ANNUAL SPK D2

Page 1



คำ�คม


คำ�นำ�


สารบัญ คำ�นำ� สารบัญ 1.ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสมุทรปราการ

1

1.1 ผู้บริหารของจังหวัดสมุทรปราการ 1.2 ประวัติความความเป็นมาของจังหวัดสมุทรปราการ 1.3 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสมุทรปราการ

1 2 6

2. ผลการดำ�เนินงานตามประเด็นการพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

2.1 ส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันในภูมิภาคเขตเศรษฐกิจอาเซียน และประเทศคู่เจรจาการค้ากับเขตเศรษฐกิจอาเซียน โดยพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อม รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.2 พัฒนาคุณภาพชีวต ิ ประชาชน โดยยกระดับรายได้และการจัดการศึกษา สาธารณสุข ศาสนาศิลปวัฒน ธรรม สาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้เพียงพอ เท่าเทียม และทั่วถึง 2.3 ส่งเสริมระบบ Logistics เชือ ่ มโยงเขตเศรษฐกิจอาเซียน และประเทศคูเ่ จรจาการค้ากับเขตเศรษฐกิจ อาเซียน โดยพัฒนาการบริหารจัดการ และปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้สมบูรณ์ยง่ิ ขึน ้ เพือ ่ ลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 2.4 ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม โดยการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยว สินค้า การบริการและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและประทับใจของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม เป้าหมาย (Tourism for All) 2.5 เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน โดยการพัฒนาระบบป้องกันและแก้ไข ปัญหาภัยคุกคามความมั่นคง พร้อมทั้งพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยแก่ประชาชน

3. ผลการดำ�เนินงานตามนโยบายสำ�คัญของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย 4. ผลการดำ�เนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนจังหวัดสมุทรปราการ

4.1 การแก้ไขปัญหาท่อก๊าซระเบิด 4.2 การแก้ไขปัญหาท่อประปาแตก 4.3 การแก้ไขปัญหาเพลิงไหม้โรงงาน

13 18 28 33 35 37

38

45 46 47 48


สารบัญ


สารบัญ



รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

๑.ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสมุทรปราการ ๑.๑ ผู้บริหารจังหวัดสมุทรปราการ

นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการสมุทรปราการ

นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการสมุทรปราการ

นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 1

นายสุเมธ ธีรนิติ ผู้ว่าราชการสมุทรปราการ


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

๑.๒ ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสมุทรปราการ

“สมุ ท รปราการ”เป็ น เมื อ งที่ มี ค วามสำ � คั ญ มาแต่ โ บราณเนื่ อ งจากที่ ตั้ ง เป็ น เขตยุ ท ธศาสตร์ ท างน้ำ � คำ � ว่ า “สมุทรปราการ” มาจาก คำ�ว่า “สมุทร” ซึ่งแปลว่าทะเล และ “ปราการ” ที่แปลว่า กำ�แพง จึงมีความหมายโดยรวมว่า “กำ�แพงริมน้ำ�” และหากย้อนหลังไป 800 ปีเศษ ชนชาติขอมซึ่งมีความรุ่งเรืองอยู่ ในขณะนั้นได้สร้างเมืองพระประแดง บริเวณปากแม่น้ำ�เจ้าพระยาเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านซึ่งสันนิษฐานว่า ในปัจจุบันคือบริเวณท่าเรือคลองเตย และต่อมาแผ่นดิน บริเวณรอบเมืองพระประแดงนั้นได้งอกออกไปในทะเลโดยทิศใต้แผ่นดินงอกถึงแถบตำ�บลปากคลองบางปลากดซึ่งอยู่ทาง ฝั่งขวาของแม่น้ำ�เจ้าพระยา และทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ�เจ้าพระยาแผ่นดินได้งอกถึงบริเวณตำ�บลบางด้วน บางหมู และบาง นางเกรง ทำ�ให้เมืองพระประแดงมีความสำ�คัญลดลง เนื่องจากอยู่ห่างจากบริเวณปากแม่น้ำ� ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 21632171 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเมืองปากน้ำ� หน้าด่านของกรุงศรีอยุธยาและใช้เป็นสถานที่ทำ�การค้าขายกับชาวฮอลันดาโดยทรงพระราชทานที่ดินบริเวณคลองบางปลา กด ให้ชาวฮอลันดาไว้เป็นเมืองการค้าซึ่งเรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” ในปี พ.ศ. 2306 สมัยกรุงธนบุรี เป็นสมัยที่สร้างราชธานีใหม่ สมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำ�แพง เมืองพระประแดงเดิมที่ตำ�บลราษฎร์บูรณะเพื่อไปสร้างกำ�แพงพระราชวังจึงทำ�ให้กำ�แพงเมืองพระประแดงเดิมสูญหายสิ้น ซากนับแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2352 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเห็นความสำ�คัญ ที่จะต้องสร้างเมืองทางชายฝั่ง เพื่อป้องกันศัตรูที่จะรุกล้ำ�มาจากทางทะเลสู่แม่น้ำ�เจ้าพระยา ซึ่งเดิมมีเมืองพระประแดงและ เมืองสมุทรปราการเป็นเมืองหน้าด่าน แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก พระองค์จึงดำ�ริ ที่จะบูรณะเมืองพระประแดง ซึ่งอยู่ ทางด้านขวาของแม่น้ำ� เจ้าพระยา ระหว่างเมืองสมุทรปราการและกรุงเทพฯโดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหา สุรสิงหนาท ลงสำ�รวจพื้นที่บริเวณปากน้ำ�เจ้าพระยา เพื่อสร้างเมืองขึ้นใหม่และสร้าง “ป้อมวิทยาคม” ที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ� เจ้าพระยา ในปี พ.ศ. 2362 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำ�เนินการสร้างป้อมที่ สำ�คัญหลายป้อม และทรงพระราชทานนาม ใหม่ว่า “เมืองนครเขื่อนขันธ์” และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้อพยพครอบครัว ชาวมอญ โดยมีชายฉกรรจ์ประมาณ 300 คน ซึ่งมีพระยาเจ่งเป็นผู้นำ�จากเมืองปทุมธานีมาอยู่ ณ เมืองนครเขื่อนขันธ์ เพื่อเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการรักษาเมือง นอกจากการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังทรงสร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นมาใหม่ เนื่องจากทรงไม่ไว้วางใจญวนนัก ประกอบกับเมืองสมุทรปราการเองก็เป็นเมือง ที่อยู่ติดกับทะเลมากกว่า จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมเพิ่มอีก จำ�นวน 6 ป้อมทั้งด้านซ้ายและขวาของแม่น้ำ�เจ้าพระยา

2 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รัฐบาลไทยได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัท ชาวเดนมาร์ก เพื่อสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นในประเทศไทย ระหว่าง กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ แต่บริษัทยังขาดทุนทรัพย์ จึงมิได้ดำ�เนินการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยืมทุนทรัพย์ไป สมทบด้วยส่วนหนึ่ง และได้เสด็จพระราชดำ�เนินแซะดินเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 กับได้เปิดทาง รถไฟ ณ สถานีสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 โดยใช้รถจักรไอน้ำ�ลากจูง แต่ต่อมาภายหลังเปลี่ยนใช้ รถไฟฟ้า ทางรถไฟสายนี้ได้ยุบเลิกกิจการไป เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์กลับเป็น "เมืองพระประแดง" ดังเดิม เพราะยังคงบริเวณเดิมของพระประแดง และในปี พ.ศ. 2459 ทรงเปลี่ยนคำ�ว่าเมืองเป็นจังหวัด เมืองสมุทรปราการจึงเปลี่ยนเป็น "จังหวัดสมุทรปราการ" ประกอบด้วย อำ�เภอสมุทรปราการ อำ�เภอบ่อ อำ�เภอบางพลี และอำ�เภอสีชัง และเมืองพระประแดงเป็น จังหวัดพระประแดง ประกอบ ด้วยอำ�เภอพระประแดง อำ�เภอพระโขนง และอำ�เภอราษฎร์บูรณะ

ANNUAL REPORT 2021 3


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ตราประจำ�จังหวัด เป็นรูปพระสมุทรเจดีย์และพระอุโบสถที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ความหมาย พระเจดีย์ หมายถึง พระสมุทรเจดีย์ที่สร้างอยู่กลางแม่น้ำ� ภายในเจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ และพระไตรปิฎก พระอุโบสถ หมายถึง พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร

ต้นไม้ประจำ�จังหวัดสมุทรปราการ

ต้นโพทะเล ลักษณะทั่วไปและถิ่นกำ�เนิด

ต้นโพทะเลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เปลื อ กสี น้ำ � ตาลอ่ อ นอมชมพู ข รุ ข ระใบเป็ น ใบเดี่ ย วเรี ย ง สลับแผ่นใบรูปหัวใจดอกสีเหลืองขนาดใหญ่ออกตามง่าม ใบออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนผลโตขนาด4 ซ.ม.มี ถิ่ น กำ � เนิ ด บริ เ วณป่ า ชายเลนทางภาคใต้ แ ละภาค ตะวันออกเฉียงใต้

ต้นดาวเรือง ลักษณะทั่วไปและถิ่นกำ�เนิด

ต้นดาวเรือง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี ลำ� ต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ลำ�ต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่อง ทั้งต้นเมื่อนำ�มาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำ�ให้แมลงไม่ค่อย มารบกวนและจัดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ดาวเรืองมีถิ่น กำ�เนิดอยู่ที่ประเทศเม็กซิโกต่อมามีคนนำ�เข้าไปปลูกในแถบ ประเทศยุโรปและเอเชียใต้รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

คำ�ขวัญประจำ�จังหวัด ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ� ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์ พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม

ANNUAL REPORT 2021 5


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

๑.๓ ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสมุทรปราการ

1.3.1.1 ที่ตั้งและขนาดพื้นที่ จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ�เจ้าพระยา โดยอยู่ตอนปลายสุดของแม่น้ำ� เจ้าพระยาและเหนืออ่าวไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 – 14 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 – 101 องศาตะวันออก มีเนือ ้ ทีป ่ ระมาณ 1,004.092 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 627,557.50 ไร่ อยูห ่ า่ งจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวัน ออกเฉียงใต้ เป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งถ้าหากสังเกตแนวแบ่งเขตของจังหวัดสมุทรปราการตั้งแต่ อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ อำ�เภอพระประแดง ไปจรดอำ�เภอบางบ่อ ด้วยจินตนาการก็จะพบว่า จังหวัดสมุทรปราการมี รูปร่างคล้ายส่วนหัวและลำ�ตัวของ “ฮิปโปโปเตมัส” ที่หันหน้าออกสู่ฝั่งอ่าวไทยเพื่อคอยปกป้องประเทศชาติจากการ รุกรานของมวลหมู่ปัจจามิตร ด้วยจิตสำ�นึกและสัญชาติญาณรักษ์ถิ่นยิ่งชีพของตนเอง โดยพื้นที่ของจังหวัดฯ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ - ทิศเหนือติดกับกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 55.00 กิโลเมตร - ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย (พื้นที่ชายฝั่งทะเล) ระยะทาง 47.20 กิโลเมตร - ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง 42.60 กิโลเมตร - ทิศตะวันตกติดกับกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 34.20 กิโลเมตร

๑.๓.๒ ลักษณะทางกายภูมิภาค พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมี แม่น้ำ�เจ้าพระยาไหลผ่าน ไม่มีภูเขามีลำ�คลองรวม 63 สาย โดยเป็นคลองชลประทาน 15 สาย คลอง.ธรรมชาติ 48 สาย ใช้ประโยชน์ทางคมนาคมและการขนส่งทางน้ำ� รวมทั้งการประมงและการเกษตร กรรม จังหวัดฯ ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ (ป่าบก) มีแต่ป่าชายเลน ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) บริเวณริมแม่น้ำ�เจ้าพระยา บริเวณทั้งสองฝั่งเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำ�นาทำ�สวน และเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ� แต่ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนได้เปลี่ยนไปเป็นโรงงาน ที่อยู่อาศัย และเขตพาณิชยกรรมตาม สภาพสภาวะเศรษฐกิจด้านการค้า การลงทุน และชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ (2) บริเวณตอนใต้ชายติดทะเล เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของน้ำ�ทะเลท่วมถึง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นดินเหลวลุ่ม เหมาะแก่การทำ�ป่าจากป่าชายเลน และการเพาะเลี้ยงสัตว์ ชายฝั่ง (3) บริเวณที่ราบตอนเหนือและตะวันออก บริเวณนี้เป็นที่ราบกว้างใหญ่ สำ�หรับระบายน้ำ�และเก็บกักน้ำ� อำ�นวยประโยชน์ในด้านการชลประทาน การทำ�นา การเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำ� ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสนามบินสุวรรณภูมิ และมีธุรกรรมที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงหรือ Supply Chain ทั้งด้านการค้า การลงทุนภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมแปรรูป กิจกรรม Logistics และอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

6 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

๑.๓.๓ สภาพภูมิอากาศ จังหวัดสมุทรปราการมีสภาพภูมิอากาศแบบพื้นที่ชายทะเล ในฤดูร้อนมีความชื้นในอากาศสูง เนื่องจากอิทธิพล ของลมทะเลและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนมีฝนตกมาก ฤดูหนาวก็ไม่หนาวจนเกินไป อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 32.60 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำ�สุด 28.91 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 29.75 องศาเซลเซียส

๑.๓.๔ การใช้ประโยชน์ที่ดินจากผังเมืองรวม จังหวัดสมุทรปราการได้มีการใช้ผังเมืองรวม สมุทรปราการ ฉบับปี พ.ศ. 2556 โดยประกาศเป็นกฎุกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมื อ งรวมจั งหวั ด สมุ ทรปราการ พ.ศ. 2556 ตามที ่ ไ ด้ ป ระกาศให้ ม ี ผ ลบั ง คั บ ใช้ แล้ ว ตั ้ ง แต่ ว ั น ที ่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ตามกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ผังเมืองรวมสมุทรปราการ ได้กำ�หนดแผนผังกำ�หนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำ�แนกประเภทไว้ 13 ประเภท ซึ่งผังเมืองรวมในปัจจุบันจะไม่กำ�หนดอายุการใช้บังคับแต่จะต้องจัดทำ�รายงานการประเมินผลผังเมืองรวมทุกห้าปี และทำ�การปรับปรุงผังเมืองรวม ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558

จังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบันถือเป็นเมืองอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งมีความต้องการใช้แรงงานภาคอุตสาหกรรม จำ�นวนมากมีทักษะฝีมือและต่ำ�กว่าจากนอกพื้นที่และในพื้นที่ ทั้งประเภทไปเช้า-เย็นกลับ และมาพักค้างคืน ประกอบกับ เมื่อ 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดฯ ทั่วประเทศ แต่จังหวัดสมุทรปราการไม่ได้รับผลกระ ทบจากอุทกภัยดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดการขยายตัวของชุมชนที่อยู่อาศัยเดิมและเกิดชุมชนที่อยู่อาศัยใหม่ ทั้งในรูป แบบหมู่บ้านจัดสรร บ้านเช่า ห้องเช่า คอนโดมิเนียม อาคารชุด บ้านเอื้ออาทร ทำ�ให้มีประชาชนมาอยู่อาศัยอยู่ในจังหวัด หนาแน่นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงการเอื้ออาทร ทั้ง 17 โครงการ มีที่อยู่อาศัย 30,557 แห่ง รวม ทั้งเป็นแหล่งสะสม Land bank ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มประชาชนที่มีรายได้หรือเงินออมสูง ซึ่ง จะส่งผลต่อแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรและราคาที่ดินแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้ เมื่อมีการเปิดใช้เส้นทาง รถไฟฟ้า ช่วงแบริ่ง-การเคหะสมุทรปราการ และการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน โครงข่ายรถไฟฟ้าสวยสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำ�โรง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่มี อยู่ไม่สามารถรองรับได้อย่างเพียงพอ เกิดปัญหาการจราจรติดขัด บริการสาธารณะต่าง ๆ ไม่เพียงพอ เกิดผลกระ ทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ดังนั้น จึงเป็นปัญหาสำ�คัญที่จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำ�เนิน การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการรองรับการขยายตัวแบบก้าวกระโดดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ANNUAL REPORT 2021 7


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

๑.๔ ด้านการปกครอง ๑.๔.๑ การปกครอง แบ่งเขตการปกครองภายในจังหวัด ออกเป็น 6 อำ�เภอ ซึ่งมี 50 ตำ�บล 394 หมู่บ้าน โดยมีองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจำ�นวน 48 แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล จำ�นวน 22 แห่ง (1 เทศบาลนคร 7 เทศบาลเมือง และ 14 เทศบาลตำ�บล) และองค์การบริหารส่วนตำ�บล จำ�นวน 27 แห่ง สามารถจำ�แนกตามรายอำ�เภอได้ดังนี้ (1) อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ ประกอบด้วย เทศบาล 10 แห่ง : เทศบาลนครสมุทรปราการ เทศบาล เมืองปากน้ำ�สมุทรปราการ เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ เทศบาลเมืองแพรกษา เทศบาลตำ�บลสำ�โรงเหนือ เทศบาลตำ�บล บางปู เทศบาลตำ�บลด่านสำ�โรง เทศบาลตำ�บลบางเมือง เทศบาลตำ�บลแพรกษา และเทศบาลตำ�บลเทพารักษ์ อบต. 2 แห่ง : แพรกษา บางด้วน และบางโปรง (2) อำ�เภอบางบ่อ ประกอบด้วย เทศบาล 4 แห่ง : เทศบาลตำ�บลบางบ่อ เทศบาลตำ�บลคลองสวนเทศบาล ตำ�บลคลองด่าน และเทศบาลตำ�บลบางพลีน้อย อบต. 6 แห่ง : บางเพรียง บ้านระกาศ คลองด่าน บางบ่อ คลอง นิยมยาตรา คลองสวน และเปร็ง (3) อำ�เภอบางพลี ประกอบด้วย เทศบาล 2 แห่ง : เทศบาลเมืองบางแก้ว เทศบาลตำ�บลบางพลี อบต. 5 แห่ง : บางพลีใหญ่ บางโฉลง บางปลา ราชาเทวะ และหนองปรือ (4) อำ�เภอพระประแดง ประกอบด้วย เทศบาล 3 แห่ง : เทศบาลเมืองพระประแดง เทศบาลเมืองลัดหลวง และเทศบาลเมืองปูเ่ จ้าสมิงพราย อบต. 6 แห่ง : ทรงคนอง บางกระสอบ บางยอ บางน้ำ�ผึง้ บางกะเจ้า และบางกอบัว (5) อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ ประกอบด้วย เทศบาล 2 แห่ง : เทศบาลตำ�บลพระสมุทรเจดีย์และเทศบาตำ�บล แหลมฟ้าผ่า อบต. 4 แห่ง : บ้านคลองสวน ในคลองบางปลากด แหลมฟ้าผ่า และนาเกลือ (6) อำ�เภอบางเสาธง ประกอบด้วย เทศบาล 1 แห่ง : เทศบาลตำ�บลบางเสาธง อบต.3 แห่ง : บางเสาธง ศีรษะจรเข้น้อย และศีรษะจระเข้ใหญ่

๑.๔.๑ การบริหารราชการในพื้นที่จังหวัดฯ มีหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ (1)ส่วนราชการสังกัดส่วนภูมิภาค มีจำ� นวน 31 หน่วยงาน (2)ส่วนราชการสังกัดส่วนกลาง มีจำ� นวน 52 หน่วยงาน (3)ส่วนราชการสังกัดส่วนท้องถิ่น มีจำ�นวน 48 หน่วยงาน (4)ส่วนราชการอิสระ มีจำ� นวน 5 หน่วยงาน (5)รัฐวิสาหกิจ มีจำ� นวน 15 หน่วยงาน

8 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

๑.๕ โครงสร้างพื้นฐานและการเข้าถึงการบริการ ๑.๕.๑ การคมนาคมและการขนส่ง (๑) กรมทางบก

(๑.๑) ทางหลวงสายหลัก

ทางหลวงสายหลักซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงสมุทรปราการที่สำ�คัญ ในพื้นที่มีทั้งหมด 17 สายทาง ซึ่งมีระยะทางรวม 219.62 กิโลเมตร ได้แก่ (1) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) (2) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 34 (ถนนบางนา – ตราด) (3) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) (4) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 354 (ทางแยกเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ด้านทิศตะวันตก) (5) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3104 (ถนนเพชรหึงส์) (6) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3113 (ถนนปู่เจ้าสมิงพราย) (7) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3116 (ถนนบางปิ้ง-แพรกษา) (8) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3117 (ถนนปานวิถี) (9) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3243 (ถนนแหลมฟ้าผ่า) (10) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3344 (ถนนศรีนครินทร์) (11) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3256 (ถนนกิ่งแก้ว) (12) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3268 (ถนนเทพารักษ์) (13) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3413 (ถนนเลี่ยงเมืองบางบ่อ) (14) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3701 (ทางบริการพิเศษสายมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) (15) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3702 (ทางบริการพิเศษสายมอเตอร์เวย์ด้านขวา) (16) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3901 (ทางบริการถนนกาญจนาภิเษกด้านซ้าย) (17) ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3902 (ทางบริการถนนกาญจนาภิเษกด้านขวา)

(๑.๒) ทางหลวงสายรอง ทางหลวงสายรอง ที่อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการที่สำ�คัญ ในพื้นที่มีทั้งหมด 13 สายทาง ซึ่งมีระยะทางรวม 95.591 กิโลเมตร 1. แยก ทล.หมายเลข 314 (กม.ที่ 14.800) - บ้านลาดกระบัง (ตอนสมุทรปราการ) 2. แยก ทล.หมายเลข 34 (กม.ที่ 18.165) - อ่อนนุช 3. แยก ทล.หมายเลข 3344(กม.ที่15.568) - บ้านบางพลีใหญ่ 4. แยก ทล.หมายเลข 34 (กม.ที่ 26.150) - ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 5. แยก ทล.หมายเลข ฉช. 3001 (กม.ที่ 11.485) - บ้านคลองนิยมยาตรา 6. แยก ทล.หมายเลข 3 (กม.ที่ 60.250) - บ้านบางพลีน้อย 7. แยก ทล.หมายเลข 3 (กม.ที่52.600) - เคหะบางพลี 8. แยก ทลช.หมายเลข สป.5004 (กม.ที่ 3.520) - บ้านเทพราช 9. แยก ทล.หมายเลข 3256 (กม.ที่ 17.085) - วัดกิ่งแก้ว 10. แยก ทล.หมายเลข 3344 (กม.ที่ 13.750) - สุขุมวิท 11. เชื่อมทางหลวงหมายเลข 3243 (กม.ที่ 5.317) - บางขุนเทียน 12. แยก ทล.หมายเลข 3 (กม.ที่ 49.035) - เทพารักษ์ 13. แยก ทล.หมายเลข 34 (กม.ที่ 29.800) - รร.คลองหลุมลึก

ANNUAL REPORT 2021 9


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

(๑.๓) เส้นทางการคมนาคมอื่น ๆ ที่สำ�คัญ จังหวัดสมุทรปราการนอกจากจะมีทางหลวงสายหลัก-สายรองแล้ว ยังมีทางหลวงพิเศษซึง่ อยูใ่ นความรับผิดชอบ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่ ทางพิเศษสายมอเตอร์เวย์ และทางด่วนกาญจนาภิเษก ทีเ่ ชือ ่ มต่อสาย บางพลีสุขสวัสดิ์ ทางพิเศษบูรพาวิถี ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม พร้อมทัง้ มีสะพานแขวน ข้ามแม่นำ้ �เจ้าพระยา จำ�นวน 2 แห่ง คือ สะพานกาญจนาภิเษก และสะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2 รวมทั้ง ทางเชื่อมเส้นทางด่วนกาญจนาภิเษกสาย บางพลี-สุขสวัสดิ์ กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (ช่วงบางหัวเสือ) และทางพิเศษบูรพาวิถี (ช่วงด่านบางแก้ว) และมี โครงข่ายเชื่อมโยงถนนสายหลักสายรองที่ถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล จำ�นวนทั้งสิ้น 82 สายทาง ซึ่งเส้นทางคมนาคมหลักในจังหวัดฯ จะใช้ในการขนส่งสินค้าของภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรของจังหวัดฯ และพื้นที่ติดต่อใกล้เคียง ทำ�ให้มีปริมาณการจราจรหนาแน่นและติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วนส่งผลให้เกิดวิกฤตด้านการ จราจรอย่างหนัก ประกอบกับจังหวัดฯ ได้มีการประกาศใช้ผังเมืองรวมสมุทรปราการ ฉบับปี พ.ศ. 2556 ซึ่งได้ กำ�หนดแผนผังโครงการคมนาคม และขนส่งในพื้นที่ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 -วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562

(๒) การคมนาคมทางน้ำ� จังหวัดสมุทรปราการมีทา่ เทียบเรือขนส่งโดยสารสาธารณะ และท่าขนส่งสินค้าทีส ่ ำ�คัญ รวม 30 แห่ง และมีทา่ เทียบ เรือขนาดเกินกว่า 500 ตันจำ�นวน 55 ท่าโดยมีทา่ เทียบเรือทีส ่ ำ�คัญ ดังนี้ - ท่าเรือวิบล ู ย์ศรี ตัง้ อยูท ่ ต ่ี ำ�บลปากน้ำ� อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ - ท่าเรือพระประแดง ตัง้ อยูท ่ ห ่ี น้าทีว่ า่ การอำ�เภอพระประแดง - ท่าเรือคลองด่าน ตัง้ อยูท ่ ต ่ี ำ�บลคลองด่าน อำ�เภอบางบ่อ - ท่าห้องเย็น ตัง้ อยูท ่ ต ่ี ำ�บลท้ายบ้าน อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ - ท่าสะพานปลา ตัง้ อยูท ่ ต ่ี ำ�บลท้ายบ้าน อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ - ท่าเรือข้ามฟากเภตรา ใช้บรรทุกยานพาหนะข้ามฟากระหว่างอำ�เภอพระประแดงฝัง่ ตะวันตก และตะวันออก - ท่าเรืออายิโนะโมโต๊ะ อยูใ่ นเขตอำ�เภอพระประแดง ใช้บรรทุกยานพาหนะข้ามฟากไปยังบริเวณท่าเรือข้ามฟาก เภตรา อำ�เภอพระประแดง

10 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

(๓) การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดสมุทรปราการมี ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi International Airport) ซึ่ง เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศที่สำ�คัญของประเทศไทย ภูมิภาค และของโลก ตั้งอยู่ในเขตตำ�บลหนองปรือ และตำ�บลราชาเทวะ อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร เปิดใช้งาน วันที่ 28 กันยายน 2549 นับเป็นท่าอากาศยานที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดของไทย (เนื้อที่ 20,000 ไร่) มีปริมาณ ผูโ้ ดยสารสูงถึง 58 ล้านคนต่อปี รองรับเทีย ่ วบิน 76 เทีย ่ วต่อชัว ่ โมง และรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ 3 ล้าน ตันต่อปี ขณะนี้กำ�ลังขยายเฟส 2 เพื่อเพิ่มหลุมจอดอีก 28 หลุมจอด และเพิ่มทางวิ่งจาก 2 รันเวย์เป็น 4 รันเวย์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 85 ล้านคนต่อปี และเป็นส่วนสำ�คัญใน การ ผลักดันให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นศูนย์กลาง ด้านการบินของภูมิภาค โดยท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบินประตูสู่เอเชีย และเป็นแหล่งกำ�เนิดกิจกรรมการขนส่งขนาดใหญ่ที่เป็นเขต อุตสา หกรรมหนาแน่น เขตพาณิชยกรรม เขตแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตคาดว่าแหล่งกำ�เนิดกิจกรรมเหล่านี้จะขยายตัว และ ก่อให้เกิดปริมาณการเดินทางหลากหลายรูปแบบ

(๔) การคมนาคมระบบราง

(๔.๑) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม. ดำ�เนินการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ รวมเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง- สมุทรปราการ มีโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบ ยกระดับตลอดเส้นทาง ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) แนว เส้นทางเริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ส่วนต่อขยายสาย สุขุมวิท ตอนที่ 1 ช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง บริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่าน คลองสำ�โรง ผ่านแยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงบริเวณจุดตัดกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้าน ใต้แนวจะเบี่ยงจากเกาะกลางไปทางทิศตะวันตกของถนนสุขุมวิท เพื่อข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นจึงเบี่ยงกลับ มาอยู่ในแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนถึงจุดสิ้นสุด โครงการบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตก และลดระดับเพื่อเข้า ศูนย์ซ่อมบำ�รุง สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่ สถานีสำ�โรง สถานี ปู่เจ้าสมิงพราย สถานีช้างเอราวัณ สถานีโรงเรียนนายเรือ สถานีปากน้ำ� สถานีศรีนครินทร์ สถานีแพรกษา สถานีสาย ลวด และสถานีเคหะสมุทรปราการ โดยบางสถานีจะเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่น ๆ เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถ เดินทางได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังมีบันไดเลื่อน ลิฟต์ ห้องน้ำ� ป้ายประชาสัมพันธ์และสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อผู้พิการอีกด้วย

ปัจจุบันการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 สามารถ ช่วยอำ�นวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนที่มาพักอาศัยประกอบธุรกรรมและท่องเที่ยวในพื้นที่ รวมทั้ง สามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้อีกทางหนึ่ง

ANNUAL REPORT 2021 11


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

(๔.๓) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำ�โรง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำ�โรง เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดีย ่ ว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตรรวม 23 สถานี มีจด ุ ประสงค์เพือ ่ เชือ ่ มต่อการเดินทางระหว่างสายสีนำ้ �เงินทีส ่ ถานีรชั ดา(สถานีลาดพร้าว ของสายสีนำ้ �เงิน)กับระบบขนส่ง มวลชน 4 สาย คือ สายสีเทาของกรุงเทพ สายสีส้มบริเวณทางแยกลำ�สาลี รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสายสีเขียว ช่วงแบริง่ -สมุทรปราการ ทีส ่ ถานีสำ�โรง โดยแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำ�โรง เริม ่ ต้นทีจ ่ ด ุ เชือ ่ มต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีนำ้ �เงินระยะแรก) ทีแ่ ยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว โดยเชือ ่ มต่อกับโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเทาของกรุงเทพมหานครทีแ่ ยกฉลองรัช และยกระดับข้ามทางด่วน ฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จาก นั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำ�สาลี ต่อจากนัน ้ แนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับ พระราม 9 โดยเชือ ่ มต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชือ ่ มต่อท่าอากาศ ยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนชุ แยกศรีอด ุ มสุข แยกศรีเอีย ่ ม จนถึงแยกศรี เทพา จากนัน ้ แนวเส้นทางจะเลีย ้ วขวา อีกครัง้ ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชือ ่ มต่อกับโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริง่ -สมุทรปราการ ทีส ่ ถานีสำ�โรง และสิน ้ สุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปูเ่ จ้าสมิงพราย รวมระยะ ทางทัง้ สิน ้ ประมาณ 30.4 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทง้ั หมด 23 แห่ง โรงจอดรถศูนย์ซอ ่ มบำ�รุง 1 แห่ง อาคารและ ลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพืน ้ ทีท ่ างแยกต่างระดับศรีเอีย ่ ม ซึง่ ตามแผนการก่อสร้างกำ�หนดแล้วเสร็จ

ภาพ : แนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำ�โรง

12 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ผลการดำ�เนินงานตามประเด็นการพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ANNUAL REPORT 2021 13


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการใช้งบประมาณตามยุทธศาสตร์ชาติประจำ�ปี พ.ศ. 2564 จังหวัดสมุทรปราการได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบประมาณรวม 346,964,700 บาท ประกอบด้วย 9 โครงการ 14 กิจกรรมหลัก 20 กิจกรรมย่อย งบประมาณ 337,964,700 บาท และค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ งบประมาณ 9,000,000 บาท 1) ผลการดำ�เนินงาน : ดำ�เนินการแล้วเสร็จ 8 โครงการ เบิกจ่ายงบประมาณแล้ว 86,828,149.80 บาท จำ�แนก เป็น งบลงทุน 5 โครงการ งบประมาณ 85,413,663 บาท งบดำ�เนินงาน 3 โครงการ งบประมาณ 1,414,486.80 บาท อยู่ระหว่างดำ�เนินงาน 12 โครงการ คงเหลืองบประมาณยังไม่ได้เบิกจ่าย 190,650,844.93 บาท 2) ภาพรวมผลการเบิกจ่ายงบประมาณ : ดำ�เนินการแล้วเสร็จ 8 โครงการ มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณรวม 149,297,728.37 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.03 ของวงเงินที่ได้รับจัดสรร อยู่ระหว่างดำ�เนินโครงการ 12 โครงการ และมีเงินเหลือจ่ายจำ�นวน 7,920,390.70 บาท โดยจำ�แนกตามผลผลิต/โครงการ ได้ดังนี้

โครงการ

งบประมาณ ผลการเบิก เงินเหลือจ่าย หมายเหตุ (บาท) จ่าย (บาท) (บาท) 1. ผลผลิต/โครงการบริหารจัดการและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในทุกมิติ จำ�นวน 1 โครงการ 1) การเพิ่มทักษะด้านการบริหารจัดการและส่ง 4,108,300 อยู่ระหว่าง เสริมการตลาดกลุ่มผู้ผลิต OTOP ให้สามารถ ดำ�เนินการ ดำ�เนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ผลผลิต/โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ จำ�นวน 8 โครงการ 2) ปรับปรุงไฟฟ้าแสงสว่างถนนสาย สป.2001 19,800,000 19,798,400 1,600 แยก ทล.34-บ้านลาดกระบัง อำ�เภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 79,300,000 11,429,700 3,102,000 3) บูรณะปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงระหว่าง ภาค ทางหลวงหมายเลข 370 ตอนทางเข้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-บางวัว ระหว่าง กม.0+000 ถึง กม.2+742 ตำ�บลบางโฉลง อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ปริมาณงาน 2.742 กิโลเมตร 3,156,000 4) บูรณะปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างภาค 65,800,000 9,396,600 ทางหลวงหมายเลข 3113 ตอนสำ�โรง-สะพาน ภูมิพล ระหว่าง กม.0+000 ถึง กม.6+300 ตำ�บล บางหญ้าแพรก อำ�เภอพระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ ปริมาณงาน 6.300 กิโลเมตร

14 ANNUAL REPORT 2021

ดำ�เนินการ แล้วเสร็จ อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ

อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

1,173,000 5) บูรณะปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างภาค 15,000,000 13,825,263 ทางหลวงหมายเลข 34 (ทางหลักด้านซ้ายทาง) ตอนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-บางวัว ระหว่าง กม.27+500 ถึง กม.29+000 ตำ�บลบางบ่อ อำ�เภอ บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ปริมาณงาน 1.500 กิโลเมตร 32,300,000 13,865,581.84 10,000 6) ปรับปรุงซ่อมแซมถนนลาดยางแอสฟัลติก คอนกรีตถนนสาย สป.1006 แยก ทล.3-เคหะ บางพลี อำ�เภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 3.400 กิโลเมตร ผิวจราจรกว้าง 14.00 เมตร หนา 0.05 เมตร (ขนาด 4 ช่อง จราจร) พร้อมติดตั้งอุปกรณ์อำ�นวยความ ปลอดภัยตามแบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท 5,500,000 5,390,000.00 110,000 7) ปรับปรุงซ่อมแซมถนนสายแยกทางหลวง ชนบท สาย สป.1006-สถาบันการแพทย์จักรี นฤบดินทร์ อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 0.500 กิโลเมตร ผิวจราจรกว้าง 6.00 เมตร ไหล่ทาง ค.ส.ล. กว้างข้างละ 1.00 เมตร หนา 0.20 เมตร พร้อมติดตั้งอุปกรณ์อำ�นวย ความปลอดภัยตามแบบมาตรฐานกรมทางหลวง ชนบท 8,250,000 8,220,000.00 30,000 8) ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายใน โครงการลูกพระดาบส อำ�เภอบางพลี จังหวัด สมุทรปราการ ระยะทาง 2.000 กิโลเมตร ผิว จราจรกว้าง 4.00 เมตร หนา 0.20 เมตร พร้อม ติดตั้งอุปกรณ์อำ�นวยความปลอดภัยตามแบบ มาตรฐานกรมทางหลวงชนบท 38,200,000 38,180,000 20,000 9) ปรับปรุงซ่อมแซมถนนลาดยางแอสฟัลติก คอนกรีตสาย สป.2001 แยก ทล.34-บ้านลาด กระบัง อำ�เภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 3.750 กิโลเมตร ผิวจราจรกว้าง 14.00 เมตร หนา 0.05 เมตร (ขนาด 4 ช่อง จราจร) พร้อมติดตั้งอุปกรณ์อำ�นวยความ ปลอดภัยตามแบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท

ANNUAL REPORT 2021 15

ดำ�เนินการ แล้วเสร็จ

อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ

ดำ�เนินการ แล้วเสร็จ

ดำ�เนินการ แล้วเสร็จ

ดำ�เนินการ แล้วเสร็จ


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

3. ผลผลิต/โครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในระดับประเทศและสากล จำ�นวน 3 โครงการ 10) ส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้านไทย สืบสาน 400,000 วัฒนธรรม ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 11) ท่องเที่ยวมุมมองใหม่ : สมุทรปราการ... 1,189,300 เมืองหลากวิถีรวม 4 ชาติพันธุ์ 12) ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัด 595,300.00 สมุทรปราการ 4. ผลผลิต/โครงการเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน จำ�นวน 5 โครงการ 13) สร้างการรับรู้ด้านกฎหมาย กระบวนการ 312,400 ยุติธรรม และการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ แก่ เครือข่ายชุมชน อาสาสมัครชุมชน และประชาชน ทั่วไป 14) อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมาย 301,800 แรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและแนวทางใน การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว 15) รณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้าน 953,000

อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ

อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ 301,800

949,000.00

ดำ�เนินการ แล้วเสร็จ 4,000

ยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ประจำ�ปี 2564

ดำ�เนินการ แล้วเสร็จ

จังหวัดสมุทรปราการ 16) ปลูกฝังจิตสำ�นึกในการปกป้องและเชิดชู 3,396,000 อยู่ระหว่าง สถาบันพระมหากษัตริย์จังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินการ 17) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ระหว่าง 264,000 163,686.80 100,313.20 ดำ�เนินการ นายจ้าง ลูกจ้าง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา แล้วเสร็จ ความขัดแย้งด้านแรงงานในสถานประกอบกิจการ 5. ผลผลิต/โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเสริมศักยภาพด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำ�นวน 3 โครงการ 18) ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร ปลอดภัยและได้มาตรฐานด้านพืช ประมง

14,797,400 4,629,378.72 13,477.50

ปศุสัตว์

16 ANNUAL REPORT 2021

อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

19) ก่อสร้างเขื่อนเรียงหินป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่งทะเล หมู่ที่ 2 ตำ�บลบางปู อำ�เภอเมือง สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ความยาว 470.00 เมตร

45,030,000. 15,977,412

200,000

อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ

- สัญญาที่ สป 0022/1/2564 ลว.19 ก.พ.64 เริ่มต้นสัญญา 20 ก.พ.64 - 16 พ.ย.64 จำ�นวน 85 งวดงาน (ระยะเวลา 270 วัน) - บริษัท แอล.พี.พี.ซีวิล คอนสตรัคชั่น จำ�กัด 20) อบรมสัมมนาผู้ประกอบการและจัดงานเผย แพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและ ผลิตภัณฑ์ชุมชน (แสดงและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์)

2,467,200

67,700

ประกอบด้วย 2 กิจกรรม 1) อบรมสัมมนาผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และจำ�หน่าย ผลิตภัณฑ์ รายการค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ 21) ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัด 9,000,000 แบบบูรณาการ

7,103,206.01 -

ส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันในภูมิภาค เขตเศรษฐกิจอาเซียน และประเทศคู่เจรจาการค้ากับเขตเศรษฐกิจอาเซียน โดยพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ANNUAL REPORT 2021 17

อยู่ระหว่าง ดำ�เนินการ


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2.1 ส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันในภูมิภาคเขตเศรษฐกิจ อาเซียน และประเทศคู่เจรจาการค้ากับเขตเศรษฐกิจอาเซียน โดยพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการอบรมหลักสูตร การสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพาะฟักโดยวิธีการผสมเทียม และการอนุบาล ลูกปลาสลิด ภายใต้ตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดสมุทรปราการ ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ด้วยจังหวัดสมุทรปราการ ได้อนุมัติโครงการตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัด ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีโครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน กิจกรรมหลักการส่งเสริมการ ผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานด้านพืช ประมง ปศุสต ั ว์ กิจกรรมย่อยส่งเสริมการผลิตและแปรรูป สินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานด้านพืช ประมง ปศุสต ั ว์ งบประมาณ 14,797,400 บาท (โครงการบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์) ได้เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติแล้ว ซึง่ ภายใต้โครงการฯ กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและแปรรูปปลาสลิดเพือ ่ การค้า มีสำ�นักงานประมงจังหวัด สมุทรปราการรับผิดชอบดำ�เนินการ โดยมุง่ หวังส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรผูเ้ พาะเลีย ้ งปลาสลิด ให้ได้รบ ั ความรูด ้ า้ น การจัดการระบบผลิตตามมาตรฐาน การจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ� ตั้งแต่ การเพาะฟักโดยวิธีการผสมเทียม การอนุบาล ลูกปลาสลิดทีม ่ ค ี ณ ุ ภาพและได้มาตรฐาน ดังนัน ้ กลุม ่ พัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง จึงจัดการอบรมหลักสูตรการสร้างความรูค ้ วามเข้าใจในการเพาะ ฟักโดยวิธก ี ารผสมเทียมและการอนุบาลลูกปลาสลิด เพือ ่ ถ่ายทอดองค์ความรูด ้ า้ นการอนุบาลและการเพาะพันธุป ์ ลาสลิด ให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสลิดในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการได้มีโอกาสฝึกทักษะการเพาะเลี้ยงปลาสลิดจริง และสามารถนำ�องค์ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงปลาสลิดไปพัฒนาด้านการ เพาะเลี้ยงปลาสลิดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสลิดในเขตพื้นที่ จังหวัดสมุทรปราการ จำ�นวน 50 ราย ส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน

18 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ภาพการจัดอบรมหลักสูตร “การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมแปรรูปปลาสลิดได้มาตรฐาน” ภายใต้กิจกรรมหลักส่งเสริมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ ปี 2564

ANNUAL REPORT 2021 19


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

โครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนประมง (กิจกรรมพัฒนาอาชีพชุมชนประมง) ประจำ�ปีงบประมาณ 2564 โครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนประมง (กิจกรรมพัฒนาอาชีพชุมชนประมง) เป็น โครงการตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำ� เนินการโดยกรมประมง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ ชุมชนประมงพื้นบ้านที่จดทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านประมงชายฝั่ง ตามมาตรา 25 แห่งพระราช กำ�หนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กับกรมประมงเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ� เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ�ในทะเลชายฝั่ง การทำ�การประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน การพัฒนาปรับปรุงการจับสัตว์น้ำ� การ เพิ่มมูลค่าสินค้าสัตว์น้ำ�จากการจับ การพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน ตลอดทั้งการพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนประมงท้องถิ่น (Fisherman Village Resort) สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ของ ชาวประมง เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาชีพประมงพื้นบ้าน และความมั่นคงทางด้านอาหารสัตว์น้ำ� ให้ กับชุมชน คัดเลือกองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเพื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ประมง (กิจกรรมพัฒนาอาชีพชุมชนประมง) ประจำ�ปีงบประมาณ 2564 ผลการดำ � เนิ น งาน สำ � นั ก งานประมงจั ง หวั ด สมุ ท รปราการ ดำ � เนิ น การคั ด เลื อ กองค์ ก รชุ ม ชนประมงท้ อ ง ถิ่นเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ จำ�นวน 3 ชุมชน ได้แก่ 1. กลุม ่ สีลง้ รักท้องถิน ่ 2. กลุม ่ เรือประมงอวนรุนเคยตำ�บลคลองด่าน 3. กลุม ่ ส่งเสริมอาชีพประมงชายฝัง่ ตำ�บลคลองด่าน

20 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

สำ�นักงานประมงจังหวัดโอนเงินงบประมาณ (งบเงินอุดหนุน) ให้กับองค์กร ชุมชนประมงท้องถิ่นด้านประมงชายฝั่งที่ได้รับการอนุมัติโครงการ/กิจกรรม ผลการดำ�เนินงาน สำ�นักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินการโอนเงินงบประมาณ (งบอุดหนุน) ให้กับ องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ดังนี้ งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ จำ�นวนเงินที่โอน วันที่โอน 1. กลุ่มสีล้งรักท้องถิ่น 100,000 บาท 100,000 บาท 25 ก.พ. 64 2. กลุ่มเรือประมงอวนรุนเคย 100,000 บาท 50,000 บาท 25 ก.พ. 64 ตำ�บลคลองด่าน 50,000 บาท 11 พ.ค. 64 3. กลุ่มส่งเสริมประมงชายฝั่ง 100,000 บาท 100,000 บาท 19 ก.ค. 64 ตำ�บลคลองด่าน ผลการดำ�เนินงาน สำ�นักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล สมุทรปราการ ดำ�เนินการตรวจรับวัสดุ อุปกรณ์ ที่องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นดำ�เนินการจัดซื้อตามแผนปฏิบัติ งาน และแผนการใช้จ่ายตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ 1.กลุ่มสีล้งรักท้องถิ่น “กลุ่มสีล้งรักท้องถิ่น” ได้รับอนุมัติให้ดำ� เนินงานโครงการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมง (อวนลอย) ภายใต้ กิจกรรม การปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่เหมาะสมและถูกกฎหมาย โดยการจัดซื้ออวนลอยปลาให้กับสมาชิก จำ�นวน 14 ราย จำ�นวนอวนลอยปลาที่จัดซื่อ ได้แก่ 1. อวนลอยปลา 1.6 นิ้ว ลึก 100 ตา จำ�นวน 77 ผืน และ2. อวนลอย ปลา 1.6 นิ้ว ลึก 150 ตา จำ�นวน 15 ผืน ได้ทำ�การมอบอวนลอยปลาให้กับสมาชิก เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564

2. กลุ่มส่งเสริมประมงชายฝั่งตำ�บลคลองด่าน “กลุ่มส่งเสริมประมงชายฝั่งตำ�บลคลองด่าน” ได้รับอนุมัติให้ดำ�เนินงานโครงการจัดซื้อเครื่องมือซ่อมแซม เครื่องมือ และเรือประมง ภายใต้กิจกรรมการสนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมแซมเครื่องมือทำ�การประมง และเรือประมง โดย การจัดซื้ออุปกรณ์ไว้สำ�หรับซ่อมแซมเครื่องมือทำ�การประมง และเรือประมง ไว้เป็นกองกลางสำ�หรับสมาชิกภายใน กลุ่มได้นำ�ไปใช้ ทำ�การมอบเครื่องมือให้กับกลุ่มฯ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564

ANNUAL REPORT 2021 21


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

3. กลุ่มเรือประมงอวนรุนเคยตำ�บลคลองด่าน “กลุ่มเรือประมงอวนรุนเคยตำ�บลคลองด่าน” ได้รับอนุมัติให้ดำ�เนินงานโครงการจัดซื้อเครื่องมือซ่อมแซม เครื่องมือ และเรือประมง ภายใต้กิจกรรมการสนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมแซมเครื่องมือทำ�การประมง และเรือประมง โดย การจัดซื้ออุปกรณ์ไว้สำ�หรับซ่อมแซมเครื่องมือทำ�การประมง และเรือประมง ไว้เป็นกองกลางสำ�หรับสมาชิกภายใน กลุ่มได้นำ�ไปใช้ ทำ�การมอบเครื่องมือให้กับกลุ่มฯ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564

โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน กิจกรรม ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัยและได้มาตรฐาน ผลการดำ�เนินงาน สำ�นักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินงานกิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการผลิตและ แปรรูปข้าวปลอดภัยและได้มาตรฐาน กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ประจำ� ปีงบประมาณ 2564 ดำ�เนินการในพื้นที่หมู่ที่ 7,8,9 ตำ�บลบางเสาธง อำ�เภอบางเสาธง เป้าหมายเกษตรกร จำ�นวน 30 ราย

ภาพกิจกรรม ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัยและได้มาตรฐาน

22 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

กิจกรรม ส่งเสริมการผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการคุณภาพเชิงการค้า ผลการดำ�เนินงาน 1. การผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้คุณภาพเชิงการค้า (ฟื้นฟูสวนเก่า) สำ�นักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินงานกิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้ สมุทรปราการเชิงการค้า กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป้าหมายเกษตรกร รวมจำ�นวน 20 ราย ดำ�เนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 4,5,6 ตำ�บลบางเพรียง อำ�เภอบางบ่อ เป้า หมายเกษตรกร จำ�นวน 20 ราย 2. การปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการ (สร้างสวนใหม่) สำ�นักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสิน ค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ประจำ� ปีงบประมาณ 2564 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการผลิตมะม่วงน้ำ� ดอกไม้ สมุทรปราการเชิงการค้า กิจกรรมย่อย อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกมะม่วงน้ำ� ดอกไม้คุณภาพเชิงการค้า (สร้างสวนใหม่) ดำ�เนินการในพื้นที่ 2 อำ�เภอ เป้าหมายเกษตรกร รวมจำ�นวน 50 ราย รายละเอียด ดังนี้ 1) หมู่ที่ 19 ตำ�บลบางพลีใหญ่ อำ�เภอบางพลี เป้าหมายเกษตรกร จำ�นวน 25 ราย 2) หมู่ที่ 14 ตำ�บลบางเสาธง อำ�เภอบางเสาธง เป้าหมายเกษตรกร จำ�นวน 25 ราย ผลผลิต (Output) 1) การผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการให้มีคุณภาพมาตรฐาน (ฟื้นฟูสวนเก่า) 1.1 เกษตรกรได้รับความรู้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้ให้มีคุณภาพมาตรฐาน จำ�นวน 20 ราย 1.2 มีแปลงสาธิต/เรียนรู้การผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้ให้มีคุณภาพมาตรฐาน จำ�นวน 1 แปลง 1.3 มีแปลงส่งเสริมการผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้ให้มีคุณภาพมาตรฐาน จำ�นวน 20 แปลง 1.4 เกษตรกรได้รบ ั ปัจจัยการผลิต สำ�หรับการผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้ให้มค ี ณ ุ ภาพมาตรฐาน จำ�นวน 20 ราย 2) การปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการ (สร้างสวนใหม่) 2.1 เกษตรกรได้รบ ั ความรูเ้ ทคโนโลยีการปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการ จำ�นวน 50 ราย 2.2 มีแปลงสาธิต/เรียนรูก ้ ารปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการ จำ�นวน 2 แปลง 2.3 มีแปลงส่งเสริมการปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการ จำ�นวน 50 แปลง 2.4 เกษตรกรได้รบ ั ปัจจัยการผลิต สำ�หรับการปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการ จำ�นวน 50 ราย 3. การปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการ (สร้างสวนใหม่) 2.1 เกษตรกรมีความรูเ้ รือ ่ งวิธป ี ฏิบต ั สิ ำ�หรับการดูแลรักษาต้นมะม่วงช่วงระยะเริม ่ ปลูก การจัดการเรือ ่ งการใส่ ปุย ๋ และการให้นำ้ �อย่างเหมาะสม โรคและแมลงศัตรูมะม่วงวิธก ี ารป้องกำ�จัดโรคแมลงศัตรูมะม่วง 2.2 มีแปลงเรียนรูก ้ ารปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการ เพือ ่ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรูข้ องเกษตรกรในพืน ้ ที่

ภาพกิจกรรม ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัยและได้มาตรฐาน

ANNUAL REPORT 2021 23


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

กิจกรรม ส่งเสริมการผลิตมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สมุทรปราการคุณภาพเชิงการค้า ผลการดำ�เนินงาน สำ�นักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินงานกิจกรรมส่งเสริมการผลิตมะพร้าวน้ำ�หอม เพื่ อ การค้ า กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม การผลิ ต และแปรรู ป สิ น ค้ า เกษตรปลอดภั ย และได้ ม าตรฐานด้ า นพื ช ประมงปศุ สั ต ว์ โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ดำ�เนินการในพืน ้ ทีห ่ มูท ่ ่ี 5 ตำ�บลคลองสวน อำ�เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป้าหมายเกษตรกร จำ�นวน 25 ราย ผลผลิต (Output) 1. เกษตรกรได้รับความรู้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำ�หอมเพื่อการค้า จำ�นวน 25 ราย 2. มีแปลงเรียนรู้/สาธิตการผลิตมะพร้าวน้ำ�หอมเพื่อการค้า จำ�นวน 1 แปลง 3. มีแปลงส่งเสริมการผลิตมะพร้าวน้ำ�หอมเพื่อการค้า จำ�นวน 25 แปลง 4. เกษตรกรได้รับปัจจัยการผลิต สำ�หรับการผลิตมะพร้าวน้ำ�หอมเพื่อการค้า จำ�นวน 50 ราย ผลลัพธ์ (Outcomes) 1. เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูก การดูแลรักษามะพร้าวน้ำ�หอมอย่างถูกต้องเหมาะสม วิธีการป้องกัน กำ�จัดโรคและแมลงศัตรู วิธีการใช้กับดักและสารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำ�จัดศัตรูมะพร้าวและวิธีการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำ�หรับมะพร้าวน้ำ�หอม 2. มีแปลงเรียนรู้การผลิตมะพร้าวน้ำ�หอมให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของ เกษตรกรในพื้นที่

ภาพกิจกรรม กิจกรรมส่งเสริมการผลิตมะพร้าวน้ำ�หอมเพื่อการค้า

24 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

กิจกรรม ส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับคุณภาพเพื่อการค้า ผลการดำ�เนินงาน 1. กิจกรรมส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับคุณภาพเพื่อการค้า สำ�นักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินงานกิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับคุณภาพ เพื่ อ การค้ า กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม การผลิ ต และแปรรู ป สิ น ค้ า เกษตรปลอดภั ย และได้ ม าตรฐานด้ า นพื ช ประมงปศุ สั ต ว์ โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดำ�เนินการในพืน ้ ทีห ่ มูท ่ ่ี 2 ตำ�บลบางเสาธง อำ�เภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เป้าหมายเกษตรกร จำ�นวน 25 ราย ผลผลิต (Output) 1) เกษตรกรได้รับความรู้เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่มีคุณภาพ จำ�นวน 25 ราย 2) มีแปลงเรียนรู้/สาธิตการผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่มีคุณภาพ จำ�นวน 1 แปลง 3) มีแปลงส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่มีคุณภาพ จำ�นวน 25 แปลง 4) เกษตรกรได้รับปัจจัยการผลิต สำ�หรับการผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่มีคุณภาพ จำ�นวน 25 ราย ผลลัพธ์ (Outcomes) 1. เกษตรกรมีความรู้เรื่องการคัดเลือกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับการเตรียม ดินและการผสมดิน การปลูก การดูแลและบำ�รุงรักษาไม้ดอกไม้ประดับ การทำ�น้ำ�หมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ การ ป้องกันกำ�จัดโรคและแมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับ การสร้างมูลค่าเพิ่มไม้ดอกไม้ประดับ เทคนิคการ พัฒนาการผลิตและคุณภาพไม้ดอกไม้ประดับ 2. มีแปลงเรียนรู้การผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเกษตรกรในพื้นที่ ผลกระทบ (Impact) 1. เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำ�ลายสภาพแวดล้อมของชุมชน 2. ทำ�ให้เกิดรายได้เพิม ่ เกิดความสวยงามในพืน ้ ทีแ่ ละชุมชน ซึง่ ทำ�ให้สามารถเชือ ่ มโยงกับแหล่งท่องเทีย ่ วเชิงเกษตรได้ ภาพกิจกรรม กิจกรรมส่งเสริมการผลิตมะพร้าวน้ำ�หอมเพื่อการค้า

ANNUAL REPORT 2021 25


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

กิจกรรม ส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ผลการดำ�เนินงาน สำ�นักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินงานกิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการผลิตผัก ปลอดภัยจากสารพิษ กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ประจำ� ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ดำ�เนินการในพื้นที่ 2 อำ�เภอ เป้าหมายเกษตรกร รวมจำ�นวน 30 ราย ดังนี้ 1) ตำ�บลปากน้ำ� บลบางด้วน ตำ�บลบางโปรง อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เกษตรกรจำ�นวน 15 ราย 2) หมู่ที่ 9 ตำ�บลบางยอ อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เกษตรกร จำ�นวน 15 ราย ดำ�เนินงานตามกิจกรรมโครงการดังกล่าว ดังนี้ ผลผลิต (Output) 1. เกษตรกรได้รับความรู้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยและได้มาตรฐาน จำ�นวน 30 ราย 2. มีแปลงเรียนรู้/สาธิตการผลิตผักปลอดภัยและได้มาตรฐาน จำ�นวน 2 แปลง 3. มีแปลงส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยและได้มาตรฐาน จำ�นวน 30 แปลง 4. เกษตรกรได้รับปัจจัยการผลิต สำ�หรับการผลิตผักปลอดภัยและได้มาตรฐาน จำ�นวน 30 ราย ผลลัพธ์ (Outcomes) 1. เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูก การดูแลรักษาพืชผักอย่างถูกต้องเหมาะสม วิธีการป้องกันกำ�จัดโรค และแมลงศัตรู วิธีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม และการตลาด 2. มีแปลงเรียนรู้การผลิตผักปลอดภัยและได้มาตรฐาน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเกษตรกรในพื้นที่ ผลกระทบ (Impact) 1. เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำ�ลายสภาพแวดล้อมของชุมชน และได้บริโภคผลผลิตที่ปลอดภัย ภาพกิจกรรม โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดสมุทรปราการ ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ

26 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่า เพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ปี 2564 ความเป็นมาโดยสรุป โครงการส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ปี 2564 เป็นโครงการบู รณาการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำ�นักงาน เกษตรจังหวัดสมุทรปราการ สำ� นักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ สำ� นักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรปราการ สำ�นักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรปราการ และสำ�นักงานพาณิชย์จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกันดำ�เนินการ ส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาสินค้าเกษตรเฉพาะถิ่นของจังหวัดให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน การแปรรูป การสร้าง มูลค่าเพิ่ม โดยการส่งเสริมให้ความรู้ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่เกษตรกร อย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมสินค้าเกษตร จำ�นวน 7 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว มะม่วง มะพร้าวน้ำ�หอม พืชผัก เป็ดปากน้ำ� ไก่พื้นเมือง และปลาสลิด รวมทั้งสร้างช่องทางการจำ�หน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยให้หลากหลายมาก ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนากลุ่มผู้ผลิตให้มีความสามารถด้านการผลิตและแปรรูปสินค้าปลอดภัยได้มาตรฐาน 2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร 3. เพื่อเพิ่มช่องทางการจำ�หน่ายสินค้าการเกษตร สร้างเครือข่ายและรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร สรุปผลการดำ�เนินงาน (โดยสรุป) สำ�นักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรปราการ รับผิดชอบกิจกรรมอำ�นวยการและติดตามผลการดำ�เนิน งาน โดยมีกิจกรรมย่อยในการจัดประชุมเพื่อบูรณาการโครงการและจัดทำ�สื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรปลอดภัย ซึ่งสำ�นักงานได้ดำ�เนินการจัดประชุมเพื่อบูรณาการโครงการไปแล้ว 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 เพื่อติดตามผลการดำ�เนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนที่กำ�หนด พร้อมร่วมกันพิจารณาปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ

รวมทั้งได้จัดทำ� สื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรปลอดภัย (Standy Mascot และหน้ากากผ้า) โดยแจกจ่ายให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมประชาสัมพันธ์ด้วย

ANNUAL REPORT 2021 27


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2.2 พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยยกระดับรายได้และการจัดการศึกษา สาธารณสุข ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้เพียงพอ เท่าเทียม และทั่วถึง พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยยกระดับรายได้และการจัดการศึกษา สาธารณสุข ศาสนาศิลปวัฒนธรรม สาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้เพียงพอ เท่าเทียมและทั่วถึง ความเป็นมาโดยสรุป แผนปฏิบัติราชการกระทรวงมหาดไทย ได้กำ�หนดทิศทางการดำ�เนินงานของกระทรวงมหาดไทยในฐานะกลไก สำ�คัญในการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล (Agenda) งานตามภารกิจ (Function) และงานในระดับพื้นที่ (Area) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประชาชนมีรากฐานการดำ�รงชีวิตและพัฒนาสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและสมดุล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีเป้าหมาย คือ 1) สังคมมีความสงบเรียบร้อยและปลอดภัย 2) ภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจมีขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) ชุมชนมีความสุข 4) สภาพแวดล้อมในพื้นที่มี คุณภาพเอื้อต่อการพัฒนา 5) องค์กรมีการบริหารจัดการที่ดีและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้มแข็ง กรมการ พัฒนาชุมชนมีภารกิจสำ�คัญในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง โดยมีผู้นำ�ชุมชน อาสาสมัคร กลุ่ม/องค์กร และเครือข่ายองค์กรชุมชน เป็นกลไกการพัฒนาในการบริหารจัดการชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชน ให้สามารถพึ่งตนเอง ได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชน พึ่งตนเองได้ภายในปี 2565”และสามารถนำ�องค์ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะ เลี้ยงปลาสลิดไปพัฒนาด้านการเพาะเลี้ยงปลาสลิดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงปลาสลิดในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ จำ�นวน 50 ราย ส่งเสริมการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า เกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน สรุปผลการดำ�เนินงานตามประเด็นการพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำ�เนินงานโครงการ “หนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP” มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบันมีผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำ�นวน 1,139 ราย/ 3,069 ผลิตภัณฑ์ โดยจังหวัด สมุทรปราการได้จัดทำ�โครงการส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ทั้งในด้านเทคนิคการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเป็นผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ จนมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การยอมรับมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถจำ�หน่ายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

1. ข้อมูลการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP - จังหวัดสมุทรปราการมีผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำ�นวนทั้งสิ้น 1,139 ราย/ 3,069 ผลิตภัณฑ์ รายละเอียดตามตารางแสดงข้อมูล ดังนี้

28 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 29


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2.การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP เพือ ่ ส่งเสริมให้ผผ ู้ ลิต ผูป ้ ระกอบการ OTOP ได้พฒ ั นาคุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มม ี าตรฐานสูงขึน ้ ตาม เกณฑ์การคัดสรรต่าง ๆ เป็นการสร้างระบบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP

ยอดจำ�หน่ายสินค้า OTOP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จังหวัดสมุทรปราการ มียอดจำ�หน่ายสินค้า OTOP ทั้งในประเทศและต่าง ประเทศของผลิตภัณฑ์ทุกประเภท จำ�นวน 5,092,766,257 ล้านบาท

30 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หลักการและเหตุผล ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 และนโยบายรัฐบาลที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอดและพัฒนาประเทศ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และจากสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาด ของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและโครงสร้างพื้นฐานที่จำ�เป็น ทำ�ให้เศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) เพิ่มปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำ�ทางสังคม ตลอดจน ระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงทางอาหารและน้ำ� ขณะที่ระบบนิเวศต่าง ๆ มีแนวโน้ม เสื่อมโทรมลง และมีแนวโน้มที่จะสูญเสียความสามารถในการรองรับความต้องการมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดทำ�โครงการพัฒนาหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และการพัฒนาหมู่บ้านที่ สมดุลสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้แทนครอบครัวพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมาย จำ�นวน 28 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 840 คน วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการนำ�หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระบบการ บริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการที่เข้มแข็งและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มั่นคง ระยะเวลาดำ�เนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) กิจกรรมและวิธีดำ�เนินการ

ANNUAL REPORT 2021 31


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

สรุปผลการดำ�เนินงาน จังหวัดสมุทรปราการ ได้น้อมนำ�หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาหมู่บ้านและ ชุมชนตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2564 ได้รับงบประมาณสำ�หรับดำ�เนินการโครงการ จำ�นวน 28 หมู่บ้าน โดยมีผู้แทนครอบครัวพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายได้รับการส่งเสริมในการนำ�หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงไปใช้เป็นแนวทางการดำ�เนินชีวิต รวมจำ�นวน 720 คน

32 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2.3 ส่งเสริมระบบ Logistics เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจอาเซียน และประเทศคู่เจรจาการค้ากับ เขตเศรษฐกิจอาเซียน โดยพัฒนาการบริหารจัดการ และปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ งานปรับปรุงซ่อมแซมถนนสายหลักที่ชำ�รุดหรือทรุดโทรม ความเป็นมาโดยสรุป ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในการพัฒนาประเทศกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ปริมณฑลจึงได้จัดทำ�แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัดและนำ�ไปสู่ การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้และประโยชน์ร่วมกันภายในกลุ่มจังหวัด โดยกำ�หนด ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไว้ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ “ส่งเสริมระบบ Logistics เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจอาเซียน และประเทศคู่เจรจาการค้ากับเขตเศรษฐกิจอาเซียน โดยพัฒนาการบริหารจัดการ และปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน” โดยกำ�หนดจุดยุทธศาสตร์การขนส่งด้านโลจิสติกส์ที่สามารถเชื่อมโยงเส้นทางอุตสาหกรรมไปสู่กรุงเทพมหานคร และให้ความสำ�คัญกับการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนและอุตสาหกรรมที่จะส่งเสริมให้กลุ่มจังหวัดมีศักยภาพในด้าน การแข่งขันและเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนในภาคกลาง จึงมุ่งเน้นในการพัฒนาเส้นทางสายหลักสายรอง และ สายย่อยให้เชื่อต่อกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล

1) โครงการบูรณะปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างภาค ทางหลวงหมายเลข 34 ตอน ตอนทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – บางวัว ระหว่าง กม.27+500 – กม.29+000 (ทางหลักด้านซ้ายทาง) ต.บางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ปริมาณงาน 1.500 กม. ได้รับการปรับปรุงทางหลวงเพื่อแก้ไขความเสีย หายของผิวทางจราจรและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายสูงและถนนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่มีความสะดวกและ ปลอดภัยต่อการสัญจรของประชาชนผู้ใช้เส้นทาง

ANNUAL REPORT 2021 33


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2) โครงการบูรณะปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างภาค ทางหลวงหมายเลข 370 ตอน ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – บางวัว ระหว่าง กม.0+000 – กม.2+742 ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ปริมาณงาน 2.742 กม. ได้รับการปรับปรุงทางหลวงเพื่อแก้ไขความเสียหายของผิวทางจราจร และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายสูงและถนนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่มีความสะดวกและปลอดภัยต่อการสัญจร ของประชาชนผู้ใช้เส้นทาง

3) โครงการบูรณะปรับปรุงทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างภาค ทางหลวงหมายเลข 3113 ตอน ตอน สำ�โรง – สะพานภูมิพล ระหว่าง กม.0+000 – กม.6+300 ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ปริมาณงาน 6.300 กม. ได้รับการปรับปรุงทางหลวงเพื่อแก้ไขความเสียหายของผิวทางจราจร และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายสูงและถนนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่01มีความสะดวกและปลอดภัยต่อการ สัญจรของประชาชนผู้ใช้เส้นทาง


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2.4.ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม โดยการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยว สินค้า การบริการและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและประทับใจของนักท่องเที่ยว ทุกกลุ่มเป้าหมาย (Tourism for All) สำ�นักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง/ประเด็น : การเยี่ยมชมมาตรฐานการให้บริการและแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของสถานประกอบ การ (Amazing Thailand Safety & Health Administration : SHA) ความเป็นมาโดยสรุป กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีข้อสั่งการให้สำ�นักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเข้าตรวจเยี่ยม มาตรฐานการให้บริการและแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของสถานประกอบการเพื่อเป็นการดำ�เนินงาน ตามโครงการแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety & Health Administration : SHA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการควบคุมโรค ทำ�ให้นักท่อง เที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีความมั่นใจในความปลอดภัยด้านสุขอนามัยจากสินค้า สิ่งของ เครื่องใช้ สถานที่ และบริการทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยนำ�มาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขผนวก กับมาตรฐานการให้บริการที่มีคุณภาพของสถานประกอบการ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาด เชื้อไวรัส COVID-19 และยกระดับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและบริการทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย เกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยในสถานประกอบการ ประกอบด้วย 10 ประเภท ดังนี้ 1. ประเภท กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว 2. ประเภท การจัดกิจกรรม/จัดประชุม/โรงละคร/โรงมหรสพ 3. ประเภท บริษัทนำ�เที่ยว 4. ประเภท นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว 5. ประเภท ภัตตาคาร/ร้านอาหารและสตรีทฟู้ด 6. ประเภท ยานพาหนะ 7. ประเภท ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ 8. ประเภท โรงแรม/ที่พักและสถานที่จัดประชุม 9. ประเภท ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า 10. ประเภท สุขภาพและความงาม จั ง หวั ด สมุ ท รปราการ มี ผ ู ้ ป ระกอบการที ่ ผ ่ า นการตรวจประเมิ น มาตรฐานความปลอดภั ย ด้ า นสุ ข อนามั ย Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) จำ�นวน 37 แห่ง สรุปผลการดำ�เนินงาน (โดยสรุป) สำ�นักงานการท่ อ งเที ่ ยวและกี ฬ าจั งหวั ด สมุ ท รปราการ ดำ � เนิ น การตรวจเยี ่ ย มมาตรฐานการให้ บ ริ ก ารและ แนวทางความปลอดภั ย ด้ า นสุ ข อนามั ย ของสถานประกอบการ (Amazing Thailand Safety & Health Administration : SHA) จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม - 7 เมษายน 2564 จำ�นวน 26 แห่ง การตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ผ่าน จำ�นวน 18 แห่ง ไม่เปิดให้บริการ จำ�นวน 7 แห่ง และเป็นสถานที่ กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine) จำ�นวน 1 แห่ง ดังนี้ (หน้าถัดไป)

ANNUAL REPORT 2021 35


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ลำ�ดับ

ชื่อสถานประกอบการ

ประเภท

ผ่าน

ควรปรับปรุง

หมายเหตุ

1

โรงแรม สยาม แมนดาริน่า

โรงแรม/ที่พักและสถานที่จัดประชุม

-

-

เป็น ASQ

2

สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ

ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

3

ธนาซิตี้ คันทรี คลับ

กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

4

จินเจอร์ ฟาร์ม คิชเช่น

ภัตตาคาร/ร้านอาหารและสตรีทฟู้ด

5

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ

นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว

6

บริษัท เมืองโบราณ จำ�กัด

นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว

7

เฮลท์แคร์บางนา

สุขภาพและความงาม

8

ศูนย์การค้าเมกาบางนา

ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

9

มาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ

ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

10

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาบางนา

ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

11

ควีนเลเธอร์

ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

        -

-

ไม่เปิดให้บริการ

12

บริษัท โฟร์ร็อกเก็ต จำ�กัด

บริษัทนำ�เที่ยว

13

โมเดิร์น เจมส์ อินเตอร์เนชั่นแนล

ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

ควีนเลเธอร์ (ไทยแลนด์)

ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

-

ไม่เปิดให้บริการ

14 15

โรยัลปาร์ค (ไทยแลนด์)

การจัดกิจกรรม/จัดประชุม/โรงละคร/โรง มหรสพ

16

เอเทรี่ยมสุวรรณภูมิ

โรงแรม/ที่พักและสถานที่จัดประชุม

-

ไม่เปิดให้บริการ

17

สนามกอล์ฟกรีนวัลเล่ คันทรีคลับ

กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

18

เฮลท์แคร์แอนด์สปา บางนา

สุขภาพและความงาม

19

สนามกอล์ฟเมืองแก้ว

กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

20

ฮาร์เบอร์แลนด์ เมกา บางนา

นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว

21

สนามกอล์ฟ ซัมมิท วินด์มิลล์ กอล์ฟ คลับ

กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

22

ทรู สมายล์ ทราแวล

บริษัทนำ�เที่ยว

บริษัท สมาย แพนเนท ทราเวล จำ�กัด

บริษัทนำ�เที่ยว

-

ไม่เปิดให้บริการ

23

     -

24

บริษัท ซีพี เอ็กซ์ไซท์ เอเชีย (2016) จำ�กัด

บริษัทนำ�เที่ยว

25

แม็งโกทรี สาขาสุวรรณภูมิ

ภัตตาคาร/ร้านอาหารและสตรีทฟู้ด

26

บจก. เลิฟทริป ทราเวลเลอร์

บริษัทนำ�เที่ยว

27

ซินเนอร์เจติค ออโต้ เพอร์ฟอร์มานซ์ จำ�กัด (มหาชน)

ยานพาหนะ

28

บริษัท ศรีวารี เซ็นเตอร์ จำ�กัด

ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

29

บริษัท เนเชอรัล ไบโอ พลัส จำ�กัด

สุขภาพและความงาม

30

ทรูสเฟียร์ Happy and Healthy Bike lane

กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

31

สตาร์เวย์ ทราเวล (ประเทศไทย)

บริษัทนำ�เที่ยว

-

-

ไม่เปิดให้บริการ

32

บริษัท คุณอนันต์ ทราเวล แอนด์เซอร์วิส

ยานพาหนะ

33

ทรูสเฟียร์ เมกาบางนา

ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

34

บริษัท บุญศิริเรือเร็ว จำ�กัด

กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

35

เมย์ซัน เพลส

โรงแรม/ที่พักและสถานที่จัดประชุม

36

อินสไปเรชั่น สตาร์ท ฟอร์ม เฮีย!

ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

37

บริษัท ไอ บีลีฟ ทราเวล จำ�กัด

บริษัทนำ�เที่ยว

36 ANNUAL REPORT 2021

ไม่เปิดให้บริการ


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2.5 เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน โดยการพัฒนาระบบป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยคุกคามความมั่นคง พร้อมทั้งพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยแก่ประชาชน การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้าน แรงงานในสถานประกอบกิจการ / เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน โดยการพัฒนา ระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามความมั่นคง พร้อมทั้งพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยแก่ประชาชน จังหวัดสมุทรปราการมีสถานประกอบกิจการและผู้ใช้แรงงานเป็นจำ�นวนมาก มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ ดำ�เนินกิจกรรมด้านแรงงานมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ในการบริหารงานด้านแรงงานสัมพันธ์อาจเกิด ปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงนโยบายของนายจ้าง ที่เกี่ยวกับการ จัดสวัสดิการให้กับลูกจ้างที่ลดลงอันสืบเนื่องจากผลกระทบทางสภาวะเศรษฐกิจ อาจก่อให้เกิดปัญหาความ ไม่ เ ข้ า ใจซึ่ ง สถานประกอบกิ จ การส่ ว นมากความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งฝ่ า ยบริ ห ารกั บ ลู ก จ้ า งอยู่ ใ นภาวะเปราะบางที่ อาจจะเกิดความขัดแย้ง หรือทำ�ให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรง จนถึงขั้นหยุดงาน หรือผละงาน และก่อให้เกิด ปัญหาต่อสังคมตามมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของลูกจ้าง การตกงาน การขาดรายได้ ครอบครัว เดือดร้อน กลายเป็นปัญหาต่อเนื่องของประเทศที่ภาครัฐต้องแก้ไขเยียวยา สำ�นักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดสมุทรปราการมีภารกิจโดยตรงเกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงาน ในด้านการป้องกัน แก้ไขปัญหาข้อขัด แย้ง และข้อพิพาทแรงงาน ตลอดจนการส่งเสริมให้นายจ้าง ลูกจ้าง มีการปฏิบัติต่อกันด้วยแรงงานสัมพันธ์ ที่ดี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้าง ลูกจ้าง มี แรงงานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เกิดสันติสุขในวงการแรงงาน อันเป็นการสอดคล้องกับนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๔ ของรัฐบาล ในการสร้างความเป็นธรรม ความปรองดอง และความสมานฉันท์ในชาติ และ กรอบยุทธศาสตร์จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ ด้านความมั่นคงและความสามัคคีโดยมีส่วนร่วม บนวิถีทางประชาธิปไตย สรุปผลการดำ�เนินงาน จัดอบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมตามโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานในสถานประกอบกิจการ จำ�นวน 2 รุ่น ๆ ละ 60 คน ผลที่ได้ 1.นายจ้ า งลู ก จ้ า ง (องค์ ก รด้ า นแรงงาน/สหภาพแรงงาน) มี ค วามปรองดองรั ก สามั ค คี แ ละเป็ น อั น หนึ ่ ง อันเดียวกันในการสร้างสรรค์ผลผลิตส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นตามไปด้วย 2.นายจ้างลูกจ้าง (องค์กรด้านแรงงาน/สหภาพแรงงาน) มีความรู้ความเข้าใจด้านระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ ถูกต้องเป็นการป้องกันและลดปัญหาผลกระทบจากข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงานในอนาคต 3. นายจ้ า งลู ก จ้ า ง (องค์ ก รด้ า นแรงงาน/สหภาพแรงงาน) มี เ ครื อ ข่ า ยด้ า นแรงงานสั ม พั น ธ์ ใ นการแลก เปลี่ยนประเด็นและแนวทางการแก้ ไ ขปั ญ หากรณี เ กิ ดข้ อขั ดแย้ ง หรื อข้ อพิ พ าทแรงงาน เพื ่ อให้ ไ ด้ ข ้ อยุ ติ โ ดยเร็ ว โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการและการอยู่ร่วมกันในองค์กร ผลลัพธ์ นายจ้างลูกจ้าง (องค์กรด้านแรงงาน/สหภาพแรงงาน) เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องกฎหมาย แรงงานและแรงงานสัมพันธ์ มีความปรองดองรักสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามารถแลก เปลี่ยนและมีแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งร่วมกันอย่างมีแบบแผนและประสิทธิภาพ ทำ�ให้ข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงานตลอดจนความไม่สงบสุขและความรุนแรงด้านแรงงานในพื้นที่จังหวัด สมุทรปราการลดลงหรือไม่เกิดขึ้น

ANNUAL REPORT 2021 37


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ผลการดำ�เนินงานตามนโยบายสำ�คัญของ รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย

38 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ผลการดำ�เนินงานตามนโบบายสำ�คัญของรัฐบาล การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ความเป็นมาโดยสรุป กรมการปกครองแจ้งให้จังหวัดแจ้งอำ�เภอประสานขอความร่วมมือข้าราชการ พนักงาน ฝ่ายปกครองให้ความร่วมมือสอดส่อง ดูแล แจ้งเบาะแสการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าว โดยให้ดำ�เนินการ ดังนี้ ๑. การดำ�เนินการป้องกันและสกัดกั้นผู้หลบหนีเข้าเมือง 1.1 จัดตั้งชุดปฏิบัติการหรือคณะทำ�งานที่ประกอบด้วยฝ่ายปกครอง หน่วยกำ�ลังในพื้นที่ กำ�นันผู้ใหญ่บ้าน หรืออาสาสมัครกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายแดนและชายฝั่งทะเล คอยเฝ้าระวัง มิให้กลุ่ม ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากนอกประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด 1.2 จัดตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ โดยใช้กลไกการตรวจตราเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ขายแดนเส้นทาง ลำ�เอียงและเส้นทางเข้าออก 1.3 เพิ่มความถี่ในการลาดตระเวน/เฝ้าตรวจบริเวณพื้นที่ล่อแหลม เส้นทางสำ�คัญที่คาดว่าผู้ลักลอบหลบ หนีเข้าเมืองอาจใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางเข้ามาในราชอาราจักร โดยบูรณาการการทำ�งานร่วมกับหน่วยความ มั่นคงในพื้นที่ 1.4 ปฏิบัติการการข่าวเชิงรุก โดยใช้เครือข่ายปฏิบัติการด้านการข่าวในพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ รับแจ้งข้อมูลข่าวสารและพิสูจน์ทราบที่นำ�ไปสู่การปราบปรามและจับกุมต่อไป 1.5 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน/ผู้ประกอบการทราบถึงบทลงโทษของการกระทำ�ผิดกฎหมาย ในการลักลอบเข้าเมือง รวมถึงเห็นความจำ�เป็นและเข้ามามีส่วนร่วมในการดำ�เนินการตามระบบการจัดการแรงงาน ต่างด้าวอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาระยะยาว 2. การดำ�เนินการปราบปรามและจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมือง 2.1 ดำ�เนินการปราบปรามและจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามอำ�นาจหน้าที่อย่างเข้มข้น เด็ด ขาด โดยมุ่งเน้นบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อนายจ้าง นายหน้า ผู้นำ�พา ผู้ให้ที่พักเกี่ยวข้องที่ร่วมกระทำ�ความ ผิด แล้วส่งให้ตำ�รวจพิจารณาดำ�เนินการตามกระบวนการทางกฎหมายหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องบูรณาการ ข้อมูลการทำ�งานร่วมกัน 2.2 มุ่งเน้นดำ�เนินการมิให้การลักลอบกลับเข้ามาใหม่ของคนต่างด้าวในพื้นที่โดยประสานหน่วยงานความ มั่นคงที่เกี่ยวข้องบูรณาการข้อมูลการทำ�งานร่วมกัน หมายเหตุ การรายงานการป้องกัน สกัดกั้น ปราบปรามและจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมืองของพนักงานฝ่ายปกครอง จะ รายงานกรมการปกครอง ทุกวันที่ 10 ของเดือน และกรมการปกครองได้ปรับเปลี่ยนการรายงานเป็นรอบสัปดาห์ ทุกสัปดาห์ โดยให้รายงานรอบสัปดาห์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 สรุปผลการดำ�เนินงาน (โดยสรุป) ที่ทำ�การปกครองจังหวัดสมุทรปราการ (กลุ่มงานความมั่นคง) ได้บูรณาการร่วมกับ ที่ทำ�การปกครองอำ�เภอ ทุกอำ�เภอ เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำ�เนินการป้องกัน จับกุม และสกัดกั้นผู้หลบหนีเข้าเมืองมิให้เกิดการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยมีผล การดำ�เนินการ ดังนี้ 1. เดือนตุลาคม 2563 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 343 ครั้ง (36 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 308 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 212 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 306 ครั้ง ไม่ พบผู้กระทำ�ความผิด 2. เดือนพฤศจิกายน 2563 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 158 ครั้ง (36 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 118 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 91 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 136 ครั้ง ไม่ พบการกระทำ�ความผิด 3. เดือนธันวาคม 2563 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 153 ครั้ง (36 จุด) จำ�นวน 856 คน การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 122 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 84 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 112 ครั้ง พบ ผู้กระทำ�ความผิด จำ�นวน 2 ราย ได้แก่ นาง Poem Thirit อายุ 26 ปี และ นาง Loem Ream อายุ 34 ปี สัญชาติ กัมพูชา จับกุมได้เมือ ่ วันที่ 8 ธันวาคม 2563 สถานที่ 201/361 ม. 11 ซ.บางพลีนคร ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ข้อหา เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพื่อหางานทำ�โดย ไม่มีใบอนุญาต

ANNUAL REPORT 2021 39


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

4. เดือนมกราคม 2564 ไม่มีการรายงาน เนื่องจากกรมการปกครองมีหนังสือแจ้งให้รายงานแบบรอบสัปดาห์ 5. เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 113 ครั้ง (46 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 116 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 91 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 107 ครั้ง ไม่ พบการกระทำ�ความผิด (รวบรวมจากข้อมูลรอบสัปดาห์) 6. เดือนมีนาคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 170 ครั้ง (110 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 150 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 119 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 146 ครั้ง พบผู้กระทำ�ความผิด จำ�นวน 8 ราย ได้แก่ นายพัน ธะ อายุ 53 ปี นายวะเซ อายุ 52 ปี นายไฮเฮง 41 ปี นาย เผื่อน 39 ปี นายไซลา 28 ปี นายโมทอน 29 ปี และนายมิน หน่าย ทุน 41 ปี สัญชาติ กัมพูชา จับกุมได้เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สถานที่ ม.7 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ข้อหา ลักลอบเล่นการพนันชนไก่/ ฝ่าฝืนประกาศ จ.สมุทรปราการ ฉบับที่ 4 (รวบรวมจากข้อมูลรอบสัปดาห์) 7. เดือนเมษายน 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 111 ครั้ง (68 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 94 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 68 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 87 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด (รวบรวมจากข้อมูลรอบสัปดาห์) 8. เดือนพฤษภาคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 164 ครั้ง (106 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 156 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 115 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 151 ครั้ง ไม่ พบการกระทำ�ความผิด (รวบรวมจากข้อมูลรอบสัปดาห์) 9. เดือนมิถุนายน 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 161 ครั้ง (85 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 156 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 121ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 139 ครั้ง ไม่ พบการกระทำ�ความผิด (รวบรวมจากข้อมูลรอบสัปดาห์) 10. เดือนกรกฎาคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 227 ครั้ง (110 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 213 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 145 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 187 ครั้ง ไม่ พบการกระทำ�ความผิด (รวบรวมจากข้อมูลรอบสัปดาห์) 11. เดือนสิงหาคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 202 ครั้ง (60 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 177 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 116 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 153 ครั้ง ไม่ พบการกระทำ�ความผิด (รวบรวมจากข้อมูลรอบสัปดาห์) 12. เดือนกันยายน 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดในพื้นที่ 46 ครั้ง (68 จุด) การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ จำ�นวน 47 ครั้ง การปฏิบัติการการข่าว 31 ครั้ง การประชาสัมพันธ์ 41 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด (รวบรวมจากข้อมูลรอบสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนกันยายน 2564)

การจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ ความเป็นมาโดยสรุป กรมการปกครอง แจ้งว่า พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ได้กำ�หนดให้พนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำ�รวจชั้นผู้ใหญ่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำ�หนดให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำ�รวจมีอำ�นาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายสืบสวน จับกุม ปราบปราม ผู้กระทำ�ความ ผิดอาญารวมถึงความผิดฐานค้ามนุษย์ ซึ่งการกระทำ�ความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ที่มีผลกระทบในระดับชาติที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไข สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กรมการปกครอง พ.ศ. 2560 - 2564 ที่ได้มีการกำ� หนดประเด็นยุทธศาสตร์การรักษาความสงบเรียบร้อยและอำ� นวยความเป็นธรรมให้ สังคมสงบสุข และมีเป้าประสงค์ที่กำ�หนดให้เป็นกลไกการรักษาความสงบเรียบร้อยของฝ่ายปกครองและประชาชนใน พื้นที่มีความเข้มแข็ง โดยให้มีการดำ�เนินการ ดังนี้ 1. กำ�ชับติดตามการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของศูนย์บูรณาการและประสานการปฏิบัติงานป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ระดับอำ�เภอ ตามแนวทาง 8 มาตรการอย่างเคร่งครัด 2. ให้จังหวัดดำ�เนินการและแจ้งอำ�เภอจัดชุดปฏิบัติการป้องกันการค้ามนุษย์ รวมทั้งตรวจสถานบริการ และสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือตั้งจุดตรวจจุดสกัด ทั้งนี้ ในระดับจังหวัดให้ดำ�เนินการอย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน และในระดับอำ�เภอให้ดำ�เนินการอย่างน้อย 2 ครั้ง/เดือน หากพบการกระทำ�ความผิด ให้ดำ�เนินการ จับกุมปราบปรามตามอำ�นาจหน้าที่ โดยรายงานให้กรมการปกครองทราบทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

40 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

สรุปผลการดำ�เนินงาน (โดยสรุป) ที่ทำ�การปกครองจังหวัดสมุทรปราการ (กลุ่มงานความมั่นคง) ได้บูรณาการร่วมกับ ที่ทำ�การปกครองอำ�เภอ ทุกอำ�เภอ เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ดำ�เนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังสถานประกอบการและจุดเสี่ยงในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเพื่อป้องกันการค้า มนุษย์ โดยมีผลการดำ�เนินการ ดังนี้ 1. เดือนตุลาคม 2563 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 347 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 262 ครั้ง / 536 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 264 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 297 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 2. เดือนพฤศจิกายน 2563 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 152 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/ สถานบริการ จำ�นวน 92 ครั้ง / 179 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 122 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 162 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 3. เดือนธันวาคม 2563 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 153 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 86 ครั้ง / 180 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 109 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 102 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 4. เดือนมกราคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 139 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 91 ครั้ง / 151 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 88 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 93 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 5. เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 113 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/ สถานบริการ จำ�นวน 62 ครั้ง / 110 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 77 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 73 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 6. เดือนมีนาคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 98 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 71 ครั้ง / 122 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 72 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 59 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 7. เดือนเมษายน 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 86 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 71 ครั้ง / 108 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 69 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 60 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 8. เดือนพฤษภาคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 76 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 72 ครั้ง / 113 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 72 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 66 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 9. เดือนมิถุนายน 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 77 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 67 ครั้ง / 142 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 66 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 52 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 10. เดือนกรกฎาคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 98 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 76 ครั้ง / 134 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 81 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 72 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด 11. เดือนสิงหาคม 2564 ได้ดำ�เนินการตั้งจุดตรวจจำ�นวน 92 ครั้ง การตรวจสถานประกอบการ/สถาน บริการ จำ�นวน 46 ครั้ง / 109 แห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 76 ครั้ง การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ จำ�นวน 68 ครั้ง ไม่พบการกระทำ�ความผิด

ANNUAL REPORT 2021 41


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2. งานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเน้นการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตจังหวัดสมุทรปราการ และคณะอนุกรรมการ การดำ�เนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจังหวัดสมุทรปราการ และจัดประชุม แบบบูรณาการร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนงาน 2 เดือน/ครั้ง 2.2 มีคณะกรรมการธรรมภิบาลจังหวัดสมุทรปราการ เป็นตัวแทนภาคประชาชนทำ�หน้าที่สอดส่อง/เสนอ แนะ/ร่วมตรวจสอบการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานรัฐในจังหวัด ให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ให้ “โปร่งใส ไร้ทุจริต” 2.3 แต่งตั้งคณะทำ�งานติดตาม ตรวจสอบ และสังเกตการณ์งบประมาณประจำ�ปี จังหวัดสมุทรปราการ โดย มีผู้อำ�นวยการสำ�นักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสมุทรปราการ /ผู้อำ�นวยการสำ�นักงาน ป.ป.ท. เขต 1 และผู้อำ�นวย การสำ�นักงาน ป.ป.ช. ประจำ�จังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ปรึกษา ร่วมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อเสนอ แนะ/ข้อสังเกต ให้กับส่วนราชการพิจารณานำ�ไปแก้ไขก่อนการดำ�เนินโครงการเพื่อให้เกิดความโปร่งใส 2.4 ประกาศเจตจำ�นงการบริหารงานด้วยความสุจริตของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 /ประกาศเจตนารมณ์ “สุจริต โปร่งใส สมุทรปราการใสสะอาด 2564” และประกาศจังหวัด เรื่อง การเสริมสร้างวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรปราการ “สุจริต โปร่งใส สมุทรปราการใสสะอาด”เพื่อเป็นการเสริมสร้าง วัฒนธรรมองค์กรที่ยึดถือความสุจริตและโปร่งใสเป็นแบบอย่างการประพฤติที่ดี 2.5 ร่วมกับสำ�นักงาน ปปช.จังหวัดสมุทรปราการ จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากลประเทศไทย ประจำ�ปี 2563 จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 2.6 สนับสนุนให้มีจังหวัด อำ�เภอ และท้องถิ่นใสสะอาด

โครงการสำ�คัญ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) จังหวัดสมุทรปราการ

นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในการจัดการประชุมคณะกรรมการศูนย์ ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตจังหวัดสมุทรปราการ (ศปท.จ.สป.) และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่2/2563 ร่วมกับสำ�นักงาน ป.ป.ช. ประจำ� จังหวัดสมุทรปราการ จำ�นวน 60 คน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 โดยเวลา 09.00 - 10.30 น. รับชม คำ�กล่าวเปิดงานและการประกาศเจตนารมณ์เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านทาง Facebook live เพจสำ�นักงาน ป.ป.ช.หลังจากนั้นได้ประชุมคณะกรรมการ ศปท.จ.สป. และคณะอนุกรรมการฯ ตั้งแต่เวลา 10.30 - 12.00 น.และได้ประชาสัมพันธ์ร่วมกับสำ�นักงาน ป.ป.ช. ประจำ�จังหวัดสมุทรปราการ ในการเชิญชวนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคี เครือข่าย และประชาชนทั่วไปในระดับพื้นที่ให้รับทราบถึงการจัดกิจกรรมและเชิญชวนให้รับชมการถ่ายทอดสดผ่าน ทาง Facebook live เพจสำ�นักงาน ป.ป.ช.

42 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

การมีส่วนร่วมกับองค์กรตรวจสอบด้านความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการของจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้ให้ความสำ�คัญในการ มีส่วนร่วมกับองค์กรตรวจสอบด้านความ โปร่งใสในการปฏิบัติราชการของจังหวัดสมุทรปราการ ดังนี้ 1. ให้ความร่วมมือกับ คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธร รมาภิบาล วุฒิสภา สำ�นักงาน ป.ป.ท สำ�นักงาน ป.ป.ท. เขต 1 และสำ�นักงาน ปปช.ประจำ�จังหวัดสมุทรปราการ ใน การอนุเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือและการจัดซื้อ เครื่องอากาศยานไร้คน ขับหรือโดรน พร้อมอุปกรณ์ เพื่อนำ�ไปใช้ ในการพ่นสเปรย์ฆ่าเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 2. ให้ความร่วมมือกับสำ�นักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำ�นักงาน ป.ป.ท.) ในการกำ�ชับ สำ� นักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมี ผู้ร้องเรียนว่าได้รับผลกระ ทบจากการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ สูง 5 ชั้น ขององค์การบริหารส่วนตำ�บลราชาเทวะ อำ�เภอบางพลี จังหวัด สมุทรปราการ 3. ให้ความร่วมมือกับ สำ�นักงาน ป.ป.ช. ในการกำ�ชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำ�รวจในสังกัดดำ�เนินการ ตรวจสอบสถานบันเทิงตามอำ�นาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะได้รายงานไปยัง สำ�นักงาน ป.ป.ช. ตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 4. ให้ความร่วมมือ สำ�นักงาน ป.ป.ท./สำ�นักงาน ป.ป.ท เขต 1 ในการร่วมตรวจสอบการดำ�เนินงานของ องค์การบริหารส่วนตำ�บลราชาเทวะ ในการจัดซื้อเสาโคมไฟฟ้าประติมากรรมกินรีพร้อมโคมไฟโซล่าเซลล์ (เสาไฟกินรี)

ANNUAL REPORT 2021 43


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

สัมมนา “เพิ่มประสิทธิภาพเพื่อยกระดับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำ�เนินงานของ หน่วยงานภาครัฐ( ITA) ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ อำ�เภอบางพลี

มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำ�เนินงานของหน่วย งานภาครัฐ (ITA) และชี้แจงทำ�ความเข้าใจเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำ�เนินงานของหน่วย งานภาครัฐ (ITA) ในปีที่ผ่านมา (ปี 2563) และเตรียมรองรับเกณฑ์การประเมินฯ ในปี 2564ไปให้ผ่านเกณฑ์ที่ กำ�หนดในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำ�เนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐ ประจำ�ปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 จั ง หวั ดสมุ ท รปราการ ได้ ค ะแนนรวม ร้ อยละ 91.58 อยู ่ ใ นระดั บ A (ผ่านตามเกณฑ์ยุทธศาสตร์ชาติฯ)

44 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ผลการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จังหวัดสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 45


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

การแก้ไขปัญหาท่อส่งก๊าซธรรมชาติรั่วไหล พื้นที่อำ�เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเวลา 12.55 น. ของวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ได้เกิดเหตุท่อส่งก๊าซธรรมชาติรั่วและเกิดเพลิงไหม้บริเวณตรง ข้ามวัดเปร็งราษฎร์บำ�รุง ถนนเทพราช-ลาดกระบัง ตำ�บลเปร็ง อำ�เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ส่งผลให้เกิด ก๊าซฯ ฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศและเกิดการติดไฟ แนวทางการดำ�เนินงาน (ผลงานเชิงประจักษ์) 1. จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับ ปตท. จัดตั้งศูนย์อำ�นวยการประสานการช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อน กรณีท่อส่งก๊าซธรรมชาติแตกรั่ว จังหวัดสมุทรปราการ ณ โรงเรียนวัดเปร็งราษฎร์บำ�รุง โดยผู้ว่าราชการจังหวัด สมุทรปราการ ได้มอบหมายให้นายอำ�เภอบางบ่อ เป็นผู้อำ�นวยการศูนย์ และได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ตำ�รวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนอาหารน้ำ�ดื่ม และที่พัก ชั่วคราวในระยะเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบและอำ�นวยความสะดวกแก่ทีมปฏิบัติ 2. การระงับเหตุ โดย ปตท. เมื่อศูนย์ควบคุมการส่งก๊าซ ปตท.จ.ชลบุรี ตรวจพบความผิดปกติ โดย ความ ดันก๊าซ ระหว่างสถานีควบคุมความดันก๊าซ WN2 และ WN3 ลดลงอย่างรวดเร็ว /ได้รับแจ้งเหตุการณ์ท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติรั่ว และมีเพลิงไหม้/ศูนย์ควบคุมการส่งก๊าซ ปตท. สั่งปิดวาล์วที่สถานีควบคุมก๊าซ WN2 และ WN3 เพื่อ ตัดแยกระบบผ่านระบบควบคุมอัตโนมัติ (SCADA)/ปตท.ประกาศเหตุฉุกเฉิน ระดับ 2 และจัดตั้งศูนย์ควบคุมเหตุ ฉุกเฉินที่ศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี/13.40 น. ปตท.เข้าถึงพื้นที่เพื่อระงับเหตุ/16.14 น. สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ 3.การบริหารจัดการของจังหวัดสมุทรปราการในการระงับเหตุ สนับสนุนกำ�ลังพล อุปกรณ์ต่าง ๆ และร่วมวางแผน กับ ปตท.เพื่อดับเพลิง และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง จนสามารถระงับเหตุได้ 4.จังหวัดสมุทรปราการ แต่งตั้งคณะทำ�งานให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู เยียวยา ผู้ประสบความเดือดร้อน กรณีท่อส่งก๊าซธรรมชาติแตกรั่ว จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบความเดือดร้อนจากเหตุท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติรั่วไหล โดยให้ความช่วยเหลือตามอำ�นาจหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ผลสัมฤทธิ์ของงาน สามารถระงับเหตุ และลดความสูญเสียที่เกิดจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติรั่วไหล และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่าง ทันท่วงที ผู้ที่ได้รับประโยชน์ ประชาชนผู้ประสบภัยจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติรั่วไหล พื้นที่อำ�เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

46 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

เรื่อง การแก้ไขปัญหาท่อประปาแตกรั่วและตอม่อทางด่วน วงแหวนกาญจนาภิเษกด้านใต้ทรุด อำ�เภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เกิดเหตุการณ์ : เมื่อเวลา 4 ตุลาคม 2563 อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ ได้แจ้งเหตุ การประปานครหลวงมีประกาศเกิด เหตุท่อประปาขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.200 มิลลิเมตร แตกรั่วฉุกเฉิน บริเวณหมู่บ้านเดอะแกรนด์ ถนน กาญจนาภิเษกด้านใต้ และได้เร่งดำ�เนินการซ่อมท่อโดยไม่มีกำ�หนดแล้วเสร็จที่ชัดเจน ทำ�ให้ประชาชนในพื้นที่อำ�เภอ พระสมุทรเจดีย์ จำ�นวน 145,875 คน/จำ�นวน 66,688 ครัวเรือน ได้รับความเดือดร้อน ขาดแคลนน้ำ�ใช้อุปโภค บริโภค ซึ่งอำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ ได้ขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือมายังผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ แนวทางการดำ�เนินงาน (ผลงานเชิงประจักษ์) 1.ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ สั่งการให้สำ�นักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ ประสานขอรับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำ�จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัด กองบัญชาการกองทัพ ภาคที่ 1 และกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อนำ�น้ำ�ไปแจกจ่ายให้ความช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้น 2. มอบหมายให้อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์จัดตั้งศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในกรณีน้ำ�ประปาไม่ เพียงพอจากเหตุท่อประปาแตกรั่วฉุกเฉิน ณ ห้องประชุมอำ� เภอพระสมุทรเจดีย์ เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการฯ แก้ไข ปัญหา และช่วยเหลือประชาชน 3. การแก้ไขปัญหา มีการประชุมร่วมกันระหว่างส่วนราชการหลายส่วนราชการ เนื่องจากการแตกรั่วเป็น การแตกรั่วขนาดใหญ่ การซ่อมแซมจะต้องใช้นักประดาน้ำ�เข้าไปเปิดหลุมตัดท่อส่วนที่ชำ�รุดออกและเปลี่ยนท่อใหม่ ยาวประมาณ 3 เมตร อีกทั้งต้องเปิดหลุมใกล้ตอม่อทางด่วน ซึ่งอาจทำ�ให้โครงสร้างทางด่วนเสียหายมากขึ้น อาจ จะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ทางด่วน ดังนั้น ทางจังหวัดสมุทรปราการ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบ จึงต้องติดตามการ ดำ�เนินงาน และวางแผนทุกขั้นตอนอย่างรัดกุม ดังนี้ - มอบหมายให้กรมทางหลวงเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างส่วนทีเ่ สียหายก่อนซึง่ ต้องใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์ - มอบหมายการประปานครหลวงจะดำ�เนินการวางท่อประปาชั่วคราว (ท่อ HDPE) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 70 มิลลิเมตร ความยาวประมาณ 70 เมตร คร่อมจุดแตกหักดังกล่าว ใช้เวลาดำ�เนินการทั้งสิ้น 2 วัน เพื่อช่วย บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีน้ำ�ใช้ในระดับหนึ่งก่อนที่จะดำ�เนินการซ่อมแซมท่อหลักให้กลับมาใช้การได้ - มอบหมายสำ�นักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ร่วมกับอำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ ดำ�เนินการขอรับ การสนับสนุนน้ำ� และกำ�หนดจุดรับน้ำ� จำ�นวน 14 จุด ตลอด 24 ชม 4. การประปานครหลวง เร่งดำ�เนินซ่อมท่อประปา โดยส่งนักประดาน้ำ�ลงไปเชื่อมท่อ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ซึ่งแล้วเสร็จในวันที่ 7 ตุลาคม 2564 จากนั้น ก็ได้ดำ�เนินการล้างท่อฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนตามเกณฑ์ แนะนำ�คุณภาพน้ำ�ดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้น้ำ�ประปาที่ส่งถึงผู้ใช้น้ำ�ทุกสะอาด และปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค ผลสัมฤทธิ์ของงาน ประชาชน จำ�นวน145,875 คน จำ�นวน 66,688 ครัวเรือน มีน้ำ�ใช้อุปโภคบริภาค ระหว่างที่ท่อประปาแตกรั่ว และสามารถเร่งดำ�เนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่รวดเร็วเมื่อเทียบกับขนาดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์ ประชาชน จำ�นวน145,875 คน จำ�นวน 66,688 ครัวเรือน อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 47


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

การแก้ไขปัญหาสถานการณ์เหตุเพลิงไหม้โรงงานสารเคมี (บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำ�กัด ซอยกิ่งแก้ว 21) อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยจังหวัดสมุทรปราการได้รับแจ้งจากอำ�เภอบางพลีว่า วันที่ ๕ กรกฎาคม 25๖๔ เวลา ๐๓.๒๐ น. เกิดเหตุ ระเบิดภายในบริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำ�กัด ตั้งอยู่เลขที่ 87 ซอยกิ่งแก้ว 21 หมู่ที่ 15 ตำ�บลบางพลีใหญ่ อำ�เภอ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยโรงงานดังกล่าวเป็นโรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกซึ่งมีสารอันตรายประกอบด้วย สารสไตรีน โมโนเมอร์ ประมาณ ๑,๖๐๐ ตัน เป็นสารระเหย หากหายใจเข้าไปจะระคายจมูกและคอ ปวดศีรษะ มึนงง ถ้าได้รับสารปริมาณสูงอาจชักและเสียชีวิตได้ และสารเพนเทน เป็นของเหลวไวไฟสูง อาจทำ�ให้ง่วงซึม หรือมึนงง จากแรงระเบิดทำ� ให้เกิดความเสียหายทั้งหมดของตัวพื้นที่โรงงาน และบริเวณรอบข้างขยายไปวงกว้าง บ้านเรือน ประชาชนได้รับความเสียหาย และมีผู้ได้รับผลกระทบจำ�นวนมาก พื้นที่ประสบภัย จำ�นวน 4 ตำ�บล รวม 30 หมู่บ้าน 56,291 ครัวเรือน 80,916 คน ดังนี้ 1.ตำ�บลราชาเทวะ หมู่ที่ 1 - 15 จำ�นวน 15 หมู่บ้าน จำ�นวน 22,563 ครัวเรือน ประชากร 34,736 คน 2.ตำ�บลบางพลีใหญ่ หมูท่ ่ี 1, 7, 13 - 17 จำ�นวน 7 หมูบ ่ า้ น จำ�นวน 12,363 ครัวเรือน ประชากร 18,493 คน 3.ตำ�บลบางแก้ว หมูท่ ่ ี 6 - 8, 10, 13, 14 จำ�นวน 6 หมูบ่ า้ น จำ�นวน 17,188 ครัวเรือน ประชากร 23,277 คน 4.ตำ�บลบางโฉลง หมู่ที่ 4, 5 จำ�นวน 2 หมู่บ้าน จำ�นวน 4,177 ครัวเรือน ประชากร 4,413 คน แนวทางการดำ�เนินงาน (ผลงานเชิงประจักษ์) 1. จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ณ ตึกมูลนิธิร่วมกตัญญู ถนนกิ่งแก้ว กม. ๑๒ (ระยะห่างจากที่เกิดเหตุ ประมาณ ๔ กิโลเมตร) โดยมีนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ 2. ชอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ดับเพลิง/อุปกรณ์จากในพื้นที่/ส่วนกลาง และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าควบคุมในพื้นที่ และได้แจ้งเตือนประชาชนออกนอกพื้นที่ รัศมี ๕ กม. 3. วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.30 น. นายอำ�เภอบางพลีได้สั่งอพยพประชาชน รัศมี 5 กิโลเมตร ออกนอกพื้นที่แล้ว และได้แจ้งให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย แจ้งข้อมูลความเสียหายเบื้องต้น ณ สถานีตำ� รวจภูธร บางแก้ว โดยได้จัดตั้งศูนย์อพยพ จำ�นวน ๙ จุด ดังนี้ จุดที่ ๑ องค์การบริหารส่วนตำ�บลบางพลีใหญ่ (อาคารหลังเก่า) มีผู้อพยพจำ�นวน ๑๖๐ คน จุดที่ ๒ วัดบางพลีใหญ่กลาง มีผู้อพยพ จำ�นวน ๒๕๐ ราย จุดที่ ๓ โรงเรียนบางกระบือ มีผู้อพยพ จำ�นวน ๑๒๒ คน จุดที่ ๔ โรงเรียนเตรียมปริญญานุสรณ์ มีผู้อพยพ จำ�นวน ๓๔๕ คน จุดที่ ๕ ศาลพ่อหลวง มีผู้อพยพ จำ�นวน ๓๕ คน จุดที่ ๖ วัดบางโฉลงใน มีผู้อพยพ จำ�นวน ๑๔๐ คน จุดที่ ๗ วัดบางโฉลงนอก มีผู้อพยพ จำ�นวน ๓๔๐ คน จุดที่ ๘ วัดบางพลีใหญ่ใน มีผู้อพยพ จำ�นวน ๕๐๐ คน จุดที่ ๙ ศาลาการเปรียญวัดราษฎร์บูรณะ มีผู้อพยพ จำ�นวน ๑๐๐ คน 4. จังหวัดพิจารณาอนุญาตให้ประชาชนที่พักอาศัยอาศัยอยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตร เข้าที่พักอาศัยได้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา ๑๗.00 น. เป็นต้นไป ผลสัมฤทธิ์ของงาน ประชาชน จำ�นวน 90,916 ครัวเรือน ได้รับการช่วยเหลือจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ได้ทันท่วงที และสามารถเร่ง ดำ�เนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว เมื่อเทียบกับขนาดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์ พืน ้ ทีป ่ ระสบภัย ในพืน ้ ทีอ ่ ำ�เภอบางพลี จำ�นวน 4 ตำ�บล รวม 30 หมูบ ่ า้ น 56,291 ครัวเรือน 80,916 คน ดังนี้ 1.ตำ�บลราชาเทวะ หมู่ที่ 1 - 15 จำ�นวน 15 หมู่บ้าน จำ�นวน 22,563 ครัวเรือน ประชากร 34,736 คน 2.ตำ�บลบางพลีใหญ่ หมูท ่ ่ี 1, 7, 13 - 17 จำ�นวน 7 หมูบ ่ า้ น จำ�นวน 12,363 ครัวเรือน ประชากร 18,493 คน 3.ตำ�บลบางแก้ว หมูท ่ ่ี 6 - 8, 10, 13, 14 จำ�นวน 6 หมูบ ่ า้ น จำ�นวน 17,188 ครัวเรือน ประชากร 23,277 คน 4.ตำ�บลบางโฉลง หมู่ที่ 4, 5 จำ�นวน 2 หมู่บ้าน จำ�นวน 4,177 ครัวเรือน ประชากร 4,413 คน

48 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 49


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5 ) จังหวัดสมุทรปราการ สืบเนื่องจากห้วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 เกิดสถานฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่ จังหวัดสมุทรปราการสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ แนวทางการดำ�เนินงาน (ผลงานเชิงประจักษ์) 1.จังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จังหวัดสมุทรปราการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และแต่งตั้งคณะกรรมการประจำ�ศูนย์ บัญชาการฯ 2.จัดทำ�แผนเผชิญเหตุ การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จังหวัด สมุทรปราการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แนวทางปฏิบัติในการป้องกันและลดผลกระทบ ช่วงก่อนวิกฤต (1) ให้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 จากรายงานสถานการณ์และ คุณภาพอากาศ ประเทศไทย ของกรมควบคุมมลพิษ ทางเว็บไซต์ http://air4thai.pcd.go.th อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ในการประเมิน วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ แจ้งเตือน และสร้างการรับรู้ให้ประชาชน (2) ประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบของปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 จังหวัด สมุทรปราการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในทุกช่องทาง เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน เสียงตาม สายประจำ�หมู่บ้านชุมชน หอกระจายข่าว และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนงดเผาเศษวัสดุ ในครัวเรือน เศษวัชพืชในที่ รกร้าง การเผาหญ้าในเขตไหล่ทาง รวมถึงการเผาในที่โล่งแจ้ง สำ�หรับในพื้นที่การเกษตรห้ามมิให้มีการเผาโดยเด็ด ขาด ให้เปลี่ยนวิธีการกำ�จัดวัชพืช และผลผลิตทางการเกษตรเป็นการทำ�ปุ๋ยหมัก หรือใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ในการเร่งการย่อยสลาย โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือ ประชาชนในพื้นที่ และกำ�กับดูแลมาตรการควบคุมการเผาอย่างเคร่งครัด (3) ให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกหน่วยงานปฏิบัติเป็นตัวอย่าง ที่ดีในการงดการเผาทุกชนิดในพื้นที่รับผิดชอบ (4) ให้สำ�นักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการ และตำ�รวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ เข้มงวด ตรวจจับรถ ควันดำ� บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งยานพาหนะส่วนบุคคล และเข้มงวดตรวจสอบ รถโดยสารขององค์การ ขนส่ง มวลชนกรุงเทพ และรถโดยสารสาธารณะในพื้นที่ก่อนออกให้บริการ (5) ให้ตำ�รวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ และกองบังคับการตำ�รวจทางหลวง กวดขันวินัยจราจร การเร่ง ระบายการจราจรไม่ให้มีสภาพติดขัด และประชาสัมพันธ์ แจ้งให้หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่น เช่น ถนนสุขุมวิท ถนนศรีนครินทร์ ถนนบางนา-ตราด และทางด่วนกาญจนาภิเษก รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชน ใช้ระบบ ขนส่งสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดให้เกิดความคล่องตัว (6) ให้แขวงทางหลวงสมุทรปราการ แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ สำ�นักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้มงวดกวดขันป้องกันฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้าง ควบคุม การก่อสร้างไม่ให้มีการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง กำ�กับดูแลผู้รับเหมา โดยให้ฉีดพ่นน้ำ�บริเวณโครงการ ก่อสร้าง/ พื้นผิวถนน ไม่ให้มีการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง (7) ให้สำ�นักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสอบ โรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด ป้องกันและควบคุมการปล่อยมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ตลอดจนกิจกรรมที่ ก่อให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 จากโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามกฎหมาย การระบายฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน หากพบการฝ่าฝืนให้ดำ�เนินการตามอำ�นาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และขอความร่วมมือโรงงานอุตสาหกรรมดูแลตรวจ สอบอุปกรณ์และเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบรถบรรทุกทั้งขาออกและขาเข้าโรงงาน หยุดหรือลดกำ�ลัง การผลิต (8) ให้แขวงทางหลวงสมุทรปราการ แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ และองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ทำ�ความสะอาดเส้นทางในความรับผิดชอบ ทั้งการกวาดถนนและการพ่นชำ�ระล้างกำ�จัดฝุ่น และให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่ง รวมทั้งขอความร่วมมือหน่วยงานภาคเอกชนและ ประชาชนทำ�ความสะอาดพื้นที่ ที่รับผิดชอบเป็นประจำ�อย่างสม่ำ�เสมอ (9) ให้สำ� นักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ แจ้งข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบของปริมาณฝุ่น ละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และวิธีการปฏิบัติตนเพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้อง แก่ประชาชน

50 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

แนวทางปฏิบัติในการแจ้งเตือนภัย เป็นโครงสร้าง และระบบสื่อสารที่ช่วยให้มีข้อมูล เกี่ยวกับสาธารณภัย และการส่งข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็ว ไปยังส่วนราชการ หน่วยงาน และประชาชน ซึ่งมีความหมายของสีในการแจ้งเตือน 5 ระดับ ดังนี้

แดง

น้ำ�เงิน

หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะอันตราย สูงสุดให้อาศัยอยู่แต่ในสถานที่ปลอดภัย และปฏิบัติตามแนวทางที่กำ�หนด หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยง อันตรายมีแนวโน้มที่ สถานการณ์จะ รุนแรงมากขึ้นให้จัดเตรียมความพร้อม รับ สถานการณ์ และปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�

ส้ม

เขียว

หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยอันตราย สูงเจ้าหน้าที่กำ�ลังควบคุมสถานการณ์ให้ อพยพไป ยังสถานที่ที่ปลอดภัย และ ปฏิบัติ ตามแนวทางที่กำ�หนด หมายถึง สถานการณ์อยูใ่ นภาวะเฝ้าระวัง ให้ตด ิ ตามข้อมูล ข่าวสารอย่างใกล้ชด ิ ทุก ๆ 24 ชั่วโมง

กระบวนการแจ้งเตือนภัย ประกอบด้วย ๑) การเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ เป็นการติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ที่อาจส่งผล ให้เกิด สาธารณภัย รวมทั้งทำ�หน้าที่เฝ้าระวัง ให้ข้อมูลและข่าวสารแก่ประชาชน โดยส่วนราชการและ หน่วยงานที่มี ความรู้และเครื่องมือทางเทคนิค และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่เฝ้าระวัง และติดตาม สถานการณ์ปฏิบัติงาน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง และจัดเตรียมจัดหาอุปกรณ์ และเครื่องมือสื่อสารสำ�หรับเชื่อมกับ ระบบสื่อสารให้เพียงพอและ สามารถใช้ได้ตลอดเวลา โดยให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร วิเคราะห์ และ ประเมินสถานการณ์เพื่อเตรียมรับมือ กับสาธารณภัย ๒) การแจ้งเตือนล่วงหน้า เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่บ่งชี้ว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขต พื้นที่เสี่ยงภัย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กองอำ�นวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ / อำ�เภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ระยะ เวลาสำ�หรับการแจ้งเตือนล่วงหน้าขึ้นอยู่กับสาธารณภัยแต่ละประเภท โดยปกติควรมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ก่อน เกิดสาธารณภัยไม่ต่ำ�กว่า ๑๒๐ ชั่วโมง ๓) การแจ้งเตือนภัย เป็นการยืนยันข้อมูลว่ามีโอกาสเกิดสาธารณภัยมากกว่าร้อยละ ๖๐ และเป็นการแจ้ง แนวทางปฏิบัติให้กับส่วนราชการ หน่วยงาน กองอำ�นวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด / อำ�เภอ / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เตรียมความพร้อมรับมือกับสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้น โดยให้มีการแจ้งเตือน ภัยไม่ต่ำ�กว่า ๗๒ ชั่วโมง ก่อนเกิดภัย และต้องมีข้อมูลการแจ้งเตือนภัย ได้แก่ คาดการณ์ระยะเวลา และบริเวณ พื้นที่ที่จะเกิดสาธารณภัย ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น และความยาวนานของภัย แนวทางการปฏิบัติของส่วน ราชการ หน่วยงาน และประชาชน และการเตรียมความพร้อมรับมือ เช่น อาหาร น้ำ�ดื่ม ยารักษาโรค การแจ้งเตือนระดับจังหวัด/อำ�เภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำ�ชุมชน มูลนิธิ อปพร. ประชาชน แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าผ่านระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารและสื่อประชาสัมพันธ์ทางราชการ และเอกชน เช่น วิทยุ กระจายเสียงวิทยุสื่อสาร โทรสาร ประชาสัมพันธ์จังหวัด และช่องทางอื่น ๆ กองอำ�นวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ /อำ�เภอ/องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น รายงานผลการปฏิบัติให้กองอำ�นวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางทราบ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับ แต่ได้รับแจ้งการเตือนภัยเพื่อเป็นการยืนยันการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) ๔) การรับมือและการอพยพ กองอำ�นวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ/ อำ�เภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณากำ�หนดแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติสำ�หรับส่วนราชการ หน่วย งาน และองค์กรเอกชนในการรับมือกับสาธารณภัยที่เกิดขึ้น รวมถึงการจัดทำ�แผนอพยพและการฝึกอพยพ โดย มีศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต เป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนทรัพยากร และเครื่องมือพิเศษ ทั้งนี้ หาก เกินศักยภาพที่จะรับมือกับสถานการณ์ได้ให้รายงานกองอำ�นวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ทราบทันที

ANNUAL REPORT 2021 51


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ผลสัมฤทธิ์ของงาน ประชาชนจังหวัดสมุทรปราการ ปลอดภัยจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ผู้ที่ได้รับประโยชน์ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ

การแก้ไขปัญหาอุทกภัยนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ตั้งแต่เวลา ๒๒.๐๐น. ของวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ จนถึง เวลา ๐๖.๓๐ น. ของวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๔ ทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมขังในพื้นที่ 4 อำ�เภอในจังหวัดสมุทรปราการ ปริมาณ ฝนสะสมที่อำ�เภอบางบ่อ 231 มิลลิเมตร ปริมาณฝนสะสมที่อำ�เภอบางพลี 225 มิลลิเมตร ปริมาณฝนสะสมที่ อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ 149 มิลลิเมตร และปริมาณฝนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู 273 มิลลิเมตร ส่งผลให้ มีปริมาณน้ำ�สะสมในพื้นที่เป็นจำ�นวนมาก คิดเป็นปริมาณน้ำ� ในพื้นที่ประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยส่งผลก ระทบ ดังนี้ 1. พื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมบางปู หน่วยงานในสังกัดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ ๓๗๓ โรงงาน ปริมาณน้ำ�ในพื้นที่ถนนสายหลักไม่สูงมาก รถเล็กสามารถสัญจรไปมา ได้แต่ในซอยแยกไปสู่โรงงาน แต่ละแห่ง จะมีน้ำ�ท่วมขัง ประมาณ ๕๐ – ๖๐ เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถ สัญจรได้ แนวทางการช่วยเหลือ จังหวัด สมุทรปราการ ได้ประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยเหลืออพยพพนักงานที่ติดค้างภายในนิคม อุตสาหกรรมบางปู โดยระดมสรรพกำ�ลังและเร่งดำ�เนินการสูบน้ำ� ออกทางคูคลองเพือ ่ ระบายน้ำ�ลงสูท ่ ะเลได้อย่างรวดเร็ว 2. พืน ้ ทีน ่ อกเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู 2.1 อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ เกิดน้ำ�ท่วมในพืน ้ ทีต ่ ำ�บลแพรกษาใหม่ ได้รบ ั ผลกระทบจำ�นวน ๒๓,๒๔๓ ครัว เรือน ตำ�บลแพรกษา จำ�นวน ๑๖,๓๕๘ ครัวเรือน ตำ�บลบางปูใหม่ จำ�นวน ๒๓,๕๕๔ ครัวเรือน รวม ๖๓,๑5๕ ครัวเรือน ระดับน้ำ� ๑๐ - ๒๐ เซนติเมตร ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้ 2.2 อำ�เภอบางพลี เกิดน้ำ�ท่วมในพืน ้ ทีต ่ ำ�บลบางพลีใหญ่ หมูท ่ ่ี ๙ จำ�นวน ๘๐๐ ครัวเรือน หมูท ่ ่ี ๒๐ จำ�นวน ๑๓๕ ครัวเรือน ตำ�บลบางปลา หมูท ่ ่ี ๙ จำ�นวน ๕๐๐ ครัวเรือน และหมูท ่ ่ี ๑๐ จำ�นวน ๖๙ ครัวเรือน ระดับน้ำ� ๑๐ - ๒๐ เซนติเมตร และจังหวัดสมุทรปราการได้ขอสนับสนุนรถสูบส่งน้ำ�ระยะไกล จากศูนย์ปอ ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ๑ ปทุมธานี จำ�นวน ๑ ชุด 2.3 อำ�เภอบางบ่อ เกิดน้ำ�ท่วมในพืน ้ ทีห ่ มูท ่ ่ี ๓ ตำ�บลบางบ่อ ระดับน้ำ�สูง ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร 2.4 อำ�เภอบางเสาธง เกิดน้ำ�ท่วมในพืน ้ ทีช่ ม ุ ชนเคหะบางพลี ระดับน้ำ�สูง ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร 52 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

3. จังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำ�เนินการดังนี้ 3.1 แจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทราบและเตรียมพร้อมตัง้ แต่ในช่วงฤดูฝน และแจ้งเตือนระดับน้ำ�ขึน ้ – น้ำ�ลง ให้ มอบหมายอำ� เภอแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิน ่ ประชาสัมพันธ์ผา่ นสือ ่ ต่าง ๆ ให้ประชาชนในพืน ้ ทีท ่ ราบและเตรียม ความพร้อมรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนและจัดเวรเฝ้าระวังตลอด ๒๔ ชัว่ โมง ผ่านสายด่วนนิรภัย ๑๗๘๔ 3.2 ประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานทีเ่ กีย ่ วข้อง ช่วยเหลืออพยพพนักงานทีต ่ ด ิ ค้างภายในนิคม อุตสาหกรรมบางปู โดยระดมสรรพกำ�ลังและเร่งดำ�เนินการสูบน้ำ�ออกทางคูคลองเพือ ่ ระบายน้ำ�ลงสูท ่ ะเลได้อย่างรวดเร็ว 3.3 จัดศูนย์บญ ั ชาการเหตุการณ์ ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปู อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ โดยมี นายวันชัย คงเกษม ผูว้ า่ ราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผูบ ้ ญ ั ชาการเหตุการณ์ 3.4 ประกาศเขตพืน ้ ทีป ่ ระสบสาธารณภัย และประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผูป ้ ระสบภัย กรณีฉก ุ เฉินเพือ ่ ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผูป ้ ระสบภัยกรณีฉก ุ เฉิน พ.ศ. 2562 ผลสัมฤทธิข์ องงาน แก้ไขปัญหาน้ำ�ท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปูได้ทน ั ท่วงที ผูท ้ ไ่ี ด้รบ ั ประโยชน์ ประชาชนทีอ ่ าศัยอยูใ่ นจังหวัดสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 53


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

การจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำ�ริ ความเป็นมาโดยสรุป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หน่วยราชการในพระองค์ 904 ร่วม กันจัดโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำ�ริ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำ�นึกในพระ มหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีความ สมัครสมานสามัคคี มีความสุขและประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยราชการในพระองค์ 904 เป็น ผู้กำ� กับดูแลการปฏิบัติงานร่วมกับ หน่วยงาน ภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และให้จัดตั้งศูนย์อำ� นวยการใหญ่ โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำ�ริ มีหน้าที่ควบคุม อำ�นวยการและประสานการ ปฏิบัติเพื่อให้การ จัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำ� ริ เป็นไปอย่างต่อเนื่องถูกต้องตามพระราโชบาย และสมพระ เกียรติ รวมทั้งให้จัดตั้งศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัด/อำ�เภอ เพื่อปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนการ ดำ�เนินโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวทางพระราชดำ�ริในพื้นที่จังหวัดให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้อง กับแนวทางการดำ�เนินงานของศูนย์อำ�นวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน โดยจิตอาสาตามพระราโชบาย สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. จิตอาสาพัฒนา : ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละ ชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบำ�เพ็ญ สาธารณประโยชน์การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การอำ�นวยความสะดวกและความปลอดภัยในการดำ�รงชีวิตประจำ�วัน การประกอบอาชีพ รวมทั้ง การ สาธารณสุข ฯลฯ 2. จิตอาสาภัยพิบัติ : ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้า ตรวจ เตือน และเตรียม การรองรับภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรวมและ การเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ ดังกล่าว เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น 3. จิตอาสาเฉพาะกิจ : ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์ให้ปฏิบัติในงาน พระราชพิธี หรือการรับเสด็จ ในโอกาสต่างๆ เป็นการใช้กำ�ลังพลจิตอาสาร่วมปฏิบัติกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องใน การช่วยเหลือหรืออำ�นวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาร่วมงานรวมทั้งการเตรียมการ การเตรียมสถานที่และการ ฟื้นฟูสถานที่ภายหลัง การปฏิบัติในพระราชพิธี และการเสด็จฯ นั้นๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สรุปผลการดำ�เนินงาน (โดยสรุป) 1.งานจิตอาสาพัฒนา 1.1 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเนื่องในโอกาสวันสำ�คัญของชาติ 1.1.1 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสวนสุขภาพลัดโพธิ์ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำ�ปีพุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2563 ณ สวนสุภาพลัดโพธิ์ (ฝั่งกุโบ) อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 500 คน 1.1.2 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปร เมนทรมหามงกุฏพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2563 ณ วัดบางโฉลงใน อำ�เภอบางพลี จังหวัด สมุทรปราการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 300 คน 1.1.3 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ในวันที่ 23 ตุลาคม 2563 ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ตำ�บลปากน้ำ� อำ�เภอเมือง สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้การอำ�นวยการของนายวันชัย คงเกษม ผู้อำ�นวยการศูนย์อำ�นวยการ จิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ มอบหมายให้นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผู้อำ�นวยการศูนย์อำ�นวยการ จิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินกิจกรรมจิตอาสาบำ�เพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยมีหัวหน้าส่วน ราชการ ภาคเอกชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 400 คน 1.1.4 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงเรียนเปร็งวิสุทธาธิบดี ตำ�บลเปร็ง อำ�เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 700 คน 1.1.5 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา กำ�จัดและจัดเก็บผักตบชวา เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสำ�นึกในพระ มหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ณ คลองสำ�โรง (บริเวณพื้นที่ 9 ไร่ของ เทศบาลตำ�บลบางเมือง) ถนนเทพารักษ์ ตำ�บลบางเมือง อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 300 คน

54 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

1.1.6 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชน กาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในวันที่ 5 ธันวาคม 2563 ณ วัดใหญ่บางปลากด ตำ�บล ในคลองบางปลากด อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิต อาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 500 คน 1.1.7 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนือ ่ งในวันทีร่ ะลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศูนย์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP (วัดบางด้วนนอก) อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัด สมุทรปราการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 350 คน 1.1.8 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 31 มีนาคม 2564 ณ โรงเรียนวัดบางนางเพ็ง หมู่ 2 ตำ�บลบ้านระกาศ อำ�เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 500 คน 1.1.9 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน 2564 ณ บริเวณสนามกีฬากลางเทศบาลตำ�บลแหลมฟ้าผ่า อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีหัวหน้า ส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 300 คน 1.1.10 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันจักรี ในวันที่ 6 เมษายน 2564 ณ โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย อำ�เภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และจิต อาสาพระราชทาน เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 300 คน 1.1.11 กิจกรรมจิตอาสา “มีแล้ว แบ่งปัน” เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2564 ณ บริเวณหน้าที่ ว่าการอำ�เภอเมืองสมุทรปราการ โดยมีจิตอาสาพระราชทานเข้าร่วมกิจกรรมจำ�นวน 50 คน 1.2 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเนื่องในโอกาสวันสำ�คัญของชาติ กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ดำ�เนินการภายใต้การอำ�นวยการของ นายวันชัย คงเกษม ผู้อำ�นวยการศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนการดำ�เนินโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำ�ริ ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน และเพื่อสร้าง ความรัก ความสามัคคีให้กับประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านในฐานะหัวหน้าจิตอาสาพระราชทาน ระดับ หมู่บ้าน/ชุมชน เป็นแกนนำ� หลักในการร่วมกับประชาชน และจิตอาสาพระราชทาน ในพื้นที่รวมดำ� เนินกิจกรรม พัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเอง ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ซึ่งดำ� เนินกิจกรรมพัฒนาสถานที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่ รวม 599 กิจกรรม มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 35,000 คน 1.3 กิจกรรมการตรวจโควิด-19 เชิงรุกด้วยวิธี ATK (Antigen Test Kit) ศูนย์อำ�นวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้ การอำ�นวยการของ นายวันชัย คงเกษม ผู้อำ�นวยการศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน อำ�เภอพระประแดง เทศบาลเมืองลัดหลวง จัดจุดตรวจโควิด-19 เชิงรุกด้วยวิธี ATK (Antigen Test Kit) และตรวจขั้นยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ในพื้นที่ 3 ตำ�บล ได้แก่ ตำ�บล บางครุ ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2564 ณ โรงเรียนวัดครุใน ตำ�บลบางจาก ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2564 ณ โรงเรียนวัดชมนิมิตร และตำ�บลบางพึ่ง ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2564 ณ โรงเรียนวัดกลาง โดย จัดกำ�ลังพลจิตอาสา 904 เพื่อปฏิบัติหน้าที่อำ�นวยความสะดวกและบริการประชาชน จำ�นวน 30 นาย ซึ่งดำ�เนิน การตรวจคัดกรองประชาชนรวมทั้งสิ้น 4,162 คน พบผู้ติดเชื้อ จำ�นวน 478 คน คิดเป็นร้อยละ 11 และผู้ป่วย ทุกคนได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษา Home Isolation หรือ Community Isolation

ANNUAL REPORT 2021 55


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

2.งานจิตอาสาภัยพิบัติ กิจกรรมเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ (อัคคีภัย/อุทกภัย) 2.1 กรณีท่อก๊าซระเบิด เมื่อเวลา 12.55 น. ของวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ได้เกิดเหตุท่อส่งก๊าซธรรมชาติรั่วและเกิดเพลิงไหม้ บริเวณ ตรงข้ามวัดเปร็งราษฎร์บำ�รุง ถนนเทพราช – ลาดกระบัง ตำ�บลเปร็ง อำ�เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ส่งผลให้ เกิดก๊าซฯ ฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศและเกิดการติดไฟ ทำ�ให้ผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บจำ�นวน 63 ราย เมื่อวันที่ ๒4 ต.ค. ๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. ศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาจังหวัดสมุทรปราการ ศูนย์อำ�นวยการจิต อาสาอำ�เภอบางบ่อ ร่วมกับ เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการและคณะ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ โรงพยาบาล บางบ่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำ�นันผู้ใหญ่บ้าน มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิสว่างบำ�เพ็ญบุญอำ�เภอบางบ่อ และประชาชนจิตอาสาพระราชทาน ตรวจเยี่ยมให้กำ�ลังใจ และมอบถุงยังชีพพร้อมเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้แก่ผู้ที่ได้ รับผลกระทบจากเหตุการณ์ท่อส่งก๊าซธรรมชาติรั่วและเกิดเพลิงไหม้ พื้นที่ หมู่ 4 ต.เปร็ง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563 จำ�นวน 81 ราย ณ โรงเรียนวัดเปร็งราษฎร์บำ�รุง 2.2 กรณีไฟไหม้โรงงาน หมิงตี้ เคมีคอล จำ�กัด เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เวลา 03.20 น. เกิดเหตุระเบิดภายในโรงงาน หมิงตี้ เคมีคอล จำ�กัด ตั้งอยู่ เลขที่ 87 ซอยกิ่งแก้ว ๒๑ หมู่ที่ ๑๕ ตำ�บลบางพลีใหญ่ อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งโรงงานดังกล่าว เป็นโรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก จากแรงระเบิดทำ� ให้พื้นที่โรงงานเกิดความเสียหายทั้งหมด และขยายออกไปเป็น วงกว้าง โดยนายวันชัย คงเกษม ผู้อำ�นวยการศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการจังหวัด สมุทรปราการ ได้สั่งให้มีการอพยพประชาชนไปอยู่ ณ ศูนย์อพยพ พร้อมทั้ง ได้ขอสนับสนุนโรงครัวพระราชทาน จากศูนย์อำ�นวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน เพื่อปรุงอาหารให้กับผู้อพยพ และจัดกำ�ลังพลจิตอาสาพระราชทาน คอยอำ�นวยความสะดวกและบริการประชาชนในศูนย์อพยพ จนภารกิจเสร็จสิ้น 2.3 กรณีน้ำ�ท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน ประมาณ ๔ ชั่วโมง ปริมาณน้ำ�ฝน ๑๒๐ มิลลิเมตร ประกอบกับ น้ำ�ทะเลหนุนบางช่วงให้ให้การระบายน้ำ�ค่อนข้างช้า ทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมขังในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมบางปู ศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ โดยนายวันชัย คงเกษม ผู้ อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ ได้ให้ความช่วยประชาชนโดยจัดกำ�ลังพลจิตอาสาจราจร และ ขอรับสนับสนุนกำ�ลังพลจิตอาสาจากกองพลทหารราบที่ 11 (ร.112 พัน.1) มาช่วยอพยพประชาชน และพนักงานที่ ติดค้างในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ออกมายังพื้นที่ปลอดภัย จนภารกิจเสร็จสิ้น 3.การขับเคลื่อนโครงการสำ�คัญที่ได้รับมอบหมาย โครงการพระราชทาน โครงการ โคก หนอง นา แห่งน้ำ�ใจและความหวัง (ราชทัณฑ์)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานโครงการพระราชทาน โคก หนอง นา แห่งน้ำ�ใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์ โดยดำ�เนินการใเรือน จำ�/ทัณฑสถาน โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ผู้พ้นโทษ จำ�นวน 39,084 ราย จากเรือนจำ� 137 แห่ง ซึ่งในพื้นที่ทัพ ภาค 1/ศอ.จอส.พระราชทานภาค 1 จำ�นวน 50 แห่ง มีระยะเวลา 120 วัน ก่อนพระราชทานอภัยโทษ แบ่งเป็นการ ฝึกรุ่นละ 14 วัน กำ�หนดเปิดโครงการพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 กันยายน 2563 ซึ่งจังหวัดสมุทรปราการมีเป้า หมายติดตามและให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่ผ่านการอบรมจากโครงการฯ จำ�นวน 887 ราย โดยนายวันชัย คง เกษม ผู้อำ�นวยการศูนย์อำ�นวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดสมุทรปราการ ได้ประชุมทีมจิตอาสา 904 เพื่อขับ เคลื่อนการดำ�เนินงานการติดตามและให้ความช่วยเหลือผู้ที่พ้นโทษตามโครงการโคก หนอง นา แห่งน้ำ�ใจและความ หวัง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมทั้ง ได้มอบหมายให้ จิตอาสา 904 ลงพื้นที่เพื่อติดตามและช่วยเหลือผู้ที่พ้นโทษตามโครงการโคก หนอง นา แห่งน้ำ�ใจและความหวัง ใน พื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ ได้ดำ�เนินการลงพื้นที่ติดตามครบถ้วนแล้ว สภากาชาดไทย เป็นองค์กรการกุศลเพื่อมนุษยธรรมโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ลัทธิ และ ศาสนา ปฏิบัติภารกิจ โดยไม่หวังผลกำ�ไร มีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นองค์สภา นายิกาสภากาชาดไทย มีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหา วชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้อำ�นวยการ สภากาชาดไทย และมีนายเตช บุญนาค เป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย

56 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะเป็นตัวแทนในส่วนภูมิภาค ปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ตามแนวนโยบาย ที่สภากาชาดไทยมอบหมาย ซึ่งภารกิจหลัก ได้แก่ ให้การบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ส่งเสริมสุขภาพ อนามัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิต รับบริจาคโลหิต ดวงตา และอวัยวะ ให้การสังคมสงเคราะห์ราษฎรที่ประสบ ความทุกข์ยากเดือดร้อนและผู้ด้อยโอกาสในถิ่นธุรกันดาร สนับสนุนและส่งเสริมกิจการยุวกาชาด อาสากาชาด อาสาสมัคร ดำ�เนินการตามโครงการในพระราชดำ�ริ เป็นตัวแทนของสภากาชาดไทยในจังหวัด ส่งเสริมเผยแพร่ อุดมการณ์หลักการกาชาดและสร้างจิตสำ�นึกในเมตตาธรรมและมนุษยธรรม รวมทั้งภารกิจอื่น ๆ ที่สภากาชาดไทย มอบหมาย การจัดหางบประมาณ ในการดำ�เนินภารกิจต่าง ๆ สภากาชาดไทย ให้เหล่ากาชาดจังหวัด ดำ�เนินการจัดหา งบประมาณด้วยตนเอง โดยเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการ ดำ�เนินการจัดจำ�หน่าย สลากกาชาดการกุศลในงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ และงานกาชาดประจำ�ปี 2563 และได้ประสานขอความ ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัท ห้างร้าน มูลนิธิ รวมทั้ง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมให้การสนับสนุน ทำ�ให้เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ มีงบประมาณในการดำ�เนินภารกิจต่าง ๆ เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนใน พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นางนงรัตน์ คงเกษม ดำ�รงตำ�แหน่ง นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ และ นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเหล่ากาชาดจังหวัด สมุทรปราการ การดำ�เนินงานตามพันธกิจ 1. ด้านการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ 1.1 อัคคีภัย มอบเงินพร้อมถุงยังชีพ บรรเทาทุกข์ช่วยเหลือครอบครัว ผู้ประสบอัคคีภัยรวม 6 อำ�เภอ จำ�นวน 74 ราย เป็นเงิน 997,340.- บาท 1.2 วาตภัย มอบเงินพร้อมถุงยังชีพ บรรเทาทุกข์ช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับความเดือดร้อนจากวาตภัย รวม 3 อำ�เภอ จำ�นวน 18 ราย เป็นเงิน 135,000.-บาท 1.3 อุทกภัย มอบถุงยังชีพ บรรเทาทุกข์ชว่ ยเหลือผูป ้ ระสบอุทกภัย จำ�นวน 219 ราย เป็นเงิน 176,000.- บาท 1.4 บ้านทรุดตัว มอบเงินพร้อมถุงยังชีพ ช่วยเหลือได้รับความเดือดร้อนบ้านทรุดตัว จำ�นวน 15 ราย เป็นเงิน 52,500.-บาท 1.5 สารเคมี มอบเงินพร้อมถุงยังชีพของเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ และชุดธารน้ำ�ใจสภากาชาดไทย เพื่อบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบภัยและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แก๊สระเบิด ในเขตพื้นที่อำ�เภอบางพลี และอำ�เภอบางบ่อ จำ�นวน 91 ราย เป็นเงิน 295,000 บาท 2. ด้านส่งเสริมสุขอนามัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2.1 โครงการ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิรก ิ ต ิ ์ิ พระบรมราชินน ี าถ พระบรมราชชนนีพน ั ปีหลวง เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ จัดทำ�โครงการ มอบทุนการศึกษา เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระชนมพาษา 84 พรรษา ในปี 2564 รวม 6 อำ�เภอ จำ�นวน 150 ทุน เป็นเงิน 300,000.- บาท เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือนักเรียนยากไร้และขาดแคลน ที่มีผลการเรียนดี มีความรักในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นการส่งเสริมครอบครัวและ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี 2.2 โครงการ ปรับปรุง/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุยากไร้ ผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดทำ�โครงการ ปรับปรุง/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุยากไร้ ผู้ ป่วย ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง แข็งแรง และ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จำ�นวน 3 ครอบครัว เป็นเงิน 182,714.13 บาท 1) นายสมพงษ์ ชัยชูนาวี บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 12 ตำ�บลแหลมฟ้าผ่า อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 2) นายฉอ้อน ฟักทิม บ้านเลขที่ 86 หมู่ที่ 12 ตำ�บลแหลมฟ้าผ่า อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 3) นายรุ่งอรุณ บุญประดิษฐ บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 6 ตำ�บลท้ายบ้าน อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 57


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

3. ด้านการรับบริจาคโลหิต เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมอำ� เภอ และโรงพยาบาลสมุทรปราการ จัดกิจกรรม โครงการ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลง กรณวรราชภักดีสิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี รับบริจาคโลหิตภายในโรง พยาบาลสมุทรปราการ และตามสถานที่ต่าง ๆ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา 2 เมษายน 2564 พร้อมทั้งรับบริจาคดวงตา และอวัยวะ งบประมาณจำ�นวน 141,615.-บาท ซึ่งมีผู้บริจาคโลหิต ดวงตา และอวัยวะ ดังนี้ - ผู้บริจาคโลหิต จำ� นวน 11,149 ราย ได้โลหิตปริมาณ 3,902,150 ซี.ซี. - ผู้บริจาคดวงตา จำ�นวน 278 ราย - ผู้บริจาคอวัยวะ จำ�นวน 268 ราย 4. ด้านการสังคมสงเคราะห์ราษฎรผู้ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน 4.1 โครงการ “วันกาชาดบรรเทาทุกข์ บำ�รุงสุข ปวงประชา” เหล่ากาชาดจังหวัดฯ ลงพื้นที่พบปะช่วยเหลือประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ในพื้นอำ�เภอ ทุกอำ�เภอ จำ�นวน 180 ราย มอบเงินสงเคราะห์พร้อมถุงยังชีพ เป็นเงิน 450,000.- บาท 4.2 ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา รวมทั้ง ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง เหล่ากาชาดจังหวัดฯ ลงพืน ้ ทีอ ่ อกเยีย ่ มให้ความสงเคราะห์ชว่ ยเหลือ ราษฎร ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา รวมทัง้ ผูส ้ งู อายุ ผูย ้ ากไร้ ผูด ้ อ ้ ยโอกาส ผูพ ้ ก ิ าร ผูป ้ ว่ ยติดเตียง ในพืน ้ ทีอ ่ ำ�เภอ ทุกอำ�เภอ 298 ราย เป็นเงิน 909,156.- บาท

5. โครงการพระราชดำ�ริ 5.1 การบริการฉีดวัดซีนป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา - 2019 เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับสถานีกาชาดที่ 5 สวางคนิวาส และ ศูนย์เวชศาสตร์ฟน ้ื ฟูสภากาชาดไทย ให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา– 2019 และจัดบริการอาหาร กลางวันมอบให้ กั บเจ้ า หน้ า ที ่ แพทย์ พ ยาบาล อาสาสมั ค รสภากาชาดไทย ณ บริ เ วณใต้ อาคารหอพั ก เจ้ า หน้ า ที ่ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สวางคนิวาสตำ�บลท้ายบ้าน อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน 5.2 คนไข้ในพระราชานุเคราะห์ เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์ นาย รักเกียรติ พิลภักดิ์ บ้านเลขที่ 29 หมู่ที่ 9 ตำ�บลแหลมฟ้าผ่า อำ�เภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ มอบเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือ จำ�นวน 10,000.- บาท พร้อมถุงยังชีพ

6. สนับสนุนและส่งเสริมกิจการยุวกาชาด อาสากาชาด อาสาสมัคร สภากาชาดไทย เหล่ากาชาดจังหวัดฯ ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจการยุวกาชาด โดยในปี 2564 โดยอาสายุวกาชาดเหล่า กาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ได้ร่วมกิจกรรมในการประชาสัมพันธ์ การรับบริจาคดวงตา อวัยวะ การจำ�หน่าย สลากกาชาดการกุศลในงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ และงานกาชาดประจำ�ปี 2564 ระหว่างวันที่ 7 - 18 ตุลาคม 2563 ณ ร้านเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ และ ในปีงบประมาณ 2564 ได้มีการเปิดรับสมัครอาสายุวกาชาด เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีเยาวชน สนใจสมัครทางออนไลน์ จำ�นวน 97 คน แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 จึงไม่ สามารถจัดกิจกรรมอบรมได้ อาสาสมัครยุวกาชาด เหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ จึงได้จัดกิจกรรมอบรม ทางออนไลน์ หัวข้อ การเรียนรู้ “หลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด Online RCY Basic Courses ของสำ�นักงานยุว กาชาด สภากาชาดไทย

58 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

สรุปผลการดำ�เนินงานของชมรมแม่บ้านมหาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ ประจำ�ปี 2564 สมาคมแม่บ้านมหาดไทย เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของภริยาข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2524 และได้รับอนุญาตให้แต่งตั้งเป็น“สมาคมแม่บ้านมหาดไทย” เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 โดย ใช้ดอกแก้วเป็นสัญลักษณ์ของสมาคม เนื่องจากดอกแก้วเป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำ�รง ราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงโปรด ในส่วนภูมิภาค ได้จัดให้มีชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด โดยกำ�หนดให้ภริยาผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคี อุปการะซึ่งกันและกันระหว่างแม่บ้านมหาดไทย เป็นศูนย์กลางกาปฏิบัติ งานของกลุ่มแม่บ้านมหาดไทย พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพ ส่งเสริมการศึกษา สุขอนามัย การกีฬา การบันเทิง ศีลธรรมจรรยา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มแม่บ้านมหาดไทย เพื่อเสริมความมั่นคงในด้าน สวัสดิภาพ ความเป็นอยู่ ความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันของครอบครัวข้าราชการกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งช่วย สนับสนุนภารกิจของกระทรวงมหาดไทยในด้านต่าง ๆ เช่น การบำ�บัดทุกข์ บำ�รุงสุขของประชาชน ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ด้านการศึกษาของเด็กและเยาวชน ชมรมแม่บา้ นมหาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ โดยการนำ�ของ ประธานแม่บา้ นมหาดไทย จังหวัสมุทรปราการ นางนงรัตน์ คงเกษม ได้แต่งตั้งคณะทำ�งานชมรมแม่บ้านมหาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเป็นศูนย์รวมใน การดำ�เนินงานและประสานการปฏิบัติงานของแม่บ้านมหาดไทย เพื่อขับเคลื่อนการดำ�เนินงานตามแนวนโยบายของ กระทรวงมหาดไทย สมาคมแม่บ้านมหาดไทย มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้า เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ดังนี้ การสนับสนุนส่งเสริมการดำ�เนินงานของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย 1. น้อมนำ�แนวพระราชดำ�ริ ชมรมแม่บา้ นมหาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำ�เนินงาน “น้อมนำ�แนวพระราชดำ�ริของ สมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้ามหาจักรีสริ น ิ ธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิรก ิ จ ิ การิณพ ี รี ย พัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี สูแ่ ผนปฏิบต ั ก ิ าร 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพือ ่ สร้างความมัน ่ คง ทางอาหาร” นำ�โดย นายวันชัย คงเกษม ผูว้ า่ ราชการจังหวัดสมุทรปราการ ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย นาง นงรัตน์ คงเกษม ประธานแม่บา้ นมหาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ และคณะ ร่วมกิจกรรม “ปลูกผักสวนครัว เพือ ่ สร้างความมัน ่ คงทางอาหาร” 2. ด้านบรรเทาทุกข์ (โรคติดเชือ ้ ไวรัสโคโรนา 2019) ตามทีไ่ ด้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชือ ้ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึง่ ได้พบผูต ้ ด ิ เชือ ้ แพร่ระบาดเป็นวงกว้างทุกพืน ้ ทีใ่ นจังหวัดสมุทรปราการ ดังนัน ้ เพือ ่ เป็นการยับยัง้ การแพร่ระบาดของเชือ ้ โรคดัง กล่าว รัฐบาล มีนโยบายในการยับยัง้ และป้องกันการแพร่ระบาดของเชือ ้ โรคดังกล่าว โดยได้จด ั ตัง้ โรงพยาบาลสนาม เพือ ่ การรักษาตัวของผูป ้ ว่ ยซึง่ มีเป็นจำ�นวนมาก ดังนีน ้ เพือ ่ เป็นการให้ความช่วยเหลือทางราชการในการแก้ไขปัญหาและเพือ ่ เป็นกำ� ลังใจกับเจ้าหน้าทีแ่ พทย์ พยาบาล นางนงรัตน์ คงเกษม ประธานแม่บา้ นมหาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมคณะ ได้นำ�อาหารกล่อง ไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลบางพลี และโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัย ราชภัฏ สมุทรปราการ 3. ด้านการสงเคราะห์ 3.1 พิธม ี อบทุนการศึกษาคุณพุม ่ ร่วมพิธม ี อบทุนการศึกษาคุณพุม ่ ประจำ�จังหวัดสมุทรปราการ เพือ ่ ช่วยเหลือเด็กพิเศษ ณ ศูนย์การศึกษา เด็กพิเศษ ตำ�บลบางปลา อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 59


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

3.2 ตรวจเยีย ่ มและมอบทุนการศึกษาให้นก ั เรียนของมูลนิธริ ว ่ มจิตต์ น้อมเกล้าฯ ให้การสนับสนุนภารกิจด้านการศึกษา โดยนำ�คณะชมรมแม่บา้ นมหาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ ออกเยีย ่ ม มอบทุนการศึกษาแก่นก ั เรียนยากไร้ มูลนิธริ ว่ มจิตต์นอ ้ มเกล้าฯ เพือ ่ เยาวชน ในพระบรมราชินป ู ถัมภ์ และมอบทุนการ ศึกษาแก่บต ุ รอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดสมุทรปราการ และบุตรข้าราชการ ประจำ�ปี 2564 3.3 มอบทุนการศึกษาสมาคมแม่บา้ นมหาดไทย และชมรมแม่บา้ นมหาดไทย จังหวัดสมุทรปราการ ประจำ�ปี 2564 ชมรมแม่บา้ นมหาดไทย ได้ให้การสนับสนุนภารกิจ โดยจัดพธีมอบทุนการศึกษาแก่บต ุ รอาสาสมัครรักษาดิน แดนจังหวัดสมุทรปราการ และบุตรข้าราชการ ประจำ�ปี 2564 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครสมุทรปราการ 3.4 งานวันคล้ายวันสถาปนากองอาสาสมัครรักษาดินแดน ร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนากองอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดสมุทรปราการ ประจำ�ปี 2564 มอบ ถุงยังชีพแก่สมาชิกอาสาสมัครรักษาดนแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำ�นวน 106 ชุด 3.5 มอบถุงยังชีพราษฎรยากไร้ ผูด ้ อ ้ ยโอกาส ร่วมกิจกรรมโครงการ บำ�บัดทุกข์ บำ�รุงสุข สร้างรอยยิม ้ ให้ประชาชน (จังหวัดเคลือ ่ นที)่ มอบถุงยังชีพให้ ผูม ้ รี ายได้นอ ้ ย ผูย ้ ากไร้ ผูด ้ อ ้ ยโอกาส ในพืน ้ ทีท ่ ก ุ อำ�เภอ จังหวัดสมุทรปราการ 3.6 การสงเคราะห์ผป ู้ ว ่ ยติดเตียง ผูด ้ อ ้ ยโอกาส ออกเยีย ่ มให้การสงเคราะห์ชว่ ยเหลือผูป ้ ว่ ยติดเตียง ผูด ้ อ ้ ยโอกาสในชุมชน ตำ�บลปากน้ำ� อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ มอบเงินพร้อมถุงยังชีพ จำ�นวน 6 ราย 3.7 เยีย ่ มประชาชนผูไ้ ด้รบ ั ผลกระทบจากเหตุการณ์แก๊สระเบิด ออกเยีย ่ มผูไ้ ด้รบ ั ผลกระทบจากเหตุการณ์ทอ ่ ส่งแก๊ส ปตท. ระเบิดในเขตพืน ้ ทีต ่ ำ� บลเปร็ง อำ� เภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ทำ�ให้บา้ นเรือนของประชาชนได้รบ ั ความเสียหาย และประชาชนได้รบ ั บาดเจ็บ เสียชีวต ิ และ บ้านเรือนได้รบ ั ความเสียหาย จำ�นวนมาก 4. การบริจาคเงินและสิง่ ของวัดพระบาทน้ำ�พุ ได้พาคณะชมรมแม่บา้ นมหาดไทย มอบเงินช่วยเหลือวัดพระบาทน้ำ�พุจำ�นวน 95,000.- บาท พร้อมทัง้ นำ� เครือ ่ งอุปโภค บริโภค (ข้าวสาร อาหารแห้ง และหน้ากากอนามัยผ้า) เพือ ่ ช่วยเหลือเป็นค่าใช้จา่ ยต่าง ๆ ของวัด พระบาทน้ำ�พุ และผูป ้ ว่ ยทีร่ ก ั ษาตัว

60 ANNUAL REPORT 2021


รายงานประจำ�ปีงบระมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จังหวัสมุทรปราการ

ANNUAL REPORT 2021 61


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.