The Timeless of Style

Page 1

Th The e

THE TIMELESS OF STYLE

N IO A SH EM FA IN G C N IN INHIO MA S E ST FA CIN LA G IN

IN

ST

LA

SSt tyyl lee

ER

EV

ER

EV

f s oof esss elle ime ttim LITTLE BLACK LITTLE DRESS BLACK DRESS POWER SUITPOWER SUIT MEN LEATHER MEN JACKET LEATHER JACKET CLASSIC FASHION CLASSICFROM FASHION CLASSIC FROM MOVIE CLASSIC MOVIE

3


4


The

Timeless of Style EVERLASTING FASHION IN CINEMA




แฟชั่นและภาพยนตร์ ทั้งคู่ต่างเป็นกระจกที่ส่องถึงกัน ศิลปะทั้งสองแขนง “พึ่งพาซึ่งกันและกัน“ ภาพยนตร์มีส่วนแพร่รสนิยมทางแฟชั่นให้กลายเป็น ที่นิยม ทั้งสองศาสตร์ต่างแทรกซึมไปในมิติสถานที่และเวลา กลายเป็นส่วน หนึ่งในวิถีแห่งสไตล์ของผู้คนทุกยุคทุกสมัย หนังสือเล่ม The Timeless of Style ขอเป็นตัวแทนถ่ายทอดเรื่องราวที่อัดแน่นเกี่ยวกับแฟชั่นและความ คลาสสิกผ่านภาพยนตร์ในศตวรรษที่ 20 - เมนิสา นิภาวรรณ -


ENSEMBLE 12

8

Introduction : FASHION & FILMS

Chapter 1 : BREAKFAST AT TIFFANY’S/ LITTLE BLACK DRESS / FASHION SET

Chapter 2 :

38

MOROCCO / POWER SUIT FOR WOMEN / FASHION SET

64

Chapter 3 :

GREASE / MEN LEATHER JACKET / FASHION SET


FASHI&ON CINEMA

ดาลใจที่อยู่เบื้องหลัง ยและแรงบันดาลใจชั้นดี แรงบัน ดี ไอเ วม บร รว ง ล่ แห น เป็ า ว่ ด ั ะ จ ร์ ภาพยนต ็มร้อยว่าช่องทางความบันเทิงแล บเต อ กื เ ได้ ด พู ารถ สาม เรา ง า ่ อย เทรนด์แฟชั่นหลายๆ ซึ่งกันและกัน อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นต่างพึ่งพา

ในยุค silver screen นั้นถือได้ว่าเป็น ปรากฏการณ์และสามารถเกิดขึน้ ได้ในทุกยุค ก่ อ นหน้ า ของยุ ค ดิ จิ ตั ล ที่ ค นสามารถเสพ ข่าวสารได้หลายทางโดยไม่ต้องพึ่งการเดิน เข้าโรงภาพยนตร์ ต้องอย่าลืมว่าสมัยก่อน การเดิ น เข้ า โรงภาพยนตร์ คื อ เรื่ อ งของ วัฒนธรรมประเพณี การนัดพบกันของหนุ่ม สาวเพือ่ ไปดูภาพยนตร์ การคลัง่ ไคล้การแต่ง กายของดาราคนโปรดน�ำมาซึ่งการก�ำหนด แฟชั่นในช่วงเวลาหรือยุคต่างๆ ได้แน่นอน ธุรกิจการออกแบบเครือ่ งแต่งกายส�ำหรับ วงการภาพยนตร์ นั้ น แตกต่ า งจากวงการ แฟชั่น จากอดีตที่หนังยังเป็นยุคเงียบนั้น มี เงื่ อ นไขของความท้ า ทายในการตี ค วาม คาแร็คเตอร์ของตัวละครสู่เสื้อผ้าในแต่ละ ฉาก ปราศจากสี หรือเสียง เสือ้ ผ้าเครือ่ งแต่ง กายต้องเกินจริงเพือ่ สือ่ สารให้ตรงกับบทบาท ตัวละครที่ผู้ก�ำกับต้องการ ดีไซเนอร์ค่าย

10

พาราเม้าท์ โฮเวิร์ด เกรียร์ (Howard Greer) ได้กล่าวไว้ในปี 1920 ว่า “ถ้าผูห้ ญิงในปัจจุบนั ใส่ ชุ ด ราตรี ย าวลากพื้ น หนึ่ ง หลา แต่ ใ น ภาพยนตร์เวอร์ชนั่ เดิมต้องใส่ถงึ สามหลา” ยัง มีปริศนาว่าจะใช้สีอะไรในการผลิตเสื้อผ้าใน ภาพยนตร์ ระบบสีในฟิลม์ ซึง่ ใช้ในศตวรรษที่ 20 มีความไวต่อทุกสียกเว้นสีแดง ระบบนีใ้ ห้ เฉดสีธรรมชาติที่บิดเบี้ยวไป สีแดงและสี เหลืองจะให้สีที่ค่อนข้างเข้ม ส่วนสีน�้ำเงิน แทบจะมองไม่เห็นอะไรเลย กับการเกิดขึ้น ของเทคนิคเสียงในวงการหนัง ข้อก�ำหนดทาง เทคนิคเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง “เอเดรียน” หนึ่งในดีไซเนอร์ฝีมือดีที่เป็นแนวหน้าจาก ระบบสตูดิโอ เขามีความช�ำนาญขั้นที่ว่า สามารถสเก็ตซ์คอสตูมได้ภายในสองนาที เมือ่ ไหร่ทคี่ ณุ ได้ยนิ เสียงพูดของนักแสดง คุณ จะต้องแต่งตัวพวกเขาให้แตกต่างออกไป


“ทุ ก ๆอย่ า งกลายมาอยู ่ บ นเส้ น ของความเป็ น ปัจจุบันมากขึ้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายถูกสวมใส่โดย ตัวละครอย่างแท้จริง”

แรกเริ่มเดิมทีแวดวงจอเงินคุ้นเคยกับค�ำว่า คอสตู ม ที่ ท� ำ ขึ้ น เพื่ อ ภาพยนตร์ แ ต่ ล ะเรื่ อ งโดย เฉพาะ และเป็นหน้าที่ของคอสตูมดีไซเนอร์ที่ รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว คอสตูมดีไซเนอร์หลาย คนมาจากแวดวงละครเวที พวกเขามีประสบการณ์ สู ง ในเรื่ อ งวั ส ดุ ตั ด เย็ บ พวกเขาแม้ ก ระทั่ ง ว่ า คอสตูมที่ท�ำจะช่วยปิดบังจุดด้อยของนักแสดงได้ อย่ า งไร คอสตู ม ดี ไ ซเนอร์ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลในโลก ฮอลลีวูดสมัยก่อน ได้แก่ เอเดรียน, ฌอง หลุยส์, อีดิช เฮด, ทราวิส แบนตัน ฯลฯ ค�ำว่า คอสตูมนั้นแตกต่างจากแฟชั่น หรือ Ready-to-Wear โดยสิ้นเชิง แฟชั่นเป็นสิ่งที่ แปรผันตามยุคสมัย ตามสภาพสังคม เศรษฐกิจณ เวลานั้น ส่วนคอสตูมคือเครื่องแต่งกายเพื่อการ แสดง นัยยะของค�ำว่าคอสตูมมักจะพ่วงค�ำว่า คาแร็คเตอร์ด้วยเสมอ แต่ในขณะเดียวกันคน ท�ำงานคอสตูมก็ต้องรู้จักแฟชั่นด้วย จึงจะเอา แฟชั่นมาปรับใช้กับงานคอสตูมได้ การท�ำงานทีด่ ที สี่ ดุ ในการท�ำคอสตูม คือค้นหา ข้อมูลจากภาพเก่า(primary source) ภาพเก่ามัก เป็นหลักฐานชั้นดี ที่จะบ่งบอกว่าคนในแต่ละยุค แต่ละสมัยเขาใส่อะไรกัน เขาแต่งกายกันอย่างไร จากนัน้ จึงจะเพิม่ เติมด้วยการหยอดเสน่ห์ หรือเพิม่ ลูกเล่นความเป็นภาพยนตร์ใส่ลงไป ดังนั้น เสื้อผ้าที่ปรากฏให้เห็นในจอนั้นอาจจะ มีความเกินจริงที่เราอาจจะไม่สามารถสวมใส่ใน ชีวิตประจ�ำวันได้ ยกตัวอย่างเช่น ตัวละครเป็น


เด็กสาวมัธยมวัยใส ไร้เดียงสา สีทเี่ ลือกมาใช้กค็ วร จะขับให้ตัวละครนั้นโดดเด่น วิธีแต่งหน้าท�ำผมให้ ดูเป็นธรรมชาติสมวัย อาจะมีพร็อบเสริม นี่คือการ ท�ำงานของคอสตูมดีไซเนอร์ ซึง่ แตกต่างจากแฟชัน่ ดีไซเนอร์ ทีเ่ ขาต้องเป็นคนก�ำหนดเทรนด์ ว่าต่อไป ในอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เมื่อเราต้องการตีโจทย์ตัวละครสักตัว เราต้อง ลงลึกถึงรายละเอียดทัง้ หมดให้มากที่สดุ ขึน้ อยูก่ บั ว่าต้องการ “ place and time” แบบใด ยุคนั้น แต่งตัวกันอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น อยากจ�ำกัดช่วง เวลาในยุค 1940 เราก็ต้องก�ำหนดว่า จะเลือกช่วง ระยะเวลาใดของปี 1940 แจกนั้นจึงค้นหาภาพเก่า ทีอ่ ยูใ่ นสถานทีน่ นั้ ๆ ถ้าหากไม่สามารถหาภาพเก่า ได้ วิ ธี ถั ด มาคื อ การหาสิ่ ง ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น หรือแทนกันได้ ส�ำหรับบ้านเราอาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อย ส� ำ หรั บ การค้ น หาข้ อ มู ล ภาพเก่ า เพราะ ประวัตศิ าสตร์การเก็บข้อมูลของคนไทยไม่มรี ะบบ ระเบียบ ก่อนรัชกาลที่ 4 เราแทบจะหาข้อมูลที่เชื่อ ถือได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นไม่ได้เลย แฟชัน่ และภาพยนตร์เปรียบเสมือนภาพสะท้อน ซึ่งกันและกัน เรื่องราวของแฟชั่นเข้ามามีส่วนไม่ มากก็นอ้ ยในโลกภาพยนตร์ และด้วยช่องทางความ บันเทิงดังกล่าวก็ช่วยให้โลกแห่งแฟชั่นเกิดอิทธิพล ในวงกว้างได้มากขึ้น ภาพยนตร์ท�ำให้เสื้อผ้าบาง แบบกลายเป็นทีน่ ยิ ม ภาพยนตร์ยอ้ นยุคมีสว่ นช่วย ท�ำให้แฟชั่นเก่าๆหวนกลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้ง

12

ปลายยุคซิกซ์ตี้ เสื้อผ้า Ready-to-Wear ได้ รับความนิยมในวงกว้าง เสื้อผ้าที่เน้นความหรูหรา อลังการเริ่มเสื่อมความนิยมไปโดยอัตโนมัติ บวก กับความต้องการของผูก้ ำ� กับทีห่ นั มาสนใจเรือ่ งราว ทีส่ ะท้อนการใช้ชวี ติ จริงๆ ด้วยการแต่งกายสมจริง ในเวลานี้เองที่ท�ำให้เกิดการร่วมมือกันเฉพาะกิจ ระหว่างค่ายภาพยนตร์และแฟชั่นดีไซเนอร์ มีการ อาศั ย หยิ บ ยื ม เสื้ อ ผ้ า จากคอลเล็ ก ชั่ น ล่ า สุ ด ณ ขณะนั้นมาใช้แทน “ทุกวันนีแ้ รงบันดาลใจทางแฟชัน่ ในภาพยนตร์ ไม่ได้ชัดเจนอย่างเมื่อก่อน” ไซมอน ดูแนน ครีเอทีฟไดเร็คเตอร์แห่งบาร์นยี ์ ห้างสรรพสินค้าชือ่ ดังในนิวยอร์ก สหรัฐฯ กล่าว “คุณอาจจะบอกตัว เองว่า ฉันอยากได้แจ็กเก็ตหนังเหมือนของมาร์ลอน แบรนโดในภาพยนตร์เรื่อง ‘The Wild One’ หรือ หมวกขนสั ต ว์ เ หมื อ นของแอลลี แมคกรอว์ ใ น ภาพยนตร์ ‘Love Story’ ” เขายอมรับว่าภาพยนตร์ยังคงส่งผลกระทบต่อ ผู้ชมด้านอารมณ์ แต่สิ่งที่ผู้ชมจะน�ำออกมาใช้นั้น มักจะหยิบแฟชั่นเป็นชิ้นๆ ไปมากกว่า ไม่ได้รับ อิ ท ธิ พ ลของสไตล์ จ ากภาพยนตร์ ม าแบบ ร้อยเปอร์เซ็น ในปัจจุบนั ภาพยนตร์กนั แฟชัน่ ไม่ได้มจี ดุ เชือ่ ม ถึ ง กั น อย่ า งเหนี ย วแน่ น เหมื อ นในสมั ย ก่ อ น ภาพยนตร์ไม่ได้เป็นแรงขับเคลื่อนทางแฟชั่นเสมอ ไป เพราะภาพยนตร์ในสมัยนี้ไม่ได้สร้างอิทธิพล ด้านสไตล์ให้กับผู้คนเท่ากับสมัยก่อน


13


DIRECTOR : BLAKE EDWARDS STARRING : AUDREY HEPBURN, GEORGE PEPPARD COSTUME DESIGNER : HUBERT DE GIVENCHY


Breakfast at

TIFFANY’S

ภาพยนตร์ Breakfast at Tiffany’s (1961) ยังคงมนต์ขลังอยู่เสมอ แม้กาล เวลาจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม ภาพยนตร์เรือ่ งนีส้ ร้างขึน้ จากนวนิยายซึง่ เขียน โดยทรูแมน คาโพที (Truman Capote) ในปี 1958 ซึ่งถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ ล�้ำเส้นศีลธรรม น�ำเสนอภาพชีวิตและความรักในเมืองใหญ่ฮอลลี่ ไกไลท์ลี่ (Holly Golightly) นางเอกของเรื่องซึ่งรับบทโดย ออเดรย์ เฮปเบิร์น (Audrey Hepburn) ที่ใช้ชีวิตเซ็กส์อย่างเสรี เตร็ดเตร่ในเมืองมืดๆ ค�ำ่ ๆ แต่ครองโสด อย่างไม่อายใคร เธอเป็นตัวละครทีม่ คี วามฮอลลีวดู้ อย่างแท้จริง แต่ไม่นา่ เชือ่ ว่าเมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ.1961 ฮอลลี่สาวใสซื่อคนนี้ กลับถูกมองว่าเป็น ตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมส�ำหรับสาวๆ ทั้งหลาย ผู้ชมในยุคนี้อาจจะไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับพฤติกรรมของฮอลลี่ ไกไลท์ลี่ที่ เต็มทีก่ บั การชอปปิง้ หว่านเสน่ห์ กลับบ้านค�ำ่ มืด ไปจนถึงแสดงความรักอย่าง เปิดเผย แต่หากย้อนกลับไปในยุคที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ปรากฏสู่สายตาสาธาณชนในสมัยยุคนัน้ ฮอลลีเ่ ป็นทีก่ ล่าวขวัญกันเกรียวกราว แต่ถา้ เธอมาเดินอยูบ่ น ถนนหมายเลยใดๆ ตอนตีห้าของยุคนี้คงไม่มีใครเหลียวมอง ชุดกระโปรงด�ำ ของจิวองชี่ (Givenchy) ที่เธอใส่เคยดูเชิญชวน ล่อแหลม แต่ตอนนี้ได้กลาย เป็นชุดคลาสสิคที่คนใส่กันมากพอๆกับเสื้อยืดกางเกงยีนส์ เช่นเดียวกับการ เดทกับผูช้ ายหลายคน การดืม่ สุราต่างน�้ำ รวมทัง้ การท�ำมาหากินและเตร็ดเตร่ ทั่วนิวยอร์ค ยามวิกาล ในยุคนี้กลายเป็นว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่สาวโสดจะกลับ บ้านตอนพระอาทิตย์ขึ้น ผู้หญิงดีๆ ส่วนใหญ่ก็ท�ำ Breakfast at Tiffany’s ส่งผลให้ออเดรย์ เฮปเบิรน์ ถูกเสนอชือ่ เข้าชิงรางวัล ออสการ์สาขานักแสดงน�ำหญิงยอดเยี่ยม นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังกวาด รางวัลจากหลากหลายสถาบัน เช่น เพลง Moon River ซึ่งเป็นเพลงที่ออเดรย์ เฮปเบิร์นร้องประกอบภาพยนตร์ ได้รางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ส่วนเบลค เอ็ดเวิร์ดได้รับรางวัลผู้กำ� กับยอดเยี่ยม ฯลฯ


Princess of HOLLYWOOD

ฮอลลีวูดมีดาราสาวที่ทั้งสวยและเก่งมากมาย แต่เหตุใดจึงไม่มีใครเป็นที่รักเท่า ออเดรย์ เฮปเบิร์น นั่นไม่ใช่ปริศนาที่สลับซับ ซ้อนอะไร ทุกคนหลงใหลเสน่ห์อันล้นพ้นของเธอที่อยู่บนจอที่สำ� คัญที่สุดทุกคนทึ่งในสไตล์การแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์ดึงดูด สายตาทุกคู่ ราวกับถูกคัดสรรมาอย่างดีจากผืนผ้าทั่วทั้งโลกเพื่อตัดเย็บให้เป็นชุดที่เหมาะสมกับเธอเพียงผู้เดียว

ออเดรย์ เฮปเบิร์น นักแสดง อังกฤษเชือ้ สายเนเธอร์แลนด์ เข้าสู่ เส้ น ทางฮอลลี วู ด พร้ อ มความ แตกต่าง เพราะรูปลักษณ์ของเธอ ไม่ ไ ด้ ง ดงามเพี ย บพร้ อ มเหมื อ นกับอลิซเบธ เทเลอร์หรือเซ็กซ์ ซิมโบลอย่างมารีลิน มอนโร แต่ เธอได้ พ กพารู ป ร่ า งอั น บอบบาง ความไร้เดียงสา และความเป็นตัว ของตัวเอง ซึ่งเป็นเสน่ห์ติดตัวเธอ ด้วยเหตุนเี้ ธอจึงเป็นนักแสดงระดับ ต�ำนานทีย่ งั ครองใจผูช้ ม และยังได้ รั บ การโหวตให้ เ ป็ น ผู ้ น� ำ แฟชั่ น ตลอดกาล แม้ว่าเธอจะจากโลกนี้ ไปนานกว่า 20 ปีแล้ว Ralph Lauren กล่าวว่า “มีคน เพียงไม่กคี่ นทีย่ งั อยูใ่ นความทรงจ�ำ

16

ของผูค้ นตลอดไป เพราะรูปลักษณ์ ของพวกเขาเป็ น อมตะและไม่ มี ค�ำว่าล้าสมัย ถ้าจะมีการจัดอันดับ กลุ่มคนจ�ำนวนน้อยนิดนี้ ออเดรย์ เฮปเบิร์น ต้องเป็นหมายเลขหนึ่ง อย่างแน่นอน” ภาพยนตร์เรื่อง Roman Holiday(1953) คือก้าวแรกของออเดรย์ เฮปเบิรน์ ทีส่ ง่ ผลให้เธอได้รบั รางวัล ออสการ์ นอกจากเธอจะทุ่มเทให้ กับบทบาทการแสดงแล้ว อีกสิ่ง หนึง่ ทีอ่ อเดรย์พถิ พี ถิ นั ไม่แพ้กนั คือ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ไอเดียหลาย อย่ า งของเธอบวกกั บ ความคิ ด สร้างสรรค์ของคอสตูมดีไซเนอร์ ประจ�ำกองส่งผลท�ำให้เธอกลาย เป็นที่จดจ�ำในเวลาอันรวดเร็ว เสื้อ

เชิ้ตขาวแบบผู้ชายคาดด้วยเข็มขัด ขนาดยักษ์ กระโปรงยาว และผ้า พันคอ ทุกส่วนประกอบเป็นเสื้อผ้า ธรรมดาๆ แต่ลงตัวมากเมื่ออยู่บน ร่างของออเดรย์ ช่วงปี 1960 คือยุคทองของ ออเดรย์ เฮปเบิร์น ภาพยนตร์ที่ สร้างชื่อเสียงให้เธอมากที่สุดคือ ภาพยนตร์เรื่อง Breakfast at Tiffany’s และ My Fair Lady นอกจาก ความสามารถในการแสดงของเธอ สไตล์ของออเดรย์ยงั ท�ำให้แฟนหนัง รู้สึกอินตามไปด้วย ความคลาสสิ ค ของเจ้ า หญิ ง แห่งฮอลลีวดู ผูน้ ยี้ งั คงตราตรึงอยูใ่ น ความทรงจ� ำ ของผู ้ ช มมาจน ถึงปัจจุบันนี้


RayWAYFARER Ban JESSICA STAM

KATE UPTON

ASHLEY OLSEN

TAYLOR SWIFT ROBERT PATTINSON

FRIDA GUSSTAVSON

แว่นตากันแดดของ Rayban รุ่น Wayfarer ได้รับความนิยมอย่างมากในยุค 50 และ 60 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ มันปรากฏบนใบหน้าของ ออเดรย์ เฮปเบิร์น และกลับมาฮิตมากในช่วงปี 1980 เพราะเหล่าเซเลปบริตี้ใส่กันเพียบ ไม่ว่าจะ กลับอีกสักกี่เวอร์ชั่น สุดท้ายทรงที่ออริจินัลที่สุดยังไงก็ต้องเป็น Wayfarer กรอบด�ำของ Ray-Ban เท่านั้น

Ray Ban Wayfarer เป็นแบบแว่น กันแดดที่ขายดีมากที่สุดแบบหนึ่งของเรย์ แบน ซึ่งออกแบบขึ้นมาโดย Raymond Stegeman นักออกแบบจากบริษทั Bausch and Lomb ในปี 1952 ซึ่งในยุคนั้นได้ ดาราฮอลลีวูดชื่อดังมักใส่ออกงานต่างๆ เช่น มาริลนี มอนโรว์, ออร์เดรย์ เฮปเบิรน์ , เจมส์ ดีน, ทอม ครูยส์ หรือแม้แต่ไมเคิล แจ็คสัน ท�ำให้แว่นกันแดด Wayfarer ได้ รับความนิยมแบบสุดๆ เลยทีเดียว เดิมทีนนั้ ทรง Wayfarer นัน้ เป็นดีไซน์ แว่นกันแดดส�ำหรับผูช้ าย แต่เมือ่ ดาราสาว สวยซึ่งเป็นฮีโร่ในใจสาวๆ ทั่วโลกอย่าง ออเดรย์ น� ำ มาสวมใส่ ใ นหนั ง ใหญ่ สุ ด คลาสสิกอย่าง Breakfast at Tiffany’s ใน ยุค 1960 ก็ท�ำให้ทรง Wayfarer ดูเป็น แว่นตาทรงผู้หญิงไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ

และผลทีต่ ามมาคือ สาวๆ ทัง้ บ้านทัง้ เมือง ในสมัยนั้น จะต้องไขว่คว้าหามาไว้ใน ครอบครองสักอัน ปัจจุบัน Wayfarer ยังคงได้รับความ นิยมอีกจากเหล่าเซเลป เช่น ลินเซย์ โล ฮาน, เทเลอร์ สวิพท์, และโรเบิร์ต แพท ทินสัน ฯลฯ เรย์แบนก็เช่นเดียวกับแบรนด์รนุ่ คุณปู่ คุณทวดที่มักเผชิญปัญหาการเปลี่ยนผ่าน และดูเป็นแบรนด์ทมี่ ภี าพลักษณ์คร�ำ่ ครึใน สายตาคนรุ่นใหม่ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ คุณปู่ คุณพ่อเขาใช้มา เอาง่ายๆ ว่า ออร์เดรย์ เฮปเบิร์น ดาราฮอลลีวู้ดระดับ ต�ำนานสวม รุน่ ยอดนิยมในภาพยนตร์ดงั เรื่ อ ง Breakfast at Tiffany’s ตั้งแต่ 50 ที่แล้ว

17


Givenchy DRESS to

‘SIGNATURE’ for Audrey

ออเดรย์ เฮปเบิ ร ์ น ในชุ ด ลิ ต เติ้ ล แบล็กเดรสของจิวองชี่ประดับด้วย สร้อยไข่มุกและถุงมือผ้าซาติน

18

ยู นิ ฟ อร์ ม ที่ ส ่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ ส วมใส่ กลายเป็นผู้หญิงโมเดิร์นในภาพยนตร์ เรื่อง Breakfast at Tiffany’s มันเป็น ชุ ด ที่ ส ม บู ร ณ ์ แ บ บ ม า ก ส� ำ ห รั บ คาแร็คเตอร์ของเธอฮอลลี่ โกไลท์ลี่ สาวหลายใจที่สวมใส่เดรสสีดำ� และใช้ มารยาหญิงเผชิญความท้าทายบนโลก Little Black Dress หรือเรียกสั้นๆ ว่า LBD แจ้งเกิดอย่างเป็นทางการบน เรือนร่างของ ออเดรย์ เฮปเบิร์น โดย อูแบรต์ เดอ จิวองชี่ี ความสัมพันธ์ ของพวกเขาทั้งคู่เริ่มขึ้นเมื่อปี 1953 พวกเขาร่วมงานกันเพือ่ ออกแบบเสือ้ ผ้า ส�ำหรับใส่ในภาพยนตร์เรื่อง Sabrina และขยับจากผู้ร่วมงานมาเป็นเพื่อน สนิทตัวติดกัน จิวองชี่ออกแบบเสื้อผ้า ให้ออเดรย์อีกหลายเรื่อง และได้กลาย เป็ น บุ ค คลที่ เ ป็ น แรงบั น ดาลใจให้ คอลเลคชั่ น ของจิ ว องชี่ ม าอย่ า ง ยาวนานยาวนาน

ชุดของจิวองชีเ่ ข้ากับสไตล์ของ ออ เดรย์ได้อย่างน่าทึ่ง เขารู้จักออกแบบ ชุดให้ผสู้ วมใส่อย่างเหมาะสม ซึง่ ต่อมา เขาได้บรรยายถึงความประทับใจแรก ในลุคของออเดรย์ เฮปเบิรน์ ว่ามีความ งามเหมือนเด็กผู้หญิงที่ชอบเล่นซุกซน เหมื อ นเด็ ก ผู ้ ช ายและมี รู ป ร่ า งที่ บอบบาง เฮปเบิร์นอาจจะเป็นตัวแทน ของสิง่ ทีเ่ สีย่ งต่อการถูกวิพากษ์วจิ ารณ์ แต่ด้วยชุดง่ายๆ ที่จิวองชี่ออกแบบให้ เธอ เป็นการผสมผสานระหว่างความมี อ�ำนาจและความสง่างาม ออเดรย์ เฮปเบิร์น คือบทสรุปของ แฟชั่ น ไอคอน ความสวยงามและ คลาสสิ ค ของเธอนั้ น ยั ง คงมี อิ ท ธิ พ ล อย่ า งมหาศาลในโลกแฟชั่ น ภาพ ออเดรย์ในชุดเดรสสีด�ำนี้ในภาพยนตร์ เรื่อง Breakfast at Tiffany’s ต่างได้รับ การยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์แฟชั่นที่ สร้างชื่อให้กับเธอในฐานะเจ้าแม่แห่ง สไตล์



Evolution of

little

BLACK Dress


Little Black Dress คือชุดกระโปรงสีดำ� ซึ่งเป็นชุดง่ายๆ ที่สามารถประยุกต์ได้หลายโอกาส และสามารถพลิกแพลงได้หลาย รูปแบบ จนได้รับยกย่องจากนิตยสารแฟชั่นแนวหน้าว่า “LBD คือยูนิฟอร์มของผู้หญิงในทุกๆ รสนิยม”

ก่อนที่สีด�ำจะกลายมาเป็นสีที่ ยอมรับกันในโลกแฟชั่น ผู้หญิงสวม ใส่ เ สื้ อ ผ้ า สี ด� ำ กั น ในโอกาสที่ เกี่ ย วข้ อ งพิ ธี ก รรมอั น โศกเศร้ า เท่านั้น เพราะสีด�ำมีกระบวนการ ย้อมทีย่ ากและซับซ้อน เดรสสีดำ� เริม่ จะเข้ามามีบทบาทในโลกแฟชั่นตั้ง แต่จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ (John Singer Sargent) จิตรกรคนส�ำคัญ ของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 และ 20 เขาวาด “ภาพเหมือน ของมาดามเวอร์จิเนีย อเมลี อเว็น โย โกโทร” ซึ่งเป็นภาพของมาดาม โกโทรในชุดราตรีสีด�ำคอลึก เผยให้ ผิวขาวงาช้าง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้ เกิดข้อถกเถียงกันในสังคม เพราะ มันเป็นการบรรยายถึงผู้หญิงเซ็กซี่ ภายใต้ชุดสีด�ำเป็นครั้งแรก ลิตเติ้ลแบล็กเดรสเกิดขึ้นครั้ง แรกในทศวรรษที่ 20 เป็นผลงานทาง ความคิดของโคโค่ ชาแนล(Coco Chanel) ในปี 1926 เธอต้องการ ปลดปล่อยผู้หญิง ออกจากคอร์เซต (corset) อันรัดรึงจนแทบจะหายใจ ไม่ออก กับกระโปรงอันฟูฟ่องดั่งสุ่ม ไก่ อันถูกเปรียบเทียบว่าจองจ�ำเพศ หญิง เธอประกาศความเป็นอิสระ แห่ ง เพศหญิ ง ท้ า ทาย โดยไม่ เกรงกลัวต่อสิ่งใดๆ ชาแนลตัดสินใจสร้างสไตล์และ

กล้าท้าทาย ท�ำให้เสื้อผ้าสไตล์ยุค วิ ค ทอเรี ย นสั่ น สะเทื อ นและหาย สาบสูญไป ด้วยการสร้างลิตเติ้ล แบล็กเดรส ลักษณะเป็นเดรสผ้า เจอร์ซีสีด�ำตัวโคร่ง เอวต�่ำ แขนกุด และคงไม่มใี ครคิดว่า ผูห้ ญิงจะสวม ใส่เดรสทีท่ ำ� จากผ้าเจอร์ซี ซึง่ เป็นผ้า ส� ำ ห รั บ ตั ด ก า ง เ ก ง ใ น ผู ้ ช า ย ในสมัยนั้น

“ ฉันสร้างแฟชั่นส�ำหรับผู้หญิงที่มี

ชีวิต ที่ยังหายใจอยู่และรู้สึกสบายเมื่อ สวมใส่ ส�ำหรับผู้หญิงที่ต้องไปท�ำงาน โยนคอร์เซต อันแข็งราวกับกระดูกทิ้ง ไป ไม่มีผู้หญิงคนไหนหรอกที่จะสามารถ ท�ำงานได้ ในขณะที่ถูกกักขังอยู่ในคอร์ เซตอันรัดติ้วขนาดนั้น ชาแนล ดีไซเนอร์หัวกบฏกล่าว

ในปีเดียวกันนิตยสาร Vogue สหรัฐฯ ได้ตีพิมพ์รูปชาแนลใส่ชุด เดรสสีด�ำสั้นและขนานนามมันว่า Chanel’s Ford และประกาศว่ามัน คือยูนิฟอร์มของผู้หญิงทุกคน ในทศวรรษที่ผู้คนปาร์ตี้กันสุด เหวี่ ย ง คนส่ ว นใหญ่ นิ ย มไปงาน ปาร์ตี้ค็อกเทล ทั้งร้องทั้งเต้น LBD คือเสื้อผ้าชิ้นง่ายๆ ที่ท�ำให้ผู้สวมใส่ รู้สึกคล่องตัว และโดดเด่นต่างจาก คนอื่นที่สวมชุดยาวกรุยกราย จุดนี้

เองที่ ขั บ เน้ น ความคิ ด กบฎของ ชาแนลให้ชัดเจนมากขึ้นอีก แต่กว่า ลิตเติ้ลแบล็กเดรสจะกลายมาเป็นที่ ยอมรับกันโดยทั่วไป ก็ต้องฝ่าเสียง วิพากษ์วจิ ารณ์อยูม่ าก ปัจจุบนั นีเ้ รา ก็ยังเห็นกระแสแฟชั่นที่ดีไซเนอร์ลุก ขึ้นแหวกกรอบเดิมๆ อยู่มาก ในทางกลั บ กั น บรรดาผู ้ ค น ชนชั้นสูง เขามักใช้สีด�ำเป็นเครื่อง มือบ่งบอกสถานะของตนในสังคม ซึ่งถ้ามองในอีกแง่หนึ่ง คนรับใช้ ทั่วไปมักจะใส่เสื้อผ้าสีซีดๆ ยากที่ จะท�ำความสะอาด คงไม่มผี หู้ ญิงคน ไหนอยากจะแต่งตัวเหมือนเมดใน บ้านตัวเองกระมัง ในช่วงปลายทศวรรษนี้ลิตเติ้ล แบล็กเดรสเข้ามามีบทบาทกับสังคม และผู้หญิงมากขึ้น จากการสูญเสีย มากมายในสงครามโลกครั้ ง ที่ 1 สังคมเห็นคนใส่ชุดด�ำออกนอกบ้าน กันมากขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติ และเป็นที่ยอมรับได้โดยทั่วไป ในปี 1930 ด้วยสภาพเศรษฐกิจ และการเมืองทีโ่ หดจัด พิษเศรษฐกิจ หรือที่รู้จักกันนามว่า “The Great Depression” แฟชั่นและการ แต่งตัวเป็นอะไรที่สิ้นเปลือง ผู้หญิงช้อปปิ้งกันน้อยลง

Coco Chanel, 1926 21


1930

ในยุ ค นี้ ก ารที่ มี ชุ ด เดี ย วจบ สามารถใส่ได้ทงั้ วัน ท�ำให้คณุ ผูห้ ญิง ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว ช่วงเวลาแบบนี้เทคนิคการตัดผ้า แนวเฉลียง (Bias cut) ได้รับความ นิ ย มมาก เพราะเป็ น เทคนิ ค ที่ ดีไซเนอร์ใช้ปริมาณผ้าน้อยที่สุดเท่า ที่จะเป็นไปได้ขณะสร้างชิ้นงาน มัด แลน วิอองเน (Madelein Voinnet) เป็นดีไซเนอร์ทมี่ พี รสวรรค์ในการตัด เย็บเครื่องแต่งกายแนวนี้ บรรดา ดีไซเนอร์ฝรั่งเศสต่างยกย่องให้เธอ เป็นประติมากรที่เข้าลักษณะของ เนื้อผ้าได้ดีที่สุดคนหนึ่ง ยกตัวอย่าง ชุดที่เธอตัดเย็บอย่างพิถีพิถันให้กับ วอลลิซ ซิมป์ซัน (Wallis Simpson) ดัชเชสแห่งวินด์เซอร์ นอกจากนี้ ยุคนี้จัดว่าเป็นยุค ทองของฮอลลีวดู เพราะบรรดาค่าย หนัง ผู้ก�ำกับ ดารา และคอสตูม ดีไซเนอร์จากทั่วทุกมุมโลกต่างพา กันตบเท้าเข้ามาท�ำภาพยนตร์กัน อย่ า งมากมาย แฟชั่ น จึ ง ได้ รั บ อิทธิพลจากภาพยนตร์ด้วย

22

1940

ต่อมาในยุค 1940 สไตล์ของชุด เน้นไปทีด่ ไี ซน์ทนี่ อ้ ยๆ แต่ดสู วยงาม ส่วนมากจะเน้นที่ความเรียบง่าย การใช้งานจริง การใช้ฟองน�้ำเสริม ไหล่ LBD กลายมาเป็นแฟชั่นไอเท็ม ชิ้นส�ำคัญในระหว่างสงครามโลก ครั้ ง ที่ 2 นโยบายจ� ำ กั ด ปริ ม าณ ของใช้และวัฒนธรรมของการเอา ของเก่ากลับมาใช้ใหม่ซึ่งหมายรวม ถึงชุดคลาสสิคอย่าง LBD ด้วย ด้วยความที่ชุดเป็นสีด�ำ จึง ท�ำให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพ จิ ต ใจของประชาชนอย่ า งมาก บรรยากาศในยุคนีเ้ ปิดโอกาสให้ LBD เข้ามามีบทบาทมากขึน้ โดย LBD ได้ กลายเป็นเสื้อผ้าชิ้นอเนกประสงค์ที่ สามารถเลื อ กเครื่ อ งประดั บ หรื อ แฟชั่นไอเท็มอื่นๆ มาแมตช์ได้ง่าย

1947

หลั ง จากผู ้ ค นรู ้ สึ ก หดหู ่ กั บ เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ถึง เวลาที่โลกแฟชั่นจะผายมืออ้ารับ แขนรับความศิวิไลซ์อีกครั้ง ด้วย อิทธิพลของคอลเลคชั่น ‘นิวลุค’ ใน ปี 1947 ซึ่งคริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ให้ กั บ วงการแฟชั่ น ด้ ว ยสไตล์ อั น หรูหราฟู่ฟ่ากับกระโปรงบานฟูฟ่อง เธอตั้ง ใจให้นิว ลุค คือสไตล์ของผู้ หญิงในอุดมคติ เน้นความเฟมินีน โดยโครงสร้างของเสื้อผ้าผู้หญิงจะ ปรับให้พอดีกับรูปร่างของผู้สวมใส่ มากขึ้น ชุดของดิออร์ใช้ผ้าปริมาณ มาก นอกจากนี้ยังท�ำให้ฝรั่งเศสเริ่ม ฟื้นบทบาทมาเป็นเมืองแฟชั่นของ โลกแนวหน้าอีกครั้ง สไตล์นิวลุคได้ รับการขนานนามว่า “Style Dictator” และได้รับการยกย่องว่าเป็นผล งานชิ้นเยี่ยมของวงการแฟชั่นตราบ จนทุกวันนี้


1966

1950

ในยุคฟิฟตี้ ดาราฮอลลีวูดเป็น ตัวแปรหลักในเทรนด์การแต่งตัว และไลฟ์สไตล์ของสาวๆ เราจึงเห็น ดาวเด่ น จากฮอลลี วู ด กลายเป็ น แฟชั่นไอคอนด้วยการเป็นหุ่นมีชีวิต ของห้องเสื้อต่างๆ ชุดที่ดาราสาว สวมใส่ในภาพยนตร์มักจะไปปราฏ อยูต่ ามแคตตาล็อกแพตเทิรน์ เพือ่ ให้ สาวๆ ตัดเย็บไว้สวมใส่ตาม เช่น มารีลิน มอนโร(Marilyn Monroe) จากภาพยนตร์เรื่อง The Asphalt Jungle หรือเกรซ เคลลี่ (Grace Kelly) สวมใส่ LBD อวดทรวดทรง นาฬิ ก าทรายในภาพยนตร์ เ รื่ อ ง Rear Window

1961

ช ่ ว ง ป ล า ย ยุ ค 5 0 ภ า พ ของออเดรย์ เฮปเบิร์นในภาพยนตร์ Breakfast at Tiffany’s เดินตามท้อง ถนนในมหานครนิวยอร์ค สวมใส่ชดุ เดรสสีด�ำของจิวองชี่พร้อมกับถุงมือ ผ้าซาตินสีดำ� ยาวนัน้ ยังตราตึงอยูใ่ น ความทรงจ�ำตลอดมา การใช้ดาราระดับแม่เหล็กอย่าง ออเดรย์ เฮปเบิร์นสวมใส่ลิตเติ้ล แบล็กเดรส แน่นอนว่าย่อมสร้าง ภาพจ�ำให้กบั ผูช้ มเพราะนอกจากจะ เหมาะกั บ เรื อ นร่ า งของออเดรย์ เฮปเบิร์นแล้ว ฉากด�ำเนินเรื่อง LBD ยังช่วยขับเน้นแฟชั่นไอเท็มอื่นๆ ให้ เห็ น เด่ น ชั ด และล้ ว นเป็ น ภาพจ� ำ ตั้ ง แต่ นั้ น มาลิ ต เติ้ ล แบล็ ก เดรสก็ ปรากฏให้เห็นเป็นระยะๆ

มาถึงยุคซิกซ์ตี้ ยุคที่เป็นจุดเริ่ม ต้นและความเปลี่ยนแปลงของอะไร หลายๆ อย่างรวมถึงแฟชัน่ ด้วย เริม่ จากอิทธิพลของวัยรุ่นที่เรียกตัวเอง ว่า “มอดส์” ได้เข้ามามีบทบาทใน สังคมและโลกแฟชั่น พวกเข้าพากัน ไว้ผมสั้น สวมใส่มินิสเกิร์ต และ เดรสลายกราฟฟิกกันเกลื่อนเมือง แฟชัน่ ดังกล่าวสร้างขึน้ จากฝีมอื การ ออกแบบของแมรี่ แควนท์ (Mary Quant) ในปี 1966 แคทเธอรีน เดอเนิฟ (Catherine Deneuve) สวมลิตเติล้ แบล็กเดรสสไตล์มอดส์ที่อีฟ แซงต์ โลรองต์สร้างขึน้ ผลงานเขาถูกคาร์ล เลเกอร์เฟลแห่งชาแนลมองว่า “มันคือการตีความทีส่ ามารถลืน่ ไหลไปตามกระแฟชั่นผ่านช่วงเวลา แ ล ะ ยุ ค ส มั ย ” ก ล ่ า ว คื อ ก า ร เปลีย่ นแปลงของแฟชัน่ ขึน้ อยูก่ บั การ เปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และ สภาพสังคม ณ ขณะนั้น และใน ปี 1967 แคทเธอรี น ใส่ ลิ ต เติ้ ล แบล็ ก เดรสอี ก ครั้ ง ในภาพยนตร์ ฝรั่งเศสเรื่อง Belle de Jour

23


1970

ในทศวรรษที่ 70 และ 80 เป็น อีกครัง้ ทีป่ ฏิวตั สิ ดี ำ� การเสริมฟองน�ำ้ หนุนไหล่ การจับจีบระบายบริเวณ เอว และการตกแต่งประดับประดา ต่างๆ เริ่มต้นขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการ เปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของชุด ลิตเติ้ลแบล็กเดรส แจ็กเกอลีน เคนเนดี้ โอนาสซิส (Jacqueline Kennedy Onassis) สตรีหมายเลขหนึ่งที่สไตล์ดีที่สุดคน หนึ่งในประวัติศาสตร์ อะไรที่เธอ สวมใส่มักกลายเป็นชิ้นคลาสสิกใน วงการแฟชั่นเสมอ เธอมักมีเซนส์ใน การจับคู่สีให้ลงตัวในทุกชุด และ แจ็กกี้มักยกให้ลิตเติ้ลแบล็กเดรส เป็นตัวเลือกแรกๆในโอกาสส�ำคัญ ต่างๆ เธอเคยกล่าวไว้วา่ “ฉันไม่เชือ่ ว่าชุดที่ฉันใส่ไปแล้วครั้งหนึ่ง จะ กลายเป็นชุดที่เในเชยครั้งถัดไป”

24

1980

นอกจากนี้ แฟชัน่ สไตล์กบฏซึง่ สะท้อนวัฒนธรรมพังค์ร็อคด้วยการ เพิ่มผ้าตาข่ายและรายละเอียดของ ลูกไม้เข้าไปในลิตเติ้ลแบล็กเดรส การใช้เนื้อผ้าพีวีซี ถุงน่องตาข่าย และการใช้เข็มกลัดช่วยพลิกโฉม ลิตเติ้ลแบล็กเดรสในสไตล์ที่เก๋มาก ขึ้ น ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากสไตล์ ข อง มาดอนนา นอกจากนี้ลิตเติ้ลยังเป็น เครื่องแต่งกายที่นักธุรกิจเลือกสวม ใส่เพื่อเพิ่มความมั่นใจอีกด้วย

1990 เทรนด์ของลิตเติล้ แบล็กเดรสยัง คงด�ำเนินอยู่ตลอดในทศวรรษที่ 90 วิคตอเรีย เบคแฮม (Victoria Beckham) หรือ Posh spice ซึ่งเป็นตัว ตนของเธอในเวลานั้น วิคตอเรียใน ชุดเดรสสีดำ� พอดีของกุชชี่ ส่งผลให้ เธอเป็น ที่รู้จักและกลายเป็น ผู้น�ำ เทรนด์อย่างมากในช่วงทศวรรษนี้ ถ้าสังเกตจะพบว่าเธอคลั่งสีด�ำมาก และยังแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีด�ำตั้งแต่ หัวจรดเท้า


1993 1994 2000

เจ้าหญิงไดอาน่า ความสง่างาม ในยุค 80 พระองค์มเี ซนส์ดา้ นแฟชัน่ ที่น่าติดตาม พระองค์จะเฟ้นหาชุด ด้วยความพิถีพิถันเสมอ อย่างเมื่อ ครั้งที่เจ้าหญิงไดอาน่าก�ำลังเดินเข้า สูง่ านการกุศล ณ แกลเลอรีเ่ ซอร์เพน ไทน์ เธอเลือกสวมมินเิ ดรสสีดำ� พอดี ตัว ซึ่งท�ำจากผ้าไหมและผ้าเครป ที่ ออกแบบโดยดี ไ ซเนอร์ ช าวกรี ซ คริสติน่า แสตมโบเลียน (Christina Stambolian) สามปีถัดมามินิเดรส ที่ว่านี้ถูกประมูลไปกว่า 6 ล้านบาท เพื่องานการกุศลช่วยเหลือผู้ป่วย มะเร็งเต้านม “เจ้ า หญิ ง ไดอาน่ า ซื้ อ ชุ ด นี้ ใ น ขณะที่เธอยังเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เธอรูส้ กึ ว่านีเ่ ป็นชุดทีด่ เู ซ็กซี่ แต่หลัง จากที่เธอหย่ากับเจ้าชายชาร์ล และ ประสบอุ บั ติ เ หตุ ร ถชน เดรสกั บ รองเท้าที่เธอสวมใส่ในคราวนั้นมัน กลายเป็นสิ่งที่ประเมินราคาไม่ได้” Hal Rubenstein แฟชั่นไดเรคเตอร์ นิตยสาร Instyle กล่าว

ดาราสาวลิซ เฮอร์ลีย์ (Liz Hurley) อวดโฉมด้วยชุดเดรสด�ำสุด เซ็กซี่ของแบรนด์ Versace ประดับ เข็มด้วยเข็มกลัดทองยักษ์ เดินเคียง คู่มากับแฟนหนุ่ม ฮิวจ์ แกรนท์ (Huge Grant) ในรอบปฐมทัศน์ ของภาพยนตร์เรื่อง Four Wedding and a Funeral ในปี 1994 บางที มันอาจจะชุดทีด่ ที สี่ ดุ ทีเ่ วอร์ซาเช่คดิ ขึ้น และถือเป็นการเปิดตัวเฮอร์ลีย์ อย่างเป็นทางการบนเวทีโลกก็ย่อม ได้ เพราะไม่กี่ปีถัดมา เธอได้เซ็น สัญญาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กบั แบรนด์ เครื่องส�ำอางอย่าง Estée Lauder

เมื่อค�่ำคืนแห่งศตวรรษใหม่เดิน ทางมาถึง ความสวยงามในรูปแบบ ใหม่ๆได้ปรากฏให้เห็นบนแคทวอร์ค เสื้อผ้าร้อยปีไม่มีอะไรใหม่ ในยุคนี้ การเน้นการเอาแรงบันดาลใจจาก อดีตมาถ่ายทอดมากกว่า อย่างเช่น เดรสรั ด รู ป สุ ด เฉี่ ย วของ Hervé Léger หรือลิตเติ้ลแบล็กเดรสทรง ตรง แฝงกลิ่นความเป็นแมสคิวลีน ของ Calvin Klein หรือถ้าอยากจะ แหวกแนวหลุดโลกกับสไตล์อะวอง การ์ดจากดีไซเนอร์ Hussein Chalayan

25


VALENTINO A/W COLLECTION 2013

26


Dressing in black is a fashion statement! It’s Deep, It’s meaningful, and it’s slenderizing. ชุ ด เดรสสี ด� ำ สุ ด คลาสสิ ค เฉิ ด ฉายผ่ า น ประวัติศาสตร์แฟชั่นมาอย่างสง่างาม จากโคโค่ ชาแนลสู่ดีไซเนอร์ทุกคนที่สรรสร้างลิตเติ้ลแบล็ก เดรสในเวอร์ชนั่ ของตัวเอง LBD ยังคงออกมาให้เห็น เสมอในทุกๆ ซีซนั่ เปรียบเสมือนผืนผ้าแบคกราวนด์ ที่สามารถแต่งเสริมเติมแต่งได้อย่างไม่รู้จบ และมี การพัฒนาเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น LWD-Little White Dress หรือ การใส่ลิตเติ้ลแบล็กเดรสแม็ตช์กับเสื้อ เบลเซอร์หรือคาร์ดิแกน เสือ้ ผ้าทีม่ ปี ระวัตยิ าวนานนับร้อยปี รูปแบบของ มันคงเดิม แล้วแต่ว่าดีไซเนอร์จะเพิ่มลูกเล่นอะไร ให้กับชุดมากกว่า อย่างคอลเลคชั่นออทั่มวินเทอร์ ของวาเลนติโน่ (Valentino) ปี 2013 ซึ่งได้แรง บันดาลใจจากความไร้เดียงสาและความอ่อนโยนใน ยุค 60 เช่น การท�ำปกเสื้อลูกไม้ ปลายแขนเสื้อสี ขาวและเทพนิยาย วาเลนติโน่สามารถเก็บแพทเทิรน์ ความเรียบง่ายและความโมเดิร์นควบคู่กันไปได้ อย่างน่าประหลาดใจ หรืออย่างแบรนด์ Versace ที่พรีเซ้นท์รูปแบบของลิตเติ้ลแบล็กเดรสโดยได้แรง บันดาลใจมาจากยุคโกธิค (Gothic) ซึ่งใช้หนังเป็น วัสดุหลักในการตัดเย็บ ส�ำหรับเมืองนอกแล้ว LBD ถูกยกย่องให้เป็น ยูนฟิ อร์มอย่างหนึง่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพราะ LBD เป็นแฟชั่นชิ้นง่ายๆ ที่ สามารถพลิกแพลงได้หลายรูปแบบ ปัจจุบันปารีส ให้ความส�ำคัญกับเรื่องของการสร้างสรรค์ชุดและ การปรับใช้มากกว่า ฝรั่งจะมีกฎอยู่ข้อหนึ่งที่ว่า “YOU CAN DO NO WRONG WITH BLACK” ใส่ อย่ า งไรก็ ร อด แต่ ต รงนี้ อ าจจะไม่ ใ ช่ ร สนิ ย ม ของคนทุกคน

คริสเตียน ดิออร์เคยกล่าวไว้ในปี 1954 “ เสือ้ ผ้า สีด�ำเป็นชุดที่คุณสามารถได้ทั้งกลางวันและกลาง คืน ทุกๆ ช่วงอายุโอกาส ลิตเติ้ลแบล็กเดรสเป็น เสื้อผ้าชิ้นหลักที่ผู้หญิงควรมีไว้ครอบครอง ฉัน สามารถเขียนหนังสือเกีย่ วกับมันได้เป็นเล่มๆ เลย” ความจริ ง ข้ อ หนึ่ ง ที่ รู ้ กั น ดี อ ยู ่ แ ล้ ว คื อ แฟชั่ น เปลี่ยนไปตามสภาพสังคม ถ้าสภาพเศรษฐกิจดี มันก็จะสะท้อนผ่านการดีไซน์ของห้องเสื้อต่างๆ การใช้สีและเนื้อผ้าสามารถบรรยายได้ทั้งเสียงและ ความรู้สึกของสังคมผ่านคอลเล็กชั่นของพวกเขา ด้วยเหตุผลนี้เทรนด์จึงเปลี่ยนแปลงเร็ว อะไรที่เรา อาจจะเพิ่งซื้อไปเมื่อเดือนที่แล้ว มาถึงเดือนนี้มัน อาจจะเอาท์ไปแล้ว สิ่งที่แฟชั่นและแบรนด์ดีไซเนอร์ต่างสนใจก็คือ ถ้าคุณไม่ได้มีทางเลือกพอที่จะซื้อชุดราคาแพง แต่ หากคุณรู้จักเลือกอย่างชาญฉลาด เราก็อาจจะได้ ชุดที่สวยและเหมาะกับตัวเราก็ได้ มันเป็นเรื่องยาก หากจะต้องนั่งวิเคราะห์ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพ หรือมีประสบการณ์มากเท่าไหร่ก็ตาม โลกแฟชั่น โดยทั่วไปมักจะมีอะไรให้เซอไพรส์อยู่เสมอ และ เทรนด์ยังคงเปลี่ยนแปลงต่อไป ลิตเติ้ลแบล็กเดรส ยังคงอยู่และน่าจะยังเป็นที่นิยมของผู้หญิงทั่วโลก ต่อไป และปรากฏให้เห็นในรูปแบบต่างๆ กันตาม แคทวอร์คในทุกแฟชั่นวีคต่างๆ ด้วยความคลาสสิกและไร้กาลเวลาของชุดเดรส ด�ำคลาสสิกนี้ ซึง่ ถือว่าเป็นชุดทีค่ รบเครือ่ ง และสวย ด้วยตัวของมันเอง ที่ส�ำคัญ LBD เป็นแบบเสื้อที่ง่าย ต่อการเติมแต่งเครื่องประดับ LBD ได้กลายเป็น ความคลาสสิกที่คงอยู่กับวงการแฟชั่น ทั้งจาก ชนชั้นสูง ไปจนถึงคนเดินถนนทั่วไป

27



MODERN CAPSULE TREND เทรนด์หรูที่อยู่คู่กับสาวๆ มาเนิ่นนานไม่รู้ กี่ยุคสมัย เนรมิตได้ตั้งลุคเรียบหรูดูดี ไปจนถึงแนวแฟนซี เดรสสีด�ำก็สามารถท�ำให้ ได้ทั้งนั้น

เลื อ กชุ ด ที่ มี ดี เ ทลโดดเด่ น ในเรื่ อ งของ แมททีเรียล เช่น เนื้อผ้าลูกไม้ เนื้อผ้าเลื่อม มีเท็กซ์เจอร์ทสี่ วยงาม เพราะเป็นวิธแี ต่งสวย แบบขั้นตอนเดียวจบ ช่วยลดขั้นตอนในการ แต่งเติมด้วยแอคเซสซอรี่ชิ้นอื่นๆ เลือกชุดทีช่ ว่ ยขับสรีระทีส่ วยงามและสมส่วน ของคุณ อาจจะมีดีเทลที่ซ่อนความเซ็กซี่ไว้ อย่างเช่น เปิดด้านหลัง หรือคอลึกสักนิด แต่ ภาพรวมคือดูไม่โป๊ เพียงช่วยดึงเสน่ห์ความ เป็นหญิงของคุณออกมาได้อย่างเต็มที่ เลือกชุดที่มีโครงชุดโดดเด่น ด้วยแพทเทิร์น ที่สวยงาม มีการตัดต่อ การจับจีบ หรือ การผสมผสานหลากหลายดีเทลภายใต้โทน สีดำ�ทั้งชุด เลือกชุดทีม่ คี วามเป็นเฟมินนี อย่างเช่นกระโปรง บาน มีดีเทลที่ดูหวานซ่อนอยู่ในชุด เพื่อไม่ให้ดู เป็นสาวชุดดำ�ที่เปรี้ยวหรือดุดันจนเกินไปหรือ ถ้าอยากใส่คู่กับ Biker Jacket ก็ทำ�ให้ดูเท่ ไปอีกแบบ


30


BLACK NEVER GOES OUT OF STYLE

31


CLASSY ELEGANCE BLACK SILK SCOOP-NECK DRESS WITH INTERLACE CORE-PIECE


One is never overdressed or underdressed with a little black dress.

AUDREY DRESS WITH LONG BLACK GLOVE / ROPE OF PEARL / RED HEADPIECE

33


Slenderize Gal

BLACK SILK FIGURE-HUGGING DRESS WITH FEDORA HAT

34


alw ay s It’s nt!

s rock and roll.

e me

ay

st a t

ys appro pria

a lw

is a f a sh ion

alwa

te,

cool,

bla

ck D

s res

ing

in

BLACK SPENDEX DRESS/ BLACK BIKER LEATHER JACKET / PANAMA HAT 35


STYLING : P’AE / MENISA NIPHAWAN CLOTHES : POEM @ SIAM SQUARE / TODAY TOMOROW FOREVER / P’AE PHOTOGRAPHER : SURASAK ITTIRIT 36


37


38


39


DIRECTOR : JOSEF VON STERNBERG STARRING : MARLENE DIETRICH, GARY COOPER COSTUME DESIGNER : TRAVIS BANTON


ภาพยนตร์เรื่อง Morocco (1930) เป็นภาพยนตร์ธรรมดาๆ ที่ขึ้นไปสู่ทำ� เนียบ ของหนังคลาสสิค ส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความส�ำเร็จคือการ ได้นักแสดงสาวชาวเยอรมันอย่างมาร์ลีน เดียทริชมาร่วมแสดงในบทบาทของ เอมี่ จอลลี่ นางโชว์คาบาเร่ต์ที่ประจ�ำอยู่ไนท์คลับ โจเซฟ ฟอน สเติร์นเบิร์ก (Josef Von Sternburg) เขาตั้งใจผลักดันให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังและหวังเป็นอย่างยิ่ง ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าทึ่ง ณ เวลานั้น โดยจุดขายของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือการน�ำมาซึ่งรสนิยมแบบแปลกๆ สเติร์นเบิร์กเลือกตัดบทสนทนาอันฟุ่มเฟือยออกส�ำหรับเธอ เพื่อหลีกเลี่ยง ส�ำเนียงเยอรมันที่เป็นอุปสรรคอย่างมาก ในขณะเดียวกันเขาก็สอนให้เธอ เคลือ่ นไหวอย่างช้าๆ ในแต่ละฉาก และจ้องมองวัตถุทไี่ ม่จำ� เป็นเพือ่ ทีเ่ ขาจะได้เก็บ ภาพเธอในทุกๆอิริยาบถ รวมถึงภาพของเธอที่สวมใส่เครื่องแต่งกายจากเทรวิส แบนตัน (Travis Banton) คอสตูมดีไซเนอร์ที่เป็นต�ำนานแห่งค่ายพาราเม้าท์ผ่า นทุกๆ ฉากด้วย หลังจากภาพยนตร์เรื่อง Morocco ออกฉาย ภาพของเดียทริชในชุดทักซิโด้ และท็อปแฮตได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของผู้หญิงไปโดยสิ้นเชิง การที่ผู้หญิงลุกขึ้นมา แต่งตัวแบบผู้ชายนั้น ถือว่าเป็นปรากฏการณ์อันน่าทึ่งและช็อควงการแฟชั่นเป็น อย่างมาก รวมทั้งสร้างเสียงฮือฮาจากผู้ชมไม่น้อย เพราะโดยปกติแล้วสังคมส่วน ใหญ่เชือ่ ว่าเสือ้ ผ้าผูช้ ายเหมาะสมกับเรือนร่างผูช้ ายเท่านัน้ ไม่เพียงแต่เธอจะใส่ชดุ ทักซิโด้ในขณะร้องเพลงเท่านั้น แต่เธอยังแต่ยังท�ำท่าทีเล่นหูเล่นตากับผู้ชายที่แต่ง ตัวเหมือนเธอ และขโมยจูบจากผู้หญิงที่เป็นหนึ่งในผู้นั่งฟัง ในฉากจบของภาพยนตร์ ดีทริชจะต้องเลือกระหว่างความรักที่มีให้กับแกรี่ คู เปอร์ ทหารฝรั่งเศสยากจนคนหนึ่งกับความสบายบน Adolphe Menjou's money แต่สุดท้ายท้ายเดียทริชก็เลือกความรักมากกว่าเงินทอง ตามคู่รักไปยังทะเลทราย ด้วยชุดเสื้อผ้าไหมสีขาว กระโปรงสีทิวลิป ผ้าพันคอและรองเท้าส้นสูง ความรักที่ บริสุทธิ์คือธีมหลักภาพยนตร์ของ สเตินเบิร์กเสมอมา

41


Siren of

ANDROGYNOUS นักแสดงสาวพราวสเสน่ห์ ที่พ่วงด้วยความเป็นสไตล์ไอคอนระดับหาตัวจับยากคนนี้ เธอคือเซเลปบริตี้คนแรกๆ ที่หยิบเสื้อผ้าสไตล์แมสคิวลีนมาใส่ และดูดีได้อย่างไม่น่า เชื่อ แน่นอนว่าทุกวันนี้นักออกแบบอีกหลายๆ คนน�ำแรงบันดาลใจจากเธอในคอลเล คชั่นของพวกเขา

ณ จุดสูงสุดในอาชีพของเธอใน ช่วงทศวรรษที่ 30 มาร์ลนี เดียทริช เป็นนักแสดงที่ได้รับค่าตัวสูงที่สุด บนจอเงิน เธอจัดได้ว่าเป็นตัวแม่ ของเซ็ ก ซ์ ซิ ม โบลรุ ่ น เดอะ การ แสดงออกของเธอส่งเสริมให้เธอ กลายเป็นไอคอนทีท่ รงอิทธิพลทีส่ ดุ คนหนึ่ง ในขณะเดียวกันเดียทริชก็ มีบคุ ลิกทีเ่ ปีย่ มไปด้วยความเท่และ ความอ่อนโยน นี่คือต้นแบบของ สไตล์ androgyny ซึ่งท�ำให้เธออยู่ ในความทรงจ�ำตลอดมา นักแสดงสาวเชื้อสายเยอรมันอเมริกันคนนี้ เธอเป็นเซเลปบริตี้ คนแรกๆ ที่หยิบเสื้อผ้าผู้ชายมา สวมใส่ และดู มี เ สน่ ห ์ อ ย่ า ง ไม่น่าเชื่อ ความรักในเสื้อผ้าสไตล์ แมสคิ ว ลี น สร้ า งมิ ติ ข องความ คลุมเครือทางเพศซึ่งมันท�ำให้เธอ

42

เป็นมากยิง่ กว่าดาราระดับแม่เหล็ก สไตล์ อั น เป็ น ซิ ก เนเจอร์ ข อง เดียทริช ส่วนผสมที่พอดีระหว่าง เพศหญิงและชาย แม้ยุคหลังๆ จะ มีนักแสดงหญิงหลายคนพยายาม เลียนแบบ แต่ยังไม่เคยมีใครท�ำได้ ดีเท่าต้นฉบับ “ฉันมีความชื่นชอบในสไตล์ เสื้อผ้าผู้ชาย ฉันไม่ได้สวมใส่มัน เพื่อดึงดูดความสนใจใครๆ แต่ฉัน คิดว่าฉันมีเสน่ห์มากเวลาฉันสวม ใส่เสื้อผ้าพวกนี้” นักแสดงสาวได้กล่าว หลังจาก นั้นก็มีดาราอีกหลายคนพากันใส่ ตามเธอ เช่น เกรต้า การ์โบ, แคท เธอรีน เฮปเบิร์น, มารีลิน มอนโร และออเดรย์ เฮปเบิร์น นี่อาจจะ เป็นบทพิสจู น์พลังอันทรงเสน่หข์ อง พวกเธอในการลุกขึ้นมาใส่กางเกง โ ด ย เ ฉ พ า ะ อ ย ่ า ง ยิ่ ง ใ น ป ี ที่ พวกเธอถูกห้าม

มาร์ลีนกลายมาเป็นที่รู้จักใน ฮอลลีวูดเมื่อเธอสวมกางเกงบ่อย เข้าทั้งในหนังและชีวิตจริง ซึ่งเป็น เรือ่ งน่าทึง่ อย่างมากในช่วงเวลานัน้ เดียทริชเคยใส่กางเกงขายาวสีขาว แมตช์กับเสื้อโอเวอร์โค้ท และได้ สะกดคนทั้ ง ห้ า งสรรพสิ น ค้ า ทั้ ง หมดให้ ต กอยู ่ ใ นความเงี ย บ เพราะเธอดู ส วยงามยามที่ เ ธอ เดินก้าวเข้ามา มาร์ลีน เดียทริชเข้าใจใน เสื้อผ้าผู้ชายได้ดีกว่าผู้ชายด้วยซ�้ำ และสไตล์ของเธอยังเป็นที่ห่างไกล จากช่วงเวลานัน้ มาก ในช่วงเวลาที่ ผู้หญิงติดอยู่กับกระโปรงหรือเดรส แต่เธอเริม่ ค้นตูเ้ สือ้ ผ้าผูช้ ายเพือ่ เอา มาเก็บไว้เป็นคอลเลคชั่นของเธอ เอง เธอมีช่างตัดเสื้อผู้ชาย ช่างตัด เสือ้ เชิต้ และช่างท�ำรองเท้า ส�ำหรับ ท�ำสูท เบลเซอร์ โค้ท เชิ้ต และ กางเกงที่ออกแบบเอง


beauty breaks

RULE

หลังจากผ่านพ้น roaring twentieth ซึ่งเราได้เห็นอะไร ปลอมๆ กันมามากพอแล้ว มาถึงในยุค 30 เราจะได้เห็นอะไร ที่เป็นสีธรรมชาติขึ้นสุภาพสตรีในเวลานั้นต่างพากันแต่งหน้าท�ำ ผมเลียนแบบดารา เพราะตอนนั้นถือเป็นยุคทองของวงการ ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด ROGER GINGERS

ผิวหน้า : สาวๆ นิยมการมีผิวสีแทน เพราะในสมัย นั้นเชื่อว่าการมีผิวสีแทนเป็นการแสดงออกถึงความ สง่างามและทันสมัย จะเห็นได้จากหน้าปกนิตยสาร VOGUE ที่นางแบบแต่ละคนมีผิวหน้าสีแทน ซึ่งสื่อถึง สัญลักษณ์ของความมั่งคั่งและชีวิตที่ร�่ำรวย นอกจากนี้ เริม่ มีการปัดแก้มด้วยบลัชเล็กน้อยเพือ่ เติมสีสนั ให้ใบหน้า ชวนมองมากขึ้น ดวงตา : ตาเป็นส่วนทีเ่ น้นมากทีส่ ดุ บนใบหน้า มีการ เขียนเปลือกตาบนและล่าง เส้นเหล่านีจ้ ะเขียนบรรจบกัน ที่มุมของดวงตา และจะถูกเกลี่ยให้เป็นสโมคกี้อาย อาย แชโดว์สีเข้มถูกน�ำมาใช้บนเปลือกตา พร้อมกับปัดมาส คาร่าให้ขนตาดูหนา คิ้ว : รูปคิ้วในยุคนี้จัดว่าเป็นส่วนส�ำคัญที่สุดส�ำหรับ ยุคนี้เลยก็ว่าได้ สาวๆ มักจะถอนคิ้วให้เป็นเส้นบางๆ และมีลกั ษณะโค้งเหมือนครึง่ วงกลม เพราะผูห้ ญิงเชือ่ กัน ว่าลุคเป็นสิ่งน่าดึงดูดใจและน่าค้นหา ปาก : รูปปากจะมีการเขียนขอบปากและใช้สีที่เป็น ธรรมชาติมากขึ้น ทรงผม : แฮร์สไตล์ทนี่ ยิ มมากทีส่ ดุ คือการดัดผมหยิก สาวผมบลอนด์ นัยน์ตาดีฟา้ ในจอภาพยนตร์ถกู กลายมา เป็นลุคประจ�ำวันของผู้คน ใส่คู่กับหมวกเบเร่ต์ หมวก ทรงกะลาสีและหมวกสักหลาดที่มีการตกแต่งอย่าง สวยงามได้รับความนิยมมาก

43


EROTICS

critisisms

มาร์ลีน เดียทริชและแทรวิส แบนตัน ร่วมงานในภาพยนตร์เรื่อง Blonde Venus (1932)

44

สูทหรือพาวเวอร์สูท เป็นเครื่อง ยืนยันอย่างหนึ่งถึงพลังและความกล้า แกร่งของเพศหญิง นอกจากจะบ่งบอก ถึงบุคลิกแล้ว ยังบอกถึงสถานะทาง สังคมในยุคที่ผู้หญิงผู้ชายมีพื้นที่ทาง สั ง ค ม แ ล ะ ห น้ า ที่ ก า ร ง า น อั น เท่าเทียมกัน Morocco เป็นภาพยนตร์ทเี่ ป็นการ ร่วมงานกันระหว่างมาร์ลีน เดียทริช โจเซฟ ฟอน สเติร์นเบิร์ก ผู้กำ�กับและ เทรวิส แบนตัน คอสตูมดีไซเนอร์แห่ง ค่ายพาราเม้าท์ เขาออกแบบชุดให้กับ ภาพยนตร์มามากกว่า 160 เรือ่ ง ทัง้ สาม คนมีสว่ นในการกำ�หนดภาพลักษณ์ของ เดยีทริชด้วยสไตล์แมสคิวลีน ซึ่งเราจะ เห็นได้บอ่ ยๆ ตัวอย่างเช่น เสือ้ แจ็คเก็ต

หนังในภาพยนตร์เรื่อง Dishonoured (1931) หรื อ สู ท ทรงทหารสี ข าวใน ภาพยนตร์เรือ่ ง Scarlet Empress (1934) เสน่ห์เย้ายวนใจของมาร์ลีน เดียทริช จัดว่าเป็นตำ�นานทีไ่ ม่อาจลบเลือน ได้ สไตล์ของเธอโดดเด่นและมีความ กล้ า หาญมากในทศวรรษที่ 1930 มาร์ลีนในชุดทักซิโด้นั้นเป็นมากกว่า อำ�นาจดึ ง ดู ด และมี เ สน่ ห์ เ ย้ า ยวน มากกว่าที่เคยมีตอนที่เธอสวมชุดราตรี ยาวของเทรวิส แบนตันในภาพยนตร์ เรื่องอื่นๆ ความแตกต่างระหว่างความ อ่อนโยนแบบผูห้ ญิงและความแข็งแกร่ง แบบผู้ชายภายใต้หมวกท็อปแฮตนี้เป็น สไตล์ที่ติดตัวเธอไปโดยปริยาย



TIMELINE of

POWER SUIT


เรื่องฮือฮาที่กลบกระแสภาพยนตร์อาจจะเป็นเรื่องของคอสตูมในภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งถือว่าเป็น ครั้ ง แรกที่ ผู ้ ห ญิ ง ลุ ก ขึ้ น มาแต่ ง ตั ว เลี ย นแบบผู ้ ช าย มาร์ ลี น เดี ย ทริ ช คื อ เทรนด์ เ ซ็ ท เตอร์ ที่ ส ร้ า งสไตล์ androgynous ซึง่ หมายถึงการผสมผสานระหว่างความเท่แบบทอมบอยกับความเป็นหญิง ซึง่ ก�ำลังเป็นเทรนด์แฟชัน่ ล่าสุดที่รุกล�ำ้ มายังตู้เสื้อผ้าสาวในเวลานี้ ในที่นี้จะพูดถึงพาวเวอร์สูท

เมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 หลัง จากผ่ า นช่ ว งภาวะวิ ก ฤตของ สงครามโลกครัง้ ที่ 1 สภาพเศรษฐกิจ ย�่ำแย่ สภาพทางสังคมต่างมีส่วนที่ จะส่งอิทธิพลในเรือ่ งของแฟชัน่ เมือ่ ผู้หญิงในยุคสมัยหนึ่งต้องเป็นแม่ บ้าน เวลาผ่านไปการหารายได้โดย ผู้ชายอย่างเดียวไม่พอ พวกเธอจึง ต้องออกมาท�ำงาน การแต่งกายให้ สอดคล้ อ งกั บ การท� ำ งานจึ ง ต้ อ ง อาศัยความทะมัดทะแมงซึง่ เป็นเรือ่ ง หลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการเคลือ่ นไหวของผูห้ ญิงที่ ปลุกระดมให้คนไปลงคะแนนเสียง (suffragette movement) ในช่วง 1920 และการที่ ผู ้ ห ญิ ง ออกมา รณรงค์ ต ่ อ สู ้ เ พื่ อ สิ ท ธิ ใ นการลง คะแนนเสียง เพราะผู้หญิงต้องการ มีสว่ นร่วมในการท�ำงานของประเทศ และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม กันกับผู้ชาย ขณะที่ผู้หญิงได้กลาย มาพึ่ ง ตั ว เองได้ ม ากขึ้ น การ เปลี่ยนแปลงเหล่านี้สะท้อนให้เห็น ถึงภาพลักษณ์และวิถีชีวิตของพวก เขา พวกเขาตัดผมบ๊อบสั้น ชาย กระโปรงขยั บ มาอยู ่ ร ะดั บ เข่ า ระหว่างทศวรรษนี้ ผู้หญิงเริ่มที่จะ ปลดปล่อยตัวเองจากเสือ้ ผ้าที่ บีบรัด เป็นครั้งแรกและผู้หญิงได้จับเอา สไตล์ของความสะดวกสบายมาใช้

ช่ ว งเวลานี้ เ องที่ พ าวเวอร์ สู ท หรื อ แพ้นท์สทู ได้เกิดขึน้ แต่แพ้นท์สทู มัก จะถู ก คั ด ค้ า นอยู ่ บ ่ อ ยๆ ว่ า เป็ น เครื่องแต่งกายที่ไม่สุภาพส�ำหรับผู้ หญิง เช่น ไม่อนุญาตให้ใส่แพ้นท์สทู ในสภาสูงของสหรัฐอเมริกาเพราะ เป็นการแต่งกายไม่สุภาพ Christine Bard เจ้าของหนังสือ women’s “conquest” of the right to wear pants ได้กล่าวเอาไว้ว่า

“ กางเกงไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่อง

มือแสดงอ�ำนาจของผู้ชายเท่านั้น แต่เป็นการแบ่งแยกเพศอีกด้วย ผู้ หญิงผู้ที่สวมกางเกงจะถูกกล่าวหา ว่า cross-dressing หล่อนจะถูก มองว่าเป็นการคุกคามต่อระบบ ธรรมชาติ ต่อสังคม ทางศีลธรรม และทางการเมือง

หนึง่ ในนวัตกรรมทางแฟชัน่ ในปี 1930 คื อ การที่ ผู ้ ห ญิ ง หั น มาใส่ กางเกงคูก่ บั เสือ้ สูท หรือทีร่ จู้ กั กันใน ชื่อ “slack suit” แพ้นท์สูทได้รับ อิทธิพลอย่างมากจากดาราฮอลลีวดู มาร์ลนี เดียทริช เธอใส่เสือ้ ผ้าแบบ ผูช้ ายในภาพยนตร์หลายๆ เรือ่ ง อีก ทัง้ ยังสวมมันในชีวติ จริงของเธอด้วย แพ้นท์สูทมักใส่คู่กับกางเกงขาบาน หรือไม่ก็ขากระดิ่ง แจ็คเก็ตได้รับ

การตัดเย็บในแบบที่ละเมียดและ อ่อนโยนกว่าแบบของผูช้ าย จะว่าไป แล้วแพ้นท์สูทก็ถือเป็นแฟชั่นไอเท็ม ที่เพิ่มดีกรีความเท่ได้มาก มาร์ลนี เดียทริช เป็นผูห้ ญิงคน แรกที่แต่งกายเลียนแบบผู้ชายใน ภาพยนตร์เรื่อง Morocco เป็น เครือ่ งมือในการสร้างเสน่หใ์ นตัวเธอ อีกทั้งเธอยังแสดงท่าทางเล่นหูเล่น ตากับผู้หญิงในฉาก ซึ่งถือว่าเรียก เสียงฮือฮาจากผู้ชมเป็นอย่างมาก เพราะในสมัยก่อนนัน้ มีการแบ่งแยก กันอย่างชัดเจนในเรื่องการวางตัว การพูดจา บทบาทหน้าที่ทางสังคม และครอบครัว และรวมไปถึงการ แต่งกายของทัง้ หญิงและชาย ดังนัน้ เมื่ อ มี ก ารข้ า มพื้ น ที่ ร ะหว่ า งเพศ (cross-gender) จึงถือเป็นเรือ่ งใหญ่ เมื่อมีฉากหรือการแต่งกายโดยหญิง แต่งเสื้อผ้าสไตล์ผู้ชาย และวางตัว เยี่ยงผู้ชาย ย่อมเกิดภาพจ�ำและเกิด การวิพากษ์วจิ ารณ์ทงั้ ในแง่บวกและ ลบอย่างไม่ต้องสงสัย ความพยายามทีจ่ ะฉีกกฏเกณฑ์ เดิมๆ เริ่มมีมาตั้งแต่ยุคนี้ ซึ่งได้รับ การตอบรับในกลุ่มแฟชั่นนิสต้าหัว ล�ำ้ เท่านัน้ เพราะคนส่วนใหญ่ยงั รูส้ กึ แปลกกับๆการที่ผู้หญิงใส่เสื้อผ้า ผู้ชายอยู่มาก

47


ในปี 1931 เอลซ่า เชียปาเรียลลิ (Elsa Schiaparelli) ดี ไ ซเนอร์ ชื่ อ ดั ง ใน ทศวรรษที่ 30 เธอได้สร้างคอลเล็กชั่น ชุดสูทไหล่กว้างหรือที่เรียกว่า shoulder-pad look ด้วยชุดสูทไหล่กว้าง หนุ น ฟองน�้ ำ เสริ ม ไหล่ พอช่ ว ง สงครามโลกครั้งที่สองในช่วงปี 1939 เสื้อผ้าสตรีก็กลายเป็นแนวทหารมาก ขึ้น มีการใช้ฟองน�ำ้ รองไหล่อย่างโดย เฉพาะแจ็ ค เก็ ต เสื้ อ โค้ ท ที่ ไ ด้ รั บ อิทธิพลมาจากสไตล์แมสคิวลีน หลัง สงครามโลกฟองน�้ำเสริมไหล่ก็ถูกท�ำ ซอฟต์และเรียวขึน้ การใส่ฟองน�ำ้ เสริม ไหล่นอกจากช่วยให้ไหล่ดูกว้างและ ใหญ่ขึ้นแล้ว ยังช่วยเสริมลุคให้ผู้หญิง ดูเท่และมีพลังมากขึ้นอีกด้วย หลังจากเดียทริชสวมเสือ้ ผ้าผูช้ าย ในภาพยนตร์ ต่อมาดาราฮอลลีวูดอีก หลายคนสวมใส่ แ พ้ น ท์ สู ท กั น ใน ภาพยนตร์กันมากขึ้น เช่น ลูซิล บอล (Lucille Ball) หรือ ลอว์เรน บีคอล (Lauren Becall) ในปี 1940 แคทเธอรีน เฮปเบิร์น (Katherine Hepburn) ดาราฮอลลีวดู สาวได้แหกกฎและสร้าง androgy-

48

nous look ให้โด่งดัง เฮปเบิรน์ ได้กลาย มาเป็นไอคอนทางวัฒนธรรมด้วยการ ใช้ชีวิตแบบพึ่งตัวเองและเป็นอิสระ มี บุคลิกทีก่ ล้าหาญ และเป็นทีย่ อมรับว่า เธอเป็นผูม้ อี ทิ ธิพลในการเปลีย่ นแปลง การรับรู้ของประชาชนของผู้หญิงใน ช่วงศตวรรษที่ 20 ทั้งมาร์ลีน เดียทริชและแคท เธอรีน เฮปเบิร์น ต่างเป็นตัวอย่างที่ ชัดเจนมากส�ำหรับลุคทอมบอย พวก เขาไม่เพียงปฏิวัติวิธีการแต่งตัวของ ผูห้ ญิง แต่เผยให้เห็น sex appeal ของ ผู้หญิงที่ใส่เสื้อผ้าแบบผู้ชายอีกด้วย ในยุคซิกซ์ตี้ แพ้นท์สูทไม่ได้ถูก ยอมรั บ ในสั ง คมวงกว้ า งอย่ า งทั น ที การใส่แพ้นท์สูทยังไม่แตะระดับความ เป็นทางการทีส่ ากลยอมรับได้ ผูห้ ญิง วัยรุน่ ทีเ่ ริม่ ใส่ แพ้นท์สทู มักจะโดนดูถกู เหยียดหยาม ตามร้านอาหารมักจะ ปฏิเสธลูกค้าผู้หญิงที่ใส่กางเกงหรือ แพ้นท์สูทราคาแพงหรือทันสมัย ไม่กี่ ปีถดั มา การมาถึงของชุด Le Smoking อันโด่งดัง ประจวบเหมาะกับช่วงที่ สิทธิสตรีกำ� ลังเบ่งบาน การแต่งกายรูป แบบใหม่ นี้ ไ ด้ รั บ การตอบรั บ อย่ า ง

ล้นหลามและกลายเป็นจุดเปลี่ยนของ ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารแต่ ง กายของ ผู้หญิงเลยก็ว่าได้ กลางยุค 1960 ดีไซเนอร์ปารีส ฝรั่ ง เศสเกื อ บทั้ ง หมดสร้ า งและ วางแผนการตลาดกับแพ้นท์สูทมาก ทีส่ ดุ แพ้นท์สทู ได้รบั การอนุญาติให้ใส่ ไปในที่ท�ำงาน เพราะในโอกาสที่ต้อง ใช้ ก ารเคลื่ อ นไหวหรื อ การยื ด หยุ ่ น ร่ า งกายจะหมดไปถ้ า ใส่ ก ระโปรง หรือเดรส นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เสือ้ ผ้าถูกมองว่าเป็นคุณลักษณะของ อิสรภาพ และเพราะอิทธิพลจากอีฟ แซงต์ โลรองต์ (Yves Saint Laurent) ผูซ้ งึ่ ฝันทีจ่ ะสร้างความเท่าเทียมกันใน เสื้อผ้าผู้ชายให้เกิดในเสื้อผ้าผู้หญิง เป็ น ครั้ ง แรกที่ เ ราเห็ น เสื้ อ ผ้ า สไตล์ แมสคิวลีนบนแคทวอล์คเกิดขึ้นในยุค 1960 ผลงานครั้งนี้ถือว่าเป็นกบฏใน ทางที่ดี ที่ทำ� ให้ผู้หญิงในยุคนั้นมีทาง เลือกใหม่เกิดขึ้น ไม่ใช่มีชีวิตที่วันๆ ต้องอยู่กับกฏของสังคมที่ไม่รู้ว่าเอา อะไรมาเป็นบรรทัดฐาน เมื่อเขาสร้าง ทักซิโด้สูทที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับ


รูปร่างของผู้หญิง โดยเฉพาะนี้มีช่วง ไหล่ที่เนี้ยบคมไม่ต่างกับทักซิโด้ผู้ชาย แต่วงแขนแคบและเข้ารูปกว่าผูช้ ายช่วง ปกตกแต่งด้วยผ้าซาติน และใส่กับ กางเกงขาโคร่ ง กั บ เสื้ อ เชิ้ ต ตั ว ในจี บ ระบายช่วงคอ เพื่อคงไว้ซึ่งความเซ็กซี่ หรูหราแบบผู้หญิง จนกระทั่งถูกเรียก ว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่ของ Little Black Dress ที่สาวสังคมยุคนั้นล้วนเลือกใส่ ออกงานกาล่า ซึ่งจากนั้นมาวงการ แฟชั่นก็เริ่มตื่นตัวที่จะใช้เสื้อแจ็คเก็ต สูทแบบผู้ชายมาใช้ในการแต่งกายของ ผู้หญิงมากขึ้น ในช่วง 1960-1970 แคทเธอรีน เดอเนิฟกล่าวถึงชุดที่เธอยกให้เป็นชุด โปรดของ YSL ว่า “พอได้ใส่แล้วความ รูส้ กึ คุณจะเปลีย่ นไปเลย ไม่ใช่แค่ความ รูส้ กึ อย่างเดียว เพราะท่วงท่าของผูห้ ญิง ที่ใส่สูทก็เปลี่ยนไปเช่นกัน การเอามือ ล้วงกระเป๋ากางเกง การหยิบของจาก กระเป๋าด้านในเสื้อสูทล้วนสร้างพลัง” หนังสือพิมพ์ The New York Times

ถึงกับตีพิมพ์บทความว่า “Saint Laurent น�ำลุคของเดียทริช กลับมาชุบชีวติ ใหม่ในปารีสแล้ว” ปลายยุค 60 André Courrèges ดีไซเนอร์ชาวฝรัง่ เศสได้แนะน�ำกางเกง ขายาวส�ำหรับผู้หญิงให้เป็นแฟชั่นไอ เท็ม จากนัน้ แพ้นท์สทู ค่อยๆ กลายมา เป็นที่ยอมรับในหมู่นักธุรกิจหญิง การใช้งานของเสื้อผ้าเหล่านี้แพร่ หลายอย่ า งกว้ า งขวางในปี 1970 เป็นการเพราะการต่อสู้ดิ้นรนส�ำหรับ สิทธิสตรี การกีฬา จากสหรัฐฯ โดย เฉพาะอย่างยิ่งการใส่ยีนส์ เพราะสิ่ง ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับมนุษย์ คือเสรีภาพ ในการเลือก ไม่แน่ว่านี่อาจจะเป็นนัย ยะหนึง่ ก็ได้ทใี่ นภายภาคหน้าผูช้ ายอาจ หันมาสวมใส่กระโปรงกันบ้าง เบียนกา แจ็กเกอร์ (Bianca Jagger) อดี ต ภรรยาของร็ อ คสตาร์ ใ น ต� ำ นานอย่ า งมิ ค แจ็ ก เกอร์ (Mick Jagger) แห่ง Rolling Stones เธอเป็น ทั้งนางแบบ นักแสดง ทนายความด้าน

สังคมและสิทธิมนุษยชน แต่สงิ่ ทีเ่ ด็ดไม่ แพ้ความสามารถด้านการงานของเธอ คือเซนส์ทางแฟชัน่ ทีก่ นิ ขาด ตัง้ แต่ตอน ที่เธอสวมพาวเวอร์สูทสีขาวของ อีฟ แซงต์ โลรองต์ กับหมวกปีกกว้างทีม่ ผี า้ คลุมบางๆ และกระโปรงยาวสีขาว ใน งานแต่งของเธอกับมิค เท่านี้ก็การันตี ความสามารถด้านสไตลิ่งของเธอได้ แล้ว เบียนกาชอบสวมแพ้นท์สูท โดย เฉพาะสู ท เบลเซอร์ กั บ กางเกง สแล็กสีขาวทั้งชุด ในปี 1975 นิ ต ยสาร Vogue ประเทศฝรัง่ เศสได้มอบหมายให้เฮลมุท นิวตัน (Helmut Newton) ถ่ายภาพ โฆษณาให้กับอีฟ แซงต์ โลรองต์ ด้วย การน�ำเสนอผ่านแบบผู้หญิงในชุดสูท Le Smoking ผม slick back ยืนสูบบุหรี่ ท่ามกลางกรุงปารีส เขาตั้งใจที่จะน�ำ เสนอถึงความแข็งแกร่งของสตรีเพศ เพราะเสน่ห์ที่เย้ายวนใจของสตรีเพศ นั้นคือพลังและอ�ำนาจที่คุณจะเห็นได้ เสมอในภาพถ่ายของเขา

49


Diane Keaton, 1926

ผูห้ ญิงได้รบั การน�ำวัตถุดบิ เสือ้ ผ้า บุรุษ เนคไท และกีฬามาเป็นส่วน ส� ำ คั ญ ในเสื้ อ ผ้ า ผู ้ ห ญิ ง ในวิ ธี ที่ ซับซ้อนและลบช่องว่างระหว่างวัย แรง บันดาลใจส�ำคัญจากภาพยนตร์เรื่อง Annie Hall (1977) ซึ่งน�ำแสดงโดย ไดแอน คี ตั น (Diane Keaton) ยูนิฟอร์มของคีตันเกือบตลอดทั้งเรื่อง คือเสือ้ เชิต้ ขาว สวมทับด้วยเสือ้ กัก๊ ผูก เนกไท ใส่กับกางเกงชิโน นิตยสาร Rolling Stones ถึงกับยกให้เธอเป็น The Next Katharine Hepburn ท�ำให้ หญิ ง สาวทุ ก คนต้ อ งการที่ จ ะจู ่ โ จม ตู ้ เ สื้ อ ผ้ า ของแฟนหนุ ่ ม เป็ น แหล่ ง ชอปปิ้งแห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันนี้แฟชั่น ไอเท็มสุดคลาสสิกนี้ได้ขึ้นไปเฉิดฉาย บนรั น เวย์ แ ละงานพรมแดงเป็ น ที่ เรียบร้อยแล้ว เมื่ อ Giorgio Armani ปรั บ แจ็คเก็ตสูทไหล่หนาสไตล์ 1980 ให้ โมเดิรน์ ขึน้ ด้วยช่วงไหล่ทซี่ อฟต์ลงและ ช่วงเอวที่เข้ารูปดูเป็นผู้หญิงมากขึ้น สูทของอาร์มานี่กลายเป็นยูนิฟอร์ม ของ Jodie Foster เกือบตลอดทั้งยุค 1990 ตั้งแต่เธอสวมมันเล่นบท Clarice ต�ำรวจ FBI ในเรื่อง The Silence of the Lambs จนกระทั่ ง ในงาน ประกาศรางวัลออสการ์ปีต่อมาเธอ

50

Julie Andrews, 1982

ก็ยังเลือกจะสวมสูทอาร์มานี่สีออฟ ไวท์ ขึ้ น เวที รั บ รางวั ล นั ก แสดง น�ำหญิงยอดเยี่ยม ในปี 1982 จูลี่ แอนดริวส์ (Julie Andrews) สวมบทบาทตัวละครผูช้ าย ที่ต้องแสร้งท�ำเป็นผู้หญิง เธอสวมสูท ทักซิโด้ในภาพยนตร์เรื่อง Victor Victoria โดย Blake Edwards สไตล์แมสคิวลีนได้กลับมาพูดถึง อีกครัง้ ในปี 1983 ด้วยภาพลักษณ์ของ แอนนี่ เลนน็อกซ์ (Annie Lennox) นัก ร้องน�ำของวง Eurythmics ด้วยลุคผม สั้นกุดโกรกสีส้มแดง และริมฝีปากสี แดงที่กลายเป็นซิคเนเจอร์ของ เธอ รวมถึงแพ้นท์สทู สีดำ� เนคไท และเสื้อเชิ้ตขาว ประกอบกับ เทรนด์จากฝัง่ ญีป่ นุ่ ทีป่ ฏิเสธผู้ หญิงสวยเพอร์เฟ็ค ในยุคนี้ เราจึงได้เห็นผูห้ ญิงในสไตล์ ทอมบอยกั น มาก ในปี 2013 คอลเลคชั่ น สปริ ง ซัมเมอร์ของ Jean Paul Gaultier ได้นำ� แรงบันดาล จากสไตล์ของแอนนี่ เลนน็ อกซ์มาใช้ในคอลเลคชั่นนี้ ในปี 1989 มาดอนนา (Madonna) เจ้าแม่เพลงป๊ อบเปลี่ยนลุคให้ดูขรึมและ

Madonna, 1989

เป็นผู้ชายมากกับสูทและรองเท้าบูท แต่ ยั ง ไม่ ทิ้ ง ลายความเซ็ ก ซี่ แ บบ โผงผางกับบทเพลง Express Yourself มาดอนน่าถือเป็นเทรนด์เซ็ตเตอร์แห่ง ยุค ไม่ว่าเธอจะหยิบจับอะไรมาสวม ใส่ วั น รุ ่ น ก็ พ ากั น เลี ย นแบบกั น จ้าละหวั่น ผลกระทบจากเพลงและ การครอบง�ำวัฒนธรรมของมาดอนนา เนื้อเพลงยังแสดงออกถึงความรู้สึก ของอ�ำนาจในตัวผู้หญิง ความรักของ วัยรุ่น ความเท่าเทียมทางเพศ และ ความเป็นตัวของตัวเอง การผสมผสานระหว่างความเท่ ของชายหนุ่มกับความเป็นผู้หญิงนั้น คือ หัวใจของยุค 1990 เข้าสู่ยุคโพสโมเดิร์น “ไม่ใช่เป็น เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทาง แฟชั่นเท่านั้น แต่มันคือการ เปลี่ยนแปลงด้านจิตใจด้วย” คาร์ล เลเกอร์เฟลด์ดีไซเนอร์ แห่งแบรนด์ชาแนลกล่าว นิ ต ยสาร Vogue ได้ ประกาศว่าการแต่งตัวจัดเต็ม ในยุ ค นี้ เ ป็ น อะไรที่ เ ชยมาก การแต่ ง ตั ว ที่ ไ ม่ ต ้ อ งอาศั ย ความเป๊ะ แต่รู้จักที่จะเลือก มิ ก ซ์ แ อนด์ แ มชคื อ สิ่ ง ที่ อินเทรนด์มากกว่า


“POWER DRESSING IN LITERAL SENSE IS TO DRESS POWERFULLY.” มาถึงในยุคทีแ่ ฟชัน่ เปลีย่ นแปลงตลอดเวลาและ ดีไซเนอร์ผุดขึ้นมากันแทบจะนับวินาทีได้ เสื้อผ้า สไตล์ทอมบอยก็ไม่ใช่เรือ่ งของการแหกกฎ เป็นขบถ หรือเป็นสิ่งใหม่อีกแล้ว แต่มันถูกใช้เพื่อสื่อถึงตัวตน ของผู้เลือกสวม ไม่ว่าจะเป็นสูท แจ็กเกต เสื้อเชิ้ต ยีนส์ สเวตเตอร์ หรือ อะไรก็ตามที่เราอาจจะลืมไป แล้วว่าความจริงมันมีที่มาจากเสื้อผ้าของผู้ชาย ผูห้ ญิงในชุดทักซิโด้หรือสูทเนีย้ บๆ สักตัว กลาย เป็นหนึ่งในลุคคลาสสิคและมีเสน่ห์ส�ำหรับผู้หญิงไป แล้ว อีกทั้งยังเป็นลุคที่ให้ความมั่นใจ อย่างครั้งเมื่อ ปี 2009 ที่กวินเน็ท พัลโทรว(Gwyneth Paltrow) ใส่ ชุดทักซิโด้สีแดงก�ำมะหยี่กับการปรากฏตัวครั้งแรก ต่อสาธารณชนกับคอลเลคชั่นของกุชชี่ (Gucci) ทักซิโด้มีความควาสสิคด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง คือ เมือ่ คุณต้องการอะไรทีเ่ รียบง่ายและมีความแมนแฝง อยู่ด้วยแล้วละก็ สูทคือค�ำตอบที่ใช่ มันอาจจะไม่ ได้ค่อนไปทางผู้ชายเลยหรือผู้หญิงไปเลย แต่มันก็ สวยงามได้ในแบบผู้หญิง อาจจะใส่เครื่องประดับ เล็กๆ น้อยๆ เช่น ต่างหูเพชรหรือก�ำไลวิบวับก็เพียง พอแล้ ว ที่ ส� ำ คั ญ ควรใส่ คู ่ กั บ รองเท้ า ส้ น สู ง เพื่อบุคลิกที่ดี อิทธิพลจากสไตล์เสือ้ ผ้าผูช้ ายบนรันเวย์แข็งแรง ขึน้ มากกว่าแต่กอ่ น สิง่ ทีน่ า่ สนใจหนึง่ จากแฟชัน่ โชว์ ของวินเทอร์คอลเล็กชั่น Salvatore Ferragamo ใน ปี 2011 ที่บาลานซ์เอาความ masculine feminine ได้อย่างพอเหมาะ ด้วยเสือ้ เชิต้ ผ้าโปร่งกระโปรงทรง ดินสอ ภายใต้แจ็คเก็ตเสริมไหล่ การไล่เฉดสีจากด�ำ

ไปขาวประกอบเอฟเฟ็กทีโ่ ดดเด่นด้วย houndstooth pattern ซึ่งต้องการสื่อถึงแถบตะวันออกของสก๊อต แลนด์ รวมทั้งคอมบิเนชั่นที่แข็งแรงมากระหว่าง สีขาวกับสีด�ำ ลุคสาวสไตล์ทอมบอยฮอตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งใน แวดวงแฟชั่นและฮอลลีวูด ดาราที่ถนัดเล่นลุคนี้เลย ได้ผลพลอยได้ไปด้วย “สไตล์ทอมบอยเป็นสไตล์ที่ แต่งสนุก ดูอย่างกางเกงทักซิโด้ขาวตัวนี้ที่ฉันใส่อยู่ ถึงแม้มนั จะดูแมนแต่กไ็ ม่ได้ทำ� ให้ฉนั รูส้ กึ เป็นผูห้ ญิง น้อยลง แถมแมตช์กับอะไรก็ง่าย ใส่กับเสื้อยืดก็ยัง ดูหรูได้” Rita Ora สตาร์คนล่าสุดในวงการบริตป๊อป ให้สัมภาษณ์ถึงชิ้นแมสคิวลิีนชิ้นโปรด ส่วนชิ้นโปรด ของอีกหนึง่ ทอมบอยสไตล์ไอคอนแห่งทศวรรษนีอ้ ย่า งอเล็กซ่า ชุง (Alexa Chung) กลับเป็นเสื้อสเวต เตอร์คอวี หันมามองนักร้องสาวที่มีลุคประจ�ำตัวใน สไตล์แมสคิวลีน จาเนลล์ โมเนต์ (Janelle Monae) เธอมีสไตล์ส่วนตัวที่น่าจดจ�ำ โมเน่ให้สัมภาษณ์ใน นิตยสาร Essence ว่าท�ำไมเธอถึงได้เลือกสไตล์หลัก ของเธอเป็นสไตล์สุขุม เคร่งขรึม “มันเป็นความ พยายามของเธอทีจ่ ะจ�ำกัดความของค�ำว่าเซ็กซีใ่ หม่ และอะไรคือความหมายของผู้หญิงอย่างแท้จริง ส�ำหรับฉันการเผยให้เห็นเรือนร่างไม่ใช่วิธีที่ท�ำให้ผู้ หญิงดูเซ็กซี”่ และเธอยังบอกอีกว่า“ฉันชอบกระโปรง และเดรสเหมือนผู้หญิงทั่วๆไป แต่ฉันมีสารส�ำคัญที่ ฉันต้องการสื่อมันออกมาให้คนและวัยรุ่นได้รู้ว่า มัน ยังมีวิธีอื่นๆ อีกนะที่สามารถท�ำให้ผู้หญิงดูดี”

51


TILDA SWINTON

STELLA MCCARTNEY

JESSICA BIEL

ALEXA CHUNG

KATE MOSS

52


ในปี 2010/11 เป็นซีซนั่ ทีเ่ ราจะเห็นได้สไตล์ทอมบอย ตามจอภาพยนตร์กลับมาอีกครั้ง เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ภาพยนตร์ปัจจุบันนี้ก็ยังคงได้รับอิทธิพลมาจากสไตล์ ไอคอนในอดีตทีย่ กให้ androgynous look เป็นสไตล์เด่น ของพวกเขา ลองนึกถึง Annette Bening ในภาพยนตร์ The Kids Are All Right (2010) ที่เธอสวมแพ้นท์สูท สีน�้ำเงินลายดอก หรือจะเป็นอย่าง Catherine Deneuve ในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ Potiche (2010) เธอสวมสูทสีขาวและเสือ้ เชือ้ สีฟา้ Tilda Swinton ในชุดเสื้อเชิ้ตสีฟ้าอ่อน กางเกงขา ยาวสีสม้ และรองเท้าหนังส้นเตีย้ ในภาพยนตร์ เรื่อง I Am Love (2009) ยกตั ว อย่ า ง แบรนด์ ที่ ขึ้ น ชื่ อ ว่ า คลาสสิกและมีความ feminine สูงใน คอลเลคชั่นวินเทอร์ของ Ralph Lauren ปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงที่ เทรนด์ Androgny ก�ำลังมาแรง Ralph Lauren ได้แรงบันดาลใจ การออกแบบมาจากมาร์ลนี เดียทริช ดารายุคฟิล์มขาวด�ำผู้เป็น ไอคอนต้ น ฉบั บ ของแฟชั่ น Androgyny ส�ำหรับซิกเนเจอร์ของ Ralph Lauren ที่เคียงคู่แบรนด์นี้มาตลอด นั่นคือความ “Classic American” เสื้อผ้าแบรนด์นี้จะเน้นความเรียบ หรู วินเทจ โดยยังสามารถประยุกต์ ไปตามเทรนด์ต่างๆในแต่ละซีซั่น ไ ด ้ ชุ ด ที่ เ ป ็ น ไ ฮ ไ ล ท ์ ข อ ง คอลเล็กชั่นนี้คือ สูทด�ำทับเชิทขาว ตบด้วยหมวกโบราณสไตล์ยุค 20s โดยมีเรเฟอร์เรนซ์จากคลาสสิกไอคอนอย่างเดียทริชและใส่ความ

เฟมินนี ด้วยเนือ้ ผ้าซาตินมันวาวเหมือนเนือ้ เดรส สูททีต่ ดั เข้ารูป และเน้นเอวและส่วนเว้าส่วนโค้งของร่างกายผูห้ ญิง เป็นที่รู้กันดีว่า Stella McCartney เธอรักในสไตล์ ทอมบอย เบลเซอร์คลาสสิกคัตติ้งเนี้ยบหรือสูทโมเดิร์น สักตัวคือ signature style ของเธอ “ฉันชอบที่จะเล่นกับ ความเป็นผู้ชายและผู้หญิงบนเสื้อผ้า และหาวิธีทำ� ให้ มันเก๋อยู่เสมอ” Stella MacCartney กล่าว ในทุกๆ ซีซั่นของ Stella MacCartney อย่างน้อยจะต้อง แพ้นท์สูทรวมอยู่ด้วยเสมอ อย่างในคอลเล็กชั่นข อง Stella McCartney Resort 2013 เธอ ได้หยิบเอาสไตล์แมสคิวลีนรวมกับน�ำ กลิน่ อายของยุคเซเวนตีม้ าออกแบบใน ซี ซั่ น นี้ เช่ น สู ท คั ต ติ้ ง เนี้ ย บคู ่ กั บ กางเกงขากว้าง พาวเวอร์สูทลาย สก๊อตสไตล์เรทโทร สูทโอเวอร์ไซส์ และเดรสเนื้อผ้าบางเบา คือไฮไลท์ ของคอลเล็กชั่นนี้ ค�ำถามมีอยู่ว่า เราควรจะเรียก สไตล์ของหญิงแท้ในศตวรรษที่ 21 ที่ อยู่ในเสื้อผ้าผู้ชายขณะที่ผู้ชายจริงๆ ในชัว่ โมงนีก้ �ำลังเอ็นจอยกับเสื้อผ้าชิ้น ประจ�ำของผู้หญิงว่าอย่างไร? โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองดูความเป็น จริงที่เกิดขึ้นกับเทรนด์แฟชั่นจาก คอลเล็กชั่นของทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในช่วงหลังๆ มานี้ ชัดเจนว่าสิ่งที่ แปลกแยกซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับการจ�ำกัด ความเอาไว้ชัดเจนอย่าง Androgyny ไม่ใช่ สิง่ ทีป่ ระหลาดล�ำ้ ทีด่ แู ล้วขัดหูขดั ตากระทัง่ ต้ อ งถู ก หยิ บ ยกมาวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ กันอีกต่อไป

53


POWER DRESSING FOR WOMEN ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้หญิงนำ�เสนอ ลุคใหม่ๆ ด้วยพาวเวอร์สูท ตั้งแต่ชุด ทำ�งานแบบทางการ หรือเปลี่ยนให้ กลายเป็นชุดไปเที่ยวหรือไปงานปาร์ต้ี จนบางทีอาจไม่มีใครได้ทันสังเกตเห็น ว่าคุณใส่ชุดเดิมอยู่

สำ�หรับวันสบายๆ มิกซ์ แอนด์ แมทช์เสื้อสูทกับ กางเกงขาสัน้ ด้านในอาจจะใส่เสือ้ ยืดลายกราฟิก เท่านี้ก็เพื่อเนรมิตชุดใหม่ให้สวยอย่างลงตัว ในวันทีค่ ณุ ต้องการความเป็นทางการ คุณอาจจะ ใส่ชุดพาวเวอร์สูทสีเข้ม ติดกระดุม และรองเท้า ส้นสูง เสื้อด้านในอาจจะเป็นเสื้อเชิ้ตติดกระดุม คอ หรืออาจจะเป็นเสือ้ ทีม่ รี ะบาย peplum ก็เพิม่ ความมั่นใจได้เช่นกัน ลองใส่ แ จ็ ค เก็ ต สู ท กั บ เดรสยาว เลกกิ้ ง หรื อ ยูนิทาร์ด (ชุดรัดรูปแนบเนื้อ) เพื่อเปลี่ยนลุคให้ คุณกลายเป็นสาวแฟชั่น นอกจากนี้เลือกกางเกง ต่างๆ เช่น กางเกงขากว้าง กางเกงยีนส์ หรือ เพิ่มแอคเซสซอรี่อย่างหมวก หรือแว่นตาเข้าไปก็ สร้างลุคใหม่ๆ ให้กับคุณได้เช่นกัน



56


Fashions Fade Style is Eternal. -YVES SAINT LAURENT

57


58


not was fas hion dt hat eve

. confident e them m, giv

beli

he

et

alw ays

ta lso to

sur

I

bu

s rea

e

hav

l, fu

ly

on

women more be au ke a ti m to

BLACK LE SMOKING BLACK POLYESTER LE SMOKKING SUIT 59


boy meets girl BLUE SCOTTE PANTSUITS/ WITH OVERSIZED WHITE T-SHIRT/

60


RIGHT : BLACK POLYESTER LE SMOKING SUIT

61


It’s

blitz

FLLORAL PRINTED BLAZER WITH SHOULDER PADDED/ WHITE T-SHIRT/ WHITE LACE FLARED PANTS


PHOTOGRAPHER : SURASAK ITTIRIT CLOTHES : POEM @ SIAM SQUARE / KAM TAPICHA(RUNGSIT THESIS)/ NOOK SUPASIRI (SILPAKORN THESIS) / STYLIST’S OWN STYLING : P’AE / MENISA NIPHAWAN 63


64


65


DIRECTOR : RANDAL KLEISER STARRING : JOHN TRAVOLTA, OLIVIA NEWTON COSTUME DESIGNER : TRAVIS BANTON


Grease มีตน้ แบบจากมิวสิคลั ในปี 1971 ก่อนทีจ่ ะมาเป็นหนังเพลงยอดนิยม โปรดักชั่นบรอดเวย์ ประสบความ ส�ำเร็จจนต้องน�ำกลับมารีเมคกันหลายครั้ง จนถึงปัจจุบัน เพลงหลายเพลงใน Grease เป็นที่รู้จักกันดี เช่น Grease, Summer Night หรือ You’re the one that I want หนังเพลงครองความนิยมอย่าง ต่อเนือ่ งด้วยรูปแบบการน�ำเสนอทีแ่ ทบไม่ได้เปลีย่ นแปลงไปจากเดิม ไม่วา่ จะเป็น เนื้อหาที่บางเบา พูดถึงความสวยงามเพ้อฝัน เพลงไพเราะ ฉากเต้นร�ำโชว์ความ สามารถของดารา รวมไปถึงงานด้านภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ ภาพยนตร์เรื่อง Grease เป็นเรื่องราวชีวิตรักวัยรุ่นของโรงเรียนมัธยมแห่ง หนึ่ง ในชั้นปีสุดท้ายที่ประกอบด้วยแก๊งทีเบิร์ดขาโจ๋ตัวป่วนประจ�ำโรงเรียนที่มี แดนนี่ ซูโก้ น�ำแสดงโดยจอห์น ทราโวลต้าสังกัดอยู่ ส่วนอีกกลุ่มเป็นพวกสาวๆ ภายใต้ชอื่ ว่าพิงค์เลดีส้ ์ ทีก่ ำ� ลังมีสมาชิกใหม่คอื แซนดี้ หรือโอลิเวีย นิวตัน จอห์น สาวน้อยวัยใสแต่แสนจะเรียบร้อย ไม่เคยสูบบุหรี่ ไม่เกเรหรือท�ำตัวแย่ๆ เนือ้ เรือ่ ง โดยรวมของหนังบ่งบอกถึงผูค้ นทีม่ าจากหลากหลายสถานที่ หลากหลายเชือ้ ชาติ แต่ทุกคนมีความปรารถนาเดียวกัน มีความเชื่อเดียวกัน แต่ละยุคสมัย วัยรุ่นก็มักจะมีภาพยนตร์มิวสิคัลที่เป็นเหมือนตัวแทนของวัย รุ่น ณ ขณะนั้นอยู่เสมอ ๆ อย่างเช่นในยุคนี้ก็อาจจะเป็น High School Musical (2006) ของทางดิสนีย่ ์ หรือถ้าโตขึน้ มาหน่อยก็เป็น Moulin Rouge (2001) กระเถิบ ออกไปอีกก็เป็น Flash Dance (1983) แต่ถ้าจะให้ดี หากย้อนไปในยุคเซเวนตี้ คงหนีไปพ้นภาพยนตร์เรือ่ ง Grease ภาพยนตร์มวิ สิคลั ทีท่ ำ� ให้ จอห์น ทราโวลต้า กับ โอลิเวีย นิวตัน จอห์น คือไอดอลแห่งโลกฮอลลีวู้ด ภาพยนตร์เรื่อง Grease จัดเป็นตัวแทนที่พูดถึงการหลากเข้ามาของ วัฒนธรรมแบบแก๊งสเตอร์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่นฝั่งอเมริกา อิทธิพล ของหนุม่ สาวทีต่ อ้ งการแยกตัวออกมาจากวัฒนธรรมสายหลัก แฟชัน่ วัยรุน่ และ ความบ้าคลัง่ ตามสมัยนิยมต่างเข้ามามีบทบาทส�ำคัญกับอุตสาหกรรมเครือ่ งแต่ง กาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ดนตรีร็อกแอนโรลขึ้นสู่จุดพีค รวมถึงเป็นยุคทอง ของหนังเพลง

67


The Seventie’s

POP STAR หนุ่มผู้มีหัวใจของนักแสดงอย่างเต็มเปี่ยม ที่สามารถ เล่นได้ทุกบทบาทคนนี้ คือ จอห์น ทราโวลต้า เสน่ห์ อันเหลือร้ายและลีลาการเต้นผนวกกับความก๋ากั่นใน แบบฉบับของเขา โดดเด่นจนเป็นที่สะดุดตาและกลาย เป็นที่จดจ�ำของตลอดมา

จอห์น ทราโวลต้าเริม่ เข้าสูเ่ ส้น ทางการแสดงตั้งแต่อายุ 12 ปี กับ การร่วมแสดงละครเวทีและละคร เพลงท้องถิ่น และยังได้เรียนการ เต้นแท๊ปจากเฟร็ด เคลลี่ เมื่อเขา อายุได้ 16 ปี เขาตัดสินใจลาออก จากไฮสคูลแล้วมุง่ สูแ่ มนฮัตตันเพือ่ เล่นละครบรอดเวย์เรื่องแรก คือ Rain(1972) จากนั้นเขาก็ได้รับ เลือกให้เล่นเป็นตัวประกอบในหนัง อยู่เรื่อยๆ และในปีเดียวกันนั้นเอง เขาได้รับบท วินนี่ บาร์บาริโน่ ใน ละครโทรทัศน์เบาสมองเรื่อง Welcome Back, Kotter ซึง่ นับเป็นก้าว แรกของความสำ�เร็จของเขา ในปี 1977 จอห์ น ทรา โวลต้ า รั บ บทบาทเป็ น Tony Manero ในภาพยนตร์ เ รื่ อ ง Saturday Night Fever บทวัยรุ่น อายุ 19 ปี ที่ ใ ช้ เ วลาวั น หยุ ด สุ ด สัปดาห์ของเขาเต้นและเพลิดเพลิน

68

กับตัวเอง ช่วยให้เขาลืมความเป็น จริ ง ชั่ ว คราวที่ โ หดร้ า ยในชี วิ ต ภาพยนตร์ประสบความ สำ�เร็จใน เชิงพาณิชย์และถูกมองว่าเป็นหนึ่ง ในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของของเขา เรื่องหนึ่ง หลังจากที่ Saturday Night Fever หนังดิสโก้ท่ามกลางสีสัน ชีวิตราตรีในมหานครนิวยอร์ก ส่ง ให้เขาโด่งดังเป็นพลุแตก และยังส่ง ผ ล ใ ห้ เขาได้ รั บ รางวัล ออสการ์ เ ป็ น ครั้งแรก

ตลอดจนกลายเป็นขวัญใจแห่งยุค นั้น หนังเรื่องนี้ก็คือเครื่องตอกย้ำ� ความเป็นซูเปอร์สตาร์ของ จอห์น ทราโวลตร้าให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ในปี ถัดมา เขาแสดงนำ�ในภาพยนตร์ เรื่อง Grease ภาพยนตร์เรื่องนี้ สามารถทำ�เงินได้สงู กว่า Saturday Night Fever เสียอีก “มันไม่ง่ายเลยสำ�หรับเรื่องนี้ เพราะผมไม่เคยเล่น 50’s dude on screen มาก่ อ น ผมคิ ด ว่ า ผม จำ�เป็นที่จะต้องคิดเยอะเกี่ยวกับ ตั้งแต่ผมเกิด ผมหมายถึงท่าทางที่ แสดงออกจะต้องแตกต่าง” จอห์น ทราโวลต้ากล่าว สิ่ ง ที่ ทำ�ให้ ภ าพยนตร์ เ รื่ อ งนี้ ประสบความสำ�เร็จ อาจจะเป็น เพราะ ภาพลักษณ์อันเต็มไปด้วย เสน่ ห์ ข องจอห์ น ภายใต้ เ สื้ อ ผ้ า ที่ สวมใส่และความมั่นใจในการเต้น ที่ทำ�ให้คนดูรู้สึกตะลึง


Hopelessly

Grease Devoted to

ขึ้นชื่อว่า “มิวสิคัล” แล้ว ส่วนส�ำคัญในการเดินเรื่องคงจะหนีไม่พ้น “เพลง” ซึ่ง ซาวนด์แทร็กของหนังเรื่องนี้ก็ทยอยขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ทเพลงฮิตของหลายประเทศ “You’re the one that I want” เพลงประกอบที่เปิดตัวช่วงเดียวกับหนังได้รับความนิยมในชั่วข้ามคืน

เพลง Summer Nights เป็นเพลง ประกอบภาพยนตร์เรื่อง Grease (แต่งโดย จิม จาค๊อปและวอเรน เคซี่ย์) เรื่องราวของ หนุ่มมัธยม แดนนี่ ซึ่งได้พบกับสาวชาว ออสเตรเลีย แซนดี้ ที่ชายหาด ทั้งสองเกิด ตกหลุมรัก วันหนึ่งแซนดี้ต้องกลับประเทศ แต่ไปๆ มาๆ เธอไม่ได้กลับและกลายเป็น นั ก เรี ย นแลกเปลี่ ย นของโรงเรี ย นมั ธ ยม แห่งนี้ไป หลังจากนั้น เธอก็ได้เป็นเพื่อนกับ กลุม่ นักเรียนหญิงกลุม่ หนึง่ เข้า ความรักของ จอห์น ทราโวลต้าและโอลิเวีย นิวตัน จอห์น เริ่มเป็นที่รับรู้ไปทั่วโรงเรียน รวมทั้งอุปสรรค ต่างๆมากมายทีม่ ผี ลกระทบกับความรักของ คนทัง้ คู่ ทัง้ จากคนในกลุม่ ของเธอและแก๊งค์ คู่อริอีกด้วย แล้วอย่างนี้ ความรักของคน ทั้งสองจะลงเอยแฮปปี้เอนดิ้งได้หรือไม่ Hopelessly devoted to you กลายเป็น เพลงป๊อบที่ไต่ถึงอันดับสามของบิลบอร์ด

หลังจากหนังเพลงเรื่อง Grease ออกฉายดัง เปรี้ยงปร้างในปี 1978 และยังได้เข้าชิง ออสการ์เพลงยอดเยี่ยมในปีนั้นด้วย ด้วยการถูกจัดว่าอยูใ่ นประเภทหนังเพลง อัลบั้มซาวนด์แทรคของ กรีส จึงขนบทเพลง กว่า 22 เพลง จากศิลปินมากหน้าหลายตา มารวมไว้ดว้ ยกัน มีทงั้ น�ำเพลงเก่ามาบรรเลง ใหม่ไปจนถึงเพลงใหม่ที่แต่งขึ้นมาส�ำหรับ หนังเรื่องนี้ สิ่งที่ส�ำคัญของหนังเพลงก็คือ การน�ำบทเพลงแต่ละเพลงมาช่วยในการเล่า เรือ่ งตามท้องเรือ่ งถือเป็นฟังก์ชนั่ หนึง่ ของบท เพลงนั้นๆ กรีสสามารถท�ำได้ดีเนื่องจาก สไตล์ของหนังเพลงเต้นร�ำถูกท�ำให้มีความ ง่ายในการสร้างความตื่นตาตื่นใจด้วยสีสัน แฟชั่น ย้อนอดีตและการออกแบบท่า เต้น ต่างๆ ไปพร้อมกับท่วงท�ำนองเพลงทีไ่ พเราะ ช่วยเกื้อหนุนกันอย่างชนิดที่ไม่ยิ่งหย่อนไป กว่ากันเลย

69


BACK TO

Elvis era

เรนดัล คลัยเซอร์ โอลิเวีย นิวตัน จอห์น และจอห์น ทราโวต้าร่วมงาน ในภาพยนตร์เรื่อง Grease(1978)

70

ไม่น่าเชื่อว่าคอสตูมดีไซเนอร์ของ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นผู้ชายและเป็น ชาวฝรั่งเศส อัลเบิร์ต โวลสกี้ (Albert Wolsky) เนรมิ ต ให้ นั ก แสดงทุ ก คน กลายเป็นวัยรุ่นยุค 50 อบอวลไปด้วย บรรยากาศของร็อกแอนโรล เสือ้ ผ้าหน้า ผมในภาพยนตร์เรื่องนี้น่าทึ่งพอๆกับ เ พ ล ง แ ล ะ ค า แ ร็ ก เ ต อ ร ์ ข อ ง ตั ว ละครในเรื่อง ในตอนแรกโวลสกีต้ งั้ ใจท�ำคอสตูม เรื่องนี้ให้อยู่บนพื้นฐานความจริงมาก ที่สุด แต่ผู้กำ� กับต้องการสีสันมากกว่า นั้น เขาหยุดไปชั่วขณะแล้วคิดดูว่า ตัว ละครทุกตัวล้วนแล้วแต่เป็นนักเรียนไฮ สคูล ซึ่งเป็นวัยของความสดใส ดังนั้น ถ้าเขาจะมานั่งท�ำอะไรให้สมจริงมันก็ คงน่าเบื่อเกินไป มันควรจะใส่ความ

สนุกไปได้มากกว่านี้ แล้วเขาก็จดั ให้จริงๆ แต่ทงั้ นีย้ งั อยู่ ในภาพสะท้อนของสีสันในมู้ดแอนโทน ส�ำหรับแก๊งพิงค์เลดีแ้ ละแก๊งทีเบิรด์ นัน่ คือสีดำ� และสีชมพู ในแง่ของเครือ่ งแต่ง กาย ตัวละครของแซนดี้ เธอคือผู้หญิง ทีเ่ พียบพร้อม ไร้เดียงสา เสือ้ ผ้าของเธอ จึ ง ออกมาในโทนสี พ าสเทลหวานๆ สไตล์ preppy ด้วยสเวตเตอร์ มีการใช้ ซิปตกแต่งและกระโปรง midi pencil skirt ท�ำให้เธอดูเป็นสาวที่เฟมินินสุดๆ ม า ถึ ง ฉ า กจ บ ที่ แ ซ น ดี้ พ ย า ย า ม เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อคนรักของเธอ การเปลี่ ย นแปลงจากสาวเรี ย บร้ อ ย สู่สาวมั่นและเซ็กซี่ เธอสูบบุหรี่ ทาริม ฝีปากแดง ผมตีฟาราห์ สวมรองเท้า


ส้ น สู ง สี แ ดง แจ็ ค เก็ ต หนั ง สี ด� ำ และ กางเกงผ้าสเปนเด็กซ์รัดรูป ท่าทางและ การยั่วยวนของเธอ เปลี่ยนภาพของหญิง สาวเรียบร้อยไปในถนัดตา อีกทัง้ แจ็คเก็ต หนังท�ำให้เธอกลายเป็นสาวร้อนแรงในยุค นั้น จนท�ำให้หนังสือ entertainment weekly ยกให้ เ ป็ น ภาพยนตร์ เ รื่ อ ง Grease เป็น 1 ใน 25 ภาพยนตร์ เมคโอเวอร์ยอดเยี่ยม “ผมก�ำลังสร้างคาแร็คเตอร์ที่ผมคิดว่าเจ๋ง ที่สุดในยุคฟิฟตี้ส์ นั่นคือการเต้นร�ำในจังหวะร็อค แอนด์โรลหรือแจ๊ส (jive dance) ”

นอกจากลุคที่โดดเด่นของฝ่ายหญิง แล้ ว เพลงก็ มี ส ่ ว นสร้ า งสี สั น ให้ กั บ ภาพยนตร์ได้มาก แต่ถ้าหากขาดมาด เท่ๆ ของแดนนี่ หรือจอห์น ทราโวลต้า ไป ก็คงท�ำให้หนังดูจืดชืดมากทีเดียว “ผมก�ำลังสร้างคาแร็คเตอร์ทผี่ มคิดว่าเจ๋ง ที่สุดในยุคฟิฟตี้ส์ นั่นคือการเต้นร�ำในจัง หวะร็อคแอนด์โรลหรือแจ๊ส (jive dance)” จอห์น ทราโวลต้ากล่าว คาแร็กเตอร์ของแดนนีค่ อื ชายหนุม่ ที่ เป็นหัวโจกของแก๊ง ด้วยสไตล์ร็อกแอน โรล ทรงผมแบบเอลวิส เพรสลีย์ เสื้อยืด กางเกงยีนส์ และเสื้อหนัง ส่งเสริมให้เขา กลมกลืนกับชาวกรีสเซอร์ทีเดียว รวมทั้ง ลีลาเต้นอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา ก็ไม่ น่าแปลกใจว่าท�ำไมภาพยนตร์เรื่องนี้จึง ประสบความส�ำเร็จสุดๆ

71


72


ภาพลักษณ์กวนๆในแบบฉบับของจอห์น ทราโวลต้า และชุดเสื้อผ้าหนังสีดำ�สุดเซ็กซี่สำ�หรับผู้ชายคู่กับแก๊งค์ มอเตอร์ไซด์คือจุดขายของภาพยนตร์เรื่อง Grease ในภาพยนตร์คือการนำ�แจ็คเก็ตหนังออกมาใช้นอกรั้ว ทหาร และสร้างภาพที่แตกต่างออกไป กลายเป็นไอเท็มแฟชั่นที่นอกเหนือไปกว่าประโยชน์ใช้สอย โดยทั่วไปแล้วแจ็คเกตแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ

THE THE

BOMBER JACKET

ลักษณะของ Leather bomber jacket แจ็คเก็ตมีปกหลวมๆ ที่ตัวเสื้อจะยาวกว่า Biker jacket มีกระเป๋าใส่ของด้านหน้า และมักจะมีแถบนิตติ้ง (Rib Knit) อยู่ตรง คอเสื้อและแขนเสื้อ ต้นก�ำเนิดมาจาก นั ก บิ น ที่ ต ้ อ งการแจ็ ค เก็ ต ที่ อ บอุ ่ น และ ป้องกันร่างกายจากสภาพอากาศแปรปรวน

BLAZER

Leather Blazer แรงบันดาลใจ ของแจ็​็คเก็ตชนิดนี้มาจากสูทดั้งเดิม ปกเสื้อจะยาว กระเป๋าเสื้อมี ฝาปิดและมีกระดุมแขนเสื้อ

BIKER JACKET

THE

Leather biker jacket ก�ำเนิดมาจาก นักขีม่ อเตอร์ไซค์ ลักษณะแจ็คเก็ตพอดี ตัว ซิปด้านหน้าปาดข้างเล็กน้อย จุด เด่นอยู่ที่ความคงทนและปรับระดับ ความฟิตด้วยซิป มักมีปก 2 ระดับ ส่วน มากที่ บ ่ า จะมี ส ายรั ด ติ ด กระดุ ม ไว้ ส� ำ หรั บ กระชั บ ติ ด สายกระเป๋ า เป้ให้แน่น

73


TIMELINE

of

LEATHER JACKET


เคยมีคนกล่าวไว้ของยิ่งเก่า ยิ่งมีคุณค่า และยิ่งดูดีมีเสน่ห์มากเมื่อ จอห์น ทราโวลต้า ในภาพยนตร์เรื่อง Grease สวมใส่มัน แจ็กเกตหนังยังคงอยู่ในความต้องการทางแฟชั่นอยู่เสมอ และแน่นอนว่าไม่เพียงแค่จอห์น ทราโวลต้าสวม ใส่แจ๊คเก็ตหนังเท่านั้น แต่เป็นเพราะว่าสไตล์ ของแจ็กเก็ตหนังเป็นสไตล์ที่ไม่ทีที่สิ้นสุดต่างหาก

แจ็คเก็ตหนังถือก�ำเนิดมาจาก การผลิ ต เพื่ อ ให้ นั ก บิ น ใส่ ใ นช่ ว ง สงครามโลกครั้งที่ 1 รูปแบบแรกๆ มีขนาดค่อนข้างใหญ่เทอะทะ มักจะ มาคูก่ บั ปกเสือ้ ทีท่ ำ� จากขนแกะ การ ที่ใช้วัสดุหนังเพื่อให้ทหารสามารถ ทนต่ออุณหภูมภิ ายนอกห้องโดยสาร ได้ ปกป้องนักบินจากสภาพอากาศ ทีแ่ ปรปรวน แจ็กเกHตหนังสีน�้ำตาล หรื อ ที่ รู ้ จั ก กั น ในนาม Bomber Jacket ยังคงได้รับความนิยมอย่าง มากตลอดกาล ในเวลาต่อมา Irving และ Jack Schott พวกเขาเริ่มจากการท�ำเสื้อ โค้ทกันฝนขายบนถนนที่เมืองแมน ฮัตตัน ในปี 1913 และเป็นที่นิยม อย่างมากด้วยความชืน่ ชอบ Perfecto Cigar และมอเตอร์ไซค์ ท�ำให้ Irving ต้องการชุดเพือ่ ทีจ่ ะสนองไลฟ์ สไตล์เขาโดยเฉพาะ เขาจึงได้ทำ� เสือ้ แจ็คเก็ตที่มีซิป และเสื้อหนังที่มีซิป ตัวแรกก็ถกู ท�ำออกมาในปี 1928 เขา ได้ตั้งชื่อมันว่า Perfecto และขาย มันให้แก่ HARLEY-DAVIDSON PERFECTO ที่ว่านี้ตัดโดยใช้หนังอย่าง หนาและซิ ปขนาดใหญ่ เ พื่ อ ความ

ทนทานเพียงพอทีจ่ ะป้องกันนักขับขี่ มอเตอร์ ไ ซค์ จ ากเหตุ ก ารณ์ ห รื อ อุบัติเหตุได้ และมันได้กลายมาเป็น ที่นิยมอย่างรวดเร็วท่ามกลางแก๊ง สิงห์นักบิดในปี 1930 และไม่นาน ภาพของ PERFECTO ถูกมองว่าเป็น เครื่องมือที่ใช้ชื่อเสียงทางลบพอๆ กับบรรดานักขีม่ อเตอร์ไซค์ทสี่ วมใส่ มัน แจ็คเก็ตหนังแบรนด์ที่ชื่อเสียง ที่สุดคือ HARLEY-DAVIDSON การ จ�ำหน่ายครัง้ แรก อีกอย่างคือมันเป็น อมตะผ่านอิทธิพลของดาราฮอลลีวดู Marlon Brando จากภาพยนตร์ เรื่อง The Wild One ได้กลายมา เ ป ็ น สั ญ ลั ก ษ ณ ์ ที่ ดี ที่ สุ ด ข อ ง เหล่าแบดบอย ระหว่างทศวรรษที่ 30 แจ็คเก็ต หนังถูกพัฒนาให้แข็งแรงทนทาน มากขึน้ จนกลายมาเป็นตัวเลือกของ แฟชั่นเสื้อชั้นนอกที่ได้รับความนิยม มากในหมู่สิงห์นักบิด อุตสาหกรรมการผลิตแจ็คเก็ต เดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบ และเข้าสู่ ยุครุ่งเรืองกลางยุคฟิฟตี้ แจ็คเก็ต ส�ำหรับนักบินมีอิทธิพลอย่างมาก ของแฟชั่นแจ็คเก็ตหนังในยุคนี้ แต่

WWII U.S. Air Force Squadron in A-2 Bomber Jackets

สไตล์ของ Motorcycle Jacket ก็เริ่มด้วยเช่นกัน The Greaser เป็นวัฒนธรรม กลุ่มย่อยที่เกิดขึ้นในปลายยุค 50 โดยมากวัฒนธรรมที่แปลกแตกต่าง จากที่มีอยู่ในสังคมล้วนเกิดจากวัย รุ่นกบฏกับทุกสิ่งอย่าง พวกเขาได้ เอาแจ็คเก็ตหนังมาเป็นเครื่องแสดง การเข้าสังคม ในปี 1954 แจ็คเก็ต Perfecto เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่ หลายด้วย Marlon Brando แล้ว ยัง ตอกย�้ำความนิยมด้วยนักแสดงชาย มาดเท่เจมส์ ดีน (James Dean) ทีม่ กั จะใส่เสือ้ หนัง PERFECTO เสมอ จนเป็นทีค่ นุ้ ตาเจมส์ ดีน กับคาแร็ก เตอร์ของ Jim Stark ในภาพยนตร์ เรื่อง Rebel Without A Cause ที่ ท�ำให้แจ็คเก็ตหนังสีด�ำทรงนักบินรบ กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้าน สังคมในยุคนี้ ทั้งสองเหมือนมาจุด พลุ ใ ห้ ก ระแสเสื้ อ หนั ง มี ซิ ป แทน ภาพลักษณ์ของความเท่และการมี สไตล์ ถือเป็นสองไอคอนที่ได้รับ ความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่น

Marlon Brando, The Wild One, 1986

The Greaser, 1950

75


Sid Vicious

ในเวลาต่อมาดนตรีรูปแบบใหม่ที่ เรียบง่ายและกราดเกรี้ยวอันมีชื่อว่า พั ง ค์ ร็ อ คได้ ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น ในเมื อ ง นิวยอร์ค และได้แพร่หลายเข้ามาใน ประเทศอังกฤษ จนกลายเป็นเครือ่ งมือ ถ่ า ยทอดความรู ้ สึ ก ต่ อ ต้ า นสั ง คม วัตถุนยิ ม ปลดปล่อยอารมณ์อดั อัน้ ของ คนหนุ ่ ม สาวไร้ ง านท� ำ ในประเทศ อังกฤษ วงดนตรีพังค์ร็อคอังกฤษรุ่น บุกเบิกที่โด่งดังที่สุด เห็นจะได้แก่วง จากกรุ ง ลอนดอนที่ ชื่ อ ว่ า เซ็ ก ซ์ พิสตอลส์ (the Sex Pistols) ทั้งนี้ เนื่ อ งจากพฤติ ก รรมท้ า ทายสถาบั น และต่อต้านสังคมอย่างเปิดเผยของ สมาชิกวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมือกีตาร์ เบสอายุแสนสัน้ ทีช่ อื่ ว่า ซิด วิเชียส ใน ยุคนีด้ นตรีรอ็ คมีอทิ ธิพลต่อแฟชัน่ อย่าง มาก ปี 1960 อีฟ แซงต์ โลรองต์เป็น เจ้าแรกที่ได้แรงบันดาลใจจาก PERFECTO บนรันเวย์ในปี 1960 ในช่วง

76

เวลานี้ เ ราจะเห็ น การกลั่ น ตั ว ของ อเมริ กั น ไบเกอร์ ลุ ค ที่ ทั น สมั ย ใน ประเทศอังกฤษ กลุม่ มอดส์ทงั้ ชายและ หญิงต่างสวมแจ็คเก็ตหนังขี่จักรยาน ยนตร์ขนาดเล็ก(moped) สวมตัวเสื้อ ครอปสั้นขึ้นมา เป็นครั้งแรกที่เสื้อหนัง ได้กลายมาเป็นยูนิฟอร์มของสาวๆ ได้ เป็นอย่างดี ต้นยุคเซเวนตี้ ดนตรีมีการผสม ผสานกั น มากขึ้ น เมื่ อ แนวเพลงยุ ค ก่อนหน้ามาปะทะกับแรงบันดาลใจ ใหม่ รวมถึ ง งานทดลองแปลกใหม่ ผลลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ คื อ กลุ่ ม ดนตรี พั ง ก์ แกล็ม ร็อก และการาจ ยุคของพังก์ ในปี 70 ปะทุขึ้นพร้อมกับความรู้สึก ต่อต้านการสร้างและความปรารถนา เพือ่ ความเป็นอิสระของแต่ละบุคคล ซึง่ แสดงออกใน Patchwork ที่ปกคลุมไป ด้วยแจ็คเก็ตหนัง ช่ ว งเวลาหนึ่ ง ในยุ ค เซเวนตี้ ที่ กระแสพังก์ค่อยๆ ชอนไชขึ้นจากราก

วัฒนธรรมร็อกจากฝัง่ อังกฤษ ดนตรีรปู แบบใหม่สไตล์กราดเกรี้ยวอันมีชื่อว่า พังก์ร็อค(Punk Rock) ได้ถือกำ�เนิดขึ้น ในนิวยอร์ค และได้แพร่หลายเข้ามาใน ประเทศอังกฤษ จนกลายเป็นเครื่อง มือถ่ายทอดความรู้สึกต่อต้านสังคม วัตถุนิยม ปลดปล่อยอารมณ์อัดอั้น ของคนหนุ่มสาวไร้งานทำ�ในประเทศ อังกฤษ วงดนตรีพังค์ร็อคอังกฤษรุ่น บุกเบิกที่โด่งดังที่สุด เห็นจะได้แก่วง จากกรุงลอนดอนที่ชื่อว่า เซ็กซ์ พิส ตอลส์ (the Sex Pistols) ในยุ ค นี้ ด นตรี ร็ อ คมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ แฟชั่นอย่างมาก จนเป็นที่น่าตั้งข้อ สังเกตว่าแนวโน้มเทรนด์แฟชั่นวัยรุ่น ขึน้ อยูก่ บั โลกดนตรีเป็นอันมาก บรรดา หนุ่ ม สาวต่ า งฉกฉวยสไตล์ จ ากการ แสดงดนตรี ช่วงเวลานี้เองที่บรรดานัก ออกแบบแฟชัน่ มักจะพบแรงบันดาลใจ จากสไตล์ที่นักดนตรีร็อก


Cropped Leather Jacket by Versaca, 1986

ในเวลาเดียวกันเจ้าแม่แห่งวงการ ดีไซเนอร์อย่าง Vivien Westwood ดีไซเนอร์สญั ชาติองั กฤษ เธอเป็นคูร่ กั กับ Malcolm McLaren ผู้จัดการวง ดนตรีร็อก เซ็กซ์ พิสตอลส์ ทั้งคู่มี ความตั้งใจร่วมกันที่จะท�ำให้คนทั้ง โลกเข้าใจแฟชั่นพังก์ ด้วยการเปิด ร้ า นเสื้ อ ผ้ า สไตล์ พั ง ค์ ก ลางกรุ ง ลอนดอนในปี 1971 เสื้อผ้าส่วนใหญ่ ท�ำจากหนัง ประดับด้วยหมุด โลหะ โซ่ เครื่องประดับหลายชิ้นถ่ายทอด อารมณ์ แ ละความรุ น แรงในแบบ ซาดิ ส ก์ อย่ า งกุ ญ แจมื อ ใบมี ด ปลอกคอสุ นั ข และโซ่ จั ก รยาน นอกจากนี้แจ็คเก็ต PERFECTO กลับ มาเป็นทีน่ ยิ มอีกครัง้ ในยุค 70 และ 80 โดยกระแสนิยมในพังก์ร็อก ปลายยุคเซเวนตี้ แจ็คเก็ต PERFECTO ได้กลายมาเป็นรูปแบบของ อเมริกันคลาสสิกสไตล์ ซึ่งได้นำ� กลับ ม า เ ป ็ น ที่ พู ด ถึ ง อี ก ค รั้ ง เ มื่ อ จอห์น ทราโวลต้าใส่แจ็คเก็ตหนังใน

ภาพยนตร์ เ พลงสุ ด คลาสสิ ค อย่ า ง เรื่อง Grease Grease คือภาพยนตร์ที่เซ็ต บรรยากาศในยุคฟิฟตีส้ ท์ สี่ อื่ ให้เห็นถึง วัฒนธรรมย่อยในอเมริกา ซึ่งก็คือ Greaser และ Rocker พวกเขามีสิ่ง ที่ชอบเหมือนกันคือการสวมใส่แจ็ค เก็ตหนังตอกหมุด การจัดทรงผมด้วย น�้ ำ มั น และชื่ น ชอบสไตล์ เ พลง ของเอลวิส เพรสลีย์ ในปี 1980 จะเห็นการเคลื่อนไหว ของชาวกรันจ์ (Grunge)เป็นทศวรรษ ที่จะเห็นการ cropped การใส่แจ็ค เก็ตหนัง oversized ได้รับความนิยม ในช่วงสิน้ สุดยุค 80 จะเห็นว่าเสือ้ หนัง บนรั น เวย์ มี ห ลากหลายมาก เช่ น Versace และ Chanel กลางยุค 80 มีการเคลือ่ นไหวของ กลุม่ วัยรุน่ ทางฝัง่ ลอสแองเจลลิส พวก เขาได้ทำ� เครือ่ งประดับทีเ่ กีย่ วข้องกับ การขี่มอเตอร์ไซค์ เช่น แหวน ก�ำไล ห่วงโซ่กระเป๋าสตางค์ เข็มกลัด

Mubuaa Leather jacket

สไตล์ใหม่ของแจ็คเก็ตหนังทีเ่ กิด ขึ้นในปี 1990 ช่างฝีมือดีได้กลายมา เป็นทีพ่ ดู ถึงกันมากในแวดวงฮอลลีวดู ต้นยุคนี้เอง ที่เหล่าบรรดาเซเลปบริตี้ ต่างพากันค้นพบช่างฝีมอื ดีและสัง่ ตัด เสื้ อ หนั ง พิ เ ศษส� ำ หรั บ งานโชว์ ตั ว ต่างๆ หรือส�ำหรับวันพักผ่อนของ พวกเขา เช่น ในภาพยนตร์เรือ่ ง Fight Club (1999) น�ำแสดงโดยแบรด พิทท์ รับบท Tyler Durden ผู้ชายบ้าระห�ำ่ ที่รักการออกไปค้นหาความเป็นลูก ผู้ชายในตัวเอง แบรด พิทท์โดดเด่น ในชุดเสื้อหนังสีแดง ที่ท�ำให้เป็นภาพ จดจ�ำส�ำหรับหนังเรื่องนี้ ตลอดยุค 90 และปี 2000 จนถึง ปัจจุบัน ได้มีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆนับ ไม่ถว้ นให้กบั แจ็คเก็ตหนัง รวมถึงการ เพิ่มสีสัน เช่น สีแทน และสีนำ�้ ตาล เทา ทัง้ แบรนด์ London-based label หรือ Muubaa พยายามจะท้าทาย ความคิดทีว่ า่ เสือ้ หนังสามารถสวมใส่ แล้วดัดแปลงได้หลายๆ รูปแบบ

77


CORNELIANI F/W2013

BELLSTAFF A/W 2013 SALVATORE FERRAGAMO F/W 2013

NEIL BARRETT S/S 2013

ZZEGNA S/S 2013

ERMENEGILGO ZEGNA F/W 2013

NEIL BARRETT F/W 2013

78


เสื้อหนังยังคงอินอยู่ในกระแสแฟชั่น เสมอ เพราะคุณสมบัตทิ แี่ ท้จริงของเสือ้ หนังคือ ‘Protection’ ด้วยวัสดุที่หนา สามารถให้ความอบอุ่นได้กับผู้สวมใส่ ได้ดี หรือถ้าหากเกิดอุบตั เิ หตุกบั ตัวเอง เสื้อหนังจะเป็นเกราะชั้นแรกที่ป้องกัน ตั ว เราได้ ดี ที่ สุ ด ด้ ว ยความที่ ต ่ า ง ประเทศบริโภคเนื้อกันมาก รวมถึงมี ความช�ำนาญการท�ำผลิตภัณฑ์เกีย่ วกับ หนัง จึงไม่แปลกที่แจ็คเก็ตหนังจะเป็น ช้อยส์ที่ได้รับความนิยมอยู่เสมอ ซึ่งยัง มีให้เห็นทัว่ ไปทัง้ ในสตรีทและไฮแฟชัน่ แจ็คเก็ตหนังนี่เองที่เป็นแฟชั่นไอเท็ม ยอดฮิตเสมอมา ประเทศที่มีช่างฝีมือที่ผลิตหนังดี ที่ สุ ด ในโลก คื อ ประเทศอิ ต าลี เนือ่ งจากอิตาลีเป็นศูนย์รวมของบุคคล ที่มีความช�ำนาญด้านหนัง และด้วย ความที่ ป ระเทศอิ ต าลี มี ส ภาพภู มิ อากาศหนาวเย็นตลอดปี หนังมีคุณสมบัติกันลมได้ดี คน อิตาลีจึงจ�ำเป็นที่จะต้องใช้ของพวกนี้ จะ เห็นได้ว่าต่างประเทศจะให้ความ ส� ำ คั ญ กั บ ประโยชน์ ใ ช้ ส อยมากกว่ า แฟชัน่ ตามกระแส วัสดุหนังมีมากมาย หลายประเภท ทั้งหนังแท้หนังเทียม อย่างหนังแนปป้าที่นิ่มหน่อย raw leather ที่แข็งหน่อย หรือ patent leather หนังแก้ว ที่ มี ค วามเงาวาว ห นั ง ที่ ผ ลิ ต แจ็คเก็ตกับหนังที่ ผลิ ต เสื้ อ ผ้ า เป็ น หนังคนละชนิดกัน

IF

สไตล์ของแจ็คเก็ตหนังทุกวันนี้ไม่ ได้ เ ปลี่ ย นแปลงไปจากเดิ ม มากนั ก Leather Biker Jacket ยังคงมีลักษณะ ซิปเฉียง มีกระเป๋าหน้าสองข้าง บ้างก็ มี ก ารเพิ่ ม รายละเอี ย ดด้ ว ยการเย็ บ ลวดลายทีไ่ หล่หรือแขนเสือ้ แต่โดยปกติ แล้ว แจ็กเก็ตหนังมักจะใส่คกู่ บั กางเกง ยีนส์และเสือ้ เชิต้ ขาว ในวินเทอร์คอลเล คชั่นปี 2013 สไตล์ของเสื้อหนังที่มีรูป แบบเหมือนนักบินช่วงต้นทศวรรษที่ 20 ได้กลับมาโลดแล่นอีกครั้งด้วยเช่นกัน ปัจจุบนั นีโ้ ลกแฟชัน่ ไม่ได้กงั วลเรือ่ ง การน�ำหนังมาผลิตเสื้อผ้าเท่าไรนัก แต่ เรื่องที่ต่างประเทศให้ความสนใจกัน มากกว่า คือเรื่องเฟอร์(fur)มากกว่า ปัจจุบันมีดีไซเนอร์หลายๆ คนที่เข้าไป ร่วมกับ PETA (หรือ People for the Treatment of Animals) องค์กรที่ก่อ ตั้งขึ้นมาเพื่อรณรงค์ให้คนหันมารับ ประทานผัก เลิกรับประทานเนื้อสัตว์ และประทุษร้ายต่อสัตว์ทุกกรณี PETA มี ชื่ อ เสี ย งจากรู ป แบบแคมเปญการ รณรงค์ทหี่ วือหวาทัง้ การถ่ายภาพแฟชัน่ สุดเซ็กซีท่ นี่ ำ� ดารานักร้องทีม่ ชี อื่ เสียงมา ถ่ายภาพแฟชั่นในรูปแบบเชิญชวนให้ มาบริโภคสัตว์และเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มาจากสัตว์รวมทั้งแคมเปญอีเว้นท์ อย่างการเปลือยกายประท้วงซึ่งแต่เดิม

PETA มีปัญหากับแบรนด์เสื้อผ้าสุดหรู ระดับโลกเสมอๆ Stella Mccartney เป็นแบรนด์หนึง่ ทีม่ อี ดุ มการณ์ชดั เจนในเรือ่ งของการต่อ ต้านการใช้เฟอร์ ฝรัง่ มักจะมองว่าคนที่ สวมใส่เฟอร์เป็นพวกคนโง่ เพราะเขา ถือว่าถ้าคุณจะไปฆ่าชีวติ ใครสักคนเพือ่ เอาประโยชน์จากมันเพือ่ น�ำมาท�ำให้ตวั เองดูสวย แต่ในอีกฟากหนึ่ง ประเทศ เดนมาร์กมีการเปิดฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อ จะเอาขนสัตว์มาท�ำเฟอร์ ไม่ได้ใช้วิธี ออกไปล่าเช่นที่เคยท�ำ เมื่อสัตว์ถึง อายุขัยจึงจะน�ำขนสัตว์มาใช้ประโยชน์ แม้ ป ั จ จุ บั น จะมี ก ารรณรงค์ โ ดย Peta เพื่อมิให้ใช้วัสดุจากสัตว์ แต่ด้วย ความคงทน พื้นผิวที่มีเอกลักษณ์ และ ประโยชน์ใช้สอยอันหลากหลายท�ำให้ แจ๊คเก็ตหนังยังคงอยู่ และถูกปรับรูป แบบจนน่าสนใจ เช่นมีการตัดต่อหนัง patchwork การปัก embroidery หรือ การตอกหมุด studs

there’s one fabric that never seems to go out of style, it’s leather.

79



Grease is the world again แจ็คเก็ตหนังกับผู้ชาย ช่างเป็นอะไรที่เข้ากันดี แบบสุดๆ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ก็ยังได้ รับความนิยมอยู่เสมอ ถึงแม้อากาศบ้านเราจะ ร้อนซักแค่ไหน แต่แจ็คเก็ตก็เป็นแฟชั่นที่หนุ่มๆ ใส่ได้ทุกฤดูเช่นกัน นอกจากนี้ยังแฝงความ เท่อยู่ในตัวเองเป็นอย่างสูง

คุณผูช้ ายสามารถใสแจ็คเก็ตหนังทับเสือ้ เชิต้ ไป งานทีเ่ ป็นทางการได้ หรือจะสวมทับเสือ้ ยืดลาย เก๋ๆ ก็เท่ไม่เบา คอมพลีทลุคด้วยการคุมโทนสี เช่น สวมเสือ้ ยืด ลายกราฟิกสีดำ�ไว้ด้านใน แล้วทับด้วยแจ็คเก็ต ใส่ยีนส์สีดำ� หรือบูทสีดำ�ก็ได้ ถ้าไม่อยากได้ลคุ ทีด่ ขู งึ ขังจนเกินไป ลองหาเสือ้ โค้ทสี navy ทับดู จะทำ�ให้หนุ่มๆ ดูซอฟต์ขึ้น ส่วนสิงห์มอเตอร์ไซค์ทงั้ หลาย ถ้าต้องการความ สนุกสนานมากขึ้น อาจจะเลือกแจ็คเก็ตหนังที่ มีดีเทล อย่างเช่น ซิป หรือหมุดตกแต่ง ส่วนสิงห์มอเตอร์ไซค์ทงั้ หลาย ถ้าต้องการความ สนุกสนานมากขึ้น อาจจะเลือกแจ็คเก็ตหนังที่ มีดีเทล อย่างเช่น ซิป หรือหมุดตกแต่ง สำ�หรับคุณผูช้ ายทีเ่ ป็นคนสูงใหญ่ลองเลือกหนัง ที่มีความซอฟต์ลงมาหน่อย เพื่อปรับให้คุณมี สรีระที่สมส่วน พอเหมาะขึ้น


82


ALTHOUGH IT’S A COSTLY INVESTMENT,

IT’S TIMELESS ONCE YOU CHOOSING 83


a biker jacket is the only statement piece you need this season. a jacket with similar properties was required for riders.

BLACK PERFECTO WITH SILVER ZIP JACKET/ JAMES DEAN WHITE T-SHIRT/ BLUE JEANS / BLACK BOOTS


BLACK BIKER JACKET/ BLACK PANAMA/ BLUE JEANS

85


LEFT : BROWN LEATHER FLIGHT JACKET / NAVY BLUE TIE / WHITE SHIRT / BLUE JEANS RIGHT : BROWN BOMBER JACKET / WHITE JEANS /LOAFER SHOES

86


“ rev ups the style “

CLOTHES : TODAY TOMORROW FOREVER @ SIAM SQUARE / P’AE STYLING : P’AE / MENISA NIPHAWAN PHOTOGRAPHER : SURASAK ITTIRIT 87


88


89


YOU CAN HAVE ANYTHING YOU WANT IN LIFE IF YOU DRESS FOR IT Edith Head

90




Special Thanks ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่คอยเป็นกำ�ลังใจและหยิบยื่นความช่วยเหลือเสมอ ขอบคุณ เจินที่เป็นเหมือนมือขวา ขอบคุณโมก อิ๋ว เฟย์ แพร พลอยฟ้าที่คอยช่วยเรื่องถ่ายแฟชั่น เซ็ท และขอบคุณเพื่อนเกมนิโกร และซ้อสำ�หรับแอคเซสซอรี่งามๆ ขอบคุณอาจารย์หรั่ง สุรศักดิ์ อิทธิฤทธิ์สำ�หรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมา ขอขอบคุณพี่เอ้ พี่เต้ย พี่บี และพี่ๆ ทุก คนที่คอยช่วยเหลือให้งานผ่านไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณร้านเสื้อผ้าทุกร้านที่เอื้อเฟื้อเครื่อง แต่งกาย และที่ขาดไม่ได้คือครอบครัวที่น่ารัก ที่คอยให้กำ�ลังใจ กำ�ลังแรง และทุนทรัพย์ ขอบคุณจากใจค่ะ


94


95


จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2556 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร


97


แฟชั่นและภาพยนตร ทั้งคูตางเปนกระจกที่สองถึงกัน ศิลปะทั้งสองแขนง “พึ่งพาซึ่งกันและกัน“ ภาพยนตรมีสวนแพรรสนิยมทางแฟชั่นใหกลายเปนที่นิยม ทั้งสองศาสตรตางแทรกซึมไปในมิติสถานที่และเวลา กลายเปนสวนหนึ่งในวิถี แหงสไตลของผูคนทุกยุกทุกสมัย หนังสือเลม The Tilmeless of Style ขอเปนตัวแทนถายทอดเรื่องราวที่อัดแนนเกี่ยวกับแฟชั่นและความคลาสสิก ผานภาพยนตรในศตวรรษที่ 20

เมนิสา นิภาวรรณ

2


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.