผาก ข. จมูก ค. ใบหู ง. ปาก

จีบหงาย จีบหลัง จีบคว่ำ� จีบปรกข้าง

๑๐. การแสดง ผู้แสดงควรแสดงอารมณ์อย่างไร ก. ดีใจ ข. เบื่อ ค. โกรธ ง. เศร้าใจ

๕. การตั้งวงกลาง ปลายนิ้วควรอยู่ระดับใด ก. ไหล่ ข. เอว ค. ศีรษะ ง. หางคิ้ว

เฉลย

1. ง

2. ง

3. ก

4. ง

5. ก

6. ง -3-

7. ก

8. ข

9. ค

10. ก


รู้จักนาฎศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทย เป็นวิชาที่ว่าด้วยศิลปะการละครหรือการร่ายรำ� โดยใช้สรีระต่างๆ ของร่างกาย แสดงออกด้วยกระบวนท่ารำ� เพื่อสื่อความหมายตามความคิด จินตนาการให้ผู้ชมเกิดอารมณ์สะเทือนใจจากการแสดงท่าทาง การฟ้อนรำ�เป็นชุดจะต้องใช้ลีลาท่ารำ�ที่สวยงามบ่งบอกความหมายให้ผู้ชมเข้าใจได้ชัดเจน จึงจะสามารถสร้างความ สะเทือนใจ และความสนุกสนามเพลิดเพลินให้แก่ผู้ชมได้ นอกจากนี้ สาระนาฏศิลป์ยังเป็นสาระที่ต้องใช้ทักษะสามารถเรียนรู้และถ่ายทอดกันได้ โดยการฝึกฝนให้เกิดความชำ�นาญดังนั้นการเรียนรู้ “นาฏยศัพท์” และการฝึกหัดให้เกิดทักษะเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับผู้ฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย

-4-


ความหมายของนาฎยศัพท์ นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกท่าทางที่ปฏิบัติหรือกิริยาอาการต่างๆ ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับนาฏศิลป์ เพื่อใช้สื่อความ หมายให้เกิดความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ตรงกัน ในการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยเบื้องต้นนั้น ผู้เรียนควรจะเริ่มจากการฝึกหัดดัดมือ ดัดแขน ตั้งวง (วงบน วงกลาง วงล่าง) การจีบ (จีบหงาย และจีบคว่ำ�) การนั่งแบบละครพระ ละครนาง การยืน การประเท้า ยกเท้า และการก้าวเท้าก่อน ซึ่งมีหลักและวิธีปฏิบัติดังนี้

๑. การดัดมือ

การดัดมือ เป็นการฝึกหัดนิ้วมือและข้อมือ โดยการใช้มือข้างหนึ่งรวบนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยให้ตั้งขึ้นแล้ว หักปลายนิ้วทั้ง ๔ มาที่ลำ�แขน หักข้อมือเข้าหาลำ�แขนส่วนนิ้วหัวแม่มือจะยื่นไปข้างหน้าแล้วหักข้อแรกของนิ้วหัวแม่มือเข้าหาผ่ามือ หากดัดมือข้างซ้ายให้นั่งตั้งเข่าซ้ายปลายเท้าซ้ายเชิดขึ้น ส่วนเท้าขวาให้พับปลายเท้าขวาไว้ใต้เข่าซ้ายนั่งทรงตัวยืดขึ้น น้ำ�หนักตัวอยู่ที่ ก้นขวา ยื่นแขนซ้ายตึงให้ข้อศอกวางบนเข่าซ้าย แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้ง ๔ ด้านขวารวมนิ้วซ้ายหักข้อมือซ้ายเข้าหาลำ�ตัว หน้า

การดัดแขน เป็นการฝึกเพื่อดัดแขนให้งอนโค้งสวยงาม ดูเป็นคนแขนอ่อน วิธีปฏิบัติทำ�ได้โดยนั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้าง ให้ ส้นเท้าชิดติดกัน แบะปลายเท้าออก สอดประสานนิ้วมือเข้าหาลำ�ตัว พลิกกลับให้ฝ่ามือทั้ง ๒ หงายออกจากลำ�ตัว แล้วกดลงไปที่ปลาย เท้า โดยนิ้วทั้ง ๒ ไม่หลุดจากกัน หนีบเข่าทั้ง ๒ เข้าหากันเพื่อบีบข้อศอกทั้ง ๒ ให้ชิดกัน ยืดตัวขึ้น หน้าตรงนับตามจำ�นวนครั้งที่ กำ�หนด

-5-

๒. การดัดแขน


๓. การตั้งวง การตั้งวง เป็นนาฎยศัพท์ที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่ง เนื่องจากนาฎศิลป์ไทยมีท่ารำ�ที่เป็นหลักได้แก่ การตั้งวง และการจีบ ซึ่งจะนำ�มาใช้ในลีลาท่ารำ�ต่างๆดังนั้น การตั้งวงจึงมีความสำ�คัญ หากตั้งวงสวยก็จะทำ�ให้รำ�ท่ารำ�ต่างๆ ได้สวยงาม และการเรียกชื่อวง ก็ขึ้นอยู่กับการวางระดับของวง การตั้งวงแบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับ ดังนี้

๑. ระดับวงบน ปฏิบัติได้โดยให้นิ้วทั้ง ๔ ตึงเรียงชิดติดกัน ส่วนนิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือยกลำ�แขนขึ้นให้เป็นวงโค้ง ยกแขนในแขนหนึ่งขึ้น แล้วงอแขนให้ได้ส่วนโค้ง ส่งลำ�แขนออกไปข้างลำ�ตัว วงบนของพระจะอยู่ระดับ ศี​ีรษะ ส่วนวงบนของนางจะอยู่ระดับหางคิ้ว วงพระกันวงกว้างกว่าวงนางเล็กน้อย

๒. ระดับวงกลาง ปฏิบัติได้โดยให้นิ้วทั้ง ๔ ตึงเรียงชิดติดกัน ส่วนนิ้วมือแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือยกลำ�แขนขึ้นเป็นวงโค้ง ปลายนิ้วอยู่ระดับไหล่

๓. ระดับวงล่าง ปฏิบัติได้โดยให้นิ้วทั้ง ๔ ตึงเรียงชิดติดกัน ส่วนนิ้วมือแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือให้ปลายนิ้วอยู่ระดับเอวหรือชายพก แต่วง ล่างของพระต้องกันศอกออกไปด้านข้างสะเอว ส่วนวงล่างของนางให้หนีบ ข้อศอกเข้าหาลำ�ตัว ปลายนิ้วจะอยู่ระดับเอว

-6-


๔. การจีบ การจีบ เป็นการใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้มาจรดเข้าหากัน ด้วยการใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดเข้ากับข้อแรกของนิ้วชี้ โดยนับ จากปลายนิ้วลงมา ส่วนนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย กรีดตึงออกไปคลายใบพัด นิ้วหัวแม่มือควรงอเล็กน้อยพองาม การจีบจะต้อง หักข้อมือเข้าหาลำ�แขนเสมอ โดยหักเข้าด้านฝ่ามือ

๑. จับหงาย ปฏิบัติได้โดยให้นิ้วหัวแม่มือหักเข้าจรดข้อแรกของนิ้วชี้ จาก ๒. จีบคว่ำ� ลักษณะการจีบจะปฏิบัติคล้ายกับจีบหงาย เพียงแต่จีบคว่ำ�ให้ นั้นกรีดนิ้วทั้ง ๓ ให้ตึงออกเป็นรูปพัด หงายข้อมือขึ้นแล้วหักข้อมือเข้าหาลำ�แขนให้ คว่�ำ ตัวจีบลง ลำ�แขนจะงอหรือตึงขึ้นอยู่กับท่ารำ� หักข้อมือเข้าหาลำ�แขน ปลายจีบชี้ขึ้นข้างบน

๕. การนั่ง

การนั่งแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๑. การนั่งแบบพระ ปฏิบัติได้โดยการนั่งพับเพียบข้างขวา นั่งพับเข่า ซ้ายให้ปลายเท้าหงายซ้อนใต้เข่าขวา ขาขวางอพับไว้ข้างตัวหักข้อเท้า นั่งตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง วางฝ่ามือขวาไว้บนหน้าตักขวา วางฝ่ามือซ้ายไว้บริเวณเข่าซ้ายตึง ปลายนิ้วมือ ๒. การนั่งแบบนาง ปฏิบัติได้โดยการนั่งพับเพียบทางขวา นั่งพับเข่า ซ้ายซ่อนไว้ใต้ขาขวาที่งอพับไว้ข้างตัวด้านขวา หักข้อเท้าทั้ง สองโดยให้ปลายเท้า ซ้ายเหลื่อมไปข้างหน้า แล้วเรียงด้วยปลายเท้าขวา นั่งตัวตรงอกผายไหลผึ่ง วาง ฝ่ามือขวาบนหน้าขาขวาแล้ววางฝ่ามือซ้ายงอแขนวางเรียงออกมาด้านนอก เอียง ศีรษะไปทางขวา -7-


๖. การยืน การยืนแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. การยืนแบบพระ ปฏิบัติได้โดยยืนตัวตรง ตึงเอว ตึงไหล่ เท้าขวายืนรับน้ำ�หนัก เท้าซ้ายยืนตึงเข่า วางเท้า ซ้ายเหลื่อมเท้าขวาเล็กน้อย มือขวาเท้าสะเอว มือซ้ายแบมือ วางฝ่ามือแตะที่หน้าขา กดไหล่และเอียงศีรษะด้านขวา ๒. การยืนแบบนาง ปฏิบัติได้โดยยืนตัวตรง ตึงเอว ตึงไหล่ เท้าขวายืนรับน้ำ�หนัก เท้าซ้ายเปิดปลายเท้าออกเล็ก น้อย ให้สันเท้าซ้ายวางชิดช่วงกลางเท้าขวา ขาเหยียดตึง มือขวาจีบแตะที่เอว มือซ้ายเหยียดตึง แบมือ วางฝ่ามือแตะที่หน้าขา กดไหล่และเอียงศีรษะด้านซ้าย ๓. การยืนเหลื่อมเท้า ปฏิบัติได้โดยวางเท้าขวาเฉียงออกไปทางด้านขวา แล้วให้สันเท้าวางไว้กลางเท้าซ้าย ซึ่งยืน รับน้ำ�หนักอยู่ในลักษณะปลายเท้าซ้ายไปด้านซ้าย เปิดปลายเท้าขวาขึ้น

การยืนปกติตัวพระ - ตัวนาง

การยืนเหลื่อมเท้า -8-


การประเท้า เป็นกิริยาของเท้าที่เชื่อมต่อจากการยืนเหลื่อมเท้า เช่น หากยืนเหลื่อมเท้าขวาแล้วจะประเท้าขวา ปฏิบัติได้โดยการยกจมูกเท้า ขวาขึ้น ย่อเข่าลง แล้วตบจมูกขวาลง ในลักษณะที่ส้นเท้าขวายังวางอยู่กับ พื้นพร้อมกับยกเท้าขวาขึ้น จากนั้นเชิดปลายเท้าขวา *หมายเหตุ จมูกเท้า หมายถึง ก้อนเนื้อบริเวณโคนนิ้ว การ จรดเท้า เท้าต้องกระดกปลายนิ้วเท้าทุกครั้ง

๘. การยกเท้า การยกเท้า เป็นกิริยาของเท้าที่ต่อจากการประเท้า ลักษณะของเท้าที่ยกจะแตกต่างกันระหว่างตัวพระและตัวหนาง การยกเท้าแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๑. การยกเท้าแบบพระ ตัวพระจะยกเท้าโดยแบะเข่าออกไปด้านข้าง ให้ข้อเท้าอยู่ระดับครึ่งน่องของเท้าที่ยืนอยู่ ๒. การยกเท้าแบบนาง ตัวนางจะไม่แบะเข่าแต่จะยกไปข้างหน้า ในลักษณะหนีบขาที่ยกมา หาขาที่ยืนรับน้ำ�หนักอยู่

-9-

๗. การประเท้า


๙. การก้าวเท้า การก้าวเท้า เป็นกิริยาของเท้าที่ต่อจากการยกเท้า การก้าวเท้าจะแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ก้าวหน้ากับ ก้าวข้าง ซึ่งทั้งตัวพระและตัวนางจะมีลักษณะการก้าวเท้าที่แตกต่างกัน การก้าวเท้าแบ่งออกได้เป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้ ๑. การก้าวเท้าแบบพระ ปฏิบัติได้โดยวางส้นเท้าที่ก้าวให้ตรงกับปลายเท้าหลังที่วางอยู่ในลักษะเปิดส้นเท้า แบะเข้า ออกย่อเข่าลง ๒. การก้าวเท้าแบบนาง ปฏิบัติได้โดยวางส้นเท้าที่ก้าวให้ตรงกับปลายเท้าหลังที่วางอยู่ในลักษณะเปิดส้นเท้า แต่ให้ เหนีบเข่าเข้าหากัน ๓. การก้าวข้างแบบพระ ปฏิบัติได้โดยวางส้นเท้าที่ก้าวให้ตรงกับปลายเท้าที่ยืนเต็มเท้าในลักษณะเป็นเส้นตรงด้าน ข้างแล้วย่อเข่าทั้ง ๒ ลง ให้น้ำ�หนักอยู่กับที่ก้าว ๔. การก้าวข้างแบบนาง ปฏิบัติได้โดยวางส้นเท้าที่ก้าวให้ตรงกับปลายเท้าที่ยืนอยู่แล้วพลิกข้อเท้าหักลำ�เข่าเข้าหาน่อง ของขาที่ก้าวข้าง ย่อเข่าทั้ง ๒ ลง

การก้าวเท้าแบบพระ - การก้าวเท้าแบบนาง

การก้าวข้างแบบพระ - การก้าวข้างแบบนาง -10-


รู้จักกับภาษาท่า นาฏศิลป์ไทย เป็นวิชาที่ว่าด้วยศิลปะการละครหรือการร่ายรำ� โดยใช้สรีระต่างๆ ของร่างกาย แสดงออกด้วยกระบวนท่ารำ� เพื่อสื่อความหมายตามความคิดจินตนาการ ให้ผู้ชมเกิดอารมณ์สะเทือนใจจากการแสดงท่าทาง ซึ่งผู้แสดงจำ�เป็นจะต้องใช้ลีลาท่ารำ�ที่สวยงาม บ่งบอกความหมายให้ผู้ชมได้เข้าใจชัดเจนจึงจะสามารถสร้างความสะเทือนใจและ ความสนุกสนามเพลิดเพลินให้แก่ผู้ชมด้วยการเลียนแบบท่าทางธรรมชาติของมนุษย์หรือสัตว์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า “ภาษาท่ารำ�“ หรือท่าทางที่ประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสื่อ ความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งภาษาทางนาฏศิลป์เรียกว่า “นาฏยศัพท์” หรือนาฏยภาษา

-11-


ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ� ที่มาจากธรรมชาติ ภาษาท่าหรือภาษาที่บ่งบอกอิริยาบถของมนุษย์ เป็นการใช้ท่าทางธรรมชาติเพื่อสื่อความหมาย เช่น ท่าตัวเรา ท่าปฏิเสธ ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง ท่าดม เป็นต้น เนื่องจากการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะมีการใช้นาฏยศัพท์ที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นนาฏศิลป์ไทย โดยในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ�ที่มากจากธรรมชาติ ๑. ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ�ที่บ่งบอกอิริยาบถของมนุษย์ เป็นการใช้สรีระบ่งบอกความหมายด้วยท่าทางธรรมชาติเช่นเดียวกับการใช้ภาษามือ ซึ่งเป็นอิริยาบถโดยธรรม ชาติของมนุษย์ เพื่อสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจร่วมกันในกลุ่มชน ตัวอย่างภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ�ที่มาจากธรรมชาติที่พบเห็นได้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยเช่น

ท่าตัวเรา : เป็นการแนะนำ�ตัวโดยใช้มือซ้ายจีบไว้ที่หน้าอก ถ้าตัวละครนั่ง มือขวาจะวางไว้ที่ตัก แต่ถ้าตัวละครยืน มือขวาจะจีบหลังหรือเท้าสะเอว

ท่าเรียก : เป็นกิริยาที่ใช้แทนการเรียกด้วยการยกมือขึ้นในลักษณะตั้งวง ด้านข้าง แล้วหักข้อมือลง ปาดมือ กรีดนิ้วเข้าหาตา

ท่าปฏิเสธ : เป็นกิริยาที่ใช้แทนคำ�พูดว่า “ปฏิเสธ“ โดยใช้มือข้างในข้างหนึ่ง ตั้งวงระดับ ล่าง ให้ฝ่ามือหันออกไปข้างนอก สั่นปลายมือไปมาพร้อมส่ายหน้า

-12-


๒. ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ�ที่เแสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใน เป็นการใช้ท่าทางธรรมชาติสื่ออารมณ์และความรู้สึกภายในของมนุษย์ เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ ร้องไห้ ยิ้ม เป็นต้น การสื่ออารมณ์ความรู้สึกภายในจะจินตนาการอารมณ์แล้วตีความออกมาเป็นกิริยาท่าทางและแสดงสีหน้าบ่งบอกความรู้สึกเพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจ เช่น ท่ารัก ท่าโกรธ ท่าดีใจ เป็นต้น

ท่ารัก : ปฏิบัติโดยการประสานลำ�แขน ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างวางทาบบริเวณฐานไหล่หรือบริเวณศอก

ท่าโกรธ : ปฏิบัติโดยการตั้งข้อมือขึ้น ใช้นิ้วฟาดตวัดขึ้น แล้วเก็บนิ้วงี้งอเข้าหาฝ่ามือ หรือใช้ฝ่ามือซ้ายถูบริเวณ คางใต้ใบหูซ้าย ถูไปถูมาแล้วกระชากลง

ท่าเสียใจ : ปฏิบัติโดยใช้มือซ้ายกรีดนิ้วแล้วจีบมาไว้ระดับปาก

ท่าร้องไห้ : ปฏิบัติโดยใช้มือซ้ายแตะที่หน้าผาก มือขวาจีบที่ชายพก ก้มหน้าพร้อมสะดุ้งตัวเล็กน้อย เหมือนกับกำ�ลังสะอึกสะอื้น จากนั้นใช้นิ้วชี้แตะที่ตาทั้งสองข้าง

ท่ายิ้ม : ปฏิบัติโดยยกมือซ้ายขึ้นจีบ แล้วหักข้อมือเข้าหาใบหน้า โดยให้ปลายนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มืออยู่ระดับปาก

-13-


๓. ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ�ที่เลียนแบบธรรมชาติและสัตว์ เป็นการใช้สรีระด้วยท่าทางธรรมชาติผสมผสานกับจินตนาการ เลียนแบบธรรมชาติและสัตว์ให้ใกล้เคียงมาก ที่สุด เพื่อสื่อความหมายโดยเฉพาะ ทั้งนี้การเลียนแบบธรรมชาติค่อนข้างยากและมีความเป็นนามธรรมมาก ดังนั้น หากจะใช้กระบวนท่ารำ�ทางนาฏศิลป์ไทยเลียนแบบธรรมชาติ ก็อาจจะต้องเลียนแบบสิ่งที่สัมผัสได้จากธรรมชาติ เช่น ลมพัด ฝนตก น้ำ�ไหล เป็นต้น

ลมพัด : เป็นการใช้สรีระเลียนแบบลมที่พัดจากซ้ายไปขวา ให้ความรู้สึกพริ้วปลิวไสว

ฝนตก : เป็นการใช้มือจีบเลียนแบบเม็ดฝนที่หล่นโปรยปรายลงมาสู่พื้นดิน

ท่านกบิน : เลียนแบบการบินของสัตว์มีปีก เช่น นก พญาครุฑ เป็นต้น

ท่าปลาว่ายน้ำ� : เลียนแบบการเคลื่อนไหวของปลาเวลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ�

ท่าภมรเคล้าเกสร : ปเลียนแบบหมู่แมลงที่โผผินบินมาดมกลิ่นดอกไม้

-14-


ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ� ที่มาจากการประดิษฐ์ ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำ�ที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้น มีทั้งประดิษฐ์จากท่าทางธรรมชาติ โดยนำ�ท่าทางธรรมชาติผสมผสานกับจินตนาการมาร้อยเรียงเป็นท่าใหม่ เพื่อสื่อความหมายและภาษาท่ารำ�ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อกำ�หนดเป็นแม่ท่า

ท่าคำ�ว่า ”ท่าน” : ใช้วิธีการไว้มือบ่งบอกถึงความอาวุโสหรือผู้สูงศักดิ์

ท่าคำ�ว่า ”ดอกบัว” : ทำ�ท่าพนมมือบอกความหมายว่า ดอกบัวตูม

ท่าคำ�ว่า ”ดอกไม้” : ทำ�ท่าจีบบ่งบอกความหมายว่าเป็น กลีบดอกไม้

ท่าคำ�ว่า ”กล้าหาญ” : จะทำ�ท่าองอาจกล้าหาญ

ท่าคำ�ว่า ”บ้าน” : ใช้วิธีการจรดปลายนิ้วมือประกบกัน กางแขนให้มีลักษณะเป็นหน้าจั่ว

-15-


แบบทดสอบหลังเรียน จงวง ล้อมรอบตัวอักษร ก, ข, ค หรือ ง ที่เป็นคำ�ตอบที่ถูกที่สุด ๑. การตบเท้า ต่างจาก การประเท้าอย่างไร ก. การตบเท้าต้องย่อเข่า ข. การประเท้าไม่ต้องย่อเข่า ค. การตบเท้าไม่ต้องยกเท้าขึ้น ง. การประเท้าไม่ต้องยกเท้าขึ้น

๖. การจีบปรกหน้ามือจีบอยู่ที่ใด ก. ยกมือขึ้นแล้วโชว์นิ้ว ข. โบกมือไปมา ค. เอามือบังสายตา ง. ประสานมือไว้ที่อก

๒. ภาษาพูดใช้นิ้วใดชี้ที่ปาก ก. นิ้วโป้ง ข. นิ้วกลาง ค. นิ้วชี้ ง. นิ้วนาง

๗. จากภาพเป็นนาฏยศัพท์ข้อใด ก. จีบหลัง ข. จีบหน้า ค. จีบปาก ง. จีบปกข้าง

๓. การตั้งวงบนและวงล่างแตกต่างกันอย่างไร ก. ระดับของวงแขน ข. การเหยียดนิ้ว ค. การหักข้อมือ ง. การจีบนิ้ว

๘. การจีบที่บริเวณหัวเข็ดขัด เป็นการจีบแบบใด ก. จีบหงาย ข. จีบชายพก ค. จีบคว่ำ� ง. จีบปรกข้าง

๔. จากภาพ คือข้อใด ก. ข. ค. ง.

๙. จีบปรกข้าง มือจีบอยู่ระดับใด ก. หน้าผาก ข. จมูก ค. ใบหู ง. ปาก

จีบหงาย จีบหลัง จีบคว่ำ� จีบปรกข้าง

๑๐. การแสดง ผู้แสดงควรแสดงอารมณ์อย่างไร ก. ดีใจ ข. เบื่อ ค. โกรธ ง. เศร้าใจ

๕. การตั้งวงกลาง ปลายนิ้วควรอยู่ระดับใด ก. ไหล่ ข. เอว ค. ศีรษะ ง. หางคิ้ว

เฉลย

1. ง

2. ง

3. ก

4. ง

5. ก

6. ง -16-

7. ก

8. ข

9. ค

10. ก


บรรณานุกรม สุดใจ ทศพร และคณะ. หนังสือสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี-นาฏศิลป์ ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2544. สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ และคณะ. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ ม.๓. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2544.

-17-



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.