การท่องเทีย่ วเดินป่า จังหวัดเชียงราย ISBN 978-616-7426-39-6
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเทีย่ วเดินป่า จังหวัดเชียงราย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาณพ ภาษิตวิไลธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูกลิ่น อุนวิจิตร กองบรรณาธิการ นางสุพรรณ แสงทาน ปลัดเทศบาลตำ�บลแม่ยาว นายอาแป อามอ มัคคุเทศก์เดินป่า รางวัลกินรีจาก ททท. นายหอม รวมจิตร มัคคุเทศก์เดินป่า นางสาวปทุมวดี พันธุ์สืบ อาจารย์และมัคคุเทศก์อิสระ นางสาวอัชรี แสนคำ�ชื่น เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาและ พัฒนาการท่องเที่ยว จัดพิมพ์โดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พิมพ์ครั้งที่ 1(เมษายน 2555) จำ�นวน 500 เล่ม ISBN 978-616-7426-39-6
ค�ำน�ำ จากการที่จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศทางธรรมชาติ มีกลุ่ม ชาติพันธุ์มากมายที่เอื้ออำ�นวยต่อการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเดินป่า การท่องเที่ยว เดินป่าจึงเป็นจุดขายของนักท่องเทีย่ วชาวต่างประเทศมานานกว่า 30 ปี ทำ�ให้เชียงราย มีชอื่ เสียงโด่งดังด้านทัวร์ปา่ ในอดีตมีนกั ท่องเทีย่ วและนักวิจยั จำ�นวนมากเดินทางเข้ามา ท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในพื้นที่ แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปนักท่องเที่ยวเดินป่า เริ่มเปลี่ยนไปเที่ยวในประเทศลาว –พม่ามากขึ้นเพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ที่มี การพัฒนาคุณภาพของธรรมชาติและการนำ�เที่ยวโดยภาครัฐให้การสนับสนุนและดูแล ใกล้ชดิ ในขณะทีใ่ นประเทศไทยการท่องเทีย่ วเดินป่าดำ�เนินไปตามยถากรรมกลายเป็น หน้ า ที่ ข องมั ค คุ เ ทศก์ แ ละชุ ม ชนในพื้ น ที่ เ ท่ า นั้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบดู แ ล องค์ ก ารภาครั ฐ และสมาคมท่องเที่ยวแทบไม่ได้ให้การสนับสนุนและเข้าไปส่งเสริมและดูแลกิจกรรม เดินป่าน้อยลงกว่าเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง การพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศให้เจริญเติบโตไปในทางที่เหมาะสมโดย รักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมทีด่ งี ามของท้องถิน่ และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้เกิด แก่ชุมชนท้องถิ่นตามแนวทางของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยว เดิ น ป่ า จั ด เป็ น การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เวศรู ป แบบหนึ่ ง อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น การท่ อ งเที่ ย ว ที่ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยวมากกว่าการ ท่องเที่ยวแบบอื่นๆ เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพของการท่องเที่ยวเดินป่าในจังหวัด เชียงราย เนื่องในวาระฉลอง 750 ปี จังหวัดเชียงราย และเพื่อรำ�ลึกและเชิดชูอาจารย์ พิ พั ฒ น์ ไชยสุ ริ น ทร์ ผู้ บุ ก เบิ ก การท่ อ งเที่ ย วเดิ น ป่ า ในภาคเหนื อ ศู น ย์ ศึ ก ษาและ พัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกับพันธมิตรในจังหวัด คือ เทศบาลตำ�บลแม่ยาวและชมรมมัคคุเทศก์จังหวัดเชียงราย จึงร่วมมือกันจัดทำ�หนังสือ “การท่องเที่ยวเดินป่าจังหวัดเชียงราย” เล่มนี้เพื่อเป็นเอกสารคู่มือการปฏิบัติงานของ มัคคุเทศก์และเป็นคู่มือท่องเที่ยวของผู้รักการเดินป่าทั่วไป ในการจัดทำ�หนังสือเล่มนี้
คณะผู้ จั ด ทำ � ได้ รั บ ความอนุ เ คราะห์ ข้ อ มู ล จากบุ ค คลและหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง รวมถึงแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ตจำ�นวนมาก ซึ่งคณะผู้จัดทำ�ขอขอบคุณทุกๆ ท่าน และดร.อุดร วงษ์ทับทิม ดร.วรรณะ รัตนพงษ์ ผศ.ดร.รณิดา ปิงเมือง และนักวิชาการ จากศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่ช่วยตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาบางส่วนและให้คำ�แนะนำ�ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คณะทำ�งาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มาก ก็น้อย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
สารบัญ ตอน เรื่อง
หน้า
1
ปฐมบทของการท่องเที่ยวเดินป่า
7
2
ภูมิศาสตร์ภาคเหนือและเชียงราย
15
3
การจัดการท่องเที่ยวเดินป่า
35
4
ชาวเขาในแหล่งท่องเที่ยวเดินป่า
73
5
การให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
101
6
การยังชีพในป่า
119
7
กิจกรรมระหว่างการท่องเที่ยวเดินป่า
147
8
เส้นทางเดินป่าในเชียงราย
163
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
5
ปฐมบทของการท่องเที่ยวเดินป่า
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ปฐมบทของการท่องเที่ยวเดินป่า ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติกับประกอบกับปัญหาโลกร้อน ในปั จ จุ บั น เป็ น ที่ ม าของแนวความคิ ด เกี่ ย วกั บ การท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ การอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้อม หรือ “การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ” ที่ผู้อยู่ในวงการท่องเที่ยวทุก คนต้องตระหนักและร่วมมือกัน เพื่อให้การท่องเที่ยวสามารถตอบสนองความต้องการ ทางด้านเศรษฐกิจ ไปพร้อมๆกับการส่งเสริมการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมเพื่อให้การพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Development) การท่องเทีย่ วเดินป่าจัดเป็นการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศรูปแบบหนึง่ ทีม่ จี ดุ สนใจอยูท่ ี่ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและ/หรือวัฒนธรรมที่คงความดั้งเดิมและบริสุทธิ์อยู่ มีความ รับผิดชอบต่อสังคม ธรรมชาติ พรรณพืชและสัตว์ปา่ มีการควบคุมจำ�นวนนักท่องเทีย่ ว โดยคำ�นึงถึงขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว และคนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม กิจกรรมทางการท่องเที่ยวและร่วมรับผลประโยชน์ ความเป็นมาของการท่องเที่ยวเดินป่า การท่องเที่ยวเดินป่า (Trekking Tour) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ทัวร์ป่า” นั้นมา จากรากศัพท์คำ�ว่า Trek ซึ่งหมายถึงการเดินทางไปในท้องถิ่นที่ห่างไกลและทุรกันดาร คำ�ว่า “ทัวร์ปา่ ”จึงหมายถึงการเดินทางท่องเทีย่ วเข้าไปในท้องถิน่ ทีอ่ ยูห่ า่ งไกลในชนบท ในป่าหรือบนภูเขาสูง ทัวร์ป่าเป็นการท่องเที่ยวที่ทำ�รายได้ให้กับประเทศไทยติดต่อกันเป็นเวลานาน กว่า 30 ปีมาแล้ว โดยเริ่มเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรกและขยายไปสู่จังหวัด ใกล้เคียงเช่น เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ตากและพื้นที่อื่นๆ ในเขตภาคเหนือตอนบน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่นภูเขา ป่าไม้ น้ำ�ตก ถ้ำ� พรรณพืช สัตว์ป่า และเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลายเผ่า ต่อมาภายหลัง การท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่าได้ขยายไปทุกภูมิภาคเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
7
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ความพร้อมด้านธรรมชาติและการเดินป่าเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ ธรรมชาติและการผจญภัยมาทุกยุคทุกสมัย จึงอาจกล่าวได้วา่ ทัวร์ปา่ ได้มสี ว่ นกระจาย รายได้ของการท่องเที่ยวไปสู่ชนบทที่ห่างไกลและบนภูเขาทั่วประเทศ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำ�หรับการเดินป่าคือช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนกรกฎาคมตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด และช่วงปลายฤดูฝนย่าง เข้าฤดูหนาว (ประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) เนือ่ งจากสภาพป่ายังคงความเขียวขจี อยู่ และอากาศเย็นของฤดูหนาวเริ่มแผ่มาปกคลุม นักท่องเที่ยวเดินป่า นักท่องเทีย่ วเดินป่าจัดเป็นนักท่องเทีย่ วกลุม่ Ecotourist ซึง่ สิรกิ ลุ บรรพพงศ์ จาก สำ�นักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้แบ่งระดับของนักท่องเที่ยวประเภท Ecotourist ไว้ 4 กลุ่มดังนี้ 1. กลุ่มนักธรรมชาติวิทยา (Naturalists) มีจุดประสงค์หลักในการท่องเที่ยวเพื่อ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืช สัตว์ สิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศหนึ่งๆ 2. กลุ่มผู้รักธรรมชาติ (Nature Tourists) รู้จักในนามของนักนิยมไพร มีจุดสนใจ หลักที่ความงามของธรรมชาติ และวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนท้องถิ่น 3. กลุ่มผู้แสวงหาความตื่นเต้นและแปลกใหม่ (Mainstream Nature Tourists) มีจดุ หมายในการแสวงหาความแปลกใหม่ในดินแดนทีห่ า่ งไกลและเข้าถึงยาก เช่นบริเวณ ลุ่มแม่น้ำ�อะเมซอน ปาปัว นิวกินี เดินป่าหรือตั้งแค้มป์บนเทือกเขาหิมาลัยเป็นต้น 4. กลุม่ นักท่องเทีย่ วทัว่ ไปทีต่ อ้ งการชืน่ ชมธรรมชาติ (Casual Tourists) เป็นกลุม่ ที่ต้องการเสริมความหลากหลายให้กับประสบการณ์การท่องเที่ยวของตน อาจารย์พิพัฒน์ ไชยสุรินทร์ ได้สรุปแรงจูงใจที่ทำ�ให้นักท่องเที่ยวอยากเดินทาง ท่องเที่ยวในรูปแบบของทัวร์ป่า ว่าได้แก่สิ่งต่อไปนี้ คือ 1. ความสดชืน่ ความสวยงามของธรรมชาติ ซึง่ เป็นสิง่ ทีธ่ รรมชาติสร้างขึน้ มาเอง เช่นภูเขา ถ้ำ� ลำ�ธาร น้ำ�ตก ป่าไม้ ท้องทุ่งอันเขียวจี สร้างความสุข เพลิดเพลินในการ ได้ดู ได้ชมและได้สัมผัสด้วยตัวเอง
8
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
2. วิถีการดำ�เนินชีวิตของชนเผ่า หรือกลุ่มชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างจากชีวิตความเป็นอยู่ของนักท่องเที่ยว เป็นความแปลกใหม่ น่าตื่นเต้นและ บางครั้งก็ตื่นตาตื่นใจที่ได้พบเห็น 3. ความเจริญของบ้านเมืองที่ทำ�ให้ผู้คนในเมืองใหญ่โหยหาธรรมชาติประกอบ กับกระแสของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้ผู้คนสนใจธรรมชาติ ป่าไม้ และมีความต้องการสัมผัสกับธรรมชาติโดยตรง 4. การเดินป่าเป็นสิง่ ทีท่ า้ ทายความสามารถ นักท่องเทีย่ วทีต่ อ้ งการทดสอบความ ทรหดของตนเอง นักท่องเที่ยวต้องการมีสัมพันธภาพกับผู้เป็นเจ้าของบ้านและ/หรือ ทำ�กิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน นับเป็นความต้องการของนักท่องเที่ยวยุคโลกไร้พรมแดน อาจารย์พิพัฒน์ ไชยสุรินทร์ ผู้บุกเบิกการท่องเที่ยว นั บ ว่ า โชคดี ที่ ผู้ บุ ก เบิ ก การท่ อ งเที่ ย วเดิ น ป่ า ในภาคเหนื อ และประเทศไทย อาจารย์ พิ พั ฒ น์ ไชยสุ ริ น ทร์ ได้ เ ลื อ กจั ง หวั ด เชี ย งรายเป็ น ที่ อ ยู่ ที่ ทำ � งานกว่ า ครึ่ ง หนึ่ ง ของชี วิ ต ตราบสิ้ น ลมหายใจ ทำ � ใ ห้ อ า จ า ร ย์ พิ พั ฒ น์ มี โ อ ก า ส ก่ อ ตั้ ง ส ม า ค ม ท่องเที่ยว ได้วางรูปแบบการท่องเที่ยวเดินป่าร่วมกับ หน่ ว ยงานราชการและร่ ว มสร้ า งบุ ค ลากรทางการ ท่องเที่ยวให้กับประเทศร่วมกับ วิทยาลัยครูเชียงราย (ในอดีต) และกับมหาวิทยาลัยอืน่ ๆ ในภาคเหนือ ผูเ้ ขียนจึงขอแนะนำ�ให้มคั คุเทศก์ รุ่นหลังได้รู้จักปูชนียะบุคคลทางการท่องเที่ยวของประเทศท่านนี้โดยสังเขป ดังนี้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
9
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
1. ประวัติส่วนตัว นายพิพัฒน์ ไชยสุรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2486 อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชือ่ นายศรีทน ไชยสุรนิ ทร์ มารดาชือ่ นางขันแก้ว ไชยสุรนิ ทร์ เป็น บุตรคนที่ 1 มีพนี่ อ้ ง 3 คน นายพิพฒ ั น์ ไชยสุรนิ ทร์ ได้สมรสกับ นางอนุรกั ษ์ ไชยสุรนิ ทร์ (พิลารัตน์) เมื่อ พ.ศ. 2526 มีบุตร 1 คน ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2505 สำ�เร็จการศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) วิทยาลัยครูเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2512 สำ�เร็จหลักสูตรผู้นำ�ชนบท สถาบัน TSURYKAWA RURAL INSTITUTE, TOKYO ประเทศญี่ปุ่น (ปัจจุบันคือ ASIAN RURAL INSTITUTE) พ.ศ. 2521 สำ�เร็จหลักสูตร การอบรมมัคคุเทศก์ทวั ร์ปา่ ของการท่องเทีย่ ว แห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2523 สำ � เร็ จ หลั ก สู ต ร การอบรมวิ ช ามั ค คุ เ ทศก์ ทั่ ว ไป ของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2534 บัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรม บริการ จากวิทยาลัยครูเชียงราย 2. ประวัติการทำ�งานและตำ�แหน่งงาน พ.ศ. 2505-2506 เป็นครูใหญ่โรงเรียนผดุงวิทยา อำ�เภอแม่จนั จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2506-2508 เป็นครูใหญ่โรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา อำ�เภอเมือง จังหวัด เชียงราย พ.ศ. 2508-2512 เป็นครูใหญ่โรงเรียนสหคริสเตียนศึกษา อำ�เภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2512-2518 เป็นครูใหญ่โรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา อำ�เภอเมือง จังหวัด เชียงราย
10
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2518-2521 เป็นพัฒนากรของแผนกชูชีพชนบท มูลนิธิสภาคริสตจักรใน ประเทศไทย พ.ศ. 2521 มัคคุเทศก์อาชีพ และเป็น เจ้าของและผูจ้ ดั การ บริษทั นำ�เทีย่ ว ชื่อ บริษัท พี.ทราเวลเซอร์วิส สำ�นักงานตั้งอยู่ที่เลขที่ 193/4 ถนนช้างคลาน อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ประสบการณ์ในการทำ�งานและผลงานดีเด่น 1. ผลงานด้านวิชาการและการศึกษา 1.1 เป็นวิทยากรประจำ�ของสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ คือ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงราย 1.2 เป็ น ที่ ป รึ ก ษาพิ เ ศษของโปรแกรมอุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย ว และเป็ น ที่ ป รึ ก ษาพิ เ ศษของชมรมมั ค คุ เ ทศก์ วิ ท ยาลั ย ครู เ ชี ย งราย มี กิ จ กรรมดี เ ด่ น คือ กิจกรรมภายใต้ชื่อโครงการ INTERNATIONAL WORK CAMP ซึ่งเป็นกิจกรรม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ระหว่างนักศึกษาวิทยาลัยครูเชียงราย กับนักศึกษาญี่ปุ่นจาก REITAKU UNIVERSITY, SEIGAKUIN HIGH SCHOOL และ TOCHIGI Y.M.C.A. ต่อเนื่องกันระหว่างปีการศึกษา 2533 ถึง 2551 1.3 เป็นวิทยากรพิเศษในการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไปและมัคคุเทศก์ ทัวร์ป่า จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันต่างๆในภาคเหนือ 2. ผลงานด้านการท่องเที่ยว 2.1 เป็นอุปนายกสมาคมมัคคุเทศก์จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2529-2531 2.2 เป็นนายกสมาคมมัคคุเทศก์จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2531-2533 2.3 จัดตัง้ และเป็นประธานชมรมทัวร์ปา่ ภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2530 โดยมีหลักการ ที่จะรวบรวมผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวทัวร์ป่าในภาคเหนือ และหามาตรการในการ ป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ผลงานดีเด่นด้านการให้มกี ารใช้แบบฟอร์ม ทป.1 สำ�หรับผูป้ ระกอบการนำ�เทีย่ ว ทัวร์ป่า อันเป็นต้นต้นแบบของฟอร์ม ทป.1 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
11
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
2.4 เป็นคณะกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ 2.5 เป็นที่ปรึกษาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการวิจัยสภาพปัญหา และแนวทางการทัวร์ป่า 3. ผลงานด้านการพัฒนาและบำ�เพ็ญประโยชน์ต่อสังคม 3.1 เป็ น ผู้ แ ทนจากประเทศไทยเข้ า ร่ ว มประชุ ม สั ม มนาการพั ฒ นาชนบท ที่ประเทศเกาหลี ประเทศสาธารณรัฐไต้หวัน ประเทศมาเลเซีย และประเทศญี่ปุ่น 3.2 เป็นสมาชิกชมรมลูกเสือชาวบ้าน 3.3 เป็นที่ปรึกษาของสวนสัตว์เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2530 3.4 เป็นประธานอาสาพัฒนาป้องกันป่า (อ.ส.ป.) รุ่นที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ 3.5 เป็นผู้มีคุณธรรมและยึดมั่นในคริสต์ศาสนา โดยจัดสรรรายได้ร้อยละสิบ จากการประกอบธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม 3.6 เป็นสถานประกอบการท่องเที่ยวตัวอย่างที่สมควรได้รับการยกย่องว่า มีจรรยาบรรณและอุดมการณ์ในการประกอบอาชีพด้านการท่องเทีย่ ว ไม่รบั อามิสสินบน ใดๆ ที่เป็นการหลอกลวงและเอาเปรียบนักท่องเที่ยว การไม่กระทำ�การใดๆ ที่ผิดต่อ กฎหมายบ้านเมืองอย่างเด็ดขาด การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของทางราชการ เช่น กองบังคับการตำ�รวจท่องเที่ยว ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และการ ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การท่องเที่ยว และพยายามยกระดับวิทยฐานะของมัคคุเทศก์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิโดยให้ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสถาบัน การศึกษา ในการเป็นวิทยากรรับเชิญบรรยาย 4. โครงการการท่องเที่ยวพัฒนา เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งโครงการท่องเที่ยวพัฒนา (RURAL DEVELOPMENT BY TOURISM) โดยจัดโปรแกรมท่องเทีย่ วในรูปแบบทัศนศึกษาและบำ�เพ็ญประโยชน์ให้แก่ นักศึกษาต่างชาติ นอกจากนักศึกษาจะได้รบั ความรู้ ความเพลิดเพลินจากการท่องเทีย่ ว แล้ว ยังแทรกกิจกรรมให้นักศึกษาได้ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ ปัญหาของชุมชนและ
12
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
มีโอกาสเข้าร่วมทำ�กิจกรรมอันจะเป็นประโยชน์ด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของ ชนบทในแหล่งท่องเที่ยว อาจารย์พพิ ฒ ั น์ ไชยสุรนิ ทร์ มีความคิดว่ามัคคุเทศก์ควรเป็นผูท้ �ำ ประโยชน์ให้กบั ชุมชน หรือหมูบ่ า้ นชาวเขาทีน่ �ำ นักท่องเทีย่ วเข้าไปโดยนำ�รายได้ทไี่ ด้รบั จากการนำ�เทีย่ ว สมทบเข้ากับโครงการท่องเที่ยวพัฒนาร้อยละสิบของรายได้ เพื่อสร้าง “แม่กกฟาร์ม” ขึ้นที่หมู่บ้านผาเสริฐ ตำ�บลดอยฮาง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย กิจกรรมที่โครงการ ท่องเทีย่ วพัฒนาทีอ่ าจารย์พพิ ฒ ั น์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ ปัญหาสิง่ แวดล้อมปัญหา ยาเสพติด ปัญหาโสเภณีเด็ก ซึง่ ทัง้ สามปัญหานีจ้ ดั เป็นปัญหาสำ�คัญสามอันดับแรก ของ อุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วไทย โครงการนีไ้ ด้รบั ความสนใจและได้รบั การสนับสนุนจาก หน่วยงานของรัฐและเอกชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมีการเผยแพร่กจิ กรรมดังกล่าว ผ่านสื่อมวลชนในต่างประเทศอยู่เสมอ 5. เรื่องที่น้อยคนจะทราบ นอกจากประวัติและผลงานที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไปแล้ว มีน้อยคนที่จะ ทราบว่าเอกสารตำ�รา บทความทางวิชาการเกีย่ วกับทัวร์ปา่ ของประเทศไทยทีต่ พี มิ พ์เป็น ภาษาต่างประเทศสำ�หรับชาวต่างชาติ เช่น Pipat Chaisurin : Giving something back ในนิตยสาร สวัสดี ของการบินไทย Defender of the North ใน ASEAN MEETINGS & INCENTIVES หรือ Bringing benefit to the hill-tribe และบทความทางวิชาการเกีย่ วกับ การท่องเที่ยวเดินป่าในภาคเหนือผู้เขียนค้นพบว่าล้วนแล้วแต่อ้างอิงต้นตอความรู้มา จากอาจารย์พิพัฒน์ ไชยสุรินทร์ทั้งสิ้น จากการสัมภาษณ์อาจารย์ยงั ค้นพบอีกว่า นอกจากการเดินป่า ขีช่ า้ ง ล่องแพแล้ว การท่องเที่ยวแบบ Sight Seeing ของเชียงรายโดยใช้รถตู้นำ�นักท่องเที่ยวที่ลงรถไฟ ทีล่ �ำ ปางมาเทีย่ วเชียงรายเริม่ โดยอาจารย์พพิ ฒ ั น์ รวมถึงการการเปิดร้านขายของทีร่ ะลึก ที่เป็นสินค้าชาวเขาหน้าโรงภาพยนตร์สหดารา (บริเวณหน้าสถานีขนส่งไนท์บาร์ซาร์) อาจารย์พิพัฒน์ก็เป็นผู้ริเริ่มเช่นกัน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
13
ภูมิศาสตร์ภาคเหนือและเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ภูมิศาสตร์ภาคเหนือและเชียงราย ที่ตั้งของประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ในแหลมอินโดจีน มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ ดังนี้ ทิศเหนือ จรดเส้นรุ้ง 20 องศา 25 ลิบดาเหนือ 30 พิลิบดา เหนือ ที่อำ�เภอ แม่สาย จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ จรดเส้นรุ้ง 5 องศา 37 ลิบดาเหนือ ที่อำ�เภอเบตง จังหวัดยะลา ทิศตะวันออก จรดเส้นแวง 105 องศา 37 ลิบดา 30 พิลิบดา ที่อำ�เภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันตก จรดเส้นแวง 97 องศา 22 ลิบดา ตะวันออก ที่อำ�เภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพนื้ ทีร่ วม 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 321 ล้านไร่ เนือ่ งจากตัง้ อยู่ ในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซียซึง่ มีสภาพธรรมชาติในเขตร้อน จึงมีอณ ุ หภูมสิ งู มีทะเล ลมและฝนเป็นปัจจัยให้เกิดป่าดง ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้เขตร้อน และสัตว์ป่า นานาชนิด ที่มีปริมาณมาก นับว่าเป็นย่านอันอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร และทรัพยากร ที่สำ�คัญแห่งหนึ่งของทวีป ภูมิศาสตร์ภาคเหนือ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
15
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ภาคเหนื อ มี อ าณาเขตติ ด ต่ อ กั บ ต่ า งประเทศถึ ง สามด้ า น คื อ ด้ า นตะวั น ตก ด้านเหนือ และด้านตะวันออก ติดต่อภายในประเทศด้านใต้เพียงด้านเดียวเท่านั้น พรมแดนทีต่ ดิ ต่อกับต่างประเทศมีสองลักษณะคือ เป็นเทือกเขา และลำ�น้� ำ ทิวเขาทีใ่ ช้ เป็นพรมแดนได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว กัน้ เมียนมาร์ไว้ทางด้านตะวันตก และกั้นรัฐฉานไว้ทางด้านเหนือ ทิวเขาหลวงพระบางกั้นลาวไว้ทางด้านตะวันออก ส่วนที่ใช้ลำ�น้ำ�เป็นเส้นเขตแดนมีอยู่ไม่มากนัก ได้แก่ ลำ�น้ำ�เมย และลำ�น้ำ�สาละวิน กั้นเขตแดนไทยกับเมียนมาร์ ลำ�น้ำ�โขงกั้นเขตแดนไทยกับลาว ภาคเหนือเป็นพืน้ ทีย่ า่ นภูเขา เป็นพืน้ ทีส่ งู ส่วนใต้ของทีร่ าบสูงยูนนานซึง่ มีล�ำ น้�ำ สายใหญ่ 3 สาย คือ ล�ำ น้�ำ สาละวิน ลำ�น้�ำ โขง และลำ�น้�ำ แยงซี ไหลมารวมอยูใ่ นพืน้ ทีแ่ คบๆ กว้างไม่เกิน 100 กิโลเมตร เป็นพืน้ ทีท่ ลี่ �ำ น้�ำ สาละวิน และลำ�น้�ำ โขงได้ไหลแยกออกจากกัน ทำ�ให้พนื้ ทีเ่ ป็นแถบเทือกเขา มีเนือ้ ทีก่ ว้าง โดยมีทวิ เขาแดนลาว กัน้ รัฐฉานไว้ทางเหนือ ทิวเขาถนนธงชัย กั้นแคว้นกะเหรี่ยงของพม่าไว้ทางตะวันตก ทิวเขาหลวงพระบาง กั้นประเทศลาวไว้ทางตะวันออก และทิวเขาพลึงกั้นภาคกลางของไทยไว้ ภาคเหนือนับว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมติดต่อ ระหว่างดินแดนอันเป็น ถิ่นฐานของชนเผ่าไทย ซึ่งตั้งอยู่โดยรอบทุกทิศทาง เช่น ชนเผ่าไทยในมณฑลยูนนาน ในสิบสองปันนา ในลาว ในตังเกี๋ย เป็นต้น สภาพทางธรณีวิทยา ภาคเหนือตัง้ อยูบ่ นพืน้ ทีส่ งู จากระดับน้�ำ ทะเลปานกลาง ประมาณ 250 – 400 เมตร บริเวณแถบภูเขามีความสูงมากกว่า 1,000 - 2,000 เมตรเหนือระดับน้�ำ ทะเล พืน้ ทีท่ าง แถบตะวันตกสูงกว่าแถบตะวันออก พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ลาดเอียงลงมาทางทิศใต้ ยกเว้นแถบ เหนือสุด คือจังหวัดเชียงราย และอำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีพื้นที่ลาดลงไปทาง ด้านทิศเหนือ ทิวเขาที่สำ�คัญในภาคเหนือ มี 6 ทิวคือ 1. ทิวเขาแดนลาว อยู่ตอนเหนือสุดของประเทศไทย สันนิษฐานว่าเดิมคงจะ เป็นทิวเขาที่เป็นพรมแดนระหว่างละว้ากับไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1400 ทิวเขานี้ มีช่องเขาที่เคยใช้เป็นทางเดินทัพในสมัยโบราณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยยกทัพ
16
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ไปทำ�สงครามกับพม่า และไปสวรรคตที่เมืองห้างหลวงในรัฐเมืองพาน และในสงคราม มหาเอเซียบูรพา กองพลที่ 2 ก็ได้เดินทัพรุกออกไปทางช่องทางนี้ ทิวเขาแดนลาวเป็น ทิวเขาใหญ่ ทอดตัวจากด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพนื้ ทีแ่ ผ่ไปใน รัฐฉาน และไทย อาการแผ่ของทิวเขาแผ่จากเหนือลงใต้ ใช้แนวสันเขาเป็นเส้นเขตแดน ระหว่างไทยกับรัฐฉานของพม่า สันเขาที่ก้นั เขตแดนทางเหนือ แบ่งน้ำ�ด้านทิศเหนือลงสู่ลำ�น้ำ�โขงเช่นแม่นำ้�กก แม่น�ำ้ สาย ด้านทิศใต้ลงสูล่ มุ่ น้�ำ เจ้าพระยา ส่วนสันเขาส่วนทีว่ กลงมาทางใต้ จะแบ่งน้�ำ ทางด้านตะวันออกลงลำ�น้�ำ ปาย ทางด้านตะวันตกลงลำ�น้�ำ สาละวิน ทิวเขานีป้ ระกอบด้วย ยอดเขาทีส่ �ำ คัญหลายดอย เช่น ดอยตุง ดอยสามเส้า ดอยช้าง ดอยผ้าห่มปก ดอยเชียงดาว 2. ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิวเขาที่มีอาณาบริเวณหลายหมื่นตารางกิโลเมตร ซึง่ นับว่ามากทีส่ ดุ ในประเทศไทย เป็นเทือกเขาทีต่ ดิ ต่อจากเทือกเขาแดนลาวลงมาทางใต้ โดยนับเริ่มจากฝั่งทิศใต้ของลำ�น้ำ�ปาย ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแนวลงมาทางใต้ และสิ้นสุดลงที่ช่องเจดีย์สามองค์ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี มีความยาวประมาณ 500 กิโลเมตร และมีสว่ นกว้างประมาณ 200 กิโลเมตร เป็นแนวขนานกับทิวเขาแดนลาวจน ตลอดลำ�น้�ำ ปาย จากบริเวณนีท้ วิ เขาจะแยกออกจากกันเป็นสามแขนง ทอดตัวขนานลง มาทางใต้ คั่นด้วยหุบเขาแคบๆ คือ ทิวเขาดอยมอนกุจู ทิวเขาดอยปางเกี๊ยะ ทิวเขา ดอยอินทนนท์ หุบเขาในทิวเขานีเ้ ป็นเขาแคบๆ ลำ�น้�ำ ไหลอยูใ่ นโตรกเขา เช่น ลำ�น้�ำ เมย ลำ�น้ำ�แม่แจ่ม และลำ�น้ำ�ปาย ยอดเขาที่สูงและมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีในทิวเขาถนนธงชัย ได้แก่ ดอยอินทนนท์ หรือดอยอ่างกา ดอยสุเทพ ดอยกิ่วลม ดอยปางเกี๊ยะ 3. ทิวเขาขุนตาล เริม่ ต้นจากตะวันออกของอำ�เภอฝาง ในแนวของลำ�น้�ำ แม่ทา่ ช้าง ซึ่งเป็นช่วงที่เชื่อมกับดอยช้างในทิวเขาแดนลาว จากบริเวณนี้ทิวเขาเริ่มมีทิศทางตรง ลงมาทางทิศใต้ เชื่อมต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ� บริเวณดอยผาจ้อ แล้วต่อลงมาทางใต้ ผ่านอุโมงค์ขุนตาลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของจังหวัดลำ�ปาง ขนานกับทิวเขา ถนนธงชัย ตอนใต้สุดของทิวเขาไปเชื่อมต่อกับส่วนของทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขานี้ ยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ยอดเขาที่สูงที่สูงและมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีในทิวเขาขุนตาล ได้แก่ ดอยขุนตาล และดอยอื่นๆ เช่น
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
17
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ดอยผีปนั น้ำ� หรือดอยนางแก้ว ต้นกำ�เนิดของลำ�น้�ำ แม่กวง แควของลำ�น้�ำ แม่งดั สาขาของลำ�น้ำ�แม่ปิง ดอยผาจ้อ เป็นต้นกำ�เนิดของลำ�น้ำ�แม่สรวย ซึ่งเป็นสาขาของลำ�น้ำ�วัง ดอยสะเก็ด หรือดอยขุนออน เป็นต้นกำ�เนิดของลำ�น้�ำ แม่ออน ซึง่ เป็นสาขาของลำ�น้�ำ ปิง 4. ทิวเขาผีปันน้ำ� เป็นทิวเขาหินแกรนิต เริ่มต้นจาก ดอยผาจ้อในทิวเขาขุนตาล มีทศิ ทางโดยรวมในแนวทิศตะวันตก - ตะวันออก แบ่งน้�ำ ลงทางซีกเขาทัง้ ด้านเหนือและ ด้านใต้ ทิวเขาเริม่ ตัง้ แต่ตอนต้นลำ�น้�ำ แม่ลาว ทอดตัวไปทางด้านทิศตะวันออกเล็กน้อย แล้ววกกลับขึน้ ไปทางเหนือ ถึงอำ�เภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย แล้วหักกลับลงมาทางใต้ ผ่านกิ่วมันหมูมุ่งลงใต้จนถึงดอยหลวง อำ�เภอเมืองลำ�ปาง ตรงกิ่วมันหมูทิวเขาจะแยก ออกไปทางทิศตะวันออก จนถึงทางเหนือของอำ�เภองาว จังหวัดลำ�ปาง มีชอ่ งทางแคบๆ อยู่ตอนย่านกลางคือ ช่องประตูผา บริเวณทิศเหนือของอำ�เภองาวมีทิวเขาดอยขุนยม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาผีปันน้ำ� ซึ่งเริ่มต้นจากตอนใต้ของลำ�น้ำ�โขง เป็นสองแนว ขนานทั้งฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกของลำ�น้ำ�ยม แล้วต่อลงไปทางใต้ ส่วนทางฝั่ง ตะวันตกจะไปจดกับทิวเขาพลึงที่ช่องผาคอ ทิวเขาผีปันน้ำ�มีความยาวประมาณ 400 กิโลเมตร ปันน้�ำ ลงลำ�น้�ำ โขงอันประกอบด้วย ลำ�น้�ำ แม่ลาว ลำ�น้�ำ แม่องิ และลงสูล่ �ำ น้�ำ ยม และลำ�น้�ำ น่าน เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัด น่าน กับ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงราย กับ จังหวัดลำ�ปาง และจังหวัดลำ�ปาง กับ จังหวัดแพร่ ยอดเขาที่สูงและมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ดอยปุย ดอยขุนยม และดอยขุนยวม 5. ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นทิวแบ่งแคว้นมาแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันใช้เป็น พรมแดนระหว่างไทยกับลาวในภาคเหนือ เป็นทิวเขาหินแกรนิต เริม่ จากบริเวณลำ�น้�ำ โขง ทางเหนือ ทอดตัวเป็นแนวมาทางใต้ จนถึงตะวันตกของ อำ�เภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และ ทางเหนืออำ�เภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึง่ เป็นบริเวณทีเ่ ชือ่ มต่อกับทิวเขาเพชรบูรณ์ ในภาคกลาง มีอาณาบริเวณกว้างขวาง อยู่ระหว่างลำ�น้ำ�น่าน และลำ�น้ำ�โขง ยาว ประมาณ 250 กิโลเมตร ทางแถบตอนเหนือของทิวเขานี้เป็นตอนที่บังคับให้ลำ�น้ำ�โขง ไหลวกไปทางตะวันออกเข้าไปในประเทศลาว ยอดเขาทีส่ งู และมีชอื่ เป็นทีร่ จู้ กั กันดีได้แก่ ภูสาม ภูหลวงพระบาง ภูยี ภูหลักหมื่น ภูเมี่ยง
18
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
6. ทิ ว เขาพลึ ง เป็ น ทิ ว เขาที่ อ ยู่ ท างตอนใต้ สุ ด ของภาคเหนื อ เริ่ ม ต้ น จาก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต่อเนื่องกับทิวเขาหลวงพระบางบริเวณทิศตะวันตกของ ภูหลักหมื่น โดยมีแนวลำ�น้ำ�น่านเป็นเส้นแบ่งเขตทางเหนือ ต่อเนื่องกับทิวเขาผีปันน้ำ� (ดอยขุนยม) ทางบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำ�เภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีรอยต่อตามแนวช่องทางถนนสายแพร่ - น่าน ทิ ว เขาพลึ ง ทอดตั ว ลงมาทางทิ ศ ตะวั น ตกตามแนวเส้ น แบ่ ง เขตของภาค จากอำ�เภอนาน้อยจนถึงดอยลาน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 300 กิโลเมตร ทิวเขานีอ้ าจแบ่งออกได้เป็นสองตอน คือตอนเหนือ เป็นพืน้ ทีร่ ะหว่างลำ�น้�ำ ยม และลำ�น้�ำ น่าน ตอนใต้เป็นพืน้ ทีร่ ะหว่างลำ�น้�ำ ยม กับลำ�น้�ำ วัง ทางตอนใต้มีแนวภูเขาแยกขึ้นไปทางเหนือไปเชื่อมต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ�ที่ช่องผาคอ ยอดเขาสูงที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีคือ ดอยผาสั่ง เขาพญาปอ แม่น�้ำ
นอกจากลำ�น้ำ�ขนาดใหญ่สองสายคือลำ�น้ำ�สาละวิน และลำ�น้ำ�โขง ภาคเหนือ นับว่ามีลำ�น้ำ�อยู่มากมีต้นกำ�เนิดจากเทือกเขาสูง ไหลออกไปสู่ทิศทางต่างๆ กันตาม ลักษณะของทิวเขา และความลาดเอียงของพื้นที่ ลำ�น้ำ�ที่ไหลลงสู่ลำ�น้ำ�โขง เป็นลำ�น้ำ�ที่อยู่บริเวณเหนือสุดของประเทศไทย พื้นที่แถบนี้จะลาดเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลำ�น้ำ�ส่วนใหญ่อยู่ในเขต จังหวัด เชียงราย และบางส่วนอยู่ในเขต อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ลำ�น้ำ�ดังกล่าวได้แก่ ลำ�น้�ำ กก ยาว 250 กิโลเมตร ต้นน้�ำ เกิดจากทิวเขาในเมืองพานรัฐฉาน เมือ่ เข้า สูเ่ ขตแดนไทยแล้ว ไหลไปทางทิศตะวันออก ผ่านเขตจังหวัดเชียงราย ไปบรรจบลำ�น้�ำ โขง ในเขตอำ�เภอเชียงแสน รวมความยาวทีอ่ ยูใ่ นเขตแดนไทย 150 กิโลเมตร มีลำ�น้�ำ สาขา คือ ลำ�น้ำ�ฝาง และลำ�น้ำ�ลาว ลำ�น้ำ�รวก ยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ต้นน้ำ�เกิดจากดอยผาเล็งในรัฐฉาน เป็นแนวเขตแดนไทยกับรัฐฉานยาว 17 กิโลเมตร แล้วไปบรรจบลำ�น้�ำ โขงทีบ่ า้ นสบรวก อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายมีล�ำ น้�ำ สาขาคือ ลำ�น้�ำ สาย ยาวประมาณ 43 กิโลเมตร
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
19
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ที่ไหลไปบรรจบลำ�น้ำ�รวกที่ตำ�บลสบสาย อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลำ�น้ำ�แม่จัน ยาว 50 กิโลเมตร ต้นน้ำ�เกิดจากดอยสามเส้า ในทิวเขาแดนลาว ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านอำ�เภอแม่จันไปบรรจบลำ�น้ำ�คำ�และไหลไปบรรจบ ลำ�น้ำ�โขงที่บ้านสบคำ� อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ลำ�น้ำ�แม่อิง ยาวประมาณ 170 กิโลเมตร ต้นน้ำ�เกิดจากทิวเขาผีปันน้�ำ ในเขต อำ�เภอเมืองจังหวัดพะเยา ไหลผ่านกว๊านพะเยา อำ�เภอเทิง ไปบรรจบลำ�น้�ำ โขงทีอ่ �ำ เภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่ราบสูงเชียงราย เป็นทีร่ าบสูงมีระดับความสูง ประมาณ 380 เมตรจากระดับน้�ำ ทะเล มีทวิ เขาล้อม รอบเกือบทุกด้าน ทางด้านเหนือเป็นทิวเขาแดนลาว ในห้วงดอยตุง และดอยจางมุม ทางด้านตะวันตกมีดอยสามเส้า และดอยช้าง ในทิวเขาแดนลาว ทางด้านใต้และด้าน ตะวันออกเป็นแนวทิวเขาผีปันน้ำ�ในห้วงดอยขุนยวม ภูผึ้งกาด ภูผาแล และภูแก่งผาก ที่ราบสูงเชียงรายแบ่งออกได้เป็น 3 แถบคือ ทีร่ าบสูงแม่จนั เป็นทีร่ าบในเขต อำ�เภอแม่สาย และอำ�เภอแม่จนั มีความกว้าง ประมาณ 30 กิโลเมตรยาวประมาณ 35 กิโลเมตร มีทิวเขาอยู่ทางด้านตะวันตกคือ ดอยจางมุม และดอยสามเส้า ทางด้านทิศใต้มีแนวดอยบ่อ ดอยนางแล กั้นแยกจาก อำ�เภอเมืองเชียงราย พื้นที่ทางด้านตะวันออกลาดลงสู่ลำ�น้ำ�น่าน ลำ�น้ำ�สบรวก ลำ�น้ำ� แม่กก และลำ�น้ำ�โขง ทีร่ าบอำ�เภอเมืองเชียงราย เป็นทีร่ าบผืนเล็กๆ กว้างประมาณ 20 - 30 กิโลเมตร ยาวประมาณ 45 กิโลเมตร อยูร่ ะหว่างดอยช้างทางด้านตะวันตก ดอยบ่อและดอยนางแล ทางด้านเหนือ กับแนวดอยปุยทางด้านตะวันออก ซึ่งกั้นที่ราบพะเยาออกไว้ทางใต้ ที่ราบพะเยา อยู่ระหว่างแนวทิวเขาผีปันน้ำ� ซึ่งล้อมอยู่ทั้ง 3 ด้าน คือทางด้าน ตะวันตก ด้านตะวันออก และด้านใต้ มีชอ่ งทางผ่านจากลำ�ปาง เข้ามาได้เฉพาะทางช่อง ประตูผาแห่งเดียวเท่านัน้ ส่วนทางด้านเหนือมีแนวดอยปุย และดอยอีดว้ น ทีร่ าบพะเยา มีความกว้าง ประมาณ 15 - 50 กิโลเมตร ยาวประมาณ 70 กิโลเมตร อยูใ่ นเขตอำ�เภอพาน
20
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
จังหวัดเชียงราย และอำ�เภอเมือง จังหวัดพะเยา ป่าไม้
ภาคเหนือเป็นภาคที่มีป่าที่มีไม้มีค่ามากที่สุดในประเทศ ป่าในภาคเหนือมีอยู่ หลายประเภทดังนี้ ป่าดิบ ได้แก่ ป่าดิบเขา มีอยู่ในแถบพื้นที่ภูเขาสูง ตั้งแต่ 1,000 เมตรจากระดับ น้ำ�ทะเลขึ้นไป ส่วนมากจึงมีอยู่ตามแนวทิวเขาทั้ง 6 ทิวดังที่กล่าวมาแล้ว พันธุ์ไม้หลัก ได้แก่ กำ�ยาน จำ�ปาป่า จำ�ปี ฯลฯ นอกจากนีจ้ ะมีไม้พมุ่ เตีย้ ๆ ปะปนอยูท่ วั่ ไป ป่าไม้สน มีอยู่ในแถบพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 700 -1,000 เมตร ขึ้นปะปนอยู่กับ พวกไม้ผลัดใบต่างๆ ป่าดงดิบ เป็นป่าซึ่งมีอยู่โดยทั่วไปทั้งในที่ราบและในที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตร พันธุ์ไม้สำ�คัญของป่าดงดิบได้แก่ไม้ยาง ทั้งยาวขาวและยางแดง ตะเคียน กะบาก ไม้แดง ยมหอม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไม้พันธุ์เล็กๆ ช่วยสร้างความรกทึบให้ป่า ป่าไม้ผลัดใบ ได้แก่ ป่าไม้เบญจพรรณปนสัก พันธุ์ไม้สำ�คัญ ได้แก่ ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ตะแบก ไม้มะค่า และไม้พมุ่ ป่าแดง มีมากในแถบซึง่ เป็นหินแดง ดินปนทราย ดินลูกรัง พันธุ์ไม้สำ�คัญได้แก่ พลวง เหียง เต็ง รัง โมก ฯลฯ ภูมิอากาศ ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมสองชนิด ซึ่งมีผลต่ออุณหภูมิและ ปริมาณน้ำ�ฝนของดังนี้ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึง กลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำ�เนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้บริเวณ มหาสมุทรอินเดีย มรสุมนี้จะนำ�มวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำ�ให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และ เทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
21
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้ มีแหล่งกำ�เนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและ จีน พัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำ�ให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทัว่ ไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิศาสตร์จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงรายตัง้ อยูเ่ หนือสุดของประเทศไทย อยูร่ ะหว่างเส้นรุง้ ที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก อยูห่ า่ งจากกรุงเทพมหานคร 805 กิโลเมตร มีเนือ้ ทีท่ ง้ั สิน้ 11,678.369 ตาราง กิโลเมตร ระดับความสูงจากน้�ำ ทะเลประมาณ 416 เมตร มีอาณาเขตของจังหวัดดังนี้ ทางทิศเหนือติดกับแคว้นเมืองสาด และ แคว้นท่าขี้เหล็ก ของ รัฐฉาน ประเทศ สหภาพเมียนมาร์ และ แขวงบ่อแก้ว ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ทิศตะวันออก ติดกับแขวงอุดมไซ สปป.ลาว ทิศใต้ ติดกับ อำ�เภอแม่ใจ อำ�เภอภูกามยาว อำ�เภอดอกคำ�ใต้ อำ�เภอจุน อำ�เภอ เชียงคำ� อำ�เภอภูซาง จังหวัดพะเยา อำ�เภอเมืองปาน และ อำ�เภอวังเหนือ จังหวัดลำ�ปาง ทิศตะวันตก ติดกับ อำ�เภอดอยสะเก็ด อำ�เภอพร้าว อำ�เภอไชยปราการ อำ�เภอฝางและ อำ�เภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และแคว้นเมืองสาด ของ รัฐฉาน ประเทศสหภาพเมียนมาร์ มีชายแดน ติดกับประเทศสหภาพเมียนมาร์ยาว ประมาณ 130 กิโลเมตร และ มีชายแดนติดต่อกับ สปป.ลาว ประมาณ 180 กิโลเมตร
22
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
แบ่งเขตการปกครองเป็น 18 อำ�เภอ 123 ตำ�บล 1,750 หมู่บ้าน สภาพภูมิประเทศ จั ง หวั ด เชี ย งรายมี ภู มิ ป ระเทศเป็ น เทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศ ตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปนั น้ำ� ติดต่อกันไป เป็นพืดตลอดเขตจังหวัด ลักษณะพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขา มีชั้นความสูง 1,500 - 2,000 เมตร จากระดับ น้ำ�ทะเล มีที่ราบสูงเป็นหย่อมๆ ในเขตอำ�เภอแม่สรวย อำ�เภอเวียงป่าเป้า และอำ�เภอ เชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500 - 2,000 เมตร จากระดับน้�ำ ทะเล บริเวณทีร่ าบตามลุม่ แม่น้ำ�สำ�คัญในตอนกลางของพืน้ ที่ ได้แก่ อำ�เภอพาน อำ�เภอเมือง เชียงราย อำ�เภอแม่จนั อำ�เภอแม่สาย อำ�เภอเชียงแสน และอำ�เภอเชียงของ มีความสูง ประมาณ 410 - 580 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเล สภาพภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเชียงรายรายงานอุณหภูมิเฉลี่ย ในปี 2554 มีอุณหภูมิ เฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 40.16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำ�สุดในเดือนมกราคม 21.21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 29.86 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำ�ฝน 2,045.3 มิลลิเมตร จำ�นวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 146 วันต่อปี ช่วงที่มีฝนตกมากคือ ระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงเดือนกันยายน เดือนที่มีฝนมากที่สุดเดือนสิงหาคมตกเฉลี่ย 24 วัน น้อยที่สุดคือเดือนกุมภาพันธ์ตกเฉลี่ย 1 วัน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
23
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ทรัพยากรแร่ธาตุ 1. ทังสเตน หรือ วุลแฟรม เป็นแร่ที่พบในเทือกเขาด้านตะวันตกของจังหวัด ในเขตอำ�เภอแม่สรวย และอำ�เภอเวียงป่าเป้า เกิดเป็นแหล่งแร่อิสระเช่นซีไลท์และ วุลแฟรม หรืออาจเกิดรวมกับแร่อื่นๆ เช่น ดีบุก และพลวง 2. ดีบุกและพลวง แร่ทั้งสองประเภทเป็นแร่ในกลุ่มโลหะพื้นฐาน มีอยู่มากใน เทือกเขาด้านตะวันตกแต่มีปริมาณและการผลิตน้อยกว่าทังสเตน 3. แมงกานีส เป็นแหล่งแร่ทมี่ ขี นาดเล็ก เคยมีการผลิตในเขตอำ�เภอเทิง ปัจจุบนั มีแปลงสัมปทาน ในเขตอำ�เภอพญาเม็งราย แต่ไม่มีการผลิต 4. ไพโรฟิลไลต์ และกัลก์ เป็นแร่ที่พบกระจายในเขตอำ�เภอเทิงและอำ�เภอ เชียงของ แต่ไม่มีการผลิต 5. ดินขาว และบอลเคลย์ เป็นแร่ที่พบกระจายในอำ�เภอเวียงป่าเป้า มีผลผลิต จำ�นวนน้อย ปัจจุบันยังคงมีการผลิตบอลเคลย์จากเหมืองเพียงแห่งเดียว 6. หินปูนอุตสาหกรรม เป็นหินปูนทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ใช้ทำ�ปูนขาว สำ�หรับอุตสาหกรรมฟอกหนัง และอุตสาหกรรมน้ำ�ตาล มีการผลิตหินปูนในเขตอำ�เภอ เมืองเชียงรายและอำ�เภอเวียงชัย ทรัพยากรน�้ำ 1. แม่น้ำ�กก มีต้นกำ�เนิดในประเทศสหภาพเมียนมาร์ ไหลเข้าสู่ประเทศไทยใน เขตจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอำ�เภอเมืองเชียงราย อำ�เภอเวียงชัย อำ�เภอแม่จัน อำ�เภอ ดอยหลวงและอำ�เภอเชียงแสนไปบรรจบแม่น�้ำ โขงทีห่ มูท่ ี่ 7 บ้าน สบกก ตำ�บลบ้านแซว อำ�เภอเชียงแสน มีความยาวประมาณ 145 กิโลเมตร 2. แม่น้ำ�ลาว ต้นกำ�เนิดจากภูเขาในเขตอำ�เภอเวียงป่าเป้า ไหลผ่านอำ�เภอ แม่สรวย อำ�เภอพาน อำ�เภอเมืองเชียงราย อำ�เภอเวียงชัย ไปบรรจบกับแม่น้ำ�กกที่ อำ�เภอเวียงชัย มีความยาวประมาณ 137 กิโลเมตร 3. แม่น้ำ�อิง ต้นน้ำ�เกิดจากหนองเล็งทรายก่อนไหลเข้ากว๊านพะเยา ไหลผ่าน อำ�เภอเทิง แล้วไหลไปบรรจบแม่น�้ำ โขงทีอ่ �ำ เภอเชียงของ ส่วนทีไ่ หลผ่านจังหวัดเชียงราย ยาวประมาณ 136 กิโลเมตร 24
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
4. แม่น้ำ�จัน ต้นน้ำ�เกิดจากภูเขาสามเส้า ทางด้านทิศตะวันตกของอำ�เภอ แม่จนั ติดกับรัฐฉานประเทศสหภาพเมียนม่าร์ แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ รวมกับแม่น้ำ�คำ�ไหลไปบรรจบแม่น้ำ�โขง มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร 5. แม่น้ำ�โขง มีต้นกำ�เนิดจากภูเขาหิมาลัย ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน แล้วไหลผ่านอำ�เภอเชียงของ และอำ�เภอเวียงแก่น ส่วนที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงรายยาว ประมาณ 94 กิโลเมตร 6. แม่น�้ำ คำ� ต้นน้�ำ เกิดจากภูเขาในเขตอำ�เภอแม่ฟา้ หลวง ไหลผ่านอำ�เภอแม่จนั อำ�เภอเชียงแสน อำ�เภอแม่สาย ไปบรรจบแม่น้ำ�โขงที่หมู่ที่ 5 บ้านสบคำ� ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาวทั้งสิ้น ประมาณ 85 กิโลเมตร 7. แม่น้ำ�สาย เป็นแม่น้ำ�สายสั้นๆ ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหภาพเมียนมาร์ ในเขตจังหวัดเชียงราย ประมาณ 31 กิโลเมตร 8. แม่น้ำ�รวก ต้นน้ำ�เกิดในประเทศสหภาพเมียนมาร์ ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ อำ�เภอแม่สาย และอำ�เภอเชียงแสน แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำ�โขงที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน แม่น้ำ�สายนี้ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างประเทศไทย และประเทศสหภาพเมียนมาร์ ทรัพยากรป่าไม้ พืน้ ทีจ่ งั หวัดเชียงรายมีทง้ั สิน้ 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,298,981 ไร่ ในปี 2554 มีพน้ื ทีป่ า่ ไม้จ�ำ นวน 1,412.92 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 12.09 ของพืน้ ที่ ทัง้ หมด แบ่งเป็น เขตห้ามล่าสัตว์ปา่ 4.34 ตารางกิโลเมตร วนอุทยาน 184.55 ตาราง กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติ 1224.03 ตารางกิโลเมตร (ฐานข้อมูลจังหวัดเชียงราย 2555) อุทยานแห่งชาติ (National park) สำ�นักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 รายงานจำ�นวนอุทยานและวนอุทยานของ จังหวัดเชียงรายไว้ดังนี้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
25
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
1. อุทยานแห่งชาติดอยหลวง เนื้อที่ 731,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำ�เภอพาน อำ�เภอแม่สรวย อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย อำ�เภอแม่ใจ อำ�เภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา อำ�เภอวังเหนือ และ อำ�เภองาว จังหวัดลำ�ปาง 2. อุทยานแห่งชาติลำ�น้ำ�กก มีเนื้อที่ 467,185 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำ�เภอเมือง เชียงราย อำ�เภอแม่จัน อำ�เภอแม่ลาว อำ�เภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 3. อุทยานแห่งชาติแม่ปืม มีเนื้อที่ 227,312 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำ�เภอเมือง เชียงราย อำ�เภอพาน อำ�เภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย อำ�เภอแม่ใจ อำ�เภอเมืองพะเยา อำ�เภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา 4. อุทยานแห่งชาติภูซาง เนื้อที่ 178,050 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำ�เภอเทิง จังหวัด เชียงราย อำ�เภอเชียงคำ�และอำ�เภอภูซาง จังหวัดพะเยา 5. อุทยานแห่งชาติขนุ แจ มีเนือ้ ที่ 168,750 ไร่ ครอบคลุมพืน้ ทีอ่ �ำ เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
26
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
วนอุทยาน (Forest Park) วนอุ ท ยาน เป็ น แหล่ ง ธรรมชาติ ที่ รั ฐ จั ด ไว้ ใ ห้ เ ป็ น สถานที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ ของประชาชน และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด จังหวัดเชียงราย มีวนอุทยานจำ�นวน 27 แห่ง ดังนี้ 1. วนอุทยานชาพันปี 2. วนอุทยานดอยกาดผี 3. วนอุทยานดอยพระบาท 4. วนอุทยานถ้ำ�ผาแล 5. ถ้ำ�หลวง-ขุนน้ำ�นางนอน 6. วนอุทยานน้ำ�ตกขุนน้ำ�ยาบ 7. วนอุทยานน้ำ�ตกดอนศิลา-ผางาม 8. วนอุทยานน้ำ�ตกตาดควัน 9. วนอุทยานน้ำ�ตกตาดสวรรค์ 10. วนอุทยานน้ำ�ตกตาดสายรุ้ง 11. วนอุทยานน้ำ�ตกมิโอฉ่อแต๊ะ 12. วนอุทยานน้ำ�ตกแม่โท 13. วนอุทยานน้ำ�ตกแม่สลอง 14. วนอุทยานน้ำ�ตกวังธารทอง
15. วนอุทยานน้ำ�ตกศรีชมภู 16. วนอุทยานน้ำ�ตกห้วยก้างปลา 17. วนอุทยานน้ำ�ตกห้วยตาดทอง 18. วนอุทยานน้ำ�ตกห้วยน้ำ�อุ่น 19. วนอุทยานน้ำ�ตกห้วยแม่สัก 20. วนอุทยานน้ำ�ตกหัวแม่คำ� 21. วนอุทยานพญาพิภักดิ์ 22. วนอุทยานภูชมดาว 23. วนอุทยานภูชี้ฟ้า 24. วนอุทยานริมโขง 25. วนอุทยานสันผาพญาไพร 26. วนอุทยานห้วยทรายมาน 27. วนอุทยานห้วยน้ำ�ช้าง
สวนรุ ก ชาติ (Arboretum) จั ง หวั ด เชี ย งรายมี ส วนรุ ก ขชาติ เ พี ย งแห่ ง เดี ย ว คื อ สวนรุกชาติโป่งสลี อำ�เภอเมืองเชียงราย มีพื้นที่ 668.75 ไร่ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สัก ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นป่าเดิมที่เหลืออยู่และมีการปลูกต้นไม้อื่นๆ แทรกบ้าง ป่ า สงวนแห่ ง ชาติ (National Reserved Forest) จั ง หวั ด เชี ย งรายมี ป่ า สงวน ทั้งหมด 30 แห่ง มีพื้นที่รวม 4,485,966 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.46 ของพื้นที่จังหวัด แบ่งเป็นพืน้ ทีเ่ พือ่ การอนุรกั ษ์ จำ�นวน 3,525,896 ไร่ พืน้ ทีม่ อบ สปก. จำ�นวน 960,070 ไร่
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
27
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
แยกออกเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 513,683 ไร่ ป่าเพื่อการเกษตร 425,832 ไร่ และพื้นที่ กันคืนกรมป่าไม้ 20,555 ไร่ ป่าชุมชน (Community Forest) ป่าชุมชนเป็นป่าธรรมชาติที่ชาวบ้านได้ช่วยกันป้องกัน รักษาเอาไว้สำ�หรับเป็นแหล่งซับน้ำ�และใช้สอย ปัจจุบันมีการสร้างป่าชุมชนขึ้นในพื้นที่ สาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ของชุมชน เขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีจำ�นวน 1 แห่ง คือ พื้นที่ชุ่มน้ำ�เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำ�เภอเชียงแสน มีพื้นที่ 2,711 ไร่ ป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ป่าไม่ผลัดใบ และป่าผลัดใบ ป่าไม่ผลัดใบ ประกอบด้วย 1. ป่าดิบเขา (Hill evergreen forest) อยู่สูงกว่าระดับน้ำ�ทะเลตั้งแต่ 1000 เมตร ขึน้ ไปส่วนมากอยูต่ ามยอดเขา พันธุไ์ ม้ส�ำ คัญได้แก่ไม้กอ่ พญาไม้ กำ�ลังเสือโคร่ง กำ�ยาน อบเชย เป็นต้น 2. ป่าสน (Coniferous forest) กระจายอยูเ่ ป็นหย่อมๆ พันธุไ์ ม้ส�ำ คัญได้แก่ สนสองใบ และ สนสามใบ นอกจากนี้มีไม้เหียง แข้งกวาง สารภีป่า กระโนแดง ขึ้นมาปะปนกัน 3. ป่าดิบแล้ง (Dry evergreen forest) เป็นป่าทีข่ นึ้ ตามหุบเขาสูงจากระดับน้�ำ ทะเล ประมาณ 300-600 เมตร พันธุ์ไม้สำ�คัญได้แก่ไม้ตระกูลยางเป็นไม้เด่น ไม้อื่นที่พบเช่น ตะเคียนทอง ไม้พลอง กระเบา ตาเสือ ต้าง ชะมวง เป็นต้น ป่าผลัดใบ ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง 1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed deciduous forest) เป็นป่าโปร่งประกอบด้วยไม้ไผ่ ปะปนกับไม้อนื่ ส่วนใหญ่ผลัดใบในฤดูแล้งและพบไฟป่าเกิดในป่าชนิดนีท้ กุ ปี ไม้ส�ำ คัญ ได้แก่ไม้สัก ไม้แดง ประดู่ มะค่า โมงตะแบกแดง รกฟ้า ซ้อ มะกอก 2. ป่าเต็งรัง (Deciduous dipterocarp forest) เป็นป่าโปร่งขึน้ ได้ในทีด่ นิ ตืน้ ค่อนข้าง แห้งแล้งเป็นดินทรายหรือดินลูกรัง ลักษณะเด่นของป่ามีการเปลีย่ นสีของใบอย่างชัดเจน ในช่วงรอยต่อระหว่างฤดูหนาวกับฤดูแล้งเพือ่ ลดการคายน้ำ� ไม้ส�ำ คัญได้แก่ พลวง เหียง เต็ง รัง แสลงใจ มะขามป้อม พะยอมเป็นต้น
28
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
สัตว์ป่า พระราชบัญญัติสงวน และ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ได้ก�ำหนดสัตว์ป่า ที่หายากเป็น “สัตว์ป่าสงวน” จ�ำนวน 9 ชนิด คือ แรด กระซู่ กูปรีหรือ โคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือเนื้อสมัน ทรายหรือเนื้อทรายหรือตามะแน เลียงผาหรือ เยืองหรือกูร�ำ หรือ โคร�ำ และ กวางผา เมื่อเวลาผ่านไปได้มีการปรับปรุงกฎหมาย ให้เกิดความทันสมัย เหมาะสมได้มีการตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึง่ มีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบนั ในพระราชบัญญัตแิ ก้ไขเพิม่ เติม ได้ถอดชือ่ เนื้อทรายออกจากบัญชีสัตว์ป่าสงวน และเพิ่มนกเจ้าฟ้าหญิงสิริธร นกแต้วแล้วท้องด�ำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และ พะยูน หรือหมูน�้ำ รวมเป็นสัตว์ ป่าสงวน 15 ชนิด สิ่งที่ควรระมัดระวังในการเดินป่า 1. ตามพระราชกฤษฎีกากำ�หนดไม้หวงห้ามพ.ศ.2530 มีไม้หวงห้าม 158 ชนิด ไม้หวงห้ามพิเศษ 13 ชนิด ได้แก่ กระเบา กำ�จัดต้น กำ�ยาน จันทน์ชะมด จันทน์หอม จันทนา ตีนเป็ดแดง ประ/กระ รง/รงทอง สนแผง/สนใบ สำ�รอง แสลงใจ แหลง และของป่า หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำ�หนดของป่าหวงห้ามพ.ศ. 2530 จำ�นวน 18 ชนิดได้แก่ กล้วยไม้ปา่ ทุกชนิด จันทน์แดง ชิน้ ไม้กฤษณา ชิน้ ไม้จนั ทน์หอม ชัน ฝาง ถ่านไม้ น้�ำ มันยาง ใบลาน เปลือกไม้ 10 ชนิด เฟิร์นกระเช้าสีดา ยางขนุนนก ยางรัก ยางสน ยางเยลูตง รากเฟิร์นออสมันด้า ลำ�ต้นและรากเฟิร์นต้น(เฟิร์นขนาดใหญ่พบทางภาคใต้) หวาย ทุกชนิด ซึ่งมัคคุเทศก์ควรระมัดระวังและห้ามนักท่องเที่ยวเก็บนำ�ติดตัวออกมาจากป่า 2. หยุดยั้งการล่าและการค้าสัตว์ป่า และพันธุ์ไม้หวงห้าม 3 ระมัดการใช้ไฟและเชื้อเพลิงในป่า และผู้เดินป่าควรมีความรู้ในการป้องกัน ภัยจากไฟป่า
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
29
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
กฎหมายที่มัคคุเทศก์เดินป่าควรทราบ ประเภท ชื่อกฎมาย ป่าไม้ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ร.บ.สวนป่า พระราชกฤษฎีกากำ�หนดของป่าหวงห้าม 2530 พระราชกฤษฎีกากำ�หนดไม้หวงห้าม อุทยาน พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ระเบียบ ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการเข้าไปในเขต อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2533 ระเบียบ ระเบียบกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำ�เนินกิจการ ท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ปี พ.ศ. 2484 2507 2535 2530 2530 2504 2533 2547
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๐๔ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๐๔ ที่เกี่ยวข้องกับการนำ�เที่ยวคือ หมวด ๓ ว่าด้วย การคุ้มครองและดูและรักษาอุทยานแห่งชาติ มาตรา ๑๖-๒๒ ดังนี้ มาตรา ๑๖ ภายในเขตอุทยานแหงชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด (๑) ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า (๒) เก็บหา นำ�ออกไป ทำ�ด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตราย หรือทำ�ให้เสือ่ มสภาพ ซึง่ ยางไม้ น้�ำ มันยาง น้�ำ มันสน แร่ หรือทรัพยากรธรรมชาติอน่ื (๓) นำ�สัตว์ออกไป หรือทำ�ด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ (๔) ทำ�ด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำ�ให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หิน กรวด หรือทราย (๕) เปลี่ ย นแปลงทางน้ำ � หรื อ ทำ � ให้ น้ำ � ในลำ � น้ำ � ลำ � ห้ ว ย บึ ง ท่ ว มท้ น หรื อ เหือดแห้ง 30
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
(๖) ปิดหรือทำ�ให้กีดขวางแก่ทางน้ำ�หรือทางบก (๗) เก็ บ หา นำ � ออกไป ทำ � ด้ ว ยประการใดๆ ให้ เ ป็ น อั น ตราย หรื อ ทำ � ให้ เสื่อมสภาพซึ่งกล้วยไม้ น้ำ�ผึ้ง ครั่ง ถ่านไม้ เปลือกไม้ หรือมูลค้างคาว (๘) เก็บหรือทำ�ด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่ดอกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้ (๙) นำ � ยานพาหนะเข้ า ออก หรื อ ขั บ ขี่ ย านพาหนะในทางที่ มิ ไ ด้ จั ด ไว้ เพื่อการนั้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๐) นำ�อากาศยานขึ้นลงในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๑) นำ�หรือปล่อยปศุสัตว์เข้าไป (๑๒) นำ�สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์พาหนะเข้าไป เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามระเบียบที่ อธิบดีกำ�หนดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี (๑๓) เข้าไปดำ�เนินกิจการใดๆ เพื่อหาผลประโยชน์เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑๔) ปิดประกาศ โฆษณา หรือขีดเขียนในที่ต่างๆ (๑๕) นำ�เครื่องมือสำ�หรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธใดๆ เข้าไปเว้นแต่จะ ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตนั้นกำ�หนดไว้ (๑๖) ยิงปืน ทำ�ให้เกิดระเบิดซึ่งวัตถุระเบิด หรือจุดดอกไม้เพลิง (๑๗) ส่ ง เสี ย งอื้ อ ฉาวหรื อ กระทำ � การอื่ น อั น เป็ น การรบกวน หรื อ เป็ น ที่ เดือดร้อนรำ�คาญแก่คนหรือสัตว์ (๑๘) ทิ้งขยะมูลฝอยหรือสิ่งต่างๆ ในที่ที่มิได้จัดไว้เพื่อการนั้น (๑๙) ทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำ�ให้เกิดเพลิง มาตรา ๑๗ ห้ามมิให้บุคคลใดกระทำ�ให้หลักเขต ป้าย หรือเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีตามพระราชบัญญัตินี้ เคลื่อนที่ ลบเลือน เสียหาย หรือ ไร้ประโยชน์
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
31
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
มาตรา ๑๘ บุคคลซึ่งเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ต้องปฏิบัติตามคำ�สั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้สั่งให้ปฏิบัติตามระเบียบ ที่อธิบดีกำ�หนด โดยอนุมัติของ รัฐมนตรี มาตรา ๑๙ บทบัญญัติในมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มิให้ใช้บังคับแก่พนักงาน เจ้าหน้าทีซ่ งึ่ ปฏิบตั กิ ารไปเพือ่ ประโยชน์ใน การคุม้ ครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ หรือการศึกษา หรือวิจัยทางวิชาการ หรือเพื่ออำ�นวยความสะดวกในการทัศนาจรหรือ การพักอาศัย หรือเพือ่ อำ�นวยความปลอดภัยหรือให้ความรูแ้ ก่ประชาชน ทัง้ นี้ ต้องเป็น ไปตามระเบียบที่อธิบดีกำ�หนด โดยอนุมัติของรัฐมนตรี มาตรา ๒๐ การจับกุมปราบปรามผู้กระทำ�ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำ�รวจ ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำ�นาจออกคำ�สั่งให้ผู้กระทำ�ความผิดตาม มาตรา ๑๖ ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ หรืองดเว้นการกระทำ�ใดๆ ในเขตอุทยาน แห่งชาติ มาตรา ๒๒ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ เป็นเหตุให้มีสิ่งปลูกสร้าง ขึ้นใหม่ หรือมีสิ่งอื่นใดในอุทยานแห่งชาติ ผิดไปจากสภาพเดิม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อำ�นาจสัง่ ให้ผกู้ ระทำ�ความผิดทำ�ลายหรือรือ้ ถอนสิง่ นัน้ ๆ ออกไปให้พน้ อุทยานแห่งชาติ หรือทำ�ให้สิ่งนั้นๆ กลับคืนสู่สภาพเดิม แล้วแต่กรณีถ้าผู้กระทำ�ความผิดไม่ปฏิบัติตาม หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้กระทำ�ความผิด หรือเพื่อป้องกัน หรือบรรเทาความเสียหายแก่อุทยาน แห่งชาติ พนักงานเจ้าหน้าที่ จะกระทำ�ดังกล่าวแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งเสียเองก็ได้ตาม สมควรแก่กรณี และผู้กระทำ�ความผิดมีหน้าที่ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป ในการที่ พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำ�การเสียเองนั้น
32
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การดำ�เนินกิจกรรมท่องเที่ยวหรือการพักอาศัยในเขตอุทยาน ตามระเบียบกรมอุทยาน ฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ การนำ�พาหนะหรือสัตว์ใดๆ เข้าไปในอุทยาน หรือเข้าไปพักแรมหรือใช้บริการเกีย่ วกับ การนำ�เทีย่ วในอุทยานต้องเสียค่าบริการหรือค่าตอบแทนตามทีก่ รมอุทยานฯประกาศ กิจกรรมทีก่ รมอุทยานอนุญาตให้ด�ำ เนินในเขตทีก่ �ำ หนดไว้เป็นเขตบริการในอุทยาน ได้แก่กิจกรรม ๑) การจำ�หน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ของที่ระลึก ๒) ที่พักอาศัยหรือกิจการ อื่นที่จำ�เป็นแก่การท่องเที่ยวและ ๓) การบริการนำ�เที่ยวแก่นักท่องเที่ยวในอุทยาน ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๓ ระเบียบกรมป่าไม้ พ.ศ.๒๕๓๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ มีเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับการท่องเทีย่ ว เดินป่า ดังนี้ ข้อ ๔. บุคคลซึง่ เข้าไปหรือใช้สถานทีต่ า่ งๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติตอ้ งปฏิบตั ิ ดังนี้ (๑) ห้ามมิให้น�ำ ยานพาหนะทีใ่ ช้เครือ่ งยนต์มเี สียงดังหรือควันดำ�ผิดปกติวสิ ยั เข้าไป (๒) การขับขี่ยานพาหนะต้องปฏิบัติตามกฎ หรือเครื่องหมายจราจรที่พนักงาน เจ้าหน้าที่กำ�หนดไว้ การจอดยานพาหนะต้องไม่กีดขวางทางจราจร (๓) การเข้าออกให้กระทำ�ได้เฉพาะตามเส้นทางที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำ�หนดไว้ และเมื่อถึงด่านตรวจต้องหยุด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำ�ด่านทำ�การตรวจก่อน (๔) ห้ามนำ�สารเคมีที่มีพิษตกค้างตามบัญชีสารเคมีท้ายระเบียบนี้เข้าไปในเขต อุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้ต้องได้รับการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน (๕) การอาบน้�ำ หรือลงไปในลำ�น้� ำ ให้กระทำ�ได้เฉพาะบริเวณทีพ่ นักงานเจ้าหน้าที่ กำ�หนดไว้ (๖) การเล่นกีฬา ให้กระทำ�ได้ในบริเวณที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำ�หนดไว้ (๗) การพักแรมค้างคืนโดยการจอดยานพาหนะนอน ใช้เต็นท์ กระโจม รถพ่วง หรือโดยวิธีอื่นๆ ให้กระทำ�ได้ในบริเวณที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำ�หนดไว้ (๘) การก่ อ ไฟเพื่อการใดๆ ให้กระทำ � ได้เฉพาะในเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำ�หนดไว้และต้องกระทำ�ด้วยความระมัดระวัง เมื่อเลิกใช้แล้วต้องดับไฟให้เรียบร้อย
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
33
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
(๙) การใช้สถานทีเ่ พือ่ การใดๆ ต้องมิให้เป็นการเสือ่ มเสียศีลธรรมและวัฒนธรรม อันดีงาม และต้องไม่ส่งเสียงอื้อฉาว หรือกระทำ�การอันเป็นการรบกวนหรือเป็นที่ เดือดร้อนรำ�คาญแก่คนหรือสัตว์ (๑๐) การเดินเทีย่ วชมธรรมชาตินอกทางถาวร ให้ใช้เส้นทางทีพ่ นักงานเจ้าหน้าที่ กำ�หนดหรือทำ�เครื่องหมายไว้ (๑๑) เมื่อเกิดเหตุหรืออันตรายใด ๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้พบเห็นแจ้งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ทราบโดยด่วน เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ข้อ ๕. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ใดกระทำ�การอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจ เป็นอันตรายแก่ผู้อื่นหรือตนเอง หรือจะเป็นการรบกวนหรือเดือดร้อนรำ�คาญแก่คน หรือสัตว์หรือจะทำ�ให้เสียหายแก่สภาพธรรมชาติหรือสิ่งอื่นใด พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำ�นาจสั่งห้ามมิให้ผู้นั้นกระทำ�การดังกล่าวต่อไปได้ ภาษาอังกฤษที่ควรทราบ อุตุนิยมวิทยา Meteorology ภัยแล้ง Drought อุณหภูมิอากาศ Air temperature อุณหภูมิสูงที่สุด/ต่ำ�ที่สุด Extreme temperature อุณหภูมสิ งู สุดประจำ�วัน Daily maximum temperature อุณหภูมติ �ำ่ สุดประจำ�วัน Daily minimum temperature น้ำ�ค้างแข็ง/ แม่คะนิ้ง Frost ฝนฟ้าคะนอง Thundery rain แหล่งข้อมูลอ้างอิง ฤดูฝน Rainy season ข้อมูลพืน้ ฐานระดับจังหวัด ฤดูแล้ง Dry season รายงานสถิตจิ งั หวัดเชียงราย น้�ำ ท่วมฉับพลัน หรือน้�ำ ป่า Flash flood หอมรดกไทย www.mod.go.th ดีเปรสชันเขตร้อน Tropical depression ศูนย์อตุ นุ ยิ มวิทยาเชียงราย หมอกเกิดจากการระเหย Evaporation fog สำ�นักบริหารพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ท่ี 15 หมอกน้ำ�ค้าง Mist www.wikipedia
34
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การจัดการท่องเที่ยวเดินป่า 1 ความหมาย การท่องเที่ยวเดินป่าหรือ ทัวร์ป่า (Trekking) หมายถึง การท่องเที่ยวโดยการใช้ ป่าเขาลำ�เนาไพร ใช้ธรรมชาติเป็นองค์ประกอบในกิจกรรมโดยผู้ท่องเที่ยวจะเดินทาง เข้าไปในพืน้ ทีท่ มี่ คี วามหลากหลายทางธรรมชาติ มีปา่ อุดมสมบูรณ์ มีภเู ขา มีถ� ้ำ มีน�้ำ ตก ทั้ ง นี้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ที่ จ ะเข้ า ไปสั ม ผั ส กั บ ธรรมชาติ ไปเรี ย นรู้ ห า ประสบการณ์แปลกใหม่โดยการศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชนเผ่า ในการเดินทางท่องเทีย่ วแบบทัวร์ปา่ นักท่องเทีย่ วจะท่องเทีย่ วด้วยการเดินทาง ด้วยเท้า การไต่เขา ปีนเขา การขี่ช้างชมไพร ขี่เกวียน ขี่ม้า การล่องแพไม้ไผ่ ล่องแก่ง แพยาง และการพักค้างคืนหมู่บ้านชาวเขา เป็นต้น การท่องเที่ยวจะมุ่งเป็นไปที่ความ สนุกสนานเพลิดเพลินการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นวัตถุประสงค์หลัก ประวัติทัวร์ป่า การเดินทางทัวร์ป่าในประเทศไทยเริ่มเดินทางกันตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐาน ปรากฏที่ชัดเจน แต่สันนิษฐานกันว่าเริ่มมีการเดินทางท่องเที่ยวกันมาเกินกว่า 100 ปี แล้วโดยนักท่องเที่ยวชาวไทย ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าการล่องไพร กิจกรรมเน้นหนักไป ในเรื่องของการส่องสัตว์ ล่าสัตว์ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายควบคุมป้องกันการ ล่าสัตว์ป่าอย่างเข้มงวด กิจกรรมกีฬาการล่าสัตว์จึงถูกผนวกเข้าไปกับการท่องเที่ยว แบบล่องไพรด้วย หลังจากทีม่ บี ริษทั ทำ�ไม้จากต่างประเทศได้รบั สัมปทานจากรัฐบาลไทยเข้ามาทำ� อุตสาหกรรมทำ�ไม้ในประเทศไทย เช่นบริษทั บอร์เนียว บริษทั บอมเบย์เบอร์มา่ เข้ามาทำ� อุตสาหกรรมป่าไม้ในเขตจังหวัดภาคเหนือ เช่น ลำ�ปาง ลำ�พูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน 1 ข้อมูลปรับปรุงมาจากคำ�บรรยายของอาจารย์พพิ ฒ ั น์ ไชยสุรนิ ทร์ และคุณแสงเดือน ชัยเลิศ ในการอบรม หลักสูตรการท่องเที่ยวเดินป่าของ สถาบันราชภัฏเชียงราย 2543
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
35
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
และหลายๆ จังหวัด ในเขตภาคเหนือทีเ่ ป็นชายแดนรอยต่อกับประเทศพม่า บริษทั เหล่านี้ จะนำ�บุคลากรบางส่วน เช่น ผู้จัดการ หัวหน้างาน ฝ่ายควบคุมมาจากต่างประเทศ กลุ่มคนเหล่านี้เมื่อได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่ได้เข้ามาเห็น มาสัมผัสความงดงาม ความ บริสทุ ธิข์ องป่า และวัฒนธรรมชนเผ่าต่าง ๆ ทำ�ให้เกิดความอยากรูอ้ ยากเห็นมากยิง่ ขึน้ โดยในช่วงของระยะพักงาน กลุม่ คนเหล่านีจ้ ะออกสำ�รวจและเดินทางโดยมีการเดินทาง หลายรูปแบบเช่น เดินด้วยเท้า ขี่ม้า ขี่ช้าง ไปยังพื้นที่ต่างๆ และเรียกกิจกรรมนั้นว่า “Jungle Tour” กิจกรรมได้เน้นหนักไปที่กีฬาการล่าสัตว์ป่าผสมกับการเดินล่องไพร ขณะเดียวกันได้มกี ลุม่ มิชชันนารี อาสาสมัคร หมอสอนศาสนาชาวต่างประเทศ ได้เริ่มเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย โดยคนกลุ่มนี้ได้ออกเดินทางบุกป่าฝ่าดงไปยังสถาน ที่ต่างๆ รวมทั้งสถานที่ห่างไกลจากความเจริญ การได้เข้าไปสัมผัสกับความงดงาม ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติและสภาพสิ่งแวดล้อม ความแปลกใหม่ของวิถีชีวิตชนเผ่าที่ มีวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจ ทำ�ให้ชาวต่างชาติเหล่านี้เกิดความประทับใจและเป็น อีกกลุ่มหนึ่งที่นำ�เรื่องราวของความหลากหลายของความงดงามตามธรรมชาติของ ทรัพยากรในประเทศไทยไปเผยเผยแพร่ตอ่ สายตาชาวโลก เรือ่ งราวต่างๆ ทีถ่ กู เผยแพร่ ก่อให้เกิดการจุดประกายให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ที่อยากรู้อยากเห็นข้อเท็จจริงเหล่านั้น และได้เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยและเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่ามากขึ้น ตามลำ�ดับจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการการท่องเที่ยวเดินป่า ในอดีต การท่องเที่ยวแบบเดินป่าจะจัดท่องเที่ยวกันในหมู่ของเพื่อนฝูง หรือ คนรู้จัก ผู้เดินทางท่องเที่ยวจะมีการเตรียมการ กำ�หนดเส้นทางและตารางเดินทางกัน ตามอิสระ ในสมัยที่ยังไม่มีบริษัทดำ�เนินการนำ�เที่ยว นักท่องเที่ยวจะจ้างคนนำ�ทาง ที่ชำ�นาญทางและลูกหาบที่เป็นคนในท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลในการเดินทาง นักท่องเทีย่ วชาวต่างประเทศทีเ่ ดินทางเข้ามาท่องเทีย่ วในเขตภาคเหนือระยะแรก จะเริม่ เข้ามากันเป็นกลุม่ เล็ก ๆ 2-5 คน โดยมีขอ้ มูลบางส่วนอยูใ่ นมือ เมือ่ ได้โปรแกรม เส้นทางการเดินทางแล้วนักท่องเทีย่ วเหล่านัน้ ก็จะเดินทางเข้าไปในพืน้ ทีเ่ ป้าหมายเช่น
36
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ในจังหวัดเชียงใหม่ ตระเวนหาผู้นำ�ทางเพื่อว่าจ้างให้นำ�ทางไปในพื้นที่ที่ตนต้องการ โดยตกลงว่าจ้างกันเองระหว่างนักท่องเที่ยวกับตัวผู้นำ�ทาง ซึ่งอาจตกลงค่าจ้างเป็น รายวัน หรือ ตกลงกันตามความยากง่ายของเส้นทาง เป็นต้น การท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่าเริ่มมีการให้บริการกันแบบจริงจังและเริ่มมีขั้นตอน ในการให้บริการประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา เป็นผู้ประกอบการรายย่อยจะดำ�เนินการต่อ เมือ่ มีนกั ท่องเทีย่ วเข้ามาติดต่อขอใช้บริการ แต่ยงั ไม่มกี ารเปิดให้บริการกันอย่างจริงจัง ในขณะนั้นเริ่มมีการนำ�เอากิจกรรมต่างๆ เข้ามาเสริมในโปรแกรมนำ�เที่ยวคือ กิจกรรม ขี่ช้างและกิจกรรมล่องแพไม้ไผ่ กิจกรรมขี่ช้าง วิวัฒนาการมาจากการที่ในเขตพื้นที่ทางภาคเหนือเป็นแหล่งที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ บริษัทที่ได้รับสัมปทานทำ�ไม้ได้นำ�ช้างมาใช้งาน ลากซุงในปางไม้ของตน ในช่วงการสิ้นสุดระยะทำ�งานลากไม้หรือช่วงหยุดพักงาน ผู้จัดการและผู้ควบคุมงานชาวต่างชาติมักจะนำ�ช้างไปล่องไพรและล่าสัตว์ บางครั้งมี การบันทึกภาพ บันทึกข้อมูลจากสิ่งที่ตัวเองได้พบเห็นและนำ�ไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ หนังสือทีม่ ชี อื่ เสียงโด่งดังและวางขายไปทัว่ โลกอย่างเช่น Elephant Bill เขียนโดย J.H.Williams(1950) ได้เขียนบรรยายถึงประสบการณ์ความสนุกสนานตืน่ เต้นต่อการทีไ่ ด้ ขี่ช้างท่องเที่ยวผจญภัยในป่าในเขตภาคเหนือของประเทศไทยและในเขตประเทศพม่า ความงดงามทางธรรมชาติประกอบกับวัฒนธรรมทีแ่ ปลกใหม่ส�ำ หรับชาวต่างประเทศที่ ได้อา่ นได้รบั ทราบ ย่อมสร้างความอยากรูอ้ ยากเข้ามาสัมผัสด้วยตัวเอง ดังนัน้ โปรแกรม การขี่ช้างท่องเที่ยวจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว กิจกรรมขีช่ า้ งสำ�หรับนักท่องเทีย่ วเริม่ ต้นประมาณปี พ.ศ. 2515 เมือ่ นักท่องเทีย่ ว เดินทางมาเที่ยวในเขตภาคเหนือและได้เดินทางเข้าไปเที่ยวในเขตพื้นที่ที่มีการทำ�ไม้ นักท่องเที่ยวบางส่วนที่ต้องการมีประสบการณ์ในการขี่ช้างจึงได้ว่าจ้างช้างที่ปางไม้ให้ พาเดินทางไปรอบๆ ป่า มีการจ่ายค่าจ้างให้กับเจ้าของช้างและควาญช้าง หลังจากนั้น ก็มผี ปู้ ระกอบการหลายรายการเดินทางเข้าไปติดต่อขอซือ้ ช้างกับเจ้าของช้างเพือ่ นำ�มา ให้บริการนักท่องเที่ยวได้ขี่เพื่อท่องเที่ยวไปในพื้นที่
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
37
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ในปี พ.ศ. 2532 รัฐบาลไทยมีนโยบายปิดป่าหยุดการสัมปทานตัดไม้ในป่า ทั่วประเทศ ทำ�ให้อุตสาหกรรมการทำ�ไม้ที่ถูกกฎหมายหยุดชะงักลง ช้างและเจ้าของ ช้างที่เคยทำ�งานรับจ้างลากไม้ถูกพักงาน ทำ�ให้เจ้าของช้างตกงานเป็นจำ�นวนมาก เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทัวร์ป่าได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ช้างได้เริ่มเข้ามา มี บ ทบาทในกิ จ กรรมการท่ อ งเที่ ย วเจ้ า ของช้ า งจึ ง ได้ นำ � ช้ า งของตนมาทำ � งานใน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น กิจกรรมการท่องเทีย่ วทีม่ โี ปรแกรมขีช่ า้ งได้รบั ความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงมีการ จัดตั้งปางช้างขึ้นมาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวหลายแห่ง มีการนำ�ช้างมาให้นักท่องเที่ยว ได้ขี่ชมธรรมชาติ และมีการแสดงของช้างในรูปแบบต่างให้นักท่องเที่ยวได้ชม ในเขต ภาคเหนือมีการเปิดปางช้างเพือ่ เป็นแหล่งท่องเทีย่ ว เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตอำ�เภอ แม่รมิ อำ�เภอเชียงดาว อำ�เภอแม่นาวาง อำ�เภอแม่แจ่ม อำ�เภอแม่อาย จังหวัดเชียงราย ในเขตอำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง จังหวัดน่าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน กิ จ กรรมการล่ อ งแพ ในอดี ต การคมนาคมในประเทศไทยยั ง ไม่ เ จริ ญ การคมนาคมทางน้�ำ เป็นการเดินทางที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว ยานพาหนะสมัยนัน้ คือ เรือ แพ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เวลาทีม่ กี ารขนสินค้าต่างๆ จากทาง ภาคเหนือไปยังภาคกลางชาวบ้านนิยมที่จะบรรทุกของไปโดยทางแพ ซึ่งทำ�จากไม้ล่ำ� ที่มีความคงทนแข็งแรง การใช้เรือใช้แพ บรรทุกสัมภาระไปยังที่ต่างๆ ทางน้ำ�ได้รับความนิยมเป็น อย่างมากในสมัยโบราณจนกระทั่งประเทศไทยได้นำ�เครื่องจักรกลมาใช้ รถยนต์ เรือ ยนต์ รถไฟ เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำ�วันของคนไทยมากยิ่งขึ้นทำ�ให้การใช้แพ ในการเดินทางลดลงตามลำ�ดับ แต่เนือ่ งจากการล่องแพเป็นวิถชี วี ติ เก่าๆ ทีค่ วรอนุรกั ษ์ การล่องแพเป็นภาพที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์ของการคมนาคมในสมัยโบราณ การล่องแพจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งโดยจัดเป็นกิจกรรมสร้างประสบการณ์ให้ นักท่องเทีย่ ว ซึง่ สำ�หรับนักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติแล้วถือเป็นเรือ่ งแปลกใหม่ หลังจากนัน้ กิ จ กรรมล่ อ งแพไม้ ไ ผ่ เ ป็ น หนึ่ ง โปรแกรมที่ ถู ก บรรจุ ไว้ ใ ห้ บ ริ ก ารแก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว มาจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมนี้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และ
38
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของการท่องเที่ยวแบบล่องแก่ง ควบคู่กับการท่องเที่ยวแบบ ทัวร์ป่าไปในที่สุด การท่องเที่ยวทัวร์ป่าในภาคเหนือ ในปีพ.ศ. 2530 เป็นปีแรกทีร่ ฐั บาลไทยประกาศปีการท่องเทีย่ วไทย (Visit Thailand Year) หลังจากที่มีการประชาสัมพันธ์ไปยังต่างประเทศ มีนักท่องเที่ยวจำ�นวนมาก หลั่งไหลเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยและเป็นการเริ่มต้นที่มีผลดีต่อวงการ อุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว เพราะการทีน่ กั ท่องเทีย่ วได้เดินทางเข้ามาท่องเทีย่ วมากขึน้ ทำ�ให้ผทู้ เี่ กีย่ วข้องกับการท่องเทีย่ วเริม่ ให้ความสนใจต่อการจัดระบบของการท่องเทีย่ ว ให้มีคุณภาพมาตรฐานมากยิ่งขึ้น การท่องเที่ยวทัวร์ป่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่นักท่องเที่ยวผู้นิยมและรักธรรมชาติ เลือกที่จะท่องเที่ยวเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ทางภาคเหนือ ซึ่งมีความเหมาะสมกับการเดินป่า มีศักยภาพทางธรรมชาติที่ได้เปรียบเนื่องมาจากมี ความสวยงาม มีความหลากหลายทีเ่ ป็นทีด่ งึ ดูดใจนักท่องเทีย่ ว จากความได้เปรียบทาง ศักยภาพของภูมิประเทศแล้ว สภาพภูมิอากาศในเขตภาคเหนือที่หนาวเย็น วัฒนธรรม ประเพณีทนี่ า่ สนใจของผูค้ นหลากหลายเผ่าพันธุ์ ทำ�ให้พนื้ ทีใ่ นเขตภาคเหนือเป็นทีส่ นใจ ของนักท่องเทีย่ วมาก นอกจากนีค้ วามเปลีย่ นแปลงและการขยายตัวทางทางเศรษฐกิจ มีสงิ่ ปลูกสร้างใหม่ เช่น ตึกสูงมาบดบังความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิน่ เช่นโบราณสถาน และสภาพความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมของวิถีชีวิตไทยได้เลือนหายไป ทำ�ให้นักท่องเที่ยว บางส่วนหมดความสนใจทีจ่ ะท่องเทีย่ วในเขตเมืองแต่ได้หนั ความสนใจเข้าไปท่องเทีย่ ว ทางธรรมชาติมากยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การท่องเทีย่ วทัวร์ปา่ ซึง่ นอกจากจะได้สมั ผัส ความงดงามของธรรมชาติแล้ว นักท่องเทีย่ วยังได้รบั ความรูจ้ ากการศึกษาวิถชี วี ติ ความ เป็นอยูข่ องชนเผ่าทีย่ งั คงรักษาเอกลักษณ์ดงั้ เดิมไว้ได้ นักท่องเทีย่ วได้นำ�เรือ่ งราวต่างๆ ที่ ไ ด้ สั ม ผั ส จาการท่ อ งเที่ ย วแบบเดิ น ป่ า ไปเผยแพร่ สู่ ส ายตานั ก ท่ อ งเที่ ย วคนอื่ น ๆ อีกต่อไป และทำ�ให้การท่องเที่ยวทัวร์ป่าได้รับความนิยมไปตามลำ�ดับ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
39
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
จากการสำ�รวจข้อมูลของชมรมทัวร์ป่าภาคเหนือของจำ�นวนนักท่องเที่ยวที่เดิน ทางเข้ามาท่องเทีย่ วทัวร์ปา่ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ทำ�ให้ทราบว่าตัวเลขจำ�นวนของนัก ท่องเทีย่ วทัวร์ปา่ ปี 2540 ได้เพิม่ มากจำ�นวนเป็นสองเท่า ของปี 2539 แสดงถึงความนิยม การท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้มีการขยายวงกว้างเป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวนานา ประเทศส่งผลให้การท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากขึ้น ตามลำ�ดับและมีความสำ�คัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในการมีส่วนนำ�เงินตรา เข้าสู่ประเทศ องค์ประกอบของการท่องเที่ยวทัวร์ป่า การท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่ามีองค์ประกอบที่สำ�คัญดังนี้ 1. แหล่งท่องเที่ยว 2. ผู้ประกอบการ และการให้บริการ 3. นักท่องเที่ยว 1. แหล่งท่องเที่ยว ภาคเหนือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความได้เปรียบกว่าภูมิภาคอื่น กล่าวคือ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงามมีภูมิอากาศที่สดชื่นตลอดปี นอกจากนัน้ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมอันเก่าแก่ยงั มีสว่ นช่วยเป็นแรงดึงดูดให้นกั ท่องเทีย่ ว ได้เดินทางเข้ามาเที่ยวในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ในอดีต ผู้ที่ประสงค์ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวทัวร์ป่าในภาคเหนือสามารถ เดินทางไปเที่ยวสถานที่ใดๆ ได้อย่างอิสรเสรี เนื่องจากไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับใดๆ ให้นกั ท่องเทีย่ วเหล่านัน้ ได้รบั ทราบต่อการปฏิบตั ติ วั เป็นผูเ้ ทีย่ วทีด่ ี นักท่องเทีย่ วบางคน บางกลุ่มได้ขาดจิตสำ�นึก ขาดความรับผิดชอบต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ ส่งผลให้ แหล่งท่องเทีย่ วนัน้ ๆ เสือ่ มโทรมทรัพยากรธรรมชาติถกู ทำ�ลายจากผูท้ อ่ งเทีย่ วทัง้ ทางตรง และทางอ้อมนักท่องเทีย่ วไม่ได้รบั ความปลอดภัยทัง้ ทางชีวติ และทรัพย์สนิ อันเกิดจาก การเดินทางไปยังพืน้ ทีท่ อี่ ยูใ่ นเขตอันตราย เช่นเขตรอยต่อของชายแดน เป็นต้น ดังนัน้ ในปี 2536 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมป่าไม้จึงได้มีการจัดการประชุม
40
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการประชุมที่ได้มีการกำ �หนดให้มีพื้นที่ สำ�หรับเดินป่าในแต่ละพืน้ ทีใ่ ห้เป็นทีแ่ น่นอนและภาครัฐสามารถควบคุมได้ นอกจากนัน้ ยังได้มีการเปิดพื้นที่เดินป่าตัวอย่างภาคเหนือขึ้นมาที่อำ�เภอแม่แตง โดยกำ�หนดให้ พื้นที่ทัวร์ป่าใน อ.แม่แตง เป็นพื้นที่เดินป่าตัวอย่างผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว จะต้องมีการจัดการนำ�เที่ยวในพื้นที่ที่กำ�หนดไว้เท่านั้น พื้นที่ที่มีการจัดการเดินทัวร์ป่า ในภาคเหนือ คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดลำ�ปาง จังหวัดลำ�พูน จังหวัดแพร่ 2. ผู้ประกอบการ ผูป้ ระกอบการในทีน่ หี้ มายถึง ผูท้ มี่ สี ว่ นร่วมในกระบวนการจัดการ การให้บริการ แก่นักท่องเที่ยวทัวร์ป่า ซึ่งประกอบด้วย 1. ผูป้ ระกอบการทีเ่ ป็นผูข้ ายทัวร์ จะเป็นผูด้ �ำ เนินการขายโปรแกรมการท่องเทีย่ ว การกำ�หนดเส้นทางการดำ�เนินนโยบายทางด้านตลาด รวมทัง้ ควบคุมคุณภาพของการ ให้บริการ ซึง่ ในส่วนกลไกและกระบวนการได้บริการจะต้องมีองค์ประกอบย่อยเข้าร่วม ดังต่อไปนี้ 1.1 พนั ก งานเสนอขายโปรแกรม (Booking) เช่ น พนั ก งานขายหน้ า ร้ า น ฝ่ายเสนอขายโปรแกรมทัวร์ให้กับเอเย่นต์ ในต่างจังหวัดและต่างประเทศ 1.2 มัคคุเทศก์ทัวร์ป่า (Trekking Guide) คือ ผู้ที่ทำ�หน้าที่นำ�นักท่องเที่ยวไป ท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการดูแลเอาใจใส่นักท่องเที่ยว ตลอดเวลาของการเดินทาง (ดูรายละเอียดมารยาทและจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ ประกอบ) 1.3 ลูกหาบ (Porter) คือ ผูช้ ว่ ยมัคคุเทศก์ในการนำ�นักท่องเทีย่ วเดินทางไปทัวร์ ป่า หน้าทีห่ ลักคือ เป็นคนขนเสบียงสัมภาระทีจ่ ะนำ�ไปประกอบกิจกรรมในการให้บริการ ในแต่ละกลุ่ม เช่น ทำ�หน้าที่ขนอาหารที่จะนำ�ไปหุงให้กับนักท่องเที่ยว บางครั้งลูกหาบ ก็จะทำ�หน้าทีเ่ ป็นผูช้ ว่ ยมัคคุเทศก์ในการให้บริการแขกในเรือ่ งการทำ�อาหาร การจัดการ หาที่พัก การจัดหาเช่าแพ เช่าช้าง เป็นต้น
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
41
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
2. ผู้ประกอบการในพื้นที่ทัวร์ป่า คือกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ ท่ อ งเที่ ย ว ผู้ ป ระกอบการเหล่ า นั้ น จะมี อ าชี พ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การให้ บ ริ ก ารแก่ นักท่องเที่ยว เช่น เจ้าของผู้ให้บริการบ้านพัก ผู้ให้บริการเรื่องร้านอาหาร คนผูกแพ รับจ้างถ่อแพ ให้บริการเรือหางยาว เจ้าของปางช้าง และควาญช้าง 3. นักท่องเที่ยว นั ก ท่ อ งเที่ ย วทั ว ร์ ป่ า (Trekker) คื อ กลุ่ ม นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ นิ ย มการท่ อ งเที่ ย ว แบบผจญภัยในป่าเขา สนใจในธรรมชาติและสถานที่แปลกใหม่ ชอบให้มีกิจกรรม โลดโผนตื่นเต้นประกอบในโปรแกรมทัวร์ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ในอายุระหว่าง 18 - 45 ปี ผลการสำ�รวจสัดส่วนอายุของนักท่องเทีย่ วทัวร์ปา่ เพือ่ ประเมินผลทางด้านความ ต้องการในเรือ่ งตลาดของชมรมทัวร์ปา่ ภาคเหนือในปี 2541 สรุปอายุของนักท่องเทีย่ ว ที่ให้ความสนใจมาท่องเที่ยวแบบเดินป่าในเขตภาคเหนือได้ดังนี้ จำ � นวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ นิ ย มเข้ า มาท่ อ งเที่ ย วแบบเดิ น ป่ า อยู่ ใ นช่ ว งระหว่ า ง อายุ 18-45 ปี เป็นจำ�นวน ถึง 77% และในจำ�นวนนี้แยกออกเป็น นักท่องเที่ยวที่มา จากแถบยุโรป เป็นสัดส่วนประมาณ 29 เปอร์เซ็นต์ เอเชีย ประมาณ 23 เปอร์เซ็นต์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ แถบตะวันออกกลาง คิดเป็นสัดส่วน 11 เปอร์เซ็นต์ อเมริกาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ แถบอื่นๆ เช่น แอฟริกา อเมริกาใต้ แปซิฟิก ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ พฤติกรรมนักท่องเที่ยว นักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติสว่ นใหญ่มาประเทศไทยเพือ่ ต้องการศึกษาวัฒนธรรม ไทย เคยทราบรายละเอียดจากหนังสือแล้วต้องการมาสัมผัสด้วยตนเอง และนักท่องเทีย่ ว ยุคใหม่ต้องเรียนรู้การดำ�เนินชีวิตที่แตกต่างและต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ มัคคุเทศก์จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวแต่ละชาติไว้บ้าง เช่นชาวอเมริกันเป็นชาติที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าชาติอื่น มากับบริษัททัวร์ที่ดี มีความ สนใจทางด้านวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ ชอบการผจญภัย
42
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ชาวอิตาลีชอบทดลองสิง่ แปลกใหม่ ค่อนข้างจูจ้ ี้ ชาวฮอลแลนด์ ชอบเดินป่า แต่ไม่ชอบ เขาสูงชัน ชาวเยอรมันชอบเดินป่าแต่ไม่ชอบอากาศร้อน เป็นต้น การจัดการท่องเที่ยวเดินป่า อาจารย์พพิ ฒ ั น์ ไชยสุรนิ ทร์ ผูบ้ กุ เบิกการท่องเทีย่ วเดินป่าในภาคเหนือได้วเิ คราะห์ การจัดการทัวร์ป่า ข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติและปัญหาของทัวร์ป่าไว้ดังนี้ การที่การท่องเที่ยวเดินป่าเป็นที่นิยมและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จึงมี การจัดทัวร์ปา่ ขึน้ หลายรูปแบบ บางรูปแบบเป็นรูปแบบทีด่ สี อดคล้องตามนโยบายของ การท่องเทีย่ ว แต่กม็ อี กี หลายรูปแบบทีท่ �ำ ให้เกิดปัญหา เป็นผลกระทบต่อการท่องเทีย่ ว และชื่อเสียงของประเทศ ทั้งนี้เกิดจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ประกอบธุรกิจทัวร์ ป่ายังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์ ทรัพยากรการท่องเที่ยว มุ่งหวังเพื่อที่จะให้มีรายได้ในเชิงการค้าเพียงอย่างเดียวโดย ไม่คำ�นึงถึงความเสียหายที่เป็นผลติดตามมาภายหลัง จากการสังเกต ศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกิจทัวร์ป่าที่ผ่านมา รวมกับประสบการณ์ที่อาจารย์พิพัฒน์ ไชยสุรินทร์ ได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงพฤติกรรม และความต้องการของนักท่องเที่ยวทัวร์ป่า อาจารย์ได้แบ่งนักท่องเที่ยวออกเป็น 2 กลุ่ม หลักๆ คือ 1. กลุ่มนักท่องเที่ยวทัวร์ป่าธรรมดา ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการทัวร์ป่า เพื่อเป็นการพักผ่อนหาความสนุกสนานเพลิดเพลินกับธรรมชาติและกิจกรรมที่จัดขึ้น ในระหว่างการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่มักจะเป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาครั้งแรกและไม่เคย ใช้บริการแบบทัวร์ป่ามาก่อน นับได้ว่าเป็นกลุ่มใหญ่ของธุรกิจทัวร์ป่า 2. กลุม่ นักท่องเทีย่ วทัวร์ปา่ ทีม่ จี ดุ มุง่ หมาย ได้แก่ กลุม่ นักท่องเทีย่ วทีเ่ ข้ามาใช้ บริการของทัวร์ป่า เพื่อการทัศนศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ สำ�หรับประกอบความรู้ และการวิจัยอ้างอิงต่างๆ เช่น กลุ่มดูนก กลุ่มดูกล้วยไม้ กลุ่มศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวเขา เป็นต้น
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
43
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ดังนัน้ รูปแบบของการจัดนำ�เทีย่ วแบบทัวร์ปา่ ในปัจจุบนั จึงจัดแบ่งออกเป็น 2 รูป แบบใหญ่ๆ เพือ่ ทีจ่ ะอำ�นวยความสะดวกให้แก่นกั ท่องเทีย่ วและเพือ่ เป็นการตอบสนอง ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ ดังนี้ 1. รูปแบบทีม่ กี ารกำ�หนดเส้นทาง วันและเวลา เป็นรูปแบบทีผ่ ปู้ ระกอบธุรกิจ ทัวร์ป่าส่วนใหญ่จัดทำ� เป็นรูปแบบที่มีการกำ�หนดเส้นทาง สถานที่ วันเวลา ที่พักแรม กิจกรรมและการบริการต่างๆ รวมทั้งค่าบริการเป็นกำ�หนดการตายตัว มีรายการทัวร์ ตั้งแต่ 2 วัน 1 คืน ไปจนถึง 7 วัน 6 คืน เป็นต้น แต่ละบริษัทอาจจะกำ�หนดเส้นทาง ขึ้นหลายเส้นทาง เพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยวซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มนี้เลือกใช้บริการตามใจชอบ กิจกรรมและบริการในระหว่างการเดินทาง ผู้จัดรายการหรือทางบริษัทก็จะ สรรหาทรัพยากรต่างๆ ที่สามารถจัดหาในพื้นที่ที่กำ�หนด มาประกอบเข้ากับรายการ แต่ละรายการ เช่น ล่องแพ การพักค้างแรมตามหมู่บ้านชาวเขา การกางเต็นท์ในป่า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความตื่นเต้น สนุกสนาน ความบันเทิงให้แก่นักท่องเที่ยวและ เป็นการสร้างสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเลือกใช้บริการของตน 2. รูปแบบพิเศษ เป็นรูปแบบของทัวร์ปา่ ทีจ่ ดั ขึน้ เฉพาะกิจ เพือ่ ตอบสนองความ ต้องการของนักท่องเที่ยวทัวร์ป่า ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมาย เป็นทัวร์ที่ไม่มีการ กำ�หนดเส้นทาง พื้นที่ หรือกำ�หนดวัน เวลา ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และ ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการจะเป็นผู้กำ�หนด เช่น การท่องเที่ยว เพื่อเฝ้าดูนก การสำ�รวจถ้ำ� การศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา เป็นต้น ส่วนใหญ่ ของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการในรูปแบบพิเศษนี้มักจะเป็นพวกนักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ฯ ซึ่งมีจำ�นวนไม่มากเหมือนกลุ่มแรก กิจกรรมและการบริการของทัวร์รูปแบบพิเศษนี้ นอกเหนือจะจัดให้ตามความ ประสงค์ของนักท่องเที่ยวแล้ว ผู้จัดอาจจะเพิ่มกิจกรรมและการบริการอย่างเดียวกัน กับรูปแบบแรกพ่วงเข้าไปด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความตื่นเต้น เพลิดเพลิน ไปในตัวเป็นการเพิม่ รสชาติอกี อย่างหนึง่ สำ�หรับราคาค่าบริการของทัวร์พเิ ศษนีค้ อ่ นข้าง จะสูงกว่ารูปแบบแรก เพราะต้องจัดเตรียมอย่างดีและต้องใช้บุคลากรหรือมัคคุเทศก์ที่ มีความรู้ความชำ�นาญเฉพาะด้านจริงๆ
44
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การจัดทัวร์ป่า การจัดทัวร์ป่าที่มีคุณภาพและสมบูรณ์นั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการและ ทำ�ธุรกิจทัวร์ปา่ จะต้องมีความรูค้ วามเข้าใจในเรือ่ งของทัวร์ปา่ เป็นอย่างดี โดยต้องคำ�นึง ถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายๆ ด้าน ดังนี้ 1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องทัวร์ป่า ได้แก่ - ความรู้ทั่วไปในสถานที่ตั้ง สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ ภูมิอากาศ เส้นทาง - ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ชีวติ ความเป็นอยูข่ องชุมชนในท้องถิน่ - อันตรายในป่า การรักษาความปลอดภัยและการการป้องกันอันตราย - กฎหมายและหน่วยงานหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการท่องเที่ยว ตำ�รวจท่องเทีย่ ว กรมอุทยานสัตว์ปา่ และพันธุพ์ ชื กรมป่าไม้ ตำ�รวจตระเวนชายแดน ฯลฯ - การตลาด พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว - การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวทัวร์ป่า 2. บุคลากร จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำ�นาญและมีความเข้าใจในเรื่องทัวร์ป่า ไม่มี บุคลากรใดที่จะทำ�ทัวร์ป่าได้ดีเท่าบุคคลากรในท้องถิ่น - เจ้าของ ผู้จัดการบริษัท มิใช่เพียงแต่จะมีเงินทุนเพียงอย่างเดียว จะต้องมี ความรู้เกี่ยวกับทัวร์ป่าด้วย - มัคคุเทศก์ จะต้องมีความรู้ มีความชำ�นาญในพื้นที่มีบทบาทหน้าที่ ความ รับผิดชอบ มีจรรยาบรรณของการเป็นมัคคุเทศก์ - คนแบกของ(ลูกหาบ) จะต้องซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ - คนขับรถ จะต้องมีความชำ�นาญในการขับขี่ มีความรู้เรื่องเครื่องยนต์ และ รู้จักเส้นทางและสภาพภูมิประเทศเป็นอย่างดี - คนขับเรือ หรือคนถ่อแพ ต้องมีความชำ�นาญ รู้จักสายน้ำ�และการควบคุม พาหนะ - ควาญช้าง เป็นผู้มีความชำ�นาญเรื่องช้าง มีความสามารถในการขับขี่หรือ ควบคุมช้างได้จริงๆ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
45
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
- พนักงานหรือประชาสัมพันธ์ของบริษัทจะต้องมีข้อมูลรายละเอียดของ เส้นทาง กิจกรรม และสามารถอธิบายให้นักท่องเที่ยวที่มาติดต่อได้ถูกต้องตามความ เป็นจริง 3. ทุนทรัพย์และอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำ�ทัวร์ป่า ได้แก่ค่าใช้จ่าย - เพื่อการจดทะเบียน จัดตั้งบริษัท ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำ�เที่ยวและ มัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 และกฎกระทรวงว่าด้วยค่าธรรมเนียมสำ�หรับธุรกิจนำ�เที่ยวและ มัคคุเทศก์ - ค่ายานพาหนะ เช่น รถยนต์ เรือ แพ ช้าง ฯลฯ - ค่าอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการเดินป่า เช่น เป้ ถุงนอน กระติกน้ำ� ชูชีพ ฯลฯ - ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดำ�เนินงาน ขั้นตอนในการจัดน�ำเที่ยวแบบทัวร์ป่า การจัดนำ�เที่ยวแบบทัวร์ป่า ควรจะดำ�เนินตามขั้นตอน ดังนี้ 1. การวางแผน - กำ � หนดสถานที่ ห รื อ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว โดยพิ จ ารณาถึ ง วั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง การเดิ น ทาง ทรั พ ยากรธรรมชาติ เ กี่ ย วกั บ การท่ อ งเที่ ย วทั ว ร์ ป่ า อั น ตรายและ ความปลอดภัยและสิ่งอำ�นวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ - กำ�หนดระยะวันเดินทาง - กำ�หนดจำ�นวนคน - กำ�หนดบุคลากรผู้ทำ�งาน - กำ � หนดค่ า ใช้ จ่ า ยได้ แ ก่ ค่ า พาหนะ อาหาร ที่ พั ก บุ ค ลากร ค่ า ประกั น เดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้วมาคิดเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายรายหัว 2. การจัดโปรแกรมหรือกำ�หนดการเดินทาง - ศึกษารายละเอียดของแหล่งท่องเทีย่ วต่างๆ ทีบ่ รรจุเข้าในโปรแกรมเดินทาง - ศึกษาระยะทาง สภาพของเส้นทางระหว่างแหล่งท่องเที่ยวจุดต่างๆ
46
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
- กำ�หนดเส้นทาง เวลาในการเดินทาง เวลาที่จะแวะชมสถานที่ต่างๆ สถานที่ พักค้างคืน - กำ � หนดพาหนะที่ ใช้ ป ระกอบในการเดิ น ทางแต่ ล ะเส้ น ทางที่ บ รรจุ ไว้ ใ น โปรแกรมการเดินทาง - กำ�หนดราคาค่าบริการของการนำ�เที่ยวแต่ละโปรแกรม 3. การติดต่อหน่วยงานหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและขอความร่วมมือ - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำ�นักอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ - กรมศิลปากร - ตำ�รวจท่องเที่ยว, ต.ช.ด., ตำ�รวจภูธร - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย - กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าเผ่าต่างๆ - บริษัทประกันภัย - บริษัทหรือเจ้าของยานพาหนะ ช้าง ม้า เรือ แพ หรือพาหนะในการเดินทาง รูปแบบอื่น - เจ้าของสถานที่พักอาศัย หรือโฮมสเตย์ 4. การจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องมือ เอกสารประกอบการนำ�เที่ยว - อุปกรณ์ที่จำ�เป็น เช่น เป้ กระติกน้ำ� ถุงนอน ชูชีพ เต็นท์ - อุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำ�ครัว - อุปกรณ์การให้แสงสว่างเช่น ไฟฉาย ตะเกียง หรือเทียนไข - เวชภัณฑ์ และเซรุ่ม - แบบพิมพ์และเอกสารข้อมูลต่างๆ ในการใช้ประกอบการติดต่อกับหน่วยงาน ราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
47
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ ( E-tourism) เนื่องจากนักท่องเที่ยวเดินป่าส่วนใหญ่คือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พฤติกรรม ของนักท่องเที่ยวสมัยใหม่มีการหาข้อมูลและซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น อย่างมาก ดังนั้นการติดต่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวที่อยู่ห่างไกล อย่างรวดเร็วและ ประหยัดค่าใช้จ่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์จึงมีความสำ�คัญมากขึ้นเรื่อยๆ ตลาดออนไลน์ มีชื่อเรียกเป็นทางการว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-commerce) ซึ่งหมายถึง การทำ�ธุรกรรมผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพของ องค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจเช่นทำ �เลที่ตั้ง อาคารประกอบ การ รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำ�สินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ลดข้อจำ�กัดของระยะทาง และเวลาลงได้ ในแต่ละช่วงเวลานักท่องเที่ยวต้องการสารสนเทศเพื่อการเดินทางแตกต่างกัน คือ นักท่องเที่ยวค้นหาสารสนเทศก่อนเดินทางเพื่อช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผน การเดินทาง เมื่อเดินทางถึงจุดหมายปลายทางต้องการสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาที่พบ ในระหว่างการเดินทาง หรือค้นหาสถานที่ สิ่งที่ดึงดูดความสนใจ หลังกลับจากการ เดินทางนักท่องเที่ยวต้องการบอกเล่าประสบการณ์ ให้ข้อมูล ป้อนกลับ (Feedback) ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียน ดังนั้น การออกแบบเว็บไซต์ที่ประสบความสำ�เร็จคือ การตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าทุกระยะ อุตสาหกรรม ท่ อ งเที่ ย วเป็ น อุ ต สาหกรรมที่ มี ก ารแข่ ง ขั น สู ง มาก เมื่ อ องค์ ก ร หน่ ว ยงานต่ า งๆ ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการจัดจำ�หน่าย การประชาสัมพันธ์ การแข่งขันด้านการ สร้างความสมบูรณ์ของการนำ�เสนอสารสนเทศ และการออกแบบให้เว็บไซต์มรี ปู ลักษณ์ (Appearance) สวยงามจึงเป็นสิ่งสำ�คัญที่จะนำ�มาสู่การขาย เพราะสินค้าบริการท่อง เที่ยวเป็นสินค้าที่อาศัยสารสนเทศเป็นองค์ประกอบหลัก นอกเหนือจากตัวสินค้าและ การให้บริการทางกายภาพ การเปรียบเทียบรูปลักษณ์ของเว็บไซต์ (Appearance)
48
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
สามารถแบ่งออกได้หลายมิต ิ เช่น ความสวยงาม ความสมบูรณ์ของเนือ้ หาสารสนเทศ ความทันสมัย การเข้าถึงและใช้งานง่ายเป็นต้น เอกศักดิ์ ปรีชา (http://www.u-catalog.com/catalog.php?idp=99) กล่าวว่า วิธีการทำ�การตลาดบนโลกออนไลน์ เป็นสิ่งใหม่และท้าทายนักการตลาด การใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือทางการตลาดสามารถช่วยให้ผู้ขายประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังช่วยการขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ผู้ขายจะต้อง ศึกษาเรื่องของสินค้า ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนกำ�หนดกลุ่มเป้าหมายให้ ชัดเจน เพื่อให้การจัดกิจกรรมทางการตลาดออนไลน์นั้นก่อให้เกิดความประหยัด และ มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่องทางการตลาดออนไลน์หรือ e-Marketing มีองค์ประกอบของ การตลาดออนไลน์ประกอบด้วย 6 P ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ผลิตภัณฑ์ (Product) ผู้ขายควรจะวิเคราะห์สินค้าให้มีรูปแบบ การใช้ประโยชน์ของสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และกลุ่มเป้าหมาย องค์ประกอบที่ 2 ราคา (Price) ผูข้ ายควรเน้นการตัง้ ราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพ ของสินค้า โดยราคาที่ตั้งนั้น ควรเป็นราคารวมต้นทุนค่าขนส่ง องค์ประกอบที่ 3 ช่องทางการจัดจำ�หน่าย (Place) ช่องทางการจัดจำ�หน่าย ทางอินเทอร์เน็ตอาจจะเทียบเคียงได้กับการมีเว็บไซต์ที่มีชื่อที่จดจำ �ง่าย ชื่อเว็บไซต์ อาจจะเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name) เช่น U-CATALOG.COM เป็นต้น ชือ่ โดเมนเนม จึงเปรียบเสมือนยี่ห้อสินค้า การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำ�และ นึกถึงได้ง่าย โดยอาจตั้งชื่อให้พ้องกับสินค้าหรือบริการนั้นๆ เป็นต้น องค์ประกอบที่ 4 การส่งเสริมการขาย (Promotion) เป็นสิ่งจำ�เป็นเช่นเดียว กับการค้าในช่องทางปกติ โดยรูปแบบมีตั้งแต่ การให้ส่วนลดพิเศษ การให้สินค้าแถม โดยอาจจะให้ลกู ค้ารับรูด้ ว้ ยการส่งเสริมการขาย ด้วยการประชาสัมพันธ์ผา่ นทางสือ่ ปกติ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ ให้ลูกค้าเข้ามาเลือกสินค้าที่เว็บไซต์ หรือ อาจจะโฆษณาอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า ป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์ (Banner Advertising) ซึ่งมีลักษณะคล้ายสื่อสิ่งพิมพ์ แต่จะแสดงบนเว็บไซต์อื่น โดยอาจจะส่งของแถม หรือ คูปองส่วนลดไปพร้อมกับสินค้า จะทำ�ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และกลับมาซื้อซ้ำ�
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
49
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
หรือบอกต่อเพื่อนฝูงให้เข้ามาใช้บริการร้านค้าออนไลน์ของผู้ขาย จนอาจเกิดเป็น การตลาดแบบปากต่อปาก อีกด้วย องค์ประกอบที่ 5 การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization) ระบบเว็บไซต์ ผูป้ ระกอบธุรกิจออนไลน์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการ แบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าทุกราย มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในการซื้อสินค้า รวมทั้งการเสนอขายสินค้าแบบต่างๆ ให้กับลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ ด้วยระบบ Telemarketing ได้ด้วย องค์ประกอบที่ 6 การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) ผู้ขายห้ามเผยแพร่ ข้อมูลต่างๆ ของลูกค้า เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่ และหมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น ส่วนวิธีการพัฒนาเว็บไซด์มี 3 วิธีคือ พัฒนาโดยคนในองค์กร (In-house) จ้างบริษทั หรือนักพัฒนาจากภายนอกตามความต้องการ (Outsource) และวิธใี ช้บริการ เว็บไซต์สำ�เร็จรูป (Template + CMS) ความสำ�คัญของการทำ�ตลาด ออนไลน์ (E-commerce Marketing) “บริษัทหรือองค์กรใดไม่มีเว็บไซต์ จะขาดโอกาสทางการตลาดมาก” คุณอาแป อามอ มัคคุเทศก์เดินป่าเจ้าของรางวัลกินรี ของททท. เป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำ�เร็จ ในการทำ�ตลาดท่องเที่ยวออนไลน์ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของตนเอง กับเพื่อนร่วมอาชีพ ไว้ดังนี้ จุดเริม่ ต้นของการตลาดออนไลน์ของอาแป คือ เมือ่ 10 กว่าปีกอ่ น ทำ�การหาตลาด โดยการแจกแผ่นพับไปเรื่อยๆ จนวันหนึง่ มีนักท่องเทีย่ วชาวอเมริกนั คนหนึง่ แนะนำ�ให้ ทำ�การตลาดออนไลน์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพราะข้อมูลต่างๆ ทีล่ งในเว็บไซต์จะช่วย หาลูกค้าให้อาแปตลอด 24 ชัว่ โมงโดยทีอ่ าแปไม่ตอ้ งไปตระเวนแจกแผ่นพับเลย ชาวต่างชาติ คนนัน้ นัน้ ได้ชว่ ยสมัคร e-mail ให้และเริม่ มีกลุม่ ลูกค้าให้ความสนใจมากขึน้ อาแปเห็นว่า เข้าท่าดีกเ็ ลยเรียนการเขียนเว็บไซต์ และมีเว็บซึง่ เป็นทีร่ จู้ กั กันดี นัน่ คือ www.akhahill.com ซึง่ เกิดขึน้ จากฝีมอื ของอาแปเองและใช้ตดิ ต่อธุรกิจมาจนกระทัง่ ทุกวันนี้
50
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ผลพวงของการทำ � เว็ บ ไซต์ อ อนไลน์ ทำ � ให้ บ ริ ษั ท จากประเทศอั ง กฤษติ ด ต่ อ พานักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเข้ามาทำ�กิจกรรมที่อาข่าฮิลล์ปีละสี่ร้อยกว่าคน สร้างรายได้ให้ประเทศไทยปีละร้อยกว่าล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เกิดขึ้นจาก การทำ�ตลาดออนไลน์ ข้อดีของออนไลน์ หาลูกค้าได้ตลอด 24ชั่วโมงและทั่วโลก ข้อเสีย อาแปมองว่าไม่มีข้อเสีย แต่อาจมีบ้างที่เข้าไม่ถึงลูกค้า อาจให้ ข้ อ มู ล ที่ ค ลาดเคลื่ อ นจากความเป็ น จริ ง ไปบ้ า ง เทคนิคของอาแปคือ การเก็บเงินมัดจำ�ก่อนรวมถึงการ จ่ายเงินออนไลน์ เห็นว่าหากมีการจ่ายเงินผ่านระบบ ออนไลน์ จะถูกหักเข้าระบบของธนาคารร้อยละ 1.5 ซึง่ ปกติ จะต้องเก็บร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด นอกจากนี้อาแป ยังเป็นเว็บมาสเตอร์ ส่งเสริมให้มีการซื้อขายห้องพักและทัวร์ ผ่านระบบของตนและหักเปอร์เซ็นต์ ซึง่ ตอนนีม้ อี ยูส่ องร้อยกว่าเว็บไซด์ และมีโครงการ จะขยายไปสู่เชียงใหม่, พะเยา และขยายไปให้ทั่ว 77จังหวัด มัคคุเทศก์ทัวร์ป่า (TREKKING GUIDE) คำ�ว่า “มัคคุเทศก์” หมายถึง “ผูน้ �ำ ทาง” หรือ “ผูช้ ที้ าง” ซึง่ ตรงกับคำ�ว่า TOUR GUIDE หรือที่เรียกย่อๆ ว่า GUIDE มัคคุเทศก์ เป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญยิ่งของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะได้ รับความรู้ ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และมีความประทับใจในระหว่างการเดินทาง นั้นขึ้นอยู่กับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ มารยาทและจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ ถึงแม้วา่ รายการนำ�เทีย่ วแต่ละรายการจะมีการจัดเตรียมหรือวางแผนไว้แล้วอย่างดีแล้ว ก็ตาม แต่ถา้ มัคคุเทศก์ทนี่ ำ�เทีย่ วไม่ได้มบี ทบาท มีความรับผิดชอบและประพฤติในสิง่ ที่ ไม่ถกู ต้องแล้ว จะทำ�ให้นกั ท่องเทีย่ วต้องผิดหวัง ไม่ความประทับใจ เกิดความเบือ่ หน่าย ซึ่งจะเกิดผลเสียหายอื่นๆ ตามมาภายหลัง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
51
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ทัวร์ป่า เป็นทัวร์ในรูปแบบของการผจญภัย ที่มีแนวโน้มหรืออัตราการเสี่ยงภัย สูงกว่าทัวร์ธรรมดาทั่วไป ดังนั้น มัคคุเทศก์ทัวร์ป่านอกจากจะมีบทบาทเหมือนกับ มัคคุเทศก์ทั่วไปแล้ว ยังจะต้องเพิ่มความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง การดูแล เอาใจ ใส่ในตัวนักท่องเที่ยวมากยิ่งกว่าทัวร์รูปแบบอื่น เพราะการเดินทางในป่านั้น อันตราย อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ถ้าขาดความรอบคอบและระมัดระวัง ความสำ�คัญของการประพฤติปฏิบัติตามหน้าที่และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ อาจจะกล่าวโดยกำ�หนดหัวข้อตามลำ�ดับ คือ บทบาทของมัคคุเทศก์ทวั ร์ปา่ หน้าทีข่ อง มัคคุเทศก์ทัวร์ป่า ความรับผิดชอบของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า การปฏิบัติของมัคคุเทศก์ทัวร์ ป่า มรรยาทของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า 1. บทบาทของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า “มีการเปรียบเปรยกันว่า การเป็นมัคคุเทศก์ทวั ร์ปา่ หน้าทีค่ วามรับผิดชอบพอๆ กับ การเป็ น กั ป ตั น ขั บ เครื่ อ งบิ น ” กล่ า วคื อ การเป็ น มั ค คุ เ ทศก์ ทั ว ร์ ป่ า นอกจากจะใช้ ความชำ�นาญต่อการทำ�งานอย่างมากแล้วจะต้องเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบเป็นเลิศ ต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทกุ สถานการณ์เพราะการนำ�นักท่องเทีย่ วเข้าไป ในพื้นที่ในป่าลึกห่างไกลจากการติดต่อสื่อสาร อีกทั้งการเดินทางยากลำ�บาก การเกิด เหตุฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ใดๆ ก็ตามมัคคุเทศก์จะต้องแก้วิกฤติปัญหานั้นให้ทันท่วงที ด้วยสติปญ ั ญาของตนเองและสามารถนำ�กลุม่ นักท่องเทีย่ วเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ บทบาทของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่าที่ต้องแสดงออกในการนำ�เที่ยว คล้ายคลึงกับบทบาท ของมัคคุเทศก์ทั่วไป จะผิดแผกแตกต่างกันอยู่ตรงที่ว่าสถานที่ที่จะต้องแสดงบทบาท ของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่าส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่ในป่าในเขา บทบาทที่จะต้องแสดง คือ 1.1 บทบาทการเป็นผู้นำ� เนือ่ งจากการเดินทางท่องเทีย่ วทัวร์ปา่ เป็นการเดินทางทีค่ อ่ นข้างจะเสีย่ งอันตราย รอบข้างจากสัตว์ปา่ จากธรรมชาติ เช่น การตกหน้าผา อันตรายจากการล่องแพ การเดินทาง รุกล้ำ�เข้าไปในเขตพื้นที่รอยต่อชายแดน ดังนั้นการเดินทางทัวร์ป่าจำ�เป็นต้องมีผ้นู ำ�ที่มี ความรู้ ความชำ�นาญต่อเส้นทางและสามารถสือ่ สารกับนักท่องเทีย่ วได้เป็นอย่างดีและ นักท่องเทีย่ วจะต้องให้การเชือ่ ถือรับฟังและปฏิบตั ติ ามคำ�แนะนำ�ในช่วงระหว่างการเดินทาง
52
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
1.2 บทบาทการเป็นครู การท่องเที่ยวใดๆ ก็ตามนอกเหนือจากที่นักท่องเที่ยวได้สนุกสนานเพลิดเพลิน ต่อสถานที่ที่ได้พบเห็นตามเส้นทางในโปรแกรม ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว อย่างละเอียดทั้งในเรื่องของธรรมชาติ พืชพรรณ เรื่องของสัตว์ป่า วัฒนธรรมชาวเขา มัคคุเทศก์จะต้องมีขอ้ มูลทีถ่ กู ต้องและชัดเจนอีกทัง้ จะต้องสามารถตอบข้อซักถามของ นักท่องเทีย่ วได้เป็นอย่างดี ดังนัน้ ผูท้ เี่ ป็นมัคคุเทศก์จะต้องมีความรูใ้ นด้านวิชาการทัว่ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อหาสาระของพื้นที่หรือแหล่งท่องเที่ยวที่ตนเองนำ�ไปเที่ยว มีความรูค้ วามเข้าใจในด้านภาษาต่างประเทศ สามารถทีจ่ ะอธิบายถ่ายทอดความรูห้ รือ ตอบข้อซักถามต่างๆ ของนักท่องเที่ยวในกรณีที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 1.3 บทบาทของนักการทูต เป็นที่ทราบกันดีว่า การเป็นมัคคุเทศก์ทัวร์ป่านั้นมัคคุเทศก์จะมีความใกล้ชิด คลุกคลีกับกลุ่มนักท่องเที่ยวของตนเป็นพิเศษ อันเนื่องมาจากโปรแกรมที่ต้องไปบุก ป่าฝ่าดง นอนค้างคืนในหมู่บ้านชาวเขา มีกิจกรรมด้วยกันตลอดช่วงเวลาเดินทาง นักท่องเที่ยวทัวร์ป่ามีการรวมกลุ่มกันเดินทางอย่างน้อย 6 คนขึ้นไป บางกลุ่มมากกว่า 10 คน กรุ๊ปทัวร์บางกลุ่มมีนักท่องเที่ยวมาจากต่างสถานที่ ต่างชาติ ต่างภาษาและ ต่างวัฒนธรรม เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้มาอยู่ร่วมกันบางครั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจาก มาจากความต้ อ งการที่ แ ตกต่ า งกั น มั ค คุ เ ทศก์ จ ะต้ อ งใช้ ห ลั ก การทู ต ในการดู แ ล นักท่องเที่ยวของตน จะต้องพยายามสร้างความเข้าใจที่ดีในระหว่างกลุ่ม ใช้หลักการ ประนีประนอม จัดกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องความแตกต่าง ระหว่างเชือ้ ชาติ ศาสนา ภาษาและการเมืองระหว่างประเทศ ไม่พาดพิงดูถกู เหยียดหยาม หรือใช้คำ�พูดที่ไม่เหมาะสมอันจะเป็นชนวนไปสู่ความขัดแย้ง ดังนั้นมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างภาพพจน์อันดีงามให้นักท่องเที่ยวได้เข้าใจถึง สถาบันต่างๆ ของชาติ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น แต่ไม่ควรโอ้อวดยกย่องเกินความเป็นจริง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
53
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
1.4 บทบาทนักแสดง ในการเดินทางทัวร์ป่าทุกครั้งสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือกิจกรรมการสร้างความบันเทิง ระหว่างการเดินทาง ทั้งนี้เนื่องมาจากการท่องเที่ยวทัวร์ป่ามีเวลาที่จะจัดกิจกรรม ถ้าไม่มีการจัดกิจกรรมเสริมช่วงเวลาว่างทำ�ให้นักท่องเที่ยวเกิดการเบื่อขาดความสนใจ ในโปรแกรม ดังนัน้ มัคคุเทศก์จะต้องจัดหากิจกรรมมาสร้างความบันเทิงแก่นกั ท่องเทีย่ ว เช่น มีการละเล่น มีกิจกรรมร่วมกับชาวเขา การเล่นเกมแข่งขันต่างๆ การร้องเพลง เล่ า เรื่ อ งนิ ท าน เรื่ อ งสนุ ก ขำ � ขั น (ที่ ไ ม่ ห ยาบโลน) มั ค คุ เ ทศก์ จ ะต้ อ งเป็ น ผู้ นำ � ใน กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งจำ�เป็นที่มัคคุเทศก์ทัวร์ป่าจะต้องขวนขวายเรียนรู้ และมีความสามารถในเรือ่ งนันทนาการเหล่านีด้ ว้ ย ทัง้ นีก้ ารจัดกิจกรรมใดๆ จะต้องอยูใ่ น ขอบเขตบนพื้นฐานของความพอดีและถูกต้อง 1.5 บทบาทของนักจิตวิทยา การเป็นมัคคุเทศก์ก็จะต้องเป็นผู้ที่มีความละเอียดอ่อนรู้จักการสังเกต จะต้อง พยายามเรียนรู้ความต้องการของนักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ทัวร์ป่าจะต้องรู้จักสังเกต ปฏิกิริยาและการแสดงออกซึ่งอารมณ์ของนักท่องเที่ยว รู้ว่านักท่องเที่ยวมีความสนใจ หรือมีความต้องการในสิ่งไหน มากน้อยเพียงใด มีความพร้อมหรือพอใจในการรับรู้ ในเรื่องราวหรือกิจกรรมที่มัคคุเทศก์เสนอให้หรือไม่ หรือสนใจสิ่งอื่นๆ มากกว่าสิ่งที่ มัคคุเทศก์นำ�เสนอก็ต้องปรับปรุงทันที 2. หน้าที่ของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า 2.1 หน้าที่การให้บริการ การเป็นมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า จะต้องมีความพร้อมใน เรือ่ งการให้บริการแก่นกั ท่องเทีย่ วคอยดูแลเอาใจใส่ให้ค�ำ แนะนำ�แก่นกั ท่องเทีย่ วตัง้ แต่ เริม่ ออกเดินทาง ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งยานพาหนะการเดินทาง การจัดเตรียมอาหารเครือ่ งดืม่ การนำ�นักท่องเที่ยวเข้าแวะชมสถานที่ต่างๆ จัดสถานที่พักแรม มัคคุเทศก์จะต้อง รั บ ผิ ด ชอบต่ อ หน้ า ที่ ที่ ตั ว เองได้ รั บ มอบหมายและสร้ า งความประทั บ ใจแก่ ลู ก ค้ า ต่อการให้บริการที่ครบถ้วน
54
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
2.2 หน้าที่ในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว ในระหว่างการจัด กิจกรรมการเดินทางมัคคุเทศก์จะต้องอธิบายให้ความรู้รายละเอียดต่อสถานที่ต่างๆ ที่พานักท่องเที่ยวและชม โดยจะต้องมีการให้คำ�อธิบายเป็นระยะทุกอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับสถานที่ จะต้องทำ�ความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวให้ชัดเจนในเรื่องการ ปฏิ บั ติ ตั ว ในระหว่ า งเดิ น ทางรวมทั้ ง ระหว่ า งการพั ก ค้ า งแรมที่ ห มู่ บ้ า นชาวเขา นักท่องเที่ยวจะต้องรับทราบถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ความเชื่อของชนเผ่าได้อย่าง เข้าใจก่อนทั้งนี้เพื่อการปฏิบัติตนที่ถูกต้องของนักท่องเที่ยว การไปพักในหมู่บ้าน ควรบอกให้นักท่องเที่ยวทำ�ตัวให้เหมือนชาวบ้าน ไม่แสดงอาการรังเกียจถ้าเห็นว่า บ้ า นสกปรก ชาวเขาเผ่ า มู เซอร์ แ ละเผ่ า อาข่ า ห้ า มหญิ ง -ชายนอนด้ ว ยกั น ในบ้ า น หากชาวเขาให้ยืมชุดเครื่องแต่งกาย หรือแต่งชุดมาให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปควรให้ทิป ชาวบ้านบ้างเป็นค่าตอบแทนน้ำ�ใจ 2.3 หน้าทีใ่ นการป้องกันดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ ของ นักท่องเทีย่ ว ในการทัวร์ปา่ มัคคุเทศก์จะต้องคำ�นึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เนือ่ งจาก โปรแกรมการเดินทางท่องเที่ยวในป่าบางส่วนบางพื้นที่จะต้องมีความระมัดระวัง เป็นพิเศษเพราะกิจกรรมทัวร์ป่าบางกิจกรรมมีความเสี่ยง เช่นการล่องแก่ง ล่องแพ การเดินในป่าทึบที่ต้องระมัดระวังเรื่องสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ป่า มัคคุเทศก์จะต้องคอย ดูแลควบคุมให้ค�ำ แนะนำ�แก่นักท่องเที่ยวตลอดเส้นทางการเดินทาง ทั้งนี้เพื่อเป็นการ ป้องกันอันตรายใดๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว 2.4 หน้าที่ในการพิทักษ์รักษาแหล่งท่องเที่ยวให้คงอยู่ในสภาพที่ยั่งยืน ในการทำ�กิจกรรมโปรแกรมทัวร์ป่า ภูเขา ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ได้ถูกนำ�มาเป็นสินค้า เป็นสื่อล่อและเป็นส่วนประกอบสำ�คัญในการทำ�ธุรกิจท่องเที่ยว ในพื้นที่ใดๆ ก็ตาม ถ้ากลุ่มผู้ท่องเที่ยวขาดจิตสำ�นึกและให้ความสำ�คัญดูแลพื้นที่นั้นๆ น้อย จะทำ�ให้ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเหล่ า นั้ น เกิ ด สภาพเสื่ อ มโทรมเกิ ด ความเสี ย หายเสี ย ความงดงาม ทางธรรมชาติไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหน้าที่ของมัคคุเทศก์จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี แก่นักท่องเที่ยวในการปฏิบัติตัวท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่อย่างมีความระมัดระวังและ มีความรับผิดชอบช่วยป้องกันมิให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำ�ลาย โดยมัคคุเทศก์
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
55
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
จะต้องมีความกระตือรือร้นเป็นห่วงเป็นใยต่อแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงใจ จะต้อง ปฏิบตั ติ วั เป็นแบบอย่าง เช่น ไม่ทงิ้ ขยะเรีย่ ราด ไม่หกั โค่นหรือทำ�ลายต้นไม้ ไม่หยิบฉวย เอาทรั พ ยากรธรรมชาติ จ ากแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วนำ � ติ ด ตั ว มา ไม่ ดู ถู ก เหยี ย ดหยาม วิถีชีวิตการมีวัฒนธรรมความเชื่อของคนในท้องถิ่น เป็นต้น 3. ความรับผิดชอบของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า ความรับผิดชอบของมัคคุเทศก์ได้แก่ ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย การตรงต่อเวลา นำ�เทีย่ วให้ครบตามรายการนำ�เทีย่ ว พยายามทำ�ให้นกั ท่องเทีย่ วพอใจ เกิดความประทับใจ มีความซื่อสัตย์ รู้จักเสียสละแบ่งปันน้ำ�ใจ ความรู้ประสบการณ์ ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เรือ่ งราวเสียหายอุบตั เิ หตุ หรือการพลัดหลงทาง ของนักท่องเทีย่ ว ดูแลและป้องกันความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ ของนักท่องเทีย่ ว ดูแลและระมัดระวังนักท่องเที่ยวที่มักลืมสิ่งของ และนำ�สิ่งของที่นักท่องเที่ยวลืมส่งคืน กลับให้เจ้าของ แนะนำ�ตักเตือนหรือห้ามปรามนักท่องเทีย่ วในกรณีทนี่ กั ท่องเทีย่ วกระทำ� ให้สิ่งที่ไม่บังควร ซึ่งขัดต่อกฎหมาย ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาติและ/หรือความ เชื่อของชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการไม่กระทำ�การใดๆ ให้เป็นที่เสื่อมเสีย หรือเสียหาย ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมที่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า 4. การปฏิบัติของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า ข้อควรปฏิบตั ขิ องมัคคุเทศก์ในการนำ�เทีย่ วแบ่งออกเป็น ก่อนการออกปฏิบตั งิ าน ระหว่างปฏิบัติงาน หลังการปฏิบัติงานคือ 4.1 ก่อนการปฏิบัติงาน มัคคุเทศก์ทัวร์ป่าจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการออกปฏิบัติงานดังนี้ 1. จะต้องศึกษางานที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ รายละเอียดโปรแกรมกิจกรรม เส้ น ทางที่ จ ะนำ � นั ก ท่ อ งเที่ ย วไปเดิ น ทางให้ เข้ า ใจอย่ า งถ่ อ งแท้ แ ละชั ด เจนก่ อ น การเดินทาง รายละเอียดของรายการนำ�เทีย่ ว วัน เวลาการเดินทาง จำ�นวนนักท่องเทีย่ ว รายชื่อ ประวัติ (เป็นใคร มาจากไหน จุดประสงค์ของการมาเที่ยว ศาสนา)
56
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
2. การวางแผนการทำ�งานและกำ�หนดงาน ได้แก่ - กำ�หนดสถานที่หรือแหล่งท่องเที่ยวตามรายการ - ศึกษารายละเอียดของสถานที่ ที่พักอาศัยและแหล่งท่องเที่ยว - กำ�หนดเส้นทาง วัน เวลา ที่ใช้ในการเดินทาง - ศึกษาสภาพเส้นทาง ระยะทาง - กำ�หนด ยานพาหนะ ที่จะต้องใช้ประกอบในรายการนำ�เที่ยว - กำ�หนดบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะประกอบรายการนำ �เที่ยว เช่น คนแบกของ คนรถ คนขับเรือ ถ่อแพ หรือควาญช้าง - มาตรการในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ นักท่องเที่ยว - งบประมาณค่าใช้จา่ ยต่างๆ ในระหว่างเดินทาง ค่าพาหนะ อาหาร เครือ่ งดืม่ ค่าที่พักอาศัย ค่าบุคลากร ค่าประกันอุบัติเหตุและค่าใช้จ่ายอื่นๆ - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องติดต่อขอความร่วมมือ เช่น ตำ�รวจท่องเที่ยว กองอุทยาน กรมป่าไม้ บริษัทประกันภัย เป็นต้น 3. จัดเตรียมอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ทีจ่ ะใช้สำ�หรับการเดินทางให้ครบถ้วน เช่น ถุงนอน อุปกรณ์ชูชีพ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เสื้อกันฝน เป็นต้น 4. จัดเตรียมยานพาหนะไว้ล่วงหน้าตรวจตราดูความพร้อมความเรียบร้อยของ ยานพาหนะที่จะใช้เดินทางว่าสะอาดมีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ 5. จัดการนัดพบ (Meeting) กับนักท่องเที่ยวในแต่ละรายก่อนจะออกเดินทาง อย่างน้อย 1 วัน (ถ้าเป็นไปได้) เพื่อการรู้จักและแนะนำ�ตัว ทำ�ความเข้าใจในเรื่อง โปรแกรมและแนะนำ�การปฏิบตั ติ วั ทีถ่ กู ต้องแก่นกั ท่องเทีย่ วก่อนการเดินทาง โดยชีแ้ จง รายละเอียดของโปรแกรมนำ�เทีย่ ว สถานทีก่ จิ กรรมต่างๆ ตลอดจนแนะนำ�วิธปี ฏิบตั ติ น ของนักท่องเที่ยวในระหว่างการเดินทางในสถานที่จะเข้าไปเที่ยวหรือพักอาศัยให้กับ นักท่องเที่ยวได้ทราบ ได้ซักถามข้อข้องใจ และทำ�ความเข้าใจโดยละเอียด แนะนำ�ให้ นักท่องเทีย่ วได้จดั เตรียม เครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ทจี่ �ำ เป็นในการเดินทาง สอบถามรวบรวม ข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการทำ�รายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
57
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ตำ�รวจท่องเที่ยว บริษัทประกันภัย เป็นต้น 6. จัดเตรียมอาหารแห้ง อาหารสด เพือ่ ทีจ่ ะนำ�ไปให้บริการแก่นกั ท่องเทีย่ วโดย คำ�นวณให้เพียงพอกับจำ�นวนของนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่ม 7. จัดรวบรวมรายชื่อนักท่องเที่ยวให้ตรงกับพาสปอร์ตของผู้เดินทางท่องเที่ยว บันทึกข้อมูลกรอกลงในแบบฟอร์มการลงทะเบียนเพื่อเตรียมที่จะนำ�ไปลงทะเบียนที่ ตำ�รวจท่องเที่ยว ในแต่ละพื้นที่ที่กำ�หนด 4.2 ระหว่างการปฏิบัติงาน ระหว่างการเดินทาง มัคคุเทศก์ทัวร์ป่าจะต้องทำ�หน้าที่ ให้ความรู้ต่างๆ ตลอด จนตอบข้อซักถามให้แก่นักท่องเที่ยว ให้บริการความสะดวกสบายและดูแลความ ปลอดภัย และ สร้างกิจกรรมและความบันเทิง 1. มคั คุเทศก์จะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนการออกเดินทางอย่างน้อย 30 นาที ตรวจความเรี ย บร้ อ ยของอุ ป กรณ์ ทุ ก อย่ า งที่ จ ะนำ� ไปให้ บ ริ ก าร เช็ ค สิ่ ง ของทุ ก ชิ้ น ก่อนออกเดินทาง 2. เดินทางไปรับนักท่องเที่ยวตามจุดที่ได้รับมอบหมายให้ตรงเวลา 3. เมื่อรับนักท่องเที่ยวเสร็จแล้วตรวจดูว่ารับนักท่องเที่ยวครบถ้วนตรงตาม จำ�นวนและรายชื่อที่ได้รับมอบหมายมาหรือไม่ 4. เมือ่ ตรวจดูรายชือ่ จำ�นวนนักท่องเทีย่ วว่าครบถ้วนถูกต้องแล้วให้กล่าวต้อนรับ นักท่องเที่ยวพร้อมทั้งอธิบายทบทวนโปรแกรมการเดินทางให้นักท่องเที่ยวทุกคน ได้รับทราบพร้อมกันอีกครั้ง 5. นำ�นักท่องเทีย่ วไปลงทะเบียนยังจุดลงทะเบียนการเดินทางทีส่ �ำ นักงานตำ�รวจ ท่องเที่ยว 6. ในระหว่างการเดินทางคอยดูแลเอาใจใส่นกั ท่องเทีย่ วทุกคนอย่างเสมอภาคกัน เมือ่ นักท่องเทีย่ วคนใดมีอาการเจ็บป่วย เช่น อาการเมารถ หรือประสบอุบตั เิ หตุระหว่าง การเดินทางมัคคุเทศก์จะต้องใช้วจิ ารณญาณในการแก้ไขปัญหา ถ้านักท่องเทีย่ วมีอาการ บาดเจ็บหรือป่วยหนักต้องช่วยเหลือทันที
58
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
7. เมื่อเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตามในระหว่างเดินทางมัคคุเทศก์จะต้องชี้แจงให้ นักท่องเที่ยวได้ทราบได้เข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นดังนี้เพื่อป้องกันการหวาดกลัวสับสน และ การเข้าใจผิดของนักท่องเทีย่ วอย่างเช่น กรณีการตัง้ ด่านตรวจค้นจากเจ้าหน้าทีต่ ำ�รวจ เป็นต้น 8. ในการทำ�กิจกรรมในระหว่างทัวร์ เช่น การขี่ช้าง ล่องแพ มัคคุเทศก์ จะต้อง อธิบายแนะนำ�การปฏิบตั ติ วั ทีถ่ กู วิธใี ห้กบั นักท่องเทีย่ ว เช่น ห้ามสูบบุหรีข่ ณะนัง่ อยูบ่ น หลังช้างเพราะสะเก็ดจากไฟบุหรีอ่ าจจะปลิวไปตกใส่ชา้ งทำ�ให้ชา้ งตกใจวิง่ หนีท�ำ ให้เกิด อันตรายแก่ผู้ขี่ช้าง แนะนำ�ให้สวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่โดยสารในแพไม้ไผ่ ห้ามลุกขึ้นยืน บนแพขณะที่แพแล่นผ่านแก่ง เป็นต้น 9. อธิ บ ายการปฏิ บั ติ ตั ว ที่ ถู ก ต้ อ งกั บ กาลเทศะแก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วในขณะที่ นักท่องเที่ยวอาศัยอยู่ในหมู่บ้านชาวเขาโดยมัคคุเทศก์เองจะต้องทำ�ตัวเป็นตัวอย่าง โดยให้ความเคารพและให้ความสำ�คัญแก่เจ้าของท้องถิน่ อีกทัง้ อธิบายให้นกั ท่องเทีย่ ว ได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ถูกต้อง 10. การทำ�อาหารบริการแก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์จะต้องคำ�นึงถึงเรื่องสุข พลานามัย ความสะอาดปลอดภัย รายการอาหารจะต้องให้เหมาะสมกับนักท่อง เที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากอาหารบางชนิดที่เป็นอันตรายเช่น เห็ดและผักบางชนิดในป่าควร หลีกเลี่ยงในการปรุงให้นักท่องเที่ยวได้รับประทาน เพราะอาจจะทำ�ให้นักท่องเที่ยว ป่วยจนถึงขั้นร้ายแรงถึงชีวิตได้ ภาชนะในการหุงอาหาร ใส่อาหาร เช่น ถ้วย ช้อน ชาม จะต้องสะอาดอยู่เสมอ 11. ให้เกียรติและเคารพต่อเจ้าของสถานทีแ่ ละคนในท้องถิน่ การนำ�นักท่องเทีย่ ว เดินทางขึ้นไปท่องเที่ยวตามโปรแกรมเดินป่า จะต้องมีโปรแกรมพักค้างแรมที่หมู่บ้าน ชาวเขา และส่วนใหญ่บา้ นพักจะพักอาศัยในบ้านเรือนของชาวเขาในลักษณะ Home Stay ดังนั้นมัคคุเทศก์จะต้องให้ความสำ�คัญและให้เกียรติต่อเจ้าของสถานที่ ทำ�ตัวเป็น ตัวอย่างทีแ่ ก่นกั ท่องเทีย่ วโดยการเป็นแขกทีด่ ี พร้อมทัง้ อธิบายให้นกั ท่องเทีย่ วได้เข้าใจ ถึงวิถีชีวิตที่ถูกต้องให้แก่นักท่องเที่ยวเพื่อเป็นการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมในระหว่าง พักค้างคืน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
59
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
4.3 หลังการปฏิบัติงาน ควรจะทำ�การซักถาม ประเมินผลของการเดินทางจากนักท่องเทีย่ วเพือ่ เป็นข้อมูล ในการที่จะปรับปรุงรายการและการทำ�งานครั้งต่อไป 1. เมือ่ เสร็จจากการปฏิบตั งิ านกล่าวเตือนนักท่องเทีย่ วเมือ่ ลงจากรถให้ตรวจตรา สิ่งของสัมภาระของตัวเองให้ครบถ้วน 2. ส่งแบบสอบถาม (Questionnaire) ให้นักท่องเที่ยวได้แสดงความคิดเห็นและ ช่วยประเมินผลการให้บริการจากนักท่องเที่ยว (ในกรณีที่มีแบบสอบถาม) 3. ส่งนักท่องเที่ยวกลับที่พักให้ถึงจุดหมายปลายทางทุกคน เพื่อเป็นการสร้าง ความต่อเนือ่ งและสัมพันธ์อนั ดีระหว่างนักท่องเทีย่ วกับมัคคุเทศก์ทวั ร์ปา่ ขอบคุณและ มอบของที่ระลึกเล็กๆน้อยๆ เพื่อสร้างความทรงจำ�ที่ดี (ถ้ามี) 4. เมือ่ นักท่องเทีย่ วลงจากรถให้ตรวจดูสงิ่ ของทีอ่ าจจะตกค้างบนรถถ้าหากพบว่า นักท่องเที่ยวลืมของไว้บนรถให้รีบแจ้งบริษัทเพื่อนำ�ส่งกลับคืนแก่นักท่องเที่ยวทันที 5. รายงานผลการปฏิบตั งิ านแก่ตน้ สังกัด ถ้ามีแบบสอบถามส่งแบบสอบถามไป ยังฝ่ายประเมินผลของทางบริษัท อุปกรณ์จำ�เป็นสำ�หรับการเดินป่า 1. เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่การ จัดเตรียมได้ เตรียมไปพอดี รองเท้าจะต้องใส่เท้าได้พอดี เพราะรองเท้ามีความสำ�คัญ ต่อการเดินป่ามาก 2. กระเป๋า/เป้เดินทางต้องมีขนาดกะทัดรัดแข็งแรง 3. ไฟฉายเป็นสิ่งจำ�เป็นมากในการเดินป่าเนื่องจากในเส้นทางเดินป่ายังไม่มี ระบบสาธารณูปโภคทีท่ นั สมัย เช่น ไฟฟ้า ไฟฉายจึงมีความจำ�เป็นต้องใช้ในตอนกลางคืน 4. อุปกรณ์ของใช้ส่วนตัวที่จำ�เป็น เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยารักษาโรคประจำ�ตัว เป็นต้น 5. อุปกรณ์สำ�หรับป้องกันความปลอดภัย เช่น เสื้อชูชีพ เชือก เป็นต้น 6. ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น
60
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
7. เต็นท์ที่พักพร้อมถุงนอนในกรณีมิได้พักแรมในหมู่บ้าน 8. อุปกรณ์ปรุงอาหารหุงต้ม เช่น มีด กระทะ ไม้ขีดไฟ 9. อาหารสด อาหารกระป๋อง 5. มารยาทของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า งานของมัคคุเทศก์ในการทำ�งานทัวร์ปา่ ในการบริการนักท่องเทีย่ วคือจะต้องพบกับ นักท่องเที่ยว ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะและความเป็นอยู่ ในการพบปะกั น หรื อ ในขณะที่ อ ยู่ ด้ ว ยกั น ถึ ง แม้ ว่ า จะเป็ น ระยะเวลาอั น สั้ น ก็ ต าม มารยาทหรือกิรยิ าทีแ่ สดงออกมานัน้ เป็นสิง่ สำ�คัญยิง่ ในการอยูร่ ว่ มกันตลอดระยะเวลา เดินทาง มารยาทในการแสดงออกของแต่ละชาตินั้นย่อมแตกต่างกัน บางอย่าง ที่เรายึดถือเป็นแบบแผนว่าเป็นสิ่งที่ดีกลับตรงกันข้ามกับชาติอื่น และบางสิ่งที่ต่างชาติ ถือว่าเป็นสิ่งดีกลับกลายเป็นเรื่องหยาบคายสำ�หรับเรา ยกตัวอย่างเช่น การกินอาหาร ของคนญีป่ นุ่ ถ้ากินอาหารมีเสียงดัง ซูดซาด ถือกันว่าอาหารนัน้ มีรสชาติอร่อย เป็นการ ให้เกียรติหรือชมเชยเจ้าของบ้านหรือคนที่ปรุงอาหาร ตรงกันข้ามกับคนไทยที่ถือว่า มูมมาม และถ้าเผอิญเราไปบ้านเขาและเขาจัดทำ�อาหารเลีย้ งเรา ถ้าเรากินช้าๆ ค่อยๆ ไม่ มี เ สี ย งดั ง เจ้ า ของบ้ า นเขาจะเข้ า ใจว่ า ฝี มื อ ในการปรุ ง อาหารนั้ น ไม่ อ ร่ อ ย ไม่ถูกใจหรือมีรสชาติส�ำ หรับเราเลย ผู้ดีฝรั่งชอบใช้เท้าชี้โน่นชี้นี่แทนใช้มือซึ่งเขาไม่ถือ แต่สำ�หรับเราถือเป็นเรื่องหยาบคาย การบ้วน ขากหรือถุยน้ำ�ลาย คนจีนหรือคนไทย ไม่ค่อยจะถือเท่าไหร่นัก แต่ฝรั่งชาวต่างประเทศถือกันมาก ดั ง นั้ น จำ � เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ มั ค คุ เ ทศก์ จ ะต้ อ งศึ ก ษาเรี ย นรู้ ถึ ง มารยาทและ การแสดงออกของนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะปรับตัวในการ ใช้มารยาทของเราให้เข้ากันกับมารยาทของเขาได้ตลอดระยะเวลาที่ทำ �หน้าที่ของ มัคคุเทศก์ และการทีจ่ ะปฏิบตั ใิ ห้เกิดเป็นผลดีทงั้ สองฝ่ายนัน้ ย่อมขึน้ อยูท่ ปี่ ฏิภาณหรือ ไหวพริบของตัวมัคคุเทศก์เอง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
61
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ผศ. นันทนา ปกป้อง ได้กล่าวถึงมารยาทที่มัคคุเทศก์ควรรู้คือ 1. มารยาทการต้อนรับการทักทายและการเรียกชื่อ การเริม่ ต้นพบปะครัง้ แรกระหว่างมัคคุเทศก์กบั นักท่องเทีย่ วเป็นเรือ่ งทีส่ ำ�คัญมาก การเริ่มต้นที่ดีก็เหมือนงานสำ�เร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง การพบกันครั้งแรกมัคคุเทศก์จะ ต้องเข้าไปทักทายแขกก่อน ต้องเรียกชื่อสกุลของเขาทุกครั้งไป ชาวต่างประเทศจะไม่ นิยมเรียกชื่อจริงสำ�หรับคนที่ไม่รู้จักกันดี เพราะเป็นการยกย่องตามธรรมเนียมสากล ถ้ามีตำ�แหน่งเราจะต้องเรียกตำ�แหน่งของเขาด้วย โดยเฉพาะชาวเยอรมันหรือญี่ปุ่น ถ้ารู้ตำ�แหน่งของเขาและไม่เรียกตามตำ�แหน่ง อาจถือว่าเป็นการดูถูกกันมากทีเดียว เมื่อได้รู้จักกันแล้วถ้าไม่มีตำ�แหน่งก็ใช้คำ�ว่า Mr., Mrs. หรือ Miss นำ�หน้า ถ้าเป็นเด็ก ก็เรียกชื่อเฉยๆ ในการต้อนรับครั้งแรกมีระเบียบปฏิบัติอยู่ว่า ผู้ใหญ่ต้องยื่นมือให้เด็กจับก่อน เสมอ คนเสมอกันก็ยนื่ ให้กนั ได้สดุ แล้วแต่ใครจะคิดได้กอ่ น ผูห้ ญิงจะต้องเป็นฝ่ายยืน่ มือ ให้ผู้ชายจับก่อน ไม่ใช่ว่าผู้หญิงไม่ยื่นมือมาแล้วผู้ชายไปจับเขาก่อน เราอาจจะพูดว่า How do you do? ก็ได้ หากเขาไม่ยื่นมาให้เราจับเราก็ไม่ควรจับ การพบกันครั้งแรก จึงควรดูว่าควรจะจับมือหรือไม่อย่างไร ขณะนี้ชาวต่างประเทศรู้จักการไหว้ของคนไทย เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว เราอาจใช้วิธีไหว้ก็ได้ ซึ่งเป็นการดีที่ได้แสดงออกซึ่งมารยาทและ ประเพณีของคนไทยอีกประการหนึ่ง มัคคุเทศก์พึงรำ�ลึกอยู่เสมอว่า อย่าพยายามถาม เรื่องส่วนตัวเขาเป็นอันขาด เช่น อายุเท่าไหร่ แต่งงานหรือยัง มีลูกกี่คน เรื่องเช่นนี้ เป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งไม่พึงถามนักท่องเที่ยวเด็ดขาด 2. คำ�ตอบรับหรือปฏิเสธ ถ้าเป็นการยกย่องกันแล้ว เราจะใช้คำ�ว่า Sir หรือ Madame ต่อท้ายคำ�ตอบรับ หรือปฏิเสธทุกครัง้ ไป เช่น Yes Sir, Yes Madame, No Sir, No Madame ส่วนการใช้ค�ำ ว่า Yeh แทน Yes นั้น ถือเป็นคำ�ไม่สุภาพ ต้องสนิทสนมกันมากถึงจะใช้ได้ ถึงจะสนิทสนม กันก็ตาม ผู้อ่อนอาวุโสไม่ควรจะใช้คำ�นี้กับผู้ใหญ่เลย
62
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
3. การใช้อวัยวะประกอบคำ�พูด ความนิยมในการใช้มอื ประกอบคำ�พูดของแต่ละชาติไม่เหมือนกัน คนฝรัง่ เศสนิยม การใช้มอื มาก คนอังกฤษ อเมริกนั และเยอรมัน ไม่นยิ ม การยืนนิง่ ตรงแบบทหาร ถือว่า เรียบร้อยตามธรรมเนียมสากลแล้ว เราไม่ควรใช้อวัยวะประกอบคำ�พูด ควรหลีกเลี่ยง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ถ้าจำ�เป็นต้องใช้ เช่น การชี้นิ้วบอกทาง ควรจะกล่าวคำ�ขอ โทษก่อน การยักคิว้ ยักไหล่ กระดกหัว หรือยกมือยกไม้มากเกินไป ดูไม่ดถี อื ว่าเป็นการ แสดงความหยาบคาย ยกเว้นคนฝรัง่ เศส ไม่ควรใช้เท้าในการชีเ้ หมือนอย่างฝรัง่ ควรจะ พยายามทำ�ให้เขาเห็นและเข้าใจว่าคนไทยไม่นิยมทำ�เช่นนั้น 4. การให้ความช่วยเหลือ วัฒนธรรมของชาวตะวันตก มักจะยื่นมือให้ผู้หญิง เด็ก คนชรา ได้จับเป็น เครือ่ งช่วยพยุงในการก้าวจากทีส่ งู ข้ามเครือ่ งกีดขวาง หรือในทีๆ ่ เป็นอันตราย ถือว่าเป็น หน้าทีข่ องผูช้ าย แต่วา่ ถ้าเป็นผูช้ ายกับผูช้ ายด้วยกันแล้วเขาจะไม่ยนื่ มือให้จบั เพราะถือว่า เป็นการดูถูกอีกฝ่ายว่าเขาอ่อนแอ ถ้ามัคคุเทศก์เป็นผู้หญิง ควรจะยื่นมือช่วยเพียงแต่ เด็กกับคนชราเท่านัน้ การยืน่ มือให้จบั พยุงแล้วต้องปล่อยทันทีไม่ใช่จบั ไปแล้วยังเดินเฉย ค้างไว้อยู่อย่างนั้น แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสามัญสำ�นึกของมัคคุเทศก์ 5. การแต่งกายและบุคลิกภาพ มั ค คุ เ ทศก์ ทั ว ร์ ป่ า ควรจะแต่ ง กายให้ รั ด กุ ม เหมาะสม สะอาด เรี ย บร้ อ ย เพือ่ ความสะดวกและคล่องตัวในการปฏิบตั งิ าน และเป็นการเสริมบุคลิกภาพให้นา่ เชือ่ ถือ ด้วย สุขอนามัยส่วนตัวเป็นเรือ่ งสำ�คัญมาก มัคคุเทศก์ควรจะสำ�รวจตัวเองเสมอให้เป็น ที่แน่ใจว่าไม่มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว กลิ่นเสื้อผ้า 6. การให้ เ กี ย รติ แ ก่ บุ ค คลอื่ น เช่ น การเดิ น ทางกั บ สุ ภ าพสตรี ห รื อ แขก ต้องให้แขกอยูท่ างขวามือของเราเสมอ การนัง่ รับประทานอาหารหรือนัง่ รถยนต์กป็ ฏิบตั ิ เช่นเดียวกัน การเข้า- ออกประตู มัคคุเทศก์ต้องรีบเดินนำ�หน้าเมื่อจวนจะถึงประตู เปิดประตูและเชิญให้แขกเข้าหรือออกประตูกอ่ นแล้วจึงค่อยเดินตาม การเสิรฟ์ อาหาร ต้องเสิร์ฟให้แขกก่อนเสมอ ถ้ามีสุภาพสตรีต้องเสิร์ฟให้สุภาพสตรีก่อน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
63
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
7. การใช้ภาษาต่างประเทศและการสนทนา การทีม่ คั คุเทศก์จะพูดจากับนักท่องเทีย่ วไม่วา่ จะเป็นชาติใดก็ตามให้พดู ออกมา ชัดเจนชัดถ้อยชัดคำ� ถูกอักขระวิธี การเน้น การเว้นวรรค และเรียบเรียงประโยค ไม่ควร พูดแต่เรือ่ งทีจ่ ะพาเขาไปดูเพียงอย่างเดียว ควรต้องมีหวั ข้อบางอย่างสอดแทรกเพิม่ เติม นอกเหนือไปจากสิง่ ทีเ่ ราพาไปดูเพือ่ เพิม่ ความน่าสนใจ ไม่ใช่พดู หรืออธิบายถึงเรือ่ งป่า เรื่องเขาอยู่เรื่องเดียว ควรจะแทรกเรื่องการสนทนาบ้างตามสมควร การสนทนาต้องมี ระเบียบ ควรจะถามคำ�ถามอย่างฉลาดแก่นกั ท่องเทีย่ ว เพือ่ ทีจ่ ะให้เขาได้พดู กับเราบ้าง เวลาที่เขาพูดกับเรา เราอาจจะไม่เข้าใจ หรือไม่สนใจ แต่ก็ต้องทำ�เป็นสนใจจริงๆ และ พยายามเข้าใจ อาจจะพูดเสริมบ้างเล็กน้อย ซึ่งไม่เป็นการพูดเชิงคัดค้านหรือโต้เถียง การชวนแขกคุยต้องสังเกตดูก่อนว่า แขกมีท่าทีอยากจะให้เราคุยไปเรื่อยๆ หรือไม่ ถ้าเขามีทีท่าว่าไม่ต้องการเราก็ควรจะหยุดคุย ทัง้ นีท้ งั้ นัน้ มัคคุเทศก์ทมี่ คี วามรูใ้ นภาษาต่างประเทศ และใช้การได้ดี ก็ยอ่ มไม่มี ปัญหาในการพูด (เรียบเรียงจาก ผศ.นันทนา ปกป้อง “อบรมมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า รุ่นที่ 1” คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 9 ต.ค. 2513)
64
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
6. จรรยาบรรณมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า มัคคุเทศก์ควรมีความจริงใจและตั้งใจในการปฏิบัติงาน ให้ความสำ�คัญความ เป็นธรรมต่อนักท่องเที่ยวเท่าเทียมกันทุกคน ไม่ทะเลาะโต้เถียงกับนักท่องเที่ยว ไม่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่เล่นการพนัน ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องฝิ่น ยาเสพติดและโสเภณี โดยเด็ดขาด ไม่สร้างความสัมพันธ์เป็นพิเศษในทำ�นองชู้สาวกับ นักท่องเที่ยวโดยเด็ดขาด ปกป้องและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ นักท่องเทีย่ ว เมือ่ เกิดปัญหาเฉพาะหน้าควรใช้สติปญ ั ญา ความรู้ ปฏิภาณ และไหวพริบ ที่มีอยู่แก้ไขเหตุการณ์ให้ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ละทิ้งแขกให้เผชิญปัญหาอยู่ตามลำ�พัง และ ปฏิบัติตนตามระเบียบข้อบังคับตามที่ทางการได้กำ�หนดไว้โดยเคร่งครัด 1. ความซื่อสัตย์สุจริต การเป็ น มั ค คุ เ ทศก์ จ ะต้ อ งมี ค วามจริ ง ใจต่ อ การทำ � งานทั้ ง นี้ จ ะรวมไปถึ ง นักท่องเที่ยวและผู้ร่วมงานมีการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาไม่หาโอกาสฉกฉวย เอาผลประโยชน์จากนักท่องเทีย่ วโดยทางทีม่ สี่ จุ ริต ไม่หลอกลวงนักท่องเทีย่ วให้หลงเชือ่ กระทำ�ตามในสิง่ ทีผ่ ดิ ๆ ไม่ให้ขอ้ มูลข่าวสารทีบ่ ดิ เบือนจากข้อเท็จจริง ไม่เอารัดเอาเปรียบ นักท่องเที่ยวในการให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ 2. การตรงต่อเวลา การรักษาเวลาเป็นสิ่งที่มัคคุเทศก์ต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนือ่ งจากตามหลักมารยาทสากลแล้วในการปฏิบตั งิ านมัคคุเทศก์จะต้องให้ความสำ�คัญ ในเรือ่ งเวลาการทำ�งาน นักท่องเทีย่ วส่วนใหญ่กอ่ นจะต้องเดินทางท่องเทีย่ วจะมีการจัด ตารางการเดินทางล่วงหน้า เมือ่ มีการตกลงซือ้ ขายทัวร์โปรแกรมแล้วนักท่องเทีย่ วมักจะ คาดหวังทีจ่ ะได้รบั การได้บริการอย่างเต็มทีเ่ ต็มเวลาทีก่ �ำ หนด การผิดนัดการไม่ตรงเวลา ถือว่าเป็นการสร้างความเสียหายต่อเวลาการเดินทางนักท่องเที่ยว อีกทั้งจะทำ�ให้ ภาพพจน์ของมัคคุเทศก์เสียไปอีกด้วยทำ�ให้นกั ท่องเทีย่ วไม่พอใจและอาจจะสร้างความ เสียหายต่อภาพลักษณ์ของการให้บริการการท่องเที่ยวในอนาคต
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
65
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
3. การแต่งกาย อาชี พ มั ค คุ เ ทศก์ เ ป็ น อาชี พ ที่ มี เ กี ย รติ มี ศั ก ดิ์ ศ รี เ ป็ น ที่ ย อมรั บ จากสั ง คม การแต่งกายที่เหมาะสมสุภาพเป็นสิ่งจำ�เป็น มีหลายครั้งที่มีหน่วยงานต่างๆ ได้มีการ วิพากษ์วิจารณ์การแต่งกายของมัคคุเทศก์ทัวร์ป่าบางคนบางกลุ่มที่แต่งตัวไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมขณะปฏิบัติงาน เช่นการใส่กางเกงขาสั้น เสื้อกล้าม รองเท้าแตะ ใส่เสื้อ ที่ไม่สะอาด การปล่อยผมเผ้ารุงรังสกปรกขณะเดินเข้าไปรับแขกในโรงแรม บางครั้ง นักท่องเทีย่ วได้ปฏิเสธ และยกเลิกในการเดินทางในครัง้ นัน้ สืบเนือ่ งมาจากนักท่องเทีย่ ว เกิดความกังวลและไม่แน่ใจว่าเป็นมัคคุเทศก์จริงหรือไม่ ทางโรงแรมหรือเจ้าของสถาน ทีเ่ กิดความไม่พอใจทีม่ คั คุเทศก์แต่งกายไม่สภุ าพ ถือว่าไม่เคารพสถานที่ ทำ�ให้เกิดการ ดูถูกจากบุคคลอื่นๆ ดังนั้นมัคคุเทศก์ทัวร์ป่าจะต้องสร้างภาพพจน์ที่ดีต่ออาชีพของ ตนเองโดยการแต่งกายให้สุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะ 4. การปฏิบัติตัวต่อนักท่องเที่ยว ในระหว่างการปฏิบัติงานมัคคุเทศก์ทัวร์ป่า จะต้องสร้างความอบอุ่นความ มั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว จะต้องปฏิบัติตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักท่องเที่ยวไม่แสดง กริยาหยาบคายก้าวร้าว พูดจาไม่สุภาพ จะต้องแสดงความเป็นมิตรเป็นกันเองกับทุก คนปฏิบัติตัวอยู่ในขอบเขตหน้าที่ตนเองได้รับมอบหมาย ให้การบริการเอาใจใส่ที่ดีต่อ นักท่องเที่ยว ไม่แสดงกริยาแทะโลมหรือประพฤติตัวที่ส่อไปในทางชู้สาวกับนักท่อง เที่ยวของตนเอง 5. การปฏิบัติหน้าที่การให้บริการ มัคคุเทศก์ทัวร์ป่าจะต้องคำ�นึงถึงการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าเป็นหลัก ต้องมีการ ดูแลเอาใจใส่นักท่องเที่ยวของตนเองทุกคนอย่างเสมอภาคกัน จะต้องมีความอดทน เป็นอย่างสูง ในระหว่างปฏิบัติงานเอาใจใส่หน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมายจนสิ้น สุดโปรแกรม สิ่งสำ�คัญที่สุดคือจะต้องสร้างความพอใจและประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ต่อการให้บริการที่มีคุณภาพ
66
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
6. ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประพฤติผิดกฎหมาย เนื่องจากพื้นที่บางพื้นที่ของการเดินทางท่องเที่ยวทัวร์ป่า ได้อยู่ในพื้นที่ที่มี การระบาดของยาเสพติด มัคคุเทศก์จะต้องหลีกเลี่ยงต่อการยุยงส่งเสริมเพื่อมิให้ นักท่องเที่ยวได้ลองซื้อหรือเสพยาเสพติดทุกชนิด มัคคุเทศก์จะต้องอธิบายทำ�ความ เข้าใจให้แก่นักท่องเที่ยวให้ทราบถึงผลและโทษทางกฎหมายต่อการเกี่ยวข้องกับยา เสพติดให้แก่นักท่องเที่ยวได้ทราบ มัคคุเทศก์เองจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดไม่ว่า ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม 7. มัคคุเทศก์จะต้องเป็นผู้รู้จริง ในการเดินทางท่องเที่ยวใด ๆ ก็ตามถ้านักท่องเที่ยวต้องการให้มีมัคคุเทศก์ เดินทางไปด้วยนั้นหมายถึงนักท่องเที่ยวต้องการให้มีการอธิบายและให้ความรู้ใน โปรแกรมตนเองไปท่องเที่ยว มัคคุเทศก์จะต้องมีความแม่นยำ�ในเนื้อหาของแหล่ง ท่องเที่ยวจะต้องมีการอธิบายที่ถูกต้องชัดเจน ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือปรับเปลี่ยน กุเรื่องขึ้นมาเอง มัคคุเทศก์จะต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนเองอยู่เสมอ มัคคุเทศก์จะ ต้องมีความรู้รอบด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ได้บริการแก่ นักท่องเที่ยว 8. ไม่ปฏิบัติตัวเป็นปรปักษ์ต่อผู้อื่น มัคคุเทศก์ทวั ร์ปา่ จะต้องทำ�ตัวเป็นมิตรกับทุกคนทีเ่ กีย่ วข้อง จะต้องไม่กระทำ�การ ใดๆ ทีเ่ ป็นการเบียดเบียนสร้างความเดือดร้อนแก่ผอู้ นื่ จะต้องไม่พดู จาจาบจ้วงก้าวร้าว ให้รา้ ยป้ายสีผอู้ นื่ จะต้องไม่ปฏิบตั ติ วั ใดๆ ก็ตามทีเ่ ป็นการยุยงส่งเสริมเป็นชนวนนำ�ไป สู่ความขัดแย้งในหมู่คณะ มัคคุเทศก์ทัวร์ป่ากับมาตรฐานมัคคุเทศก์ ปี 2551 กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา ได้ก�ำ หนดมาตรฐานมัคคุเทศก์ไว้ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะการปฏิบัติงานและด้านจรรยาบรรณ ดังนี้ ด้านความรู้ ได้แก่ความรูภ้ าษาไทย ภาษต่างประเทศ ความรูเ้ กีย่ วกับประเทศไทย และวัฒนธรรมไทย การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน ความรูเ้ กีย่ วกับพระราชบัญญัตธิ รุ กิจนำ�เทีย่ ว
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
67
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
และมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และจรรยาบรรณ ความรู้เรื่อง ความปลอดภัย ด้านการปฏิบตั ิ ได้แก่การปฏิบตั ริ ะหว่างการนำ�เทีย่ วและเมือ่ สิน้ สุดการเดินทาง การอำ�นวยความสะดวกให้แก่นกั ท่องเทีย่ วด้วยความเต็มใจและการดูแลสวัสดิภาพและ ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวตลอดเวลาท่องเที่ยว ด้านจรรยาบรรณ ได้แก่การเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การปกครอง แบบประชาธิปไตย การยึดมัน่ ในศาสนาทีต่ นนับถือและไม่ลบหลูศ่ าสนาอืน่ ๆ ตระหนัก ในหน้าที่ที่รับผิดชอบ มีกิริยามารยาทเรียบร้อย แต่งกายเหมาะสม ซื่อสัตย์สุจริต รู้จัก ประมาณตน เข้าใจเพื่อนมนุษย์ มีความเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข ยึดมั่นใน กฎหมายการท่องเที่ยวและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในระดับสากล มาตรฐานการท่องเที่ยว ของ Global Sustainable Tourism Council- GST กำ�หนดเกณฑ์ใช้เป็นแนวทางการดำ�เนินงานร่วมกันในกลุ่มสมาชิกกว่า 100,000 องค์กร 4 ด้านที่มัคคุเทศก์ควรศึกษาเพิ่มเติม คือ เกณฑ์ด้าน 1 แสดงถึงการจัดการอย่างยั่งยืนคำ�นึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม-วัฒนธรรม คุณภาพ สุขภาพ และความปลอดภัย เกณฑ์ดา้ น 2 เพิม่ ผลประโยชน์ดา้ นเศรษฐกิจและสังคมให้ชมุ ชนและลดผลกระทบ ทางลบ เกณฑ์ดา้ น 3 เพิม่ ผลประโยชน์ดา้ นมรดกทางวัฒนธรรมและลดผลกระทบทางลบ เกณฑ์ด้าน 4 เพิ่มผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบทางลบ ปัญหาของการท่องเที่ยวทัวร์ป่าและผลกระทบที่มีต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะเป็นกิจกรรมที่นำ�ผลประโยชน์หรือนำ�รายได้ เข้ามาสูป่ ระเทศสูงสุดเป็นอันดับหนึง่ ก็ตาม แต่ธรุ กิจของการท่องเทีย่ วก็มสี ว่ นทำ�ให้เกิด ปัญหาต่างๆ กับชุมชน สิ่งแวดล้อม สภาพชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีงามของชาวบ้าน ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ด้วยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำ�ธุรกิจการท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่าหลายอย่าง
68
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ทวีความรุนแรงมากยิง่ ขึน้ ยากแก่การแก้ไข เช่น ปัญหายาเสพติด ให้โทษ ปัญหาโสเภณีและโรคเอดส์ ปัญหามลภาวะต่างๆ มักมีขา่ วเกีย่ วกับนักท่องเทีย่ ว ทัวร์ป่าถูกจี้ ถูกปล้น ถูกข่มขืน ถูกฆ่า นักท่องเที่ยวถูกช้างเหยียบตาย สูบฝิ่น หรือ ฉีดเฮโรอีนตาย มัคคุเทศก์ทิ้งแขก นักท่องเที่ยวหลงทาง ฯลฯ เป็นต้น จากการสังเกตและรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจการท่องเที่ยวแบบ ทัวร์ป่าที่ผ่านมา อาจารย์พิพัฒน์สรุปและแบ่งออกเป็นประเภทได้ดังนี้ 1. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทัวร์ป่า 1.1 ทำ�ธุรกิจในเชิงการค้ามุง่ หวังแต่เพียงเพือ่ รายได้และผลกำ�ไรแต่อย่างเดียว โดยไม่ค�ำ นึงถึงคุณภาพหรือผลเสียหายทีจ่ ะเกิดขึน้ และติดตามมาภายหลัง ขาดความรู้ ความเข้าใจทัง้ ในด้านวิชาการและประสบการณ์เกีย่ วกับการท่องเทีย่ วโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรื่องของทัวร์ป่า ไม่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท ร้านค้า ห้างหุ้นส่วน ไม่มีหลักฐาน ทีท่ �ำ การเป็นหลักแหล่งแน่นอน ไม่มหี ลักประกัน ไม่เสียภาษี จ้างมัคคุเทศก์ทไี่ ม่มคี วามรู้ ไม่มีคุณภาพ ไม่มีจรรยาบรรณ หรือจ้างมัคคุเทศก์ต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองเพราะ ค่าจ้างแรงงานถูก การสื่อความไม่ดีทำ�ให้เกิดปัญหา ข้อมูลผิดพลาด ตัดราคาทัวร์ แข่งขันกันเพือ่ แย่งลูกค้า นักท่องเทีย่ วเสียค่าใช้จา่ ยสูงแต่ได้รบั บริการไม่ดี นักท่องเทีย่ ว ไม่ประทับใจและเข็ดหลาบ จัดสรรสิง่ บริการทีผ่ ดิ แผกไปจากผูอ้ นื่ เพือ่ เป็นการดึงดูดและ ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยไม่คำ�นึงถึงกฎหมาย ขนบธรรมเนียม ประเพณีและศีลธรรม เช่น ผู้หญิง ยาเสพติด เป็นต้น ไม่มีหลักประกันความปลอดภัย ในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ไม่มีความรับผิดชอบ หรือ ทำ�ตามสัญญาทีใ่ ห้ไว้กบั นักท่องเทีย่ ว เมือ่ มีปญ ั หาเกิดขึน้ ก็โยกย้ายหลบหนี ปิดกิจการ หรือเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ ไม่ยอมทำ�ตามกฎระเบียบ หรือข้อบังคับ ไม่ยอมเป็นสมาชิก ของชมรม สมาคมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพราะไม่อยากจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือ ข้อผูกมัด 1.2 ปัญหาจากมัคคุเทศก์ เช่น มัคคุเทศก์ผิดกฎหมาย ไม่มีใบอนุญาตประกอบ อาชี พ มั ค คุ เ ทศก์ ไม่ มี สั ง กั ด ไม่ เ ป็ น สมาชิ ก ของชมรมหรื อ สมาคมฯ ไม่ มี ค วามรู้ ประสบการณ์ จรรยาบรรณและความรับผิดชอบ หลอกลวง ต้มตุน๋ เอาเปรียบนักท่องเทีย่ ว
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
69
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ความรู้เรื่องภาษาไม่ดี สื่อความไม่ดี แนะนำ�ข้อมูลไม่ถูกต้อง ผิดจากความเป็นจริง ติดยาเสพติด ดื่มเหล้าเล่นการพนัน แนะนำ�และค้ายาเสพติด ผู้หญิง โสเภณี ฯลฯ ไม่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับโดยส่วนรวมที่จัดตั้งไว้ ไม่รู้จักการอนุรักษ์ ทรัพยากรของการท่องเที่ยวทัวร์ป่า 1.3 ปัญหาที่เกิดจากตัวนักท่องเที่ยวทัวร์ป่า เช่น ชอบโลดโผนผจญภัย ไม่ยอม เชื่ อ ฟั ง คำ � แนะนำ � ของเจ้ า หน้ า ที่ แ ละหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ไม่ ศึ ก ษา ไม่ เ คารพใน ขนบธรรมเนียม ประเพณีอนั ดีงามของท้องถิน่ เช่น แต่งกายไม่สภุ าพเรียบร้อย ถอดเสือ้ ผ้า เดินตามถนน ที่ชุมชน สถานที่ราชการ แสดงความรักในที่สาธารณะ เช่น กอด จูบกัน ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ วัดวาอารามโดยขาดความเคารพในสถานที่ เข้ามามั่วสุมในเรื่อง ผู้หญิง การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กและผู้หญิงในชนบทและยาเสพติด ไม่ศึกษา ไม่เคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง ขับขี่ยวดยานโดยไม่มีใบอนุญาต ไม่ทราบและปฏิบัติ ตามกฎจราจร ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุ ชอบเดินทางด้วยตนเอง ไม่ใช้มัคคุเทศก์ ใช้ภาษา สื่อความกับชาวบ้านไม่ได้ เกิดปัญหาการเข้าใจผิด เวลาเกิดมีปัญหายากแก่การแก้ไข ช่วยเหลือและติดตามค้นหา สร้างเรือ่ งราวขึน้ โดยไม่มมี ลู ความจริง เช่น ขายกล้องถ่ายรูป เพือ่ เป็นค่าใช้จา่ ย แต่ไปแจ้งความกับตำ�รวจว่าของหาย หรือถูกขโมยไป เพือ่ นำ�หลักฐาน การแจ้งความไปใช้เรียกร้องเงินค่าประกันจากทางบริษัทประกัน ทำ�ให้ภาพพจน์ของ ประเทศเสื่อมเสีย 1.4 ปัญหาที่เกิดขึ้นจากชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำ�ธุรกิจทัวร์ป่า เช่น เปิดร้าน อาหาร บาร์ ค๊อฟฟีชอฟ คาราโอเกะ โดยใช้วิธีแต่งงานกับภรรยาหรือสามีคนไทย แล้ ว ใช้ ชื่ อ ภรรยาหรื อ สามี บั ง หน้ า เพื่ อ หลี ก เลี่ ย งกฎหมาย ชั ก ชวนนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ชาติเดียวกันที่มาเที่ยวมั่วสุมกัน จัดบริการตอบสนองความต้องการลูกค้าในทางที่ ผิดกฎหมายและศีลธรรม เช่น ยาเสพติด ผู้หญิงฯลฯ จัดบริการนำ�เที่ยวทัวร์ป่าเอง รวบรวมนักท่องเที่ยวพาไปในหมู่บ้านชาวเขา จุดประสงค์เพียงเพื่อสูบฝิ่น กัญชา และยาเสพติดอื่นๆ ไม่มีความรู้และคำ�นึงถึงเรื่องกฎหมายข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศีลธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ไม่มีความรักความหวงแหนในสิ่งเหล่านี้
70
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ให้ความรู้หรือข้อมูลไม่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยวทำ �ให้เกิดผลเสียหาย ส่งผลกระทบ ด้านลบต่อภาพพจน์ ชื่อเสียงของประเทศและการท่องเที่ยวของไทย แย่งอาชีพของ คนไทย ผูกขาดกิจการ นักท่องเที่ยวติดต่อผู้ประกอบการเหล่านี้โดยตรง ไม่มีที่อยู่ เป็นหลักแหล่ง ไม่มีหลักฐานและสัญชาติไทย เมื่อทำ�ผิดเกิดปัญหาขึ้น ก็หลบหนี ยากแก่การติดตามและจับกุม 2. ปัญหาในด้านความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ ของนักท่องเทีย่ ว เนือ่ งจาก ไม่มีมาตรการควบคุม ปล่อยปละละเลยไม่เข้มงวดกวดขันอย่างจริงจัง จึงทำ�ให้พวกมิจฉาชีพใช้ธุรกิจ ของทัวร์ป่าทั้งที่เป็นคนไทยและต่างชาติบังหน้า ในการเปิดบริษัททัวร์ เกสท์เฮ้าส์ ห้องอาหาร สถานที่เริงรมย์ต่างๆ เป็นมัคคุเทศก์เพื่อหลอกลวง ต้มตุ๋น หยิบฉวย ลักขโมย ทรัพย์สิน เอาเปรียบนักท่องเที่ยว ตลอดจนกระทำ�การขั้นรุนแรง ปล้น จี้ ฆ่า หรือข่มขืนนักท่องเที่ยวจนถึงกับต้องสูญเสียชีวิต ชุมชนท้องถิ่นไม่ได้มีส่วนร่วมและ รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวจึงไม่ได้เข้ามาดูแลช่วยเหลือความปลอดภัยของ นักท่องเที่ยวในฐานะเจ้าของบ้านที่ดี 3. ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์ มาตรการในการ ควบคุมดูแล ประกอบกับผู้ประกอบธุรกิจในด้านทัวร์ป่า ไม่มีความรู้และความเข้าใจ ไม่มีความรัก ความหวงแหน หรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของการท่องเที่ยว ทัวร์ป่า ผลเสียหายจึงเกิดขึ้นจากการกระทำ�โดยความไม่รู้เหล่านี้ เกิดการเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนชาวเขาและท้องถิ่น ทำ�ลาย สภาพสิ่งแวดล้อมที่สวยงามตามธรรมชาติ ที่มีอยู่เดิมให้หมดไป เช่น สร้างที่พัก ร้านค้า อาหาร สถานที่เริงรมย์ต่างๆ ตามป่าเขา น้ำ�ตก ตามต้นนำ�ลำ�ธาร ฯลฯ ทำ�ให้ เกิดสภาพมลภาวะเป็นพิษ การขับถ่าย ขจัดของเสีย ปัญหาของพลาสติก วัสดุทเี่ หลือใช้ ซึง่ เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยขณะนี ้ เป็นแหล่งทำ�ลายทัศนียภาพ ปัญหาน้�ำ เสีย แพร่ เชือ้ โรค เกิดความขัดแย้ง การแข่งขัน แย่งชิงทรัพยากรกับชาวบ้านในชุมชนท้องถิน่ เดิม
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
71
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ภาษาอังกฤษที่ควรทราบ การเดินป่า มัคคุเทศก์ทัวร์ป่า ตำ�รวจท่องเที่ยว ยาเสพติด แหล่งท่องเที่ยว มรรยาท/จรรยาบรรณ ปางช้าง ท่าเรือ ลูกหาบ ที่พักแรม การฉ้อโกง ของที่ระลึก
72
Trekking/ Jungle trekking Trekking guide Tourist Police Drug/ amphetamine Tourist attraction Etiquette Elephant camp Pier Porter Accommodation/home stay Cheating Souvenir
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ชาวเขาในแหล่งท่องเที่ยวเดินป่า
เชียงรายเป็นดินแดนหลากชาติพันธุ์ มีชาติพันธุ์ต่างๆ อาทิ อาข่า ลาหู่ ลีซู ม้ง และเย้า(อิว้ เมีย่ น) เคลือ่ นย้ายลงมาจากพืน้ ทีแ่ นวขนานแม่น�้ำ สามสาย คือ หลานชางเจียง (แม่น้ำ�โขง) นู่เจียง (แม่น้ำ�สาละวิน) และฉางเจียง (แม่น้ำ�แยงซี)ในมณฑลยูนนาน ลงมา ตั้งถิ่นฐานที่สามเหลี่ยมทองคำ� ชุมทางการอพยพของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะ อย่างในเขตพื้นที่ภูเขาของจังหวัดเชียงราย กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย รวมทั้งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงและสาละวิน มีหลัก จำ�แนกในเชิงวิชาการ 2 วิธ ี วิธแี รก ด้านภาษา (Language) ยึดภาษาศาสตร์ (Linguistic) เป็นหลัก วิธที สี่ อง ด้านมานุษยวิทยา (Anthropology) ยึดวัฒนธรรม (Culture) เป็นหลัก วิธีที่ยึดภาษา จำ�แนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1) ตระกูลจีน – ธิเบต (Sino - Tibetan) 1.1 สาขาธิเบต - พม่า คือ ลิซู (ลีซอ) ลาหู่ และอาข่า 1.2 สาขาคะเร็น คือ กะเหรี่ยง 1.3 สาขาม้ง – เย้า คือ ม้งและเย้า (อิ้วเมี่ยน) 2) ตระกูลออสโตร – เอเชียติค (Austro - Asiatic) สาขามอญ – เขมร ได้แก่ ละว้า (ละเวือะ) ลัวะ(มัล) ลัวะ(ไปร) ขมุ (กำ�หมุ) มาบรี (ผีตองเหลือง) ปะหล่อง (ดาระอั้ง / เตออั้ง) ชาวสัก ส่วย โซ่ กุย เซมัง – ซานอย ซาไก ฯลฯ 3) ตระกูลมาลายู – โพลิเนเซียน (Malayu - Polinesian) สาขามาเลย์ ได้แก่ ชาวเล หรือ อูลังลาโอต 4) ตระกูลภาษาไตกะได ได้แก่ ไทลื้อ ไทยอง ไทเขิน ไทยโยนก วิธที ส่ี องด้านมานุษยวิทยา จำ�แนกเป็น 2 กลุม่ ใหญ่ โดยยึดวัฒนธรรมเป็นหลัก ได้แก่ 1) กลุ่มวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับจีนหรือตระกูลจีน – ธิเบต (Sino – Tibetan Stock) ได้แก่ ม้งและเย้า 2) กลุ่มวัฒนธรรมที่สืบเชื้อสายธิเบต – พม่า (Burmese – Tibetan Stock) ได้แก่ ลาหู่ ลีซอ อาข่า และกะเหรี่ยง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
73
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่การเดินป่า กลุม่ ชาติพนั ธุใ์ นเขตพืน้ ทีก่ ารเดินป่าในเขตพืน้ ทีจ่ งั หวัดเชียงรายกลุม่ หลักๆ ได้แก่ เผ่า อาข่า กระเหรี่ยง ลาหู่ และ ม้ง
อาข่า Akha
ความเป็นมา อาข่าจัดอยู่ในตระกูล จีน - ธิเบต เป็นหนึ่งในกลุ่มย่อยของชนชาติโลโล อพยพ มาหยวนเชียง (Yuan Chiang) ซึ่งอยู่ห่างจากนครคุนหมิงประมาณ 160 กิโลเมตร เข้ามาอยูใ่ นรัฐฉานประมาณปี 2435 กระจายตัง้ ถิน่ ฐานในรัฐฉานทางตะวันออกของพม่า ในแขวงหลวงน้�ำ ทาและบ่อแก้วของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเข้ามาอยูใ่ นจังหวัดภาคเหนือตอนบนไทย เมือ่ ประมาณ 90 – 100 ปีทผี่ า่ นมา โดยย้าย จากเชียงตุงมาอยู่ที่ดอยช้างงูหรือดอยสะโง้ ตำ�บลศรีดอนมูล ใกล้สามเหลี่ยมทองคำ� อำ�เภอเชียงแสน ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของชาวละว้า
74
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย ผูน้ �ำ ชาวอาข่าจากเชียงตุง คือ แสนอุน่ เรือน ได้พาผูค้ นมาตัง้ บ้านเรือนบนดอยตุง หลังแสนอุ่นเรือนเสียชีวิต ญาติพี่น้องได้แยกย้ายกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ แสนพรหม น้องชายไปตัง้ หมูบ่ า้ นผาหมี แสนใจผูเ้ ป็นหลานนำ�อาข่าส่วนหนึง่ ย้ายไปอยูใ่ นพืน้ ทีแ่ ม่จนั ส่วนหนึง่ ไปอยูท่ กี่ วิ่ สะไต ตะเข็บรอยต่อเชียงราย – เชียงใหม่ และในแนวลำ�น้�ำ กกตอนบน ต่อมา กองทัพแดงยึดสิบสองปันนาได้เบ็ดเสร็จในเดือนธันวาคม 2492 ชาวอาข่าบ้านลาย อำ�เภอเมืองฮาย ในสิบสองปันนา ซึ่งเคยปลูกฝิ่นบนภูเขาปลังได้อพยพมาอยู่ที่ดอยตุง อำ�เภอแม่จัน (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำ�เภอแม่ฟ้าหลวง) เนื่องจากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี โจวเอินไหล มีนโยบายเข้มงวดห้ามมิให้ปลูกฝิ่นและค้าฝิ่นอย่างเด็ดขาด หากผ่าฝืนมี มาตรการลงโทษรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต อีกทั้งไม่พอใจระบบนารวม หรือ “คอมมูน” ที่ไม่ให้ถือครองสิทธิที่ดินทำ�กิน และเกิดปัญหาวิกฤตเรื่องอาหาร การกระจายตัว ปัจจุบนั กลุม่ ชาติพนั ธุอ์ าข่ามีจ�ำ นวนประชากรทัง้ สิน้ 449,261 คน ตัง้ ถิน่ ฐานอยู่ บนภูเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน บนภูเขาในรัฐฉานของพม่า เขตอนุรกั ษ์แห่งชาติ น้ำ�ฮ้าของสปป.ลาว และพื้นที่ภูเขาสูงในภาคเหนือตอนบนของไทย เฉพาะเชียงราย จากการสำ�รวจอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2545 พบว่ามีจำ�นวน 59,782 คน โดยทั่วไป ชาวอาข่านิยมตัง้ ถิน่ ฐานบนสันเขาในระดับความสูง 4,500 ฟุต หรือประมาณ 1,200 เมตร เหนือระดับน้�ำ ทะเลปานกลาง (รทก.) ชุมชนมีทงั้ ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ บางชุมชนมีถงึ 200 ครัวเรือน แต่ละครัวเรือนมีจ�ำ นวนประชากรโดยเฉลีย่ 7 คน การเลือกทำ�เลทีต่ งั้ ชุมชน มักเลือกภูเขาลูกกลางแวดล้อมด้วยภูเขาสูง มีดนิ ดำ�อุดมสมบูรณ์ ไม่ไกลจากห้วยน้�ำ ลำ�ธาร แต่ไม่ใช่แม่น�้ำ ใหญ่หรือแหล่งน้�ำ ขนาดใหญ่ ทัง้ นีเ้ พือ่ ป้องกันโรคระบาด และภัยธรรมชาติ จากน้ำ�ท่วม
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
75
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
สภาพทางสังคม ครอบครัวอาข่าส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย บุตรชายคนโต ภรรยา และลูกๆ รวมทั้งบุตรชายคนสุดท้องจะอยู่ร่วมในครัวเรือนเดียวกับพ่อแม่ ส่วนบุตรชายคนอื่นๆ และบุตรสาวจะแยกไปตั้งบ้านเรือนสร้างครอบครัวใหม่ แบบแผนการตั้งชื่อของอาข่า เป็นระบบทีส่ ามารถบ่งบอกชือ่ ของบรรพบุรษุ ย้อนหลังไปได้ถงึ 15 ชัว่ อายุเป็นอย่างน้อย ลักษณะบ้านของอาข่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกพื้นสูง ฝาเป็นไม้ไผ่สานหลังคา มุงหญ้าคา ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี เย็นสบายในช่วงฤดูร้อน และอบอุ่นจากเตาไฟ กลางบ้านในช่วงฤดูหนาว มีบนั ไดหน้าและบันไดหลัง ตัวบ้านแยกเป็นชายบ้านด้านหน้า บริเวณเตาไฟ ห้องฝ่ายชาย ห้องฝ่ายหญิง ในห้องฝ่ายหญิงนอกจากมีหิ้งผีบรรพบุรุษ แล้วยังมีกระชุใส่พันธุ์ข้าว บริเวณพื้นดินใกล้ห้องฝ่ายหญิงมีครกตำ�ข้าว แต่ปัจจุบัน มักนำ�ไปสีที่โรงสีขนาดเล็กในหมู่บ้าน ภาษาที่ชาวอาข่าใช้มีหลายกลุ่ม กลุ่มหลักคือ Jeu G’oe ซึ่งใช้กันเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนีย้ งั มี A JAW ทีใ่ กล้ชดิ กับ Jeu G’oe ส่วน A KUI นัน้ แตกต่างออกไปจากสองกลุม่ แรก ชาวอาข่าทีแ่ ขวงหลวงน้�ำ ทา และแขวงบ่แก้ว ใช้ภาษาในกลุม่ นี้ และชาวลาว เรียกว่า “ข่ากุย้ ” การปกครอง ชนเผ่าอาข่ามีรูปแบบการปกครองเป็นของตนเอง ผู้นำ�ก็คือหัวหน้าหมู่บ้าน ทำ�หน้าที่ควบคุมดูแลชุมชนให้อยู่ในกฎระเบียบธรรมเนียมที่ดีงามของสังคม ร่วมกับ คณะผูอ้ าวุโสตัดสินคดีขอ้ พิพาทและร่วมในพิธกี รรมต่างๆ การสืบทอดตำ�แหน่งเป็นไป โดยการสืบต่อตามสายบรรพบุรุษ นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งประกอบ ด้วยหัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าพิธีกรรม ช่างตีเหล็ก ผู้รู้ ผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้าน หมอผี และ ผู้อาวุโส ทำ�หน้าที่พิจารณาตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่น การจัดกิจกรรม ประจำ�ปี การย้ายหมูบ่ า้ น การพิจารณาความผิดของชาวบ้าน อย่างไรก็ตาม ลักษณะการ ปกครองของชาวอาข่าอำ�นาจเด็ดขาดไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั คณะกรรมการหมูบ่ า้ นโดยฝ่ายเดียว บางครั้ง สมาชิกหมู่บ้านก็มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้งแสดงความคิดเห็นได้เช่นกัน
76
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การลงโทษแก่ผู้กระทำ�ผิดสถานเบาหรือหนัก ขึ้นอยู่กับความผิดที่ล่วงละเมิด ในระดับเบาอาจเป็นถูกปรับ ในความผิดขั้นร้ายแรง อาจถูกขับออกจากหมู่บ้าน เช่น โทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งการพิจารณาลงโทษนั้น คณะผู้ปกครองได้อาศัยอำ�นาจของ ภูตผิ แี ละสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิม์ าเป็นข้ออ้างด้วย ซึง่ ทำ�ให้กฎระเบียบของสังคมมีความศักดิส์ ทิ ธิ์ และทำ�ให้คนในชุมชนเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าล่วงละเมิด ซึง่ หากละเมิดแล้วก็เท่ากับว่า ได้ ก ระทำ � ผิ ด ต่ อ ภู ติ ผี แ ละสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ด้ ว ย ซึ่ ง หมายถึ ง ว่ า ผลที่ เ กิ ด ตามมาก็ คื อ ความหายนะที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ต่อครอบครัว หรือต่อชุมชนด้วย ความเชื่อ ตามจารีตประเพณีแล้ว ชาวอาข่านับถือผี (Animism) เป็นส่วนใหญ่ โดยเชื่อว่า ทุกแห่งมีผีสถิตอยู่ เช่น ผีเรือน ผีไฟ ผีป่า ผีน้ำ� ฯลฯ ดังนั้นไม่ว่าจะทำ�สิ่งใดก็ตามที่ เกีย่ วข้องกับสถานทีน่ นั้ ๆ ก็ตอ้ งมีพธิ กี รรมเซ่นไหว้ผตี า่ งๆ เหล่านี้ ทัง้ นีเ้ พือ่ ความอยูร่ อด ปลอดภัย ปราศจากอันตราย ผี ที่ทุกครัวเรือนนับถือ คือผีบรรพบุรุษ หรือผีเรือน ซึ่งจะต้องมีหิ้งบูชาผีบรรพบุรุษในทุกครัวเรือน เชื่อว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษที่ จะช่วยพิทักษ์คุ้มครองสมาชิกในครอบครัวและหมู่บ้านให้เกิดความสงบสุข ตราบใดที่ พวกเขายังให้การยอมรับเชื่อถืออยู่ โดยปกติมีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษถึงปีละ 9 ครั้ง นอกจากความเชือ่ ในผีตา่ งๆ แล้ว ชาวอาข่ายังให้ความเคารพนับถือในสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ สำ�คัญอื่นๆ ของหมู่บ้าน เช่น ประตูหมู่บ้าน ชิงช้า แหล่งน้ำ�ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน เทพเจ้าที่ชาวอาข่าให้ความนับถือมากที่สุด ได้แก่ เทพเจ้า “อะผื่อมิแย” เชื่อว่าเป็น ผูส้ ร้างสรรพสิง่ ในโลก ส่วนเทพเจ้าทีน่ บั ถือรองลงมา ได้แก่ เทพเจ้า “อือ่ ซา” (เทพเจ้าแห่ง ลม), เทพเจ้า “อึ่มแผะ” (เทพเจ้าแห่งฝน) และเทพเจ้า “อะกือ” (เทพเจ้าแห่งแสงสว่าง) เหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือมนุษย์ให้อยู่ดีมีสุข ก่อนที่จะประกอบ พิธีกรรมใดๆ ก็ต้องมีการเซ่นไหว้เทพเจ้าเหล่านี้เสมอ เกีย่ วกับความเชือ่ ในการสร้างประตูหมูบ่ า้ นเข้าออกเวลาไปทำ�งานไร่ เชือ่ ว่ามีเทพเจ้า คอยพิทกั ษ์รกั ษาคุม้ ครองดูแลไม่ให้ผรี า้ ยเข้าไปทำ�ร้ายสมาชิกในชุมชนให้เกิดการเจ็บป่วย โดยทำ�รูปสัตว์ไว้ข้างบนประตู เช่น นก ถือว่าเป็นหูเป็นตาคอยสอดส่องดูแลและ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
77
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ข้างล่างประตูทง้ั สองข้าง มีรปู ลักษณ์เพศชายและหญิงตัง้ คูก่ นั อยู่ แสดงให้เห็นความดำ�รง คงอยูข่ องเผ่าพันธุม์ ใิ ห้สญ ู หายไปจากโลก ประตูหมูบ่ า้ นนี้ จึงถือเป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ ส่ี �ำ คัญ อย่างหนึง่ คือ ไม่อนุญาตให้ใครๆ จับต้องได้ และจัดให้มพี ธิ ที �ำ ขึน้ ใหม่เป็นประจำ�ทุกปี ชีวิตหลังจากตายไปแล้ว ชาวอาข่าเชื่อว่าวิญญาณมนุษย์จะออกจากร่างไปหา ที่อยู่อีกภพหนึ่ง อันเป็นที่อยู่ถาวรและสงบสุขซึ่งจะต้องมีพิธีส่งวิญญาณ หากไม่ส่ง วิญญาณ วิญญาณก็จะวนเวียนไปมาและหาความสุขไม่ได้ และจะมีผลกระทบต่อคนที่ ยังมีชวี ติ อยู่ คือเกิดการเจ็บไข้ ไม่สบาย หรือภัยพิบตั ิ “พิมะ” หรือหมอผีใหญ่ จะเป็นผูท้ �ำ พิธสี ง่ วิญญาณไปสูด่ นิ แดนสวรรค์ชนั้ สูงสุดทีเ่ รียกว่า “อุม่ โกว่ยเลาะ” ซึง่ ก่อนทีว่ ญ ิ ญาณ จะไปถึงชัน้ ได้นนั้ ก็จะต้องผ่านชัน้ ต่างๆ หลายชัน้ บางครัง้ อาจทำ�ให้วญ ิ ญาณเกิดความ หลงใหลได้ จึงเป็นหน้าทีข่ องหมอผีใหญ่จะต้องนำ�วิญญาณไปให้ถงึ สวรรค์ชนั้ สูงสุดให้ได้ พิธีกรรมสำ�คัญ พิธกี รรมสำ�คัญมีหลากหลาย เช่น พิธที �ำ ประตูหมูบ่ า้ น (ลกข่อ) พิธยี อ้ มไข่แดงหรือ พิธชี นไข่แดง (ยะอุผ)ิ เพือ่ เซ่นไหว้ผบี รรพบุรษุ (อะเพอพี) พิธเี ซ่นไหว้ผบี อ่ น้� ำ (เชค่า ผูแ่ บ๊ะ) หรื อ บางครั้ ง เรี ย กพิ ธี ป ลู ก ข้ า ว (เชค่ า อาพื อ ) พิ ธี โ ล้ ชิ ง ช้ า (หละเฉอะปิ ) เป็ น ต้ น พิธที �ำ ประตูหมูบ่ า้ นสำ�คัญมากถือว่าเป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ แบ่งแยกระหว่างโลกมนุษย์กบั โลก ของภูตผีวิญญาณออกจากกัน เป็นการรำ�ลึกถึง “ซุมมิโอ” บรรพบุรุษ ผู้ริเริ่มทำ�ประตู หมู่บ้าน ในช่วงเมษายนชาวบ้านจะช่วยกันทำ�ประตูเข้าด้านหน้าหมู่บ้านและด้านหลัง โดยมี “ซยือมะ” หัวหน้าผู้ประกอบพิธีกรรมเป็นประธาน เสาประตูทั้งสองข้างประดับ ไว้ดว้ ย “ตาแหลว” ทีใ่ ช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปคล้ายดาวเรียงรายเป็นแถว มีตกุ๊ ตาไม้ (ตาผ่ามะ) แกะสลักเป็นรูปชาย – หญิง 1 คู่ และมีตุ๊กตาเก่าตั้งอยู่เป็นคู่ทั้งด้านซ้ายและขวาของ ประตู ชาวอาข่าเชื่อว่า ตุ๊กตาเพศหญิง (ยามียะ) นั้นเป็นหญิงชาวป่าลูกสาวพญานาค แกะสลักเต็มตัว ตุก๊ ตาดังกล่าวแสดงอวัยวะเพศชัดเจนโดยถือว่าเป็นต้นกำ�เนิดของทุกสิง่ เป็นสัญลักษณ์การเจริญพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ ส่วนตุ๊กตาเพศชาย (ฮะจือหยะ) นั้นเป็นผู้ใหญ่ เป็นพ่อคน แสดงอวัยวะเพศอย่างเปิดเผย การจัดวางตุ๊กตาหญิงชาย ในท่าร่วมเพศเป็นการสื่อความหมายถึงการดำ�รงเผ่าพันธุ์
78
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
พิธีโล้ชิงช้า (หละเฉอะปิ) จัดขึ้นประมาณเดือนสิงหาคม เพื่อรำ�ลึกถึงเทพธิดา “อิ่มซาแยะ” ผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์แก่พืชผลในไร่นา และขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เทพน้ำ� – เทพฝน (เย้อีซะ) มีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ (อะเพอะพี) สำ�หรับชิงช้านั้น มักสร้างขึน้ ใกล้ประตูหมูบ่ า้ น จัดทำ�ขึน้ 3 แบบ คือ แบบเสากระโจมเต็นท์อนิ เดียนแดง แบบระหัดวิดน้ำ� และแบบสำ�หรับเด็ก วิถชี วี ติ ของอาข่าเป็นวิถขี องเกษตรกร ทำ�การเกษตรเพือ่ ยังชีพ ปลูกข้าวไร่ ถัว่ และ พืชผักเป็นอาหาร การตั้งถิ่นฐานบนภูเขาสูง ปกคลุมด้วยผืนป่าฝนเขตร้อน เอื้ออำ�นวย ให้มีการสั่งสมองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านพืชสมุนไพร ซึ่งปัจจุบันนำ�ไปใช้ในตำ�รับ ปรุงยาของยูนนาน หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในภาษาจีนว่า “หยุนหนานไป่เหยา” อีกทัง้ บริษทั ยาชัน้ นำ�ของโลกในเยอรมันและสวิตเซอร์แลนด์ ได้น�ำ สมุนไพรอาข่าไปวิจยั ทางเภสัชศาสตร์ แล้วผลิตเป็นตัวยาออกจำ�หน่ายทัว่ โลก นอกจากนีแ้ พทย์พนื้ บ้านอาข่า ยังมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านการต่อกระดูกที่หักหรือแตก เครือ่ งแต่งกายของอาข่ามีอตั ลักษณ์โดดเด่น ผูช้ ายสวมเสือ้ ผ้าทีน่ �ำ พืชตระกูล “ห้อม” มาย้อมเป็นสีน�ำ้ เงินเข้ม ปักด้ายหลากหลายสีเป็นลวดลายต่างๆ สวมหมวกปักลวดลาย ประณีต ผูห้ ญิงสวมกระโปรงสัน้ สีดำ� สวมเสือ้ ผ้าฝ้ายทอมือ ด้านหน้ามีแผ่นเงินกลมๆ เรียงรายลงมาจากหน้าอก ด้านหลังปักลวดลายประณีตในรูปทรงเรขาคณิต ทัง้ หญิงชาย สะพายย่ามปักลวดลายสวยงาม ผู้มีฐานะดีจะนำ�เหรียญเงินและกระดุมเงินมาประดับ ตบแต่งให้ดภู มู ฐิ านยิง่ ขึน้ ส่วนผูห้ ญิงสวมหมวกประดับด้วยกระดุมเงินเป็นแถวยาว ด้านล่าง ของหมวกประดับด้วยเหรียญเงินรูปีของอินเดีย หรือเหรียญเงินเปียสต้า ของสหภาพ อินโดจีนฝรั่งเศส ที่เรียกว่า “เงินหมันหัวหนาม” พร้อมทั้งนิยมนำ�ขนนก หางกระรอก หรือขนลิงย้อมสีสดใสมาประดับตกแต่ง มีพหู่ อ้ ยระย้า และสวมสร้อยลูกปัดสีสนั สดใส ชาวอาข่ามีอุปนิสัยร่าเริงสนุกสนาน ชอบร้องเพลงมีบทเพลงและ ท่วงทำ�นองหลากหลาย ผูห้ ญิงนำ�กระบอกไม้ไผ่มาใช้เป็นเครือ่ งเคาะจังหวะ พร้อมทั้งตีฆ้อง กลองและฉาบ ในอดีตหนุ่ม-สาวเวลาเดินทางไปไร่หรือ ทำ � งานในไร่ มั ก ร้ อ งเพลงเกี้ ย วพาราสี โ ต้ ต อบกั น ในลั ก ษณะ “ร้ อ ยเนื้ อ ทำ�นองเดียว” หนุ่มสาวที่มีภูมิรู้ด้านคติคำ�สอนมักนำ�สุภาษิตมาร้องโต้ตอบ ด้วยลีลาการใช้ภาษามีเชิงชั้นและวรรณศิลป์ มีสาระกินใจ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
79
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ข้อควรระวังในการเที่ยวหมู่บ้านอาข่า ธรรมเนียมอาข่ามีข้อห้ามมิให้หนุ่ม-สาวเกี้ยวพาราสีกันในบ้าน แต่ละหมู่บ้าน จะมีข่วง (แดข่อง)เป็นลานวัฒนธรรมให้หนุ่ม-สาว ได้เรียนรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งร้องเพลง และเต้นรำ�เป็นคู่ๆ หากคู่ไหนพึงพอใจกันก็พัฒนาไปสู่การสู่ขอและแต่งงาน โดยความ ยินยอมของพ่อ-แม่ทั้งสองฝ่าย ชาวอาข่ามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการถ่ายโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาของ บรรพชนจากรุน่ หนึง่ สูร่ นุ่ หนึง่ ผูช้ ายสืบทอดวิธกี ารจักสานตะกร้าและภาชนะไม้ไผ่ บางคน มีฝีมือด้านการตีเหล็ก ตีมีด และเครื่องมือการเกษตร รวมทั้งมีฝีมือทำ�ปืนแก๊ปสำ�หรับ ล่าสัตว์ ผูห้ ญิงอาข่าส่วนใหญ่มฝี มี อื ด้านหัตถกรรม ปักผ้าเป็นลวดลายประณีตทีเ่ รียนรู้ จากย่า ยาย และแม่ ดังมีสภุ าษิตอาข่าบทหนึง่ กล่าวว่า “เมือ่ แม่ตายจากไป มรดกทีม่ อบให้ ลูกสาวนอกจากกี่ทอผ้า แล้วยังมีลวดลายศิลปะการปักผ้าวิจิตรประณีต”
กะเหรี่ยง Karen
ความเป็นมา ชาวกะเหรี่ยงขาวหรือสกอว์ (ปกาเกอะญอ) บเว และโปว์ (โพล่ง) อยู่ในตระกูล จีน - ธิเบต ชนชาติโลโล เป็นชาติพันธุ์ที่มีจำ�นวนประชากรมากที่สุดในประเทศไทย คำ�ว่า “ปกาเกอะญอ” มีความหมาย ว่า “คน” ส่วน “โพล่ง” มีความหมาย ว่า “ประชาชน”
80
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
คนไทยในภาคเหนือมักเรียกชาวกะเหรีย่ ง ว่า “ยาง” และ “ยางกะเลอ” ในอดีตชาวพม่า มักดูถกู ชาวกะเหรีย่ ง ว่าเป็น “ควายภูเขา” (Cattle of the hills) และหมิน่ แคลนผูค้ นในล้านนา ว่าเป็น “โยน” ซึ่งมีความหมายว่า “ขี้ข้า” เนื่องจากในรัชสมัยบุเรงนอง พม่ามีชัยชนะ เหนือเชียงใหม่ ปกครองเชียงใหม่และล้านนาเป็นเวลานานถึง 200 ปี การอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย นักประวัติศาสตร์สันนิษฐาน ว่า ชาวกะเหรี่ยงมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่บริเวณด้าน ตะวันตกของธิเบต แล้วย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจีนเมื่อประมาณ 733 ปีก่อนพุทธกาล ในปีพ.ศ. 207 ชาวกะเหรีย่ งถูกกองทัพหลวงของจักรพรรดิจนี รุกราน จึงเคลือ่ นย้ายลงมา ตามลำ�น้ำ�แยงซี ต่อมาเกิดขัดแย้งและสู้รบกับคนไทย จึงเคลื่อนย้ายลงมาตามแนว แม่น�้ำ โขงกับแม่น�้ำ สาละวินในเขตพม่า ส่วนใหญ่เคลือ่ นลงไปตัง้ ถิน่ ฐานบริเวณทีร่ าบลุม่ อุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ�อิระวดี ตัง้ แต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 หลังอำ�นาจของมอญทีห่ งสาวดีออ่ นแอลง อำ�นาจของ พม่าที่อังวะทวีความเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาชาวมอญได้ทำ�สงครามกับพม่าอีกครั้ง และตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงเคลือ่ นย้ายลงมาอยูใ่ นพืน้ ทีข่ องกะเหรีย่ ง ซึง่ ตัง้ ถิน่ ฐานอยูใ่ น พืน้ ทีป่ า่ เขาลุม่ น้�ำ สาละวินมาตัง้ แต่ปพี .ศ.1543 มอญได้ท�ำ สงครามครัง้ ใหญ่กบั พม่า และ ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ส่งผลให้ทั้งมอญและกะเหรี่ยงจำ�นวนมากได้อพยพเข้ามาในไทย ชาร์ล คายส์ นักมานุษยวิทยาประวัตศิ าสตร์ชาวอเมริกนั ศึกษา พบว่า ชาวกะเหรีย่ ง ตัง้ ถิน่ ฐานอยูบ่ ริเวณชายแดนพม่า – ไทย มาตัง้ แต่เมือ่ 600 – 700 ปีมาแล้ว หลังมีปญ ั หา ขัดแย้งกับพม่าในด้านการเมือง ได้อพยพมาอยูใ่ นลุม่ น้�ำ สาละวิน เอกสารประวัตศิ าสตร์ ไทย ระบุวา่ ทีผ่ า่ นมาผูน้ �ำ ของทัง้ กะเหรีย่ งและมอญล้วนช่วยทำ�หน้าทีเ่ ป็นหัวหน้าหน่วย ข่าวกรองชายแดน ช่วยหาข่าวทางทหารให้แก่แม่ทพั นายกองของไทย ทีป่ ฏิบตั กิ ารสูร้ บ ทำ�ศึกสงครามกับกองทัพพม่า เมือ่ ประมาณ 200 ปีทแี่ ล้ว ชาวกะเหรีย่ งจากบ้านเมกะวะ เขตเมืองมะละแหม่งส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดนไทยที่ชองกาเลีย อำ�เภอ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมามีชาวกะเหรีย่ งอพยพตามเข้ามาเรือ่ ยๆ กระจายไป ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี รวมทั้งที่อำ�เภอกุยบุรี อำ�เภอเมืองฯ และอำ�เภอหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ คนไทยแถบนั้นเรียกว่า “กะหร่าง”
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
81
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ต่อมาเจ้าเมืองกาญจนบุรีได้แต่งตั้งผู้นำ �ชาวกะเหรี่ยงที่ชองกาเรียให้เป็นเจ้าเมือง สังขละบุรีคนแรก พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุวรรณคีรี การอพยพเข้ามาในไทยครั้งใหญ่ของกะเหรี่ยงมีขึ้นในปี 2428 เมื่อจ่อปาละผ่อ ผูน้ ำ�กะเหรีย่ งไม่ยอมโอนอ่อนอยูใ่ ต้อำ�นาจของอังกฤษ อังกฤษส่งกำ�ลังทหารเข้าปราบ ชาวกะเหรีย่ งจำ�นวนมากหนีขา้ มแม่น�้ำ สาละวินและแม่น�้ำ เมยเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานปะปนกับ ชาวละว้า โดยเฉพาะบริเวณทีร่ าบสูงกองลอย แม่เหาะ เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขา แดนลาว เช่น แม่ตื่น อมก๋อย แม่โถ แม่สะเรียง แม่แจ่ม แม่วาง แม่วิน สันป่าตอง แม่คอง เชียงดาว ห้วยแก้ว แม่ปงิ เมืองน้อย อำ�เภอปาย โดยส่วนใหญ่เข้าไปตัง้ ถิน่ ฐาน ในดินแดนของละว้า และได้จ่ายค่าแผ่นดินให้ชาวละว้า ต่อมาชาวกะเหรีย่ งกลุม่ เดียวกับยางคำ�นุได้ขา้ มเทือกเขาสันปันน้�ำ มาตัง้ ถิน่ ฐาน ในพืน้ ทีเ่ ชียงราย เช่น ทีบ่ า้ นห้วยหินลาด ตำ�บลบ้านโป่ง อำ�เภอเวียงป่าเป้าเมือ่ ประมาณ 100 ปีที่แล้ว ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีความเชื่อในเรื่องผีและมีศรัทธาในพุทธศาสนา กลุม่ ทีม่ าจากอมก๋อยและแม่แจ่มตัง้ ชุมชนในพืน้ ทีแ่ ม่สรวย กลุม่ ทีม่ าจากแม่โถ แม่แจ่ม บ่อแก้ว สะเมิงไปตัง้ บ้านเรือนอยูท่ บี่ า้ นน้�ำ ลัด อำ�เภอเมือง ก่อนจะแยกย้ายไปอยูท่ บี่ า้ น รวมมิตร บ้านห้วยขม และบ้านโป่งน้�ำ ตก ส่วนทีอ่ �ำ เภอดอยหลวง มีกะเหรีย่ งโพล่ง (โปว์) ซึ่งบรรพบุรุษมีศรัทธาในครูบาศรีวิชัยไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านห้วยสัก บ้านดอย ฯลฯ การกระจายตัว ปัจจุบนั มีชาวกะเหรีย่ งตัง้ ถิน่ ฐานอยูท่ งั้ ในภาคเหนือตอนบนและภาคกลาง เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำ�ปาง ลำ�พูน ตาก กำ�แพงเพชร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรขี นั ธ์ เฉพาะทีจ่ งั หวัดเชียงราย มีชาวกะเหรีย่ ง ตัง้ ถิน่ ฐานอยูท่ อี่ �ำ เภอเมือง 11 หมูบ่ า้ น อำ�เภอเวียงชัย 1 หมูบ่ า้ น เวียงป่าเป้า 12 หมูบ่ า้ น แม่สรวย 11 หมู่บ้าน เวียงแก่น 1 หมู่บ้าน และดอยหลวง 4 หมู่บ้าน รวมจำ�นวน ประชากรทั้งสิ้น 7,623 คน (ตัวเลขการสำ�รวจเป็นทางการปี 2551)
82
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
สภาพทางสังคม โดยทัว่ ไปชาวกะเหรีย่ งมักตัง้ ถิน่ ฐานในหุบเขาทีม่ หี ว้ ยน้�ำ ลำ�ธารไหลผ่าน มีผนื ป่า อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีป่าเป็นแหล่งอาหาร นอกจากพืช ผักในผืนป่าแล้วยังมีสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เป็นแหล่งโปรตีน ในห้วยน้ำ�ลำ�ธารอุดม ด้วยกุง้ หอยปูปลา รวมทัง้ พืชสมุนไพร ชาวบ้านส่วนใหญ่ดำ�เนินชีวติ ด้วยการทำ�เกษตร ตามแบบแผนชาติพันธุ์ คือ เกษตรผสมผสาน ปลูกพืชหลากหลายชนิดปะปนกับข้าวไร่ ในไร่หมุนเวียน ทีเ่ วียนจากพืน้ ทีแ่ ปลงที่ 1 ไปยังแปลงอืน่ ๆ จนครบ แล้วจึงเวียนกลับมา ใช้พื้นที่แปลงที่ 1 ใหม่ ไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงมีช่วงระยะเวลาการใช้พื้นที่ แตกต่างกัน โดยทัว่ ไปแปลงหนึง่ ใช้เวลา 2 – 3 ปีแล้วเวียนไปแปลงอืน่ บางหมูบ่ า้ น เช่น หินลาดใน อำ�เภอเวียงป่าเป้า ใช้เวลาถึง 7 ปีจึงย้ายไปยังแปลงใหม่ เศรษฐกิจของชาวกะเหรีย่ งเน้นเศรษฐกิจชุมชนพึง่ ตนเอง ปลูกข้าวไร่บนภูเขา และ ทำ�นาขั้นบันได เพื่อให้มีข้าวเพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปี พร้อมทั้งปลูกพืชผัก หลากหลายชนิดในไร่ขา้ ว ส่วนรายได้นน้ั มาจากการการขายสัตว์เลีย้ ง อาทิ วัว ควาย หมู และไก่ ชาวกะเหรีย่ งบนเทือกเขาถนนธงชัย และบนทีร่ าบสูงกองลอยเดิมมีเพียงภาษาพูด ไม่มภี าษาเขียน มิชชันนารีชาวอเมริกนั นิกายโปรเตสแตนท์ ได้น�ำ ตัวอักษรแบบพม่าหรือ ล้านนามาประยุกต์ใช้ในปี 2375 เมือ่ ครัง้ เข้าไปเผยแพร่ศาสนาอยูใ่ นพม่า ส่วนตัวอักษร ภาษากะเหรี่ยงที่ประยุกต์จากอักษรโรมันหรืออักษรในภาษาอังกฤษ นั้นมิชชันนารี ชาวฝรัง่ เศสในนิกายโรมันคาทอลิก ได้ประยุกต์ขนึ้ ใช้ในปี 2497 การเผยแพร่คริสต์ศาสนา และการแปลพระคัมภีรเ์ ป็นภาษากะเหรีย่ งส่งผลให้ชาวกะเหรีย่ งจำ�นวนมากเปลีย่ นจาก นับถือผีมานับถือคริสต์บางคนทำ�หน้าที่เป็นผู้ประกาศศาสนาหรือศิษยาภิบาล การปกครอง ผูน้ �ำ ตามประเพณีของชาวกะเหรีย่ งในแต่ละชุมชน คือ “ฮีโข่” เป็นผูน้ �ำ ธรรมชาติ ทีม่ บี ทบาทสำ�คัญในการประกอบพิธกี รรมต่างๆ เช่น กำ�หนดวันประกอบพิธปี ใี หม่ของ หมูบ่ า้ น ทีท่ กุ ครัวเรือนจะมาสักการะบวงสรวงผีเจ้าที่ (มาบุ) ขอให้ชว่ ยปกครองคุม้ ครอง ทุกคนในครัวเรือนให้อยูด่ มี สี ขุ ไม่มภี ยั อันตรายใดๆ รบกวนคุกคาม นอกจากนีย้ งั ดูแล
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
83
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ให้ทกุ คนในหมูบ่ า้ นดำ�เนินชีวติ อยูใ่ นกรอบของขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หากมีผฝู้ า่ ฝืน จะถูกลงโทษด้วยการปรับไหม นอกจากนีใ้ นชุมชนยังมีกลุม่ ผูอ้ าวุโสทีค่ อยให้ค�ำ ปรึกษา หารือแก่ “ฮีโข่” ความเชื่อ ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงจำ�นวนมากยังคงนับถือผีอย่างเหนียวแน่น ควบคู่ไปกับ นับถือพุทธศาสนา โดยมีความเชือ่ ว่า ผีบรรพบุรษุ ช่วยคุม้ ครองให้ทกุ คนในครอบครัวมี ความสุขสงบร่มเย็น ส่วนผีเจ้าทีช่ ว่ ยคุม้ ครองให้ทกุ คนในหมูบ่ า้ นทำ�มาหากินได้ผลผลิตดี มีความอุดมสมบูรณ์ โดยผีท�ำ หน้าทีเ่ ป็นเสมือนผูค้ วบคุมกลไกการขับเคลือ่ นของสังคม ไม่ว่าใครจะทำ�อะไร ทั้งในที่สว่างและมืด แม้ว่าจะไม่มีใครเห็น แต่ว่าผีเห็นและรับรู้ ใครทำ�ผิดจะถูกผีลงโทษ ซึง่ ไม่เพียงลงโทษผูก้ ระทำ�ผิดเท่านัน้ หากแต่ลงโทษทุกคนใน ชุมชนด้วยการทำ�ให้เกิดเจ็บป่วย หรือเกิดวิบัติต่อทรัพย์สิน เช่น ข้าว สัตว์เลี้ยง รวมทั้ง ความปลอดภัยของทุกคนในหมูบ่ า้ น ด้วยเหตุนผี้ กู้ ระทำ�ผิดจึงต้องขอขมาต่อผีดว้ ยเหล้า และไก่ หากทำ�ผิดร้ายแรง ผีอาจเลือกกินควาย 1 ตัว หรือหมู 1 ตัว หลังฆ่าควายหรือ หมูแล้ว จะนำ�เอาดีมาพิจารณา หากว่าดีผดิ ปกติถอื ว่าใช้ประกอบพิธไี ม่ได้ ต้องซือ้ ควาย หรือหมูตัวใหม่มาฆ่าเซ่นไหว้อีกตัวหนึ่ง ชาวกะเหรี่ยงมีการถ่ายโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แม้จะอ่านและเขียนหนังสือไม่ได้ แต่วา่ มีการสืบทอดด้วยการใช้บทเพลงพืน้ บ้านซึง่ เป็น วรรณกรรมมุขปาฐะ เช่น ปริศนาคำ�ทาย เพลงร้องเล่นของเด็ก นิทาน และ บทลำ�นำ� สุภาษิตหรือ“ธา” ซึง่ เป็นคำ�สอนของบรรพบุรษุ โดยอาจร้องในขณะเดินทางในป่าเขาเพือ่ ไปยังไร่นา ไปล่าสัตว์ ไปตักน้ำ�หรือหาฟืน หรือขณะนั่งจิบชาสนทนารอบเตาไฟในบ้าน หรือบนลานดินหน้าบ้าน รวมทั้งในงานศพ การทีช่ าวกะเหรีย่ งนับถือผีบรรพบุรษุ ฝ่ายมารดา ส่งผลให้ผหู้ ญิงมีบทบาทสำ�คัญ ในทุกครัวเรือน ถือว่าผูห้ ญิงเป็นใหญ่ ชายหนุม่ ทีแ่ ต่งงานจะไปอยูบ่ า้ นฝ่ายภรรยา และมี ผัวเดียว – เมียเดียว ก่อนแต่งงาน ญาติผใู้ หญ่ฝา่ ยหญิงจะไปสอบถามญาติผใู้ หญ่ฝา่ ยชาย
84
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
หากผูใ้ หญ่ทง้ั สองฝ่ายตกลงทีจ่ ะให้หนุม่ สาวแต่งงานกัน จะไม่มกี ารเรียกสินสอดทองหมัน้ เมื่อมีลูกชายหรือลูกสาวคนแรกก็จะเปลี่ยนมาเรียกว่า “พ่อของ (ชื่อลูกคนแรก)” ในสมัยก่อนเมือ่ ภรรยาตาย กระท่อมทีอ่ าศัยอยูต่ อ้ งรือ้ ทิง้ แล้วสร้างใหม่สำ�หรับ ลูกสาวที่แต่งงานแล้ว โดยผู้เป็นพ่ออาศัยอยู่กับครอบครัวลูกสาว เด็กสาวที่เป็นโสด จะสวมชุดผ้าฝ้ายสีขาว หากแต่งงานมีครอบครัวจะแต่งแบบสองท่อน คือ สวมเสื้อ แขนสัน้ ปักลวดลายและสวมซิน่ สีแดง พิธศี พถือเป็นงานสำ�คัญยิง่ ทุกคนต้องไปร่วมในพิธี คนหนุ่มสาวจะเดินแถวเรียงหนึ่งไปรอบๆ ศพผู้ตาย ขับขาน “ธา” กันตลอดทั้งคืน หนุ่มสาวบางคู่ถือโอกาสนี้ทำ�ความรู้จักกัน บ้างพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่การแต่งงาน ชาวกะเหรี่ยงมีฝีมือในด้านงานหัตถกรรม ปลูกฝ้ายเพื่อนำ�มาทอผ้า ย้อมสี ธรรมชาติ นำ�เมล็ดพืชมาประดับเป็นลวดลายงดงามประณีต มีความชำ�นาญในการนำ� ไม้ไผ่และหวายมาจักสานเป็นภาชนะเครือ่ งใช้ตา่ งๆ อีกทัง้ มีเครือ่ งดนตรีของชาติพนั ธุท์ ี่ โดดเด่น คือ เตหน่า ซึง่ เป็นเครือ่ งดนตรีประเภทพิณ (Harp) นักวิชาการด้านดนตรีจดั พิณ ของกะเหรีย่ งเป็นพิณโบราณ นอกจากนีย้ งั มีฆอ้ ง กลอง ฉิง่ ฉาบ รวมทัง้ ฆ้องกบ (โกละ) ที่นำ�มาเล่นเป็นดนตรีของชาติพนั ธุ์ รวมทั้งศิลปะการขับร้องและฟ้อนรำ� เช่น การรำ�ตง (การเต้นรำ�กระทบไม้ – โคยวะ) เป็นต้น เหล่านีล้ ว้ นแสดงถึงการมีอารยธรรมของชาติพนั ธุ์ พิธีกรรมสำ�คัญ พิธีกรรมส่วนใหญ่ของกะเหรี่ยงจะเน้นหนักไปในทางด้านการเซ่นไหว้ผี หรือ สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ โดยเฉพาะผีบรรพบุรษุ ทีม่ กี ารสืบทอดทางฝ่ายมารดา เพือ่ เป็นการขอบคุณ และขอขมาในการที่ได้ล่วงเกิน มีการมัดข้อมือในเวลาเจ็บป่วย เป็นการเรียกขวัญและ ขอให้ผีช่วยปกป้องคุ้มครองให้หายจากการเจ็บป่วย กะเหรี่ยงภาคกลางมีพิธีกรรมที่ สำ�คัญคือ พิธีทำ�บุญใหญ่ประจำ�ปี นอกจากนี้แล้ว ยังมีพิธีกรรมเช่นเดียวกับชนเผ่า อื่นๆ คือ พิธีการแต่งงาน พิธีกินข้าวใหม่ พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีศพ และพิธีปีใหม่ (จัดใน เดือนกุมภาพันธ์)
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
85
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ลาหู่ Lahu
ความเป็นมา ชาวลาหูห่ รือมูเซอร์ อยูใ่ นตระกูลจีน – ธิเบต กลุม่ ชนชาติโลโล ตระกูลย่อยธิเบต – พม่า ความหมายของคำ�ว่าลาหู่ คือ ผู้มีความซื่อสัตย์และมีสัจจะ ช่วงศตวรรษ 18 และ 19 ตัง้ ถิน่ ฐานอยูท่ ่ี ภูเขาโหล่เฮ่ย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน มีพระเป็นผูน้ � ำ เมือ่ จักรพรรดิ พยายามแผ่ขยายอิทธิพลวัฒนธรรมเข้าครอบงำ�และหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมจีน พร้อมทั้งใช้วิธีแต่งตั้งชาวลาหู่ที่อยู่ใต้อาณัติให้เป็นผู้ปกครอง แต่พระและชาวลาหู่ ส่วนใหญ่ต่อต้านปฏิเสธ จักรพรรดิจึงส่งทหารเข้าปราบปรามหลายครั้ง ในปีพ.ศ.2432 ชาวลาหู่ต้านทานไม่ไหวพากันหนีไปพึ่งพิงชาวละว้าบนภูเขาว้า (Ava shan) ที่ชายแดนจีน – พม่าด้านเมืองแลม ชาวละว้าให้ความช่วยเหลืออย่างดี ช่วงเวลานัน้ ชาวละว้ามีพธิ กี รรมล่าศีรษะมนุษย์ แต่กย็ กเว้นไม่ลา่ ศีรษะชาวลาหู่ ช่วงต้น ฤดูฝนขณะข้าวไร่สงู ประมาณหนึง่ คืบ ชาวละว้ากลุม่ “ว้าฮ้าย” (Wild Wa) ถือเป็นช่วงเวลา แห่งการล่าศีรษะ บรรดานักรบนำ�โดย “หมอผี” จะพากันออกไปตัดศีรษะมนุษย์ เพือ่ นำ�มา ประกอบพิธีเซ่นไหว้ให้ข้าวเติบโตงดงาม ไม่มีแมลงศัตรูพืชและภัยธรรมชาติรบกวน ในการนี ้ “หมอผี” จะโปรยยาเส้นและข้าวตอกลงบนพืน้ ถนน จากนัน้ ซุม่ รอเหยือ่ บริเวณ ดังกล่าว หากใครผ่านจุดนั้นเข้ามาถือว่าเคราะห์ร้ายชะตาขาด เหล่านักรบ “ว้าฮ้าย”
86
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
จะจู่โจมตัดศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็น “พ่อค้าวัวต่าง” และ “พ่อค้าโกนหาบ” (พ่อค้า คนหาบ) ทัง้ จีนฮ่อ ไตโหลง (ไทใหญ่) ไตลือ้ ไตยอง และไตขืน ซึง่ เดินทางค้าขายระหว่าง เมืองแถบชายแดนจีน – พม่า ในพื้นที่รัฐว้า “ว้าฮ้าย” ทัง้ ในจีนตอนใต้และในรัฐว้าของพม่าไม่ตดั ศีรษะลาหู่ จะตัดเฉพาะศีรษะ “คนฟันขาวและคนไม่ใส่ลานหู” “คนฟันขาว” หมายถึง หญิงชายที่ไม่เคี้ยวหมากหรือ ไม่เลีย่ มฟันทอง ส่วน “คนไม่ใส่ลานหู” หมายถึงหญิงชายทีไ่ ม่ใส่ตา่ งหู หญิงชายลาหูน่ ยิ ม เคี้ยวหมากจนฟันดำ� คนมีฐานะดี มักมี “เขี้ยวคำ�” (เลี่ยมฟันทอง) อีกทั้งหญิงชายลาหู่ ล้วนนิยมใส่ลานหูเช่นเดียวกับชาวละว้า ชาวลาหูแ่ ละละว้ามักพึง่ พาอาศัยกันฉันพีน่ อ้ ง อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมการล่าศีรษะมนุษย์มาประกอบพิธีเซ่นไหว้ดังกล่าว ล้มเลิกไป โดยเด็ดขาดหลังปีพ.ศ.2492 ชาวลาหูเ่ ป็นกลุม่ ชาติพนั ธุท์ มี่ จี �ำ นวนประชากรมาก จำ�แนกกลุม่ ย่อยได้ถงึ 23 กลุม่ เฉพาะทีอ่ พยพเข้ามาอยูใ่ นภาคเหนือตอนบนของไทยมีเพียง 5 กลุม่ ย่อย ตามภาษาทีพ่ ดู และสีของเสือ้ ผ้าทีส่ วมใส่ อันได้แก่ ลาหูน่ ะ (Lahu Na) หรือลาหูด่ � ำ บางครัง้ เรียกลาหูแ่ ท้ หรือ มูเซอเมืองเหนือ ลาหู่ยี (Laha Nyi) หรือ ลาหู่แดง บางครั้งเรียกลาหู่ย่าหรือมูเซอ เมืองใต้ ลาหูซ่ ี (Lahu Shi) หรือลาหูเ่ หลือง (บางครัง้ เรียกลาหูก่ ยุ้ หรือมูเซอหลวง) ลาหูฟ่ ู่ (ลาหู่ขาว) และลาหู่เฌเล (Lahu Sheh Leh) บางครั้งเรียกลาหู่เมี้ยว ปัจจุบันมีจำ�นวน ประชากรในไทยประมาณ 100.000 คน เฉพาะที่เชียงราย พบว่ามีจำ�นวน 49,427 คน (ตัวเลขการสำ�รวจอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2545) การอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย ชาวลาหู่ในจีนส่วนหนึ่งเคลื่อนลงมายังรัฐฉาน ตั้งถิ่นฐานบนภูเขาในเขตเชียงตุง ส่วนหนึ่งเข้ามาในเขตไทยเมื่อไม่เกิน 100 ปีที่ผ่านมา ตั้งบ้านเรือนอยู่ด้านเหนือและ ด้านตะวันตกของเชียงราย เช่น บนดอยปู่ไข่ ดอยตุง ดอยแม่สะลอง(สันติคีรี) หินแตก (เทอดไทย) และวาวี ในระดับความสูงประมาณ 4,500 ฟุต หรือประมาณ 1,200 เมตร เหนือระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง มีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น อีกส่วนหนึ่งตั้งบ้านเรือน บนดอยสูงด้านเหนือของเชียงใหม่ เช่น ทีเ่ ชียงดาว เวียงแหง ไชยปราการ และฝาง บางส่วน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
87
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ไปตั้งถิ่นฐานแถบตะวันออกเฉียงเหนือของแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะปายและปางมะผ้า นอกจากนี้ ยั ง มี อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ตั้ ง ถิ่ น ฐานบนดอยมู เซอร์ ที่ ห นาวเย็ น ทางด้ า นเหนื อ ของจังหวัดตาก สืบทอดองค์ความรู้ดั้งเดิมของบรรพชนไว้ได้อย่างดี มีการนำ�เปลือก ต้นยางน่องซึง่ เป็นไม้ยนื ต้นขนาดใหญ่ มาทุบให้น�้ำ ยางน่องซึง่ มีพษิ ร้ายแรงออกจนหมด แล้วนำ�มาทำ�เป็นเสื้อคลุมหรือทำ�เสื่อปูรองนั่ง การกระจายตัว ด้านลาหู่เฌเลและลาหู่ซี (ลาหู่เหลือง) เคลื่อนย้ายเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือเมื่อ ประมาณไม่เกิน 90 ปีทแี่ ล้ว ส่วนลาหูน่ ะ (ลาหูด่ �ำ ) เดินทางผ่านเมืองแถง (เดียนเบียนฟู) เข้ามายังแขวงพงสาลี เมือนฮุน เมืองไซแขวงอุดมไซ เมืองน้ำ�ทา หลวงน้ำ�ทา เวียงพูคา และบ่แก้ว สปป.ลาว เข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานทีเ่ ชียงรายและเชียงใหม่ แต่วา่ มีจ�ำ นวนไม่มากนัก ในเชียงรายมีเพียงไม่กี่หมู่บ้าน ส่วนใหญ่เลิกนับถือผี หันมานับถือคริสต์ศาสนานิกาย โรมันคาทอลิค ความเชื่อ ชาวลาหู่ ใ นเชี ย งราย รวมทั้ ง ภาคเหนื อ มี ค วามเชื่ อ และการนั บ ถื อ ศาสนา แตกต่างกัน มที งั้ นับถือ “เทพเจ้าหงือ่ ซา” ผีบรรพบุรษุ หรือ “หนี”่ บ้างนับถือพุทธ และคริสต์ ส่วนหนึ่งนับถือผีบรรพบุรุษควบคู่กับพุทธศาสนานิกายเถรวาท ช่วงประมาณ ปีพ.ศ. 2473 – 2483 ชาวลาหูท่ ตี่ งั้ ถิน่ ฐานในผืนป่าเชียงดาวพากันหันมานับถือพุทธศาสนา ด้วย ศรัทธาเลือ่ มใสในพระป่า คือ “หลวงปูม่ นั่ ” (พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต) และบรรดาสานุศษิ ย์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ฯลฯ ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และเดินจงกรมอยู่ในผืนป่าเชียงดาว ในช่วงแรกชาวลาหู่ได้มาขอ “คาถาป้องกัน ภูตผีปีศาจ” ต่อมาได้ใส่บาตรและปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะ ชาวลาหู่ อี ก ส่ ว นหนึ่ ง มี ศ รั ท ธาในครู บ าศรี วิ ชั ย ที่ จ าริ ก ไปสร้ า งโบสถ์ วิ ห าร พระธาตุเจดีย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานต่างๆ และสร้างโรงเรียนให้เด็กและเยาวชน
88
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ในพืน้ ทีช่ นบทห่างไกลทุรกันดาร และบนภูเขาสูงซึง่ เป็นถิน่ ฐานของกลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ได้เข้าถึงการศึกษา เรียนรู้พัฒนาตนให้เป็นผู้อ่านออกเขียนได้ สืบทอดองค์ความรู้และ ภูมิปัญญาของชาติพันธุ์ ชาวลาหู่ในไทยนับถือคำ�สอนของผู้นำ�ศาสนา คือ อาขาฟูคู พร้อมทั้งเชื่อว่ามี เทพเจ้าสูงสุดเป็นผู้สร้างสิ่งดีงามในโลก ส่วนผีมีทั้งผีดีและผีร้าย ทุกหมู่บ้านมีหมอผี ทำ�พิธไี สยศาสตร์ทชี่ าวบ้านให้ความเคารพนับถือ ช่วงศตวรรษที่ 19 มิชชันนารีอเมริกนั นิกายเพรสไบทีเรียน อาทิ สาธุคณ ุ กอร์ดอน ยัง (Rev. Gordon Young) ซึง่ เป็นเจ้าหน้าที่ หน่วยบริการด้านยุทธศาสตร์หรือโอเอสเอส.ได้เข้าไปเผยแพร่คริสต์ศาสนาบริเวณแนว ตะเข็บรอยต่อชายแดน จีน – พม่า และภาคเหนือตอนบนของไทย ตามแผนยุทธศาสตร์ ปิดล้อมจีนของสหรัฐอเมริกา เพื่อวางแนวป้องกันการแผ่อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ ลงมายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ชาวลาหู่และชาวละว้าชายแดนพม่า – จีน รวมทัง้ ในภาคเหนือตอนบนของไทยจำ�นวนหนึง่ รับศีลจุม่ เปลีย่ นมานับถือศาสนาคริสต์ ละทิ้งความเชื่อความเรื่อง “ผี” อีกทั้งไม่สนใจอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในภาษา พูดชาวลาหู่ที่เปลี่ยนมาเป็นคริสเตียน มีคำ�ศัพท์ใหม่ๆ ที่หยิบยืมคำ�ในภาษาอังกฤษ ลาติน และกรีก จากพระคัมภีร์ไบเบิล มิชชันนารีอเมริกันนำ�อักษรโรมันมาประยุกต์ใช้เป็นภาษาเขียน สอนเยาวชน ลาหู่ให้อ่านออกเขียนได้ มีการแปลและจัดพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิล (New Testament) เป็นภาษาลาหู่ พร้อมทั้งส่งศิษยาภิบาลในสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทยเข้าไป เผยแพร่ในชุมชนต่างๆ ส่งผลให้จักรวาลวิทยา (Cosmology) ของลาหู่แปรเปลี่ยน ไปจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมา “ผี” มีบทบาทสำ�คัญเป็นเสมือนผู้ควบคุม กลไกการขับเคลื่อนของสังคม เมื่อ “ผี” ถูกลบเลือนหายไป มี “พระเจ้า” เข้ามาแทนที่ ก่อให้เกิดความแปลกแยกในวิธีคิดของผู้คน บางคนเกิดความตระหนกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เนื่องจาก “ผี” และ “พระเจ้า” นั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
89
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
สภาพสังคม ภาษาลาหูอ่ ยูใ่ นกลุม่ โลโล ซึง่ เป็นกลุม่ ย่อยของโลโล – พม่า ในตระกูลจีน – ธิเบต คำ�ศัพท์ที่ใช้หลายคำ�เหมือนภาษาพม่า ลีซู และอาข่า บางคำ�หยิบยืมจากภาษาจีนและ ภาษาไต ลาหูแ่ ต่ละกลุม่ พูดสำ�เนียงต่างกันเล็กน้อยสามารถสือ่ สารกันได้ ยกเว้นลาหูเ่ ฌเล ทีแ่ ตกต่างออกไปมาก ผูม้ อี าชีพค้าขายมักพูดภาษาจีนสำ�เนียงท้องถิน่ ยูนนาน (จีนฮ่อ) ได้ดี อีกทั้งในอดีต กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น อาข่า ลีซู (ลีซอ) เมี่ยน (เย้า) ละว้า (ว้า) ในพื้นที่ภูเขาแถบแม่จันและแม่ฟ้าหลวง รวมทั้งในรัฐฉาน มักใช้ภาษาลาหู่เป็นภาษา กลางในการสื่อสารระหว่างกัน การตัง้ ถิน่ ฐานของลาหู่ พิจารณาว่า บริเวณนัน้ มีแหล่งน้�ำ เพือ่ อุปโภคบริโภคหรือ ไม่ มีพนื้ ทีป่ ลูกข้าวไร่ และพืน้ ทีป่ ลูกฝิน่ หรือไม่ ในอดีตชาวลาหูป่ ลูกฝิน่ เป็นพืชเศรษฐกิจ ปัจจุบันเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดแทน การปลูกสร้างบ้านเรือนส่วนใหญ่ยึดแบบแผน สถาปัตยกรรม เดิมตัวบ้านและฝาใช้ไม้ไผ่ มุงด้วยหญ้าคา ปัจจุบนั ส่วนใหญ่เปลีย่ นเป็น พื้นไม้และฝาไม้ หรือเป็นบ้านปูน หลังคาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องและสังกะสี ทำ�ให้ช่วง กลางวันตัวบ้านร้อนอบอ้าวมาก พืน้ ทีใ่ ช้สอยในบ้านแยกเป็นสีส่ ว่ น คือ เฉลียงหน้าบ้าน ติดกันเป็นพื้นที่เก็บฟืนและภาชนะใส่น้ำ� ในตัวบ้านมีห้องโถงใหญ่เป็นที่ตั้งเตาไฟ อีกส่วนเป็นห้องหัวหน้าครอบครัวและภรรยา มีหิ้งบูชาผีเรือน (แหย่นี) หากเป็นลาหู่ยี จะมีกระบอกไม้ไผ่ ก้อนหิน จอกเหล้าและปุยฝ้ายวางอยู่ แต่หากเป็นเฌเลจะเป็นประตู ปิด-เปิดทีม่ มุ ด้านในสุดของห้องนอน บริเวณหน้าบ้านของหัวหน้าหมูบ่ า้ นลาหูเ่ ฌเลจะ ต้องมีลานเต้น “จะคึ” เพื่อประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า “หงื่อซา” การปกครอง ครอบครัวชาวลาหูเ่ ฌเลมีความเชือ่ มโยงของสายตระกูลเหนียวแน่นมาก มีความ สัมพันธ์ทางสายโลหิตเข้มแข็ง แต่ละครอบครัวจะต้องเข้าพิธีแต่งงาน 2 ครั้ง ครั้งแรก เป็นการสร้างครอบครัว ครั้งที่ 2 เป็นการทดแทนพระคุณพ่อ – แม่ โดยเชื้อเชิญคน ทั้งหมู่บ้านมาร่วม คนในหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติ การแต่งงาน ความเป็นเพื่อน และการพึ่งพากันในเชิงเศรษฐกิจ มี “คะแซป่า” หรือหัวหน้าหมู่บ้าน
90
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
เป็นผู้รับผิดชอบให้การดำ�เนินชีวิตของลูกบ้านอยู่ในกรอบขนบจารีตและกฎระเบียบ ของหมู่บ้าน ผู้ชายลาหู่มีอิสระในการเลือกหญิงสาวมาเป็นภรรยา และมักมีภรรยา เพียงคนเดียว มีการสู่ขอแต่งงานโดยการยินยอมของพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย มีผู้อาวุโส เป็นผู้ประกอบพิธี ฝ่ายหญิงจะฆ่าหมู 1 ตัวเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ขอให้การแต่งงาน มี ค วามสุ ข หากจะหย่ า ร้ า งกั น คนทั้ ง หมู่ บ้ า นจะมาเป็ น พยาน มี ก ารฆ่ า หมู แ ละ จ่ายค่าธรรมเนียมให้หัวหน้าหมู่บ้าน พิธีกรรมสำ�คัญ ด้านพิธกี รรม ชาวลาหูเ่ ฌเลและลาหูย่ ยี ดึ ถือปฏิบตั ติ ามแบบแผนขนบจารีตดัง้ เดิม อย่างเคร่งครัด ดำ�เนินชีวติ ตามความเชือ่ และวัฒนธรรมประเพณีของชาติพนั ธุ์ นิยมเลีย้ ง สัตว์ไว้บริโภค ลาหู่ยีดั้งเดิมที่นับถือ “หงื่อซา”ไม่ฆ่าสัตว์เลี้ยงผี โดยเฉพาะวัว หมู และ ไก่ ส่วนลาหู่เฌเลมีธรรมเนียมฆ่าหมูด�ำ และไก่เซ่นไหว้ พิธีกรรมของลาหู่หลากหลาย เช่น กินข้าวใหม่ (จ่าซื่อจ่าเว) จัดช่วงข้าวไร่สุกเต็มที่ระหว่างตุลาคม – พฤศจิกายน ถือว่าเป็นช่วงเวลาดีที่สุด มีอาหารการกินบริบูรณ์ มีการฆ่าหมูเพื่อเซ่นไหว้ผีใหญ่ วั น ดอซี ยี เ ที ย บได้ กั บ ปี ใ หม่ ส งกรานต์ วั น เข้ า ซี ยี เ ที ย บได้ กั บ วั น เข้ า พรรษา วันออกซียีเทียบได้กับวันออกพรรษา พิธีฉลองปีใหม่หรือกินวอปีใหม่ (เขาะจ่าเว) จัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน หัวหน้าหมูบ่ า้ นหรือผูอ้ าวุโสเป็นผูก้ �ำ หนดวัน ซึง่ แต่ละหมูบ่ า้ น มักจัดไม่ตรงกัน เพื่อให้ญาติมิตรพี่น้องจากหมู่บ้านอื่นเดินทางไปร่วม นอกจากนี้ยังมี พิธีเซ่นไหว้ ผีป่า ผีไร่ ผีภูเขา ฯลฯ ในอดีตชาวลาหูท่ �ำ การเกษตรแบบไร่เลือ่ นลอย มีการแผ้วถางป่าแล้วเผา อพยพ โยกย้ายหมูบ่ า้ นทุกๆ 2 - 3 ปี เมือ่ ความอุดมของผืนดินหมดไปก็จะย้ายไปอยูท่ แี่ ห่งใหม่ พืชหลักที่ปลูก คือ ข้าวไร่ไว้บริโภคและข้าวโพดไว้เลี้ยงสัตว์ ปลูกพริกเป็นพืชเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีถั่ว ฟักทอง แตงโม แตงกวา กล้วย ฯลฯ ก่อนหน้านี้หมู่บ้านที่อยู่ใน ระดับความสูงเกิน 1,200 เมตรเหนือระดับน้�ำ ทะเลปานกลางซึง่ สามารถปลูกฝิน่ ได้ผลดี มีการปลูกฝิน่ เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ต่อมาเลิกราไปเพราะรัฐเข้มงวด มีมาตรการห้ามพร้อม ทัง้ ส่งเสริมให้ปลูกพืชทดแทน การดำ�เนินชีวติ อิงปฏิทนิ เกษตรกรรม เชือ่ มโยงวัฒนธรรม
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
91
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การผลิตของชาติพันธุ์ ที่กำ �หนดเป็นแบบแผน ว่า เดือนไหนควรปลูกพืชชนิดใด และทำ�กิจกรรมการเกษตรเช่นไร เช่น เตรียมดิน เผาไร่ ถางหญ้ากำ�จัดวัชพืช เกีย่ วข้าวและ เก็บเกีย่ วผลผลิต อีกทัง้ ยังมีความสามารถเป็นเลิศในการล่าสัตว์ ชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน เรียกพวกเขาว่าชนเผ่านายพราน หรือ “มูเซอร์” ด้านวัฒนธรรม เยาวชนที่ลงมาเรียนหนังสือและทำ�งานในเมือง ปรับตัวรับ อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมอืน่ ๆ เข้ามาในวิถชี วี ติ ประจำ�วันมากขึน้ เช่น เดียวกับผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่ละทิ้งความเชื่อเรื่อง “ผี“ มีวิถีชีวิตผิดแผกไปจากเดิม โดยสิ้นเชิง แต่ส่วนใหญ่ผู้อยู่ในชุมชนยังคงรักษาขนบจารีตและวัฒนธรรมประเพณี ดั้งเดิมไว้ได้อย่างดี ชาวลาหูม่ อี ปุ นิสยั สนุกสนานร่าเริง ชอบร้องรำ�ทำ�เพลง ลาหูเ่ ฌเลมีเครือ่ งดนตรี หลัก คือ กลอง ฆ้อง ฉาบ แคน ซึง และขลุย่ ทีใ่ ช้บรรเลงในการเต้นจะคึ และมีจอ้ งหน่อง (อ่ะถะ) ใช้ดีดและเป่าในงานรื่นเริงและเกี้ยวพาราสี ช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่งตรงกับตรุษ จีน และเทศกาลกินข้าวใหม่ ญาติมติ รจากต่างบ้านทัง้ หญิงชายจับมือเต้นรำ�เป็นวงกลม รอบต้นวอ โดยเต้นรำ�เฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืน เฉพาะลาหู่เฌเลจะไม่มี การถูกเนื้อต้องตัวกันในขณะเต้นรำ� ซึ่งจัดให้มีขึ้นเฉพาะในลานจะคึ โดยชาย – หญิง จะไม่จับมือกัน ผู้หญิงจะเต้นรำ�ในวงด้านใน ส่วนผู้ชายจะเต้นรำ�อยู่ในวงด้านนอก คนเล่นดนตรีส่วนมากมักเป็นผู้ชาย ด้านการแต่งกาย ลาหู่แบ่งเป็นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มแต่งกายแตกต่างกัน ผู้ชาย ลาหูย่ แี ละลาหูน่ ะใส่เสือ้ ผ้าฝ้ายย้อมสีด�ำ ชายเสือ้ รัง้ สูง ไม่ตดิ กระดุม เดิมมักมีผา้ โพกศีรษะ สีดำ�หรือน้ำ�เงิน สวมกางเกงจีนขายาวเลยเข่า มีผ้าคาดเอว บางคนมีผ้าพันขา ผู้ชาย ลาหู่เฌเลสวมเสื้อผ้าคล้ายลาหู่ยี แต่ใช้ผ้าพันขาสีดำ�และสีขาว ผู้หญิงลาหู่ยีสวม ผ้าถุงและเสื้อสีดำ� มีแผ่นเงินกลมประดับเรียงรายที่ด้านหน้าของเสื้อ มีแถบผ้าสีแดง ขาว และสีอนื่ เย็บติดชายเสือ้ และขอบผ้าถุง ส่วนผูห้ ญิงเฌเลสวมกางเกงหลวมขายาวถึง ข้อเท้า สวมเสื้อคลุมยาวถึงปลายเท้า มีห่วงเงินติดที่หน้าอกยาวลงมาถึงขอบเอว ด้านผู้หญิงลาหู่ซีมักสวมเสื้อและผ้าถุง หากเป็นโอกาสพิเศษจะสวมกางเกงและเสื้อ คลุมยาว คล้ายเครื่องแต่งกายผู้หญิงลีซอ ผู้หญิงลาหู่ทุกกลุ่มมักพันแข้งด้วยผ้าสีต่างๆ
92
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ส่วนเด็กทั้งชายหญิงมักแต่งกายแบบเดียวกับผู้ใหญ่ ผู้ชายชาวลาหู่นิยมสวมเครื่องประดับ คือ กำ�ไลมือทำ�ด้วยเงินแท้ คนที่ฐานะดี มั ก นำ � เหรี ย ญเงิ น แท้ ม าติ ด ที่ เ สื้ อ ด้ า นหน้ า เรี ย งเป็ น แถวจากคอลงมาจนถึ ง เอว ผู้ชายเมื่อก่อนนิยมใส่ลานหู (ต่างหู) พร้อมทั้งมีรอยสักตามร่างกาย บริเวณแขน แผ่นหลัง หน้าอก และขาอ่อน โดยจะให้พ่อครูหรือปู่จารย์ชาวไทใหญ่ผู้ชำ�นาญการสัก และเชีย่ วชาญด้านเวทมนตร์คาถาเป็นผูส้ กั ให้ ส่วนผูห้ ญิงมักประดับเสือ้ ด้วยกระดุมเงิน เหรียญเงินรูปี และเหรียญเงินหมันหัวหนาม (เหรียญเงินสหภาพอินโดจีนฝรั่งเศส) คนมีฐานะดีมักใส่ลานหูเงิน (ต่างหูเงิน) กำ�ไลเงิน แหวน สร้อยคอ และเข็มขัดเงิน กลุ่มลาหู่นะมีความสามารถในด้านงานหัตถกรรม การจักสานไม้ไผ่เป็นภาชนะต่างๆ นำ�ไม้ไผ่มาทำ�เครือ่ งใช้ และเครือ่ งเฟอร์นเิ จอร์ อีกทัง้ ยังเป็นช่างเหล็กและช่างเครือ่ งเงิน
ม้ง Hmong
ความเป็นมา ชาวม้งจัดอยู่ในกลุ่มจีน –ธิเบต สาขาชนชาติจีน มีประวัติการตั้งถิ่นฐานอยู่ใน ลุ่มแม่น้ำ�แยงซีมายาวนาน เอกสารประวัติศาสตร์จีนยุคโบราณกล่าวถึงชนชาติม้ง มาโดยตลอด พร้อมทัง้ หมิน่ แคลนชาวม้งว่าเป็นพวกอนารยชน โดยเรียกในชือ่ ว่า “เมีย้ ว”
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
93
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ซึ่งมีความหมายว่า “คนป่า” หรือ “คนเถื่อน” ขณะที่พวกเขาเรียกตนเองว่า “ม้ง” ซึ่งมี ความหมายว่า “อิสระชน” ต่อมาได้ทยอยเคลื่อนย้ายจากลุ่มน้�ำ แยงซี ลงสู่ดินแดนที่ มีความอุดมสมบูรณ์ทางใต้ในช่วงศตวรรษที่ 17-18 หลังมีปัญหาขัดแย้งทางการเมือง กับพระจักรพรรดิ มีการปะทะสู้รบกับกองทัพหลวงของจีน และประสบความพ่ายแพ้ จึงเคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานตามแนวตะเข็บชายแดนจีน เวียดนาม และลาว การอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย ช่วงสงครามลับ หรือที่ชาวลาวเรียกว่า “สงครามลาวฆ่าลาว” ชาวม้งจำ�นวน มากเป็นทหารรับจ้างในกองทัพซีไอเอ.ภายใต้บัญชาการของนายพลวังเปา หลังพ่าย แพ้ตอ่ กองทัพขบวนการประเทศลาว ชาวม้งเหล่านีพ้ ากันอพยพเข้ามาในไทย โดยแยก กันเคลื่อนย้ายเข้ามาสามสามเส้นทางคือบริเวณชายแดนที่ติดต่อกับลาวที่เชียงราย น่านและเลย ก่อนที่จะกระจายไปอยู่จังหวัดอื่นๆ เช่นถ้ำ�กระบอก จังหวัดสระบุรี และ ห้วยน้ำ�ขาว อำ�เภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และไปตั้งถิ่นฐานใหม่ยังประเทศที่สาม เช่นฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส แคนาดา เยอรมัน และกีอานาฝรั่งเศส การตัง้ ถิน่ ฐานของม้งในเชียงรายเริม่ จากในเขตอำ�เภอเชียงของ แล้วกระจายไปที่ อำ�เภอเวียงแก่น อำ�เภอเทิง อำ�เภอขุนตาล ส่วนหนึ่งแยกไปตั้งถิ่นฐานที่เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ และกำ�แพงเพชร เฉพาะจังหวัดเชียงรายมีชาวม้งตั้งถิ่นฐานอยู่ประมาณ 30,517 คน (ตัวเลขการสำ�รวจเป็นทางการปีพ.ศ. 2545) สภาพทางสังคม องค์การขั้นพื้นฐานของม้งคือครอบครัวและแซ่สกุล มีระบบการนับถืออาวุโส อย่างเคร่งครัด โครงสร้างของครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย ในครัวเรือนชายเป็นใหญ่ ภายในบ้าน ผู้อาวุโสฝ่ายชายเป็นใหญ่ภายในแซ่ของตน การแต่งงานนิยมแต่งงานกัน ภายในเผ่าห้ามแต่งงานภายในแซ่สกุลเดียวกัน เมื่อแต่งงานแล้วหญิงต้องไปอยู่บ้าน ฝ่ายชาย และนิยมแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว แต่ชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี อาจแสดงฐานะของตนเองโดยมีภรรยาหลายคนก็ได้โดยทุกคนจะช่วยกันทำ�งาน
94
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ชาวม้งตัง้ ถิน่ ฐานอยูบ่ นภูเขาในระดับความสูงประมาณ 1,000 -2,000 เมตรเหนือ ระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง เป็นพื้นที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น ส่งผลให้มีการปลูกข้าวพอ ยังชีพ ปลูกข้าวโพดสำ�หรับเลีย้ งสัตว์ และปลูกฝิน่ เป็นพืชเศรษฐกิจ การทีพ่ นื้ ทีต่ งั้ ชุมชน อยู่ในระดับความสูงค่อนข้างมาก เป็นเขตรอยต่อของระบบนิเวศ (Ecotone) ระหว่าง ป่าเบญจพรรณกับป่าสนจึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีสมุนไพรหลากหลายชนิด ชาวบ้านมีการสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสมุนไพร รวมทั้งตำ�รับการแพทย์ พื้นบ้านของชาติพันธุ์ ลักษณะของบ้าน เป็นเรือนไม้คร่อมพื้นดิน หันหน้าไปตามลาดเขามีลำ�ห้วยอยู่ บริเวณ ภายในบ้านของม้งขาวและม้งน้ำ�เงินจะแตกต่างกัน ชาวม้งแต่ละกลุ่มมีพูดภาษาคล้ายคลึงกันมาก ผิดเพี้ยนกันบ้างเพียงเล็กน้อย ทั้งม้งขาว ม้งน้ำ�เงิน และม้งลายสามารถสื่อสารกันได้แต่ว่าไม่มีภาษาเขียน ต่อมา มิชชันนารีได้นำ�ตัวอักษรโรมันมาประยุกต์ใช้เป็นภาษาเขียน เครือ่ งแต่งกายของชาวม้งทัง้ 3 กลุม่ ผิดแผกแตกต่างกัน ผูช้ ายนิยมสวมกางเกง จีนเป้ากว้างสีดำ�คล้าย “เตี่ยวสะดอ” ของคนเมือง รอบเอวผูกผ้าผืนใหญ่สีแดงปักด้วย ลวดลายต่างๆ ปล่อยชายผ้าลงมาปรกด้านหน้าประมาณ 1-1.5 ฟุต คาดทับด้วยเข็มขัด สวมหมวกจีนสีด�ำ มีพสู่ แี ดงทีย่ อดหมวก สวมเสือ้ ครึง่ ท่อนตัดเย็บรัดตัว แขนยาวถึงข้อมือ หญิงม้งน้ำ�เงินนุ่งกระโปรงสั้นสีครามหรือสีฟ้าแก่ มีผ้าคาดเอวสีแดงคาดทับ ด้านหน้า มีผ้าปักลวดลายประณีตสวยงามตามแบบแผนของชาติพันธุ์ หญิงม้งขาวนุ่งกางเกง ขาก๊วยสีน�้ำ เงิน ส่วนหญิงม้งลาย หรือม้งกอบัง้ ไม่มแี บบแผนเฉพาะ บ้างสวมใส่ชดุ แบบ ม้งขาว บ้างสวมใส่ชดุ แบบม้งน้�ำ เงิน เครือ่ งประดับทีช่ าวม้งนิยม คือ ห่วงคอ และกำ�ไลเงิน บางคนสวมห่วงคอเงินหลายชิ้น แสดงถึงฐานะอันมั่งคั่ง ชาวม้งรู้จัการทอผ้าใช้เอง การย้อมผ้า ปักลายผ้า การทำ�เครื่องเงิน การตีเหล็ก รวมถึงการทำ�อาวุธปืน ทำ�กระดาษใช้เอง สตรีชาวม้งส่วนใหญ่มีความสามารถสูงด้าน งานหัตถกรรม โดยเฉพาะอย่างยิง่ การปักผ้าเป็นรูปร่างต่างๆ และการเขียนลวดลายบน ผ้าด้วยเทียน เพือ่ นำ�ไปย้อมในลักษณะเดียวกับการย้อมผ้าบาติก ต่างกันเพียงชาวม้ง ย้อมด้วยต้นครามหรือต้นห้อม ที่ให้สีน้ำ�เงินเข้ม ด้านนันทนาการม้งมีเครื่องดนตรี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
95
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
หลายชนิด เช่นแคน และหยัง่ ลักษณะคล้ายจ้องหน่องใช้เป่าเป็นเพลงและใช้เป็นเครือ่ งมือ เรียกหญิงสาวให้ออกมาหาในเวลากลางคืน ส่วนการเต้นรำ�แต่เดิมพบเฉพาะเพศชาย ได้แก่การฟ้อนแคน รำ�ดาบ การเล่นลูกขว้างในวันรืน่ เริงปีใหม่ ปัจจุบนั หญิงสาวได้ท�ำ การ ประยุกต์ท่ารำ�ที่หลากหลายเช่นรำ�เทพธิดาดอย เป็นต้น ชาวม้งดำ�เนินชีวิตด้วยการเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชหลักดั้งเดิมสามชนิดของ ชาวม้งคือ ข้าว ข้าวโพดและฝิน่ ปลูกข้าวพอยังชีพในรอบปี ปลูกข้าวโพดสำ�หรับเลีย้ งสัตว์ และปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจ ต่อมาได้เปลี่ยนมาปลูกพืชเมืองหนาว นอกจากข้าวและ พืชผักต่างๆ เช่น ถัว่ ชนิดต่างๆ ผักกาด ฟักเขียว ฟักทอง น้�ำ เต้า มัน เผือก หัวผักกาดขาว ปอ ฝ้าย กัญชง(ใช้ทอผ้า) คราม ยาสูบ ฯลฯ แล้วยังนิยมเลีย้ งหมูด�ำ และไก่ เพือ่ ใช้ในการ ประกอบพิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษและผีต่างๆ ปัจจุบันชาวม้งเปลี่ยนมาทำ�การเกษตร เชิงเดีย่ ว (mono cropping) ปลูกพืชเศรษฐกิจ (cash crop) มุง่ สนองความต้องการของตลาด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และขิง การปกครอง ชาวม้งมีกฎจารีตและขนบธรรมเนียมทีท่ กุ คนต้องยึดถือปฏิบตั ติ ามอย่างเคร่งครัด ในลักษณะเดียวกับกฎหมายจารีต (Common Law) ต่างกันเพียงกฎจารีตของม้งนั้น เกี่ยวโยงร้อยรัดอยู่กับความเชื่อในเรื่องผีอย่างเหนียวแน่น หากมีการกระทำ�ผิดผี จะถู ก ลงโทษหรื อ ถู กปรับไหม โดยหั วหน้าหมู่บ้ านซึ่งดูแ ลรับผิดชอบในการรักษา ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี แต่ละหมูบ่ า้ นจะมีหวั หน้าหมูบ่ า้ น และมีผชู้ ว่ ยอีก 1-2 คน ช่วยกันตัดสินในเรื่องการย้ายหมู่บ้าน การจัดประชุมออกกฎระเบียบหมู่บ้าน รวมทั้ง การตัดสินในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน กรณีการตัดสินข้อพิพาทนั้น หากเป็นคนในตระกูลเดียวกันจะเป็นหน้าทีข่ องผูอ้ าวุโสในตระกูลนัน้ แต่หากเป็นกรณี พิพาทของคนต่างตระกูล ให้เป็นหน้าทีข่ องคณะกรรมการกลาง ทีห่ วั หน้าหมูบ่ า้ นเป็น คนแต่งตั้ง หรือคู่กรณีของทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งในจำ�นวนเท่าๆ กัน
96
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ความเชื่อ ชาวม้ ง มี ค วามเชื่ อ เรื่ อ งผี อ ย่ า งเหนี ย วแน่ น ดำ � เนิ น ชี วิ ต ในกรอบขนบจารี ต ประเพณีและความเชือ่ ซึง่ ผูกโยงร้อยรัดไว้กบั “ผี” หรือ “ด๊ะ” ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีการเล่น โยนลูกช่วงของหนุม่ สาว การเล่นลูกข่าง และการเป่าแคน โดยผูเ้ ป่าแคนจะเต้นรำ�วาด ลวดลายไปตามจังหวะ พร้อมทั้งมีการทำ�ขนมปุ๊กแจกจ่ายกัน การที่มีธรรมเนียมเลือกพื้นที่ตั้งชุมชนบนภูเขาสูงชัน เป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำ� ลำ�ธารและเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน ธรรมชาติรอบตัวล้วนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผี (animism) โดยชาวม้งเชื่อว่าใน โลกนี้มีผีอยู่ทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ท้องฟ้า สายลม แม่น�้ำ ลำ�ธาร ผืนป่า และภูเขา ผีของชาวม้งมีหลายระดับ ผีสงู สุดคือ “ผีฟา้ ” หรือ “ตรัง๋ ดู”้ เป็นผู้สร้างทุกสิ่งในโลก มีอำ�นาจให้คุณให้โทษ เช่น “เหย่อโช้ว” เป็นผู้ดูแลโลกมีเสียง เป็นฟ้าร้อง “ยู่วั่งตั่วเต่ง” เป็นผู้สบสวนวิญญาณคนตาย เป็นผู้อนุญาตให้คนและสัตว์ ไปเกิดใหม่ “ยงเล่า” เป็นหัวหน้าผีฟ้าเป็นผู้มาเอาชีวิตคน “นะลือกลั๊ง” เป็นผีแม่ผีพ่อ ของทารก ก่อนมาเกิดยังโลกมนุษย์ “ก๊ะยิง้ ” เป็นผีฟา้ ผูใ้ ห้บตุ รแก่คสู่ ามีภรรยาทีไ่ ม่มบี ตุ ร ถ้าประกอบพิธีพิเศษขึ้น รองลงมาคือ “ผีหมู่บ้าน” หรือ “ดงเช้ง” จะคุ้มครองหมู่บ้านให้ร่มเย็นเป็นสุข ถัดมาเป็นผีบรรพบุรุษ หรือผีเรือน (ตรั๋งครัวฮู่เจ๋) ได้แก่ผีประตู ผีเสาเรือน ผีเตาไฟใหญ่ ผีเตาไฟเล็ก ผีบรรพบุรษุ ผีครู ผียา และอาจมีผกี ลองด้วย ในหมูบ่ า้ นหนึง่ ๆ จะมีกลอง อยูเ่ พียงใบเดียวเพือ่ ใช้ตใี นพิธฝี งั ศพ บางหมูบ่ า้ นเมือ่ ใช้แล้วก็จะทำ�ลายกลองนัน้ ทิง้ ไป เพราะกลองถือเป็นสัญลักษณ์ของความตาย ผีทั่วๆ ไป ได้แก่ผีดอย ผีป่า ผีลำ�ห้วย ผีไร่ ผีนา ผีถ้ำ� ผีจอมปลวก ถ้าทำ�ผิดสิ่งใด สิง่ หนึง่ มักให้โทษเจ็บป่วยจนถึงตายได้ ต้องมีการเซ่นสรวง พร้อมทัง้ มีความเชือ่ เกีย่ วกับ นรก – สวรรค์ ว่า หากใครทำ�ดีตายไปจะได้ไปสู่สวรรค์ หากทำ�ชั่วตายไปจะลงนรกใต้ พื้นดิน เผชิญความทุกข์ทรมาน และความทุกข์ยากนานา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
97
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
โดยทั่วไปผีฟ้าและผีเรือนเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองมนุษย์ ยกเว้นผีฟ้าเป็นผู้คอย เอาชีวิตคน ถ้ามีการล่วงเกินหรือละเว้นไม่บูชาตามกำ�หนดเวลาอันควรอาจมีโทษต่อ มนุษย์ได้ การเซ่นสรวงที่ดีอาจช่วยให้ร่มเย็นเป็นสุขและมีผลผลิตดี หมอผีมีบทบาท อย่างมากในกลุม่ ชาวม้ง หมอผีทมี่ คี วามสามารถมากมีบทบาทในทางการปกครองด้วย พิธีกรรมสำ�คัญ พิธกี รรมของชาวม้งมีหลากหลาย เช่น พิธแี ต่งงาน (หยัวเก้าปู)้ ฝ่ายชายมักไปสูข่ อ หญิงสาวหมูบ่ า้ นอืน่ ทีม่ ใิ ช่คนในตระกูลเดียวกับตนในตอนเช้าตรู่ เมือ่ สูข่ อได้แล้วจะจัดพิธี แต่งงานทีบ่ า้ นหญิงสาวในเช้าวันนัน้ ฝ่ายชายจะจัดเตรียมหมูและไก่ส�ำ หรับให้ฝา่ ยหญิง เลีย้ งแขก พร้อมทัง้ มีเหล้าต้มกลัน่ เอง เช่น เหล้าข้าวโพด รินแจกแขกผูม้ าร่วมงานทุกคน พิธีศพถือเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่อีกโลกหนึ่ง เป็นงานใหญ่บรรดาญาติ พี่น้องลูกหลานที่อยู่ห่างไกลจะเดินทางมาร่วมพิธีฝัง ทั้งนี้ต้องรอวันที่ฤกษ์ดีเท่านั้น โดยมีความเชือ่ ว่าผูล้ ว่ งลับจะไปเกิดในสถานทีด่ มี คี วามสุข ลูกหลานจะร่�ำ รวยมัง่ มีศรีสขุ หนึง่ ในพิธสี �ำ คัญของม้ง คือ พิธปี ใี หม่ หรือ “น่อเปโจ่วย์” ถือเป็นพิธสี �ำ คัญจัดขึน้ หลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงประมาณเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี นอกจาก เฉลิมฉลองความสำ�เร็จในการเพาะปลูกพืชพรรณธัญญาหาร แล้วยังเป็นการเซ่นไหว้ ผีฟ้า ผีป่า ผีบ้าน และดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ช่วยดูแลรักษาผลผลิตให้เจริญงอกงาม และปกปักรักษาผูค้ นให้มคี วามสุข ปราศจากโรคภัยใดๆ ตลอดปีใหม่ทมี่ าถึง สมาชิกใน ชุมชนทำ�ความสะอาดบ้านเรือน สวมเสือ้ ผ้าชุดใหม่ ร่วมเฉลิมฉลองกับญาติมติ รต่างบ้าน ที่มาเยือนกันอย่างเต็มที่ มีพิธีกรรม เช่น พิธี “ฮูปลี” หรือเรียกขวัญ และพิธีเซ่นไหว้ บูชาบรรพบุรุษ ส่วนกิจกรรมบันเทิง มีการเล่น “จุเป๊าะ หรือโยนลูกช่วงของหนุ่มสาว การเล่น “เดาต้อลุ”๊ หรือการเล่นลูกข่าง ยิงหน้าไม้ เป่าแคน ร้องเพลง เต้นรำ� เช่น รำ�กระด้ง รำ�เก็บใบชา รำ�ฟ้อนงิ้ว เป็นต้น
98
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ข้อควรระวังในการไปเยือนบ้านชาวม้ง 1. อย่าเหยียบลงบนธรณีประตู เนื่องจากชาวม้งเชื่อว่าเป็นการกระทำ�ที่ลบหลู่ ดูหมิ่นหยามเกียรติของเจ้าของผู้เป็นบ้าน 2. อย่ า เข้ า ไปในบริ เวณที่ ช าวม้ ง กำ � หนดให้ เ ป็ น บริ เวณสุ ส านของหมู่ บ้ า น หากจะเข้าไปถ่ายรูปในพืน้ ทีด่ งั กล่าว ควรขออนุญาตจากผูใ้ หญ่ในหมูบ่ า้ น หรือสอบถาม จากมัคคุเทศก์ท้องถิ่นก่อนว่าเข้าไปได้หรือไม่ 3. อย่าเข้าไปแตะต้องเตาไฟในบ้านเพราะชนเผ่ามักถือว่ามีผีเตาไฟสถิตอยู่ ภาษาอังกฤษที่ควรทราบ การเฉลิมฉลอง บรรพบุรษุ ความเชือ่ พิธกี รรม ย้อมคราม เย็บปัก ศาลพระภูมเิ จ้าที ่ อาหารชนเผ่า
Celebration Ancestral Belief & Ritual Dyed with Indigo Hemp Lord Shine Ethnic dish
ไร่-นา สิง่ ต้องห้าม คำ�พังเพย/ สุภาษิต ป่าศักดิส์ ทิ ธิ ์ หมอผี (อาศัย) ในทีส่ งู
Paddy field Prohibited Proverb Spiritual forest Village priest High altitude
เอกสารอ้างอิง ศูนย์ศกึ ษาและพัฒนาการท่องเทีย่ ว. “พีน่ อ้ งหลายหลากชาติพนั ธุ”์ ใน เอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมเชียงราย. เชียงราย: จังหวัดเชียงราย โดย สำ�นักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย 2554. หน้า 13-38.
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
99
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
100
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว การให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในป่า ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี1้ 1. มัคคุเทศก์ ต้องมีการเตรียมการทีด่ ี คือ เตรียมตัวของบุคลากรและ เตรียมอุปกรณ์ 2. มัคคุเทศก์ ต้องมีการศึกษาพื้นที่ รู้จักพื้นที่เป็นอย่างดีโดยศึกษาพื้นที่จาก แผนที่ แผนผัง คู่มือการท่องเที่ยวและสอบถามจากผู้รู้ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการเลือก/กำ�หนดเส้นทาง 3. การเลือกเส้นทาง ควรคำ�นึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ สภาพลมฟ้าอากาศสภาพ ภูมิประเทศ ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ระยะทาง 4. ควรมีการประสานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานใกล้เคียงในพื้นที่ ล่วงหน้า เช่นประสานงานกับ ผู้ใหญ่บ้าน กำ�นัน ตำ�รวจภูธรท้องที่ ตำ�รวจท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่สงเคราะห์ชาวเขา ตชด. เป็นต้น ภัยในรูปแบบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยว 1. ภัยทีเ่ กิดขึน้ ทางร่างกาย เช่นการทำ�ร้ายร่างกาย การฆ่า การข่มขืน กระทำ�ชำ�เรา การล่อลวง (ทำ�ให้สูญหาย) ภัยดังกล่าว อาจเกิดขึ้นทุกแห่งทั้งในอาคาร ที่พัก โรงแรม สถานที่จอดรถ ในป่า – เขา ในโบราณสถาน หรือสถานที่ท่องเที่ยวทั่วๆ ไป 2. ภัยที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น การลักทรัพย์ ในที่พักอาศัย(เงิน เอกสาร สำ�คัญ หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) การลักทรัพย์ในที่สาธารณะ(เช่นการล้วงกระเป๋า) ทรัพย์สินหาย (ลืม) ถูกปลอมแปลงเอกสาร ถูกฉ้อโกงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ยักยอก ทรัพย์เกี่ยวกับการเช่าซื้อ ถูกทำ�ให้เสียทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่พักและสถานที่ท่องเที่ยว
1ข้อมูลจาก ด.ต. มนตรี ทองเทศ อดีต Air Rescue กองร้อย ตชด. 327 อ.แม่จน ั เชียงราย
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
101
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
วิธีการให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในขณะเดินทางและนำ�ชมสถานที่ 1. ก่อนออกเดินทางทุกครัง้ ควรตรวจเช็คความพร้อมว่า จำ�นวนคนและสัมภาระ มีจำ�นวนครบหรือไม่ 2. มัคคุเทศก์ควรแนะนำ� ข้อปฏิบัติต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวได้ทราบก่อน ออกเดินทาง (กฎ - ระเบียบ - ข้อห้าม- ข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ Do & Don’t ) 3. ในกรณีที่เดินทางโดยรถยนต์ ควรมีการตรวจความพร้อมของสภาพรถ ความพร้อมของผู้ขับขี่(โชเฟอร์) 4. ในกรณี ที่ นำ � เข้ า ชมสถานที่ สำ � คั ญ ทางโบราณสถาน หรื อ สถานที่ สำ � คั ญ ทางประวัติศาสตร์ต้องให้นักท่องเที่ยว ปฏิบัติตาม กฎ – ระเบียบ ของสถานที่นั้นๆ โดยเคร่งครัด 5. เพื่อความสะดวกในการเดินทางมัคคุเทศก์ควรประสานกับตำ�รวจท่องเที่ยว ตำ�รวจทางหลวง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ 6. เพือ่ ความปลอดภัยในเบือ้ งต้น ควรแจ้งรายชือ่ และรายละเอียดนักท่องเทีย่ ว ให้กับตำ�รวจในพื้นที่ทราบ 7. เพื่อความสะดวกในการนำ�ชมสถานที่ต่างๆ ควรประสานกับเจ้าของสถานที่ เป็นการล่วงหน้า 8. ในการเข้าชมสถานที่ ควรแจ้งนักท่องเที่ยวยึดถือปฏิบัติโดยทั่วกันเกี่ยวกับ “วินัยในการรักษาความสะอาด” ของสถานที่ 9. ประการสำ�คัญ มัคคุเทศก์ต้องแจ้งให้กับนักท่องเที่ยวได้ทราบว่าทุกคนควร ปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ของมัคคุเทศก์โดยเคร่งครัด ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การปฐมพยาบาล 1. ในกรณีที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ควรเลือกใช้เส้นทางที่ปลอดภัย ไม่ควรให้นักท่องเที่ยวออกนอกเส้นทางที่กำ�หนดไว้ 2. ในกรณีที่เป็นการท่องเที่ยวโดยรถยนต์ ให้ระมัดระวังในเรื่องการตรวจเช็ค สภาพรถ เน้นสภาพความพร้อมของผู้ขับขี่
102
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
3. มัคคุเทศก์ควรมีชดุ ปฐมพยาบาล และมีความรูใ้ นเรือ่ งการปฐมพยาบาลดีพอสมควร 4. ควรรูจ้ ดุ ตัง้ และหมายเลขโทรศัพท์ ของสถานทีต่ อ่ ไปนีเ้ พือ่ ใช้บริการเมือ่ มีเหตุ จำ�เป็น เช่น หน่วยกูภ้ ยั ยามตำ�รวจ สถานีต�ำ รวจภูธร ปัม๊ น้�ำ มัน ร้านปะยาง ตูโ้ ทรศัพท์สาธารณะ 5. มัคคุเทศก์ ควรคำ�นึงถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นประการสำ�คัญ การปฐมพยาบาล มัคคุเทศก์ ควรมีความรู้ในเรื่อง 1. การใช้ยา (ควรมีและพกติดกระเป๋าเดินทางเสมอ) 2. การรักษาบาดแผล การใช้ผ้าพันแผล 3. การเข้าเฝือก การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 4. การช่วยคนหมดสติ (เป็นลม จมน้ำ�) ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือถูกโจรกรรมขณะเดินทาง 1. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ - ถ้ามีผบู้ าดเจ็บ ให้รบี ทำ�การเคลือ่ นย้ายจากจุดเกิดเหตุและทำ�การปฐมพยาบาล - ถ้ามีผู้เสียชีวิต ห้ามแตะหรือเคลื่อนย้ายศพเป็นอันขาด - รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำ�รวจในพื้นที่ และนำ�คนเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยด่วน - ถา้ เกิดในพืน้ ทีท่ รุ กันดาร (ป่า เขา) ให้รบี ขอความช่วยเหลือจากประชาชน หรือ ผู้นำ�ท้องถิ่นในพื้นที่เป็นเบื้องต้น 2. ในกรณีที่ถูกโจรกรรม รีบแจ้งตำ�รวจภูธรท้องที่ ตำ�รวจท่องเที่ยวโดยเร็ว และ เตรียมหลักฐาน เอกสารเกีย่ วกับของทีถ่ กู โจรกรรม บัตรประจำ�ตัวประชาชน หรือใบแทน บัตรประจำ�ตัวข้าราชการ ใบสำ�คัญประจำ�ตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง (Passport) สำ�หรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ สำ�เนาทะเบียนบ้านของ นักท่องเที่ยวชาวไทย การใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ 1. เมือ่ เกิดอุบตั เิ หตุ ให้ท�ำ การปฐมพยาบาลเป็นเบือ้ งต้น โดยใช้อปุ กรณ์ใกล้ตวั เป็นหลัก 2. ถ้ามีคนบาดเจ็บ ให้รีบนำ�ส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
103
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
3. ในกรณีเกิดอุบตั เิ หตุในทีห่ า่ งไกล ให้เข้าขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าทีข่ องรัฐ หรือชาวบ้านในพื้นที่ 4. อุปกรณ์ช่วยชีวิตที่จำ�เป็น เช่น เชือก แพ เสื้อชูชีพ ยา เปลสนาม (อุปกรณ์ เคลื่อนย้ายผู้ป่วย) รถยนต์หรือเฮลิคอปเตอร์ สามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วย งานของรัฐได้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินป่า 1. เป้สนาม (เพื่อบรรทุกสัมภาระ) น้ำ�หนักต้องเบา คงทน กันน้ำ�ได้ 2. เครื่องนุ่งห่ม ผ้าห่ม เสื้อผ้า 2 ชุด (เสื้อแขนยาว) ถุงนอน 3. เต็นท์ มุ้ง 4. ผ้าปันโจ (ผ้ากันฝน) 5. เปลสนาม (เปลนอน) 6. ไฟฉาย เตรียมถ่าน หลอดไฟอะไหล่ไปด้วย 7. ยา แก้ปวด ไข้ ท้องร่วง ปวดท้อง ยาหม่อง เทนโซพลาส 8. อาหาร และน้ำ�เตรียมให้พอดีกับระยะเวลาที่จะไปเดินทาง “อย่าหวังน้ำ�บ่อ หน้า” ขาดน้ำ� 24 ชม. ขาดอาหาร 7 วัน อันตรายถึงชีวิต 9. มีดเดินป่า 10. หม้อสนาม ใช้หุงข้าว ต้มน้ำ�ร้อน ทำ�อาหาร 11. กระติกน้ำ�สนาม 12. ไฟแช็ก (ไม้ขีดไฟ) 13. กล้องถ่ายรูป แบตเตอร์รี่ ในกรณีเดินป่าเพือ่ ศึกษาระบบนิเวศวิทยา (พืช – สัตว์) หรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 14. เชือก มะนิลา ไนลอน เชือกฟาง 15. อาวุธ (ปืน มีด ไม้) ถ้ามีปืนต้องถูกกฎหมาย ใช้เพื่อป้องกันตัวจากสัตว์ มนุษย์ และทำ�ให้อุ่นใจ 16. แผนที่ เข็มทิศ
104
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
17. เครื่องมือสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ ใช้ในกรณีขอความช่วยเหลือ 18. ของใช้เบ็ดเตล็ด(ส่วนตัว) เช่น สบู่ ยาสีฟนั แปรง ยาสระผม ผงซักฟอก ผ้าเช็ดตัว (ผ้าขาวม้า) หมวก ถุงมือ เทียนไข ยากันยุง ชา/กาแฟสำ�เร็จรูป ถุงเท้า รองเท้าแตะ แป้ง (ทาตัว โรยเท้า กันมด) ขนม ของขบเคีย้ ว (อาหารว่าง อาหารเสริมพลัง) กระดาษชำ�ระ ฯลฯ 19. เงิน (ห้ามลืมเด็ดขาด) หมายเหตุ การแต่งกายต้องรัดกุม เสือ้ ผ้ากระชับ รองเท้าผ้าใบ รองเท้าเดินป่า( ไม่นมิ่ เกินไป พื้นยางหยาบกันลื่นได้) ทั้งนี้ของใช้ต่างๆ ที่บรรจุใส่เป้ น้ำ�หนักรวมแล้วไม่ควรให้เกิน น้ำ�หนักตัวเองจะรับได้ การตั้งที่พักแรม การตั้ ง ที่ พั ก ให้ ยึ ด หลั ก ปลอดภั ย ไว้กอ่ น หลีกเลีย่ งเส้นทางเดินสัตว์ปา่ อยูใ่ กล้ แหล่งน้� ำ หมูบ่ า้ น (ซือ้ หาอาหารง่าย) การวาง ตำ�แหน่งเต็นท์ที่พัก ไม่ควรห่างกันมากนัก ควรตั้งหันหน้าเข้าหากันเป็นรูปวงกลม
การหาที่พัก
ลักษณะภูมิประเทศ ระยะเวลาที่ทำ�ที่พัก ระยะเวลาที่พักอาศัย ทัศนวิสัย (สภาพลมฟ้าอากาศ หมอก ควัน) ความปลอดภัย
การหาแหล่งน้ำ�
- น้ำ�ฝน ลำ�ห้วย ลำ�ธาร เถาวัลย์ น้ำ�ใต้ดิน น้ำ�เชิงผา - พืชบริเวณใกล้เคียงมีพิษหรือ ไม่มีพิษ เช่น เห็ด ผักต่างๆ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
105
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ภัยและอุปสรรคของการเดินป่าเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น 1. เกิดจากผูเ้ ดินทาง เช่น เกิดการเจ็บป่วยกะทันหันระหว่างทาง มีโรคประจำ�ตัว ภัยจากมนุษย์ เช่น การทำ�ร้าย จี้ ฆ่า ข่มขืน 2. เกิดจากภูมปิ ระเทศ เช่นพืน้ ที่ เป็นป่ารกทึบ เขาสูงชัน ลำ�ห้วย เหวลึก ความมืด พืชที่มีพิษ 3. เกิดจากธรรมชาติ เช่น อากาศปิด ทัศนวิสัยเลว ฝนตกหนัก หมอกทึบ ไฟป่า น้ำ�ป่า และการหลงป่า ข้อพึงระวังในการเดินป่า 1. ห้ามก่อการทะเลาะวิวาท หรือมีเรื่องบาดหมางกันระหว่างการเดินทาง 2. ห้ามเดินทิ้งหมู่คณะ เพื่อน (ควรมีบัดดี้ที่รู้ใจ) ในกรณีที่หลงป่า 1. ให้ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ 2. คำ�นวณทิศทางให้ถูกต้อง หาจุดที่ตัวเองอยู่ให้ได้(ตำ�แหน่ง) ขึ้นไปบนที่สูง (ดอย ต้นไม้สูงๆ) 3. ยึดลำ�น้ำ� ลำ�ห้วยเป็นหลัก จะออกไปสู่หมู่บ้านได้ การหาทิศทาง - ใช้แผนที่, เข็มทิศ - สังเกตดวงอาทิตย์ (ขึ้น, ตก) - สังเกตเงาไม้ - สังเกตดวงดาว (ดาวเหนือ, ดาวจระเข้) - สังเกตดวงจันทร์
106
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การขอความช่วยเหลือจากประชาชนในพืน้ ทีค่ วรคำ�นึงถึง สภาพความเป็นอยูข่ อง ท้องถิ่น ภาษาพูด - ขนบธรรมเนียม ประเพณี ลัทธิ และการติดต่อกับบุคคลภายนอก การรั ก ษาสุ ข ภาพ ผู้ เ ดิ น ป่ า ควรแต่ ง กายปกปิ ด ร่ า งกายมิ ด ชิ ด เพื่ อ รั ก ษา ความอบอุ่นของร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รู้จักการปฐมพยาบาล การปฐมพยาบาล ในการเดินทางท่องเทีย่ ว บางครัง้ นักท่องเทีย่ วอาจประสบอุบตั เิ หตุจากการหกล้ม ถู ก ของมี ค มบาด งู กั ด ตกน้ำ � ตกช้ า ง หรื อ สาเหตุ อื่ น ๆ ในบางครั้ ง สถานที่ ๆ เกิดอุบตั เิ หตุหา่ งไกลแพทย์ หรือก่อนส่งผูบ้ าดเจ็บถึงแพทย์ตอ้ งได้รบั การปฐมพยาบาล เป็นเบื้องต้น ดังนั้นมัคคุเทศก์จึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุ วิธีการป้องกันและการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ผู้บาดเจ็บไว้บ้าง 1. วัตถุประสงค์ในการปฐมพยาบาล การปฐมพยาบาล หมายถึง การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ก่อนที่จะถึงมือแพทย์หรือโรงพยาบาล เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายจนถึงพิการหรือ เสียชีวิต ไปโดยไม่สมควร (วิชัย วนดุรงค์วรรณ และคณะ 2532: 83) วัตถุประสงค์ ในการปฐมพยาบาลมีดังนี้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
107
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
1.1 ช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยใช้วัสดุเท่าที่จะหาได้รอบข้าง 1.2 ป้องกันมิให้ผู้ป่วยมีสภาพเลวร้ายลง 1.3 ส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยให้คืนสภาพโดยเร็ว 2. หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาลมีดังนี้ (พ.ต.อ.พิพัฒน์ ชูวรเวช 2534 : 14-15) 2.1 ดูว่าผู้บาดเจ็บมีเลือดออกหรือไม่ ถ้ามีเลือดออกควรห้ามเลือด 2.2 ตรวจดูรา่ งกายว่าอบอุน่ หรือไม่ ถ้าเย็นขึน้ แสดงว่ามีอาการช็อก ควรห่มผ้า ให้อบอุ่น หนุนลำ�ตัวให้สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย 2.3 ตรวจดูปากผู้บาดเจ็บว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ เช่นฟันปลอม เศษอาหาร ดิน โคลน ถ้ามีควรรีบล้างออก 2.4 ตรวจดูว่าผู้บาดเจ็บหายใจขัดหรือไม่ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบผายปอด 2.5 ตรวจดู ว่ า ผู้ บ าดเจ็ บ มี บ าดแผล รอยฟกช้ำ � กระดู ก หั ก หรื อ ข้ อ เคลื่ อ น หากพบสิ่งผิดปกติให้ปฐมพยาบาลตามแต่กรณี 2.6 ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บถ้าเคลื่อนย้ายควรทำ�ให้ถูกวิธี 2.7 คลายเสื้อผ้ารัดตัวผู้ป่วยให้หลวม 2.8 ห้ามคนมามุงดู ทำ�ให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก 2.9 ปลอบใจผูบ้ าดเจ็บมิให้ตระหนกตกใจกลัว อย่าให้มองเห็นบาดแผลและรอย เลือดของตน 2.10 จัดคนดูแลผูบ้ าดเจ็บ แล้วจัดส่งผูบ้ าดเจ็บไปรับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ 3. งูกัด งูมหี ลายชนิด แบ่งเป็นกลุม่ ใหญ่ๆ 2 กลุม่ คือ งูมพี ษิ และงูไม่มพี ษิ มีหลักสังเกตได้ ดังนี้ (วชิรา กสิโกศล 2527 :108 - 110) 3.1 งูมพี ษิ มีเขีย้ ว 1 คู่ อยูท่ ขี่ ากรรไกรบนด้านหน้า เขีย้ วมีลกั ษณะกลวง และมีทาง ติดไปยังบริเวณต่อมพิษทีอ่ ยูบ่ ริเวณหางตา ฉะนัน้ เมือ่ ถูกงูพษิ กัดจะเห็นรอยเขีย้ วเป็น 2 รู ทีบ่ ริเวณถูกงูกดั งูพษิ ทีพ่ บมากในประเทศไทย ได้แก่ งูเห่า (Cobra) งูจงอาง (King Cobra) งูสามเหลีย่ ม (Banded krait) งูกะปะ (Aqkistrodon rhodostoma) และงูทะเล (Sea snake)
108
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
3.2 งูไม่มพี ษิ งูชนิดนีไ้ ม่มเี ขีย้ วมีแต่ฟนั ฉะนั้นเมื่องูกัดจึงอาจจะเห็นรอยฟันเป็น แถวเท่านั้น 3.3 การปฐมพยาบาล เมื่อถูกงูกัด ควรตีงใู ห้ตายแล้วเก็บซากไว้ให้แพทย์ตรวจ ดูว่าเป็นงูประเภทใด จะได้ใช้เซรุ่มต้านพิษงู ฉีดให้ถูกต้อง วิธีปฐมพยาบาลทำ�ได้ดังนี้ 3.3.1 สังเกตรอยงูกดั ถ้าเป็นรอย ภาพลักษณะงูไม่มีพิษและ กัดของงูพษิ จะปรากฏรอยเขีย้ ว 2 จุด และมี ภาพรอยแผลถูกงูไม่มีพิษกัด อาการของพิษงูภายใน 10 นาที เช่นบวมที่ บาดแผล อ่อนเพลีย ตาพร่า ขากรรไกรแข็ง เลือดออกทางผิวหนัง ปวดเมื่อย หนังตา ตกหรือกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตบางส่วน ถ้างู ไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว 3.3.2 งมู พี ษิ กัด ใช้เชือกหรือยางรัด ลักษณะงูพิษ และ ไว้เหนือแผลให้แน่นพอสอดนิ้วมือได้ 2 นิ้ว ภาพรอยแผลที่งูพิษกัด และอย่ า ให้ ผู้ ป่ ว ยเคลื่ อ นไหว รี บ นำ � ส่ ง โรงพยาบาล 3.3.3 งูไม่มีพิษกัด ให้ล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ� ปิดปากแผลด้วยผ้า สะอาด นำ�ผูป้ ว่ ยไปฉีดยาป้องกันบาททะยักและทำ�แผล การกรีดแผลด้วยมีด การดูดพิษงู จากแผลด้วยปากและการขันชะเนาะเหนือแผลงูกดั ไม่เป็นผลดีตอ่ ผูป้ ว่ ยแต่ประการใด 3.4 การป้องกัน งูมักอาศัยอยู่ในป่าหญ้า หรือบริเวณที่รกร้างซึ่งมีใบไม้กิ่งไม้ ปกคลุม ดังนั้นจึงควรนำ�นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงบริเวณดังกล่าว การกางเต็นท์นอน ควรเลือกสถานที่ห่างไกลจากสถานที่ซึ่งงูพิษอาศัย และควรปิดเต็นท์ให้มิดชิด อย่าให้ สัตว์ทุกชนิดเข้าไปได้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
109
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
4. แมลงมีพิษกัดต่อย ในการเดินทางท่องเที่ยวในป่า บางครั้งอาจถูกแมลงมีพิษกัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ตะขาบ แมลงป่อง หรือแมลงที่มีพิษ อื่นๆ การปฐมพยาบาลอาจทำ�ได้ดังนี้ (วิชัย วนดุรงค์วรรณ และคณะ 2532:137) 4.1 ใช้เชือกรัดเหนือแผล ป้องกันพิษเข้าหัวใจ 4.2 ถ้ามีเหล็กในฝังคาอยู่ ให้รีบเอาออกโดยเอาลูกกุญแจตรงที่มีรูกดให้เหล็ก ในโผล่ออกมาและถ้าบวมมากให้ใช้น้ำ�แข็งประคบ 4.3 ใช้ผ้าหรือสำ�ลีชุบน้ำ�แอมโมเนียหอม หรือใช้ยาทาที่แผล 4.4 ถ้าชีพจรอ่อนลง ต้องให้ดื่มกาแฟร้อน หรือบรั่นดีเพื่อกระตุ้นหัวใจ วิธีการป้องกัน ควรแนะนำ�นักท่องเที่ยวไม่ให้เดินเข้าไปในป่ารกหรือในพุ่มไม้ 5. ข้อเคล็ดและกระดูกหัก ระหว่ า งการเดิ น ทางท่ อ งเที่ ย ว บางครั้ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย วประสบอุ บั ติ เ หตุ จ าก การปีนป่ายโบราณสถาน เนินเขาหรือตกช้าง ตกแพ ตกหน้าผาจนได้รับบาดเจ็บ การปฐมพยาบาลแก่นักท่องเที่ยวก่อนนำ�ส่งโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำ�คัญอย่างหนึ่ง วิธีการปฐมพยาบาลเป็นดังนี้ 5.1 การปฐมพยาบาลข้อเคล็ดหรือข้อเพลง (Sprains) การเกิดข้อเท้าเคล็ดหรือ แพลง อาจเกิดจากข้อเท้าเคลือ่ นไหวมากเกินไป หรือเกิดจากการชน บิด พลิกอย่างรุนแรง การปฐมพยาบาลควรปฏิบัติดังนี้ (วิชัย วนดุรงค์วรรณ และคณะ 2532: 125) 5.1.1 ให้พกั ข้อข้างบาดเจ็บอยูน่ ง่ิ ๆ ใช้ผา้ สามเหลีย่ มพันยึดข้อเท้าให้อยูน่ ง่ิ 5.1.2 ยกข้อที่บาดเจ็บให้สูง หรือถ้าเป็นข้อมือควรใช้ผ้าคล้องคอไว้ 5.1.3 ใช้ผ้าชุบน้ำ�เย็นหรือผ้าห่อน้ำ�แข็งทุบละเอียดประคบตรงบริเวณ ที่เจ็บหรือบวมหลายๆ ครั้ง เสร็จแล้วพันข้อด้วยผ้ายืดเพื่อป้องกันการเคลื่อนไหว 5.1.4 หลังจากประคบเย็น 72 ชัว่ โมงแล้ว ให้เปลีย่ นมาประคบร้อนด้วย การชโลมน้�ำ มันร้อนทายา ตลอดจนนวดคลึงเบาๆ ตรงบริเวณทีบ่ วม เพือ่ ให้การไหลเวียน ของเลือดดีขึ้น
110
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
5.2 การปฐมพยาบาลเมื่อกระดูกหัก (Fractures) อุบัติเหตุจากการตกช้างหรือที่ สูงมักทำ�ให้กระดูกหัก การปฐมพยาบาลมีหลักการดังนี้ 5.2.1 อย่าดึงกระดูกที่หักเข้าที่ 5.2.1 ถ้ามีบาดแผล ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วเข้าเฝือกชั่วคราว 5.2.3 การเข้าเฝือก (Splinting) เพื่อมิให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหว น้อยที่สุด และเพื่อป้องกันมิให้บริเวณที่หักเคลื่อนไหว เพราะจะกระทบกระเทือนถึง อวัยวะใกล้เคียง ดังนัน้ จึงต้องมีไม้หรือวัสดุอย่างอืน่ ดามไว้ชวั่ คราว จนกว่าจะได้รบั การ รักษาจากแพทย์ เป็นการป้องกันมิให้อาการรุนแรงมากขึ้น เช่น การหักของกระดูกที่ยัง ไม่ทะลุออกมานอกผิวหนัง หากมีการเคลือ่ นไหวรุนแรงหรือบิด พลิก อาจทำ�ให้กระดูก ทีห่ กั ทิม่ ออกมานอกผิวหนังได้ การเข้าเฝือกชัว่ คราวอาจใช้วสั ดุทหี่ าได้ในบริเวณนัน้ อาจ เป็นแผ่นกระดาน ไม้เท้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ หากไม่มีวัสดุอื่นใช้วิธีเข้าเฝือกธรรมชาติ คือ ใช้เฝือกที่มีอยู่แล้วในตัวผู้ป่วย ได้แก่ อวัยวะหรือกระดูกที่อยู่ใกล้เคียงกับกระดูก ที่หัก เช่น กระดูกแขนหักใช้ทรวงอกเป็นเฝือกชั่วคราว โดยพันต้นแขนที่หักติดแนบกับ ลำ�ตัวไว้ ก่อนนำ�ส่งโรงพยาบาล
ภาพแสดงการเข้าเฝือกผ้าห่มกับไม้พลอง 6. สิ่งแปลกปลอมเข้าตา หูและกระเพาะอาหาร สิ่งแปลกปลอม (Foreign bodies) หมายถึงเศษวัตถุเคมีหรือวัตถุใดที่เข้าสู่ ตา หู คอ จมูก และกระเพาะอาหาร เข้าไปค้างหรือตำ�ในอวัยวะเหล่านี้ การปฐมพยาบาล แยกอธิบายได้ดังนี้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
111
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
6.1 ผงเข้าตา ปฐมพยาบาลดังนี้ (อรวรรณ หุ่นดี 2527: 48-49) 6.1.1 อย่าขยี้ตา 6.1.2 ล้างตาด้วยน้ำ�ที่สะอาด 6.1.3 ถ้าผงอยู่เปลือกตาบน จับเปลือกตาชั้นบนให้ทับเปลือกตาล่าง 6.1.4 ถ้ามีอาการร้ายแรง เช่น สะเก็ดหินเข้าตา ใช้ผา้ กอซหรือสำ�ลีปดิ ตา แล้วรีบนำ�ส่งโรงพยาบาล 6.2 สิ่งแปลกปลอมเข้าหู ปฐมพยาบาลดังนี้ (รัชนีพร ภู่กร 2533: 90) 6.2.1 ถ้าเป็นแมลงเข้าหู หยอดหูด้วยน้ำ�อุ่นเพื่อให้แมลงออก ถ้าแมลง ไม่ออก หยอดหูด้วยน้ำ�มันมะกอก เพื่อกันมิให้แมลงเข้าลึก ดิ้นและกัดแก้วหู ต่อจาก นั้นรีบส่งโรงพยาบาล 6.2.2 ถ้าสิง่ ไม่มชี วี ติ เข้าหู ให้ตะแคงศีรษะ เอียงหูขา้ งนัน้ ลง ให้สงิ่ ของ นั้นเคลื่อนออกมา 6.3 สิ่งแปลกปลอมเข้ากระเพาะอาหาร ปฐมพยาบาลดังนี้ (อรวรรณ หุ่นดี 2527: 51) 6.3.1 ให้รับประทานขนมปัง ขนมฝรั่ง ขนมสาลี่เข้าไปจำ�นวนมากๆ จะช่วยหุ้มมิให้สิ่งแปลกปลอมทำ�อันตรายต่อกระเพาะอาหาร 6.3.2 ห้ามใช้ยาถ่าย 6.3.3 รีบส่งโรงพยาบาล 7. บาดแผลไฟไหม้ น้ำ�ร้อนลวก และวัตถุระเบิด วิธีการปฐมพยาบาลดังนี้ (วิชัย วนดุรงค์วรรณ และคณะ 2532 : 136) 7.1 อย่าเจาะหนังที่พองให้แตกออก 7.2 ใช้ผ้าชุบน้ำ�เย็นจัด ปิดแผลให้น้ำ�เย็นชุ่มอยู่เสมอ หรือแช่บาดแผลในถังน้ำ� ใส่น้ำ�แข็ง ถ้าบาดแผลเล็กน้อยใช้ยาสีฟันทา 7.3 ถ้าเป็นแผลไหม้จากดินระเบิด หรือดอกไม้ไฟ ดินปืนติดอยู่ที่แผลใช้สำ�ลีชุบ น้ำ�ปรอทเช็ดออก
112
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
7.4 แผลไฟไหม้เล็กน้อย พองแล้วแตกเป็นแผล ใช้ขี้ผึ้งปฏิชีวนะทาแผลหรือ แต้มยาแดงบ่อย ๆ 8. การช่วยชีวิตคนหายใจขัด หายใจหยุดและหัวใจหยุดเต้น ในบางครัง้ นักท่องเทีย่ วอาจเกิดอาการหายใจขัด หายใจหยุด และหัวใจหยุดเต้น เนื่องจากสาเหตุเกิดจากการจมน้ำ� ดินทรายพังทลายทับหายใจไม่ได้ สิ่งแปลกปลอม อุดในหลอดลม ได้รับก๊าซพิษหรือขาดก๊าชออกซิเจน การปฐมพยาบาลอาจกระทำ�ได้ ด้วยวิธีการผายปอดและนวดหัวใจ 8.1 การผายปอด การผายปอดกระทำ�ได้หลายวิธี ได้แก่วิธีเป่าลมเข้าทางปาก หรือทางจมูก วิธกี ดหลังยกแขน วิธดี งั กล่าวสามารถปฐมพยาบาลได้ดงั นี ้ (วิชยั วนดุรงค์ วรรณ และคณะ 2532: 130) 8.1.1 การผายปอดโดยเป่าปากหรือจมูก (1) ให้ผู้ป่วยนอนหงาย (ระวังอย่าให้ลิ้นตกไปอุดหลอดลม) (2) ยกคอผู้ป่วยแล้วสอดหมอนหรือผ้าหนุนใต้คอ (3) จับคางผู้ป่วยแหงนขึ้นและกดหน้าผากลง (4) ผูป้ ฐมพยาบาลสูดหายใจเข้าเต็มที่ แล้วเป่าลมเข้าปากผูป้ ว่ ย ประมาณ 12-15 ครัง้ ต่อนาที
ภาพแสดงการผายปอดโดยเป่าปาก
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
113
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
8.1.2 การผายปอดโดยวิ ธี กดหลังยกแขน (1) ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ� แขนทั้งสองงอพับ เข้าหากัน และฝ่ามือทับกัน ตะแคงหน้า ผู้ป่วยให้แก้มวางทับบนฝ่ามือ (2) ล้างสิ่งแปลกปลอมออกจากปาก ภาพแสดงการผายปอดด้วยวิธกี ดหลัง (3) ผู้ ผ ายปอดเข้ า ทางศี ร ษะของผู้ ป่ ว ย คุกเข่าลงแล้วใช้มือกดหลังผู้ป่วย ทิ้งน้ำ�หนักตัวลงไปข้างหน้า เพื่อให้หายใจออก (4) เลื่อนมือมาจับเหนือศอกของผู้ป่วย ยกแขนของผู้ป่วยดึงขึ้นทั้งสองข้าง แล้ววางลง กับพื้นตามเดิม เพื่อให้หายใจเข้า (5) ทำ�สลับระหว่างข้อ (3) และข้อ( 4) ผู้ใหญ่ ประมาณ 12 ครั้งต่อนาที เด็กประมาณ 20 ครั้งต่อนาที 8.2 การนวดหัวใจ เมื่อมีการหยุดเต้นของหัวใจอาจปฐมพยาบาลได้ดังนี้ (พ.ต.อ. พิพัฒน์ ชูวรเวช 2534: 41) 8.2.1 วางผู้ป่วยนอนหงาย คลายเสื้อให้หลวม หรือเปิดหน้าอก 8.2.2 ผูป้ ฐมพยาบาลใช้สนั มือข้างหนึง่ กดกระดูกสันอกส่วนล่างให้เหนือ กระดูกลิน้ ปีเ่ ล็กน้อย แล้วใช้มอื อีกข้างหนึง่ กดทับลงไป ให้สนั อกยุบลงประมาณ 1 –2 นิว้ ใช้จังหวะประมาณ 60 ครั้งต่อนาที 8.2.3 ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็ก ใช้เฉพาะนิ้วชี้หรือนิ้วกลางของผู้ปฐมพยาบาล กดทีก่ งึ่ กลางของกระดูกสันอก ให้หน้าอกยุบลงไปเพียง 1 – 1.5 นิว้ ใช้จงั หวะประมาณ 100 ครั้งต่อนาที 9. การห้ามเลือด การห้ามเลือดออกจากบาดแผลอาจทำ�ได้ดังนี้ (วชิรา กสิโกศล 2527 : 9) 9.1 ใช้นิ้วสะอาดกดบาดแผล 9.2 บาดแผลบริเวณแขนหรือขา ให้ผู้ป่วยนอนและยกส่วนนั้นให้สูง เพื่อให้ เลือดไหลน้อยและช้า
114
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
9.3 ใช้ผ้าหนาๆ กดลงบนบาดแผล แล้วพันผ้ารัดให้แน่น 9.4 กดบนหลอดเลือดแดงใหญ่ซึ่งไหลมาสู่บริเวณบาดแผล 9.5 ใช้เครื่องรัดหลอดเลือดรัดที่ตอนเหนือแผล เป็นการห้ามไม่ให้เลือดไหลไป สู่บริเวณแผล 10. สุนัขกัด 10.1. ถ้าเลือดออก ห้ามเลือดทันที(ด้วยผ้ากอซหรือบีบแผล) 10.2. ล้างแผลด้วยน้ำ�สะอาด ปิดด้วยผ้ากอซสะอาด 10.3. รีบไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีน 11. ทากดูดเลือด 11.1. ห้ามดึง เพราะเลือดจะหยุดยาก 11.2. จี้ทากด้วยบุหรี่ติดไฟหรือไม้ขีดไฟ 11.3. ล้างแผลให้สะอาด ใส่ทิงเจอร์ไอโอดีน 12. ลมพิษ มีสาเหตุคอื โดนสารทีแ่ พ้ พชื สารเคมี แพ้อาหารทะเล เหล้า เบียร์ ละอองฝุน่ หรือเกสรต่างๆ 12.1. ทายาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์ เพรดนิโซโลนครีม เบตาเมทธาโซนครีม 12.2. กินยาแก้แพ้ คลอเฟนนิรามีน หาสาเหตุที่แพ้ 12.3. ถ้าผื่นไม่ยุบลง และเพิ่มมากขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ 13. เลือกกำ�เดาออก มีสาเหตุ จากการกระแทก สั่งน้ำ�มูก การแคะจมูก 13.1. นั่งลง ก้มศีรษะเล็กน้อย บีบจมูกนาน 10 นาที (หายใจทางปาก) 13.2. วางน้ำ�แข็งหรือผ้าเย็นๆ บนสันจมูก หน้าผากใต้ขากรรไกร 13.3. ถ้าไม่หยุด รีบไปพบแพทย์ 14. ข้อเคล็ด 14.1. ให้บริเวณข้อนั้นๆ อยู่นิ่งๆ และยกสูงไว้ 14.2. ประคบน้ำ�แข็งทันที เพื่อลดอาการบวม ปวด 14.3. ถ้าภายหลัง 24 ชัว่ โมงแล้ว ยังมีอาการบวมให้ประคบด้วยความร้อน หรือ วางกระเป๋าน้ำ�ร้อนนวดด้วยยาหม่อง หรือน้ำ�มันระกำ� บาล์ม
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
115
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
14.4. ถ้าปวดมาก บวมมาก ให้รีบปรึกษาแพทย์ 15. ท้องเดิน ท้องร่วง ท้องเสีย 15.1. งดอาหารรสจัด และย่อยยาก เลือกกินอาหารเหลว กินจนกว่าอาการจะดีขน้ึ 15.2. ดืม่ น้�ำ เกลือแร่ หรือผสมเอง ใช้น�้ำ ตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือ ½ ชอ้ นชา ผสมในน้ำ�ต้มสุก 750 cc หรือประมาณ 1 ขวดน้ำ�ปลากลม 15.3. ดื่มน้ำ�ชาแก่ ๆ 15.4. ถ้าถ่ายรุนแรงอาเจียร อ่อนเพลียมาก หน้ามืด เป็นลม อาการไม่ดีขึ้น ภายใน 48 ชั่วโมงให้รีบพบแพทย์ 16. ตะคริว มีสาเหตุจาก ใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นหนักเกินไป หรือ ความหนาวเย็น หรือ มีการสูญเสียน้ำ�และเกลือแร่ (เช่นอาเจียน ท้องเสีย เหงื่อออก) 16.1. การยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นออก โดย เป็นที่มือ : ยืดนิ้วมือ ดัดปลายนิ้ว เป็นที่เท้า : ยืดนิ้วเท้า ให้ยืนเขย่ง เป็นที่ต้นขา : นั่งลง เหยียดเท้า กดที่หัวเข่าและช่วยนวดเท้า เป็นที่น่อง : นั่งลงยืดขา 16.2. ถ้าเป็นเพราะเสียเหงื่อ เสียน้ำ� ให้ดื่มน้ำ�เกลือ หรือผสมเอง ใช้น้ำ�ตาล ทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือ ½ ช้อนชา ผสมในน้ำ�ต้นสุก 750 cc 17. สำ�ลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม ให้ตบหนักๆ และเร็วๆ กลางหลัง 4 ครั้ง ในท่าที่ศีรษะอยู่ต่ำ�กว่าปอด 18. การทำ�แผลทั่วไป 18.1. ล้างมือให้สะอาด 18.2. ถ้าต้องทำ�แผลหลายแผล เลือกทำ�แผลที่สะอาดก่อนแผลที่สกปรก 18.3. เช็ดรอบแผลด้วยสำ�ลีชุบแอลกอฮอล์ เช็ดจากด้านในวนออกด้านนอกไป ในทางเดียวกัน 18.4. ใส่ยาใส่แผล แล้วปิดแผลด้วยผ้ากอซ หรือพลาสเตอร์ 18.5. อย่าให้ถูกน้ำ�อีก เพราะจะทำ�ให้เป็นหนองหรือหายช้า
116
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ในการเดิ น ทางท่ อ งเที่ ย ว ในบางครั้ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย วอาจประสบอุ บั ติ เ หตุ ถ้ามัคคุเทศก์มคี วามรูด้ า้ นการปฐมพยาบาลก็สามารถช่วยเหลือนักท่องเทีย่ วได้ทนั ท่วงที ก่อนจะส่งผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาลต่อไป ภาษาอังกฤษที่ควรทราบ การปฐมพยาบาล First Aid เป็นไข้ Illness อุปกรณ์ปฐมพยาบาล First aid kit บาดเจ็บ Injury อุบัติเหตุ Accident ฉุกเฉิน Emergency หลงทาง Get lost พันแผลอย่างง่าย Basic bandage การบาดเจ็บของร่างกาย Trauma (burns, wounds, broken bones, joint sprains and dislocations) เอกสารอ้างอิง ชูสิทธิ์ ชูชาติ (บรรณาธิการ) เอกสารประกอบการอบรมมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2541. พิพัฒน์ ชูวรเวช. อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ, 2534. รัชนีพร ภู่กร. การปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาสนา, 2533. วิชยั ดุรงค์วรรณ และคณะ. การปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2532. วชิรา กสิโกศล. การปฐมพยาบาลและเคหะพยาบาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2527. อรวรรณ หุ่นดี. การปฐมพยาบาล. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต, 2527.
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
117
ตัวอย่างแบบ ทป.1 รายงานต่อกองบังคับการตำ�รวจท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
118
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การยังชีพในป่า
การเตรียมของใช้ในการเดินป่า ตาเกิ้น ( ใน http://www.thailandoutdoor.com) และลุงหอม รวมจิตรมีข้อแนะนำ�การเตรียมตัวเดินป่าไว้ดังนี้ 1. เครื่องนอน ได้แก่ เต็นท์ หรือเปล ถุงนอน ฟลายชี๊ต 2. ผ้าปูพนื้ เอาไว้เป็นทีน่ งั่ กินข้าวหรือนอนเล่น บางครัง้ คนนำ�ทางหรือลูกหาบ จะใช้เป็นที่นอนด้วย 3. อาหารสด อาหารแห้ง หม้อสนาม สำ�หรับทำ�อาหาร และลูกอม 4. กระติกน้� ำ ควรมีประจำ�ตัว หรือมีขวดน้�ำ พลาสติกใส่เป้กไ็ ด้ ควรจะมีน�้ำ ติดตัว ก่อนออกเดินอย่างน้อยคนละ 750-1,000 ซีซี ที่กรองน้ำ�(แล้วแต่เวลาและสถานที่) 5. เสือ้ ผ้าเครือ่ งแต่งกาย ได้แก่ หมวก ถุงเท้ากันทาก (แล้วแต่สถานที)่ รองเท้าเดิน รองเท้าแตะ แว่นตา หน้ากากอนามัยเพื่อกันฝุ่น 6. ของใช้ส่วนตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ กระดาษชำ�ระ โทรศัพท์ เงิน 7. ของใช้เบ็ดเตล็ด เช่น ไฟฉาย เทียน ไฟแช็ก มีดพับ เชือก 8. ยากันแมลงและยาประจำ�ตัว ควรมี ยาแก้ปวด ยาแก้ท้องเสีย ยาใส่แผล ยาหม่อง ผ้ากอซ พลาสเตอร์ปิดแผล การเลือกทำ�เลที่พัก การพักค้างแรมกลางป่าต้องมีการเลือกทำ�เลทีเ่ หมาะสม โดยต้องคำ�นึงถึงความ ปลอดภัย หลีกเลี่ยงในจุดที่เป็นอันตราย อย่างเช่น ใกล้ลำ�ธารในช่วงฤดูฝน หลีกเลี่ยง ต้นไม้ใหญ่หรือต้นไม้ผุ เพราะต้นไม้กงิ่ ไม้อาจหล่นมาโดนตัวเรา หรือสร้างความเสียหาย แก่ที่พักได้ หลีกเลี่ยงการพักในห้วยลำ�คลองแม้ดินแห้งก็ตามเพราะน้�ำ ป่าอาจไหลมา ท่วมได้เร็ว การเลือกที่พักโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมไม่ควรตัดต้นไม้ถาง ต้นไม้เพือ่ ปรับให้เป็นสถานทีต่ งั้ แค้มป์ ควรตัง้ แค้มป์ในสถานทีท่ มี่ อี ยูแ่ ล้ว ควรสร้างทีพ่ กั ให้เสร็จก่อนมืดค่ำ�อย่างน้อย 30 นาทีและกวาดกิ่งไม้ใบไม้ออกให้หมดเพราะเป็นที่ อาศัยของมด แมลงต่างๆ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
119
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
1. เลือกสถานที่ที่พอจะหาอาหาร น้ำ� และวัสดุก่อสร้างได้ 2. เป็นพืน้ ทีร่ าบเรียบ มีทกี่ �ำ บังตามธรรมชาติ ป้องกันลม ฝน น้�ำ ท่วมได้ สังเกตว่า ไม่มีรอยคราบน้ำ�ที่แสดงว่าเคยมีน้ำ�ท่วมมาแล้ว 3. เลือกพื้นที่ที่เป็นเนิน สูง โล่ง พื้นดินแข็ง มีลมพัดผ่านได้ดี ปลอดริ้นและยุง รบกวน 4. สถานที่ใต้ต้นไม้ริมฝั่งใหญ่ หรือใต้ชะง่อนผาเป็นที่พักที่ดี เต็นท์ การใช้เต็นท์ในการเดินป่านั้นกินที่ในเป้มากและน้ำ�หนักมากเมื่อเทียบกับเปล มักจะมีปญ ั หาน้�ำ เข้าเต็นท์เวลาฝนตกหนักๆ แต่ถา้ เลือกเต็นท์ให้ดกี บั เลือกจุดกางเต็นท์ ให้เหมาะสมก็พอจะแก้ไขได้ เต็นท์มขี อ้ ดีตรงทีม่ ที เี่ ก็บของมิดชิด นอนรวมกันแล้วไม่ให้ ความรู้สึกวังเวงเกรงกลัวจากอันตราย และใช้เป็นที่เปลี่ยนเสื้อผ้าได้มิดชิดด้วย เต็นท์ที่ ใช้นอนในป่าต้องมีลกั ษณะกันน้ำ�ได้สนิท น้�ำ หนักไม่มากเกินไป ควรเป็นเต็นท์ทนี่ อนได้ 1-3 คน (มีน้ำ�หนักไม่มากนัก) และกางง่ายควรกางได้โดยไม่จำ�เป็นต้องใช้สมอบก ไฟฉาย การเดินป่าไม่จำ�เป็นต้องใช้ไฟฉายใหญ่ๆ หรือไฟฉายราคาแพง ท่ามกลาง ความมืดมิดในป่านั้นไฟฉายเล็กๆ ใช้ถ่านแค่สองก้อนก็สว่างเพียงพอ น้ำ�หนักเบาใช้ได้ หลายวันโดยไม่เปลืองถ่าน หรือไฟฉายคาดหัวแบบเล็กๆ ก็ใช้งานสะดวกดี
ภาพจาก http://www.thailandoutdoor.com
120
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การเตรียมอาหาร การเที่ ย วป่ า ก็ มี ข้ อ จำ � กั ด ที่ ไ ม่ ส ามารถนำ � อาหารไปได้ ต ามที่ ใจปรารถนาได้ ทุกอย่าง การเตรียมความพร้อมในด้านอาหารสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ อาหารหนัก อาหารเบาและอาหารเสริมพวกเครือ่ งบำ�รุงการเตรียมเรือ่ งอาหารส่วนใหญ่ จะเน้นอาหารที่มีน้ำ�หนักเบาเป็นหลัก อาหารหนัก อาหารหนัก คือข้าวและกับข้าว เนือ้ สัตว์ตา่ งๆ นอกเหนือจากพวก อาหารแห้ง ผักควรจะเป็นพวกผักประเภททีท่ นเป็นพิเศษ เช่น ถัว่ ฝักยาว หรือ กะหล่�ำ ปลี ควรตวงอาหารแบ่งเป็นมื้อจัดล่วงหน้าไปเลยว่ามื้อไหนจะกินอะไร เช่น ข้าวสาร ควรจะตวงใส่ถุงพลาสติกใบเล็กให้มีปริมาณเท่ากับที่จะหุงในหม้อจะได้แบ่งกันแบกได้ ไข่เป็นกับข้าวสารพัดประโยชน์แต่เอาไปค่อนข้างจะยาก วิธีแก้คือเอาใส่ไปในถุงข้าว แล้วเอาใส่ในหม้ออีกทีกันแตก อาหารเบา อาหารเบาหรือของว่างก็มีความสำ�คัญไม่น้อยไปกว่าอาหารหลัก ที่ได้รับความนิยมของขบเคี้ยว ลูกอม ผลไม้ดอง หรือแม้กระทั่งผลไม้ในธรรมชาติ เช่น ลูกสมอเป็นต้น ซึ่งนอกจากการประทังความหิวแล้ว น้ำ�หนักอาหารพวกนี้เบา พกพาได้สะดวก อาหารเสริม เครื่องดื่มพวกเกลือแร่หรือกลูโคสชนิดต่างๆ ที่จะช่วยให้สภาพ ร่างกายความสดชื่นคืนกลับมาในเวลาอันรวดเร็ว การก่อไฟ การเดินทางท่องเที่ยวในป่า “ไฟ” เป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่ง เพราะไฟเป็นเพื่อนที่ดี เมื่ อ เราเข้ า ป่ า ไฟจะเอื้อประโยชน์อย่างมากไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหาร หุงข้าว การให้ไออุน่ ช่วยป้องกันภัยอันตรายจากสัตว์รา้ ย อุปกรณ์ทชี่ ว่ ยในการก่อไฟอาจมีตดิ ไปด้วยในพื้นที่ๆ หาเชื้อเพลิงได้ยาก เช่น เชื้อเพลิงแห้ง ขี้ไต้ เทียนไข แก้วน้ำ�กระดาษ ที่เคลือบด้วยเทียนไข ซึ่งจะช่วยให้เราก่อกองไฟได้ดี การก่อกองไฟจะต้องปฏิบัติตาม กฎระเบียบเพื่อช่วยรักษาธรรมชาติให้คงอยู่
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
121
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ป่าบางพืน้ ทีท่ มี่ คี วามเปราะบางทางธรรมชาติ บางแห่งหาฟืนยาก นักท่องเทีย่ ว ต้องนำ�เตาแก๊ส เตาน้�ำ มันหรืออุปกรณ์ในการหุงต้มขึน้ ไปด้วย จะช่วยลดภาระการหาฟืน เช่น เตาแก๊สแบบปิกนิกสีส้ม ซึ่งมีน้ำ�หนักประมาณ 5 กิโลกรัมหรือเตาฟู่ที่ใช้น้ำ�มัน เบนซินไร้สารตะกั่วก็ได้ ไฟแช็ก นักเดินทางทุกคนควรจะต้องมีติดตัวไว้ถึงแม้คนอื่นในคณะจะพกไปแล้วก็ตาม เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะต้องใช้เมื่อไหร่ หากพลัดหลงกับคณะไฟแช็กราคาถูกนี้จะ เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดที่เรามีอยู่ มีด
ภาพจาก http://www.thailandoutdoor.com
ภาพจาก http://www.thailandoutdoor.com
122
นอกเหนือจากมีดเหนือพก ในคณะ ควรมีมดี ใหญ่อย่างมีดเหน็บพืน้ บ้านหนึง่ เล่ม เอาไว้ถางทาง ตัดไม้มาทำ�ทีแ่ ขวนหม้อ ผ่าฟืน ทำ�กับข้าว หรือแม้กระทั่งขุดหลุมถ่ายทุกข์ เป็นมีดทีใ่ ช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เสื้อผ้า เสือ้ ผ้าเดินป่ามีเพียงสองชุดก็พอ คือ ชุดเดินและชุดนอนอย่างละชุด ชุ ด เดิ น นั้ น ก็ ค วรเป็ น เสื้ อ แขนยาว กางเกงขายาว เสื้อแขนยาวจะช่วยป้องกัน แขนจากหนาม, ใบไม้คันๆ หรือแมลง เนื้อ ผ้าของเสื้อไม่ควรหนาเกินไปเพื่อให้อากาศ ถ่ายเทได้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
สำ�หรับกางเกงนัน้ กางเกงทหาร ใช้ผา้ ดีไม่หนามากแต่ทนทานและแห้งง่าย กางเกง เดินป่าสมัยใหม่ใช้ผ้าสังเคราะห์ที่บางและแห้งง่ายแต่อาจไม่ทนทาน ที่ไม่เหมาะเลย คือกางเกงยีนส์ เพราะจะหนักมากเมื่อเปียก และรูปทรงก็ทำ�ให้ไม่คล่องตัวเมื่อต้อง ปีนป่าย ส่วนชุดนอนก็ควรจะเป็นเสือ้ แขนยาวกางเกงขายาวเช่นกัน เสือ้ ยืดแขนยาวกับ กางเกงวอร์มบางๆ เอาไว้กันแมลง สำ�หรับเสื้อแขนกุด สายเดี่ยวหรือกางเกงขาสั้นนั้น ไม่เหมาะกับการสวมใส่ในป่า ส่วนชุดชั้นในเอาไปให้เพียงพอตามจำ�นวนวัน หมวก เป็นอีกอย่างที่ควรใส่เอาไว้เวลาเดิน เพราะจะช่วยกันแดด กันหนามและ กันแมลงได้เป็นอย่างดี หมวกที่มีปีกรอบด้านจะช่วยบังแดดได้ดีกว่าหมวกแก๊ป ในถิ่นที่มีทาก ถุงเท้ากันทากก็เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยได้ ถุงเท้ากันทากนี้เป็นถุงยาว ถึงเข่าหรือยาวกว่า ทำ�ด้วยผ้าเนื้อแน่นเช่นผ้าดิบ เอาไว้สวมระหว่างถุงเท้ากับรองเท้า ทากจะเจาะทะลุเข้าไปไม่ได้ รองเท้า รองเท้าทีใ่ ช้ได้ดใี นป่าคือรองเท้าทีม่ ดี อกทีพ่ น้ื ค่อนข้างหยาบ รองเท้าทีม่ ดี อกละเอียดเช่นรองเท้า เทนนิสไม่เหมาะเพราะจะลืน่ มากเมือ่ มีโคลนเข้าไป ยึดในดอกยาง รองเท้าที่พ้นื นิ่มมากใส่เดินบนพื้น แข็งทีข่ รุขระจะเมือ่ ยและเจ็บฝ่าเท้ามาก รองเท้ากัน น้�ำ นัน้ ไม่มปี ระโยชน์ในการเดินป่าเพราะน้�ำ ทีต่ อ้ งลุย ส่วนใหญ่ลกึ กว่าความสูงของรองเท้า ควรใช้รองเท้า ภาพจาก http://www.thailandoutdoor.com ทีเ่ อาน้�ำ ออกง่ายและแห้งเร็วดีกว่า เชือก
ควรใช้เชือกถักทีเ่ หมือนกับเชือกเปล หรือเชือกร่ม เชือกพวกนีเ้ หนียว น้�ำ หนักเบา ผูกง่าย แกะง่าย ควรจะมีไปอย่างน้อยสองสามเส้นเพื่อไว้ทำ�ราวตากผ้า ผูกเปล ฯลฯ เชือกฟางเป็นเชือกอีกอย่างที่ควรมีติดเป้ไว้ ใช้ได้สารพัดประโยชน์
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
123
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ข้อควรคำ�นึงในการเดินป่า ผู้ เ ดิ น ป่ า จะต้ อ งเตรี ย มร่ า งกายและจิ ต ใจให้ พ ร้ อ มรั บ เหตุ ก ารณ์ ต่ า งๆ ทุ ก สถานการณ์ ในป่าอากาศอาจหนาวหรือมีลมพัดแรง ให้เตรียมเสือ้ หนาวและเสือ้ กันลม ไปด้วย อากาศร้อนทำ�ให้อ่อนเพลียและหมดแรง ต้องนำ�หมวกกันแดดและน้ำ�ดื่ม ไปด้วย เมฆที่ลอยต่ำ�หรือหมอกลงจัดทำ�ให้ทัศนวิสัยเปลี่ยนอาจทำ�ให้หลงทางได้ การเดินทางต้องไปกับผู้ที่มีประสบการณ์หรือเชี่ยวชาญในการเดินป่า ควรนำ�อุปกรณ์ จำ�เป็นและแผนที่ติดตัว หากต้องข้ามน้ำ�ให้ ให้ใช้ท่อนซุงในการข้ามแม่น้ำ� การหลงป่า ในการเดินป่านั้นนอกจากต้องศึกษาภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังมีข่าวบ่อยๆ ว่านักท่องเที่ยวหลงป่า ซึ่งป้องกันได้โดยมีข้อแนะนำ�ดังนี้ 1. ข้อแนะนำ�ในการป้องกันการหลงทาง - ต้องวางแผนและทำ�การสำ�รวจเส้นทางก่อนออกเดินทางทุกครั้ง - การเดินทางเป็นหมู่คณะดีกว่าการเสี่ยงภัยเดินทางคนเดียว - นำ�แผนที่และเข็มทิศติดตัวไปด้วยและต้องรู้วิธีใช้แผนที่และเข็มทิศด้วย - นำ�เครื่องมือปฐมพยาบาลติดตัวไปด้วย 1 ชุด - เตรียมอาหารเพิ่มเติมเผื่อไว้อย่างน้อย 2 วัน - ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศล่วงหน้าก่อนออกเดินทาง - จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำ�เป็นต้องใช้ในการเดินทางทุกอย่างให้ครบถ้วน - เอาใจใส่ สนใจและจดจำ�สภาพแวดล้อมต่างๆ ในขณะทีเ่ ดินทาง เช่น จดบันทึก ถ่ายภาพไว้เป็นระยะ เมื่อหลงทางสามารถย้อนกลับมาดูภาพได้ 2. การปฏิบัติเมื่อหลงทาง - หยุดอยู่กับที่และอยู่เฉยๆเพื่อตั้งสติ - ทำ�ให้ร่างกายอบอุ่นโดยใส่เสื้อเพิ่มหรือหาที่กำ�บัง - ดื่มน้ำ�มากๆ - ทำ�เครื่องหมายขอความช่วยเหลือและสถานที่อยู่ให้ชัดเจน
124
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
- จัดสรรอาหารให้เพียงพอ อย่ารับประทานมากจนเกินไป ให้เผือ่ ไว้วนั ข้างหน้าด้วย การหาทิศในป่า การเดินทางในป่าเมื่อไม่มีอุปกรณ์ใดๆ เราสามารถใช้เทคนิคตามธรรมชาติ เช่น การดูเงา ดูดาว ฯลฯ เพื่อสังเกตทิศยามหลงป่าได้ เอเวอร์รสต์แนะนำ�ไว้ดังนี้ (http://www.mrbackpacker.com/tips/tip_6.html) 1. การใช้แสงเงาจากดวงอาทิตย์ วิธนี ใี้ ห้เตรียมหาไม้ยาวประมาณ 1 เมตร และทีว่ า่ งๆ แล้วทำ�ตามขัน้ ตอนง่าย ๆ 4 ขั้นตอนดังนี้ ขัน้ แรก ให้ไม้ยาวประมาณ 1 เมตรวางไว้บริเวณพืน้ เรียบ (ถ้าพืน้ ไม่เรียบมีพวกหญ้า หรือก้อนหินจะดูเงาไม่สะดวก) ให้วางไม้ในแนวตั้งหรือปักไม้ลงพื้นดิน แสงอาทิตย์จะ ส่องกระทบมาที่ไม้ทำ�ให้เกิดเงาขึ้น ให้วางไม้ที่เราปักอยู่เอนลงมาทาบกับเงาแล้วหา ก้อนหินหรือขีดเครือ่ งหมายเอาไว้บริเวณปลายไม้ เสร็จแล้วเอาจับไม้ขนึ้ มาตัง้ อย่างเดิม โดยให้จุดที่เราตั้งไม้เอาไว้เป็นจุดเดียวกับจุดแรก ขั้นที่ 2 รอประมาณ 1015 นาที เงาของแสงอาทิตย์จะ มี ก ารเคลื่ อ นย้ า ยไปเล็ ก น้ อ ย ใช้ วิ ธี เ ดิ ม คื อ เอาไม้ ม าทาบกั บ เงาแล้ ว ทำ � เครื่ อ งหมายบนจุ ด บนปลายไม้ ขั้นที่ 3 ตอนนี้จะมีจุดอยู่ 2 จุดให้ลองลากเส้นจากจุดแรก ไปยังจุดทีส่ องเป็นเส้นตรง จุดแรก ทีไ่ ด้มาจะเป็นทิศตะวันตก จุดทีส่ อง จะเป็นทิศเหนือ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
125
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ขัน้ ที่ 4 ให้ไปยืนหน้าเส้นตรงทีข่ ดี ไว้โดยให้จดุ แรกอยูท่ างซ้ายมือ จุดทีส่ องอยูท่ าง ขวามือ ทิศเหนือจะอยู่ด้านหน้าของเรา วิธีนี้จะไม่เหมาะในเวลาก่อนหรือหลังเที่ยงเล็กน้อย เพราะช่วงนี้เงาตกกระทบ จะไม่ทอดเป็นแนวยาว ซึ่งอาจจะทำ�ให้การหาทิศไม่แม่นยำ� 2. การใช้นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาข้อมือใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยในการหาทิศได้ วิธีการคือให้ตั้งนาฬิกาในอยู่ในแนวราบขนานกับพื้น โดยให้เข็มทีบ่ อกชัว่ โมงชีไ้ ปยังดวงอาทิตย์ ทำ�การแบ่งครึง่ มุมระหว่างเข็มสัน้ กับจุด 12.00 นาฬิกา ยกตัวอย่างจาก ในรูปเวลาขณะนั้นประมาณเกือบบ่ายสามโมง เราก็ให้ เข็มบอกชัว่ โมงซึง่ ขณะนัน้ อยูท่ เี่ ลข 3 ชีไ้ ปยังดวงอาทิตย์ แล้วทำ�การแบ่งครึง่ มุมระหว่างเลข 12 กับเลข 3 ซึง่ ก็จะได้ จุดทีอ่ ยูป่ ระมาณเลขหนึง่ กับเลขสอง ทำ�การจินตนาการ ลากเส้นตรงบริเวณเลขหนึ่งกว่าๆ ที่เราแบ่งได้ผ่านจุด กึง่ กลาง เราจะได้เส้นตรงมาหนึง่ เส้น จุดทีเ่ ราได้จดุ แรก (จุดทีเ่ ราแบ่งมุมมา) จะเป็นทิศใต้ ส่วนอีกด้านจะเป็นทิศเหนือ วิธีนี้จะ แม่นยำ�หากนาฬิกาตรงกับเวลาที่แท้จริง ถ้าเป็น นาฬิกาแบบดิจิตอลอาจจะดูเวลาขณะนั้นแล้วใช้วิธีวาดรูปวงกลมบนกระดาษเอาก็ได้ โดยวาดรูปเข็มสั้นเข็มยาวให้ตรงกับเวลาปัจจุบัน 3. การดูดาว วิธีการหาทิศอีกวิธีที่นิยมใช้กับมากคือการหาดาวเหนือ ส่วนใหญ่คนที่ดูดาว ไม่เป็นจะมีปญ ั หาในการหาตำ�แหน่งของดาวเหนือ ซึง่ วิธกี ารหาดาวเหนือจะมีวธิ สี งั เกต โดยอาศัยกลุ่มจระเข้(หรือดาวหมีใหญ่) และกลุ่มดาวแคสสิโอเปียเป็นหลัก โดยกลุ่ม ดาวจระเข้จะมีดาวฤกษ์ที่เรียงกัน 7 ดวงเป็นส่วนของหางจระเข้ (Ursa Major) โดย หากสังเกตที่ดาวจระเข้ตรงดาวดวงที่ 7 ลองจินตนาการลากเส้นตรงขึ้นไปจะเห็นดาว
126
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ที่สุดสว่างอยู่ดวงเดียว ดาวดวงนั้นจะเป็นดาวเหนือ ซึ่งตำ�แหน่งดาวเหนืออาจจะเยื้อง จากเส้นเล็กน้อย ขึ้นกับฤดูกาลด้วย หรือถ้าดูจากดดาวแคสสิโอเปียตรงจุดกึ่งกลางตัว M ลองจินตนาการลากเส้นตรงก็จะเจอดาวเหนือเช่นกัน กลุ่ม ดาวแคสสิ โ อเปี ย เป็ น กลุ่ม ดาวทีส่ งั เกตและจดจำ�ได้งา่ ยอยูต่ รงข้าม กับดาวจระเข้ ประกอบด้วยดาวฤกษ์ สว่าง 5 ดวง เรียงตัวกันเป็นรูปตัวเอ็ม (M) คนไทยจะเห็นเป็นรูปค้างคาว จึงเรียกชือ่ กลุม่ ดาวนีว้ า่ “กลุม่ ดาวค้างคาว” นอกจากนี้เรายังสามารถหาทิศ จากกลุ่มดาวทางใต้ โดยสังเกตจากกลุ่มดาวกางเขนใต้ (Southern Cross) โดยกลุ่มดาว นี้จะมีขนาดเล็กประกอบด้วยดาว 4 ดาว มองดูจะคล้ายกับไม้กางเขน ลองวาดเส้นตรงผ่านบริเวณหัว และท้ า ยของไม้ ก างเขนโดยให้ และ ให้จินตนาการหาจุดที่ห่างออกไปจาก ปลายกางเขน เป็นระยะประมาณ 5 เท่า ของระยะจากหัวกางเขนไปท้ายกางเขน เมื่อได้จุดนี้แล้ว ลองมองจากจุดนี้ตรง ลงมายั ง พื้ น ดิ น ทิ ศ นี้ จ ะเป็ น ทิ ศ ใต้ ส่วนทิศเหนือก็จะอยู่ตรงกันข้าม 4. การดูพระจันทร์ เราสามารถใช้ดวงจันทร์เพื่อดูทิศอย่างหยาบๆ ได้โดยวิธีง่ายๆ คือดูเวลา การขึ้นลงของดวงจันทร์ หากดวงจันทร์ขึ้นก่อนที่พระอาทิตย์จะตกด้านสว่างของ ดวงจันทร์จะเป็นทิศตะวันตก หากดวงจันทร์ขึ้นหลังเที่ยงคืน ด้านสว่างของดวงจันทร์
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
127
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
จะเป็นทิศตะวันออก วิธีนี้อาจจะไม่ค่อยแม่นยำ�นัก เพราะบางทีดวงจันทร์อาจจะขึ้น มาแล้วแต่เรามองไม่เห็นเพราะเมฆมาก และช่วงพระจันทร์เต็มดวงหรือใกล้เต็มดวง ดวงจันทร์จะสว่างทั้งดวงทำ�ให้เราไม่ทราบว่าจะใช้ด้านใดของดวงจันทร์เป็นด้านสว่าง 5. การใช้อุปกรณ์ วิธนี เี้ ป็นวิธงี า่ ยทีส่ ดุ คือการใช้อปุ กรณ์ทดี่ ทู ศิ ได้ เช่นเข็มทิศ หรือนาฬิกาทีส่ ามารถ บอกทิศได้ วิธนี คี้ อ่ นข้างจะแม่นยำ� แต่โดยส่วนใหญ่เวลาทีเ่ ราหลงทางมักจะไม่มอี ปุ กรณ์ เหล่านี้ติดตัวมาด้วย จึงจำ�เป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีอื่นๆ เพิ่มเติม 6. สังเกตลม ใช้หญ้าแห้งหรือฝุน่ โยนไปในอากาศ จะทราบว่าลมพัดมาจากทิศทางใด 7. สังเกตเถาวัลย์ เถาวัลย์ที่พันต้นไม้จะชูยอดไปทางทิศตะวันออกเสมอ เราก็จะหาทิศอื่นได้ 8. สั ง เกตต้ น ไม้ เมื่ อ ดวงอาทิ ต ย์ ลั บ ขอบฟ้ า ไปแล้ ว ให้ เ อาแก้ ม แนบต้ น ไม้ ด้านที่อุ่นจะเป็นทิศตะวันตก การใช้เข็มทิศและการหาทิศ เข็มทิศ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการหาแนวทิศเหนือ โดยมี ป ลายแม่ เ หล็ ก เป็ น ตั ว ชี้ ไ ปทางทิ ศ เหนื อ เสมอ ซึ่งเราเรียกว่าปลายชี้เหนือ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า โลกมีขั้วแม่เหล็กอยู่ทางทิศเหนือชายฝั่งทางเหนือของ เกาะปรินซ์ออฟเวลล์ ในประเทศแคนนาดาตอนเหนือ จะส่งอำ�นาจดึงดูดให้ปลายชี้เหนือของแม่เหล็กชี้ไปทาง ทิศเหนือ
128
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ประโยชน์ของเข็มทิศ 1. ใช้ในการบอกทิศให้ผู้ใช้ทราบว่าอยู่ทิศใด 2. ใช้ในการเดินทางในป่า เดินทางในเวลากลางคืน 3. ใช้หาตำ�แหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก 4. ใช้ประกอบกับแผนที่ 5. ใช้ในการเขียนแผนที่โดยสังเขป ข้อควรระวังในการใช้เข็มทิศ 1. การใช้เข็มทิศควรจับหรือถืออย่างระมัดระวัง เพราะหน้าปัดค่อนข้างจะบอบบาง 2. ควรใช้เชือกที่ร้อยรูที่ฐานคล้องคอทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันเข็มทิศตกหล่น 3. ถือเข็มทิศให้อยู่ในแนวระดับ เพื่อให้แม่เหล็กอยู่ในลักษณะที่สมดุล 4. เมือ่ เลิกใช้ควรเก็บเข็มทิศไว้ในกระเป๋า และห่อเข็มทิศด้วยกระดาษให้เรียบร้อย การทำ�งานของเข็มทิศจะได้คา่ ทีถ่ กู ต้อง และแม่นยำ�ควรให้เข็มทิศอยูห่ า่ งจาก สายไฟฟ้า แรงสูง ปืนใหญ่สนาม ปืนกล หมวกเหล็ก ปืนเหล็ก รถบรรทุก สายโทรเลข สายโทรศัพท์ 5. ไม่ควรให้เข็มทิศเปียกน้ำ� และอยู่ใกล้ความร้อน การข้ามแม่น้ำ� การเดินทางในป่าบางครั้งอาจต้องข้ามแม่น�้ำ หรือลำ�ห้วย การข้ามแม่น้ำ�มีสิ่งที่ ต้องตัดสินใจอยู่ 3 ประการคือ จะข้ามเมื่อไร จะข้ามอย่างไร และวิธีในการข้าม สิ่งที่ ต้องคำ�นึงเป็นอย่างยิง่ ในการข้ามแม่น้ำ�คือการขึน้ ลงของน้ำ�โดยเฉพาะในช่วงเวลาทีฝ่ น ตก น้�ำ ในแม่น�้ำ จะขึน้ อย่างรวดเร็วและเชีย่ วกรากห้ามข้ามแม่น้ำ�โดยเด็ดขาด ถ้าจะข้าม ควรจะรอดูว่าระดับน้�ำ เปลี่ยนแปลงไปมากหรือไม่ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะข้าม สังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้ กระแสน้ำ�เปลี่ยนสีหรือมีคลื่น มีเสียงการกลิ้งของก้อนหิน มี ต้นไม้และเศษสวะลอยอยู่ในน้ำ�หรือไม่
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
129
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติขึ้น 1. ไม่ตนื่ ตกใจจนเกินไป พยายามตัง้ สติให้ได้จะช่วยให้เราคิดหาหนทางทีจ่ ะแก้ไข ต่อไปได้ 2. ใช้ถุงสัมภาระแทนเสื้อชูชีพ นำ�สัมภาระทั้งหมดไว้บนหลัง 3. ในขณะที่อยู่ในน้ำ�จะต้องทำ�มุมให้ลำ�ตัวตามกระแสน้ำ� อย่าทำ�มุมขวาง กระแสน้ำ� ใช้มือและขาช่วยในการเคลื่อนที่สู่ฝั่งที่ใกล้ที่สุด 4. ถ้ามีก้อนหินหรือตอไม้ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ควรยกเท้าให้ลอยตัวขึ้น และพยายามว่ายให้ถึงฝั่งหรือสิ่งที่สามารถเกาะยึดให้ได้เร็วที่สุด การพิจารณาเลือกสถานที่ที่จะข้ามแม่น้ำ� ให้พิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ 1. พื้ น ผิ ว น้ำ � พิ จ ารณาว่ า จุ ด ที่ จ ะข้ า มนั้ น มี ก ารเคลื่ อ นไหวของน้ำ � ที่ ช้ า และ ราบเรียบทั้งผิวน้ำ�และใต้ท้องน้ำ�หรือไม่ 2. ความเร็วของกระแสน้ำ� สถานที่ที่จะข้ามนั้นน้ำ�ไหลเชี่ยวมากน้อยเพียงใด แม้น้ำ�ตื้นหากน้ำ�ไหลเชี่ยวก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้จึงไม่ควรประมาท 3. ความลึกของน้� ำ โดยเฉพาะการข้ามน้�ำ ทีม่ รี ะดับลึกต้องพิจารณาอย่างถีถ่ ว้ น 4. เลือกจุดที่ขึ้น-ลงน้ำ�ได้ง่ายสะดวกและปลอดภัย ไม่ควรเลือกจุดที่เป็นฝั่งสูง และมีระดับน้ำ�ลึก 5. ใช้เชือกช่วยในการข้ามแม่น� ำ้ โดยเฉพาะในการข้ามช่องแคบหรือร่องน้�ำ แคบๆ 6. พิจารณาลักษณะของแม่น�้ำ และสภาพแวดล้อมใกล้เคียง เช่น กระแสน้� ำ ตอไม้ น้ำ�ตกที่อยู่ข้างแม่น้ำ� หรือความโค้งคดของแม่น้ำ� 7. ระลึกเสมอว่าบริเวณที่เป็นทางโค้งน้ำ�จะไหลเชี่ยวและลึกกว่าปกติ การข้ามแม่น�้ำเป็นหมู่คณะ แม้เป็นแม่น�้ำ ธรรมดาก็ตอ้ งอาศัยความแข็งแรงของหมูค่ ณะซึง่ จะช่วยให้การข้าม แม่น้ำ�ง่ายขึ้นและมีความปลอดภัย ซึ่งมีวิธีการ 3 ประการคือ 1. การจับด้วยผ้า ให้สมาชิกในคณะเอามือไขว้หลังตัวเองใช้มอื จับผ้าต่อๆ กัน ทีน่ �้ำ ระดับสะโพก เคลือ่ นไปในแม่น�้ำ ทีละคน เดินเป็นเส้นขนานไปกับแม่น� ้ำ ผูท้ แี่ ข็งแรง
130
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
กว่าอยู่ต้นน้ำ� วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีและแน่นอนในการข้ามแม่น�้ำ ทีมีความลึกตั้งแต่หัวเข่าถึง ต้นขาอ่อน 2. การใช้สายรัดหลัง วิธนี คี้ ล้ายวิธแี รกและใช้ในน้�ำ ระดับทีล่ กึ กว่า ให้ผทู้ แี่ ข็งแรง ที่สุดอยู่ต้นน้ำ� แก้สายรัดหน้าอกออกและคลายสายรัดไหล่ให้ทุกคนสอดมือเข้าไป ในระหว่างถุงสัมภาระและหลังของคนข้างหน้า จับสายรัดต่อกันไป 3. การใช้ไม้ยาว ผูท้ แี่ ข็งแรงทีส่ ดุ ยืนอยูต่ น้ น้�ำ เป็นผูจ้ บั ไม้ยาวด้วยมือทัง้ สองข้าง ให้คนที่เหลือจับไม้ต่อๆ กันไป ข้อแนะนำ�ในการเดินในน้ำ� 1. สวมรองเท้าตลอดเวลาซึ่งสามารถช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับเท้าได้ 2. พยายามให้สว่ นบนของร่างกายอยูเ่ หนือผิวน้�ำ จะช่วยให้สามารถต้านกระแสน้�ำ ได้ 3. เดินก้าวสั้นๆ โดยให้เท้าแตะพื้นน้ำ� 4. อย่าหยิบจับก้อนหินหรือท่อนไม้ในน้ำ� อาจทำ�ให้เสียการทรงตัวได้ 5. เคลื่อนไหวเป็นเส้นทแยงมุมไปตามกระแสน้ำ� อย่าเดินต้านกระแสน้ำ� 6. อย่ากระโดดเพื่อมิไห้ขาเปียก อาจทำ�ให้ลื่นหกล้มได้ 7. อย่าข้ามถ้าคิดว่ายังไม่พร้อมหรือแน่ใจว่าการอยูบ่ นฝัง่ มีความปลอดภัยมากกว่า ภัยธรรมชาติ ภัยธรรมชาติเกิดจากการเปลีย่ นแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ท�ำ ให้เกิดขึน้ มา ซึง่ เกิดขึน้ ได้ทกุ เวลาโดยทีม่ นุษย์ไม่ได้ตงั้ ตัว ภัยธรรมชาติทมี่ กั เกิดในภาคเหนือ แบ่งเป็น 8 ประเภท คือ (http://www.cmmet.tmd.go.th) เดือน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ กุมภาพันธ์ ไฟป่า มีนาคม พายุฤดูร้อน, ไฟป่า, ฝนแล้ง เมษายน พายุฤดูร้อน, ไฟป่า, ฝนแล้ง พฤษภาคม พายุฤดูร้อน, อุทกภัย
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
131
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน
อุทกภัย, ฝนทิ้งช่วง ฝนทิ้งช่วง, พายุฝนฟ้าคะนอง, พายุหมุนเขตร้อน, อุทกภัย พายุหมุนเขตร้อน, อุทกภัย, พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน, อุทกภัย, พายุฝนฟ้าคะนอง
1. แผ่นดินถล่ม การเกิดดินถล่ม เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ป้องกันได้ยากแต่เราก็สามารถ ลดความเสี่ยงได้ถ้ามีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังที่ดี การสังเกตก่อนเกิดดินถล่ม น้ำ�ในลำ�ห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่นแสดงว่าจะมี ตะกอนไหลมาตามลาดเขา เวลาฝนตกนาน ๆ จะมีเสียงดังเหมือนตอนมีน�้ำ ป่ามา ต้นไม้ ล้มหรือก้อนหินกลิ้งดังครืนๆ ถ้ามีเสียงนั้น แสดงว่าดินจะถล่มลงมา สาเหตุการเกิดดินถล่ม เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันหรือดินบนลาดเขา เป็นดินร่วนและมีความลาดชัน มากๆ การทำ�ไร่เลือ่ นลอยบนภูเขา ทำ�ให้สภาพดินต้อง เสียไป เมื่อฝนตกหนักนานๆ ดินบนภูเขานั้นอิ่มน้ำ�และไถลลงมาตามลาดเขานำ�เอา ตะกอนดิน ก้อนหิน ซากไม้ล้มลง มาด้วย ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดดินถล่ม ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ต้องอพยพหรือให้หนีไปที่สูงๆ และต้องรีบแจ้งต่อๆ ให้รู้ทั่วกัน โดยเร็ว ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำ�ห้ามว่ายน้ำ�หนีเป็นอันขาด เพราะจะโดนซากต้นไม้ ก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนถึงตายได้ให้หาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะเอาไว้ แล้วปีนหนีน้ำ�ให้ได้ ข้อควรปฏิบัติหลังน้ำ�ลด จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์ สิ่งผิดปกติ ยามค่ำ�คืน ติดตามฟังข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อทราบสภาพสถานการณ์ของภาวะฝน ตกหนักหรือน้ำ�ป่าไหลหลาก
132
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
2. ไฟป่า เป็ น ภั ย ธรรมชาติ ซึ่ ง เกิ ด จากมนุ ษ ย์ เ ป็ น ส่ ว นมาก ได้ แ ก่ ก ารเผาหาของป่ า เผาทำ�ไร่เลื่อนลอย เผากำ�จัดวัชพืช ส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง มักเกิดช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ทำ�ให้เกิดผงฝุ่น ควันไฟ กระจายในอากาศทั่วไป ทำ�ให้มองเห็นไม่ชัดเจน สุขภาพเสื่อม พืชผลการเกษตร ด้อยคุณภาพ แหล่งทรัพยากรลดลง การป้องกันไฟป่า ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำ�เตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง ควรดับไฟ บุหรี่ ธูป เทียน กองไฟให้ความอบอุ่น ทุกครั้ง ในอาคารหรือกลางแจ้ง 3. วาตภัย วาตภัยเป็นภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุลมแรง แบ่งได้ 2 ชนิด 3.1 วาตภัยจากพายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนช่วง เดือนมีนาคมพฤษภาคม เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึน้ เบือ้ งบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำ�ความเสียหายได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ ความเร็วลมประมาณ 50 กม./ชม. ทำ�ให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตร เสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้ ก่อนเกิดวาตภัย สังเกตได้จาก อากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน ลมสงบ แม้ใบไม้ก็ไม่สั่นไหว ความชื้นในอากาศสูงจนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสยั การมองเห็นระยะไกลไม่ชดั เจน เมฆมากขึน้ ท้องฟ้ามืดครึม้ อากาศร้อนอบอ้าว ขณะเกิดวาตภัย มีพายุลมแรง 15-20 นาที ความเร็วมากกว่า 50 กม./ช.ม. เมฆทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว ลมกระโชกแรงเป็นครั้งคราว มีฝนตกหนัก บางครั้งมีลูกเห็บ ฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ถ้านับในใจ 1-2-3 แล้ว ได้ยนิ เสียงฟ้าร้อง พายุอยูห่ า่ งไปประมาณ 1 กม. ถ้าเห็นฟ้าแลบและฟ้าร้องพร้อมกัน พายุจะอยู่ใกล้มาก สภาวะพายุลมแรงนี้จะนาน ประมาณ 1 ชม.
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
133
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
หลังเกิดวาตภัย อากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส ทัศนวิสัยชัดเจน การป้องกันพายุฤดูร้อนระหว่างเดินป่า นอกจากติดตามสภาวะอากาศแล้ว ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และไม่อยู่ กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง 3.2 วาตภัยจากพายุหมุนเขตร้อน จะเกิดขึน้ ในช่วงฤดูฝน ช่วง เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน เป็นพายุทเี่ กิดขึน้ เหนือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟกิ ในเขตร้อน มี ศู น ย์ ก ลางประมาณ 200 กม. มีลมพัดเวียนรอบศูนย์กลางทิศทวนเข็มนาฬิกา ศูนย์กลางเป็นวงกลมประมาณ 15-60 กม. เรียกตาพายุ เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศ เวียดนามทำ�ความเสียหายให้บริเวณที่เคลื่อนผ่าน ตามลำ�ดับความรุนแรง เกณฑ์การ แบ่งความรุนแรงของพายุเขตร้อนเป็น 3 ระดับคือ 1. พายุดีเปรสชั่น มีกำ�ลังอ่อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63 กม./ชม. 2. พายุดีหมุนเขตร้อน มีกำ�ลังปานกลาง ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63-117 กม./ชม. 3. พายุไต้ฝนุ่ มีก�ำ ลังปานกลาง ความเร็วลมใกล้ศนู ย์กลางมากกว่า 118 กม./ชม. ก่อนเกิดวาตภัย อากาศดี ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน เมฆทวีขนึ้ เป็นลำ�ดับ ฝนตกเป็นระยะๆ ขณะเกิดวาตภัย เมฆเต็มท้องฟ้า ฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา ลมพัดแรง หลังเกิดวาตภัย อากาศดีขึ้นเป็นลำ�ดับ 4. พายุฝนฟ้าคะนอง ภัยธรรมชาติซงึ่ เกิดจากฝนฟ้าคะนอง และลมแรง อากาศร้อนลอยสูงขึน้ อากาศ ข้างเคียงไหลเข้ามาแทนที่ ไอน้ำ�กลั่นตัวเป็นเมฆทวีความสูงมากขึ้น มองเห็นคล้าย ทั่งตีเหล็กสีเทาเข้ม มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครัง้ มีลกู เห็บ หากฝนตกต่อเนือ่ งหลายชัว่ โมงอาจเกิดน้�ำ ป่าไหลหลาก น้�ำ ท่วมฉับพลัน อาจเกิดพายุหมุนหรือ พายุงวงช้าง มีลมแรงมากทำ�ความเสียหายบริเวณทีเ่ คลือ่ นผ่าน มักเกิดในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
134
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง อากาศร้อนอบอ้าว ลมสงบ ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย เมฆก่อตัวเป็นรูปทั่งสีเทาเข้ม ยอดเมฆสูงกว่า 10 กม. ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก ถึงหนักมาก บางครั้งมีลูกเห็บ หลังเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส การป้องกันพายุฝนฟ้าคะนองระหว่างเดินป่า เช่นเดียวกับการป้องกันพายุฤดูรอ้ น 5. แผ่นดินไหว เป็นภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พิภพ ทำ�ให้เกิดภูเขาไฟ ระเบิด แผ่นดินเลื่อน ถล่ม และเกิดจากมนุษย์ เช่นระเบิดนิวเคลียร์ ภาคเหนือส่วนมาก จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3- 5 ริกเตอร์ ข้อควรปฏิบตั ิ ขณะเกิดแผ่นดินไหว ถ้าอยูใ่ นอาคารสูง ควบคุมสติ หลบอยูใ่ ต้โต๊ะ ที่แข็งแรง ไม่วิ่งลงบันใดหรือลงลิฟต์ ถ้าขับรถให้หยุดรถ ควบคุมสติอยู่ภายในรถ จนการสัน่ สะเทือนหยุดลง ออกไปอยูน่ อกอาคาร อยูห่ า่ งจากอาคารสูง กำ�แพง เสาไฟฟ้า ต้นไม้ ไปอยู่ที่โล่งแจ้ง 6. อุทกภัย เป็นภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำ�เป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำ�ท่วม น้ำ�ป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติอทุ กภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนือ่ งกันเป็นเวลานาน บางครัง้ ทำ�ให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีก�ำ ลังแรง ร่องความกดอากาศต่�ำ มีก�ำ ลังแรง อากาศแปรปรวน น้�ำ ทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขือ่ นพัง ทำ�ให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ อุทกภัย แบ่งได้ 2 ชนิดคือ 6.1 อุทกภัยจากน้ำ�ป่าไหลหลากและน้ำ�ท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนัก ติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทันน้ำ�ฝนจึงไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรง ของน้ำ�ทำ�ลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต และทรัพย์สิน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
135
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
6.2 อุทกภัยจากน้ำ�ท่วมขังและน้ำ�เอ่อนอง เกิดจากน้ำ�ในแม่น� ้ำ ลำ�ธารล้นตลิง่ มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขังทำ�ให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำ�ลาย สาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร การป้องกันอุทกภัย ควรติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำ�เตือนจากกรมอุตนุ ยิ มวิทยา สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชัว่ โมง ฝึกซ้อมการป้องกัน ภัยพิบตั ิ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำ�เป็น เตรียมน้�ำ ดืม่ เครือ่ งอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิว้ ติดตามข่าวสาร เตรียมพร้อมเสมอเมือ่ ได้รบั แจ้ง ให้อพยพไปทีส่ งู เมือ่ อยูใ่ นพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัย และฝนตกหนักต่อเนือ่ ง ไม่ลงเล่นน้� ำ ไม่ขบั รถ ผ่านน้ำ�หลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ�เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม หากอยู่ในพื้นที่ น้ำ�ท่วมขัง ป้องกันโรคระบาดระวังเรื่องน้ำ�และอาหาร ต้องสุก และสะอาด ข้อแนะน�ำในการเดินทางทางน�้ำ สำ�หรับผู้ที่จะเดินทางทางน้ำ�มีข้อปฏิบัติเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุหรือการสูญเสียที่ อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้ การปฏิบัติของผู้โดยสาร 1. ถ้าว่ายน้�ำ ไม่เป็นควรหลีกเลีย่ งการเดินทางทางน้�ำ ตามลำ�พัง ให้มเี พือ่ นร่วมทาง ไปด้วย ถ้าจำ�เป็นต้องเดินทางคนเดียวเมือ่ ลงเรือโดยสารในเรือแล้วควรบอกให้ผคู้ วบคุม เรือและผู้โดยสารที่อยู่ข้างเคียงทราบไม่ควรถือเป็นเรื่องน่าอายแต่อย่างใด 2. ชุดแต่งกาย รองเท้าควรเลือกชุดที่สามารถถอดออกได้ง่าย ไม่ควรสวม รองเท้าชนิดผูกเชือก ถ้าจำ�เป็นเมือ่ ลงเรือควรแก้เชือกรองเท้าให้หลวมหรือถอดรองเท้า ออกเสียก่อน รองเท้าหุ้มข้อไม่เหมาะสมการเดินทางทางเรือเป็นอย่างยิ่ง 3. ในการเดินทางเรือจะต้องไม่กลัวเปียก ไม่กลัวแดด เพราะในการขยับตัว เพื่อหลบฝอยน้ำ�หรือเปลี่ยนที่นั่งเพื่อหลบแดดจะทำ�ให้เรือเสียการทรงตัว 4. ถ้ า เป็ น การเดิ น ทางทางทะเล ควรรั บ ฟั ง คำ � พยากรณ์ อากาศของ กรมอุตนุ ยิ มวิทยาซึง่ ออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงทุกวันเป็นประจำ� หากมีค�ำ เตือน เรื่องพายุและคลื่นลมแรงควรงดการเดินทางเสีย
136
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
5. การรอลงเรือให้ยนื คอยบนฝัง่ หรือบนท่า อย่ายืนคอยบนโป๊ะๆ มีการทรงตัว เช่นเดียวกับเรือ และรับน้ำ�หนักได้จำ�นวนจำ�กัด โซ่หรือเชือกที่ยึดเหนี่ยวโป๊ะไว้กับ หลักอาจจะขาด ทำ�ให้โป๊ะพลิกคว่ำ�ทางด้านที่รับน้ำ�หนักมากกว่าได้ 6. การขึน้ หรือลงเรือให้คอยให้เรือจอดเทียบท่าเรียบร้อยเสียก่อน อย่าแย่งกัน ลงเรือหากมีผู้โดยสารเรือเต็มแล้ว ให้คอยไปเรือลำ�หลังโดย สังเกตได้จากเส้นแนวน้ำ� บรรทุกทีอ่ ยูก่ งึ่ กลางลำ�ข้างเรือทัง้ 2 กราบ หากเส้นแนวน้�ำ บรรทุกนีจ้ มมิดน้� ำ เรือจะอยู่ ในสถานะที่ไม่ปลอดภัยที่จะบรรทุกผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 7. เมือ่ ลงเรือแล้วให้เดินเข้าไปในตัวเรือ อย่ายืนท้ายเรือ อย่านัง่ กราบเรือ หรือ บนหลังคาเรือ 8. การเลือกทีน่ ง่ั ภายในตัวเรือให้ค�ำ นึงถึงการทรงตัวของเรือเป็นสำ�คัญ ถา้ ไปหลายคน ให้กระจายกันนั่งเพื่อให้เรืออยู่ในลักษณะสมดุล อย่ารวมกลุ่มกันเพื่อความสนุกสนาน 9. อย่าตื่นตกใจเมื่อเรือเอียงหรือโคลงเพราะคลื่นหรือพลิ้วน้ำ �จากเรืออื่น พยายามยึดจับพนักทีน่ งั่ ให้มนั่ อย่าให้ลนื่ ล้มไปรวมทางกราบเรือทีเ่ อียงไปได้ ส่วนผูท้ อี่ ยู่ ทางกราบทีเ่ อียงให้นงั่ นิง่ ๆ อย่ากลัวเปียกน้� ำ และอย่าพยายามขืนอาการเอียงของเรือ 10. ไม่ควรดื่มสุรามึนเมาขณะเดินทางทางเรือ 11. การขึน้ จากเรือเมือ่ เรือเข้าเทียบท่าแล้ว ให้ทยอยกันขึน้ อย่าลุกขึน้ พร้อมๆ กัน เรืออาจพลิกคว่ำ�ได้และเมื่อเรือเดินทางต่อไป ผู้โดยสารที่เหลืออยู่ต้องขยับขยายที่นั่ง ใหม่เพื่อให้เรือทรงตัวอยู่ในลักษณะที่สมดุลที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ 12. การปฏิบัติเมื่อมีคนตกน้ำ� เมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้ 12.1 ผูโ้ ดยสารทีเ่ ห็นเหตุการณ์ รีบตะโกนให้นายท้ายเรือทราบทันท ี ให้บอก ให้ชัดเจนว่าคนตกน้ำ�กราบซ้ายหรือกราบขวา เพื่อที่นายท้ายเรือจะได้หันเหเรือหลบ ไม่ให้ใบจักรเรือทำ�อันตรายต่อคนตกน้� ำ โยนเครือ่ งช่วยชีวติ เช่นพวงชูชพี หรือเสือ้ ชูชพี ไปให้คนตกน้ำ� หากหาเครื่องช่วยชีวิตไม่ได้ให้ตรวจดูสิ่งที่ลอยน้ำ�ได้พอที่คนตกน้ำ� จะใช้เกาะพยุงตัว เช่น ไม้กระดาน ท้องเรือ เบาะ และพนักรองนัง่ ถังน้�ำ มัน เท่าทีจ่ ะหยิบฉวย ได้ในบริเวณนั้นโยนตามไปหลายๆ อันเพื่อว่าคนตกน้ำ�พลาดจากอันหนึ่งจะได้คว้า อีกอันหนึ่งได้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
137
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
12.2 ผูท้ ตี่ กน้� ำ ควบคุมสติให้มนั่ คง เมือ่ ตกถึงน้�ำ ให้วา่ ยน้�ำ และผละออกจากเรือ โดยเร็ว อย่าพยายามว่ายกลับเพื่อคว้าตัวกราบเรือ ขณะที่เรือกำ�ลังแล่นเป็นอันขาด เพราะจะถูกน้�ำ ดูดเข้าไปใต้ทอ้ งเรือ จะได้รบั อันตรายจากใบจักรเรือ เมือ่ เห็นว่าพ้นระยะ อันตรายจากใบพัดเรือแล้วให้หยุดว่าย พยุงตัวลอยตามน้ำ�ไว้ อย่าพยายามว่ายตาม เรือหรือว่ายเข้าฝั่ง เพราะอาจหมดแรงจมน้ำ�เสียก่อน ถอดรองเท้า เข็มขัด หรือสิ่งของ ติดตัวทีจ่ ะเป็นเครือ่ งถ่วงทิง้ ให้หมด คอยคว้าจับสิง่ ลอยน้�ำ ทีม่ ผี โู้ ยนให้จากเรือเพือ่ ใช้เป็น เครื่องพยุงตัว หากคว้าจับไม่ได้ ให้ถอดเสื้อหรือกางเกงออกทำ�โป่งลอยน้ำ�พยุงตัวไว้ ชั่วคราว ปล่อยตัวลอยตามน้ำ�รอจนกว่าเรือจะวกกลับมาช่วยหรือจนกว่ากระแสน้ำ� พัดเข้าใกล้ฝงั่ ทีต่ นื้ หรือทีม่ นั่ คงซึง่ พออาศัยยึดเหนีย่ วได้ จึงค่อยว่ายน้�ำ ไปยังทีห่ มายนัน้ รอการช่วยเหลือต่อไป อุ ป กรณ์ แ ละเครื่องใช้ประจำ�เรือต่างๆ ต้องคอยตรวจตราดูแลให้ครบถ้วน อยู่เสมอ ดังนี้ 1. ป้ายแสดงจำ�นวนคนโดยสาร 2. เก้าอี้มีเบาะรองนั่งควรมีคุณลักษณะและคุณสมบัติเป็นเครื่องชูชีพได้ 3. เสื้อชูชีพ 4. น้ำ�ยาดับเพลิง 5. เครื่องหมายแสดงแนวน้ำ�หนักบรรทุก 6. พวงชูชีพพร้อมเชือก * ถ้าผู้โดยสารมีสัมภาระมากควรหลีกเลี่ยงการเดินทางทางน้ำ�
138
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
พืชสมุนไพรในป่า การเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นได้เสมอจากการเดินป่า มัคคุเทศก์ควรมีความรู้เรื่อง สมุนไพรในป่าติดตัวไว้บา้ งนอกจากใช้เป็นยาได้แล้วสมุนไพรหลายชนิดนำ�มาปรุงอาหาร ได้ดีหรือใช้ เป็นอาหารบำ�รุงพลังได้ และทั้งยังเป็นการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ ให้นักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย พืชสมุนไพรทีพ่ บในเขตพืน้ ทีข่ องสำ�นักงานเขตอนุรกั ษ์ที่ 15 มี จำ�นวน 165 ชนิด มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไผ่ ปาล์ม เฟิร์น ไม้ล้มลุก หญ้า ฯลฯ ในที่นี้จะเลือกแนะนำ�การใช้ ประโยชน์จากพืชที่มักพบบ่อยๆ ในป่า 28 ชนิด ดังนี้ ลำ�ดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ชื่อสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร ต้อยติ่ง รางจืด สาบเสือ (หญ้าเมืองวาย) มะขามป้อม ผักกูด สะเดา เพกา (มะลิดไม้) ผักปราบ มะระขี้นก
11
หญ้าคา
12
ขี้เหล็ก
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ทั้งต้น แก้ไข้ หวัด เจ็บคอ เมล็ด แก้ฝีหนอง : รากขับขับปัสสาวะ ถอนพิษไข้ และรักษาพิษร้อนทั้งปวง ทั้งต้น ยาสมานแผล : ใบพอกห้ามเลือด ริดสีดวงทวาร แก้ตาฟาง ตาแฉะ : ดอกบ�ำรุงหัวใจ แก้ไข้ ผล แก้ไอ : เปลือก สมานแผล ใบ แก้ไข้ บ�ำรุงสายตา ขับปัสสาวะ ใบ แก้ไข้มาลาเรีย ต�ำพอกฝีหนอง : ผล ฆ่าพยาธิ ฝัก ขับลม : เปลือก สมานแผล แก้ร้อนใน ท้องร่วง อาเจียน ทั้งต้น รักษาโรคเรื้อน แก้ปวด ผื่นคัน ปวดขัดปัสสาวะ ใบ แก้ปากเปื่อย แก้เบาหวาน : ผลอ่อน แก้ปากเป็นฝ้าขาว มะเร็ง ใบ ต้มอาบแก้ลมพิษ : ดอกแก้เลือดก�ำเดาไหล พอกแก้อักเสบ บวม ฝีมีหนอง ดอกแก้หืด เป็นยาระบาย : ใบขับปัสสาวะ แก้นิ่ว
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
139
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ลำ�ดับ ชื่อสมุนไพร 13 ส้มป่อย
140
14 15 16 17 18
ผักแว่น ส้มกบ เถาย่านาง ปอกระสา หว้า
19 20
ผักกะสัง สนสามใบ
21 22 23 24
ผักคาวตอง บัวบก ก�ำจัดต้น (มะ แขว่น) เครือออน
25
งิ้วป่าดอกแดง
26
ผักเสี้ยนผี
27 28
หาด หอมไก๋
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ใบถ่ายเสมหะ ต�ำประคบแก้เส้นตึง : ผล ฆ่าพยาธิ แก้รังแค ท�ำให้อาเจียน ราก แก้ไข้ สมานแผลในปาก แก้ไข้ กระหายน�้ำ รักษาแผลไฟลามทุ่ง แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ท้องเสียเลือดก�ำเดา ใบและเถา ถอนพิษ แก้ไข้ตัวร้อน ใบ แก้พษิ ตะขาบ งูและแมลงมีพษิ แก้ตาแดง ผืน่ คัน ใบแก้บิดมูกเลือด ต้มชะล้างแผล ต�ำแก้โรคผิวหนัง เม็ดแก้ บิด: เปลือกแก้ท้องร่วง ต�ำพอกทาแผลฝีหนอง กระพี้ ต้มดื่มแก้ไข้สันนิบาต : น�้ำมันแก้เคล็ดขัดยอก อักเสบ บวม แก้โรคผิวหนัง ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อทางเดินปัสสาวะ ดับกลิ่นปาก ลดไข้ แก้ท้องเสีย ลดการอักเสบ เม็ดแก้ลมวิงเวียน : รากและเนื้อไม้ขับลมในล�ำไส้ แก้พิษ แมงสัตว์ต่อย ต้นและใบ แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ คั้นน�้ำทาแก้อักเสบจากแมง สัตว์กัดต่อย ใบ ทาแก้ฟกช�้ำ อักเสบ : ดอก แก้ปวด คัน ปวดเมื่อย ท�ำให้นอนหลับ ผลและดอก ฆ่าพยาธิ ใบต�ำพอกแก้ปวดศีรษะ : ทั้งต้นแก้ ปวดท้อง ขับพยาธิ ทาแก้โรคผิวหนัง เปลือกแก้จุกเสียด ผื่นคัน ท้องเสีย ราก ต้มแก้ปวดตามข้อ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
พืชพิษ พื ช มี พิ ษ คื อ พื ช ที่ มี ส ารหรื อ ส่ ว นที่ ทำ � อั น ตรายแก่ ร่ า งกายมนุ ษ ย์ ห รื อ สั ต ว์ โดยอาจจะทำ�ให้เกิดการระคายเคือง ความเจ็บปวด หรือรุนแรงถึงชีวิต จากการสัมผัส หรือ บริโภคเข้าไป พืชมีพิษออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เป็นพิษจากการสัมผัสหรือ ผ่านผิวหนัง กับกลุ่มที่เป็นพิษจากการบริโภค หรือ หายใจเข้าทางปากหรือทางจมูก มัคคุเทศก์ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชพิษชนิดต่างๆที่ไม่ควรรับประทาน ภาวะพิษที่เกิดจากจากพืชแบ่งเป็น 4 ชนิดคือ 1. ทำ�ให้ผิวหนังอักเสบ เมื่อสัมผัสเข้าจะมีอาการผื่นแดงหรือเป็นผื่นทางยาว หากสัมผัสตาอาจทำ�ให้ตาบอดได้ วิธีรักษาเบื้องต้นคือ ล้างบริเวณสัมผัสด้วยน้ำ�สบู่ ถ้ามีอาการผื่นคันทาด้วยครีมสเตียรอยด์และรับประทานยาแก้แพ้ 2. พิษต่อทางเดินอาหารและระบบหมุนเวียนโลหิต เช่นระคายเคืองเยื่อบุปาก ลำ�คอ เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำ�ไส้ ควรให้นมเย็นหรือไอศกรีมเพือ่ ลด การระคายเคือง หากเป็นพิษต่อทางเดินโลหิตจะมีอาการเริม่ จากอาการทางเดินอาหาร และระบบหัวใจ เช่น ชีพจรเต้นช้า เต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่� ำ ถ้าอาเจียนท้องเสีย ควรให้สารเกลือแร่ และนำ�ส่งโรงพยาบาล 3. เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำ�ให้เกิดอาการซึม หายใจช้า หมดสติต้องรีบ นำ�ส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้อง 4. พิษต่อระบบไต ระบบปัสสาวะและพิษร้ายแรง ต้องทำ�ให้ผู้ป่วยอาเจียน สารพิษออกมาและรีบนำ�ส่งโรงพยาบาล ต้นไม้มีพิษที่ที่ควรระวังระหว่างเดินป่า หมามุ่ย (Mucuna pruriens (L.) DC. ชื่อพื้นเมืองเรียก หมามุ่ยน้อย เป็นไม้เถา ตามลำ�เถาและก้านใบอาจเกลี้ยง ใบเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย ช่อใบติดเรียงสลับ ใบย่อยทรงรูปไข่ โคนใบเบี้ยว ปลายใบเรียวแหลม มีขนมากสีเทาทางผิวใบล่าง ดอกแบบดอกถัว่ สีมว่ งเข้ม ออกรวมกัน เป็นช่อห้อยลง ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก มีขนสีเหลืองคลุมแน่น ส่วนที่เป็นพิษคือ ขนตามฝักแก่ และใบแก่ ทำ�ให้เกิดอาการคันตามผิวหนัง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
141
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ตำ�แยช้าง Girardinia diversifolia (Link.) Friis ตำ � แ ย ช้ า ง มี ชื่ อ เรี ย ก ไ ด้ ห ล า ย ชื่ อ คื อ กะลั ง ตั ง ช้ า ง หานสา หานช้ า งไห้ หานช้ า งร้ อ ง (หานช้างฮ้อง) เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้อายุสั้น สูงได้ถึง 2 เมตร ลำ�ต้นมีขนหยาบขนาดความยาว 7-9 มม. ปกคลุม ใบเป็นใบเดีย่ วเรียงสลับ แผ่นใบเว้าลึกปลาย แยกเป็น 3 พูใหญ่ ขนาดแผ่นใบกว้าง 10-18 ซม. ปลายเรียวแหลมโคนสอบแบบรูปลิ่ม หรือ เว้ารูปหัวใจ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ดอกเป็นดอกช่อรูปทรงกระบอกแยกเพศ ดอกเพศผูเ้ ป็นช่อเชิงลดก้านช่อยาวถึง 2 ซม. ดอกเพศเมียเป็นช่อแบบกระจุกยาว 2-3 ซม. ดอกย่อยออกเป็นช่อกระจุกซ้อนหนาแน่น ผลค่อนข้างกลมหรือรูปหัวใจ หานเป็นพืชไม้ล้มลุกสูงได้ถึง 1.5 – 10 เมตร ทุกส่วนมีขนสากหนาแน่น ทรงใบรูปฝ่ามือตามก้านใบ มีขนเป็นหนามแข็งๆ ดอกเล็กสีเขียวอ่อน ผลเล็ก กลม ผิวผลมีหนาม แข็งหนาแน่น ส่วนที่เป็นพิษ คือ ขนและหนามตามเถาใบ ดอก และผล เมือ่ สัมผัสทำ�ให้ เจ็บคันและปวดมาก หานช้างร้อง เป็นพืชอันตรายที่นักเดินป่า ภาพจากทัวร์ดอย (www.tourdoi.com) ระวังมาก หานในภาคเหนือมัก ขึน้ ตามทีล่ มุ่ ต่�ำ มีน�้ำ ขัง บางชนิดใบคล้ายเมเปิล้ แต่มขี นและ หนามแหลมๆ พิษของมันเกิดจากขนตามใบและลำ�ต้น หากสัมผัสกับผิวกาย ขนนั้น จะเกาะติดกับผิว บริเวณสัมผัสจะปวดแสบปวดร้อนเป็นที่สุด คำ�ว่าช้างร้องกล่าวกันว่า เวลาช้างไปสัมผัสมันจะเจ็บปวดมาก จนช้างร้อง
142
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
สัตว์มีพิษ แมงมุม (Spider) บรรดาแมงต่างๆที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกลัวมากที่สุดคือแมงมุม แมงมุม เป็นสัตว์ที่มี 8 ขา (แมลงมี 6 ขา) แมงมุมแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามวิธีการจับหาอาหารคือ กลุ่ ม หนึ่ ง เป็ น แมงมุ ม ประเภทล่ า ที่ จ ะมี ก ารเคลื่ อ นที่ ไ ปไกลๆ เพื่ อ ค้ น หาอาหาร อีกกลุม่ หนึง่ จะสร้างตาข่ายเพือ่ รอหาอาหารทีจ่ ะมาติดกับ แมงมุมชนิดนีม้ คี วามสำ�คัญ กับแมลงมีปีกบิน เช่นตัวเต็มวัยของผีเสื้อกลางคืน แมงมุมทุกชนิดมีพิษ ส่วนแมงมุมที่มีพิษร้ายแรงคือแมงมุมแม่หม้ายน้ำ�ตาล (Brown widow spider) ทีม่ ถี นิ่ กำ�เนิดในอเมริกาเหนือ ซึง่ พบแพร่ระบาดอยูใ่ น 20 จังหวัดของไทย เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ตาก กำ�แพงเพชร แม่ฮ่องสอน เชียงราย อุบลราชธานี มุกดาหาร นครศรีธรรมชาติ พัทลุง สงขลา และภูเก็ต เป็นต้น แมงมุมที่มี พิษอีกชนิดหนึง่ คือ แมงมุมแม่หม้ายดำ�เพราะเมือ่ กัดแล้วจะปล่อยพิษออกมาทัง้ หมด แมงมุมแม่หม้ายน้ำ�ตาล มีพิษรุนแรงทำ�ลายระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ถูก กัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก เพราะพิษทำ�ลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำ�เหลือง และทำ�ลายเม็ด เลือดขาว ลักษณะทัว่ ไปของ แมงมุมแม่หม้ายน้�ำ ตาลนัน้ พบว่า ขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะ กลมป่อง ด้านล่างมีลักษณะคล้ายรูปนาฬิกาทราย สีสม้ ด้านบนมีสนี �ำ้ ตาลสลับขาวลายเป็นริว้ ๆ มีจดุ สีด�ำ ภาพจาก MThai News : สลับขาวตรงท้องข้างละ 3 จุด รวมเป็น 6 จุด วางไข่ news@mthai.com ครัง้ ละ 200-400 ฟอง ความแตกต่างระหว่างแมงมุมทั่วไปกับแมงมุมแม่หม้ายน้ำ�ตาลนั้น นอกจาก ลักษณะลำ�ตัวแล้ว ให้สังเกตลักษณะการทำ�รังหรือการชักใย แมงมุมทั่วไปจะชักใย ค่อนข้างสวยงามเป็นระเบียบ และชักใยอยูท่ สี่ งู เช่น ตามขือ่ ตามคาน หรือหลังคาบ้าน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
143
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
แต่แมงมุมแม่หม้ายน้ำ�ตาลจะทำ�รังอยู่ที่ต่ำ�สูงไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะรังหรือใยจะ ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน การป้องกัน ทำ�ได้ดว้ ยการรักษาความสะอาดบ้าน อย่าปล่อยให้รกรุงรังก็จะปลอดภัย ดังนัน้ การพา นักท่องเทีย่ วไปพักในชนบทมัคคุเทศก์ควรตรวจดูสถานทีพ่ กั ด้วยว่าปลอดภัยจากแมงมุม สมุนไพรดับพิษแมงมุมที่พิษไม่ร้ายแรง ใช้ขิงส่วนที่เป็นเหง้าหั่นเป็นแว่นบางๆ วางบริเวณที่ถูกกัดจนอาการบวมแดงจะทุเลา ตะขาบ (Centipede) เป็นสัตว์ขาข้อทีพ่ บได้ในเขตร้อนชืน้ อาศัยอยูบ่ นบก ตะขาบมีขนาดความยาวของ ลำ�ตัวตั้งแต่ 3 - 8 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดยาว 8 - 10 นิ้ว ลำ�ตัวแบนราบ มีปล้อง 15 - 100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำ�ตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ โดยมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำ�ตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อ จะปล่อยพิษออกมา ทำ�ให้เหยื่อเจ็บปวด และเป็นอัมพาต ตะขาบวางไข่ในที่ชื้นหรือ ต้นพืชหญ้า เวลากลางวันจะซ่อนอยูใ่ นทีเ่ ย็นๆ ใต้กอ้ นหิน ออกหาเหยือ่ ในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอย ลักษณะเป็นจุดเลือด ออกตรงบริเวณที่ถูกกัด พิษของตะขาบทำ�ให้มีการอักเสบ ปวดบวมแดงร้อน ชา เกิดอัมพาต ตรงบริเวณทีถ่ กู กัด ในบางรายอาจมีอาการแพ้ หรือกระวนกระวาย อาเจียน หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มึนงง ปวดศีรษะ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตรง บริเวณที่ถูกกัด อาจเป็นแผลไหม้อยู่ 2-3 วัน โดยทั่วไปพิษตะขาบไม่รุนแรงถึงกับทำ�ให้ เสียชีวิต การรักษาอาการพิษของตะขาบทำ�ได้โดยการทำ�แผลให้สะอาด ให้ยาแก้ปวด อาจให้ยาปฏิชีวนะ และวัคซินป้องกันโรคบาดทะยัก สมุนไพรดับพิษตะขาบ ใช้ใบและลำ�ต้นผักเสีย้ นผีหนึง่ กำ�มือ นำ�มาตำ�ให้ละเอียด ผสมกับเหล้าขาว นำ�มาแปะตรงที่ถูกตะขาบกัด
144
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
แมงป่อง (Scorpion) เป็นสัตว์พิษที่มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำ�บรรพ์ อยู่กระจัดกระจายเกือบทั่วไปทั้งในเขต ทะเลทราย (desert) เขตร้อนชื้น (tropic) หรือแม้แต่แถบชายฝั่งทะเล ยกเว้นเพียงเขต ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้เท่านั้นที่ไม่พบแมงป่อง แมงป่องที่มีพิษร้ายแรงมี 50 ชนิด บางชนิดมีพิษรุนแรงมาก เช่น แมงป่องที่รัฐอริโซน่า สหรัฐอเมริกา พิษของมันสามารถ ทำ�ให้เด็กและผูส้ งู อายุทถี่ กู ต่อยเสียชีวติ ได้ แมงป่องทีม่ พี ษิ รุนแรงสกุลอืน่ พบในบราซิล เม็กซิโก และทะเลทรายซาฮาร่า ส่วนในประเทศไทย ทีพ่ บบ่อยมากทีส่ ดุ คือ แมงป่องในอันดับ Scorpiones (หรือ Scorpionida) พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นแมงป่องทีม่ ขี นาดใหญ่ สกุลหนึง่ ของโลก มีสดี �ำ สนิท ขนาด 9-12 เซนติเมตร น้�ำ หนักตัว 10-12 กรัม มีอายุราว 3-5 ปี เรียกกันทัว่ ไปว่า Giant scorpion หรือ Asian forest scorpion หรือ Black scorpion ในภาษาไทยเรียก “แมงป่องช้าง” หรือ “แมงเวา” ในภาษาเหนือ นอกจากนีย้ งั มีแมงป่องทีพ่ บ ตามบ้านเรือน มีสีนำ้�ตาลอ่อนมีลายดำ�หรือน้ำ�ตาลคาด เรียกว่า Striped scorpion ขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร เรียกทัว่ ไปว่า”แมงป่อง” หรือ”แมงเวา” ในภาษาเหนือ สมุนไพรดับพิษแมงป่อง ใช้ใบมะละกอหนึง่ กำ�มือ ทุบให้แหลกโปะตรงทีแ่ มงป่องกัด ความปวดจะบรรเทาใน 5-10 นาที ภาษาอังกฤษที่ควรทราบ การดูดาว กล้องดูดาว เข็มทิศ ไฟฉาย ไฟป่า แผ่นดินไหว มีดพับ
Star Observation Telescope Magnetic compass Flashlight หรือ torch Forest fire Earthquake Pocket knife
พายุ พายุฝนฟ้าคะนอง ภัยแล้ง ภัยพิบัติ แผ่นดินถล่ม สมุนไพร อุทกภัย ….มีพิษ
Storm Thunder storm Draughts Disaster Land slide Herb Flood Poison…....
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
145
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
เอกสารอ้างอิง 1. จุฬลัศ จิตต์ต่างวงค์ ปานดวงใจ สายสีทองและ นพปฏล วรรธนะพิศิษฐ์. บุกป่าเขาหลวง. http://61.19.202.164/works/kaoluang/F06.htm 2. จำ�ลอง เพ็งคล้าย. พืชมีพิษในประเทศไทย. ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา. อ้างใน ttp://webdb.dmsc.moph.go.th 3. ชนิดของแมลง. คลังปัญญาไทย . http://www.panyathai.or.th 4. ตะขาบ.http://th.wikipediia.org. 5. ตาเกิ้น. จัดเป้. http://www.thailandoutdoor.com 22 ตุลาคม 2546. 6. ทัวร์ดอย. พืชมีพิษ - พืชอันตราย ระหว่างเดินป่า. http://www.tourdoi.com 7. แมงมุมแม่ม่าย. MThai News : news@mthai.com 8. http://www.oknation.net/blog/nonglek/2010/10/14/entry-2 14 ต.ค.2553 9. สำ�นักบริหารพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ที่ 15. ชนิดป่าไม้ในพืน้ ทีส่ �ำ นักบริหารพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ที่ 15 10. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. การเกิดดินถล่มและภัยที่เกิดจากธรรมชาติ อ้างจาก ร่วมด้วยช่วยป้องกัน ดินถล่ม กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. http://www.cmmet.tmd.go.th/seismo/landslide.php 11. เอเวอร์เรสต์. เทคนิคชาวแค้มป์ http://www.mrbackpacker.com/tips/tip_6.html
146
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
กิจกรรมระหว่างการท่องเที่ยวเดินป่า
นอกจากเดินป่าแล้ว กิจกรรมเสริมทางการท่องเที่ยวอื่นๆ สามารถสร้างความ พึงพอใจ ความประทับใจและสร้างประสบการในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการเดินป่า ให้นักท่องเที่ยวได้ไม่น้อย กิจกรรมที่นิยมกันมาก คือ การขี่ช้าง การล่องเรือในแม่น้ำ� การดูนก การละเล่นต่างๆ ร่วมกับชาวบ้าน เป็นต้น กิจกรรมขี่ช้างบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร ช้างบ้านกะเหรียงรวมมิตรเป็นช้างเอเซีย มีจำ�นวน 33 เชือก บริการโดยชมรม ทัวร์ช้าง โดยให้บริการตามคิวเชือกละ 2 คน โดยมีเส้นทางให้เลือก 3 เส้นทางคือ 1. เส้นทางรอบหมู่บ้าน ใช้เวลา 30 นาที ราคาค่าบริการ 200 บาท 2. เส้นทางรอบหมู่บ้าน และป่าชุมชนใช้เวลา 1 ชั่วโมง ราคา 400 บาท 3. เส้นทางอื่นๆ ตามตกลง เส้นทางท่องเทีย่ วบนหลังช้างจะพาไปท่องเทีย่ วหมูบ่ า้ นชาวเขาเผ่าต่างๆ ทีม่ ที งั้ กะเหรี่ ย ง อาข่ า ลาหู่ เย้ า แล้ ว แต่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วจะเลื อ กแต่ เ ส้ น ทางปกติ คื อ เส้นทางไปบ้านจะทอของลาหู่ในเที่ยวกลับจะพาไปล่องน้ำ�กก กลับมายังแคมป์ช้าง เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. ติดต่อได้ที่ชมรมช้างบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรทัวร์ โทรศัพท์ติดต่อนายอิแสะ แซ่วา โทรศัพท์ 081-7069066 หรือ เทศบาลตำ�บลแม่ยาว โทร 053-737359-11 การดูลักษณะของช้าง เป็นช้างพันธุ์เอเชีย ถ้าช้างผงกหัวขึ้นลงแสดงว่าเป็นช้างตัวเมีย ชาวกะเหรี่ยง เปรียบเหมือนผู้หญิงทำ�ท่าตำ�ข้าว ถ้าช้างไสหัวไปมา หน้า-หลังแสดงว่าเป็นช้างตัวผู้ ชาวกะเหรี่ยงเปรียบเหมือนกับผู้ชายทำ�ท่าถ่อเรือ แต่ถ้าช้างมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง จากนี้ เช่นช้างตัวเมียทำ�ท่าถ่อเรือ ถือกันว่าไม่ดีช้างนั้นเป็นช้างเกเร ปกติควาญช้างจะดูแลทำ�ความสะอาดทุกเช้าโดยปล่อยช้างเล่นน้ำ�ก่อนทำ�งาน และอาบอีกครั้งก่อนปล่อยเข้าป่าเวลา 16.00 น. การดูแลสุขภาพช้าง มีแพทย์จาก
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
147
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ศูนย์อนุรกั ษ์ชา้ งไปมาตรวจสุขภาพช้างทุกปี ซึง่ ในวันดังกล่าวจะหยุดให้บริการนักท่องเทีย่ ว การแต่งกาย สุภาพสตรีควรนุ่งกางเกงเพื่อความสะดวกในการขี่ช้าง การขึ้น-ลงช้าง ควรขึ้นลงด้านขวาของช้าง โดยเทศบาลได้สร้างหอสำ�หรับขึ้นลง ช้างไว้ให้แก่นักท่องเที่ยว ก่อนเดินทางมัคคุเทศก์ควรชี้แจงให้นักท่องเที่ยวทราบดังนี้ 1. เส้นทางที่จะไป ระยะเวลาในการเดินทางและแนะนำ�สถานที่จะให้ช้างหยุด เพื่อถ่ายรูป ควรใช้แผนที่ประกอบการอธิบาย 2. การบังคับช้างของควาญช้างจำ�เป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการบังคับตามที่ฝึกมา ไม่ได้เป็นการทำ�ทารุณกรรมช้างตามที่เป็นข่าว 3. การให้ทิปควาญช้าง แล้วแต่ความสมัครใจของนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ชมรมมีกล่องรับบริจาคตั้งไว้ที่สำ�นักงานเพื่อนำ�ไปใช้ในการบริหารจัดการและดูแล สุขภาพช้างประจำ�ปี สิ่งที่ควรทำ�-ไม่ควรทำ�ในการขี่ช้าง 1. ช้างจะตกใจเมือ่ ได้ยนิ เสียงดัง เช่นการจุดประทัดยักษ์ รถยนต์คนั ใหญ่ๆ เช่น รถบัส เสียงลมพัดดังๆ ซึง่ ถ้าอยูใ่ นป่า หากช้างได้ยนิ เสียงลม ช้างจะวิง่ ไปอยูใ่ นทีโ่ ล่งทันที 2. ไม่ควรยืนหลังช้างหรือด้านซ้ายของช้าง 3. ไม่ควรแหย่ช้างเล่น 4. การให้ของกินแก่ชา้ ง ไม่ควรหลอกล่อจะทำ�ให้ชา้ งหงุดหงิด บางครัง้ ช้างจะดีดงวง ใส่คนทีห่ ลอกล่อช้าง ของกินของช้าง คือ กล้วยและอ้อยโดยชมรมและกลุม่ สตรีจะนำ�มา จำ�หน่ายแก่นักท่องเที่ยวพร้อมกับสินค้าของที่ระลึกอื่นๆ และเครื่องดื่ม
148
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ปัญหาเกี่ยวกับช้าง แสงเดือน ชัยเลิศ ผู้ก่อตั้งศูนย์บริบาลช้าง ตำ�บลกึ๊ดช้าง อำ�เภอแม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ นับเป็นหญิงไทยคนแรกทีไ่ ด้รบั รางวัล ‘Hero of Asia 2005’ จาก นิตยสารไทม์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาเรื่องช้างไว้ว่า หนึง่ ร้อยปีทแี่ ล้ว ประเทศไทยเต็มไปด้วยช้างกว่า 100,000 เชือก ทัง้ ใช้งานในไร่นา ขนสินค้า ลากซุง แต่ในทุกวันนี้ ประเทศไทยมีช้างบ้านราว 3,000 เชือก และช้างป่า ในจำ�นวนเท่าๆ กัน ช้างถูกจัดให้เป็นปศุสัตว์เช่นเดียวกับ โค หรือ กระบือ ตามตัวบท กฎหมายไทย จึงเปิดโอกาสให้เจ้าของช้าง สามารถกำ�จัดช้างทีไ่ ม่สามารถสร้างรายได้ให้ แก่ตนอย่างถูกกฎหมาย และอีกปัญหาหนึง่ คือ ควาญช้างจำ�นวนมากไม่ใช่เจ้าของช้าง แต่เป็นเพียงคนรับจ้างดูแลช้างตามปางช้าง หรือไม่ก็เช่าช้างออกไปเร่ร่อนตามถนน นำ�ไปสูผ่ ลลัพธ์อนั น่าเศร้าของทัง้ สองฝ่าย ทีม่ กี ารคาดการณ์วา่ ในแต่ละปีจะมีควาญช้าง ในประเทศไทยถูกช้างฆ่าตายประมาณหนึ่งร้อยคน ทำ�ให้สายสัมพันธ์ระหว่างช้าง กับควาญช้างเริ่มสั่นคลอน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
149
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
กิจกรรมล่องเรือ การล่องเรือในแม่น้ำ�กก แบ่งเป็น 2 แบบคือ 1. การล่องเรือจากท่าตอนอำ�เภอฝาง- อำ�เภอเมืองจังหวัดเชียงราย การล่องเรือจากท่าตอน อ.ฝาง ถึงจังหวัดเชียงราย มีเรือโดยสารเป็นเรือหางยาว ออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ถึงเชียงราย 16.30 น. และจากเชียงรายเวลา 10.30 น. ถึงท่าตอน 15.30 น. ระยะทาง 80 กิโลเมตร สามารถนั่งได้ 6 คน ค่าโดยสารคนละ 350 บาท เหมาลำ� 2,000 บาทต่อเที่ยว เหมาลำ�ไป-กลับ 3,800 บาท จุดท่องเที่ยวทางน้ำ� ได้แก่ พระธาตุสบฝาง (อำ�เภอฝาง) บ้านแม่สลัก (เขตแดน เชียงใหม่-เชียงราย) บ้านใหม่ (หมู่บ้านไทยใหญ่) บ้านเมืองงาม (หมู่บ้านกะเหรี่ยง) บ้านผาใต้ (หมูบ่ า้ นมูเซอร์) บ้านจะคือ (หมูบ่ า้ นมูเซอร์) บ้านผามูบใหม่ (หมูบ่ า้ นมูเซอร์ใหม่) โป่งน้ำ�ร้อนห้วยหมากเลี่ยม บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร (หมู่บ้านกะเหรี่ยงมีบริการนั่งช้าง) จุดแวะพักระหว่างทางมี 3 จุดคือ บ้านรวมมิตร โป่งน้�ำ ร้อนห้วยหมากเลีย่ ม และผามูบ สอบถามเพิม่ เติมได้ทชี่ มรมท่าเรือซีอาร์ ผูจ้ ดั การนายนพรัตน์ ดูแหนะ โทรศัพท์ 053-750009 และ 081-3867141 ที่ท่าตอน ติดต่อสำ�นักงานชมรมเรือบ้านท่าตอน โทรศัพท์ 053 373224 2. การล่องเรือไปท่องเที่ยวตามจุดท่องเที่ยวต่างๆ เชียงราย - ถ้ำ�พระ ราคา 300 บาท เชียงราย - บ้านรวมมิตร 3 ชั่วโมง ราคา 700 บาท เชียงราย - บ่อน้ำ�ร้อน 4 ชั่วโมง ราคา 800 บาท เชียงราย - มูเซอจะเดอ - ผามูบ 5 ชั่วโมง ราคา 900 บาท เชียงราย - หาดยาว - แก่งหลวง ราคา 1,400 บาท เชียงราย - ผาขวาง 6 ชั่วโมง ราคา 1,800 บาท เชียงราย - จะคือ 7 ชั่วโมง ราคา 2,000 บาท เชียงราย - ผาใต้ ราคา 2,600 บาท เชียงราย - แม่สลัก 8 ชั่วโมง ราคา 3,000 บาท เชียงราย - บ้านใหม่ ราคา 3,400 บาท เชียงราย - ท่าตอน 5 ชั่วโมง ราคา 3,800 บาท
150
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
เนือ่ งจากในฤดูแล้งการเดินเรืออาจมีปญ ั หาเรือ่ งเรือติดทรายและโขดหินบ้างเป็น บางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณผาขวางที่มีโขดหินมาก นายเรือต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และต้องเป็นผู้มีประสบการณ์เดินเรือไม่น้อยกว่า 1 ปีจึงจะรู้เรื่องร่องน้ำ�ลึกและช่วงที่ มีอันตราย กิจกรรมดูนก จากสภาพภูมปิ ระเทศทีต่ งั้ อยูใ่ นแถบโซนร้อน มีภมู อิ ากาศแบบร้อนชืน้ แถบมรสุม และสภาพธรรมชาติหลากหลายรูปแบบที่มีทั้งเทือกเขาสูงทางเหนือ พื้นที่ราบลุ่มแถบ ภาคกลาง หรือป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ จึงทำ�ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาศัยของนก นานาชนิด ทั้งที่เป็นนกประจำ�ถิ่นและนกย้ายถิ่นที่อพยพเข้ามาหาหรือสร้างรังวางไข่ ในบางช่วงฤดูกาล ด้วยเหตุนเี้ องจึงทำ�ให้ส�ำ รวจพบนกในประเทศไทยประมาณ 1,000 ชนิด หรือราว 1 ใน 10 ของนกที่พบบนโลกทั้งหมด การดูนก เป็นกิจกรรมอย่างหนึง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม โดยใช้นก เป็นสื่อในการเข้าถึง การเรียนรู้ธรรมชาติผ่านการดูนกทำ�ให้เราเข้าใจถึงระบบนิเวศ การพึ่งพาอาศัยกันของสิ่งมีชีวิต การดำ�รงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้เราเข้าใจชีวิตทั้งด้านปรัชญาและด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการเติมเต็มคุณค่าชีวิต นอกจากนีก้ ารดูนกเป็นการพักผ่อนจิตใจ สร้างความเพลิดเพลินไปกับความสวยงามและ กริยาต่างๆ ของนก และการเดินดูนกยังเป็นการออกกำ�ลังกาย เสริมสร้างสุขภาพอีกด้วย เตรียมตัวดูนก เสื้ อ ผ้ า เครื่ อ งแต่ ง กาย เนื่ อ งจากนกเป็ น สั ต ว์ ที่ มี ส ายตาดี บางตั ว ก็ มี ค วาม ระมัดระวังและระแวงสูง ดังนัน้ เราจึงจำ�เป็นต้องเลือกเสือ้ ผ้าทีจ่ ะไม่ให้เป็นเราเป็นจุดเด่น เกิ น ไปจนทำ � ให้ น กรู้สึกไม่ปลอดภัย เสื้อผ้ายังเป็นสิ่งที่ป้องกันเราจากแมลงมีพิษ หนามไม้ สัตว์มีพิษ ความร้อน แสงแดด ฯลฯ ซึ่งมักพบทั่วไปในสถานที่ดูนกต่างๆ ดังนั้นจึงควรเลือกเสื้อผ้าที่มีสีกลมกลืนกับธรรมชาติ เช่น เมื่อเราไปดูนกตามป่า ก็ควรสวมใส่เสื้อผ้า สีเขียว สีน้ำ�เงิน หรือสีดำ� ส่วนเสื้อผ้าสีอ่อนๆ เหมาะในการดูนก ตามชายฝัง่ ทะเล เสือ้ ควรเป็นเสือ้ แขนยาว กางเกงขายาว เพราะนอกจากจะพรางตัวเรา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
151
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ได้ดีกว่าเสื้อแขนสั้นและกางเกงขาสั้นแล้ว ยังป้องกันเราจากแมลงและสัตว์มีพิษต่างๆ และยังป้องกันแสงแดดความร้อนได้อีกด้วย อุปกรณ์การดูนกได้แก่ 1. กล้องส่องทางไกลแบบสองตา (Binoculars) หรือมักเรียกกันว่า กล้อง Binoc เป็นกล้องทีม่ คี ณ ุ สมบัตสิ ามารถดึงเอาภาพวัตถุทอี่ ยูไ่ กลๆ ให้เข้ามาใกล้ขนึ้ จึงทำ�ให้เรา สามารถมองเห็นรายละเอียดของวัตถุชิ้นนั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 2. เทเลสโคป (Telescope) เป็นกล้องส่องทางไกลอีกชนิดหนึ่ง มีกำ�ลังขยาย มากกว่ า 15 เท่ า ขึ้ น ไป มี เ ลนส์ เ พี ย งชุ ด เดี ย ว จึ ง มองเห็ น ด้ ว ยตาเพี ย งข้ า งเดี ย ว กล้องชนิดนี้จึงจำ�เป็นต้องใช้ร่วมกับขาตั้งกล้องจึงพกพาลำ�บาก 3. คูม่ อื ดูนก (Bird Guide) ทำ�ให้เราทราบชนิดของนก ลักษณะและความเป็นอยู่ คู่มือดูนกมักประกอบด้วยคำ�บรรยายและภาพของนก ซึ่งมีทั้งภาพวาดหรือภาพถ่าย คู่มือที่ได้รับความนิยมมี 2 เล่มคือ A guide to the Birds of Thailand ของหมอบุญส่ง และ ฟิลิป ดี ราวด์ และ A Field Guide to the Birds of Thailand and South-east Asia ของเคร็ก ร็อบสัน 4. หมวก เป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยเราพรางตัวได้เพราะหน้าผากและผมเป็นจุดเด่นทีส่ งั เกต ได้ง่าย นอกจากนี้หมวกยังช่วยป้องกันความร้อน และสัตว์พวกแมลงที่บินได้อีกด้วย 5. กระเป๋าใบเล็ก เนื่องจากการดูนกเป็นกิจกรรมที่ต้องออกไปอยู่กลางแจ้ง เป็นเวลานานๆ จึงควรมีกระเป๋าเล็กสักใบสำ�หรับใส่ของใช้ต่างๆ ที่จำ�เป็นระหว่างที่ ออกไปดูนก 6. รองเท้า ควรจะสวมใส่สบาย พื้นรองเท้าควรจะยึดเกาะพื้นได้ดี การไปดูนก บางแห่งก็จำ�เป็นต้องมีเครื่องแต่งกายเพิ่มเติม เช่น ถุงเท้ากันทาก ช่วยป้องกันทาก ดูดเลือดที่มักจะพบทั่วไปตามป่า ในฤดูหนาว เสื้อกันหนาว ก็เป็นสิ่งจำ�เป็น ซึ่งก็ควร มีสีสันกลมกลืนกับธรรมชาติเช่นเดียวกัน แว่นกันแดด ใช้เมื่อต้องดูนกกลางแดดจัดๆ อย่างเช่น การดูนกชายเลน เป็นต้น 7. เสือ้ กันฝน หรือร่ม เสือ้ กันฝนแบบค้างคาว ซึง่ เป็นผ้าสีเ่ หลีย่ มพับครึง่ และช่อง ให้ศรี ษะลอดออกมา เหมาะกับการดูนกมากกว่า เพราะมีขนาดเล็กและเบากว่าเสือ้ กัน ฝนแบบเป็นตัว และยังสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง 152
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
8. สมุดบันทึกเล่มเล็กๆ ปากกาดินสอเอาไว้จดบันทึกเวลาพบนกที่ไม่แน่ใจ ก็สามารถบันทึกรูปร่างสีสัน พฤติกรรม เพื่อมาหาข้อมูลเปรียบเทียบภายหลังได้ และ ยังเอาไว้จดจุดที่พบนกแปลกๆ รายละเอียดสถานที่ รวมทั้งผู้คนที่พบเจอ เพื่อนำ�มา บอกเล่าอธิบายแก่ผู้อื่นต่อไป 9. อื่นๆ เช่น มีดเดินป่าขนาดกลาง อาหารกลางวัน ขนม น้ำ�และถุงพลาสติก สำ�หรับใส่ขยะ ยาสำ�หรับผู้มีโรคประจำ�ตัว พลาสเตอร์ยา ยาหม่อง ยาแก้ปวด ยาดม เป็นต้น การดูนกในธรรมชาติ เมื่อจะออกไปดูนกในธรรมชาติ นักดูนกต้องเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ให้ พร้อมด้วยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่จะไปดูนกให้มากที่สุดเช่น ลักษณะภูมิ อากาศ สภาพภูมิประเทศ เส้นทางที่ใช้ดูนก ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถเตรียม อุปกรณ์ตา่ งๆได้อย่างเหมาะสมและครบถ้วน เช่น เมือ่ จะไปดูนกในทีภ่ เู ขาสูง ต้องเตรียม เสื้อกันหนาวไป นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลการเลือกสถานที่และช่วงเวลาที่จะออกไป ดูนกได้ อย่างเหมาะสม เพราะนกนานาชนิดจะอาศัยอยู่ในถิ่นธรรมชาติที่ต่างกันออก ไป รวมทั้งฤดูกาลที่เปลี่ยนไปก็จะทำ�ให้ได้พบนกชนิดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย เช่นในฤดูหนาว ที่มีนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามา ควรไปดูนกตามชายทะเลหรือนกป่าบนภูเขาสูงภาคเหนือ ส่วนฤดูฝนเป็นช่วงที่ควรเลือกไปดูนกประจำ�ถิ่นในป่า ทั้งนี้การศึกษาชนิดของนกที่ สามารถพบได้ในสถานที่ที่ไปดูนกจะทำ�ให้เราทราบข้อมูลและคาดหวังได้ว่าจะพบนก อะไรได้บ้างในสถานที่นั้น เวลาเช้าเป็นช่วงทีด่ ที สี่ ดุ ในการดูนก นกส่วนใหญ่ออกหากินตัง้ แต่เช้ามืดจนสาย จึงหลบพักผ่อน แล้วออกหากินอีกครั้งเมื่อแสงแดดออกในยามบ่ายคล้อย ช่วงเวลา ทัง้ สองนีน้ กค่อนข้างกระฉับกระเฉงไม่หลบซ่อนตัวทำ�ให้พบเห็นนกได้ไม่ยากและอากาศ ยังเย็นสบายช่วยให้ดนู กได้อย่างเพลิดเพลิน สถานทีด่ นู กมีทว่ั ไปตามป่าหรือบริเวณหนองบึง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
153
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ข้อควรปฏิบัติในการดูนก 1. ควรออกไปดูนกเป็นกลุ่มเล็ก จะทำ�ให้มีโอกาสพบเห็นนกได้ง่ายกว่าออกไป กลุ่มใหญ่ ควรชักชวนเพื่อนที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเรื่องนกไปด้วย เพราะจะได้ ช่วยเราจำ�แนกชนิดของนกและอธิบายรายละเอียดต่างๆ เป็นการเสริมสร้างความรู้ ของเราให้มากขึ้น 2. เมื่อไปถึงสถานที่ดูนกแล้วต้องทำ�ตัวให้เงียบที่สุด อย่าพูดคุยโดยไม่จำ�เป็น เคลือ่ นไหวอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดเสียงดังเพราะนกมักตกใจง่าย ดังนัน้ ต้องพยายาม ไม่อยู่ในบริเวณที่เป็นจุดเด่นจนทำ�ให้นกมองเห็นได้ง่ายและ ไม่ย่อมปรากฏตัวให้ดู 3. พยายามสำ�รวจดูและฟังเสียงนกรอบๆ ตัว มองหานกตัง้ แต่พนื้ ดินในกอหญ้า ตามพุ่มไม้ และบนต้นไม้ใหญ่ ตั้งแต่ระดับโคนต้นจนถึงเรือนยอดรวมทั้งบนท้องฟ้า เพราะนกแต่ละชนิดอาศัยอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น ไก่ป่าเดินหากินตามพื้น นกหัวขวานเกาะอยู่บริเวณลำ�ต้น พวกเหยี่ยวมักบินร่อนอยู่บนท้องฟ้า ทั้งนี้ต้องใช้ กล้องส่องทางไกลส่องหานกไปเรื่อยๆ เพราะหากเรามองหานกด้วยตาเปล่าและหยิบ กล้องมาส่องเมือ่ พบตัวนกอาจบินไปก่อนทีจ่ ะได้เห็นชัดเจน เมือ่ สงสัยว่าจะเป็นนกหรือ สิ่งอื่นให้ใช้กล้องสำ�รวจดูทันที 4. หากออกไปดูนกเป็นกลุ่มเมื่อเห็นนกไม่ควรแย่งกันดู แต่ควรส่องกล้องจาก ตำ�แหน่งทีแ่ ต่ละคนยืนถ้าไม่เห็นจริงๆ จึงค่อยเปลี่ยนตำ�แหน่งอย่างช้าๆ และควรบอก ตำ�แหน่งทีน่ กเกาะกันอยูใ่ ห้ผทู้ ยี่ งั ไม่เห็นต่อกันไปแต่ตอ้ งทำ�อย่างเงียบทีส่ ดุ ไม่ควรแสดง ความตื่นเต้นหรือเสียงดังจนเกินไปจนนกบินหนีไป และหากใช้กล้องเทเลสโคปดูนก ไม่ควรดูนานเกินไปเมื่อเราเห็นนกชัดเจนแล้วควรแบ่งปันให้คนอื่นดูบ้าง 5. หลังจากเห็นนกแล้วควรส่องกล้องดูนิ่งๆ พยายามสังเกตจดจำ�รายละเอียด ต่างๆ ของนกให้มากที่สุด เช่น สีสัน ลักษณะหัว ปาก หลัง ท้อง ฯลฯ รวมทั้งพฤติกรรม ทีแ่ สดงออก เมือ่ นกไปแล้วจึงค่อยเปิดคูม่ อื ดูวา่ นกทีพ่ บเป็นชนิดใดแล้วจดรายละเอียด ที่เห็นลงในสมุดบันทึกอย่างคร่าวๆ ก่อนกลับไปบันทึกอย่างละเอียดอีกครั้ง 6. ความอดทนคือคุณสมบัตทิ ดี่ แี ละจำ�เป็นของนักดูนก ทำ�ให้มโี อกาสได้พบนกดีๆ หากต้องการซุ่มดูนกควรสร้างบังไพรที่มีสีสันกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพราะนก
154
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
จะไม่ยอมเข้าใกล้วัตถุที่คิดว่าไม่ปลอดภัยหรืออาจมีอะไรซ่อนอยู่ในนั้น ผู้ที่ต้องการ เข้าไปดูนกควรเข้าไปซ่อนอยู่ในบังไพรก่อนที่นกจะปรากฏตัว 7. ข้อปฏิบตั ทิ สี่ ำ�คัญทีส่ ดุ สำ�หรับนักดูนกทุกคนคือ ต้องมีความรับผิดชอบต่อนก ไม่รบกวนนกจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงสร้างรังวางไข่เพราะนกอาจตืน่ กลัวจน ทิง้ รังและลูกไปได้ นักดูนกไม่ควรบุกรุกและเปลีย่ นแปลงทีอ่ ยูอ่ าศัยของนกหรือเป็นต้น เหตุชักนำ�ศัตรูเข้าไป ต้องพึงสำ�นึกเสมอว่าความสุขของนกต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด
ภาพจากสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (Bird Conservation Society of Thailand) http://www.bcst.or.th และ http://www.savebird.com/Knowledge.htm
กิจกรรมดูดาว ยามค่ำ�คืนท่ามกลางธรรมชาติในอุทยานหรือในชนบท เป็นโอกาสดีสำ�หรับ การแหงนหน้ามองดูฟากฟ้าอันมืดมิดทีเ่ ต็มไปด้วยแสงดาวระยิบระยับซึง่ ไม่สามารถจะ พบเห็นได้ในเขตเมือง ปัจจุบนั มีผใู้ ห้ความสนใจดูดาวเพิม่ ขึน้ พอสมควร อุทยานแห่งชาติ เป็นสถานที่ซึ่งเอื้ออำ�นวยแก่กิจกรรมดูดาวนี้อย่างมาก
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
155
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
อุปกรณ์ดดู าว สำ�หรับผูเ้ ริม่ ต้นหัดดูดาว ไม่มคี วามจำ�เป็น ที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ราคาแพงใดๆ เพียงสายตาหนึ่งคู่กับ หนังสือแนะนำ�การดูดาวหรือแผนที่ดาว ก็สามารถดูดาว ได้แล้ว ส่วนผู้ที่มีความชำ�นาญในการดูดาวมากขึ้น ก็ควรมี กล้ อ งส่ อ งทางไกลกำ � ลั ง ขยายสู ง ซึ่ ง จะช่ ว ยขยายภาพ กลุ่มดาวให้เห็นได้ชัดเจนและละเอียดยิ่งขึ้น วิ ธี ดู ด าว ก่ อ นที่ ด วงอาทิ ต ย์ จ ะตกลั บ ขอบฟ้ า ควรเลื อ กหาตำ � แหน่ ง สำ � หรั บ การดู ด าวที่ เ ป็ น พื้ น ที่ โ ล่ ง สามารถมองเห็นฟากฟ้ากว้างรอบด้านโดยไม่มียอดไม้รบกวน เมื่อท้องฟ้ามืดสนิท และเริ่มต้นการดูดาว ในช่วงแรกสายตาอาจจะยังมองไม่ค่อยเห็นดาวมากนัก ต่อมา สายตาจะค่อยๆ ปรับจนคุ้นกับความมืดและแสงดาว ภาพของดวงดาวจะปรากฏ ให้ เ ห็ น ชั ด ขึ้ น จนกระทั่ ง เต็ ม ท้ อ งฟ้ า พอถึ ง ช่ ว งนี้ จึ ง ควรหลี ก เลี่ ย งการมองไปบั ง บริเวณที่มีแสงไฟสว่างเพราะจะทำ�ให้สายตาสูญเสียสภาพความคุ้นเคยกับความมืด และเสี ย เวลาในการปรั บ สายตาใหม่ อี ก ครั้ ง หากมี ค วามจำ � เป็ น ต้ อ งใช้ ไ ฟฉาย เพื่ อ ส่ อ งหาของหรื อดูแผนที่ดาว ควรใช้ไฟฉายที่หุ้มกระดาษแก้วสีแดงกรองแสง ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว ฤดูกาลที่เหมาะสมในการดูดาว สำ�หรับประเทศไทยช่วงฤดูหนาวไปจนถึง ฤดูร้อนเป็นช่วงที่เหมาะแก่การดูดาวมากที่สุดเพราะปราศจากเมฆรบกวน ทำ�ให้มอง เห็นดวงดาวได้เต็มท้องฟ้า ควรตรวจสอบก่อนว่าเป็นคืนข้างขึ้นหรือข้างแรมเพราะ ในคืนข้างขึ้นโดยเฉพาะคืนวันเพ็ญแสงจากดวงจันทร์จะบดบังดวงดาวเกือบทั้งท้องฟ้า นอกจากนีย้ งั มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ฝนดาวตก จันทรุปราคา ซึง่ มีวนั และเวลา เกิดขึน้ ทีแ่ น่นอนในแต่ละปี ผูส้ นใจควรศึกษาหาข้อมูลไว้กอ่ น ศึกษาคำ�แนะนำ�ในการดูดาว เพิ่มเติมได้ที่ www.ezthailand.com นอกจากนีย้ งั มีกจิ กรรมอืน่ ๆ ในหมูบ่ า้ นทีน่ กั ท่องเทีย่ วสามารถเข้าไปมีสว่ นร่วมได้ เช่น กิจกรรมทางการเกษตรในไร่ ในสวน ในนา การเลี้ยงสัตว์ การตำ�ข้าว การละเล่น งานหัตถกรรมพืน้ บ้าน มัคคุเทศก์ควรเชือ้ เชิญให้ผรู้ ใู้ นชุมชนเป็นผูอ้ ธิบายและมีสว่ นร่วม
156
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ในกิจกรรมท่องเทีย่ ว ซึง่ จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ทดี่ รี ะหว่างเจ้าของบ้านและผูม้ าเยือน และสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก กิจกรรมปีนหน้าผา การปีนหน้าผา (Rock Climbing) คือกิจกรรมทดสอบแรงใจ ความอดทน ความมุง่ มัน่ และท้าทายความสูงในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเคลื่อนไหวร่างกายไป ตามชะง่อนผาหินชันในแนวตั้งฉากกับพื้นโลก เป็นอีกกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่น่าสนใจ เริ่มแรกกิจกรรมปีนหน้าผาไม่ได้รับความนิยมจากชาวไทยมากนัก เพราะ เข้าใจว่าเป็นกิจกรรมทีอ่ นั ตราย แต่เมือ่ มีนกั ปีนชาวต่างชาติเดินทางมาปีนในเมืองไทย มากขึ้น รวมทั้งมีร้านปีนหน้าผาที่ให้บริการโดยคนไทยเกิดขึ้นหลายราย โดยเฉพาะ ในพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีหน้าผาสวยงาม อย่างอ่าวไร่เล จังหวัดกระบี่ กิจกรรมท้าทาย แรงโน้มถ่วงก็เริ่มเป็นที่นิยมในเมืองไทย ปัจจุบันการปีนหน้าผาในเมืองไทยนับว่ามี มาตรฐานสูง สำ�หรับผู้เริ่มต้นจะมีผู้เชี่ยวชาญนำ�ออกไปปีน โดยทำ�หน้าที่เป็นผู้ควบคุม เชือก หรือบีเลเยอร์ (Belayer) รวมทั้งให้คำ�แนะนำ�ในการปีนไปด้วยพร้อมๆ กัน การปีนหน้าผาในสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วต่างๆ มักมีการทำ�เส้นทางปีนไว้รองรับนักท่องเทีย่ ว ทั้งในระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับยาก เหมาะสำ�หรับนักปีนผาที่มีประสบการณ์สูง ถ้ายังไม่พร้อมจะออกไปเริม่ ปีนบนหน้าผาจริง ก็มยี มิ ปีนหน้าผาจำ�ลองหลายแห่งให้ฝกึ ก่อน ออกไปสัมผัสหน้าผาสูงชันในธรรมชาติ เมื่อกิจกรรมนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นปัจจุบันจึงมี การจัดตัง้ สมาคมกีฬาปีนหน้าผาแห่งประเทศไทยขึน้ สำ�หรับจังหวัดเชียงรายมีพน้ื ทีห่ ลายแห่ง ทีม่ คี วามเหมาะสมในการจัดกิจกรรมปีนหน้าผา สถานทีท่ ม่ี คี วามพร้อมทีจ่ ะขอแนะนำ� คือทีต่ ำ�บลโป่งงาม อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนตำ�บลโป่งงาม ได้สนับสนุนให้กลุม่ มิดะเชียงรายแอดเวนเจอร์ปาร์ค เป็นผูจ้ ดั กิจกรรมดังกล่าวในพืน้ ที่ การปีนหน้าผาของกลุ่มมิดะเชียงรายแอดแวนเจอร์ปาร์ก จะเป็นการปีนหน้าผาจริง มีระดับความยากอยูท่ ี่ 5A ถึง 7C + โดยจะมีทงั้ กิจกรรม การปีนหน้าผาและการโรยตัวลงมาที่ระดับความสูง 35 เมตร ซึ่งเป็นการปีนหน้าผา แบบท๊อปโรป (Top Roping) มีพี่เลี้ยงคอยช่วยดูแลและแนะนำ�วิธีการปีนอย่างใกล้ชิด
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
157
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
มีอุปกรณ์ช่วยเซฟเพื่อความปลอดภัยที่สามารถรองรับน้ำ�หนักได้ถึง 2,500 กิโลกรัม การปีนหน้าผาของกลุ่มมิดะจะเป็นการปีนหน้าผาหินปูนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีบรรยากาศสวยงามเป็นธรรมชาติติดลำ�น้ำ�ถ้ำ�และใกล้กับแหล่งท่องเที่ยววัดถ้ำ�ปลา การเตรียมตัวปีนผาควรแต่งกายให้ทะมัดทะแมงพร้อมลุย โดยผูห้ ญิงไม่ควรใส่กระโปรง ส่วนอุปกรณ์ในการปีนทางกลุ่มจะจัดเตรียมให้ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าสำ�หรับปีนหน้าผา โดยเฉพาะ หมวกกันน็อค และอุปกรณ์การปีนต่างๆ อย่างครบครัน การเดินทางสามารถ เดินทางมาถึงถ้ำ�ปลาได้ง่ายและสะดวกโดยจากตัวเมืองเชียงรายเพียง 50 กิโลเมตร ใช้เวลา 45 นาที และห่างจากแม่สายเพียง 10 กิโลเมตรเท่านั้น
โปรแกรมการปีนหน้าผา มีให้เลือก 2 แบบ คือแบบครึง่ วัน ราคาเริม่ ต้นที่ 600 บาท ต่อคน แบบเต็มวัน ราคาเริ่มต้นที่ 1,200.-บาทต่อคน สามารถติดต่อได้ที่นายธนานพ พรพิมลกุล 144/1 ม.2 ตำ�บลโป่งงาม อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130 โทรศัพท์ 084-0436781 หรืออีเมล์ midarockadventure@hotmail.com ซึ่งถ้าไปที่ตำ�บลโป่งงามมัคคุเทศก์ยัง สามารถจัดกิจกรรมสำ�รวจถ้ำ�ได้อีกกิจกรรมหนึ่งด้วย การปีนหน้าผาเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สามารถจัดให้กับนักท่องเที่ยวเดินป่า เพราะถือว่าเป็นการท่องเที่ยวที่เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดโดยไม่ได้ทำ�การ เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ไม่ก่อมลภาวะหรือความเสียหายแก่สถานที่ใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากความเพลิดเพลินแล้ว การปีนหน้าผายังเป็นกีฬาอย่างหนึง่ ด้วย เพราะร่างกาย ได้เคลื่อนไหวและออกแรงในพยายามที่จะไปให้ถึงจุดสูงสุดที่ตั้งใจเอาไว้ แต่การปีน หน้าผาใช่แต่จะใช้กำ�ลังและความคล่องตัวเพียงเท่านั้น ยังรวมถึงการมีสมาธิและ
158
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ความมัน่ คงในการทีผ่ า่ นชะง่อนหินและด่านต่างๆ ทีส่ ร้างขึน้ โดยธรรมชาติ แต่ตอ้ งอาศัย ผูม้ กี ารตัดสินใจทีร่ อบคอบ มีประสบการณ์และความชำ�นาญเป็นพีเ่ ลีย้ งเพราะอาจเกิด การพลาดพลั้งจนเกิดอาการบาดเจ็บและเป็นอันตราย การอาบน�้ำแร่ การอาบน้�ำ แร่ เป็นรูปแบบหนึง่ ของวารีบ�ำ บัด (hydrotherapy) หรือการรักษาโรค ด้วยน้ำ� เนื่องจากเป็นการนำ�เอาคุณสมบัติของน้ำ�มาใช้ประโยชน์อย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อการรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ วารีบำ�บัดจึงมีรากฐานมาจากความเชื่อที่ว่าน้ำ� เป็นสิง่ จำ�เป็นของชีวติ น้�ำ เป็นส่วนประกอบสำ�คัญของร่างกายคน และยังมีอยูใ่ นอาหาร ส่วนใหญ่ น้�ำ ไม่วา่ จะอยูใ่ นรูปแบบของเหลว น้�ำ แข็ง หรือไอน้�ำ สามารถนำ�มาใช้เพือ่ ช่วย ผ่อนคลาย กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด กำ�จัดของเสียออกจากร่างกาย ลดอาการ ปวดหรือเกร็ง และช่วยรักษาโรคได้ ร่างกายอาจได้รับประโยชน์จากน้ำ�ในหลายทาง เช่น การประคบ การฉีดน้ำ� และการแช่น้ำ� เป็นต้น แต่สิ่งสำ�คัญที่สุด คือ อุณหภูมิของ น้� ำ น้�ำ ร้อนหรือไอน้�ำ ทำ�ให้หลอดเลือดขยายตัว เหงือ่ ออก คลายกล้ามเนือ้ และข้อ และ ทำ�ให้ผวิ ร้อนขึน้ ความเย็นจากน้�ำ จะทำ�ให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการอักเสบและบวม ที่ผิวหนัง และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดสู่อวัยวะภายใน แพทย์ยังไม่ยอมรับสรรพคุณในทางบำ�บัดโรคของน้ำ�แร่สปา ยกเว้นกรณีข้อ บาดเจ็บ อย่างไรก็ตามการอาบน้ำ�อุ่นจะช่วยให้สบายขึ้นทั้งกายและใจ และการ ออกกำ�ลังกายในน้�ำ จะช่วยให้ผปู้ ว่ ยเคลือ่ นไหวได้งา่ ยขึน้ และไม่มอี าการปวด การแช่หรือ อาบที่ใช้บ่อยในวารีบำ�บัด ให้แช่น้ำ�อุ่นที่อุณหภูมิ 38oC (100oF) นาน 20 นาที ควรแช่ให้น�้ำ ท่วมไหล่ เพือ่ ผ่อนคลายกล้ามเนือ้ บรรเทาอาการปวด และทำ�ให้เหงือ่ ออก ซึ่งจะช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย เนื่องจากความดันเลือดอาจลดลง จึงควรลุกขึ้น จากน้ำ�อย่างช้าๆ และนอนพักประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนเช็ดตัว จากการทีจ่ งั หวัดเชียงรายตัง้ อยูบ่ ริเวณรอยเลือ่ นของเปลือกโลกจึงมีบอ่ น้ำ�พุรอ้ น อยู่ในหลายพื้นที่ พื้นที่มีบริการอาบน้ำ�แร่จำ�นวนหลายแห่งเช่น น้ำ�พุร้อนโป่งพระบาท ตำ�บลบ้านดู่ อำ�เภอเมือง น้ำ�พุร้อนป่าตึง อำ�เภอแม่จัน น้ำ�พุร้อนเวียงป่าเป้า น้ำ�พุร้อน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
159
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
ห้วยหมากเลีย่ มในอุทยานแห่งชาติล�ำ น้�ำ กก และบ่อน้�ำ พุรอ้ นผาเสริฐ ในเส้นทางเดินป่า บ่อน้ำ�พุร้อนที่ใกล้ที่สุดที่ขอแนะนำ�ในที่นี้คือ บ่อน้ำ�พุร้อนผาเสริฐ บ่อน้�ำ พุรอ้ น ผาเสริฐ เปิดบริการอาบน้�ำ แร่ เพื่อ สุ ข ภาพแบบบ่ อ รวมกลางแจ้ ง ขนาดใหญ่ อาคารอาบน้�ำ แร่แบบบ่อแยกอาบน้�ำ แร่ระบบสปา จำ�นวน 3 อาคารรวม 8 ห้อง นอกจากนี้ยังมี บริการนวดแผนไทย บริการให้เช่าเต็นท์พักแรม การจัดแค้มป์ไฟเป็นหมู่คณะ ในบริ เวณเดี ย วกั น ยั ง มี ป างช้ า งผาเสริ ฐ บริ ก ารช้ า งนำ � เที่ ย วทุ่ ง ดอกบั ว ตอง ในฤดูหนาว นำ�เที่ยวหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่า เผ่าลาหู่และนำ�เที่ยวน้ำ�ตกห้วยแก้ว ทั้ ง ระยะใกล้ แ ละระยะไกล ท่ า เรื อ บ้ า นผาเสริ ฐ มี บ ริ ก ารให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ล่ อ งแพ ตามลำ�น้�ำ กกมาจากบ้านท่าตอน หรือโดยสารเรือหางยาวนำ�เทีย่ วชมทัศนียภาพขึน้ -ล่อง ตามลำ�น้�ำ กกมาแวะพักมาใช้บริการอาบน้ำ�แร่ ขีช่ า้ ง เทีย่ วน้�ำ ตกหรือเทีย่ วหมูบ่ า้ นชาว เขาที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย อัตราค่าบริการปางช้างผาเสริฐ - บริ ก ารนั่ ง ช้ า งชมทุ่ ง ดอกบั ว ตอง ระยะใกล้เชือกละ 200 บาท - บริ ก ารนั่ ง ช้ า งไปบ้ า นอาข่ า ผาเสริ ฐ เชือกละ 300 บาท - บริ ก ารนั่ ง ช้ า งไปน้ำ � ตกห้ ว ยแก้ ว ระยะไกล เชือกละ 700 บาท ท่าเรือเชิงสะพาน แม่ฟ้าหลวง - เช่าเรือหางยาวแบบเหมาลำ�ไป-กลับ บ่อน้ำ�ร้อนผาเสริฐ ลำ�ละ 600 บาท นั่งได้ 8 คน ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที
160
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
บ่อน้ำ�พุร้อนผาเสริฐ - บริ ก ารอาบน้ำ � แร่ แ บบกลางแจ้ ง อัตรา ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท - บริการห้องอาบน้ำ�แร่แบบแยกอาบ ส่วนตัว อัตรา 1 คน 40 บาท 2 คน 70 บาท 3 คน 90 บาท - บริ ก ารเช่ า เต้ น ท์ น อน ขนาดเล็ ก 50 บาท/คืน ขนาดกลาง 100 บาท/คืน ขนาดใหญ่ 150 บาท/คืน - บริการจัดแค้มป์ไฟเป็นหมู่คณะ อัตราตามจำ�นวนคนที่มาใช้บริการ จองห้องอาบน้ำ�แร่ล่วงหน้า ได้ที่โทรศัพท์ 0-5360-9117 สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำ�บลดอยฮาง โทร. 053-716436 ค�ำศัพท์ที่ควรทราบ การขี่ช้าง การดูดาว การดูนก การปีนหน้าผา
Elephant riding Elephant safari Star watching Bird watching Rock Climbing
การล่องเรือ Boating การอาบน้�ำ พุรอ้ น Natural Hot Spring/Onsen การสำ�รวจถ้ำ� Caving ขี่จักรยาน Biking ล่องแก่ง White water rafting
เอกสารอ้างอิง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช www.dnp.go.th การดูดาว. www.ezthailand.com เทศบาลตำ�บลแม่ยาว www.mayao.go.th สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย http://www.bcst.or.th และ http://www.savebird.com/Knowledge.htm สำ�นักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย www.cot.go.th/trvel องค์การบริหารส่วนตำ�บลดอยฮาง www.doihanh.go.th
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
161
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
เส้นทางเดินป่าในเชียงราย
162
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
เส้นทางเดินป่าในเชียงราย เส้นทางทัวร์ปา่ ยอดนิยมของจังหวัดเชียงรายคือเส้นทางในตำ�บลแม่ยาว อำ�เภอ เมืองจังหวัดเชียงราย นอกจากนีย้ งั มีเส้นทางในตำ�บลดอยฮาง อำ�เภอเมือง ตำ�บลวาวี อำ�เภอแม่สรวย ตำ�บลแม่สลองนอก อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง และในเขตรอยต่อระหว่างอำ�เภอเชียงแสนกับ อำ�เภอเชียงของ หรือเส้นทางใหม่ๆ ของบ้านร่มฟ้าไทย ตำ�บลตับเต่า เส้นทางดอยแสนใจ ตำ�บลแม่สลองใน เขตดอยนางนอน ตำ�บลเวียงพางคำ� อำ�เภอแม่สาย เป็นต้น ซึง่ บริษทั นำ�เทีย่ วแต่ละแห่งจะมีเส้นทางประจำ�ของตนเอง ในทีน่ ขี้ อแนะนำ�เส้นทางบางเส้นดังนี้ 1. เส้นทางต�ำบลห้วยแม่ซ้าย ต�ำบลแม่ยาว อ�ำเภอเมือง มีเส้นทางหลัก 2 เส้นทางคือ เส้นทางที่ 1 นั่งเรือจากสะพานแม่ฟ้าหลวงไปหมู่บ้านรวมมิตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเดินไปบ้านเย้า บ้านยะฟู พักค้างคืนที่บ้านยะฟู วันที่สอง เดินทางไปชมทะเลหมอกทีด่ อยบ่อก่อน หรือเดินทางตรงไปน้�ำ ตกห้วยแม่ซา้ ย จากนัน้ ไปบ้านอาข่า เดินต่อไปบ้านกลาง ระหว่างทางมีไร่และสวน และเขตป่าสงวนที่เป็นป่า ทึบจากนั้นนั่งรถยนต์กลับไปตัวเองเชียงราย เส้นทางที่ 2 คล้ายเส้นทางแรก แต่พักค้างคืนสองคืนที่บ้านยะฟูและบ้านอาข่า (โปฉ่อ) แล้วเดินทางกลับตามเส้นทางที่ 1 สอบถามเพิม่ เติมทีเ่ ทศบาลตำ�บลแม่ยาว หรือ สมาคมคนดอย นายสมศักดิ์ มาลี 081-7655352 หรือ น.ส.ภาวิกา เฌอมือ 085-7198402
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
163
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
2. เส้นทางต�ำบลดอยฮาง อ�ำเภอเมือง มีการเดินทาง 3 เส้นทางคือ เส้นทางที่ 1 วันแรกนั่งเรือจากสะพานแม่ฟ้าหลวงไปหมู่บ้านรวมมิตร จากนั้น นัง่ ช้างไปบ้านยางคำ�นุ ชมต้นงุน้ ยักษ์ เดินทางต่อไปน้�ำ ตกห้วยตาดน้อย นอนพักค้างคืน ที่บ้านลาหู่แม่ต่าง วันที่สองเดินทางไปบ้านโป่งน้ำ�ร้อน ผ่านบ้านห้วยปู บ้านยางกลาง บ้านยางผักหละ นอนค้างคืนที่บ้านโป่งน้ำ�ร้อน วันที่สาม เดินทางผ่านบ้านสองแคว ไปน้�ำ ตกห้วยแก้ว บ้านเย้าห้วยแก้ว ไปนอนทีบ่ า้ นจะจ๋อ วันทีส่ เ่ี ดินทางไปห้วยหมากเลีย่ ม
164
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
เส้นทางที่ 2 นัง่ เรือจากสะพานแม่ฟา้ หลวงไปห้วยหมากเลีย่ ม เดินไปบ้านผาเคียว ไปนอนที่บ้านจะจ๋อ วันที่สองเดินทางไปบ้านเย้าห้วยแก้ว เที่ยวน้ำ�ตกห้วยแก้ว และ เดินทางไปบ้านผาเสริฐ เดินทางกลับโดยรถยนต์หรือเรือ เส้นทางที่ 3 เดินทางไปบ้านโป่งน้ำ�ร้อนทางรถยนต์ หรือนั่งเรือจากสะพาน แม่ฟ้าหลวง ไปบ้านผาเสริฐ เดินทางต่อไปบ้านโป่งน้ำ�ร้อน เดินทางไปบ้านอาแป ระหว่างทางชมไร่ชาอัสสัม นอนค้างคืนทีบ่ า้ นอาแป วันทีส่ องเดินทางไป น้�ำ ตกห้วยแก้ว แล้วเดินต่อไปบ้านเย้าห้วยแก้ว และบ้านปางขอน นอนค้างคืนบ้านปางขอน วันที่สาม เดินทางไปบ้านปางตะไคร้ บ้านผาลัง้ และไปสิน้ สุดทีบ่ า้ นจะเด้อ เดินทางกลับโดยเรือ หรือรถยนต์ก็ได้ สอบถามเพิ่มเติมที่ อบต.ดอยฮาง หรือที่ นายเดชา เตมิยะ 085-7055747
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
165
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
3. เส้นทางอ�ำเภอแม่สรวย เริ่มต้นจากบ้านบ้านห้วยส้านพลับพลา ปากทางภูชมดาวนอนค้าง 1 คืนที่บ้าน โฮมสเตย์ของลีซอ วันที่สองเดินทางไปน้ำ�ตกห้วยชมภูตำ�บลท่าก๊อ จากนั้นเดินต่อไป บ้านอาข่า บ้านใหม่เจริญและเดินต่อไปบ้านห้วยส้านลีซอ พักค้างคืนในหมูบ่ า้ น วันที่ 3 เดินไปดอยช้าง พักค้างคืนที่บ้านใหม่พัฒนา บริเวณนี้มีไร่ชา และสวนกาแฟ วันที่ 4 เดินลงดอยผ่านบ้านแม่มอญไปรอขึ้นรถกลับที่บริเวณถนนเส้นทางไปน้ำ�ตกขุนกรณ์ เส้นทางนี้มีสิ่งที่น่าสนใจนอกจากบ้านชาวเขาคือ ไร่นา ไร่ชาและสวนกาแฟ สอบถามเพิ่มเติมที่ PDA Tour สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ถนนธนาลัย อ.เมือง จ.เชียงราย
166
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
4. เส้นทางอ�ำเภอเชียงของ เส้นทางเดินป่าในอำ �เภอเชียงของเป็นหมู่บ้านม้งที่เดิมเคยเป็นพื้นที่สีชมพู สามารถเดิ น ทางโดยทางรถยนต์ ไ ปที่ บ้ า นม้ ง กิ่ ว กาญจน์ พั ก ค้ า งคื น ที่ ห มู่ บ้ า นม้ ง (ลั่นเจี๊ยะลอจ์ด) เส้นทางเดินป่ามีเส้นทางเดินสองเส้นคือ เส้นแรกเดินทางไปเที่ยวน้ำ�ตกไป-กลับใน วันเดียว เส้นที่สอง เดินไปบ้านมูเซอร์สองพี่น้อง จากนั้นเดินหรือขี่จักรยานไปบ้านขมุ ไปสิ้นสุดที่แม่น้ำ�โขง ในเส้นทางนี้เป็นไร่-สวนของกลุ่มม้ง อาข่า มูเซอร์ เส้นทางนี้ยังมี สวนฝิ่นให้เห็น สอบถามเพิ่มเติมที่โฮมสเตย์ลั่นเจี๊ยะ หรือที่ PDA Tour 5. เส้นทางเดินป่า พิชิตยอดเขานางนอน บ้านผาหมี หมู่ที่ 6 ต�ำบลเวียงพางค�ำ อ�ำเภอแม่สาย หมู่ บ้ า นชาวเขาผาหมี ตั้ ง อยู่ ถ นน สายพระธาตุดอยตุง – บ้านผาหมี ห่างจาก พระธาตุดอยตุง ประมาณ 10 กม. หมู่บ้าน ชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า บ้านผาหมี หมู่ที่ 6 ตำ�บลเวียงพางคำ� เดิมพื้นที่นี้ใช้เป็นศูนย์บำ�บัดยาเสพติดชาวเขาในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง ปัจจุบนั ได้กลายเป็นศูนย์ฝกึ อาชีพผาหมี ด้วยสภาพภูมทิ ศั น์ทสี่ วยงามของหมูบ่ า้ นผาหมี ที่มีภูเขาหินอ่อนที่นับว่ามีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยนักท่องเที่ยวที่ ต้องการสัมผัสวิถีความเป็นอยู่ แวะเยี่ยมชม นอกจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทย ภูเขาแล้ว ทิวทัศน์ของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนป่าภูเขาหินอ่อน ตั้งเป็นฉากหลัง สลับกับสวนผลไม้ ชา กาแฟ ลิ้นจี่ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่รอรับการสัมผัสใช้ชีวิตของ นักท่องเทีย่ ว นอกจากวิวทิวทัศน์ทปี่ รากฏเห็นแล้ว ยังมีเส้นทางเดินทางเดินป่า เส้นทาง ที่ปีนป่ายหน้าผา เส้นทางเดินชมถ้ำ�ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
167
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
อบต.เวียงพางคำ� ขอนำ�เสนอเส้นทางเดินทางเดินป่า สู่จุดสูงสุดของยอดเขา นางนอน ที่ปรากฏหมุดอ้างอิงแผนที่ทางทหาร วงรอบชั้นหนึ่ง ของยอดเขานางนอน ในระดับความสูง 1,291 เมตร ดังนี้ 1. จุดเริม่ ต้น จากศูนย์อบรมผาหมีเดินผ่านสวนส้มนายนิวฒ ั น์ฯ ใช้เวลา 15 นาที สภาพเส้นทางเดินเท้าขนาดกว้าง 1 เมตร เดินลัดเลาะภายในบริเวณสวนส้ม ผ่านไร่กาแฟ ไร่แมคคาเดเมียจะมีสภาพอากาศเย็น พบเห็นต้นมอส เฟิรน์ ปกคลุมตามหุบเขา ใช้เวลา เดินทางประมาณ 15 นาที ถึงบริเวณป่าโปร่ง เริ่มต้นเดินทางขึ้นเขา สามารถมองเห็น เทือกเขาดอยนางนอนอยู่ด้านหน้า 2. ภายในสวนส้ม ไร่กาแฟนายนิวฒ ั น์ฯ – ไร่ฝนิ่ เก่า ใช้เวลา 30 นาที สภาพเส้นทาง เป็นทางเดินเท้าขนาดกว้าง 1 เมตร เดินลัดเลาะผ่านป่าไม้ ป่าไผ่ เดินขึน้ เขา จนถึงทีว่ า่ ง ในหุบเขา ซึ่งอดีตเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นเก่า มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ เหมาะสำ�หรับการ กางเต็นท์นอนพักผ่อนของนักท่องเที่ยว 3. การเดินทางก่อนถึงไร่ฝิ่นเก่า จะเดินลัดเลาะป่าไผ่ มีโขดหิน รูปร่างแปลก ตา ต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง แต่เมือ่ เดินทางถึงบริเวณหุบเขาไร่ฝนิ่ เก่าแล้ว จะมีร่องรอยของรังหมูป่า และเป็นจุดครึ่งทางของเป้าหมาย จากไร่ฝิ่นเก่า –เชิงเขา ดอยนางนอน ใช้เวลา 20 นาที สภาพเส้นทางเดินเท้า ภูมปิ ระเทศเป็นป่าไผ่ ผสมป่าโปร่ง ใช้ความระมัดระวังในการเดิน มีก้อนหินรูปร่างแปลกตา 4. เชิงเขา –บริเวณสันเขาดอยนางนอน ใช้เวลา 30 นาที สภาพเส้นทางเดินเท้า ลัดเลาะตามโขดหิน ทางเริ่มสูงชัน ใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ก้อนหินจะ หลุดกลิ้งลงไป อาจเป็นอันตรายต่อผู้ร่วมใช้เส้นทาง ระหว่างทางจะพบพืชพันธุ์ไม้ที่ หายาก และไม่รจู้ กั หลายชนิด พบเห็นกล้วยไม้ปา่ ต้นไม้ทใี่ ช้รากเก็บน้� ำ อากาศเริม่ เย็น เริ่มมองเห็นทิวทัศน์สวยงามไทย –พม่า 5. บริเวณสันเขาดอยนางนอน-จุดชมวิว ใช้เวลา 10 นาที สภาพเส้นทาง เริ่มแคบ ต้องใช้ความระมัดระวังในการเดิน ภูมิประเทศสูงชันทั้งสองด้าน จากจุดชมวิว มองเห็นทิวทัศน์ด้าน อ.แม่สาย,อ.เชียงแสน ในพื้นที่ โครงการพัฒนาดอยตุง และ พื้นที่ประเทศพม่า ลมพัดแรง อากาศหนาวเย็น มีทะเลหมอกปกคลุมในช่วงฤดูหนาว
168
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
พบเห็นฝอยลม พืชสมุนไพรที่ขึ้นในที่สูงทั่วไป ใช้เวลาเดินทางจากจุดพักแรม ไร่ฝิ่นเก่า ถึงจุดชมวิวที่เห็นหมุดแผนที่ทหาร วงรอบชั้นที่ 1 เขานางนอน วางหมุดไว้ใช้เวลาประมาณ 40 นาที และหากเดินทาง จากศูนย์อบรมผาหมี –จุดชมวิว เดินทางปกติ จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 6. จุดชมวิว – ศูนย์อบรมผาหมี (NC.895536) เส้นทางกลับใช้เส้นทางเดิม ต้อง ใช้ความระมัดระวัง ในการเดินทางลงจากยอดเขาดอยนางนอน สภาพป่าไผ่ผสมป่าโปร่ง บริเวณป่าไผ่จะพบด้วงไม้ไผ่และดอกไม้ป่าที่หายาก หากเดินทางไป-กลับจะใช้เวลา ประมาณ 6 ชัว่ โมง แต่คมุ้ ค่ากับความเหนือ่ ยทีท่ า้ ทาย และสามารถเดินทางกลับพักแรม ทีห่ มูบ่ า้ นชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า ชมการแสดงวิถชี วี ติ ของพีน่ อ้ งชาวไทยภูเขา เส้นทางนี้ เหมาะสำ�หรับนักท่องเทีย่ วทีม่ สี ขุ ภาพแข็งแรง ชอบการผจญภัย อาจดัดแปลงย่นระยะทาง ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ติ ด ต่ อ สอบถาม คณะกรรมการท่ อ งเที่ ย วชุ ม ชน ของหมู่ บ้ า นผาหมี ม.6 (ส.อบต.อุดมฯ) โทรศัพท์ 0-1366-5788 ทีต่ งั้ : บ้านผาหมี ต.เวียงพางคำ� อ.แม่สาย จ.เชียงราย หรือ องค์การบริหารส่วนตำ�บล เวียงพางคำ� ต.เวียงพางคำ� อ.แม่สาย จ.เชียงราย โทร / แฟกซ์ 053-646569, 053-646393 (อบต.เวียงพางคำ�) โฮมเพจ / เว็บไซต์ : www.nang-non.com
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
169
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การท่องเที่ยวเดินป่า
จังหวัดเชียงราย
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
170
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเดินป่า จังหวัดเชียงราย เนื่องในวาระ 750 ปี จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555
การท่องเทีย่ วเดินป่า จังหวัดเชียงราย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
171