ปที่ 9 ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2562
สัมภาษณ
คุณเกร�ยงศักดิ์ หลอวัฒนตระกูล
อดีตประธานกรรมการสภาการเหมืองแร
“แรแรรเอิรธ (Rare Earth) แรหายากที่มีบทบาทสำคัญ ในอุตสาหกรรมไฮเทค”
รมว. อุตสาหกรรม ออกนโยบายนำน้ำจาก ข�มเหมืองทั่วประเทศ ใหประชาชนใชประโยชน รับมือว�กฤตภัยแลง
กพร. รวมจัดสัมมนา ภายในงาน Thailand Industry Expo 2019 บนแนวคิด “สานพลัง รวมใจ ว�วัฒนอุตสาหกรรม สูอนาคต”
กพร. จัดสัมมนาว�ชาการ “Innovation in Raw Materials Conference 2019: Circular Economy” มุงใหผูประกอบการใชประโยชน จากทรัพยากรสูงสุด
การประชุม คณะกรรมการแร ครั้งที่ 6/2562
หมดห�วง ไม�ว�า
งานขุดลึกหรือไกลแค�ไหนก็ตาม ใช�งานง�าย
ตอบโจทย�ทุกการใช�งานอย�างครบครัน
ประสิทธิภาพสูง
แข็งแกร�ง พร�อมลุยทุกงานไปกับคุณ
ประหยัดสูงสุด
แรงขุดดังใจ สบายเหนือชั้น บริษัท ลีดเวย� เฮฟวี่ แมชชีนเนอร�รี่ จำกัด
(สำนักงานใหญ�การปฏิบัติการ) เลขที่ 1/2 หมู�ที่ 2 ถนนบางนา-ตราด กม.40 ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24130 ประเทศไทย Sales/ฝ�ายขาย : +66 (0) 38 086 731, +66 (0) 91 119 9220 Service/ฝ�ายบริการ : +66 (0) 91 119 9219 Spare parts/ฝ�ายอะไหล� : +66 (0) 38 086 733 Fax./แฟกซ� : +66 (0) 38 086 730 E-mail/อีเมลล� : info@leadwayheavy.com Website/เว็บไซต� : www.leadwayheavy.com Administrative Head Office สำนักงานใหญ�การบริหาร
102/1, 102/3 หมู�ที่ 6 ต.สันทรายน�อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม� 50210 ประเทศไทย Tel/โทรศัพท� : +66 (0) 5349 2721-3 Fax/แฟกซ� : +66 (0) 5349 2724
@Leadway-Sumitomo Leadway Sumitomo WWW
www.leadwayheavy.com
Leadway Call Center 02 021 5577
รับข�อมูลข�าวสาร พร�อมลุ�นรับรางวัลมากมายกับเรา ผ�านทาง Line ได�แล�ววันนี้
9
4 เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2562
คณะกรรมการสภาการเหมืองแร่
1. นายเข็มชาติ ว่องชาญกิจ 2. น.ส.อัญชลี ตระกูลดิษฐ์ 3. นายดิเรก รัตนวิชช์ 4. นายยุทธ เอีย่ มสะอาด 5. นายวัลลภ การวิวฒ ั น์ 6. นายทวี ทวีสขุ เสถียร 7. นายอนุพงศ์ โรจน์สพ ุ จน์ 8. นายชาญณรงค์ ทองแจ่ม 9. นายศิรชิ ยั มาโนช 10. นายศิรสิทธิ์ สืบศิร ิ 11. นายสุรชิต มานะจิตต์ 12. นายเสกข์สรร ธีระวาณิชย์ 13. นายสุรพล อุดมพรวิรตั น์ 14. นายยงยุทธ รัตนสิร ิ 15. นายณรงค์ จ�ำปาศักดิ ์ 16. นายอภิชาติ สายะสิญจน์ 17. นายสุเทพ สุนทรารัณย์ 18. นายอับดุลลาเตะ ยากัต
ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่ กรรมการสภาการเหมืองแร่
ทีอ่ ยู่ สภาการเหมืองแร่
222/2 ซอยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2275-7684-6 แฟกซ์ 0-2692-3321 E-mail Contact : miningthai@miningthai.org Website : www.miningthai.org ID LINE : miningthai ที่ปรึกษา : เข็มชาติ ว่องชาญกิจ ประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ วัลลภ การวิวัฒน์ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ และประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ บรรณาธิการ : สุรีย์พร วงศ์ศรีตระกูล กองบรรณาธิการ : ทัศนีย์ เรืองติก / อ�ำพันธุ์ ไตรรัตน์ / ชุติภา จริตพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : เขมจิรา ปลาทิพย์ ฝ่ายโฆษณา : ศิริภรณ์ กลิ่นขจร / กษิรา เหมบัณฑิตย์ / กัลยา ทรัพย์ภริ มย์ จัดท�ำโดย : บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จ�ำกัด เลขที่ 471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2354-5333 แฟกซ์ 0-2640-4260 **วารสารเหมืองแร่ จัดท�ำขึน้ เพือ่ ให้ขอ้ มูลข่าวสารทีเ่ ป็นประโยชน์แก่สมาชิกสภาการเหมืองแร่ ประชาสัมพันธ์การด�ำเนินงานและกิจการของสภาฯ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ทัง้ นีบ้ ทความต่างๆ ใน วารสารเหมืองแร่ นีเ้ ป็นดุลพินจิ ของกองบรรณาธิการ โดยจะออกทุกๆ 2 เดือน
แวดวงชาวเหมือง l
กองบรรณาธิการ
งานสัมมนาวิชาการ
“Innovation in Raw Materials Conference 2019: Circular Economy” อภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ “Innovation in Raw Materials Conference 2019: Circular Economy” ซึ่งจัดโดย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เพื่อถ่ายทอดความรู้ เกีย่ วกับการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศไปสูเ่ ศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy แก่ผปู้ ระกอบการนำ�ไปปรับใช้ให้เกิด การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดบนพืน้ ฐานของการดำ�เนินการทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ตัง้ แต่การผลิต การบริโภค จนถึงการนำ�กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ ช่วยสร้างสมดุลให้กับธุรกิจ คุณภาพชีวิต และอนาคตโลกที่ยั่งยืนต่อไป โดยมี วิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
อภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
วิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ (กพร.)
ถ่ายภาพร่วมกัน
ประธานในพิธีเยี่ยมชมภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล
นิทรรศการนวัตกรรมของผู้ประกอบการภายในงาน
6
July-August 2019
บรรยากาศภายในงาน
ตัวอย่างทองค�ำที่ได้จากการรีไซเคิล ด้วยเทคโนโลยีภายในศูนย์ฯ
กพร. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบ การติดตั้ง และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบควบคุมมลพิษ ให้แก่อาจารย์ และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาและเจ้าหน้าที่ กพร.
กองนวั ต กรรมวั ต ถุ ดิ บ และอุ ต สาหกรรรมต่ อ เนื่ อ ง กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ (กพร.) จั ด ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบ การติดตั้ง และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบควบคุม มลพิษ ของศูนย์วจิ ยั และพัฒนาเทคโนโลยีรไี ซเคิล โดยมี ธีรวุธ ตันนุกิจ วิศวกรโลหการชำ�นาญการพิเศษ กรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) พร้อมทีมงาน เป็นวิทยากร บรรยาย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนผลงานการ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลให้แก่อาจารย์และนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาและเจ้าหน้าที่ กพร. ณ ศูนย์วิจัย และ พั ฒ นาเทคโนโลยี รี ไ ซเคิ ล อำ�เภอพระประแดง จั ง หวั ด สมุทรปราการ
ธีรวุธ ตันนุกิจ วิศวกรโลหการช�ำนาญการพิเศษ กพร.
กพร. กำ�ชับเหมืองแร่เข้มงวดการใช้วัตถุระเบิด กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ (กพร.) กำ�ชับผู้ประกอบการเหมืองแร่ควบคุมดูแลการใช้วัตถุระเบิด อย่างเข้มงวด เตรียมการป้องกันและรับมือกับเหตุความไม่สงบ วิษณุ ทับเทีย่ ง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการ เหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบในพืน้ ที่ กรุงเทพมหานครหลายจุด เพือ่ เตรียมการป้องกันและรับมือกับ
เหตุ ค วามไม่ ส งบดั ง กล่ า ว กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและ การเหมืองแร่ ขอความร่วมมือผู้ประกอบการเหมืองแร่ควบคุม ดูแลการใช้วตั ถุระเบิดอย่างเข้มงวด ให้มกี ารใช้วตั ถุระเบิดเฉพาะ ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต เป็นไปตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และกฎหมายเกีย่ วข้อง ทัง้ นี้ หากเกิดการกระทำ�ผิดตาม กฎหมายแร่ อาจมีโทษถึงขั้นเพิกถอนประทานบัตร July-August 2019
7
News
รมว.อุตสาหกรรม ออกนโยบาย
นำ�น้ำ�จากขุมเหมืองทั่วประเทศให้ประชาชนใช้ประโยชน์ รับมือวิกฤตภัยแล้ง
ทัศนียภาพขุมเหมือง บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำ�กัด สุ ริ ย ะ จึ ง รุ่ ง เรื อ งกิ จ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวง อุตสาหกรรม กำ�หนดนโยบายนำ�น้ำ�จากขุมเหมืองทั่ว ประเทศ ช่วยเหลือประชาชนรับมือภัยแล้ง สุ ริ ย ะ จึ ง รุ่ ง เรื อ งกิ จ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวง อุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำ�ลังเผชิญ กับปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงกำ�หนดมาตรการในการช่วยเหลือประชาชน โดยได้ มอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จัดหาแหล่งน้ำ�จากขุมเหมืองทั่วประเทศ สำ�หรับ ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง โดยให้ประสานกับ ผู้ประกอบการเหมืองแร่หาแนวทางนำ�น้ำ�จากขุมเหมือง ทีค่ ณ ุ ภาพน้ำ�อยูใ่ นเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ�ในแหล่งน้ำ� ผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไปใช้ประโยชน์เพือ่ ช่วยบรรเทาและแก้ปญ ั หาภัยแล้งให้กบั ประชาชน ส่วนน้ำ�จากขุมเหมืองทีผ่ า่ นการทำ�เหมืองแร่แล้ว และปิดกิจการไปแล้ว ให้ประสานองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและเจ้าของพื้นที่หาแนวทางนำ�น้ำ�จากขุมเหมือง ไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีพื้นที่ประทานบัตรที่มีศักยภาพสามารถ นำ�น้ำ� มาใช้ แ ก้ ปั ญ หาภั ย แล้ ง ไม่ น้ อ ยกว่ า 200 แปลง มีปริมาตรน้ำ�ไม่นอ้ ยกว่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตร กระจาย
8
July-August 2019
อยู่ทั่วประเทศ จึงมอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ไปสำ�รวจและประสานกับผูป้ ระกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าของพื้นที่หาแนวทาง นำ�น้ำ�ในขุมเหมืองมาใช้แก้ปัญหาภัยแล้งให้เป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมาในบางพื้นที่มีการนำ�น้ำ�จากขุมเหมืองที่ผ่าน การทำ�เหมืองแร่แล้วไปใช้เพื่อการอุปโภค แหล่งประมง และการทำ�เกษตรกรรมแล้วในหลายพืน้ ที่ อาทิ ขุมเหมือง ของบริษัท ศิลาสานนท์ จำ�กัด อำ�เภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ขุมเหมืองของบริษทั เอสซีจี ซิเมนต์ จำ�กัด อำ�เภอลี้ จังหวัดลำ�พูน ขุมเหมืองของบริษัท ศิลาน้ำ�ยืน จำ�กัด ที่อำ�เภอน้ำ�ยืน จังหวัดอุบลราชธานี ขุมเหมือง ของห้างหุ้นส่วนจำ�กัด โรงโม่หินชุมแพรุ่งเรือง อำ�เภอ ภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และขุมเหมืองของบริษัท พิพัฒน์กร จำ�กัด อำ�เภอเมือง จังหวัดตาก เป็นต้น “การนำ�น้ำ�จากขุมเหมืองมาใช้ประโยชน์เพื่อช่วย บรรเทาและแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชน ถือเป็นการ ใช้ทรัพยากรด้านพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าสูงสุด รวมทัง้ ถือเป็นความร่วมมือระหว่างผูป้ ระกอบการเหมืองแร่ กับประชาชนในการรับมือกับภัยแล้ง เพื่อการอยู่ร่วมกัน ของอุ ต สาหกรรมเหมื อ งแร่ แ ละชุ ม ชนได้ เ ป็ น อย่ า งดี ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย
Contents ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2562
24 6 8
21 แวดวงชาวเหมือง
12 24
News
11 การประชุมคณะกรรมการแร่
การประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 6/2562
12 Interview คุณเกรียงศักดิ์ หลอ่ วัฒนตระกูล “แรแ่ รร์เอิร์ธ” แรห่ ายากที่มีบทบาทสำ�คัญในอุตสาหกรรมไฮเทค” กองบรรณาธิการ
17 บทความพิเศษ Rare Earth Outlook ภิตินันท์ อินมูล
20 การคา้ แร่ 21 เหมืองแรส่ ีเขียว
กพร. จัดสัมมนาวิชาการ “Innovation in Raw Materials Conference 2019 : Circular Economy” มุ่งให้ผู้ประกอบการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด กองบรรณาธิการ
Report กพร. ร่วมจัดสัมมนาภายในงาน Thailand Industry Expo 2019 บนแนวคิด “สานพลัง รว่ มใจ วิวัฒนอ์ ุตสาหกรรมสูอ่ นาคต” กองบรรณาธิการ
28
สผ. รว่ มกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดลอ้ มไทย นำ�เสนอรา่ งรายงานสถานการณค์ ุณภาพสิ่งแวดลอ้ ม พ.ศ. 2562 ชี้มี 4 ประเด็นต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน กองบรรณาธิการ
31 เรื่องเลา่ จากชาวเหมือง คนขี้คุย
รุง่ ศักดิ์ อินทร์สิงห์
34 แรน่ า่ รู้
หินน้ำ�มัน : หินติดไฟ มยุรี ปาลวงศ์
36 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม 38 สาระนา่ รู้
การประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 6/2562
อัญชลี ตระกูลดิษฐ รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ ทำ�การแทนประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ ได้มอบหมายให้ ทวี ทวีสุขเสถียร รองประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ พร้อมผู้ติดตาม คือ ยงยุทธ รัตนสิริ กรรมการสภาการเหมืองแร่ และ สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ เลขาธิการสภาการเหมืองแร่ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการแร่ ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 โดยคณะกรรมการมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ดังนี้ 1) คำ�ขอประทานบัตร จำ�นวน 4 ราย รวม 5 แปลง ลำ�ดับ
เลขที่คำ�ขอ
ชื่อผู้ขอ
ตำ�บล
อำ�เภอ
จังหวัด
3
7/2556
บริษัท เพียวไบรท์ จำ�กัด
ไม้เรียง
ฉวาง
นครศรีธรรมราช
4
3/2559
ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด โรงงานโม่บดหินย่งล้ง
ไพล
ปราสาท
ชนิดแร่ มีอายุ/ปี หินอุตสาหกรรมชนิด หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม 3/2557 ก่อสร้างและหิน และ อุ ตสาหกรรมชนิด 7/2557 บริษัท มานะศิลา 2537 จำ�กัด หินตก ร่อนพิบูลย์ นครศรี27 1 หินดินดานเพื่อ ธรรมราช ซึ่งร่วมแผนผัง และห้างหุ้นส่วนจำ�กัด วังศิลา อุตสาหกรรมอื่นๆ โครงการทำ� หินอุตสาหกรรมชนิด เหมืองเดียวกัน หินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง หินอุตสาหกรรมชนิด 1/2558 2 บ้านโพธิ์ เมืองตรัง บริษัท ภูศรีตรัง จำ�กัด ตรัง 7 หินทรายแป้งเพื่อ อุตสาหกรรมก่อสร้าง ยิปซัมและแอนไฮไดรต์
12
หินอุตสาหกรรมชนิดหิน สุรินทร์ บะซอลต์เพื่ออุตสาหกรรม 17 ก่อสร้าง
2) คำ�ขอต่ออายุประทานบัตร จำ�นวน 1 ราย รวม 1 แปลง ลำ�ดับ 1
เลขที่คำ�ขอ
ชื่อผู้ขอ
ตำ�บล
อำ�เภอ
จังหวัด
1/2561 บริษทั ศิลาสามยอด จำ�กัด ป่าพลู บ้านโฮ่ง ลำ�พูน (25856/14715)
ชนิดแร่ มีอายุ/ปี ฟลูออไรต์และหินอุตสาหกรรม 5 ชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง
3) คำ�ขอโอนประทานบัตร จำ�นวน 1 ราย รวม 1 แปลง ลำ�ดับ
เลขที่คำ�ขอ
ชื่อผู้ขอ นางยุพิน เฮงเส็ง และ นายนิพล เฮงเส็ง 1/2562 1 ขอรั บ โอนประทานบัตรของ (326549/15922) นายฮิ้น เฮงเส็ง โดยการตกทอด
ตำ�บล
อำ�เภอ
จังหวัด
ชนิดแร่
มีอายุ/ปี
กลอนโด ด่านมะขามเตีย้ กาญจนบุรี ดินขาว เห็นชอบโอน
July-August 2019
11
Interview l
กองบรรณาธิการ
“แร่ แ รร์ เ อิ ร ธ ์ ” แร่หายากที่มีบทบาทสำ�คัญ ในอุตสาหกรรมไฮเทค
พบบริเวณแหล่งแร่ดีบุกเก่า-ชายหาดของไทย ธาตุแรร์เอิร์ธ (Rare-Earth Element)
เป็ น ธาตุ ที่ ห ายาก ราคาแพง เนื่ อ งจากเป็ น By Product ของเหมืองแร่ชนิดอื่นๆ ซึ่งพบได้ ทัว่ ไปในแต่ละประเทศ แต่การรวบรวมและทำ�การ แยกแร่ แ ละสกั ด ธาตุ เพื่ อ นำ�มาใช้ ป ระโยชน์ ในภาคอุตสาหกรรมนั้นต้องอาศัยความรู้ความ เชี่ยวชาญและประสบการณ์ของผู้ประกอบการ เหมืองแร่และโรงสกัดธาตุ สำ�หรับในประเทศไทย นัน้ จากการสำ�รวจพบว่าสามารถผลิตแร่แรร์เอิรธ์ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก
>> ทำ�ความรู้จักแร่หายาก
เกรียงศักดิ์ หล่อวัฒนตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สินแร่สาคร จำ�กัด
12
July-August 2019
เกรียงศักดิ์ หล่อวัฒนตระกูล กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท สินแร่สาคร จำ�กัด ในฐานะ อดีตประธานกรรมการสภาการเหมืองแร่ กล่าวว่า แร่แรร์เอิร์ธ (Rare-Earth) เป็นสินแร่ชนิดโลหะ ที่ประกอบด้วยธาตุหายาก (Element) 17 ชนิด และธาตุ Rare-Earth Element ที่หายาก ได้แก่ แลนทานัม (La), ซีเรียม (Ce), เพรสสิโอไดเมียม (Pr), นี โ อดิ เ มี ย ม (Nd), โพรมี เ ที ย ม (Pm), ซาแมเรียม (Sm), ยูโรเพียม (Eu), แกโดลิเนียม (Gd), เทอร์ เ บี ย ม (Tb), ดิ ส โพรเซี ย ม (Dy), โฮลเมียม (Ho), เออร์เบียม (Er), ทูเลียม (Tm), อิตเทอร์เบียม (Ym), ลูทีเชียม (Lu), สแกนเดียม (Sc) และอิตเทรียม (Y)
แร่แรร์เอิร์ธ (Rare-Earth) ยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Light Rare Earths (LREE) หรือแรร์เอิร์ธเบา ได้แก่ แบสต์เนไซต์ ซึ่งเป็น ผลพลอยได้จาการทำ�เหมืองเหล็ก, Medium Rare Earth (MREE) หรือ แรร์เอิรธ์ ปานกลาง ได้แก่ โมนาไซต์ และ Heavy Rare Earth (HREE) หรือ แร่แรร์เอิร์ธหนัก ได้แก่ ซีโนไทน์ ทั้งแร่ Monazite และแร่ Xenotime ส่วนใหญ่เป็นแร่พลอยได้จากแหล่งแร่ดีบุกและแหล่งแร่ชายหาด (Beach Sand Minerals)
>> แหล่งแร่แรร์เอิร์ธในไทยและต่างประเทศ
สำ�หรับในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีการผลิตแร่แรร์เอิร์ธ ติดอันดับ 5 ของโลก เนื่องจากตั้งอยู่บนสายแร่ดีบุก และประกอบกับยังมี การนำ�เข้าแร่คละจากต่างประเทศมาผลิตในประเทศอีกด้วย จากการสำ�รวจ ตรวจพบว่ามีแร่แรร์เอิร์ธ 2 ชนิด คือ โมนาไซต์ ได้แก่ แลนทานัม (La), ซีเรียม (Ce), เพรสสิโอไดเมียม (Pr), นีโอดิเมียม (Nd), โพรมีเทียม (Pm), ซาแมเรียม (Sm) และยูโรเพียม (Eu) ซึ่งจะอยู่ในเหมืองดีบุกและแร่หนัก ชายหาด โดยเฉพาะหัวหิน เขาเต่า ซึ่งเป็น Beach Sand มีโมนาไซต์ เกือบ 10% และซีโนไทน์ ได้แก่ แกโดลิเนียม (Gd), เทอร์เบียม (Tb), ดิสโพรเซียม (Dy), โฮลเมียม (Ho), เออร์เบียม (Er), ทูเลียม (Tm), อิตเทอร์เบียม (Ym), ลูทีเชียม (Lu) และอิตเทรียม (Y) ซึ่งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปปะปนอยู่กับ แหล่งแร่ดีบุกรวมถึงหางแร่ดีบุกในขุมเหมืองแร่เก่าๆ และแร่ชายหาด การทีแ่ ร่แรร์เอิรธ์ อยูก่ ระจัดกระจายทัว่ ไปในขุมเหมืองเก่า โดยเฉพาะ ในหางแร่ดีบุกแหล่งแร่ชายหาดของไทย จึงเป็นเรื่องยากที่ผู้ประกอบการ จะผลิตแร่แรร์เอิร์ธให้ได้ในปริมาณที่มาก อีกทั้งยังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากไม่สามารถที่จะรวบรวมหางแร่ดีบุกทั้งบนบกและในทะเล และ แหล่งแร่ชายหาดทั่วไป ซึ่งมักจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญ เช่น แถวภาค ตะวันออก และหัวหิน จังหวัดประจวบศีรขี นั ธ์ ลงไปถึงชุมพร ทางฝัง่ ตะวันตก ในทะเลมีตลอดแนว พังงา ภูเก็ต แร่มีอยู่มากโดยเฉพาะในหางแร่ดีบุกจะมี แร่โมนาไซต์เฉลีย่ 2-3% แร่แรร์เอิรท์ ในประเทศไทยมีอยูม่ ากแต่ไม่สามารถ รวบรวมได้ เพราะกระจายไปทั่วในแหล่งแร่ดีบุกเก่าและแหล่งท่องเที่ยว ตามชายหาดเกือบทุกแห่ง สำ�หรับแหล่งแร่แรร์เอิร์ธในต่างประเทศที่สำ�คัญ ในต่างประเทศ พบมากที่สุดในประเทศจีน ซึ่งเป็น ผู้ผลิตและแหล่งสำ�รองแร่แรร์เอิร์ธที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยเน้นหนักไปที่แบสต์เนไซต์ อันดับที่ 2 ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย อันดับ 3 คือ ประเทศรัสเซีย อันดับ 4 ประเทศบราซิล และอันดับ 5 ประเทศไทย
แร่ แ รร์ เ อิ ร์ ธ นี้ จ ะต้ อ งแต่ ง แยกให้ ส ะอาด ประมาณ 90% ซึง่ อยูใ่ นรูป Rare Earth Phosphate ส่ ง ไปขายที่ จี น ซึ่ ง มี โ รงงานสกั ด ธาตุ แ รร์ เ อิ ร์ ธ ออกเป็น Reo แต่ละชนิดแล้ว และทำ�เป็นธาตุ Rare Earth เพื่อจำ�หน่ายไปใช้ในอุตสาหกรรม ไฮเทคต่อไป ในขั้นสกัดนี้จีนผลิต 90% ของโลก
>> แร่แรร์เอิร์ธมีบทบาทสำ�คัญต่อ ภาคอุตสาหกรรมและชีวติ ประจำ�วัน
เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า แร่แรร์เอิร์ธมีบทบาท สำ�คัญต่อภาคอุตสาหกรรมและชีวติ ประจำ�วัน เช่น อิตเทรียม (Y) ใช้ในการผลิตหลอดภาพของทีวีสี เตาไมโครเวฟ ราคาจะสูงมาก โดยที่จีนจำ�หน่าย กิ โ ลกรั ม ละประมาณ 30,000-40,000 บาท เพราะทำ�ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ต้นทุนถูกกว่ามาก ขณะทีฝ่ รัง่ เศส เทคโนโลยีและค่าแรงจะแพง ทำ�ให้ ราคาสูงประมาณ 200,000 บาท ดิสโพรเซียม (Dy) ใช้ประโยชน์ในการเป็นตัวยับยั้งในเชื้อเพลิง นิวเคลียร์ และอยู่ในรถไฟแม่เหล็ก ราคาแพงมาก แลนทานัม (La) ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และ กล้องถ่ายภาพ เช่น กระจกเลนส์ ไฟถ่ายภาพยนตร์ เพือ่ เคลือบหน้าเลนส์ชว่ ยลดแสงสะท้อน ทนความ ร้อน ทนต่อการขีดข่วน และให้แสงส่องสว่างได้ดี ซี เ รี ย ม (Ce) ใช้ ผ สมในเหล็ ก หล่ อ ชนิ ด พิ เ ศษ ุ สมบัติ สำ�หรับกรองไอเสียในรถยนต์ เนือ่ งจากมีคณ ทนความร้อนได้สูง การผลิตผงขัดเลนส์ การเติม ให้เกิดสีในแก้ว การเติมในสีทนแสงยูวี การผลิต สารเร่งปฏิกิริยาในการกลั่นน้ำ�มัน โพรมีเทียม (Pm) ใช้ประโยชน์ในโรงงานผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ แบตเตอรี่กึ่งตัวนำ�ชนิดพิเศษ สีเรืองแสงสำ�หรับ หน้าปัดนาฬิกาและเป็นแหล่งรังสี X นีโอดิเมียม (Nd) ใช้ในการผลิตแม่เหล็กทีใ่ ช้ในการผลิตลำ�โพง และฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ และเพรสสิโอไดเมียม (Pr) เป็นสารประกอบความแข็งแกร่งให้กับโลหะ ที่ใช้ในการผลิตใยแก้วนำ�แสงและเครื่องยนต์ของ เครื่องบิน เป็นต้น
July-August 2019
13
>> การผลิตแร่แรร์เอิร์ธในไทย
ปัจจุบัน บริษัท สินแร่สาคร จำ�กัด ถือเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจแร่ Heavy Sand ทุกชนิดเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย โดยขออนุญาตนำ�เข้า แร่คละจากหลายประเทศที่มีเหมืองแร่ชายหาดและเหมืองดีบุกเข้ามาแยก เพื่อให้ได้แร่แรร์เอิร์ทและแร่แต่ละชนิดแยกออกจากกัน โดยนำ�มาแต่งแร่ ในโรงแต่งแร่ให้สะอาดประมาณ 90% ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะ ได้แร่แรร์เอิร์ทที่มีคุณสมบัติที่ดี มีคุณภาพ ตามประเภทของแร่แรร์เอิร์ธ เบา กลาง หนัก ตามทีต่ ลาดต้องการ โดยในแต่ละปีสามารถแยกแร่จากแร่คละ หลายหมื่นตัน ส่วนใหญ่จะเป็นโมนาไซต์ประมาณ 3-5% และสามารถ ผลิตซีโนไทน์ โดยแยกจากโมนาไซต์อกี ต่อหนึง่ ในสัดส่วนประมาณ 1 ใน 20 สำ�หรับราคาของแร่แรร์เอิร์ธ หากเป็นแร่แรร์เอิร์ธหนักจะมีราคา ที่สูงมาก ส่วนแรร์เอิร์ธเบาจะมีราคาที่ถูกลงตามราคาท้องตลาดในแต่ละ ช่วงเวลานั้นๆ เช่น โมนาไซต์ มีจำ�นวนมากในประเทศไทย ในอดีตราคา ตันละ 300 เหรียญสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันราคาตันละ 3,000 เหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เหตุผลสำ�คัญทีท่ ำ�ให้ผปู้ ระกอบการเหมืองแร่ไม่สามารถ ผลิตแร่แรร์เอิร์ธได้ เนื่องจากขั้นตอนของกฎหมายที่ยุ่งยาก เนื่องจากแร่ แรร์เอิร์ธส่วนใหญ่อยู่กระจัดกระจายไปตามมูลแร่ แร่คละของเหมืองแร่ ดี บุ ก เก่ า ทั้ ง บนบกและในทะเล ในกรณี มู ล แร่ เ ก่ า บนบก ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ ประทานบัตรหมดอายุแล้ว จะต้องขอประทานบัตรใหม่ หรือขอครอบครอง กองแร่ ซึง่ กระจัดกระจายไปหลายพืน้ ที่ อีกทัง้ การขอประทานบัตรใหม่กใ็ ช้ เวลานานมาก เพราะติดขั้นตอนมากมาย และพื้นที่หลายแห่งที่สำ�คัญก็อยู่ ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว เช่น บริเวณภูเก็ต พังงา และบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะในทะเล ซึ่งมีแร่แรร์เอิร์ธจำ�นวนมหาศาลกระจายตัวอยู่บริเวณ ดังกล่าว ถ้าสามารถขอประทานบัตรทำ�เหมืองใหม่บริเวณทะเลภูเก็ตและ พังงา ก็จะได้แร่แรร์เอิร์ธและดีบุกแหล่งใหญ่มาก แต่ขอยาก เพราะต้อง ผ่านเรื่องสิ่งแวดล้อม และ NGO แต่ในอนาคต หากแร่แรร์เอิร์ธขาดแคลน มาก และจำ�เป็นต้องใช้ถอื ว่าไทยยังมีแหล่งแร่แรร์เอิรธ์ สำ�รองมากพอสมควร
14
July-August 2019
ในการผลิต แร่แรร์เอิร์ธนั้น นอกจาก จะส่งเสริมการผลิต แร่แรร์เอิร์ธแล้ว ยังต้อง เปิดไฟเขียวส่งเสริม การตั้งโรงสกัดแรร์เอิร์ธ อีกด้วย จึงจะสมบูรณ์ และมีโอกาสผลิต แร่แรร์เอิร์ธมากจนอาจจะ เป็นมหาอำ�นาจในการ ผลิตแร่แรร์เอิร์ธส่งขาย ในระดับโลกได้ กรณี ก ารขอครอบครองมู ล แร่ ใ นเขต ประทานบัตรเก่า ซึง่ เลิกทำ�เหมืองไปแล้วนัน้ ปัญหา คือใครเป็นเจ้าของแร่ที่มีสิทธิ์จะครอบครอง พื้นที่ ทีม่ ลู แร่กองอยูเ่ ป็นทีด่ นิ กรรมสิทธิข์ องใคร และต้อง ให้เจ้าหน้าทีไ่ ปชักตัวอย่างวิเคราะห์แร่ เพือ่ คำ�นวณ มูลค่า และงานค้ำ�ประกันค่าภาคหลวงในแต่ละพืน้ ที่ ตลอดจนการขออนุ ญ าตตั้ ง โรงแต่ ง ในบริ เ วณ เหมื อ งแร่ เ ก่ า จะถื อ เป็ น การแต่ ง แร่ หรื อ การ
Cr ภาพ เพจจับเข่าเล่าประวัติศาสตร์ ทำ�เหมือง ในแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลานานรวมหลายปี ผู้ประกอบการจึง นิยมนำ�เข้าแร่คละจากต่างประเทศมาแต่ง ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่ามาก โดยเสีย ภาษีนำ�เข้าและภาษี Vat 7% และมีข้อดี คือ เป็นการอนุรักษ์แร่ในประเทศ ไว้ใช้ในคราวจำ�เป็นในอนาคต
>> อนาคตแร่แรร์เอิร์ธจะสำ�คัญมากขึ้น-มูลค่าสูงขึ้น
ไทยมีแหล่งแร่แรร์เอิร์ธเพียบ หากรัฐเปิดไฟเขียว ในอนาคตไทย อาจเป็นหนึ่งในมหาอำ�นาจทางการผลิตแร่แรร์เอิร์ธ ส่วนใหญ่แหล่งแร่ แรร์เอิรธ์ จะอยูท่ ง้ั ในทะเลและบนบกของจังหวัดพังงาและภูเก็ต ทีเ่ ป็นแหล่งแร่ ดีบุกเก่า และแร่แรร์เอิร์ธยังมีตามแนวชายหาดตั้งแต่หัวหินลงไปถึงชุมพร สุราษฎร์ธานี ฝั่งตะวันตกของไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ โดยเฉพาะตามแนว เทือกเขาตะนาวศรี มีแร่แรร์เอิร์ธมากทั้งทางฝั่งไทยและพม่า ในอนาคตแร่แรร์เอิรธ์ จะมีความสำ�คัญมากขึน้ มูลค่าสูงขึน้ รัฐบาล ไทยน่าจะจัดให้มีการทำ�เหมืองในทะเลผสมผสานกับการท่องเที่ยวได้ก็จะ เป็นการจัดการทีด่ ี โดยจัดให้เหมืองแร่บางครัง้ ก็เป็นแหล่งท่องเทีย่ วได้ จาก ที่ผ่านมาพบว่า การทำ�เหมืองในทะเลที่ดูเหมือนว่าจะทำ�ลายภูมิประเทศ และน้ำ�ขุ่นนั้น เมื่อมีมรสุม ผ่านเข้ามาเพียงครั้งเดียวมันจะจัดการฟื้นฟู ทุกอย่างให้เข้าที่หมด เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
“ในการผลิ ต แร่ แ รร์ เ อิ ร์ ธ นั้ น นอกจากจะ ส่งเสริมการผลิตแร่แรร์เอิรธ์ แล้ว ยังต้องเปิดไฟเขียว ส่ ง เสริ ม การตั้ ง โรงสกั ด แรร์ เ อิ ร์ ธ อี ก ด้ ว ย จึ ง จะ สมบูรณ์ และมีโอกาสผลิตแร่แรร์เอิรธ์ มากจนอาจ จะเป็นมหาอำ�นาจในการผลิตแร่แรร์เอิร์ธ ส่งขาย ในระดับโลกได้” เกรียงศักดิ์ กล่าว
>> สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐอเมริกากับจีน มีแร่แรร์เอิร์ธเป็นเดิมพัน
ในส่ ว นของประเด็ น สงครามทางการค้ า ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศจีน ซึง่ มี ประเด็นแร่แรร์เอิรธ์ เข้าไปเกีย่ วข้องนัน้ เกรียงศักดิ์ อธิบายว่า เนื่องจากแรร์เอิร์ธเป็นส่วนประกอบ สำ�คัญในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำ�คัญ เช่น ชิปเซ็ตในคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบสำ�คัญ ในโทรศั พ ท์ ส มาร์ ท โฟน ส่ ว นประกอบของ แบตเตอรี่ ในอุปกรณ์ไฮเทค รวมทัง้ อาวุธสงคราม
July-August 2019
15
รถยนต์ ไ ฟฟ้ า โดยประเทศจี น เป็ น ผู้ ส่ ง ออกแรร์ เ อิ ร์ ธ ไปยั ง ประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อที่สหรัฐอเมริกานำ�ไปใช้เป็นส่วนประกอบสำ�คัญในการ ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สื่อสาร ไฟฟ้า และทำ�ผิวเซรามิก เมื่อเกิดสงคราม การค้าขึ้น หากจีนไม่ส่งแร่แรร์เอิร์ธไปให้สหรัฐอเมริกาจริงตามที่จีนขู่นั้น ส่งผลให้สายการผลิตชิน้ ส่วนและอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐอเมริกา หยุดชะงักได้ โดยข้อเท็จจริงแล้ว สหรัฐอเมริกามีแร่แรร์เอิร์ธ แต่ไม่ได้นำ�มาใช้ เพราะจะต้องรวบรวม เนื่องจากแร่กระจัดกระจาย หากซื้อมาจากเหมือง ต่างๆ ต้องใช้เวลาจัดการ และต้องจัดตั้งโรงงานสกัดธาตุแรร์เอิร์ธ ซึ่งมี กระบวนการที่ยุ่งยาก และมีมลภาวะที่ต้องกำ�จัด อันเกิดจากกรดและด่าง จำ�นวนมากในการสกัด และที่สำ�คัญยังมี Thorium Oxide ที่มีรังสีออกมา แต่ทางจีนมีวิธีจัดเก็บ และกำ�จัดสิ่งแวดล้อมได้สมบูรณ์ จึงผลิตได้ปริมาณ 90% ของโลก ที่จีนทำ�ได้เพราะรัฐบาลจีนเห็นความสำ�คัญ จึงอนุญาต ให้สกัดแรร์เอิร์ธได้ แต่ต้องควบคุมสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด ขณะเดียวกัน เท่าที่ทราบเวลานี้ทั้งจีนและรัสเซียสามารถเปลี่ยน Th เป็น U เกือบที่ สามารถเอาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูผลิตไฟฟ้า ซึ่งไม่เป็นอันตราย โดยไม่มีกากนิวเคลียร์เหลืออยู่ เหมือนใช้ Uranium โดยตรงในอนาคตอันใกล้นี้ “เวลานี้ไทยเรามีแร่แรร์เอิร์ธ มีโรงแต่งแร่ที่ได้มาตรฐาน เพียงแต่ เปิดไฟเขียวสนับสนุนให้มีโรงสกัดธาตุแรร์เอิร์ธที่สมบูรณ์ มีการควบคุม สิ่งแวดล้อมที่ดี คือกำ�จัดกรดและด่างจำ�นวนมากได้ และจัดเก็บ ThO2 ให้ ปลอดภัย เช่น จัดเก็บในบ่อที่ป้องกันการรั่วซึม และห่างไกล อาจมอบให้
16
July-August 2019
ขณะเดียวกันเท่าที่ทราบ เวลานี้ทั้งจีนและรัสเซีย สามารถเปลี่ยน Th เป็น U เกือบที่สามารถเอาไปใช้ เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู ผลิตไฟฟ้า ซึ่งไม่เป็น อันตราย โดยไม่มีกาก นิวเคลียร์เหลืออยู่ เหมือนใช้ Uranium โดยตรงในอนาคต อันใกล้นี้ ทางการที่จะเอาไปใช้ได้ในภายภาคหน้าฟรี ก็จะ ทำ � ให้ ไ ทยมี โ อกาสเป็ น มหาอำ � นาจแรร์ เ อิ ร์ ธ ที่ หลายประเทศต้องเอาใจเหมือนจีน” เกรียงศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
บทความพิเศษ l
ภิตินันท์ อินมูล
Rare Earth Outlook ช่ ว งนี้ ห ลายท่ า นคงได้ ยิ น ข่ า วที่ พู ด ถึ ง Rare Earth หรือ แรร์เอิรท์ กันบ่อยครัง้ จากสงครามการค้า ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนทีเ่ ปิดศึกช่วงชิง ความได้เปรียบทางการค้าระหว่างกัน และหนึ่งใน ข้อต่อรองที่ถูกนำ�มาใช้ครั้งนี้ คือ “แรร์เอิร์ท” ซึ่งเป็น ส่วนประกอบสำ�คัญในการผลิตโทรศัพท์มอื ถือยีห่ อ้ ดัง ของสหรัฐอเมริกา แรร์เอิร์ท ประกอบด้วยธาตุหายาก 17 ชนิด ได้แก่ ซีเซียม ดิสโพรเซียม เออร์เบียม ยูโรเพียม แกโดลิ เ นี ย ม โฮลเมี ย ม แลนทานั ม ลู ที เ ที ย ม นีโอดิเมียม เพรซีโอดิเมียม โพรมีเทียม ซามาเรียม สแกนเดียม เทอร์เบียม ทูเลียม อิตเทอร์เบียม และ อิตเทรียม ทั้งหมดถือเป็นวัตถุดิบสำ�คัญและจำ�เป็น ต่ออุตสาหกรรมสินค้าเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ� ที่ใช้ ผลิตอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด โดยได้ถกู นำ� มาใช้ในทุกๆ ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำ�ของเรา เช่น สมาร์ ท โฟน รถยนต์ ไ ฮบริ ด รวมถึ ง รถยนต์ ไ ฟฟ้ า เครื่องมือแพทย์ อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของแรร์เอิร์ท (Rare Earth)
1. ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการกลั่น น้ำ�มัน น้ำ�มันปิโตรเลียม 2. ใช้งานด้านโลหกรรม เป็นส่วนประกอบของ โลหะผสม ซึ่งประกอบด้วย ธาตุซีเลียม นิโอดิเนียม แพลเลเดียม แทนทาลัม ซาแมเรียม ทูเลียม และ
อิตเทรียม ในการผลิตเหล็กกล้าทนแรงสูง เหล็กกล้าเจือต่ำ� เหล็กกล้า ไร้สนิม เหล็กกล้าคาร์บอน โลหะทนทานกัดกร่อนทีอ่ ณ ุ หภูมสิ งู โลหะผสม พิเศษ (Supper Alloy) หินเหล็กไฟ แม่เหล็กถาวรทีม่ คี ณ ุ ภาพดี ซึง่ มีสว่ นผสม ของซาแมเรียมและนีโอดิเมียม และโลหะบริสทุ ธิส์ ำ�หรับงานวิจยั ต่างๆ 3. ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก เป็นตัวให้สีสำ�หรับเครื่องปั้นดินเผา สารเคลือบ อิฐทนไฟ และ Stabilizer 4. อุตสาหกรรมแก้ว ใช้แร่ซเี รียมหรือซีเรียมออกไซด์เป็นผงขัดเลนส์ สารฟอกแก้ว (ตัวเพิ่มหรือลดสีของแก้ว) ทำ�หน้าที่เป็นสารคงตัวต้านสี จากแสงเหนือสีมว่ ง และต้านสีนำ�้ ตาลจากการแผ่รงั สีพลังงานสูง อุปกรณ์ ทางแสง เลนส์พิเศษที่มีส่วนผสมของแลนทานัม 5. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และแสงสว่าง ใช้เป็นตัวเก็บประจุ ขัว้ ประจุสารกึง่ ตัวนำ� เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ใช้ในอุตสาหกรรม หลอดไฟฟ้าเรืองแสง อุตสาหกรรมหลอดภาพในโทรทัศน์สี จอเรดาร์ จอแสดงข้อมูล จอเอกซเรย์ และธาตุนีโอดิเมียม ใช้ในวงการแสงเลเซอร์ 6. อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ ใช้เป็นตัวควบคุมลำ�แสงนิวตรอน เป็น เชื้อเพลิงปฏิกรณ์ปรมาณูในโรงไฟฟ้าปรมาณู 7. ใช้ในงานต่างๆ เช่น งานถ่ายรูป สารหล่อลื่น เครื่องประดับ เครื่องวัดอุณหภูมิ การผลิตผ้า ตัวทำ�ให้สี และหมึกแห้ง
สถานการณ์การผลิต Rare Earth ปี พ.ศ. 2561
ในปี พ.ศ. 2561 ปริมาณการผลิตแรร์เอิร์ทในตลาดโลกมีจำ�นวน 170,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ผลิตได้ 132,000 ตัน ความ ต้องการใช้แรร์เอิรท์ ในปี พ.ศ. 2561 เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากขณะนีท้ วั่ โลกกำ�ลัง ให้ ค วามสำ�คั ญ กั บ การใช้ พ ลั ง งานทดแทน จึ ง ทำ�ให้ แ ร่ แ รร์ เ อิร์ท เช่น นีโอดิเมียม (Neodymium : Nd) และเพรซีโอดิเมียม (Praseodymium : Pr) July-August 2019
17
ซึ่ ง ใช้ เ ป็ น ส่ ว นประกอบสำ�คั ญ ในการผลิ ต อุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ต่ า งๆ รวมถึ ง เครื่ อ งยนต์ พ ลั ง งาน สะอาด การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด ทีก่ ำ�ลัง เป็นที่นิยมทั่วโลก และอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำ�ให้แรร์เอิร์ท ได้ รั บ การพู ด ถึ ง มากในช่ ว งที่ ผ่ า นมาคื อ การทำ� สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ความ ตึ ง เครี ย ดระหว่ า ง 2 ประเทศมุ่ ง ความสนใจไปที่ ประเด็นเกีย่ วกับห่วงโซ่อปุ ทานของแรร์เอิรท์ ซึง่ เป็นที่ ทราบกันดีว่าจีนเป็นผู้ผลิตแรร์เอิร์ทรายใหญ่ของโลก ได้แสดงท่าทีที่จะใช้แรร์เอิร์ทเป็นอาวุธเพื่อต่อรอง ในการทำ�สงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา ทัง้ นีแ้ ม้วา่ จีน จะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ แต่ยังมีประเทศอื่นๆ ที่ทำ�การ ผลิตแรร์เอิร์ทออกสู่ตลาดโลกเช่นกัน โดย 10 อันดับ ประเทศผู้ผลิตแรร์เอิร์ทสู่ตลาดโลกในปี พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย
จีน ผลิตแรร์เอิร์ทได้ 120,000 ตัน
ปี พ.ศ. 2561 จีนมีปริมาณการผลิตแรร์เอิร์ท 120,000 ตั น เพิ่ ม ขึ้ น จากปี ก่ อ นหน้ า ที่ ผ ลิ ต ได้ 105,000 ตัน โดยในปี พ.ศ. 2562 จีนกำ�หนดโควตา การผลิตแรร์เอิร์ทที่ 120,000 ตัน กำ�หนดโควตา สำ�หรับการถลุงที่ 115,000 ตัน การกำ�หนดโควตา ดังกล่าวถือเป็นนโยบายในการแก้ปญ ั หาการทำ�เหมืองแร่ ผิดกฎหมายในจีนที่มีมานาน ซึ่งจะช่วยควบคุมและ ป้องกันไม่ให้มกี ารขยายการทำ�เหมืองแร่ทผี่ ดิ กฎหมาย ในช่ ว งหลายปี ที่ ผ่ า นมาจี น ได้ พ ยายามระงั บ และ ปราบปรามการทำ�เหมืองผิดกฎหมายและไม่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของเหมือง ที่ผลิตแรร์เอิร์ทจำ�นวน 6 แห่ง ทั้งนี้การป้องกันการ ทำ�เหมืองเถื่อนในจีนยังถือเป็นเรื่องท้าทายสำ�หรับ รัฐบาลในการที่จะป้องกันการทำ�เหมืองเถื่อนและ ลักลอบส่งออกไปยังต่างประเทศ
ออสเตรเลีย ผลิตได้ 20,000 ตัน สหรัฐอเมริกา ผลิตได้ 15,000 ตัน
ปี พ.ศ. 2561 ปริมาณการผลิตแรร์เอิร์ทของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น เพียงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า โดยสามารถผลิตได้ 20,000 ตัน จาก ปีก่อนที่ผลิตได้ 19,000 ตัน ส่วนสหรัฐอเมริกา ผลิตแรร์เอิร์ท 15,000 ตัน เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นหน้าทีไ่ ม่มกี ารผลิตเลย สำ�หรับผลผลิตแร่แรร์เอิรท์ ของสหรัฐอเมริกามาจากเหมืองแร่ในเขตแหล่งแร่ Mountain Pass รัฐ แคลิฟอร์เนีย ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเริ่มทำ�การผลิตเมื่อไตรมาสที่ 1/2561 หลังจากที่เริ่มกลับมาฟื้นฟูและปรับปรุงเหมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เพื่อ ผลิตแรร์เอิร์ท หลังจากที่สหรัฐอเมริกาปิดเหมืองแร่แห่งนี้มานานและ หันมานำ�เข้าจากจีนเพราะมีราคาถูกกว่า ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกานำ�เข้า แรร์เอิรท์ จากจีนเป็นหลัก โดยมีมลู ค่าการนำ�เข้า 160 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2561 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2560 ที่นำ�เข้าเป็นมูลค่า 137 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมียนมา ผลิตได้ 5,000 ตัน
ปี พ.ศ. 2561 การผลิตแรร์เอิร์ทในเมียนมามีปริมาณ 5,000 ตัน มีข้อมูลว่าปริมาณสำ�รองแรร์เอิร์ทในเมียนมามีมากพอที่จะสามารถ ทำ�เหมืองได้ และเมียนมามีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทีค่ อ่ นข้างใกล้ชดิ กับจีน ปี พ.ศ. 2561 เมียนมาส่งออกแรร์เอิร์ทกว่าร้อยละ 50 ให้กับจีน แต่ในปี พ.ศ. 2562 จีนมีมาตรการสกัดกั้นการลักลอบนำ�เข้าแรร์เอิร์ท จากต่างประเทศ
รัสเซีย ผลิตได้ 2,600 ตัน อินเดีย ผลิตได้ 1,800 ตัน
รัสเซียสามารถผลิตแรร์เอิร์ทได้ 2,600 ตัน ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่ง อยู่ในระดับเดียวกันกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้บริษัท IST Group and Rostec ได้ลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการผลิตแรร์เอิร์ท และคาดว่า ผลผลิตแร่แรร์เอิรท์ ของรัสเซียจะเพิม่ ขึน้ ปัจจุบนั รัสเซียมีผลผลิตแรร์เอิรท์ คิดเป็นร้อยละ 1 ของปริมาณผลผลิตในตลาดโลก ส่วนอินเดีย ผลิตได้ 1,800 ตัน โดยบริษัท Indian Rare Earths และ Toyota Tsusho Exploration ได้ทำ�ข้อตกลงร่วมกันในการผลิตและสำ�รวจการทำ�เหมืองแร่ 18
July-August 2019
แรร์เอิร์ทในทะเลเมื่อปี พ.ศ. 2557 อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของอินเดียยังมีไม่มากพอที่จะพัฒนาและ ผลิต ในปี พ.ศ. 2561 อินเดียสามารถผลิตแรร์เอิร์ท ได้เพียง 1,800 ตัน แม้ว่าอินเดียจะมีพื้นที่ชายหาด ที่เป็นแหล่งแรร์เอิร์ทกว่าร้อยละ 35 ของโลกก็ตาม
บราซิล ผลิตได้ 1,000 ตัน ไทย ผลิตได้ 1,000 ตัน
ในปี พ.ศ. 2561 บราซิลมีปริมาณการผลิตแร่ แรร์เอิร์ท 1,000 ตัน ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ผลิตได้ 1,700 ตัน ทั้งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2555 มีการพบแหล่ง แรร์เอิร์ทมูลค่ากว่า 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน บราซิล แต่การค้นพบนัน้ ยังไม่มกี ารลงทุนใดๆ เกิดขึน้ มากนัก ปริมาณการผลิตแรร์เอิร์ทของไทยในปี พ.ศ. 2561 ลดลงจาก 1,300 ตัน ในปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 1,000 ตั น แต่ ไ ม่ มี ข้ อ มู ล ว่า ไทยมี ป ริ ม าณสำ�รอง แรร์ เ อิ ร์ ท ทั้ ง หมดเท่ า ใด แรร์ เ อิ ร์ ท ที่ ผ ลิ ต ในไทย
ส่วนใหญ่เป็น ผลพลอยได้จากการผลิตแร่อื่นๆ เช่น โมนาไซต์ ซีโนไทม์ เป็นต้น
บุรุนดี ผลิตได้ 1,000 ตัน เวียดนาม ผลิตได้ 400 ตัน
ในปี พ.ศ. 2561 บุรนุ ดีสามารถผลิตแรร์เอิรท์ ได้ 1,000 ตัน บริษทั Rainbow Rare Earths เริ่มดำ�เนินการผลิตแรร์เอิร์ทในปลายปี พ.ศ. 2560 ทีเ่ หมือง Gakara และทำ�การส่งออกในปี พ.ศ. 2561 ทัง้ นี้ บริษทั กล่าวว่าเหมือง Gakara คือเหมืองแรร์เอิร์ทคุณภาพสูง ขณะที่ปริมาณ ผลผลิตแรร์เอิร์ทของเวียดนามในปี พ.ศ. 2561 เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าจาก ปี ก่ อ นหน้ า โดยปี พ.ศ. 2561 เวี ย ดนามสามารถผลิ ต แรร์ เ อิ ร์ ท ได้ 400 ตัน ที่มา: https://prd-wret.s3-us-west-2.amazonaws.com/assets/palladium/ production/atoms/files/mcs-2019-raree.pdf http://investingnews.com/daily/resourceinvesting/ critical-metals-investing/rare-earth
สภาวิศวกรจัดสัมมนาเรื่อง
"กรอบความรูว้ ชิ าชีพวิศวกรรมเหมืองแร่" 5 ก.ย. นี้ สภาวิศวกร จัดสัมมนา เรื่อง “กรอบความรู้วิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ และการ เตรียมความพร้อมเพือ่ ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรม เหมื อ งแร่ ” ในวั น พฤหั ส บดี ที่ 5 กั น ยายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30-12.00 น. ณ กรุงเทพมหานคร (สถานที่จะแจ้งให้ทราบภายหลัง) รับจำ�นวนจำ�กัด 50 คน สนใจติดต่อลงทะเบียน www.coe.or.th กรุณาดาวน์โหลด เอกสารประกอบการสัมมนาได้ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2562 http://www.coe.or.th/ coe-2/main/coeHome.php?aMenu=902&aType=2&aYear=2019&aNo=63
July-August 2019
19
ที่มา : กพร. เศรษฐกิจปริทรรศน์ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๒
20
July-August 2019
เหมืองแร่สีเขียว l
กองบรรณาธิการ
ภายในโรงงานศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
กพร. จัดสัมมนาวิชาการ
“Innovation in Raw Materials Conference 2019: Circular Economy” มุ่งให้ผู้ประกอบการใช้ทรัพยากร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม จัดงานสัมมนาวิชาการ “Innovation in Raw Materials Conference 2019: Circular Economy” เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ด้ า นการใช้ ท รั พ ยากรอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด บน พื้นฐานของการดำ�เนินการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การผลิต การบริโภค จนถึง การนำ�กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ ช่วยสร้างสมดุลให้กับ การทำ�ธุรกิจ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) โดยกองนวัตกรรมวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้ กำ�หนดแผนการสัมมนาเชิงวิชาการเป็นประจำ�ทุกปี โดย ในปี พ.ศ. 2562 นี้ ได้กำ�หนดชื่องานว่า Innovation in
อภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
วิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) July-August 2019
21
Raw Materials Conference 2019 : Circular Economy มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ถ่ายทอดความรูแ้ ก่ผปู้ ระกอบการเกีย่ วกับ Circular Economy และแนวทางการปรับตัว ผ่านการ อภิปรายร่วมโดยผูเ้ ชีย่ วชาญจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจน ขยายผลเทคโนโลยีตน้ แบบที่ กพร.พัฒนาขึน้ สูก่ ารนำ�ไปใช้ ในภาคอุตสาหกรรม โดยนำ�เสนอนวัตกรรมและผลงาน วิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบแร่ โลหะ และรีไซเคิล อาทิ “การเพิ่มคุณภาพแร่แบไรต์ด้วย Magnetic Separator” เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ “เทคโนโลยี ก ารผลิ ต เหล็ ก กล้ า ความแข็ ง แรงสู ง ชนิ ด Niobium Alloying HSLA Steel” สำ�หรับผลิตเหล็กเส้น ก่อสร้างเสริมคอนกรีตต้านแผ่นดินไหว และ “เทคโนโลยี รีไซเคิลโลหะหายากจากซากแม่เหล็กกำ�ลังสูง” เพื่อเป็น วัตถุดิบรองรับอุตสาหกรรม S-curve ณ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล อำ�เภอพระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ ิ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อภิจณ กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำ�เนินนโยบายของ รั ฐ บาลที่ มุ่ ง หวั ง สร้ า งความมั่ น คงทางด้ า นวั ต ถุ ดิ บ แก่ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่จาก สภาพปัจจุบันที่ทรัพยากรธรรมชาติมีจำ�นวนลดน้อยลง หาได้ยากและต้องนำ�เข้ามาจากต่างประเทศนั้น ทำ�ให้ กระทรวงอุ ต สาหกรรม หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง และ ผู้ ป ระกอบการต้ อ งปรั บ ตั ว เพื่ อ หาวั ต ถุ ดิ บ มาใช้ ใ น กระบวนการผลิตจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพราะ ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีวัตถุที่สำ�คัญหากนำ�มารีไซเคิลอย่าง 22
July-August 2019
ถูกวิธีด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและงานวิจัยต่างๆ ก็จะได้วัตถุดิบ ที่มีมูลค่า เช่น ทองคำ� ทองแดง เงิน เป็นต้น ดังนัน้ การจัดงานสัมมาวิชาการ “Innovation in Raw Materials Conference 2019: Circular Economy” ซึง่ จัดโดย กพร. จะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่เข้าร่วมรับฟังอย่างยิ่ง เพราะจะได้รับ ทั้งองค์ความรู้ตั้งแต่การผลิต การบริโภค กระบวนการนำ�กลับมาใช้ เป็ นวั ต ถุ ดิ บ ใหม่ จ ากการรี ไ ซเคิ ล ขยะอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ช นิ ด ต่ า งๆ พร้อมทั้งเรียนรู้นวัตกรรมและผลงานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบแร่ โลหะ การจัดหาวัตถุดิบทดแทนและการจัดการของเสียจากภาค อุ ต สาหกรรมให้ ก ลั บมาใช้ ใ หม่ ที่ ถู กต้ อ งตามหลั กวิ ช าการโดยไม่ ทำ�ลายสภาพแวดล้อม สร้างสมดุลให้กับการทำ�ธุรกิจ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่ง ยืน พร้อมกันนี้ยังมีนิทรรศการจัดแสดง นวัตกรรมวัตถุดิบจากผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการรายเดิม ที่ได้รับการถ่ายถอดความรู้จาก กพร. มาร่วมจัดแสดงผลงานและ ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับแก่ผู้เข้าร่วมงานด้วย วิ ษณุ ทั บ เที่ ย ง อธิ บ ดี กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการ เหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า กพร. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานจัดหาและ บริหารจัดการวัตถุดิบ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบให้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ทั้งวัตถุดิบจากแหล่งธรรมชาติ (Natural Raw Materials) วัตถุดิบทดแทน (Secondary Raw Materials) ที่ได้จาก การรี ไ ซเคิ ล ขยะอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ห รื อ ของเสี ย และวั ต ถุ ดิ บ ขั้ น สู ง (Advanced Raw Materials) ทีเ่ ป็นแร่ โลหะ และสารประกอบโลหะ เพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมตามนโยบายภาครัฐ ซึ่ง ได้ดำ�เนินการอย่างต่อเนือ่ งในการวิจยั และพัฒนากระบวนการรีไซเคิล ขยะหรือของเสียเพือ่ สร้างแหล่งทรัพยากรทดแทนแก่ภาคอุตสาหกรรม หรือ Urban Mining ตลอดจนวิจยั และพัฒนาการเพิม่ มูลค่าวัตถุดบิ แร่
และโลหะ ภายใต้ ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาเทคโนโลยีรไี ซเคิล ของภาครั ฐ แห่ ง แรกในประเทศไทย บนพื้ น ที่ 17 ไร่ ทีอ่ ำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของ ศู น ย์ ป ฏิ รู ป อุ ต สาหกรรมสู่ อ นาคต (Industry Transformation Center: ITC) ด้านเทคโนโลยีรีไซเคิล และนวัตกรรมวัตถุดิบตามหลักวิชาการและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมร่วมกับภาคเอกชน ภาครัฐ และหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2561 ปัจจุบันมีเทคโนโลยีรีไซเคิลต้นแบบเน้นให้บริการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับห้องปฏิบัติการ (Lab Scale) และระดับโรงงาน ต้นแบบ (Pilot Scale) รวมทั้งฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้แก่ ผูป้ ระกอบการ เพือ่ ผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมสูก่ าร ผลิตในเชิงพาณิชย์ สร้างผู้ประกอบการที่มีกระบวนการ รี ไ ซเคิ ล ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม ที่ผ่านการพิสูจน์ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี 49 ชนิด และอยูร่ ะหว่างการพัฒนาอีก 8 ชนิด และมีผปู้ ระกอบการ เข้ามาใช้บริการได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี รีไซเคิลแล้วกว่า 1,500 คน สร้างมูลค่าเพิม่ จากการลงทุน และการนำ�ขยะหรือของเสียให้กลายเป็นแหล่งทรัพยากร ทดแทนที่ สำ�คั ญ เพื่ อ รองรั บ การพั ฒนาอุ ต สาหกรรม เป้ า หมาย และขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ ของประเทศไปสู่ เศรษฐกิ จ หมุ น เวี ย น หรื อ Circular Economy ที่ มี ทรัพยากรใช้อย่างคุม้ ค่าและเกิดประโยชน์สงู สุดอย่างเป็น รูปธรรม สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศอย่าง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ นวัตกรรมวัตถุดิบของผู้ประกอบการใหม่ (Start-up) และ ผูป้ ระกอบการเดิม (Level-up) ทีไ่ ด้รบั การถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีจาก กพร. อาทิ การผลิตแผงกั้นจราจร คอนกรีต (Concrete Barrier) และอิฐบล็อกในงาน ก่ อ สร้ างภายนอก โดยใช้ซากแผงวงจรอิเ ล็ก ทรอนิ ก ส์ ส่วนที่ไม่ใช่โลหะทดแทนการใช้ทราย จากบริษัท เจี๋ยฮง อินเตอร์ จำ�กัด การผลิตสารให้สี (Figment) ทดแทนใน อุตสาหกรรมเซรามิกจากของเสียอุตสาหกรรมชิ้นส่วน ยานยนต์ จากบริษัท ทีเค กรีนโนลูชั่น จำ�กัด และ การ ผลิตเส้นใยบะซอลต์เพือ่ ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกชัน้ สูง (Advance Ceramic) จากบริษัท ไมน์เค็ม จำ�กัด ทั้งนี้ งานสัมมนาดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ ในกลุ่ ม อุ ต สาหกรรมแร่ โลหะ วั ส ดุ ท ดแทน/รี ไ ซเคิ ล สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
July-August 2019
23
Report l
กองบรรณาธิการ
กพร. ร่วมจัดสัมมนาภายในงาน
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ หน่ ว ยงานพั น ธมิ ต รจากภาครั ฐ และ ภาคเอกชน เปิดฉากงาน “Thailand Industry Expo 2019” ครั้งที่ 6 อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ แนวคิด “Synergy for Success” สานพลัง ร่วมใจ วิ วั ฒ น์ อุ ต สาหกรรมสู่ อ นาคต ในวั น ที่ 17-21 กรกฎาคมนี้ ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองการ เปลีย่ นแปลงการขับเคลือ่ นโดยภาครัฐสูก่ ารบูรณาการ ความร่ ว มมื อ จากทุ ก ภาคส่ ว นในการสรรค์ ส ร้ า ง โอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ภาพรวมของ อุตสาหกรรมไทยในมิติต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้าง ศั ก ยภาพการแข่ ง ขั น ในตลาดโลกด้ ว ยนวั ต กรรม และเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่ Thailand 4.0 24
July-August 2019
Thailand Industry Expo 2019 บนแนวคิด “สานพลัง ร่วมใจ วิวัฒน์อุตสาหกรรมสู่อนาคต”
ดร.พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า งาน “Thailand Industry Expo 2019” จั ด ขึ้ น ต่ อ เนื่ อ งเป็ น ปี ที่ 6 เพื่ อ สะท้ อ นให้ เ ห็ น การ เปลี่ยนมุมมอง การขับเคลื่อนของภาครัฐที่จะสร้าง โอกาสใหม่ ใ ห้ แ ก่ ภ าคเอกชน อี ก ทั้ ง เป็ น เวที ใ ห้ หน่วยงานภาคีเครือข่ายไปสู่ Thailand 4.0 ภายในงาน มีการจัดกิจกรรมและสัมมนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่ อ การพั ฒนาอุ ต สาหกรรม และแสดงนวั ต กรรม จากผูป้ ระกอบการชัน้ นำ�ทัง้ ในและต่างประเทศ คาดว่า ตลอดการจัดงาน 5 วัน จะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 2 แสนคน ไทยปรับตัวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 เน้นสร้างมูลค่า-ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม ประธานในพิธีเปิดงาน “Thailand Industry Expo 2019” กล่าวว่า ประเทศไทยกำ�ลัง ปรับตัวเข้าสู่ยุค “Thailand 4.0” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจ ทีเ่ น้นการสร้างมูลค่า (Value-Based Economy) และ การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Economy) โดยมีหวั ใจสำ�คัญอยูท่ ก่ี ารพัฒนาบุคลากร ของประเทศให้ มี ทั ก ษะความรู้ ค วามสามารถใน วิทยาการสมัยใหม่ และเตรียมพร้อมต่อการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศทีข่ บั เคลือ่ นด้วยเทคโนโลยีและ นวัตกรรม รัฐบาลจึงให้ความสำ�คัญต่อการเข้ามามี บทบาทของเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะเทคโนโลยี ดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งภาคอุตสาหกรรมก็ เช่นกัน ต้องช่วยกันพัฒนาตามโมเดล Thailand 4.0 มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาความเชื่อมโยงของดิจิทัลกับ อุปกรณ์ เครือ่ งจักร และแรงงานในระบบการผลิตผ่าน Internet of Things : IoT) การพัฒนาฐานข้อมูล (Big Data) การใช้เ ทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่ ทันสมัย เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ รวมถึงการนำ� ระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ซึ่ง ผูป้ ระกอบการภาคอุตสาหกรรมไทย ทัง้ ภาคการผลิต ภาคการบริการ และภาคการค้า มีความจำ�เป็นอย่างยิง่ ที่จะต้องเริ่มปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ โลกยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ “ดังนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้โมเดล Thailand 4.0 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ที่สำ�คัญเพื่อการก้าวไปข้างหน้า เปลี่ยนมุมมองการ ขับเคลื่อนโดยภาครัฐสู่การบูรณาการ ความร่วมมือ ในการสรรค์สร้างโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ซึง่ ตรงกับแนวคิดของการจัดงานครัง้ นี้ คือ “Synergy for
ดร.พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ประธานในพิธีชมนิทรรศการที่น่าสนใจภายในงาน
วิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ร่วมในพิธีเปิดงาน Success สานพลัง ร่วมใจ วิวัฒน์อุตสาหกรรมสู่อนาคต” โดยเชื่อมั่นว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรอุตสาหกรรมจะสามารถ พัฒนาจาก Small & Medium Enterprises เป็น Smart Enterprises และ July-August 2019
25
จะเป็นแม่ทัพขับเคลื่อนเศรษฐกิจในการสร้างความ สามารถในการแข่งขัน เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แบบก้าวกระโดดและการกระจายรายได้เพือ่ ลดความ เหลื่อมล้ำ� ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ประเทศให้ก้าวสู่การเป็น Thailand 4.0” รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว แบ่งพื้นที่จัดงาน 8 โซน การจัดงาน Thailand Industry Expo 2019 ได้แบ่งพื้นที่ตามโซนต่างๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ 1. นิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ หรือ Royal Pavilion เป็นการจัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับพระราช ประวั ติ พระราชกรณี ย กิ จ และพระราชพิ ธี บ รม ราชาภิ เ ษกของพระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน โอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2. นิทรรศการกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ TI Pavilion : Synergy for Success เป็นการต่อยอด จากการจั ด งานปี ที่ แ ล้ ว โดยในปี นี้ กระทรวง อุตสาหกรรมได้สานต่อนโยบายเพื่อสนับสนุนกลุ่ม อุตสาหกรรมต่างๆ และผลักดันให้เกิดความร่วมมือ เชิงรูปธรรมเพือ่ ให้ผปู้ ระกอบการพัฒนาสู่ Industry 4.0 3. พืน้ ที่ ITC Showcase เป็นการจำ�ลองพืน้ ที่ การทำ�งานของศูนย์ปฏิรปู อุตสาหกรรม 4.0 (Industry
วิทยากรร่วมบรรยายในงานสัมมนาวิชาการ หัวข้อ “นวัตกรรมการบริหารจัดการวัตถุดิบกับ Circular Economy” Transformation Center 4.0 : ITC 4.0) โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 105 แห่ง ซึ่งภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการการให้บริการของศูนย์ดังกล่าว จากทั่วประเทศ 4. พืน้ ที่ CIV Pavilion (Creative Industry Village : CIV) เป็นการ จัดแสดงหมู่บ้านร้อยเรื่องเล่า…วิถีชุมชน เพื่อสื่อให้เห็นถึงการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือหมู่บ้าน CIV แบบบูรณาการ โดยจะนำ�เสนอ Showcase หมูบ่ า้ น CIV จากทัง้ 4 ภูมภิ าค 5. พื้นที่ International Collaboration เป็นพื้นที่แสดงถึงศักยภาพ และพลังของความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียน และแสดงให้เห็น ถึ ง ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งกระทรวงอุ ต สาหกรรมกั บ หน่ ว ยงานส่ ง เสริ ม ภาคอุตสาหกรรมในต่างประเทศ
โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
26
July-August 2019
6. พืน้ ที่ Thai Entrepreneur Market เป็นโซน จัดแสดงผลงานของผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่ ที่มี ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม มีการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ และน่าสนใจ ตลอดจนผลงานที่ผ่านการดีไซน์จาก ศู น ย์ อ อกแบบและพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ (Thailand Industrial Design Center : Thai-IDC) 7. พื้นที่ Digital Transformation Pavilion เป็ น การจั ด แสดงถึ ง การนำ�เทคโนโลยี ม าใช้ ใ น ทุกกระบวนการของธุรกิจ ตั้งแต่การวางรากฐาน การ กำ�หนดเป้าหมาย การดำ�เนินธุรกิจ และส่งต่อคุณค่า ให้แก่ผู้บริโภค 8. พืน้ ทีก่ ารแสดงและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ จาก ผู้ประกอบการรายใหญ่ระดับ Big Brothers และ ผูป้ ระกอบการพรีเมียมรายย่อย รวมทัง้ ผูป้ ระกอบการ รุ่นใหม่มากมายกว่า 400 ราย ที่ผ่านการคัดสรรแล้ว สำ�หรับการจัดงานครั้งนี้ ยังเป็นการผนึกความ ร่วมมือหลายภาคส่วนมาร่วมแสดงศักยภาพ มีการจัด กิจกรรมสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจเพื่อให้ความรู้แก่ ผูป้ ระกอบการและผูส้ นใจ จากกูรชู อื่ ดัง ทัง้ จากองค์กร ภาครั ฐ และเอกชนกว่ า 40 หั ว ข้ อ และกิ จ กรรม Workshop เพื่ อ เสริ ม สร้ า งแรงบั น ดาลใจให้ ผู้ ประกอบการไทยตระหนักถึงแนวคิดทางธุรกิจทีส่ ามารถ ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน เพื่อที่จะ สามารถดำ�เนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน กรพ. จัดสัมมนาทางวิชาการ "นวัตกรรมการบริหารจัดการวัตถุดิบ กับ Circular Economy" ภายในงาน Thailand Industry Expo 2019 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้ร่วมจัดงานสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “นวัตกรรม การบริหารจัดการวัตถุดิบกับ Circular Economy” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจ หมุนเวียนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรม โลหการ ศักยภาพในการสร้างคุณค่าและความยั่งยืน ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมไทย รวมถึงการแปรรูปวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วให้เป็นวัตถุดบิ เพือ่ นำ�กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยมี ดร.ธารกมล ถาวรพานิ ช วิ ศ วกรโลหการ ชำ�นาญการพิเศษ บวรวิทย์ อัครจันทโชติ วิศวกร เหมืองแร่ชำ�นาญการพิเศษ และ ดร.ธีรวุธ ตันนุกิจ วิ ศ วกรโลหการชำ�นาญการพิ เ ศษ ให้ เ กี ย รติ เ ป็ น วิทยากร ณ เวที Forum Stage อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 ศู น ย์ ก ารแสดงสิ น ค้ า และการประชุ ม อิ ม แพ็ ค เมืองทองธานี
ดร.ธารกมล ถาวรพานิช วิศวกรโลหการชำ�นาญการพิเศษ
บวรวิทย์ อัครจันทโชติ วิศวกรเหมืองแร่ชำ�นาญการพิเศษ
ดร.ธีรวุธ ตันนุกิจ วิศวกรโลหการชำ�นาญการพิเศษ กพร.
July-August 2019
27
Report l
กองบรรณาธิการ
สผ. ร่วมกับ มูลนิธสิ ถาบันสิง่ แวดล้อมไทย
นำ�เสนอร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ชี้มี 4 ประเด็นต้องเร่งแก้ ไขโดยด่วน สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม (สผ.) ร่วมกับมูลนิธสิ ถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย จัดประชุมสัมมนาเพื่อนำ�เสนอร่างรายงานสถานการณ์ คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 และรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งข้อ เสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยจะนำ�ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทีไ่ ด้ ไปปรับปรุงร่างรายงานดังกล่าวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนนำ�เสนอต่อ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ต้องเสนอรายงานสถานการณ์คุณภาพ สิ่งแวดล้อมของประเทศต่อ ครม. ปีละครั้ง พุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ รองเลขาธิการสำ�นักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวว่า สำ�นักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ มูลนิธิสถาบัน สิง่ แวดล้อมไทย จัดทำ�ร่างรายงานสถานการณ์คณ ุ ภาพสิง่ แวดล้อม พ.ศ. 2562 โดยการกำ�กับดูแลของคณะอนุกรรมการจัดทำ�รายงานสถานการณ์ คุณภาพสิง่ แวดล้อม ภายใต้คณะกรรมการสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ ตามมาตรา 13 (13) แห่ ง พระราชบัญญัติส่งเสริมและรัก ษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อม แห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำ�หนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ุ ภาพสิง่ แวดล้อมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี เสนอรายงานสถานการณ์คณ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการจัดทำ� นโยบายและการวางแผนการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งสร้างความรู้ ความเข้าใจ และ ความตระหนักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ทุกภาคส่วน บูรณาการทำ�งานร่วมกันเพื่อประโยชน์แก่สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และ ประเทศชาติ โดยความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ทีไ่ ด้จากการประชุม สัมมนานี้จะนำ�ไปปรับปรุงร่างรายงานดังกล่าวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อน นำ�เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป 28
July-August 2019
พุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ รองเลขาธิการสำ�นักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
สาระสำ�คัญของร่างรายงาน คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 เทียบข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อมปีต่อปี ธนิ รั ต น์ ธนวั ฒ น์ นั ก วิ จั ย มู ล นิ ธิ ส ถาบั น สิง่ แวดล้อมไทย กล่าวว่า รายละเอียดและสาระสำ�คัญ ของร่า งรายงานสถานการณ์ คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 เป็นการเสนอข้อมูลสถานการณ์คณ ุ ภาพ สิง่ แวดล้อมใน พ.ศ. 2562 เมือ่ เทียบกับ พ.ศ. 2561 พบว่ า สถานการณ์ คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มมี ก าร เปลี่ยนแปลงทั้งในทางที่ดีขึ้น คงที่ และสถานการณ์ ที่น่าเป็นห่วง โดยสถานการณ์ทด่ี ขี น้ึ เช่น มีพื้นที่
ถ่ายภาพร่วมกัน
เกษตรเพิ่มขึ้น มูลค่าการผลิตและใช้แร่ในประเทศลดลง ปริมาณการใช้ พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้น พื้นที่ป่าไม้ เพิ่มขึ้น จำ�นวนและพื้นที่ป่าชุมชนเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำ�ในอ่างเก็บน้ำ�เพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น พื้นที่แนวปะการังเพิ่มขึ้น มีการใช้ประโยชน์ขยะ มูลฝอยเพิ่มขึ้น ปริมาณของเสียอันตรายลดลง สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อคน ในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น จำ�นวนชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครลดลง และคุณภาพน้ำ�ผิวดิน ณ จุดตรวจวัดดีขึ้น เป็นต้น ส่วนสถานการณ์สิ่งแวดล้อมคงที่ เช่น ปริมาณน้ำ�ฝนสะสมรายปี ใกล้เคียงค่าปกติ ปริมาณน้ำ�ท่าใกล้เคียงปี พ.ศ. 2561 ทีผ่ า่ นมา ปริมาณการ จับสัตว์น้ำ�เค็มจากธรรมชาติคงที่ ระดับเสียงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แหล่ง ธรรมชาติอนั ควรอนุรกั ษ์อยูใ่ นเกณฑ์ทด่ี ี อุณหภูมเิ ฉลีย่ ทัง้ ปีของประเทศไทย ค่าเฉลีย่ ระดับน้ำ�ทะเลคงที่ และปริมาณน้ำ�ท่าในประเทศไทยทัง้ 25 ลุม่ น้ำ� เป็นต้น ขณะเดียวกัน มีประเด็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เช่น พื้นที่ดิน ปัญหาตามสภาพธรรมชาติเพิ่มขึ้น ปริมาณการนำ�เข้าพลังงานขั้นต้นและ การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น จำ�นวนสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นเพิ่มขึ้น ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานแล้วเพิ่มขึ้น ฝุ่นละออง PM2.5 ยังคงเกินค่า มาตรฐานในเขตเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นและพื้นที่อุตสาหกรรม บาง พืน้ ทีป่ ริมาณขยะมูลฝอยเพิม่ ขึน้ และขยะพลาสติกยังคงมีสดั ส่วนมากทีส่ ดุ ในขยะทะเล เป็นต้น
แนวโน้มสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในอนาคต สำ�หรั บ แนวโน้ ม สถานการณ์ สิ่ ง แวดล้ อ มในอนาคต มี ทั้ ง ที่ เปลี่ยนแปลงในระยะสั้นช่วง 1-2 ปี ได้แก่ 1. ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีปริมาณมลพิษทางอากาศที่มาจาก การจราจรที่ ห นาแน่น พื้น ที่เ ขตอุต สาหกรรม การเผาซากพื ช ผลทาง การเกษตรของเกษตรกรและภัยธรรมชาติ จึงควรหามาตรการลดใช้รถยนต์ ส่วนบุคคล เนื่องจากเป็นสาเหตุอันดับแรกที่ทำ�ให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 และควรกำ�หนดพืน้ ทีใ่ ห้ประชาชนจอดรถส่วนบุคคลในย่านชานเมืองแล้วขึน้ รถโดยสารเข้าเมืองแทน ทัง้ นีร้ ฐั บาลต้องสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพรองรับด้วย 2. ปัญหาขยะมูลฝอยชุมชน จะพบมากใน เขตชุมชนเมืองและแหล่งท่องเที่ยว จึงควรหามาตรการแก้ไขอย่างจริงจัง ออกกฎหมายเพิ่มอัตราค่าเก็บขยะ ค่ากำ�จัดขยะ และ 3. ปัญหาความ เสื่อมโทรมของดิน จากสภาพธรรมชาติ การตกค้างของสารอันตราย ทางการเกษตร และการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม ควรหันมาทำ�การเกษตรแบบ อินทรีย์ ลดการใช้สารเคมีที่ทำ�ลายดินและควรระบุที่เกิดปัญหาให้ชัดเจน
ในแต่ ล ะพื้ น ที่ ว่ า เกิ ด ขึ้ น ที่ ใ ดบ้ า ง เพื่ อ กำ�หนด มาตรการในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เป็นต้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว 3-10 ปี ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยด้านสังคม ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำ�กัด เพิ่มขึ้น อาจเกิดความไม่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ของคนในสังคม จึงควรหามาตรการลดการเหลือ่ มล้ำ� ทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ให้ทุกๆ คนในสังคม มีโอกาสเข้าถึงและใช้พน้ื ที่ ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ ร่วมกันโดยไม่เกิดการทะเลาะแย่งชิงทรัพยากรทาง ธรรมชาติ 2. การเปลี่ ย นแปลงจากปั จ จั ย ด้ า น เทคโนโลยี เพิ่ ม การใช้ เ ทคโนโลยี ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิง่ แวดล้อม ช่วยตรวจสภาพสิง่ แวดล้อมอย่างสม่ำ�เสมอ เช่น มีการติดตัง้ เซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุน่ ละออง PM2.5 ในพืน้ ทีก่ ารจราจรหนาแน่นในกรุงเทพฯ เมือ่ ตรวจพบ พื้ นที่ ใ ดก็ จำ�กั ด ปริ ม าณรถเข้ า ออกพื้ นที่ นั้นอย่ าง เร่งด่วน พร้อมติดตั้งเครื่องพ่นน้ำ�ช่วยลดฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย การเปลี่ ย นแปลงจากปั จ จั ย ด้ า นเศรษฐกิ จ เพิม่ การผลิตและมลพิษทีท่ ำ�ให้ทรัพยากรเสือ่ มโทรมลง จึงควรจำ�กัดพืน้ ทีก่ ารผลิตทีก่ อ่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม และทรัพยากรทางธรรมชาติ ให้ผลิตเฉพาะในพื้นที่ การนิคมอุตสาหกรรม หรือมีการออกกฎหมายเก็บ ค่าปล่อยน้ำ�เสีย ปล่อยมลพิษกับสถานประกอบการ โรงงานที่ ก่ อ มลพิ ษ เกิ น ที่ ก ฎหมายกำ�หนด การ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่หมดลงอย่าง รวดเร็ว จึงแนะนำ�ให้ช่วยกันปลูกป่า ปลูกต้นไม้ใน พืน้ ทีข่ องตนเองทีม่ อี ยู่ ช่วยเพิม่ พืน้ ทีอ่ ากาศบริสทุ ธิ์ สร้างแหล่งอาหารทางธรรมชาติและการเปลีย่ นแปลง จากปัจจัยด้านนโยบายทีม่ าจากรัฐบาลแต่ละยุคสมัย จะมี น โยบายด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มที่ แ ตกต่ า งกั น และ ไม่ ต่ อ เนื่ อ ง อี ก ทั้ ง งบประมาณด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม มีค่อนข้างจำ�กัด ทำ�ให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สะสม มาตลอดไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง เช่น ปัญหา หมอกควัน ปัญหาขยะทางทะเล “อยากให้รฐั บาลยกระดับปัญหาทางสิง่ แวดล้อม และทรั พ ยากรทางธรรมชาติ เ ป็ นวาระแห่ ง ชาติ มีแผนแม่บทแก้ปัญหาแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม เพือ่ ให้ขา้ ราชการในหน่วยงานต่างๆ ซึง่ เป็นผูป้ ฏิบตั ิ ทำ � งานสื บ สานนโยบายด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและ ทรัพยากรธรรมชาติทกี่ �ำ หนดไว้อย่างต่อเนือ่ ง แม้จะ เปลี่ยนรัฐบาลกี่สมัยก็ยังคงมุ่งมั่นทำ�งานตามแผน ให้บรรลุตามเป้าประสงค์” ธนิรัตน์ กล่าว July-August 2019
29
ชู 4 ประเด็นสิ่งแวดล้อมสำ�คัญที่ต้องเร่งแก้ ไขโดยด่วน ดร.ถนอมลาภ รัชวัตร์ นักวิจัย มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่ามีประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน 4 ประการ ประการแรก คือ ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 เป็ น ฝุ่ น ละอองขนาดเล็ ก ซึ่ ง ประเทศไทยมี ร ะดั บ ความเข้ ม ข้ น เกิ น ค่ า มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกในหลายพื้นที่ หากสูดดมเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณทีม่ ากเกินกำ�หนดเป็นระยะเวลานานๆ จะเป็นอันตรายได้ จึงควร มีการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 แบบเรียลไทม์ เพื่ อ จะได้ ท ราบละเอี ย ดแล้ ว จั ด ส่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ล งพื้ น ที่ แ ก้ ไ ขปั ญ หาทั น สถานการณ์ ส่งเสริมให้มกี ารใช้เชือ้ เพลิงสะอาดในภาคการขนส่ง ปรับปรุง ระบบขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงกันเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ คนใช้รถยนต์ส่วนตัวหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เคร่งครัดการ ตรวจสอบการปล่อยมลพิษ และควรมีการจัดเก็บข้อมูลการเกิดปัญหา ฝุน่ ละอองขนาดเล็กในแต่ละพืน้ ทีอ่ ย่างละเอียดเพือ่ รวบรวมเป็นฐานข้อมูล สำ�หรับนำ�มาใช้ประกอบการกำ�หนดนโยบาย มาตรการแก้ไขปัญหาอย่าง รอบด้าน ประการที่ 2. ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายที่เกิด จากชิ้นส่วนต่างๆ ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ ที่ภายในประเทศและนำ�เข้ามาจากต่างประเทศ หากไม่มีวิธีการกำ�จัด ที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ เมื่อเกิดการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม เกิดสาร ตกค้างจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จึงควรมีการศึกษา และวิจัยการป้องกันอย่างเป็นระบบ อีกทั้งควรมีการออกกฎหมายควบคุม กำ�หนดโทษที่ร้ายแรงแก่ผู้ที่กำ�จัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกต้องตามหลัก วิชาการ ทั้งปรับและจำ�คุก ประการที่ 3. ปัญหาขยะพลาสติก เป็นปัญหาที่เกิดจากจำ�นวน ประชากรที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการบริโภค การขยายตัวของชุมชนเมืองและ ธุรกิจท่องเทีย่ วทีเ่ พิม่ ขึน้ อีกทัง้ จิตสำ�นึกในการรับผิดชอบรักษาสิง่ แวดล้อม ช่วยกันลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติกยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะถุงพลาสติก ทีใ่ ช้เป็นประเภทไม่สามารถรีไซเคิลได้กว่า 50% ยิง่ ก่อปัญหาต่อสิง่ แวดล้อม ต่อสัตว์ทะล ทำ�ให้เสียชีวิตได้เมื่อกลืนกินถุงพลาสติกเข้าไป จึงควรมีการ ศึกษาและวิจัยพัฒนาวัสดุทดแทนผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติกที่กำ�จัดยากนี้ ให้สามารถนำ�กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือย่อยสลายได้ทันทีเมื่อใช้เพียง ครั้งเดียว รวมทั้งมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำ�จัดขยะพลาสติกและ
30
July-August 2019
การตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP) และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10)
พัฒนากฎหมายเฉพาะทีค่ วบคุมและดูแลขยะพลาสติก โดยเฉพาะ ประการที่ 4. ปั ญ หาการกั ด เซาะชายฝั่ ง สำ�หรับประเทศไทยปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ยัง ไม่ ไ ด้ รั บ การแก้ ไ ขมี ร ะยะทางประมาณ 145.73 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่ที่ได้รับการแก้ไขแล้วประมาณ 558.71 กิโลเมตร โดยส่วนใหญ่แล้วมาจากภัย ธรรมชาติและการกระทำ�ของมนุษย์ เช่น การพัฒนา ชายฝั่ ง ทะเลและการทำ�ลายป่ า ชายเลนเพื่ อ เป็ น สถานที่ท่องเที่ยว จึงควรมีการบูรณาการกำ�กับและ ติดตามให้มีการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตั้งแต่ ระดับประชาชน ชุมชน หมูบ่ า้ น ตำ�บล อำ�เภอ จังหวัด และประเทศ อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม ออกกฎหมาย กำ�หนดประเภทหรือรูปแบบสิ่งก่อสร้างคุ้มครอง พื้ น ที่ ช ายหาด ชายฝั่ ง ไม่ ใ ห้ ถู ก ทำ�ลายและมี ก าร ชดเชยเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนที่อยู่อาศัยใน พื้ น ที่ ช ายหาดย้ า ยถิ่ น ฐานไปอยู่ ใ นที่ ท่ี เ หมาะสม เพือ่ ให้เจ้าหน้าทีไ่ ด้ดแู ลอนุรกั ษ์พนื้ ทีช่ ายฝัง่ ไม่ให้เกิด การกัดเซาะ เนื่องจากพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนใหญ่เป็นพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของประชาชน ซึง่ หน่วยงาน ทีร่ บั ผิดชอบควรลงพืน้ ทีต่ รวจสอบแก้ไขปัญหาอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น
เรื่องเล่าจากชาวเหมือง l
รุ่งศักดิ์ อินทร์สิงห์
คนขี้คุย
สามีภรรยาไปกินมือ้ ค่ำ�ในร้านอาหารทีม่ บี รรยากาศโรแมนติก แห่งหนึ่ง ภรรยาเป็นคนคุยเก่ง หลังจากคุยโน่นคุยนี่อยู่พัก ภรรยาได้ชี้ไปที่โต๊ะข้างๆ แล้วพูดแบบยิ้มเยาะว่า “อีกหน่อยเรา 2 คน คงโทรมเหมือนไอ้แก่กับอีแก่ 2 คน นั้นแหงเลย ว่ามั้ยจ๊ะ...ที่รัก” สามีมองตามไป แล้วตกใจพร้อมกระซิบกับภรรยาว่า “เธอนั่นมันกระจก!’’ ผมมีเรื่องราวของ “คนชอบคุย” นำ�มาเสนอท่านผู้อ่าน เป็นออเดิร์ฟเรียกน้ำ�ย่อย ก่อนเข้าเรื่อง “คนขี้คุย” ครับ ในภาษาจีนนั้นคำ�ว่า “ใส่หมวกสูง” หมายถึงการยกย่อง สรรเสริญผูค้ นซึง่ หน้า และเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งของนัก “ใส่หมวกสูง” มือเยี่ยมเรื่องหนึ่ง นักศึกษาหนุม่ คนหนึง่ จะออกไปรับหน้าทีร่ าชการในท้องถิน่ ต่างจังหวัด เขาจึงได้ไปร่ำ�ลาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ซึ่งเป็นขุนนางระดับผู้ใหญ่อีโก้สูงท่านหนึ่ง และก็ภาษาครูบา อาจารย์ซึ่งก็มักเต็มไปด้วยความปรารถนาดีและความเป็นห่วง เป็นใยในตัวศิษย์ ฝ่ายอาจารย์ผู้เฒ่าจึงได้ให้โอวาทเป็นข้อคิด เตือนใจฝากไว้กับศิษย์รักว่า “การออกไปเป็นข้าราชการตาม ต่างจังหวัดนัน้ ไม่ใช่งานง่ายๆ ไม่วา่ จะกระทำ�สิง่ ใดก็ตาม เจ้าจง รำ�ลึกไว้เสมอว่า เจ้าจะต้องกระทำ�ไปด้วยความระมัดระวังและ ตั้งใจ” เพื่อให้อาจารย์คลายความเป็นห่วง ศิษย์เจ้าปัญญาจึง บอกต่ออาจารย์ถึงกลเม็ดที่ตนตระเตรียมไปใช้ว่า “ขอท่ า นอาจารย์ โ ปรดได้ ว างใจ ศิ ษ ย์ ไ ด้ ต ระเตรี ย ม “หมวกสูง” ไว้เรียบร้อยแล้วเป็นจํานวนถึง 100 ใบ เพือ่ นําไป มอบให้กับผู้คนที่ศิษย์จะต้องไปพบ เชื่อแน่ว่าคงจะทําให้ ทุกคนพอใจ!” เมือ่ อาจารย์ได้ฟงั ดังนัน้ ก็เกิดโทสะด้วยว่า การกล่าวยกยอ สรรเสริญผูค้ นโดยไม่คํานึงถึงความเป็นจริงและความถูกความผิด นั้น มิใช่วิสัยที่สุภาพบุรุษอันเป็นบัณฑิตจะพึงปฏิบัติ จึงกล่าว ตักเตือนไปว่า “อันว่าพวกเราเหล่าสุภาพบุรษุ ผูเ้ ทีย่ งธรรม ย่อมประพฤติ ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม การกล่าวยกยอสรรเสริญผู้คน ด้วยประจบประแจงนั้น เป็นการประพฤติอันน่าละอาย เหล่า สุภาพบุรุษเยี่ยงเรา ไฉนเลยจะประพฤติเรื่องอันน่าละอาย เช่นนี้ได้เล่า?”
ฝ่ายศิษย์เมือ่ ได้ฟงั ดังนีก้ แ็ สดงทีทา่ เสมือนไม่รจู้ ะทํากระไร ได้ แล้วจึงเอ่ยขึ้นว่า “ในโลกนี้คนที่ไม่ชอบใส่หมวกสูงนั้น ช่าง มีน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย คนที่สามารถประพฤติปฏิบัติตัวอย่าง บริสุทธิ์ผุดผ่องได้อย่างท่านอาจารย์ จะมีสักกี่คนกันเล่า!” อาจารย์เมื่อได้ฟังคํากล่าวยกยอดังนี้ให้รู้สึกปีติเป็นอย่าง ยิ่ง จึงพยักหน้าพลางกล่าวด้วยความชอบใจว่า “ที่เจ้าพูดมานี้ ถูกต้องทีเดียว!” “หมวกสูง 100 ใบของข้า เหลือ 99 ใบแล้วตอนนี้” ศิษย์หนุม่ กล่าวกับเพือ่ นขณะเดินออกจากบ้านอาจารย์ไป! ที่เล่ามานี้เป็นเรื่องราว “คนชอบคุย” ของคนรุ่นใหม่กับ รุ่นเก่า ลองเปลี่ยนเรื่องมาดูการพูดคุยของคนรุ่นเก่ากับเด็ก รุ่นใหม่บ้าง ที่เมืองมุมไบเมืองท่าสําคัญของประเทศอินเดีย ชายวัย เกษียณคนหนึ่งชอบนั่งสมาธิภาวนาเป็นประจํา วันหนึ่งเด็กๆ มาเล่นคริกเก็ตที่ถนนหน้าบ้านเขา เขารู้สึกรําคาญมาก เพราะ ความสงบถูกทําลายไป เขารู้ดีว่าเด็กๆ หาที่เล่นอยู่ เมื่อมาเจอ ที่เหมาะๆ ก็อยากจะมาเล่นทุกวัน แต่เขาอยากจะให้เด็กๆ ไป เล่นทีอ่ น่ื แต่การไปไล่เด็กๆ คงไม่สําเร็จแน่นอน จะทําอย่างไรดี ลองมาดูวิธีคิดแก้ปัญหาของชายวัยเกษียนคนนี้คืออะไร ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแกเป็นแขกจึงเจ้าเล่ห์จัดหรือเป็นเพราะ แกทําสมาธิมาก หัวจึงใสปิ๊ง และข้อสําคัญแกต้องใจเย็นๆ รอเวลากว่าเรื่องจะคลี่คลาย ซึ่งนับเป็นคุณสมบัติของคนที่ นั่งสมาธิจนได้ที่ วิธคี ดิ ของแกเป็นสมการหลายชัน้ แถมยังเป็นการหนามยอก เอาหนามบ่งซะอีกด้วย เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่งนี้ เราคุ้น กันอยู่ เช่น หากเรามีศัตรูแทนที่จะให้ศัตรูอยู่ห่างๆ ก็กลับให้ ศัตรูอยู่ใกล้ๆ เพื่อจะได้รู้เขารู้เรา และหากเป็นไปได้ก็เปลี่ยน ศัตรูให้กลายเป็นมิตร แต่สําหรับสมการหลายชัน้ นีน้ านๆ จะเห็น สักที July-August 2019
31
แกเรี ย กเด็ ก ๆ มา แล้ ว บอกดี จั ง เนอะมาเล่ น แถวนี้ ลุงได้ยินเสียงพวกหนูเล่นกันหัวร่อต่อกระซิกแล้ว ลุงแสนจะ สดชื่น เอ้าลุงให้ตังค์ไปกินขนมอาทิตย์ละ 25 รูปี เอาไปแบ่ง กันนะ เด็กๆ ก็สุดแสนดีใจ ได้เล่นด้วย ได้เงินด้วย อาทิตย์ต่อมา เมื่อเด็กๆ มาขอเงินอีก เขาบอกเด็กว่า ตอนนี้ลุงไม่ค่อยมีตังค์ หนูเอาไปแค่ 15 รูปีแล้วกันเนอะ พออาทิตย์ต่อมาเขารีบลงจากบ้านไปหาเด็ก ตีหน้าเศร้า บอกว่า ลุงมีปัญหาการเงินใหญ่เสียแล้วละ ให้ตังค์หนูได้แค่ 5 รูปี เด็กๆ ก็พากันโกรธ บอกว่าไม่คุ้ม เล่นทั้งทีได้แค่ 5 รูปี เลิกเล่นดีกว่า แล้วเด็กๆ ก็หายไปจากตรงนั้น เขาก็ได้ความเงียบกลับมา นั่งสมาธิสบาย เด็กๆ พวกนี้ ช่างลืมได้ว่า ที่มาเล่นนั้นต้องการสนุกไม่ใช่ต้องการเงิน พอ ได้เงินก็ลืมความรู้สึกเดิมๆ ไป เรื่ อ งนี้ ใ ห้ ข้ อ คิ ด หลายอย่ า ง...คนวั ย เกษี ย ณก็ เ หมื อ น มะพร้าวแก่ ขบไม่ได้งา่ ยๆ พูดอีกทีกค็ อื รูท้ นั ไปเสียหมด เพราะ มีประสบการณ์มาก เด็กๆ น่ะเหรอ ต้องเอาตังค์ล่อ แล้วเด็กๆ ก็ลืมง่าย ประเดี๋ยวเดียวก็ลืมว่า มาเล่นเพราะอะไร ข้ อ คิ ด อี ก เรื่ อ งก็ คื อ อั นว่ า เงิ น นี้ มั น ช่ า งมี อิ ท ธิ พ ลเสี ย เหลือเกิน เข้าไปอยู่ที่ไหนคนก็ตาบอดกันหมด แม้แต่เด็กๆ ไร้เดียงสาก็ยังเป็นกัน เห็นแก่เงิน ไม่มีเงินก็ไม่ทํา อ่านเรื่องแบบนี้แล้วใจชื้น รู้สึกว่าปัญหาต่างๆ ในโลกนี้ แก้ได้หมด ถ้าค่อยๆ คิดอย่างสุขุม หลายเรื่องคิดตรงๆ ไม่ได้ ต้องอ้อมไปแล้ววกกลับมา พูดง่ายๆ ต้องพลิกแพลงซิกแซก กันบ้างครับ ผมขอเวลานอกเล่าเรื่องโจ๊กที่คิดไม่ถึงของการพูดคุย สื่อสารแบบคนละเรื่องเดียวกัน ให้อึ้งทึ่งฮากันครับ คุณยายคนหนึ่งเข้าไปหาหมออายุรกรรมในโรงพยาบาล ด้วยอาการโรคสะอึกไม่หยุด แต่เพียง 5 นาทีเท่านั้น คุณยายก็ วิ่งและกรีดร้องออกมาจากห้องตรวจ เข้าไปฟ้องผู้อำ�นวยการ โรงพยาบาล ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลได้เรียกหมอที่ตรวจคนนี้มาพบ แล้วพูดต่อว่าขึ้นว่า “คุณทำ�อะไรของคุณน่ะ คุณยายคนไข้มาฟ้องผมว่า คุณ บอกคนไข้ว่าเธอท้อง... ผู้หญิงอายุ 80 จะไปท้องได้อย่างไร” “ก็แล้วยายแกหายสะอึกไหมล่ะครับ” หมอเจ้าของไข้ ตอบกลับทันที อ่านแล้วถ้ามีอารมณ์ขัน ก็ฮาได้นะครับ...ไม่ว่ากัน (แฮ่ม) ผมขอคุยเกร็ดประวัติศาสตร์... นิยายวิทยาศาสตร์ยุค บุกเบิกอวกาศเริ่มแรก เมื่อสมัยก่อนเก่ายังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ ในแง่มุมแหวกแนวไม่เหมือนใคร ตามแบบฉบับของ “คนขี้คุย” ในแนวโจ๊กใส่ไข่ครับ! ประเทศไทยรู้จักการใช้ดินสอดำ�ที่ทำ�จากแร่แกรไฟต์ที่ใช้ เขียนหนังสือมาช้านานแล้ว ถึงแม้จะมองดูลา้ สมัย แต่กส็ ร้างคน ให้อา่ นออกเขียนได้กด็ ว้ ยดินสอดำ�นีแ่ หละ แร่แกรไฟต์ใช้ในการ 32
July-August 2019
ทำ�ดินสอโดยผสมกับดินเหนียวเพื่อให้มีความแข็งต่างๆ กัน ฝรั่งสมัยก่อนที่เขาใช้ปากกาหมึกซึมและลูกลื่น...พอมาเห็น เด็กนักเรียนเมืองไทยใช้ดินสอดำ� จะหัวเราะนึกขำ�ว่าช่างเชย ล้าสมัยซะเหลือเกิน มนุ ษ ย์ อ วกาศเมื่ อ โคจรออกนอกโลกจะอยู่ ใ นสภาพ สุ ญ ญากาศ ไร้ น้ำ� หนั ก ไม่ มี แ รงดึ ง ดู ด หรื อ แรงโน้ ม ถ่ ว ง ใน ยานอวกาศมนุษย์อวกาศจะลอยตัวเคว้งคว้าง หกคะเมนตีลงั กา เหมือนอย่างที่เราดูในหนังในทีวีนั่นแหละ ครั้ ง แรกสุ ด ที่ ส่ ง มนุ ษ ย์ อ วกาศออกนอกโลก ได้ เ กิ ด ปัญหากับมนุษย์อวกาศคือ ไม่สามารถจดบันทึกข้อมูลได้ดว้ ย ปากกาหมึกซึมหรือลูกลืน่ เพราะอยูใ่ นสภาวะไร้นำ�้ หนัก ไม่มี แรงดึ ง ดู ด ให้ ห มึ ก ไหลลงข้ า งล่ า งได้ สุ ด ท้ า ยต้ อ งแจ้ ง มาที่ ประเทศไทย ขอให้ส่งดินสอดำ�ให้ด่วน...เพราะปากกาใช้บน ยานอวกาศไม่ได้! หนอยแน่ะ...มาดูถูกคนไทยใช้ดินสอดำ�ได้ ปัดโธ่! “คนขี้คุย” หมายถึงคนที่พูดแล้วไม่ทำ�อย่างที่พูด คน ลักษณะนีม้ หี ลายแบบ เช่น ขีโ้ ม้ ขีโ้ ว คุยโตอวดเก่ง ดีแต่พดู ฯลฯ ซึ่งมองดูในแง่ที่ไม่ค่อยจะดี มีคำ�พูดว่าก่อนพูดเราจะเป็นนาย แต่เมื่อพูดแล้วคำ�พูดจะเป็นนายเรา ผมมีหลากหลายเรื่องราวเบาสมองของคนขี้คุยมาเล่า ให้ฮากัน คิดเสียว่าขำ�ขันวันละนิด หัวเราะวันละหน่อย... ทำ�ให้ ชีวิตสดชื่นกระชุ่มกระชวย ห่างไกลจากโรคซึมเศร้าครับ คำ�พู ด ใช้ ใ นการติ ด ต่ อ สื่ อ สารระหว่ า งคนที่ อ ยู่ ร่ ว มกั น ในสังคม คำ�พูดมีความสำ�คัญถึงกับยกย่องว่า ปากเป็นเอก เลขเป็นโท... มนุษย์สดุ นิยมอยูท่ ลี่ มปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะ ชิวหา...พูดดีเป็นศรีแก่ปาก ฯลฯ ไงล่ะ ผมมีเรื่องขำ�ขันการใช้ปากพูดคุยให้มีประโยชน์... ผัวเมีย คู่หนึ่งไปช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง มีงานมหกรรมลดราคา สินค้า คนเข้าไปซื้อหาสินค้ากันอย่างเนืองแน่น ฝ่ายผัวได้เดิน พลัดหลงกับเมีย บังเอิญวันนั้นลืมเอาโทรศัพท์มือถือไปด้วย เดินมองหาเมียจนอ่อนใจก็ยังไม่พบ ไม่รู้จะทำ�ยังไงดี เห็น สาวสวยหน้าตาดียืนอยู่คนเดียว เลยตัดสินใจเดินเข้าไปหา กระมิดกระเมี้ยนพูดขอร้องขึ้นว่า “คุณครับ... ขอผมยืนคุยกับคุณด้วยสักครู่ได้ไหมครับ” หญิงสาวถึงกับงง หันมามองหน้า ชายหนุ่มที่หลงกับเมีย จึงรีบพูดขึ้น “คือว่าผมหลงกับเมียผม หาไม่เจอ ถ้าผมยืนคุยกับ สาวๆ สวยๆ แปลกหน้าละก้อ เดีย๋ วหล่อนก็จะโผล่หน้ามาเอง... เมียผมขี้หึงครับ!” นี่แหละเทคนิคการใช้คำ�พูดตามหาเมียครับ (แฮ่ะ...แฮ่) เขาว่าสามีที่หูหนวกและภรรยาที่ตาบอด จะเป็นคู่ผัวเมีย ที่ มี ค วามสุ ข ที่ สุ ด ... เป็ น อย่ า งนั้ น ไหมครั บ ท่ า น ถ้ อ ยคำ�ที่ อ่อนหวานย่อมเป็นเสมือนหนึง่ น้ำ�ผึง้ กล่าวคือ หวานจับขัว้ หัวใจ และชุ่มชื่นไปถึงกระดูก ดังคำ�พูดที่ว่า อันอ้อยตาลหวานลิ้น แล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
หนุ่มใหญ่นักเที่ยวคนหนึ่ง ตั้งวงก๊งเหล้ากับลูกน้อง ได้ คุยโม้เคล็ดลับวิธีหนีเมียเที่ยวแล้วทำ�ให้เมียที่บ้านสบายใจว่า “ริ จ ะเป็ น นั ก เที่ ย ว เอ็ ง ต้ อ งมี วิ ธี ทำ � ให้ เ มี ย เขาเชื่ อ ถื อ ไว้วางใจ เจ้าหล่อนจะได้ไม่ว่า” “ทำ�ยังไงล่ะ” ลูกน้องในวงชะโงกหน้าถามด้วยความสนใจ “เวลาเอ็งนอนกับเมีย ลองแกล้งหลับตาละเมอออกมา เสียงดังๆ ว่า...นีค่ ณ ุ น้องสาว อย่าเข้ามาใกล้ตวั ผมนะ ผมมีเมีย แล้ว ผมรักเมียผมมาก!” พูดพลางยกแก้วเหล้ากระดกเข้าปากแล้วโม้ต่อ “การนอนละเมอเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เกิดจาก จิตใต้สำ�นึกที่แท้จริง มึงลองละเมอแบบนี้ให้เมียได้ยิน รับรอง เมียรักมึงตายแน่... เชื่อสิ” พูดจบในวงก็ฮากันตึง ด้วยความชอบใจ คุ ณ ภรรยาที่ บ้ า นถ้ า ได้ ยิ น สามี ล ะเมอด้ ว ยถ้ อ ยคำ� หวานเจี๊ยบแบบนี้ ระวังให้ดีนะครับ... ต้องมีแผนลับลวงพราง อย่างแน่นอน! (แฮ่ม) สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ... คำ� 3 คำ�ที่เหมือนจะง่ายๆ แต่ มันกลับยากอย่างไม่นา่ เชือ่ หลายคนไม่อยากทีจ่ ะพูด แต่กอ็ ยาก ที่จะฟัง คนเรานีก่ แ็ ปลก ไม่อยากพูดแต่อยากฟัง แล้วทำ�ไมไม่ลอง คิดย้อนกลับมาล่ะ ในเมื่อตัวเองยังอยากฟัง แล้วคนอื่นล่ะ ไม่อยากฟังบ้างหรือ ฝึกตัวเองให้นึกถึง พูดถึงคำ� 3 คำ�จนเป็นนิสัย อย่าอาย ที่จะพูด อย่ากลัวที่จะกล่าว สิ่งที่ควรกลัวคือ... การหลงลืมคำ� 3 คำ�! อ้อ... อีกคำ�หนึง่ ทีล่ มื เสียมิได้ ก่อนทีจ่ ะร่ำ�ลาจากกัน คำ�ว่า “โชคดี” ก็เป็นคำ�กล่าวอวยพรที่วิเศษสุดคำ�หนึ่งด้วยครับ พี่โมทย์ สมัยเป็น ผู้อำ�นวยการกองรังวัด กรมทรัพยากร ธรณี (สมั ย นั้ น )...วั น หนึ่ ง ได้ นั ด กิ น ข้ า วกั บ พี่ นิ ติ กุ ล วิ ศ วฯ รุ่ น เดี ย วกั น ในระหว่ า งพู ด คุ ย พี่ โ มทย์ ไ ด้ พู ด เชิ ง วิ ช าการถึ ง แนวนโยบายวิธีการคิดค่าภาคหลวงแร่ให้ถูกต้องตรงตามความ เป็นจริง โดยเอาผลการรังวัดหน้าเหมืองมาคำ�นวณประกอบด้วย นั้น พลันพี่นิติกุลได้พูดขึ้นว่า “โมทย์... เตียงนอนคุณที่บ้านสงสัยจะไม่ได้ระดับว่ะ” “ได้สวิ ะ ก็ผมเป็น ผอ.กองรังวัด ทำ�ไมจะไม่ร”ู้ พีโ่ มทย์แย้ง แบบรำ�คาญ ได้ยินดังนั้น พี่นิติกุลจึงโพล่งแบบหน้าตายขึ้นว่า “ถ้าได้ระดับ... ทำ�ไมเวลานอนคุณต้องเอาหมอนหนุนหัว ให้สูงด้วยล่ะ” ครับ คำ�พูดคนเราจะพูดให้มีเรื่อง เป็นเรื่อง หาเรื่อง ฯลฯ ก็ได้ทั้งนั้นแหละ (เอิ๊ก) ในทางนิ ติ นั ย แร่ ถื อ เป็ น สมบั ติ ข องแผ่ น ดิ น มิ ใ ช่ ข อง ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นถ้าผู้ใดจะดำ�เนินการใดๆ เพื่อหา ผลประโยชน์ในแร่ซง่ึ ถือเป็นทรัพยากรของชาติ จะต้องขออนุญาต ตาม พ.ร.บ.แร่เสียก่อน เพื่อให้ถูกกฎหมายเหมืองแร่ พูดง่ายๆ
เป้ า หมายก็ คื อ เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ มี ก ารขุ ด แร่ ม าใช้ ป ระโยชน์ ส่วนตน แล้วทำ�ให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นการเอาเปรียบสังคม นั่นเอง การทีต่ อ้ งมีตวั บทกฎหมายมาควบคุมกำ�กับการทำ�เหมือง ให้ถูกต้องนั้น ก็เพื่อต้องการให้คณะหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งเมื่อ ขุดเอาแร่ธาตุทรัพย์ในดิน ซึง่ เป็นสมบัตสิ าธารณะมาใช้ประโยชน์ แล้ ว จะต้ อ งตอบแทนโดยการเสี ย ค่ า ภาคหลวง ค่ า ภาษี ธรรมเนียมต่างๆ คืนกลับให้แก่แผ่นดินอย่างคุ้มค่าด้วยเช่นกัน ผูใ้ ดลักขโมยทรัพย์ของแผ่นดินถือเป็นการบ่อนทำ�ลายทรัพยากร ของชาติ บาปกรรมนั้นมีจริง...ลองติดตามเรื่องราวเวรกรรม ติดจรวดดูครับ ครั้ ง หนึ่ ง นานมาแล้ ว ... เสี่ ย ขี้ คุ ย เจ้ า ของเหมื อ งและมี ภัตตาคารอาหารด้วยคนหนึง่ คราวหนึง่ เสีย่ สังเกตว่าทีภ่ ตั ตาคาร มีสาวใหญ่พราวเสน่ห์ สวยเก๋มาดไฮโซ มานั่งทานอาหารติดๆ กั น 3-4 วั นแล้ ว หลั ง จากทานอาหารเสร็ จ ก็ นั่ง เฝ้ าไม่ค่อย ยอมกลับ ระหว่างนัน้ จะนัง่ ชายตาส่งยิม้ ให้ทา่ เสีย่ คนนีเ้ ป็นเวลา นานๆ หลายชั่วโมง คราวหนึ่งสบโอกาสเมียไปธุระนอกร้าน เสี่ยใหญ่เลยเข้ามาตีสนิทเอ่ยปากจีบทันที ฟันธงยื่นข้อเสนอ อย่างไม่อ้อมค้อมกับสาวใหญ่ใจถึงคนนี้ว่า “เอาอย่างนี้คนสวย... คุณนั่งอ่อยเหยื่อส่งยิ้มให้ผมยังงี้ มาเป็นเมียน้อยผมไหม ผมมีธรุ กิจภัตตาคารอาหารและเหมืองแร่ ด้วย ผมจะซื้อบ้านซื้อรถ และให้เงินคุณใช้เดือนละห้าแสน” “เหมื อ งเสี่ ย ผลิ ต แร่ ไ ด้ เ ดื อ นละไม่ กี่ พั น ตั น เอง แถม ผลประกอบการก็ขาดทุน เสี่ยจะมีเงินให้ฉันเดือนละห้าแสน ได้อย่างไร อย่ามาโกหกกันดีกว่า” “คุณรู้ได้อย่างไร” เสี่ยถามเมื่อถูกหยาม รู้สึกเสียหน้า “รู้สิ ฉันไปเช็กที่ทรัพยากรธรณีจังหวัด และที่สรรพากร จังหวัดมาแล้ว” “คุณไม่รู้อะไร...นั่นมันตัวเลขหลอก ตัวเลขจริงเหมืองผม ผลิตแร่ได้มากกว่านั้นตั้งเยอะแยะ” เสี่ยหนุ่มคุยเขื่องขึ้น “เดี๋ยวก่อนนะ” หญิงสาวเบรกเสี่ยพลางเปิดกระเป๋าถือแล้วเอามือล้วง เข้าไปคลำ�อะไรอยู่ครู่ แล้วก็บอกเสี่ยให้พูดต่อ “แร่ผมผลิตได้เดือนละ 5 หมื่นกว่าตัน ที่แจ้งตัวเลข ผลผลิตน้อยเพราะไม่อยากเสียค่าภาคหลวงมาก และที่ใช้ Tactic ทำ�งบดุลบัญชีเหมืองให้ขาดทุนเพราะไม่อยากจ่ายค่า ภาษี แ พง...เข้ า ใจไหม ผมร่ำ� รวยมี ร ายได้ ม ากมายขนาดนี้ ตกลงคุณจะยอมเป็นเมียน้อยผมหรือเปล่าล่ะ” สาวใหญ่พยักหน้าเข้าใจ ส่งยิ้มหวานละไมอย่างพึงพอใจ พลางเอ่ยคำ�พูดเฉียบขาด เล่นเอาเสีย่ ใหญ่ถงึ กับหน้าซีดเผือดว่า “พรุ่งนี้เช้าเสี่ยไปพบดิฉันหน่อย ไปยื่นคำ�ร้องเสียภาษี ย้ อ นหลั ง ตามจริ ง ซะให้ ถู ก ต้ อ ง ดิ ฉั น อั ด เทปเสี ย งคำ�พู ด ของเสี่ยเป็นหลักฐานไว้แล้ว คำ�นวณดูแล้วคงประมาณหลาย สิบล้าน ถ้าขัดขืนมีโทษทางกฎหมาย...ดิฉันเป็นเจ้าหน้าที่ สรรพากรมาตรวจสอบคุณย่ะ!” July-August 2019
33
แร่น่ารู้ l
มยุรี ปาลวงศ์
หินน้�ำ มัน : หินติดไฟ หินน้�ำ มัน หรือ Oil Shale คือหินตะกอนอินทรีย์ >> คุณสมบัติ
ทีห่ ลากหลาย อยูใ่ นกลุม่ ของเชือ้ เพลิงประเภทเลนอินทรีย์ ไม่มีความหมายทางธรณีวิทยาที่แน่นอน หรือมีสูตรเคมี ทีเ่ ฉพาะเจาะจง หรือมีขอบเขตทีแ่ น่นอน เนือ่ งจากหินน้ำ�มัน มีความแตกต่างกันมากในเรื่องของแร่ธาตุองค์ประกอบ ทางเคมี อายุชนิดของเคอโรเจน และประวัติการสะสมตัว หิ น น้ำ� มั น มี ค่ า ร้ อ ยละของอิ น ทรี ย วั ต ถุ ตำ�่ กว่ า ถ่ า นหิ น ส่วนประกอบของสารอินทรีย์ของหินน้ำ�มันมีสิ่งมีชีวิตที่ หลากหลาย เช่น ซากของสาหร่าย สปอร์ เกสร เปลือกพืช เศษพืชล้มลุกและไม้ยนื ต้น เศษเซลล์จากพืชน้ำ�และพืชบนบก มนุษย์เรามีการใช้หินน้ำ�มันเป็นเชื้อเพลิงมาตั้งแต่ สมั ย ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ เนื่ อ งจากการเผาไหม้ ไ ด้ โ ดย ไม่ต้องดำ�เนินการใดๆ อุตสาหกรรมแบบทันสมัยของ เหมืองแร่หินน้ำ�มันเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1837 ในประเทศ ฝรั่ ง เศส และมี ก ารค้ น พบการใช้ ป ระโยชน์ ใ นประเทศ สกอตแลนด์ เยอรมนี และประเทศอื่นๆ ในประเทศไทย ชาวบ้านส่วนใหญ่จะเรียกหินน้ำ�มันว่า “หินติดไฟ หรือ หินดินดานน้ำ�มัน” เพราะสามารถจุดไฟติดได้ ชาวบ้าน จึงนำ�มาทำ�เป็นเชื้อเพลิงในการก่อไฟ 34
July-August 2019
หินน้ำ�มัน (Oil Shale) คือหินตะกอนเนือ้ ละเอียดทีม่ กี ารเรียงตัว เป็นชัน้ บางๆ มีสารประกอบอินทรียท์ ส่ี ำ�คัญคือ เคอโรเจน (Kerogen) แทรกอยูร่ ะหว่างชัน้ หินตะกอน โดยทัว่ ไปมีความถ่วงจำ�เพาะ 1.6-2.5 ในหินน้ำ�มันมีหินตะกอนเนื้อละเอียดขนาดตั้งแต่หินทรายแป้งลงมา ส่วนใหญ่เป็นหินดินดาน มีสีน้ำ�ตาลอ่อนจนถึงน้ำ�ตาลแก่
>> กำ�เนิดหินน้�ำ มัน
การเกิดหินน้ำ�มันมาจากการสะสม และทับถมตัวของซากพืช จำ�พวกสาหร่ายและสัตว์จำ�พวกแมลง ปลา และสัตว์เล็กอืน่ ๆ ภายใต้ แหล่งน้ำ�ที่ภาวะเหมาะสมซึ่งมีปริมาณออกซิเจนจำ�กัด มีอุณหภูมิสูง และถูกกดทับจากการทรุดตัวของเปลือกโลกเป็นเวลานับล้านปี ทำ�ให้ สารอินทรีย์ในซากพืชและสัตว์เหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น สารประกอบเคอโรเจนผสมกับตะกอนดินทราย จนกระทัง่ ถูกอัดแน่น กลายเป็นหินน้ำ�มัน หินน้ำ�มันแต่ละแห่งในโลกมีชว่ งอายุตงั้ แต่ 3-600 ล้านปี หินที่ เป็ น แหล่ ง กำ�เนิ ด หิ น น้ำ� มั น จะคล้ า ยกั บ หิ น ที่ เ ป็ น แหล่ ง กำ�เนิ ด ปิโตรเลียม แต่หินน้ำ�มันอาจมีปริมาณเคอโรเจนมากถึงร้อยละ 40 ในขณะที่ปิโตรเลียม มีปริมาณเคอโรเจนเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น
>> ประเภทของหินน้ำ�มัน
นักธรณีวิทยาแบ่งประเภทของหินน้ำ�มันบนพื้นฐานของ องค์ประกอบเป็น 2 ประเภท คือ หินดินดานที่มีคาร์บอเนต และหิ น ดิ น ดานที่ มี ซิ ลิ ก าหรื อ ถ่ า นหิ น เนื้ อ แน่ น และมี น้ำ� มั น การจำ�แนกประเภทอื่น หรือที่เรียกว่า Diagrama de Van Krevelen จะกำ�หนดประเภทของเคอโรเจนขึ้นอยู่กับปริมาณ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนที่อยู่ในอินทรีย์สาร ซึ่งจะ กำ�หนดว่าหินน้ำ�มันนั้นมีสภาพแวดล้อมการเกิดแบบทะเลสาบ หรือแบบทะเล ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของชีวมวลเริ่มต้นที่ ตกสะสมตัว ซึ่งการจัดหมวดหมู่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ ในการประมาณผลผลิตและองค์ประกอบของน้ำ�มันสกัด
>> สารประกอบของหินน้ำ�มัน
สารประกอบของหินน้ำ�มันมี 2 ชนิด คือ . สารประกอบอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ที่ผุพัง มาจากชั้น หิน โดยกระบวนการทางกายภาพและ ทางเคมี ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำ�คัญ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ • กลุ่มแร่ซิลิเกต ได้แก่ ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ และเคลย์ • กลุ่มแร่คาร์บอเนต ได้แก่ แคลไซต์ และโดโลไมต์ นอกจากนี้ ยังมีแร่ซัลไฟด์อื่นๆ และฟอสเฟต ซึ่งปริมาณ แร่ธาตุในหินน้ำ�มันแต่ละแห่งจะแตกต่างกันตามสภาพการ กำ�เนิด การสะสมตัว และสภาพแวดล้อม . สารประกอบอินทรีย์ ประกอบด้วย บิทูเมน และ เคอโรเจน บิทเู มนละลายได้ในเบนซิน เฮกเซน (เป็น ของเหลวใสไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นเฉพาะตัว) และตัวทำ� ละลายอินทรีย์อื่นๆ จึงสามารถแยกออกจากหินน้ำ�มันได้ง่าย เคอโรเจนไม่ละลายในตัวทำ�ละลาย หินน้ำ�มันที่มีสารอินทรีย์ ละลายอยู่ในปริมาณสูงจัดเป็นหินน้ำ�มันคุณภาพดี เมื่อนำ�มา สกัดควรให้น้ำ�มันอย่างน้อยร้อยละ 50 ของปริมาณสารอินทรีย์ ที่มีอยู่ แต่อาจได้น้ำ�มันเพียงร้อยละ 30 หรือน้อยกว่า แต่ถา้ มี สารอนินทรีย์ปนอยู่มาก จะเป็นหินน้ำ�มันคุณภาพต่ำ�
1
2
>> แหล่งหินน้�ำ มัน
แหล่งหินน้ำ�มันที่สำ�คัญของไทย ได้แก่ แหล่งในอำ�เภอ แม่สอด จังหวัดตาก จากการศึกษาวิเคราะห์สกัดน้ำ�มันพบว่า หินน้ำ�มันในแหล่งแม่สอดให้ปริมาณน้ำ�มันเฉลี่ยโดยประมาณ ร้อยละ 5 โดยน้ำ�หนัก หรือประมาณ 52 ลิตรต่อหินน้ำ�มัน 1 เมตริกตัน นอกจากนีย้ งั พบแหล่งหินน้ำ�มันทีอ่ ำ�เภอแม่ระมาด และอำ�เภออุม้ ผาง จังหวัดตาก บ้านป่าคา อำ�เภอลี้ จังหวัดลำ�พูน และอำ�เภอเมือง จังหวัดกระบี่ ต่างประเทศพบแหล่งหินน้ำ�มันที่สามารถสกัดและผลิต น้ำ� มั น ได้ คุ้ ม ค่ า ได้ แ ก่ แหล่ ง หิ น น้ำ� มั น ในสหรั ฐ อเมริ ก า ซึ่ ง ครอบคลุมบริเวณของมลรัฐโคโรลาโด ไวโอมิ่ง ยูทาห์ โดย สามารถให้น้ำ�มันถึง 240 ลิตรต่อเมตริกตัน ส่วนแหล่งในจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่สำ�คัญและใหญ่ที่สุดของโลก สามารถสกัดและ ผลิตน้ำ�มันจากหินน้ำ�มันได้ถึง 320 ลิตรต่อเมตริกตัน
>> การผลิต
การผลิตน้ำ�มันจากหินน้ำ�มันจะใช้วธิ กี ารสกัด การผลิตน้ำ�มัน จากหินน้ำ�มันเริม่ ต้นด้วยการเปิดผิวดิน เพือ่ ขุดตักเอาหินน้ำ�มัน ออกมาบดให้ได้ขนาด แล้วป้อนไปยังโรงงาน ผ่านกรรมวิธตี า่ งๆ เพือ่ เปลีย่ นรูปของสารเคอโรเจนให้กลายเป็นไอของไฮโดรคาร์บอน และไอของไฮโดรคาร์บอนจะถูกแยกออกไป ทำ�ให้กลายเป็น ของเหลว และนำ�เอาของเหลวที่ได้ไปเข้าโรงกลั่น ก็จะได้นำ�้ มัน ออกมา ซึง่ กรรมวิธดี งั กล่าวจะก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในส่วนของฝุ่นละอองที่ปลิวขึ้นไปสู่บรรยากาศ และ การทิ้งกากหินน้ำ�มันที่ผ่านกรรมวิธีแล้ว เป็นต้น
>> ประโยชน์ของหินน้ำ�มัน
หิ น น้ำ� มั น ใช้ เ ป็ น แหล่ ง พลั ง งานเช่ น เดี ย วกั บ ถ่ า นหิ น หิ น น้ำ� มั น ที่ นำ�มาผ่ า นกระบวนการสกั ด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ด้ จ ะ ประกอบด้วย น้ำ�มันก๊าด น้ำ�มันตะเกียง พาราฟิน น้ำ�มันเชือ้ เพลิง น้ำ�มันหล่อลื่น ไข แอมโมเนียซัลเฟต Naphtha ของผสมของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน และยังมีแร่ธาตุที่อยู่ในหินน้ำ�มัน และเป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสกัดหินน้ำ�มัน คือ ยูเรเนียม วาเนเดียม สังกะสี โซเดียมคาร์บอเนต และ กำ�มะถัน นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้จากส่วนต่างๆ ที่สามารถ นำ�ไปใช้ผลิตใยคาร์บอน คาร์บอนดูดซับ คาร์บอนแบล็ก และ ปุ๋ยเคอโรเจน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้น ทำ�ให้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงและพลังงานในรูปแบบ ต่างๆ นำ�มาใช้เป็นพลังงานทดแทน จึงมีการนำ�หินน้ำ�มันมาใช้ เป็ น เชื้ อ เพลิ ง ที่ ใ ห้ พ ลั ง งานโดยตรง พร้ อ มกั บ นำ�ขี้ เ ถ้ า และ กากหินน้ำ�มันที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้มาพัฒนาเป็นส่วนผสม ในคอนกรี ต เพื่ อ ให้ ไ ด้ ค อนกรี ต ที่ มี คุ ณ ภาพทางเคมี และ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่ดีขึ้น สามารถใช้งานได้จริง อีกส่วนหนึ่ง คือการใช้หินน้ำ�มันเป็นวัตถุดิบของส่วนผสมขั้นต้นในการผลิต ปูนซีเมนต์ ซึ่งสามารถช่วยลดพลังงานจากภายนอกที่ต้องป้อน เข้าสู่กระบวนการผลิตปูนเม็ด และได้ปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพดี สามารถนำ�ไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้
ที่มา
• ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การใช้หินน้ำ�มัน ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง • www.eng.ku.ac.th/e-journal_th/download. • php?name=ToVYP8PFri73503...pdf. • https://www.innnews.co.th/shownews/ show?newscode=423626 • https://sites.google.com/site/cheuxphelingsakdukdabrrph/4-1-hinnaman
July-August 2019
35
ประกาศกระทรวง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การเสนอข้อมูลประกอบการยื่นคำ�ขอประทานบัตรทำ�เหมืองใต้ดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรกำ�หนดหลักเกณฑ์การเสนอข้อมูลในการยื่นคำ�ขอประทานบัตรทำ�เหมืองใต้ดิน อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัตแิ ร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงอุตสาหกรรม จึงออกประกาศกำ�หนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนีเ้ รียกว่า “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือ่ ง หลักเกณฑ์การเสนอข้อมูลประกอบการยืน่ คำ�ขอประทานบัตร ทำ�เหมืองใต้ดิน พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “คำ�ขอประทานบัตรทำ�เหมืองใต้ดิน” หมายความว่า คำ�ขอประทานบัตรทำ�เหมืองใต้ดินตามความในหมวด ๖ แห่งพระราช บัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔ คำ�ขอประทานบัตรทำ�เหมืองใต้ดินต้องประกอบด้วยข้อมูล ดังต่อไปนี้ (๑) ข้อมูลโดยสังเขปเกี่ยวกับมาตรการทางเทคนิคการทำ�เหมืองใต้ดินในระดับความลึกที่ปลอดภัย (๑.๑) โครงสร้างทางธรณีวิทยาแหล่งแร่ ให้จัดทำ�ข้อมูลโดยสังเขปแสดงโครงสร้างทางธรณีวิทยาของแหล่งแร่ คุณสมบัติ ทางกลศาสตร์ของดิน หิน และแร่ในพื้นที่แหล่งแร่ของโครงการ พร้อมด้วยผลการทดสอบทางกลศาสตร์เพื่อใช้ ในการประเมินความปลอดภัยในการทำ�เหมืองใต้ดิน (๑.๒) ระดับความลึกที่ปลอดภัยและเทคนิคการทำ�เหมืองใต้ดิน ให้จัดทำ�ข้อมูลโดยสังเขปของชนิดแร่ ระดับความลึก ชั้นแร่และวิธีการทำ�เหมืองใต้ดิน ผลการคำ�นวณทางด้านวิศวกรรมโดยสังเขปที่แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัย ในการทำ�เหมืองใต้ดินของโครงการและเป็นวิธีการที่มีการนำ�ไปใช้งานจนประสบผลสำ�เร็จมาแล้ว (๒) แผนที่แสดงเขตเหมืองแร่โดยสังเขป และข้อมูลประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในบริเวณต่างๆ (๒.๑) แผนที่แสดงแหล่งแร่ของโครงการ (๒.๑.๑) แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ ของกรมแผนที่ทหาร แสดงจุดที่ตั้งเขตที่ประสงค์จะทำ�เหมือง ใต้ดิน (๒.๑.๒) แผนทีแ่ สดงตำ�แหน่งหลุมเจาะสำ�รวจ พร้อมภาพจำ�ลองแบบ ๓ มิติ โครงสร้างทางธรณีวทิ ยา (3D Geological Modeling) และรูปร่างแหล่งแร่ (3D Ore Body Modeling) (๒.๒) แผนที่แสดงขอบเขตของแหล่งแร่ที่ประสงค์จะทำ�เหมืองใต้ดิน โดยแสดง (๒.๒.๑) ขอบเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำ�เหมืองใต้ดินในระดับความลึกจากผิวดินที่ไม่เกิน ๑๐๐ เมตร และที่เกินกว่า ๑๐๐ เมตร (๒.๒.๒) แหล่งน้ำ�สาธารณประโยชน์ แหล่งชุมชน ระบบสาธารณูปโภคทีส่ ำ�คัญและสิง่ ก่อสร้างทีส่ ำ�คัญบริเวณโดยรอบ โครงการ (๒.๓) แผนที่แสดงเส้นทางการขนส่งแร่บนผิวดินทั้งภายในและภายนอกโครงการ (๒.๔) แผนทีแ่ สดงการออกแบบเบือ้ งต้นสำ�หรับการทำ�เหมืองใต้ดนิ และสิง่ ก่อสร้างบนพืน้ ดินเป็นภาพมุมมองจากด้านบน เช่น แสดงเขตพืน้ ทีท่ จี่ ะมีการทำ�เหมืองใต้ดนิ ปากอุโมงค์หรือปากปล่อง โรงแต่งแร่ สถานที่เก็บกองแร่ สถานทีเ่ ก็บ วัตถุระเบิด อาคารสำ�นักงาน บ้านพักและสิ่งอำ�นวยความสะดวกทั้งหมด เป็นต้น
36
July-August 2019
(๒.๕) การประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในบริเวณต่าง ๆ โดยให้แสดงข้อมูลการประเมินผลกระทบเบื้องต้น ที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของโครงการทั้งในและนอกเขตเหมืองแร่ ได้แก่ การเก็บกองหางแร่ การขนส่งแร่ และ ผลกระทบต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (๓) ข้อมูลทางเทคนิคในการทำ�เหมืองใต้ดินโดยสังเขปอย่างน้อย ๒ วิธี ซึ่งเป็นวิธีการที่มีการนำ�ไปใช้อยู่โดยทั่วไปที่ประสบ ความสำ�เร็จ โดยให้เสนอเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียในแต่ละวิธแี ละวิธกี ารทำ�เหมืองใต้ดนิ ทีจ่ ะนำ�มาใช้สำ�หรับโครงการพร้อมเหตุผล ทางวิชาการ รวมทั้งข้อมูลการแต่งแร่โดยสังเขป การจัดการหางแร่ ผลพลอยได้ และของเสียที่เกิดจากโครงการ พร้อมแสดงเหตุผล ทางวิชาการเพื่อยืนยันทางเลือกที่ดีที่สุดในการแต่งแร่และการจัดการหางแร่โดยวิธีดังกล่าว (๔) ข้อมูล แผนผัง ขั้นตอน วิธีการทำ�เหมือง และการแต่งแร่ ที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดตาม (๓) ซึ่งแสดงถึงมาตรการในการลด ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรักษาไว้ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งที่อาจกระทบต่อการดำ�รงอยู่ของธรรมชาติและชุมชน พร้อมด้วยมาตรการเฝ้าระวังและการตรวจติดตามด้านสิ่งแวดล้อม การขนส่ง การเก็บกองแร่ และการจัดการหางแร่ ซึ่งต้องเป็น วิธีการที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น (๕) ข้อเสนอการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำ�เหมืองใต้ดินของตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๘๖ (๒) แห่งพระราช บัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ระบุจำ�นวนเงินสนับสนุน พร้อมระเบียบหรือแนวทางและแผนงานการเข้าร่วมตรวจสอบการทำ�เหมือง ที่ผู้ขอประทานบัตรจะเสนอให้ผู้มีสิทธิตรวจสอบการทำ�เหมืองได้เข้าร่วมตรวจสอบการทำ�เหมืองตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๘๘ แห่ง พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ จำ�นวนเงินสนับสนุนการมีส่วนร่วมการตรวจสอบการทำ�เหมืองใต้ดิน ให้คำ�นวณตามพื้นที่ของโครงการทำ�เหมืองใต้ดิน (๖) ข้อมูลแสดงเส้นทางขนส่งและแหล่งน้ำ�ที่จะใช้ในโครงการทั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะพัฒนาขึ้น พร้อมรายละเอียดการใช้สอย ตลอดโครงการที่เพียงพอจะประเมินให้เห็นได้ว่าการทำ�เหมืองใต้ดินในโครงการจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำ�รงอยู่ของธรรมชาติ และชุมชน (๗) ข้อเสนอแนวทางการทำ�ประกันภัยกับนิติบุคคลผู้ประกอบกิจการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย ซึ่งจดทะเบียนในราชอาณาจักรที่เชื่อถือได้ การจัดทำ�ประกันภัยต้องมีวงเงินชดใช้ค่าเสียหายและระยะเวลาการประกันภัยต้องครอบคลุมตลอดอายุประทานบัตรตามที่ คณะกรรมการแร่กำ�หนด (๘) ข้อเสนอแผนการฟื้นฟู การพัฒนา การใช้ประโยชน์พื้นที่โครงการ และการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของประชาชนในระหว่างที่มีการทำ�เหมืองและหลังจากปิดเหมือง (๙) ข้อเสนอการวางหลักประกันเพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ทำ�เหมืองและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการทำ�เหมืองตลอดอายุ ประทานบัตรตามที่เสนอไว้ในแผนการฟื้นฟูตาม (๘) จำ�นวนไม่น้อยกว่าห้าล้านบาท รวมถึงแนวทางการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จากการทำ�เหมือง เงินหลักประกันตามวรรคหนึ่ง ให้แบ่งชำ�ระได้เป็นรายงวด (รายปี) ดังนี้ (๙.๑) งวดแรกให้ชำ�ระร้อยละสามสิบของจำ�นวนหลักประกัน โดยต้องชำ�ระก่อนได้รับอนุญาตให้เปิดการทำ�เหมือง (๙.๒) เงินหลักประกันในส่วนทีเ่ หลือ ให้แบ่งชำ�ระได้ไม่เกินเจ็ดงวด งวดละเท่าๆ กัน โดยต้องชำ�ระภายในวันที่ ๑๕ มกราคม ของทุกปี ข้อ ๕ เอกสารและรายละเอียดประกอบคำ�ขอประทานบัตรทำ�เหมืองใต้ดินให้จัดทำ�เป็นภาษาไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
July-August 2019
37
สาระน่ารู้
38
July-August 2019