CLMV Pulse ชีพจรอาเซียน-พฤติกรรมผู้บริโภคประเทศกัมพูชา

Page 1

กัมพูชา

CLMV Pulse

กัมพูชา

เวียดนาม

เมียนมาร์

ลาว

ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศกัมพูชา

สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น



CLMV PULSE: ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศกัมพูชา

กั ม พู ช า

ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น


หัวหน้าทีมวิจัย Ms. Mu Mu Thient, Yangon, Myanmar Dr. Phouphet KYOPHILAVONG, Laos National University, Vientiane, Laos Dr. Nguyen Luu Bao Doan, Hoa Sen University, Ho Chi Minh City, Vietnam Vin Spoann, Royal University of Phnom Penh, Phnom Penh, Cambodia Assoc. Prof. Dr. Kullapapruk Piewthongngam, Khon Kaen University, Thailand ข้อจำ�กัดความรับผิดชอบ: ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ขอสงวนสิทธิทั้งปวง รวมทั้งสิทธิในการแก้ไข ทำ�ซ้ำ� ดัดแปลง ตลอด จนนำ�ไปใช้อ้างอิงหรือเผยแพร่รายงานนี้ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดและด้วยวิธีการใด ๆ โดยไม่ได้ รับอนุญาตเป็นหนังสือ บทความและความเห็นใด ๆ เป็นบทความและความเห็นของนักวิจัย และเป็นไปตามผลของการสำ�รวจ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อม ไม่ต้องรับผิดชอบและไม่รับประกันไม่ ว่าในกรณีใด ๆ ในผลจากการนำ�ข้อมูลดังกล่าวไปใช้

ผู้สนับสนุนทุนการวิจัย : รายงานฉบับนี้ ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการดำ�เนินการศึกษาวิจัย นอกจากนี้ยัง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในหัวข้อที่ เกี่ยวข้องกับอาหารและการตกแต่งบ้าน ราคา : 450 บาท สงวนลิขสิทธิ์ - ห้ามเผยแพร่หรือนำ�ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ก่อนได้รับอนุญาต ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทร.: +66(0) 43 202 567, email: ecber.kku@gmail.com โทรสาร: +66(0) 43 202 567 www.ecberkku.com/asean www.facebook.com/ecberkku


การศึกษา

การทำ�งานและ การเงิน

10 12 14 22 26 32

อาหารและ เครื่องดื่ม

สุขภาพและ การรักษา พยาบาล

การจับจ่ายใช้สอย

บ้านและ ที่อยู่อาศัย


ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น


CLMV PULSE:

ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศกัมพูชา

กัมพูชา


บทนำ� ประเทศกัมพูชาซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นหัวใจของในอาณาจักรขอมได้มีการ เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปอย่างมากในเรื่องการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ VIETNAM การลดลงของอัตราความยากจน และความเท่าเทียมกันในสังคม การ LAOS เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลถึงพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะที่กรุงพนมเปญ ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรม และแนวโน้มของพฤติกรรม ผู้บริโภคในปัจจุบัน THAILAND ประเทศกัมพูชาตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี พรมแดนติดกับประเทศลาว ประเทศไทย และเวียดนาม ซึ่งเป็น CAMBODIA ทางออกไปสู่อ่าวไทย และเป็นประเทศที่มีแม่น้ำ�โขงไหลผ่านซึ่งมี ต้นกำ�เนิดมาจากประเทศทิเบตซึ่งได้นำ�พาความอุดมสมบูรณ์มาสู่ ประเทศกัมพูชา ประเทศกัมพูชามีประชาการเกือบร้อยละ 90 เป็นเชื้อสายขอม ที่ส่วน ใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประชากรทั้งหมดมีประมาน 15.2 ล้านคน และมีการคาด การณ์ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรจะอยู่ที่ ร้อยละ 1.7 ต่อปี หลายศตวรรษที่ผ่านมา กัมพูชามีการพัฒนาหลายๆด้านที่สำ�คัญทั่วทั้งประเทศอย่างเด่นชัด ทั้งนี้แม้ว่าในปัจจุบัน ความยากจนของชาวกัมพูชาจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปีที่ผ่านๆมา มีการประมานการว่ามีชาวกัมพูชาที่อยู่ต่ำ�กว่า เส้นความยากจนถึงร้อยละ 30 การส่งออกสินค้าเกษตรเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจกัมพูชา โดยมีข้าวเป็นสินค้า ส่งออกหลัก และในปัจจุบันอุตสาหกรรมเสื้อผ้า และ เครื่องนุ่งห่มที่มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นกำ�ลังกลายเป็น ส่วนหนึ่งที่มีความสำ�คัญต่อเศรษฐกิจของกัมพูชา ด้วยการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้ชาวกัมพูชานิยมมาหางานทำ�ในเมืองมากขึ้น ซึ่งสาม เมืองที่มีการเคลื่อนย้ายเข้ามาคือ พนมเปญ พะตะแบง และเสียมเรียบ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ประเทศกัมพูชาได้มีการพัฒนาทางด้านสาธารณสุขและการศึกษาในชนบท โดยการริเริ่มของ รัฐบาล และความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ผลที่ได้ก็คือพฤติกรรมการบริโภคกำ�ลังเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งข้อมูลที่จะกล่าวในส่วนต่อไปทั้งหมดจะทำ�ให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจถึงพฤติกรรม และแนวโน้มของพฤติกรรมใน การบริโภคในปัจจุบัน ของกลุ่มผู้บริโภคใน กรุงพนมเปญ Hanoi

Vientiane

Bangkok

Siem Reap

Battambang

Kampong Cham

Phnom Penh

วิธีการวิจัย

การศึกษาชิ้นนี้เกิดจากทำ�การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคชาวกัมพูชา โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำ�นวน 400 ชุด จากการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งในส่วนของการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้ กำ�หนดโครงสร้างของกลุ่มตัวอย่างตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประเทศกัมพูชา เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่น่า เชื่อถือและเป็นตัวแทนของคนจำ�นวนมากได้ โดยเก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 8

Khon Kaen University


ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง เพศ

61%

39%

การศึกษา

อายุ

ปริญญาตรี ปริญญาโท มัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษา

18-22 23-29 30-39 40-49 50-56

วิชาชีพ ปริญญาเอก

+ 60

อาชีพ

ระดับรายได้ส่วนบุคคล เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก

<5,000 บาท

พนักงานของรัฐ

5,000-10,000 บาท

พนักงานบริษทั เอกชน

10,000-25,000 บาท

พนักงานชัว่ คราว

> 25,000 บาท

อื่นๆ นักเรียน/นักศึกษา

CLMV PULSE: Cambodia

9


การศึกษา ระบบการศึกษาของประเทศกัมพูชาในปัจจุบันกำ�ลังได้รับการพัฒนาเพื่อให้มี ความเท่าเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน ภาครั ฐ บาลของกั ม พู ช าได้ ม ี ค วาม พยายามอย่างมากในการที่จะทำ�ให้มีหลักสูตรการศึกษาที่มีความทันสมัย และใช้เทคโนโลยีแบบสมัยใหม่ ด้วยความหวังว่าการเพิ่มศักยภาพทางการ ศึกษาจะทำ�ให้ประชากรจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น องค์ การ ระหว่างประเทศ เช่น UNICEF, the World Bank และองค์การช่วยเหลือ หลายองค์กร ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาแก่ประเทศกัมพูชา มาโดยตลอด เพื่อที่จะที่จะให้ประชากรได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ภาคแรงงานกัมพูชา อย่างไรก็ตามประเทศกัมพูชายังคงมี ช่องว่างทางการศึกษาระหว่างสังคมในชนบท กับสังคมเมืองอยู่ ในปัจจุบันกัมพูชาได้ใช้ระบบการศึกษาแบบ 12 ปี (6+3+3) โดยจะแบ่งเป็นการ ศึกษาก่อนประถมศึกษา 3 ปี ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี และระดับ อุดมศึกษา 4-7 ปี ส่วนการจัดการศึกษาด้านอาชีวะและเทคนิคจัดให้ตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3-5 ปี การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษานี้ บางสถาบันการศึกษาอยู่ภายใต้การกำ�กับดูแลของกระทรวงเกษตรสาธารณสุขหรือแรงงาน การ จัดการศึกษานอกระบบจะเน้นการฝึกทักษะ ให้กับประชาชน ระดับการศึกษาของชาวกัมพูชา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สัดส่วนร้อยละ 33 รองลงมาคือระดับปริญญาโท ร้อยละ 24 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ร้อยละ 17 ตามลำ�ดับ โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของรัฐ โดย หน่วยงานจัดการศึกษาของกัมพูชา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬา (Ministry of Education, Youth and Sport – Cambodia) ระบอบการจัดการศึกษาของกัมพูชาได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ มีเป้าหมายเพื่อให้การศึกษาเป็นกลไกสำ�คัญของประเทศในการขจัดความยากจน.

Picture:“Teacher, Cambodia” by Department of Foreign Affairs and Trade 10

Khon Kaen University


“School Children” by Christina Andrada

“Untitled“by Charles Chan

“School children at a floating primary school, Prek Toal Wildlife Sanctuary” by June


ชีวิตการทำ�งาน ตลาดแรงงานได้มีการพึ่งพาการลงทุนของต่างชาติเป็นอย่างมาก เพราะเป็น แหล่งที่มาสำ�คัญของรายได้ และการจ้างงาน ดังนี้รัฐบาลได้มีการดำ�เนินการตาม นโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามา ลงทุนเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างงานและราย ได้ให้กับประเทศกัมพูชา คิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP ด้วยเหตุผลที่ประเทศ กัมพูชามีอัตราค่าจ้างที่ถูกกว่าประเทศในแถบอาเซียนด้วยกัน ค่าครองชีพโดย เฉลี่ยของชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ใน กรุงพนมเปญ ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ�เมื่อเทียบ กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ดังนี้ชาวกัมพูชาจึงนิยมใช้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ เรียบง่าย วันทำ�งานของชาวกัมพูชาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.72 วันต่อสัปดาห์ ชั่วโมงทำ�งานเฉลี่ย 8.81 ชั่วโมงต่อวัน ผลการ สำ�รวจบอกว่าคนที่มีธุรกิจของตัวเองขนาดเล็ก มีถึง ร้อยละ 5 และทำ�งานราชการอยู่ที่ ร้อยละ 21 ชาวกัมพูชากว่าร้อยละ 60 จะเดินทางไปทำ�งานด้วยรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเรื่องของความสะดวก รวดเร็ว และรถจักรยานยนต์ยังมีราคาที่ถูกกว่ารถยนต์ส่วนบุคคลอยู่มาก อีกทั้งระบบการขนส่งยังไม่ดีเท่าที่ควรโดย จะมีคนทำ�งานแค่บางส่วนเท่านั้นที่เลือกที่จะใช้การขนส่งสาธารณะ กัมพูชาไม่มีการกำ�หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ� ยกเว้นในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่มีการกำ�หนดค่าจ้างขั้นต่ำ�ไว้ 51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือนสำ�หรับในระยะฝึกงาน และ 56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือนเมื่อผ่านระยะฝึกงานและการ กำ�หนดค่าจ้างขั้นต่ำ�ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ให้เป็นไปในแนวทางที่สนับสนุนการครองชีพประจำ�วันและต้องเป็นไป เพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แต่อย่างไรก็ตามแรงงานชาวกัมพูชาได้รวมตัวกันเรียกร้องให้ทางการปรับเพิ่มค่าแรงขั้น ต่ำ�เป็นเดือนละ 100 เหรียญสหรัฐฯ

3 3

Picture:“Ho Chi Minh Trail Method” by Emilio Labrador 12

Khon Kaen University


“Hard working motor cycles” by shankar s.

การเงิน ชาวกั ม พู ช ามีรายได้ม าจาก การค้าขายและการขายสินค้า เกษตร การประกอบอาชีพพนักงานโรงแรม และร้านอาหาร และส่วน หนึ่งมาจากการขายที่ดินให้กับชาวต่างชาติ พฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา กว่าร้อยละ 99 จะใช้ จ่ายด้วยเงินสด ผู้ที่มีบัตรเครดิตในครอบครองคิดเป็นร้อยละ 35 โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68 จะเก็บเงินในรูปของ เงินสด และมีร้อยละ 39 ที่ฝากธนาคาร ส่วนการลงทุนด้านอื่น ๆ เช่น กองทุน หุ้น เป็นต้นซึ่งยังมีสัดส่วนที่ไม่สูง นัก แต่จะมีกลุ่มตัวอย่างที่ลงทุนในทองคำ�อยู่ สัดส่วนร้อยละ 14 ของทั้งหมด โดยสัดส่วน การออมของกลุ่มตัวอย่างจะอยู่ที่ 10 – 20% ของรายได้ ส่วนภาระหนี้สินนั้น กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะไม่มีภาระหนี้สิน หากมีการกู้ยืม แล้วจะเป็นเงินกู้ยืมประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้มีหนี้สิน รองลงมาคือ สินเชื่อบ้านคิดเป็นร้อยละ 29 และสินเชื่อเพื่อ ธุรกิจร้อยละ 20 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีหนี้สิน ส่วนการจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ นั้น กลุ่ม ตัวอย่างร้อยละ 68 จะจ่ายที่สำ�นักงานของ หน่วยงานโดยตรง รองลงมาร้อยละ 19 มีคน มาเก็บที่บ้าน และร้อยละ 8 จะจ่ายที่ธนาคาร

CLMV PULSE: Cambodia

13


การกิน - ดื่ม อาหารมีบทบาทที่สำ�คัญในสังคมของชาวกัมพูชา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะซื้อ อาหารในแต่ละวันจากตลาดสด การซื้อผลไม้สดผักและเนื้อสัตว์จากตลาดสด ได้รับความนิยมมากกว่าอาหารสำ�เร็จรูปและอาหารแช่แข็ง ด้วยเหตุผลทาง สุขภาพ อย่างไรก็ตามได้มีการคาดการณ์ว่าการบริโภคอาหารสำ�เร็จรูปมี อัตราส่วนที่กำ�ลังเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยร้านอาหาร ที่จำ�หน่ายอาหารต่างประเทศ และร้านกาแฟ และชากำ�ลังเป็นที่นิยมที่ใช้ เป็นที่นัดหมายสำ�หรับวัยรุ่นที่มองหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ผู้บริโภคมีตัว เลือกที่หลากหลายและมากขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน

ห้องครัวและการเก็บอาหาร โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของชาวกัมพูชาหลักๆ แล้วจะเป็นเตาแก๊ส หรือเตาไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่เกือบทุกบ้าน แต่ สำ�หรับตู้เย็นมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54 เท่านั้นที่มีอยู่ที่บ้าน ร้อยละ 14 ที่ชื่นชอบครัวแบบสมัยใหม่นอกเหนือจากนั้น จะเป็นกระติกน้ำ�ร้อนไฟฟ้า เตาอบ เตาไมโครเวฟ ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าแม้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะยังไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า แบบครบครัน แต่คาดว่าแนวโน้มในอนาคตน่าจะเพิ่มความนิยมมากยิ่งขึ้น ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จะทำ�อาหารที่บ้านเกือบทุกวัน อาหารที่เตรียมที่บ้านปกติจะเป็นอาหารแบบกัมพูชาด้วย วัตถุดิบสดที่ซื้อจากตลาดสด การปรุงอาหารที่บ้านสำ�หรับผู้ประกอบวิชาชีพจะมีแนวโน้มที่ลดลงเพราะการทำ�งาน นอกบ้านจะทำ�ให้ไม่มีเวลาปรุงอาหารทานเอง นอกจากนี้กระแสความนิยมในการรับประทานอาหารนอกบ้านก็มี เพิ่มมากขึ้น ส่วนการซื้ออาหารแช่แข็งหรืออาหารพร้อมรับประทาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จะยังไม่นิยม ซื้อมาบริโภคเท่าใดนัก และมีกลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 30 เท่านั้นที่ซื้ออย่างต่ำ�เดือนละครั้ง ในส่วนของการซื้อ อาหารและการเก็บอาหารของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะไม่ซื้อเนื้อสัตว์แช่แข็ง แต่จะซื้อ เป็นเนื้อสดมากกว่า โดยเกือบร้อยละ 60 มี ความถี่ในการซื้อเกือบทุกวันหรือสัปดาห์ละ ครั้ง และมักจะซื้อที่ตลาดสดเป็นหลัก แต่ จากการสำ�รวจพบว่าในกลุ่มผู้มีรายได้สูงส่วน ใหญ่ก็มักจะซื้อของเผื่อในการบริโภคครั้งต่อ ไป สำ�หรับการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์เพื่อ การบริโภคในครัวเรือนของชาวกัมพูชา ส่วน ใหญ่บอกว่าไม่ได้ปลูกผักหรือเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อ การบริโภคเลย มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17 บอกว่าปลูกผักที่บ้านเพื่อรับประทานเองใน ครัวเรือน Picture: “IMG_8320” by Brian Jeffery Beggerly 14

Khon Kaen University


CLMV PULSE: Cambodia

15


พฤติกรรมการเลือกซื้ออาหาร สิ่งที่คำ�นึงถึงเป็นหลักคือความปลอดภัย และ เป็นออแกนิกตามมาด้วย ยี่ห้อ กับ ราคา ส่วนใหญ่จะดูมาจากโฆษณา ส่วนเรื่องของรสชาติอาหาร กลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชาส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งบอกว่าเมื่อเทียบรสเผ็ดของอาหาร กัมพูชากับอาหารไทยหรืออาหารลาวแล้วพบว่าจะมีรสชาติไม่เผ็ดเท่า ส่วนรสหวานนั้นส่วนใหญ่จะบอกว่าอยู่ใน ระดับกลาง ๆ คือระดับ 5 ซึ่งมีร้อยละ 31 และรสขม ซึ่งพบว่ามีค่าเฉลี่ยรวมเพียง 2.9 เท่านั้น ส่วนอาหารที่กลุ่ม ตัวอย่างชาวกัมพูชาไม่นิยมรับประทานมากที่สุด คือ หอย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รอง ลงมาคือ เนื้อเป็ดและปู คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 และ 11 ตามลำ�ดับ

CAMBODIANS VALUE

HEALTH PRICE WHEN BUYING FOOD 16

Khon Kaen University


Cambodian families go to eat outside

พฤติ ก รรมการรั บ ประทานอาหาร นอกบ้าน กลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จะรับประทาน อาหารเช้านอกบ้าน คิดเป็นร้อยละ 52 ของกลุ่ม ตัวอย่าง เพราะในช่วงเช้าจะต้องรีบเร่งไปทำ�งาน จึงไม่ ค่อยมีเวลาในการเตรียมและปรุงอาหารมากนัก และ อาหารเช้านอกบ้านนั้นยังมีหลากหลายให้เลือก และ ราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งอาหารเช้าที่กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่ง หนึ่ง หรือร้อยละ 56 มักจะรับประทานจะเป็นอาหาร ประเภทข้าวราดแกงหรืออาหารจานเดียว รองลงมา จะเป็นอาหารประเภทข้าวต้ม ซุป ชา และกาแฟ ส่วน กลุ่มที่ทำ�อาหารเช้ารับประทานเองที่บ้านนั้น มีสัดส่วน ร้อยละ 29 สำ�หรับอาหารกลางวันกลับพบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 29 จะรับประทานนอกบ้าน จะมีเพียงร้อยละ 58 เท่านั้นที่รับประทานอาหารกลางวันที่บ้าน สำ�หรับ พฤติกรรมการทานอาหารเย็นพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 90 จะทำ�รับประทานเองที่บ้าน โดยกลุ่มตัวอย่างได้ให้ เหตุผลว่าค่าใช้จ่ายจะสูงเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้

CLMV PULSE: Cambodia

17


เมื่อสอบถามถึงประเภทของอาหารที่นิยมจะรับประทาน กลุ่มตัวอย่างบอกว่าหลักๆ แล้วจะเป็นอาหารท้อง ถิ่นของกัมพูชาเอง ซึ่งกว่าร้อยละ 90 จะรับประทานทุกวัน หรือเกือบทุกวัน หรืออย่างน้อยคือสัปดาห์ละครั้ง ซึ่ง นั่นเพราะอาหารท้องถิ่นนั้นหาง่าย ราคาไม่แพง และยังคุ้นเคยกับรสชาติอีกด้วย ส่วนอาหารชาติอื่นๆ นั้นความถี่ ในการรับประทานจะไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่จะอยู่ที่เดือนละครั้ง หรือ 3 เดือนครั้ง ซึ่งมักจะเป็นอาหารจีน อาหาร เวียดนาม รวมไปถึงอาหารไทยด้วย ส่วนอาหารประเภทปิ้งย่าง ฟาสต์ฟู๊ด ชาบู หม้อไฟนั้น แม้ในปัจจุบันจะมีความถี่ ในการรับประทานไม่มากนัก แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่กำ�ลังเริ่มได้รับความนิยม คือมีความถี่ประมาณเดือนละครั้ง ถึง 2-3 เดือนต่อครั้ง ประกอบกับการวิจัยเชิงคุณภาพแล้วพบว่า อาหารประเภทนี้กำ�ลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในกัมพูชา โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำ�งาน ที่มีแนวโน้มการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น และเปิดรับอาหาร จากต่างประเทศมากขึ้น รวมไปถึงอาหารที่ทำ�ให้ได้ทดลองรสชาติใหม่ ๆ ทั้งยังมีความสะดวกสบายในการออกไป รับประทานอาหารนอกบ้าน รวมทั้งกลุ่มนี้จะมีกำ�ลังซื้อมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อีกด้วย นอกจากนี้จำ�นวนร้านอาหาร ประเภทดังกล่าวยังได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีโอกาสเป็นอย่างยิ่งที่จะเติบโตต่อไป การเลือกร้านอาหารของกลุ่มตัวอย่างนั้น ส่วนใหญ่ บอกว่าจะเลือกจากรสชาติเป็นหลัก รองลงมาคือราคา และ การบริการ ตามลำ�ดับ และบอกว่ามักจะไปตามร้านที่กลุ่มเพื่อนๆ แนะนำ�ต่อๆ กันมา และมีบางส่วน ร้อยละ 15 ที่ เลือกเพราะเห็นจากโฆษณาทางโทรทัศน์และวิทยุ และร้อยละ 13 บอกว่าเลือกเพราะ ผ่านร้านอาหารร้านนั้น พอดี เมื่อกล่าวถึงการใช้บริการส่งอาหารถึงที่ (Delivery) กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่จะยังไม่เคยสั่งอาหารมารับประทานที่บ้าน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61 ส่วนอีกร้อยละ 35 นั้นเคยสั่ง อาหารมารับประทานที่บ้านบ้าง แต่นาน ๆ ครั้ง และมีเพียง ร้อยละ 4 ที่สั่งอาหารมารับประทานที่บ้านอยู่เสมอ ส่วน การสั่งอาหารมารับประทานที่ทำ�งาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 67 ไม่เคยสั่งอาหารมารับประทานที่ที่ทำ�งาน ร้อยละ 31 บอก ว่าเคยสั่งมาบ้างเป็นบางครั้ง แต่ไม่บ่อย มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่สั่งอาหารมาส่งที่ที่ทำ�งานอยู่เป็นประจำ�

18

Khon Kaen University

Picture: ““Amok Leaf” by butforthesky.com


แนวโน้มของอาหารสุขภาพ ชาวกัมพูชาถึงร้อยละ 70 นิยมอาหารเพื่อสุขภาพในชีวิตประจำ�วัน แต่ยังมีผู้คนถึงร้อยละ 24 ที่ไม่เคยที่จะรับ ประทานอาหารสุขภาพเลย เหตุผลหลักๆ คือ ไม่สะดวก และ อาหารเพื่อสุขภาพมีราคาค่อนข้างสูง ผู้คนร้อยละ 16 คิดว่าไม่จำ�เป็นที่จะรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

ของหวาน

คนกัมพูชาที่นิยมรับประทานของว่างทุกวันมีจำ�นวนร้อยละ 25 และทั้งหมดนี้ชอบที่จะรับประทาน ไอศกรีม และ เบเกอรี่ โดยกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำ�งานชอบที่จะรับประทานของว่างมากว่าวัยกลางคน ซึ่งปกติแล้วกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำ�งานจะรับประทานของว่างอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ส่วนใหญ่ชอบที่จะรับประทาน เบเกอรี่ หรือร้านกาแฟ ที่ที่มีฟรีอินเตอร์เน็ต

Coffee shop customers in Phnom Penh

Coffee shop customers in Phnom Penh

CLMV PULSE: Cambodia

19


เครื่องดื่ม

กาแฟสำ�เร็จรูป ชา น้ำ�ผลไม้ และน้ำ�อัดลม มีอัตราการบริโภคที่ใกล้เคียงกัน แต่ชาเป็นที่นิยมมากกว่ากาแฟ แต่ อย่างไรก็ตามการดื่มกาแฟก็กำ�ลังเป็นที่นิยม แต่มีถึง ร้อยละ 55 ที่บอกว่าไม่เคยดื่มกาแฟ คนกัมพูชาแทบจะไม่ดื่มเครื่องดื่มจำ�พวกบรรจุกระป๋อง หรือเครื่องดื่มสำ�เร็จรูป โดยร้อยละ 28 เลือกที่จะดื่ม กาแฟ หรือชา เป็นประจำ� ซึ่งร้อยละ 16 ดื่มวันละครั้ง และผู้คนที่ไม่ค่อยดื่มมีถึงร้อยละ 25 ส่วนใหญ่การเลือกซื้อ เครื่องดื่มจากร้านกาแฟจะเป็นการซื้อแบบกลับบ้านซะเป็นส่วนใหญ่

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา บอกว่าดื่มบ้างเป็นบางครั้ง ซึ่งมีสัดส่วน ของเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน และมีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 4 ที่บอกว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เป็น ประจำ� และร้อยละ 37 ที่บอกว่าไม่ดื่มเลย และร้อยละ 37 บอกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สำ�หรับกัมพูชานั้น ถือได้ ว่าเป็นอีกประเทศที่มีกิจกรรมสังสรรค์ เฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ� ทำ�ให้ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์สูง ตามไปด้วย และกัมพูชานั้นยังเป็นประเทศที่ผลิตเบียร์ในประเทศ ซึ่งยี่ห้อที่มีความโดดเด่นที่สุด คือ Angkor Beer ที่ ยังได้รับการยอมรับในเรื่องของคุณภาพในระดับนานาชาติอีกด้วย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆเช่น วอดก้า บรั่นดี วิสกี้ ไวน์ และแชมเปญ ก็มีจำ�หน่ายในร้านขายของทั่วไป รวมไป ถึง บาร์ และไนท์คลับ แต่มีชาวกัมพูชามากกว่าร้อยละ 80 ที่ไม่ชอบบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร

ด้านค่าใช้จ่ายด้านอาหารโดยส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 33 จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณเดือนละ 2,000 - 4,000 บาท (ไม่เกิน 45 บาทต่อมื้อโดยประมาณ) ร้อยละ 31 จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณเดือนละ 1,000 2,000 บาท (ไม่เกิน 20 บาทต่อมื้อโดยประมาณ) สำ�หรับค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25 จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่เดือนละ 4,000 – 6,000 บาท (ไม่เกิน 60 บาทต่อมื้อโดยประมาณ) และร้อยละ 19 จะมีค่าใช้จ่าย อยู่ที่เดือนละ 2,000 – 4,000 บาท (ไม่เกิน 45 บาทต่อมื้อโดยประมาณ) .

20

Khon Kaen University


“angkor-beer” by naturalbornstupid

“Siem Reap: Molopper Cafe, iced tea with lemon” by Felix Triller

“Vietnam 2007 100” by Jame and Jessica Healy CLMV PULSE: Cambodia

21


การแพทย์ และการดูแลรักษาสุขภาพ ในปัจจุบันชาวกัมพูชาไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องของสุขภาพมากนัก เมื่อเจ็บไข้ได้ปว่ ยเพียงเล็กน้อยไม่มี อาการอะไรมากก็จะไปซื้อยาที่ร้านขายยาเพื่อบรรเทาอาการ สำ�หรับอุตสาหกรรมความงามและสุขภาพก็ยังไม่เป็นที่ นิยมเท่าไหร่นักในหมู่ชาวกัมพูชา

การรักษาพยาบาล พฤติกรรมด้านการรักษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 57 บอกว่าเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย มักจะซื้อตาม ร้านขายยาใกล้บ้านมารับประทานเอง รองลงมาร้อยละ 18 จะไปพบแพทย์ที่คลินิก และร้อยละ 10 จะไปพบหมอที่ โรงพยาบาล มีร้อยละ 9 ที่บอกว่าไม่ทำ�อะไรเลย ปล่อยให้หายเอง และหากเจ็บป่วยมากขึ้นต้องไปพบแพทย์ กลุ่ม ตัวอย่างร้อยละ 46 มักจะไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชน รองลงมาคือร้อยละ 27 จะไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ของรัฐ และร้อยละ 22 ไปพบแพทย์ที่คลินิก ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 63 จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ด้วยตนเอง หรือคู่สมรสเป็นผู้รับผิดชอบ และรองลงมาร้อยละ 27 บอกว่าบิดา หรือมารดาเป็นผู้ออกให้ สำ�หรับพฤติกรรมการตรวจร่างกายพบว่า ร้อยละ 21 บอกว่าตรวจร่างกายทุก ๆ 6 เดือน และร้อยละ 20 ตรวจ ประมาณปีละครั้งหรือนานกว่านั้น นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่งจะรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมบ้าง เป็นครั้งคราว ส่วนร้อยละ 38 นั้นไม่เคย หรือแทบจะไม่เคยรับประทานเลยอาหารเสริมเลย มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ที่รับประทานอยู่เป็นประจำ� กระแสความนิยมและการตื่นตัวในการออกกำ�ลังกายของชาวกัมพูชามีเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างชาว กัมพูชากว่าครึ่งหนึ่งจะออกกำ�ลังกายด้วยการเดินหรือวิ่ง รองลงมาจะเป็นกีฬากลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล เทนนิส เป็นต้น คิดเป็นจำ�นวนร้อยละ 18 ของกลุ่มตัวอย่าง คนส่วนใหญ่นิยมในการออกกำ�ลังกายที่บ้านมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 39 รองลงมาจะเป็ น สวน สาธารณะคิดเป็นร้อยละ 23 โดยความถี่ในการออกกำ�ลัง กายนั้นส่วนใหญ่ร้อยละ 32 จะออกกำ�ลังกายสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่าง อีกร้อยละ 27 บอกว่าไม่ได้ ออกกำ�ลังกาย หรือแทบจะ ไม่ได้ออกกำ�ลังกายเลย

การสูบบุหรี่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของชาวกัมพูชา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 97 ตอบว่าไม่สูบบุหรี่ มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่สูบซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นเพศชาย ส่วนการซื้อบุหรี่จะซื้อตามร้านค้าในตลาดหรือตามร้านขายของชำ�ทั่วไป นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างกว่า ร้อยละ 90 เห็นว่าควรจะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ และส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 97 เห็นว่าบุหรี่นั้นเป็น อันตรายต่อร่างกายและสร้างความรำ�คาญให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

22

Khon Kaen University


“120713-O-ZZ999-017.jpg” by Commander, U.S. 7th Fleet

Picture: “Pub cigarettes Alain Delon” by ded1428 CLMV PULSE: Cambodia

23


ผิวพรรณ และความงาม สำ�หรับการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา พบว่า ส่วนใหญ่จะไม่ได้ดูแลตัวเองเป็นพิเศษมากนัก มี เพียงการใช้ครีมบำ�รุงผิวและการแต่งหน้า ร้อยละ 39 และ 21 ตามลำ�ดับ ส่วนการทำ�เลเซอร์ ฉีดโบทอกซ์ พบแพทย์ หรือรับประทานอาหารเสริมเพื่อความงามนั้น มีอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิง และกลุ่มผู้มีรายได้สูง เท่านั้น โดยจะเห็นว่าสิ่งสำ�คัญในการดูแลตนเองนั้น คือการดูแลผิวตนเองให้ดูสวยงาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะให้ความ สำ�คัญมากที่สุด และรองลงมาคือการดูอ่อนกว่าวัย แต่กลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชาเห็นว่าการศัลยกรรมพลาสติกนั้นยัง ไม่ใช่สิ่งที่จำ�เป็นมากนัก ซึ่งกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 82 เห็นว่าเป็นสิ่งที่สำ�คัญน้อยที่สุดในทำ�ให้ตนเองดูดี โดยมักจะ ไปใช้บริการร้านทำ�ผม และร้านทำ�เล็บประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง แต่สปา นวด หรือคลินิกเสริมความงามส่วนใหญ่ จะตอบว่ายังไม่เคยเข้ารับบริการ แต่คาดว่าจะแพร่หลายมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้มีรายได้สูง อย่างไรก็ตามจากการวิจัยเชิงคุณภาพจะเห็นได้ว่าค่านิยมด้านความงามเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นต่อกลุ่มวัยรุ่น โดย เฉพาะเพศหญิง ที่เห็นว่าการมีผิวพรรณที่สวยงาม หน้าตาสดใสนั้น ถือเป็นเรื่องสำ�คัญต่อการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของการเป็นส่วนช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเรียน การทำ�งาน และการดึงดูดเพศตรงข้ามอีกด้วย ประกอบกับ อิทธิพลของสื่อทั้งจากโทรทัศน์ ป้ายโฆษณา และอินเตอร์เน็ต ที่ถือว่าเข้าไปมีบทบาทสำ�คัญในการสร้างค่านิยมดัง กล่าว จึงทำ�ให้ในปัจจุบันกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มคนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจกับการแต่งตัว และผลิตภัณฑ์เสริมความ งามมากขึ้น

24

Khon Kaen University


“Tara Spa” by Tara Angkor Hotel


การจับจ่ายใช้สอย ในประเทศกัมพูชามีตลาดอยู่หลายรูปแบบ ตั้งแต่ตลาดขนาดเล็ก ถึงขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ราคาก็จะขึ้น อยู่กับอุปสงค์อุปทาน แบรนด์จากต่างประเทศดูเหมือน ว่าจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า แบรนด์ของประเทศ กัมพูชาเอง ในการซื้อสินค้าแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับ แต่ละพื้นที่และการใช้ การซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา พบว่า สินค้าอุปโภคที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพู ยาสีฟัน กระดาษชำ�ระ กว่าครึ่งหนึ่งมักจะซื้อตามร้านค้า ในตลาดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสินค้าพวกโลชั่น ครีมบำ�รุง ผิว น้ำ�หอมดับกลิ่นกาย มักจะซื้อตามซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยจะซื้อประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง ส่วนอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ จะซื้อตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ และ รถยนต์ รถจักรยานยนต์จะซื้อตามร้านขายรถยนต์หรือ รถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ ซึ่งจะนาน ๆ ซื้อครั้ง จากการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าชาวกัมพูชาจะเชื่อ มั่นในคุณภาพของสินค้าไทย ราคาเหมาะสม และถ้าให้ เลือกระหว่างสินค้าของไทยและเวียดนามในราคาที่เท่า กันหรือแตกต่างกันไม่มาก คนกัมพูชาจะเลือกสินค้าไทย โดยไม่ลังเล ส่วนสินค้าจากจีน และเกาหลีใต้ในปัจจุบัน ได้เริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากหนังชุด เกาหลี ที่ในปัจจุบันได้รับความนิยมในกัมพูชาเป็นอย่างมาก

ทัศนคติเกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อสินค้า ด้านทัศนคติในการซื้อสินค้าของชาวกัมพูชา กลุ่มตัวอย่างจะให้ความสำ�คัญเรื่องคุณภาพของสินค้ามากที่สุด ทั้งนี้ชาวกัมพูชาให้ความสำ�คัญกับฐานะทางสังคมเป็นอย่างมาก และชาวกัมพูชาชอบที่จะใช้ของแบรนด์เนม เพื่อแสดงถึงความมั่งคั่ง ชอบที่จะโชว์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ รถยนต์ บ้าน ของแบรนด์เนม เช่น กระเป๋า Louis Vuitton หรือ นาฬิกา Patek Phillippe และ รถยนต์ ยี่ห้อRolls Royce ซึ่งเป็นสินค้าที่พอมองเห็นก็จะจำ�ได้ทันที ว่าเป็นยี่ห้อมีชื่อเสียง คนกัมพูชามีทัศนคติที่ว่า พร้อมที่จะจ่ายเงินเท่าใดก็ตามเท่าที่มี เพื่อบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม ทั้งนี้ คน กัมพูชามีรายได้จากการค้าขาย การทำ�การเกษตร การเข้ามารับจ้างทำ�งานในโรงงาน โรงแรม ร้านอาหาร และราย ได้ที่สำ�คัญคือ การขายที่ดินให้กับชาวต่างชาติ ทำ�ให้คนกัมพูชามีฐานะขึ้น อันดับแรกมักจะซื้อรถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า และแม้แต่การซื้อเพชร ซื้อทอง เพื่อเก็บสะสมแทนเงินสด และใช้เป็นเครื่องประดับ ที่ ใช้ในการออกงานสังคม

26

Khon Kaen University


“Angkor Trade Center (Shopping Mall)”by Michael Coghlan

CLMV PULSE: Cambodia

27


1

28

Khon Kaen University

5


แฟชั่น ส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างบอกว่าซื้อตามตลาดนัด ซึ่งจะซื้อความถี่ประมาณ 3-6 เดือนต่อครั้ง แต่ในส่วนของเครื่องประดับนั้นมักจะซื้อตามร้านที่ขายเครื่องประดับโดยเฉพาะ และจะมีความถี่ในการซื้อที่นานกว่า เสื้อผ้า กระเป๋าต่าง ๆ โดยจะซื้อประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง ซึ่งแหล่งข้อมูลของสินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่จะได้มาจากคำ� แนะนำ�ของเพื่อน ๆ คิดเป็นร้อยละ 28 ดูจากในโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 22 และได้ข้อมูลจากในร้านค้าเอง ร้อยละ 21 โดยเหตุผลส่วนใหญ่ที่ซื้อสินค้าแฟชั่นเหล่านี้คือ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38 บอกว่าจำ�เป็นจะต้องใช้ และทดแทนชิ้น เดิมที่เสียหาย ชำ�รุด รองลงมาคือร้อยละ 21 บอกว่าซื้อเพราะยี่ห้อและคุณภาพของสินค้า และร้อยละ 11 บอกว่า สินค้าที่ซื้อนั้นแสดงถึงรสนิยมในการเลือกสินค้าของตนเอง สำ�หรับการครอบครองสินค้าหรูหรา หรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่ามากกว่า 30,000 บาทนั้น กลุ่มตัวอย่างกว่า ร้อยละ 96 บอกว่าไม่มีไว้ในครอบครอง มีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่มีครอบครองตั้งแต่ 1 ชิ้นขึ้นไปและเป็นสมบัติของ ครอบครัวที่ตกทอดมา ในการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยก็จะคำ�นึงถึงยี่ห้อและคุณภาพของสินค้าเป็นสำ�คัญ สำ�หรับผู้หญิง และหญิงสูงวัยจะแต่งตัวสวยงามด้วยผ้าไหมตัดเป็นชุดราตรีหรูหรา ทำ�ผมแต่งหน้าที่ร้านเสริม สวย เพื่ออกงานสังคมต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานหมั้น งานวันเกิด ซึ่งร้านเสริมสวยร้านใดที่เป็นร้านจากเมืองไทย หรือจบหลักสูตร จากประเทศไทย จะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ โดยสังเกตได้ว่าร้านเสริมสวยส่วนใหญ่จะติดรูป ดาราไทยไว้ที่หน้าร้าน

วันหยุด และการพักผ่อนหย่อนใจ

กิจกรรมยามว่างของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชาเมื่อพักผ่อนที่บ้าน กิจกรรมที่กลุม่ ตัวอย่างทำ�อยู่เป็นประจำ� คือ การดูโทรทัศน์ และการทำ�ความสะอาดบ้าน คิดเป็นร้อยละ 56 และร้อยละ 50 ตามลำ�ดับ ส่วนกิจกรรมที่ไม่ได้ ทำ�หรือแทบไม่ได้ทำ�เลยเมื่ออยู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นงานประเภทดูแลสวน งานฝีมือ งานช่าง เป็นต้น ส่วนกิจกรรม การดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นเกมส์นั้น ส่วนใหญ่บอกว่าจะทำ�บ้างเป็นบางครั้ง ส่วนกิจกรรมที่มักจะทำ�เมื่อออกนอกบ้าน ส่วนใหญ่มักจะออกไปรับประทานอาหาร ช็อปปิ้ง สังสรรค์ ออก กำ�ลังกาย และท่องเที่ยว ส่วนผู้ที่นิยมทำ�กิจกรรมยามว่างด้วยการการดูหนัง เที่ยวกลางคืน และร้องคาราโอเกะ ยังมี จำ�นวนไม่มากนัก แต่คาดว่าน่าจะมีกระแสนิยมที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำ�งาน ส่วนการบริโภคสื่อของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา สื่อโทรทัศน์จะมีความถี่มากที่สุด คือ ดูทุกวันคิดเป็นร้อยละ 80 มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไม่เคย หรือแทบจะไม่เคยดู ส่วนรองลงมาจะเป็นวิทยุ ที่กลุ่มตัวอย่างฟังทุกวันคิดเป็น ร้อยละ 48 และจะเห็นได้ว่าสื่ออินเตอร์เน็ตในกัมพูชานั้น มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ�ถึงร้อยละ 46 ซึ่ง คาดว่าในอนาคตการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตจะเพิ่มมากขึ้น จากการพัฒนาทางด้านประชากรเอง และการพัฒนาทางด้าน เทคโนโลยีต่าง ๆ

CLMV PULSE: Cambodia

29


การท่องเที่ยว ประเทศกัมพูชามีข้อได้เปรียบหลายๆอย่างในด้านการท่องเที่ยว เพราะสามารถท่องเที่ยวไปได้หลายๆที่ตลอด ทั้งปี อย่างไรก็ตามสภาพอากาศค่อนข้างที่จะร้อนชื้น ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวในช่วงที่ไม่มีฝน ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน เมษายน และอากาศเย็นสบาย พฤติกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 46 บอกว่าชอบที่จะไปเที่ยวตามธรรมชาติ โดยเฉพาะ ทะเล รองลงมาคือภูเขา คิดเป็นร้อยละ 22 และร้อยละ 14 ชอบไปท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยหากท่องเที่ยวภายในประเทศนั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวประมาณปีละครั้ง คิดเป็นร้อยละ 27 รองลง มาคือทุก ๆ 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 24 และทุก ๆ 3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 22 ซึ่งส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 58 มักจะไปกับ พ่อแม่ ครอบครัว และญาติพี่น้อง กว่าครึ่งหนึ่งจะใช้เวลาท่องเที่ยวประมาณ 2-4 วัน และเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 34 รองลงมาคือรถยนต์เช่า ร้อยละ 32 ส่วนการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่บอกว่ายังไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 70 ส่วนรองลงมาคือร้อยละ 18 จะนาน ๆ ครั้ง จึงจะได้เดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งจะนานกว่า 1 ปี โดยกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 47 จะเดินทางไปในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลี คิดเป็น ร้อยละ 24 และทวีปยุโรปคิดเป็นร้อยละ 15 โดยมักจะไปกับพ่อแม่ ครอบครัว และญาติพี่น้องเช่นกัน โดยการเดิน ทางในแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน และเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นหลัก ในวันหยุดหรือเวลาจากการทำ�งาน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ชอบที่จะอยู่ที่บ้านทำ�กิจกรรมภายในครอบครัวและ ทำ�งานบ้าน โดยที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 26 ชอบที่จะทำ�กิจกรรมที่บ้าน และมีเพียง ร้อยละ 8ที่ออกไปข้างนอกกับ เพื่อนฝูง

“Siem Reap, Cambodia” by ssedro

30

Khon Kaen University


INTERNATIONAL TRAVEL DESTINATIONS

“SihanoukVille” by ND Strupler


บ้าน และที่อยู่อาศัย ส่วนการตกแต่งบ้านของชาวกัมพูชานั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะไม่ เคยว่าจ้างสถาปนิก มัณฑนากร หรือนักออกแบบ มาออกแบบดูแลตกแต่ง บ้าน มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่บอกว่าให้ สถาปนิก มัณฑนากร หรือนัก ออกแบบ มาออกแบบตกแต่งบ้านทั้งหลัง ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีราย ได้สูง และหากถามกลุ่มตัวอย่างว่าถ้าซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมใหม่ และส่วนใหญ่จะชอบ จะชอบบ้านหรือคอนโดมิเนียมแบบตกแต่ง เสร็จพร้อมเข้าอยู่เพื่อบ่งบอกถึงรสนิยม และสถานะทางสังคม

ลักษณะของที่อยู่อาศัย รายได้ เเละสถานที่ต ั้งเป็น ตัว บ่งชี้ถึงลัก ษณะ ของที ่ อ ยู ่ อ าศั ย ของชาวกั ม พู ช า ส่ ว นใหญ่ จ ะเลื อ ก ใช้วัสดุสำ�เร็จรูปที่ทำ�มาจากซีเมนต์จำ�พวก พื้น ผนัง เฟอร์นิเจอร์สำ�เร็จรูป กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 36 ตกแต่ง บ้านเองที่ โดย ร้อยละ 28 เช่าบ้าน และ ร้อยละ17 ซื้อ บ้านจากโครงการบ้านจัดสรร ลักษณะที่อยู่อาศัยของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา ร้อยละ 51 อยู่อาศัยแบบแฟลต และหากพิจารณาถึง จำ�นวนของห้องนอนและห้องน้ำ�แล้วพบว่า บ้านของ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35 เป็นแบบมีห้องนอน 1 ห้องนอน เป็นแบบ 2 และ 3 ห้องนอน ส่วนห้องน้ำ� มีห้องน้ำ� 1 ห้อง มีห้องน้ำ� 2 ห้อง ส่วนที่เหลือมีห้องน้ำ�ตั้งแต่ 3 ห้อง ขึ้นไป

อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สำ � หรั บ อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า ภายในบ้ า นของ กลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีโทรทัศน์ พัดลม และหม้อหุงข้าว ส่วนอุปกรณ์ที่มีอยู่กว่าครึ่งหนึ่ง ของกลุ่มตัวอย่าง คือ วิทยุหรือ ชุดเครื่องเสียง เครื่อง เล่นวีซีดีหรือดีวีดี และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ส่วน

32

Khon Kaen University

PICTURE: “SBS Cycle Challeng Cambodia & Vietnam - 098” by Kyle Taylor


“French colonial architecture in Kampot” by William

อุปกรณ์ที่ถือว่ายังมีอยู่ในสัดส่วนที่ไม่สูงนัก คือ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำ�น้ำ�อุ่น และอุปกรณ์ ไฟฟ้าที่แทบจะไม่มีเลย คือ เตาไมโครเวฟหรือเตาไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น และเครื่องล้างจาน ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่ค่าไฟฟ้าสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก และแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านถึง 2-3 เท่า ค่าไฟสำ�หรับที่พักอาศัยอยู่ที่ 610 เรียล/กิโลวัตต์ ถึง 820 เรียล/กิโลวัตต์ ขึ้นอยู่กับว่าขนาดของบ้านใหญ่แค่ไหน

CLMV PULSE: Cambodia

33


พฤติกรรมการตกแต่งบ้าน และการซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน โดยส่วนใหญ่แล้วชาวกัมพูชาจะไม่จ้างสถาปนิก หรือ ผู้ออกแบบมาตกแต่งบ้านของพวกเขา มีเพียงแค่ 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อถามถึงในการเลือกซื้อบ้านหลังใหญ่ หรือคอนโดมิเนียม 77 เปอร์เซ็นต์เลือกบ้านหรือคอนโดมิเนียมที่มา พร้อมเฟอร์นิเจอร์สำ�เร็จรูป ส่วนเรื่องความถี่ในการจัดบ้านนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24 บอกว่าจัดสัปดาห์ละครั้ง รองลงมาร้อยละ 20 บอกว่าเดือนละครั้ง และร้อยละ 17 จัดปีละครั้ง ส่วนการซื้อของตกแต่งบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น โคมไฟ กรอบรูป ตุ๊กตา เป็นต้น จะมีความถี่นาน ๆ ซื้อครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 37 จะบอกว่าซื้อแต่ละครั้งนานกว่า 1 ปี รองลง มาร้อยละ 26 บอกว่าซื้อทุก ๆ 3-6 เดือน ส่วนสินค้าตกแต่งบ้านชิ้นใหญ่ เช่น โต๊ะ เตียง ตู้ เป็นต้น ร้อยละ 34 บอกว่าจะนาน ๆ ซื้อครั้ง คือนาน กว่า 1 ปี และรองลงมาร้อยละ 21 จะซื้อทุก ๆ 3-6 เดือน โดยเหตุผลที่ซื้อนั้น โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55 จะซื้อสินค้าตกแต่งบ้านจากร้านขายเฟอร์นิเจอร์และ สินค้าตกแต่งบ้าน รองลงมาร้อยละ 16 จะซื้อจากร้าน ที่ขายสินค้าตกแต่งบ้านโดยเฉพาะ และร้อยละ 9 จะสั่ง ซื้อจากร้านรับทำ�เฟอร์นิเจอร์ โดยจะเห็นได้ว่าความถี่ ในการซื้อสินค้าตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ของ กลุ่ม ตัวอย่างชาวกัมพูชานั้นอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เนื่อง มาจากเฟอร์นิเจอร์ในกัมพูชานั้นหาได้ง่าย โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้ ซึ่งถือว่ามีจำ�นวนทรัพยากรป่าไม้ใน ระดับสูง และสินค้าไม่ต้องใช้ระดับฝีมือสูงนัก จึงทำ�ให้ราคาของสินค้าที่ผลิตจากไม้ยังไม่สูงมากนัก

34

Khon Kaen University


สำ � หรั บ การตั ด สิ น ใจซื้ อ เฟอร์ นิ เจอร์ แ ละสิ น ค้ า ตกแต่งบ้านนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนมากร้อยละ 51 บอก ว่าเป็นผู้ตัดสินใจเอง รองลงมาร้อยละ 22 จะเป็นพ่อแม่ เป็นผู้ตัดสินใจ และเกือบร้อยละ 96 บอกว่ามักจะชำ�ระ ค่าสินค้าตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ด้วยเงินสด มีเพียง ร้อยละ 2 ที่ชำ�ระค่าสินค้าโดยโปรแกรมการผ่อนชำ�ระ กับทางร้าน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการตกแต่งบ้าน และซื้อสินค้าดัง กล่าวของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชาร้อยละ 36 จะอยู่ที่ ประมาณ 5% - 10% ของรายได้ทั้งปี และร้อยละ 27 จะอยู่ที่ไม่เกิน 5% ของรายได้ทั้งปี ส่วนการตกแต่งบ้านโดยคำ�นึงถึงเรื่องของหลักฮวงจุ้ยหรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60 บอกว่าคำ�นึงอยู่บ้าง บางส่วนของบ้าน มีร้อยละ 20 ที่คำ�นึงถึงการตกแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ยทั้งหมด และอีกร้อยละ 20 เท่ากันที่ไม่ คำ�นึงถึงหลักฮวงจุ้ยในการตกแต่งบ้านเลย Typical home decor

CLMV PULSE: Cambodia

35


สำ�หรับสไตล์เฟอร์นิเจอร์ที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชื่นชอบคือเฟอร์นิเจอร์สไตล์ใหม่ ๆ แบบโมเดิร์น ประกอบเสร็จ เรียบร้อยพร้อมใช้งาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47 รองลงมาเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบเก่า ของโบราณ สัดส่วนร้อยละ 33 และ จะพบว่าเฟอร์นิเจอร์แบบประกอบเอง หรือ DIY นั้น ยังไม่เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มตัวอย่างมากนัก และเมื่อถามถึงการ ซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบต้องมาประกอบเอง แต่มีราคาถูกลง พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41 บอกว่าอาจจะสนใจ หรือสนใจ อยู่บ้าง ส่วนร้อยละ 38 บอกว่าสนใจแน่นอน และมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 21 ที่บอกว่าไม่สนใจเลย

ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชานั้น ปัจจัยสำ�คัญที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อคือ การที่ร้านขาย สินค้าตกแต่งบ้านนั้นมีพนักงานคอยช่วยเหลือให้คำ�แนะนำ�ในการเลือกซื้อสินค้า โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ปัจจัย รองลงมาคือ กลุ่มตัวอย่างจะเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์จากแบรนด์ที่ชอบเท่านั้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 และปัจจัยเกี่ยวกับ การที่ร้านขายสินค้าตกแต่งบ้านมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างไม่ได้ให้ ความสำ�คัญมากนัก หรือไม่ได้มีส่วนในการตัดสินมากเท่าปัจจัยอื่น ๆ คือ การใช้เฟอร์นิเจอร์ตามดาราที่ชื่นชอบ

10

36

Khon Kaen University

5

5


10

55

CLMV PULSE: Cambodia

37


ส่วนปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา นั้น สิ่งสำ�คัญที่ใช้เลือกเฟอร์นิเจอร์มากที่สุดคือ คุณภาพของสินค้า รองลง มาคืออายุการใช้งานที่ยาวนาน ทนทาน และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ส่วน ปัจจัยที่ไม่ได้คำ�นึงถึงมากนัก หรือไม่ได้มีผลต่อการเลือกสินค้า ได้แก่ โปรแกรมการผ่อนชำ�ระสินค้า รองลงมาคือสถานที่ตั้งของร้าน และ ตราสินค้า

พฤติกรรมการจัดสวน และงานช่าง สำ�หรับพฤติกรรมการทำ�สวนของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 86 ไม่มีสวนในพื้นที่บ้าน และไม่มีการตกแต่งสวน หรือปลูกต้นไม้ จัดสวนกันเป็นส่วนใหญ่ คือร้อย ละ 61 มีเพียงร้อยละ 7 ที่ทำ�อยู่เป็นประจำ� และร้อยละ 32 ที่ทำ�บ้างเป็นบางครั้ง ส่วนการทำ�งานฝีมือด้วยตนเอง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52 บอกว่าไม่เคยหรือทำ�ไม่บ่อยนัก ร้อยละ 41 บอกว่าทำ�บ้างเป็นบางครั้ง มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่ ทำ�อยู่เป็นประจำ�

การดูแลสัตว์เลี้ยง สุนัข เป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมสูงสุด รอง ลงมาคือแมว และปลาสวยงาม จากแบบสอบถาม เหตุผลของผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงนั้น ร้อยละ 71 บอกว่า เป็นเพราะไม่ชอบหรือกลัว ส่วนการพาสัตว์เลี้ยงเข้า ร้านตัดขนนั้น ร้อยละ90 บอกว่าไม่เคยเข้าใช้บริการ ร้านดังกล่าวเลย มีเพียงแค่ร้อยละ 6 เท่านั้นบอก ว่านนานๆครั้ง จึงจะพาไป และร้อยละ 4 ที่นำ�ไป เดือนละครั้ง

Picture: “Artisans d’Angkor” by Christine Zenino 38

Khon Kaen University


กิจกรรมยามว่าง

ในช่วงวันหยุด กลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่บ้าน ทำ�กิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับครอบครัว รวมถึง ทำ�ความสะอาดบ้าน ทำ�งานบ้าน คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาคือการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันกับครอบครัว คิดเป็น ร้อยละ 26 และออกไปสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน ๆ คิดเป็นร้อยละ 8

พฤติกรรมด้านการเงินและการออม

พฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มตัวอย่างชาวกัมพูชา กว่าร้อยละ 99 จะใช้จ่ายด้วยเงินสด มีบัตรเครดิตในครอบ ครองคิดเป็นร้อยละ 35 และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68 จะเก็บเงินในรูปของเงินสด และมีร้อยละ 39 ที่ฝากธนาคาร ส่วนการลงทุนด้านอื่น ๆ เช่น กองทุน หุ้น เป็นต้น ยังมีสัดส่วนที่ไม่สูงนัก แต่จะมีกลุ่มตัวอย่างที่ลงทุนในทองคำ�อยู่ สัดส่วนร้อยละ 14 ของทั้งหมด โดยสัดส่วนการออมของกลุ่มตัวอย่างจะอยู่ที่ 10 – 20% ของรายได้ ส่วนภาระหนี้ สินนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะไม่มีภาระหนี้สิน หากมีการกู้ยืมแล้วจะเป็นเงินกู้ยืมประเภทสินเชื่อส่วนบุคคลคิด เป็นร้อยละ 30 ของผู้มีหนี้สิน รองลงมาคือสินเชื่อบ้านคิดเป็นร้อยละ 29 และสินเชื่อเพื่อธุรกิจร้อยละ 20 ของกลุ่ม ตัวอย่างที่มีหนี้สิน ส่วนการจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68 จะจ่ายที่สำ�นักงานของหน่วย งานโดยตรง รองลงมาร้อยละ 19 มีคนมาเก็บที่บ้าน และร้อยละ 8 จะจ่ายที่ธนาคาร

สัดส่วนการออมของชาวกัมพูชา

น้อยกว่าร้อยละ 10 ร้อยละ 10-20

ร้อยละ 20-30 ร้อยละ 30-50

มากกว่าร้อยละ50 ไม่ออม



ทีมผู้วิจัย

รศ. ดร. กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผศ. ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ ดร. นิ่มนวล ผิวทองงาม ดร. สุทิน เวียนวิวัฒน์

ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยฯ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ

นายศุภกร ศิริสุนทร นางชลธิชา วีระพันธ์ อวนศรี นางสาว สุวัฒนา พิกุลณี นางสาว กนกพร ทีบัว นางสาวกมลชนก มากเจริญ นางสาว กีรติ ทวีทรัพย์ นางทฤทธิยา จันทร์หอม นางสาวสงบ เสริมนา

นักวิเคราะห์อาวุโส นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักสถิติ นักสถิติ

นางณิชานันท์ เอี่ยมเพ็ชร นางสาวศุทธีญา นพวิญญูวงศ์ นางสาวณาตยา สีหานาม นายพลวิชญ์ หนูศรีแก้ว

ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายออกแบบ

CLMV PULSE: Cambodia

39


เกี่ยวกับหนังสือ พฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หนังสือชุด CLMV Pulse ชีพจรอาเซียน นั้นประกอบด้วยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกที่ทันสมัย จากการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หนังสือเล่มนี้เป็น 1 ในจำ�นวน 4 เล่ม จะกล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะ ที่อยู่ในกรุงพนมเปญ ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น การศึกษา ชีวิตการทำ�งาน การลงทุนและการออม การจับจ่ายใช้สอย อาหารการกิน การดูแลสุขภาพและความงาม การช็อปปิ้ง และการใช้เวลาว่าง ไป จนถึงการดูแลที่อยู่อาศัย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจหรือผู้ที่สนใจพฤติกรรม และรูป แบบการใช้ชีวิตของคนในประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะในกรุงพนมเปญ

สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 40

Khon Kaen University


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.