ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ชุมชนสร้ า งสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ทีมวิจัย
แผนงานวิจัย การพัฒนากลไกการจัดการท่องเที่ยวระดับชุมชน ในพื้ น ที่ เชี ย งราย-เชี ย งตุ ง -หลวงน�้ ำ ทา เพื่ อ การท่ อ งเที่ ย ว เชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน Revigorating the community-based management mechanisms for creative tourism in Chiangrai, Kengtung and Luang Namtha Provinces โครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย โครงการที่ 1 การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ จั ง หวั ด เชี ย งตุ ง ประเทศสาธารณรั ฐ แห่ ง สหภาพเมี ย นมาร์ เพื่อเชื่อมโยงกับจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย The development of creative community-based tourism between Kengtung, Union of Myanmar and Chiangrai, Thailand โครงการที่ 2 การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ แขวงหลวงน�้ำทา ประเทศ สปป.ลาว เพื่อเชื่อมโยงกับจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย The development of creative community-based tourism between Luang Namtha, Laos PDA and Chiangrai, Thailand โครงการที่ 3 การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงรายเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับ ประเทศเพื่อนบ้าน The development of Chiangrai community-based tourism network for creative tourism with neighboring countries
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูกลิ่น อุนวิจิตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ อุนวิจิตร
ดร.ธัญญลักษณ์ แซ่เลี้ยว
นางสาวญาณัท ศิริสาร
นายเสริฐ ไชยยานันตา
นายบันเทิง เครือวงค์
นายไพรัช โรงสะอาด
ผู้ช่วยนักวิจัยไทย : นางสาวสกาวเดือน บุญงาม
ผู้ช่วยนักวิจัยไทย : นางสาวศิริมาศ อินทนนท์
ผู้ช่วยนักวิจัยไทย : นางสาวณัชชา ชัยวังเย็น
ผู้ช่วยนักวิจัยเมียนมาร์ : นางหอม แลงทุน
ผู้ช่วยนักวิจัยลาว : นายทองใบ สีวิไล
ผู้ช่วยนักวิจัยลาว : นายออนนิด สิดทะลาด
ผู้ช่วยนักวิจัยลาว : นายตุ๊มา เหลืองลัดถะวง
บอกกล่าว : เล่าเรื่อง วารสาร ชุมชนสร้างสรรค์: เชียงราย เชียงตุง หลวงน�ำ้ ทา เล่มนี้ เป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความประทับใจ ของนักวิจยั แผนงานวิจยั “การพัฒนากลไกการจัดการท่องเทีย่ ว ระดั บ ชุ ม ชนในพื้ น ที่ เ ชี ย งราย-เชี ย งตุ ง -หลวงน�้ ำ ทา เพื่ อ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน” ของมหาวิทยาลัย ราชภั ฏ เชี ย งรายโดยได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากเครื อ ข่ า ย การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนจั ง หวั ด เชี ย งราย สภาวั ฒ นธรรม เมื อ งเชี ย งตุ ง และวิ ท ยาลั ย ครู ห ลวงน�้ ำ ทา ท� ำ การศึ ก ษา ทุ น ทางสั ง คม พั ฒ นาศั ก ยภาพทางการท่ อ งเที่ ย วโดยการ ให้ความรู้และศึกษาดูงานแก่ชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายและ กลไกการจัดการการท่องเที่ยวในสามประเทศ คือ เชียงราย ประเทศไทย เมืองเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และแขวงหลวงน�ำ้ ทา สปป.ลาว ชุมชน 12 ชุมชน ได้มโี อกาส จัดกิจกรรมเพื่อต้อนรับพี่น้องต่างบ้านต่างเมืองและเดินทาง ไปศึกษาดูงานในลักษณะของการเยี่ยมเยือนซึ่งกันและกัน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2557 ความรู้สึก และความประทับใจที่ผู้เขียนแต่ละท่านถ่ายทอดออกมาครั้งนี้ นอกจากเป็นบันทึกความทรงจ�ำทีด่ ๆี แล้ว ยังเป็นการแบ่งปัน ความรู ้ แ ละประสบการณ์ ใ ห้ กั บ เพื่ อ นสมาชิ ก และผู ้ ส นใจ การท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยทั่วไปอีกด้วย ว่าแต่ละชุมชน มี เ นื้ อ หา วิ ธี ก ารน� ำ เสนอ การจั ด กิ จ กรรม การต้ อ นรั บ การจัดที่พัก การจัดอาหาร การบริหารจัดการและการแบ่ง หน้ า ที่ แ ละผลประโยชน์ ใ นชุ ม ชน การผลิ ต ของที่ ร ะลึ ก วิธกี ารค้นหาสิง่ แปลกใหม่เพือ่ น�ำเสนอในการจัดการท่องเทีย่ ว กันอย่างไร
ค�ำว่าการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ มีความหมายทีย่ งั เข้าใจ ไม่ตรงกันในกลุ่มนักวิชาการและผู้ประกอบการ และชุมชน ไม่ว่าจะมีผู้นิยามค�ำว่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ไว้อย่างไร แต่ส�ำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนแล้ว (ลาวและเมียนมาร์ เรียกการท่องเที่ยวแบบประชาชนมีส่วนร่วม ลาวใช้ตัวย่อ CBT เหมือนไทย แต่เมียนมาร์ใช้ CIT) การที่นักท่องเที่ยว ได้ลองสัมผัสวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะตน ในสภาพแวดล้อมจริงของชาวชนบท เรียนรู้การใช้ประโยชน์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมท�ำกิจกรรมต่างๆ กัน อย่างใกล้ชดิ ระหว่างนักท่องเทีย่ วกับเจ้าของบ้านในการเยีย่ มชม การสัมผัสตรง การลงมือกระท�ำด้วยตนเอง ช่วยก่อให้เกิด ความซาบซึ้ ง และสร้ า งความเข้ า ใจซึ่ ง กั น และกั น เพิ่ ม ขึ้ น คุณค่าของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จึงมิได้หมายถึงคุณค่า ที่ เ ป็ น ตั ว เงิ น เท่ า นั้ น แต่ ยั ง หมายถึ ง คุ ณ ค่ า ทางจิ ต ใจ ความภู มิ ใ จในท้ อ งถิ่ น ตน เกิ ด การอนุ รั ก ษ์ แ ละการใช้ ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ใ น ก า ร ท ่ อ ง เ ที่ ย ว โ ด ย ชุ ม ช น นั้ น บ ร ร ย า ก า ศ ข อ ง สภาพแวดล้อมและกระบวนการที่สร้างขึ้นเป็นปัจจัยส�ำคัญ ของกิ จ กรรมการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์ ในหลายพื้ น ที่ บุคคลสร้างสรรค์ และผลผลิตสร้างสรรค์ได้ฉายแววออกมาบ้าง แต่ ยั ง ไม่ ม ากเท่ า สองอย่ า งแรก จากเรื่ อ งเล่ า 18 เรื่ อ ง ภายในเล่มเรากล้าพูดได้เต็มปากว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในพื้นที่วิจัยได้พัฒนาตนเองไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้ไม่น้อยหน้าการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นๆ
16 ฝึกตบถั่วเน่าที่บ้านเตาห้วย วนิดา สายจันทร์ และคณะ 18 หนองก๋ม บ้านประทับใจ ชลธิชา อ�ำนาจสกุล ณัชชา ชัยวังเย็น 20 บ้านยางโกง หมู่บ้านปั้นดินให้เป็นทอง ไพรัช โรงสะอาด 22 พิธีไหว้ครูซิงเจ้าฟ้าบ้านยางขวาย พลอยน�้ำค้าง 40 สภาวัฒนธรรมแห่งเมืองเชียงตุง ผศ.ดร.ชูกลิ่น อุนวิจิตร
แขวงหลวงน�้ำทา สปป.ลาว
สารบั ญ Contents
เมืองเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
24 ท่าขันทอง : ชุมชนแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ หมู่บ้านโฮมสเตย์ดีเด่น หลิว ยี่หลาน
06 บ้านน�้ำดี น�้ำดี๊ดี เศรษฐศักดิ์ พรหมมา
26 อนุรักษ์ธรรมชาติที่บ้านโป่งน�้ำร้อน ญาณัท ศิริสาร
10 บนถนน...ที่พาบ้านน�้ำฮ้าสู่โลกกว้าง ผศ.ดร.ทัศนีย์ อุนวิจิตร
28 ร่องปลายนา หมู่บ้านชนบทกลางเมือง ผศ.ดร.สุธีรา อะทะวงษา
12 บ้านเพียงงาม เดชา เตมิยะ
30 การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “บ้านสองแควพัฒนา” สกาวเดือน บุญงาม
14 เวียงเหนือ... เหนือความคาดหมาย บันเทิง เครือวงค์
32 เรียนรู้จากสับปะรดที่บ้านป่าซางวิวัฒน์ ณ หิรัญญิการ์
36 วิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา : สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ดร.ธัญญลักษณ์ แซ่เลี้ยว
34 การท่องเที่ยวโดยชุมชนตามกระแสหลัก กับ การท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบดั้งเดิม ศิริมาศ อินทนนท์
38 ห้องการท่องเที่ยว แขวงหลวงน�้ำทา สปป.ลาว จ�ำปาไทย
42 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ออนนิด สิดทิลาด 43 กลไกการจัดการท่องเที่ยวระดับชุมชน ชุมชนเชียงราย – เชียงตุง – หลวงน�้ำทา
เชียงราย ประเทศไทย
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
บ้านน�้ำดี น�้ำดี๊ดี เศรษฐศักดิ์ พรหมมา หมู่บ้านชนเผ่าแลนแตน ถ้ามีใครถามว่า “รู้จักชนเผ่าแลนแตนไหม?” ได้ยิน ค�ำถามอย่างนีห้ ลายคนคงงงกัน เผ่าอะไรชือ่ แปลก “แลนแตน” ไม่ เ คยได้ ยิ น ที่ ไ หนมาก่ อ น ไม่ ต ้ อ งพู ด ถึ ง รู ป ร่ า งหน้ า ตา การแต่งกาย ความเป็นอยู่ วันนีเ้ ราจะได้รกู้ นั เพราะอาจารย์ตมุ๊ า เหลืองลัดถะวง มัคคุเทศก์พิเศษของเรา ก�ำลังจะพาเราไป ที่หมู่บ้านชนเผ่าแลนแตนชื่อ “บ้านน�้ำดี” ทันทีที่สมาชิกการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากเชียงราย สิ บ กว่ า คนลงจากรถบั ส ที่ ด ่ า นสะพานมิ ต รภาพไทย–ลาว ดร.ธั ญ ญลั ก ษณ์ แ ละอาจารย์ ตุ ๊ ม า เหลื อ งลั ด ถะวง จากวิทยาลัยครูหลวงน�ำ้ ทา น�ำรถตูข้ องวิทยาลัยครูหลวงน�ำ้ ทา มารอรับแล้ว คาดไว้ว่าจะไปกินข้าวกลางวันระหว่างทางที่บ้านน�้ำฟ้า เสร็จแล้วจะเดินทางไปบ้านน�้ำฮ้า เพราะได้นัดท่านค�ำแก้ว พมปันยา นายบ้านน�้ำฮ้าไว้แล้วว่าจะถึงประมาณบ่ายโมง พอขึ้นเขาไปได้นิดเดียวเห็นรถจอดเรียงกันเป็นตับ มีคนยืน ออกันอยู่ข้างทางตะโกนบอกว่ารถไปไม่ได้ อ้าว..!! ลองลงไป ดูสิเกิดอะไรขึ้น ปรากฏว่ารถพ่วงบรรทุกแตงโมหักกลางล�ำ ขวางถนนอยู่ เหลือช่องแคบๆ พอที่รถมอเตอร์ไซด์ผ่านไปได้ เท่านั้น ท�ำยังไงดีล่ะ ใกล้จะถึงร้านอาหารอยู่แล้วเชียว.. อาจารย์ตุ๊มา พยายามโทรศัพท์ ติดต่อแจ้งร้านอาหารทีบ่ า้ นน�ำ้ ฟ้า ใ ห ้ ห า ร ถ ม า รั บ พ ว ก เ ร า ไ ป ระหว่ า งที่ ร อ บุ ญ จริ ง ๆ ที่ มี รถกระบะคันหนึง่ ผ่านมา อ.ตุม๊ า เข้าไปเจรจาขอให้พวกเราอาศัย ไปลงที่ ร ้ า นอาหารรอให้ ร ถตู ้ ตามไปสมทบ
6
หลังผ่านเหตุการณ์อันระทึกขวัญแล้ว เราเดินทางไป หมู่บ้านน�้ำฮ้า พอถึง ท่านค�ำแก้ว พมปันยา นายบ้านน�้ำฮ้า น�ำชาวบ้านมารอต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง หมู่บ้านน�้ำฮ้านี้ มี ป ่ า ไม้ อั น อุ ด มสมบู ร ณ์ จนได้ รั บ การยกย่ อ งจากองค์การ สหประชาชาติ เ ป็ น มรดกโลก และที่ ส� ำ คั ญ ชาวบ้ า นน�้ ำ ฮ้ า แต่งตัวชุดขมุดูสวยมาก จากนั้ น เดิ น ทางต่ อ ไปศึ ก ษาเรี ย นรู ้ แ ละพั ก ค้ า งคื น ที่ บ ้ า นเวี ย งเหนื อ โดยมี ท ่ า นบุ ญ มี อ่ อ นดาวง นายบ้ า น ท่านสมจิต ใจยะวง และชาวบ้านเวียงเหนือต้อนรับดูแลอย่างดี เช้าวันที่สอง เราไปที่วิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา เพื่อร่วมลงนาม ข้ อ ตกลงแลกเปลี่ ย นทางวิ ช าการระหว่ า งชุ ม ชนท่ อ งเที่ ย ว แขวงหลวงน�้ ำ ทา กั บ ชุ ม ชนท่ อ งเที่ ย วจั ง หวั ด เชี ย งราย โดยมีทา่ นก�ำทน หลวงลือไซ ผูอ้ ำ� นวยการวิทยาลัยครูหลวงน�ำ้ ทา ท่านพอนสะหวัด กะมนทอง รองหัวหน้าแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเทีย่ ว แขวงหลวงน�ำ้ ทา และ ผศ.ดร.ชูกลิน่ อุนวิจิตร ผู้อ�ำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมเป็นสักขีพยาน
บ้านน�้ำดี น�้ำดี๊ดี
7
ออกจากวิ ท ยาลั ย ครู ห ลวงน�้ ำ ทา อาจารย์ ตุ ๊ ม า มัคคุเทศก์นำ� คณะไปดูงานทีบ่ า้ นเพียงงาม ยอมรับว่างามจริงๆ สมชื่อ บ้านเรือนรูปทรงเดียวกันหมด สวย สะอาด ที่นี่เป็น หมู่บ้านของอาจารย์ตุ๊มาด้วย ผมรู้สึกประทับใจมาก ออกจากบ้านเพียงงาม เราแวะไหว้พระธาตุปมุ้ ปุกเล็กน้อย มองจากยอดดอยเห็นทุ่งราบอันกว้างใหญ่ที่อดีตเป็นนาข้าว แต่ปัจจุบันกลายสภาพเป็นไร่แตงโมของจีนไปแล้ว เอ.. แล้ว บ้านน�้ำดีจะเปลี่ยนแปลงไปแบบไหนนะ ถนนเข้าบ้านน�้ำดียังเป็นถนนดิน ที่สองข้างทางยังคง ความเป็นธรรมชาติด้วยเป็นถนนขรุขระรถจึงค่อยๆ คลาน เป็ น เต่ า อยู ่ อึ ด ใจใหญ่ ๆ รถก็ ม าจอดข้ า งถนนในหมู ่ บ ้ า น ท่านบุนสาย ดวงปะเสิด นายบ้านน�ำ้ ดี ท่านไสยะวง ใจปะเสิด และท่ า นจั น ทอง เทิ น จั น คณะกรรมการหมู ่ บ ้ า น มาต้อนรับและเชิญทุกคนเดินไปโรงเรียนเพื่อฟังการบรรยาย สรุป ระหว่างทางต้องเดินผ่านล�ำห้วยเห็นเด็กตัวเล็กๆ ห้าหกคน แก้ผ้ากระโดดเล่นน�้ำในล�ำห้วยอย่างสนุกสนานเป็นธรรมชาติ ไม่มขี วยอาย เห็นแล้วชอบมาก ชอบทีบ่ ง่ บอกถึงวิถชี วี ติ แบบเดิมๆ ที่หลายๆ คนโหยหา มันเป็นเสน่ห์ เป็นความหลังฝังใจ และ เป็นความประทับใจ ในความใสซื่อบริสุทธิ์ บ้านน�้ำดี เป็นหมู่บ้านที่อยู่เชิงเขา มีล�ำห้วยไหลผ่าน ด้านข้างของหมู่บ้านและมีเนินเขาสูงพอประมาณคั่นกลาง หมู่บ้าน บ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ด้านล่าง เมื่อเดิน ผ่านเนินเขาแล้วอ้อมลงอีกฟากหนึง่ ของเนินเขา จะมีบา้ นเรือน อยู ่ สี่ ห ้ า หลั ง รวมทั้ ง บ้ า นหลั ง ใหญ่ ที่ เ ป็ น ศู น ย์ ผ ลิ ต ผ้ า ฝ้ า ย ของชาวบ้ า น เมื่ อ คณะศึ ก ษาดู ง านฟั ง บรรยายเสร็ จ แล้ ว เดินเท้ามาถึงพบกลุม่ ผูห้ ญิงชาวเผ่าแลนแตนก�ำลังสาละวนอยูก่ บั การจัดการกับฝ้ายเพื่อทอเป็นผ้าฝ้าย ท�ำเป็นขั้นเป็นตอน ดู แ ล้ ว น่ า ทึ่ ง ! กว่ า จะมาเป็ น ผ้ า ฝ้ า ยต้ อ งผ่ า นกระบวนการ หลายขั้นตอน เริ่ ม จากการปลู ก ฝ้ า ย ›› เก็ บ ตากแดดให้ แ ห้ ง ›› “อีดฝ้าย” เพื่อแยกเมล็ดออกจากฝ้าย ›› “ดีดฝ้าย” ให้ฟู ›› “ล้อฝ้าย” ให้เป็นแท่งยาวประมาณหนึ่งคืบ ›› “เข็นฝ้าย” ให้เป็นเส้นเก็บเป็นไจ ›› “ย้อมสีฝา้ ย” แล้วจึงน�ำไปทอเป็นผ้าฝ้าย และตัดเป็นชุดสวมใส่
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
9
กระดาษทีเ่ ราคุน้ เคยกันก็คอื กระดาษสา แต่ทบี่ า้ นน�ำ้ ดี ท�ำกระดาษจากเยื่อไม้ไผ่ที่ได้มาจากหน่อไม้ไผ่ ช่างคิดนะ?... รอบๆ หมูบ่ า้ นมองไปทางไหนก็เห็นแต่ไม้ไผ่ เออ!..ไปดูกนั เถอะ.. ท่านบัวสาย ดวงปะเสิด นายบ้านพาเราไปดูการท�ำกระดาษ จากเยื่อไม้ไผ่โดยมีแม่เฒ่าคนหนึ่งเป็นผู้ท�ำให้ดู อาจารย์ ดร.ชูกลิ่น อุนวิจิตร เล่าให้ฟังว่าตอนมา ส�ำรวจพื้นที่ได้ไปบนเขาเห็นน�้ำตกสวยงามมาก มีครกกระเดื่อง พลังน�้ำต�ำข้าวด้วย แหม!..อย่างนี้ ต้องพิสูจน์ จึงเดินเท้า ขึ้นไปตามล�ำห้วยเห็นน�้ำใสไหลเย็นรู้สึกเย็นใจ เมื่อขึ้นไปยืน บนสะพานโค้ ง ข้ า มล� ำ ห้ ว ย ข้ า งล่ า งน�้ำตกมองขึ้นไปเห็น น�้ำตกสวย และเห็นครกกระเดื่องพลังน�้ำจริงๆ
มีส่วนร่วม สัมผัสตรง ลงมือท�ำ
หลายคนเห็นแล้วอยากลองท�ำดูบ้าง ว่าแล้วคุณจิ๊บ ปนิตา ศรีขัติย์ ก็ลองล้อฝ้าย ส่วนยายกอบ ประกอบเกียรติ แสงชาติ ลองเข็นฝ้าย ส่วนคนอืน่ ๆ ก็แยกย้ายกันลงโน่นนีน่ นั่ พัลวันกันไปหมด อ้าวนั่นใครไปเล่นลูกข่างของเผ่าสีดา
เพลงรักของแม่เฒ่า
ใครเคยเห็นชาวบ้านใส่ชุดชนเผ่า 365 วัน ? เมื่อผลิตผ้าฝ้ายกันเอง เสื้อผ้าที่ใส่จึงเป็นชุดผ้าฝ้าย ประจ� ำ เผ่ า แลนแตนที่ ส วยงามและสวมใส่ ทุ ก วั น ตลอดปี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เหมือนกันหมด ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนักในสังคม ปัจจุบัน สีเสือ้ ผ้าจะเหมือนกันหมด คือ สีทยี่ อ้ มจากฮ้อม แบบเสือ้ และชุดก็เหมือนกันหมดเช่นกันไม่ต้องแข่งกันดี แข่งกันเด่น แข่ ง กั น สวยเหมื อ นสั ง คมที่ อ่ื น ๆ เออนะ! ช่างเข้ากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ของเราจริงๆ
8
บ้านน�้ำดี น�้ำดี๊ดี
โ ย โ ย ้ โ อ ้ โ อ เ ว เ ล . . . . . ข ณ ะ ก� ำ ลั ง เ พ ลิ ด เ พ ลิ น อยู่กับบรรยากาศอันเย็นสบายอยู่บนสะพานข้างล่างน�้ำตก ก็ แ ว่ ว เสี ย งของใครคนหนึ่ ง ก� ำ ลั ง เอื้ อ นเสี ย งยาวกั ง วาน ฟังไม่รคู้ วามหมาย แต่พอเข้าใจว่าเป็นเสียงเพลงชนเผ่า หันไปดู เห็นแม่เฒ่าคนหนึง่ ก�ำลังร้องเพลงโดยมีหญิงสาวยืนคูอ่ ยูใ่ กล้ๆ กัน แม่เฒ่าฟังภาษาไทยได้แต่พูดไม่ได้ ผู้เขียนจึงขอให้หญิงสาว ที่ยืนอยู่ด้วยกันซึ่งบอกว่าตนเป็นลูกสาวของแม่เฒ่าอธิบาย เนื้อ เพลงได้ความว่าสมัยก่อนมักจะมีห นุ่มๆ จากหมู่บ้าน ที่อยู่หล่ายดอยนัดสาวบ้านน�้ำดีมาพลอดรักกันที่น�้ำตกแห่งนี้ ความรั ก ความหลั ง นั้ น ยั ง ฝั ง ใจจึ ง ถ่ า ยทอดออกมาเป็ น เสียงเพลงแห่งความรัก ด้วยน�้ำเสียงอันเศร้าสร้อย ในอารมณ์ ที่ ก� ำ ลั ง ดื่ ม ด�่ ำ กั บ ค� ำ หวานจากบทเพลง ฟังแล้วไม่อยากจากลา แต่ดว้ ยได้เวลาทีต่ อ้ งจากกัน ไม่รวู้ นั ใด จะได้มาอีก บ้านน�้ำดีนี้ช่างฝังใจ ถึงตอนนี้หลายคนคงอยาก ไปเที่ยวบ้านน�้ำดีแล้วละสิ
ถามว่าชอบอะไรในบ้านน�้ำดี อยากบอกว่าชอบวิถีที่เป็นอยู่ ใส่เสื้อผ้าเหมือนกันงามน่าดู ได้เรียนรู้ทดลองท�ำจ�ำใส่ใจ ทั้งล้อฝ้ายเข็นฝ้ายเป็นสายเส้น ช่างตื่นเต้นท�ำกระดาษจากเยื่อไผ่ ดินก็ชุ่มป่าก็สวยน�้ำก็ใส คนก็ดีมีน�้ำใจให้แก่กัน มีส่วนร่วมสัมผัสตรงลงมือท�ำ ช่วยตอกย�้ำการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นเครือข่ายท่องเที่ยวสานสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนกันเชียงรายกับหลวงน�้ำทา ลาก่อนบ้านน�้ำดี๊ดี......
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
บนถนน... ที่พาบ้านน�้ำฮ้าสู่โลกกว้าง
11
บนถนน...
ที่พาบ้านน�้ำฮ้าสู่โลกกว้าง ผศ.ดร.ทัศนีย์ อุนวิจิตร
เมื่ อ มี ถ นนมาถึ ง ชาวประชามั ก คิ ด ว่ า ความเจริ ญ ได้ ม าถึ ง แล้ ว แต่ ใ นสายตาของนั ก พั ฒ นาสายโรแมนติ ก ถนนอาจเป็นหนทางที่น�ำสิ่งที่ไม่ใคร่ดีนักเข้ามาในชุมชนจนถึง ขนาดมีการเรียกว่า “the evil of the road” เลยทีเดียว แล้ววันหนึง่ ถนนสาย R3A ซึง่ สร้างโดยบริษทั ผูร้ บั เหมาชาวไทย ก็ได้นำ� พาเราข้ามโขงเข้าสู่ สปป.ลาว ผ่านสะพานข้ามโขงแห่งใหม่ ล่าสุดที่อ�ำเภอเชียงของเข้าสู่แขวงบ่อแก้วและแขวงหลวงน�ำ้ ทา บนเส้ น ทางสายคดเคี้ ย วผ่ า นภู เ ขา ป่ า ไม้ แม่ น�้ ำ ล� ำ ธาร หมู่บ้านและที่นา เราพบเห็นสิ่งต่างๆ ที่ก�ำลังเกิดขึ้น ไม่ว่า จะเป็ น การหั ก ร้ า งถางพง การขยายพื้ น ที่ ป ลู ก ยางพารา โรงงานรั บ ซื้ อ น�้ ำ ยางพารา รวมถึ ง รถพ่ ว งคั น โตขนสิ น ค้ า เกษตรวิ่งท�ำเที่ยวกันอย่างอุตลุด บางคันหักมุมไม่ดี เค้เก้ เทกระจาดกล้วยและแตงโมเลี้ยงลิงค่างอยู่หลายจุด เมื่อถนน เริ่มพาเราลงสู่ที่ราบหลวงน�้ำทา จุดแรกที่เราแวะเยี่ยม คือ บ้านน�้ำฮ้า วั น นั้ น บ้ า นน�้ ำ ฮ้ า คึ ก คั ก และอึ ก ทึ ก มากเป็ น พิ เ ศษ เพราะมีสองงานใหญ่ในวันเดียวกัน คือ งานแต่งงานของคน ในชุมชน และการมาเยี่ยมของคณะของเราซึ่งประกอบด้วย ผู ้ ป ระกอบการท่ อ งเที่ ย วในชุ ม ชนจากจั ง หวั ด เชี ย งราย 10
ผูค้ นทัง้ ชาย หญิง ผูใ้ หญ่และเด็กแต่งตัวสวยงาม และมีไม่นอ้ ย ที่ อ ยู ่ ใ นชุ ด ชนเผ่ า สี ด� ำ ขลิ บ สี สั น สดใสเหลื อ งเขี ย วแดง คณะของเราได้ รั บ การต้ อ นรั บ อย่ า งอบอุ ่ น โดยอ้ า ยค� ำ แก้ ว แกนน�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่พาทีมงานร่วมร้อยมารอรับ และท่านพอนสะหวัด กะมนทอง รองหัวหน้าห้องการแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแขวงหลวงน�้ำทา สปป.ลาว พร้อมทีมงานคนหนุ่มสาวที่ขยันขันแข็งจากห้องการท่องเที่ยว แขวงหลวงน�้ ำ ทา เราได้ ดื่ ม น�้ ำ สมุ น ไพรจากป่ า ให้ ชื่ น ใจ ก่อนที่จะได้รับฟังความก้าวหน้าในการพัฒนาการท่องเที่ยว และรับชมการแสดงทางวัฒนธรรมที่สวยงาม ทั้งแบบลาว สมัยใหม่และแบบประยุกต์จากวิถีชีวิตชุมชน
บ้านน�ำ้ ฮ้าเป็นชุมชนก�ำหมุหรือทีค่ นไทยเรียกว่า “ขมุ” จากสภาพแวดล้อมที่เห็นและการแสดงทางวัฒนธรรมไม่ว่า จะเป็นการแสดงชุดร�ำมีดพร้า ร�ำกระบองไม้ไผ่ การจักสาน กระบุง ตะกร้าหวายที่ใช้ในการเก็บของป่า สะท้อนให้เห็นว่า วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวก�ำหมุเป็นวิถีที่พึ่งพิงการเก็บของป่าและ การล่าสัตว์เป็นส�ำคัญ แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการผลิตได้เพิ่มขึ้น โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล สปป.ลาว เช่น การให้พันธุ์ไม้ ที่พัฒนาขึ้นใหม่ แต่ระบบสาธารณูปโภคในชุมชนยังจ�ำกัด สามารถพบเห็นเด็กน้อยใช้ขวดพลาสติกขนน�้ำจากแหล่งน�้ำ ในชุมชนกลับบ้าน ยังมีการถือผีและความเชือ่ ดัง้ เดิมค่อนข้างมาก อาชี พ หลั ก น่ า จะเป็ น การเก็ บ ของป่ า ฐานะความเป็ น อยู ่ โดยทั่วไปเมื่อมองจากสายตาของคนนอกยังค่อนข้างขัดสน และการพัฒนาด้านสุขอนามัยยังจ�ำกัด รัฐบาล สปป.ลาว ได้พยายามส่งเสริมให้ท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้ความรู้ เกี่ยวกับการจัดการโดยการจัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายที่พัก ฝ่ายวัฒนธรรม และสนับสนุนการพัฒนา สิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพื่อสุขอนามัยของคนในชุมชนและ การรองรับนักท่องเที่ยวจากภายนอก ชัยภูมิของบ้านน�้ำฮ้าดีมาก คือ มีแม่น�้ำไหลอยู่ข้าง หมู ่ บ ้ า น มี ภู เ ขาและป่ า ใหญ่ อ ยู ่ ห ลั ง หมู ่ บ ้ า น ป่ า นี้ อ งค์ ก ร ระหว่างประเทศหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น UNDP ADB JICA
ต่ า งเห็ น ว่ า ยั ง มี ค วามหลากหลายทางชี ว ภาพที่ ค วรได้ มี ก ารสงวนรั ก ษา ทั้ ง ป่ า และแม่ น�้ ำ เป็ น แหล่ ง ทรั พ ยากร ที่ ส� ำ คั ญ ของหมู ่ บ ้ า น จะเห็ น ได้ จ ากการน� ำ ผลิ ต ผลจากป่ า เช่ น หมากแนงมาตากแดดอยู ่ ริ ม ถนน มี ก ารน� ำ หน่ อ ไม้ หนอนไม้ไผ่ ไกหรือสาหร่ายน�ำ้ จืดและปลานานาชนิดมาวางขาย ริ ม ถนน บ้ า นเรื อ นกระจายตั ว ไปตามสองฟากถนนและ เส้นทางเดินป่าที่อุดมสมบูรณ์ ภายในเวลาไม่กี่ช่ัวโมงที่เราอยู่ ในหมู่บ้าน เราสัมผัสได้ถึงการมีอยู่ของเอกลักษณ์ทางสังคม และวัฒนธรรม และภูมิปัญญาในการด�ำรงชีวิตในระบบนิเวศ แต่เมื่อถนนสาย R3A ผ่านเข้ามา คนบ้านน�้ำฮ้าก�ำลังเผชิญ กับความท้าทายอันใหญ่หลวงที่จะต้องเข้าใจโลกของหมู่บ้าน และโลกภายนอก และสร้างสรรค์เส้นทางเดินของคนก�ำหมุ บ้านน�้ำฮ้าในวันที่โลกได้เปิดกว้างขึ้น ขออวยพรให้บ้านน�้ำฮ้า ประสบความส�ำเร็จในการสร้างสรรค์วิถีชุมชนและยืนหยัด อย่ า งมั่ น คงท่ า มกลางกระแสการเปลี่ ย นแปลงที่ ก� ำ ลั ง โหมกระหน�่ำเข้ามา และขอขอบใจหลายส�ำหรับการต้อนรับ ที่อบอุ่นในวันที่เราได้มาพบกัน
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
“เพียงงาม” ฟังชือ่ ก็อยากจะไปให้ถงึ ไวๆ คิดล่วงหน้าว่า บ้านนี้คงสวยงามน่าอยู่เป็นแน่ เพราะชื่อหมู่บ้านเป็นมงคล หมูบ่ า้ นเล็กๆ นีอ้ ยูไ่ ม่ไกลจากตัวเมืองหลวงน�ำ้ ทา ตัง้ อยูบ่ นทีร่ าบ ที่ เ ป็ น ท้ อ งนาอั น สวยงามสุ ด ลู ก หู ลู ก ตา จึ ง เป็ น ที่ ม าของ ชื่อหมู่บ้าน (ชาวบ้านบอกว่าพื้นที่มันเปียง ต่อมาเพี้ยนเป็น ค�ำว่าเพียง) ผู้คนที่นี่เป็นชาวไตแดง เลี้ยงชีพด้วยการท�ำนา ภายในหมู ่ บ ้ า นมี ก ลุ ่ ม อาชี พ หลายกลุ ่ ม แม้ จ ะเป็ น วิ ถี ชี วิ ต แต่ กิ จ กรรมของที่ นี่ ก็ น ่ า สนใจส� ำ หรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว เช่ น การย้ อ มผ้ า ด้ ว ยสี ธ รรมชาติ ลวดลายผ้ า ทอแสนสวยงาม การตี มี ด การจั ก สาน และการต้ ม เหล้ า แบบพื้ น บ้ า น กิ จ กรรมต้ ม เหล้ า นี้ คุ ณ ผู ้ ช ายชอบมากเพราะได้ เ สี ย งเฮ ช่ ว ยกั น เชี ย ร์ ช ่ ว ยกั น ดื่ ม คนละจอก สองจอก เจ้ า ของเขา ก็เทเหล้าให้ชิมแบบไม่อั้นเสียด้วยเลยยั้งไม่อยู่ บ้านเพียงงามเป็นหมู่บ้านที่ยังคงอนุรักษ์ความเป็น เอกลักษณ์ของเดิมๆ ไว้ บ้านเป็นเรือนไม้สร้างอยู่ติดๆ กัน มี ก ารปลู ก ผั ก สวนครั ว ไว้ กิ น กั น แทบทุ ก บ้ า น ภายในบ้ า น ก็ จ ะมี ข ้ า วของเครื่ อ งใช้ ที่ เ รี ย บง่ า ย จั ด วางไว้ เ ป็ น ระเบี ย บ ชวนให้อยากเข้าไปนอนพักและใช้ชวี ติ อยูท่ นี่ สี่ กั คืนเพราะคนทีน่ ี่
12
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ยิ้มแย้มและมีอัธยาศัยไมตรีดีมาก หลายคนขอขึ้นไปนั่งเล่น ที่ ช านบ้ า นแล้ ว ไม่ อ ยากลุ ก เพราะเย็ น สบายดี เ หลื อ เกิ น และแล้ว... กลิ่นอะไรหอมๆ โชยมาพร้อมกับเสียงเชิญชวน ให้ไปกินข้าวกลางวัน รู้สึกหิวข้าวขึ้นมาทันทีทันใด
บ้านเพียงงาม เดชา เตมิยะ
บ้านเพียงงาม
13
เดือนมีนาคมเป็นเดือนที่หน่อขมก�ำลังแตกหน่อพอดี ย� ำ หน่ อ ขมวั น นี้ จึ ง เอร็ ด อร่ อ ยเป็ น พิ เ ศษเพราะเป็ น อาหาร ที่ ต รงตามฤดู ก าล เมนู วั น นี้ มี อี ก หลายอย่ า ง แกงข้ า วคั่ ว (แกงคั่ ว ไก่ ค ล้ า ยคั่ ว แคของภาคเหนื อ ใส่ ข ้ า วเมล็ ด เล็ ก ๆ เรียกว่าข้าวไก่น้อย) ย�ำผัก น�้ำพริกผักนึ่ง แกงหน่อไม้ และ ข้าวนึ่งห่อในใบตอง จัดมาในโตกอย่างน่ากิน ทุกอย่างอร่อย เป็นพิเศษจนต้องเติมแล้วเติมอีก ห้องอาหารกลางวันของเรา คื อ ศู น ย์ ส าธิ ต งานหั ต ถกรรมการทอผ้ า การย้ อ มไหม การจักสาน และปั่นฝ้าย ของหมู่บ้าน ระหว่างนั่งกิน สายตา ก็สอดส่ายไปตามผืนผ้าข้างฝาห้องเพื่อจับจองเป็นเจ้าของ ผื น นั้ น ก็ ส วย ผื น นี้ ก็ ส วย ทุ ก ผื น สวยลานตาไปหมด การที่ ต ้ อ งเลื อ กแค่ สั ก ผื น สองผื น เป็ น เรื่ อ งน่ า หนั ก ใจจริ ง ๆ ดั ง นั้ น หลั ง จากชมการสาธิ ต ย้ อ มผ้ า ปั ่ น ด้ า ยแล้ ว พวกเรา จึงท�ำเงินหล่นไว้ที่บ้านเพียงงามหลายล้านกีบ แล้วเราก็พบกับของที่ระลึกสร้างสรรค์ ก่อนลาจาก อ้ายทองไม พ่อหลวงได้มอบของที่ระลึกเป็นกรอบรูปใส่ลาย ผ้ า ทออั น สวยงามให้ ช าวเชี ย งรายหมู ่ บ ้ า นละอั น ช่ า งคิ ด ดีเหลือเกินนะครับ ผ้าของหลวงน�้ำทาไม่ใช่แค่เครื่องสวมใส่ แต่กลายเป็นเครื่องตกแต่งบ้านไปซะแล้ว เราลาจากบ้าน เพี ย งงามมาด้ ว ยความอิ่ ม เอม อิ่ ม ตา อิ่ ม ใจและอิ่ ม ท้ อ ง ระหว่างทางไปวัดพระธาตุปุ้มปุกจะขอนอนสักงีบก่อนได้ไหม
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เวียงเหนือ... เหนือความคาดหมาย
15
เวียงเหนือ...
เหนื อ ความคาดหมาย บันเทิง เครือวงค์ นับตั้งแต่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูกลิ่น อุนวิจิตร บอกว่าอาจารย์อยากจะท�ำงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากลไก การจัดการการท่องเทีย่ วระดับชุมชนพืน้ ที่ เชียงราย เชียงตุง หลวงน�ำ้ ทา เพือ่ การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์อย่างยัง่ ยืน ขอเชิญ กระผมกับคุณเสริฐ ไชยยานันตา ผู้ช่วยท่องเที่ยวกีฬาจังหวัด เชียงราย เป็นทีมวิจัย ก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง เป็นครั้งแรก ของตนเองที่ ไ ด้ มี โ อกาสท� ำ งานวิ จั ย ร่ ว มกั บ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ในภู มิ ภ าคเดี ย วกั น ก่ อ นที่ พ วกเราจะได้ ไ ปศึ ก ษาดู ง าน ทีห่ ลวงน�ำ้ ทา กระผมก็ได้มโี อกาสไปต้อนรับคณะจากหลวงน�ำ้ ทา ที่ได้มาศึกษาดูงานในพื้นที่เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงราย ณ บ้านโป่งน�ำ้ ร้อน ต�ำบลดอยฮาง อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย รู้สึกประทับใจกับแขกผู้มาเยือนที่เต็มเปี่ยม ไปด้วยความเป็นมิตรไมตรีและชาวบ้านโป่งน�้ำร้อนที่ท�ำหน้าที่ เจ้าบ้านที่ดี ให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ พวกเราได้ มี โ อกาสไปเยื อ นชุ ม ชนที่ ห ลวงน�้ ำ ทา ในระหว่ า งวั น ที่ 2-4 มี น าคม 2557 หลั ง จากผ่ า นด่ า น ตรวจคนเข้าเมือง ที่สะพานมิตรภาพ แห่งที่ 4 ที่ห้วยทราย ก็ประทับใจแล้วกับคณะทีมงานวิจัยของ สปป.ลาว ที่มาคอย ต้อนรับ เราใช้รถตู้ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้อ�ำนวยการ วิ ท ยาลั ย ครู ห ลวงน�้ ำ ทา มี ตุ ๊ ม าคอยแนะน� ำ สถานที่ ต ่ า งๆ 14
ตลอดเส้ น ทาง ระหว่ า งทางมี ร ถบรรทุ ก สิ น ค้ า ขนาดใหญ่ ประสบอุ บั ติ เ หตุ จ อดขวางเส้ น ทางอยู ่ ท� ำ ให้ ร ถของเรา ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ โชคดีเรายังได้รับน�้ำใจจากคน ในท้ อ งถิ่ น ที่ ยิ น ดี ที่ จ ะให้ เ ราอาศั ย รถกระบะของเขาเพื่ อ เดิ น ทางไปรั บ ประทานอาหารกลางวั น รอรถตู ้ ที่ บ ้ า นน�้ ำ ฟ้ า ก่ อ นถึ ง เวี ย งเหนื อ เราแวะเยี่ ย มหมู ่ บ ้ า นน�้ ำ ฮ้ า -ท่ า แส เก็ บ ความประทั บ ใจในวิ ถี ชุ ม ชนขมุ เ ป็ น เวลาพอสมควร จึงออกเดินทางต่อไปยังบ้านเวียงเหนือซึ่งเป็นที่พักในคืนแรก ของการเดินทางของคณะเรา เมื่อไปถึงพวกเราก็มีโอกาสเข้าไปนมัสการเจ้าอาวาส และกราบไหว้ พ ระเพื่ อ ขอพร ณ วั ด บ้ า นเวี ย งเหนื อ ตามประเพณี ผู ้ น� ำ ชุ ม ชนบอกว่ า หมู ่ บ ้ า นเดิ ม อยู ่ บ ริ เ วณ สนามบิ น เมื่ อ มี ก ารก่ อ สร้ า งสนามบิ น รั ฐ บาลขอให้ ย ้ า ย หมู่บ้านมาอยู่ที่นี่ มิน่าเล่า...แผนผังหมู่บ้านจึงเป็นระเบียบ เรี ย บร้ อ ยดี ม าก จากนั้ น เราก็ แ ยกย้ า ยกั น เข้ า พั ก ตาม โฮมสเตย์ ที่ ท างผู ้ จั ด ได้ ด� ำ เนิ น การให้ บ้ า นที่ เ ราพั ก มี กั น 3 คน กระผมได้พักร่วมกับปลัดเศรษฐศักดิ์ พรหมมา และ ดีเจจิ๊บ ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเจ้าของบ้านทั้งคู่ ทราบว่าบ้านหลังนีม้ โี อกาสได้ตอ้ นรับแขกต่างชาติมาแล้วนับไม่ถว้ น
เรามาพบกั น อี ก ครั้ ง ที่ ห ้ อ งประชุ ม ของหมู ่ บ ้ า นเพื่ อ ไปดูบ้านไทยวน บ้านตัวอย่างที่รัฐบาลสร้างให้ ก่อนเข้าร่วม กิจกรรมที่สุดแสนประทับใจของหมู่บ้านนี้ คือ พิธีบายศรี สู่ขวัญ หลังจากทางหมอสู่ขวัญท�ำพิธีเสร็จแล้ว พิธีผูกข้อมือ ที่แสดงถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้นของบ้านเวียงเหนือ คือ เมื่อ ผูกข้อมือข้างใดผู้น้ันต้องแบบมือรับแก้วสุราพื้นบ้านหนึ่งจอก ผูกสองข้างก็สองจอกตามธรรมเนียม การผูกข้อมือด�ำเนินไป พร้อมกับเสียงเชียร์อย่างสนุกสนาน เมื่อผู้ใหญ่ผูกข้อมือจน หมดแล้ ว ก็ รั บ ประทานอาหารเย็ น ร่ ว มกั น แกงผั ก เฮื อ ด สาหร่ า ยไกทอด น�้ ำ พริ ก มะเขื อ ส้ ม ไข่ ท อด ย� ำ ผั ก กาด ข้ า วแต๋ น ข้ า วหนมข้ า วต้ ม เป็ น อาหารพื้ น บ้ า นท้ อ งถิ่ น ที่ ท างชุ ม ชนจั ด เตรี ย มไว้ ใ ห้ ดู ทุ ก คนเอร็ ด อร่ อ ยมาก กับอาหารมื้อนี้ นักดนตรีพื้นบ้านที่เป็นผู้อาวุโสก็เริ่มบรรเลง เพลงขับกล่อม กลุ่มนักแสดงสาวสวยในชุดแต่งกายพื้นบ้าน ชาวไตยวนก็เริม่ ออกมาร่ายร�ำตามจังหวะดนตรีอย่างพร้อมเพรียง และสวยงามตระการตา ท�ำให้บรรยากาศของค�ำ่ คืนนีเ้ ต็มไปด้วย มนต์เสน่ห์ชวนให้หลงใหลและเคลิบเคลิ้มไปด้วยกลิ่นอาย ของเสี ย งดนตรี อั น เพราะพริ้ ง ผสมผสานกั บ ท่ า ร่ า ยร� ำ ที่ถูกจังหวะท่วงท�ำนองอย่างลงตัว เพื่อเป็นการย่อยอาหาร พิ ธี ก ร เ ชิ ญ ช ว น ทุ ก ท ่ า น อ อ ก ม า ร ่ ว ม ร� ำ ว ง ส า มั ค คี
โดยจะมี น ้ อ งๆ นั ก แสดงสาวสวยและหนุ ่ ม ๆ ออกมาโค้ ง เพื่อร่วมร�ำวงสามัคคี นักดนตรีก็บรรเลงเพลงที่มีท่วงท�ำนอง สนุ ก สนานเร้ า ใจ วั น นี้ ดู ทุ ก คนล้ ว นหน้ า ตาสดใสเบิ ก บาน เป็นพิเศษและลืมความอ่อนล้าของการเดินทางไปหมดสิ้น ค�่ ำ คื น นี้ เ ป็ น อี ก ค�่ ำ คื น หนึ่ ง ของชี วิ ต ที่ มี คุ ณ ค่ า ต้ อ งจดจ� ำ ไปตลอดกาล ตืน่ เช้ามากับฟ้าวันใหม่รสู้ กึ สดใส ยิง่ เราได้รบั การดูแล อันเป็นอย่างดีจากเจ้าของบ้านกับอาหารเช้า มิตรไมตรีของ ทุกคนในชุมชนแห่งนี้ที่ท�ำหน้าที่ของทุกคนได้อย่างสมบูรณ์ จึ ง อยากจะบอกกั บ ทุ ก คนให้ รั บ รู ้ ว ่ า ชุ ม ชนบ้ า นเวี ย งเหนื อ ทีเ่ ปรียบเสมือนเราเป็นครอบครัวเดียวกัน เรามีโอกาสพบเจอกัน ในวั น นี้ ต ้ อ งขอขอบพระคุ ณ ท่ า นพอนสะหวั ด กะมนทอง รองหัวหน้าแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว แขวงหลวงน�้ ำ ทา ท่ า นก� ำ ทน หลวงลื อ ไซ ผู ้ อ� ำ นวยการ วิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา ท่านอาจารย์ทองใบ ท่านสมสะหวาด คณะอาจารย์จากวิทยาลัยครูหลวงน�ำ้ ทา และทุกคน ที่ร่วมเดินทาง ที่ได้มีโอกาสให้ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยน บอกกล่าวความรู้สึกดีๆ ต่อกัน หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าสัญญาใจที่ให้ไว้ต่อกันมันคงมั่นคงตลอดไป เวียงเหนือ...นั้น เหนือความคาดหมายไว้จริงๆ
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ฝึกตบถั่วเน่าที่บ้านเตาห้วย
วนิดา สายจันทร์ ถนอม คีรีแก้ว น าคม 2557 ที่ ผ ่ า นมา พวกเรากลุ ่ ม ฉวีวรรณ สลีสองสม โฮมสเตย์เมืบ่อ้าเดืนร่ออนมีงปลายนาได้ มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเยือน
45 นาที ไปทางเมืองลา เป็นถนนลาดยาง หินคลุก
16
พี่ น ้ อ งชาวไตเขิ น ไตใหญ่ เ มื อ งเชี ย งตุ ง สาธารณรั ฐ แห่ ง สหภาพเมียนมาร์ เหมือนได้ย้อนกลับไปสู่วิถีชีวิตของชุมชน ชนบทเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ท�ำให้หวนร�ำลึกถึงอดีตสมัยยังวัยเยาว์ ทีไ่ ด้วงิ่ เล่นตามทุง่ นา เลีย้ งควาย ปลูกข้าวไถนา กลิน่ โคลนสาบควาย ย้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ ความผูกพันระหว่าง ธรรมชาติกับมนุษย์ ที่กระตุ้นเตือนให้พวกเราต้องกลับมานั่งนึกว่าพวกเรา ลืมรากเหง้าความเป็นชุมชนชนบทที่มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจปกป้องวิถี วัฒนธรรมอันดีงามของเราหรือเปล่า? พวกเราอ่านหมายก�ำหนดการและฟังอาจารย์ ดร.ชูกลิ่น อุนวิจิตร ผู้อ�ำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย แจ้งกิจกรรมที่จะไปเยี่ยมชุมชนต่างๆ ก็ตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก น้องๆ ในรถ บอกว่ า จะพาไปกิ น อาหารพื้ น ถิ่ น ของเชี ย งตุ ง ที่ อ ร่ อ ยๆ เมื่ อ ไหร่ จ ะถึ ง สั ก ที อีกนิดเดียว อีกนิดเดียว จนเผลอหลับไป พอตื่นมาอีกทีถึงหมู่บ้านปางเลาะ หมู่บ้านที่มีอาชีพต้มเหล้าทั้งหมู่บ้าน พวกเราอยากจะจอดรถไปดูจริงๆ แต่ว่า พี่น้องชาวเชียงตุงรอเราอยู่ที่ตลาดวัดเจียงขุ้ม ถึงแล้วเมืองเชียงตุง สภาพแวดล้อมสองข้างทางสะท้อนให้เห็นวิถีสงบ เรียบง่ายของคนในท้องถิน่ ไม่เร่งรีบ ตลอดเส้นทางไปบ้านเตาห้วย ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 45 นาที ไปทางเมืองลา เป็นถนนลาดยางหินคลุก ระหว่างทาง จะเห็ น วิ ธี ก ารก่ อ สร้ า งทางของพม่ า ที่ ใ ช้ แ รงงานคนเป็ น หลั ก นั่ ง เรี ย งหิ น ทีละก้อนๆ แล้วใช้ยางมะตอยราดลงไปก่อนจะบดทับอีกที เห็นแล้วก็แปลกตา ไปอี ก แบบ ทุ ่ ง นาอั น กว้ า งไกลสองข้ า งทาง ควายก� ำ ลั ง นอนอาบแดด อย่างสบายใจในบ่อโคลน ดูแล้วมันช่างสุขแสนจะสบายเหลือเกิน
ฝึกตบถั่วเน่าที่บ้านเตาห้วย
17
และแล้วพวกเราก็มาถึงบ้านเตาห้วยเมื่อตอนบ่ายสองโมงกว่าๆ กลิ่นอะไรหอมโชยมาแต่ไกล คล้ายกลิ่นถั่วเน่า ใช่แล้วหมู่บ้านเตาห้วย ต� ำ บลยางเก๋ ง เป็ น กลุ ่ ม ชาติ พั น ธุ ์ ไ ตใหญ่ ที่ มี ค วามผู ก พั น กั บ ถั่ ว เน่ า ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบอาหารที่ส�ำคัญทั้งเครื่องปรุงและท�ำเป็นอาหาร เมนูตา่ งๆ ทีพ่ วกเรารูจ้ กั กันดี บ้านเตาห้วยเป็นหมูบ่ า้ นทีผ่ ลิตถัว่ เน่าเป็นอาชีพหลัก ทุกหลังคาเรือน ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่สามารถบอกเล่ากรรมวิธีการท�ำถั่วเน่า ได้ทุกคน เมื่อพวกเรามาถึงมีคนรออยู่เต็มแล้ว กลุ่มแม่บ้านช่วยกันเสิร์ฟ อาหารพืน้ บ้าน ข้าวเส้น ข้าวแตน ขนมแคบเจทอดทีท่ ำ� จากมันฝรัง่ ย�ำผักฮี้ เม็ดดอกบัวผัด สารพัดเมนูเจเลยทีเดียว เป็นที่น่าเสียดายจริงๆ ไม่รู้ว่า มีของดีรออยู่ข้างหน้า พวกเราเลยทานได้น้อย เพราะเพิ่งอิ่มมาจากตลาด หน้าวัดเจียงขุ้ม แต่เพื่อไม่ให้เสียน�้ำใจลองชิมดู ขอบอกว่าอร่อยมากๆ ขอห่อย�ำผักฮี้ไปสักหน่อยได้ไหมจ๊ะ จากนัน้ ลุงวิ กับลุงอูเตเว่งต๊ะ สองแกนน�ำคนส�ำคัญของบ้านเตาห้วย ได้แนะน�ำก�ำนันประจ�ำต�ำบลยางเก๋ง ต�ำบลกาดฟ้า และผู้น�ำหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน ให้พวกเราได้รู้จัก ก่อนจะแนะน�ำกรรมวิธีการผลิตถั่วเน่า ตั้ ง แต่ คั ด เลื อ กถั่ ว การต้ ม การหมั ก การบด และการตบถั่ ว เน่ า ให้ เ ป็ น แผ่ น วงกลม พอเห็ น น้ อ งๆ ตบถั่ ว เน่ า ไป-มาเหมื อ นจะง่ า ยๆ ป้าวนิดาก็อยากจะลองบ้าง พอลงมือจริงบอกได้เลยว่าไม่ง่ายอย่างที่คิดนะ หมู ่ เ ฮา เพราะต้ อ งอาศั ย เคล็ ด ลั บ การตบจริ ง ๆ ถึ ง จะกลมอย่ า งเขา นอกจากได้ลงมือตบ (ถั่วเน่า) จริงๆ แล้ว ก่อนกลับบ้านพวกเราได้รับ ของฝากเป็นถั่วเน่าแผ่นทรงเครื่อง ถั่วเน่าแผ่นธรรมดาคนละสองห่อ และ ยั ง ซื้ อ มาฝากคนที่ บ ้ า นด้ ว ยคนละหลายห่ อ เป็ น ของดี แ ท้ ๆ จากเมื อ ง เชียงตุงเชียวล่ะ ขอขอบคุณชาวบ้านเตาห้วยทุกคน ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เจ้าบ้านมีอัธยาศัยดีมาก อาหารดีและอร่อยมาก ภาษาพูดก็คล้ายคลึงกัน ชอบใจมาก เหมือนเราอยูบ่ า้ นเราเอง ดีใจทีไ่ ด้ไปเยือนเชียงตุง บ้านเตาห้วย บ้านอื่นๆ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่น้อยคนจะได้ไป เช่น ดอยเหมย และ พระธาตุจอมดอยที่เมืองลัง
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
หนองก๋ม ชุมชนเล็กๆ ณ เมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ ที่ อ บอวลไปด้ ว ยวั ฒ นธรรมและกลิ่ น อายของความเป็ น ธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนบ้านหนองก๋ม ครั้งแรกที่ไปถึง ณ บ้านหนองก๋ม สิ่งแรกที่เห็น คือ การต้อนรับของชาวบ้าน ที่ อ อกมาต้ อ นรั บ คณะเดิ น ทางจากเชี ย งราย น้ อ งๆ และ ชาวบ้านที่มา ยิ้มแย้ม และทักทายอย่างเป็นกันเอง อีกทั้ง ภาษาก็คยุ กันง่ายเนือ่ งจากใช้ภาษาไทใหญ่ ทีใ่ กล้เคียงภาษาไทย ท�ำให้รสู้ กึ อบอุน่ เหมือนเรามาเยีย่ มญาติ ทางหมูบ่ า้ นมีการเตรียม อาหารทีเ่ ป็นอาหารประจ�ำถิน่ (ข้าวแรมฟืนและข้าวซอยน้อย) ให้พวกเราได้ลิ้มลอง อยากจะบอกว่ามาเมืองเชียงตุงคณะเรา อิ่ ม อร่ อ ยแทบทุ ก มื้ อ ไปเยี่ ย มชมหมู ่ บ ้ า นไหนก็ จ ะมี น�้ ำ ท่ า อาหารการกินมาต้อนรับ พร้อมกับอัธยาศัยไมตรีของเจ้าถิ่น การมาเยี่ยมชมหมู่บ้านหนองก๋ม ได้เรียนรู้และซึมซับ ในหลายเรื่ อ ง ที่ เ ห็ น จะเด่ น ชั ด คื อ เกิ ด ความประทั บ ใจ ในความเป็นธรรมชาติของชุมชนและการน�ำทรัพยากรมาใช้ ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในชุมชน สภาพหมูบ่ า้ นหนองก๋ม ก็ ถื อ ว่ า มี ค วามกลมกลื น กั บ สิ่ ง ปลู ก สร้ า งของชุ ม ชน ได้เป็นอย่างดี ที่เห็นได้ชัดเจน คือ บ้านเรือนของชาวบ้าน ส่วนใหญ่ใช้ดินมาสร้างบ้าน หลังคาซึ่งส่วนใหญ่ท�ำจากไม้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
(เหมื อ นแป้ น เกล็ ด ) ก็ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ รั้ ว ที่ กั้ น รอบบ้ า น ก็ ป ลู ก พื ช ที่ ส ามารถกิ น ได้ ส่ ว นการเลี้ ย งสั ต ว์ ข อง บ้านหนองก๋ม ที่สังเกตเห็นส่วนใหญ่จะเลี้ยง วัว หมู ไก่ เขาเลีย้ งสัตว์ปล่อยตามธรรมชาติ แต่จะสร้างทีอ่ ยูใ่ ห้เป็นสัดส่วน เช่น เลี้ยงวัว ก็จะมีคอกวัว หมู ไก่ ก็จะมีเล้าเป็นสัดส่วน ป้าวนิดาบอกว่าถ้าย้อนเวลากลับไปได้กค็ งจะเหมือนเชียงราย บ้านเราเมือ่ 50 ปี ทีผ่ า่ นมา ทีน่ า่ ชืน่ ชมไปกว่านั้น คือ เด็กๆ ที่นี่จะมีความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในชุมชน มีใจรักที่จะ สืบสานในเรือ่ งของการสืบทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ น้องทีน่ จี่ กั สานกันเก่งมาก สามารถสานเสือ่ ผืนใหญ่ได้เป็นผืนๆ หรือท�ำหมวก สานหมวกก็ได้ เพราะอาชีพหลักชาวบ้านหนองก๋ม ส่วนใหญ่ คือ การท�ำหมวก (กุบ) ขาย และส่งไปยังตลาดเชียงตุง และที่ต่างๆ แล้วแต่ออเดอร์ หมวกที่ท�ำก็ใช้วัสดุธรรมชาติ ที่หาได้ในชุมชน
หนองก๋ม บ้านประทับใจ ชลธิชา อ�ำนาจสกุล ณัชชา ชัยวังเย็น
18
หนองก๋ม บ้านประทับใจ
แต่ ล ะบ้ า นจะออกแบบหมวกของตนเอง เน้ น สี สั น สวยงาม เพิม่ ลวดลายแตกต่างกันบ้างแต่ยงั คงรูปทรงของหมวกแบบดัง้ เดิมไว้ ไปครั้งนี้พวกเราได้หมวกมาคนละใบสองใบ ซึ่งราคาก็ไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับบ้านเรา อ้อ! ที่เห็นอีกอย่าง คือ การตีมีด ถือว่า เป็นจุดสนใจอีกอย่างหนึง่ ซึง่ ในเชียงรายปัจจุบนั หาดูได้คอ่ นข้างยาก เพราะการตีมีดจะมีเอกลักษณ์เฉพาะทางอยู่ในการตีมีดแต่ละเล่ม ต้องมีเทคนิคเฉพาะทางจริงๆ น่าชมมากๆ พวกเราเดินรอบๆ หมู่บ้านไม่รู้สึกเหนื่อยเนื่องจากสภาพ หมู่บ้านร่มรื่น ธรรมชาติรอบข้างดูสดชื่น และบ้านเรือนก็ดูสะอาด สะอ้าน สบายตา แทบทุกบ้านจะเดินได้ทะลุถึงกัน ถึงมีรั้วกั้น ก็จะมีช่องประตูให้ไปมาหากันได้ คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องกัน เกือบหมด เมื่อพวกเราบอกว่ามาจากเชียงราย พวกเขาจะรู้สึกดีใจ และพูดคุยเล่าเรื่องว่ามีลูกหลานไปอยู่เชียงรายท�ำงาน บ้างก็เคย ไปอยู่แม่สาย เชียงรายมาก่อน และมักจะพูดว่าเมืองไทยน่าอยู่กัน ทุกคน เพี ย งไม่ กี่ ชั่ ว โมงที่ เ ราได้ ม าเยี่ ย มเยื อ นบ้ า นหนองก๋ ม แห่งเมืองเชียงตุงนี้ หลายคนบอกว่าเหมือนพวกเราได้หวนคืนอดีต ที่ ผ ่ า นมาสมั ย ที่ พ วกเรายั ง เป็ น เด็ ก เล็ ก ๆ ที่ ส ภาพบ้ า นเรื อ น เป็นแบบดั้งเดิม อีกทั้งเด็กๆ น้องๆ ก็ยังมีความเป็นธรรมชาติ สดใส ผู้คนทั้งหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ ก็มีมิตรไมตรีประดุจพวกเรา เป็ น ญาติ ม าจากแดนไกลเพื่ อ มาเยี่ ย มเยี อ น ดิ ฉั น เชื่ อ ว่ า หาก บ้านหนองก๋มได้มีการท�ำการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาพัก มาเยี่ยมชม และได้มาเรียนรู้กับชาวบ้าน พวกเขาก็คงจะเกิดความประทับใจและ คงอยากมาเยือนเหมือนดิฉันเป็นแน่แท้
19
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
บ้านยางโกง หมู่บ้านปั้นดินให้เป็นทอง
21
บ้านยางโกง
หมู่บ้านปั้นดินให้เป็นทอง ไพรัช โรงสะอาด
20
บ้ า นยางโกง เป็ น หมู ่ บ ้ า นไทเขิ น อยู ่ ใ นเขตพื้ น ที่ เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ทยี่ งั คงรักษาเอกลักษณ์ ของชุมชน ในการท�ำผลิตภัณฑ์จากดินเผามาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การปัน้ ฉัตร กระเบือ้ งดินเผา สัตว์ในป่าหิมพานต์ หม้อ เตา ออมสินดินเผา เป็นต้น ดินที่ใช้ในการปั้นมาจากพื้นที่ ใกล้ เ คี ย งที่ มี คุ ณ สมบั ติ เ หมื อ นดิ น ในแหล่ ง เดิ ม ของหมู ่ บ ้ า น ที่หมดไปแล้ว ดิน ชนิด นี้ให้สีสัน สวยงามท�ำให้มีเกล็ดสีทอง แวววาวขึ้นอยู่ตามชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์
ออมสินดินเผาเป็นผลิตภัณฑ์ยอดฮิต สร้างรายได้เป็นกอบเป็นก�ำให้แม่โหย่ง ภรรยาของลุงหนานสาม ผูท้ ชี่ อบการอนุรกั ษ์ของเก่า ลุงมีความรูด้ า้ นภาษาพืน้ เมืองล้านนา และพูดภาษาพื้นเมืองล้านนาเป็นอย่างดี แม่โหย่งบอกว่า “การท�ำให้ดินเป็นทองนี้ ก็ ขึ้ น อยู ่ กั บ ความช� ำ นาญ ท� ำ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ อกมาดู ดี สวย น่ า ซื้ อ หา ใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ ก็มีค่าราคาเหมือนทองค�ำขึ้นมาแล้ว” วิธีท�ำออมสินดินเผา “การท�ำขั้นแรกโดยการขึ้นก้น ด้วยการตบให้แบนเป็นลักษณะวงกลม หักขอบประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นท�ำการ ขึ้นตัว กลิ้งดินให้เป็นผืนตามขนาดที่ต้องการ กว้าง 4 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว แล้วน�ำมาต่อ กับส่วนก้น โดยวางดินไว้ด้านบนแล้วค่อยๆ ใช้มือด้านซ้ายตบด้านนอก ส่วนสันมือ ด้านขวาท�ำหน้าที่รูดให้มีลักษณะกลม และขึ้นปากไปพร้อมเดียวกัน ในขณะที่ขึ้นรูป ให้ใช้ผ้าดิบชุบน�้ำลูบตามไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ลักษณะของผิวเรียบเนียน เมื่อเสร็จแล้ว ก็ท�ำฝาปิดออมสิน โดยการกลิ้งดินให้กลมแบนก่อนแล้วน�ำมาปิดบนตัว ใช้มือขวาเป็น ตัวจับเชื่อมกับส่วนตัวโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางในการบิดลาย เพื่อให้ตัว กับฝาติดกัน จากนั้นใช้ไม้ตัดดินส่วนก้นที่ไม่ใช้ทิ้ง ใช้ผ้าชุบน�้ำเช็ดให้เรียบสวยงาม ทิ้ ง ไว้ ป ระมาณครึ่ ง วั น ผึ่ ง แดดหรื อ ผึ่ ง ลมให้ แ ห้ ง จากนั้ น น� ำ มาเจาะรู บ นฝาเพื่ อ ใช้ เป็นที่หยอดเหรียญ ก่อนน�ำไปเผาจะตกแต่งก้นให้สวยงามอีกครั้งหนึ่ง ในการตากแห้ง เมื่อขึ้นรูปได้ภาชนะตามที่ต้องการแล้ว จึงน�ำไปผึ่งลมไว้ในที่ร่มประมาณ 2 วัน และ ตากแดด 1 วัน ก่อนน�ำไปสู่ขั้นตอนการเผา โดยการน�ำภาชนะที่จะเผามาเรียงติดๆ กัน บนลานกว้าง ก่อนจะเผาด้วยฟางข้าว แกลบหยาบ และฟืนผสมกัน ใช้เวลาเผา 1 คืน หรื อ ดู จ นกว่ า ดิ น จะเผาได้ สุ ก พอดี จากนั้ น จึ ง เกลี่ ย แกลบและฟางออก แล้ ว ปล่ อ ย ให้ภาชนะทีเ่ ผาแล้วเย็นตัว ก่อนน�ำออกมาจากเตาเผาเพือ่ ตรวจสอบคุณภาพก่อนน�ำไปใช้งาน หรือจัดจ�ำหน่ายต่อไป” สิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และทดลอง ท�ำได้จริงเป็นส่วนหนึ่งที่ภาคภูมิใจครั้งที่มาเที่ยวยางโกง เชียงตุง เมียนมาร์ เห็นอย่างนี้ คิดถึงเครื่องปั้นดินเผาของบ้านร่องปลายนา ของที่ท�ำง่ายๆ นักท่องเที่ยวก็น่าจะลองท�ำ ด้วยตนเองได้ นอกจากการปั้นดินให้เป็นทองแล้ว หมู่บ้านยางโกงยังมีวัตถุโบราณที่หาชมยาก ได้แก่ พรวน วัว ควาย ทีม่ เี สียงกังวาน มีดโบราณ ดาบคมหวายตัง้ ได้บนมืออายุรอ้ ยกว่าปี ที่หาชมได้ยาก สามารถเข้าชมได้ที่บ้านลุงหนานสามสามีแม่โหย่ง ภูมิปัญญาปั้นดินให้เป็นทอง ส่วน “พระเกล็ดนาค” ที่มีอายุราว 700 ปี ท่านสามารถเข้าไปสักการะได้ที่วัดยางโกงได้ทุกวันและยังคงรอให้ท่าน ได้เข้ามาเรียนรู้และค้นหาต่อไป...
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
หลัง 5 โมงเย็นช่วงวันเพ็ญเดือนสิบสองหรือเดือนยี่เป็งของ เชียงตุง (พฤศจิกายน/ธันวาคม) ของทุกปีทบี่ า้ นยางขวายจะมีการขัดตาแหลว ปิดหมูบ่ า้ น คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า เพราะวันนีเ้ ป็น “วันก�ำซิง” ทุกคนจะหยุดท�ำงานและจะมารวมตัวกันที่กลางบ้าน เพื่อร่วมพิธี ไหว้ครูซิงเจ้าฟ้าของหมู่บ้าน เครื่องไหว้ครูมีเทียนเงิน 8 คู่ ไก่ต้ม 3 ตัว เหล้า 1 ขวด แกงข้าวคั่ว และแกงผักกาด เมื่ออ่านมาดวันดี จุดเทียนบอกกล่าว เทวดาบ้าน เทวดาเมือง และบอกกล่าวครูเก๊า ครูปลาย ครูตาย ครูยงั ไปรั บ เครื่ อ งไหว้ ค รู แล้ ว จึ ง เอาซิ ง มาสี (ซิ ง ทั่ ว ไปมี 4 สาย แต่ซิงบ้านยางขวายมี 12 สาย มีรูปลักษณะคล้ายจะเข้ใช้สี เชือกท�ำ ด้วยสายป่าน เรียกกันว่า ซิงเก๊าเมือง บ้านยางขวาย เอื่องเมืองลัง เชียงตุง) พร้อมร้องเป็นท�ำนองว่า “ยอดหาจู้ จู้หาลู่หาเรียน แล่นเต้า แล่นเต้า เจ้าว่าสังสัง มันหาเป็นแต่เจ้า เจ้าเหือยเจ้า เจ้าว่าสังสัง มา เป็นแต่แก้ว แก้วเหือยแก้ว แก้วว่าสังสัง แล่นเต้าแล่นเต้า เจ้าว่า สังสัง มาหาเป็นตี่เล่น สองเรามันหาชู้ ชู้กอยใจ คืนใจ น้องสาวว่า เหือยเหือย” เมื่อร้องครบสามรอบกล่าวค�ำว่า อียา คนในหมู่บ้าน ก็จะขานรับพร้อมกันว่า ฮิ้ว เป็นอันเสร็จพิธีและน�ำเอาเครื่องไหว้ครู มาแบ่งกันกิน พร้อมกับร้องร�ำท�ำเพลงกันอย่างสนุกสนาน
พิธี ไหว้ครูซิงเจ้าฟ้า บ้านยางขวาย พลอยน�้ำค้าง 22
พิธี ไหว้ครูซิงเจ้าฟ้า บ้านยางขวาย
เรื่ อ งนี้ มี ป ระวั ติ อ ยู ่ ว ่ า เมื่ อ ครั้ ง เจ้ า เจ็ ด พั น ตู ม าครอง เมื อ งเชี ย งตุ ง ได้ น� ำ ไพร่ พ ลและช่ า งจ้ อ ย ช่ า งซอมาจาก เมืองเชียงใหม่ดว้ ย สองพีน่ อ้ งนายจอมจันทร์ผพู้ แี่ ละนายบุญมา ผู ้ น ้ อ งเป็ น หั ว หน้ า คณะน� ำ เครื่ อ งดนตรี พื้ น เมื อ งล้ า นนา ติดตัวมา 4 อย่าง คือ การระสับ ปี่ กลอง และซิง เมือ่ ใดมีงานบูชา สัมมาคารวะ อภิเสกเสวยเมือง สองพี่ น ้ อ งจะน� ำ คณะดนตรี ไปเล่นที่คุ้มหอเจ้าเมือง ต่อมา นายจอมจั น ทร์ ไ ด้ ภ รรยาเป็ น คนบ้ า นยางขวาย และ ได้เป็นผู้เก็บรักษาซิง และมีการไหว้ครูสืบต่อๆ กันมาทุกปี ไม่ขาดสาย ปัจจุบันลุงหนานยี่ห้องเป็นผู้เก็บรักษาซิงเจ้าฟ้านี้ ชาวบ้านยางขวายมีความเคารพนับถือซิงเจ้าฟ้านี้มาก ว่าเป็น ของสูงของศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าใครจะไปท�ำมาค้าขาย ไปเล่าเรียน ที่ใดก็จะมาบูชาซิงที่บ้านลุงหนานยี่ห้องทุกคน การสืบสานประเพณี “ก�ำซิง” มีมานานกว่า 600 ปี ของบ้านยางขวาย ท�ำให้พวกเรารู้สึกประทับใจในการสืบทอด จารีตประเพณีของหมู่บ้านนี้มาก ว่าท�ำได้อย่างไรนานขนาดนี้ หลังจากได้มโี อกาสเห็นและรับทราบเรือ่ งราวของซิงเจ้าฟ้าแล้ว ความลับของหมูบ่ า้ นก็เปิดเผยออกมาแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรม ผ่านกิจกรรมทีจ่ ดั เตรียมไว้ตอ้ นรับชาวเชียงราย อย่างทีเ่ รียกว่า
23
จั ด เต็ ม ภาพของผู ้ เ ฒ่ า ผู ้ แ ก่ ม านั่ ง เป็ น ก� ำ ลั ง ใจให้ เ ด็ ก ๆ ที่เป็นช่างฟ้อน ชุดแล้วชุดเล่า เจ้าของบ้านผู้ชายต้อนรับและ จัดเตรียมสถานที่และเครื่องเสียง ฝ่ายหญิงช่วยกันท�ำอาหาร มากมายก่ายกองเกินก�ำลังที่จะรับประทานหมด ยังมีกลุ่ม ที่ ส อนให้ พ วกเราปิ ้ ง ข้ า วแคบและท� ำ ข้ า วซอยน้ อ ยสู ต ร บ้ า นยางขวายและพาไปดู ส วนผั ก ปลอดสารพิ ษ อี ก ล่ ะ พวกเราไปกันสิบกว่าคนแต่ได้สัมผัสกับความร่วมมือร่วมใจ ของผู้คนทุกเพศ ทุกวัยของหมู่บ้าน ซาบซึ้งและประทับใจว่า หมู ่ บ ้ า นมี ค วามสามั ค คี เ ป็ น เลิ ศ จึ ง สามารถอนุ รั ก ษ์ ขนบประเพณี สถาปัตยกรรมบ้านเรือน การแต่งกาย อาหาร การแสดง ฯลฯ โดยไม่ มี ช ่ อ งว่ า งระหว่ า งวั ย สายใยทาง วั ฒ นธรรมจึ ง ทอดยาวมาได้ เ ป็ น ร้ อ ยๆ ปี ยางขวาย เป็นหมู่บ้านอนุรักษ์สมบูรณ์แบบที่น่ามาเรียนรู้อีกบ้านหนึ่ง ของเมืองเชียงตุงจริงๆ
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ท่ชุมาชนแห่ ขันทอง : งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และหมู่บ้านโฮมสเตย์ดีเด่น
หลิว ยี่หลาน
“ท่าขันทอง” ชือ่ นีค้ นุ้ หูมาตัง้ แต่เมือ่ ครัง้ ยังเป็นเด็กแล้ว เพราะบ้านเกิดของผูเ้ ขียนก็อยูใ่ นเขตต�ำบลบ้านแซวเหมือนกัน แต่อยู่ในเขตภูเขาสูงหรือที่คนรู้จักในชื่อ “ป่าไร่หลวง” ซึ่งอยู่ อีกฝั่งภูเขาของบ้านท่าขันทองนั่นเอง แต่ก็ไม่เคยได้มาสัมผัส ถึงวิถีชีวิตของความเป็นอยู่ของผู้คนอีกฟากฝั่งหมู่บ้านของ ตนเองเลย จวบจนมาถึ ง วั น ที่ ไ ด้ ม าร่ ว มโครงการวิ จั ย ฯ กั บ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ชูกลิน่ อุนวิจติ ร ได้นำ� พาให้ได้มาสัมผัส กับผูค้ นและวิถชี วี ติ แบบบ้านๆ ของชาวท่าขันทอง ซึง่ มีวถิ ชี วี ติ แบบพื้ น บ้ า นชาวไทอี ส าน หรื อ เป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น ในนามของ บ้านพักโฮมสเตย์ดีเด่นระดับประเทศและรางวัลการท่องเที่ยว ระดับรางวัลกินรีของ ททท. บ้านท่าขันทอง เป็นชุมชนหนึง่ ทีต่ งั้ อยูใ่ นต�ำบลบ้านแซว อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นหมู่บ้านที่ตั้งติดกับ ริ ม แม่ น�้ ำ โขง มี ร ะบบเศรษฐกิ จ ชุ ม ชนแบบพึ่ ง ตนเอง ซึ่งถือเป็นรากฐานส�ำคัญของชุมชน ท�ำให้ชุมชนนี้มีวิถีชีวิต อย่ า งพอเพี ย งพึ่ ง พาธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ มในชุ ม ชน 24
นอกจากนี้ ยั ง เป็ น ชุ ม ชนที่ มี ค วามสะอาด สวยงาม และ เหมาะกับการมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติ และนี่ก็คือจุดเริ่มของบ้านพักโฮมสเตย์ของบ้านท่าขันทอง ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้แ ก่คนในชุมชน โดยที่ยังคงรักษา ธรรมชาติไว้ ระบบบ้านพักในรูปแบบของโฮมสเตย์ในบ้านท่าขันทอง เท่าที่ได้พักและสัมผัสเห็นด้วยตนเอง จะเห็นว่ามีรูปแบบ การจัดการที่ดีมาก ทั้งในด้านของที่นอน และเครื่องอ�ำนวย ความสะดวกต่างๆ ทั้งผ้าเช็ดตัว สบู่ และห้องน�้ำ ตลอดทั้ง อาหารการกินในช่วงเช้าและเย็นด้วย
ท่าขันทอง : ชุมชนแห่งการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม และหมู่บ้านโฮมสเตย์ดีเด่น
สิ่งที่ประทับใจและคิดว่าเป็นเสน่ห์ของบ้านท่าขันทองในการจัดการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ คือ การจัดให้นกั ท่องเทีย่ วนัง่ รถอีตอ๊ ก (รถ 2 ล้อรถพ่วงต่อกับรถไถก้านยาว) ชมทัศนียภาพและกิจกรรมต่างๆ ทางการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน โดยคนในชุมชน เป็นคนน�ำพา นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากตั้งแต่การนั่งเรือชมทิวทัศน์ของ สองฟากฝัง่ แม่นำ�้ โขง ดูวถิ ชี วี ติ การท�ำมาหากินของผูค้ นทีอ่ ยูก่ บั แม่นำ�้ โขง การชิมอาหาร ที่หามาได้จากแม่น�้ำ การท�ำกิจกรรมทางอาชีพของคนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นการทอผ้า การเลี้ย งจิ้งหรีด การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ตลอดจนการน�ำชมวิถีการเคารพ พระแม่ ค งคา และการแสดงทางวั ฒ นธรรมที่ ยิ่ ง ใหญ่ เ พื่ อ ต้ อ นรั บ แขกที่ ม าเยื อ น ที่เป็นเอกลักษณ์และแสดงถึงวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น แต่ถึงแม้ว่าเราจะเห็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นทุนทางสังคม และทุนทาง วัฒนธรรมที่มีความเหมาะสมต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มาก ทั้งการ ตั้งกลุ่มทางอาชีพ เช่น กลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด กลุ่มทอผ้า กลุ่มแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ หลายกลุม่ มาร่วมต้อนรับ แต่ยงั รูส้ กึ ว่ามีลกั ษณะแยกส่วนอยูม่ าก หากชุมชนได้นำ� เอาสิง่ ที่ เ ป็ น จุ ด เด่ น ของแต่ ล ะกลุ ่ ม หลอมรวมเป็ น กิ จ กรรมร่ ว มหรื อ ประสานงานให้ เ กิ ด การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้ครบองค์ประกอบก็จะท�ำให้การจัดการการท่องเที่ยว ของชุมชนพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และเป็นการจัดการการท่องเที่ยว ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงต่อไป
25
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
อนุรักษ์ธรรมชาติ ที่บ้านโป่งน�้ำร้อน
27
อนุรักษ์ธรรมชาติ
ที่บ้านโป่งน�้ำร้อน ญาณัท ศิริสาร
นับเป็นระยะเวลากว่า 5 ปีมาแล้วที่บ้านโป่งน�้ำร้อน หมู่ 7 ต�ำบลดอยฮาง อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาเยี่ยมเยือนหมู่บ้าน บ้านโป่งน�้ำร้อน เป็นชุมชนทีม่ กี ารจัดการการท่องเทีย่ วโดยชุมชนร่วมกันของ 4 หย่อมบ้าน ประกอบด้วย ชุมชนคนเมือง ชาวจีนยูนนาน ชนเผ่าอาข่า และชนเผ่า ลีซู ด้วยทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ น�้ ำ ตกห้ ว ยแก้ ว แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วใกล้ เ คี ย งอย่ า งบ่ อ น�้ ำ ร้ อ นผาเสริ ฐ บ่อน�ำ้ ร้อนห้วยหมากเลีย่ ม และวัฒนธรรมชุมชนหลายเผ่า กิจกรรมท่องเทีย่ วทีน่ จี่ งึ มีให้เลือกหลากหลายทัง้ การเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ การท่องเทีย่ วเชิงเกษตร การศึกษาวิถชี วี ติ การท�ำเมีย่ ง ท�ำสวนชา ทานอาหารพืน้ บ้านและทีพ่ กั โฮมสเตย์ ที่ได้มาตรฐาน บ่ายของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 คณะนักท่องเทีย่ ว จากแขวงหลวงน�ำ้ ทา สปป.ลาว ได้มาเยีย่ มเยือน บ้านโป่งน�ำ้ ร้อน ท่านท้าวพอนสะหวัด กะมนทอง รองหัวหน้าห้องการแถลงข่าว วั ฒ นธรรมและการท่ อ งเที่ ย ว แขวงหลวงน�้ ำ ทา น� ำ ผู ้ แ ทนชุ ม ชน 4 หมู่บ้านจากหลวงน�้ำทา และคณะอาจารย์จากวิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา มาเยี่ยมบ้านโป่งน�้ำร้อน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านโป่งน�้ำร้อน ผู้แทนชุมชนและเยาวชนบ้านโป่งน�้ำร้อนให้การต้อนรับด้วยเข็มกลัด ดอกชาที่สวยงาม ประธานการท่องเที่ยวและสมาชิกกล่าวต้อนรับและ แนะน�ำหมูบ่ า้ น ท�ำให้ทราบว่าหมูบ่ า้ นแห่งนีเ้ ป็นหมูบ่ า้ นทีท่ ำ� เมีย่ งและชา มานานนับร้อยปี และมีผืนป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของ เชียงราย 26
เส้นทางตามโปรแกรมท่องเทีย่ วทีจ่ ดั ไว้ คือ การเดินทาง ไปยั ง น�้ ำ ตกห้ ว ยแก้ ว เพื่ อ ชื่ น ชมและสั ม ผั ส กั บ ธรรมชาติ อันสวยงาม สองข้างทางแวดล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ ป่าไผ่และ พืชพันธุต์ า่ งๆ ท�ำให้มบี รรยากาศร่มรืน่ เย็นสบาย แม้ทางเดินขึน้ จะมี ค วามชั น ป้ า ปิ ่ น แก้ ว อายุ 69 ปี ก็ เ ดิ น ขึ้ น น�้ ำ ตก อย่ า งกระฉั บ กระเฉง ไม่ เ มื่ อ ยไม่ เ หนื่ อ ยต่ า งจากพวกเรา วัยหนุ่มสาวที่ขาดการออกก�ำลังกายต้องหยุดพักเป็นระยะ พอถึงทีห่ มาย สายน�ำ้ และละอองของน�ำ้ ตกห้วยแก้วก็ทำ� ให้ทกุ คน รู้สึกเย็นสบายหายเหนื่อย เหมือนจะบอกเป็นนัยว่า นี่ไงล่ะ แหล่งท่องเที่ยวที่ลดภาวะโลกร้อน หนึ่งเดียวของภาคเหนือ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ หลั ง จากเก็ บ ภาพประทั บ ใจและหายเหนื่ อ ยแล้ ว ก็ เ ดิ น ลั ด เลาะบริ เ วณเชิ ง เขามายั ง บริ เ วณหย่ อ มบ้ า นอาข่ า ทางเดินลงลาดชันต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เส้นทาง ไปบ่อน�้ำร้อนต้องผ่านสวนชาของสุวิรุฬ์ชาไทย ทุกคนชื่นชอบ และถ่ายภาพกับสวนชาไว้เป็นที่ระลึก เห็นแล้วจะได้ชิมชา ไหมน๊อ ความสนุกสนานของวันแรกปิดท้ายกิจกรรมการเดินทาง ด้วยการแช่บ่อน�้ำร้อนผาเสริฐที่ท�ำให้คลายปวดเมื่อย กลาย เป็นความประทับใจที่ทุกคนชื่นชอบเพราะที่แขวงหลวงน�้ำทา ไม่มีบ่อน�้ำร้อน เย็ น ย�่ ำ ค�่ ำ คื น นี้ เ ป็ น บรรยากาศภายใต้ แ สงเที ย น อากาศก� ำ ลั ง เย็ น สบายพวกเราได้ ท านอาหารพื้ น บ้ า น
พร้อมเมนูเด็ด “ย�ำยอดชา” พร้อมชมการแสดงของเยาวชน จากโรงเรียนบ้านโป่งน�ำ้ ร้อน โดยการฝึกสอนของครูยพุ นิ เตมิยะ เป็ น ที่ น ่ า ชื่ น ชมอย่ า งยิ่ ง กั บ ความเป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น แสดงออกซึ่ ง ความสามั ค คี ข องเด็ ก เยาวชนในชุ ม ชน ทีส่ ามารถน�ำวิถชี วี ติ ชุมชนของทัง้ 4 เผ่า ปรับเป็นชุดการแสดง “ระบ�ำเก็บเมีย่ งเก็บชา” ในงานนี้ คุณวิชัย เทพวัลย์ นายกเทศมนตรีต�ำบล ดอยฮาง นายธนพล รักชาติ ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยสมาชิก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด ในเขตพื้ น ที่ ไ ด้ ร ่ ว มกิ จ กรรม ในการต้ อ นรั บ พี่ น ้ อ งชาวลาวร่ ว มกั น ด้ ว ย อาจารย์ ท องใบ สีวิไล ผู้อ�ำนวยการวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยครูห ลวงน�้ำทา ได้มอบรางวัลให้กับเยาวชนเป็นทุนการศึกษาจ�ำนวนหนึ่ง วันที่ 5 กุมภาพันธ์ หลังจากรับประทานอาหารเช้าแล้ว พวกเราได้เยี่ยมชมวิธีการผลิตชา ผลิตเมี่ยงในโรงงานของ พี่เดชา และเดินทางไปยังบ้านสองแคว เพื่อเข้าชมโรงงาน ผลิตแคบเจ ที่มีทั้งแคบเจเส้น และแคบเจหลอด ท�ำให้รู้ว่า ของดีของบ้านโป่งน�้ำร้อน คือ ชาด�ำและเมี่ยงปลอดสารพิษ ของดีบ้านสองแคว คือ แคบเจ ความประทับใจสุดท้าย คือ ของฝากก๋วยเมี่ย ง และแคบเจ จากชุมชนสองกล่องใหญ่ เอาไปฝากคนที่บ้านเน้อ
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
เมื่ อ กล่ า วถึ ง บ้ า นร่ อ งปลายนา หลายท่ า นคง จินตนาการว่าเป็นหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญ ทัศนียภาพส่วนใหญ่คงเป็นนาข้าวทีช่ าวบ้านปลูกไกลสุดลูกหูลกู ตา แต่ ใ ครจะเชื่ อ ว่ า บ้ า นร่ อ งปลายนาอยู ่ ห ่ า งจากตั ว เมื อ ง จ.เชี ย งรายเพี ย ง 14 กิ โ ลเมตร ใช้ เ วลาเดิ น ทางไม่ เ กิ น 15 นาที จ ากตั ว เมื อ งเชี ย งรายที่ นั บ วั น แต่ จ ะมี ค วามเจริ ญ เติบโตทางเศรษฐกิจมากยิง่ ขึน้ จากการมีศนู ย์การค้าขนาดใหญ่ โรงแรม คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ ฯลฯ ท� ำ ให้ ค วามเจริ ญ ขยายตั ว ไปสู ่ พื้ น ที่ บ ริ เ วณโดยรอบ อย่ า งไม่ ต ้ อ งสงสั ย การเดิ น ทางไปยั ง บ้ า นร่ อ งปลายนา จึงต้องผ่านความเจริญเหล่านี้อย่างปฏิเสธไม่ได้ ครั้งหนึ่ง ผู ้ เ ขี ย นได้ มี โ อกาสไปเยื อ นหมู ่ บ ้ า นแห่ ง นี้ เมื่ อ เดิ น ทาง มาถึงอาณาเขตบริเวณบ้านร่องปลายนาก็แทบไม่น่าเชื่อว่า นี่คือหมู่บ้านที่ยังคงด�ำเนินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมท่ามกลางสังคม เมืองที่เน้นความเจริญด้านวัตถุ พร้อมกับการตั้งค�ำถามในใจ ว่าอะไรทีท่ ำ� ให้ชาวบ้านยังคงอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมและด�ำรงวิถชี วี ติ ตามแบบฉบับดั้งเดิมได้ และเมื่อได้พูดคุยกับคนในหมู่บ้าน ผู้เขียนก็สัมผัสได้ถึงความมีมิตรไมตรี ความมีน�้ำใจ และ ความเสียสละของผู้คนอันแสดงถึงความรักและความสามัคคี ของคนในชุมชนทีม่ อี ยูอ่ ย่างเข้มแข็ง ทีส่ ำ� คัญทุกคนพร้อมใจกัน ที่จะคงวิถีชีวิตตามแบบดั้งเดิมในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง ถื อ เป็ น ทุ น ทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมที่ ห าได้ ย ากยิ่ ง ในยุคสมัยปัจจุบัน
28
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สิง่ ทีส่ ร้างความประทับใจส�ำหรับนักท่องเทีย่ วประการแรก คื อ ชาวบ้ า นทุ ก คนน่ า รั ก เป็ น กั น เอง ยิ้ ม แย้ ม แจ่ ม ใส มีอัธยาศัยไมตรีที่ดี มีน�้ำจิตน�้ำใจที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คือ ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยกันเสมือนญาติมิตร ส่งผลให้ชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้านได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ร่หมูอ่บ้างปลายนา นชนบท กลางเมือง ผศ.ดร.สุธีรา อะทะวงษา
ร่องปลายนา หมู่บ้านชนบทกลางเมือง
29
ประการที่สอง คือ ความสามัคคี เป็นพลังอันส�ำคัญยิ่งที่จะผลักดัน ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสบผลส�ำเร็จ อาทิ การรักษาความสะอาดสวยงามของชุมชนและครัวเรือน การอนุรักษ์ ประเพณีแบบล้านนา การรวมกลุม่ วิสาหกิจชุมชนทีม่ ผี ลิตภัณฑ์พนื้ บ้านหลายอย่าง รวมถึ ง การจั ด ที่ พั ก โฮมสเตย์ ไ ว้ ค อยต้ อ นรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ม าเยี่ ย มเยื อ น จึ ง ไม่ น ่ า แปลกใจที่ ชุ ม ชนแห่ ง นี้ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ งให้ เ ป็ น หมู ่ บ ้ า นวั ฒ นธรรม สู้ภัยเศรษฐกิจระดับจังหวัด เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและหมู่บ้านตัวอย่าง ในโครงการ “หน้ า บ้ า นน่ า มอง ในบ้ า นน่ า อยู ่ หลั ง บ้ า นน่ า ดู ” ของ จังหวัดเชียงราย และได้รับเลือกจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา จากการคัดสรรโฮมสเตย์มาตรฐานไทยให้เป็นชุมชนโฮมสเตย์ดีเด่น ในระดั บ ประเทศในปี พ.ศ.2553 ที่ ค งความเป็ น เอกลั ก ษณ์ ต ามวิ ถี ชี วิ ต แบบดั้งเดิม เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจและแรงบันดาลใจของชาวบ้าน ในชุ ม ชนที่ จ ะได้ ร ่ ว มกั น สื บ สานและอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมประเพณี ที่ ดี ง าม ให้คงไว้สืบต่อไป จุดเด่นเชิงสร้างสรรค์ของบ้านร่องปลายนา คือ การน�ำเสนอกิจกรรม ที่ เ ป็ น วิ ถี ชี วิ ต ประจ� ำ วั น สภาพแวดล้ อ มของพื้ น ที่ ที่ ส วยงาม ช่ ว ยสร้ า ง ความเข้ า ใจและชื่ น ชมในพลั ง ความสามั ค คี ข องคนในชุ ม ชน กิ จ กรรม การต้ อ นรั บ และการจั ด เลี้ ย งยามค�่ ำ คื น ดู อ บอุ ่ น เป็ น กั น เอง ช่ ว ยสร้ า ง ความสัมพันธ์และส่งมอบความสุขให้นักท่องเที่ยวแบบไม่อั้นระหว่างการร้องร�ำ ท� ำ เพลงและการมี ส ่ ว นร่ ว มตลอดรายการ ท� ำ ให้ ผู ้ ที่ ม าเยื อ นทุ ก คน กลับไปพร้อมกับความทรงจ�ำที่ดีและอยากกลับมาเยือนอีก
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “บ้านสองแควพัฒนา” สกาวเดือน บุญงาม
รถตูค้ อ่ ยๆ เคลือ่ นตัวช้าๆ ผ่านถนนลูกรังเข้าสูห่ มูบ่ า้ นสองแควพัฒนา พร้อมๆ กับการหายไปของสัญญาณโทรศัพท์มอื ถือ บอกให้รู้ว่าเราก�ำลังจะตัดขาดจากโลกภายนอกไปอยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของขุนเขาและป่าไม้ ที่หน้าประตูหมู่บ้าน หรือ “ล้อข่อง” เราตะลึงกับภาพทีเ่ ห็น ชาวบ้านกลุม่ ใหญ่แต่งกายด้วยชุดอาข่ามายืนต้อนรับอยูเ่ ต็มสองข้างทางเข้าหมูบ่ า้ น เมือ่ เสียงดนตรีอาข่า เริม่ บรรเลงขึน้ คณะนักท่องเทีย่ วก็ถกู เชิญให้เดินผ่านแถวต้อนรับของชาวบ้านเข้าสูห่ มูบ่ า้ น เป็นภาพทีน่ า่ ประทับใจและรูส้ กึ ตืน้ ตัน เป็นอย่างมากตั้งแต่วินาทีแรก หมู่บ้านนี้ดูสงบ ร่มรื่น บรรยากาศดี และยังคงไว้ซึ่งความดั้งเดิมของวัฒนธรรมประเพณี เมื่อเดินทางถึงศาลาต้อนรับ นักท่องเที่ยว เสียงหนึ่งที่ดึงดูดให้หันไปมอง คือ เสียงครกกระเดื่องที่ก�ำลังต�ำข้าว อ้าว! ตรงมุมโน้นก็มีแม่เฒ่าก�ำลังนั่ง ปั่นด้ายและเย็บปักถักร้อยอยู่ 2-3 คน เสียงล�ำน�้ำที่ไหลผ่านซอกหินริมศาลาต้อนรับท�ำให้รู้สึกเยือกเย็นและผ่อนคลาย หลังจากท�ำความรูจ้ กั และแลกเปลีย่ นข้อมูลกันแล้ว พวกเราเดินข้ามแม่นำ �้ ไปดูสถานีผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังน�ำ้ ของหมูบ่ า้ น ซึง่ มีจดุ เริม่ ต้นมาจากการทีช่ าวบ้านพยายามช่วยเหลือตนเองในการผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังงานน�ำ้ ไปใช้ในหมูบ่ า้ น ได้เห็นว่าชุมชนพึง่ ตนเองก่อนความช่วยเหลือของภาครัฐจะเข้ามาสนับสนุน การสร้างเขื่อนกักเก็บน�้ำและโรงงานไฟฟ้าพลังน�้ำ เวลามีไม่พอเราจึงไม่ได้ไปน�้ำตก ไกด์ท้องถิ่นพาเดินขึ้นไปยังเนินเขาข้างหมู่บ้าน ลัดเลาะ ตามไหล่เขาผ่านต้นไม้นอ้ ยใหญ่ และเดินลอดซุม้ ประตูหมูบ่ า้ นด้านหลังออกไปยังบริเวณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน ที่นี่คือป่าอนุรักษ์ของหมู่บ้านห้ามตัดต้นไม้บริเวณนี้ ทีน่ ชี่ าวบ้านได้จำ� ลองเครือ่ งมือดักจับสัตว์แบบต่างๆ ทีเ่ คยใช้ในอดีต ในขณะทีไ่ กด์บรรยาย และสาธิตการใช้อุปกรณ์แต่ละชนิดเป็นภาษาอาข่านั้น น้องแพมก็คอยเป็นล่ามแปล และตอบข้อซักถามอย่างคล่องแคล่ว คนที่เคยใช้เครื่องมือคล้ายกันนี้ก็ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และได้ทดลองใช้เครื่องมือเหล่านั้นไปด้วย หลายคนมีความสุขที่ได้ย้อนร�ำลึกถึงสิ่งที่เคยท�ำในอดีต ส�ำหรับบางคนที่เพิ่งพบเห็น 30
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “บ้านสองแควพัฒนา”
เป็นครัง้ แรกก็รสู้ กึ ตืน่ เต้น และได้เรียนรูเ้ กีย่ วกับภูมปิ ญ ั ญาของชาวอาข่าไปพร้อมๆ กัน ไกด์พาเดินต่อไปยังบริเวณบ่อน�ำ้ ศักดิส์ ทิ ธิข์ องหมูบ่ า้ น น�ำ้ ทีน่ ใ่ี ช้ในพิธกี รรมนะ ใช้ดมื่ ได้ แต่หา้ มใช้ลา้ งมือล้างเท้า น้องแพมบอก ตรงบริเวณดังกล่าวสามารถมองเห็นสถานที่ ท�ำพิธีโล้ชิงช้าของหมู่บ้านด้วย หลังจากเข้าบ้านพักโฮมสเตย์อาบน�้ำสดชื่นกันแล้ว พวกเราก็ได้เข้าร่วมพิธี สู ่ ข วั ญ อั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ท างหมู ่ บ ้ า นได้ จั ด เตรี ย มไว้ หมอสู ่ ข วั ญ จะท� ำ พิ ธี สู ่ ข วั ญ ให้กบั นักท่องเทีย่ วทีละคน โดยเราต้องไปนัง่ หน้าโตกใส่เครือ่ งสูข่ วัญอันประกอบด้วย ข้าวเหนียว ไข่ไก่ ไก่ต้ม และเหล้าขาว หมอสู่ขวัญจะให้เราหยิบข้าวเหนียวพร้อม กับไข่ต้ม พอหมอสู่ขวัญกล่าวค�ำให้พรเสร็จแล้ว เราก็กิน แล้วหยิบข้าวกับไก่กิน เช่ น เดี ย วกั น ขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ยคื อ การจิ บ เหล้ า พิ ธี ผู ้ ใ ดไม่ ดื่ ม ก็ น� ำ แก้ ว ไปแตะ ริมฝีปากแล้วเทเหล้าลงในแก้วที่หมอสู่ขวัญเตรียมไว้ได้ เมื่อเสร็จพิธีกลุ่มแม่บ้าน จึงยกโตกอาหารเย็นขึ้นมาเสิร์ฟ อาหารท้องถิ่นของชาวอาข่ามีท้ังไก่ในกระบอก ไม้ไผ่ น�้ำพริกอาข่า พร้อมผักสดนานาชนิดและไข่มดแดง ทุกอย่างอร่อยและ มีหน้าตาน่าทานเป็นอย่างมาก ระหว่างการรับประทานอาหาร หนุ่มสาวอาข่า ได้จัดแสดงด้านวัฒนธรรมให้กับนักท่องเที่ยวชมไปพร้อมๆ กัน การร้องเพลงอาข่า การเต้ น ร� ำ แบบอาข่ า และการละเล่ น ต่ า งๆ ของชาวอาข่ า ที่ เ ชิ ญ ชวน ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย หลายคนนึกสนุกและอดใจไม่ได้ที่จะเข้าไป ร่วมเต้นและเล่นไปพร้อมๆ กับชาวอาข่า กิจกรรมหลังอาหารเช่นนี้หนุ่มสาวพม่า และหนุ่มสาวอาข่าสนุกสนานมากกับการเต้นร�ำเพลงเดียวกัน การได้มโี อกาสได้เข้าไปสัมผัสวิถชี วี ติ ของชาวอาข่าดัง้ เดิมบ้านสองแควพัฒนา ในครั้งนี้ ความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันของชุมชน ธรรมชาติทสี่ วยงาม การต้อนรับ ทีอ่ บอุน่ ได้สร้างความประทับใจมากมายอย่างไม่มวี นั ลืม
31
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เรียนรู้
จากสับปะรดที่บ้านป่าซางวิวัฒน์ ณ หิรัญญิการ์
“ เ ห นื อ สุ ด ย อ ด ใ น ส ย า ม อ ร ่ า ม ด อ ย ตุ ง ผดุงวัฒนธรรม รสล�้ำข้าวสาร หอมหวานลิ้นจี่ สตรีโสภา ชาเลิศรส สับปะรดนางแล” ในอดีตเคยเป็นค�ำขวัญของ จังหวัดเชียงราย รวมถึงบทเพลง... ไปเต๊อะไปแอ่ว จังหวัด เจียงฮาย... ยิ่งสะท้อนถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวจังหวัด เชียงราย ดังนั้น ผลไม้ชื่อดังของเชียงรายที่มีทั้งลิ้นจี่ ล�ำไย และสั บ ปะรดนางแล จึ ง เป็ น ของฝากของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ที่ ม าเยื อ นจั ง หวั ด เชี ย งรายต้ อ งซื้ อ ติ ด ไม้ ติ ด มื อ ไปฝาก คนที่บ้าน แต่สับปะรดที่ไหนเล่าจะหอมหวานฉ�่ำดุจดั่งน�้ำผึ้ง เท่ า กั บ สั บ ปะรดน�้ ำ ผึ้ ง ของบ้ า นป่ า ซางวิ วั ฒ น์ หมู ่ 10 ต�ำบลนางแล อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพราะที่นี่คือ ต้นก�ำเนิดของสับปะรดนางแล ที่นายเข่ง แซ่อุย น�ำพันธุ์ จากสิงคโปร์มาปลูกตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2480 ด้วยความอุดมสมบูรณ์ ของพื้นที่ สับปะรดได้พัฒนาสายพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น กลายเป็ น พื ช เศรษฐกิ จ ที่ ส ร้ า งรายได้ ใ ห้ กั บ คนในชุ ม ชน จนถึงปัจจุบัน นางวิรัตน์ จันเลน ประธานกลุ่มแม่บ้านที่อุทิศตน เพื่อท�ำงานพัฒนาชุมชนของตนเองมายาวนานกว่า 20 ปี เล่ า ว่ า เมื่ อ ผลผลิ ต มี ม ากขึ้ น ชาวบ้ า นจึ ง แปรรู ป สั บ ปะรด เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขึ้น อาทิ สับปะรดกวน ไวน์สับปะรด 32
สั บ ปะรดอบแห้ ง แยมสั บ ปะรด เป็ น ต้ น การเรี ย นรู ้ ใ หม่ เริม่ เมือ่ ชุมชนร่วมกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ศึ ก ษาวิ จั ย กระบวนการผลิ ต กระดาษจากใบสั บ ปะรด ในระบบธุรกิจชุมชน ด้วยการสนับสนุนของส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ในปี พ.ศ. 2548 และได้พัฒนา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากกระดาษใบสั บ ปะรดเป็ น สิ น ค้ า ของที่ ร ะลึ ก ต่ า งๆ เช่ น แฟ้ ม เอกสาร ซองใส่ เ อกสาร ถุ ง กระดาษ บัตรอวยพร และที่คั่นหนังสือ เป็นต้น ท�ำให้ชุมชนแห่งนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรครบวงจรและได้รับรางวัลกินรี ในปี พ.ศ. 2551 บ้านป่าซางวิวัฒน์จึงกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับสับปะรดและผลิตภัณฑ์จากสับปะรด มีคณะศึกษา ดูงานมาร่วมเรียนรู้มาอย่างน้อยเดือนละไม่ต�่ำกว่า 5 คณะ เมื่ อ วั น ที่ 25 มี น าคม 2557 กลุ ่ ม คณะดู ง าน ด ้ า น ก า ร ท ่ อ ง เ ที่ ย ว โ ด ย ชุ ม ช น จ า ก เ มื อ ง เ ชี ย ง ตุ ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 14 คน น�ำโดยลุงแสงลัง เลขานุการสภาวัฒนธรรม กรมศาสนา เมืองเชียงตุง และ ผู้แทนชุมชน จาก 5 หมู่บ้าน ได้ร่วมเรียนรู้การท�ำกระดาษ และดอกไม้จากกระดาษใบสับปะรดด้วย
เรียนรู้ จากสับปะรดที่บ้านป่าซางวิวัฒน์
ป้าวิรัตน์ เล่าด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่าขั้นตอนการท�ำ ไม่ยุ่งยาก โดยน�ำใบสับปะรดมาทุบให้ละเอียดก่อนน�ำไปต้ม ผสมน�ำ้ และโซดาไฟ เพือ่ ให้ใบเปือ่ ยยุย่ จากนัน้ จึงน�ำมาแช่นำ�้ เย็น แล้ ว ใช้ ต ะแกรงมาช้ อ นเยื่ อ กระดาษตี เ ยื่ อ เป็ น แผ่ น บางๆ บนตะแกรงน�ำไปผึ่งแดด 1 วันจนกว่าจะแห้ง แต่เวลามีจ�ำกัด วันนี้ ป้าวิรัตน์จึงได้เตรียมใยสับปะรดที่ผ่านการหมักจนได้ท่ี พร้อมจะใช้งานไว้ให้นอ้ งๆ หนุม่ สาวชาวเชียงตุงได้รว่ มลงมือท�ำ โดยน�ำสะดึงอันเล็กๆ มาช้อนใยสับปะรดคนละ 1 ชิน้ จากนัน้ น�ำไปปิดด้วยผ้าขาวบาง ใช้เตารีดรีดให้แห้ง เพียง 5 นาที ก็จะได้กระดาษจากใบสับปะรดแล้ว จากนั้นจึงน�ำมาประดิษฐ์ เป็นของที่ระลึกกลับบ้านคนละ 1 ชิ้น เมือ่ เสร็จสิน้ กิจกรรมทุกคนต่างชืน่ ชมกับผลงานตัวเอง และได้แนวคิดของการพัฒนาที่สามารถสร้างสรรค์จากทุน ทางสั ง คมที่ มี อ ยู ่ ใ นชุ ม ชนได้ นี่ ไ งล่ ะ การท่ อ งเที่ ย ว เชิงสร้างสรรค์ ทุกคนได้สัมผัสตรงลงมือท�ำจริงๆ มา ณ วั น นี้ ไม่ ส ามารถปฏิ เ สธได้ ว ่ า ผลไม้ อย่างสับปะรดนางแลนอกจากเป็นพืชเศรษฐกิจแล้วยังมีสว่ นสร้าง สีสันให้การท่องเที่ยวในมิติใหม่ไม่ใช่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร แบบเดิมๆ อีกต่อไป
33
สับปะรดนางแล เป็นพืชเศรษฐกิจ
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การท่องเที่ยวโดยชุมชนตามกระแสหลัก VS การท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบดั้งเดิม
35
การท่องเที่ยว โดยชุมชนตามกระแสหลัก
กับ การท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบดั้งเดิม
ศิริมาศ อินทนนท์ การท่องเที่ยวโดยชุมชนกลุ่มรักษ์ถ�้ำปลา เป็นการท่องเที่ยว กระแสหลัก ถ�้ำปลาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาอ�ำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ต้องแวะ มาเที่ยวทุกคน ซึ่งจะแตกต่างกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยทั่วไป ที่ เ ป็ น การน� ำ เที่ ย วภายในชุ ม ชน มี ก ารจั ด ท� ำ โฮมสเตย์ เพื่ อ การแลกเปลี่ยนวิถีชีวิต วัฒนธรรม แต่การท่องเที่ยวโดยชุมชน กลุ ่ ม รั ก ษ์ ถ�้ ำ ปลา เป็ น การรวมกลุ ่ ม ของคนในชุ ม ชนเพื่ อ บริ ห าร จัดการกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยววัดถ�้ำปลา โดยมีคณะกรรมการ ดู แ ลและมี ก ารปั น ผลให้ กั บ สมาชิ ก ซึ่ ง กิ จ กรรมการท่ อ งเที่ ย ว ในวัดถ�้ำปลา มีร้านค้าชุมชนในการจ�ำหน่ายของฝากของที่ระลึก การให้บริการเรือถีบ และการประมูลร้านค้าภายในวัดและด้านหน้าวัด เพื่ อ การรั ก ษาผลประโยชน์ จ ากการท่ อ งเที่ ย วให้ แ ก่ ชุ ม ชน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยดูแลแหล่งท่องเที่ยววัดถ�้ำปลา อีกทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน
34
ผู้เขียนมีโอกาสไปศึกษาดูงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในเมื อ งเชี ย งตุ ง รั ฐ ฉาน ประเทศเมี ย นมาร์ เป็ น เมื อ ง ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีประเพณีวัฒนธรรม ที่ ดั้ ง เดิ ม อิ ท ธิ พ ลจากเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ ยั ง ไม่ ไ ด้ เข้ า มาเปลี่ ย นแปลงวิ ถี ชี วิ ต มากนั ก ยั ง มี ค วามเป็ น ชุ ม ชน ท้องถิ่นอย่างแท้จริงไม่มีปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้น มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของแต่ละหมู่บ้านและชาติพันธุ์ มีความเป็นตัวตน อีกทั้งมีคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพพร้อมรับกับการเปิดเป็นเมือง แห่ ง การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน พวกเราพบว่ า การเดิ น ทาง คมนาคมนั้น ทางเมียนมาร์มีการด�ำเนินการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อเตรียมรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ที่ จ ะมาถึ ง นี้ จากการที่ ตั ว แทนของ การท่องเที่ยวโดยชุมชนของเมืองเชียงตุงได้เข้ามาแลกเปลี่ยน ความรู ้ ประเพณี วั ฒ นธรรม และวิ ถี ชี วิ ต กั บ ชุ ม ชน การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนในจั ง หวั ด เชี ย งราย ประเทศไทย แล้ ว กลั บ ไปเตรี ย มการต้ อ นรั บ ชาวไทยในเมื อ งเชี ย งตุ ง ท� ำ ให้ เ ห็ น ถึ ง ศั ก ยภาพของคนรุ ่ น ใหม่ ที่ ส ามารถเข้ า ใจ การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน และสามารถดึ ง จุ ด เด่ น ของดี ในชุมชนออกมาได้อย่างชัดเจน โดยไม่มีการดัดแปลงหรือ สร้างขึน้ โดยมีความส�ำนึกรักบ้านเกิด มีความภูมใิ จในถิน่ เกิด ท�ำให้พวกเรารู้สึกประทับใจมาก สิ่งที่พบสะท้อนให้เห็นว่าในบ้านถ�้ำปลานั้นอาจจะไม่ ค่ อ ยได้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ส� ำ นึ ก รั ก บ้ า นเกิ ด ของตนเอง
การท่องเที่ยวโดยชุมชนในบ้านเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคสมัย มีความทันสมัยตามเทคโนโลยี ท�ำให้ความเป็นตัวตน ของตนเองขาดหายไป เราใช้ประโยชน์จากวิถีชีวิต ประเพณี วั ฒ นธรรม ทรั พ ยากรธรรมชาติ เ พื่ อ การท่ อ งเที่ ย วก็ จ ริ ง แต่ได้ละเลยการอนุรักษ์รักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไป และขาดการดู แ ลแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วของตนเอง ปรั บ เปลี่ ย น เพื่ อ ความสะดวกให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วจนเกิ น ไป ท� ำ ให้ เ สน่ ห ์ การเป็นชุมชนดั้งเดิมของถ�้ำปลาขาดหายไป ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรหันกลับมาดูแลวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมของเราไม่ให้เปลี่ยนไปตามกระแสของ เทคโนโลยี จ นสู ญ เสี ย เอกลั ก ษณ์ แต่ รั ก ษาไว้ ใ ห้ ค งอยู ่ กั บ โลกปัจจุบันให้ได้
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
วิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา :
สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ดร.ธัญญลักษณ์ แซ่เลี้ยว วิ ท ยาลั ย ครู ห ลวงน�้ ำ ทา เป็ น สถาบั น การศึ ก ษาระดั บ สู ง สุ ด ของ แขวงหลวงน�้ ำ ทา สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย พี่ น ้ อ งกั บ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งราย ที่ ท� ำ งาน เคียงบ่าเคียงไหล่และเรียนรู้ร่วมกันมากว่า 10 ปีมาแล้ว จากการน�ำของ ผู้บริหารสูงสุดท่านอาจารย์ก�ำทน หลวงลือไซ ผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยแห่งนี้ ผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและมีแนวคิดในการผลิตบัณฑิต รวมทั้งการบริหาร ที่ ยึ ด หลั ก การอยู ่ เ คี ย งข้ า งกั บ ประชาชนผู ้ ย ากไร้ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในถิ่นทุรกันดาร วิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1968 โดยกรมการ ฝึ ก หั ด ครู โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละเป้ า หมายหลั ก เพื่ อ ฝึ ก อบรมและ พั ฒ นาบุ ค ลากรทางด้ า นการศึ ก ษาไปสู ่ พื้ น ที่ ช นบทต่ า งๆ ปั จ จุ บั น เปิ ด การเรี ย นการสอนสาขาครุ ศ าสตร์ ทุ ก ด้ า นมากกว่ า 20 สาขาวิ ช า ทั้งระดับประกาศนียบัตร และปริญญาตรี มีบุคลากรด้านการสอนกว่า 127 คน และมีจ�ำนวนนักศึกษากว่า 2,096 คน ในจ�ำนวนนี้ส่วนใหญ่ เป็นนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มาจาก 4 แขวงทางภาคเหนือของ สปป.ลาว ประกอบด้วย แขวงหลวงน�้ำทา แขวงบ่อแก้ว แขวงอุดมไซ และ แขวงพงสาลี 36
วิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา : สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ส�ำหรับการท่องเที่ยวนั้น แม้ว่าวิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา จะยั ง ไม่ มี ห ลั ก สู ต รการจั ด การเรี ย นการสอนในด้ า น การจัดการท่องเทีย่ ว แต่ทผี่ า่ นมา ผูบ้ ริหารก็ได้มกี ารสนับสนุน ให้เกิดการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรของวิทยาลัยฯ ด้วย โดยมีรูปธรรมชัดเจนก็คือ การส่งอาจารย์สอนมานี สีสงคาม มาเรียนปริญญาโทและท�ำวิจัยด้านการท่องเที่ยว ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งราย เพื่ อ กลั บ ไปพั ฒ นางาน ในส่วนการท่องเที่ยวของวิทยาลัยและแขวงหลวงน�้ำทาต่อไป การเข้ า ร่ ว มโครงการวิ จั ย การพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย ว โ ด ย ชุ ม ช น เ ชิ ง ส ร ้ า ง ส ร ร ค ์ แ ข ว ง ห ล ว ง น�้ ำ ท า สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว เพื่ อ เชื่ อ มโยง กับจังหวัดเชียงราย ประเทศไทยนั้น วิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ยิ่ ง ในการสนั บ สนุ น และร่ ว มงานวิ จั ย ทั้งในด้านการติดต่อประสานงานในระดับแขวงเพื่อขออนุญาต ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งรายเข้ า มาด� ำ เนิ น การท� ำ วิ จั ย ร่วมกับแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของ แขวงหลวงน�ำ้ ทา การประสานงานในระดับหมูบ่ า้ นตัง้ แต่เตรียม การคัดเลือกพื้นที่ศึกษาวิจัย อนุญาตให้อาจารย์ทองใบ สีวิไล อาจารย์ออนนิด สิดทิลาด และอาจารย์ตุ๊มา เหลืองลัดถะวง เข้าร่วมเป็นผู้ช่วยนักวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลในระดับพื้นที่ รวมทั้ง
37
การประสานงานการน�ำชาวบ้านจากแขวงหลวงน�้ำทาไปศึกษา ดู ง านและแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ณ จั ง หวั ด เชี ย งราย ประเทศไทย และการต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากจังหวัด เชียงราย ที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนและแลกเปลี่ยนกับชุมชน ในแขวงหลวงน�้ำทา ตลอดจนการจัดพิธีลงนามข้อตกลงร่วม ในการพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์ ข องชุ ม ชน สองประเทศ ซึ่ ง ถื อ เป็ น กลไกส� ำ คั ญ ต่ อ ในการขั บ เคลื่ อ น ด้านการท่องเที่ยวของชุมชนให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต สิง่ ทีป่ ระทับใจก็คอื จิตใจทีบ่ ริสทุ ธิอ์ อ่ นโยน ความมีนำ�้ ใจ อัธยาศัย และวัฒนธรรมอันดีงามของผู้คนในแขวงหลวงน�้ำทา ทุกผู้ทุกคน ทั้งระดับผู้บริหาร ชาวบ้าน นักวิชาการ และ ที ม วิ จั ย ทุ ก คน ผู ้ เ ขี ย นหวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า ความเจริ ญ ทางเทคโนโลยี การพัฒนา รวมทัง้ การท่องเทีย่ วทีร่ กุ ล�ำ้ เข้ามา จะไม่มาท�ำลายความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และวัฒนธรรมอันดีงาม ของชุมชนคนหลวงน�้ำทาให้สูญเสียไป
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ห้องการท่องเที่ยว
แขวงหลวงน�้ำทา สปป.ลาว จ�ำปาไทย
ผู ้ เ ขี ย นเคยเข้ า ไปเยี่ ย มส� ำ นั ก งานการท่ อ งเที่ ย วหลวงน�้ ำ ทาเมื่ อ ครั้ ง ส� ำ รวจ เส้นทางท่องเทีย่ ว บนเส้นทาง R3A ปี 2550 รูส้ กึ ชืน่ ชมว่าแม้สำ� นักงานเป็นเรือนไม้เล็กๆ น่ารัก แต่มีความกลมกลืนกับธรรมชาติและมีข้อมูลเพียบ มีฝรั่งไปติดต่อสอบถาม มากมาย และเจ้ า หน้ า ที่ อั ธ ยาศั ย ดี ม าก เจ้ า หน้ า ที่ บ อกว่ า บ้ า นน�้ ำ ฮ้ า ได้ รั บ รางวั ล การท่องเที่ยวเชิงนิเวศระดับนานาชาติ ก็เก็บชื่อบ้านน�้ำฮ้าไว้ในความทรงจ�ำว่าต้องไป ต้องไปสักวัน หลังจากนั้นก็ได้ข่าวว่าทางการท่องเที่ยวจาก สปป.ลาว ได้เดินทาง มาศึกษาดูงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย โดยไปที่จังหวัดเชียงใหม่และ แม่ฮ่องสอนด้วยการสนับสนุนของสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชนและ ADB เมื่ อ ต้ อ งวิ จั ย เกี่ ย วกั บ หลวงน�้ ำ ทา ปี 2556 จึ ง แวะไปที่ นี่ อี ก ครั้ ง คราวนี้ เห็ น พั ฒ นาการของห้ อ งการท่ อ งเที่ ย วหลวงน�้ ำ ทาว่ า มี ก ารแบ่ ง งานเป็ น หลายฝ่ า ย อาคารสถานที่ใหม่ใหญ่โตกว้างขวาง ข้อมูลและสื่อประชาสัมพันธ์ยังแน่นปึ๊กเหมือนเดิม คนที่ไปพบเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ชื่อสมสะหวาด นามอินตา และพบว่า เจ้าหน้าที่ของทุกแขวงมารวมตัวกันที่นี่เพราะวันพรุ่งนี้ มีการส่งมอบอาคารฝึกอบรม CBT โดยประเทศนิ ว ซี แ ลนด์ ในใจบอกว่ า เขาไปไกลกว่ า เรามากแล้ ว มี อ าคาร มีหลักสูตรฝึกอบรมและภาครัฐเขาก็เอาจริงเอาจังมาก จากการรายงานของท่านท้าว พอนสะหวั ด กะมนทอง ลองมาดู พั ฒ นาการการท่ อ งเที่ ย วของหลวงน�้ ำ ทากั น โครงการเหล่านี้ล้วนได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด 38
ห้องการท่องเที่ยว แขวงหลวงน�้ำทา สปป.ลาว
ปี 2539 ยูเนสโก และคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ ศึกษาความเป็นไปได้ทางการท่องเที่ยว ปี 2542-2547 ด� ำ เนิ น โครงการน�้ ำ ฮ้ า (Nam Ha EcoTourism Project) โดยท�ำความร่วมมือกับนิวซีแลนด์ ปี 2545-2549 ด� ำ เนิ น โครงการท่ อ งเที่ ย วโดยประชาชน มี ส ่ ว นร่ ว ม Community Based Eco-Tourism (CBET) ได้รับงบประมาณจากนิวซีแลนด์และ ADB ปี 2551-2555 ด� ำ เนิ น โครงการท่ อ งเที่ ย วแบบอนุ รั ก ษ์ โดยประชาชนมีส่วนร่วม Community Based Eco-Tourism (CBET) สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาการท่อ งเที่ย วในอนุภูมิภาคลุ่มน�้ำโขง ADB’s Mekong Tourism Development Project ปี 2554-2557 ด� ำ เนิ น โครงการท่ อ งเที่ ย วแบบอนุ รั ก ษ์ โดยประชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มเพื่ อ ความยั่ ง ยื น Community-Based Tourism for Sustainable Economic Development (CBTSED) กิจกรรมท่องเทีย่ ว CBT ของหลวงน�ำ้ ทามีหลากหลาย และสถิติ นักท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้น ทั้งนักท่องเที่ยวทั่วไปและนักท่องเที่ยวแบบ CBT จากการสัมผัสและร่วมงานกับห้องการท่องเที่ยวหลวงน�้ำทา เราได้ รั บ ความสะดวกในการติ ด ต่ อ ประสานงานในเรื่ อ งข้ อ มู ล การเข้ า ถึ ง ชุ ม ชน การน� ำ ชุ ม ชนจากหลวงน�้ ำ ทามาศึ ก ษาดู ง าน ที่เชียงรายและการน�ำชุมชนจากเชียงรายไปศึกษาดูงานที่หลวงน�้ำทา ทุกแห่งที่เราเข้าไป เจ้าหน้าที่ของห้องการท่องเที่ยวตามไปอ�ำนวย ความสะดวก และสังเกตการณ์ทุกแห่ง แสดงถึงน�้ำใจและความใส่ใจ ในงานอย่างแท้จริง การท่อ งเที่ย วของลาวไปได้สวยเพราะมีบุคคล สร้างสรรค์ (Creative class) เช่นนี้เอง ก่ อ นอ� ำ ลาหลวงน�้ ำ ทาเรายั ง ได้ รั บ เชิ ญ ให้ ร ่ ว มงานเลี้ ย ง โดยท้ า วพอนสะหวั ด และที ม งานจั ด งานเลี้ ย งสามั ค คี ใ ห้ ของแถม จากการศึกษาดูงานเราได้เรียนรูก้ ารเต้นร�ำแบบ บัดสโล้บ เล่นเอานักเต้นเท้าไฟ อย่างคุณบันเทิงยอมแพ้ ยอมรับแล้วว่าพีน่ อ้ งลาวนอกจากท�ำงานเก่งแล้ว การดื่มและร้องเพลง เต้นร�ำเก่งกว่าเราหลายเท่าตัว โครงการวิจัยชุดนี้ ต้ อ งขอบพระคุ ณ ท่ า นพอนสะหวั ด กะมนทอง รองหั ว หน้ า ห้อ งการแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่อ งเที่ย วแขวงหลวงน�้ำทา สปป.ลาว ท่านสมสะหวาด นามอินตา รองหัวหน้าศูนย์ CBT หัวหน้าหน่วยงาน โฆษณาการท่องเทีย่ วแขวงหลวงน�ำ้ ทา สปป.ลาว ท่านนางสมมาลา หุมวิไซ หัวหน้าศูนย์ CBT แขวงหลวงน�้ำทา สปป.ลาว และเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ร่วมสร้างสรรค์การท่องเที่ยวให้ไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต
39
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สภาวัฒนธรรม แห่งเมืองเชียงตุง
41
สภาวัฒนธรรม
แห่ ง เมื อ งเชี ย งตุ ง ผศ.ดร.ชูกลิ่น อุนวิจิตร เมือ่ ตัดสินใจจะไปส�ำรวจพืน้ ทีว่ จิ ยั เบือ้ งต้น ณ เมืองเชียงตุง เมื่ อ เดื อ นพฤษภาคม 2556 เหมื อ นกั บ การไปงมเข็ ม ในมหาสมุ ท ร ด้ ว ยข้ อ มู ล ทางการท่ อ งเที่ ย วของเมี ย นมาร์ มีแต่แหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ที่พวกเรารู้จัก ไม่เคยพบค�ำว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนของเมียนมาร์เลย แล้วเราจะค้นหา ชุมชนที่ต้องการได้อย่างไร เราทราบว่ า คุ ณ พ่ อ ของนางหอม (เจ้ า หน้ า ที่ วิ เ ทศสั ม พั น ธ์ ข องมหาวิ ท ยาลั ย ) จายหล้ า ทุ น เป็ น บุ ค คล ผู้กว้างขวางของเมืองเชียงตุง ทั้งในเรื่องยาแผนโบราณและ วัฒนธรรมไทใหญ่ เมือ่ ขอค�ำปรึกษาท่านกรุณาช่วยประสานงาน ให้พวกเราได้พบบุคคลทีค่ ดิ ว่าจะช่วยเหลือเราได้ โชคเข้าข้างเราแล้ว ที่ ห ้ อ งประชุ ม ด้ า นหลั ง ของส� ำ นั ก งานกรมการศาสนา เมื อ งเชี ย งตุ ง คื อ ที่ ๆ เราได้ รั บ เชิ ญ ให้ ไ ปพบกั บ คนส� ำ คั ญ หลายท่ า นที่ ม ารอพบนั้ น เราดู แ ค่ แ วบเดี ย วจากบุ ค ลิ ก และ
40
การพูดจาก็รวู้ า่ ท่านเหล่านัน้ ล้วนมีภมู หิ ลังทีไ่ ม่ธรรมดาเลยจริงๆ ทั้งชาติตระกูล การศึกษา และบารมี เช่น ท่านอูจายฮ่องค�ำ ประธานสภาวัฒนธรรมแห่งเมืองเชียงตุง และท่านจายลุงแสงลัง เลขานุการ พร้อมทั้งผู้แทนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในเชียงตุง รวม 11 ท่านมีทงั้ ไตเหนือ ไตลือ้ ไตดอย ไตหลวง (ไตใหญ่) แต่ละท่านรับฟังข้อเสนอในโครงการวิจัยของเรา อย่ า งเงี ย บๆ อย่ า งครุ ่ น คิ ด ใจเราตุ ๊ ม ๆ ต้ อ มๆ แต่ เ รา ก็ มี ค วามเชื่ อ มั่ น ว่ า รั ฐ บาลเมี ย นมาร์ จ ะต้ อ งเปิ ด ให้ ชุ ม ชน มีส่ว นร่ว มในการท่องเที่ยวมากขึ้น และการเตรีย มชุมชน ให้ พ ร้ อ มก่ อ นการเปิ ด เสรี อ าเซี ย นน่ า จะเป็ น การป้ อ งกั น สภาพแวดล้ อ มทางธรรมชาติ แ ละวั ฒ นธรรมของประเทศ ไม่ ใ ห้ ถู ก ท� ำ ลายแบบรู ้ เ ท่ า ไม่ ถึ ง การณ์ ต ่ อ สถานการณ์ การเปลีย่ นแปลงของสังคมโลก ผลการแลกเปลีย่ นความคิดเห็น ในวั น นั้ น ท� ำ ให้ เ รารู ้ สึ ก มั่ น ใจว่ า เราได้ เ ครื อ ข่ า ยที่ ดี ที่ สุ ด
ในเมืองเชียงตุงแล้ว เราได้รับเชิญให้ไปเยี่ยมที่ท�ำการสมาคม ไทลือ้ ของเชียงตุง และร่วมรับประทานอาหารเย็นกับกรรมการสภาฯ ทุกท่าน เรารูส้ กึ ดีมากๆ กับไมตรีจติ จากท่านผูใ้ หญ่ทงั้ หลาย สภาวั ฒ นธรรมแห่ ง เมื อ งเชี ย งตุ ง ได้ รั บ อนุ ญ าต ให้ ก ่ อ ตั้ ง ได้ ป ระมาณ 3 ปี แ ล้ ว สภาฯ มี บ ทบาท ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม ห ล า ย ด ้ า น ทั้ ง ศ า ส น า วั ฒ น ธ ร ร ม การจัดกิจกรรมต่างๆ ได้จัดท�ำเอกสารทางประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมเผยแพร่ทงั้ ทีเ่ ป็นภาษาพม่าและภาษาอังกฤษมากมาย ด้ ว ยความช่ ว ยเหลื อ ของลุ ง แสงลั ง ท� ำ ให้ เ ราสามารถ เข้าถึงบุคคลในชุมชนต่างๆ หลายต�ำบล หลายหมู่บ้าน เช่น บ้านเตาห้วย บ้านยางโกง บ้านยางเก๋ง บ้านยางขวาย บ้านหนองก๋ม บ้านทราย พร้อมกับเป็นผู้น�ำชาวเชียงตุง มาศึกษาเรียนรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดเชียงราย ซึ่ ง น่ า ทึ่ ง ตรงที่ ค นที่ ลุ ง พามามี อ ายุ ตั้ ง แต่ 18 ปี ถึ ง 73 ปี การท่องเที่ยวไม่ได้ผูกขาดที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เห็นแววของ ความยั่ ง ยื น ฉายออกมาแล้ ว ในการสื บ ทอดวั ฒ นธรรม จากคนรุ่นใหญ่สู่คนรุ่นหลัง ก่ อ นเราจะน� ำ ชุ ม ชนจากเชี ย งรายไปเชี ย งตุ ง เรามี ป ั ญ หาเรื่ อ งที่ พั ก เรื่ อ งรถ เรื่ อ งโปรแกรมและ เรื่ อ งมั ค คุ เ ทศก์ ที่ เ อาแน่ น อนไม่ ไ ด้ เรื่ อ งเหล่ า นี้ ก ลายเป็ น
เรื่องเล็กทันทีที่ตกไปถึงมือลุงแสงลัง เมื่อเราเดินทางไปถึง หมู ่ บ ้ า นไหนก็ มี ผู ้ น� ำ ออกมาต้ อ นรั บ มากมาย ไม่ เ ว้ น พระสงฆ์องค์เจ้า อาหารการกิน พิธีการต่างๆ ต้องบอกว่า ทุ ก หมู ่ บ ้ า นจั ด เต็ ม ที่ ดู เ หมื อ นกั บ ว่ า ชาวบ้ า นเขาคุ ้ น เคย กับการต้อนรับแขกต่างถิ่นมาแล้วเป็นอย่างดี เมื่อสืบสาว ลงไปลึ ก ๆ ก็ พ บว่ า นี่ คื อ ความเข้ ม แข็ ง ของชุ ม ชนที่ มี อ ยู ่ โดยธรรมชาติผ่านงานบุญงานประเพณีของแต่ละเผ่าพันธุ์ ทุนทางสังคมที่เข้มแข็งนี้มีสภาวัฒนธรรมเป็นแกนกลางของ กลไกการขับเคลื่อน ก่อนอ�ำลากลับเชียงราย ท่านประธาน กรุ ณ ามอบภาพหนองตุ ง ขนาดใหญ่ เ ป็ น ของที่ ร ะลึ ก ให้ เ รา จึงเชือ่ มัน่ ว่ามิตรภาพเชียงราย–เชียงตุงต้องประสานกันไปได้ดี เพราะท่านมอบหนองตุงให้เราแล้ว ข้อวิตกกังวลของเราเมื่อ แรกเริ่ ม โครงการหายไปที ล ะน้ อ ย เหลื อ เพี ย งแต่ ว ่ า เราจะเชื่อมโยงงานของสภาวัฒนธรรมกับงานการท่องเที่ยว ได้อย่างไรจึงจะมีความพอดีพองามเกิดขึ้น และจะเชื่อมโยง กั บ ไทย-ลาว-เมี ย นมาร์ ไ ด้ อ ย่ า งไร ขอฝากความหวั ง ไว้ กับสภาวัฒนธรรมแห่งเมืองเชียงตุงอีกครั้ง
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
กลไกการจัดการการท่องเที่ยวระดับชุมชน
43
กลไกการจัดการการท่องเที่ยวระดับชุมชน ชุมชนเชียงราย – เชียงตุง – หลวงน�้ำทา ศู น ย์ ศึ ก ษาและพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย ว มร.ชร. และเครือข่าย CBT-เชียงราย
ชูกลิ่น อุนวิจิตร ผู้อ�ำนวยการศูนย์
ศูนย์ศึกษาและพัฒนา การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย แบบประชาชนมีส่วนร่วม พร้อมทั้งยังได้ตอบข้อข้องใจของ ออนนิด สิดทะลาด วิทยาลัยครูหลวงน�้ำทา พวกข้าพเจ้าในนามทีมงานทัศนศึกษา การจัดการ การท่องเที่ยวแบบประชาชนมีส่วนร่วม จากแขวงหลวงน�้ำทา ประเทศ สปป.ลาว รูส้ กึ ภาคภูมใิ จมากทีท่ างศูนย์ศกึ ษาและพัฒนา การท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประเทศไทย ให้ พ วกข้ า พเจ้ า มี โ อกาสในการทั ศ นศึ ก ษา และเรี ย นรู ้ การท่ อ งเที่ ย วแบบประชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มของประเทศไทย ทางคณะทีมงานศูนย์ฯ ท่องเที่ยวได้เอาใจใส่ในการต้อนรับ การทั ศ นศึ ก ษาในครั้ ง นี้ ซึ่ ง ได้ แ สดงออกถึ ง ความจริ ง ใจ ในการต้ อ นรั บ ความอบอุ ่ น รอยยิ้ ม และอาหารที่ อ ร่ อ ย โดยเฉพาะน�้ ำ พริ ก ไทย ตลอดจนการต้ อ นรั บ ของชาวไทย ท� ำ ได้ ดี ม าก โปรแกรมท่ อ งเที่ ย วและกิ จ กรรมที่ เ ตรี ย มไว้ ท�ำให้เกิดการเรียนรู้และมีประสบการณ์ใหม่ ท�ำให้คุ้มค่า กับการเดินทางมาเยือน ข้ า พเจ้ า และเพื่ อ นๆ ได้ เ รี ย นรู ้ เ รื่ อ งการจั ด การ การท่ อ งเที่ ย วและการท� ำ วิ จั ย ระหว่ า งการเก็ บ ข้ อ มู ล ในภาคสนาม การศึ ก ษาดู ง านและจากการประชุ ม ร่ ว ม กับศูนย์ฯ อีกหลายครั้ง ท่านอาจารย์ชูกลิ่น ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์ท่องเที่ยว และทีมงาน มีท่านอาจารย์ธัญญลักษณ์ และ นางสาวสกาวเดือน ทีไ่ ด้แนะน�ำและชีแ้ จงเกีย่ วกับการท่องเทีย่ ว 42
ทีมงานของพวกเรา ซึง่ ท�ำให้พวกข้าพเจ้าทีมงานจากประเทศลาว ได้ รั บ รู ้ แ ละเข้ า ใจการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์ แ ละ การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น เพิ่ ม มากขึ้ น ท� ำ ให้ วิ ท ยาลั ย ครู หลวงน�้ ำ ทาสนใจจะพั ฒ นาหลั ก สู ต รการท่ อ งเที่ ย วเพิ่ ม จากการผลิตครูด้วย ข้ า พเจ้ า ได้ รั บ ทราบว่ า โครงการวิ จั ย ของศู น ย์ ฯ เ ป ็ น โ ค ร ง ก า ร ที่ ส ร ้ า ง ค ว า ม สั ม พั น ธ ์ ร ะ ห ว ่ า ง ชุ ม ช น ในสามประเทศ คือ ประเทศไทย สปป.ลาว และสหภาพเมียนมาร์ นับ เป็น ความคิด ที่ดีมากและเป็น บทบาทของมหาวิทยาลัย ในการเป็ น ผู ้ น� ำ ในการพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วโดยประชาชน มี ส ่ ว นร่ ว มในภู มิ ภ าคนี้ ปั จ จุ บั น สะพานข้ า มแม่ น�้ ำ โขง ทีอ่ ำ� เภอเชียงของท�ำให้ไทย-ลาวใกล้ชดิ กันยิง่ ขึน้ ในอนาคตอันใกล้ ก็จะมีการสร้างสะพานข้ามแม่น�้ำโขงเชื่อมระหว่าง สปป.ลาว กั บ สหภาพเมี ย นมาร์ อี ก ท� ำ ให้ ก ารไปมาหาสู ่ กั น และ การท่องเที่ยวในสามประเทศมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ข้ า พเจ้ า เห็ น ว่ า โครงการนี้ ไ ด้ ช ่ ว ยสร้ า งสายสั ม พั น ธ์ การท่ อ งเที่ ย วระหว่ า งชุ ม ชนไทย ลาว และเมี ย นมาร์ ให้เกิดความแน่นแฟ้นและยั่งยืนในอนาคต
บันเทิง เครือวงค์ ประธานเครือข่าย CBT-เชียงราย
เดชา เตมิยะ CBT-เชียงราย บ้านโป่งน�้ำร้อน
วนิดา สายจันทร์ CBT-เชียงราย บ้านร่องปลายนา
เสถียร บุญปก CBT-เชียงราย บ้านท่าขันทอง
เศรษฐศักดิ์ พรหมมา อาเซาะ เชอมือ ภาวิกา เฌอมือ CBT-เชียงราย CBT-เชียงราย CBT-เชียงราย บ้านท่าขันทอง บ้านสองแควพัฒนา บ้านอาผ่าพัฒนา
สมคิด ปัญญากุลารักษ์ วิรัตน์ จันเลน CBT-เชียงราย CBT-เชียงราย บ้านถ�้ำปลา บ้านป่าซางวิวัฒน์
อูจายฮ่องค�ำ ประธาน สภาวัฒนธรรม
หนานสาม CIT-เชียงตุง บ้านยางโกง
จายสั่นวิ CIT-เชียงตุง บ้านเตาห้วย
นางบัวทอง CIT-เชียงตุง บ้านยางขวาย
ค�ำแก้ว พมปันยา CBT-หลวงน�้ำทา บ้านน�้ำฮ้า
ค�ำชอน แก้วบัวทิบ CBT-หลวงน�้ำทา บ้านเวียงเหนือ
บุนสาย ดวงปะเสิด CBT-หลวงน�้ำทา บ้านน�้ำดี
สภาวัฒนธรรมเมืองเชียงตุง
จายลุงแสงลัง เลขานุการ สภาวัฒนธรรม
จายอ๊อด CIT-เชียงตุง บ้านหนองก๋ม
ห้องการแถลงข่าว วัฒนธรรมและ การท่องเทีย่ วและวิทยาลัยครูหลวงน�ำ้ ทา สปป.ลาว พอนสะหวัด กะมนทอง ก�ำทน หลวงลือไซ รองหัวหน้า ผูอ้ �ำนวยการ ห้องการแถลงข่าวฯ วิทยาลัยครู
ทองไม วันนะวง CBT-หลวงน�้ำทา บ้านเพียงงาม
ชุมชนสร้างสรรค์ : เชียงราย เชียงตุง หลวงน�้ำทา
44
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย