Korean visiting Thailand & generating THB50 million

Page 1

ฉบับส่งสื่อมวลชน

ปี’56 คาดตลาดเกาหลีใต้ : สร้างรายได้ท่องเที่ยวให้ไทย 50,000 ล้านบาท

CURRENT ISSUE ปีที่ 19 ฉบับที่ 2330 วันที่ 5 มีนาคม 2556

ประเด็นสาคัญ  คาดว่ า ความคุ้ ม ค่ าของเงิ น และการขยายตัว ของสายการบิ นต้ น ทุน ต่​่า รวมถึง การเพิ่ ม เที่ยวบินตรงจากเมืองส่าคัญในเกาหลีใต้มายังแหล่งท่องเที่ยวหลักของไทย จะหนุนตลาด นัก ท่องเที่ยวเกาหลีใต้ ปี 2556 ให้ข ยายตัว ร้อยละ 20 จากปี ก่ อนหน้า และสร้า ง รายได้ประมาณ 50,000 ล้านบาทให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องของไทย  ขณะที่ในปี 2555 มีนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย 1.17 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 ของจ่านวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ทั้งหมดที่เดินทางไปท่องเที่ยว ต่างประเทศ (องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลีคาดการณ์ที่ประมาณ 13.74 ล้านคน)  ผู้ประกอบการควรเร่งขยายฐานตลาดท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม อาทิ กอล์ฟ ฮันนีมู น และช้อปปิ้ง เพิ่มพูนรายได้ท่องเที่ยวให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ขณะที่การเพิ่มพูนรายได้ท่องเที่ยวเข้าประเทศเป็นเป้ าหมายส าคัญของภาครัฐ ปัจจุบัน หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนจึงให้ความสาคัญในการใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก ขยายตลาดนั ก ท่ อ งเที่ ย วในตลาดระดั บ บนที่ มี ก าลั ง ซื้ อ สู ง ควบคู่ กั บ การพั ฒ นาแพ็ ก เกจท่ อ งเที่ ย วที่ ดึ ง ดู ด นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย โดยหนึ่งในตลาดเป้าหมายสาคัญของไทย คือ นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ ซึ่งติดอยู่ใน กลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5 อันดับแรกที่นิยมเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยในปี 2555 โดยมีจีน ครองอันดับหนึง่ รองลงมา คือ มาเลเซีย ญี่ปุ่น รัสเซีย และเกาหลีใต้ ตามลาดับ สาหรับนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็น นักท่องเที่ยวกลุ่ม เดินทางท่องเที่ยวทั่วไป นอกจากนี้ ยังมี นักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม ที่นิยมเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อ กิจกรรมเฉพาะ ได้แก่ กีฬากอล์ฟ ฮันนีมูน และช้อปปิ้ง โดยนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มดังกล่าวจะใช้จ่าย ในประเทศไทยสูงกว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปหลายเท่า ดังนั้น การขยายตลาดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม ที่มีกาลังซื้อสูงดังกล่าว จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มพูนรายได้ท่องเที่ยวจานวนมากเข้าประเทศได้ อย่างรวดเร็ว


2

ขยายตลาดท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม : ช่องทางเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดทัวร์นอกของเกาหลีใต้ แม้เศรษฐกิ จของเกาหลีใ ต้จ ะเพิ่ งฟื้ นตัวจากวิก ฤตเศรษฐกิจโลก แต่ การเดินทางไปต่างประเทศของ นักท่ องเที่ยวเกาหลีใ ต้ยัง เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง พิจ ารณาจากข้ อมูล ขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ย วเกาหลี (Korea Tourism Organization: KTO) ที่คาดการณ์ว่า ในปี 2555 จะมีนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางไป ต่างประเทศรวมทั้งสิ้นประมาณ 13.74 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากปีก่อนหน้า ส่วนใหญ่เป็นการเดินทาง ระยะใกล้ในภูมิภาคเอเชีย โดยมีประเทศจีนเป็นปลายทางยอดนิยมอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และ ไทย เมื่อเปรียบเทียบกับจานวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในปี 2555 ที่มี จานวนรวมทั้งสิ้น 1.17 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 จากปีก่อนหน้าแล้ว พบว่า ไทยยั งมีส่วนแบ่งใน ตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศของเกาหลีใต้ด้วยสัดส่วนเพียงร้อยละ 8 ยังมีช่องทางที่ประเทศไทยจะขยาย ส่วนแบ่งในตลาดนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ได้อีกมาก โดยเฉพาะตลาดท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่มีการใช้จ่าย ในประเทศไทยสูงกว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปหลายเท่าตัว โดยล่าสุด เมื่อช่วงปลายปี 2555 ได้มีการหารือระหว่างหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของภาครัฐทั้งสอง ประเทศ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือ ด้านการท่องเที่ยวในอันที่จะผลักดันให้นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางมา เที่ยวประเทศไทยปีละ 4-5 ล้านคนในอนาคต หรือประมาณ 1 ใน 3 ของจานวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ทั้งหมดที่ เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ เช่น ไทยจะอานวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ด้วยการพัฒนาเว็บไซต์ แนะน าแหล่ งท่ องเที่ ย วไทยเป็ น ภาษาเกาหลี ขณะที่ ทางเกาหลี ใ ต้จ ะช่ วยพั ฒ นาทั ก ษะด้านภาษาเกาหลี แ ก่ บุคลากรไทย นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลท่องเที่ยวซึ่งกันและกันระหว่างสื่อมวลชนไทยและเกาหลีใต้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี 2555 ตลาดนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ (จาแนกตามถิ่นที่มา) สามารถขยายตัวขึ้นมา อยู่ในระดับ 1.17 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าระดับสูงสุดที่ 1.10 ล้านคนเมื่อปี 2549 ได้เป็นครั้งแรก หลังจากที่ ตลาด นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ของไทยได้ผันแปรไปตามปัจจัยที่มากระทบ ทั้งปัจจัยภายในของไทยเองและปัจจัยภายนอก ประเทศ ในช่วงระหว่างปี 2550-2554 การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเด่นชัดของตลาดนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่ง เป็ นผลจากความมั่ นใจด้านความปลอดภั ย ในการเดินทางมาเที่ ยวประเทศไทย ที่ กลับ คืนมาในหมู่ นั ก ท่ องเที่ ย วเกาหลี ใ ต้ โดยปราศจากภั ย จากการชุ ม นุ ม เรี ย กร้ อ งทางการเมื อ งและภั ย ธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังได้แรงเกื้อหนุนสาคัญการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่าในภูมิภาคเอเชีย และการเพิ่ม เที่ยวบินตรงจากเมืองสาคัญๆ ในเกาหลีใต้ (อาทิ อินชอน ปูซาน และเดกู) มายังแหล่งท่องเที่ยวยอด นิยมของไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา เชียงใหม่ และภูเก็ต ทั้งนี้ ปัจจัยหนุนจากสถาณการ์ความสงบภายในประเทศของไทย ประกอบกั บภาวะเศรษฐกิจของเกาหลี ใต้ ส่งเสริมให้คนเกาหลีใต้เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศมากยิ่งขึ้ น และหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ได้รับความ นิยม คือ ประเทศไทย ขณะที่ตลาดที่หน่วยงานด้านท่องเที่ยวของไทยควรเร่งขยายฐานตลาด คือ นักท่องเที่ยว เฉพาะกลุ่มที่มีกาลังซื้อสูง ได้แก่ กลุ่มคู่รักคู่ฮันนีมูน ตลาดทัวร์กอล์ฟ และตลาดนักช้อปฯ

CURRENT ISSUE


3

 แหล่งท่องเที่ยวชายทะเล : จุดขายตลาดคู่รักคู่ฮันนีมูนเกาหลีใต้ ในปัจจุบันที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในส่วนกลางและระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเล อาทิ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และสมุย ต่างร่วมมือกันขยายตลาดท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่มี กาลัง ซื้อสู ง โดยวางเป้าหมายทางการตลาดเพื่ อส่งเสริมให้ พื้ นที่ ของตนเป็ นปลายทางท่ องเที่ย วส าหรั บคู่รั ก คู่ฮันนีมูน และร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งมีโรงแรมและรีสอร์ทเป็นธุรกิจหลัก จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หลากหลายรูปแบบออกมาดึงดูดตลาดคู่รักคู่ฮันนีมูน โดยมีเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในตลาดเป้าหมายที่ น่าสนใจ จากกระแสความนิยมเดินทางไปฮันนีมูนในต่างประเทศของคู่แต่งงานชาวเกาหลีส่วนใหญ่ คือ ประมาณ ร้อยละ 85 ของคู่แต่งงานในแต่ละปีที่มีประมาณปีละ 2.5-2.6 แสนคู่ แหล่งท่องเที่ยวในต่างประเทศที่คู่แต่งงานชาวเกาหลีนิยมเลือกไปฮันนีมูนนั้น มักเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวชายทะเลและเกาะต่างๆ จุดหมายปลายทางยอดนิยมในภูมิภาคเชียของคู่ฮันนีมูนเกาหลีใต้ ได้แก่ บาหลี มัลดีฟส์ สาหรับในประเทศไทย ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ และสมุย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่ได้รับความนิยมจาก นักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีชายหาดที่สวยงามติดอันดับต้นๆ ของโลก จากการจัดอันดับล่าสุดของทริปแอดไว เซอร์ เว็บไซต์ท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดของโลก โดย 3 ชายหาดของไทย คือ หาดไร่เลย์ หาดพระนาง จังหวัดกระบี่ และหาดในหาน จังหวัดภูเก็ต ติดอันดับ 10 ชายหาดที่สวยที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันตลาดคู่รักคู่ฮันนีมูนต่างชาติ มีแนวโน้มกระจายไปตามแหล่ง ท่องเที่ยวชายทะเลที่เป็นเมืองรอง ซึ่งจะมีบรรยากาศที่เงียบสงบกว่าเมืองท่องเที่ยวหลัก รวมทั้งยังมีค่า ห้องพักที่ถูกกว่า เช่น เขาหลัก จังหวัดพังงา หัวหิน ปราณบุรี และบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตลาดคู่รักคู่ฮันนีมู นต่างชาติยังเป็ นช่องทางในการขยายฐานของตลาดท่องเที่ยวซ้ า ให้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ด้วยการจัดกิจกรรมเชิญชวนคู่รักคู่ฮันนีมูนเดินทางมาเที่ยวเพื่อระลึกถึงความ ทรงจา เมื่อครบรอบแต่ละปีของการฮันนีมูน ซึ่งอาจจะมีสมาชิกใหม่ในครอบครัวร่วมเดินทางมาใน อนาคตด้วย

 สนามกอล์ฟภาคตะวันออก & ภาคเหนือ.....ดึงดูดตลาดทัวร์กอล์ฟเกาหลีใต้ ขณะที่ตลาดนักกอล์ฟระดับผู้บริหารและเศรษฐี ในภูมิภาคเอเชียมีขนาดใหญ่ถึง ประมาณ 20 ล้ านคน แต่ ใ นปั จ จุ บั น ยั ง มีนั ก ท่ อ งเที่ ย วต่า งชาติ ก ลุ่ ม ที่ เ ล่ น กอล์ ฟ ในประเทศไทยเพี ย งร้ อยละ 5 ของตลาด นักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมหรือประมาณ 1 ล้านคน ในจานวนนี้ ประมาณร้อยละ 50 เป็นนักกอล์ฟจาก เกาหลีใต้ จึง ยังมีลู่ทางที่ประเทศไทยจะขยายส่วนแบ่งในตลาดนักกอล์ ฟเอเชียได้อีกมาก และช่ว ย เพิ่มพูนรายได้เข้าประเทศได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะตลาดทัวร์กอล์ฟมีกาลังซื้อสูง จึงมีการใช้จ่ายโดยเฉลี่ย สูงกว่าตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปกว่าเท่าตัว นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความได้เปรียบหลายประการที่เอื้ออานวยต่อการขยายตลาดทัวร์ กอล์ ฟต่ างชาติ ทั้งในด้านความหลากหลายของสนามกอล์ฟ ที่ ไ ด้มาตรฐานสากล ซึ่ง มีจ านวนกว่ า 200 แห่ ง กระจายในทุกภาคทั่วประเทศ ทาให้สามารถหมุนเวียนเล่นตามสนามในภาคต่างๆ ได้ตลอดทั้งปี และคุณภาพการ บริการที่ดี น่าประทับใจของแคดดี้ไทย รวมทั้งความคุ้มค่าด้านราคาที่ถูกกว่าประเทศอื่นๆ ที่เป็นกอล์ฟเดสติเนชั่น นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดิมนิยมเล่นกอล์ฟในกรุงเทพฯ และภาคกลางซึ่ งไม่ไกลจาก กรุงเทพฯ มากนัก รวมทั้งในภาคตะวันออกโดยมีพัทยาเป็นปลายทางหลัก เริ่ม กระจายไปตามสนาม

CURRENT ISSUE


4

กอล์ฟในภาคเหนือซึ่งมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง โดยได้แรงเกื้อหนุนจากการขยายเที่ยวบินตรงจาก เกาหลีใต้ไปยังเชียงใหม่ ทั้งเที่ยวบินประจาและเที่ยวบินเช่าเหมาลา

กรุงเทพฯ.....ดึงดูดตลาดนักช้อปฯ เกาหลีใต้ นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เป็นหนึ่ งในตลาดเป้าหมายกลุ่มนักท่องเที่ยวเอเชีย ที่นิยมจับจ่ายซื้ อ สินค้าตามศูนย์การค้าชั้นน่าในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยวหลัก เช่น ภูเก็ต ส่าหรับในกรุงเทพฯ เมื่อบรรยากาศ การท่องเที่ยวไทยกลับสู่ภาวะปกติ ท่าให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเอเชียเดินทางเข้ามาพ่านัก ท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นตามล่าดับ โดยมีการจับจ่ายซื้อสินค้าเป็นหนึ่งในกิจกรรมยอดนิยมของนักท่องเที่ยว จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ส่งผลให้บรรดาศูนย์การค้าชั้นน่าในกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับความนิยมจากบรรดานักท่องเที่ยว ต่างชาติ โดยมีศูนย์กลางอยู่ในย่านสี่แยกปทุมวันถึงสี่แยกราชประสงค์ ต่างปรับปรุง ในด้านรูปโฉม และเพิ่มพื้นที่ จ่าหน่ายสินค้าแบรนด์ชั้นน่าระดับโลก รวมทั้งพัฒนาคุณภาพด้านการบริการ เพื่ออ่านวยความสะดวกและดึงดูด ลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาจับจ่ายสินค้าแบรนด์ยอดนิยมทั้งหลาย

แนวโน้มตลาดเกาหลีใต้ปี’56….ขยายตัวร้อยละ 20 : สร้างรายได้ไม่ต่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากปัจจัยสาคัญที่เกื้อหนุนตลาดนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ยังส่งผลต่อเนื่องไปในปี 2556 ศูนย์วิจัย กสิกรไทย จึงคาดการณ์ว่า ในปี 2556 จะมีนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น ในอัตราสูง หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนในการขยายตลาดท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม ของตลาดนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ โดยมีกลุ่มคู่รักคู่ฮันนีมูน ทัวร์กอล์ฟ และกลุ่มนักช้อปฯ เป็นตลาดนา ร่อง ด้วยการพัฒนาแพ็กเกจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแต่ละกลุ่ม และส่งเสริมให้มีการ กระจายการท่องเที่ยวจากเมืองท่องเที่ยวหลักไปสู่เมืองท่องเที่ยวรองรอบๆ ควบคู่กับการทาการตลาด ออนไลน์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวโดยตรงได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้ น และสอดคล้องกับ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่ส่วนใหญ่ คือ กว่าร้อยละ 50 ค้นหาข้อมูลการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยว จากอินเตอร์เน็ต จากการขยายตัวอย่ างรวดเร็ วในช่ วงเดือนแรกของปี 2556 ของตลาดนัก ท่องเที่ ย วเกาหลี ใต้ โดยมี นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย 1.33 แสนคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หน้ า ศู นย์ วิ จัย กสิ กรไทย จึ ง คาดการณ์ ว่ า ในปี 2556 จะมี นักท่ องเที่ ย วเกาหลี ใ ต้เ ดิ นทางเข้า มายั ง ประเทศไทยเพิ่มขึ้นไม่ต่ากว่าร้อยละ 20 เป็นประมาณ 1.4 ล้านคน และมีแนวโน้มก่อให้เกิดรายได้ ท่องเที่ยวสะพัดในประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากปีก่อน หน้าที่คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ----------------------------------------Disclaimer รายงานวิจยั ฉบับนี้จัดทาเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทาขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความ น่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ ล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิด ต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคาแนะนาในการตัดสินใจทาง ธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

CURRENT ISSUE


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.