ศาสนากับการดำรงชีวิต ป.6

Page 1

ศาสนา

กับการดำ�รงชีวิต จัดทำ�โดย : น.ส.ชนกพร ตนกลาย และ น.ส.ชนัมพร แพรญาติ ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.โสพล มีเจริญ


ศาสนาต่างๆ

1

หลักธรรมนำ�ความสุข

6

เรียนรู้สิ่งที่ด_ี ____________ _________

15

ศาสนิกชนที่ดีและศาสนพิธีน่ารู้___________

19


1

ศาสนาต่างๆ


2

1 ความสำ�คัญของพระพุทธศาสนา

4. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย คนไทยกับพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์ใกล้ การพัฒนาชาติไทยจะต้องอาศัยการพัฒนาทางด้าน จิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านวัตถุ ซึ่งหลักธรรม ชิดกันมานาน คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธ ทางพระพุทธศาสนานั้นจะเป็นเครื่องช่วยทำ�ให้การ ศาสนาและนำ�หลักธรรมคำ�สอนในพระพุทธ พัฒนาถูกต้อง เหมาะสม เช่น พระพุทธศาสนามีหลัก ศาสนามาเป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิต ดังนั้น ธรรมโอวาท3 ที่สอนให้ละเว้นความชั่ว ทำ�ความดีและ พระพุทธศาสนาจึงมีความสำ�คัญต่อคนไทยและ ทำ�จิตใจให้บริสุทธิ์ เมื่อเราปฏิบัติตามหลักธรรมโอวาท3 ชาติ ดังนี้ จะส่งผลให้เป็นคนดีมีศีลธรรม เมื่อเป็นคนดีแล้วก็จะอยู่ 1. พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เมื่อคนในชาติมีความสุข จากการที่คนไทยนับถือพระพุทธศาสนามาเป็นระยะ ประเทศก็จะพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป เวลายาวนานทำ�ให้วิถีชีวิตของคนไทยได้รับการผสม ผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพุทธศาสนา ไม่ 2 ประวัติศาสดาของศาสนาต่างๆ ว่าจะเป็นพระราชพิธี กิจกรรมทางสังคม จะมีพิธีกรรม ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา ศาสดาของแต่ละ ทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งลักษณะ ศาสนานั้นมีประวัติที่น่าสนใจและควรศึกษา เพื่อนำ�มา นิสัยของคนไทย เช่น ความเมตตากรุณา ความกตัญญู เป็นแบบอย่างในการดำ�เนินชีวิตของเรา กตเวที ความเสียสละ เป็นต้น ล้วนได้รับการหล่อหลอม 1. พุทธประวัติ มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 1) ทรงปลงพระชนมายุสังขาร 2. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานและมรดกทาง นับจากที่พระสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า วัฒนธรรม พระองค์ได้เสด็จสั่งสอนประชาชนตามแว่นแคว้นมา วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำ�เนิน เป็นเวลา 45 ปี ทำ�ให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ออกไป ชีวิตของคนไทยที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา และจากการ มาบัดนี้ถึงพรรษาสุดท้ายของพระองค์ คือ ในพรรษา ที่คนไทยมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา ทำ�ให้หลัก ที่ 45 พระพุทธเจ้าจำ�พรรษาที่เมืองเวสาลี ระหว่างนี้ ธรรมทางพระพุทธศาสนาสอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตจน ทรงอาพาธหนัก เมื่อออกพรรษาแล้วจึงได้เสด็จไปยัง กลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ เช่น ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี ในวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 3 ทรง 1) ศิลปะทางสถาปัตกรรม ปลงพระชนมายุสังขารว่าพระองค์จะปรินิพพานในอีก ประติมากรรมและจิตรกรรม 3 เดือนข้างหน้า 2) ประเพณี 3) ภาษาและวรรณคดี 3. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ โดย มีวัดเป็นศูนย์กลางในการอบรมสั่งสอนจริยธรรมของ คนในสังคม เป็นบ่อเกิดของศิลปวิทยาการต่างๆ และ เป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในเทศกาลสำ�คัญมีพระ สงฆ์เป็นผู้เผยแผ่หลักธรรมให้ประชาชนได้รับทราบ และนำ�ไปเป็นหลักปฏิบัติ ดังนั้น พระสงฆ์จึงมีบทบาท พระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ เมืิงเวสาลี ในวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 3 สำ�คัญในการเป็นผู้นำ�ทางจิตใจของประชาชนให้ดำ�เนิน ชีวิตได้อย่างถูกต้องและมีความสุข


3 2) ปัจฉิมสาวก ได้เสด็จเที่ยวจาริกสั่งสอนประชาชนเรื่อยไปจนถึง สาลวโนทยานซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองกุสินารา พระองค์ตรัสสั่ง พระอานนท์ให้จัดที่ประทับระหว่างต้นสาละทั้ง 2 ต้น แล้วบรรทม ขณะนั้นสุภัททปรพาชกเมื่อได้ทราบข่าว จึงรีบเดินทางไปเพื่อเข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยแต่ใน ตอนแรกพระอานนท์ได้คัดค้าน สุภัททะอ้อนวอนขอเข้าเฝ้าให้ได้ พระพุทธเจ้าทรง ได้ยินจึงตรัสอนุญาตให้สุภัททะเข้าเฝ้า โดยตรัสแก่ พระอานนท์ว่า “หากสุภัททะได้ถามข้อสงสัยและได้ ฟังเนื้อความแล้วจะสามารถรู้ทั่วถึงได้โดยฉับพลัน” สุภัททะได้เข้าเฝ้าและทูลถามข้อสงสัย พระพุทธเจ้า ได้ตรัสตอบข้อสงสัยนั้น จากนั้นพระองค์ทรงเทศนา อริยมรรค 8 ประการ ว่าเป็นหนทางอันประเสริฐทำ�ให้ บุคคลธรรมดาสามารถเป็นพระอรหันต์ได้ สุภัททะได้ฟังแล้วก็เกิดความเลื่อมใส จึงทูลขอ อุปสมบทภายหลังจากนั้นพระสุภัททะได้ปฏิบัติธรรม ด้วยความเพียรพยายามจนสำ�เร็จเป็นพระอรหันต์ในคืน วันนั้น จึงนับเป็นปัจฉิมสาวก ที่สำ�เร็จเป็นพระอรหันต์ ก่อนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน 3) ปรินิพพาน ขณะใกล้จะปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือน เหล่าภิกษุที่เฝ้าแวดล้อมดูอาการพระประชวรของ พระองค์ ถือเป็นปัจฉิมโอวาทว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้ อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” และหลังจาก นั้น พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในวันที่ 15 ค่ำ� เดือน 6 ขณะพระชนมายุได้ 80 พรรษา 4) การถวายพระเพลิง พระเถระผู้ใหญ่ได้ร่วมกันประกอบพิธีถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระ โดยจัดพิธีเหมือนพระศพของพระเจ้า จักรพรรดิ ซึ่งจัดขึ้นที่มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา จัด ตั้งพระพุทธสรีระไว้ให้ประชาชนได้สักการบูชาเป็นเวลา 7 วัน ได้ถวายพระเพลิงในวันแรม 8 ค่ำ� เดือน 6 เรียก ว่า “วันอัฏฐมีบูชา”

5) การแจกพระบรมสารีริกธาตุ เจ้าผู้ครองนครทั้งหลายได้ส่งทูตานุทูตมาขอส่วนแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำ�ไปประดิษฐาน ณ เมืองตน ได้นำ�พระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุสถูปเพื่อสักการบูชาที่ บ้านเมืองของตน 6) สังเวชนียสถาน สังเวชนียสถาน หมายถึง สถานที่ที่ทำ�ให้ พุทธศาสนิกชนเกิดความระลึกถึงพระพุทธเจ้า 4 แห่ง

(1) สถานที่ประสูติ อยู่ที่สวนลุมพินีวัน ตั้งอยู่ กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า “รุมมินเด” อยู่ในประเทศเนปาล (2) สถานที่ตรัสรู้ ตั้งอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคมปัจจุบัน เรียกว่า “พุทธคยา” ตั้งอยู่ที่รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

(3) สถานที่แสดงปฐมเทศนา อยู่ที่ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน กรุงพาราณสี ปัจจุบันอยู่ที่สารนาถ ประเทศอินเดีย (4) สถานที่ปรินิพพาน อยู่ที่สาลวโนทยาน ในกรุงกุ สินารา ปัจจุบันอยู่ที่รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย


4 2. ประวัติศาสดาของศาสนาอื่นๆ 1) ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์ ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู พระองค์เป็น ชาวยิว แระสูติเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1 ที่หมู่บ้าน เบธเลเฮม แคว้นยูดาย ในดินแดนปาเลสไตน์ บิดาของพระเยซู เป็น ช่างไม้ ชื่อว่า โยเซฟ ส่วน มารดาของพระเยซู ชื่อว่า มาเรีย ในวัยเยาว์พระเยซูเป็นเด็ก ที่สนใจเรื่องศาสนาและเป็น ผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดเมื่อ พระเยซู ผู้เป็นศาสนดาของศาสนาคริสต์ พระองค์อายุย่าง 30 ปี มีโอกาสได้พบกับนักบุญจอห์นและได้รับศีลล้างบาป หลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปประทับในป่าแห่งหนึ่ง เพื่อบำ�เพ็ญศีลภาวนาและนมัสการพระเจ้า เมื่อพระองค์กลับมาจึงได้ประกาศหลักคำ�สอนเพื่อนำ�ไปสู่การ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข คำ�สอนของพระเยซูมีหลายเรื่องที่ต่างไปจากคำ�สอน เดิมของศาสนายูดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศศาสนา คริสต์ ภายหลังที่พระเยซูประกาศศาสนาได้เพียง 3 ปี นักบวชชาวยิวใส่ความฟ้องร้องต่อทางการว่า พระเยซู เป็นกบฏทรยศต่อบ้านเมือง จนในที่สุดพระเยซูถูกจับ และถูกตัดสันให้ประหารชีวิต โดยการถูกตรึงบนไม้ กางเขนจนสิ้นพระชนม์

2) ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด พระองค์ เป็นชาวอาหรับ ประสูติเมื่อ ค.ศ. 570 ที่เมืองเมกกะ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย พระองค์เป็นบุตรของ อับดุลเลาะห์และนางอามี นะฮ์ พระองค์กำ�พร้าตั้งแต่ วัยเยาว์ จึงต้องอยู่ในความ อุปการะของลุง โดยช่วยลุง ทำ�งานต่างๆ สัญลักษณ์แทนศาสนดาของศาสนาอิสลาม ในวัยหนุ่ม พระองค์ ทำ�งานกับนางคอดีญะฮ์ โดยทำ�หน้าที่ช่วยควบคุมกอง คาราวานเพื่อนำ�สินค้าไปขาย ต่อมาทั้งสองได้แต่งงาน และมีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน ในช่วงที่พระองค์ถือกำ�เนิดนั้น สภาพสังคมของ อาหรับอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมาก ผู้คนประพฤติผิด หลักศีลธรรม งมงายกับการบูชารูปเคารพ พระองค์ จึงพยายามแก้ไขปัญหาสังคม จนวันหนึ่งพระองค์ได้ เข้าไปหาความสงบในถ้ำ�บนภูเขาฮิรอฮ์ได้มีทูตสวรรค์นำ� โองการของพระเจ้ามาประทานแก่พระองค์ ให้พระองค์ เริ่มประกาศศาสนา คือ บูชาพระเจ้าเพียงองค์เดียว และทำ�ลายรูปเคารพต่างๆให้หมดสิ้น การที่พระองค์ สอนให้ทำ�ลายรูปเคารพนี้เอง ทำ�ให้เป็นอุปสรรคในการ เผยแผ่ศาสนา เพราะขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไปที่ นับถือรูปเคารพ นบีมุฮัมมัดประกาศศาสนาได้ 13 ปี จึงสามารถรวบรวมแคว้นต่างๆ เป็นอาณาจักรของชาว อาหรับไว้ได้ พระองค์ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 633 ขณะมี พระชนมายุ 63 ปี


5 3) ประวัติศาสดาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 4) ประวัติศาสดาของศาสนาซิกข์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดา ศาสนาซิกข์นั้นมีศาสดา แต่นับถือเทพเจ้าเป็นที่สักการบูชา ซึ่งในสมัยนั้นคน ทั้งหมด 10 องค์ ศาสดา อินเดียนับถือเทพเจ้าประจำ�ธรรมชาติต่างๆ โดยเชื่อ องค์ที่สำ�คัญที่สุดคือองค์ ว่า เทพเจ้าเหล่านี้สามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ทาง แรก ได้แก่ คุรุนานัก เกิด ธรรมชาติได้ จึงได้มีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อ เมื่อ ค.ศ. 1469 ที่แคว้นปัญจ บูชาและสรรเสริญเทพเจ้า าบ ประเทศอินเดีย พระองค์ ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อว่า เทพเจ้าผู้ยิ่ง คุรุนานัก ผู้เป็นศาสนดาของศาสนาซิกข์ มีพระบิดาชื่อกาลุ มีมารดา ใหญ่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอยู่เพียง 3 องค์ ได้แก่ ชื่อตฤปตา คุรุนานักมีความ พระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ โดยเทพเจ้าทั้ง 3 รู้เกี่ยวกับศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์ จนมีความรู้แตกฉาน องค์นี้ เป็นองค์เดียวกัน แต่ได้แบ่งภาคออกเป็นสาม ในคัมภีร์พระเวท รวมทั้งได้ศึกษาถึงความเป็นมาของ องค์ เพื่อทำ�หน้าที่ต่างกัน คือ ศาสนาต่างๆ จนทำ�ให้สามารถสนทนาเรื่องศาสนากับ คณาจารย์ต่างๆได้ ต่อมาคุรุนานักบำ�เพ็ญสมาธิในป่าและได้พบพระเป็น เจ้าในทางจิต เมื่อพระองค์กลับมาถึงบ้านได้ให้ความ ช่วยเหลือคนยากจนและดูแลรักษาพยาบาลผู้ที่เจ็บป่วย หลังจากนั้น พระองค์ได้เดินทางสั่งสอนประชาชนไปยัง เมืองต่างๆทำ�ให้พระองค์มีลูกศิษย์ทั้งที่เป็นมุสลิม และ พราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าเพียงพระองค์ (1) พระพรหม เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งต่างๆ เดียว ซึ่งเป็นพระเจ้าสำ�หรับมนุษยชาติทั้งปวง ผู้ที่ (2) พระวิษณุ เป็นผู้รักษาดูแลโลก นับถือศาสนาซิกข์และผ่านพิธีปาหุลตามแบบศาสนา (3) พระศิวะ เป็นผู้ทำ�ลายโลก เมื่อโลกมีคนชั่วอยู่ แล้ว จะได้นามว่า “สิงค์” ลงท้ายชื่อ เมื่อทำ�พิธีแล้ว จำ�นวนมาก จะได้รับ “กกะ” ซึ่งได้แก่ เกศ กังฆา กฉา กรา และ กิรปาน


6

หลักธรรมนำ�ความสุข


7

1 หลักคำ�สอนสำ�คัญของ พระพุทธศาสนา

หลักคำ�สอนสำ�คัญของพระพุทธศาสนาที่ควรนำ� ไปปฏิบัติ ได้แก่

1. พระรัตนตรัย แปลว่า แก้วอันประเสริฐ 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ชาวพุทธทุกคนควรมีความเชื่อ และความเลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัย หรือเรียกว่า ศรัทธาในคุณของพระรัตนตรัย หรือ ศรัทธา 4 ศรัทธา 4 หมายถึง ความเชื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ เหตุและผล ความมั่นใจในความจริง มี 4 ประการ คือ 1) เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง 2) เชื่อว่าผลกรรมมีจริง 3) เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน 4) เชื่อพระปัญญาและการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อบุคคลมีความเชื่อทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว ย่อมทำ�ให้ไม่ ประพฤติชั่วทั้งทางกาย วาจา และใจ เพราะเชื่อในเหตุ และผลของการกระทำ� ผลดีจึงเกิด ทำ�ให้ประสบแต่ ความสุขความเจริญ 1.1 พระพุทธ พระพุทธ คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่สั่ง สอนหนทางแห่งความดับทุกข์แก่มนุษย์ โดยพระองค์ ทรงบำ�เพ็ญพุทธกิจ 5 ประการ เป็นประจำ�ทุกวัน โดย แบ่งออกเป็น 5 เวลา ดังนี้ 1) ช่วงเช้า ทรงออกบิณฑบาตโปรดสัตว์และสนทนา ธรรมกับผู้ที่เล็งเห็นว่า สั่งสอนได้ 2) ช่วงเย็น เสด็จออกไปแสดงธรรมแก่ประชาชนใน ท้องถิ่นนั้น 3) ช่วงค่ำ� ทรงประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุสงฆ์ 4) ช่วงเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาธรรมและแสดง ธรรมแก่เทวดา 5) ช่วงใกล้รุ่ง ทรงพิจารณาเลือกบุคคลที่จะเสด็จไป โปรดในตอนเช้า

ตัวอย่างพุทธกิจ:พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดองคุลิมาลเพื่อไม่ให้ฆ่ามารดาของตน

1.2 พระธรรม พระธรรม คือ คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ ทรงแสดงและทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้พุทธิบริษัทได้ยึดถือ มาเป็นหลักปฏิบัตินำ�ชีวิตไปสู่ความสุขและหลุดพ้นจาก ความทุกข์ พระธรรมที่สำ�คัญ มีดังนี้ 1) อริยสัจ 4 อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ (1) ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยาก สภาพที่บีบคั้น (2) สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำ�ให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา หรือความอยาก (3) นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข คือ ภาวะที่ตัณหา ได้ดับสิ้นไป (4) มรรค หมายถึง ข้อปฏิบัติเพื่อที่จะให้ถึง ความดับทุกข์ ซึ่งมีองค์ประกอบทั้งสิ้น 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำ�ริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำ�ชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ และความตั้งมั่นชอบ 2) หลักกรรม กรรม หมายถึง การกระทำ�ด้วยเจตนา คำ�ว่า “กรรม” เป็นคำ�กลางๆ จะมุ่งไปในทางดีก็ได้ ชั่วก็ได้ ทำ�ชั่วเรียกว่า “อกุศลกรรม” ส่วนทำ�ดีเรียก ว่า “กุศลกรรม” ถ้าเราทำ�สิ่งใดทางกาย เรียกว่า “กายกรรม” ทำ�ด้วยวาจาคือการพูด เรียกว่า “วจีกรรม” ทำ�ด้วยใจนึกคิด เรียกว่า “มโนกรรม”


8 กรรม : กายกรรม

อกุศลกรรม 1. ฆ่าสัตว์ 2. ลักทรัพย์ 3. ประพฤติผิดในกาม กุศลกรรม 1. เว้นจากการฆ่าสัตว์ 2. เว้นจาการลักทรัพย์ 3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม กรรม : วจีกรรม อกุศลกรรม 1. พูดเท็จ 2. พูดส่อเสียด 3. พูดคำ�หยาบ 4. พูดเพ้อเจ้อ กุศลกรรม 1. เว้นจากการพูดเท็จ 2. เว้นจากการพูดส่อเสียด 3. เว้นจากการพูดคำ�หยาบ 4. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ กรรม : มโนกรรม อกุศลกรรม 1. โลภอยากได้ 2. พยาบาทปองร้าย 3. เห็นผิดเป็นชอบ กุศลกรรม 1. ไม่โลภอยากได้ 2. ไม่พยาบาทปองร้าย 3. ไม่เห็นผิดเป็นชอบ หลักกรรมในทางพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องปัจจุบัน เป็นสำ�คัญ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้เราพิจารณา การกระทำ�ของตนเอง ทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ชั่ว เพื่อชี้ ให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องกระทำ�ในปัจจุบัน

พระสงฆ์ เป็นผู้เผยแผ่หลักธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้า

1.3 พระสงฆ์ พระสงฆ์ คือ สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติ ตามคำ�สั่งสอน แล้วนำ�คำ�สอนมาเผยแผ่แก่คนทั่วไป ความสำ�คัญของพระสงฆ์ - เป็นผู้ทปี่ ฏิบัติดีปฏิบัติชอบความพระธรรมวินัย - เป็นตัวอย่างที่ดีในทางศีลธรรมและนำ�ให้ประพฤติ ดีตาม - เรียนรู้พระธรรมแล้วนำ�มาสอนให้บุคคลทั่วไปรู้ตาม และประพฤติปฏิบตั ิตาม - เป็นผู้ที่ทำ�หน้าที่สืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา 2. ไตรสิกขา ไตรสิกขา หมายถึง ข้อปฏิบัติ 3 ประการ 1) ศีล คือ การรักษากายและวาจาให้เป็นปกติ หรือ ไม่ให้บกพร่อง ซึ่งเป็นข้อฝึกอบรมในด้านความประพฤติ ได้แก่ การไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งกายและวาจา เช่น ประพฤติตนในสิ่งที่ดี พูดในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ เป็นต้น 2) สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต ซึ่งฝึกได้โดย การเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือทำ�ให้จิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วจะทำ�ให้เกิดปัญญารู้แจ้งใน สิ่งต่างๆ 3) ปัญญา คือ ความฉลาด รอบรู้ หรือความกระจ่าง ในเหตุและผล รู้และเห็นแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ปัญญาที่ได้กล่าวถึงในไตรสิกขานี้ เป็นปัญญาที่เกิดขึ้น จากการฝึกหัดปฏิบัติอบรม เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นหลัง จากฝึกสมาธิ


9 3. โอวาท 3 โอวาท 3 คือ หลักธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้า มีทั้งสิ้น 3 ข้อ หรือที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งถือ เป็นแก่นแท้หรือหัวใจสำ�คัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่ 3.1 การไม่ทำ�ความชั่ว การไม่ทำ�ความชั่ว คือ การละเว้นจากการทำ�สิ่งไม่ดี ซึ่งเป็นโอวาทข้อที่ 1 ของพระพุทธเจ้า และมีหลักธรรม ที่ช่วยสนับสนุนการไม่ให้คนทำ�ชั่ว มี 3 ประการ ดังนี้ 1) เบญจศีล เบญจศีล หรือศีล 5 เป็นธรรมลำ�ดับแรกในการครอง ตน เพราะเป็นการป้องกันตนเองไม่ให้ทำ�ความชั่ว ศีลข้อ 1 งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ รวมทั้งการไม่ทำ�ร้าย ทรมาน นำ�สัตว์มากักขัง ศีลข้อ 2 งดเว้นจากการลักทรัพย์ การละเมิด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ศีลข้อ 3 งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การ ลวนลามเพศตรงข้าม ศีลข้อ 4 งดเว้นจากการพูดเท็จ การเจตนาบิดเบือน ความจริงให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ศีลข้อ 5 งดเว้นจากการดื่มสุราและการเสพสิ่งเสพ ติด อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 2) อบายมุข 6 การครองตนให้เป็นคนดีนั้น ควรจะระวังตนเองไม่ให้ ตกไปสู่ความเสื่อม สิ่งที่เรียกว่า ทางไปสู่ความเสื่อม คือ อบายมุข มีอยู่ 6 ประการ ดังนี้ (1) ดื่มนำ�้เมา หมายถึง การดื่มสุรา รวมทั้งการเสพ ของมึนเมาอื่นๆ และสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ ยาบ้า เป็นต้น (2) เที่ยวกลางคืน เช่น เที่ยวผับ ร้านคาราโอเกะ เป็นต้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่ควรเข้าไป เพราะมีสิ่งที่ไม่ดี แฝงอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น สุรา ยาเสพติด เป็นต้น (3) เที่ยวดูการละเล่น หมายถึง มีจิตใจตกเป็นทาส ของการเที่ยวเล่น จะเห็นการเล่นสำ�คัญกว่าการทำ�งาน (4) เล่นการพนัน หมายถึง การเล่นเอาเงินหรือ สิ่งอื่นด้วย การเสี่ยงโชค เช่น เล่นไพ่ เล่นพนันบอล ซื้อหวย เป็นต้น

(5) คบคนชั่วเป็นมิตร คนเราเมื่ออยู่ใกล้กับใครก็มีโอกาส จะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับคนนั้น (6) เกียจคร้านทำ�งาน เมื่อความเกียจคร้านครอบงำ�จิตใจ ทำ�ให้เบื่องาน ในใจเต็มไปด้วยกิเลส มีข้ออ้างที่จะไม่ให้ตนต้อง ทำ�งาน

การคบเพื่อนที่ดี ทำ�ให้เรามีความเจริญ

3) อกุศลมูล 3 อกุศลมูล หมายถึง ต้นเหตุแห่งความชั่ว มี 3 อย่าง (1) โลภะ หมายถึง ความโลภ อยากได้สิ่งต่างๆ มา เป็นของตนเองโดยมิชอบ เมื่อคนเรามีความโลภก็จะ กล้าทำ�ในสิ่งที่ทุจริตผิดกฎหมาย (2) โทสะ หมายถึง จิตที่คิดร้ายต่อผู้อื่น คือ คิดจะ ทำ�ให้ผู้อื่นเป็นอันตรายหรือได้รับความเสียหาย เช่น ทำ�ให้เขาได้รับบาดเจ็บ ทำ�ให้เขาเดือดร้อน ทำ�ให้เขา เสียทรัพย์ เป็นต้น (3) โมหะ หมายถึง ความหลง ไม่รู้จริง โง่เขลาเบา ปัญญา โมหะนี้ถ้าจะเปรียบก็เหมือนความมืด ถ้าความ มืดปกคลุมที่ใด เมื่อจะทำ�อะไรก็อาจทำ�ผิดพลาดได้ง่าย คนที่ถูกโมหะครอบงำ�จิตใจก็เหมือนกัน อาจทำ�ความ ผิดได้หลายอย่าง เช่น เข้าใจผิดกัน ทะเลาะวิวาทกัน หลงทำ�ร้ายกันด้วยวิธีต่างๆ เป็นต้น


10 3.2 การทำ�ความดี 1) เบญจธรรม เบญจธรรม เป็นหลักธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติ 5 ประการ ซึ่งจะคู่กับเบญจศีล เบญจศีลจัดเป็นข้อห้าม แต่เบญจธรรมคือข้อปฏิบัติ ธรรมข้อ 1 ความเมตตากรุณา ธรรมข้อ 2 สัมมาอาชีวะ ธรรมข้อ 3 ความสำ�รวมในกาม ธรรมข้อ 4 สัจจะ ธรรมข้อ 5 การมีสติสัมปชัญญะ 2) กุศลมูล 3 กุศลมูล หมายถึง ต้นเหตุของความดี มี 3 อย่าง คือ (1) อโลภะ คือ ความไม่โลภ ไม่ปล่อยให้จิตอยากได้ สิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความพอใจในสิ่งที่เป็น ของตนเอง (2) อโทสะ คือ ความไม่โกรธ ไม่คิดทำ�ร้ายผู้อื่น รู้จัก การให้อภัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความสงบ ผู้ปฏิบัติ คุณธรรมข้อนี้ จะต้องฝึกตนให้มีความเมตตากรุณา รู้จักสงสาร และมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น (3) อโมหะ คือ ความไม่หลงเลอะเลือน รู้จักคิด อย่างมีเหตุผล สามารถแยกแยะว่า สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี 3) พละ 4 พละ หมายถึง พลัง คือธรรมอันเป็นพลัง 4 ประการ (1) ปัญญาพละ กำ�ลังปัญญา (2) วิริยะพละ กำ�ลังความเพียร (3) อนวัชชพละ กำ�ลัง คือ การกระที่ไม่มีโทษ (4) สังคหพละ กำ�ลังการสงเคราะห์ คือ การช่วย เหลือเกื้อกูล อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี 4) คารวะ 6 คารวะ หมายถึง มีความเคารพ และตระหนักใน ความสำ�คัญที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง เหมาะสม (1) คารวะในพระพุทธเจ้า คือ เคารพในพระคุณอัน มีอยู่ในพระองค์ ได้แก่ ปัญญา ความกรุณา และความ บริสุทธิ์ อันเป็นพุทธคุณ

(2) คารวะในธรรม คือ เคารพคำ�สอนพระพุทธเจ้า (3) คารวะในพระสงฆ์ คือ เคารพพระคุณความ ดี รู้จักเลือกปฏิบัติบำ�รุงพระสงฆ์ที่ดี เพื่อให้เป็นกำ�ลัง สำ�คัญต่อไป (4) คารวะในการศึกษา คือ ตระหนัก ในความสำ�คัญของการศึกษา หมั่น หาความรู้ใส่ตัว ช่วยบำ�รุงการศึกษา (5) คารวะในความไม่ประมาท คือ ตระหนักในการ ควบคุมสติของตน ไม่เผอเรอในการปฏิบัติงานทุกอย่าง (6) คารวะในการต้อนรับปฏิสันถาร คือ ตระหนัก ในการต้อนรับ ไม่ว่าใครก็ตามเมื่อมาหาเรายังบ้านหรือ ที่ทำ�งานของเราต้องให้ความสนใจต้อนรับปราศรัยดี 5) กตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ หมายถึงการรู้คุณและยังรวมถึงการตอบแทนคุณของ พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อ พสกนิกร เช่น (1) ทรงปกครองแผ่นดินโดยยึดหลักทศพิธราชธรรม (2) พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ ประชาชน


11 6) มงคล 38 มงคล หมายถึง ความสุขและความเจริญ พระพุทธ องค์ได้ทรงแสดงเหตุแห่งมงคลหรือความเจริญไว้ 38 ประการ โดยในชั้นนี้ กำ�หนดให้เรียน 3 ประการ ดังนี้ (1) มีวินัย หมายถึง อยู่ในระเบียบ แบบแผน และ ข้อบังคับ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข (2) การงานไม่มีโทษ หมายถึง งานที่ทำ�แล้วไม่ผิด กฎหมาย ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดต่อศีลธรรม (3) ไม่ประมาทในธรรม หมายถึง การไม่ทำ�ความชั่ว เพราะ ขาดความระมัดระวัง มีสติรอบคอบอยู่เสมอ 3.3 การทำ�จิตให้สะอาดบริสุทธิ์ นอกจากเราจะไม่ทำ�ความชั่วและทำ�ความดีแล้ว เรา ยังต้องทำ�จิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ เพื่อจะได้เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และก็มีความสุขไปพร้อมๆกัน ตามหลักของ พระพุทธศาสนา เราสามารถทำ�จิตใจให้สะอาดและ บริสุทธิ์ได้ ด้วยการหมั่นบริหารจิตและเจริญปัญญา ซึ่ง ถือเป็นสิ่งจำ�เป็นในชีวิตประจำ�วันของเรา ทั้งในด้าน การเรียน การทำ�งานเพื่อหาเลี้ยงชีพและการดำ�เนิน ชีวิต 3.4 การปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาเพื่อแก้ ปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติด พระพุทธศาสนามีหลักที่ช่วยพัฒนาตนเองทั้งทาง ด้านกาย วาจา และจิตใจ รวมทั้งส่งเสริมให้ละเว้นจาก อบายมุขและสิ่งเสพติดต่างๆ อบายมุขและสิ่งเสพติด เป็นสิ่งที่จะนำ�ไปสู่ความเสื่อม เมื่อเราเข้าไปเกี่ยวข้อง แล้วจะทำ�ความเดือดร้อน สร้างความเสื่อมเสีย ตลอด จนเกิดโทษทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนามีหลายหลักธรรมที่สามารถนำ�มาใช้ ปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติด

ผู้กระทำ�ดีอยู่เสมอ เช่น ทำ�บุญตักบาตร ถือว่าเป็นผู้ไม่ประมาทในธรรม

3.5 พุทธศาสนสุภาษิต พุทธศาสนสุภาษิต ถือเป็นหลักคำ�สอนทางพระพุทธ ศาสนาที่มีความหมายเป็นคติเตือนใจ เมื่อคนเราได้นำ� ไปปฏิบัติในชีวิตประจำ�วัน ย่อมประสบความสำ�เร็จใน การทำ�งานและการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งในชั้นนี้กำ�หนดให้ ศึกษา ดังนี้ 1) คนจะได้เกียรติด้วยสัจจะ คำ�บาลี สจฺเจน กิตฺติปปฺโปติ อ่านว่า สัด-เจ-นะ-กิด-ติง-ปับ-โป-ติ พุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ มีความหมายว่า คนจะมีชื่อ เสียง มีเกียรติยศ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปนั้น จะต้อง เป็นคนมีสัจจะ ไม่มีบุคคลใดได้รับการยกย่องว่าเป็นคน มีเกียรติเพราะพูดจาเหลวไหล 2) พูดเช่นไร ทำ�เช่นนั้น คำ�บาลี ยถาวาที ตถาการี อ่านว่า ยะ-ถา-วา-ที-ตะ-ถา-กา-รี พุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ สอนให้เป็นคนซื่อสัตย์ รักษา คำ�พูด รักษาคำ�มั่นสัญญา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ทำ�ให้มีผู้คนนับถือ เคารพ ยกย่อง สรรเสริญ


12

2 หลักคำ�สอนสำ�คัญของศาสนา คริสต์

หลักคำ�สอนที่สำ�คัญของศาสนาคริสต์ ได้แก่

1. หลักความรัก เป็นหลักคำ�สอนสำ�คัญของศาสนาคริสต์ ดัง ที่พระเยซูได้ตรัสไว้ว่า “ท่านจะต้องรักองค์พระ ผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาของท่าน”และ“ท่านต้องรักเพื่อน มนุษย์เหมือนรักตนเอง” ดังนั้นคริสต์ศาสนิกชน จึงดำ�เนินชีวิตด้วยความมีเมตตา มีความเสียสละ และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ หลักความรักในศาสนาคริสต์ มี 2 ประการ คือ 1) ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ซึ่งเปรียบ เหมือนความรักระหว่างบิดากับบุตร 2) ความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ พระเยซูสอน ให้รักเพื่อนบ้าน(มนุษย์ทั้งโลก) สอนให้รักศัตรู รู้จักการ ให้อภัยและเสียสละ 2. หลักตรีเอกานุภาพ ตรีเอกานุภาพ หมายถึง พระเจ้าองค์เดียว แต่มี 3 พระบุคคล ได้แก่ 1) พระบิดา (พระยะโฮวา) คือ ผู้สร้างโลก และให้ กำ�เนิดแก่ทุกชีวิต 2) พระบุตร (พระเยซู) คือ ผู้เกิดมาเพื่อไถ่บาปให้แก่ มวลมนุษย์ 3) พระจิต (วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของพระบิดาและพระ บุตรรวมกัน) คือวิญญาณอันบริสุทธิ์เพื่อมอบความรัก และช่วยให้มนุษย์ประพฤติดี

3. บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติ 10 ประการ เป็นข้อปฏิบัติ 10 ข้อ ที่พระเจ้า ทรงประทานให้กับคริสต์ศาสนิกชน มีดังนี้ 1) จงนมัสการพระเจ้าพระองค์เดียว 2) อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่มีเหตุผล 3) จงถือวันพระเจ้าเป็นศักดิ์สิทธิ์ 4) จงนับถือบิดามารดา 5) อย่าฆ่าคน 6) อย่าผิดประเวณี 7) อย่าลักขโมย 8) อย่าพูดเท็จ 9) อย่าคิดมิชอบ 10) อย่ามีความโลภในทรัพย์สินของผู้อื่น

ชาวศาสนาคริสต์ศรัทธาในพระเยซู

3 หลักคำ�สอนสำ�คัญของศาสนา อิสลาม

หลักคำ�สอนสำ�คัญของศาสนาอิสลามที่ถือเป็น วิถีการดำ�เนินชีวิตของผู้เป็นมุสลิมที่ต้องนำ�ไป ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ได้แก่ 1. หลักศรัทธา 6 ประการ 1) ศรัทธาต่ออัลเลาะห์ มุสลิมเชื่อว่ามีพระเจ้า พระองค์เดียวเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ดังนั้นมุสลิมต้อง ศรัทธาต่ออัลเลาะห์เพียงพระองค์เดียว พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ เป็นสิ่งที่แสดงถึงพระเมตตาของพระองค์


13 2) ศรัทธาต่อเทวทูตของอัลเลาะห์ มุสลิมต้องเชื่อ ว่าเทวทูตมีจริง เทวทูตทำ�หน้าที่ในการสื่อสารถึง ศาสนทูต (รสูล) และศาสนทูตจะนำ�คำ�สั่งสอนของ อัลเลาะห์มาเผยแผ่แก่มนุษย์ 3) ศรัทธาต่อพระคัมภรีร์ทั้งหลาย มุสลิมต้องมี ความศรัทธาต่อพระคัมภีร์ที่อัลเลาะห์ประทานมาให้ ผ่านมลาอิกะฮ์และรสูล เพื่อเผยแผ่มายังมนุษย์ 4) ศรัทธาต่อศาสนทูต มุสลิมต้องศรัทธาต่อ ศาสนทูตซึ่งเป็นผู้ที่อัลเลาะห์เลือกสรรแล้วว่าเป็นคนดี เหมาะแก่การเป็นผู้ประกาศศาสนาและนับถือว่า นบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตองค์สุดท้าย 5) ศรัทธาในวันพิพากษาโลก มุสลิมต้องเชื่อว่าโลก มีวันแตกดับ อัลเลาะห์จะเป็นผู้พิพากษามนุษย 6) ศรัทธาในลิขิตของอัลเลาะห์ มุสลิมต้องเชื่อว่า อัลเลาะห์เป็นผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์ ความเป็นไปต่างๆ ล้วน เป็นพระประสงค์ของอัลเลาะห์

ผู้เป็นมุสลิมจะละหมาด เพื่อแสดงความศรัทธาต่ออัลเลาะห์ วันละ 5 เวลา

2. หลักปฏิบัติ 5 ประการ 1) การปฏิญาณตน เป็นการประกาศยอมรับด้วย ความศรัทธาว่า อัลเลาะห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียง พระองค์เดียวเท่านั้น และยอมรับว่านบีมุฮัมมัดเป็น ศาสนทูตของอัลเลาะห์ ในการปฏิญาณตน จะต้อง ทำ�ด้วยความบริสุทธิ์ใจและทำ�เมื่อนมัสการพระเจ้า (ละหมาด) มุสลิมต้องกล่าวปฏิญาณว่า “ข้าพเจ้าขอ ปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์และ มุฮัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์”

2) การละหมาด เป็นการนมัสการพระเจ้าทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ ผู้เป็นมุสลิมจะต้องละหมาดวันละ 5 เวลา คือ ยำ�่รุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ� และกลางคืน ซึ่งก่อนที่จะทำ�การละหมาด จะต้องชำ�ระร่างกายให้ สะอาด และสำ�รวมจิตใจให้สงบ 3) การบริจาคซะกาต เป็นการบริจาคทรัพย์หรือให้ ทานแก่คนที่เหมาะสมตามที่ศาสนากำ�หนด เช่น เด็ก กำ�พร้า คนที่ขัดสน ผู้เผยแผ่ศาสนา เป็นต้น การบริจาค ซะกาตถือเป็นข้อบังคับที่จะต้องปฏิบัติ ผู้เป็นมุสลิม ถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องสละทรัพย์ของตน เพื่อแบ่งปัน ให้แก่ผู้อื่นเพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาด ลดความ เห็นแก่ตัว 4) การถือศีลอด เป็นการกำ�จัดอบายมุขทั้งหลาย ด้วยการหยุดการกิน การดื่ม การเสพ การมีความ สัมพันธ์ทางเพศ รวมทั้งการหยุดการดูการทำ� ตลอดจน การคิดในสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึง พระอาทิตย์ตกเป็นเวลา 1 เดือน คือเดือนรอมฎอน ตามปฏิทินของอิสลาม 5) การประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นการประกอบศาสน กิจที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้มุสลิมระลึกถึงพระเจ้าและได้พบปะพี่น้องมุสลิม จากทั่วไป การประกอบพิธีฮัจญ์นั้นไม่ได้มีการบังคับให้ผู้เป็นมุสลิม ต้องปฏิบัติ แต่ผู้เป็นมุสลิมที่พร้อมด้วยกำ�ลังทรัพย์และ กำ�ลังกาย ควรหาโอกาสไปทำ�พิธีนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง ในชีวิต


14

4 หลักคำ�สอนสำ�คัญของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

1. หลักธรรม 10 ประการ 1) ธฤติ ได้แก่ ความพอใจ ความกล้า คือการที่มี ความเพียรพยายามจนได้รับความสำ�เร็จตามหวังไว้ 2) กษมา ได้แก่ความอดทน ความอดกลั้น มีความ เพียรพยายามและมีความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน 3) ทมะ ได้แก่ การข่มจิตใจของตนเองด้วยเมตตา และมีสติอยู่เสมอ 4) อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำ�การ โจรกรรม 5) เศาจะ ได้แก่ การกระทำ�ตนให้บริสุทธิ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ 6) อินทรียนิครหะ ได้แก่ การหมั่นตรวจสอบอินทรีย์ ทั้ง 10 ประการ ให้ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้อง 7) ธี ได้แก่ ปัญญา สติ มติ ความคิด ความมั่นคง ยืนนาน มีปัญญาและรู้จักระเบียบวิธีต่างๆ 8) วิทยา ได้แก่ ความรู้ทางปรัชญา 9) สัตยา ได้แก่ ความจริง คือ การแสดงความ ซื่อสัตย์ต่อกันด้วยความจริงใจ 10) อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ เอาชนะความโกรธ ด้วยการไม่โกรธ มีความอดทน รู้จักทำ�จิตใจให้สงบ 2.หลักอาศรม 4 หมายถึง ขั้นตอนการดำ�เนินชีวิตเพื่อยกระดับชีวิต ให้สูงขึ้นจนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ หลุดพ้นจาก สังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน 1) พรหมจารี เป็นวัยที่ต้องศึกษาเล่าเรียน เด็กชาย ทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ เมื่อ มีอายุครบ 5 ปี 8 ปี และ 16 ปี ตามลำ�ดับ 2) คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำ�เร็จ การศึกษาชายหนุ่มเหล่านี้ก็จะกลับคืนสู่บ้านเรือน เพื่อ แต่งงานและมีบุตรไว้สืบสกุล 3) วานปรัสถ์ เป็นช่วงเวลาในการทำ�ประโยชน์เพื่อ สังคมและประเทศชาติ คือ การออกบวชเข้าสู่ป่า เพื่อ ฝึกจิตใจให้บริสุทธิ์

4) สันนยาสี เป็นช่วงเวลาของการออกบวช โดย การสละชีวิตคฤหัสถ์เพื่อออกบวชบำ�เพ็ญเพียรตามหลัก ของศาสนา เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากสังสารวัฏ เพื่อ บรรลุสู่จุดมุ่งหมายของชีวิต คือ โมกษะ

นักบวชของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย

5 หลักคำ�สอนของศาสนาซิกข์

หลักคำ�สอนของศาสนาซิกข์ จะเน้นสอนให้ คนเราพบกับความสุขที่แท้จริงและรู้จักพยายาม เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ซึ่งมีหลักสำ�คัญ ได้แก่

1. หลักความสุขอันแท้จริง 1) กรรม คือ การกระทำ� 2) ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง 3) มหาปิติ คือ ความอิ่มใจอยู่ในทางธรรม 4) พละ คือ กำ�ลังจิต ทำ�ให้จิตแน่วแน่ มั่นคง 5) สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า 2. หลักวินัย 1) วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทาง กาย และทางวาจา เป็นการให้ทาน 2) วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบ ธรรม 3) วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อนั่นในพระเจ้า พระองค์เดียว นอกจากนี้ หลักคำ�สอนที่สำ�คัญอื่นๆ คือ การสอนให้ นับพระเจ้าพียงองค์เดียว สอนให้คนมีความเสมอภาค และมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน


15

เรียนรู​ู้สิ่งที่ดี


16

1 แบบอย่างการทำ�ความดี

1. พระราธะ พระราธะ เดิมเป็นพราหมณ์อาศัยอยู่ในเมือง ราชคฤห์ เมื่อแก่ลงถูกลูกทอดทิ้งจึงไปอาศัยอยู่กับวัด ต่อมาประสงค์จะบวช แต่ก็ไม่มีใครรับบวชให้จึงเสียใจ จนร่างกายซูบผอม วันหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงพระ ดำ�เนินอยู่ในบริเวณ พระวิหารและได้ ทอดพระเนตรเห็น ราธพราหมณ์มี ร่างกายซูบผอม ผิว พรรณหมองคลำ�้ ตรัสถามได้ความว่า ราธพราหมณ์อยากจะบวชแต่ไม่มีใครบวชให้เมื่อไม่ได้ บวชสมประสงค์จึงได้เป็นเช่นนั้น พระศาสดาตรัสถาม เหล่าภิกษุว่า “ใครที่ระลึกถึงอุปการะของพราหมณ์ผู้ นี้ได้บ้าง” พระสารีบุตรระลึกได้ว่า ครั้งหนึ่งเคยได้รับ บิณฑบาตเป็นข้าว 1 ทัพพี พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต ให้พระสารีบุตรบวชให้ราธพราหมณ์ด้วยวิธี ญัตติจตุตถกรรม เป็นการบวชโดยได้ขอมติจากคณะ สงฆ์ จึงถือว่าราธพราหมณ์ได้อุปสมบทด้วยวิธีนี้เป็น บุคคลแรก เมื่อบวชแล้วพระราธะได้เที่ยวจาริกไปกับพระสารีบุตรไม่นานก็สำ�เร็จพระอรหันต์ ต่อมาพระสารีบุตรได้ มาเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสถามถึง พระราธะว่าเป็นอย่างไร พระสารีบุตรได้กราบทูลว่า “เป็นคนว่านอนสอนง่าย เมื่อแนะนำ�สั่งสอนว่า สิ่งนี้ ควรทำ�สิ่งนั้นไม่ควรทำ� ท่านจงทำ�อย่างนี้อย่าทำ�อย่าง นั้น พระราธะไม่เคยโกรธเลย” พระบรมศาสดาตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาเป็น ตัวอย่างว่า “พวกท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ว่านอนสอน ง่ายอย่างราธะ เมื่ออาจารย์ชี้โทษและสั่งสอน อย่าถือ โกรธ” และทรงยกย่องพระราธะว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายในการรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา คุณธรรมที่ได้คือ ผู้เป็นศิษย์ควรเป็นผู้ว่านอนสอน ง่าย ไม่ถือโกรธอาจารย์ที่ตักเตือนสั่งสอน

2. ทีฆีติโกสลชาดก (ผู้ไม่ทำ�ลายโอวาท) ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรง ปรารรภถึงภิกษุเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน ไม่ปฏิบัติ ตามโอวาทที่พระองค์ทรงให้ไว้ จึงได้ตรัสทีฆีติโกสลชาดก ดังนี้ เมื่อครั้งอดีตกาลพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นกษัตริย์ครอง กรุงพาราณสี ทำ�ศึกชนะและได้ฆ่าพระเจ้าทีฆาโกสล และพระมเหสี แต่ทีฆาวุกุมารซึ่งเป็นพระราชโอรสหนี ไปได้ ต่อมาทีฆาวุกุมารเติบโตขึ้น จึงได้เข้ามาถวายตัว เป็นทหารรับใช้คนสนิทของพระเจ้าพรหมทัต อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตออกประพาสป่ากับ ทีฆาวุกุมารแล้วเผลอบรรทมหลับไป ทีฆาวุกุมารจึงได้ คิดที่จะฆ่าพระเจ้าพรหมทัตแต่ระลึกถึงโอวาทที่บิดา มารดาได้ให้ไว้ได้ว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร จึงคิดได้ว่าถึงตัวตายก็ไม่ทำ�ลายคำ�สอนของบิดามารดา ทีฆาวุกุมารบอกความจริงให้พระเจ้าพรหมทัตรู้ว่าตน เป็นใครและไม่คิดประทุษร้ายพระเจ้าพรหมทัตอีกต่อ ไป พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงให้สัญญาว่าจะไม่ประทุษร้าย ต่อทีฆาวุกุมารเช่นกัน ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตจึงได้ พระราชทานพระธิดา แล้วมอบพระราชบัลลังก์ให้ ทีฆาวุกุมารปกครอง ครั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง จึง ตรัสว่า “พระเจ้าทีฆีติโกศลและพระมเหสี ได้มาเป็น พระบิดาและพระมารดาแห่งเรา ส่วนทีฆาวุกุมารได้มา เป็นเรา ผู้เป็นตถาคตในชาตินี้” คติธรรมที่ได้คือ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เมื่ออยู่ร่วมกันและมีเรื่องขัดแย้งกัน ก็ควรให้อภัยกัน และกัน


17

2 การพัฒนาจิตตามแนวทางของ ศาสนา

1. การสวดมนต์ไหว้พระสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน ก่อนเริ่มทำ�สิ่ง ใดควรน้อมนำ�จิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอันเป็น ที่เคารพสูงสุด เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเอง และ วิธีที่สามารถนำ�มาใช้ได้อย่างง่าย คือ การสวดมนต์ ไหว้พระ ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการสวดมนต์ ไหว้พระ คือ ช่วงเวลาก่อนนอน ซึ่งบทสวดมนต์ที่ นิยมใช้สวด คือ บทสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย 2. การแผ่เมตตา การแผ่เมตตาเป็นการส่งความเมตตาให้กับมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายในโลก ให้มีความสุขและเป็นสุข ปราศจากความทุกข์ยากลำ�บาก การแผ่เมตตานี้จึงเป็น สิ่งสะท้อนความใจกว้างของชาวพุทธ ที่มิได้เจาะจงมี เมตตาต่อมนุษย์เท่านั้น หากแต่ยังเผื่อแผ่ไปถึงสรรพสัตว์อีกด้วย 3. ความหมายของสติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา สติ คือ ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ การคุม ใจไว้กับกิจที่ทำ� หรือคุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม ความรู้ชัด ความเข้าใจดีและรู้ตัวอยู่เสมอว่าตนกำ�ลังทำ�อะไร และ จะเกิดผลอย่างไร สติสัมปชัญญะจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน

ปัญญา คือ ความรอบรู้ ความฉลาด ปัญญาเกิดได้ 1) สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการได้ยินได้ ฟัง และการได้อ่าน เป็นปัญญาที่เกิดจากการเล่าเรียน 2) จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ หรือเกิดจากการศึกษาอบรม แล้วนำ�มาทดลองปฏิบัติ จนเกิดผลสำ�เร็จ 3) ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการ ปฏิบัติหรือเกิดจากการศึกษาอบรม แล้วนำ�มาทดลอง ปฏิบัติจรเกิดผลสำ�เร็จ 4. วิธีบริหารจิตและเจริญปัญญา การบริหารจิตและการเจริญปัญญา คือ การทำ� สมาธิ ซึ่งเป็นหนทางที่จะช่วยทำ�ให้เกิดสติสัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญาได้ ซึ่งมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) ตัดความกังวลต่างๆออกไป 2) เลือกสถานที่ที่สงบ 3) ต้องไม่หิวหรืออิ่มเกินไป 4) อาบนำ�้ชำ�ระร่างกายให้สะอาด การบริหารจิตและการเจริญปัญญานั้น ต้องอาศัย การประพฤติปฏิบัติเป็นประจำ�สม่ำ�เสมอจึงจะเกิดผลดี อย่างเต็มที่ ในระยะแรกนั้นควรเริ่มฝึกโดยใช้เวลาน้อยๆ ก่อน เช่น 5 นาที 10 นาที เป็นต้น แล้วจึงค่อยเพิ่มขึ้น ก่อนจะเริ่มบำ�เพ็ญสมาธิให้กราบพระรัตนตรัย 3 ครั้ง ก่อนแล้วจึงค่อยเริ่มนั่ง เมื่อนั่งสมาธิเสร็จให้แผ่เมตตา และกรดน้ำ�ด้วยทุกครั้ง เพื่อขจัดความเห็นแก่ตัว


18 5. ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา ตัวอย่างเช่น 1) ทำ�ให้จิตใจสบาย ไม่เครียดหรือวิตกกังวล 2) นอนหลับง่าย หลับสนิท ไม่ฝันร้าย 3) มีความกระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว 4) มีประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำ�งาน 6. วิธีการยืน การเดิน การนั่ง และการนอนอย่างมีสติ สติเป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับชีวิตเรา หากเราขาดสติอาจ ถึงแก่ความตายได้ การฝึกสติ สามารถทำ�ได้ในทุกเวลาและทุกสถานที่ ซึ่งแล้วแต่ผู้ต้องการฝึกจะสะดวก การฝึกสติอาจเริ่ม ฝึกจากการยืน การเดิน การนั่ง และการนอน ซึ่งเป็น อิริยาบถที่ทุกคนคุ้นเคยในชีวิตประจำ�วันอยู่แล้ว

1) ฝึกการยืนอย่างมีสติ ให้กำ�หนดรู้ว่า ตนเองกำ�ลัง ยืนอยู่ที่ใดเวลาใด 2) ฝึกการเดินอย่างมีสติ ให้กำ�หนดรู้ว่า ตนเอง กำ�ลังเดินอยู่ ก้าวเท้าซ้ายก็ให้กำ�หนดรู้ว่าเท้าซ้าย ก้าว เท้าขวาก็ให้กำ�หนดรู้ว่าเท้าขวา 3) ฝึกการนั่งอย่างมีสติ ให้กำ�หนดรู้ว่า ตนกำ�ลังนั่ง อยู่ ควรนั่งตัวตรง และกำ�หนดลมหายใจเข้า-ออก อย่าง ช้าๆ 4) ฝึกการนอนอย่างมีสติ ให้กำ�หนดรู้ว่า ตนเอง กำ�ลังนอนอยู่ การนอนอย่างมีสติ พระพุทธเจ้าทรง ชี้แนะให้นอนในท่าสีหไสยา คือ นอนคะแคงขวา ซึ่ง เป็นท่านอนที่สุภาพ 7 วิธีฝึกกำ�หนดรู้ความรู้สึก

7. วิธีฝึกให้มีสมาธิในการฟัง อ่าน คิด ถาม และเขียน การปฏิบัติหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน ตลอด จนการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันทั่วไป จำ�เป็นต้องใช้ทักษะ ในการฟัง อ่าน คิด ถาม และเขียน การที่จะสามารถ ใช้ทักษะดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัย สมาธิเป็นตัวช่วย ซึ่งสมาธิเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน ตนเอง ดังนี้ 1) ฝึกให้มีสมาธิในการฟัง คือ การตั้งใจฟังจนทำ�ให้ เกิดความรู้และเข้าใจในสิ่งที่ฟัง 2) ฝึกให้มีสมาธิในการอ่าน คือ การตั้งใจอ่านมี จิตใจสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ทำ�ให้อ่านได้เข้าใจและอ่านได้ รวดเร็ว 3) ฝึกให้มีสมาธิในการคิด คือ การนำ�สิ่งที่ได้ฟังและ อ่านมาคิดพิจารณาหาเหตุผลจนเข้าใจแจ่มแจ้ง 4) ฝึกให้มีสมาธิในการถาม คือ การถามในสิ่งที่นำ� มาคิดแล้ว แต่ไม่เข้าใจ ถามด้วยความอยากศึกษาให้ เข้าใจ ใช้ถ้อยคำ�และภาษาที่สุภาพในการถาม ถามตรง ประเด็น และถามในสิ่งที่มีประโยชน์ 5) ฝึกให้มีสมาธิในการเขียน คือ การจดบันทึกสิ่ง ที่ได้ฟัง อ่าน คิด และถาม เพื่อไม่ให้ลืม โดยต้องเขียน อย่างตั้งใจ และมีระเบียบ

การตั้งใจอ่านหนังสือ จะทำ�ให้จดจำ�เรื่องที่อ่านได้ดี


19

ศาสนิกชนที่ดี และศาสนพิธีน่ารู้


20

1 ศาสนสถาน และการปฏิบัติตนที่ เหมาะสมเมื่ออยู่ในศาสนสถาน

2. การปฏิบัติตนในขณะฟังธรรม การฟังธรรม หรือการที่เรานิยมเรียกกันทั่วไปว่า การ ฟังเทศน์ เป็นประเพณีที่มักจะมีในงานต่างๆ ทั้งที่เป็น 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆภายในวัด งานมงคลและงานอวมงคล การฟังธรรมนั้นถือเป็นการ วัดเป็นศาสนสถานของพระพุทธศาสนา เพราะเป็น เผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นการนำ�ธรรมะใน ที่อยู่อาศัยของพระภิกษุและสามเณร รวมทั้งยังเป็น ทางพระพุทธศาสนามาแสดง เพื่อให้ผู้ฟังนำ�ไปปฏิบัติ สถานที่สำ�หรับพุทธศาสนิกชนมาประกอบพิธีกรรมทาง ในชีวิตประจำ�วันอย่างถูกต้อง จึงทำ�ให้เกิดความสุขทั้ง ศาสนา เช่น ตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม เป็นต้น วัด ต่อตนเอง ต่อครอบครัว รวมทั้งส่งผลดีต่อสังคมและ ประกอบไปด้วยโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ หอสวด ประเทศชาติ มนต์ กุฏิ โรงเรียนพระปริยัติธรรม หอสมุด หอพระ 3. การปฏิบัติตามแนวทางของพุทธศาสนิกชนเพื่อ ไตรปิฎก สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ แบ่งออกเป็นเขตพุทธาวาส ประโยชน์ต่อศาสนา และเขตสังฆวาส 1) การศึกษาหาความรู้ ชาวพุทธที่ดีควรศึกษา 2. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมภายในวัด หาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อนำ�ไปใช้ในการ 1) การแต่งกาย เมื่อไปวัดเราควรแต่งกายด้วย ประกอบอาชีพและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องตาม เสื้อผ้าที่มีสีขาวหรือสีอ่อนๆ ไม่ควรใช้สีฉูดฉาด เนื้อผ้า หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ต้องไม่บางจนเกินไป ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อสะดวก 2) การปฏิบัติตามหลักธรรม ประเพณีและพิธีกรรม ในการกราบหรือทำ�สมาธิ สตรีไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้น ทางศาสนา การปฏิบัติตามหลักธรรมสามารถปฏิบัติ หรือใส่กางเกงขาสั้น ไม่ควรแต่งกายนำ�แฟชั่นหรือ ได้หลายประการ เช่น รักษาศีล 5 ให้ครบถ้วน เมื่อพบ ประดับเครื่องแต่งกายมากจนเกินไป ว่าตนยังมีความบกพร่องในศีลข้อใดก็พยายามแก้ไข 2) การสำ�รวมใจ ขณะพระสงฆ์กำ�ลังแสดงพระธรรม ปรับปรุงตนเอง เป็นต้น เทศนาหรือให้ศีล ควรตั้งใจฟังอย่างสำ�รวมและมีสมาธิ การเข้าร่วมพิธีกรรมและประเพณีทางศาสนา 3) การสำ�รวมกายและวาจา ไม่กระทำ�การที่จะ สามารถปฏิบัติได้หลายประการ เช่น การทำ�บุญ เป็นการรบกวน การประกอบศาสนพิธีของผู้อื่น ตักบาตรโดยปฏิบัติอย่างสม่ำ�เสมอทุกวัน การไปทำ�บุญ 2 มารยาทของศาสนิกชน ที่วัดในวันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น 1. การถวายของแก่พระสงฆ์ 3) การเผยแผ่ศาสนา พุทธศาสนิกชนสามารถช่วย การถวายของแก่พระสงฆ์ หรือการประเคน คือ เผยแผ่ศาสนาได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น นำ�ธรรมะมา การยกสิ่งของอันควรถวายให้แก่พระภิกษุ ปฏิบัติเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น อธิบายธรรมะให้ผู้ฟังที่ยังไม่ องค์ประกอบของการประเคน คือ ของที่จะประเคน เข้าใจให้เข้าใจยิ่งขึ้น บริจาคทรัพย์ตามกำ�ลังเพื่อบำ�รุง ต้องเป็นของที่คนเดียวพอยกได้ ไม่หนักมาก หรือมี พระพุทธศาสนา เป็นต้น ขนาดใหญ่เกินไป ผู้ประเคนควรนั่งห่างประมาณ 1 4) การปกป้องศาสนา ศาสนิกชนที่ดีควรทำ�หน้าที่ ศอก พอที่จะเอื้อมประเคนของได้ ปกป้องพระพุทธศาสนา เช่น การแจ้งข่าวสารเมื่อได้ พบเห็นว่ามีการกระทำ�ที่ทำ�ให้พระพุทธศาสนาเกิด ความเสียหาย ให้ข่าวสารและคำ�อธิบายที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ ยังเข้าใจพระพุทธศาสนาไม่ถูกต้อง เป็นต้น


21 คำ�อาราธนาพระปริตร วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะทุกขะวินาสายะ วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะภะยะวินาสายะ วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะโรคะวินาสายะ

การทำ�บุญตักบาตรเป็นการเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ที่ช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

3 พิธีกรรมสำ�คัญของศาสนา

พิธีกรรมสำ�คัญของพระพุทธศาสนามีหลายพิธี

1. การอาราธนาศีล อาราธนาธรรม และอาราธนา พระปริตร การอาราธนา คือ การกล่าวเชื้อเชิญให้พระภิกษุ สงฆ์ในพิธีให้ศีล สวดพระปริตรหรือแสดงธรรม ซึ่งถือ เป็นธรรมเนียมดั้งเดิมที่จะต้องมีการอาราธนาศีลก่อน จึงจะทำ�การประกอบพิธีกรรมนั้น ซึ่งการอาราธนาศีล ที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ แบ่งได้ 3 กรณี ได้แก่ การ อาราธนาศีล อาราธนาธรรม และอาราธนาพระปริตร ซึ่งชาวพุทธควรฝึกปฏิบัติให้ถูกต้อง เนื่องจากต้องนำ�มา ใช้ปฏิบัติอยู่เสมอ

สัพพะสัมปัตติสิทธิยา ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง. สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง. สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง.

2. การบวช การบวชเป็นศาสนาพิธีที่เป็นพุทธบัญญัติ คือ พระพุทธเจ้าทรงวางกฎข้อบังคับไว้ ได้แก่ 1) การบรรพชา หมายถึง การบวชเป็นสามเณร ผู้ที่จะบวชต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปและมีคุณสมบัติ อื่นตามที่กำ�หนดไว้อย่างครบถ้วน เมื่อเข้าบรรพชาแล้ว ต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และรักษาศีล 10 ข้อ 2) การอุปสมบท หมายถึง การบวชเป็นพระภิกษุ สงฆ์ ซึ่งผู้ที่จะบวชต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปและ มีคุณสมบัติอื่นที่กำ�หนดไว้อย่างครบถ้วน เมื่อเข้า อุปสมบทแล้ว ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและรักษา ศีล 227 ข้อ

คำ�อารานาศีล 5 มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ. ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะ ระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ. ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขณัตถายะ, ติสะ ระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ. คำ�อาราธนาธรรม พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ กัตอัญชะลี อันธิ วะรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

การบวช ถือเป็นการสร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ตามหลักความเชื่อของชาวพุทธ


22 3. พิธีทอดผ้าป่า ผ้าป่า ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า ผ้าบังสุกุลวีจร เป็น ผ้าเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของ เป็นผ้าที่อยู่ตามป่าดง ป่าช้า ผ้าเช่นนั้น พระภิกษุเก็บเอามาเย็บต่อกัน นำ�ไปซักฟอก แล้วย้อมด้วยนำ�้ฝาด ทำ�เป็นเครื่องนุ่งห่ม เรียกว่า ผ้าบังสุกุลจีวร การทอดผ้าป่าสามารถทอดได้ตลอดทั้งปี เวลาใด แล้วแต่สะดวก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการบำ�รุง พระสงฆ์ บำ�รุงศาสนสถาน และสร้างความสามัคคีของ คนในชุมชน ซึ่งรูปแบบการทอดผ้าป่าในประเทศไทยมี หลายแบบ เช่น ผ้าป่าสามัคคี เป็นต้น

4. พิธีทอดกฐิน คำ�ว่า กฐิน แปลว่า กรอบไม้หรือสะดึง สำ�หรับขึงผ้า เย็บจีวรของภิกษุ เพราะในสมัยพุทธกาลภิกษุจะต้องนำ� ผ้ามาตัดเย็บเป็นจีวรเอง ไม่มีสำ�เร็จรูปอย่างในปัจจุบัน ซึ่งการถวายผ้ากฐินเป็นพุทธานุญาตพิเศษที่โปรดให้ ทำ�เป็นสงฆ์ เพื่อขยายเวลาการทำ�จีวรของภิกษุให้ยาว ออกไปตามกำ�หนด คือ ตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ� เดือน 11 จนถึงกลางเดือน 12 กฐินมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ จุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องทำ� ทุกอย่างให้เสร็จภายใน 1 วัน มหากฐิน เป็นกฐินที่มี ปัจจัยไทยธรรมมาก ใช้เวลาเตรียมการหลายวัน โดยมี เจตนาเพื่อหาเงินมาพัฒนาวัด ขั้นตอนในการทอดกฐิน การทอดกฐินควรปฏิบัติเป็น ขั้นตอน ดังนี้ (1) จองกฐินวัดราษฎร์วัดใดวัดหนึ่งที่ต้องการทอด กฐิน โดยจะต้องไปแจ้งความประสงค์ให้ทางวัดทราบ พร้อมทั้งประกาศให้คนทั่วไปทราบ (2) เมื่อจองกฐินเรียบร้อยแล้ว จึง เตรียมผ้ากฐินและเครื่องบริขาร เช่น จีวร สังฆาฏิ บาตร หมอน มุ้ง เสื่อ เป็นต้น (3) จัดตั้งองค์กรกฐิน ก่อนถึงวันทอด กฐิน 1 วัน เจ้า-ภาพจะตั้งองค์กฐินและ เชิญแขกมาร่วมงานฉลองการทอดกฐิน

ขั้นตอนการวางผ้าป่า มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้ (1) จัดกองผ้าป่าวางไว้ในที่เหมาะสม (2) นิมนต์พระภิกษุ 1 รูปขึ้นไป (3) ทายกเป็นผู้กล่าวคำ�บูชาพระรัตนตรัย คำ� นมัสการ พระรัตนตรัย และอาราธนาศีล (4) พระภิกษุให้ศีล (5) ผู้ร่วมพิธีสมาทานศีล (6) ทายกกล่าวนำ�คำ�ถวายผ้าป่า (7) พระภิกษุชักผ้าป่าและสวดอนุโมทนา (8) ประธานในพิธีทำ�การกรวดนำ�้และรับพร เสร็จพิธี


23 (4) ขั้นถวายกฐิน พอถึงวันทอดกฐิน เจ้าภาพจะตั้ง องค์กฐินและเชิญแขกมาร่วมงานฉลองการทอดกฐิน - ประธานของงานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย - ทายกกล่าวอาราธนาศีล ประธานและผู้ร่วมงาน สมาทานศีล - ประธานถวายผ้ากฐิน โดยกล่าวบทนมัสการ พระพุทธเจ้า สามจบ และกล่าวคำ�ถวายผ้ากฐิน - ประธานประเคนผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ซึ่งนั่งอยู่ใน ลำ�ดับที่ 2 - ประธานสงฆ์กล่าวเผดียงสงฆ์ ว่า ผ้ากฐินของผู้ใด และพิจารณามอบให้ - ประธานสงฆ์ได้กล่าวอนุโมทนา ประธานในพิธี กรวดน้ำ�เพื่ออุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี 5. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุก คนควรกระทำ� เพราะการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนว่า ยอมรับนับถือพุทธศาสนา รวมทั้ง ยอมรับพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว และระลึกถึง ชาวพุทธทุกคนสามารถแสดงตนเป็นพุทธมามกะได้ไม่ ว่าจะเป็น คนชรา คนหนุ่มสาว หรือเด็กๆ ที่สำ�คัญพระ มหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงแสดงพระองค์เป็น พุทธมามกะด้วยเช่นกัน

1) วัตถุประสงค์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มีดังนี้ (1) เพื่อให้มีความมั่นคงในการเป็นพุทธบริษัทที่ดี (2) เพื่อให้จิตมั่นคงต่อหลักธรรมคำ�สอน (3) เพื่อเป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยชาวพุทธที่ดีให้กับเด็ กๆ 2) ขั้นเตรียมการ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ต้อง ทำ�ต่อหน้าพระสงฆ์หรือในที่ประชุมสงฆ์ โดยครูนำ�ราย ชื่อนักเรียนที่เข้าพิธีแสดงตน เป็นพุทธมามกะพร้อม ดอกไม้ธูปเทียนใส่พาน ไปถวายพระอาจารย์ที่เป็น ประธานในพิธีนั้น พร้อมทั้งแจ้งการทำ�กิจกรรมให้ท่า นทราบ เพื่อให้ท่านจัดพระภิกษุเข้าทำ�พิธี จากนั้นจึง จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในพิธี ได้แก่ โต๊ะหมู่บูชา พระพุทธรูป ดอกไม้ธูปเทียน และบัตรพุทธมามกะที่จะ มอบให้แก่ผู้แสดงตน 3) ขั้นพิธีการ มีดังนี้ (1) นิมนต์พระสงฆ์เข้าสู่พิธี (2) ผู้แทนนักเรียนจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา ผู้เข้า ร่วมพิธีทุกคนสงบจิตสงบใจ ระลึกคุณของพระรัตนตรัย ทุกคนกล่าวคำ�บูชาพระรัตนตรัยตามผู้แทนนักเรียน แล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์ (3) ผู้แทนนักเรียนถวายเครื่องสักการะ และรายชื่อ ของผู้ท่เี ข้าร่วมพิธีแก่พระสงฆ์ (4) ทุกคนกล่าวคำ�นมัสการพระพุทธเจ้าสามจบจาก นั้นกล่าวคำ�ขอแสดงตนเป็นพุทธมามกะพร้อมๆกัน (5) รับฟังโอวาทจากประธานสงฆ์ (6) ผู้น�ำ นักเรียนกล่าวคำ�อาราธนาศีล 5 (7) พระสงฆ์สมาทานศีล 5 จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมพิธี กล่าวตาม เป็นตอนๆ (8) พระสงฆ์กล่าวอานิสงส์ของศีล (9) ผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนรับบัตรพุทธมามกะจาก ประธาน-สงฆ์และถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำ�รับพร และกราบ พระสงฆ์ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี


24 6. ระเบียบพิธีในการทำ�บุญงานอวมงคล พิธีทำ�บุญงานอวมงคล หมายถึง พิธีที่ทำ�ให้เกิด ความ-เจริญโดยปรารภเหตุไม่ดี เป็นการทำ�บุญเพื่อ กลับสิ่งชั่วร้ายให้กลายเป็นดี และให้เกิดสิริมงคลต่อไป

7. วันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธที่ดีควรปฏิบัติตามหลักธรรมทุกวัน และใน วันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนาควรประพฤติให้ดีมากขึ้น เพื่อเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา วันมาฆบูชา ระเบียบพิธีการทำ�บุญในงานอวมงคล มีดังนี้ วันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 3 (1) งานอวมงคล เช่น งานศพ งานทำ�บุญอัฐิของผู้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ตาย เป็นต้น การทำ�บุญเกี่ยวกับงานศพจะมีการจัด วันวิสาขบูชา บริเวณพิธีเช่นเดียวกับงานมงคลแต่ต่างกัน คือ ใน วันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 6 บริเวณนั้นจะต้องจัดตั้งอยู่ตรงกลางให้เห็นเด่นพอ ตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน สมควร ไม่ควรจัดตั้งรวมกับที่ตั้งพระพุทธรูปบูชา วันอัฏฐมีบูชา (2) งานอวมงคล ไม่นิยมวงสายสิญจน์ รวมทั้งไม่ วันแรม 8 ค่ำ� เดือน 6 ต้องตั้งขันนำ�้พระพุทธมนต์อย่างงานมงคล มีแต่ผา้ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ภูษาโยงหรือใช้สายสิญจน์แทน โดยโยงจากศพหรือ วันอาสาฬหบูชา อัฐิมาให้พระสงฆ์พิจารณา และทอดผ้าบังสุกุลเท่านั้น วันขึ้น 15 เดือน 8 (3) การอาราธนาในการสวดมนต์ เนื่องจากในงาน แสดงปฐมเทศนา อวมงคลนั้นมีการอาราธนาศีล และรับศีล แต่ไม่มีการ วันธรรมสวนะ อาราธนาพระปริตร สำ�หรับการทอดผ้าบังสุกุลทำ�ตอน วัน 8 ค่ำ�และ 15 คำ�่ ของทุกเดือน ท้ายพิธี เมื่อพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบหรือฉันเสร็จ ถือเป็นวันประชุมฟังธรรม แล้ว ให้ทอดสายภูษาโยงหรือคลี่ด้ายสายสิญจน์ที่หน้า วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา พระสงฆ์โดยที่ไม่ต้องประเคนให้พระสงฆ์ เมื่อเสร็จแล้ว เริ่มตั่งแต่วันแรม 1 ค่ำ� เดือน 8 จึงประนมมือไหว้หนึ่งครั้ง พระสงฆ์ก็จะพิจารณาและ จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 11 พระสงฆ์จำ�พรรษา ชักผ้าบังสุกุลเอง จากนั้นให้พับผ้าภูษาโยงหรือม้วนด้าย สายสิญจน์กลับที่ เป็นอันเสร็จพิธี การปฏิบัติตนในวันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา - รักษาศีล - ทำ�บุญตักบาตร - ฟังและสนทนาธรรม - บำ�เพ็ญประโยชน์ - ตักบาตรเทโว (เฉพาะวันออกพรรษา) - นั่งสมาธิ - สวดมนต์ ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย - เวียนเทียน (วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา) - หล่อเทียนพรรษาและถวายผ้าอาบนำ�้ฝน (เฉพาะวันเข้าพรรษา)


25 8. ประโยชน์ของการเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา การเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำ�คัญทาง พระพุทธศาสนา มีประโยชน์ ดังนี้ (1) ช่วยขัดเกลากิเลสในจิตใจให้บางเบาลง (2) เกิดความสมัครสมานสามัคคี (3) เป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชน (4) เป็นการช่วยทำ�นุบำ�รุงเกื้อหนุนให้พระพุทธ ศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงยิ่งขึ้น (5) ก่อให้เกิดความสงบสุขในการดำ�เนินชีวิต

2. พิธีศีลกำ�ลัง เป็นพิธียืนยันความเชื่อและแสดงตนเป็นชาวคริสต์ โดยสมบูรณ์ 3. พิธีศีลแก้บาป เป็นพิธีกรรมที่ชาว คริสต์จะต้องไปสารภาพ บาปกับบาทหลวงใน ฐานะที่ท่านนั้นเป็น ตัวแทนของพระเจ้า และ จะเป็น ผู้ยกบาปนั้นให้ จากนั้นจึงจะรับศีลมหา ศีลแก้บาป เป็นการสารภาพบาปต่อบาปหลวง สนิทได้ 4. พิธีศีลมหาสนิท เป็นพิธีกรรมที่สำ�คัญ โดยมีสัญลักษณ์ที่สำ�คัญคือ แผ่นปังและเหล้าองุ่นที่แทนพระกายและพระโลหิตของ พระเยซู ซึ่งศริสต์ศาสนิกชน จะได้รับจากบาทหลวงใน พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ และชาวคริสต์จะต้องไปฟัง มิสซาในโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ 5. พิธีศีลเจิมคนไข้ เป็นพิธีที่จะเจิมคนไข้ด้วยน้ำ�เสก โดยมีบาทหลวงเป็น ในวันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธควรไปร่วมปฏิบัติศาสนกิจที่วัด เช่น เวียนเทียน เป็นต้น ผู้ทำ�พิธีเพื่อสร้างกำ�ลังใจให้แก่ผู้ป่วย 6. พิธีศีลอนุกรมหรือพิธีศีลบวช เป็นพิธีบวชสำ�หรับผู้ที่จะเป็นบาทหลวง ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ รับการคัดเลือกให้กระทำ�หน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม พิธีกรรมสำ�คัญของศาสนาคริสต์ เรียกว่า พิธีรับ ทางศาสนา ศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมี 7 ประการ คือ 7. พิธีศีลสมรส 1. พิธีศีลล้างบาปหรือพิธีศีลจุ่ม เป็นพิธีการแต่งงานของหญิงและชาย โดยมี เป็นพิธีกรรมแรกที่ผู้นับถือศาสนาคริสต์จะต้องรับ บาทหลวงเป็นประธาน เป็นพยานทางศาสนา และ เพื่อแสดงตนเป็นชาว เป็นผู้ประกอบพิธีให้ในโบสถ์ สำ�หรับพิธีแต่งงาน คริสต์ เป็นการล้าง เป็นเครื่องหมายแสดงว่า พระเจ้าเป็นผู้กระชับความ บาปและมลทินต่างๆ สัมพันธ์ของชายหญิงคู่นั้น พวกเขาจะไม่แยกจากกัน เพราะชาวคริสต์เชื่อ จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะสิ้นชีวิต ว่ามนุษย์ทุกคนมีบาป ติดตัวมาแต่กำ�เนิด

4 พิธีกรรมสำ�คัญของ ศาสนาคริสต์

คริสต์ศาสนิกชนทุกคนจะต้องรับศีลล้างบาป ซึ่งส่วนใหญ่จะรับตั้งแต่ยังเป็นทารก


26

5 พิธีกรรมสำ�คัญของ ศาสนาอิสลาม

6 พิธีกรรมสำ�คัญของศาสนา พราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวช ชาวฮินดูจะมีพิธีกรรมแบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้ 1. กฎสำ�หรับวรรณะ เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมแต่มุสลิมทุกคนเป็นทั้ง ฆราวาสและเป็นนักบวชอยู่ในคนคนเดียวกันและ ถือหลักการของศาสนาเป็นธรรมนูญสูงสุดในการ ดำ�รงชีวิตพิธีกรรมสำ�คัญของศาสนาอิสลาม ได้แก่ 1.การละหมาด เป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีในความเมตตา กรุณาของอัลเลาะห์ ซึ่งจะต้องปฏิบัติทุกวัน วันละ 5 เวลา คือ ก่อนฟ้าสาง บ่าย เย็น หัวค่ำ� และกลางคืน และการละหมาดจะช่วยสกัดกั้นความคิดและกระทำ�ที่ ไม่ดีไม่งามต่างๆ อย่างเป็นระบบต่อเนื่องในรอบวัน 2. พิธีถือศีลอด เป็นการละเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพ การ ร่วมเพศ การนินทา ตลอดจนการประพฤติที่ผิดบาป ทุกอย่าง จะกระทำ�ในเดือนรอมฎอนเป็นเวลา 1 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการชำ�ระจิตใจให้บริสุทธิ์ ฝึกความอดทน ต่อการยั่วยวนของกิเลส 3. พิธีฮัจญ์ เป็นการไปทำ�ศาสนกิจ ณ นครเมกกะ ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งถือเป็นข้อกำ�หนดประการหนึ่งที่อัล เลาะห์ทรงบัญญัติไว้ให้แก่มุสลิม คุณสมบัติของผู้ที่ไป ประ-กอบพิธีฮัจญ์ คือ ต้องเป็นมุสลิม บรรลุศาสนภาวะ มีสติปัญญาสมบูรณ์ มีความสามารถ เช่น มีทุนทรัพย์ เพียงพอ มีสุขภาพแข็งแรง มีการเดินทางที่ปลอดภัย

การละหมาดเป็นพิธีกรรมหนึ่งของศาสนาอิสลาม

1) การแต่งงาน จะแต่งงานกับคนนอกวรรณะไม่ได้ 2) อาหารที่รับประทาน จะมีข้อกำ�หนดว่าสิ่งใดกิน ได้หรือไม่ได้ คนในวรรณะที่ต่ำ�กว่าจะปรุงอาหารให้คน วรรณะที่สูงกว่ากินไม่ได้ 3) อาชีพ ต้องประกอบอาชีพตามกำ�หนดของแต่ละ วรรณะ 4) เคหสถานที่อยู่ ในกฎเดิมห้ามมีถิ่นฐานบ้านช่อง นอกเขตประเทศอินเดีย ห้ามเดินเรือในทะเล แต่ใน ปัจจุบันไม่ค่อยยึดถือปฏิบัติกัน 2. พิธีประจำ�บ้านหรือพิธีสังสการ เป็นพิธีกรรมที่ทำ�ให้บริสุทธิ์ ซึ่งผู้ที่อยู่ใน วรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ จะ ต้องปฏิบัติตาม มีอยู่ 12 อย่าง ดังนี้ พิธีสังสการ (1) พิธีตั้งครรภ์ (2) พิธีเมื่อเด็กมีปราณ (3) พิธีแยกหญิงตั้งครรภ์ (4) พิธีคลอดบุตร (5) พิธตี ั้งชื่อเด็ก (6) พิธีนำ�เด็กออกไปดูดวงอาทิตย์ (7) พิธีป้อนข้าว (8) พิธีโกนผม (9) พิธีตัดผม (10) พิธีเริ่มการศึกษา (11) พิธีกลับเข้าบ้าน (12) พิธีแต่งงาน


27 3. พิธีศราทธ์ เป็นพิธีทำ�บุญอย่างหนึ่งที่ลูกหลานทำ�บุญอุทิศให้แก่ บิดามารดาหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จะกระทำ� กันในเดือน 10 ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ� จนถึงวันแรม 15 ค่ำ� การทำ�บุญนี้ เรียกว่า ทำ�ปิณฑะ ซึ่งหมายถึง ก้อน ข้าวที่จะถวายอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ 4. พิธีบูชาเทวดา ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในวรรณะสูงจะมีพิธีสวดมนต์ภาวนา อาบน้ำ�เพื่อชำ�ระร่างกาย และสังเวยเทวดาทุกวัน และ ในวันศักดิ์สิทธิ์จะไปนัมสการบำ�เพ็ญกุศลในเทวาลัย แต่ ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในวรรณะต่ำ�จะปฏิบัติแตกต่างออกไป

7 พิธีกรรมสำ�คัญของศาสนาซิกข์ พิธีกรรมสำ�คัญของศาสนาซิกข์ ได้แก่

1. พิธีสังคัต เป็นพิธีชุมนุมของผ้นับถือศาสนาซิกข์ ซึ่งทุกคนจะ มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน จะไม่มีใครได้รับการ ยกเว้นเป็นพิเศษ เช่น ต้องตักน้ำ�เช็ดรองเท้าด้วยตนเอง เป็นต้น

2. พิธีอมฤตสังกสาร เป็นพิธีในการรับคนเข้าสู่ศาสนาซิกข์ ซึ่งจะใช้หลัก แห่งความเสมอภาคกันและไม่รังเกียจกัน 3. พิธีปาหุล เป็นพิธีล้างบาป หลังจากผ่านพิธีปาหุลแล้ว ผู้ชายจะ มีชื่อลงท้ายว่า “สิงห์” หรือ “ซิงซ์” หมายถึง ความเข้ม แข็งดังเช่นสิงโต ส่วนผู้หญิงจะมีชื่อลงท้ายว่า “เการ์” หมายถึง เจ้าหญิง เมื่อเสร็จพิธีแล้วจะได้รับ กกะ กกะ ได้แก่ สิ่งที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “ก” 5 ประการ ได้แก่ เกศ : ต้องไว้ผมยาว โดยไม่ตัดหรือโกนเด็ดขาด กังฆา : ต้องมีหวีตดิ ที่ผม กฉา : ต้องสวมกางเกงขาสั้นชั้นใน กรา : ต้องสวมกำ�ไลทีท่ ำ�ด้วยเหล็กไว้ทีขอ้ มือข้างขวา กิรปาน : ต้องพกกริชติดตัว


ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์

ล้วนแล้วสอนให้ทุกคนเป็นคนดีของสังคม

ขอขอบคุณที่มา : เยาวลักษณ์ อักษรและคณะ, 2551, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์ไทยร่มเกล้า, หน้า 3-40. สุเทพ จิตรชื่น และคณะ, 2551, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, กรุงเทพฯ : สำ�นัก พิมพ์วัฒนาพทนิช, หน้า 23-41. จงจรัส แจ่มจันทร์, 2551, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์ไทยร่มเกล้า, หน้า 4-29.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.