CAMBODIA
CLMV Pulse
ลาว
VIETNAM
MYANMAR
LAOS
ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศลาว
สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
CLMV PULSE: ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศลาว
ลาว
ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวหน้าทีมวิจัย Ms. Mu Mu Thient, Yangon, Myanmar Dr. Phouphet KYOPHILAVONG, Laos National University, Vientiane, Laos Dr. Nguyen Luu Bao Doan, Hoa Sen University, Ho Chi Minh City, Vietnam Vin Spoann, Royal University of Phnom Penh, Phnom Penh, Cambodia Assoc. Prof. Dr. Kullapapruk Piewthongngam, Khon Kaen University, Thailand ข้อจำ�กัดความรับผิดชอบ: ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ขอสงวนสิทธิทั้งปวง รวมทั้งสิทธิในการแก้ไข ทำ�ซ้ำ� ดัดแปลง ตลอด จนนำ�ไปใช้อ้างอิงหรือเผยแพร่รายงานนี้ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดและด้วยวิธีการใด ๆ โดยไม่ได้ รับอนุญาตเป็นหนังสือ บทความและความเห็นใด ๆ เป็นบทความและความเห็นของนักวิจัย และเป็นไปตามผลของการสำ�รวจ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อม ไม่ต้องรับผิดชอบและไม่รับประกันไม่ ว่าในกรณีใด ๆ ในผลจากการนำ�ข้อมูลดังกล่าวไปใช้
ผู้สนับสนุนทุนการวิจัย : รายงานฉบับนี้ ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการดำ�เนินการศึกษาวิจัย นอกจากนี้ยัง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในหัวข้อที่ เกี่ยวข้องกับอาหารและการตกแต่งบ้าน ราคา : 450 บาท สงวนลิขสิทธิ์ - ห้ามเผยแพร่หรือนำ�ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ก่อนได้รับอนุญาต ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทร.: +66(0) 43 202 566, email: ecber.kku@gmail.com โทรสาร: +66(0) 43 202 567 www.ecberkku.com/asean www.facebook.com/ecberkku
การศึกษา
ชีวิตการทำ�งาน
10 12 การแพทย์และ การกินและ การดื่ม การดูแลรักษา สุขภาพ
14
28
การจับจ่ายใช้สอย
บ้านและ ที่อยู่อาศัย
32 36
ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6
Khon Kaen University
CLMV PULSE: ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศลาว
ลาว CLMV PULSE: Laos
7
บทนำ� ประเทศลาว เป็นประเทศขนาดเล็ก มีเขตแดนติดกับประเทศไทย พม่า จีน เวียดนาม และกัมพูชา เมืองที่สำ�คัญในประเทศลาว ได้แก่ เวียง จันทร์ (เมืองหลวง) หลวงพระบาง (เมืองท่องเที่ยว) และสะหวันนะเขต (เมืองอุตสาหกรรม) พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาวจะเป็นภูเขาและที่ราบสูง ไม่มี ทางออกทางทะเล จึงเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่ามีลักษณะเป็นแลนด์ล็อค (LAND LOCK) ลาวเป็นประเทศที่มีพื้นฐานมาจากการเกษตรกรรม มี ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เศรษฐกิจภายในประเทศขึ้นกับ การลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้ง จากธุรกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าส่งออกไปยังประเทศไทย มูลค่า CAMBODIA การนำ�เข้าสินค้าจากต่างประเทศสูงกว่ามูลค่าการส่งออก อย่างไร ก็ตามมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศกำ�ลังเพิ่มสูงขึ้นและสัดส่วน คนยากจนเริ่มลดน้อยลง โดยแรงงานมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไป ทำ�งานในเขตเมืองเพิ่มมากขึ้น ทำ�ให้โดยรวมแล้วพฤติกรรมผู้บริโภค ของลาว มีการเปลี่ยนแปลงไป ในประเทศลาว ผู้ชายมักจะมีโอกาสมากกว่า ผู้หญิง ทั้งในด้านการทำ�งานและการศึกษา นอกจากนี้ระบบการศึกษายังไม่ได้กระจาย อย่างทั่วถึงเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบท และชาวลาวโดยส่วนใหญ่ยังคง เชื่อว่าจะมีหน้าที่การงานที่ดีขึ้นหากได้รับการศึกษาที่ดี
VIETNAM
Hanoi
LAOS Vientiane
THAILAND
Bangkok
Siem Reap Battambang
Kampong Cham
Phnom Penh
วิธีการวิจัย
ในรายงานการศึกษาชิ้นนี้ เราทำ�การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคชาวลาว โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำ�นวน 400 ชุด จากการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการจัดสนทนากลุ่ม (FOCUS GROUP DISCUSSION) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งในส่วนของการเก็บข้อมูลเชิง ปริมาณ ได้กำ�หนดโครงสร้างของกลุ่มตัวอย่างตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประเทศลาว เพื่อให้ได้กลุ่ม ตัวอย่างที่น่าเชื่อถือและเป็นตัวแทนของคนจำ�นวนมากได้ โดยในประเทศลาวนั้นได้เก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างใน นครเวียงจันทน์ และเบื้องต้นเราพบว่า ชาวลาวมีรายได้ค่อนข้างต่ำ� โดยกว่าร้อยละ 35 มีรายได้ไม่เกิน 4,999 บาท และอีกร้อยละ 35 มีรายได้อยู่ระหว่าง 5,000 - 14,999 บาท มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ที่มีรายได้สูงกว่า 25,000 บาท อัตราแลกเปลี่ยนของลาว คือ กีบ (KIP) และมีค่าค่อนข้างต่ำ�เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงิน ดอลลาร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลจากการศึกษาเบื้องต้นสะท้อนให้เห็นว่าชาวลาวพยายามเข้าถึงการศึกษามาก ขึ้น เพื่อให้มีอนาคตที่ดีและมีความมั่นคงด้านการเงิน ซึ่งทางภาครัฐกำ�ลังได้รับการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการให้การศึกษาแก่ประชาชนและเปิดโอกาสให้มีลงทุนจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
8
Khon Kaen University
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง เพศ
อายุ
การศึกษา
อาชีพ
ระดับรายได้ส่วนบุคคล
*LAOS - WAT CHOM KAO MANIRATH BY NICK HUBBARD
CLMV PULSE: Laos
9
การศึกษา ระดับการศึกษาของชาวลาว พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 50 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. ร้อยละ 22 ระดับอนุปริญญา ร้อยละ 12 และกลุ่มตัวอย่างที่สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาโทมีประมาณร้อยละ 7 ตามลำ�ดับ
/ /
.
.
/
นอกจากนี้ยังพบว่าโดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 81 จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา ของรัฐ รองลงมา ประมาณร้อยละ 10 สำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันเอกชนในประเทศ อีกร้อยละ 8 สำ�เร็จการศึกษา จากสถาบันนานาชาติ (ต่างประเทศ) และมีประมาณร้อยละ 1 ที่สำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษานานาชาติใน ประเทศ
10
Khon Kaen University
LAOS
EDUCATION
"LAOS PRESS TRIP OCT 2008" BY CLUSTER MUNITION COALITION
การจัดการศึกษาของลาวเริ่มต้นด้วยการศึกษาในระดับอนุบาลและก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาลในประเทศลาว จะมีทั้งโรงเรียนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน เปิดรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3-6 ปี ใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นชั้นอนุบาล 1-3 เมื่อจบชั้นอนุบาลแล้วจะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป ซึ่งในปัจจุบันลาวได้ใช้ระบบการศึกษาเป็นแบบ 11 ปี คือระบบ 5:3 :3 โดยระดับประถมศึกษา ใช้เวลาในการศึกษา 5 ปี เด็กจะเริ่มเข้าเรียนเมื่ออายุ 6 ปี คือหลัง จากจบการศึกษาระดับอนุบาล โดยการศึกษาในระดับประถมศึกษานี้คือการศึกษาภาคบังคับ เด็กทุกคนต้องจบ การศึกษาในระดับนี้ แต่ในทางปฏิบัติการศึกษาภาคบังคับจะมีผลดีแต่เฉพาะเด็กในเมืองใหญ่เท่านั้น เนื่องจากลาว มีพื้นที่ประเทศกว้างขวางและประชากรกระจายกันอยู่ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี และใน อนาคตจะให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี การศึกษา ขั้นพื้นฐานในระบบ 5 -3 -3 นี้อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนระดับอุดมศึกษาหรือการศึกษาชั้นสูง รวมถึงการศึกษาด้านเทคนิค สถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นการศึกษา เฉพาะทางซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงอื่น โดยเมื่อเด็กจบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาแล้ว จะมี การคัดเลือกนักเรียนเพื่อเสนอกระทรวงศึกษาธิการให้เด็กได้เข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่ สายอาชีพ ใช้เวลา ศึกษา 3 ปี ในวิทยาลัยเทคนิคต่าง ๆ เช่น ทางด้านไฟฟ้า ก่อสร้าง บัญชี ป่าไม้ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยและสถาบัน การศึกษาที่สำ�คัญ ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (เวียงจันทน์) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข 2. มหาวิทยาลัยแห่งชาติ (ดงโดก) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี 3. สถาบันสรรพวิชา (NATIONAL POLYTECHNIC INSTITUTE) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี
CLMV PULSE: Laos
11
ชีวิตการทำ�งาน
ลักษณะการทำ�งานของชาวลาวนั้น จากผลการสำ�รวจอาชีพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นอกจากนักเรียนนักศึกษาซึ่ง มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 28 แล้ว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 22 มีอาชีพเป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ รองลงมา คือลูกจ้าง หรือพนักงานของเอกชน ร้อยละ 13 และเจ้าของกิจการขนาดเล็ก ร้อยละ 11 ตามลำ�ดับ
/
โดยการเดินทางไปทำ�งานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มักจะเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ คิดเป็นร้อยละ 53 แม้ว่า สภาพจราจรในเวียงจันทน์นั้นยังไม่คับคั่งมาก แต่กลุ่มตัวอย่างก็ให้เหตุผลว่าการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์นั้น สะดวกทั้งในแง่ของการเดินทาง และการหาที่จอดรถ รวมถึงราคาของรถจักรยานยนต์นั้นอยู่ในระดับที่สามารถซื้อ หาได้โดยไม่เป็นภาระมากนัก รองลงมาจะเป็นรถยนต์ส่วนตัว ประมาณร้อยละ 40 สำ�หรับวันทำ�งานโดยเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างจะอยู่ที่ 5.36 วันต่อสัปดาห์ และชั่วโมงทำ�งานของกลุ่มตัวอย่างจะอยู่ ที่ 7.57 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ทำ�งานชั่วคราว แต่จะมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22 ที่ทำ�งาน พาร์ทไทม์ควบคู่งานประจำ� โดยในระยะที่ผ่านมาลาวได้มีการพัฒนาระบบแรงงานในประเทศมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพและ ประสิทธิภาพในการทำ�งานของแรงงานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทำ�ให้แรงงานในภาคเกษตรกรรมลดลง และแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ทางหน่วยงานภาครัฐยังมีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีทักษะ มากขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการส่งออกแรงงานไปทำ�งานยังต่างประเทศมากขึ้นอีกด้วย สำ�หรับสวัสดิการแรงงานในประเทศลาว ได้มีการคุ้มครองแรงงานตามกฎหมาย รวมไปถึงการกำ�หนดให้นายจ้าง มีสวัสดิการให้แก่พนักงาน เช่น สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจะต้องมีการทำ�ประกันสังคมให้แก่ ลูกจ้าง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้ยังถือว่าไม่ได้มีการบังคับใช้กับกิจการทุกประเภท 12
Khon Kaen University
LAOS AGRICULTURIST “VICTORIA WOOD VISITS MAG LAO IMG_1138” BY MAG (MINES ADVISORY GROUP)
วิธีเดินทางมาทำ�งาน ของชาวลาว
CLMV PULSE: Laos
13
การกิน - ดื่ม ห้องครัวและการเก็บอาหาร
สำ�หรับพฤติกรรมการเก็บอาหารของชาวลาวนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างจะซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักสด ข้าวสารอาหารแห้ง และเครื่องปรุงต่างๆ เก็บตุนไว้ หรือซื้อติดครัวไว้เพื่อใช้ในการประกอบ อาหาร ส่วนอาหารประเภทผลไม้สด และอาหารแช่ แข็ง จะไม่ซื้อมาเก็บเอาไว้เป็นระยะเวลานาน จะซื้อ แค่ให้เพียงพอสำ�หรับการบริโภคในแต่ละครั้ง
14
Khon Kaen University
ลักษณะครัวที่ใช้ประกอบอาหารของชาวลาว พบ ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีครัวแบบดั้งเดิมซึ่งจะอยู่ ภายในตัวบ้าน โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ซึ่งพบว่า มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปในแต่ละบ้าน แต่ ที่เห็นได้ชัดเจนคือจากครัวแบบดั้งเดิมนั้นหลายบ้านเริ่ม จะปรับปรุงครัวให้เป็นแบบทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคง ควบคู่ไปกับครัวแบบดั้งเดิม เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเป็น ครอบครัวใหญ่ สำ�หรับคนรุ่นเก่าจึงยังคุ้นเคยกับครัว แบบดั้งเดิมอยู่ ส่วนรองลงมาคือครัวแบบดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ นอกบ้าน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 โดยหลักแล้วเนื่อง มากจากเรื่องของพื้นที่ของบ้านชาวลาวที่ยังไม่จำ�กัด มากนัก สามารถจัดสรรพื้นที่สำ�หรับประกอบอาหารได้ อย่างสะดวก โดยหากพิจารณาเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าใน ครัวแล้ว พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96 จะมีตู้เย็นอยู่ที่บ้าน รองลงมาคือกระติกน้ำ�ร้อน คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 82 และเตาแก๊สหรือเตาไฟฟ้า สัดส่วน ร้อยละ 57 ของกลุ่มตัวอย่าง ตามลำ�ดับ ซึ่งทำ�ให้เห็นว่า มีการปรับตัวให้ทันสมัยมากขึ้น และยังมีกำ�ลังซื้อที่เพิ่ม มากขึ้นอีกด้วย โดยร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในเวียงจันทน์ นั้นยังถือว่ามีจำ�นวนไม่มากนัก แต่ส่วนใหญ่มักจะวาง จำ�หน่ายตามร้านค้าทั่วไปที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับ ตลาดที่สามารถเดินทางมาซื้อได้ง่าย สินค้าส่วนใหญ่ จะนำ�เข้ามาจากต่างประเทศ เช่น จีน ไทย เวียดนาม เป็นต้น
STREET FOOD (1) - VIENTIANE, LAOS BY AG GILMORE
โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างจะซื้อผักสดทุกวัน หรือ เกือบทุกวัน คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดร้อยละ 55 ส่วน เนื้อสัตว์และผลไม้ ส่วนใหญ่จะมีความถี่ในการซื้อ สัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 และ 56 ตามลำ�ดับ โดยกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 90 จะนิยมซื้อสินค้าจำ�พวกผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ที่ตลาดสด เนื่องจากใกล้บ้าน สะดวกในการเดินทาง และราคาถูก สำ�หรับตลาดสดในลาวส่วนใหญ่จะขาย ทั้งอาหารสดต่าง ๆ จำ�พวก เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ สินค้า พื้นบ้านต่าง ๆ ซึ่งมีราคาถูกแล้ว ยังมีพื้นที่สำ�หรับขาย สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วันอีกด้วย สำ�หรับจำ�พวกอาหารแห้ง ข้าวสาร และเครื่องปรุง ต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างจะมีความถี่ในการซื้อประมาณ เดือนละครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 และส่วนใหญ่ จะซื้อที่ร้านขายของชำ�ใกล้บ้าน คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 46 โดยให้เหตุผลว่ามีความคุ้นเคยระหว่างคนซื้อ และคนขาย สามารถต่อราคาได้ และบางครั้งยังช่วย สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนอีกด้วย ส่วนถ้าหากเป็น เครื่องปรุงต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะซื้อในซุปเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากสินค้าและราคาที่ได้มาตรฐาน มั่นใจใน คุณภาพ มักจะซื้อสินค้านำ�เข้า โดยเฉพาะสินค้าจาก ประเทศไทย ที่เชื่อถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และ จะซื้อเดือนละครั้ง CLMV PULSE: Laos
15
แผงขายสินค้าในตลาดสด นคร เวียงจันทน์ (1)
16
Khon Kaen University
แต่อย่างไรก็ตาม จะพบว่าอาหารแบบพร้อมรับ ประทาน (READY-TO-EAT) และอาหารแช่แข็งจะยังไม่ เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมในกลุ่มตัวอย่างชาวลาวมาก เท่าใดนัก ซึ่งสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างชาวลาวที่ซื้ออาหาร ประเภทดังกล่าวมารับประทานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38 และ 24 ตามลำ�ดับ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ซื้ออาหารเหล่านี้ จะซื้อตามซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เนื่องจากมีสินค้าที่ ตรงตามความต้องการ หลากหลาย และสะดวกในการซื้อ อาหารประเภทดังกล่าวมากกว่าที่อื่น ส่วนปริมาณหรือจำ�นวนของสินค้าที่ซื้อแต่ละครั้งของ ชาวลาว กลุ่มตัวอย่างผู้มีรายได้ปานกลาง – ต่ำ� และกลุ่ม ตัวอย่างผู้มีรายได้ปานกลาง มักจะซื้อให้เพียงพอต่อการ ใช้ในแต่ละครั้ง หรือประมาณ 1 – 2 ชิ้นต่อครั้ง ส่วนกลุ่ม ตัวอย่างที่มีรายได้ปานกลาง – สูง และกลุ่มตัวอย่างราย ได้สูง จะนิยมซื้อสินค้าเผื่อบริโภคบ้างเป็นบางส่วน หรือ ประมาณ 3 – 5 ชิ้นต่อครั้ง โดยจากการลงสำ�รวจพื้นที่ พบว่าแม้ชาวลาวส่วนใหญ่ จะยังคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าตามร้านขายของชำ�อยู่ก็ตาม แต่บางส่วนได้เริ่มปรับตัวต่อการเข้ามาของร้านค้าปลีก มากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความเป็น MODERN TRADE มากขึ้น ทั้งพฤติกรรมการเลือกสินค้า การเปรียบ เทียบราคาสินค้า เนื่องจากในร้านค้าปลีกนั้นมีสินค้าที่ หลากหลายมากกว่าร้านขายของชำ� ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจน จากการเปลี่ยนแปลงของตลาดเช้า ที่ในอดีตนั้นจะเปิด เฉพาะช่วงเช้า – ช่วงสาย แต่ในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนชื่อ เป็น TALAT SAO MALL ซึ่งเป็นตลาดหลักของชาวลาว และเป็นศูนย์กลางของการค้าขายสินค้าประเภทต่างๆ ปัจจุบันมีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม แต่ยังคงไว้ซึ่งตัว หลังคาที่เป็นเอกลักษณ์ของตลาดเช้า ในรูปแบบของห้าง สรรพสินค้าทันสมัย ซึ่งจำ�หน่ายสินค้าพื้นเมืองและสินค้า จากต่างประเทศ เช่น เครื่องมุกจากเวียดนาม นาฬิกา จากรัสเซีย ของใช้เบ็ดเตล็ดจากจีน เป็นต้น มีพื้นที่ขาย เครื่องเงินเครื่องทองจำ�นวนมาก อาคารใหม่ของตลาดเช้า ยังเป็นที่ตั้งของสาขาธนาคารต่างๆ นอกจากนี้ยังมีร้าน ค้าขายทองคำ� เครื่องเงิน และมีลานจัดกิจกรรมในโอกาส เทศกาลต่างๆ อีกด้วย โดยสินค้าส่วนใหญ่จะนำ�เข้ามา จากประเทศไทย และจากประเทศจีน โดยเฉพาะสินค้า ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ไอทีและมือถือ
สำ�หรับการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคในครัวเรือนของชาวลาว กลุ่มตัวอย่างคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 จะปลูกผักที่บ้านเพื่อรับประทานเองในครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 12 จะเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค และ กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 5 จะปลูกข้าวสำ�หรับการบริโภคเช่นกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 39 นั้น ไม่ได้ ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคในครัวเรือนเลย เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้า พบว่าปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญมาก ที่สุดคือ สินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า เช่น ISO, HACCP หรือเครื่องหมายฮาลาล เป็นต้น โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 ซึ่งสินค้าที่ชาวลาวเห็นว่ามีคุณภาพคือสินค้าที่นำ�เข้าจากประเทศไทย ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความ สำ�คัญรองลงมาคือ สินค้าที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นสินค้าออร์แกนิค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และสินค้าที่มีตราสินค้า เป็นที่รู้จัก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ตามลำ�ดับ ส่วนปัจจัยที่ไม่ค่อยให้ความสำ�คัญมากนักหรือไม่ได้นำ�มาพิจารณาในการตัดสินใจซื้อสินค้าเท่าใดนัก ได้แก่ สินค้า นำ�เข้าจากต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เนื่องจากสินค้าอุปโภคบริโภคในลาวส่วนใหญ่ แล้วเป็นสินค้านำ�เข้าจากต่างประเทศ จึงไม่ได้นำ�มาเป็นปัจจัยในการพิจารณามากนัก รองลงมาคือการโฆษณาของ สินค้าตามที่ต่าง ๆ เช่น ป้ายบิลบอร์ด โทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ เป็นต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 และสินค้าที่มี ของแถมให้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 ตามลำ�ดับ
CLMV PULSE: LAOS
17
ส่วนเรื่องของรสชาติอาหารนั้น กลุ่มตัวอย่างชาว ลาวส่วนใหญ่จะชื่นชอบอาหารรสเผ็ด โดยพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างที่เลือกระดับความเผ็ดในระดับ 10 นั้นคิดเป็น ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยเฉพาะในกลุ่ม ตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18 – 29 ปี จะชื่นชอบอาหาร รสเผ็ดในสัดส่วนที่สูงที่สุด สำ�หรับรสหวานนั้นกลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่จะให้คะแนนอยู่ในระดับปานกลาง มากที่สุด คือ 5 – 6 และรสเปรี้ยวนั้นกลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่จะให้คะแนนอยู่ในระดับ 10 และระดับ 5 คิดเป็น ร้อยละ 22 และร้อยละ 21 ตามลำ�ดับ นอกจากนี้กลุ่ม ตัวอย่างชาวลาวส่วนใหญ่จะไม่ค่อยชอบรสเค็มและรส ขมมากนัก ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเลือกระดับของรสเข็มและ รสขมที่ระดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 39 และ 40 ตามลำ�ดับ จากการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า รสชาติอาหารของ ลาวจะใกล้เคียงกับรสชาติอาหารของไทย โดยเฉพาะ อาหารอีสาน รวมถึงลักษณะของการประกอบอาหาร ที่มีความใกล้เคียงกัน เช่น ส้มตำ�ใส่ปลาร้าเป็นส่วน ประกอบหลัก รสเผ็ด โดยจะแตกต่างกันเพียงเครื่อง เคียงบางอย่างเท่านั้น เป็นต้น โดยอาหารการกินของลาวจะขึ้นชื่อเรื่องความ สด โดยเฉพาะพวกผัก ผลไม้ และสัตว์น้ำ�จืด เช่น ปลา กุ้ง เป็นต้น เพราะลาวมีความอุดมสมบูรณ์ทาง ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก มีแม่น้ำ�หลายสายไหล ผ่าน ซึ่งอาหารที่ลาวจะคล้ายกับอาหารไทยหลาย อย่าง เช่น ส้มตำ� ลาบ ไก่ย่าง เป็นต้น อาหารหลักของ ชาวลาวคือ ข้าวเหนียว จะไม่นิยมใช้น้ำ�มันในการปรุง อาหารมากนัก อาหารส่วนใหญ่จะเน้นการคงรสชาติ ดั้งเดิมของอาหารเหล่านั้นไว้ นอกจากนี้อาหารลาวยังมีความเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของแต่ละกลุ่มด้วย รวมทั้งอาหารที่ผสม ผสานอย่างหลากหลายจากแต่ละชนชาติที่เข้าไปอาศัย อยู่ในประเทศลาว ไม่ว่าจะเป็น อาหารลาวแท้ อาหาร ไทย อาหารเวียดนาม และอาหารฝรั่งเศส เป็นต้น ส่วนอาหารที่กลุ่มตัวอย่างชาวลาวไม่นิยมรับ ประทานมากที่สุด คือ หอย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22 รองลงมาคือ เนื้อวัวและปู คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 และกุ้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ตามลำ�ดับ ซึ่ง หากพิจารณาแล้วจะพบว่ามีความสอดคล้องกับสภาพ ภูมิประเทศของลาว ที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล ทำ�ให้การรับ ประทานอาหารทะเลนั้นยากมากขึ้น ทั้งความสดของ อาหาร และราคาที่อยู่ในระดับสูงกว่าอาหารประเภท อื่น ๆ อีกด้วย 18
Khon Kaen University
อาหารที่ชาวลาว รับประทาน& ไม่รับประทาน
พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน
จากการสำ�รวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวลาวส่วนใหญ่มักจะทำ�อาหารรับประทานอาหารเองที่บ้าน โดยเฉพาะมื้อ เช้าและมื้อเย็น โดยมื้อเช้านั้นกลุ่มตัวอย่างจะทำ�อาหารรับประทานเองที่บ้านคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของกลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมด และมื้อเย็น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำ�หรับอาหารมื้อกลางวันนั้น ส่วนใหญ่จะรับประทานนอกบ้าน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 และกลับมารับประทานอาหารกลางวันที่บ้าน คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 29 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่นำ�อาหารจากที่บ้านไปรับประทานในตอนกลางวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารกลางวันนอกบ้านนั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้คนที่ ทำ�งานนอกบ้านมากขึ้น ทำ�ให้ไม่สะดวกในการเดินทางกลับบ้านไปรับประทานอาหารเหมือนในอดีต ประกอบกับ ความหลากหลายของอาหารที่มีให้เลือกมากขึ้น และยังเห็นว่าการรับประทานอาหารกลางวันกับเพื่อร่วมงาน หรือ เพื่อนที่มหาวิทยาลัยนั้นจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอีกด้วย
CLMV PULSE: Laos
19
กลุ่มตัวอย่างชาวลาวเกือบทุกคน รับประทาน อาหารเช้าก่อนไปเรียนหรือไปทำ�งาน คิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 97 ซึ่งหมายความว่ายังมีกลุ่ม ตัวอย่างที่ไม่ทานอาหารเพียงประมาณร้อยละ 3 ส่วน อาหารเช้าที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มักจะรับประทาน คือ อาหารจานเดียว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 รอง ลงมา คือ อาหารเช้าจำ�พวก ข้าวต้ม โจ๊ก ซุปต่าง ๆ สัดส่วนร้อยละ 42 ชา กาแฟ คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 30 และนม ร้อยละ 27 ตามลำ�ดับ นอกจากนี้ยัง พบว่าประมาณร้อยละ 16 นิยมรับประทานอาหาร จำ�พวกขนมปัง แฮม ไส้กรอก และร้อยละ 4 ทาน อาหารประเภทธัญพืชหรือซีเรียล และในส่วนของกลุ่ม ตัวอย่างที่ไม่นิยมรับประทานอาหารเช้า คิดเป็นร้อย ละ 7
สำ�หรับความถี่ในการออกไปทานอาหารนอกบ้าน กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ อ อกไปรั บ ประทานอาหารนอกบ้ า น ประมาณสัปดาห์ละครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 รองลงมาคือ ออกไปทานเดือนละครั้งคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 28 และออกไปทานทุกวันหรือเกือบทุกวัน คิด เป็นร้อยละ 21 ตามลำ�ดับซึ่งจะไปรับประทานตาม ร้านอาหารที่มีอยู่ทั่วไปถึงร้อยละ 87 และส่วนใหญ่จะ ไปกับครอบครัวและเพื่อน ๆ โดยอาหารที่ออกไปรับ ประทานนอกบ้านนั้นส่วนใหญ่จะเป็นอาหารลาว โดย จะรับประทานทุกวัน หรือเกือบทุกวัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 83 รองลงมาคืออาหารไทย ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง จะออกไปรับประทานนอกบ้าน 2-3 วันต่อสัปดาห์ มีสัดส่วนร้อยละ 35 หากพิจารณาแล้วจะพบว่าใน ประเทศลาวนั้น อาหารลาว และอาหารไทยสามารถ หารับประทานได้ตามร้านทั่วไปในประเทศลาว 20
Khon Kaen University
"FRESH FRUIT AT BREAKFAST" BY ESME VOS
"FRIED EGGPLANT WITH CHILI SAUCE DIP" BY BUTFORTHESKY.COM
อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านที่เป็นที่นิยมของชาวลาวที่น่าสนใจคือ การกินข้าวป่า ซึ่งคือการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในวันหยุด เช่น น้ำ�ตก แม่น้ำ� ทุ่งนา ซึ่ง สามารถเดินทางไปกลับได้ในวันเดียว โดยมักจะเตรียมอาหารไปเองจากบ้านทั้งแบบพร้อมรับประทานและอุปกรณ์ สำ�หรับประกอบอาหาร แล้วจึงไปประกอบอาหารในที่ที่จะกินข้าวป่า
/
/
สำ�หรับอาหารญี่ปุ่น และอาหารเกาหลีนั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะตอบว่าไม่เคยรับประทานเลย หรือเคยรับ ประทานเพียงครั้งเดียว แต่สำ�หรับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18 – 29 ปีนั้น พบว่า มีความถี่ในการรับประทาน อาหารญี่ปุ่น และอาหารเกาหลีประมาณเดือนละครั้ง ซึ่งจะนิยมไปรับประทานตามร้านอาหารที่ขายอาหารญี่ปุ่น และอาหารเกาหลีที่มีอยู่ทั่วไป และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นในประเทศลาว ส่วนอาหารประเภทชาบู สุกี้ยากี้ และบาร์บีคิวนั้น ในปัจจุบันพบว่ากลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18 – 22 ปี และ อายุระหว่าง 22 – 29 ปี มีความถี่ในการรับประทานประมาณเดือนละครั้ง โดยจะออกไปรับประทานตามร้านชาบู ร้านสุกี้ยากี้ ซึ่งแนวโน้มของอาหารประเภทนี้คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเพิ่มเรื่อย ๆ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการ รับประทานอาหารที่ตามสมัยนิยมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ประชากรชาวลาวมีแนวโน้มที่จะออกไปรับประทานอาหารนอก บ้านมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะชื่นชอบความแปลกใหม่ในรสชาติ เปิดรับอาหารต่างประเทศ และชอบ รับประทานอาหารตามสมัยนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารปิ้งย่าง หมูกระทะ อาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี และอาหาร ฟาสต์ฟู๊ด เป็นต้น โดยเห็นได้จากจำ�นวนร้านอาหารที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งร้านอาหารท้องถิ่นเอง และร้านอาหาร ฟาสต์ฟู๊ด ร้านอาหารต่างประเทศอีกด้วย ในปัจจุบันร้านอาหารในลาวได้เติบโตขึ้นเป็นจำ�นวนมาก ทั้งอาหารจากต่างประเทศ และอาหารลาวที่พัฒนา ตนเองให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่เรียกว่าอาหารจานด่วนที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจาก สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้านอาหารมีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้น มีกำ�ลังซื้อมากเพียงพอ รวมทั้ง ผู้คนออกมาทำ�งานนอกบ้านมากขึ้น ทำ�ให้ไม่สะดวกที่จะประกอบอาหารรับประทานเอง รวมไปถึงวัฒนธรรมของ ชาวลาวในปัจจุบันที่มีการเฉลิมฉลอง พบปะสังสรรค์กันในช่วงเย็นหลังเลิกงงานมมากขึ้น จึงทำ�ให้สัดส่วนการรับ ประทานอาหารนอกบ้านเติบโตเพิ่มมากขึ้นจากในอดีต ซึ่งถือได้ว่าวัฒนธรรมการกินในลาวนั้นถือได้ว่ามีการผสม ผสานกันอย่างลงตัวระหว่างอาหารแบบดั้งเดิมและอาหารแบบใหม่ที่เริ่มเข้ามา โดยยังคงมีร้านอาหารพื้นเมืองหรือ อาหารลาวที่เปิดให้บริการในใจกลางเมือง เช่น ร้านส้มตำ�ที่ CENTER POINT ซึ่งถือว่าเป็นที่นัดพบสำ�หรับกลุ่มวัยรุ่น ในเมืองอยู่ นอกจากนี้ร้านอาหารอื่น ๆ ก็ยังมีความเป็นสมัยนิยมมากขึ้น มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมคาเฟ่มากขึ้น เพื่อ ตอบรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอีกด้วย CLMV PULSE: Laos
21
จากการสอบถามปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการ ตัดสินใจเลือกร้านอาหารที่สำ�คัญที่สุด 3 อันดับแรก คือ เรื่องของรสชาติของอาหาร มีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 94 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รองลงมา คือ เรื่อง ความสะอาดของอาหารและร้านอาหาร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 68 และการให้บริการของพนักงานในร้าน คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 44 สำ�หรับการรับรู้หรือแหล่งข้อมูล ข่าวสารในการเลือกร้านอาหารนั้น พบว่า เพื่อน มีความ สำ�คัญมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างชาวลาวส่วนใหญ่นั้น จะรู้จัก หรือเลือกร้านอาหารจากการแนะนำ�ของเพื่อน หรือคนรู้จัก คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 45 รองลงมาคือ รู้จักและเห็นจากป้ายโฆษณาต่างๆ ร้อยละ 16 และเห็น โฆษณาในโทรทัศน์ และวิทยุ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 15
/ / เมื่อกล่าวถึงการใช้บริการส่งอาหารถึงที่ (DELIVERY) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะยังไม่เคยสั่งอาหารมา รับประทานที่บ้าน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49 ส่วน อีกร้อยละ 44 นั้นเคยสั่งอาหารมารับประทานที่บ้าน บ้าง แต่นาน ๆ ครั้ง และอีกร้อยละ 8 จะสั่งอาหารมา รับประทานที่บ้านบ่อยครั้ง ส่วนการสั่งอาหารมารับ ประทานที่ทำ�งาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 47 จะเคยสั่งมารับ ประทาน แต่นาน ๆ ครั้งเช่นกัน และร้อยละ 43 จะไม่ เคยสั่งอาหารมารับประทานที่ที่ทำ�งานเลย ส่วนร้อย ละ10 จะสั่งอาหารมารับประทานที่ที่ทำ�งานบ่อยครั้ง
แนวโน้มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
พฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ/ อาหารปลอดสารพิษ ของชาวลาว พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่ ว นใหญ่ จ ะรั บ ประทานอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพ/อาหาร ปลอดสารพิษประมาณสัปดาห์ละครั้ง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 40 รองลงมาคือรับประทานทุกวันหรือเกือบทุก วัน และรับประทานประมาณเดือนละครั้ง ตามลำ�ดับ โดยพบว่าเพศหญิงจะมีความถี่ในการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพมากกว่าเพศชาย และกลุ่มตัวอย่างอายุ ระหว่าง 50 – 60 ปี จะรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ บ่อยที่สุด คือ รับประทานทุกวันหรือเกือบทุกวัน ซึ่ง จากการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สำ�หรับชาวลาวแล้ว จะ เห็นว่าอาหารลาวนั้นเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ หรือดีต่อ สุขภาพอยู่แล้ว เนื่องจากมีไขมันอยู่ไม่มาก มีผักเป็นส่วน ประกอบหลัก เป็นต้น ทั้งยังพบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ และ กลุ่มคนที่มีรายได้สูง จะมีความสนใจในการรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้หากแบ่งพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพตามระดับรายได้ของกลุ่มตัวอย่างแล้ว พบ ว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับรายได้สูงจะมีความถี่ในการรับ ประทานอาหารเพื่อสุขภาพสูงที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 75 รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับรายได้ระดับ ปานกลาง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72 และกลุ่มตัวอย่างที่ มีรายได้ปานกลาง – ต่ำ� คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71 เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ไม่รับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพ พบว่า ส่วนใหญ่จะบอกว่าเกิดจากความไม่ สะดวกในการเสาะหาอาหารเพื่อสุขภาพมารับประทาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 รองลงมาคือ เห็นว่าราคาของ อาหารเพื่อสุขภาพแพงกว่าอาหารทั่วไป คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 24 และรสชาติของอาหารเพื่อสุขภาพที่ไม่ค่อย ถูกปาก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ตามลำ�ดับ
/ 22
Khon Kaen University
ส่วนอาหารที่กลุ่มตัวอย่างมักจะหลีกเลี่ยงในการรับประทาน ได้แก่ อาหารประเภทมัน ๆ อาหารทอด ของหวาน อาหารที่ใส่ผงชูรส ของหมักดอง และอาหารแบบพร้อมรับประทาน (READY-TO-EAT) ส่วนอาหารประเภทฟาสต์ฟู๊ด นั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18 – 22 ปี จะมีความถี่ในการรับประทานมากที่สุด ส่วนกลุ่มอายุระหว่าง 23 – 29 ปี จะมีสัดส่วนใกล้เคียงกันระหว่างรับประทานบ่อย กับพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับประทาน แต่อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่สำ�หรับอาหารประเภทปิ้ง ย่างแล้ว ส่วนใหญ่กลับรับประทานบ่อย โดยสัดส่วนของผู้ที่รับประทานเป็นประจำ�อยู่ที่ร้อยละ 78 ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด มีกลุ่มตัวอย่างพยายามจะหลีกเลี่ยงร้อยละ 22 และมีผู้ที่ไม่รับประทานเลย เพียงร้อยละ 1 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังเป็นที่ทราบกันดีว่าในลาวนั้นมีการบริโภคผงชูรส หรือแป้งนัว ในปริมาณมาก แต่จากการสำ�รวจ นั้นกลับพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 68 จะพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรส และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9 จะไม่รับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสเลย ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่พบว่า ทัศนคติในการรับประทาน อาหารของชาวลาวนั้นเปลี่ยนแปลงไป มีความรู้ความเข้าใจในการรับประทานอาหารมากขึ้น คำ�นึงถึงสุขภาพ สุข อนามัย และความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น
อาหารประเภทหมักดอง ณ ตลาดสดแห่งหนึ่งในเวียงจันทน์
ขนมหวาน ของขบเคี้ยวที่วางขายในตลาดสดกรุงเวียงจันทร์ CLMV PULSE: Laos
23
ส่วนวัตถุประสงค์ในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างชาวลาว ส่วนใหญ่จะบอกว่ารับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อจะให้ตนเองมีสุขภาพดี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67 โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง และ กลุ่มที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะคำ�นึงถึงเหตุผลนี้เป็นหลัก รองลงมาคือเพื่อให้ตนเองไม่เจ็บป่วย คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 17 และเพื่อให้ตนเองดูดี มีภาพลักษณ์ที่ดี มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 7 ตามลำ�ดับ แต่หากจำ�แนกปัจจัยในการ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ตามเพศของกลุ่มตัวอย่างจะพบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงให้ความสำ�คัญกับการรับ ประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพ รสชาติ และความเป็นที่นิยม มากกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศ ชาย ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพศชาย จะให้ความสำ�คัญกับการป้องกันการเจ็บป่วย มากกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงเล็กน้อย และนอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่างเพศชายยังรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงด้วย คิดเป็น สัดส่วนประมาณ 60 ต่อ 40
โดยอาหารเพื่อสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างรับประทานส่วนใหญ่คืออาหารออร์แกนิค และผักต่าง ๆ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 84 รองลงมาคือวิตามิน และอาหารเสริม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46 และเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ตามลำ�ดับ ซึ่งระดับราคาที่ยอมจ่ายเพิ่มเพื่อซื้ออาหารเพื่อสุขภาพรับประทานนั้น ส่วนใหญ่จะ ยินดีที่จะจ่ายเพิ่มจากราคาอาหารทั่วไป 5% คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 และไม่ยินดีที่จะจ่ายเพิ่มจากราคาอาหารทั่ว ๆ ไป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 และยอมจ่ายเพิ่ม 10% จากราคาอาหารทั่วไป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ตามลำ�ดับ
“PHÔ + NEMS + DESSERT LAO” BY ° O O °O O ° ° O ° 24
Khon Kaen University
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของชาวลาว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบางโอกาส ซึ่ง มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 63 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วนร้อยละ 28 จะไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลย และมีกลุ่ม ตัวอย่างเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นที่ตอบว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ� ซึ่งผู้ที่ดื่มอยู่เป็นประจำ�ส่วนใหญ่จะ เป็นกลุ่มอายุระหว่าง 23 – 29 ปี และ 30 – 39 ปี ตามลำ�ดับ โดยเหตุผลหลักของผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์นั้น คือ ไม่ดี ต่อสุขภาพ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยเฉพาะเพศหญิง จะคำ�นึงถึงสาเหตุนี้มากถึงร้อย ละ 66 ของผู้ที่ให้เหตุผลว่าไม่ดีต่อสุขภาพ รองลงมาคือ ไม่ชอบรสชาติของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 22 และเห็นว่ายังไม่เหมาะสมกับอายุของตนเอง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ตามลำ�ดับ
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชาวลาวได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการปรับ เปลี่ยนการบริโภคจากสุรากลั่นมาเป็นเบียร์มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการโฆษณาและการตลาดของบริษัทเบียร์
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ
สำ�หรับเครื่องดื่มที่กลุ่มตัวอย่างดื่มอยู่เป็นประจำ� ได้แก่ นมสด นมถั่วเหลือง น้ำ�ผักผลไม้ น้ำ�อัดลม เครื่อง ดื่มไม่อัดลม ซึ่งจะดื่มทุกวัน หรือเกือบทุกวัน โดยมัก จะหาซื้อเครื่องดื่มเหล่านี้ตามร้านขายของชำ� หรือร้าน โชห่วยทั่วไป ส่วนเครื่องดื่มประเภทกาแฟสด และชา ต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบว่ามีความถี่ในการดื่ม ประมาณสัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง ซึ่งในลาวนั้นพบว่า เครื่องดื่มประเภทกาแฟจะได้รับความ นิยมมากกว่าชา โดยกลุ่มที่มักจะเครื่องดื่มประเภทนี้อยู่เป็นประจำ� คือ กลุ่มอายุระหว่าง 40 - 49 ปี และ 50 – 60 ปี และกลุ่ม ที่มีรายได้ปานกลาง และกลุ่มรายได้สูง ซึ่งจะซื้อตาม ร้านกาแฟทั่วไป ส่วนเครื่องดื่มประเภท FUNCTIONAL DRINK, HEALTHY AND BEAUTY DRINK และเครื่อง ดื่มสมุนไพรต่าง ๆ นั้น ขณะนี้ยังไม่เป็นที่นิยมของชาว ลาวมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีรายได้สูงที่นิยมดื่ม โดย จะหาซื้อตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือศูนย์การค้าต่าง ๆ "BEER LAO LAGER" BY PRINCE ROY
CLMV PULSE: Laos
25
สำ�หรับเครื่องดื่มจำ�พวกวอดก้า บรั่นดี วิสกี้ ไวน์ แชมเปญ และเบียร์นำ�เข้าจากต่างประเทศ นั้น กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะไม่ได้ดื่มบ่อยนัก โดยกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้อยู่เป็นประจำ� คือ กลุ่มที่มีรายได้สูงเป็นหลัก โดยจะ นิยมดื่มตามบาร์หรือ NIGHTCLUB
26
Khon Kaen University
พฤติกรรมการดื่มชา-กาแฟ และขนมหวาน
กลุ่มตัวอย่างชาวลาวส่วนมากจะชอบดื่มกาแฟ มากกว่าดื่มชา โดยผู้ที่ดื่มวันละครั้ง มีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25 และดื่มหลายครั้งต่อวัน คิดเป็นร้อย ละ 11 โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18 – 22 ปี มีความถี่สูงที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อในร้านกาแฟ และ นำ�กลับมาดื่มที่บ้าน และที่ทำ�งาน สำ�หรับลาวธุรกิจกาแฟถือได้ว่ากำ�ลังเติบโตขึ้นอย่าง มาก โดยหน่วยงานภาครัฐได้ส่งเสริมการปลูกกาแฟ และกระบวนการผลิตต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม ปริมาณการผลิตและยกระดับคุณภาพของกาแฟอีกด้วย อีกทั้งยังมีการจัดงานเทศกาลกาแฟขึ้น ซึ่งทำ�ให้ส่งผล ต่อพฤติกรรมการดื่มกาแฟของชาวลาวด้วย โดยทำ�ให้ ชาวลาวเองรู้จักการดื่มกาแฟมากขึ้น และได้ลิ้มลอง รสชาติกาแฟใหม่ ๆ
สำ�หรับอาหารประเภทขนม ของหวาน เบเกอรี่ และไอศครีม จะรับประทานประมาณ 3 – 4 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่าง อายุ 18 – 29 ปี ซึ่งจะซื้อตามร้านสะดวกซื้อ ร้าน ขายของชำ� รวมถึงตลาดสด และส่วนใหญ่จะ นิยมนำ�กลับมารับประทานที่บ้าน และที่ทำ�งาน สำ�หรับร้านเบเกอรี่หรือร้านขนมของลาวนั้นยัง ไม่มีความหลากหลายมากนัก ชาวลาวยังมีทาง เลือกน้อย
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร
เมื่อสอบถามถึงค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารส่วนบุคคล ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในระดับ 2,000 – 4,000 บาท ส่วนรายจ่ายค่าอาหารโดยรวม ของครอบครัวอยู่ที่ระดับ 4,000 – 6,000 บาทต่อเดือน โดยผู้ที่มีรายได้สูงก็จะมีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารสูง สอดคล้องกัน ซึ่งจากการวิจัยเชิงปริมาณนั้น พบว่า กลุ่ม ผู้มีรายได้สูงมักจะรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และอาหารต่างประเทศในความถี่ที่มากกว่ากลุ่มผู้มีราย ได้ต่ำ� ซึ่งมักจะรับประทานเฉพาะช่วงโอกาสที่สำ�คัญเป็น ส่วนใหญ่
CLMV PULSE: Laos
27
การแพทย์ และการดูแลรักษาสุขภาพ พฤติกรรมด้านการรักษาพยาบาล พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างชาวลาวส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเจ็บป่วยเล็ก น้อย มักจะซื้อตามร้านขายยาใกล้บ้านมามารับประทาน เอง รองลงมาคือพบแพทย์ที่คลินิก และไปพบแพทย์ที่ โรงพยาบาลของรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 และ 14 ตามลำ�ดับ
/
28
Khon Kaen University
และหากกลุ่มตัวอย่างมีอาการเจ็บป่วยในระดับ มาก ถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล กลุ่ม ตัวอย่างชาวลาว กว่าร้อยละ 74 มักจะไปพบแพทย์ที่ โรงพยาบาลของรัฐ นอกจากนี้ยังมีกว่าร้อยละ 10 ที่มัก ไปเข้ารับการรักษาที่คลินิก และโรงพยาบาลเอกชน และ ส่วนที่เหลืออีกไม่ต่ำ�กว่า ร้อยละ 5 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มี รายได้ค่อนข้างสูงยังมักจะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ที่ทันสมัยในต่างประเทศอีกด้วย สำ�หรับในเวียงจันทน์มีโรงพยาบาลในระดับศูนย์กลาง อยู่จำ�นวนน้อย คือ 5 แห่งเท่านั้น ส่วนในระดับภูมิภาคก็ มีอยู่เพียงภูมิภาคละ 1 แห่งเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบสัดส่วน กับจำ�นวนประชากรแล้วถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่เพียง พอต่อการให้บริการ รวมทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ที่ยัง ถือว่าไม่มีความทันสมัยเท่าใดนัก ทำ�ให้กลุ่มชาวลาวบาง ส่วนที่อยู่ใกล้กับชายแดนและมีฐานะดีมักจะเดินทางมา ใช้บริการที่ฝั่งไทย โดยเฉพาะที่หนองคาย อุดรธานี และ บางรายอาจจะไปถึงขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร ซึ่ง โรงพยาบาลที่ชาวลาวเข้ามาใช้บริการในไทยนั้นล้วนแต่ เป็นโรงพยาบาลระดับคุณภาพ เช่น โรงพยาบาลเอกอุดร โรงพยาบาลวัฒนา เป็นต้น
LAOS
HEALTH &MEDICINE
อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาทำ�ให้สามารถทราบได้ว่ากลุ่มตัวอย่างชาวลาวโดยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยได้รับ สวัสดิการในด้านสุขภาพเท่าที่ควร เนื่องจากหลักๆ แล้วผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อต้องเข้ารับการ รักษา คือ กลุ่มตัวอย่างเองหรือไม่ก็พ่อหรือแม่ของกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นสัดส่วนรวมกว่าร้อยละ 87 มีเพียงไม่ถึงร้อย ละ 8 ที่ได้รับสวัสดิการประกันสังคม และมีเพียงร้อยละ 4 ที่ได้รับเงินชดเชยการรักษาจากบริษัทประกัน
/ -
-
/
/
CLMV PULSE: Laos
29
ส่วนการเข้ารับการตรวจสุขภาพนั้น กลุ่มตัวอย่าง ชาวลาวร้อยละ 38 จะเข้ารับการตรวจสุขภาพทุก ๆ 1 ปี รองลงมาคือนานกว่า 1 ปีจึงจะเข้ารับการตรวจ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61 จะรับประทาน วิตามินหรืออาหารเสริมบ้างเป็นครั้งคราว ส่วนร้อยละ 31 นั้นไม่เคย หรือแทบจะไม่เคยรับประทานเลย มีเพียง ร้อยละ 9 เท่านั้นที่รับประทานอยู่เป็นประจำ� การออกกำ�ลังกายของกลุ่มตัวอย่างชาวลาว ส่วน ใหญ่จะออกกำ�ลังกายประมาณสัปดาห์ละครั้ง หรือ เกือบทุกวัน โดยมักจะออกกำ�ลังกายด้วยการเดินหรือ วิ่งเป็นส่วนใหญ่ เพราะเห็นว่าไม่จำ�เป็นต้องใช้อุปกรณ์ อะไรมากให้เกิดความยุ่งยาก และยังมีพื้นที่ออก กำ�ลังกายจำ�นวนมากที่เหมาะแก่การเดิน หรือวิ่งใน เวียงจันทน์ ภาพที่ 23 แสดงวิธีการออกกำ�ลังกาย/เล่น กีฬา ที่เป็นที่นิยมในกลุ่มตัวอย่างชาวลาว ซึ่งนอกเหนือ จากการเดินหรือวิ่งแล้ว ยังนิยมเล่นกีฬากลางแจ้งและ ปั่นจักรยาน อีกด้วย
/
สำ�หรับการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างชาวลาว พบว่า ส่วนใหญ่จะดูแลตัวเองด้วยการทาโลชั่นบำ�รุงผิวและ การแต่งหน้า ร้อยละ 77 และ 41 ตามลำ�ดับ ส่วนการทำ�เลเซอร์ ฉีดโบทอกซ์ และพบแพทย์ด้านความงามนั้น จะ มีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนรับประทานอาหารเพื่อเสริมความงามมีอยู่ร้อยละ 20 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิง และกลุ่มผู้มีรายได้สูงเท่านั้น จากการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติด้านความสวยความงามพบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมัก จะดูแลตนเองและให้ความสำ�คัญเป็นพิเศษกับการดูแลผิวตนเองให้ดูสวยงาม โดยการมีผิวพรรณที่สวยงามถือเป็น สิ่งที่สำ�คัญที่สุดของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงชาวลาว คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 44.3 ของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ทั้งหมด รองลงมา คือ การดูอ่อนกว่าวัย ส่วนการศัลยกรรมพลาสติกนั้นกลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่งเห็นว่ายังไม่ใช่สิ่งที่ จำ�เป็นมากนัก
สำ�หรับการเข้าใช้บริการด้านความงาม เช่น ร้านทำ�ผม ร้านสปาและคลินิกเสริมความงามนั้น กลุ่มตัวอย่างชาว ลาวมักจะไปใช้บริการร้านทำ�ผมเฉลี่ยประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง โดยกลุ่มตัวอย่างเพศชายจะมีความถี่ในการเข้าร้าน ตัดผมมากกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ส่วนใหญ่ทุกๆ 3 เดือนครั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงส่วนใหญ่กว่า 1 ใน 3 จะ เข้าร้านตัดผมทุกๆ 6 เดือน ซึ่งถือเป็นความถี่เดียวกันกับการเข้าร้านทำ�เล็บ คือ ประมาณ 6 เดือนครั้ง แต่ในส่วนของ สปา นวด หรือ คลินิกเสริมความงามส่วนใหญ่จะตอบว่ายังไม่เคยเข้ารับบริการ แต่คาดว่าจะแพร่หลายมากขึ้นโดย เฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และคนรุ่นใหม่ 30
Khon Kaen University
อย่างไรก็ตามจากการวิจัยเชิงคุณภาพจะเห็นได้ว่าค่านิยมด้านความงามเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นต่อกลุ่มวัยรุ่น โดย เฉพาะเพศหญิง ที่เห็นว่าการมีผิวพรรณที่สวยงาม หน้าตาสดใสนั้น ถือเป็นเรื่องสำ�คัญต่อการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของการเป็นส่วนช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเรียน การทำ�งาน และการดึงดูดเพศตรงข้ามอีกด้วย ประกอบกับ อิทธิพลของสื่อทั้งจากโทรทัศน์ ป้ายโฆษณา และอินเตอร์เน็ต ที่ถือว่าเข้าไปมีบทบาทสำ�คัญในการสร้างค่านิยมดัง กล่าว จึงทำ�ให้ในปัจจุบันกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มคนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจกับการแต่งตัว และผลิตภัณฑ์เสริมความ งามมากขึ้น
พฤติกรรมการสูบบุหรี่
พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของชาวลาว พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 89 ตอบว่าไม่สูบบุหรี่ ส่วนผู้ที่สูบมีเพียง ร้อยละ 11 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 30- 39 ปี 40-49 ปีและ 5060 ปี จะมีสัดส่วนของผู้ที่สูบประมาณร้อยละ 20 ของแต่ละช่วงอายุ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มีผู้สูบ บุหรี่เลย
การซื้อบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างชาวลาว โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 55 จะซื้อบุหรี่ตามร้านค้าในร้านขายของชำ�ทั่วไป นอกจากนี้บางส่วนยังซื้อบุหรี่ตามห้างสรรพสินค้า และตลาด คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 และร้อยละ 5 ตาม ลำ�ดับ ส่วนการซื้อบุหรี่ในร้านค้าสะดวกซื้อมีประมาณร้อยละ 8 ส่วนทัศนคติด้านเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างชาวลาว พบว่า ร้อยละ 90 เห็นด้วยว่าควรจะมีกฎหมาย ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ มีผู้ไม่เห็นด้วยเพียงร้อยละ 5 ส่วนอีกร้อยละ 5 ไม่ขอแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับภัยบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 96 เห็นว่าบุหรี่นั้น เป็นอันตรายต่อร่างกายและสร้างความรำ�คาญให้แก่ผู้อื่น และอีกประมาณร้อยละ 4 ไม่ขอแสดงความคิดเห็น
CLMV PULSE: Laos
31
การจับจ่ายใช้สอย พฤติกรรมการซื้อสินค้าของชาวลาวนั้น ส่วนใหญ่ แล้วสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น ผงซักฟอก กระดาษ ชำ�ระ สบู่ แชมพู ยาสีฟัน เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างจะซื้อ ตามร้านขายของชำ�ใกล้บ้าน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51 รองลงมาคือร้านค้าสะดวกซื้อ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 และตลาดสด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 ตามลำ�ดับ โดยกลุ่มตัวอย่างที่นิยมซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคตามร้าน สะดวกซื้อส่วนใหญ่นั้นจะเป็นกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 23 – 29 ปี สำ�หรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์บำ�รุงผิว โลชั่นต่าง ๆ นั้น กลุ่มตัวอย่างจะซื้อที่ร้านค้าสะดวก ซื้อเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22 รองลงมา คือร้านขายของชำ�หรือร้านโชห่วย คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 21 และซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ตามลำ�ดับ ส่วนสินค้าประเภท เครื่องสำ�อางนั้นจะนิยมซื้อตามร้านที่ขายเครื่องสำ�อาง โดยเฉพาะ โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20 รองลงมาคือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 15 และห้างสรรพสินค้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ตามลำ�ดับ การซื้อสินค้าทางออนไลน์ยังจำ�กัดอยู่ในวงแคบๆ ชาวเวียงจันทน์ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป นิยมข้ามมายัง ฝั่งไทยโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อจับจ่าย ซื้อสินค้า ทั้งที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตและศูนย์การค้าในจังหวัด หนองคายและอุดรธานี เพราะเดินทางสะดวกและมี สินค้าหลากหลาย
ทัศนคติเกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อสินค้า
“CANEWORK SHOP, VIENTIANE” BY KIRAN JONNALAGADDA
สำ�หรับทัศนคติเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างชาวลาวนั้น สิ่งที่ให้ความสำ�คัญมากที่สุด คือ การได้ ใช้สินค้าที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 รองลงมาคือ เมื่อเลือกซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง จะเลือกซื้อสินค้าที่ดี ที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และในการซื้อสินค้าโดยทั่วไปแล้ว จะซื้อสินค้าที่ดีที่สุดเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ตาม ลำ�ดับ ซึ่งหากกล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าชาวลาวจะคำ�นึงถึงคุณภาพของสินค้าเป็นหลัก โดยจะพยายามเลือก สินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุดในร้าน และจะเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุดเสมอ และมักเลือกซื้อสินค้าอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำ�คัญมากนักในการเลือกซื้อสินค้า คือ การซื้อสินค้า ตามแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 รองลงมาคือ คิดว่าการใช้เวลาในการเลือกซื้อสินค้าเป็น เรื่องที่เปลืองเวลา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72 และไม่ค่อยคิดมากเมื่อจะซื้อสินค้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 ตามลำ�ดับ ซึ่ง สอดคล้องกับพฤติกรรมข้างต้น ที่ชาวลาวนั้นจะใช้เวลาในการเลือกซื้อสินค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุด
32
Khon Kaen University
LAOS
SHOPPING
“SHOPPING [SHANGHAI LAO JIE / SHANGHAI]” BY D’N’CAGADDA
ในส่วนของสินค้าเฉพาะทางประเภทโทรศัพท์มือ ถือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และอุปกรณ์ยานยนต์ต่าง ๆ นั้น กลุ่ม ตัวอย่างตอบว่ามักจะไปซื้อที่โชว์รูม หรือร้านขายเฉพาะ สินค้าดังกล่าวโดยตรง อย่างไรก็ตามชาวลาวมีความต้องการรถยนต์และชิ้น ส่วนรถยนต์อยู่สูง ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำ�ให้ ชาวลาวมีกำ�ลังซื้อและต้องการเป็นเจ้าของรถยนต์มาก ขึ้น ทั้งนี้ ชาวลาวนิยมเลือกซื้อรถพิกอัพ (PICK-UP) ขับ เคลื่อน 4 ล้อ แบบ 4 ประตู เพราะใช้ประโยชน์ได้หลาก หลาย ทั้งใช้บรรทุกผลผลิตทางการเกษตรออกจากพื้นที่ เพาะปลูก รับส่งแรงงานออกจากไร่นา และใช้ท่องเที่ยว กับครอบครัวในวันหยุด นอกจากนี้การที่สภาพถนน ในลาวหลายเส้นทางยังมีสภาพทรุดโทรมทำ�ให้ชิ้นส่วน รถยนต์มีอายุการใช้งานสั้น และจำ�เป็นต้องเปลี่ยนชิ้น ส่วนบ่อยขึ้น ทำ�ให้ความต้องการชิ้นส่วนรถยนต์มีอยู่สูง มาก เช่น เพลา ยางรถยนต์ ลูกสูบ ไส้กรองอากาศ ไส้ กรองน้ำ�มันเครื่อง อุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ เป็นต้น
ห้าง HOME IDEAL ในนครเวียงจันทน์
CLMV PULSE: Laos
33
34
Khon Kaen University
กิจกรรมยามว่างที่กลุ่มตัวอย่างชาวลาวทำ�เป็น ประจำ�ได้แก่การดูโทรทัศน์ และทำ�งานบ้าน ส่วน กิจกรรมอื่น ๆ เช่น การชมภาพยนตร์ที่บ้าน ฟังเพลง ดู กีฬา อ่านหนังสือ เล่นอินเตอร์เน็ต ออกกำ�ลังกาย และ ทำ�อาหาร ทำ�บ้างเป็นครั้งคราว ส่วนกิจกรรมที่แทบไม่ ได้ทำ�เลย คืองานฝีมือ งานศิลปะ และทำ�สวน โดยจากการศึกษาพบว่าชาวลาวจะนิยมการดู โทรทัศน์เป็นอย่างมาก โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างจะ บริโภคข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์เป็นหลัก ซึ่งมีความถี่ใน การดูโทรทัศน์เป็นประจำ�ทุกวัน หรือเกือบทุกวัน ซึ่งคิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 42 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รอง ลงมาคื อ การบริ โ ภคข่ า วสารจากสื่ อ อิ น เตอร์ เ น็ ต และ จากเพื่อนๆ มีสัดส่วนร้อยละ 17 ที่บริโภคข่าวสารจาก อินเตอร์เน็ตทุกวันหรือเกือบทุกวัน โดยเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18 – 22 ปี มีสัดส่วนร้อยละ 71 ที่บริโภคข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตทุกวันหรือเกือบทุกวัน และกลุ่มอายุระหว่าง 23 – 29 ปี มีสัดส่วนร้อยละ 66 ที่บริโภคข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตทุกวันหรือเกือบทุกวัน ดังภาพที่ 28 นอกจากนี้กิจกรรมยามว่างอื่น ๆ ได้แก่ การออก ไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ที่จะทำ�อยู่เป็นประจำ� ส่วนการไปชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ช็อปปิ้ง ซื้อ ของเข้าบ้าน ปาร์ตี้สังสรรค์ ออกไปท่องเที่ยว เล่นกีฬา และท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างบอกว่าจะทำ�บ้างเป็นครั้ง คราว ส่วนกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ทำ� ในเวลาว่าง ได้แก่ การร้องคาราโอเกะ
/
CLMV PULSE: Laos
35
บ้านและที่อยู่อาศัย นิยามคำ�ว่าบ้านสำ�หรับชาวลาว กลุ่มตัวอย่างบอกว่า บ้านคือที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุด ทั้งเพื่อพักผ่อน ได้ใช้เวลาอยู่กับ ครอบครัว เป็นที่ที่ทำ�ให้รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น สะดวกสบาย และเป็นที่ที่อยู่แล้วสบายใจมากที่สุด นอกจากนี้บ้านยังเป็น เหมือนกับรางวัลในชีวิต รางวัลสำ�หรับการทำ�งานหนัก และ เป็นความฝันที่จะทำ�ให้ชีวิตสมบูรณ์
ลักษณะของที่อยู่อาศัย ภาพรวมด้านลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวลาว บ้าน ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยว (DETACHED HOUSE/VILLA) ซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 72 และอยู่ กันเป็นครอบครัวใหญ่ โดยมีสมาชิกในครอบครัวโดยเฉลี่ย ประมาณ 5 – 7 คน รองลงมาคือที่อยู่อาศัยแบบแมนชั่น หรือแฟลต คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 และที่อยู่อาศัยแบบ อาคารพาณิชย์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 ตามลำ�ดับ
,
36
Khon Kaen University
"A FAMILY HOME AFFECTED BY FLASH FLOODING" BY DEPARTMENT OF FOREIGN AFFAIRS AND TRADE
LAOS
HOME CARE AND DECORATIONS “LAOS TRIP 075” BY N&K PICTURE OF TIME
บ้านของกลุ่มตัวอย่างชาวลาวส่วนมากจะมีห้องนอน 2 – 3 ห้อง และห้องน้ำ� 1 – 2 ห้อง ซึ่งลักษณะของบ้าน นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบว่าเป็นบ้านที่สร้างเอง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 79 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วนรองลงมา คือ บ้านเช่า คิดเป็นร้อยละ 12 และบ้านพักของทางราชการร้อยละ 4 ตามลำ�ดับ บ้านส่วนใหญ่จะสร้างจากอิฐและ ปูนซีเมนต์เป็นหลัก รองลงมาจะเป็นบ้านแบบกึ่งไม้กึ่งปูน โดยการตกแต่งจะตกแต่งแบบทั่วไป การตกแต่งผนังบ้าน จะยังไม่นิยมการติดวอลล์เปเปอร์ หรือปูหินเท่าใดนัก ร้อยละ 78 ของกลุ่มตัวอย่างยังคงตกแต่งผนังด้วยการทาสี ตามปกติ รองลงมาคือการตกแต่งผนังด้วยไม้ คิดเป็นร้อยละ 11 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วนพื้นบ้านนั้นส่วนใหญ่ จะปูกระเบื้อง คิดเป็นร้อยละ 72 รองลงมาคือ พื้นซีเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 34 ส่วนพื้นไม้นั้น มีอยู่ร้อยละ 13 ของกลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมด ในเขตชนบทบ้านของชาวลาวจะปลูกไว้ห่างกัน และมีลักษณะยกเป็นใต้ถุงสูง โล่ง เนื่องจากไม่มีข้อจำ�กัดด้าน พื้นที่ รวมทั้งสอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรมของชาวชนบทที่มักจะอาศัยอยู่ตามเทือกสวนไร่นาด้วย ส่วนใน เขตเมืองเช่นเวียงจันทน์ ลักษณะการปลูกบ้านจะเริ่มหนาแน่นมากขึ้น มีความทันสมัยมากขึ้น โดยมีการผสมผสาน ระหว่างบ้านแบบดั้งเดิมกับบ้านแบบสมัยนิยม โดยที่เห็นได้ชัดจนคือการใช้วัสดุในการก่อสร้างบ้านที่ผสมระหว่างไม้ และปูน นอกจากนี้บ้านในเขตเมืองนั้นจะไม่มีบ้านที่มีลักษณะแบบใต้ถุนสูง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโครงสร้างแบบปูน มุง ด้วยกระเบื้อง ทั้งนี้เพื่อความแข็งแรงและประโยชน์ในการอยู่อาศัย ที่จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง
CLMV PULSE: Laos
37
พฤติกรรมการอยู่อาศัย
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ห้องที่กลุ่มตัวอย่างใช้งานมากที่สุดในบ้าน คือ ห้องนั่งเล่น คิดเป็นร้อยละ 57 รองลงมาคือห้องนอน คิดเป็นร้อยละ 30 และห้องครัว ร้อยละ 8 ตามลำ�ดับ โดยห้องที่กลุ่มตัวอย่างต้องการจะ ตกแต่งมากที่สุดคือห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก คิดเป็นร้อยละ 74 รองลงมาคือห้องนอน ร้อยละ 18 และห้องครัว ร้อยละ 4 ตามลำ�ดับ ซึ่งสอดคล้องกับห้องที่กลุ่มตัวอย่างต้องการโชว์แก่ผู้ที่มาเยี่ยมมากที่สุดคือ ห้องนั่งเล่น หรือห้อง รับแขก สูงถึงร้อยละ 91 รองลงมาคือห้องน้ำ�และห้องนอน ตามลำ�ดับ ชาวลาวจะยังคงอาศัยแบบครอบครัวใหญ่เป็นหลัก คือ มีทั้งรุ่นปู่ย่าตายาย พ่อแม่ และรุ่นลูก ดังนั้นการใช้พื้นที่ ในบ้านจึงต้องมีการจัดการให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยจะมีพื้นที่ที่จัดไว้สำ�หรับใช้งานร่วมกันทั้งครอบครัว สำ�หรับ การรับประทานอาหาร และการพบปะพูดคุยภายในครอบครัว รวมถึงเอาไว้ใช้เป็นห้องรับแขกด้วย ส่วนอีกห้องที่ ถือว่ามีความสำ�คัญคือห้องนอน ซึ่งกลุ่มรุ่นลูกจะถือว่าเป็นส่วนเดียวในบ้านที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวสำ�หรับตนเอง ดังนั้น กลุ่มนี้จะให้ความสำ�คัญกับพื้นที่ในห้องนอนเป็นอันดับแรกๆ
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
สำ�หรับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น พัดลม โทรทัศน์ และหม้อหุงข้าว มีสัดส่วนสูงที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 96 ร้อยละ 95 และร้อยละ 90 ตามลำ�ดับ นอกจากนี้ยังพบว่ามีโทรทัศน์โดยเฉลี่ย 2 เครื่องต่อครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยเชิง คุณภาพ พบว่า โทรทัศน์ถือเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่สำ�คัญที่จำ�เป็นต้องมี เพราะนอกจากชาวลาวจะชอบ ดูโทรทัศน์แล้ว โทรทัศน์ยังสามารถแสดงถึงฐานะของเจ้าของบ้านได้อีกด้วย โดยมักจะวางโทรทัศน์ไว้ที่ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่นเป็นหลัก
พฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของชาวลาว
38
Khon Kaen University
พฤติกรรมการตกแต่งบ้าน และการซื้อ สินค้าตกแต่งบ้าน
การตกแต่งบ้านของชาวลาว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ บอกว่าไม่ได้จ้างสถาปนิก มัณฑนากร หรือดีไซน์เนอร์ เพื่อออกแบบตกแต่งบ้าน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 65 ของ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่จ้างเลย มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24 ที่ จ้างออกแบบสำ�หรับบางส่วนภายในบ้าน ส่วนอีกร้อย ละ 11 นั้นจ้างออกแบบบ้านทั้งหลัง หรือเกือบทั้งหลัง ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น กลุ่ ม กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ มี ร ะดั บ รายได้ ปานกลาง – สูง และระดับรายได้สูง อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าการที่มี บ้านที่สะอาด เรียบร้อย สะดวกสบาย และสวยงามนั้น เป็นเรื่องที่สำ�คัญ โดยสัดส่วนร้อยละ 48 เห็นว่าเป็น เรื่องที่สำ�คัญที่สุด และจะมีการจัด หรือย้ายเฟอร์นิเจอร์ ประมาณปีละครั้งหรือนานกว่านั้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 43 และ 3 – 6 เดือนต่อครั้ง คิดเป็นร้อยละ 18 ส่วนการซื้อของตกแต่งบ้านชิ้นเล็ก ๆ เช่น โคมไฟ กรอบรูป และอื่น ๆ นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะซื้อ ประมาณปีละครั้งหรือนานกว่านั้น คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 48 และซื้อ 3 – 6 เดือนต่อครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 19 ส่วนของชิ้นใหญ่ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียงนอน ส่วนมาก จะซื้อทุก ๆ ปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34 และนานกว่า 1 ปีต่อครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 โดยสาเหตุหลักที่ซื้อ ของตกแต่งบ้านชิ้นใหม่มากที่สุด กลุ่มตัวอย่างตอบว่า เพื่อทดแทนเฟอร์นิเจอร์เดิมที่แตกหักเสียหาย คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 36 รองลงมาคือ เพื่อตกแต่งบ้านใหม่ คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 25 และเพื่อความสะดวกในการใช้ งานมากขึ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ตามลำ�ดับ ซึ่งพบ ว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้สูงส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าตกแต่ง บ้านชิ้นใหม่เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และต้องการ เปลี่ยนสไตล์การตกแต่งบ้านใหม่
CLMV PULSE: Laos
39
ส่วนไอเดียการตกแต่งบ้าน หรือแรงบันดาลใจในการตกแต่ง บ้านของชาวลาวนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะบอกว่าได้มาจาก โทรทัศน์ในรายการต่าง ๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 รองลงมาคือ งานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 47 และจากหนังสือหรือนิตยสารต่าง ๆ ร้อยละ 29 ตาม ลำ�ดับ โดยสไตล์เฟอร์นิเจอร์ที่ชื่นชอบนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนมากจะ ชอบการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์แบบที่ทันสมัย สะดวก พร้อมใช้ งาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67 รองลงมาคือเฟอร์นิเจอร์แบบเก่า หรือโบราณ (ANTIQUE) สัดส่วนร้อยละ 15 และเฟอร์นิเจอร์แบบ สั่งทำ� (TAILOR-MADE) สัดส่วนร้อยละ 10 ตามลำ�ดับ
/ (DIY)
นอกจากนี้เฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ เฟอร์นิเจอร์ ไม้ เนื่องจากลาวเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรไม้จึงทำ�ให้ ราคาเฟอร์นิเจอร์ไม้มีราคาที่อยู่ในระดับที่ชาวลาวสามารถครอบครอง ได้ อีกทั้งฝีมือแรงงานในการทำ�เฟอร์นิเจอร์ไม้ของชาวลาวถือว่าอยู่ใน ระดับที่ดีพอใช้ และหาซื้อได้ทั่วไป สำ�หรับการซื้อเฟอร์นิเจอร์นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะซื้อ จากร้านขายเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้าน คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 46 รองลงมาคือร้านขายเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ สัดส่วนร้อยละ 31 และซื้อในงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับสินค้าบ้านและเฟอร์นิเจอร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ตามลำ�ดับ ซึ่งจากผลการสำ�รวจนั้นพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวลาวให้ความสนใจงานแสดงสินค้าตกแต่งบ้านและ เฟอร์นิเจอร์คิดเป็นร้อยละ 88 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
40
Khon Kaen University
จะเห็นได้ว่าความถี่ในการซื้อของตกแต่งบ้านของชาวลาวนั้นยังมีไม่มากนัก และมักจะซื้อตามร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ขนาดใหญ่ สอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ ที่พบว่าร้านขายสินค้าตกแต่งบ้านในลาวยังมีจำ�นวนน้อย และความ หลากหลายของสินค้ายังมีไม่มาก จึงส่งผลต่อพฤติกรรมการตกแต่งบ้านที่ซื้อของตกแต่งปีละครั้ง และซื้อเมื่อของชำ� รุดเสียหาย อย่างไรก็ตามคาดว่าแนวโน้มการตกแต่งบ้านของชาวลาวจะมีความทันสมัยและหลากหลายมากขึ้น จาก การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม อิทธิพลของสื่อต่าง ๆ และการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ของชาวลาวเอง สำ�หรับร้านค้าสินค้าวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้างในเวียงจันทน์ มีการตั้งกระจัดกระจายทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้าน ขนาดเล็ก ที่ผลิตสินค้าเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์ไม้ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ รวมไปถึงร้าน ขนาดเล็กทั่วไปที่ซื้อมาขายเองจากต่างประเทศ เช่น ไทย จีน เวียดนาม เป็นต้น สำ�หรับร้านขายสินค้าตกแต่งบ้าน ขนาดใหญ่ในเวียงจันทน์ที่มีบทบาทสำ�คัญในอุตสาหกรรม และมีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 60 นั้น คือ ร้านสุวันนี ก่อสร้าง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มคนลาว และเป็นร้านที่คนลาวจะนึกถึงเมื่อต้องการซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน หรือสินค้า วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ สำ�หรับการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนมากบอกว่าเป็นผู้ตัดสินใจเอง และมักจะชำ�ระค่าสินค้าตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ด้วยเงินสดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 96 โดยค่าใช้จ่ายใน การตกแต่งบ้าน และซื้อสินค้าดังกล่าวของชาวลาวจะอยู่ที่ประมาณ 5% - 10% ของรายได้ทั้งปี อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างชาวลาวส่วนมากยังคงคำ�นึงถึงเรื่องฮวงจุ้ยในการจัดตกแต่งบ้านอยู่บ้าง โดยสัดส่วน ร้อยละ 23 จะเชื่อในเรื่องของฮวงจุ้ย และจัดบ้านให้ถูกหลักฮวงจุ้ย ส่วนร้อยละ 54 จะคำ�นึงถึงหลัก ฮวงจุ้ยบ้าง สำ�หรับบางส่วนของบ้าน และอีกร้อยละ 23 จะไม่ได้คำ�นึงถึงหลักฮวงจุ้ยเลย
CLMV PULSE: Laos
41
ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน
การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ของชาวลาวนั้น ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญมากที่สุด คือ บริการจัดส่งสินค้าถึง บ้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 รองลงมาคือ ร้านขายเฟอร์นิเจอร์มีพนักงานคอยช่วยเหลือ และให้คำ�แนะนำ�ในการ เลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และเฟอร์นิเจอร์แบบที่ทันสมัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ตามลำ�ดับ ส่วน ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างไม่ค่อยให้ความสำ�คัญมากนัก คือ การชำ�ระเงินด้วยบัตรเครดิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.67 รองลงมา คือ การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์จากแบรนด์เดิมที่เคยซื้อ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 และการซื้อเฟอร์นิเจอร์จากร้านเดิมอยู่ เสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.83 ตามลำ�ดับ
42
Khon Kaen University
ส่วนปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของชาวลาวที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญที่สุดคือ อายุการใช้งานที่ ยาวนาน และทนทาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 รองลงมาคือเรื่องคุณภาพของสินค้า มีค่าเฉลี่ย 4.74 และการรับประกัน สินค้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ตามลำ�ดับ ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างจะคำ�นึงถึงน้อยที่สุดเมื่อเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ คือ โปรแกรมผ่อนชำ�ระค่าสินค้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33 รองลงมาคือ สถานที่ตั้งของร้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 และตรา ยี่ห้อของสินค้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59 ตามลำ�ดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างนั้นจะคำ�นึงถึงคุณภาพของสินค้าเป็น หลัก ส่วนการผ่อนชำ�ระสินค้าจะให้ความสำ�คัญน้อยที่สุด เนื่องจากชาวลาวจะใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็นส่วนใหญ่
CLMV PULSE: Laos
43
สำ�หรับสไตล์ในการตกแต่งบ้านที่กลุ่มตัวอย่างชาวลาวส่วนใหญ่ชื่นชอบ พบว่า การตกแต่งบ้านแบบ MODERN มีสัดส่วนมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 43 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยเฉพาะในกลุ่มอายุระหว่าง 18 – 22 ปี และ 23 – 29 ปี ที่ชื่นชอบสไตล์การตกแต่งบ้านสไตล์ MODERN ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44 และสัดส่วนร้อยละ 46 ของ กลุ่มตัวอย่างในระดับอายุดังกล่าวตามลำ�ดับ รองลงมาคือสไตล์ CONTEMPORARY คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 และ สไตล์ ASIA / TROPICAL คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ตามลำ�ดับ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามระดับรายได้แล้ว พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำ� – ปานกลาง และกลุ่มตัวอย่าง ที่มีรายได้ปานกลาง ส่วนใหญ่จะชื่นชอบสไตล์การตกแต่งบ้านแบบ MODERN แต่ในกลุ่มผู้มีรายได้สูงนั้นจะชื่นชอบ สไตล์การตกแต่งบ้านแบบ MODERN และ CONTEMPORARY ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
Contemporary Modern Asian/Tropical
พฤติกรรมการจัดสวน และงานช่าง
American/Country European/Classic
จากการสำ�รวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะไม่มีสวนในพื้นที่บ้าน และยังไม่มีการจัดสวนเพื่อความสวยงาม เท่าใดนัก โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่มีสวนอยู่ในบ้านคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35 ของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งในจำ�นวนนี้กว่าร้อยละ 80 มักจะมีกิจกรรมปลูกต้นไม้/ทำ�สวนที่บ้าน ในขณะที่อีกกว่า 20% จะไม่ค่อยทำ�กิจกรรมเหล่านี้เลย ในส่วนของการทำ�งานฝีมือต่างๆ ที่กลุ่มตัวอย่างคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 บอกว่าไม่เคยทำ�งานฝีมือเลย หรือหาก ทำ�ก็จะทำ�นาน ๆ ครั้ง มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ทำ�งานฝีมืออยู่เป็นประจำ� และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36 ที่จะทำ�งาน ฝีมือบ้างในบางโอกาส
44
Khon Kaen University
ส่วนการซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านด้วย ตนเองนั้น กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 46 จะซ่อมเอง บ้างในบางโอกาส กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 35 จะ ไม่เคยทำ�เลย หรือหากทำ�ก็จะนาน ๆ ครั้ง และกลุ่ม ตัวอย่างสัดส่วนร้อยละ 19 จะซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้ ที่ชำ�รุดเสียหายเองอยู่เสมอ
CLMV PULSE: Laos
45
การดูแลสัตว์เลี้ยง
กลุ่มตัวอย่างในลาวส่วนใหญ่ยังคงนิยมการเลี้ยง สุนัขมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เลี้ยง สุนัขคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58 ซึ่งมีจำ�นวนเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ตัวต่อครัวเรือน ส่วนการเลี้ยงแมว และเลี้ยงปลา จะมี กลุ่มตัวอย่างที่เลี้ยงอยู่บ้าง แต่จำ�นวนผู้เลี้ยงยังมีสัดส่วน ไม่มากเท่าจำ�นวนผู้เลี้ยงสุนัข โดยคิดเป็ นสัดส่วนร้อย ละ 22 และสัตว์เลี้ยงประเภทปลา โดยมีสัดส่วนร้อย ละ 16 ตามลำ�ดับ และยังพบว่านิยมเลี้ยงสัตว์ประเภท อื่นๆอีก ในสัดส่วนร้อยละ 5 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยไปใช้บริการร้านตกแต่งขน หรือร้านสัตว์เลี้ยง โดยสัดส่วนร้อยละ 69 ตอบว่าไม่เคย หรือเกือบไม่เคย เข้าร้านดังกล่าว และสัดส่วนร้อยละ 28 ตอบว่านานๆ ครั้งจึงจะเข้าไปใช้บริการ ส่วนผู้ที่ใช้บริการเป็นประจำ�มี สัดส่วนเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น สำ�หรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ เลี้ยงสัตว์นั้น ส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่าไม่ชอบเลี้ยงสัตว์ สถานที่พักอาศัยไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์และมีค่าใช้จ่าย ในการเลี้ยงสูง
"VIENTIANE, LAOS" BY LYDIE
46
Khon Kaen University
การท่องเที่ยว
กลุ่มตัวอย่างชาวลาว นิยมไปท่องเที่ยวตามสถานที่ท่อง เที่ยวทางธรรมชาติ โดยมากกว่าร้อยละ 55 ชอบการไป ท่องเที่ยวตามทะเล หมู่เกาะและชายหาด มีประมาณ ร้อยละ 29 ที่ชื่นชอบภูเขา และร้อยละ 20 ชื่นชอบการ ท่องเที่ยวแบบมีกิจกรรมสันทนาการ ส่วนความถี่ในการท่องเที่ยวในประเทศ ส่วนใหญ่ จะเดินทางท่องเที่ยวประมาณปีละครั้งหรือนานกว่านั้น โดยนิยมไปกับครอบครัวระยะเวลา 2-4 วัน และนิยมใช้ รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 64 รองลงมาประมาณร้อยละ 22 ใช้บริการรถ เช่า รถรับจ้าง มีเพียงประมาณร้อยละ 8 ที่ใช้บริการรถ ประจำ�ทาง สำ�หรับความถี่ในการท่องเที่ยวในต่างประเทศ ส่วน ใหญ่ประมาณร้อยละ 40 ไม่เคยเดินทางท่องเที่ยวต่าง ประเทศ ส่วนผู้ที่เดินทางส่วนใหญ่จะเดินทางน้อยกว่า ปีละ 1 ครั้ง โดยนิยมท่องเที่ยวไปจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไปกับเพื่อนและ ครอบครัวระยะเวลา 5-7 วัน และนิยมเดินทางด้วย เครื่องบิน สายการบินแบบปกติ โดยมีประมาณร้อยละ 23 ของกลุ่มตัวอย่างที่เดินทางต่างประเทศ เดินทาง ด้วยรถยนต์ส่วนตัว และประมาณร้อยละ 14 ของกลุ่ม ตัวอย่างที่เดินทางต่างประเทศ เลือกเดินทางท่องเที่ยว ด้วยสายการบินแบบต้นทุนต่ำ� นอกจากนี้ในระยะที่ผ่านมาพบว่าชาวลาวเดิน ทางไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงรายได้ที่ เพิ่มมากขึ้นของชาวลาว โดยวัตถุประสงค์ในการเดิน ทางมีทั้งเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อการติดต่อธุรกิจ และ วัตถุประสงค์อื่น ๆ
-
/
"VIENTIANE, LAOS" BY LYDIE
CLMV PULSE: Laos
47
48
Khon Kaen University
กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างชาวลาวนิยมทำ�ในวันหยุด ส่วนใหญ่นิยมอยู่กับบ้าน สัดส่วนร้อยละ 45 และรองลงมาคือ ทำ�กิจกรรมกับครอบครัวคิดเป็นสัดส่วน 22 และนิยมออกไปสังสรรค์นอกบ้านร้อยละ 19 นอกจากนี้ผู้ที่มีรายได้ปาน กลาง-สูง มักออกไปท่องเที่ยว จับจ่ายซื้อสินค้าและทำ�งาน มากกว่าผู้ที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ� จะเดินทางออกไปท่อง เที่ยวเพียงร้อยละ 5 กิจกรรมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของชาวลาวในวันหยุด คือ การไปกินข้าวป่า ซึ่งได้รับอิทธิพลมา จากคนรุ่นก่อน และถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวลาวจะชวนคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง ทำ�อาหารออกไปรับ ประทานตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ทุ่งนา ภูเขา น้ำ�ตก เป็นต้น ซึ่งชาวลาวถือว่าเป็นกิจกรรมสำ�คัญที่ช่วยสร้างความ สัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและกลุ่มเพื่อนด้วย
พฤติกรรมการออม และการลงทุน
กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 99 จะใช้จ่ายเงินใน การซื้อของต่าง ๆ ด้วยเงินสด อย่างไรก็ตามยังมีสัดส่วน ผู้ถือบัตรเครดิตคิดเป็นร้อยละ 47 ส่วนร้อยละ 53 นั้น ไม่มีบัตรเครดิตเลย โดยกลุ่มตัวอย่างจะถือบัตรเครดิต ประมาณ 1-2 ใบ ส่วนการออมของกลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่นั้นจะฝากเงินสดกับธนาคาร คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 74 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และออมเป็นเงินสด ส่วนการลงทุนในทองคำ� มีสัดส่วนร้อยละ 16 และการ ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และประกันชีวิต มีสัดส่วนร้อย ละ 6 และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ปานกลาง เช่นกัน สัดส่วนการออมของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นั้น จะอยู่ที่ร้อยละ 10 – 20 ของรายได้ รองลงมาคือน้อย กว่าร้อยละ 10 ของรายได้ สำ�หรับการใช้สินเชื่อของกลุ่ม ตัวอย่างนั้น มีผู้ที่ใช้สินเชื่อคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7 ของ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อเพื่อการ ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 30 รองลง มาคือสินเชื่อเพื่อธุรกิจ มีสัดส่วนร้อยละ 28 และสินเชื่อ ส่วนบุคคล มีสัดส่วนร้อยละ 19 ตามลำ�ดับ
"THE GIBBON EXPERIENCE AND HUAI XAI-000" BY CHRISTIAN HAUGEN
CLMV PULSE: Laos
49
พฤติกรรมการใช้จ่าย
กลุ่มตัวอย่างชาวลาวนิยมใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็น หลัก คิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 100 เนื่องจาก อุปนิสัยของชาวลาว คือ ไม่ชอบเป็นหนี้ จึงไม่นิยม ใช้บัตรเครดิต โดยจากผลวิจัยพบว่า เกือบทั้งหมด ของกลุ่มตัวอย่างยังใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็นหลัก ใน ทุกๆ ระดับรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จ่ายด้วยบัตร เดบิต มีเพียงร้อยละ 0.7 และที่เหลือบางส่วนใช้เช็ค เงินสด
พฤติกรรมด้านการเงินและการออม
การออมของกลุ่มตัวอย่างชาวลาวส่วนใหญ่นั้นจะ ฝากเงินสดกับธนาคาร ทุกกลุ่มระดับรายได้ คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 74 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และออม เป็นเงินสด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 นอกจากนี้ยังมี การลงทุนในทองคำ� อีกประมาณร้อยละ 16 และการ ลงทุนในรูปแบบของการซื้อประกันชีวิตคิดเป็นร้อยละ 7 และอสังหาริมทรัพย์อีก ร้อยละ 6 และในส่วนประมาณ ร้อยละ 4 ลงทุนในกองทุนและหุ้น ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ในระดับปานกลาง-สูงที่มีการ ออมในรูปแบบการลงทุน
สำ�หรับสัดส่วนการออมของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ นั้นจะอยู่ที่ร้อยละ 10 – 20 ของรายได้ ซึงมีสัดส่วนร้อย ละ 34 รองลงมาคือน้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ มี สัดส่วนร้อยละ 28 และสัดส่วนร้อยละ 20 – 30 ของราย ได้ มีสัดส่วนร้อยละ 23 ตามลำ�ดับ สำ�หรับการใช้สินเชื่อ ของกลุ่มตัวอย่างนั้น มีผู้ที่ใช้สินเชื่อคิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 7 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสิน เชื่อเพื่อการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมาคือสินเชื่อเพื่อธุรกิจ มีสัดส่วนร้อยละ 28 และสินเชื่อส่วนบุคคล มีสัดส่วนร้อยละ 19 ตามลำ�ดับ
50
Khon Kaen University
ทีมผู้วิจัย
รศ. ดร. กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผศ. ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ ดร. นิ่มนวล ผิวทองงาม ดร. สุทิน เวียนวิวัฒน์
ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยฯ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ
นายศุภกร ศิริสุนทร นางชลธิชา วีระพันธ์ อวนศรี นางสาว สุวัฒนา พิกุลณี นางสาว กนกพร ทีบัว นางสาวกมลชนก มากเจริญ นางสาว กีรติ ทวีทรัพย์ นางทฤทธิยา จันทร์หอม นางสาวสงบ เสริมนา
นักวิเคราะห์อาวุโส นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักสถิติ นักสถิติ
นางณิชานันท์ เอี่ยมเพ็ชร นางสาวศุทธีญา นพวิญญูวงศ์ นางสาวณาตยา สีหานาม นายพลวิชญ์ หนูศรีแก้ว
ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายออกแบบ
CLMV PULSE: Laos
51
เกี่ยวกับหนังสือ พฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หนังสือชุด CLMV Pulse ชีพจรอาเซียน นั้นประกอบด้วยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกที่ทันสมัย จากการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หนังสือเล่มนี้เป็น 1 ในจำ�นวน 4 เล่ม จะกล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศลาว โดยเฉพาะที่อยู่ ในนครเวียงจันทร์ ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น การศึกษา ชีวิตการทำ�งาน การลงทุนและการออม การ จับจ่ายใช้สอย อาหารการกิน การดูแลสุขภาพและความงาม การช็อปปิ้ง และการใช้เวลาว่าง ไปจนถึง การดูแลที่อยู่อาศัย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจหรือผู้ที่สนใจพฤติกรรม และรูปแบบ การใช้ชีวิตของคนในประเทศลาว โดยเฉพาะในนครเวียงจันทร์
สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 52
Khon Kaen University