โอเอซิสใกล้กรุง ณ คุ้งบางกะเจ้า
ณ คุ้งบางกะเจ้า
พรรัศมี แซ่ฉั่ว
พรรัศมี แซ่ฉั่ว
·รงค¹อง บางÂอ บางกระสอบ บาง¹éÓ¼Öéง ºÒ§¡Ðà¨ŒÒ บางกอบัว
โอเอซิสใกล้กรุง
โอเอซิสใกล้กรุง
ณ คุ้งบางกะเจ้า
พรรัศมี แซ่ฉั่ว
โอเอซิสใกล้กรุง ณ คุ้งบางกะเจ้า พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2557 จ�ำนวน 104 หน้า ที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษา
อาจารย์สุเจน กรรพฤทธิ์ ผศ. มัทนา เจริญวงศ์ รศ.ดร. สุกัญญา บูรณเดชาชัย อาจารย์อารีย์ พีรพรวิพุธ อาจารย์กองทรัพย์ ชาตินาเสียว
เรื่องและออกแบบ ช่างภาพ ภาพวาด
พรรัศมี แซ่ฉั่ว พรรัศมี แซ่ฉั่ว ธีระพงษ์ พลรักษ์ สุกิจ พลับจ่าง ชนกานต์ เพชรพลอย ภูวิศา เตจ๊ะมูล พิมพกานต์ จ�ำรัสโรมรัน พรไพลิน จิระอดุลย์วงค์
¡‹Í¹ÍÍ¡à´Ô¹·Ò§ ‘ท่องเที่ยว’ ฉันแน่ใจว่าหากเอ่ยถึงค�านีเ้ มือ่ ไหร่ หลายคนจะต้องนึกถึงความสุข สนุกสนาน เพราะจะได้ออกไปพบเจอสิ่งใหม่ ๆ ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวให้ค้นหาและจดจ�า แต่ เชื่อหรือไม่ว่าการออกไปเที่ยวแต่ละครั้ง ได้ท�าลายทรัพยากรไปมากมาย โดยเฉพาะ การท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ เพราะมนุษย์มักคิดว่าตนเป็นเจ้าของ ทั้งที่ แท้จริงแล้วเป็นเพียงผู้อาศัยที่แวะมาเยี่ยมเยียนเท่านั้น เมือ่ มีการน�าทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างสิน้ เปลือง ท�าให้ผคู้ นเริม่ ตระหนัก และเกิดความรู้สึกหวงแหนสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจึงได้รับความสนใจ มากขึ้น หนังสือ ‘โอเอซิสใกล้กรุง ณ คุง้ บางกะเจ้า’ เล่มนี้ จะพาผูอ้ า่ นไปสูดออกซิเจน ให้เต็มปอด ออกเดินทางด้วยสองน่อง ดื่มด�่าบรรยากาศสองข้างทางด้วยจักรยาน เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปญญาชาวบ้าน ตามหลักการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่เน้นกระตุ้นจิตส�านึกของคนในท้องถิ่นและให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว ให้ช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพเดิม คุ้งบางกะเจ้าจะท�าให้รู้ว่าการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไม่ได้สวนทางกับการ เจริ ญ เติ บ โตของต้ น ไม้ แ ต่ อ ย่ า งใด และการรั ก ษาธรรมชาติ ไม่ ใช่ ห น้ า ที่ ข อง คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของพวกเราทุกคน ใกล้ ๆ กรุงเทพฯ ยังมี ‘ปอด’ รอให้ทุกคนได้ไปพิสูจน์ด้วยสองน่อง ของคุณเอง พรรัศมี แซ่ฉั่ว
แผนที่นำ�ทาง
p.8
p.8 p.12 p.16 p.24 p.34
รู้จักคุ้งบางกะเจ้า วิธีเดินทางมาคุ้งบางกะเจ้า บ้านลุงกุล ชมรมรักษ์บางยอ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ บางกะเจ้า พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย บางกะเจ้า
p.24
p.34
p.54
p.66
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมอญ ทรงคนอง ภูมิปัญญาน�้ำตาลมะพร้าว บางยอ สวนป่าล�ำพู บางกระสอบ ตลาดน�้ำ บางน�้ำผึ้ง ฟาร์มเห็ด บางกอบัว
p.44 p.54 p.66 p.78 p.94
รู้จักคุ้งบางกะเจ้า คู‹แ½ดกระเพาะหมู 8
9
คุ้งบางกะเจ้า อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ คนทั่วไปเรียก กันติดปากวา ‘เกาะกระเพาะหมู’ เพราะถูกคุง้ นํา้ เจ้าพระยาตีวงโค้งล้อมพืน้ ทีเ่ ปน ระยะทางกวา 15 กิโลเมตร จนมีรูปรางคล้ายกระเพาะหมู บนเกาะมีเนื้อที่กวา 12,000 ไร ประกอบด้วย 6 ตําบล ได้แก ทรงคนอง บางยอ บางกระสอบ บางนํ้าผึ้ง บางกอบัว และบางกะเจ้า ตั้งแต 14 กันยายน 2520 คณะรัฐมนตรีมีมติให้อนุรักษบางกะเจ้าเปน ‘ปอด’ ของคนกรุงเทพฯ สงผลให้คงุ้ บางกะเจ้ากลายเปนพืน้ ทีธ่ รรมชาติใกล้กรุงที่ ใหญที่สุด 10
ครม. ยั ง มี ม ติ ใ นวั น ที่ 25 มิถุนายน 2534 อนุมัติ ‘โครงการสวน กลางมหานคร’ และเวนคืนที่ดิน สํานัก นโยบายและแผนสิ่ ง แวดล้ อ ม กทม. ยังซือ้ ทีด่ นิ เพิม่ เติมเพือ่ อนุรกั ษเปนพืน้ ที่ สีเขียว จนได้ที่ดิน 1,276 ไร ในพื้นที่ทั้ง 6 ตําบล จากนั้นสร้างสวนสาธารณะ และสวนพฤกษชาติศรีนครเขื่อนขันธ บนเนื้อที่ 148 ไร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้ า อยู หั ว ฯ พระราชทานชื่ อ ว า ‘ศรีนครเขือ่ นขันธ’ หลังดําเนินการเสร็จ สิ้นในป 2540 เมื่ อ คุ ้ ง บางกะเจ้ า เป น พื้ น ที่ อนุรกั ษ จึงมีขอ้ กําหนดห้ามใช้ทดี่ นิ เพือ่ จัดสรรการอยูอาศัยขนาดใหญ ห้าม สร้ า งโรงงานและอาคารพาณิ ช ย ทุ ก ประเภท ทุกวันนีค้ งุ้ บางกะเจ้าจึงกลายเปนแหลงทองเทีย่ วเชิงนิเวศใกล้กรุง เหมาะ กับการปนจักรยานชมธรรมชาติ สูดอากาศบริสุทธิ์ ซึ่งตอมานิตยสารไทมยกยองให้เปน ‘The best urban oasis’ หรือ โอเอซิสที่มีอากาศบริสุทธิ์อันดับต้น ๆ ในเอเชีย
11
ÇÔ¸Õà´Ô¹·Ò§
มาคุ้งบางกะเจ้า 12
13
14
ทางรถยนต
จากฝ ง กรุ ง เทพฯ หากใช้ ร ถยนต์ ส ่ ว นตั ว สามารถเดิ น ทางมา บางกะเจ้าได้โดยใช้ทางด่วน หรือสะพานภูมิพลมาลงที่ถนนสุขสวัสดิ์ เลี้ยว ซ้ายที่สามแยกพระประแดง ตรงไปจนกระทั่งถึงตลาดพระประแดง ทางจะ บังคับเลี้ยวซ้าย ตรงไปลอดใต้สะพานภูมิพล เลี้ยวขวาขึ้นสะพานข้าม คลองลัดโพธิ์ก็จะเข้าสู่ถนนสายหลัก คือ ถนนเพชรหึงษ์ เป็นจุดเริ่มต้นของ คุ้งบางกะเจ้า
ทางรถโดยสารประจําทาง
ท่าน�้าพระประแดงเป็นท่ารถโดยสารประจ�าทาง 3 สาย 1. สาย 82 พระประแดง - สนามหลวง 2. สาย 6 พระประแดง – บางล�าพู 3. สาย 138 พระประแดง – หมอชิตใหม่ จากท่าน�้าพระประแดงมีรถประจ�าทางสีฟาสาย พระประแดง – บางกอบัว หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เข้าไปในคุ้งบางกะเจ้า
ทางเรือ
เรือข้ามฟากจากฝง กรุงเทพฯ ไปยังอ�าเภอพระประแดง มีให้บริการ ทั้งหมด 4 ท่า ได้แก่ 1. ท่าเรือวัดคลองเตยนอก ข้ามไปยังท่าเรือบางกะเจ้า ท่าเรือ ก�านันขาว และท่าเรือเพชรหึงษ์ในต�าบลบางกะเจ้า 2. ท่าเรือวัดบางนานอก ข้ามไปยังท่าเรือวัดบางน�้าผึ้งนอก และ ท่าเรือตาเลื่อน 3. ท่าเรือปูเจ้าสมิงพราย ข้ามไปยังที่ว่าการอ�าเภอพระประแดง 4. ท่าเรือช่องนนทรี ข้ามไปยังท่าเรือวัดบางกะเจ้านอก
15
เส้นทางปั›นจักรยาน 1. พิพิธภัณฑ์มอญ วัดคันลัด 2. จุดพักจักรยาน บ้านลุงกุล 3. ภูมิปญญาการท�าน�้าตาลมะพร้าว 4. สวนปาล�าพู บางกระสอบ 5. ตลาดน�้าบางน�้าผึ้ง 6. ฟาร์มเห็ดช่างแดง 7. พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย 8. สวนศรีนครเขื่อนขันธ์
16
บ้านลุงกุล
ชมรมรักษ์บางยอ
ปจจุบัน ‘จักรยาน’ ก�าลังกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งของคนเมืองกรุง ซึ่ง นอกจากการใช้งานในชีวิตประจ�าวัน ยังรวมถึงการปนท่องเที่ยวในวันหยุดด้วย คุ้งบางกะเจ้า เป็นสวรรค์ของนักปน ด้วยเป็นพื้นที่สีเขียวที่ชาวบ้านยังใช้ จักรยานในชีวิตประจ�าวัน มลภาวะน้อย นอกจากนี้ยังมีแหล่งเรียนรู้ภูมิปญญาชาว บ้าน ตลาด และสวนสาธารณะให้แวะชมกันอย่างจุใจ หากใครอยากรูจ้ กั คุง้ บางกะเจ้า การขี่จักรยานจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่คุ้งบางกะเจ้า จุดเช่าจักรยานมี 3 จุด คือ บริเวณท่าเรือก�านันขาว ทางเข้า สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ และบ้านธูปหอมสมุนไพร ใกล้ตลาดน�้าบางน�้าผึ้ง การปนจักรยานในคุ้งเริ่มต้นจากใต้สะพานภูมิพล ผู้ที่มาเป็นครั้งแรก หาก 17
อยากมีไกด์ ต้องการถามเส้นทาง สามารถแวะไปที่ ‘บ้านลุงกุล ศูนย์บริการข้อมูล ท่องเที่ยวด้วยจักรยาน’ แต่กระซิบบอกนิดหนึ่งว่า ควรนัดหมายล่วงหน้า เพราะลุงกุลมีคิวน�าทางให้ นักปนไม่เว้นแต่ละวัน เมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเพชรหึงษ์ 23 มาไม่ไกลจะพบบ้านเรือนไทยครึ่งไม้ ครึ่งปูนหลังใหญ่ตั้งอยู่ ใช่แล้ว วันนี้ฉันมีนัดกับลุงกุล ทั น ที ที่ ม าถึ ง กุ ล สาธิ ต านุ รั ก ษ ประธานชมรมจั ก รยานรั ก ษ์ บ างยอ ผูเ้ ชีย่ วชาญเส้นทางจักรยานในคุง้ บางกะเจ้านัง่ รออยูท่ ใี่ ต้ถนุ บ้านอันกว้างขวาง ท่าทาง ทะมัดทะแมง ยิ้มแย้มแจ่มใส จนไม่อยากเชื่อว่า ชายผู้นี้อายุล่วงเลยถึง 74 ปีแล้ว “ทีเ่ กาะกระเพาะหมู คนนิยมมาปน จักรยานกันมาก ถือเป็นแหล่งท่องเทีย่ ว เชิงนิเวศ การเทีย่ วด้วยจักรยานไม่ทา� ลายธรรมชาติ ทิง้ ไว้เพียงรอยล้อ รอยเท้าเท่านัน้ เก็บแต่ภาพความประทับใจกลับไป”
ปายบอกเส้นทางจักรยานในคุ้งบางกะเจ้า
18
19 ลุงกุล สาธิตานุรักษ กับจักรยานคูใจ
ในสมัยก่อนลุงกุลเคยขี่จักรยานกับชมรมจักรยานที่อ�าเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี ทั้งแข่งขัน และขี่ท่องเที่ยว จนจักรยานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เมื่อปลดเกษียณ จึงกลับมาอยู่ที่คุ้งบางกะเจ้า ประกอบกับมีหน่วยงานรัฐเช้ามาส่งเสริมการท่องเที่ยว ลุงจึงถือโอกาสนีอ้ อกแบบสร้างเส้นทางจักรยานท่องเทีย่ ว โดยติดปายบอกทางไว้รอบ กระเพาะหมู ซึ่งมีทั้งหมด 3 เส้นทาง ดังนี้ เส้นทางแรก ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นเส้นทางลัดเลาะริมแม่น�้า เจ้าพระยา ทางค่อนข้างวิบาก เหมาะส�าหรับนักปนมืออาชีพ เส้นทางทีส่ อง ระยะกลาง 17 กิโลเมตร เป็นเส้นทางทีผ่ า่ นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆหลายแห่ง รถยนต์สามารถติดตามได้ และ เส้นทางที่สาม ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เหมาะส�าหรับผู้เริ่มต้น ปนจักรยาน และมีเวลาน้อย บ้านเรือนไทยหลังใหญของลุงกุล เปดเปนจุดพักจักรยานของนักทองเที่ยว
20
(บน) ลุงกุลและทีมนักปนจักรยานเตรียมตัวออกเดินทาง (ลาง) จักรยานเชาจากบ้านลุงกุล พร้อมสําหรับการเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า
21
ร้านอาหารเล็ก ๆ ในบริเวณบ้านลุงกุล สําหรับรองรับนักปนจักรยาน
ฉันขอให้ลุงกุลเป็นไกด์น�าทางปนจักรยานในเส้นทางระยะกลาง เพื่อจะได้ ผ่านแหล่งเรียนรู้หลายแห่ง แต่ลุงกลับดับฝน ด้วยการบอกว่าการเข้าไปศึกษาวิถีชีวิต ของชาวบ้านบางแห่งต้องติดต่อล่วงหน้า เพราะไม่ได้พร้อมต้อนรับนักท่องเทีย่ วตลอด เวลา และนักปนส่วนมากเพียงแค่ขี่ผ่าน ไม่ได้แวะเข้าไปเรียนรู้อย่างจริงจัง เห็นทีฉันต้องมาที่นี่อีกหลายครั้งเป็นแน่ กว่าจะเข้าไปยังแหล่งเรียนรู้ได้ ครบถ้วนตามแผนที่เส้นทางระยะกลาง วันนี้ท�าได้เพียงจดจ�าเส้นทางให้แม่นย�า แต่อย่างไรก็ตาม ฉันก็ยังยืนยันที่จะลองปนจักรยานกว่า 17 กิโลเมตร บนเกาะกระเพาะหมู โดยเช่าจักรยานจากลุงกุล ที่จอดให้เลือกราว 10 คัน บริเวณ ใต้ถุนบ้าน หลังจากที่ลุงสูบลมล้อรถที่จะเป็นพาหนะคู่กายของฉัน พร้อมปรับอานให้ พอเหมาะพอดี เพื่อให้แน่ใจว่าขาสามารถยันพื้นได้...การออกเดินทางสองล้อด้วย สองน่องก็เริ่มต้นขึ้น
22
23
ปลูกต้นไม้ãนãจคน บางกะเจ้า
24
25
สวนศรีนครเขื่อนขันธ์� “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ต้องการให้มาขี่จักรยานชมสวน เพราะ ทราบว่าสวนศรีนครเขื่อนขันธ์มีเส้นทางจักรยานที่สวยงาม และชมทัศนียภาพตาม ร่องสวนชาวบ้านเป็นระยะทางยาว ตั้งใจจะมาเยี่ยมสวนศรีฯ โดยเฉพาะขี่จักรยาน และชมหอดูนก” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชด�ารัสแก่ ผู้ที่มาเข้าเฝาฯ เมื่อครั้งเสด็จพระราชด�าเนินเยือนโครงการสวนกลางมหานคร เมื่อปี 2549 ลุงกุลปนจักรยานคู่ใจออกน�าทาง ลัดเลาะเข้าซอยเพชรหึงษ์ 33 ชาวบ้าน เรียกกันติดปากว่าซอยวัดราษฏร์ฯ เพราะเป็นทีต่ งั้ ของวัดราษฏร์รงั สรรค์ ระหว่างทาง 26
27 นักทองเที่ยวแวะพักผอนด้านลางของหอดูนก
ลุงจะหยุดรถ ชีใ้ ห้ดปู า ยบอกทางทีร่ ว่ มกับหน่วยงานของรัฐสร้างขึน้ อยูเ่ ป็นระยะ ช่วย ให้อุ่นใจว่าหากไม่มีไกด์ ก็จะมีปายเป็นเพื่อนน�าทาง ท้องฟาแจ่มใส แดดแรงตามแบบฉบับเมืองไทยเมืองร้อน แต่สองข้างทาง ร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ช่วยบรรเทาแสงแดดอันร้อนระอุลงได้มาก นอกจากหยุดแวะดูปายบอกระยะทางแล้ว ลุงกุลยังจอดทักทายชาวบ้าน ที่ขี่จักรยานสวนทางมาด้วยความสนิทสนม จากบทสนทนาท�าให้รู้ว่าหลายคนก�าลัง จะไปซือ้ ของในละแวกนัน้ ส่วนบางคนเพิง่ กลับจากท�างาน โดยใช้จกั รยานเป็นพาหนะ จากบ้านไปท่าเรือ เพื่อข้ามฝงไปกรุงเทพฯ สองล้อหมุนบดถนนไกลกว่า 4 กิโลเมตร จากศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว ด้วยจักรยาน บ้านลุงกุล ต�าบลบางยอ มุ่งสู่บางกะเจ้า ต�าบลเหนือสุดของเกาะ กระเพาะหมู ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนสาธารณะขนาดใหญ่ อันเป็นที่ภาคภูมิใจของ ชาวบางกะเจ้า เลี้ยวเข้าสู่ลานถนนคอนกรีตด้านหน้าสวน พื้นที่โล่งใช้ส�าหรับจอดรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของผู้มาเยือน จุดเช่าจักรยานเปดต้อนรับอยู่ทางขวามือตรงข้าม ปอมยาม ภายในสวนให้เข้าได้เฉพาะรถจักรยานและเดินเท้าเท่านั้น เมื่อข้ามสะพาน ปูนอันสูงชัน เนื้อที่กว้างขวางกว่า 148 ไร่ของ ‘สวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ ศรีนครเขื่อนขันธ์’ ก็ประจักษ์แก่สายตา
28
บรรยากาศรมรื่นภายในสวน
29
ต้นโพทะเล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงปลูก
เมื่อปี 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนแห่งนี้ว่า ‘ศรีนครเขื่อนขันธ์’ อันหมายถึง สวนสาธารณะที่เป็น ศรีแก่นครเขือ่ นขันธ์ ซึง่ เป็นชือ่ เดิมของอ�าเภอพระประแดง มีการด�าเนินการดูแลรักษา พรรณไม้และความอุดมสมบูรณ์โดยหน่วยงานของรัฐเรื่อยมา ปจจุบันอยู่ภายใต้ การบริหารของศูนย์จัดการพื้นที่สีเขียวเชิงนิเวศนครเขื่อนขันธ์ สังกัดส�านักโครงการ พระราชด�าริและกิจการพิเศษ กรมปาไม้ ความร่มรื่นของต้นไม้นานาพรรณขับบรรยากาศให้รู้สึกคล้ายอยู่ในดินแดน ที่มีแต่อากาศบริสุทธิ์ ความเขียวขจีโดยรอบท�าให้กล้าสูดหายใจได้อย่างเต็มปอด ออกซิเจนค่อย ๆ ผ่านโพรงจมูก เกิดความรู้สึกสดชื่นปลอดโปร่ง เวลานั้นเองฉันจึง เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเหตุใดบริเวณนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘ปอดของคน กรุงเทพฯ’ 30
ปนมาตามทางเรื่อย ๆ จะพบกับปายให้ความรู้เป็นภาษาไทยและภาษา อังกฤษตลอดสองข้างทาง ตัง้ แต่ปา ยบอกความเป็นมาของสวนศรีนครเขือ่ นขันธ์ ปาย ให้ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้พื้นถิ่นที่ปลูกอยู่ในสวนและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ปายสีสันสวยงาม เรียงรายรอบสวนจ�านวนมากเสียจนถ้าอ่านหมดทุกปายคงใช้เวลาเกือบครึ่งค่อนวัน ไฮไลต์อย่างหนึ่งของสวนแห่งนี้ คือ การไปเยือนหอดูนก ฉันเคยได้ยิน ค�าร�่าลือมาว่าสวนแห่งนี้มีนกสีสันสดใสหลากหลายชนิดให้ได้ชม บันไดหลายขั้น เรียงตัวขึ้นสู่ด้านบน แต่เมื่อขึ้นไปถึง...กลับพบเพียงยอดไม้ “ช่วงหกโมงเย็น เป็นเวลาที่เหมาะแก่การดูนก เพราะนกจะพากันกลับรัง ต้องนั่งเฝา ถึงจะเห็น” ฉันถามลุงกุล หลังลงมาจากหอดูนกโดยทีไ่ ม่เจอนกเลยสักตัว จึงตระหนักได้ ว่า การชมธรรมชาติไม่เหมือนเล่นสวนสนุกที่เราจะเป็นผู้ก�าหนดเวลาเองได้ เพราะ ธรรมชาติมีนาฬกาของมัน ฉันจับจักรยานเตรียมปนไปยังจุดอื่นต่อ ทันใดนั้น ลุงกุลชี้ให้ดูนกสีน�้าเงินเช้มตัวหนึ่งบินฉวัดเฉวียนไปมา ศาลาพักผอนริมนํ้าภายในสวน
31
อย่างน้อยก็ได้เห็นนกสีสวย แม้จะเจอเพียงตัวเดียวก็ตาม หลังจากนั่งบนอาน ลุงกุลพาชมรอบ ๆ สวน ขึ้นสะพานไม้สูงชันและมีช่วง รอยต่อของสะพานกับพืน้ ไม่สม�า่ เสมอ จนต้องลงเข็นเจ้าสองล้อขึน้ สะพานข้ามสระน�า้ ขนาดใหญ่ ฉั น สั ง เกตเห็ น ว่ า ศาลาพั ก ผ่ อ นริ ม สระน�้ า มี เ ด็ ก ๆ ในพื้ น ที่ แ ละนั ก ป น ที่ส่วนมากมากันเป็นทีม นั่งพักผ่อนและให้อาหารปลาอย่างเพลิดเพลิน ก่อนจะขีจ่ กั รยานวนครบรอบกลับมายังทางเข้า พลันเหลือบไปเห็นต้นไม้สงู ต้นหนึง่ มีไม้เล็ก ๆ ปกล้อมเป็นสีเ่ หลีย่ มตรงโคนต้น ปายสีนา�้ ตาลเขียนไว้วา่ ‘โพทะเล’ ต้นโพทะเลนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูก ด้วยพระองค์เอง เมื่อครั้งเสด็จพระราชด�าเนินเยือนโครงการสวนกลางมหานคร ครัง้ แรกเมือ่ วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2549 ซึง่ ต้นโพทะเล เป็นต้นไม้พระราชทาน ประจ�าจังหวัดสมุทรปราการ และเป็นไม้พื้นถิ่นที่พบได้ท่ัวไปในพื้นที่แห่งนี้ ดอกมี สีเหลืองในช่วงเช้า ตอนบ่ายจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม-แดง นอกจากนี้พระองค์ยังทรง มีพระราชด�ารัสเชิญชวนให้หน่วยงานท้องถิน่ เข้ามาร่วมกันปลูกต้นไม้ เพือ่ การอนุรกั ษ์ พื้นที่สีเขียวแห่งนี้อีกด้วย ก่อนกลับ ฉันพบข้อความตอนหนึ่งบนปายที่มีพาดหัวน่าสนใจว่า ‘เก็บพื้นที่ สีเขียวไว้เพื่อใคร’ ข้อความนัน้ ระบุวา่ ...บางทีการท�างานด้านอนุรกั ษ์อาจไม่ได้เห็นผลได้ในทันที ต้นไม้ที่ปลูกแต่ละต้นต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต แต่เมื่อผลแห่งความส�าเร็จได้ ผลิดอกออกผลออกมา จะได้ค�าตอบว่า การเก็บพื้นที่สีเขียวไม่ได้เก็บไว้เพื่อประโยชน์ ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นประโยชน์ที่ผู้คนส่วนมากได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่าง แท้จริง เมื่อได้มาเห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะของผู้คนหลากวัยหลายเชื้อชาติ และได้ สูดออกซิเจนจนเต็มปอด ฉันได้ค�าตอบให้กับตัวเองแล้วว่าพื้นที่สีเขียวไม่ใช่ของใคร... แต่เป็นของพวกเราทุกคน
32
สวนศรีนครเขื่อนขันธ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 3,9 ซ.เพชรหึงษ์ 33 ต�าบลบางกะเจ้า โทร : 02-4610972
33
แวะพัก�รักษ์ปลา� บางกะเจ้า 34
35
พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ท่วงท่าการต่อสูอ้ นั พลิว้ ไหว ทว่าแข็งแกร่ง ไม่ยอ่ ท้อต่อศัตรู เป็นสัญชาตญาณ การต่อสู้ของปลาตัวน้อยหลากสีที่ได้รับความนิยมในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน ใน สมัยก่อนการกัดปลาเป็นทั้งกิจกรรมยามว่าง เกมกีฬาการแข่งขัน และการพนัน มีความผูกพันกับคนไทยจนอาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์น�้าประจ�าชาติ และได้รับการเรียก ขานในภาษาอังกฤษตามชื่อสยามประเทศว่า Siamese Fighting Fish ‘ความฝน’ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นตอนนอนหลับ เป็นค�าพูดที่ดูทรงพลัง แต่คงมี น้อยคนนักที่จะท�าได้ตามที่วาดหวังเอาไว้ พีระพงศ ถนอมพงศพันธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็น คนหนึ่งที่ได้ใช้ชีวิตหลังเกษียณกับครอบครัวและความฝนของตนเอง โดยสร้างแหล่ง ผู้ดูแลปลากัดกําลังให้อาหารปลา
36
เรียนรู้มีชีวิตบนเนื้อที่กว่า 40 ไร่ เพื่อให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม เริ่มจาก ความชอบส่วนตัวจนกลายเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ต่อสังคม พื้ น ที่ ก ว้ า งขวางร่ ม รื่ น ด้ ว ยต้ น ไม้ น านาชนิ ด หากไม่ เ ห็ น ป า ยสลั ก ชื่ อ ‘พิ พิ ธภั ณ ฑ์ ป ลากั ดไทย’ ติดอยู่ด้านหน้า อาจเผลอคิดไปว่าสถานที่แ ห่งนี้เป็น สวนสาธารณะขนาดย่อม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ นักปนจักรยานทั้งไทยและเทศที่มาท่องเที่ยวบน เกาะกระเพาะหมู จะนิยมแวะมาชมปลากัด ให้สองน่องได้พักจากอาการเมื่อยล้า พร้อมทั้งทานอาหารและเครื่องดื่มที่เปดให้บริการในพิพิธภัณฑ์กันอย่างเนืองแน่น หญิงสาวผูด้ แู ลพิพธิ ภัณฑ์สง่ ยิม้ ทักทายอย่างเป็นมิตร เมือ่ เห็นว่าฉันขีจ่ กั รยาน เข้าไปจอดบริเวณแผงกั้นเรียบร้อยแล้ว เธอจึงโบกไม้โบกมือให้เดินไปลงชื่อ และรับ สายคล้ อ งคอเพื่ อ แสดงตนว่ า เป็ น ผู ้ ม าเยื อ น หลั ง จากหย่ อ นเงิ น จ� า นวนหนึ่ ง ลง กล่องรับบริจาคค่าอาหารปลา สองเท้าก็กา้ วเดินเข้าสูส่ ว่ นจัดแสดงปลากัดอย่างไม่รรี อ ฝนทิพย ถนอมพงศพันธ หรือพี่ภา ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย เล่าให้ จุดจอดรถจักรยานของนักทองเที่ยว
37
บริเวณใต้ถุนบ้านเปนพื้นที่จัดแสดงปลากัดหลากหลายสายพันธุ
38
ฟงว่าพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทยแห่งนี้เกิดจากไอเดียของคุณพีระพงศ์ ถนอมพงศ์พันธ์ ผู้ เป็นพ่อ ส่วนจัดแสดงปลากัดเป็นบ้านทรงไทยประยุกต์ มีใต้ถุนบ้านไว้เลี้ยงปลากัด เริ่มแรกเพาะเลี้ยงอยู่ทั้งสิ้นสามสายพันธุ์ คือ ปลากัดจีน ปลากัดหม้อ และปลากัดปา ต่อมาได้พัฒนาสายพันธุ์จนมีจ�านวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้เปดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม “สมัยก่อนคุณพ่อจะมีงานอดิเรกเป็นการเลี้ยงปลากัด เพราะว่าเลี้ยงง่าย ไม่เปลืองพื้นที่ บ้านเรือนไทยจะนิยมเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุนบ้าน” ด้านบนของบ้านทรงไทยเป็น ‘ห้องรักรู้’ มีการฉายภาพและปูพื้นเรื่อง ปลากัดผ่านนิทรรศการ ส�านวนไทยที่เกิดจากปลากัด วิธีการเพาะเลี้ยง และวีดิทัศน์ เริม่ ตัง้ แต่ชนิดของปลากัด พัฒนาการในช่วงวัยต่าง ๆ ชือ่ เรียกลีลาการต่อสู้ และมีการ ให้ความรู้เกี่ยวข้องกับปลากัดอีกมากมาย อาคารถั ด มาเป็ น ‘หอโลกหอธรรม’ เรื อ นไทยสองหลั ง เชื่ อ มต่ อ กั น ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาไว้ตรงกลางส่วนเชื่อม ส่วนบริเวณด้านขวาและ ด้านซ้ายของอาคาร มีรูปปนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินนักปนชาวตางชาติแวะมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ
39
บรรยากาศบริเวณอาคารหอโลกหอธรรม
40
มุมนั่งพักผอนในร้านอาหารเล็กๆของพิพิธภัณฑ
มหาราช ใต้ถุนอาคารจัดแสดงอุปกรณ์จับปลาพื้นบ้าน และแสดงพันธุ์ปลาน�้าจืด ที่พบในแม่น�้าเจ้าพระยา เช่น ปลาแรด ปลากราย ปลาตะเพียน ปลากระทิง เป็นต้น “สมัยก่อนทั้งสองพระองค์เคยปกปองรักษาดินแดนของประเทศไทย ไม่ให้ ถูกประเทศอื่นรุกราน เปรียบเหมือนปลากัด เมื่อมันถูกรุกล�้าอาณาเขตของตัวเอง ก็จะต่อสู้กับตัวอื่นอย่างสุดความสามารถ” พี่ภาอธิบายให้ฟง ก่อนเดินต่อไปยังโซนสุดท้ายที่เรียกว่า ‘เส้นทางเขียว รังสรรค์’ ทางเดินปูนคดเคีย้ วหลบต้นไม้ใหญ่ ตามทางมีนทิ รรศการเกีย่ วกับวัฒนธรรม วิ ถี ชี วิ ต และเรื่ อ งราวของพื้ น ที่ บ างกะเจ้ า และอ� า เภอพระประแดงจั ด แสดงทั้ ง ภาษาไทยและอังกฤษ “ทางเดินเขียวรังสรรค์จะไม่เป็นทางตรง เพราะเราจะไม่ตัดต้นไม้ แต่ 41
ท�าทางเดินเลี่ยงแทน คุณพ่อจะคอยสอนตลอดว่าไม่ให้ตัดต้นไม้ เพราะแต่ละต้น กว่าจะเติบโตขึ้นมาได้ใช้เวลานาน แล้วถ้าต้องปลูกใหม่ จะไปหามาจากไหน” แววตาและน�า้ เสียงทีแ่ สดงออกมาขณะพูด สือ่ ให้เห็นว่าหญิงสาวผูน้ ไี้ ด้ซมึ ซับ ความรักที่มีต่อธรรมชาติเข้าไปในตัวของเธออย่างไม่ต้องสงสัย เข็มนาฬกาชี้บอกเวลาเที่ยงตรง เป็นเวลาเดียวกับที่แสงอาทิตย์ส่องลงมา ตั้งฉากกับผิวโลกพอดิบพอดี นักปนพร้อมจักรยานคู่ใจทยอยเข้ามาในพิพิธภัณฑ์มาก ขึ้นเรื่อย ๆ จนแผงกั้นสีเขียวที่ท�าไว้ส�าหรับจอดจักรยานให้เป็นระเบียบแทบไม่เหลือ ที่ว่าง นักปน หลายคนเดินเข้าไปชมปลากัดใต้ถนุ เรือนไทย บ้างนัง่ พักตามอัธยาศัย อยู่ใต้ร่มไม้ บ้างดื่มเครื่องดื่มเย็น ๆ และทานอาหารกลางวันที่ร้านเล็ก ๆ ใกล้ประตู ทางเข้า พี่ภาเอ่ยถึงความคิดที่จะต่อยอดในอนาคตว่าอยากจะขยายร้านอาหาร ไว้รองรับนักท่องเที่ยว และเพิ่มการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ ในท้องถื่นเพื่อความหลากหลาย จากการประเมินด้วยสายตา ฉันสังเกตว่าล�าพังรายได้จากอาหาร เครื่องดื่ม และกล่องรับบริจาคค่าอาหารปลาคงไม่เพียงพอต่อรายจ่ายเป็นแน่ ทัง้ สาธารณูปโภค และค่าดูแลรักษาต่าง ๆ หากจะแปรเปลี่ยนพื้นที่กว้างขวางกว่า 40 ไร่เป็นทรัพย์สิน ย่อมสามารถท�าได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย แต่ครอบครัวถนอมพงศ์พันธ์กลับ มีความสุขที่จะได้เปดสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมฟรี ๆ “ด้วยความที่คุณพ่อกับคุณแม่อยากสนับสนุนการศึกษา อยากให้เด็ก ๆ ได้ เรียนรู้ ได้ความเพลิดเพลิน อยากช่วยแบ่งปน และสร้างจิตส�านึกรักธรรมชาติให้กับ เยาวชนคนรุ่นหลัง” นี่คือเหตุผลทั้งหมดว่าท�าไมพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทยจึงถือก�าเนิดขึ้น เหตุผลที่อาจต้องใช้จิตสาธารณะในการน�าทาง
42
พิพิธภัณฑปลากัดไทย
ที่อยู่ : หมู่ที่ 3 ซ.เพชรหึงษ์ 33 ต�าบลบางกะเจ้า เปดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เข้าชมฟรี โทร : 02-8150149
43
ตำ�นาน�ประเพณี� ÇÔ¶ÕÇѲ¹¸ÃÃÁ ทรงคนอง
44
45
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมอญ� วัดคันลัด เมื่อเอ่ยถึงเทศกาลสงกรานต์ มั่นใจได้ว่าร้อยทั้งร้อย ไม่มีคนไทยคนไหน ไม่รู้จักเทศกาลนี้ และหากช่วงวันหยุดสงกรานต์ตามปฏิทินยังสาดน�้ากันไม่หน�าใจ หรือไม่มเี วลา ก็เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ ไม่ตอ้ งรอถึงปีหน้า เพราะสามารถไปร่วมงานในอีก หลายจังหวัดที่เพิ่งจะเริ่มเล่นสงกรานต์ได้ อ� า เภอพระประแดง จั ง หวั ด สมุ ท รปราการ เป็ น อี ก ทางเลื อ กหนึ่ ง ใน การเล่นน�้า หรือรู้จักกันดีในนามของ ‘สงกรานต์พระประแดง’ หากยึดสะพานภูมพิ ลเป็นจุดเริม่ ต้นการปน จักรยานในคุง้ บางกะเจ้า เมือ่ ขึน้ โถงรับแขก ชั้นลางของอาคารพิพิธภัณฑ
46
สะพานข้ามแม่น้�าเจ้าพระยาผ่านคลองลัดโพธิ์มาแล้ว ถือว่าต�าบลทรงคนองเป็น หน้าด่านแรก ก่อนได้เข้าไปท�าความรู้จักต�าบลอื่น ๆ และหน้าด่านนี้นับว่าเป็น แหล่งความรู้เชิงวัฒนธรรมของคุ้งบางกะเจ้าเลยก็ว่าได้ ลงจากสะพานมาไม่ไกล หากอยากย้อนวันวานเข้าสู่อดีตของพื้นที่แห่งนี้ ให้ บั ง คั บ แฮนด์ ร ถเลี้ ย วซ้ า ยเพื่ อ เข้ า สู ่ วั ด คั น ลั ด วั ด มอญที่ เ ก็ บ รวบรวมประวั ติ ความเป็ น มาของเมื อ งพระประแดงเอาไว้ ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งดี โดยมี ห ลั ก ฐานเป็ น เครื่องใช้ไม้สอยสมัยโบราณที่แสดงถึงวิถีวัฒนธรรมของชาวมอญเก็บไว้อยู่ภายใน ‘พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมอญ วัดคันลัด’ ตรงตามเวลานัดหมาย ชายสูงวัยผูห้ นึง่ กุลกี จุ อมาเปดประตูอาคารพิพธิ ภัณฑ์ ต้อนรับ พร้อมเชื้อเชิญให้เข้าไปนั่งบริเวณโถงรับแขกชั้นล่างของตัวอาคาร ก่อนที่เขา จะหยิบเสื้อเชิร์ตสีฟาลวดลายหงส์ฟารามัญมาสวมทับเสื้อยืดคอกลม ภายในอาคารได้รับการจัดสรรให้เป็นพื้นที่ส�าหรับแผ่นปาย และกระดาน ต่าง ๆ ตัวอักษรและรูปภาพบนกระดานอธิบายประวัติความเป็นมา ประเพณี และ ลุงประพันธพงศ เทวคุปต วัย 73 ป ประธานพิพิธภัณฑพื้นบ้านมอญ วัดคันลัด
47
ข้าวของเครื่องใช้แสดงถึงความเชื่อของชาวมอญ จัดแสดงภายในชั้น 2 ของอาคารพิพิธภัณฑ
48
พิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวมอญ ประพันธพงศ เทวคุปต วัย 73 ปี ประธานพิพธิ ภัณฑ์พนื้ บ้านมอญวัดคันลัด นั่งลงบนโซฟาตัวยาว และเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการแนะน�าตัวว่า นอกจากจะรับ หน้าทีด่ แู ลพิพธิ ภัณฑ์และให้ความรูแ้ ก่ผสู้ นใจแล้ว เขายังเป็นวิทยากรให้กบั กระทรวง วัฒนธรรมในการบรรยายประเพณีและวัฒนธรรมมอญในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อแลก เปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันอีกด้วย ลุงประพันธ์พงศ์เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านชาวมอญ ในต�าบลทรงคนอง ปจจุบันจากการส�ารวจพบว่าในอ�าเภอพระประแดงมีชาวไทย เชื้อสายมอญกว่า 3,000 ครอบครัว ราว 7,000 คน ชาวมอญมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันริมสองฝงแม่น�้าเจ้าพระยา โดยตั้งชื่อ หมู่บ้านเป็นภาษามอญเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่อยู่ทางพม่าตอนใต้ มีบางหมู่บ้าน ที่เรียกชื่อตามสิ่งแวดล้อม เช่น กวานดงฮะนอง ภาษามอญแปลว่าดวงดาว ปจจุบัน เรียกว่า บ้านทรงคนอง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อต�าบลทรงคนองนั่นเอง “มอญมาอยู่เมืองไทยได้โดยไม่ต้องถือพาสปอร์ตและไม่เป็นชาวต่างด้าว เพราะไทยกับมอญมีความผูกพันและพึ่งพาอาศัยกันมาอย่างยาวนาน” 49
อาคารพิพิธภัณฑพื้นบ้านมอญ ภายในวัดคันลัด
ชาวมอญเข้ า มาตั้ ง รกรากที่ อ� า เภอพระประแดง หรื อ อดี ต เรี ย กว่ า เมืองนครเขื่อนขันธ์ ตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และแม้ว่าปจจุบันได้กลายเป็น คนไทยเชือ้ สายมอญ ไม่ใช่ชาวมอญแท้ ๆ แต่กย็ งั คงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมเดิม ไว้ได้เป็นอย่างดี “ปจจุบันประเพณีและวัฒนธรรมมอญยังคงด�ารงอยู่ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น ประเพณีตักบาตรน�้าผึ้ง พิธีสรงน�้าเท้าพระ ในช่วงวันออกพรรษา พิธีแห่หงส์ธงตะขาบ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นการละเล่น ของชาวมอญ เช่น สะบ้า ทะแย” ลุงเท้าความถึงเรือ่ งเล่าต�านานชาวมอญทีเ่ ข้ามาค้าขายในไทยครัง้ แรกตัง้ แต่ กรุงสุโขทัย จนกระทั่งอพยพมาที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ ต่อด้วยการเริ่มต้นนับถือ ศาสนาพุทธของชาวมอญตั้งแต่สมัยพุทธกาลเชื่อมโยงถึงปริศนาธรรมต่าง ๆ ฉันฟงด้วยความตั้งใจราวกับนั่งอยู่ในชั้นเรียนวิชาประวัติศาสตร์ผนวกกับ พระพุทธศาสนา พอจับใจความได้ว่าประเพณีแทบจะทุกอย่างของชาวมอญล้วนแฝง 50
ด้วยความเชื่อเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทั้งเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมการถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นประเพณีของชาวอินเดีย ดังนั้นประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ ไทย พม่า เขมร ลาว และมอญ ที่ได้รับอิทธิพลการนับถือพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย จึงมีประเพณีสงกรานต์ เหมือนกัน แต่จะมีลักษณะปลีกย่อยแตกต่างกันไปเฉพาะท้องถิ่น เมื่อถึงช่วงฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนเมษายน คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มักรู้จัก เพียงการละเล่นสาดน�้า ประแปง แต่แท้จริงแล้วชาวไทยเชื้อสายมอญยังมีประเพณี ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งการท�าบุญปล่อยนกปล่อยปลา การเล่นสะบ้า และประเพณี ค�้าต้นโพธิ์ โดยก�าหนดว่า ถ้าวันที่ 14 เมษายนตรงกับวันใด ให้คนที่เกิดวันนั้น การน�า ไม้ง่ามคล้ายกับไม้ที่ลูกเสือใช้ส�าหรับเดินทาง เท่ากับความสูงของตัวเองมาค�้าต้นโพธิ์ เฉพาะเจาะจงต้องเป็นต้นโพธิ์เพราะว่าเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จึงเหมือน เป็นการต่ออายุให้ตนเองและค�้าจุนพระพุทธศาสนาไปพร้อมกัน สงกรานต์เป็นพระเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา การปล่อยนกปล่อยปลา ตามต�านานทางโหราศาสตร์ของชาวมอญมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเณรรูปหนึ่งว่าในช่วง เทศกาลสงกรานต์เณรรูปนี้ถูกท�านายว่าดวงชะตาจะถึงคาด ตามความเชื่อให้กลับไป รอความตายทีบ่ า้ น แต่ในระหว่างเดินทางเณรได้ชว่ ยเหลือปลาทีก่ า� ลังจะตาย ไปปล่อย ในแหล่งน�้า ด้วยอานิสงส์ของผลบุญที่ได้ช่วยเหลือสัตว์ ท�าให้เณรไม่เสียชีวิตตาม ค�าท�านาย จึงเป็นที่มาของพิธีปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์ในช่วงสงกรานต์ แต่อย่างไรเสีย เรื่องเล่าก็ยังคงเป็นความเชื่อที่ต้องใช้วิจารณญาณในการฟง เพราะต�านานที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยนกปล่อยปลาของไทย ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถือเป็นความเชื่อของแต่ละเชื้อชาติ ด้วยความที่พระประแดงมีพื้นที่ติดกับกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลสงกรานต์จึง มักจะมีผู้คนจ�านวนมากหลั่งไหลมาเล่นสาดน�้า จนวัฒนธรรมและประเพณีของ ชาวมอญดั้งเดิมถูกกลืนหายไป กระทั่งถูกมองในแง่ลบว่าเป็นการละเล่นที่รุนแรง “สงกรานต์พระประแดงสมัยนี้มันไม่ใช่วิถีของคนมอญแล้ว เคยร้องเรียนไป แก้ไขได้แค่ปีเดียว ก็กลับมาเป็นอย่างเดิมอีก” ลุงตัดพ้อด้วยน�้าเสียงเสียดายประเพณี 51
อันเป็นอัตลักษณ์ของชนชาติมอญ ลุงประพันธ์พงศ์ลุกขึ้นยืน เดินตรงไปยังกระดานอันหนึ่ง เพื่อชี้ให้ดูภาพ ทีไ่ ด้มโี อกาสไปท�าบุญและเยีย่ มถิน่ ทีอ่ ยูข่ องบรรพบุรษุ ชาวมอญทีป่ ระเทศพม่า เมือ่ ปี 2549 “ผมไปพม่ า มาแล้ ว สามครั้ ง มี เรื่ อ งเล่ า สมั ย พุ ท ธกาลที่ เ มื อ งหงสาวดี พระพุทธเจ้าทรงท�านายว่า ในอนาคตบริเวณนีจ้ ะเป็นทีเ่ ผยแผ่พระพุทธศาสนายาวนาน กว่า 5,000 ปี กษัตริย์มอญองค์ต่อมาจึงทรงสร้างเจดีย์ชเวดากองเพื่อบรรจุพระเกศา ของพระพุทธเจ้า ปจจุบันเป็นพระธาตุ ซึ่งตรงฐานของเจดีย์จะมีพระเกศาสีใส ความ ยาวเท่าเส้นผม” เมืองหงสาวดีเป็นสถานที่แห่งความศรัทธาทางศาสนาของชาวมอญ ต่อมาจึงมีการใช้ หงส์เป็นสัญลักษณ์ประจ�าชาติ และวัดมอญจะมีเสาหงส์ตั้งอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็น ธรรมเนียมอย่างหนึง่ ตัง้ แต่สมัยอยุธยาทีช่ าวมอญอพยพเข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภาร ของกษัตริย์ไทย หากตั้งถิ่นฐานที่ใด มักจะนิยมสร้างวัดส�าหรับบ�าเพ็ญบุญของชาว บ้าน และสร้างเสาหงส์เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงภูมิล�าเนาเดิมของตนที่เมืองหงสาวดี ลุงเดินน�าทางขึ้นบันไดไปยังชั้นสองของอาคาร ซึ่งเป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์ ฉันก้าวเท้าลงไปบนพื้นไม้สีน�้าตาลเคลือบเงา ท่ามกลางตู้โชว์วางเรียงราย จัดแสดง ข้าวของเครือ่ งใช้ เครือ่ งแต่งกาย และสิง่ ของทีช่ าวมอญประดิษฐ์ขนึ้ เพือ่ ใช้ในพิธกี รรม ต่าง ๆ เครือ่ งใช้ไม้สอยทัง้ หลายเป็นสิง่ ของทีช่ าวไทยเชือ้ สายมอญได้รวบรวมมาจัด แสดงไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังหรือผู้สนใจได้เห็นความเป็นมา อันทรงคุณค่าของชาวมอญ เมื่อเข้าชมพิพิธภัณฑ์ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ฉันมักนึกถึงสิ่งของโบราณที่เลือนหาย ไปตามกาลเวลา เมือ่ เห็นหลายอย่างทีไ่ ด้รบั การเก็บรักษาอยูใ่ นตูก้ ระจกใสจึงอดสงสัย ไม่ได้ว่าทุกวันนี้ยังหาดูได้ในชีวิตจริงหรือไม่ “เครื่องแต่งกายตามประเพณี ชาวบ้านยังสวมใส่อยู่ในช่วงที่มีงานเทศกาล โดยผู้ชายนุ่งผ้าม่วงลอยชาย มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอก มี ผ้าสไบคล้องคอ” 52
ทั้งชุดสีสันสดใส การละเล่น และการประดิษฐ์สิ่งของ เพื่อใช้ในพิธีกรรม ต่าง ๆ ได้รบั การยืนยันจากลุงประพันธ์พงศ์วา่ ยังคงสืบทอดมาสูช่ าวไทยเชือ้ สายมอญ ในปจจุบัน ไม่ได้สูญหายไปแต่อย่างใด ก่อนที่เขาจะเอ่ยถึงสิ่งที่หลงเหลืออยู่เพียง ในความทรงจ�าด้วย “คนมอญมีหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับศาสนาอย่างเคร่งครัด เมื่อก่อนนี้ หากมี พระสงฆ์เดินมา เขาจะนัง่ ลง เพือ่ ให้พระผ่านไปก่อน จึงจะลุกขึน้ เดิน ไม่วา่ จะเดินตาม หรือเดินสวน แต่ตอนนี้ไม่มีใครท�าแบบนั้นแล้ว และสมัยก่อนจะต้องถอดรองเท้า ก่อนเข้าวัด เพราะกลัวว่าจะไปเหยียบเศษดินเศษทรายออกจากวัด เดี๋ยวนี้ก็อนุญาต ให้ใส่รองเท้าเข้าได้” ฉันรู้สึกได้ว่าแววตาของลุงเกิดความเศร้าเสียดายเมื่อหวนนึกถึงอดีต ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ล้วนเป็นความเชื่อของชาวมอญที่ปฏิบัติ
ลุงประพันธพงศ นําชมพิพิธภัณฑ
53
สืบต่อกันมา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของสังคม เพื่อสร้างความรู้สึกผูกพัน ระหว่างคนเชื้อชาติเดียวกัน หลักปฏิบัติดั้งเดิมบางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา คงเหลือเพียงภาพถ่ายและข้าวของเครื่องใช้ที่ได้รับการเก็บรักษาเอาไว้ รวมทั้งค�าบอกเล่าอันทรงคุณค่าของผู้สูงอายุ แต่ตราบใดที่พวกเขายังร่วมกันรักษา ประเพณีต่าง ๆ ของตนเอาไว้ได้ ความเป็นเชื้อสายมอญก็ยังคงมีอยู่สืบไป
54
พิพิธภัณฑพื้นบ้านมอญ วัดคันลัด
ที่อยู่ : หมู่ที่ 9 ริมถนนเพชรหึงษ์ ต�าบลทรงคนอง สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ กรุณาติดต่อล่วงหน้า คุณประพันธ์พงศ์ เทวคุปต์ : 087-7090304
55
ภูมิปัญญาหอมหวาน บางยอ 56
57
ภูมิปัญญา การท�าน�้าตาลมะพร้าว อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนยังแคลนคลาย เจ็บจนตายนั่นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ จากบทประพันธ์ข้างต้นของสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตีความ ได้ว่าเป็นการเปรียบเทียบความหวานที่ได้จากพืขกับความหวานจากลมปากของคน แน่นอนว่าอย่างหลังย่อมตรึงใจมากกว่าน�้าตาลชนิดไหน ๆ ลุงพงษศักดิ์ปนต้นมะพร้าว ใช้ขวดพลาสติกรองนํ้าตาลมะพร้าวจากงวงตาล
58
น�้าตาลมะพร้าวก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าผู้ที่ได้ลองลิ้มชิมรสอาจจะไม่ได้ติดใจ ความหวานจนชัว่ ชีวติ แต่กบั ลูกหลานชาวสวน ภูมปิ ญ ญาการท�าน�า้ ตาลมะพร้าวตัง้ แต่ สมัยบรรพบุรุษ ส่งต่อให้พวกเขายึดเป็นอาชีพอยู่กับความหวานนี้ไปตลอดชีวิต เป็น สิ่งที่น่าจดจ�า ไม่แพ้ความหวานจากค�าพูดของใคร กว่า 50 ปีมาแล้วที่พงษศักดิ์ แถวเถื่อน วัย 63 ปี ประกอบอาชีพชาวสวน มะพร้าวหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว แม้ว่าอายุจะเลยเลขหก แต่ลุงยังคงปีน เก็บน�้าตาลจากต้นมะพร้าว เพื่อน�ามาเคี่ยวและกวนเป็นน�้าตาลมะพร้าวด้วยตัวเอง ทุกขั้นตอน โดยมีภรรยาเป็นผู้ช่วยเพียงคนเดียว ไม่ไกลจากบ้านไม้ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีเพิงมุงหลังคาสังกะสีใช้ส�าหรับ เคี่ยวน�้าตาล บริเวณโดยรอบแน่นขนัดไปด้วยสีเขียวของต้นไม้หลากหลายชนิด ไกลสุดลูกหูลกู ตา ลุงเล่าให้ฟง ว่า บริเวณนีม้ เี นือ้ ทีก่ ว่า 5 ไร่ เป็นมรดกตกทอดมาตัง้ แต่ อดีต พื้นที่ส่วนใหญ่ยกร่องสวนปลูกต้นมะพร้าว มีต้นอ่อนที่เพิ่งปลูกมากมาย นับไม่ถ้วน ส่วนต้นที่สามารถเก็บน�้าตาลได้มีประมาณ 300 กว่าต้น “ต้นมะพร้าวหนึ่งต้นกว่าจะเก็บน�้าตาลได้ ใช้เวลาประมาณ 4 ปี สูงเต็มที่ 10 วา ถ้าไม่มีด้วงมากินจะอยู่ได้เป็นร้อย ๆ ปี นอกจากว่าผลเล็กหรือเก็บน�้าตาล ไม่ได้แล้วก็จะโค่นลง เพื่อปลูกต้นใหม่ทดแทน” ไอเย็นของดินสัมผัสฝาเท้าเปลือยเปล่า เมื่อฉันถอดรองเท้าแล้วเดินตามลุง พงษ์ศักดิ์ไปยังต้นมะพร้าวต้นหนึ่งไม่ไกลจากเพิงเคี่ยวน�้าตาลมากนัก ลุงก�าลังจะปีนขึน้ ไปเก็บน�า้ ตาลสด ๆ จากต้นมะพร้าวเหมือนอย่างเช่นกิจวัตร ที่ท�าเป็นประจ�าทุกวัน ต่างกันเพียงแค่วันนี้มีฉันคอยเฝามองอยู่ทุกอิริยาบท จนอาจ เรียกได้ว่า ลุงก�าลังสาธิตวิธีเก็บน�้าตาลมะพร้าว โดยฉันเป็นผู้ชมอยู่เบื้องล่าง “บางวันจะมีคนเข้ามาศึกษาวิธกี ารท�า นักท่องเทีย่ วเป็นกรุป๊ ทัวร์ มากันแทบ ทุกประเทศ ทีน่ ยี่ นิ ดีตอ้ นรับทุกวัน ต้องติดต่อมาก่อนล่วงหน้า ส่วนมากจะเป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัยพานักศึกษามาดูงาน” ล�าไม้ไผ่ถกู พาดไว้กบั คอมะพร้าว ส่วนมากในการปีนต้นมะพร้าว ชาวสวนจะ ใช้ไม้ไผ่ปา ชนิดหนึง่ เรียกว่า ‘พะอง’ น�ามาเจาะรูเหนือปล้องให้ทะลุในแนวทแยง แล้ว 59
กระบวนการเคี่ยวนํ้าตาลมะพร้าวบนเตาไฟ
ใส่ลูกสลักไม้ให้ยื่นออกมา ส�าหรับใช้เท้าเหยียบไต่ขึ้นไปต่างบันได เพราะไม้ชนิดนี้ มีเนื้อไม้หนาและแข็งแรง เหมาะแก่การก้าวเหยียบ เมื่อปีนขึ้นไปถึงบริเวณ ‘จั่นมะพร้าว’ ลุงใช้มีดปาดตาล ปาด ‘งวงตาล’ น�้าตาลใสค่อย ๆ ไหลรินลงสู่ขวดน�้าพลาสติกขนาดประมาณ 1.5 ลิตรตัดครึ่ง ที่เตรียมไว้ 2 กระบอก ฉันลั่นชัตเตอร์กล้องถ่ายรูปได้ไม่เกิน 5 ภาพ ลุงก็กลับลงมาจากต้นมะพร้าว เสียแล้ว ลงมาพร้อมด้วยน�้าตาลใสในขวด กระบอกละไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ปริ ม าณของน�้าตาลมะพร้าวจากต้นจะเก็บ ได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ พันธุม์ ะพร้าวทีป่ ลูก และกลวิธกี ารพัฒนาจัน่ มะพร้าวให้กลายเป็นงวงตาล โดยสังเกต มะพร้าวที่จะแทงจั่นออกมา หลังจากปลูกประมาณ 4 ปี ชาวสวนจะพัฒนาจั่นให้เป็น งวงตาล โดยการปาดส่วนปลายของจั่นออก เพื่อให้ก้านดอกและดอกอ่อนภายในจั่น โผล่ออกมา ท�าให้เริม่ มีนา�้ หวานซึมอยูท่ หี่ น้างวงตาล แต่ละต้นเก็บน�า้ ตาลได้พร้อมกัน สูงสุด 3-4 งวง ซึ่งชาวสวนต้องอาศัยความช�านาญในการสังเกตอายุของจั่น และดูแล 60
ขั้นตอนการกวนนํ้าตาลมะพร้าว ให้คลายความร้อนและจับตัวเปนก้61 อน
รักษาไม่ให้แมลงมาดูดกินน�้าหวานจากงวงตาลไปหมดเสียก่อน “ต้นมะพร้าวที่นี่จะออกงวงเดือนพฤศจิกายนไปสิ้นสุดเดือนกันยายนของปี หน้า หนึ่งปีจะพัก 2-3 เดือน ทยอยออกเดือนละงวง แต่งวงเก่าที่น�้าตาลยังไม่หมด ก็สามารถเก็บน�้าตาลไปได้เรื่อย ๆ” ใน 1 ปี ชาวสวนจะหยุดพักการท�าน�้าตาลประมาณ 3 เดือน เพื่อให้ต้น มะพร้าวได้พกั ฟน ชัว่ คราว หลังจากทีใ่ ห้นา�้ ตาลมานานถึง 9 เดือนแล้ว และเพือ่ เป็นการ พักผ่อนไปด้วย หลั ง เก็ บ น�้ า ตาลจากต้ น มะพร้ า ว ลุ ง พงษ์ ศั ก ดิ์ ถื อ ขวดน�้ า ตาลไปยั ง เพิ ง หลังคามุงสังกะสี เพื่อเข้าสู่กระบวนการเคี่ยว ก่อนจะใส่น�้าตาลทั้งหมดลงในกระทะ ลุงเทน�้าตาลใสไหลผ่านกระชอนลงสู่ ถังใบเล็ก หลงเหลือเศษไม้และฟองน�้าตาลไว้ด้านบน ฉั น ทึ ก ทั ก เอาเองว่ า เป็ น การกรองเศษไม้ ที่ ห ล่ น ลงมาในขวดระหว่ า ง เก็บน�า้ ตาล จึงไม่ได้เอะใจสงสัย กระทัง่ ภรรยาของลุงพงษ์ศกั ดิท์ กี่ า� ลังตัง้ กระทะส�าหรับ นํ้าตาลมะพร้าวเริ่มเปนฟองและจับตัวเปนก้อนแข็ง เมื่อกวนไปได้ระยะหนึ่ง
62
เคี่ยวน�้าตาลเอ่ยขึ้นราวกับเดาออกว่าต้องเข้าใจผิด “รู้ไหมว่านี่ไม้อะไร...เป็นไม้ตะเคียนสับ ใส่ไว้ในกระบอกก่อนปีนขึ้นไปเก็บ น�้าตาล เพื่อกันน�้าตาลบูด” เมื่อรู้ว่าเศษไม้ที่ฉันคิดว่าไม่มีประโยชน์ กลับกลายเป็นตัวช่วยส�าคัญในการ ผลิตน�้าตาลมะพร้าว ค�าถามเกี่ยวกับไม้ตะเคียนสับจึงพรั่งพรูออกมา “ต้องใส่ไม้ตะเคียนไว้ในกระบอกเก็บน�้าตาลสัก 2-3 เกล็ด เพราะว่า รองน�้าตาลมาจากต้นแค่แปบเดียวก็บูดแล้ว ต้องใช้ทุกวัน เช้า-เย็น เลยสั่งซื้อมา คราวละหลายกระสอบ” ปาเล่าให้ฟง พร้อมทัง้ ชีใ้ ห้ดไู ม้ตะเคียนสับหลายสิบกระสอบทีว่ างอยูใ่ นบ้าน ก่อนจะไปหยิบมาให้ลองดม ส�าหรับชาวสวน การพิสูจน์กลิ่นเป็นวิธีหนึ่งที่จะบอก ได้ว่าเป็นไม้ตะเคียนจริงหรือเปล่า แต่ส�าหรับฉันแล้ว หากไม่รู้มาก่อนว่าก�าลังดม ไม้ตะเคียน คงเดาไม่ถูกว่าแต่เดิมเกล็ดไม้ชิ้นเล็ก ๆ เหล่านี้เคยเป็นต้นไม้ชนิดใด ไม้ตะเคียนเป็นไม้ที่มียางรสฝาด มีคุณสมบัติช่วยให้น�้าตาลไม่มีรสเปรี้ยว ลุงและปาชวยกันตักนํ้าตาลมะพร้าวที่กวนเสร็จแล้วใสลงในถ้วยใบเล็ก
63
(บนซ้าย) ไม้ตะเคียนสับ ใช้สําหรับใสในขวดรองนํ้าตาลมะพร้าว เพื่อกันบูด (บนขวา) ขั้นตอนการตักแบงนํ้าตาลมะพร้าวใสถ้วยใบเล็ก ชั่งนํ้าหนักให้ได้ถ้วยละครึ่งกิโลกรัม (ลาง) นํ้าตาลมะพร้าวที่ตักแบงใสถ้วยเรียบร้อย นํามาผึ่งลม คลายความร้อน
64
ปองกันการบูด เมื่อเคี่ยวเสร็จแล้วจะช่วยให้เนื้อน�้าตาลข้นแห้ง สีสวยเป็นธรรมชาติ บางคนอาจใช้ไม้พะยอม หรือไม้เคี่ยม ที่มีคุณสมบัติคล้ายกันทดแทนได้ ไม้ฝาด เหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษ แม้ว่าทางกรมวิทยาศาสตร์ได้ทดลองใช้สารเคมีชนิดอื่น มาทดแทน แต่กไ็ ม่ประสบผลส�าเร็จ เพราะไม้ทไี่ ด้จากธรรมชาติเปรียบเสมือนสมุนไพร ที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษ เมือ่ เทน�า้ ตาลใสลงกระทะแล้ว เปลวไฟปะทุจากฟนด้านล่างส่งความร้อนให้ น�า้ ตาลเริม่ เดือดเป็นฟอง ระหว่างเคีย่ ว น�า้ ตาลจะมีการเปลีย่ นแปลงไปเรือ่ ย ๆ ผูเ้ คีย่ ว จะต้องอาศัยความช�านาญในการสังเกตว่าช่วงใดควรช้อนฟองอออก หรือช่วงใดควร หมุนกระทะเพื่อปองกันไม่ให้น�้าตาลไหม้ ผ่านไปราว 1 ชั่วโมง น�้าตาลมะพร้าวส่งกลิ่นหอม และเปลี่ยนเป็นสีขาว อมเหลือง ค่อนข้างเข้มกว่าทีเ่ ห็นวางขายตามท้องตลาดเล็กน้อย ลุงและปาช่วยกันยก กระทะลงจากเตา ลุงบอกว่าถ้ายกขึ้นจากเตาเร็วกว่านี้ น�้าตาลจะเป็นสีขาว ซึ่งอยาก ให้เป็นสีขาวมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เคี่ยวและผู้รับซื้อ ขั้นตอนต่อไป คือ กระบวนการกวน เพื่อคลายความร้อนให้น�้าตาลแห้ง หมาด ๆ ลุงพงษ์ศักดิ์น�าไม้ที่ใช้ส�าหรับกวนใส่ลงในกระทะ ใช้เชือกพันรอบไม้ในระดับ เอว จากนัน้ ใช้มอื สองข้างดึงปลายเชือกสลับกันไปมา เพือ่ ให้ไม้หมุนตีนา�้ ตาลให้จบั ตัว เป็นก้อนแข็ง ใช้เวลาไม่นาน น�้าตาลมะพร้าวข้นพอเหมาะ ถูกน�าขึ้นจากกระทะ หยอดใส่ ในถ้วยใบเล็กรองด้วยถุงพลาสติก ถ้วยละครึ่งกิโลกรัม “ครั้ ง นี้ ไ ด้ 4-5 กิ โ ลกรั ม เก็ บ น�้ า ตาลจากต้ น ได้ น ้ อ ย เพราะเมื่ อ วาน แผ่นดินไหว” ปาเล่าให้ฟงว่า น�้าตาลจะหมดไปจากต้นมะพร้าว เมื่อเกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหว ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่แผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียง แต่แรงสั่นสะเทือนจาก แผ่ น ดิ น ไหวในต่ า งประเทศก็สามารถส่ง ผลกระทบมาถึงที่นี่ สังเกตได้จากการ กระเพื่อมของผืนน�้าในร่องสวน “คนที่ไม่ใช่ชาวสวนไม่รู้หรอก อย่างคราวเกิดสึนามิที่ภาคใต้ น�้าในร่องสวน เป็นระลอกเหมือนเรือวิง่ ผ่านเลย ท�าให้นา�้ ตาลหายไป 6 เดือน มันส่งผลต่อต้นมะพร้าว 65
เพราะมะพร้าวเป็นไม้รากตรง...รากคงจะขาด” มะพร้าวเป็นพืชที่เหมาะกับสภาพดินเลนชายทะเล ชาวสวนมะพร้าวจึงมัก จะคุ้นชินกับการสังเกตสภาพพื้นดินและน�้าในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหว ทั้งนี้ การท�า น�า้ ตาลมะพร้าวแต่เดิมเป็นอาชีพทีเ่ กิดจากภูมปิ ญ ญาของบรรพบุรษุ ในอ�าเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับชายทะเลเช่นกัน โดยปกตินา�้ ตาลมะพร้าวจากสวนของลุงพงษ์ศกั ดิจ์ ะมีพอ่ ค้าแม่คา้ ขนมหวาน สั่งจองอยู่ตลอด ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลคิวจะแน่นเอียดจนแทบไม่มีเวลาหยุดพัก หลาย ครั้งปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะล�าพังแค่ลุงกับปาคงไม่สามารถผลิต น�้าตาลมะพร้าวได้มากนัก “เมื่อก่อนแถวนี้เป็นสวนมะพร้าวเยอะ แต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ไม่อยากท�าแล้ว ออกไปท�างานข้างนอกกันหมด บางคนขายที่ไปเลย เมื่อก่อนเวลาขึ้นตาล ตะโกน คุยกันตลอด” ลุงเล่าย้อนถึงสมัยที่บริเวณนี้ยังปกคลุมไปด้วยเรือกสวน ต่างกับปจจุบัน ที่กลายสภาพเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเสียส่วนใหญ่ แม้กระทัง่ สวนของลุงพงษ์ศกั ดิก์ ค็ งยากทีจ่ ะหาคนรุน่ ต่อไปมาสานต่อ เพราะ ลูก ๆ หันไปท�างานในกรุงเทพฯ กันหมด เนื่องจากรายได้ดีกว่า และไม่ต้องเสี่ยง อันตรายในการปีนต้นมะพร้าว เกิดความเงียบขึ้นชั่วขณะ เมื่อฉันถามถึงอนาคตของสวนมะพร้าวแห่งนี้ ลุงหัวเราะเบา ๆ ก่อนตอบว่า “...ก็ว่าจะยื้อให้ได้มากที่สุดนะ” ทว่าความเงียบและเสียงหัวเราะนั้น ฉันสัมผัสได้ถึงความรัก ความหวงแหน และความเสียดายในทักษะอาชีพที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หากในวันพรุ่งนี้... ภูมิปญญาการท�าน�้าตาลมะพร้าวจะต้องสูญหายไปตามกาลเวลา
66
ภูมิปญญาการทํานํ้าตาลมะพร้าว
ที่อยู่ : หมู่ที่ 6 ซ.เพชรหึงษ์ 23 ต�าบลบางยอ สนใจเข้าชมการสาธิตวิธีท�าน�้าตาลมะพร้าว กรุณาติดต่อล่วงหน้า คุณพงษ์ศักดิ์ แถวเถื่อน : 02-4610792
67
68
ปลูกบ้านเรืองแสง บางกระสอบ
69
ลุงกิจแนะนําโครงการลําพู บางกระสอบ
สวนป่าล�าพู แสงสีเขียวอมเหลืองเปล่งประกายระยิบระยับท้าทายความมืด ทุกคืน บรรดาแสงดวงเล็ก ๆ นับไม่ถว้ นจะมารวมตัวกันทีต่ น้ ล�าพู ราวกับมีนดั งานเลีย้ งน�า้ ค้าง ยามดึก ไม่น่าแปลก หากแมลงตัวน้อยเหล่านี้จะได้รับความสนใจจากมนุษย์ เพราะ คงมีสิ่งมีชีวิตเพียงไม่กี่ชนิดบนโลกที่สามารถเปล่งแสงได้ ยิ่งถ้าพวกมันรวมตัวกัน ต้นล�าพูอาจกลายสภาพเป็นต้นคริสมาสต์ประดับหลอดไฟขนาดเล็กนับร้อยนับพัน ชายผู้หนึ่งเฝามองแสง เฝามองการเจริญเติบโต และความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศรอบ ๆ บ้านของเขาด้วยความสุขอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน “เมื่อก่อนต้นล�าพูข้างบ้านมีหิ่งห้อยจ�านวนมาก แต่จู่ ๆ มันก็หายไป เลย 70
ทางเข้าหมูบ้านหิ่งห้71 อย
ทางเดินทอดยาวสูสวนปาลําพู สองข้างทาง เขียวขจีด้วยต้นไม้นานาชนิด
คิดว่าถ้าปลูกต้นล�าพูเพิ่มขึ้น จะท�าให้หิ่งห้อยกลับมาอาศัยอยู่เหมือนเดิม” สุกิจ พลับจาง หรือลุงกิจ วัย 59 ปี ผู้ริเริ่มกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมล�าพู บางกระสอบ เปดประเด็นการสนทนาถึงความเป็นมาในการปลูกต้นล�าพู จุดเริ่มต้น เล็ก ๆ จากความประทับใจแมลงมีแสงตัวน้อยรอบบ้าน เมื่อแมลงที่คอยส่องแสง ทักทายทุกค�่าคืน จู่ ๆ พากันหายไปอย่างไม่ทราบสาเหตุ โครงการสร้างบ้านไว้รองรับ หิ่งห้อยจึงเริ่มก่อตัวขึ้น “ปี 2549 เริ่มรวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ช่างภาพในอินเทอร์เน็ต ตอนนั้นคิดได้ อย่างเดียวว่าถ้ามีต้นล�าพู แล้วต้องมีหิ่งห้อยมาอาศัยอยู่ จึงช่วยกันลงแรงถางพื้นที่ 3 ไร่ บริเวณใกล้ ๆ บ้าน แต่ยังหาต้นล�าพูตามที่ต้องการไม่ได้ จนสุดท้ายพื้นที่ก็ กลับมารกตามเดิม” จากแนวคิดง่าย ๆ ว่า ‘ปลูกล�าพู ต้องมีหงิ่ ห้อย’ เริม่ ประสบความยากล�าบาก 72
เพราะการเสาะหาต้นล�าพูมาปลูกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเน้นว่าต้องเป็นต้นล�าพู เนือ่ งจากหิง่ ห้อยจะเลือกเกาะต้นล�าพูมากกว่าต้นไม้ชนิดอืน่ ในช่วงผสมพันธุ์ หิง่ ห้อย จะกินน�้าค้างเพียงอย่างเดียว ซึ่งใบของต้นล�าพูมีขนาดเล็ก ผิวเรียบ ไม่มีขนให้ ระคายเคืองต่อตัวหิ่งห้อย และมีน�้าค้างเกาะอยู่มาก จึงเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าแมลง มีแสง แต่ใช่ว่าหิ่งห้อยจะอาศัยอยู่ที่ต้นล�าพูเท่านั้น ยังมีต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ที่ได้รับความ นิยมรองลงมา เช่น ล�าแพน โพทะเล ฝาก แสม สาคู และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น ราว 2 ปีต่อมา ด้วยความที่ลุงกิจยังไม่ละทิ้งความตั้งใจ เสียงเรียกจาก ธรรมชาติก็ดังไกลถึงหน่วยงานของรัฐ ท�าให้เขาได้เขียนโครงการในฝน น�าเสนอแก่ กองทุนพัฒนาพืน้ ทีร่ อบโรงไฟฟา จนได้รบั การสนับสนุน โครงการพาหิง่ ห้อยกลับบ้าน จึงก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นบนพื้นที่ 41 ไร่ของกรมปาไม้ “บริเวณนีเ้ ป็นแหล่งทีห่ งิ่ ห้อยวางไข่อยูแ่ ล้ว จึงง่ายต่อการขยายพันธุต์ อ่ ง่าย กว่าการสร้างจุดใหม่ขนึ้ มา หลายรีสอร์ทน�าต้นล�าพูไปปลูก หวังจะให้มหี งิ่ ห้อย แต่มนั ไม่ง่ายอย่างนั้น” ลุงกิจอธิบายโครงการปลูกปาลําพูที่ศาลาไม้สําหรับนั่งพัก
73
หิ่งห้อยตัวน้อยส่องแสงระยิบระยับบนต้นล�าพู
อาจกล่าวได้วา่ หิง่ ห้อยเป็นสิง่ มีชวี ติ ชนิดหนึง่ ทีเ่ ป็นตัวชีว้ ดั ความอุดมสมบูรณ์ ของธรรมชาติได้เป็นอย่างดี เนื่องจากองค์ประกอบที่ส�าคัญส�าหรับวงจรชีวิตของ หิ่งห้อย คือ ความชุ่มชื้นของพื้นดิน การอยู่ใกล้แหล่งน�้าที่มีคุณภาพดี มีกองใบไม้ ผุเปอยทับถมกันตามธรรมชาติ ซึ่งทุกสิ่งล้วนก่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ การอนุรกั ษ์หรือการเพาะเลีย้ งหิง่ ห้อยเพือ่ การขยายพันธุเ์ ป็นเรือ่ งทีย่ ากมาก เพราะทุกวันนี้มีปจจัยหลายอย่างที่ก�าลังคุกคามการอยู่รอดของหิ่งห้อย ทั้งปญหา มลภาวะต่าง ๆ ที่ท�าลายความสมดุลทางธรรมชาติ รวมถึงการที่นักท่องเที่ยว แห่กันมาเที่ยวชมหิ่งห้อยอย่างผิดวิธี “ที่นี่เราจะเปดให้เป็นแหล่งชมหิ่งห้อยโดยไม่ต้องลงเรือ เพียงแค่เดินเข้าไป ก็สามารถพบเห็นได้ ซึ่งจะจัดให้เข้าไปชมได้สัปดาห์ละ 2-3 วัน ที่เหลือให้ธรรมชาติ มันฟกตัว ไม่ให้เข้าไปดูกันทุกวันอย่างบ้าระห�่า” 74
บางครั้ ง การเที่ ย วชมหิ่ ง ห้ อ ยอาจก่ อ ความรบกวน จนถึ ง ขั้ น ขั ด ขวาง การขยายพันธุ์ของเหล่าแมลงมีแสงอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของหิ่งห้อย ซึ่งการกระพริบแสงนั้น เป็นไปเพื่อการผสมพันธุ์ และสื่อสารกับเพศตรงข้าม โดยจังหวะการกระพริบอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้น ดังนัน้ เมือ่ มาเยีย่ มเยียนบ้านของหิง่ ห้อย จึงควรงดส่องไฟฉาย งดเปดแฟลช เพือ่ ถ่ายรูป ห้ามส่งเสียงดัง และในกรณีทบี่ างแห่งใช้เรือเป็นพาหนะ ควรดับเครือ่ งยนต์ ก่อนถึงจุดชมหิ่งห้อยประมาณ 50 เมตร เพื่อไม่ให้เกิดเสียง หรือควันรบกวน แวบแรกเมื่อเดินเข้าไปในสวนปาล�าพู ฉันรู้สึกได้ถึงความร่มรื่น และไอเย็น ของธรรมชาติที่แผ่ปกคลุมลงมารอบกาย ขณะเดียวกับที่สัตว์ไม่ได้รับเชิญอย่าง ยุง บินตรงเข้ามาล้อมหน้าล้อมหลังกันนับไม่ถ้วน จนต้องโบกมือปดปองเป็นพัลวัน “เข้ามาในนี้ต้องใส่กางเกงขายาว ไม่อยากให้ทาโลชั่นกันยุง เพราะเป็นสาร เคมี มันปองกันยุงได้ก็จริง แต่พวกแมลงอย่างหิ่งห้อยก็คงไม่เหลือเหมือนกัน” ลุงกิจให้ค�าแนะน�า และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ก่อนจะบอกให้ออกเดินต่อ หากหยุดยืนนิ่ง ๆ อาจโดนยุงตัวร้ายรุมกัด จนเป็นไข้เลือดออกได้ เดินเข้า ‘หมูบ่ า้ นหิง่ ห้อย’ มาอีกไม่ไกล แวะศาลาไม้สา� หรับนัง่ พัก ซึง่ ประยุกต์ เป็ น จุ ด ให้ ค วามรู ้ แผ่ น ป า ยวางเรี ย งรายจั ด แสดงแผนผั ง ความเป็ น มาของล� า พู บางกระสอบ โครงการต่าง ๆ ที่ร่วมมือกับหลากหลายองค์กร และสิ่งที่วางแผน ต่อยอดในอนาคต “จนถึงตอนนี้ท�ามา 5 ปี ถือว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีหิ่งห้อยเพิ่มจ�านวน ขึ้น ส่องแสงสวยงาม และก�าลังพัฒนาให้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ส�าหรับ เยาวชน” ลุงกิจเล่าว่า อนาคตอยากจะสร้างฐานการเรียนรู้ธรรมชาติในสวนปาล�าพู ส�าหรับให้เด็ก ป.3 และ ป.6 ทีอ่ าศัยอยูใ่ นพืน้ ทีเ่ กาะกระเพาะหมูได้ขจี่ กั รยานมาศึกษา สิง่ แวดล้อม โดยให้โครงการผูกเข้ากับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เพือ่ ให้แน่ใจ ว่าสามารถเข้าถึงเด็ก ๆ ได้ทุกคน ขณะนี้สวนปาล�าพูบางกระสอบเปดกว้างให้บุคคล และองค์กรต่าง ๆ ทั้งใน 75
และต่างประเทศได้เข้ามาศึกษาเรียนรูร้ ะบบนิเวศ ลงมือปลูกต้นไม้ สร้างบ้านให้หงิ่ ห้อย ด้วยตนเอง โดยกลุ่มที่มาประจ�า คือ คนที่มาพักโฮมสเตย์ในละแวกนี้ และกลุ่ม เพือ่ น ๆ ในเฟซบุค๊ ซึง่ จะมากันในจ�านวนทีค่ วบคุมดูแลได้ทวั่ ถึง ไม่ได้มากมายมหาศาล นอกจากนีย้ งั มีสอื่ จากต่างประเทศเข้ามาให้การสนับสนุน เช่น IUCN เป็นองค์กรขนาด ใหญ่ มีส�านักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนิวา โดยร่วมมือกับเครือข่ายมารีออตต์ หักเงินส่วน หนึ่งจากผู้ที่เข้าพัก เพื่อน�ามาท�าโครงการนี้ เมือ่ มีหลายองค์กรเข้ามา ทีอ่ นื่ ๆ ก็เริม่ ให้ความสนใจตามกันมาเป็นลูกโซ่ แต่ ทว่าธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่สร้างได้ภายในเวลาไม่กี่วัน ไม่ใช่การแห่มาปลูกต้นไม้ ตามกระแส การหมั่นดูแลหลังจากนั้นต่างหากที่เป็นสิ่งส�าคัญ “พวกเราไม่ได้ตื่นเต้นกับคนที่มา ช่วงหลัง ๆ เราจะถามเขาว่า จะมาท�าอะไร ถ้ามาปลูกต้นไม้อย่างเดียว ไม่มีประโยชน์หรอก สักพักมันถูกหญ้าคลุมแล้วก็ตาย ต่อไปนี้ต้องมีข้อก�าหนด คุยกับเขาเลยว่า 3 เดือน ต้องเข้ามาดูแล คุณมาเอาภาพไป International Union for Conservation of Nature และเครือโรงแรม Marriott เข้ารวมปลูกต้นไม้ที่ลําพู บางกระสอบ
76
ลดภาษีเยอะแยะ แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่มันไม่ได้อะไร กลับสู่ที่เดิม บริษัทใหม่มา ปลูกอีก ก็ตายอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้” ลุ ง กิ จ เดิ น น� า ออกจากหมู ่ บ ้ า นหิ่ ง ห้ อ ย ป า ยให้ ค วามรู ้ ตั้ ง อยู ่ ด ้ า นหน้ า ติดริมถนน แผ่นปายสีสันสวยงามระบุว่า ส�าหรับพื้นที่ 6 ต�าบล ในเกาะกระเพาะหมู มีการค้นพบหิง่ ห้อยทีไ่ ด้รบั การยืนยันแล้วทัง้ สิน้ 4 ชนิด 3 สกุล ได้แก่ หิง่ ห้อยน�า้ กร่อย หิง่ ห้อยน�า้ จืด และหิง่ ห้อยบก จากทัง้ สิน้ กว่า 100 ชนิดในประเทศไทย ซึง่ พบในแหล่ง ปาไม้เบญจพรรณ และปาชายคลองเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีระบบนิเวศที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโต ยามเย็นมาเยือน ท้องฟาค่อย ๆ เจือด้วยสีส้มเข้ม อีกไม่กี่นาทีหลังจากนี้ คง ได้เวลาทีแ่ มลงปีกแข็งขนาดเล็กจะออกมาบินส่องแสงหาคูก่ นั อีกครัง้ ในช่วงวงจรชีวติ ทีเ่ ป็นตัวเต็มวัยของมัน ซึง่ ตลอดชีวติ แต่ละตัวจะกระพริบแสงให้เห็นได้เป็นระยะเวลา เพียง 10-14 วันเท่านั้น หลากหลายองคกรเข้ารวมเสวนาเกี่ยวกับแนวคิดการอนุรักษพื้นที่สีเขียว
77
ระหว่างนั้น สายตาฉันเหลือบไปเห็นลายสกรีนบนเสื้อยืดคอกลมสีด�าที่ลุง สวมใส่อยู่ ตัวอักษรค�าว่า ‘ล�าพู บางกระสอบ’ อยู่ข้างใต้สัญลักษณ์คล้ายรูปต้นไม้ สีสันสดใส ลุงกิจบอกว่า ลวดลายน่ารักบนเสื้อเป็นโลโก้ของล�าพูบางกระสอบ ผลงาน ของ อาจารย์นภัส ขวัญเมือง อาจารย์คณะสถาปตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ออกแบบเป็นรูปหิ่งห้อย 13 ตัว มารวมตัวกันเป็นต้นล�าพู นับเป็นการ ผสานสองสิ่งเข้าด้วยกันที่ยอมรับว่าอาจต้องใช้จินตนาการของศิลปนในการมองค่อน ข้างสูง แม้แต่ลุงกิจเอง ยังพูดติดตลกว่า โลโก้หิ่งห้อยหลากสีมีส่วนคล้ายลูกแบตมิน ตันอยู่เหมือนกัน “อาจารย์นภัส เป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกัน ที่ช่วยกันถางปาตั้งแต่เริ่มแรก ช่วยคิดโลโก้ ด้วยความฝนว่าหากวันหนึ่งได้เป็นกลุ่มอนุรักษ์จะได้ใช้โลโก้อันนี้เป็น สัญลักษณ์ของกลุ่ม แม้ว่าในตอนนั้นจะไม่ได้มีแนวโน้มเลยว่าจะเติบโตมาได้” ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจของบุคคลเหล่านี้ที่ท�างานหนักเพื่อการอนุรักษ์ หิง่ ห้อย โดยมีเหตุผลส่วนตัวคือความหลงใหล ท�าให้ผลลัพธ์ทไี่ ด้ออกมาเป็นทีน่ า่ พอใจ นับเป็นโชคดีทใี่ นสังคมยังมีกลุม่ คนทีม่ จี ติ ส�านึกในเรือ่ งนี้ หากกลุม่ อาสาสมัครหมดไป ก็ ค งจะเป็ น ช่ ว งเวลาเดี ย วกั บ ที่ หิ่ ง ห้ อ ยจะหมดไปจากธรรมชาติ และตอนนั้ น สภาพแวดล้อมจะเสื่อมโทรมถึงขั้นไหน คงไม่มีมนุษย์คนใดคาดเดาได้
78
สวนปาลําพู
ที่อยู่ : หมู่ที่ 3 ซ.เพชรหึงษ์ 22 ต�าบลบางกระสอบ สนใจเข้าชม กรุณาติดต่อล่วงหน้า คุณสุกิจ พลับจ่าง : 088-9405992
79
ลมหายãจของชุมชน บางน้ำ�ผึ้ง 80
81
ตลาดน�้าบางน�้าผึ้ง “ทานอะไรดีคะ เชิญนั่งก่อนค่ะ” เสียงเชิญชวนของบรรดาแม่คา้ ให้นกั ท่องเทีย่ วแวะทานอาหารทีร่ า้ นของตน ดังขึ้นไม่ขาดสาย พื้นที่ไม่กว้างมากนักบริเวณริมคลองสายเล็กที่ตัดผ่านตลาดน�้า ใช้ส�าหรับขายอาหาร ทั้งกวยเตี๋ยว ข้าวขาหมู ไก่ย่างส้มต�า และอีกสารพัดชนิด บนเรือพายจอดเทียบท่าเต็มไปด้วยวัตถุดบิ และเครือ่ งมือประกอบอาหาร เมือ่ กระเพาะ เริ่ ม ส่ ง สั ญ ญาณความหิ ว ฉั น จึ ง ตั ด สิ น ใจนั่ ง ลงบนผื น เสื่ อ หน้ า โต๊ ะ ขนาดเล็ ก ที่ร้านกวยเตี๋ยวร้านหนึ่ง ทุกเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลาประมาณ 8 โมงเช้า ชาวบ้าน ในคุ้งบางกะเจ้าและนักท่องเที่ยวจะหลั่งไหลมารวมตัวกันที่ ‘ตลาดน�้าบางน�้าผึ้ง’ บรรยากาศสบายของการนั่งทานอาหารริมคลองภายในตลาดนํ้าบางนํ้าผึ้ง
82
แหล่งจ�าหน่ายสินค้าและภูมิปญญาจากฝีมือชาวบ้านตั้งแต่ปี 2547 จากความร่วมมือ กันของประชาคมหมู่บ้าน 11 หมู่บ้านในต�าบลบางน�้าผึ้ง เพื่อสร้างรายได้ด้วยการ หาทางระบายผลผลิตทางการเกษตรจากเรือกสวนของชาวชุมชน สุธาสินี ชัยเขื่อนขันธ หรือพี่ภา ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน องค์การบริหาร ส่วนต�าบลบางน�้าผึ้งเล่าให้ฟงว่า แต่เดิมพื้นที่บริเวณตลาดน�้าบางน�้าผึ้งเป็นแหล่ง เกษตรกรรม ต่อมาเมื่อพืช ผัก ผลไม้ ที่ชาวบ้านในคุ้งบางกะเจ้าปลูกมีปริมาณมาก เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน ประกอบกับหากจะน�าผลผลิตออกไปขาย จะต้อง พายเรือไปไกลกว่าจะถึงตลาด จึงได้มีการประชุมกันเพื่อหาช่องทางจ�าหน่ายสินค้า ภายในชุมชน กระทั่งได้ข้อสรุปในการจัดตั้งตลาดน�้าขึ้น “ช่วงแรกที่เปดตลาดจะให้ชาวบ้านที่สนใจมาลงชื่อขอจ�าหน่ายสินค้า รวม ทั้งสิ้นประมาณ 100 ร้านค้า ไม่มีการแบ่งโซนระหว่างของกินและของใช้ เพราะใช้วิธี การจับสลากว่าจะได้วางขายตรงไหน นับตั้งแต่เปดตลาดน�้ากว่า 9 ปี มีผลตอบรับ จากนักท่องเที่ยวดีขึ้นเรื่อย ๆ ปจจุบันมีร้านค้าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 400 ร้านค้า” แมค้าจําหนายเครื่องดื่มเย็นสดชื่น
83
(บน) อาหารหลากหลายชนิดที่จําหนายบริเวณริมคลอง (ลาง) นักทองเที่ยวแวะเก็บภาพที่ระลึกกับมุมถายรูปของตลาดนํ้าบางนํ้าผึ้ง
84
เหตุผลที่ชาวบางกะเจ้าเป็นชุมชนเกษตรกรรม หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2542 ระบุว่า ก่อนเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2539 ชาวบางน�้าผึ้งส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างท�างานในโรงงานอุตสาหกรรมละแวกใกล้เคียง แต่หลังเกิดภาวะวิกฤตดังกล่าว ส่งผลให้หลายคนตกงาน นายมนัส รัศมิทัต ก�านัน ต�าบลบางน�้าผึ้งในสมัยนั้น จึงได้หาทางแก้ปญหาความเดือดร้อน ด้วยการกระตุ้นให้ ชาวบ้านหันมาสนใจท�าเกษตรกรรม ซึง่ เป็นอาชีพดัง้ เดิมของคนในต�าบลนีม้ าก่อน และ เริม่ ต้นสูก่ ารท�าเกษตรแบบพอเพียงอย่างจริงจังเมือ่ ปี 2540 จนสามารถแก้ปญ หาการ ว่างงานได้ในระดับหนึ่ง ระหว่างก�าลังใช้ตะเกียบคีบเส้นบะหมี่หมูน�้าใส ฉันเหลือบมองไปด้านข้าง เห็นฉากไม้สีฟา มีประตูหน้าต่าง ประหนึ่งจ�าลองเป็นหน้าบ้านไม้เก่าแก่ ตัวอักษรสี แดงเรียงเป็นค�าว่า ‘ตลาดน�้าบางน�้าผึ้ง’ พร้อมม้านั่งยาวหนึ่งตัว ถูกจัดให้เป็น จุดถ่ายรูป หากใครมาแล้วไม่ได้แอ็คท่าถ่ายรูปกับปายนีน้ บั ว่ามาไม่ถงึ แค่เพียงชัว่ ระยะ หนึ่งชามกวยเตี๋ยว พบว่ามีนักท่องเที่ยวทั้งเด็กและผู้ใหญ่แวะเวียนมาเก็บภาพ เป็นที่ระลึกตรงมุมนี้กันนับไม่ถ้วน เมื่ อ อิ่ ม หน� า ส� า ราญเรี ย บร้ อ ยแล้ ว จึ ง ได้ เ วลาออกเดิ น ส� า รวจตลาด ที่เต็มไปด้วยของกิน ของใช้ และเสื้อผ้าอาภรณ์ตามแบบแผนของตลาดทั่วไป พี่ภา เล่าให้ฟงถึงสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ คือ พ่อค้าแม่ค้าที่มาออกร้านจะต้องเป็น ชาวคุ้งบางกะเจ้า ซึ่งจะท�าให้นักท่องเที่ยวได้จับจ่ายพืช ผัก ผลไม้ตามฤดูกาลสดใหม่ จากสวนในราคาย่อมเยา “สินค้าทีน่ า� มาขายจะต้องท�าเอง ขายเอง ห้ามซือ้ มาจากทีอ่ นื่ แต่ถา้ บางครัง้ ผลผลิตมีน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเทีย่ ว อาจจะมีเสริมเข้ามาจาก ที่อื่นบ้าง โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของ อบต. อย่างเช่น มะม่วงน�้าดอกไม้ที่เป็นผลไม้ ขึ้นชื่อของต�าบลบางน�้าผึ้ง เราก็จะไม่ให้รับจากที่อื่นมาขาย และมีการประกันราคา ให้กับชาวสวนที่นี่” สิ่ ง ที่ เ ป็ น เสน่ ห ์ อี ก อย่ า งหนึ่ ง ของตลาดน�้ า บางน�้ า ผึ้ ง คื อ สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ จากภูมิปญญาชาวบ้าน ทั้งสินค้าโอทอป และวิสาหกิจชุมชน เฉพาะต�าบลบางน�้าผึ้ง มีมากถึง 8-9 ชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์จากลูกไม้และวัสดุธรรมชาติ เมี่ยงค�า กระเปาผ้า 85
เอนกประสงค์ ลูกประคบสมุนไพร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้ผลผลิตจากธรรมชาติท�าเป็นสินค้าอุปโภค ในครัวเรือนมากมาย อาทิ น�า้ ยาล้างจานสูตรมะนาวหมัก น�า้ ยาซักผ้าอัญชัน สบูฟ่ ก ข้าว จากกลุ่มบางน�้าผึ้งพอเพียง ซึ่งน้อมน�าเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ต่อยอดมาจากโครงการรักษ์ปาสร้างคน 84 ต�าบล วิถีพอเพียงของ ปตท. กระทั่ง ปจจุบันเป็นศูนย์เรียนรู้ต�าบลวิถีพอเพียง สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน ขณะชมสินค้าเพลิน ๆ ได้ยินเสียงดนตรีแว่วมากระทบโสตประสาท ความ คิดแวบแรกในหัวดังขึ้นว่าต้องมีจัดเทศกาลงานส�าคัญอะไรเป็นแน่ สองเท้ารีบสาว เข้าหาต้นตอของตัวโน้ตเหล่านัน้ อย่างไม่รรี อ แต่เมือ่ ถึงทีห่ มายกลับพบว่าตัวเองคิดผิด ท่ามกลางร้านรวงต่าง ๆ มีทางเดินเล็ก ๆ ทอดตัวเข้าไปสู่พื้นที่กว้างขวาง ด้านใน หากเดินผ่านโดยไม่ทันสังเกต อาจเห็นเพียงแมกไม้เขียวชอุ่ม ทว่าต้นไม้ใหญ่ ต้นหนึ่งมีปายไม้ติดอยู่ บ่งบอกว่าลานด้านในมีจัดการแสดง ‘ดนตรีในสวน’ ลานกว้างร่มรืน่ ด้วยพืชพรรณธรรมชาติ สิง่ แรกทีเ่ ห็น คือ เวทียกพืน้ เล็กน้อย หอหมกปลากรายสุดอรอย จนต้องตอคิวซื้อ
86
87 ตุกตาควาย สิ่งประดิษฐจากลูกตีนเปด เกิดจากความคิดสร้างสรรคของชาวคุ้งบางกะเจ้า
ขนาดไม่ใหญ่มากนัก หน้าเวทีมีโต๊ะหลายสิบตัว ล้อมรอบด้วยเก้าอี้พลาสติก มีผู้คน นั่งอยู่เต็มแทบทุกตัว สังเกตได้ว่าส่วนมากจะมากันเป็นครอบครัว บางโต๊ะมีตั้งแต่รุ่น ปูย่าตายาย ไล่เรียงไปถึงรุ่นหลานวัยเตาะแตะ ให้บรรยากาศคล้ายงานเลี้ยงโต๊ะจีน ด้านบนเวทีหญิงวัยกลางคนก�าลังขับกล่อมบทเพลงฟงสบาย เดินเลยมาสักระยะหนึ่ง ราวกับเป็นแหล่งรวมตัวกันของเด็กวัยประถม ทว่า สงบอย่างเหลือเชื่อ เพราะว่าพวกเขาก�าลังระบายสีลงบนปูนปลาสเตอร์รูปตัวการ์ตูน กันอย่างขะมักเขม้น คุณลุงเจ้าของร้าน ผู้เสริมสร้างจินตนาการหลากสีให้แก่เด็ก ๆ ชี้บอกให้ฉัน เดิ น ไปด้ า นหลั ง เวที หากอยากเจอกั บ คนที่ ริ เ ริ่ ม โครงการดนตรี ใ นสวนจน เป็นรูปเป็นร่างดังเช่นทุกวันนี้ “เดี๋ยวหนูพาไปหาคุณครูเองค่ะ” เสียงใสกังวานดังขึ้น เด็กหญิงอายุราว 7 ขวบคนหนึ่ง อาสาเป็นคนน�าทาง ฉันเดินตามไปอย่างไม่ลังเล พลางนึกสงสัยว่า เหตุใดเด็กหญิงจึงเรียกบุคคล ผู้นี้ว่า คุณครู หญิงวัยกลางคนก�าลังง่วนอยูก่ บั การปรับเครือ่ งเสียงอยูด่ า้ นหลังเวที เหมือน จะเกิดปญหาอะไรบางอย่างกับสายไฟ แผ่นปายเหนือศีรษะขึ้นไปเล็กน้อยเขียนว่า ครูสุภาพ วงศอิสเรส พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และอีเมลของเธอ เมื่อจัดการต่อสายเครื่องเสียงเรียบร้อย เพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ยังคง บรรเลงต่อไป แม้ว่าตอนนี้เป็นเวลาสี่โมงเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่ตลาดเริ่มวาย และ นักท่องเที่ยวทยอยกลับกันเกือบหมดแล้ว “ครูสอนอยูท่ โี่ รงเรียนอาสาวิทยา พระประแดง มาเทีย่ วตลาดน�า้ เป็นประจ�า พอมาเห็นพื้นที่ตรงนี้ เลยเกิดไอเดียว่าน่าจะมีเวทีร้องเพลง จัดกิจกรรม แต่ทาง อบต. บอกว่าไม่มีงบประมาณ ครูเลยอาสาจะท�าให้ โดยไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายอะไร” ครูสุภาพเล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของโครงการดนตรีในสวนให้ฟงว่า ตั้งแต่ ช่ ว งแรกที่ เ ป ด ตลาดน�้า เธอมัก จะมาเที่ยวทุก เสาร์-อาทิตย์ เพราะติดอกติดใจ บรรยากาศ รวมทั้งความเป็นกันเองของชาวบ้านที่น�าของมาขาย วันหนึ่งได้มาเห็น พื้นที่บริเวณนี้ จึงเกิดความคิดที่จะสร้างเป็นจุดพักผ่อนของนักท่องเที่ยว 88
(บน) เด็กน้อยกําลังนั่งระบายสีปูนปลาสเตอรอยางขะมักเขม้น (ลาง) เวทีดนตรีในสวน สถานที่แสดงพลังเสียงอันไพเราะ
89
ครูสุภาพ กลาวเชิญชวนผู้สนใจขึ้นมาร้องเพลงบนเวที
“ครูดูว่าที่นี่มันเติบโตได้แน่นอน ด้านหน้าเป็นน�้า ส่วนตรงนี้เป็นสวน เมื่อก่อนมีต้นไม้หนาแน่นมาก ครูปรึกษากับชาวบ้านในตลาดที่สนิทกัน เขาเลยถาม นายก อบต. ว่ามีคนจะท�าดนตรีให้ สนใจไหม” ทาง อบต. ไม่มีงบประมาณในการสนับสนุน แต่เห็นว่าเป็นโครงการที่ดี จึง เปดโอกาสให้ครูสุภาพได้ใช้พื้นที่บริเวณนี้ เพื่อน�าความคิดในจินตนาการออกมาสู่ ความเป็นจริง เธออาสาจะท�าให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะมีเครื่องเสียงอยู่ที่บ้าน ไว้ใช้ส�าหรับงานโรงเรียนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ชีวิตของครูสุภาพ เริ่มผูกพันกับผู้คนและเสียงดนตรีมากขึ้น จนสามารถท�าความฝนควบคู่ไปกับอาชีพ ข้าราชการครูได้ “ตอนแรก ๆ ที่ท�า ล�าบากนะ เพราะว่าครูเอารถตู้ของตัวเองขนเครื่องเสียง ตอนเช้าเข็นมา เย็นเข็นกลับ เป็นแบบนี้อยู่นาน จนหน้าเป็นฝาหมดแล้ว” กระทั่ง ปี 2549 ครูสุภาพสละเงินของตนเองสร้างหลังคามุงจาก เพื่อให้ สามารถเก็บชุดเครื่องเสียงไว้ได้ ไม่ต้องเข็นกลับทุกเย็น พร้อมทั้งซื้อชุดโต๊ะ เก้าอี้ หลายสิ บ ชุ ด เพื่ อ รองรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว มี กิ จ กรรมวาดภาพระบายสี ผ ้ า บาติ ก 90
บรรยากาศนักทองเที่ยวนั่งพักผอน ทานอาหาร ฟงดนตรีในสวน
ปูนปลาสเตอร์ และเครื่องเล่นเด็กจัดอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพราะอยากให้เป็น จุดนัดพบ ให้ครอบครัวได้พักผ่อน ซื้ออาหารมานั่งที่นี่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และ จองคิวร้องเพลงบนเวทีได้ฟรี ๆ ซึ่งเป็นเวทีเปดกว้างส�าหรับจัดกิจกรรมของทาง โรงเรียนได้อีกด้วย “คนที่มาร้องเพลงก็ให้ดอกไม้ ให้เงินเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง ช่วงแรก ๆ มีร่ม โต๊ะ เก้าอี้ แค่ไม่กี่ตัว ครูซื้อเองหมดทุกอย่าง หลัง ๆ จะมีธนาคารแห่งหนึ่งน�าร่มมา บริจาค ชาวบ้านน�าสิ่งของมาให้บ้าง มันต่อยอดมาเองโดยอัตโนมัติ” เสียงตอบรับจากนักท่องเที่ยวเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน โครงการ บางคนเดินทางมาจากต่างจังหวัดไกล ๆ ชืน่ ชอบบรรยากาศของทีน่ ี่ จนต้อง แวะเวียนกลับมาอีกหลายครั้ง “มีคนมาบอกว่านักท่องเทีย่ วเขามาตลาดน�า้ เพราะครู ครูบอกว่าไม่ใช่หรอก มันเป็นเพราะทุกคน ทั้งสินค้าต้องท�าให้ดี พ่อค้าแม่ค้าต้องพูดจาดี และเรามีผู้บริหาร เก่ง ประชุมกันเป็นประจ�า ใครมีข้อโต้แย้งอะไรก็ชี้แจง นักท่องเที่ยวร้องเรียนก็น�ามา ปรับปรุง ท�าตามกฎระเบียบ ท�าให้ตลาดนี้แข็งแรงได้ด้วยตัวของมันเอง” 91
ด้วยความเป็นคนช่างคิด เธอได้วางแผนจะพัฒนาโครงการเพิม่ เติมในอนาคต โดยการติดตั้งจอแอลซีดีบนเวที ท�าสถานีวิทยุกระจายเสียง เผื่อแผ่ความสุขจาก บทเพลงให้แก่คนที่มาจับจ่ายในตลาด แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถท�าได้อย่างเต็มตัว เนื่องจากหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละวัน ท�าให้แทบไม่มีเวลาพักผ่อน “อย่ารู้อายุเลยลูก” ครูสุภาพตอบปนหัวเราะ เมื่อฉันแอบกระซิบถามด้วย ความสงสัยว่า อีกนานแค่ไหนกว่าทีเ่ ธอจะได้ทา� ตามความฝนของตัวเองได้อย่างเต็มที่ “ครูอายุ 60 แล้ว อีกไม่นานก็เกษียณ” ฉันประหลาดใจเมือ่ ได้ยนิ ว่าเธออายุ 60 ปี เพราะดูจากใบหน้ายิม้ แย้มแจ่มใส ดวงตาเปล่งประกายความสุขแล้ว ท�าให้คาดเดาไปว่ายังห่างไกลจากข้าราชการเกษียณ อยู่มาก “ถ้าถามว่าเสียเงินไปเท่าไหร่ นับไม่ถ้วนแล้ว ครูท�าแล้วมีความสุข เพราะ ถือว่าส่งเสริมการท่องเทีย่ วบ้านเรา และถ้าคนมาเทีย่ วพักผ่อน ตัวครูเองก็ได้กศุ ลด้วย ครูเชื่อว่าอานิสงส์ของการท�าความดี จะส่งผลให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข” เมือ่ เห็นถึงความทุม่ แทในการท�างานจิตอาสาของครูสภุ าพ ท�าให้คดิ ว่า คุณครู ทีเ่ ด็ก ๆ เรียกกัน คงไม่ใช่หมายความเพียงแค่ คุณครูผปู้ ระสิทธิป์ ระสาทวิชาในโรงเรียน เท่ า นั้ น แต่ อ าจหมายรวมถึ ง คุ ณ ครู ในฐานะของการเป็ น ต้ น แบบที่ ดี ใ นการ มีจิตสาธารณะ มีความคิดสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ใครจะรูว้ า่ จากพิษเศรษฐกิจเมือ่ สิบกว่าปีทแี่ ล้วจะเปลีย่ นวิกฤตให้เป็นโอกาส แม้ว่าตลาดน�้าแห่งนี้อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเหมือนกับตลาดน�้าชื่อดัง หลายแห่ง แต่เห็นได้ชัดว่าก�าลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้จาก ความหนาแน่นของผู้คนที่มาจับจ่ายใช้สอย และพื้นที่ลานจอดรถที่เพิ่มขึ้นจาก หลายปีก่อนอย่างมาก ทั้งหมดล้วนเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันและความเข้มแข็ง ของคนในชุมชน ท�าให้สามารถสร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่ชาวบางกะเจ้า โดยเฉพาะ ในต�าบลบางน�า้ ผึง้ ได้อย่างมหาศาล จนเรียกได้วา่ เป็นลมหายใจของชุมชนอย่างแท้จริง
92
ตลาดนํ้าบางนํ้าผึ้ง
ที่อยู่ : หมู่ที่ 10 ซ.เพชรหึงษ์ 26 ต�าบลบางน�้าผึ้ง เปดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อบต. บางน�้าผึ้ง : 02-8196762 ครูสุภาพ วงศ์อิสเรส : 089-0485245
93
ความพยายาม ไม‹มีที่สิ้นสุด บางกอบัว 94
95
ฟาร์มเห็ดช‹างแดง วัยหนุม่ สาวหรือวัยท�างาน เป็นช่วงอายุทมี่ พี ละก�าลังล้นเหลือ เลือกประกอบ อาชีพได้หลากหลายตามแต่ใจใฝฝน ตราบเท่าที่ยังเป็นการประกอบ ‘สัมมาอาชีพ’ อย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่เบียดเบียนให้ใครต้องเดือดร้อน ดังเช่นชายผูน้ ี้ แต่เดิมเขามีอาชีพเป็นช่างซ่อมรถและเรือ เมือ่ วันเวลาผันผ่าน ร่างกายเริ่มส่งเสียงประท้วงหลังจากท�างานหนักมานาน เขาจึงหันมาหาอาชีพที่ พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ และได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ แม้ว่าจะเหนื่อยอยู่บ้าง แต่ อย่างน้อยก็ได้พักผ่อนสภาพจิตใจ ซอยเพชรหึงษ์ 52 บริเวณทางโค้งหนึ่งในต�าบลบางกอบัว ไม่ไกลจาก ตลาดน�้ า บางน�้ า ผึ้ ง มากนั ก มี โรงเรื อ นเพาะเห็ ด หลากหลายชนิ ด ซ่ อ นตั ว อยู ่ 96
อย่างสงบเงียบ ถุงก้อนเชือ้ เห็ดท�าจากขีเ้ ลือ่ ยสีนา�้ ตาลจ�านวนมากถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ อยู่หน้าบ้าน เพื่อรอเข้าสู่กระบวนการเพาะเชื้อ ข้าง ๆ กันเป็นขี้เลื่อยกองโต ชายหนุ่ม คนหนึ่งก�าลังตักขี้เลื่อยเหล่านั้นบรรจุใส่ถุงพลาสติก สมศั ก ดิ์ ชั ย เขื่ อ นขั น ธ หรื อ ช า งแดง วั ย 60 ปี เดิ น เข้ า มาทั ก ทาย ด้วยความเคยชินจากการต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่เนืองนิตย์ ก่อนจะพาเข้าไปชม โรงเรือนเพาะเห็ด 2 โรงด้านหลังบ้าน “ตอนแรกทีท่ า� ฟาร์ม เริม่ จากซือ้ ก้อนเชือ้ เห็ดจากทีอ่ นื่ มานิด ๆ หน่อย ๆ เพือ่ เปดดอกขาย แต่กอ้ นเชือ้ เห็ดทีซ่ อื้ มากลับมีคณ ุ ภาพไม่ดี เกิดเชือ้ รา จึงตัดสินใจไปเรียน เพื่อมาท�าเอง เปดดอกเอง จนตอนนี้มีลูกค้ามาติดต่อขอซื้อก้อนเชื้อเห็ดจากที่นี่ ไปเปดดอก” เป็นเวลากว่า 8-9 ปีมาแล้ว ทีช่ า่ งแดงผันตัวจากอาชีพช่างซ่อมมาเรียนรูก้ าร ท�าฟาร์มเห็ด โดยศึกษาวิชาการเกษตรจากการเข้าร่วมฝกอบรมตามสถานที่ต่าง ๆ และไปดูงานที่ประเทศจีน เพื่อน�ากลับมาต่อยอดผลผลิต ก้าวเดินเข้าไปในโรงเรือนพื้นปูนซีเมนต์ ฉันสัมผัสได้ถึงบรรยากาศเย็นชื้น หลังคามุงด้วยตับจาก ช่วยบรรเทาความร้อนจากภายนอกได้เป็นอย่างดี ช่างแดง อธิบายว่า การตั้งโรงเรือนต้องเลือกท�าเลพื้นที่โปร่ง และมีอากาศถ่ายเทสะดวก จึงจะ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตชองเห็ด ก้อนเชื้อเห็ดหลากหลายชนิด มีปายชื่อติดอยู่ด้านบน ทั้งเห็ดนางฟาภูฏาน นางฟ า ฮั ง การี เป า ฮื้ อ และอี ก มากมายที่ ไ ม่ ไ ด้ ติ ด ป า ยชื่ อ เรี ย งรายบนชั้ น วาง ตลอดความยาวกว่า 10 เมตรของโรงเรือน ฉันสังเกตเห็นว่าบางก้อนมีดอกเห็ดโผล่ ออกมาให้ได้เก็บเกีย่ ว บางก้อนโผล่ออกมานิดหน่อยให้พอได้รวู้ า่ เป็นเห็ดชนิดใด และ บางก้อนยังคงรอเวลาที่จะได้ออกมาดูโลกภายนอก “แต่ละก้อนจะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน จึงพร้อมทีจ่ ะเปดดอกได้ แล้วแต่ ชนิดของเห็ด เรื่องสภาพอากาศก็มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะถ้าอากาศร้อนจัดเชื้อเห็ดจะ เดินช้า” ก่อนที่จะได้มาพักอยู่ในโรงเรือน ก้อนเชื้อเห็ดเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการ 97
ขั้นตอนการบรรจุขี้เลื่อยใสถุงพลาสติก กอนหยอดเชื้อเห็ด
98
หลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การผสมเชื้อเห็ดลงในถุงหลาสติกใส่ขี้เลื่อยที่เตรียมไว้ สวม ปากถุงด้วยคอขวดพลาสติก ใช้ส�าลีอุด แล้วน�าไปนึ่งในอุณหภูมิหนึ่งร้อยองศา เป็น เวลา 4 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นหยอดเชื้อเท่าเม็ดข้าวฟาง แล้วปดด้วยฝาย ปดทับ อีกชั้นหนึ่งด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์รัดหนังยาง เป็นอันเสร็จพิธี ส่วนผสมของเชื้อเห็ด ประกอบด้วย ขี้เลื่อย ยิปซัม ร�า ปูนขาว ดีเกลือ และ ฮอร์โมนของเห็ด ซึ่งการเพาะเห็ดแต่ละชนิดจะมีส่วนผสมแตกต่างกันออกไป การดูแลรักษาเมื่อเข้าสู่โรงเรือน จะต้องรดน�้าก้อนเชื้อเห็ดทุกเช้า-เย็น และ มีการให้ฮอร์โมนเป็นบางครั้ง คล้ายการใส่ปุยให้ต้นไม้ เมื่อครบระยะเวลาก้อนเชื้อเห็ดพร้อมเปดดอก สังเกตได้จากการที่เชื้อ สีน�้าตาลจะเริ่มเป็นสีขาวไล่ขึ้นมาเรื่อย ๆ จนเต็มก้อน พอเก็บดอกออกมาแล้ว หลังจากนั้นราว 7-10 วัน ดอกก็จะออกอีกครั้ง หนึ่งก้อนสามารถเก็บผลผลิต ได้นาน 5- 6 เดือน “เห็ดที่นี่จะขายสดหน้าฟาร์ม ขายตามรถเร่ หรือพอเชื้อใกล้จะเดินเต็มจะมี ดอกเห็ดโผลออกมาจากก้อนเชื้อเห็ด พร้อมเก็บเกี่ยวผลผลิต
99
คนมาสั่งไว้เพื่อน�าไปเปดดอกเห็ดเอง” หลังจากเล่าถึงหลากหลายขั้นตอนราวกับชมสารคดีสั้นเรื่อง ‘กว่าจะเป็น เห็ด’ ช่างแดงก็พาเดินไปดูเห็ดที่หายาก และมีราคาต่อกิโลกรัมแพงที่สุดในฟาร์ม เห็ดรูปร่างคล้ายไตสีแดงอมน�้าตาล มีลายวงแหวน โผล่พ้นออกมาจาก ก้อนเชื้อเห็ด “อั น นี้ คื อ เห็ ด หลิ น จื อ ก่ อ นหน้ า นี้ ล องผิ ด ลองถู ก มานาน ค่ อ นข้ า งจะ เพาะพันธุ์ยาก แต่มีข้อดีตรงที่ไม่มีแมลงมากัดกินเพราะดอกมีรสชาติขมและเหนียว ฟาร์มอื่นจะไม่ค่อยเพาะพันธุ์เห็ดหลินจือ เพราะว่าใช้เวลาถึง 3 เดือนกว่าจะเปดดอก ได้ และหนึ่งก้อนเปดดอกได้เพียงแค่ครั้งเดียว” เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรทีห่ ายาก มีถนิ่ ก�าเนิดดัง้ เดิมอยูใ่ นปาเขาของประเทศ จีน เป็นเห็ดที่มีบันทึกไว้ในคัมภีร์แพทย์และยาจีนโบราณมานานกว่าสองพันปี โดยมี ความเชื่อเรื่องความเป็นศิริมงคล และเป็นยาอายุวัฒนะใช้บ�ารุงร่างกาย ปจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย จากหนังสือเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเรื่อง ‘เห็ดหลินจือ’ จัดท�าโดย ที่ปรึกษางานวิจัยเห็ดหลินจือ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มีการเก็บรวมรวม ข้อมูลจากการค้นคว้าคุณประโยชน์ของเห็ดหลินจือพบว่า มีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค บ�ารุงตับ ก�าจัดพิษ รักษาโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ลดไขมันในเลือด บรรเทาอาการปวด รวมไปถึงสามารถชลอความชราได้ จะว่าไปเจ้าเห็ดเล็ก ๆ นี้ก็มีสรรพคุณทางยาสารพัดเลยทีเดียว นับว่าเป็น ความอุ ต สาหะของช่ า งแดงที่ ท� า การศึ ก ษาและทดลองสกั ด เชื้ อ จากสปอร์ เ ห็ ด ด้วยตนเองครั้งแล้วครั้งเล่า จนสามารถเพาะพันธุ์เห็ดหลินจือได้เป็นผลส�าเร็จ เมื่อเก็บเห็ดหลินจือสดจากก้อนเชื้อ จะต้องอบหรือตากให้แห้งทันที โดย พยายามรักษาความสะอาดให้ได้มากที่สุด แล้วเก็บไว้ในที่แห้งหรือที่มีความชื้นต�่า สามารถบริโภคได้เฉพาะส่วนทีเ่ ป็นสารละลายหรือสารทีส่ กัดออกมาจากเห็ดหลินจือ เท่านั้น เพราะว่ามีลักษณะเหนียวแข็ง จึงต้องใช้วิธีบดเป็นผงดองเหล้า ฝานเป็นชิ้น น�ามาต้มน�้าเพื่อดื่ม หรือสกัดเป็นแคปซูล เดินต่อไปยังโรงเรือนอีกแห่งหนึ่งข้าง ๆ กัน เป็นโรงที่ใช้ส�าหรับเปดดอก 100
101 เห็ดหัวลิง รูปรางคล้ายดอกกะหลํ่า ออกดอกพร้อมจํ าหนาย
(บน) สภาพอากาศในโรงเรือนเพาะเห็ดโปรงสบาย (ลาง) รดนํ้าก้อนเชื้อเห็ดทุกเช้า-เย็น ด้วยทอนํ้าสปริงเกอร
102
(ซ้าย) เห็ดสามรส ผลิตภัณฑเห็ดแปรรูป (ขวา) เห็ดหลินจือตากแห้ง
ต่างจากโรงแรกที่ใช้เพื่อเพาะพันธุ์เชื้อเห็ดในระหว่างที่รอให้เชื้อเดินเต็ม รวมทั้งสอง แห่งมีก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 4-5 หมื่นก้อน ออกจากโรงเรือนเพาะเห็ด ช่างแดงเดินไปหยิบกาน�้าที่ต้มเห็ดหลินจือมาให้ ทดลองดื่ม น�้าสีชาถูกรินออกจากกาน�้าร้อนลงสู่แก้วใบเล็ก ไขสีขาวลอยวนเป็นฝา อยู่ด้านบน ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพราะว่าเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ สามารถ ดื่มได้ ส�าหรับผู้ที่ไม่เคยดื่มน�้าต้มเห็ดหลินจือมาก่อนในชีวิตอย่างฉัน ได้แต่คิด ปลอบใจตัวเองก่อนยกแก้วขึ้นดื่มว่า ‘หวานเป็นลม ขมเป็นยา’ สารละลายเห็ดหลินจือค่อย ๆ ไหลลงสู่ล�าคอเคล้ากลิ่นหอมจาง ๆ ต่อม รับรสขมท�างานทันที แต่ไม่ถึงกับท�างานหนัก “เห็ดหลินจือตากแห้งจะขายหน้าฟาร์มกิโลกรัมละ 3,000 บาท ไม่ได้ส่งให้ พ่อค้าคนกลาง เพราะโดนกดราคา บางคนซื้อตามร้านขายยาจีน จะเป็นเห็ดจาก 103
เมืองจีนทีเ่ ก็บตามธรรมชาติ ไม่ได้ทา� ฟาร์ม กิโลกรัมละ 600-700 บาท ซึง่ ในธรรมชาติ จะมีทั้งเห็ดที่กินได้และกินไม่ได้ บางทีต้มแล้ว ตัวยาไม่มีเลย” นอกจากจะเพาะพันธุเ์ ห็ดแล้ว ฟาร์มเห็ดช่างแดงยังแปรรูปเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ทัง้ น�า้ พริกเห็ดและเห็ดสามรส และในอนาคตวางแผนจะแปรรูปเป็นข้าวเกรียบ เห็ดเพิ่มเติม ก่อนลากลับ ฉันขออนุญาตเดินเก็บบรรยากาศบริเวณโดยรอบโรงเรือน พบ ว่ามีอ่างบัว มีต้นไม้ที่สามารถเก็บผลมารับประทานได้ เช่น ต้นขนุน และอีกหลาก หลายชนิด…ยอมรับว่าช่างขยันท�าสารพัดอย่างจริง ๆ เมื่อได้มาเยือนฟาร์มเห็ดช่างแดง ฉันพบว่าอายุไม่ใช่อุปสรรคในการเริ่มต้น ท�าสิง่ ใหม่ ๆ หรือกระทัง่ ทดลองค้นหาอาชีพใหม่ทเี่ หมาะสมกับตัวเองในขณะนัน้ หาก มี ความเพี ย รพยายาม อดทน และหมั่นเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คงไม่มีสิ่งใดยาก เกินความสามารถ ดังเช่นช่างแดงที่ลองผิดลองถูก จนในที่สุดก็ท�าได้ส�าเร็จ สามารถ สร้างเป็นอาชีพ และแบ่งปนความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ การได้มีความสุขอยู่กับงานที่รัก จะมีสุขใดยิ่งไปกว่านี้อีกเล่า
104
ฟารมเห็ดชางแดง
ที่อยู่ : หมู่ที่ 12 ซ.เพชรหึงษ์ 52 ต�าบลบางกอบัว สนใจเข้าชม กรุณาติดต่อล่วงหน้า คุณสมศักดิ์ ชัยเขื่อนขันธ์ : 084-3177409
105
จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เอกวารสารเเละหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2556 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร