CAMBODIA
CLMV Pulse เมียนมาร์
VIETNAM
MYANMAR
LAOS
ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศเมียนมาร์
สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
CLMV PULSE: ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศเมียนมาร์
เมี ย นมาร์
ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวหน้าทีมวิจัย Ms. Mu Mu Thient, Yangon, Myanmar Dr. Phouphet KYOPHILAVONG, Laos National University, Vientiane, Laos Dr. Nguyen Luu Bao Doan, Hoa Sen University, Ho Chi Minh City, Vietnam Vin Spoann, Royal University of Phnom Penh, Phnom Penh, Cambodia Assoc. Prof. Dr. Kullapapruk Piewthongngam, Khon Kaen University, Thailand ข้อจำ�กัดความรับผิดชอบ: ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ขอสงวนสิทธิทั้งปวง รวมทั้งสิทธิในการแก้ไข ทำ�ซ้ำ� ดัดแปลง ตลอด จนนำ�ไปใช้อ้างอิงหรือเผยแพร่รายงานนี้ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดและด้วยวิธีการใด ๆ โดยไม่ได้ รับอนุญาตเป็นหนังสือ บทความและความเห็นใด ๆ เป็นบทความและความเห็นของนักวิจัย และเป็นไปตามผลของการสำ�รวจ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อม ไม่ต้องรับผิดชอบและไม่รับประกันไม่ ว่าในกรณีใด ๆ ในผลจากการนำ�ข้อมูลดังกล่าวไปใช้ ผู้สนับสนุนทุนการวิจัย : รายงานฉบับนี้ ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการดำ�เนินการศึกษาวิจัย นอกจากนี้ยัง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในหัวข้อที่ เกี่ยวข้องกับอาหารและการตกแต่งบ้าน ราคา : 450 บาท สงวนลิขสิทธิ์ - ห้ามเผยแพร่หรือนำ�ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ก่อนได้รับอนุญาต ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทร.: +66(0) 43 202 567, email: ecber.kku@gmail.com โทรสาร: +66(0) 43 202 567 www.ecberkku.com/asean www.facebook.com/ecberkku
การศึกษา
ีชีิวิตการทำ�งาน
10 12 14 32 40 46
การแพทย์และ การกินและ การดื่ม การดูแลรักษา สุขภาพ การจับจ่ายใช้สอย
บ้านและ ที่อยู่อาศัย
ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6
Khon Kaen University
CLMV PULSE: ชีพจรอาเซียน - พฤติกรรมผูบ้ ริโภคประเทศเมียนมาร์
เมียนมาร์
บทนำ�
MANDALAY
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (REPUBLIC OF THE UNION OF MYANMAR) เดิมรู้จักกัน ในชื่อว่า สหภาพพม่า (BURMA) มีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน ประเทศเมียนมาร์มีระบบการ ปกครองแบบเผด็จการทหารมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งในปี 2555 ได้เริ่มเปิดประเทศ และนับ ตั้งแต่นั้นมาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเมียนมาร์จะเป็นประเทศที่มีหลากหลายเชื้อชาติ หลาย เผ่าอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น พม่า ไทใหญ่ กระเหรี่ยง ยะไข่ เป็นต้น แต่ก็เมียนมาร์ก็มี VIETNAM ภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ประชาชนชาวเมียนมาร์โดยส่วน LAOS LAOS ใหญ่ นับถือศาสนาพุทธและปฏิบัติตามหลักคำ�สอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนออกมาในลักษณะการใช้ชีวิตประจำ�วันของชาว เมียนมาร์ได้เป็นอย่างดี ทั้งการเข้าวัดเพื่อนั่งสมาธิหรือสวดมนต์ การ ปฏิบัติตามหลักศีล 5 เป็นต้น ประเทศเมียนมาร์เป็นประเทศที่มีพื้น THAILAND THAILAND ฐานมาจากการเกษตร และประชากรโดยส่วนใหญ่ยังคงอาศัย อยู่ในเขตพื้นที่ชนบทซึ่งเป็นพื้นที่โดยส่วนใหญ่ ในช่วงฤดูกาล CAMBODI CAMBODIA A เก็บเกี่ยว ประชาชนชาวเมียนมาร์จะทำ�บุญ จัดงานประเพณีที่ สำ�คัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และใส่ชุดประจำ�ชาติ ชุดประจำ� ชาติของชาวเมียนมาร์คือชุด “ลองยี” (LONGYI) อย่างไรก็ตามชาว เมืองหรือคนสมัยใหม่ก็เริ่มแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบสมัยนิยมมากขึ้น ใช้ จ่ายเงินเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น ในเมืองใหญ่ของประเทศเมียนมาร์ เช่น ย่างกุ้ง (YANGON) มัณฑะเลย์ (MANDALAY) รวมทั้งเมืองหลวงอย่างนครเนปยีดอ (บางครั้ง เรียก เนปิดอว์ NAY PYI DAW หรือ NAY PYI TAW) ประชาชนโดยส่วนใหญ่มักจะ ประกอบอาชีพเป็นนักธุรกิจ ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท โรงงาน ไม่ก็ข้าราชการหรือ พนักงานของรัฐ Hanoi
MYANMAR
Vientiane Vientiane
YANGON
Bangkok Bangkok
Siem Siem Reap Reap
Battambang Battambang
Kampong Kampong Cham Cham
Phnom Phnom Penh Penh
“
ในการศึกษาครั้งนี้ ร้อยละ 72 ของกลุ่มตัวอย่าง ถือเป็นคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 18-49 ปี กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่มากกว่าครึ่ง มีราย ได้ในระดับต่ำ�ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ส่วนร้อยละ 24 มีรายได้ประมาณ 5,000- 10,000 บาทต่อเดือน และมีกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ ค่อนข้างสูงหรือมากกว่า 25,000 บาทต่อเดือน เพียงร้อยละ 9 สกุลเงินของเมียนมาร์ คือ จ๊าด (KYAT) ซึ่งมีค่าค่อนข้างต่ำ�เมื่อเทียบกับ สกุลเงินตราต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา (1 จ๊าด มีค่าประมาณ 0.001 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ) ในรายงานฉบับนี้ได้ทำ�การวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในนครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เนื้อหาแบ่งออกเป็น 14 หัวข้อ ผลจาก การสำ�รวจและศึกษาในเบื้องต้นสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ ต่างล้วนแล้วแต่ปรารถนาที่จะมีการศึกษาที่สูงขึ้น เพื่อให้มี ชีวิตและอนาคตที่ดี หลายคนจึงมุ่งมั่นทำ�งานอย่างหนักและมาศึกษาเล่าเรียนที่ในเมืองใหญ่ วิธีการวิจัย ในรายงานการศึกษาฉบับนี้ ได้ทำ�การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคชาวเมียนมาร์ โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำ�นวน 400 ชุด จากการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการจัดสนทนากลุ่ม (FOCUS GROUP DISCUSSION) ร่วมกับผู้ เชี่ยวชาญด้านการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น นักการตลาด นักโฆษณา อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา และผู้ประกอบการ ในสาขา อาหารและสินค้าตกแต่งบ้าน โดยในประเทศเมียนมาร์นั้นได้เก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างในเมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำ�คัญของ ประเทศและเป็นแหล่งรวมชาวเมียนมาร์จากทุกภูมิภาค
8
Khon Kaen University
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง เพศ
อายุ
การศึกษา
อาชีพ
ระดับรายได้ส่วนบุคคล
*Old Bagan by Nhi Dang CLMV PULSE: Myanmar
9
การศึกษา
*ASIA } MYANMAR BURMA } NOV 2010 BY EDSON WALKER
*FLOATING SCHOOL IN MAING THAUK BY FRANÇOIS BIANCO
สำ�หรับระบบการศึกษาของเมียนมาร์รัฐจะเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียน โดยนักเรียนจะเสีย ค่าเล่าเรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น ระบบการศึกษาแต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำ�นาจ ไว้ที่ศูนย์กลาง ต่อมาได้มีการกระจายอำ�นาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่างๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการ ศึกษาเป็นผู้ควบคุม ดูแล และประสานงาน โดยปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาร์ได้ปรับระบบการศึกษาจากเดิม 12 ปี เหลือเพียง 10 ปี (ไม่นับรวมการศึกษา ระดับอนุบาล) ประกอบกับการศึกษาขั้นอุดมศึกษามีการแยกมหาวิทยาลัยจากที่เคยรวมสหสาขาวิชาต่าง ๆ ไว้ใน ที่เดียวกัน เป็นการแยกเรียนเฉพาะสาขาในแต่ละมุมเมืองเพื่อลดปัญหาการรวมตัวของนักศึกษาเหมือนในอดีต ซึ่ง ระบบการศึกษาของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ในปัจจุบันเป็นระบบ 4:4:2 ดังนี้
• ระดับประถมศึกษา 4 ปี (ไม่นับรวมระดับอนุบาล 1 ปี)
• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี
• ระดับอาชีวศึกษา 1- 3 ปี อุดมศึกษา 4 –6 ปี โดยในระดับอุดมศึกษานั้นจะแบ่งความรับผิดชอบย่อยออกเป็น 2 กรม (Departments of Higher Education) ตามภูมิประเทศ คือ ภาคเหนือของประเทศจะตั้งอยู่ที่มันฑะเลย์ และภาคใต้ของประเทศจะตั้งอยู่ที่ย่างกุ้ง มีสถาบัน การศึกษาในระดับอุดมศึกษาประมาณ 174 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ โดยกระจุก ตัวอยู่ในรัฐ 2 รัฐ คือ มันฑะเลย์ (37 แห่ง) และย่างกุ้ง (35 แห่ง) นอกจากนี้ ยังอยู่ภายใต้การกำ�กับดูแลของกระทรวง อื่นด้วย เช่น Medical Schools จะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข และ Technological Universities อยู่ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น 10
Khon Kaen University
กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 91 จบการศึกษา จากสถาบันของรัฐ ที่เหลือประมาณร้อยละ 9 จบการ ศึกษาจาก สถาบันการศึกษาเอกชนในประเทศ (ร้อยละ 3) สถาบันการศึกษานานาชาติในประเทศ (ร้อยละ 3) และ สถาบันการศึกษาในต่างประเทศ (ร้อยละ 3) โดยพบว่ากว่า ร้อยละ 80 ของคนที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศมักเป็นผู้ที่มีรายได้ระดับปานกลาง-สูง
/
. /
*ASIA }MYANMAR BURMA } NOV 2010 BY EDSON WALKER
.
/ และนอกจากนี้ผลการสำ�รวจยังสะท้อนให้เห็นว่าชาว เมียนมาร์ในนครย่างกุ้งเกือบทั้งหมด หรือโดยส่วนใหญ่กว่า ร้อยละ 91 สำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันของรัฐในประเทศ ส่ ว นผู้ ที่ สำ � เร็ จ การศึ ก ษาจากสถาบั น นานาชาติ ใ นประเทศ สถาบั น เอกชนในประเทศและสำ � เร็ จ การศึ ก ษาจากต่ า ง ประเทศโดยตรง มีสัดส่วนเท่าๆ กัน คือ ประมาณร้อยละ อีก ร้อยละ 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีรายได้สูง
CLMV PULSE: Myanmar
11
ชีวิตการทำ�งาน กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 90 ไม่มีงานเสริมนอกเหนือจากงานประจำ� โดยร้อยละ 31 ประกอบ อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 20 มักจะประกอบอาชีพค้าขายและมีเพียงร้อยละ 15 ที่ประกอบอาชีพ เป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐฯ ชาวเมียนมาร์โดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่างวัยทำ�งานที่มีอายุระหว่าง 30-49 ปี นอกจากจะทำ�งานค่อนข้างหนักแล้วยังมักใช้เวลาว่างในการหารายได้พิเศษนอกเหนือจากงานประจำ� เพราะเห็น ว่าจะช่วยให้ตนเองมีชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิม ชาวเมียนมาร์ที่มีเชื้อสายพม่า เป็นกลุ่มที่มีความขยันและสนุกในการ ทำ�งาน ไม่เกี่ยงงาน แม้ว่ารายได้ที่ได้รับในประเทศจะค่อนข้างต่ำ� อย่างไรก็ตามวัยแรงงานชาวเมียนมาร์มักเข้ามา ทำ�งานและศึกษาหาวิชาชีพในประเทศไทย เนื่องจากต้นทุนค่าแรงงานในเมียนมาร์นั้นถือได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ�เมื่อ เทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน และสวัสดิการคุ้มครองในด้านต่าง ๆ ถือว่ายังครอบคลุมไม่มากนัก ทั้ง ยังมองว่าไทยเป็นเมืองเศรษฐกิจเป็นแหล่งทำ�มาหากินที่ดีที่จะทำ�งานเก็บเงินและส่งกลับไปให้ครอบครัวที่บ้านได้
อย่างไรก็ตามในปี 2555 รัฐบาล เมี ย นมาร์ ไ ด้ ป ระกาศปรั บ ขึ้ น สวั ส ดิ ก าร ค่าครองชีพของข้าราชการและทหารเป็น 30,000 จ๊าต หรือประมาณ 38 ดอลลาร์ สหรัฐต่อเดือน (1,123 บาท) และปรับขึ้น ค่าจ้างรายวันสำ�หรับลูกจ้างของรัฐที่ทำ�งาน 8 ชั่วโมงต่อวันจาก 1,100 จ๊าต เป็น 2,100 จ๊าต หรือประมาณ 79 บาท และปรับอัตรา ค่าแรงขั้นต่ำ�จาก 1,500 บาท เป็น 3,000 บาทต่อเดือน (เฉลี่ยวันละ 100 บาท) มีผล ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2555 แต่ก็ยังถือว่า ต่ำ�กว่าค่าแรงที่ได้รับจากการออกไปหางาน ทำ�ในต่างประเทศ นอกจากนี้กฎหมายใหม่ ของเมียนมาร์ได้อนุญาตให้ลูกจ้างรวมกลุ่ม เป็นสหภาพ และสามารถนัดหยุดงานเพื่อ เรียกร้องค่าจ้างเพิ่มได้
, /
/
กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์โดยส่วนใหญ นิยมเดินทางไปทำ�งานหรือไปสถานที่ต่างๆ ด้วยรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งจะเป็นรถบัสแบบไม่ติดแอร์ รวมทั้งรถสองแถว คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 รองลงมานิยมเดินทางโดยใช้ รถยนต์ส่วนตัวและเดิน โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 33 และร้อยละ 8 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำ�หรับการจราจรในเมียนมาร์ถือว่ามีความหนาแน่นอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในเมืองหลักสำ�คัญอย่างเช่น เมืองย่างกุ้ง และในช่วงเวลาเร่งด่วน นอกจากนี้รถยนต์ที่ใช้ในเมียนมาร์ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์มือสองจากประเทศ ญี่ปุ่น ซึ่งมีราคาไม่สูงมากนักและการขับขี่บนท้องถนนถือว่ายังไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเท่าใดนัก การบีบแตร รถยนต์ในเมียนมาร์นั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ 12
Khon Kaen University
MYANMAR AGRICULTURIST *MYANMAR AT THE CROSSROADS BY CHRISTOPHER MICHEL
วิธีเดินทางมาทำ�งาน ของชาวเมียนมาร์
CLMV PULSE: Myanmar
13
การกิน - ดื่ม
* 20131120_MYANMAR_5955+59-64 INLE LAKE BY DAN LUNDBERG
ห้องครัว และการเก็บอาหาร สำ�หรับห้องครัวของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ ส่วนใหญ่จะเป็นครัวเพื่อใช้ประกอบอาหาร มากกว่า จะเป็นเพียงพื้นที่สำ�หรับเตรียมและอุ่นอาหาร จาก วิ ถีชี วิ ต ของชาวเมี ย นมาร์ที่มัก จะประกอบอาหารรับ ประทานเอง และยังมีความคุ้นเคยกับบ้านที่มีลักษณะ เป็นอพาร์ทเมนท์ที่อยู่รวมกันหลายคนในครอบครัว ซึ่ง ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอาณานิคมอย่างประเทศ อังกฤษ และจะต้องมีครัวอยู่ภายในอพาร์ทเมนท์นั้น ด้วย โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อย ละ 95 ประกอบอาหารเองในบ้านทุกวันหรือเกือบทุก วัน โดยเครื่องใช้ในครัวที่กลุ่มตัวอย่างใช้ พบว่า เกือบ ทุกครัวเรือนมีเตาแก๊ส/เตาไฟฟ้า ตู้เย็น กาต้มน้ำ�ร้อน ไฟฟ้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93 ร้อยละ 84 และ 72 ตามลำ�ดับ โดยมีประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างที่ มีเตาไมโครเวฟและเครื่องปิ้งขนมปังในบ้าน ทำ�ให้เห็น ได้ชัดว่าชาวเมียนมาร์ได้เปิดรับการมีวิถีชีวิตใหม่ ๆ มาก ขึ้น และมีการใช้จ่ายสำ�หรับซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่ช่วย อำ�นวยความสะดวกในบ้านมากขึ้นด้วย
14
Khon Kaen University
กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์มักจะยังรับประทาน อาหารที่ประกอบขึ้นเองที่บ้านอยู่ โดยพบว่า 1 ใน 3 ของกลุ่ ม ตั ว อย่ า งเป็ น ผู้ ที่ มี ห น้ า ที่ ป ระกอบอาหาร เอง และอีก 1 ใน 4 พ่อ-แม่ เป็นผู้มีหน้าที่ประกอบ อาหารให้ โดยส่วนใหญ่นิยมทำ�อาหารท้องถิ่นของ ชาวเมียนมาร์เอง เนื่องมาจากความคุ้นเคยในรสชาติ ของอาหารในพื้นถิ่นและด้วยความหลากหลายของ อาหารในเมียนมาร์เอง ซึ่งจะพบว่าในแต่ละพื้นที่จะ มี เ อกลั ก ษณ์ ใ นการประกอบอาหารในท้ อ งถิ่ น ของ ตนเองอยู่ ทั้งจากปัจจัยด้านวัตถุดิบที่มีความแตกต่าง กัน ยังรวมไปถึงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ ทำ � ให้ แ ต่ ล ะท้ อ งถิ่ นคิด ค้น รูป แบบอาหารที่มีรสชาติ เหมาะสมกับตนเอง ยกตัวอย่างเช่นทางตอนบนของ ประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง มีหิมะ ปกคลุม อากาศหนาวเย็น การเดินทางคมนาคมยาก ลำ�บาก ทำ � ให้ ว ั ต ถุด ิบ ในการประกอบอาหารหาได้ ยาก จึงมักจะกินอาหารที่กินได้ง่าย ๆ เน้นสร้างความ อบอุ่นให้ร่างกาย อาหารส่วนใหญ่จะเป็นประเภทข้าว เนื้อสัตว์ และผักต่าง ๆ ส่วนทางตอนล่างของประเทศ นั้นถือว่าเป็นพื้นที่ปากน้ำ�ติดกับทะเลทำ�ให้มีปลาและ อาหารทะเลชุกชุม อาหารส่วนใหญ่ก็จะเป็นอาหาร ทะเล รสชาติจัดจ้านเพื่อดับกลิ่นคาวของอาหารทะเล เป็นต้น
สำ � หรั บ การเก็ บ อาหารของกลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาว เมียนมาร์ พบว่าเกือบทั้งหมดจะเก็บตุนอาหารประเภท ข้าว น้ำ�ตาล และเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น น้ำ�ปลา ซอส นำ�้ มัน ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่เน่าเสีย และสามารถซื้อเก็บไว้ระยะ ยาวได้ รองลงมาคือ ผัก-ผลไม้ และอาหารแห้ง-อาหาร กระป๋อง ที่สามารถซื้อมาเก็บไว้เพื่อบริโภคระยะเวลา สั้นๆ ได้ ส่วนอาหารประเภทที่กลุ่มตัวอย่างไม่ค่อยเก็บไว้ บริโภค ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารพร้อมรับ ประทาน และอาหารแช่แข็ง โดยมีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้น ที่เก็บอาหารแช่แข็งไว้ที่บ้าน สอดคล้องกับการวิจัยเชิง ปริมาณที่พบว่า ชาวเมียนมาร์มักจะไปซื้ออาหารสดจาก ตลาดสดและไปจ่ายตลาดเกือบทุกวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อ แยกพฤติกรรมการเก็บอาหารของกลุ่มตัวอย่างตามระดับ รายได้ พบว่า กว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีราย ได้ปานกลาง-สูง และกลุ่มรายได้สูง มีการเก็บอาหาร ประเภทอาหารพร้อมรับประทานไว้ในบ้าน ส่วนอาหาร แช่แข็ง ประมาณร้อยละ 19 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีรายสูง ก็มีอาหารแช่แข็งเก็บไว้ในบ้าน ซึ่งในเมียนมาร์นั้นราคา อาหารแช่แข็งหรืออาหารพร้อมรับประทานยังอยู่ในระดับ สูงอยู่เมื่อเทียบกับราคาอาหารทั่วไปในท้องตลาด ทำ�ให้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้สูงที่จะซื้อมารับประทาน นอกจากนี้การซื้อสินค้าเหล่านี้จะต้องซื้อตามห้างสรรพ สินค้าชั้นนำ� รวมถึงกระบวนการในประกอบอาหารเหล่านี้ ก่อนที่จะรับประทานนั้นส่วนใหญ่จะต้องใช้ไมโครเวฟเป็น อุปกรณ์ช่วย ซึ่งชาวเมียนมาร์ไม่ได้มีไมโครเวฟอยู่ทุกบ้าน CLMV PULSE: Myanmar
15
*07 01 2014 BY EDDY MILFORT
*APRIL2003 137 BY MUCHFUNINC
*BANANA STAND IN DOWNTOWN YANGON BY WILLIAM
16
Khon Kaen University
สำ�หรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สำ�หรับ เนื้อสัตว์แช่เย็น-แช่แข็ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 60 แทบไม่เคยซื้อเลย เพราะเห็น ว่ า ยั ง ไม่ มี ค วามจำ � เป็ น ที่ จ ะต้ อ งไปซื้ อ เนื้ อ สั ต ว์ แช่แข็ง ในขณะที่ยังสามารถหาซื้อเนื้อสดได้ ตามตลาดทั่วไป ส่วนอีกร้อยละ 23 จะซื้อทุกๆ สัปดาห์ สำ�หรับสถานที่ซื้อเนื้อสัตว์แช่แข็ง ยัง นิยมซื้อจากตลาดสด และซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วน อาหารประเภทผักสด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ นิยมซื้อเกือบทุกวัน จากตลาดสดเป็นหลัก ทั้งนี้ เพราะราคาถูก และสะดวกกว่า สำ�หรับผลไม้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะซื้อทุกๆ สัปดาห์ จาก ตลาดสดเป็นหลัก สำ�หรับเครื่องปรุงต่างๆ น้ำ�ตาล น้ำ�ปลา น้ำ�มัน และซอสนั้น ส่วนใหญ่จะซื้อ 1-2 ครั้งต่อเดือนจากตลาดสดและร้านขายของชำ�เป็น หลัก แต่สำ�หรับกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้สูงจะซื้อ จากซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก เนื่องจากเป็นสถาน ที่ที่ตนเองไปจับจ่ายซื้อของอยู่เป็นประจำ�อยู่แล้ว รวมทั้งยังมีประเภทสินค้าให้เลือกเป็นจำ�นวนมาก ทั้งสินค้าที่นำ�เข้าจากต่างประเทศ และสินค้าที่ มีคุณภาพกว่าในตลาดทั่วไป ซึ่งก็จะทำ�ให้ราคา สูงตามไปด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกันกับอาหารแห้ง และอาหารกระป๋อง ที่ส่วนใหญ่ซื้อเดือนละ 1-2 ครั้ง แต่จะซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก ใน ส่วนของอาหารสำ�เร็จรูปพร้อมรับประทาน ส่วน ใหญ่แทบไม่ได้ซื้อมาบริโภคเลย มีประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างที่ซื้อมาบริโภคทุกเดือน และ อีกร้อยละ 21 ซื้อมาบริโภคทุกสัปดาห์ โดยซื้อ จากซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก สำ�หรับข้าวสาร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะซื้อเดือนละ 1-2 ครั้ง โดยซื้อจากตลาดสดเป็นหลัก และประมาณร้อย ละ 20 ซื้อจากร้านค้าส่ง
*VEGETABLE STAND AT THE SATURDAY MARKET, YANGON BY WILLIAM
ส่วนอาหารแบบพร้อมรับประทาน (Readyto-eat) ประเภทที่อุ่นและรับประทานได้ทันที ดั ง ที่ เ ห็ น และคุ้ น เคยกั น ดี ใ นร้ า นสะดวกซื้ อ ใน ประเทศไทย ยังไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มตัวอย่างชาว เมียนมาร์เท่าใดนัก โดยมีสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างกว่า ร้อยละ 90 ที่ไม่เคยหรือไม่ค่อยจะซื้อสินค้าเหล่านี้ เลย ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ซื้อหรือบริโภคสินค้า เหล่านี้ จะซื้อเป็นประจำ�ทุกเดือน มีสัดส่วนไม่ ถึงร้อยละ 10 และมักจะหาซื้อสินค้าเหล่านี้จาก ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามจากการขยายตัวของร้าน สะดวกซื้อในเมียนมาร์ในขณะนี้ ประกอบกับวิถี ชีวิตของชาวเมียนมาร์ที่เปลี่ยนแปลงไป กำ�ลังซื้อ ที่เพิ่มมากขึ้น การเปิดรับวัฒนธรรมการกินแบบ ใหม่ ๆ มากขึ้น ทำ�ให้ชาวเมียนมาร์เริ่มทำ�ความ รู้จักและทำ�ความคุ้นเคยกับอาหารแบบพร้อมรับ ประทานมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความสะดวกที่ได้ รับ รวมไปถึงรสชาติที่แปลกใหม่แต่ยังคงทำ�ให้ ถู ก ปากชาวเมี ย นมาร์ อ ยู่ จึ ง คาดว่ า ในอนาคต อาหารพร้ อ มรั บ ประทานในเมี ย นมาร์ น ่ า จะ ขยายตั ว เพิ ่ ม ขึ ้ น เรื ่ อ ย ๆ อย่างต่อเนื่อง
CLMV PULSE: Myanmar
17
*ซุปเปอร์มาร์เก็ตสมัยใหม่กลางย่านชุมชน ในนครย่างกุ้ง
อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตของชาวเมียนมาร์ยังชอบเดิน ตลาดสดอยู่ ไปตลาดทุกวัน ซึ่งตลาดสดจะกระจายอยู่ ทั่วไปเป็นจำ�นวนมาก ทำ�ให้ชาวเมียนมาร์ชอบทำ�กับข้าว ทานเองที่บ้านตามไปด้วย เพราะจะรู้สึกว่ามีราคาถูก กว่าการออกไปรับประทานนอกบ้าน แต่ในปัจจุบันเห็น ได้ชัดเจนว่าคนเมืองอย่างกรุงย่างกุ้งส่วนใหญ่เริ่มมีวิถี ชีวิตที่เข้าสู่ความโมเดิร์นและทันสมัยมากขึ้น มีการใช้ แบบคนเมืองในประเทศอื่น ๆ เปิดรับความทันสมัยเข้า มาในชีวิต ทำ�ให้วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมที่ชอบเดิน ตลาดสดเริ่มก็เริ่มหันมาเดินตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้าง สรรพสินค้าที่เริ่มเปิดให้บริการมากขึ้นในขณะนี้ โดย ส่วนใหญ่เห็นว่าการเดินซื้อของในห้างสรรพสินค้านั้น สะดวกสบาย ไม่ร้อน สะอาด และยังมีสินค้านำ�เข้าจาก ต่างประเทศให้เลือกด้วย ทั้งจากเกาหลี จีน และไทย ซึ่ง เป็นที่นิยมของชาวเมียนมาร์ เมื่ อ สอบถามกลุ่ ม ตั ว อย่ า งถึ ง ขนาดและปริ ม าณ ในการซื้ออาหารในแต่ละครั้ง พบว่าร้อยละ 54 จะซื้อ มาสำ�หรับบริโภคระยะสั้น หรือซื้อหีบห่อขนาดกลาง จำ�นวน 3-5 ชิ้น อีกร้อยละ 41 จะซื้อเพื่อบริโภคเป็น ครั้งๆ ไม่ได้ซื้อเผื่อบริโภคในคราวอื่นๆ เนื่องจากรายได้ ของคนส่วนใหญ่ในเมียนมาร์ยังไม่สูงมากนัก จึงซื้อคราว ละเท่าที่จำ�เป็นต้องใช้เท่านั้น มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่ ซื้อคราวละมากๆ หรือซื้อยกหีบ-ยกโหล อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามระดับรายได้พบว่า กว่าร้อยละ 11 ของ กลุ่มที่มีรายได้สูง จะมีพฤติกรรมการซื้อคราวละมากๆ เนื่องจากกลุ่มนี้มักใช้ชีวิตแบบคนเมือง คือมีความเร่งรีบ และต้องการความสะดวกสบาย รวมทั้งยังมีกำ�ลังซื้อมาก พอที่จะใช้จ่ายสำ�หรับการซื้อของคราวละมาก ๆ 18
Khon Kaen University
*แผงขายสินค้า/ตลาดนัดในกรุงย่างกุ้ง
กลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาวเมี ย นมาร์ ไ ม่ ค่ อ ยนิ ย มอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อวัว ซึ่งมีผู้ไม่รับประทาน ถึงร้อยละ 56 เช่นเดียวกับเนื้อหมูที่มีผู้ไม่รับประทานถึง ร้อยละ 45 ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเพราะสังคมเมียนมาร์ เป็น สังคมที่เคร่งครัดในพุทธศาสนาจึงส่งผลต่อการบริโภค เนื้อสัตว์ไปด้วย นอกจากนี้จากการวิจัยเชิงคุณภาพยัง พบว่า มีผู้งดรับประทานเนื้อสัตว์เพื่อเหตุผลทั้งทางด้าน ความเชื่อและเหตุผลทางสุขภาพ โดยมีผู้บริโภคชาว เมียนมาร์จำ�นวนหนึ่ง ที่จะงดรับประทานเนื้อสัตว์ใน วันที่ตรงกับวันเกิดของตนเองของแต่ละสัปดาห์ ส่วน เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์นิยมรับ ประทานหรือรับประทานได้ ได้แก่ เนื้อของสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด และสัตว์น้ำ� เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก เป็นต้น ส่วนอาหารประเภทอื่น ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างชาว เมียนมาร์ไม่รับประทาน ได้แก่ สัตว์จำ�พวกหอย ซึ่งมี ผู้ไม่รับประทานค่อนข้างมาก คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อย ละ 50 รองลงมา คือ เนื้อไก่ ปลาหมึก และปู คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 12 ร้อยละ 10 และร้อยละ 9 ตามลำ�ดับ โดยชาวเมียนมาร์ไม่ทานเนื้อวัวเนื่องจากความเชื่อทาง ศาสนา และ นอกจากนี้ในการรับประทานอาหารแทบ ทุ ก มื้ อ ของชาวเมี ย นมาร์ ยั ง มั ก จะประกอบไปด้ ว ยผั ก และผลไม้ด้วย
อาหารที่ชาวเมียนมาร์ รับประทาน& ไม่รับประทาน
ส่วนของรสชาติอาหารนั้น กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ส่วนใหญ่จะชื่นชอบอาหารเปรี้ยว และรสเผ็ด โดย พบว่า มีประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างที่ชอบรสเผ็ดมากที่สุด และเปรี้ยวมากที่สุด (ระดับ 10 ใน 10) โดยเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี สำ�หรับรสหวาน มีประมาณร้อยละ 17 ที่ชอบทานรสหวานจัด โดยรสขมและรสเค็ม มี กลุ่มตัวอย่างที่ชอบน้อยที่สุด โดยพื้นฐานแล้วคนเมียนมาร์ถือว่ากินง่ายอยู่ง่าย ซึ่งสามารถรับประทานข้าวสวย ราดด้วยน้ำ�มัน แล้วนำ�ผงชูรส มาคลุกก็สามารถรับประทานได้ โดยอาหารหลักของชาวเมียนมาร์ คือ ข้าว ซึ่งในแต่ละมื้อจะทานข้าวเป็นจำ�นวน มาก และนิยมอาหารที่มีรสชาติออกเค็ม ๆ และมัน ๆ ส่วนรสชาติโดยรวมนั้นอาหารเมียนมาร์ถือได้ว่ามีรสชาติใกล้ เคียงกับอาหารไทย แต่จะมีความมันและความเค็มมากกว่าและอาจจะไม่จัดจ้านเท่ากับอาหารไทย และด้วยความที่ เป็นประเทศที่อยู่ติดกันทำ�ให้ประชากรทั้ง 2 ประเทศก็มีความคุ้นเคยในรสชาติอาหารของแต่ละประเทศอยู่บ้าง ซึ่ง อาหารประจำ�ชาติของเมียนมาร์ที่ขึ้นชื่อที่ทุกคนในเมียนมาร์รู้จักเป็นอย่างดีคือ โมฮิงกา หรือขนมจีนพม่า ซึ่งเป็นเมนู ที่ชาวเมียนมาร์นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า สามารถหารับประทานได้ทั่วไป มีทั้งแบบแห้งและแบบน้ำ� โดยจะใช้ เส้นหมี่พม่า ส่วนน้ำ�ยาจะมีส่วนผสมของแป้งมัน เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ หรือเนื้อปลา ปรุงด้วยกะปิ หัวหอม ตะไคร้ ขิง กระเทียม โดยเวลารับประทานจะราดน้ำ�ยาจนท่วมเส้นแบบก๋วยเตี๋ยว รับประทานกับไข่ต้ม และมีเครื่องเคียงอื่น ๆ เช่น ถั่วแผ่นชุบแป้งทอด ลูกชิ้นปลาแผ่นทอดกรอบ เป็นต้น จากนั้นเมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อ/ตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ พบว่า ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญมากที่สุด คือ สินค้าที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นสินค้าออร์แกนิค ส่วนปัจจัยที่กลุ่ม ตัวอย่างให้ความสำ�คัญรองลงมา คือ สินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ และสินค้าที่มีราคาน่าสนใจ
CLMV PULSE: Myanmar
19
ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ ไม่ค่อยให้ความสำ�คัญมากนักหรือไม่ได้นำ�มา พิจารณาในการตัดสินใจซื้อสินค้าอันดับแรก คือ ของแถมต่างๆ รองลงมาคือการโฆษณา ของสินค้าตามที่ต่าง ๆ เช่น ป้ายบิลบอร์ด โทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ เป็นต้น และ สินค้าที่มีส่วนลดเงินสดหรือราคา จากการสำ�รวจพฤติกรรมชาวเมียนมาร์ นั้นถือได้ว่าชาวเมียนมาร์มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำ�งานหาเงินเลี้ยงตัว ไม่ชอบฟุ่มเฟือย ชอบ ใช้ สิ น ค้ า ที่ มี ก ารบอกต่ อ จากคนรอบข้ า งว่ า สินค้านัน้ ดี ดังนั้นการแจกตัวอย่างสินค้าให้ ทดลองใช้จึงเป็นวิธีการที่จะสามารถเข้าถึง คนเมียนมาร์ได้เป็นอย่างดี
ตลาดโบโจ๊กมาร์เก็ต (BOGYOKE MARKET) ตลาดที่ ใหญ่ที่สุดในเมียนมาร์แหล่งขายของฝากและของที่ระลึก
ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อ
สินค้าของผู้บริโภค
20
Khon Kaen University
พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน สำ�หรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารมื้อต่างๆ ของชาวเมียนมาร์ นั้น ผลสำ�รวจพบว่า สำ�หรับอาหารมื้อเช้า กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่า ร้อยละ 74 รับประทานมื้อเช้าที่บ้าน มีเพียงร้อยละ 15 ที่รับประทาน อาหารเช้านอกบ้าน โดยกลุ่มตัวอย่าง ดื่มชา-กาแฟ ในมื้อเช้ากว่าร้อยละ 75 ของกลุ่มตัวอย่าง และทานข้าว-อาหารจานเดียว ในมื้อเช้า ร้อยละ 39 ของกลุ่มตัวอย่าง
*FOOD VENDOR BY JASON EPPINK
สำ�หรับมื้อกลางวันก็เช่นกัน ร้อยละ 58 ของกลุ่มตัวอย่าง รับประทาน อาหารกลางวันที่บ้าน อีกร้อยละ 27 ห่ออาหารจากบ้านไปทานที่ทำ�งาน โดยชาวเมียนมาร์แต่ละคนจะมีตะกร้าสำ�หรับห่ออาหารส่วนตัวถือติดมือ ออกนอกบ้านในแต่ละวันด้วย และมีเพียงร้อยละ13 ที่รับประทานนอก บ้านในมื้อกลางวัน สำ�หรับมื้อเย็น กว่าร้อยละ 91 ของกลุ่มตัวอย่าง รับ ประทานอาหารเย็นที่บ้าน มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ออกไปรับประทาน นอกบ้าน ผลสำ�รวจสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ ที่ระบุว่า ในนคร ย่างกุ้ง ค่าครองชีพโดยเฉพาะค่าอาหารถือว่าค่อนข้างสูง อาหารที่จำ�หน่าย ในร้านอาหารนอกบ้ามีราคาค่อนข้างแพง และใส่สารปรุงแต่ง เช่น ผงชูรส มาก ชาวเมียนมาร์จึงนิยมรับประทานอาหารที่บ้าน ด้วยเหตุผลทั้งด้าน ค่าใช้จ่ายและด้านสุขภาพ
*BURMESESTREETPIKELETSBYALEXSCHWAB
*BURMESE PIZZA BY JASON EPPINK CLMV PULSE: Myanmar
21
เมื่อสอบถามถึงความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้าน ร้อยละ 36 ของกลุ่มตัวอย่าง รับประทานอาหาร นอกบ้าน 1-2 ครั้งต่อเดือน อีกร้อยละ 25 รับประทานอาหาร 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17 ที่รับประทานอาหารนอกบ้านทุกวัน/เกือบทุกวัน และร้อยละ 14 นานกว่า 1 เดือนจึงจะได้รับประทานอาหารนอก บ้านสักครั้ง ส่วนอีกร้อยละ 8 ไม่เคย/แทบไม่เคยรับประทานอาหารนอกบ้านเลย โดยส่วนใหญ่มักออกไปทานกับ ครอบครัว และเพื่อน
/
-
/
/
*อาหารเมียนมาร์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ขายอาหาร
สำ�หรับประเภทอาหารที่ชาวเมียนมาร์นิยมออกไปรับประทานนอกบ้าน ได้แก่อาหารท้องถิ่นเมียนมาร์ โดย กว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างรับประทานอาหารเมียนมาร์ทุกวัน ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคืออาหารจีน/ติ่มซำ� ที่ ส่วนใหญ่จะรับประทานเดือนละ 1-2 ครั้ง และอาหารไทย ที่มักออกไปรับประทานนอกบ้านเดือนละ 1-2 ครั้งเช่น กัน ยังมีอาหารประเภทอื่นที่ชาวเมียนมาร์นิยม เช่น อาหารฟาสท์ฟู้ด ที่ประมาณร้อยละ 35 ทานอาหารฟาสท์ฟู้ด ตั้งแต่สัปดาห์ละครั้ง - เดือนละครั้ง อาหารประเภทปิ้ง-ย่าง บาร์บีคิว หรือหมูกระทะ ก็ได้รับความนิยมพอสมควร โดยเกือบร้อยละ 34 ออกไปรับประทานอาหารอาหารประเภทนี้นอกบ้านอย่างน้อยเดือนละครั้ง นอกจากนี้จากการ สำ�รวจยังพบว่า อาหารเกาหลี ญี่ปุ่น และอาหารตะวันตก (ฝรั่งเศส-อิตาเลียน) ได้รับความนิยมค่อนข้างน้อย โดย มากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มตัวอย่าง ไม่ทาน/แทบไม่เคยทาน อาหารเหล่านี้นอกบ้านเลย มากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ ไม่เคยรับประทานอาหาร Fast food หรืออาหารจานด่วนเลย คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 52 ส่วนผู้ที่เคยรับประทานอาหารจานด่วน จะรับประทานไม่เกินเดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ เดือนละครั้งหรือสัปดาห์ละครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 เท่าๆ กัน และมีกลุ่มตัวอย่างที่บริโภคอาหารจานด่วนทุก วันกว่าร้อยละ 7 เช่นเดียวกันกับอาหารทะเล แม้เมียนมาร์จะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอาหารทะเลค่อนข้างมาก แต่ กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กลับไม่นิยมอาหารทะเลเท่าใดนัก โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 70 ไม่ เคยหรือไม่ค่อยที่จะรับประทานอาหารทะเล ผู้ที่รับประทานอาหารทะเลเป็นประจำ�ทุกสัปดาห์ มีเพียงประมาณร้อย ละ 12 และผู้ที่รับประทานอาหารทะเลเป็นประจำ�ทุกเดือนมีประมาณร้อยละ 14 สำ�หรับผู้ที่รับประทานอาหารทะเล มากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 23-29 ปี 22
Khon Kaen University
สำ�หรับอาหารประเภทชาบู สุกี้ยากี้ และบาร์บีคิวนั้น กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ประมาณร้อยละ 70 ไม่เคย หรือไม่ค่อยได้รับประทาน มีเพียงประมาณร้อยละ 20 ที่รับประทานประมาณนานๆ ครั้ง (นานกว่าเดือนละ 1 ครั้ง) และร้อยละ 10 ที่รับประทานอาหารประเภทนี้เดือนละครั้ง อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์อีกกลุ่มหนึ่ง กว่าร้อยละ 35 กลับไม่เคยหรือไม่ค่อยได้รับประทานอาหารประเภทนี้เลย ส่วนผู้ที่นิยมทานอาหารประเภทนี้มาก ที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และอายุระหว่าง 18 – 22 ปี โดยกว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ที่มีรายได้ระดับ สูง นิยมรับประทานในร้านอาหาร สำ�หรับสถานที่ ที่ชาวเมียนมาร์ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ส่วนใหญ่จะออกไปทานอาหารตามร้าน อาหารทั่วๆ ไป มีบ้างที่ไปรับประทานตามศูนย์การค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารฟาสท์ฟู้ด และอาหารเกาหลี สำ�หรับ อาหารญี่ปุ่น แม้ว่าในนครย่างกุ้งจะมีร้านอาหารญี่ปุ่น เช่น ร้านฟูจิ เปิดให้บริการ แต่จากการสำ�รวจพบว่าลูกค้าส่วน ใหญ่มักเป็นชาวต่างชาติในนครย่างกุ้งมากกว่าชาวเมียนมาร์เอง
*อาหารเมียนมาร์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ขายอาหาร
*ชาวเมียนมาร์กับการรับประทานอาหารนอกบ้าน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัตราการบริโภคอาหารฟาสท์ ฟู้ดจะยังไม่สูงมากนัก แต่จะเห็นได้ว่าร้านอาหารฟาสท์ ฟู้ด และร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าในเมียนมาร์ก็ได้ เพิ่มจำ�นวนมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จากการเข้าไป ของต่างชาติมากขึ้น และการรับสื่อของกลุ่มวัยรุ่น และ กลุ่มคนรุ่นใหม่ ทำ�ให้ตลาดอาหารฟาสท์ฟู้ดน่าจะขยาย ตัวไปได้ด้วยดีต่อไปในเมียนมาร์ โดยเฉพาะในเมือง ย่างกุ้งที่เป็นเมืองใจกลางของเมียนมาร์
CLMV PULSE: Myanmar
23
ส่ ว นการหาข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ร้ า นอาหาร มากกว่าครึ่งหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อย ละ 55 ของกลุ่มตัวอย่างเลือกร้านอาหารตาม คำ�แนะนำ�ของเพื่อน หรือคนรู้จัก รองลงมาจึง ดูจากสื่อ เช่น หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ คิด เป็นสัดส่วน ร้อยละ 13 และร้อยละ 11 ส่วน การศึกษาข้อมูลโดยใช้ Social Network มี เพียงประมาณร้อยละ 10 ปัจจัยที่สำ�คัญที่ ทำ�ให้กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้บริการร้านอาหาร แต่ละร้าน ได้แก่ อันดับที่ 1 รสชาติ อันดับที่ 2 ความสะอาด และสิ่งที่มีความสำ�คัญอันดับ ที่ 3 คือ ราคา โดยกลุ่มตัวอย่างเกือบทุกคน ระบุว่า รสชาติ เป็นเหตุผลที่สำ�คัญที่สุดในการ เลือกร้านอาหาร รองลงมาคือปัจจัยด้านความ สะอาด ที่กว่าร้อยละ 78 ของกลุ่มตัวอย่างให้ ความสำ�คัญกับปัจจัยด้านนี้ และ ด้านราคา ที่กว่าร้อยละ 46 ของกลุ่มตัวอย่างให้ความ สำ�คัญกับปัจจัยข้อนี้
UE STREET YANGON MYANMAR BYSHANNON HOLMAN 24
Khon Kaen University
/
/
สำ�หรับการบริการส่งอาหาร (Delivery Service) ในเมียนมาร์ พบว่ามีเพียงร้อยละ 38 ของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ที่เคยสั่งอาหารมารับประทานที่บ้าน โดยผู้ที่สั่งเป็นประจำ�มีเพียงร้อยละ 4 ส่วนการสั่งอาหารมารับประทานที่ทำ�งาน พบว่ามีเพียงร้อยละ 29 เท่านั้นที่เคยใช้บริการ โดยมีผู้ที่สั่งเป็นประจำ�มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น จากผลการวิจัยทำ�ให้ เห็นว่าชาวเมียนมาร์ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับการใช้บริการส่งอาหารเท่าใดนัก รวมทั้งการสั่งอาหารจากนอกบ้านมารับ ประทาน มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าประกอบอาหารรับประทานเอง จึงยังมีผู้บริโภคจำ�นวนมากที่เลือกทำ�อาหารรับประทาน เองที่บ้าน และห่ออาหารไปรับประทานในที่ทำ�งาน ทั้งนี้ในส่วนของพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านนั้นมีความสอดคล้องกับกำ�ลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นของ ชาวเมียนมาร์ โดยประชากรคนรุ่นใหม่และคนที่อยู่ในเมืองหลักต่าง ๆ กำ�ลังปรับตัวเข้าสู่สังคมเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ บริโภคที่มีกำ�ลังซื้อสูง และส่วนที่เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งกระจายอยู่ในรัฐต่างๆ ในเมียนมาร์ยังมีกำ�ลังซื้อค่อนข้างต่ำ� แต่ ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยในเมืองหลักต่าง ๆ ของเมียนมาร์นั้นถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เป็นศูนย์กลาง การค้า หน่วยงานราชการ ย่านธุรกิจต่าง ๆ และแหล่งท่องเที่ยว การขยายตัวของชุมชนเมืองทำ�ให้ผู้บริโภคมีวิถีชีวิต เร่งรีบมากขึ้น ผู้บริโภคหันมานิยมอาหารสำ�เร็จรูปและอาหารพร้อมรับประทาน ทดแทนการซื้ออาหารสดมาปรุงที่ บ้าน และชาวเมียนมาร์ใช้เงินส่วนใหญ่ไปกับการซื้อสินค้าอาหาร
*COLOURFUL STREETSCAPE BY MCKAY SAVAGE
*DOWNTOWN YANGON BY YOSOMONO
*OLDBAGANINSUNRISE-VIMEO.COM81352190BYNHIDANG CLMV PULSE: Myanmar
25
แนวโน้มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ สำ�หรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ/อาหารปลอดสารพิษนั้น ผลวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ชาวเมียนมาร์มากกว่าร้อยละ 40 เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ/อาหารปลอดสารพิษทุกวัน/เกือบ ทุกวัน รองลงมาเกือบร้อยละ 20 รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพทุกๆ สัปดาห์ โดยพบว่าสัดส่วนของผู้ที่ บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเป็นประจำ�จะเพิ่มมากขึ้นตามช่วงอายุที่มากขึ้น สำ�หรับกลุ่มที่ไม่เลือกบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 66 ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะหามาบริโภคยาก และร้อยละ 22 ไม่ เลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพเนื่องจากมีราคาแพง อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าคนรุ่นใหม่ชาวเมียนมาร์ ที่ได้รับการศึกษาที่ดีและ มีรายได้สูง ค่อนข้างสนใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสัดส่วนผู้ที่มีรายได้สูงเกิน 35,000 บาทขึ้นไป รับ ประทานอาหารเพื่อสุขภาพกว่าร้อยละ 50 โดยส่วนใหญ่สินค้าอาหารเพื่อสุขภาพที่นำ�เข้าจากต่างประเทศ จะถูกวางจำ�หน่ายอยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตระดับบน เช่น Market Place by City Mart ซึ่งเป็นแหล่งจับจ่าย ซื้อสินค้าสำ�หรับชาวต่างชาติและกลุ่มชาวเมียนมาร์ที่มีรายได้สูง ส่วนอาหารที่นำ�เข้าจากประเทศไทยจะได้ รับความเชื่อถือในแง่ของความปลอดภัย ทั้งยังมีรสชาติดี กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ที่มีกำ�ลังซื้อ จึงนิยมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศไทย
/
แม้ผู้บริโภคชาวเมียนมาร์จะเริ่มเลือกรับประทานอาหารโดยคำ�นึงถึงสุขภาพ แต่ผลวิจัยก็พบว่า อาหารประเภทของหวาน อาหารจานด่วนต่างๆ อาหารพร้อมรับประทาน และอาหารปิ้งย่าง ยังเป็น อาหารที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์จำ�นวนไม่น้อยบริโภคเป็นประจำ� โดยมีสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างผู้ที่รับ ประทานเกือบร้อยละ 50 ร้อยละ 44 ร้อยละ 42 และร้อยละ 35 ตามลำ�ดับ ที่น่าสนใจคือการรับประทาน อาหารประเภทหมักดอง ที่กว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างไม่รับประทานเลย และอีกประมาณร้อยละ 40 พยายามจะหลีกเลี่ยง สำ�หรับอาหารทอด/อาหารมัน มากกว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างพยายามที่จะหลีกเลี่ยง ในขณะ ร้อยละ 13 ของกลุ่มตัวอย่าง สามารถบริโภคอาหารชนิดนี้ได้อย่างปกติ อาหารที่ใส่ผงชูรส มีผู้หลีกเลี่ยง และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับประทานเกือบร้อยละ 80 มีผู้ที่สามารถรับประทานได้เพียงร้อยละ 23 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่อายุมากขึ้น จะพยายามไม่บริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้นด้วย แต่ อย่างไรก็ตามโดยพื้นฐานของอาหารเมียนมาร์นั้นมีทั้งความเค็มและความมัน จึงอาจจะเป็นการยากที่การ รับประทานอาหารเมียนมาร์นั้นจะดีต่อสุขภาพ 26
Khon Kaen University
การรับประทานอาหารเพื่อ สุขภาพของชาวเมียนมาร์
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
CLMV PULSE: Myanmar
27
สำ�หรับเหตุผลในการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่รับประทานเพื่อให้ดู แข็งแรงมีสุขภาพดี และเพื่อป้องกันตนเอง จากการเจ็บป่วย สำ�หรับอาหารเพื่อสุขภาพที่ เลือกซื้อมารับประทาน 3 อันดับแรก (Top 3 Box) ได้แก่ อาหารและผักปลอดสารพิษ ขนม ปังโฮลวีท วิตามินหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่างๆ และเมื่อถามถึงความยินดีที่จะจ่ายเพื่อ ซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่ประมาณร้อย ละ 40 ไม่ต้องการจะจ่ายเพิ่มจากราคาอาหาร ปกติ อีกประมาณร้อยละ 28 ยินดีที่จะจ่าย เพิ่มประมาณ 5% จากราคาอาหารปกติ จากข้อมูลข้างต้น เราจะพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างชาวเมียนมาร์ส่วนใหญ่จะใส่ใจกับการ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและหลีกเลี่ยง การรับประทานอาหารที่บั่นทอนสุขภาพกัน เป็นอย่างดี โดยวัตถุประสงค์สำ�คัญในการรับ ประทานอาหารเพื่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง ชาวเมียนมาร์ส่วนใหญ่ หรือเกือบร้อยละ 65 คือ เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพที่แข็งแรง และอีก เกือบร้อยละ 30 เพื่อดูแลและป้องกันตนเอง จากการเจ็บป่วย และจากการศึกษาในกลุ่ม ตัวอย่างชาวเมียนมาร์ พบว่ากลุ่มตัวอย่าง เพศชายจะให้ความสำ�คัญกับการรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพมากกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศ หญิง เนื่องจากมีจำ�นวนกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ไม่ รั บ ประทานอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพมากกว่ า ประมาณร้อยละ 65 ต่อ 35 นอกจากนี้เมื่อ เปรียบเทียบกันแล้ว ยังพบว่าโดยส่วนใหญ่ แล้วกลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิงยังมีเหตุผล ในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แตก ต่างกันอีกด้วย โดยเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างเพศ ชายรั บ ประทานอาหารสุ ข ภาพเพราะด้ ว ย เหตุผลว่า อาหารเพื่อสุขภาพนั้นมีรสชาติ ที่ดีกว่าอาหารทั่วๆ ไป รองลงมา คือ กลุ่ม ตั ว อย่ า งสนใจอยากลองอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพ และรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อให้มีรูป ร่างที่ดี ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพ ด้วยเหตุผลเพราะอาหาร เพื่อสุขภาพกำ�ลังเป็นที่นิยมมากที่สุด รองลง มา คือ เพื่อให้ตนมีสุขภาพแข็งแรงและเพื่อ ป้องกันการเจ็บป่วย ตามลำ�ดับ 28
Khon Kaen University
*VEGETABLESFORSALEINMARKET-RANGOONMYANMAR(BURMA)BYKATHY
โดยอาหารเพื่อสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์โดยส่วนใหญ่รับประทาน คือ อาหารออร์แกนิค และผักผล ไม้ต่างๆ ซึ่งหาได้ง่ายโดยทั่วไปในเมียนมาร์ โดยคิดเป็นสัดส่วนจำ�นวนกลุ่มตัวอย่างที่ชอบรับประทานอาหารประเภท นี้มากถึงประมาณร้อยละ 56 รองลงมาคือ ขนมปังโฮลวีท โฮลเกรน และอาหารเสริมหรือวิตามิน คิดเป็นสัดส่วนผู้ที่ ชอบรับประทานอาหารประเภทนี้ร้อยละ 54 และร้อยละ 47 ตามลำ�ดับ ส่วนการดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพใน กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ ถือว่ายังมีในสัดส่วนที่น้อย คิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มเครื่องดื่มเพื่อ บำ�รุงหรือดูแลสุขภาพ และการรับประทานข้าวกล้องข้าวซ้อมมือ ก็มีสัดส่วนผู้รับประทานเพียงเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 40 ไม่อยากจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้รับประทานอาหารออร์แกนิคหรือ อาหารเพื่อสุขภาพ โดยต้องการให้ราคาอาหารเพื่อสุขภาพนั้นมีราคาเท่าๆ กันกับราคาอาหารทั่วๆ ไป อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์อีกกว่าร้อยละ 60 ยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 25 จะยินดีที่จะจ่ายเพิ่มจากราคาอาหารทั่วไป 5% และอีกประมาณร้อยละ 18 ยินดีจะจ่ายเพิ่มจากราคาอาหารทั่วไปร้ 10 %
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พบว่า กว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเพศชายดื่มมากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเพศชายที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประมาณร้อยละ 55 ส่วนเพศหญิงที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น เมื่อพิจารณาตามอายุของกลุ่ม ตัวอย่างพบว่า กลุ่มที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนผู้ไม่ดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ มีระดับรายได้สูงขึ้น ก็จะมีสัดส่วนผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้นด้วย
เมื่อถามเหตุผลที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะผิดหลักคำ�สอนของศาสนา ไม่ ชอบรสชาติ และไม่ดีต่อสุขภาพ สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่พบว่า ผู้บริโภคชาวเมียนมาร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พุทธศาสนิกชน และมีความเคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามคำ�สอนของศาสนาพุทธมาก CLMV PULSE: Myanmar
29
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มประเภทต่างๆ เครื่องดื่มที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ดื่มทุกวัน/เกือบทุกวัน คือ กาแฟสำ�เร็จรูป โดยกว่าร้อยละ 43 ของกลุ่ม ตัวอย่างดื่มกาแฟสำ�เร็จรูปทุกวัน/เกือบทุกวัน เช่นเดียวกับกาแฟสด (ร้อยละ 27) นมสด (ร้อยละ 25) และชา (ร้อย ละ 28) อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตจะพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์มากกว่า 1 ใน 3 ไม่เคยดื่มกาแฟเลย ส่วน เครื่องดื่มที่กลุ่มตัวอย่างดื่มสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ได้แก่ น้ำ�อัดลม (ร้อยละ 28) น้ำ�หวานรสต่างๆ (ร้อยละ 23) น้ำ�ผัก และผลไม้ (ร้อยละ 25) เครื่องดื่มบำ�รุงกำ�ลัง (ร้อยละ 18) และนมถั่วเหลือง (ร้อยละ 16) ส่วนเครื่องดื่มที่ดื่มเดือนละ 1-2 ครั้ง ได้แก่ น้ำ�สมุนไพร (ร้อยละ 12) เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริ๊งค์ (ร้อยละ 8) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ คือ เบียร์ ซึ่งเบียร์ท้องถิ่นของเมียนมาร์ ได้รับความนิยมมากกว่าเบียร์นำ�เข้า บรั่นดี/วิสกี้ และไวน์ แหล่งซื้อเครื่องดื่ม สำ�หรับนม ชา และกาแฟสด ส่วนใหญ่นิยมซื้อจากร้านกาแฟ/ร้านนม/ร้านน้ำ�ชา ส่วนชา และกาแฟสำ�เร็จรูป นมถั่วเหลือง น้ำ�หวาน น้ำ�อัดลม เครื่องดื่มบำ�รุงกำ�ลัง น้ำ�สมุนไพร และฟังก์ชันนอลดริ๊งก์ ส่วน ใหญ่นิยมซื้อจากร้านสะดวกซื้อต่างๆ สำ�หรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ซื้อจากภัตตาคารและร้านสะดวกซื้อเป็น หลัก ยกเว้นเหล้าขาวที่นิยมซื้อจากร้านขายของชำ� ที่น่าสนใจคือ เครื่องดื่มประเภทกาแฟสด น้ำ�ผัก น้ำ�ผลไม้ และน้ำ� สมุนไพร มากกว่า 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่าง ทำ�เครื่องดื่มเหล่านี้เพื่อดื่มเองที่บ้าน
พฤติกรรมการดื่มชา-กาแฟ และขนมหวาน สำ�หรับกาแฟ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ดื่มวันละครั้งถึงมากกว่าวันละครั้ง มีกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ดื่มเพียงร้อยละ 17 ส่วน ใหญ่ซื้อกาแฟจากร้านกาแฟ และร้านสะดวกซื้อ โดยประมาณร้อยละ 20 ของผู้ที่ดื่มกาแฟ นิยมไปดื่มที่ร้านกาแฟ สำ�หรับการดื่มชา ส่วนใหญ่ดื่มวันละครั้งถึงมากกว่าวันละครั้ง โดยมีกลุ่มตัวอย่างไม่ดื่มร้อยละ 32 ส่วนใหญ่ซื้อจาก ร้านกาแฟ/ร้านน้ำ�ชา โดยกว่าร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างที่ทานชานิยมไปทานที่ร้านน้ำ�ชา/ร้านกาแฟ โดยส่วนใหญ่แล้วชาวเมียนมาร์จะนิยมดื่มชามากกว่ากาแฟ ซึ่งจะนิยมออกมาดื่มน้ำ�ชา กาแฟตามร้านยามเช้า ด้วย ร้านชา กาแฟ จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในเมียนมาร์ ทั้งร้านขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับลูกค้าได้มากกว่าและ ร้านเล็ก ๆ ที่ตั้งบริเวณฟุตบาทริมทาง โดยมีโต๊ะและเก้าอี้เตี้ย ๆ คล้ายชุดโต๊ะเก้าอี้ของเด็กให้ลูกค้านั่ง แต่เราได้เห็น ว่าร้านค้าเหล่านี้กลายเป็นที่นั่งสังสรรค์หรือพูดคุยธุรกิจเป็นวงย่อย ๆ และในความเป็นจริงแล้วชาวเมียนมาร์ไม่ได้ ดื่มน้ำ�ชาเฉพาะตอนเช้าเท่านั้น แต่จะดื่มกันตลอดทั้งวัน ไม่จำ�กัดเวลา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดมาจากอังกฤษ ที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมมาก่อนหน้านี้นั่นเอง สำ�หรับขนม มีกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ที่ไม่รับประทานขนมเพียงร้อยละ 13.6 ซึ่งหมายถึงมีกลุ่มตัวอย่างชาว เมียนมาร์ที่ชอบทานขนมถึงกว่าร้อยละ 85 และส่วนใหญ่รับประทานวันละครั้ง/มากกว่าวันละครั้ง และนิยมซื้อจาก ร้านสะดวกซื้อ และซื้อมารับประทานที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันแนวโน้มวัฒนธรรมร้านกาแฟ (Cafe-Culture) เริ่มเป็นที่แพร่หลายในนครย่างกุ้ง ร้านชา-กาแฟแบบสมัยใหม่ เริ่มเปิดให้บริการทั่วไป โดยกลุ่มวัยรุ่น-คนรุ่นใหม่ จะ นิยมไปนั่งตามร้านกาแฟ ร้านน้ำ�ชา หรือร้านขนมหวานในศูนย์การค้าเพื่อดื่มเครื่องดื่ม พบปะพูดคุยและใช้บริการ อินเตอร์เน็ตไวไฟฟรีที่ทางร้านจัดไว้บริการ ซึ่งเริ่มมีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้นในขณะนี้
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร ค่าใช้จ่ายส่วนตัวสำ�หรับอาหารของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ พบว่าส่วนใหญ่ (ประมาณ 1 ใน 3) อยู่ที่ ประมาณ 34-66 ดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 1,000-2,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นประมาณ 22 บาทต่อมื้อ อีกประมาณร้อยละ 22 อยู่ที่ประมาณ 67-133 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,000-4,000 บาท คิดเป็นประมาณ 44 บาทต่อมื้อ สำ�หรับค่าใช้จ่ายสำ�หรับอาหารของทั้งครัวเรือน ประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่าง มีค่าใช้จ่ายด้าน อาหารอยู่ที่ประมาณ 134-200 ดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือนหรือประมาณ 4,000-6,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นประมาณ 67 บาทต่อมื้อ และอีก 1 ใน 4 มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 333 ดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือน หรือมากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นประมาณ 115 บาทต่อมื้อขึ้นไป 30
Khon Kaen University
*P2210170 BY BRIAN HOLSCLAW
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มประเภทต่างๆ จำ�แนกตามความถี่
CLMV PULSE: Myanmar
31
การแพทย์ และการดูแลรักษาสุขภาพ ผลจากการสำ�รวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ เพศชายจะให้ความสำ�คัญในการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลตนเอง น้อยกว่าเพศหญิง โดยกลุ่มตัวอย่างเพศชายกว่าร้อยละ 68 ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์บำ�รุงผิวพรรณใดๆ เป็นพิเศษ ไม่ว่า จะเป็นโลชั่นหรือครีมบำ�รุงผิว และกว่าร้อยละ 75 ร้อย ละ 99 ไม่แต่งหน้า ไม่ทำ�เลเซอร์ ไม่ทำ�โบท็อกซ์ และ ไม่ไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อดูแลผิวพรรณรูปลักษณ์ และ รับประทานวิตามินหรืออาหารเสริม เพียงร้อยละ 24 เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงชาวเมียนมาร์จะ ใส่ใจในเรื่องนี้มากกว่า โดยกว่าร้อยละ 70 จะนิยมดูแล ผิวพรรณและรูปลักษณ์ของตนเป็นพิเศษ ร้อยละ 65 ใช้โลชั่นหรือครีมบำ�รุงผิว แต่กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงชาว เมียนมาร์แต่งหน้าเพียง ร้อยละ 50 ทำ�เลเซอร์ ร้อยละ 1 ทำ�โบท็อกซ์ ร้อยละ 15 ไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อดูแล ผิวพรรณรูปลักษณ์ ร้อยละ 2 รับประทานวิตามินหรือ อาหารเสริม ร้อยละ 33 โดยผู้หญิงชาวเมียนมาร์ส่วน ใหญ่มักจะใช้ทานาคาในการบำ�รุงผิวพรรณ ซึ่งในบ้าน ของผู้หญิงชาวเมียนมาร์จะต้องมีท่อนไม้ทานาคาวางอยู่ ทุกครัวเรือน ทานาคาเป็นเครื่องประทินผิว ทั้งยังช่วย ป้องกันแสงแดดไม่ให้มาทำ�ลายผิวหน้าอีกด้วย อีกทั้งใน ปัจจุบันยังได้พัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องสำ�อางขายทั้งใน ประเทศเมียนมาร์และประเทศใกล้เคียงอีกด้วย สำ � หรั บ ในด้ า นทั ศ นคติ เ กี่ ย วกั บ ความสำ � คั ญ ของ ความสวยความงาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงชาว เมียนมาร์ให้ความสำ�คัญกับการมีผิวสวยมากที่สุด โดย เฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18-22 ปีรองลง มาที่มีความสำ�คัญเป็นอันดับ 2 คือ การแลดูอ่อนเยาว์ คงความสาวอยู่เสมอ โดยช่วงอายุที่ให้ความสำ�คัญกับ การแลดูอ่อนเยาว์มากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ประมาณ 40-49 ปีและอันดับ 3 คือ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี มียี่ห้อเป็นที่รู้จัก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ให้ความสำ�คัญมาก ที่สุด คือ ผู้ที่มีรายได้ระดับสูงมากขึ้นไป
*YANGON GENERAL HOSPITAL BY SHAUN DUNPHY
32
Khon Kaen University
MYANMAR
HEALTH &MEDICINE
CLONE NARGIS REFLECTIONS WOMEN WITH TWO OF HER FOUR CHILDREN, AND TWO NIECES BY FOREIGN AND COMMONWEALTH OFFICE
CLMV PULSE: Myanmar
33
ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับความสำ�คัญของความดูดีของกลุ่มตัวอย่างเพศชาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศชายชาว เมียนมาร์ให้ความสำ�คัญกับการดูหนุ่มดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอมากที่สุด รองลงมาคือ การมีผิวพรรณที่ดี ผิวสวยและ การ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มียี่ห้อเป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งในขณะนี้เห็นได้ชัดเจนว่าไม่เฉพาะแต่เพศหญิงเท่านั้นที่ให้ความสนใจเรื่อง ความสวยความงาม และการดูแลตนเอง โดยเพศชายได้หันมาดูแลตนเองมากขึ้น มีการติดตามข่าวสารด้านแฟชั่น และการดูแลตัวเองจากสื่อต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งสื่อในประเทศที่เริ่มเสนอมุมมองการดูแลตนเองของเพศชาย ทั้งนิตยสาร โทรทัศน์ ป้ายโฆษณาต่าง ๆ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ของเพศชายก็เริ่มมีจำ�หน่ายมากขึ้นในท้องตลาดอีก ด้วย กลุ่มตัวอย่างเพศชายโดยส่วนใหญ่คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ไม่ค่อย/ไม่เคยเข้าใช้บริการร้านตัดผม ส่วนผู้ที่เคยเข้าใช้บริการ โดยส่วนใหญ่นิยมเข้าร้านตัดผมทุกเดือน เดือนละ 1-2 ครั้ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง กว่าร้อยละ 50 เข้าร้านตัดผมหรือร้านเสริมสวยทุก เดือนละ 1-2 ครั้ง คิดเป็นสัดส่วน มากที่สุด รองลงมา เข้าร้านเสริมสวยทุกๆ 3 เดือนและกว่าร้อยละ 22 ไม่นิยมเข้าร้านตัดผม-ร้านเสริมสวย
34
Khon Kaen University
กลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาวเมี ย นมาร์ โ ดยส่ ว นใหญ่ ยั ง ไม่ ค่อยมีความคุ้นเคยกับร้านสปาเท่าใดนัก มีสัดส่วน กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยเข้าร้านสปาเลยกว่าร้อยละ 86 โดยกลุ่มตัวอย่างเพศชายไม่เคยหรือไม่ค่อยเข้าร้าน สปากว่าร้อยละ 98 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ซึ่งมีสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างประมาณ 1 ใน 5 ที่เข้าใช้ บริการร้านสปา ก็มักจะเข้าไปใช้บริการประมาณเดือน ละครั้งหรือ 2 ครั้ง ในเรื่องการใช้บริการคลินิกเสริมความงามก็เช่น เดียวกัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่โดยคิดเป็นสัดส่วน กว่าร้อยละ 98 ไม่เคยเข้าไปใช้บริการ สำ�หรับผู้ที่เคย เข้าไปใช้บริการ มีสัดส่วนประมาณไม่ถึงร้อยละ 1 โดย เข้าไปใช้บริการทุกเดือน ทุก 6 เดือนและทุก 3 เดือน ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ผู้ใช้บริการโดยส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง จากทัศนคติด้านความงามที่เปลี่ยนไปของชาว เมียนมาร์ ได้ทำ�ให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกี่ยว กับความงามมากขึ้น เช่น จากเดิมที่นิยมใช้ทานาคา ทาหน้าในตอนกลางวัน ปัจจุบันก็ได้เริ่มลดลง ซึ่งบาง ส่วนอาจจะหันไปใช้ในเวลากลางคืนที่ไม่ต้องพบปะ ผู้คน หรือบางส่วนอาจจะหันไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วน ผสมของทานาคาแทน หรือบางส่วนโดยเฉพาะคน รุ่นใหม่ที่มีกำ�ลังซื้อสูงก็อาจจะเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ บำ�รุงผิวและเสริมความงามที่นำ�เข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ธุรกิจด้านความงามในเมียนมาร์ก็ได้เติบโต ขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีสถานให้บริการด้านความงามจาก ต่างประเทศหลายแห่งได้เริ่มเข้าไปเปิดให้บริการใน เมียนมาร์ ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับอย่างดี เพราะคน หันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น รวมทั้งกำ�ลังซื้อที่สูงขึ้น ของกลุ่มคนเมือง *DREAMS OF MYANMAR BYCHRISTOPHER MICHEL
*TANAKA BY DANIEL LOMBRAÑA GONZÁLEZ
CLMV PULSE: Myanmar
35
เมื่อเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น ปวดศีรษะ เป็นไข้ หวัด กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์เกือบร้อยละ 43 จะซื้อ ยาจากร้านขายยามาบริโภคเอง บางส่วนอีกกว่าร้อยละ 37 มักจะไปพบแพทย์ที่คลิกนิก และอีกกว่าร้อยละ 12 นิยมปล่อยให้อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ นั้นหายไปเอง แต่เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยในระดับมากพอสมควร และจำ�เป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ กลุ่มตัวอย่าง ชาวเมียนมาร์ส่วนใหญร้อยละ 76 เลือกที่จะเข้ารักษาใน คลินิกเวชกรรม รองลงมาประมาณร้อยละ 17 เลือกเข้า รับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน และอีกร้อยละ 3 จะ เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐ อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาทำ�ให้สามารถ ทราบได้ว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์โดยส่วนใหญ่ยังไม่ ค่อยได้รับสวัสดิการในด้านสุขภาพจากการทำ�งานมาก นัก โดยกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงเพียงร้อยละ 1 ที่ได้รับสิทธิ์ สวัสดิการของรัฐหรือประกันสังคม จากหน่วยงานที่ตน ทำ�งานอยู่ในการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ส่วนใหญ่เมื่อ ต้องชำ�ระค่ารักษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ หรือไม่ก็คู่สมรส ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย ตนเอง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 73 นอกจากนี้อีก ว่าร้อยละ 23 พ่อหรือแม่เป็นคนจ่ายให้ มีเพียงประมาณ ร้อยละ 2 เท่านั้นที่ใช้สวัสดิการของรัฐหรือเอกชน จาก หน่วยงานที่ตนทำ�งานอยู่
*SML MEDICAL LABORATORY
36
Khon Kaen University
3%
2% 1%
12%
37% 43%
/
*WOMEN’S HOSPITAL, YANGON BY CAZZ
กว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำ�ปี และอีกประมาณร้อยละ 20 ตรวจสุขภาพนานๆ ครั้ง (นานกว่า 1 ปีต่อครั้ง) ส่วนกลุ่มตัวอย่างอีกกว่า ร้อยละ 30 มักจะเข้ารับการตรวจสุขภาพ เป็นประจำ�ทุกปี ปีละครั้งหรือมากกว่านั้น โดยกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ขึ้นไปจะมีแนวโน้มเข้ารับการตรวจ สุขภาพเป็นประจำ�มากกว่ากลุ่มรายได้ต่ำ� สำ�หรับกลุ่มคนที่มีรายได้สูงในเมียนมาร์มักจะไปใช้บริการโรงพยาบาลของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะใน ไทย สิงคโปร์ และอินเดีย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นทุกปี เนื่องจากในเมียนมาร์เองยังขาดแคลนบริการ ทางการแพทย์และเครื่องมือทันสมัยในประเทศ โดยโรงพยาบาลขนาดใหญ่อย่างเช่นโรงพยาบาลย่างกุ้งเจเนอรัล ฮอสปิตัล ที่เคยทันสมัยที่สุดในเมียนมาร์และเอเชียอาคเนย์ ในขณะนี้ได้กลายเป็นอาคารเก่าที่คนไข้มาใช้บริการเป็น จำ�นวนมาก ทำ�ให้เกิดความหนาแน่นในพื้นที่โรงพยาบาล คนไข้ต้องนอนตามทางเดินเพื่อรอรับการรักษา ส่วนคนไข้ ที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต้องจองคิวเป็นปี และการสแกนเพื่อวินิจฉัยโรคยังต้องรอคิวเป็นเวลานาน ดังนั้นคนไข้ที่มี เงินจึงต้องบินไปใช้บริการเครื่องสแกนที่ประเทศไทยและสิงคโปร์แทน
/ /
/
CLMV PULSE: Myanmar
37
สำ�หรับการดูแลสุขภาพแบบอื่นๆ พบว่า ประมาณ ร้อยละ 40 ของกลุ่มตัวอย่างจะรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามิน และนอกจากนี้ประมาณ 2 ใน 3 ของกลุ่ม ตัวอย่างชาวเมียนมาร์มักจะดูแลสุขภาพโดยการออก กำ�ลังกาย ประมาณสัปดาห์ละครั้งหรือบ่อยกว่านั้น แต่ อีกประมาณ ร้อยละ 8 ก็ไม่เคยออกกำ�ลังกายเลย กีฬา ยอดนิยมคือการเดิน/วิ่ง และการปั่นจักรยาน ส่วนประ เภทอื่นๆ ได้รับความนิยมจากกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าร้อย ละ 10
*DP2S, SHOES AND CIGARETTES BY SOE LIN
พฤติกรรมการสูบบุหรี ่
กลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาวเมี ย นมาร์ นิ ย มออกกำ � ลั ง กาย ที่บ้านและที่สวนสาธารณะ กีฬาส่วนใหญ่เป็นกีฬา ประเภทกลางแจ้ง เช่น วิ่งหรือเดิน ปั่นจักรยานและ เล่นกีฬากลางแจ้ง หากเปรียบเทียบการออกกำ�ลังกาย ระหว่างกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงและเพศชายแล้ว จะพบ ว่ากลุ่มตัวอย่างเพศชายชาวเมียนมาร์มักจะออกกำ�ลัง กายน้อยกว่าผู้หญิง กลุ ่ ม ตัว อย่างเพศหญิงโดยส่ว น ใหญ่ชอบออกกำ�ลังกายโดยการเต้นแอร์โรบิก เล่นกีฬา กลางแจ้งเช่น แบดมินตัน และเล่นกีฬาในยิม ส่วนกลุ่ม ตัวอย่างเพศชายชื่นชอบการปั่นจักรยาน เดินวิ่ง เล่น กี ฬ าในยิ ม และจากการศึ กษาพบว่ากลุ่ม ตัว อย่างเพศ หญิงมีสัดส่วนชอบการเล่นโยคะมากกว่ากลุ่มตัวอย่าง เพศชาย
38
Khon Kaen University
จากการศึ ก ษาพฤติ ก รรมการสู บ บุ ห รี่ ข องกลุ่ ม ตัวอย่างชาวเมียนมาร์พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 20 ซึ่งกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่ม ตัวอย่างผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเพศชาย โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและผู้สูงอายุ คือ กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ ในช่วงอายุ 18-22 ปี มีผู้สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 25 กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ร้อยละ 23 และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 40-49 ปี และ 50-60 ปีสูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 21 ในสัดส่วนเท่าๆ กัน โดย ในผู้ที่สูบบุหรี่ ส่วนมากจะสูบเป็นประจำ�ทุกวัน สถานที ่ ใ นการซื ้ อ บุ ห รี ่ ข องกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งชาว เมียนมาร์ กว่าร้อยละ 53 คือ ร้านขายของชำ� รองลงมา ร้อยละ 24 ร้านสะดวกซื้อและตลาดสด ร้อยละ 12 มี เพียงร้อยละ 4 ที่ซื้อบุหรี่ในซุปเปอร์มาร์เก็ต/ห้างค้า ปลีก และร้อยละ 3 ที่ซื้อในศูนย์การค้า
/ *DP2S, SHOES AND CIGARETTES BY SOE LIN
ส่วนทัศนคติด้านการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างชาว เมียนมาร์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 95 รู้สึกเห็น ด้วยที่จะให้มีการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และผู้ที่ไม่ สูบบุหรี่เกือบทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 95 มีความ เห็นหรือรู้สึกว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสร้างความรบกวนต่อบุคคลอื่น นอกจากนี้พฤติกรรมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของ ชาวเมียนมาร์ที่มักจะทำ�ไปพร้อมกับการสูบบุหรี่คือการ กินหมาก โดยในปัจจุบันยังมีประชากรจำ�นวนมากที่ยัง คงกินหมากอยู่เป็นประจำ� ซึ่งในกรุงย่างกุ้งนั้นจะเห็น ร้านแผงลอยขายหมากตามข้างถนนอยู่เป็นจำ�นวนมาก โดยปกติหมากที่ขายตามร้านแผงลอยทั่วเมียนมาร์ จะ ใส่เพียงหมากแห้ง บีบมะนาวเล็กน้อย ก่อนห่อด้วยใบ ชะพลู หากต้องการเพิ่มรสชาติก็สามารถสั่งให้ใส่ยาสูบ และเครื่องเทศลงไปได้ ซึ่งจะทำ�ให้คนที่รับประทาน หมากกระปี้ ก ระเปร่ า เหมื อ นดื่ ม กาแฟหนึ่ ง แก้ ว โดย ปริยาย และจากความนิยมในการเคี้ยวหมากดังกล่าวจึง ส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่ยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่
CLMV PULSE: Myanmar
39
การจับจ่ายใช้สอย กลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาวเมี ย นมาร์ มี ทั ศ นคติ ใ นการซื้ อ สินค้าแฟชั่นตามความจำ�เป็น ไม่ฟุ่มเฟือย โดยกว่าร้อย ละ 80 ของกลุ่มตัวอย่างจะไม่ถือสินค้าหรูหราราคาแพง (มูลค่าเกิน 30,000 บาท) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ชื่นชอบ สินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย โดยส่วนใหญ่ถือหรือครอบครอง สินค้าเหล่านี้เพียงคนละ 1-2 ชิ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 15 อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ก็ยังคง เลือกสินค้าที่ดีมีคุณภาพและสะท้อนรสนิยม สำ�หรับช่อง ทางในการซื้อสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า กว่าร้อยละ 50 จะซื้อจากศูนย์การค้า รองลงมาจะซื้อ จากซุปเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต และตลาดนัด ส่วน การซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย แต่ สินค้าประเภทเครื่องประดับ จะมีสัดส่วนการซื้อผ่านช่อง ทางออนไลน์ค่อนข้างสูง รองจากการซื้อจากศูนย์การค้า โดยความถี่ในการซื้อนั้น ส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าแฟชั่น ทุกๆ เดือน เดือนละ 1-2 ครั้งหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับ ประเภท เช่น เสื้อผ้าจะซื้อบ่อยกว่ารองเท้า หรือกระเป๋า แหล่ ง ข้ อ มู ล ในการอั พ เดทแฟชั่ น ที่ สำ � คั ญ ของชาว เมียนมาร์ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ นิตยสาร และเพื่อน คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 41 ร้อยละ 15 และร้อยละ 14 ตามลำ�ดับ ส่วนอินเตอร์เน็ตมีสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าถึงข้อมูลด้าน นี้เพียงร้อยละ 7 เหตุผลส่วนใหญ่ที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ซื้อ สินค้าแฟชั่น พบว่า โดยส่วนใหญ่ซื้อบนพื้นฐานความ จำ�เป็นที่จะต้องใช้ หรืออาจซื้อเพื่อทดแทนสิ่งเดิมที่ แตกหักเสียหาย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65 รองลงมาคือ ซื้อเพื่อแสดงสถานะหรือฐานะทางสังคม คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 10 และเพื่อสะท้อนความเป็นตัวตนหรือบุคลก คิ ด เป็ น สั ด ส่ ว นร้ อ ยละ 9 ส่ ว นการซื ้ อ สิ น ค้ า ตาม โปรโมชั่นมีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 3 และการ ซื้อสินค้าตามคุณภาพหรือความเป็นแบรนด์ มีสัดส่วน ประมาณร้อยละ 8 ส่วนในแง่การครอบครองสินค้าแฟชั่น หรูหรา และมีราคาแพง (มูลค่าเกิน 3 หมื่นบาท) พบว่ากว่าร้อย ละ 82 ของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ไม่นิยม/ครอบ ครองสินค้าประเภทนี้ ส่วนผู้ที่มี โดยส่วนใหญ่จะมี12 ชิ้น คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 14 โดยเหตุผล 40
Khon Kaen University
*SPACE MALL BY MARCEL OOSTERWIJK
MYANMAR SHOPPING
*INSIDE THE MALL BY MARCEL OOSTERWIJK
สำ�คัญในการซื้อหรือครอบครองสินค้าฟุ่มเฟือย คือ เพราะชื่นชอบการออกแบบและเพราะเห็นว่าเป็นสินค้า มีคุณภาพดี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 รองลงมาคือ ซื้อ เพื่อสะท้อนฐานะทางสังคม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ส่วนซื้อเพื่อการลงทุนหรือการออมมีเพียงร้อยละ 4 และ การซื้อเพื่อเป็นมรดกเก็บเอาไว้ให้ลูกหลานมีสัดส่วนราว ร้อยละ 5 นอกจากนี้กระแสด้านแฟชั่นในเมียนมาร์ถือว่าได้มี การพัฒนามากขึ้น ซึ่งวัยรุ่นส่วนใหญ่ก็หันมาแต่งตัวหรือ มีไลฟ์สไตล์ตามแฟชั่นมากขึ้น หลังจากรัฐบาลเมียนมาร์ เดินหน้าปฏิรูป และเปิดประเทศจนทำ�ให้ประชาชนมี อิสระในการแต่งกายมากขึ้น ซึ่งจากที่ก่อนหน้านี้การ แต่งกายตามแบบตะวันตกมากจนเกินไปนั้นมักจะถูก มองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีในสังคม นอกจากนี้ในนครย่างกุ้ง ยังมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เปิดใหม่อย่างน้อย 5 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยห้างดังกล่าว มีสินค้าแบรนด์เนมจากต่างชาติวางขายให้กับวัยรุ่นชาว เมียนมาร์เป็นจำ�นวนมาก นอกจากนี้วัยรุ่นในเมียนมาร์ ยังเริ่มสนใจสินค้าเทรนด์เกาหลีมากขึ้น จากอิทธิพล ซีรียส์เกาหลีทางโทรทัศน์ ทำ�ให้สินค้าที่มาจากเกาหลีได้ รับความนิยมมากขึ้นอีกด้วย CLMV PULSE: Myanmar
41
พฤติกรรมการใช้จ่าย
พฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์นั้น ส่วนใหญ่แล้วสินค้า อุปโภคทั่วไป เช่น ผงซักฟอก กระดาษชำ�ระ จะนิยมซื้อจากร้านสะดวกซื้อ และ ซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 และ 27 ตามลำ�ดับ รองลง มาคือตลาดสด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 และร้านขายของชำ� ร้อยละ 15 สำ�หรับ สินค้าประเภทใช้ในห้องน้ำ� เช่น สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ก็นิยมซื้อจากร้านสะดวกซื้อและ ซุปเปอร์มาร์เก็ตเช่นกัน ส่วนผลิตภัณฑ์บำ�รุงผิว โลชั่น ต่าง ๆ นั้น กลุ่มตัวอย่างชาว เมียนมาร์จะนิยมซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42 รอง ลงมาคือศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 ส่วนสินค้าประเภท เครื่องสำ�อางนั้นจะนิยมซื้อจากุปูเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยมีสัดส่วนร้อยละ 40 รองลงมาคือซื้อจากศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35 โดย กลุ่มวัยที่ซื้อสินค้าเครื่องสำ�อางมากที่สุด มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ซึ่งนิยมซื้อสินค้าทุกๆ เดือน และช่วงอายุระหว่าง 40-49 ปี จะนิยมซื้อสิน ค้าทุกๆ 3 เดือน ส่วนหนังสือ/นิตยสาร กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์นิยมซื้อจากร้าน หนังสือเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 26 ของกลุ่มตัวอย่าง รองลงมาซื้อจาก ซุปเปอร์มาร์เก็ต/ไฮเปอร์มาร์เก็ต สัดส่วนประมาณร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่าง และ พบว่ากลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 43 จะนิยมซื้อหนังสือเป็นประจำ�ทุกเดือน ในส่วนของ สินค้าเฉพาะทางประเภทโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมไปถึง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และอุปกรณ์ยานยนต์ต่าง ๆ นั้น กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ กว่าร้อยละ 70 จะนิยมไปซื้อจากโชว์รูม หรือร้านขายเฉพาะสินค้าดังกล่าวโดยตรงและ มีการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยหลังจากที่รัฐบาลเมียนมาร์ได้ประกาศยกเลิกการให้สินค้าจากต่างประเทศ ต้องขออนุญาตนำ�เข้า และได้ปรับลดอัตราภาษีศุลกากรตามกรอบความร่วมมือทาง เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ได้ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคใน เมียนมาร์เพิ่มสูงขึ้น มีการนำ�เข้าสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น โดยสินค้าจากไทยที่จํา เป็นในชีวิตประจําวันยังเป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมอย่างมากในเมียนมาร์ เช่น เครื่องดื่ม อาหาร เสื้อผ้า รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบัน เมียนมาร์ยังไม่สามารถผลิตสินค้าเหล่านี้ได้มากเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายใน ประเทศ และผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในตราสินค้าและคุณภาพของสินค้าไทยเป็นทุน เดิมอยู่แล้ว
ทัศนคติเกี่ยวกับการจับจ่ายซื้อสินค้า
สำ�หรับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของชาวเมียนมาร์นั้น สิ่งที่ให้ความสำ�คัญมาก ที่สุด คือ การได้ใช้สินค้าที่ดีมีคุณภาพ รองลงมาคือ เมื่อเลือกซื้อสินค้าในแต่ละครั้งจะ เลือกซื้อสินค้าที่ดีที่สุด และ เมื่อจะเลือกซื้อสินค้าจะเลือกสินค้าที่ดีที่สุดเสมอ ซึ่งหาก กล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าชาวเมียนมาร์จะคำ�นึงถึงคุณภาพของสินค้าเป็นหลัก โดยจะพยายามเลือกสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุดในร้าน และจะเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ดีที่สุดเสมอ และมักเลือกซื้อสินค้าอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำ�คัญมากนักในการเลือก ซื้อสินค้า 3 อันดับแรก ได้แก่ ไม่ค่อยคิดมากเมื่อจะซื้อสินค้า การช็อปปิ้งไม่ใช่เรื่อง สนุกสนาน และมักจะซื้อของโดยไม่ได้ตั้งใจอยู่บ่อยครั้ง โดยจะเห็นว่าชาวเมียนมาร์ ส่วนใหญ่ไม่ได้จับจ่ายซื้อสินค้าเพื่อความเพลิดเพลิน แต่จะใช้เวลาพิจารณาอย่าง ละเอียดถี่ถ้วน ในการให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ 42
Khon Kaen University
CLMV PULSE: Myanmar
43
การใช้เวลาในวันหยุด
ในเวลาว่างกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ มากกว่าร้อยละ 50 ชอบทำ�เป็นประจำ�ตอนอยู่ที่บ้าน ได้แก่ การดูโทรทัศน์ ส่วนกิจกรรมยามว่างอื่นๆ นิยมทำ� เป็นบางครั้ง ได้แก่ ชมภาพยนตร์ที่บ้าน ฟังเพลง อ่าน หนังสือ เดินทางท่องเที่ยว ออกกำ�ลังกาย เล่นกีฬา ทำ� อาหาร รับประทานอาหารนอกบ้าน ช็อปปิ้งและทำ�งาน บ้าน สำ�หรับกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคย หรือไม่ค่อยได้ทำ�เลย ได้แก่ การทำ�งานประดิษฐ์และ งานศิลปะ เล่นอินเตอร์เน็ต/โซเชียลเน็ตเวิร์ก การเล่น เกมส์คอมพิวเตอร์ ชมการแข่งขันกีฬา และการทำ�สวน เป็นต้น
44
Khon Kaen University
*VILLAGE FAMILY BY KX STUDIO
ส่ ว นกิ จ กรรมในยามว่างหรือการพัก ผ่อนนอก บ้ า นอื่ น ๆที่ ก ลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาวเมี ย นมาร์ ช อบทำ � เป็ น ประจำ�หรือบางครั้งบางคราวเมื่อมีโอกาส ได้แก่ การ ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน คิดเป็นสัดส่วนกลุ่ม ตัวอย่างที่ทำ�กิจกรรมนี้มากกว่าร้อยละ 90 รองลงมาคือ การเล่นกีฬา ออกกำ�ลังกายและการช็อปปิ้ง ส่วนการไป เที่ยวตามสถานที่พักผ่อนและการไปชมภาพยนตร์ในวัน หยุดโดยส่วนใหญ่จะไปบ้างเป็นบางครั้ง กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์เกือบทุกคนไม่ เคยทำ�เลย คือ การท่องเที่ยวในตอนกลางคืน ทั้งนี้อาจ เนื่องมาจากความเคร่งครัดในข้อกำ�หนดหรือคำ�สั่งสอน ของศาสนา ส่วนการไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อน และ การร้องคาราโอเกะ มีกลุ่มตัวอย่างที่ทำ�เป็นบางครั้ง บางคราว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด สำ�หรับวัยรุ่นชาวเมียนมาร์ถือได้ว่าไม่แตกต่างกับวัย รุ่นไทยมากนัก ในเวลาว่างก็มักจะเที่ยวเล่น ทำ�กิจกรรม นอกบ้าน พบปะสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน เดินเที่ยวห้าง สรรพสินค้า กินอาหารนอกบ้าน เที่ยวกับแฟน ซึ่งถือว่า เป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร แต่กลับพบว่ามี แนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปในอนาคต
*ASIAENTERTAINMENTCITY,YANGONBYBLEMISHEDPARADISE
*VIEWFROMGOLDENHILLTOWERS(LONGEXPOSURE),YANGON
*MARKET AREA BY FRANCISCO ANZOLA CLMV PULSE: Myanmar
45
บ้านและที่อยู่อาศัย สำ�หรับความหมายของบ้าน นอกจากความหมายใน เชิงรูปธรรมคือการเป็นที่อยู่อาศัยของคนในครอบครัว แล้ว ในเชิงนามธรรมนั้น ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างชาว เมียนมาร์มักรู้สึกว่าบ้าน เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความ อบอุ่น และเป็นสถานที่ปลอดภัย เป็นสถานที่ที่สร้าง ความสุข และรู้สึกเหมือนได้พักผ่อนเมื่ออยู่บ้าน
ลักษณะของที่อยู่อาศัย
นครย่างกุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำ�คัญ ของเมียนมาร์ ผู้คนจากทุกภูมิภาคจึงเข้ามาอาศัยและ ทำ�งานในนครย่างกุ้ง ที่อยู่อาศัยของกลุ่มตัวอย่างชาว เมี ย นมาร์ ส ่ ว นใหญ่ ก ว่ าร้อยละ 37 เป็น แบบแฟลต/ อพาร์ทเม้นต์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอังกฤษ รองลงมา ร้อยละ 30 เป็นแบบทาวน์เฮ้าส์/บ้านแฝด มีประมาณ ร้อยละ 7 เป็นบ้านเดี่ยวหรือวิลล่า ร้อยละ 6 เป็นอาคาร พาณิชย์ และร้อยละ 4 เป็นคอนโดมิเนียม โดยแฟลต/ อพาร์ทเม้นต์มักเป็นอาคารลักษณะคล้ายอาคารพาณิชย์ แต่สูงประมาณ 5-8 ชั้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 57 อาศัย อยู่มาแล้วไม่เกิน 10 ปี
/
46
Khon Kaen University
/
*อาคารที่อยู่อาศัยแบบ CONDOMINIUM ในนครย่างกุ้ง
*COLONIAL BUILDING IN YANGON BY CAZZ
MYANMAR
HOME CARE AND DECORATIONS
*HOUSING STYLES, YANGON, BURMA BY KEVINCURE
ลักษณะการได้มาซึ่งที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 46 เป็นบ้านของตัวเองที่สร้างขึ้นเองหรือพ่อ/แม่สร้างขึ้น รองลงมาร้อยละ 21 เป็นการซื้อจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และร้อยละ 12 เป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างโดยรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ซื้อบ้านมือสองเพื่ออยู่อาศัยเพียงร้อยละ 10 เช่าที่อยู่อาศัยเพียงร้อยละ 8 ส่วนบ้านพัก สวัสดิการยังคงมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย ภายในบ้านของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 67 เป็นบ้านก่ออิฐฉาบปูน ร้อยละ 20 เป็นบ้านครึ่ง ไม้ครึ่งปูน และอีกร้อยละ 12 เป็นบ้านไม้ ภายในบ้านมีห้องนอนเฉลี่ยประมาณ 2 ห้อง และมีห้องน้ำ� 1 ห้อง การ ตกแต่งผนังบ้าน ส่วนใหญ่เป็นผนังฉาบเรียบทาสี มีประมาณร้อยละ 12 ที่ตกแต่งผนังด้วยไม้ และประมาณร้อยละ 6 ที่ตกแต่งด้วยวอลเปเปอร์ ส่วนพื้นบ้าน ประมาณร้อยละ 50 ใช้ไม้เป็นวัสดุ และประมาณร้อยละ 37 เป็นพื้นซีเมนต์ ธรรมดา นอกจากนี้ยังพบว่า บ้านของกลุ่มตัวอย่างเกือบร้อยละ 90 ติดตั้งผ้าม่าน หากจะต้องซื้อบ้านหลังใหม่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ ประมาณร้อยละ 60 เลือกที่จะซื้อบ้านเปล่า ยังไม่ตกแต่ง อีก ประมาณร้อยละ 40 เลือกที่จะซื้อบ้านที่ตกแต่งครบ พร้อมเข้าอยู่
พฤติกรรมการอยู่อาศัย
เมื่อสอบถามถึงการใช้ห้องต่างๆ ในบ้าน ห้องที่ถูกใช้บ่อยที่สุดคือห้องนั่งเล่น/ห้องรับแขก รองลงมาคือห้องนอน เช่นเดียวกันกับเมื่อถามถึงห้องที่ต้องการตกแต่งมากที่สุด มากกว่าร้อยละ 80 ก็ให้ความสำ�คัญกับการตกแต่งห้อง นั่งเล่น/ห้องรับแขก โดยเป็นห้องที่สามารถใช้เวลาร่วมกับสมาชิกในครอบครัวในชีวิตประจำ�วันได้ และยังใช้บ่งบอก ฐานะ เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนได้ด้วย สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่พบว่าบ้านของชาวเมียนมาร์ จะให้ความ สำ�คัญกับพื้นที่ห้องรับแขก โดยจะตกแต่งให้โอ่โถง ประกอบด้วยชุดรับแขกไม้ และโทรทัศน์จอใหญ่ รวมทั้งของ ตกแต่งบ้านต่างๆ CLMV PULSE: Myanmar
47
โดยชาวเมียนมาร์ส่วนใหญ่จะมีวิถีชีวิตเรียบง่าย เคารพและรักษาวัฒนธรรมเก่า ๆ มีค่านิยมนับถือผู้ที่มีความอาวุโสกว่า และยังให้ความสำ�คัญต่อสถาบันครอบครัวและ ชอบแบ่งปัน โดยจะยังอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เราจึงเห็นครอบครัวที่ประกอบ ด้วยคนสามรุ่นตั้งแต่ปู่ย่าตายายจนถึงรุ่นหลานได้ในสังคมเมียนมาร์
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
ประเทศเมียนมาร์ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าดับ-ไฟตก บ่อยครั้ง สถานที่ ต่างๆ จึงมักติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสียหายจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 50 มีเครื่องปรับอากาศใช้ภายในบ้าน นอกจากนี้ผลจากการวิจัยยังพบว่า บ้านของกลุ่ม ตัวอย่างชาวเมียนมาร์มีโทรทัศน์แทบทุกครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 98 เฉลี่ย มีโทรทัศน์ประมาณ 2 เครื่อง ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีใช้กันโดยทั่วไปแทบทุกครัวเรือน ได้แก่ มีหม้อหุงข้าวและเครื่องเล่นดีวีดี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88 มีพัดลม ร้อยละ 83 กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 60มีเครื่องซักผ้า และเพียงร้อยละ 33 ที่มีเตาไมโครเวฟ ใช้ภายในบ้าน ส่วนอุปกรณ์ที่ยังมีไม่มากนักได้แก่ เครื่องล้างจาน เครื่องทำ�น้ำ�อุ่นและ เครื่องดูดฝุ่น
48
Khon Kaen University
พฤติกรรมการตกแต่งบ้าน และการซื้อ สินค้าตกแต่งบ้าน
*สไตล์การตกแต่งบ้านของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์
*สไตล์การตกแต่งบ้านของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าชาวเมียนมาร์มีนิสัยที่ไม่ค่อย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากนัก ทำ�ให้การซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน จะซื้อเท่าที่จำ�เป็นเท่านั้น และด้วยทรัพยากรป่าไม้ที่มี อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในประเทศทำ�ให้ส่วนใหญ่มักจะใช้ เฟอร์นิเจอร์หรือสินค้าตกแต่งบ้านที่ผลิตจากไม้ เพราะมี ราคาถูกและสามารถหาได้ง่าย และยังสามารถทำ�ได้เอง ในบ้านได้อีกด้วย และนอกจากนี้ในการออกแบบตกแต่ง บ้านของชาวเมียนมาร์จากการวิจัยพบว่า มีเพียงร้อยละ 16 ของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ที่ใช้บริการ มั ณ ฑ น า ก ร / สถาปนิก ในการออกแบบตกแต่งบ้าน ในจำ�นวนนี้มี เพียงร้อยละ 2 ที่ให้ออกแบบทั้งหลัง ที่เหลือให้ออกแบบ เพียงบางห้อง/บางส่วน โดยส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 จะตกแต่งบ้านด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามในกลุ่มตัวอย่าง ที่มีรายได้ระดับกลาง-สูง และกลุ่มรายได้สูง มีสัดส่วน ผู้ที่ใช้บริการมัณฑนากร/สถาปนิกตกแต่งบ้าน สูงกว่า กลุ่มอื่น โดยประมาณร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างชาว เมียนมาร์ ให้ความสำ�คัญกับการแต่งบ้านตามหลัก ฮวง จุ้ยหรือความเชื่อทางศาสนา โดยในจำ�นวนนี้ประมาณ ร้อยละ 7 ที่จะให้ความสำ�คัญกับฮวงจุ้ยอย่างมาก กว่าร้อยละ 86 ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่า การมีบ้าน ที่สวยงาม สะอาด และอบอุ่น เป็นเรื่องที่สำ�คัญมากมากที่สุด และเป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกระดับราย ได้ ส่วนพฤติกรรมการจัดบ้านใหม่ ปรับเปลี่ยนการจัด วางเฟอร์นิเจอร์นั้น มีเพียงร้อยละ 13 ของกลุ่มตัวอย่าง ที่จัดบ้านทุกๆ เดือนหรือหลายๆ ครั้งต่อเดือน โดย ส่วนใหญ่จะจัดบ้านใหม่เพียงปีละครั้ง หรือนานกว่า ปีละครั้ง สอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อของตกแต่ง บ้าน เช่น โคมไฟ นาฬิกา กรอบรูป ตุ๊กตา ที่พบว่าโดย ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่าง จะซื้อสินค้าเหล่านี้ปีละครั้ง หรือนานกว่าปีละครั้ง โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะซื้อ เครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ เช่น ตู้ เตียง หรือโซฟา บ่อย ครั้งกว่าของตกแต่ง โดยส่วนใหญ่ประมาณ 1 ใน 3 ของ กลุ่มตัวอย่างจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ทุก 3-6 เดือน สำ�หรับ วัตถุประสงค์การซื้อเฟอร์นิเจอร์ ส่วนใหญ่จะซื้อเพื่อ ทดแทนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเก่า และเพื่อความสะดวกสบาย หรือประโยชน์ใช้สอยที่ดีขึ้น
*การตกแต่งบ้านในห้องรับแขกของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ CLMV PULSE: Myanmar
49
ประเภทของเฟอร์นิเจอร์ที่กลุ่มตัวอย่างชาว เมียนมาร์ชื่นชอบ โดยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 55 ชอบเฟอร์นิเจอร์ใหม่ประกอบเสร็จ รองลงมา ประมาณร้อยละ 22 ชอบเฟอร์นิเจอร์โบราณ (ANTIQUE) และประมาณร้อยละ 17 ชอบเฟอร์นิเจอร์ บิลท์อิน มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ชอบเฟอร์นิเจอร์ ประกอบเอง (DIY) เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยว กับความสนใจเฟอร์นิเจอร์ประกอบเอง (DIY) หาก มีราคาต่ำ�กว่าเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่ค่อนข้างสนใจ โดยมีประมาณร้อยละ 40 ที่ไม่ สนใจเลย และเกือบร้อยละ 50ของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จะไม่สนใจเฟอร์นิเจอร์ ประกอบเองเลย แม้จะมีราคาต่ำ�กว่าก็ตาม ทั้งนี้ เพราะชาวเมียนมาร์ชอบความสะดวกสบาย อีก ทั้งค่าแรงในการจ้างช่างประกอบยังอยู่ในระดับต่ำ� ทำ�ให้ราคาเฟอร์นิเจอร์ประกอบเสร็จไม่ได้สูงมาก นัก หากเทียบกับเฟอร์นิเจอร์ประกอบเอง (DIY)
50
Khon Kaen University
*WOOD CARVING SHOP - MANDALAY, MYANMAR BYKATHY
สถานที ่ ซ ึ ่ ง กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งชาวเมี ย นมาร์ ไ ปซื ้ อ เฟอร์ น ิ เ จอร์ และอุ ป กรณ์ ต กแต่ ง บ้ า นต่ า งๆนั ้ น ส่ ว น ใหญ่ น ิ ย มไปซื ้ อ จากร้ า นค้ า เฟอร์ น ิ เจอร์ แ ละของตกแต่ ง บ้ า น รองลงมานิ ย มไปซื ้ อ ตามห้ า งหรื อ ศู น ย์ จำ � หน่ า ยเฟอร์ น ิ เ จอร์ แ ละของตกแต่ ง บ้ า นโดยเฉพาะ และห้ า งสรรพสิ น ค้ า ทั ่ ว ไป มี ป ระมาณร้ อ ยละ 11 ที ่ ส ั ่ ง ซื ้ อ จากผู ้ ผ ลิ ต หรื อ ช่ า งทำ � เฟอร์ น ิ เจอร์ และมี ป ระมาณร้ อ ยละ 5 ที ่ ซ ื ้ อ จากงานแสดงสิ น ค้ า โดยเมื ่ อ ถามถึ ง ความสนใจในการซื ้ อ เฟอร์ น ิ เจอร์ แ ละสิ น ค้ า ตกแต่ ง บ้ า น ในงานแสดงสิ น ค้ า ส่ ว นใหญ่ ค่ อ นข้ า งสนใจ มี เ พี ย งร้ อ ยละ 27 เท่ า นั ้ น ที ่ ไ ม่ ส นใจเลย นอกจากนี ้ เ มื ่ อ จำ � แนกตามระดั บ รายได้ พบ ว่ า กลุ ่ ม ที ่ ม ี ร ายได้ ร ะดั บ ปานกลางขึ ้ น ไป จะสั ่ ง ผลิ ต เฟอร์ น ิ เ จอร์ ม ากกว่ า กลุ ่ ม รายได้ ป านกลาง-ต ่ ำ �
CLMV PULSE: Myanmar
51
สำ�หรับผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสินค้ากลุ่มนี้ กว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างระบุว่า คือ ตนเอง รองลงมา คือ แฟน หรือสามี-ภรรยา และพ่อแม่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 และ 17ตามลำ�ดับ โดยเกือบทั้งหมดจะชำ�ระค่าสินค้าเหล่า นี้ด้วยเงินสด มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 3 ที่ชำ�ระด้วยบัตรเครดิต โดยงบประมาณที่เผื่อไว้สำ�หรับการตกแต่งบ้าน ส่วนใหญ่ เกือบร้อยละ 80 ของกลุ่มตัวอย่างจะกันงบประมาณสำ�หรับ การซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านไว้ไม่เกินร้อย ละ 10 ของรายได้ในแต่ละปี ส่วนแหล่งข้อมูลหรือแรงบันดาลใจในการตกแต่งบ้านนั้น 3 อันดับแรกที่เป็นแหล่งข้อมูลในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ ชิ้ น ใหม่ ข องกลุ่ ม ตั ว อย่ า งชาวเมี ย นมาร์ เ พื่ อ การแต่ ง บ้ า น ได้แก่ รายการโทรทัศน์/ละคร ห้องตัวอย่างในร้านขาย เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน และนิตยสารต่างๆ
/
*21122013BYEDDYMILFORT 52
Khon Kaen University
ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน
จากการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ พบว่าปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าตกแต่งบ้านของ กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการให้บริการและการมีสินค้าที่หลากหลาย โดยกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำ�คัญกับบริการส่งสินค้าถึงบ้านมากที่สุด รองลงมาคือ การมีพนักงานให้ความช่วยเหลือหรือให้คำ�แนะนำ� และร้านที่มีสินค้าหลากหลาย ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ให้ความสำ�คัญน้อยที่สุด ได้แก่ การซื้อสินค้า ตามดาราที่ชื่นชอบ รองลงมา คือ การซื้อตามที่ดูในละคร-โทรทัศน์ และเฟอร์นิเจอร์ที่ลดราคา โดยพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างให้ความสำ�คัญน้อย จะเห็นว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ให้ความสำ�คัญกับการให้บริการอย่างมาก ส่วนการ เลียนแบบบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือโปรโมชั่นด้านราคานั้น กลุ่มตัวอย่างยังคงให้ความสำ�คัญน้อย
ส่วนปัจจัยหรือสิ่งที่ผู้บริโภคชาวเมียนมาร์คำ�นึงถึง เมื่อจะพิจารณาซื้อสินค้าตกแต่งบ้านแต่ละชิ้น พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างให้ความสำ�คัญกับความทนทานและอายุการใช้งานมากที่สุด รองลงมาคือคุณภาพของสินค้า และการรับ ประกันสินค้า ส่วนปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ให้ความสำ�คัญน้อยที่สุด ได้แก่ การเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่นๆ ในบ้านได้ดี รองลงมาคือการผ่อนชำ�ระสินค้า และสถานที่ตั้งของ จะเห็นว่า ปัจจัยด้านคุณภาพของสินค้ามีความ สำ�คัญมาก ส่วนการผ่อนชำ�ระสินค้านั้น กลุ่มตัวอย่างให้ความสำ�คัญน้อย เนื่องจากชาวเมียนมาร์นิยมซื้อและชำ�ระ ค่าสินค้าด้วยเงินสดเป็นหลัก CLMV PULSE: Myanmar
53
54
Khon Kaen University
สำ�หรับสไตล์การตกแต่งภายในที่กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ชื่นชอบ พบว่า การตกแต่ง ภายในแบบ MODERN เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44 โดย กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำ�งานจะชื่นชอบการตกแต่งบ้านแบบ MODERN มากกว่ากลุ่มตัวอย่าง ช่วงอายุอื่น รองลงมาคือแบบ CONTEMPORARY คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 และแบบ ASIAN/TROPICAL คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 แบบ EUROPEAN ร้อยละ 8 และแบบ AMERICAN/COUNTRY ร้อยละ 5 โดยจากการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ร้านเฟอร์นิเจอร์ใน เมียนมาร์ มีหลายร้านที่จำ�หน่ายเฟอร์นิเจอร์แบบ MODERN โดยเฉพาะ รวมทั้งอิทธิพล ของละครและรายการโทรทัศน์เกาหลี ที่แสดงถึงวิถีชีวิตที่ทันสมัย ก็ล้วนมีอิทธิพลต่อ ความชอบและรสนิยมการตกแต่งบ้านของชาวเมียนมาร์มากขึ้น
Modern
European / Classic
Contemporary
American / Country
Asian / Tropical
พฤติกรรมการจัดสวน และงานช่าง
จากการสำ�รวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 84 ไม่มีสวนในบ้าน เพราะมักจะอยู่อาศัยในอพาร์ทเมนต์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนผู้ที่มีสวนอยู่ในบ้านคิดเป็นสัดส่วน เพียงร้อยละ 16 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งก็มักจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง ที่จะมีบ้านเดี่ยว ที่มีพื้นที่เหลือพอที่จะสามารถทำ�สวนได้ อย่างไรก็ตามในจำ�นวนนี้กว่าร้อยละ 60 มักจะ มีกิจกรรมปลูกต้นไม้/ทำ�สวนที่บ้าน แบ่งเป็นผู้ที่ชอบการทำ�สวน-ปลูกต้นไม้เป็นประจำ� ร้อยละ 16 และผู้ที่ทำ�เป็นบางครั้ง ร้อยละ 45 ในขณะที่อีกกว่าร้อยละ 40 จะไม่ค่อยทำ� กิจกรรมเหล่านี้เลย นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังไม่นิยมตกแต่งสวนด้วยนำ�เฟอร์นิเจอร์หรือของ ตกแต่งบ้านมาจัดสวน คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ส่วนผู้ที่นิยมตกแต่งสวนและ จัดสวน ให้สวยงามด้วยเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่ง มีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 10 ส่วนการทำ�งานช่างหรือการซ่อมแซมสิ่งของภายในบ้านเมื่อมีการชำ�รุดหรือเสียหาย เล็กๆ น้อยๆ เช่น เปลี่ยนหลอดไฟ เปลี่ยนก็อกน้ำ� กลุ่มตัวอย่างเกือบร้อยละ 60 จะ สามารถทำ�ได้ด้วยตนเองเป็นบางครั้งคราว มีเพียงประมาณร้อยละ 11 ที่จะสามารถทำ�ได้ เป็นประจำ� สำ�หรับด้านงานฝีมือ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ พบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่า ร้อยละ 62 แทบไม่ได้ทำ�งานฝีมือต่างๆ เลย มีประมาณร้อยละ 35 ที่มีโอกาสทำ�งานฝีมือ บ้างเป็นครั้งคราว และมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ทำ�งานฝีมือเป็นประจำ� นอกจากนี้ยังพบ ว่ากว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่ชอบทำ�งานประดิษฐ์เป็นผู้ที่มีรายได้ในระดับสูง CLMV PULSE: Myanmar
55
/
/ สำ�หรับด้านงานฝีมือ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ พบว่ากลุ่ม ตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 62 แทบไม่ได้ทำ�งานฝีมือ ต่างๆ เลย มีประมาณร้อยละ 35 ที่มีโอกาสทำ�งานฝีมือบ้าง เป็นครั้งคราว และมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ทำ�งานฝีมือ เป็นประจำ� นอกจากนี้ยังพบว่ากว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่ชอบ ทำ�งานประดิษฐ์เป็นผู้ที่มีรายได้ในระดับสูง
56
Khon Kaen University
การดูแลสัตว์เลี้ยง
สัตว์เลี้ยงที่เป็นที่นิยมของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนการเลี้ยงแมวมากกว่าสุนัข โดยประมาณร้อยละ 23 ของกลุ่มตัวอย่าง มีแมวเป็น สัตว์เลี้ยง และประมาณร้อยละ 15 มีสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง ส่วนปลา มีสัดส่วนผู้เลี้ยงประมาณร้อยละ 10 ของกลุ่ม ตัวอย่าง ในแง่ของการดูแลรักษาสัตว์เลี้ยง กลุ่มตัวอย่าง ที่เลี้ยงสัตว์มากกว่าร้อยละ 80 ไม่เคยนำ�สัตว์เลี้ยงไป ใช้บริการร้านอาบน้ำ�-ตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยงเลย มีเพียง ประมาณร้อยละ 8 ของกลุ่มตัวอย่างที่เลี้ยงสัตว์ที่นำ� สัตว์เลี้ยงไปใช้บริการทุกเดือน และร้อยละ 2 ของกลุ่ม ตัวอย่างที่นำ�เลี้ยงสัตว์ไปเข้าใช้บริการอาบน้ำ� ตัดแต่ง ขนทุกสัปดาห์ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 65 ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะไม่ชอบสัตว์ รอง ลงมา คือ ค่าใช้จ่ายสูง และสถานที่พักไม่อนุญาตให้เลี้ยง
/
CLMV PULSE: Myanmar
57
การท่องเที่ยว
รูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่ชื่นชอบของ กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ส่วนใหญ่ คือ การท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติ ทั้งทะเลและภูเขา คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 55 และร้อยละ 22 ตามลำ�ดับ โดยรองลงมาคือการ ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 18 นอกจากนี้ยังมี การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อีกประมาณร้อยละ 2 ซึ่งส่วน ใหญ่มักเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง โดยนิยมเดิน ทางไปยังต่างประเทศเช่น ไทย หรือสิงคโปร์ เพื่อตรวจ สุขภาพประจำ�ปี หรือรักษาโรค และท่องเที่ยวไปด้วย สำ�หรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีเพียงร้อยละ 1 และเชิง นันทนาการ เช่น เล่นคาสิโน สวนสนุก มีประมาณร้อย ละ 2 สำ�หรับการศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ เราพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55 เดินทางท่องเที่ยว ในประเทศเป็นประจำ�ทุกเดือน ร้อยละ 22 เดินทาง ท่องเที่ยว 3 เดือนต่อครั้ง ระยะเวลาในการท่องเที่ยว ประมาณ 5-7 วัน ต่อทริป วิธีการเดินทางท่องเที่ยวที่ นิยมที่สุด คือ การใช้รถเช่า ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวต่างประเทศ เราพบ ว่ากลุ่มส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 62 ไม่ค่อยหรือไม่เคยท่อง เที่ยวในต่างประเทศ มีเพียงร้อยละ 17 ที่เดินทางท่อง เที่ยวต่างประเทศทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี มักจะนิยมเดินทางท่องเที่ยว ต่างประเทศทุกๆ 6 เดือนซึ่งถือว่ามีความถี่มากกว่ากลุ่ม อื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 40 ของกลุ่มตัวอย่างใน ช่วงอายุนี้ทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 80 มักจะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศด้วยสายการ บินแบบปกติ มีเพียงร้อยละ 7 ที่เดินทางโดยสายการ บินต้นทุนต่ำ� พื้นที่ที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไปท่องเที่ยว มากที่สุด คือ ทวีปเอเชีย โดยเกือบร้อยละ 70 นิยมท่อง เที่ยวในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประมาณร้อย ละ 17 จะเดินทางไปท่องเที่ยวในโซนเอเชียเหนือ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง นอกจากนี้ยังพบว่ากว่าร้อย ละ 40 ของกลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ มักจะท่องเที่ยว กับครอบครัว/ญาติ ร้อยละ 30 มักจะเดินทางไปท่อง เที่ยวเพียงคนเดียว และมักจะใช้เวลาในการท่องเที่ยว ประมาณ 5-10 วัน
-
/
/ ( 58
Khon Kaen University
)
MYANMAR
*STREET SCENE I BY CAZZ
*YANGON RAILWAY STATION BY SHAUN
8
CLMV PULSE: Myanmar
59
วันหยุด และการพักผ่อน
ชาวเมียนมาร์ทำ�งานมากกว่าสัปดาห์ละ 5 วัน และ ทำ�งานวันละไม่ต่ำ�กว่า 8 ชั่วโมง ร้อยละ 13 มีงานพิเศษ อื่นๆ นอกเหนือจากงานประจำ�ของตนเอง เช่น งาน พาร์ทไทม์ (PART-TIME JOB) อย่างไรก็ตามเมื่อถึง ช่วง วันหยุดและวันหยุดสัปดาห์ เช่น วันหยุดสุดสัปดาห์หรือ วันหยุดเทศกาล กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 90 มักจะนิยมออกไปสังสรรค์นอกบ้าน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งผู้ที่มีรายได้สูงจะออกไปสังสรรค์นอกบ้านในช่วงวัน หยุดกว่าร้อยละ 100 นอกจากนั้นประมาณร้อยละ 10 จะนิยมพักผ่อนอยู่ที่บ้านในช่วงวันหยุด ส่วนการใช้เวลาว่างที่บ้านนั้นส่วนใหญ่จะใช้เวลา ไปกับกิจกรรมการดูโทรทัศน์ และการทำ�งานบ้าน ซึ่ง ในเมียนมาร์โทรทัศน์ถือว่าเป็นสื่อที่มีอิทธิพลอย่างยิ่ง สำ�หรับชาวเมียนมาร์ในเขตเมือง และโดยเฉพาะในขณะ นี้ที่รายการชีรี่ย์จากเกาหลีกำ�ลังได้รับความนิยมอย่าง สูง ทำ�ให้การดูโทรทัศน์จึงเพิ่มสูงขึ้น โดยช่องโทรทัศน์ที่ เป็นที่นิยมในเมียนมาร์นั้น ได้แก่ MRTV4,CHANNEL7, MRTV และ MYAWADDY นอกจากนี้กิจกรรมในเวลาว่างอีกกิจกรรมหนึ่งของ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่น่าสนใจคือ การเล่นอินเตอร์เน็ต ที่ใช้ งานทั้งเพื่อความบันเทิง และใช้ในการติดตามข่าวสาร ต่าง ๆ โดยชาวเมียนมาร์เริ่มใช้งาน FACEBOOK กันมาก ขึ้น รวมไปถึงการใช้งานคอนเทนต์ต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสื่อวีดิโอ เล่น YOUTUBE เป็นต้น และยัง มีการสมัครใช้งาน BLOG ในอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้มีการเปิดใช้งานแล้วกว่า 100,000 BLOG ซึ่งแม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในเมียนมาร์ขณะนี้จะยัง ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และยังมีการขัดข้องอยู่บ้างในบาง เวลาก็ตาม อีกทั้งยังคงมีข้อจำ�กัดบางประการจากทาง รัฐบาลในการใช้งานในบางส่วนอีกด้วย
*P2240464 BY BRIAN HOLSCLAW
*MYANMAR 2012 BY CHRISTOPHER 60
Khon Kaen University
พฤติกรรมการออม และการลงทุน
กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์ใช้จ่ายด้วยเงินสดกว่าร้อย ละ 97 ส่วนการใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตการ์ดยังไม่ถูกใช้ เป็นช่องทางในการจับจ่ายซื้อสินค้ามากนัก เนื่องจากกลุ่ม ตัวอย่างไม่มีบัตรเครดิต กว่าร้อยละ 90 และกว่าร้อยละ 97 ไม่ใช้บริการสินเชื่อใดๆ เลย สำ�หรับพฤติกรรมด้านการ ออม กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์กว่าร้อยละ 20 ไม่ออมเงิน ในช่องทางใดๆ ส่วนผู้ที่ออมเงิน โดยส่วนใหญ่มักออมเงิน โดยเก็บไว้เป็นเงินสดและฝากธนาคารมากที่สุด รวมแล้ว กว่าร้อยละ 80 มีสัดส่วนในการออมของกลุ่มตัวอย่างร้อย ละ 30 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-20 ของรายได้ นอกจาก นั้นร้อยละ 20 ออมน้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ ส่วน การออมวิธีอื่นๆ ที่ได้รับความนิยม คือ การลงทุนใน สินทรัพย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 25 ลงทุนใน ทองคำ�และร้อยละ 10 ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พฤติกรรมด้านการเงินและการออม กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์นิยมใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็นหลัก ไม่ชอบเป็นหนี้ และไม่มีบัตรเครดิต โดยจากผลวิจัยพบ ว่า เกือบทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่างยังใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็น หลัก ในทุกๆ ระดับรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ถือบัตรเดบิต มี เพียงร้อยละ 1 และมีเพียงประมาณร้อยละ 0.3 เท่านั้นที่ ถือบัตรเครดิต
*BURMESE KYAT BY GREG WALTERS
CLMV PULSE: Myanmar
61
กลุ่มตัวอย่างชาวเมียนมาร์มากกว่าร้อยละ 84.6 มัก ชำ�ระบิลค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ� ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ที่สำ�นักงานของผู้ให้บริการโดยตรง มีเพียงประมาณร้อย ละ 6 ชำ�ระที่ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 2 ชำ�ระที่ธนาคาร และร้อยละ 1 ที่ชำ�ระโดยระบบหักบัญชีธนาคาร
สำ�หรับการออมเงิน/การลงทุนนั้น กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ออมโดยการเก็บเงินสดเอาไว้ สูงถึงร้อยละ 46.3 และฝากธนาคาร ร้อยละ 44.1 ทั้งนี้เนื่องมาจาก กฎหมายและระบบสถาบันการเงินของเมียนมาร์ยังไม่ พัฒนามากนัก ผู้บริโภคจึงนิยมเก็บเงินสดไว้กับตัว หรือ ฝากเงินไว้ในธนาคารเฉยๆ ส่วนการลงทุนในรูปแบบที่ได้ รับความนิยมคือการซื้อทองคำ�และอสังหาริมทรัพย์ การ ลงทุนในรูปพันธบัตร ตลาดหุ้น กองทุน หรือการประกัน ชีวิตเป็นที่นิยมน้อย และจำ�กัดอยู่ในวงแคบๆ ซึ่งคนกลุ่ม นี้มักทำ�ธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนผ่านธนาคาร ในต่างประเทศ ส่วนสัดส่วนการเก็บออมต่อรายได้นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะออมเงินเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อย ละ 20 ของรายได้
62
Khon Kaen University
*THIS IS A BANK BY MICHAEL COGHLAN
ทีมผู้วิจัย
รศ. ดร. กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผศ. ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ ดร. นิ่มนวล ผิวทองงาม ดร. สุทิน เวียนวิวัฒน์
ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยฯ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ
นายศุภกร ศิริสุนทร นางชลธิชา วีระพันธ์ อวนศรี นางสาว สุวัฒนา พิกุลณี นางสาว กนกพร ทีบัว นางสาวกมลชนก มากเจริญ นางสาว กีรติ ทวีทรัพย์ นางทฤทธิยา จันทร์หอม นางสาวสงบ เสริมนา
นักวิเคราะห์อาวุโส นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ นักสถิติ นักสถิติ
นางณิชานันท์ เอี่ยมเพ็ชร นางสาวศุทธีญา นพวิญญูวงศ์ นางสาวณาตยา สีหานาม นายพลวิชญ์ หนูศรีแก้ว
ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายออกแบบ
CLMV PULSE: Myanmar
63
เกี่ยวกับหนังสือ พฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หนังสือชุด CLMV Pulse ชีพจรอาเซียน นั้นประกอบด้วยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกที่ทันสมัย จากการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หนังสือเล่มนี้เป็น 1 ในจำ�นวน 4 เล่ม จะกล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศเมัยนมาร์ โดย เฉพาะที่อยู่ในกรุงย่างกุ้ง ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น การศึกษา ชีวิตการทำ�งาน การลงทุนและการ ออม การจับจ่ายใช้สอย อาหารการกิน การดูแลสุขภาพและความงาม การช็อปปิ้ง และการใช้เวลาว่าง ไปจนถึงการดูแลที่อยู่อาศัย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจหรือผู้ที่สนใจพฤติกรรม และ รูปแบบการใช้ชีวิตของคนในประเทศเมียนมาร์ โดยเฉพาะในกรุงย่างกุ้ง
สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 64
Khon Kaen University