Myanmar mirror painting

Page 1

แผ่นกระจกเขียนสี วัดจองกลาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ปองภพ รัตนประทุม


ภาพงานจิตรกรรมเขียนสีบนแผ่นกระจก วัดจองกลาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

2


งานจิตรกรรมแบบประเพณี งานจิตรกรรมทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยประวัติศาสตร์ในบ้านเมือง แถบนี้ อันรวมทั้งไทยและพม่านั้น ล้วนมีแรงบันดาลใจที่ส�ำคัญมาจากศิลปะ อินเดียทั้งสิ้น ส�ำหรับในอินเดียนั้นต�ำนานการเริ่มเขียนภาพของอินเดียมีปรากฏใน เอกสารโบราณซึ่งสรุปเฉพาะส่วนที่เป็นบ่อเกิดของจิตกรรมได้ดังนี้คือ ๑.พระเจ้าอชาติศัตรูทูลขอพระพุทธฉายแห่งพระองค์ไว้เป็นเครื่องสักการ บูชา พระพุทธองค์จึงประทับอยู่บนผืนผ้าหนึ่ง และพระฉายนั้นก็ได้รับการระบาย ด้วยสีต่างๆ เป็นจิตรกรรมที่มีขึ้นครั้งพุทธกาล ๒.นางจิตรเลขาเป็นช่างเขียนของพระนางอุษา ได้เขียนภาพเหมือนของ พระพักตร์ของพระอนิรุทธิ์ิ ซึ่งปรากฏในพระสุเมรุของพระนางเป็นมาที่ต่อมาพระ นารายณ์อภิเษกกับพระอนิรุทธิ์จากนั้นค�ำว่าจิตจึงมีความหมายถึงความพิเศษ มหัศจรรย์ของการสร้างสรรค์รูปเขียน ๓.กษัตริย์ทุษยันต์ทรงเขียนภาพนางศกุนตลา แล้วทรงชื่นชมหลงใหลมาก กระทั่งปวงชนทั้งหลายต้องเตือนพระองค์ว่านั่นเป็นเพียงภาพเขียน จากต�ำนานดังกล่าวจิตรกรรมอินเดีย ได้มีการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องโดย มักเป็นเรื่องราวในพุทธศาสนา เทพเจ้า วรรณกรรมทางศาสนา และนิยมเขียนลง บนฝาผนัง กระดาษ ซึ่งสันนิษฐานว่าการเขียนภาพพร้อมทั้งภาพประกอบตัวอย่าง ภาพเขียนในสมัยโบราณก็คงได้ถูกน�ำเคยแพร่ไปยังที่ต่างๆรวมทั้งไทยและพม่า ในอินเดียนั้นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคืองาม คืองานจิตกรรมที่ถูก เขียนตกแต่งภายในถ�้ำอนัชตา ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมในยุคสมัยคุปตะ 3


ความหมายงานจิตรกรรมภาพเล่าเรื่อง ในจิตรกรรมล้านนายุคหลังที่พบ มักอยู่ในรูปแบบภาพเล่าเรื่องทั้งสิ้น จุดมุ่งหมายเบื้อง ต้นของภาพเล่าเรื่องนั้นคงเป็นการบอกเล่า เล่าเรื่องทางศาสนาต่างๆ เช่น พุทธประวัติ โดย ผ่านภาพเขียน เพราะในสมัย โบราณนั้นไม่มีการพิมพ์หนังสือหรือสื่อทันสมัยอื่นๆ ดังนั้น วัดซึ่ง เป็นศูนย์กลางร่วมของชุมชนที่ทุกคนเข้าไปมีกิจกรรมร่วมกัน จึงเป็นแหล่งเผยแพร่วรรณกรรม ทางศาสนาแก่ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นก็ยังมีตัวหนังสืออธิบายขยายความในภาพ จิตรกรรมด้วย ซึ่งพบได้ทั่วไป สิ่งส�ำคัญที่นอกจากการเป็นการถ่ายทอดและเล่าเรื่องราวทางพุทธศาสนาแล้ว ภาพ กิจกรรมดังกล่าวยังมีความหมายแฝงที่ส�ำคัญ ในงานจิตรกรรมล้านนาก็คือ จิตรกรรมล้านนา นั้นมีความนิยมชาดกนอกนิบาต เช่น ปัญญาสชาดก ที่เขียนไว้ในวิหารวัดภูมินทร์ หนองบัว วัดท่าข้าม เป็นต้น จะเป็นจิตรกรรมที่มีเนื้อหาที่มุ่งสอนในเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างชัดเจน คือ ตัวละครในเรื่องมักจะเผชิญความยากล�ำบากและผจญภัยต่างๆนานา

แต่ตอนท้ายเรื่องก็จะ

ประสบความส�ำเร็จสมหวังด้วยตนเอง ท�ำกรรมไว้ดี เท่ากับมีความหมายถึงการสอนเรื่องกฎ แห่งกรรมโดยผ่านงานจิตรกรรมฝาผนัง

จิตกรรมที่เคลื่อนที่ได้ เป็นจิตรกรรมที่ถูกเขียนบนวัตถุที่สามารถเคลื่อน ย้ายได้ เช่น หีบพระธรรม ผื่นผ้า มักมีขนาดพื้นที่ที่เล็กกว่าจิตรกรรมฝาผนัง งาน จิตรกรรมส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะเป็นงานจิตรกรรมสีฝุ่นแทบทั้งสิ้น โดยใช้สีฝุ่นผสม กาวยางไม้ หรือกาวหนังสัตว์บางชนิด ท�ำการผสมกับสีใช้เขียนภาพ โดยสีที่ใช้มักมี ที่มาจากธรรมชาติ เช่น ได้จากพืชบางชนิด หรือแร่ธาตุบางอย่าง ทั้งที่มีในท้องถิ่น และที่น�ำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น สีแดงชาด 4


ลักษณะของงานจิตรกรรมแบบประเพณี รูปแบบงานจิตรกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแบบแผนงานจิตรกรรม ใน แบบประเพณีนิยมที่มีรูปแบบดังนี้ คือ ๑. เป็นจิตรกรรมที่เป็นภาพ ๒ มิติ ตัวภาพและสิ่งต่างๆในภาพ นั้นเป็นภาพ ที่ไม่แสดงปริมาตร ไม่แสดงแสงเงา และกล้ามเนื้อ แต่เน้นลักษณะภาพโดยการตัด เส้น ๒. มีรูปแบบการจัดภาพในลักษณะมองจากเบื้องสูง มีการจัดภาพใน ลักษณะการเป็นมองมุมสูงแบบตานก มอง ๓. ตัวละครไม่แสดงอารมณ์ทางใบหน้า แต่จะแสดงออกทางความรู้สึกด้วย อิริยาบททางท่าทาง ๔. เป็นจิตรกรรมสีฝุ่นที่ผสมกาวยางไม้หรือหนังสัตว์ ๕. เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น ทศชาติชาดก พุทธประวัติ อดีต พระพุทธเจ้าไตรภูมิ ลั ก ษณะดั ง กล่ า วมานั้ น เป็ น ลั ก ษณะของงานจิ ต รกรรมแบบประเพณี ท่ี ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในสมัยหลัง ภายหลัง ได้รับอิทธิพลศิลปะจากตะวันตกเมื่อร้อยกว่าปีมานี้เอง

5


จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมและงานศิลปกรรมที่มีคุณค่า มีความ หลากหลายในด้านรูปแบบ และยุคสมัย เช่น พระพุทธรูป เจดีย์ ศิลปะการแสดง สิงห์ รวมไปถึง ส่วนประกอบต่างๆภายในวัด งานศิลปะเหล่านี้เชื่อมโยงความเชื่อ ศรัทธา ในพระพุทธศาสนาและการด�ำรงชีวิตประจ�ำวันของชาวไทใหญ่ในอดีตสิ่ง เหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของ ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ของชุมชนนั้นๆ ซึ่งควรจะด�ำรงอยู่ต่อไปเพื่อเติมเต็มคุณค่าและความส�ำคัญของท้องถิ่น พร้อมทั้ง ถ่ายทอดภูมิปัญญา ศรัทธา ความเชื่อ แก่คนรุ่นถัดไป

6


เดิมทีพื้นที่อันเป็นสถานที่ตั้งของวัดจองกลางในปัจจุบันนั้นเคยเป็นเพียง แค่สถานที่ตั้งศาลาของ วัดจองใหม่ซึ่งใช้ให้บุคคลทั่วไปได้แวะพักระหว่างถือศีล ปฏิบัติธรรม แต่ภายหลังจากที่เจ้าอาวาสวัดจองใหม่องค์สุดท้ายได้มรณภาพลง มี พระภิกษุชาวพม่ารูปหนึ่งซึ่งเดินทางมาร่วมงานฌาปนกิจของท่านเจ้าอาวาสได้ แวะเข้าไปพักอาศัยในศาลาดังกล่าว พระภิกษุชาวพม่ารูปนี้มีประชาชนคนท้อง ถิ่นให้ความเคารพศรัทธาเป็นอันมากจึงได้มีผู้นิมนต์ให้ท่านอยู่ประจ�ำที่ศาลาต่อไป จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๑๐ คณะผู้มีจิตศรัทธาจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นทดแทน ศาลาดังกล่าวและเรียกวัดแห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง “วัดจองค�ำ” และ “วัดจอง ใหม่” นี้ว่า “วัดจองกลาง” (ปัจจุบัน “วัดจองใหม่” ได้กลายไปเป็น “โรงเรียนนัก ธรรม” ) ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๗ วัดจองกลางก็ได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็นพระอารามหลวงพร้อมๆ กันกับวัดจองค�ำ

7


วัดจองกลาง ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมผลงานศิลปะแบบไทใหญ่ – พม่าที่ส�ำคัญอีกแห่งหนึ่ง ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจะเห็นได้จากสิ่งปลูกสร้างและข้าวของเครื่องประดับ ต่างๆ

8


จอง เป็นอาคารหลักและเป็นอาคารหลังแรกที่ถูกสร้างขึ้นในวัดจองกลาง มี สิ่งที่น่าสนใจคือ “ภาพพุทธประวัติเขียนหลังกระจก” จ�ำนวน ๑๘๐ ภาพ ติดอยู่ ตามฝาผนังรอบกุฏิเจ้าอาวาส ภาพเขียนหลังกระจกดังกล่าวนี้เป็นฝีมือช่างไทใหญ่ ผสมพม่า ซึ่ง “พ่อเลี้ยงขุนเพียร” เป็นเจ้าศรัทธาน�ำมาถวาย

ภาพงานจิตรกรรมเขียนสีบนแผ่นกระจก ที่ติดอยู่ตามฝาผนังรอบกุฏิเจ้าอาวาส

9


10


จิตรกรรมหลังกระจก น�ำมาจากเมืองมัณฑะเลย์เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ขนาด ๓๐×๓๐ เซนติเมตร ผนึกอยู่ในกรอบไม้ติดผนังมีจ�ำนวน ๑๘๐ ภาพ เป็นเรื่องราวประวัติของ พระพุทธเจ้า พระเวสสันดรชาดก กระจกเขียนสีเรื่องพุทธประวัติศิลปะพม่าในวัด จองกลาง ซึ่งขาดการดูแลรักษา ขาดการส�ำรวจ ค้นคว้าศึกษา รวบรวมข้อมูล การ เผยแพร่ข้อมูล และจัดท�ำแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นกระจกเขียนสี ไว้เป็นหลักแหล่ง เพื่อที่ให้นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจ มาสืบค้นข้อมูลที่เป็นแหล่งความรู้ ใน รูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อน�ำข้อมูลหลักไปศึกษาต่อภายในภาคหน้า จะ ได้เห็นว่าแผ่นกระจกเขียนสี ได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร และในปัจจุบันแผ่นกระจก เขียนสีในพื้นที่นี้ไม่เป็นที่นิยมเขียนกันแล้ว ทั้งนี้เพราะว่าการเขียนจิตกรรม เรื่อง ประวัติของพระพุทธเจ้า พระเวสสันดรชาดก ในปัจจุบันเขียนเป็นจิตกรรมฝาผนัง ในวิหารหมดแล้ว

11


ภาพเขียนสีหลังแผ่นกระจก เป็นศิลปกรรมพม่า หรือพม่าผ่านไทใหญ่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากงานศิลปกรรมจีน เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่ประเทศพม่าติดต่อค้าขายกับประเทศจีน ซึ่งสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนกันนอก เหนือจากสินค้าแล้ว ยังรวมทั้งอิทธิพลทางวัฒนธรรม คติความเชื่อ และองค์ความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งงานศิลปะด้วย และอาจะได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตกรูปแบบตะวันตกมาใช้ร่วม กับภาพจิตรกรรมพม่าที่สวยงามและทรงคุณค่า ในฐานะเป็นแบบอย่างภาพจิตรกรรมพม่าที่ ส�ำคัญ ซึ่งเมื่อรวมกับคุณค่าด้านจ�ำนวนแล้ว พบว่า ภาพจิตรกรรมหลังแผ่นกระ มีจ�ำนวนรวม กันถึง ๑๘๐ ภาพ ซึ่งเป็นจ�ำนวนที่มากอย่างยิ่ง และด้วยจ�ำนวนภาพดังกล่าวนี้ จึงต้องเลือก เนื้อเรื่องที่จะเขียนภาพจิตรกรรมที่มีความยาวหรือรายละเอียด มากพอสมควร หรือมีตัวละคร ในบทประพันธ์ให้เลือกสรรได้ ทั้งนี้การเลือกภาพพุทธประวัติ พระเวสสันดรชาดก นับเป็น ความเหมาะสมในหลายประการโดยเฉพาะการสื่อความหมายถึงดินแดนในภูมิอื่น เป็นป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป

12

ในที่นี้คง


ภาพแสดงพระเวสสันดร พระนางมัทรี และพระกุมรกัณหาชาลี ทรงอาศัยอยู่ในบรรณ ศาลาที่เขาวงกต ป่าหิมพานต์ โดยออกบวชเป็นฤๅษี

ภาพแสดงพระเวสสันดรกระท�ำมหาทานของ ๗ อย่าง อย่างละ ๗๐๐ ก่อนเสด็จไปป่า เขาวงกต 13


ภาพแสดงพระเวสสันดร พระนางมัทรี พระกัณหา พระชาลี ก�ำลังจะเสด็จไปสู่ป่าหิมพานต์ (ทานกัณฑ์)

14


ภาพเขียนสีบนกระจกมิใช่เป็นแค่เพียงงานศิลปะเท่านั้น แต่เป็นหลักฐาน ที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และวิถีการด�ำเนินชีวิตของ บรรพบุรุษไทใหญ่ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการศึกษาจิตกรรมหลังกระจกหรือแผ่น กระจกเขียนสีจึงมีความส�ำคัญอย่างสูงทั้งในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาวไท ใหญ่ หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ของชุมชนในสมัยที่ภาพเหล่านั้นได้ ถูกสร้างขึ้นมา จิตกรรมหลังกระจก หรือแผ่นกระจกเขียนสี เหล่านี้จึงควรค่าที่จะ ต้องดูแลรักษาและหวงแหนไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ส�ำคัญ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้ และเข้าใจถึงความเป็นมาของแผ่นกระจกเขียนสี

15


แผ่นกระจกเขียนสี ปองภพ รัตนประทุม ภาพและเนื้อเรื่อง © 2017 (พ.ศ. 2560) โดย ปองภพ รัตนประทุม สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ. 2560 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย ปองภพ รัตนประทุม ใช้แบบอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 pt หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานทางวิชาการ จัดท�ำขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพ การศึกษาภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.