พืชผักพื้นเมือง : ของดีที่ถูกลืม
The Local plants and vegetables in Lanna are forgotten
สารบัญ
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: RHAMNACEAE : Coubrina asiatica Brongn. : : ผักคันทรง : ก้านเถิง , คึดเถิง , กั๋นเติง (ภาคเหนือ) : พม่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 เมตร พบบริเวณริมห้วยหรือลำ�ธารในป่าผลัดใบผสม ใบ ขนาด 3-4 x 6-10 เซนติเมตร ขอบใบหยักย่อยปลายใบแหลม ดอกออกที่ซอกใบเป็นกระจุก สีเขียวอ่อน
สรรพคุณทางสมุนไพร
เปลือกและใบ นำ�มาต้มเอาน้ำ�อาบรักษาอาการบวมเนื่องจากโรคไต หรือโรคหัวใจพิการ และน้ำ�เหลือง เสีย เหน็บชา
ประโยชน์ทางอาหาร
ใบอ่อนและยอดอ่อน ชาวเหนือใช้ต้มเป็นผักลวกจิ้มกับน้ำ�พริกต่อ น้ำ�พริกถั่วเน่า น้ำ�พริกมะขามสด น้ำ� พริกฮ้า น้ำ�พริกหนุ่ม และน้ำ�พริกต๋าแดง (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
มีตำ�นานเล่าเกี่ยวกับผักคันเถิง หรือผักกั๋นเติงว่า เดิมเรียกชื่อ “ผักคึดเถิง” (คิดถึง) เพราะแม่ม่าย ไปเก็บผักนี้มาเห็นว่ามียางสีขาวน่าจะกินได้ และพรานป่าก็บอกว่ากินได้ ไม่เบื่อ ไม่มีพิษ นางจึงเอามาลวก มี กลิ่นหอมน่ากิน พอกินได้สัก 2 คำ� ก็คิดถึงสามีที่ตายจากไป ยิ่งกินก็ยิ่งอร่อย ความคิดถึงนั้นมีมากจนนางเป็น ลมฟุบไปบนสำ�รับอาหาร (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
PAPILIONACEAE Vigna sinensis var sesquipedalis Koern Asparagus Pea Yard-long Bean ถั่วพุงหนู ถั่วชิ้น ถั่วดอ ถั่วสายเสื้อ ถั่วไส้หมู ถั่วหมาเน่า ถั่วหลา (ภาคเหนือ) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , พม่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ถั่วปี๋เป็นไม้เถาเลื้อย ตามลำ�ต้นมีขนเล็กน้อย ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ใบบนสุดกลมรีอีก 2 ใบข้างๆ กลมรีและเบี้ยวเล็กน้อย หูใบเป็นเส้นเล็กๆ 2 เส้น อยู่โคนก้านใบติดกับลำ�ต้น ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยมี ประมาณ 2-3 ดอก กลีบดอกมีลักษณะคล้ายผีเสื้อสีม่วงอ่อน หรือขาวออกเหลือง กลีบเลี้ยงไม่มีขน มีรอย ย่นมากส่วนปลายมีรอยหยัก 5 รอย เกสรประกอบด้วยเกสรเพศเมีย 1 อันและเกสรเพศผู้ 10 อัน ผลออก เป็นฝัก มีความยาว 10-30 เซนติเมตร เมล็ดมีลักษณะคล้ายไต หรือออกกลมเล็กน้อย
สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบและเปลือกฝัก : ใช้ต้มน้ำ�ดื่มเป็นยารักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง ฝักสดและเมล็ด : นำ�มาต้มน้ำ�ดื่ม หรือกินสด มีรสชุ่มสุขุม (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ตำ�นานเล่าว่า ครั้นเดือนยี่เป็ง (วันเพ็ญ เดือน 12) มีแม่ม่ายจะไปใส่บาตรที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ บุพการีและเทวดา เธอได้เดินออกไปด้วยความรีบเร่ง ขาได้ไปเกี่ยวกับเครือถั่วปี๋เข้า พอไปถึงวัดขามีอาการปวด แสบปวดร้อน พระเห็นเข้า จึงถามว่าขาไปโดนอะไรมา ถึงได้แดงเป็นรอย ป้าจึงตอบว่า ขาไปเกี่ยวเอาเครืออะไร ก็ไม่รู้และได้ตอบด้วยความโมโหว่า “เดี๋ยวตอนกลับจะตัดฟันให้หมด” พอใส่บาตรเสร็จรับพร จะกลับบ้านได้ ยืมมีดคนแก่บอกว่าจะไปฟันเครือที่เกี่ยวขา คนแก่จึงบอกเตือนว่า พืชชนิดนี้ต้องปลูกครบ 1 ปี ถึงจะกินได้ อีก หน่อยจะเป็นพืชเลี้ยงโลก เรียกว่า “ถั่วปี๋” เพราะปลูก 1 ปี (เดือน 11 ออก 1 ค่ำ� วันศุกร์) ได้กินครั้งเดียว แม่ ม่ายจึงขอไปปลูกบ้าง 3 ฝักและถามว่าปลูกแล้วได้กินเมื่อไร คนแก่ตอบว่า ประมาณเดือนเป็ง (เดือน 12) และ ได้ทำ�บุญตักบาตรพอดี นอกจากนี้ถั่วปี๋ยังใช้ในพิธีบวงสรวงในงานบุญต่างๆ (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
SOLANACEAE Solanum torvum Sw. Plate brush egg plant มะเขือพวง มะแคว้งกูลา มะแคว้งกูลัว มะแว้ง (เชียงใหม่) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บ่าแคว้งกูลาเป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ลำ�ต้นตั้งตรงแข็งแรง มีขนนุ่มปกคลุม และหนามสั้น กระจายทั่วไป ลำ�ต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกมาก ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับ แผ่นใบรูปรี ปลายใบ แหลม ริมขอบใบหยักเว้าตื้นใบยาว 10-15 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ และปลายกิ่งมีกลีบ ดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผลรูปกลม ผิวเรียบ เกลี้ยง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม
สรรพคุณทางยา
ลำ�ต้น นำ�มาต้มเอาน้ำ�ดื่ม เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวดฟกช้ำ� ใบ ใช้ใบสด นำ�มาตำ�ให้ละเอียด พอกบริเวณแผลใช้ห้ามเลือด แก้ฝีบวมมีหนอง แก้ชัก ไอ หืด
ผล ใช้ผลสด นำ�มาต้มรับประทานเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ตำ�นานเล่ากันมาว่า มีแขกอินเดียนายหนึ่ง ซึ่งชาวเหนือเรียกว่า “กูลา” ต้องการทำ�บุญตักบาตรไม่ทราบ จะใส่บาตรอะไรดี? ครั้นเมื่อทราบมาว่าพระพุทธเจ้าไม่ฉันเนื้อสัตว์ จึงนำ�มะแคว้งกูลามาปิ้งไฟ เพื่อเตรียมใส่ บาตรในวันรุ่งขึ้น พระองค์ทรงตรัสว่า ในภายภาคหน้าคนเราจะเรียกผักชนิดนี้ว่า “มะแคว้งกูลาใส่บาตร” ต่อ มาเมื่อชาวบ้านที่ทราบก็ต่างเชื่อว่า คนกูลาเอามะแคว้งมาใส่บาตรพระพุทธเจ้า แสดงว่าคนทั่วไปย่อมกินได้ ด้วยก็เลยเอามะแคว้งกูลาต้ม ปิ้ง ตำ� หรือนึ่งกินกับน้ำ�พริกกินแล้วไม่มีพิษภัยใดๆ
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
PAPILIONACEAE Dolichos lablab Linn. Hyacinth bean, Lablab bean ถั่วแปบ ถั่วแปะยี (เหนือ) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บ่าแปบเป็นไม้เถาเลื้อย มีลำ�ต้นยาวประมาณ 5 เมตร ลำ�ต้นมีขน ใบเป็นใบประกอบ เรียงแบบสลับ ห่างๆ กัน ก้านใบยาว 2-18 เซนติเมตร ใบย่อยรูปหัวใจ (lanceolate) ขนาด 6-8 x 8-10 เซนติเมตร ปลาย ใบ acute หรือ acuminate ดอกเป็นช่อแบบ raceme ออกที่ซอกใบ ก้านช่อดอกยาว 2-3.5 เซนติเมตร ดอกย่อย 4-6 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอด กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวและสีม่วงเกสรตัวผู้มี 9-10 อัน
สรรพคุณทางสมุนไพร
เมล็ด : รสมันหวาน แก้ไข้ แก้โรคตา แก้เสมหะ บำ�รุงธาตุ บำ�รุงร่างกาย แก้อาการเกร็ง ฝัก : รสมันหวาน บำ�รุงกำ�ลัง แก้ไข้อ่อนเพลีย (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน การนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
มีตำ�นานเล่าว่ามี 2 สามีภรรยาคู่หนึ่งภรรยาได้ให้กำ�เนิดลูกคนแรกเป็นลูกสาวสามีไม่รู้ว่าจะเอาอะไรให้ ภรรยากิน กลัวภรรยาจะผิดเดือนก็เลยไปหาแม่ที่บ้าน บอกว่าภรรยาคลอดลูกได้ 4 วัน จะเอาอะไรให้ภรรยา กิน แม่ก็บอกให้ไปเก็บฝักพืชผักชนิดหนึ่งที่เป็นพวงๆ ลูกชายก็ไปเก็บมาแม่จึงบอกว่าฝักของพืชชนิดนี้ไม่มี พิษอะไรและได้กล่าวว่า...บะแปลก (ไม่แปลก) ต่อมาได้เพี้ยนเป็น “บ่าแปบ” หรือที่เรียกทั่วไปว่า “ถั่วแปบ” (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
LIMNOCHARITACEAE Limnocharis flava Buch. บอนจีน บัวค้วก (เหนือ) บัวลอย (แม่ฮ่องสอน) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บัวค้วกเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำ�ต้น เป็นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนใบเจริญขึ้นเหนือน้ำ�เป็นใบเดี่ยว รูป ร่างกลมรียาว 15-18 ชม.กว้าง 12 ชม. มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำ�ยาวประมาณ 30 ชม.สีเขียวอ่อน เป็น เหลี่ยม อวบน้ำ�มีช่องอากาศ เมื่อหักก้านใบจะพบมียางสีขาวซึมออกมา แผ่นใบใหญ่ และแผ่คล้ายใบตาลปัตร ดอก ออกเป็นช่อแบบร่มมีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบดอกสีเหลือง หลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก ย่อยประมาณ 2.5 ชม.
ประโยชน์ทางยา
บัวค้วก รสหวานมัน ออกขมเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร และป้องกันไข้หัวลม
ประโยชน์ทางอาหาร
บัวค้วก ยังใช้เป็นผักสดแกล้มกับส้มตำ� ลาบ ก้อย ยอดอ่อน ก้านใบอ่อน และดอกอ่อน สามารถรับ ประทานเป็นผักสด หรือผักลวก สำ�หรับเป็นผักจิ้มน้ำ�พริกต่างๆ ได้เช่นกัน (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
ANACARDIACEAE Spondias pinnata Kurz Hog Plum
มะกอก
กอกกุก,กูก (เชียงราย) กอกหมอง บ่ากอก (เหนือ) ไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บะกอกเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-40 เมตร ลำ�ต้นตรงเรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้ามขนาดใบย่อยกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสี น้ำ�ตาลอมแดงเรื่อๆ ใบแก่สีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนาเกลี้ยง และเป็นมัน ดอกเป็นช่อสีขาว ออกเหนือรอย แผลใบตอนปลาย ๆ กิ่ง ขณะที่ใบร่วงหมดกลีบดอก และกลีบรองดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ผลรูปไข่ขนาดกว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 3.5-4.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
สรรพคุณสมุนไพร
ใบ : รสเปรี้ยวฝาด ใช้น้ำ�คั้นจากใบใช้หยอดหูแก้อาการปวดหู แก้หูอักเสบ ผล : รสเปรี้ยวอมหวานเย็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ธาตุพิการ แก้บิด แก้ดีพิการ (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ ชาวล้านนามักใช้เปลือกบะกอกดับกลิ่นคาว เนื่องจากผู้ที่อยู่เดือน มีข้อห้ามอาหารที่มีกลิ่นคาว
เช่น ปลาทุกชนิด เพราะกลิ่นคาวติดตามตัวอยู่ตลอดเวลา และกลิ่นคาวนั้นจะลงไปทางนมไปถึงทารกด้วยส่วน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้กินหมูไปทางนมไปถึงทารกด้วย (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
MORACEAE Artocapus heterophyllus Lamk. Jack Fruit Tree. ขนุน ซีคึย,ปะหน่อย, หมากลาง (แม่ฮ่องสอน) ล้าง (ภาคเหนือ) อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บะหนุนเป็นไม้ยืนต้น ลำ�ต้น สูงประมาณ 8-15 เมตร มียางขาวทั้งต้น ใบออกสลับกัน มีลักษณะกลม รียาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมและสั้น เนื้อใบหนาและเหนียว หลังใบเรียบเป็นมันฐานใน เรียว ก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร ใบแก่หลุดร่วงง่าย ดอก ออเป็นช่อ แยกเป็นช่อดอกตัวผู้ และช่อดอก ตัวเมื่อดอกตัวผู้จะออกตามปลายกิ่งหรือง่ามใบเป็นแท่งยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ช่อดอกตัวเมีย เป็น ท่อนกลมยาวออกตามลำ�ต้น และกิ่งก้านใหญ่ ผล เป็นผลรวม
สรรพคุณทางสมุนไพร
แก่น, ราก รสหวานชุ่มขม นำ�มาต้มน้ำ�ดื่ม ช่วยบำ�รุงโลหิตบำ�รุงกำ�ลัง แก้กามโรค ฝาดสมาน เนื้อในเมล็ด รสมัน บำ�รุงน้ำ�นม ขับน้ำ�นม บำ�รุงกำ�ลัง (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ชาวเหนือเล่าว่า ชื่อ “บะหนุน” เดิมมาจากคำ�ว่า “บะลูน” ซึ่งแปลว่า “มาทีหลัง” โดยมีเรื่องราวเล่า ว่า มีพรานป่าไปล่าสัตว์กลางป่า อดอาหารมา 3 วัน ตั้งใจว่าจะยิงฝูงลิงเป็นอาหาร แต่บังเอิญลิงได้ทำ�ผลบะ หนุนหล่นใส นายพรานจังเอามาแกะรับประทานเพื่อประทังชีวิต ทำ�ให้รอดพ้นจากการอดอาหารตายในป่า จึง สามารถออกล่าสัตว์ต่อได้ เมื่อกลับบ้านจึงเอาเมล็ดพันธุ์บะหนุนที่เก็บจากป่ามาให้ภรรยาปลูก จากนั้นมาไม้ ชนิดนี้ก็ถูกพัฒนากลายเป็นไม้พื้นบ้านจนถึงปัจจุบัน (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
CUCURBITACEAE Momordica charantia Linn. Bitter Cucumber, Baisam Pear. มะระขี้นก มะห่อย มะไห่ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (แม่ฮ่องสอน) อินเดีย , ศรีลังกา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะห่อยนก เป็นพืชล้มลุก ลำ�ต้น เป็นเถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น โดยอาศัยมือเกาะที่มีเส้นกลมๆ สีเขียวยาว ประมาณ 6-14 เซนติเมตร ใบมีรูปกลมเว้าเป็นพู มี 5-7 พู ฐานใบรูปหัวใจเว้าลึกขอบเป็นรอยหยักแบบฟัน เลื่อย เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน มี 5-7 เส้น ใบมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-17 เซนติเมตร ก้านใบ ยาว 2-3 เซนติเมตร มีขน ปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน ดอก เป็นดอกเดี่ยว แยกเพศ ดอกเพศผู้และดอก เพศเมียอยู่ต้นเดียวกัน ดอกจะออกที่ซอกใบ ผล เป็นชนิดที่มีเนื้อนุ่ม มีรูปกระสวย หัวแหลม ท้ายแหลม
สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำ�มาตำ�ให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำ�ดื่ม เป็นยาแก้จุกเสียด แน่น ท้อง ขับลม บำ�รุงธาตุ และช่วยถ่ายพยาธิ (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
มะห่อยตรงกับคำ�ภาษิตคนเมืองว่า “เมื่อป้อแม่มี กิ๋นขว้างโบ๊ะขว้างบ๊ะ กันป้อแม่ต๋ายละเป๋ นมะห่อยนอยจา” มีความหมายว่า ในขณะที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ กินอยู่อย่างสะดวกสบาย ไม่ชอบ ทำ�งานและใช้วันหมดไป จนกระทั่งเมื่อพ่อแม่ตายจากไป ไม่มีใครให้พึ่งพาหรือสนใจดูแล ชีวิตก็ จะประสบแต่ความทุกข์ยาก ซึ่งเป็นสุภาษิตที่ใช้สอนลูกหลานให้รู้จักทำ�มาหากิน มีความขยันมั่น เพียร รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ เพื่อวันข้างหน้าจะได้สบาย (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
AIZOACEAE Glinus oppositifolius A.DC.
-
สะเดินดิน ผักขี้กวง (ภาคเหนือ) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักขี้ขวงเป็นไม้ล้มลุก ลำ�ต้นเตี้ยติดดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออก ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดเล็ก เรียวยาว ออกตามข้อเป็นกระจุก 4-5 ใบ ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อตามบริเวณข้อหรือ ชอกใบ 4-6 ดอก มีสีขาว ผลเป็นรูปยาวรี เมื่อแก่จัดเป็นสีน้ำ�ตาลเมล็ดสีน้ำ�ตาลแดง
สรรพคุณสมุนไพร
ทั้งต้น :
รสขม บำ�รุงน้ำ�ดี แก้ไข้หวัด ไข้เหนือ ดับพิษร้อน (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
เมื่อสมัยก่อนมักเรียกผักชนิดนี้ว่า “ผักขี้กวง” บางทีก็เรียก “ผักขี้เก้ง” เนื่องจากกวางและ เก้งชอบกินใบแล้วถ่ายอุจจาระไว้ ส่งผลให้ผักชนิดนี้เจริญออกดอกผลแพร่พันธุ์มากขึ้นตามมา ประโยชน์ทางยา (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
CRUCIFERAE Raphanus sativus Linn var. caudatus Alet ผักเปิ๊ก (เหนือ) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุ 1-2 ปี ลำ�ต้นสูง 30-90 ซม. ใบมีรูปร่างยาวเรียว ผิวใบเรียบ หรือมีขนเล็กน้อย แผ่น ใบยาว 20 ซม.ดอกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก สีขาวอมม่วง ฝักขนาดเล็กคอดเป็นช่วง ๆ ระหว่างเมล็ด ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 0.5 ซม. ยาว 7-8 ซม. ภายในมีเมล็ด 1-6 เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
หมอพื้นบ้านล้านนา ใช้เมล็ดผักขี้หูดบดกินเพื่อขับลมในกระเพาะ หรือใช้ผลมาปรุงยา “ลมต๊องเต้น” เพื่อขับลมให้ออกจากร่างกาย โดยมีส่วนประกอบของปูเลย(ไพล) ตาเสือ หรือเอมาปรุงผสมกันหลายอย่าง ได้แก่ จันทะเปิ๊ก จันหอมป้อม หอมขาว หอมแดง ดอกจัน จันผักกาด ดีปลี เทียนดำ� จันทน์ทั้ง 5 เอามาตำ� ผสมกัน แล้วต้มในหม้อเมื่อเดือดแล้วรินเอาน้ำ�ดื่ม (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ผักขี้หูดมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ผักเปิ๊ก” ชื่อที่ตั้งขึ้นมาจากการที่ชาวบ้านนิยมช้าผ้าห่อผักในลักษณะที่เรียกว่า “โป๊ก” ชาวเหนือเชื่อว่า เมื่อรับประทานผักขี้หูดเป็นประจำ� จะช่วยให้เสริมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง แก้ร้อนใน ลด อาการกระหายน้ำ� (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
SAURURACEAE Houttuynia cordata Thunb.
-
ผักคาวทอง ผักเข้าตอง (ภาคเหนือ) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) ภาคเหนือของไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก อายุหลายปี มีลำ�ต้นใต้ดินยาวเป็นข้อๆ ลำ�ต้นเหนือพื้นดินขนาดเล็ก สูง 15-20 เซนติเมตร ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ รูปหัวใจ ฐานใบเว้าปลายใบแหลม มีหูใบขนาด 3-4 x 4-6 เซนติเมตร ดอกช่อขนาดเล็กออกที่ยอด มีกลีบประดับ 4 กลีบ สีขาว ดูคล้ายกลีบดอก ดอกย่อยขนาด เล็ก เกสรเพศผู้ สีเหลือง
สรรพคุณสมุนไพร
ใบ นำ�ใบสด ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ นอกจากนี้ ใบยังมีสรรพคุณแก้กามโรค ต้นสน ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง งูพิษกัด และช่วยทำ�ให้กระดูก ดอก ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
เดิมชาวเหนือเรียกว่า “ผักขัดตอง” ต่อมาเพี้ยนเป็น “คาวตอง” เพราะกินแล้วมีกลิ่นคาว นิยม กินกับลาบ ชาวเหนือใช้ประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีของชาวล้านนา ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ใส่ในสะทวงเป็นการ ส่ง การบอก โดยมีคำ�กล่าวว่า “ขวัญอยากกินอะไรก็มาดูซะ ฉันจะส่งให้ขวัญได้กินของเหล่านี้ฉันก็เตรียมมา ให้หมด ของจิ้มก็มี ผักก็มี” (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
CUCURBITACEAE Coccinia grandis (Linn.) Voigt Ivy Gourd ตำ�ลึง แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักแคบเป็นไม้เถาที่มีอายุหลายปีเถาแก่จะใหญ่ และแข็งเมื่อแก่จัดมีสีเทาส่วนเถาอ่อนมีสีเขียว ตาม ข้อมีมือเกาะ สำ�หรับยืดเกาะกับไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ ฐานใบเว้าเข้าด้านใน ขอบใบเว้าเล็กน้อย ผิวใบ เรียบไม่มีขน ดอกเป็นดอกเดี่ยว ผิวใบเรียบไม่มีขน ดอกเป็นดอกเดี่ยว แยกเพศอยู่คนละต้น สีขาวรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีเกสรเพศผู้มี 3 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ผลมีรูปร่างกลมยาว ผลดิบสีเขียวเมื่อแก่ มีสีแดง
สรรพคุณสมุนไพร
บำ�รุงโลหิต ลดความร้อน ลดไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ดับพิษร้อนในคอ ใช้รากผักแคบต้มดื่มเป็นแก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย แก้โรคตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ� ตาแฉะ พิษอักเสบในตา แก้อักเสบ (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ในสมัยก่อน ผักแคบมักซื้อขายในราคา 1 ตำ�ลึง และคนที่สามารถบริโภคผักชนิดนี้ได้ จะต้องมีฐานะ ทางสังคม และไม่นิยมแจกจ่ายผักชนิดนี้ให้ใครบริโภค เพราะมีราคาแพง ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “ผักแคบ” อัน หมายถึง คนใจแคบไม่ยอมแบ่งปันให้คนอื่นรับประทาน (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
ASCLEPIADACEAE Gymnema inodorum Decne. ผักเชียงดา (เชียงใหม่) ไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักเจียงดาเป็นไม้เลื้อย ความยาวของเถาเลื้อยและขนาดของลำ�ต้นขึ้นอยู่กับอายุ ลำ�ต้นมีเส้นผ่า ศูนย์กลาง 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนของลำ�ต้นที่อยู่เหนือดินมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ บริเวณข้อ ใบมีรูปร่าง-กลมรีปลายแหลม ฐานใบแหลมเรียบ ไม่มีขน ขอบใบเรียบหรือมีคลื่นเล็กน้อย
สรรพคุณสมุนไพร
เปลือก แก้บิด ท้องร่วง แก้ลม อาการชัก ราก รสขมเล็กน้อย ช่วยขับปัสสาวะ มีสรรพคุณ ลดน้ำ�ตาลในเลือด และมีศักยภาพในการ พัฒนาเป็นยารักษาโรคเบาหวานได้ (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
มีตำ�นานเล่าเรื่องเกี่ยวกับผักเจียงดาว่า มีแม่ครัวคนหนึ่งเป็นสาวแรกรุ่นอายุ 16 ปี ก็เอายอดผักเจียง ดาจิ้มกับน้ำ�เงี้ยวคั่ว รับประทานแล้วอร่อยและหอมดี หรือให้คนเป็นไข้ เป็นพยาธิ ต้มผักเจียงดากับปลาแห้ง รับประทานแล้วจะหาย มรรคนายกถามว่า แล้วจะตั้งชื่ออะไรดี ป้าคนหนึ่งก็บอกว่า “ผักดาขันโตก” ต่อมาได้ เพี้ยนเป็น “ผักเจียงดา” จนถึงปัจจุบัน (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ
: COMMELINACEAE : Commelina diffusa Burm. f. : Wandering jew, water grass, French weed,
ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : :
spreading dayflower
ผักปลาบ เอเซียและแอฟริกาเขตร้อน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักปลาบเป็นพืชล้มลุกทอดไปตามพื้นดิน ความสูงของลำ�ต้นที่ชูขึ้นประมาณ 10-20 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามากตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ มีรากงอกจากข้อของลำ�ต้นทุกส่วนเมื่อขยี้จะเป็น เมือก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกันไปตามข้อต้น มีกาบใบหุ้มลำ�ต้นสีเขียว มีขนยาว ใบเป็นรูปไข่มน ปลาย ใบแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีขนปกคลุกอยู่ทั่วไป ใบกว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายยอด ดอกอยู่ภายในกาบรองดอก กลีบดอกมี 3 กลีบ กลีบ กลางใหญ่กว่ากลีบด้านข้างสีฟ้าอ่อนหรือสีฟ้าอมม่วง กลมรี 5 เซนติเมตร ผลแบ่งเป็น 3 ช่อง
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคเรื้อน ยาระบาย แก้อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง บรรเทาอาการ ปวด อาการขัดเบา เป็นยาพอกแผล ชาวล้านนาตามชนบทนิยมใช้ใบบริโภคเป็นผัก ใช้ชุบแป้งทอดรับประทานกับขนมจีน น้ำ�พริก หรือใส่แก๋งแคนอกจากนี้ ยังมีรายงานพบว่าในอินเดีย และสิงคโปร์ นิยมใช้พืชชนิดนี้เป็นอาหารเช่น เดียวกับประเทศไทย (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์
: BASELLACEAE : Basella alba Linn. (ผักปลังขาว) Basella rubra Linn. (ผักปลังแดง) ชื่อสามัญ : East Indian Spinach. Malabor Nightshade. Indian Spinach, Ceylon spinach
ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ
: :
-
ผักเชียงดา (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักปั๋ง เป็นไม้เลื้อย ลำ�ต้นกลมอวบน้ำ�สีเขียว และสีม่วงอมแดง ไม่มีขนแตกกิ่งก้านสาขาได้ยาวหลาย เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับตามข้อ ลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าสีเขียวเป็นมัน ยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร กว้าง 2-6 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียว และสีแดงอวบน้ำ�ดอก ดอกเป็นช่อตามชอกใบ ช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอกย่อย กลีบดอกมี 5 กลีบติดกันอยู่ที่ฐาน ปลายแยกมีใบประดับ 2 ใบเล็กๆ ติดอยู่ที่ฐาน ดอกสีขาว สีชมพูและสีขาวอมชมพู ผลกลม
สรรพคุณสมุนไพร
แก้อาการปัสสาวะขัด ใช้ใบสด ต้มกับน้ำ�ดื่มแบบชาต่อหนึ่งครั้ง แก้อาการท้องผูก นำ�ใบสดหรือยอดอ่อนมาต้มกินเป็นอาหาร (ที่มา : สุวิทย์ จารุศรีวรกุล)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ชาวเหนือเชื่อว่า ผู้ที่มีคาถาอาคมจะไม่รับประทานผักปั๋ง เนื่องจากเชื่อว่าทำ�ให้คาถาอาคมเสื่อม เพราะ ว่าเป็นผักที่นำ�ไปช่วยให้สตรีคลอดบุตรง่ายขึ้น ใช้ทำ�แกงได้โดยโขลกพริกและใส่มะขามหรือมะนาวด้วย หรือ จะเจียวผักปั๋งไม่ใส่พริก แต่ใช้พริกสดปิ้งไฟใส่ไปในหม้อแกง เชื่อว่าให้แม่มานกินแตงผักปั๋งทุกวันเดือนดับ เดือนเต็ม จะทำ�ให้คลอดลูกง่ายทำ�ให้ลื่นไหลเหมือนกับผักปั๋ง (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
COMPOSITAE Spilanthes acmella Murr. Para Cress; Tooth-ache plant ผักคราด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , อินเดีย , ศรีลังกา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักเผ็ดเป็นพืชล้มลุกเนื้ออ่อนอายุ 1 ปี ลำ�ต้นตั้งตรงสูง 20-50 เซนติเมตร บางครั้งอาจทอดไปตาม พื้นดินเล็กน้อย แต่ปลายชูขึ้น และลำ�ต้นค่อนข้างกลม มีสีม่วงแดงปนเขียว ลำ�ต้นอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย ลำ�ต้นแก่จะมีรากงอกออกมา ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามกัน รูปสามเหลี่ยมกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบยาว ผิวใบสากและมีขน ดอกเป็นช่อรูปไข่ดอกย่อยจะเรียง อัดแน่นเป็นกระจุกสีเหลืองเป็นลักษณะกลมกลายแหลม ดอกย่อมมี 2 วง วงนอกเป็นดอกตัวเมีย วงในเป็น ดอกสมบูรณ์เพศ ด้านช่อดอกยาว 8-12 เซนติเมตร ผลเป็นผลแห้งรูปไข่ มีสัน
สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบ รสเอียนเบื่อเล็กน้อย แก้ปวดศีรษะ รักษาแผล แก้ปวดฟัน แก้โลหิตเป็นพิษ ดอก รสเอียนเบื่อ ขับน้ำ�ลาย แก้ปวดศีรษะแก้ปวดฟัน แก้อาการติดอ่างในเด็ก รักษาแผลในปากคอแก้ ลิ้นเป็นอัมพาต ถ้าเอาไปผสมกับตำ�รับยาอื่น จะช่วยแก้โรคองคชาติตาย แก้ลมตะกัง ต้น แก้ไข้เจ็บคอ แก้ฝีในลำ�คอ แก้พิษตานซางแก้ริดสีดวง และแก้ต่อมน้ำ�ลายอักเสบ ทั้งต้น รสเอียนเบื่อเล็กน้อย แก้เข้คอตีบ แก้คับแก้เริม แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้บิด แก้เลือด ออก ตามไรฟัน (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
POLYGONACEAE Polygonum odoratum Lour. ผักไผ่ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักไผ่เป็นไม้ล้มลุก สูง 20-35เซนติเมตร ลำ�ต้นตั้งตรง มีข้อเห็นชัดเจนเป็นระยะ ๆ บริเวณข้อมักมี รากออกมา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับรูปร่างใบเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ก้านใบ สั้น ใบกว้าง 2.6-3 เซนติเมตร ยาว 5.5-8 เซนติเมตร มีหูใบลักษณะเป็นปลอกหุ้มรอบลำ�ต้นบริเวณเหนือ ข้อดอกสีขาวออกเป็นช่อแบบ raceme ที่ปลาย ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เกสรตัวผู้มี 5 อัน เรียงตัวอยู่รอบ ๆ เกสรตัวเมีย
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสเผ็ด ใช้รักษาโรคตับแข็ง แก้ลม-ขับลมในกระเพาะ ช่วยเจริญอาหาร หรือนำ�ใบมาตำ�ให้ละเอียด ทาแก้ตุ่ม ผื่นคัน โรคกลากเกลื้อน รักษาโรคหวัด รวมทั้งรักษาโรคตัวจี๊ด (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
จากการบอกเล่าของหมอเมืองกล่าวไว้ว่า สาเหตุที่เรียกผักชนิดนี้ว่า “ผักไผ่” เพราะว่าใบมีลักษณะ คล้ายใบไผ่ จึงเรียกชื่อนี้จวบจนถึงปัจจุบัน (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
CLEOMACEAE Cleome gynandra Linn. Wild Spider Flower. ผักเสี้ยน อินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักส้มเสี้ยนเป็นพืชล้มลุกสูงประมาณ 1 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น ตามลำ�ต้นมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่เมื่อจับดูจะเหนียวมือ ใบ เป็นใบประกอบ ก้านใบยาว มีใบย่อย ประมาณ 3-5 ใบ เรียงกันคล้าย รูปนิ้วมือ ใบกลางมีขนาดใหญ่ ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายยอดดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อนกลีบดอก มี 4 กลีบ รูปไข่ยาวประมาณ 8-14 มิลลิเมตร สีม่วงขาวเกสรตัวผู้มี 6 อัน ผล เป็นฝักยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กว้าง 3-4 มิลลิเมตร เมื่อฟักแก่เต็มที่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ด รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลลิเมตร สีน้ำ�ตาลหรือดำ� คล้ายเมล็ดงาดำ�
ประโยชน์ทางยา
ใบ มีฤทธิ์ทำ�ให้ผิวหนังร้อนแดง นำ�ไปบดหรือตำ� ใช้ทาแก้อาการปวดเมื่อย ใบสด มีรสขม เมื่อต้มสุกรสขมจะหายไปมีกลิ่นน้ำ�มันหอมระเหย คล้ายกลิ่นมัสตาร์ด ต้น รสขมขื่นร้อน ขับโลหิตระดูที่เน่าเสีย เมล็ด นำ�มาชงน้ำ�ร้อนดื่ม จะช่วยขับเสมหะ มีฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือน เมล็ดแห้งแก้พิษงูกัด ราก แก้เลือดออกตามไรฟัน ต้มกินเป็นยาลดไข้ปรุงเป็นยาแก้ผอมแห้งในสตรีจากคลอดบุตรแล้ว อยู่ไฟไม่ได้ (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
CAESALPINIACEAE Bauhinia purpurea Linn. Orchid Tree, Purple Bauhinia เสี้ยวดอกแดง, ชงโค กะเฮอ สะเปชี เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) อินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักเสียวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำ�ต้นสูงประมาณ 7-12 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปมนเกือบ กลม แยกเป็น 2 พู ปลายมนกลม กว้าง 8-16 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอก ออก เป็นช่อออกด้านข้างหรือปลายกิ่ง 6-10 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรีกว้างตรงส่วนกลาง เมื่อบานวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ลักษณะของดอกคล้ายดอกกล้วยไม้ เกสรตัวผู้จะเป็นเส้นงอนยาวยื่นออกมาตรงกลางดอก 3 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะอยู่ตรงกลางดอกอีก 1 เส้น รังไข่มีขน ฝักคล้ายฝักถั่ว ยาว 20-25 เซนติเมตร
สรรพคุณสมุนไพร
ใบ รสเฝื่อน ใช้ต้ม กินรักษาอาการไอ ใบอ่อนช่วยบำ�รุงร่างกาย ดอก รสเฝื่อน ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นเครื่องยารักษาไข้ ดับพิษไข้ หรือเป็นยาระบาย (ที่มา : สุวิทย์ จารุศรีวรกุล)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
มีตำ�นานเล่าว่า มรรคนายกวัดได้ไปเด็ดเอาหางใบผักเสี้ยวมา 3 เสี้ยว นำ�มาตำ�ให้ละเอียด เอาน้ำ�ที่นึ่ง ข้าวเทใส่ แล้วจึงนำ�มากรอกใส่ปากเด็กที่เป็นไข้ 2 ช้อน ทำ�ให้เด็กหายจากอาการเป็นไข้ต่อมามีคนมักนำ�ไปนึ่ง รับประทานกับน้ำ�พริก และตั้งชื่อผักชนิดนี้ว่า “ผักเสี้ยว” จวบจนถึงปัจจุบัน (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
MIMOSACEAE Acacia pennata Wild. Subsp.insuavis Nielsen ชะอม ผักห้า (แม่ฮ่องสอน) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักหละเป็นไม้รอเลื้อย ความสูงประมาณ 5-10 เมตร ไม้ผลักใบ ลำ�ต้น มีหนามที่แหลมคมกระจาย อยู่ทั่วไปห่าง ๆ บริเวณที่ยอดอ่อนจะปรากฏถี่กว่าแต่จะนุ่มไม่แข็งเหมือนที่ลำ�ต้น ใบ เป็นใบประเกบขนาดเล็ก คล้ายใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบย่อยแต่ละใบมีรูปร่าง ขนาด 0.1-0.2 x 0.6-0.7 เซนติเมตร รูปรีมี ประมาณ 13-28 คู่ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายสะตอ หลุดร่วงได้ง่ายเมื่อแยกจากต้น ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุนมาก และใบจะยังไม่แผ่กางออก ดอกเป็นช่อ มีแกนกลางอวบ หนา กลม ทำ�ให้ช่อดอกทั้ง ช่อมีลักษณะกลม ดอกย่อยแต่ละดอกมีขนาดเล็ก ติดกันเป็นหลอดสีเหลืองอ่อน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลมีลักษณะเว้า แห้งแล้วแตกด้านข้าวเมล็ดสีน้ำ�ตาลดำ�ลักษณะเกือบกลม
ประโยชน์ทางยา
ราก ใช้ฝนน้ำ�ดื่มเป็นยาแก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำ�ไส้ และรักษาอาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอด รสจืด กลิ่นฉุน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ผักหละ มีที่มาจาก “ผักคนหละ” เพราะมีกลิ่นเหม็นกินแล้วทำ�ให้ปากเหม็น คนบางคนจึงไม่ชอบกิน อาจทำ�ให้ไม่คบค้าสมาคมด้วย หรือชาวล้านนาใช้คำ�ว่า “หละ หรือ ละ” ไปเสีย (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
ASCLEPIADACEAE Dregea volubills Stapf กระทุงหมาบ้า เครือเขาหมู (ภาคเหนือ) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , อินเดีย , จีน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักฮ้วนหมูเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มียางขาว ลำ�ต้นเป็นเถากลม เปลือกลำ�ต้นมีสีน้ำ�ตาลอ่อน ลำ�ต้น เถาจะ พาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ลำ�ต้นแก่จะมีรอยแตก และมีจุดสีขาวอยู่ที่ผิวของลำ�ต้น ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่กว้าง ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร โคนใบมนหรือเว้ารูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร ใบเป็นมัน เนื้อผิวใบค่อนข้างหนาหลังใบมีสีเขียวเข้มใต้ท้องใบมีสี เขียวอ่อนกว่า เส้นกลางใบชัดเจน ดอก สีเขียวอ่อนอมเหลือง ออกเป็นช่อคล้ายร่มตามชอกใบ
สรรพคุณสมุนไพร
ลำ�ต้น รสเมาเบื่อเอียนติดขม ใช้เป็นยาแก้โรคตา แก้หวัด ทำ�ให้จาม แก้พิษงูกัน ใบ แก้แผลถูกน้ำ�ร้อนลวก แก้บวม แก้บวม แก้บ่มฝี เถา เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ (ที่มา : สุวิทย์ จารุศรีวรกุล)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ผักฮ้วนหมูเป็นไม้ที่ชาวเหนือรับประทานเป็นผัก ในภาษาล้านนา คำ�ว่า “ฮ้วน” แปลว่า “ลำ�ไส้” ชาว บ้านเรียกชื่อผักชนิดนี้ตามลักษณะของดอกที่คล้ายกับลำ�ไส้หรือมดลูกของหมู อีกทั้งตัวผักเองก็มีรสขม คล้ายลำ�ไส้อ่อนของหมู่ (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
MORACEAE Ficus lacor Buch. เสียบ ผักฮี้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักเฮือดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ลำ�ต้น สูงประมาณ 8-15 เมตร ใบอ่อนมักมีสีชมพู หรือชมพูอมเขียวมีลักษณะใสแวววาวไปทั้งต้น ยอดอ่อนมีปลอกหุ้มใบในระยะเริ่มแรก ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียว ออกแบบสลับ ลักษณะใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปนขอบขนาดปลายใบมนทู่ ขอบใบเรียบ ผิวใบมันใบมีขนาด กว้าง 6-7 เซนติเมตร ยาว 7-18 เซนติเมตร มีหูใบขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อเส้นศูนย์กลางประมาณ 0.40.6 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ออกจากซอกใบ ผล เมื่อแก่เต็มที่ ผลมีเส้าผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
สรรพคุณทางยา
เปลือกต้น ใช้เปลือกต้นสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มดื่มแก้ปวดท้อง กากใบ ใช้เป็นยาระบาย ยาง ใ ช้ แ ก้ ท้ อ ง ร่ ว ง โ ด ย นำ � ม า ผ ส ม กั บ น้ำ � ส ะ อ า ด ใ น สั ด ส่ ว น เ ท่ า ๆ กั น ดื่ ม กิ น (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ใบผักเฮือดนั้น เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง ต้นไม้ชนิดนี้จะผลัดใบอยู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจึงแตกใบอ่อน ซึ่งมีสี แดงเข้มมีลักษณะคล้ายกับ “ตัวเรือด” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เฮือด” อันสอดคล้องกับลักษณะของใบผัก เฮือดดังกล่าว (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
CUSCUTACEAE Cuscuta Chinensis Lamk. เครือเขาคำ� (ภาคเหนือ)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , อินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฝอยทองเป็นไม้ปรสิตขึ้นเกาะดูดน้ำ�และอาหารจากต้นไม้อื่น ลำ�ต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลมอ่อน แตก เป็นกิ่งก้านสาขา เป็นเส้นยาวสีเหลือง ใบเป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ดอกออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก มีดอก ย่อยจำ�นวนมากสีขาว กลีบดอกยาวประ 2 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายกลีบมนแยกเป็น 5 แฉก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 2 อัน ผลเป็นรูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร สี เทา มี 2-4 เมล็ด รูปร่างกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร สีเหลืองอมเทา
สรรพคุณสมุนไพร
ลำ�ต้น : ใช้ลำ�ต้นแห้งนำ�มาต้มน้ำ�ดื่ม เป็นยาแก้บิด อาเจียนเป็นเลือด เมล็ด : ใช้เมล็ดแห้งนำ�มาต้มน้ำ�ดื่ม ใช้เป็นยาบำ�รุงกำ�ลัง บำ�รุงไต (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ตำ�นานของชาวเหนือเล่าว่ามีแม่ม่ายนางหนึ่งเกล้าผมเพราะผมยาวอยู่มาวันหนึ่งได้สระผม มีพรานป่า คนหนึ่งเดินผ่านมาเห็นแม่ม่ายสระผม จึงถามว่าใช้อะไรสระแม่ม่ายตอบว่าใช้ใบหมี่กับมะกรูดครึ่งผลหมก กับขี้เถ้า แล้วต้มทิ้งไว้ให้เย็น นำ�มาใช้สระผมน้ำ�ยาสระผมที่เหลือ แม่ม่ายจะทิ้งก็เห็นว่าเป็นของที่ใช้สระผม บนศีรษะแล้ว จะเอาไปทิ้งในโคลนจะไม่มีด พรานป่าก็แนะนำ�ว่าให้เอาไปทิ้งไว้ที่ต้นกระถิน พอตอนเช้าตื่นขึ้น มากดูแม่ม่ายพบว่า เส้นผมของตนกลายเป็นสีทองคำ� เขาเลยพูดว่า “ผมแม่ม่ายเป็นทองคำ�” จึงเรียกว่า “ฝอยทอง” คล้ายทองคำ� แต่ไม่มีราก (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ
: : : : :
SOLANACEAE Solanum aculeatissimum Jacq. Cockroach Berry มะเขือขื่น มะเขือขันคำ� มะเขือคางกล มะเขือคำ� มะเขือแจ้ดิน (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะเขือแจ้เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว สูง 30-60 เซนติเมตร ลำ�ต้นแข็งแรงใบเป็นใบเดี่ยว รูปรี่ ขนาด 6x8 เซนติเมตร มีหนามถี่กระจายทั่วไป ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบดอก สีม่วง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร มี กลีบรองดอกเจริญอยู่ด้วย และมีหนามออกตามก้าน ผลยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
สรรพคุณทางสมุนไพร
แก้ไอ ขับเสมหะ ใช้เมือกสีเขียวที่ปนอยู่กับเมล็ดของผลมะเขือแจ้ที่สุก 2 ช้อนชา ใส่น้ำ�ปูนใส 3 ช้อนชาคนให้เข้ากัน ใช้จิบครั้งละ 1 ช้อนชา จิบบ่อยๆ จนกว่าจะหาย แก้อาการคลื่นเหียน-อาเจียน ใช้รากมะเขือแจ้ตำ� 1-2 ช้อนชา ผสมเหล้าดื่ม แก้อาเจียนได้ รักษาอาการหอบหืดของเด็ก ใช้ผลมะเขือแจ้จำ�นวนพอควรมาคั้นเอาน้ำ� นำ�มาหุงกับข้าว เหนียวดำ�จนสุก (ที่มา : ทิพย์รัตน์ มณีเลิศ)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน การนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวล้านนา
มะเขือแจ้ คนสมัยโบราณ มักห้ามสตรีที่ยังไม่มีสามีรับประทาน เพราะเชื่อว่าเมื่อรับ ประทานไปแล้ว อาจไปมีชู้กับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากในเมล็ดของมะเขือแจ้มีตัวยาที่ไปกระตุ้น กำ�หนัด เมื่อแต่งงานแล้วจึงสามารถรับประทานได้ (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : :
:
MORACEAE Ficus racemosa Linn. มะเดื่อชุมพร, มะเดื่ออุทุมพร มะเดื่อ (เหนือ) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะเดื่อเกลี้ยงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-12 เมตร ลำ�ต้นสีน้ำ�ตาลในเทา กิ่งอ่อนสีเขียวหรือเขียว ปนน้ำ�ตาล กิ่งแก่สีน้ำ�ตาลไม่มีขนในเป็นใบเดี่ยวออกสลับ ใบรูปไข่หรือรูปหอกกว้าง 4-16.5 เซนติเมตร ยาว 12-30 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมฐานใบมน ผิวเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม หูใบรูป หอก ไม่หลุดร่วงง่าย ดอกออกเป็นช่อ ภายในโครงสร้างพิเศษ มีก้านเกิดเป็นกลุ่มรูปกลมแป้นบนกิ่งสั้นๆ ที่ แตกออกจากลำ�ต้น
สรรพคุณทางสมุนไพร
เปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล สมานแผล แก้ประดงผื่นคัน แก้ไข้ ท้อง เสีย ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดใหญ่ แก้ธาตุพิการ ราก รสฝาดเย็น แก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ กล่อมเสมหะและโลหิต แก้ไข้หัว ไข้กาฬ แก้พิษเย็น แก้ ท้องร่วง (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อ และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรม
ในสมัยโบราณ มีการนำ�ไม้มะเดื่ออุทุมพรมาทำ�เป็นพระที่นั่งและเครื่องใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษกของ กษัตริย์ ได้แก่ กระบวยที่ใช้ตักน้ำ�มันเจิมถวาย และหม้อน้ำ�ที่กษัตริย์ใช้ถวายน้ำ�จะทำ�ขึ้นด้วยมะเดื่ออุทุมพร นอกจากนี้ ต้นมะเดื่อยังถูกบันทึกไว้ในด้านของชาวฮินดูว่า เป็นไม้มงคลและเป็นที่นับถือของชาวไทย พม่า มอญมาแต่โบราณ (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ถิ่นกำ�เนิด
: : : : : :
BINONIACEAE Oroxylum indicum Vent.
เพกา
มะลิ้นไม้ ลิดไม้ หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นช้าง (ภาคเหนือ) เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะลิดไม้เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำ�ต้นสูง 4-20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสาม ชั้นขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายยอด ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4 - 8 เซนติเมตร ยาว 6 - 12 เซนติเมตร โคนใบสอบกลม มีความยาวประมาณ 0.5 -2.0 เมตร ก้านช่อดอกยาวดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบเลี้ยงจะมีความยาวประมาณ 2.4 เซนติเมตร มีลักษณะ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยโคนกลีบดอกเป็นหลอดสีม่วงแดงหนา ย่น เกสรตัวผู้มี 5 อัน และจะติด กับหลอดดอกกลีบโคนก้านจะมีขน เกสรตัวเมียมีอยู่ 1 อัน ผลเป็นฝักแบน รูปดาบ กว้าง 6 - 15 เซนติเมตร ยาว 60 - 120 เซนติเมตร มักห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอด
สรรพคุณทางสมุนไพร
ฝักอ่อน รสขมร้อน ขับผายลม บำ�รุงธาตุ ฝักแก่ รสขม แก้ร้อนในกระหายน้ำ� เมล็ดแก่ รสขม ระบายท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้านและการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
มะลิดไม้ ถือเป็นไม้มงคล นำ�มาใช้เป็นไม้ค้ำ�ในพิธีสืบชะตาของชาวล้านนา และสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่นิยม รับประทานมะลิดไม้ใน “วันพระ” เพราะเชื่อว่าถ้ารับประทานไปแล้ว ทารกในครรภ์จะเป็นโรคพยาธิ และไม่ สามารถคลอดบุตรได้ตามกำ�หนด อาจะล่วงเลยไปอีก 2-3 ปี (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : ชื่อสามัญ ชื่อสามัญไทย ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ :
: MELIACEAE Azadirachta indica Juss. Var.siamensis Valeton : Neem Tree : สะเดา -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สะเลียมเป็นไม้ยืนต้นความสูง 8-15 เมตร ผลัดใบทุกส่วนมีรสขม เปลือกต้นสีเทาแตก เป็นร่องตามยาว ยอดอ่อนที่แตกใหม่มีสีน้ำ�ตาลแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบ ย่อยฐานใบไม่เท่ากับ รูปใบหอก ปลายสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งพร้อมใบอ่อนดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวมี 5 กลีบ ผลเป็นผลสมรูปกลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดเดี่ยว แข็ง
ประโยชน์ทางยา
ดอก รสขม แก้พิษโลหิต พิษกำ�เดา แก้ริดสีดวงเป็นเม็ดยอดคันในลำ�คอ บำ�รุงธาตุ ผล รสขมเย็น บำ�รุงหัวใจให้เต้นเป็นปกติ ฆ่าแมลงศัตรูพืช (ที่มา : ปัญญาวัฒน์ สันติเวส)
ตำ�นาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำ�ไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
สะเลียมตามคำ�สุภาษิตคนเมืองกล่าวไว้ว่า “ปากหวานจ้อยๆ เหมือนน้ำ�อ้อยป้อกสะเลียม” มีความหมายว่า บุคคลที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน น่าฟัง เหมือนมีน้ำ�อ้อยรสหวานเคลือบอยู่ โดยที่ ภายในจิตใจอาจคิดสิ่งที่ไม่ดี เปรียบเหมือนกับสะเดาที่มีรสขมอยู่ภายใน บุคคลประเภทนี้มักมี ความสามารถในการเจรจา หรือโน้มน้าวให้ผู้ฟังไม่รู้สึกว่าตนเองกำ�ลังถูกว่ากล่าวอยู่ (ที่มา : นางคำ� กันนาง)
บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553. ผักพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก คำ� กันนาง. สัมภาษณ์ (4 มกราคม 2556). จุฑา แม่นกิจ. 2541. พืชผักพื้นเมือง. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก: htpp:://www.car.ac.th/mis/mkdata/foof-96 ฉลาดชาย รมิตานนท์และคณะ. 2543. น้ำ�พริกและผักพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มิ่งเมือง. ปัญญาวัฒน์ สันติเวสและคณะ. 2540. ผักพื้นบ้าน : ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย. พิมพ์ครั้ง ที่ 3. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. 2551. ผักพื้นบ้านกับสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนา ตำ�ราการแพทย์แผนไทย. เมฆ จันทร์ประยูร. 2541. ผักพื้นบ้านเคล็ดลับของคนอายุยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ไททรรศน์. รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์. 2548. พืชสมุนไพรปลูกกินได้ปลูกขายรวย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ประสานมิตร. รักษ์ พฤกษชาติ. 2550. ผักพื้นบ้านคู่มือการปลูกเชิงการค้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: นีออน บุ๊ค มีเดีย. ลลิตา ธีระสิริ. 2543. ผักพื้นบ้านต้านโรค คุณค่าจากธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: รวม
ทรรศน์. ลั่นทม จวนจวบทรงและคณะ. 2537. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก วัชรี ประชาศรัย. 2541. ผักพื้นเมือง เหนือ อีสาน ใต้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร. วีณา เชิดบุญชาติ. 2547. ปลูกผักไทยได้ทั้งอาหารและยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้น ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. สนั่น แก้วมูล. สัมภาษณ์ (4 มกราคม 2556). สุวิทย์ จารุศรีวรกุล. 2553. ผักพื้นบ้าน ต้านภัยสารพัดโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แพลน บี สุวิทย์ วังใจ. 2555. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.klonthaiclub.com/index.php? topic=20577.0
ปฎิทิน
คืออาหาร ล้านนา ราคาถูก นิยมปลูก กันทั่ว...ถั่วเน่าแข็บ แผ่นกลมกลม พอวาง บางแป้บแป้บ รสชาติแซบ กินน้อย อร่อย.ลำ� พิงถ่านไม้ ไฟอ่อน ร้อนเหลืองสุก ป่นหยาบคลุก ข้าวสวย โรยหน้า.หยำ� สมปลาแห้ง เป็นผง ลงครกตำ� หรือใส่น้ำ�พริกอ่อง อล่องฉ่องงาม โดย ... สุวิทย์ วังใจ