chiangrai

Page 1

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย


เอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมเชี ย งราย ตอนที่ 1 : ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

เอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมเชี ย งราย

เชียงแสนหลวง สิบสองจุไท สิบสองปันนา กระทั่งถึงสมัยเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ฯลฯ นับเป็นวัฒนธรรมที่มีสายยาวมาก มี ประเพณีสืบเนื่องกระทั่งปัจจุบัน ทำให้เชียงรายได้ชื่อว่า “โยนกนคร” อันเป็นชื่อของกลุ่ม “ไทยวนหรือคนเมือง” สัมพันธ์กับความ อุดมสมบูรณ์ภูมิศาสตร์ของเชียงรายซึ่งเรียกว่าเป็นอู่ทางวัฒนธรรม ได้แก่ ที่ลาบลุ่มที่สำคัญ ๔ แหล่ง คือ ที่ลุ่มแม่น้ำอิง ที่ลุ่ม แม่น้ำกก ที่ลุ่มแม่น้ำลาว และที่ลาบลุ่มเชียงแสน กลุ่มชาติพันธุ์ละว้าเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม นักประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยา และนักวิชาการด้านเกษตร ล้วนระบุตรง กันว่า ละว้าเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของสยามประเทศ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ๓ แคว้น คือ แคว้นโยนกในภาคเหนือ แคว้นโคตรบูรณ์ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และแคว้นทวารวดีในภาคกลาง ก่อนคนไทยจะเคลื่อนย้ายจากเมืองแถนหรือเมืองเทียน (นครคุนหมิง) มาตั้ง ถิ่นฐานกระทั่งรวมตัวเป็นรัฐชาติ นอกจากนี้ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ยังได้ข้อสรุปว่า อักษรไทยยุคต้นคงมีใช้ในกลุ่มคนไทยที่มีความสัมพันธ์กับมอญ หลังคนไทย ตั้งตัวอย่างถาวรใกล้คนมอญและคนเขมรแล้ว ได้ปรับปรุงอักษรไทยยุคต้นให้เป็นมาตรฐาน มีการผสมอักษรสุโขทัยกับอักษรธรรมที่ ปัจจุบันเรียกว่า “อักษรฝักขาม” ใช้ในล้านนามาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๕๕ และแพร่หลายเลยเชียงตุงขึ้นไป ถือเป็นอักษรราชการของล้าน นา จดหมายของทูตที่ส่งไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนก็เขียนด้วยอักษรฝักขาม นอกจากนี้ไทยยวนในล้านนายังใช้อักษรอีกชนิด ที่ เรียกว่า “ตัวเมือง” หรือ “ตัวธรรม” ตำนานล้านนา ล้วนกล่าวถึงชาวละว้าในดินแดนโยนกเอาไว้ ว่า ละว้าตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่หลายแห่ง เช่น ดอยสามเส้า หรือดอยตายะสะ ดอยย่าเฒ่า และดอยตุงเป็นถิ่นฐานของละว้า มีปู่เจ้าลาวจกต้นราชวงศ์ลวจักราช เป็นผู้นำ ต่อมาได้ย้ายลงมาสร้างเมืองเชียงลาวในลุ่มน้ำละว้า (ลุ่มน้ำแม่สาย) และเวียงพางคำ ชาวโยนกรุ่น แรก สมัยพญามังรายและสมัยต่อๆ มา คงรับวัฒนธรรมละว้า เพราะนับถือผีบรรพบุรุษคล้ายคลึงกัน เช่ น การนั บ ถื อ ผี ปู่ ย่ า การใช้ตุงสามหางนำหน้าขบวนศพ การปลูกบ้านแล้วทำไม้ ไขว้ กั น เหนื อ จั่ ว ที่เรียกว่า “กาแล” (ครึแลในภาษาละว้า)

ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก เชียงราย “เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง” จากคำขวัญดัง กล่าวนั้น แสดงให้เห็นว่า เชียงรายเป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน มีความสัมพันธ์กับแดนดินใกล้เคียง มีความหลาก ของกลุ่มชาติพันธุ์ และมีความงดงามด้วยธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ความยาวนานย้อนหลังไปในอดีตของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย ยืนยันได้จากหลักฐานของนักโบราณคดีที่พบร่องรอย การอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคหินในบริเวณแถบนี้ ตลอดจนตำนานและพงศาวดารต่างๆ มากมาย ดร.ฮันส์ เพนธ์ (Hans Penth) ชี้ว่า ชินกาลมาลีปกรณ์เรียกอาณาจักรของราชวงศ์ลวจังกราชว่า “แคว้นโยนก” มีความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาแต่สมัย


เอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมเชี ย งราย

เอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมเชี ย งราย

ตอนที่ 1 : ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

ส่วนทะเลสาบเชียงแสนในตำบลเวียงโยนก สันนิษฐานว่าในอดีตเคยเป็นที่ตั้งเมือง โยนกนาคบุรีศรีช้างแสน (โยนกนาคพันธุ์) มีการพบกล้องยาสูบดินเผา (หม้อยา) จำนวน มากกระจายอยู่บริเวณรอบทะเลสาบ อีกทั้งในตัวเมืองเก่าเชียงแสน มีพระธาตุเจดีย์และ โบราณสถาน รวมทั้งกำแพงเมืองและคูเมือง เช่นเดียวกับเมืองตำมิละ ที่ยังปรากฏซาก กำแพงเมืองและคูเมืองอยู่ในพื้นที่ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ

ปั จ จุ บั น ที่ เ ชี ย งรายมี ช าวละว้ า กลุ่ ม ที่ เ รี ย ก ตนเองว่ า “ลั ว ะ” “ว้ า ” และ “ปลั ง ” ตั้ ง บ้ า นเรื อ น กระจายอยู่ในพื้นที่ ๙ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง เชียงราย พาน เวียงแก่น เชียงแสน เวียงป่าเป้า แม่ลาว แม่จัน แม่ฟ้าหลวง และแม่สาย ชาวละว้า เหล่านี้คงสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา รักษา วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อดั้งเดิม เช่นเดียว กั บ ละว้ า ในเชี ย งใหม่ ที่ ก่ อ นเข้ า พรรษาแต่ ล ะปี จะ ประกอบพิ ธี ไ หว้ ด งหรื อ ไหว้ ผี ยั ก ษ์ และมี ก ารผสม กลมกลืนทางภาษาและวัฒนธรรมกับคนไทยที่เข้ามาอยู่ใหม่ โดยต่างยอมรับในวัฒนธรรมของอีกฝ่าย พร้อมทั้งปรับตัวเข้าหากันช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ในด้านการเกษตร ชาวละว้าทำนาข้าวไร่หรือ “นาน้ำฟ้า” ใช้น้ำฝน เป็นหลัก ส่วนชาวไทยทำ “นาน้ำเหมือง” ใช้น้ำจากฝายหรือชลประทานราษฎร์ ดังมีคำกล่าวว่า “ลัวะเยี้ยไฮ่บ่หื้อตายคา ไทใส่นาบ่หื้อตายแดด” กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเชียงรายมีข้อสันนิษฐานว่า เคลื่อนย้ายลงมา จากพื้นที่แนวขนานแม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำแยง ซีในมณฑลยูนนาน ลงมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่ราบลุ่มเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม ที่สำคัญ และกระจายตัวไปในแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะในที่ราบเชิงเขา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไตกะได เช่น ไตลื้อ ไตยอง ไตใหญ่ ไตขืน (ไตเขิน) เคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานในเชียงรายและภาคเหนือตอนบน หลายวาระ ส่ ว นหนึ่ ง ได้ อ พยพโยกย้ า ยในสมั ย กรุ ง ธนบุ รี แ ละตอนต้ น กรุ ง รัตนโกสินทร์ ตามนโยบายเจ้ากาวิละอันเป็นช่วงที่เริ่มก่อร่างสร้างเมืองใหม่ หรือ “ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง” หลังเป็นอิสระจากอำนาจของพม่าที่เข้า มาปกครองในล้านนา หลังคณะมิชชันนารีอเมริกัน นำโดย William Clifton Dodd หรือ “หมอดอดด์” เดินทางขึ้นไปเผยแพร่คริสต์ศาสนาในยูนนาน ซึ่งประชากรส่วน หนึ่งเป็นชาวไตหย่า ชาวบ้านได้รับรู้ว่าดินแดนไทยอุดมสมบูรณ์ เปี่ยมด้วย สันติสุข จึงพากันรอนแรมลงมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอแม่สาย พร้อมทั้งเลิกนับถือผี ซึ่งมีพ่อมด / ย่ามด เป็นตัวกลางในการติดต่อกับผีต่างๆ แล้วหันมานับถือคริสต์ ศาสนา

การกระจายตัวของกลุ่มภาษาไตกะได


เอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมเชี ย งราย ตอนที่ 1 : ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

ดอยตุงในอดีต

พิธีไหว้ผีดอยตองของชาวเชียงราย

กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย รวมทั้งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และ สาละวิน อาจจำแนกตามกลุ่มภาษาเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ ๑) ตระกูลจีน – ธิเบต (Sino - Tibetan) แบ่งเป็น สาขา ธิ เ บต - พม่ า คื อ ลิ ซู (ลี ซ อ) ลาหู่ และอาข่ า สาขาคะเร็ น คื อ กะเหรี่ยง และสาขาม้ง – เย้า คือ ม้งและเย้า (อิ้วเมี่ยน) ๒) ตระกูลออสโตร – เอเชียติค (Austro - Asiatic) สาขา มอญ – เขมร ได้แก่ ละว้า (ละเวือะ) ลัวะ (มัล) ลัวะ (ไปร) ขมุ (กำหมุ) มาบรี (ผีตองเหลือง) ปะหล่อง (ดาระอั้ง / เตออั้ง) ชาวสัก ส่วย โซ่ กุย เซมัง – ซานอย ซาไก ฯลฯ ๓) ตระกูลมาลายู – โพลิเนเซียน (Malayu - Polinesian) สาขามาเลย์ ได้แก่ ชาวเล หรือ อูลังลาโอต วิธีที่สองด้านมานุษยวิทยา จำแนกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ ยึด วัฒนธรรมเป็นหลัก ได้แก่ ๑) กลุ่มวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับจีนหรือตระกูลจีน – ธิเบต (Sino – Tibetan Stock) ได้แก่ ม้งและเย้า ๒) กลุ่มวัฒนธรรมที่สืบเชื้อสายธิเบต – พม่า (Burmese – Tibetan Stock) ได้แก่ ลาหู่ ลีซู อาข่า และกะเหรี่ยง นอกจากวิธี จำแนกดังกล่าวยังมีกลุ่มภาษาไตกะได ที่มีกลุ่มชนเข้าตั้งถิ่นฐานใน ประเทศไทยจำนวนมาก ได้แก่ ไทลื้อ ไทยอง ไทเขิน และไทยโยนก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.