GEN441 : เส้นทางประวัติศาสตร์ เล่าเรื่อง เฟื่องนคร คลองผดุงกรุงเกษม

Page 1

คลองผดุงกรุงเกษม Khlong Phadung Krung Kasem BY...กระซู่


คุณพร้อมรึยัง? กับการท่องเที่ยวไปในดินแดน ประวัติศาสตร์เล่าเรื่อง เฟื่องนคร คลองผดุงกรุงเกษม


บรรณาธิการ “กาลเวลาเปลี่ยนผัน ทิ้งเรื่องราวเล่าขานนานา

นับวันผ่านมา สิ่งก่อสร้างนั้นหนายังมี”

ประวัติศาสตร์ช่วยให้เราเรียนรู้อดีต เพื่อทาให้ได้รู้จักที่มาหรือรากเหง้า สามารถนามาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีผลกับการใช้ชีวิตของทุกคน ความก้าวหน้าต่างๆ นาพาให้ทุกคนคิดถึงแต่เรื่องของอนาคต ทาให้ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาในอดีตกาลังจะเลือนหายไป ทางผู้เขียนมองเห็นถึงความสาคัญเหล่านี้ จึงขอเสนอแหล่งประวัติศาสตร์ในกรุง คลองผดุงกรุงเกษม คณะผู้จัดทา



Contents The beginning of the story

1

History

3

Culture of Islam

17

Special History

29

Meet the Master

31

Explore

35

Memory

36


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุห พระกลาโหมเห็นแม่กองอานวยการขุด เจ้าพระยาสุ รวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นนายงานเพื่อขยาย เขตพระนครให้กว้างขวางออกไป และเป็นปราการ ป้องกันพระนครชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง เริ่มตอนเหนือคลอง ที่ริมฝั่งแม่น้าเจ้าพระยาบริเวณใต้วัดเทวราชกุญชร ผ่านคลองมหานาคไปออกแม่น้าเจ้าพระยาที่บริเวณ เหนือวัดแก้วแจ่มฟ้าขณะนั้น (เดิมวัดแก้วแจ่มฟ้า อยู่ หลังธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ พึ่งย้ายไปตั้งที่ถนนสี่พระ ยาในรัชกาลที่ ๕) กว้าง ๑๐ วา ๖ ศอก ๑๓๗ เส้น ๑๐ วา สิ้นค่าจ้างขุดเป็นเงิน ๒๗,๕๐๐ บาท ขุด สาเร็จใน พ.ศ. ๒๓๙๕ พระราชทานนามว่า “คลอง ผดุงกรุงเกษม” จากนั้นได้โปรดให้สร้างป้อมตามแนว คลองเป็นระยะ ห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อมสาคัญ คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจนึก ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ป้อมผลาญไพรีราบ ป้อมปราบศัตรู พ่าย ป้อมทาลายแรงปรปักษ์ ป้อมหักกาลังดัษกร ป้อมพระนครรักษา ทั้งหมดนี้เรียกป้อมปีกกา เพราะ ไม่มีกาแพง(ป้อมเหล่านี้รื้อลงในรัชกาลที่ ๕ เมื่อขยาย เขตพระนครออกไปอีก)

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนคลองผดุงกรุงเกษมตลอดแนวคล โดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๖๘ วันที่ ๒


ลอง เป็นโบราณสถานสาคัญของชาติ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๙

The beginning of the story ต่อมาเมื่อคลองผดุงกรุงเกษมได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าที่สาคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณริมคลองเป็นตลาดสินค้าประเภทต่างๆ และ โรงสี มีเรือบรรทุกสินค้าเข้ามาจอดอยู่ตามริมคลองเป็นระยะ เช่น ปากคลองตอนเหนือ (บริเวณวัดเทวราชกุญชร) ลงไปถึงสะพานเทวกรรมรังรักษ์ นางเลิ้ง มีเรือค้าข้าว อิฐ ปูนขาว และกระเบื้อง จากสะพานเทวกรรมรังรักษ์ลงไปถึงสี่แยกหานาคและสะพานเจริญสวัสดิ์มีการค้าขายสินค้าหลายประเภท อาทิ ข้าว ไม้ เสา ไม้กระดาน และวัสดุทีทาด้วยปูนซิเมนต์บริเวณสี่แยกมหานาคมีเรือผลไม้มาชุมนุมซื้อขายมาก บริเวณกรมรถไฟและหน้าวัดเทพศิรินทราวาส เป็นที่พักของไม้เสา ปูนขาว และหิน ซึ่งรถไฟบรรทุกมาจากต่างจังหวัด รอการบรรทุกเรือหรือรถยนต์ไปขายยังแหล่งอื่น ถัดไปจนถึงสะพานพิทยเสถียรมีสินค้าประเภทโอ่ง กระถาง ที่ผลิตในประเทศและมาจากประเทศจีน และมีโรงสี โรงน้าแข็ง โกดังสินค้าต่างๆ ตั้งรายสองฟากคลองไปจนจรด แม่น้าเจ้าพระยาปัจจุบันริมคลองผดุงกรุงเกษมยังเป็นแหล่างชุมนุมค้าขาย เช่นบริเวณเทเวศร์และมหานาค เป็นต้น สภาพคลองโดยทั่วไปตื้นเขินน้าเน่าเสีย เรือสามารถผ่านได้บางตอนเมื่อน้าขึ้นเต็มที่สองข้างคลองมีคันคอนกรีตตลอดแนว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้คลองผดุงกรุงเกษมเป็นคลอง ที่ต้องอนุรักษ์ไว้

หน้า l 2


หน้า l 3


วัดเทพศิรินทราวาส

เป็นวัดที่แปลกจากวัดอื่นๆ คือ เป็นวัดเดียวที่มีสุสานหลวงตั้งอยู่สุสานหลวงนี้ใช้เป็นที่สาหรับ

พระราชทานเพลิง พระศพเจ้านายและพระบรมวงสานุวงศ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้วทราบไหมว่าการ สร้างสุสานหลวงที่วัด เทพศิรินทราวาสนี้เป็นพระราชดาริของพระมหากษัตริย์พระองค์ใด และวัดนี้เริ่มสร้างมาตั้งแต่เมือ่ ไร เรามาศึกษาประวัติความเป็นมา ของวัดนี้ไปพร้อมๆ กันดีกว่า วัดเทพศิรินทราวาสเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีของพระองค์และพระราชทานนามว่า “ วัดเทพศิรินทราวาส ” ตามพระนามของสมเด็จพระบรมราชชนนี พระองค์ทรงสถาปนาสุสานหลวง หรือฌาปนสถานของพระราชวงศ์ซึ่งไม่ได้สร้างพระเมรุที่ท้องสนามหลวง และใช้ เป็นสถานที่ปรงศพของชนทุกชั้นบรรดาศักดิ์ ความส าคั ญ ของวั ด นี้ ก็ คื อ เป็ น ที่ ตั้ ง ของสุ ส านหลวงซึ่ ง สร้ า งตาม พระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในบริเวณสุสาน หลวงมีสิ่งสาคัญที่รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดให้สร้างขึ้น เช่น พลับพลาอิสริยาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อ เป็นที่ตั้งพระศพ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอิสริยาภรณ์ ซึ่งนับเป็นรายแรกที่ พระราชทานเพลิ ง ณ สุ สานหลวงนี้ ต่อ มาโปรดให้ ใ ช้เ ป็ น พลั บ พลาที่ เ สด็ จ พระราชทานเพลิงศพหลายอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเมรุขึ้นเมื่อคราว เตรียมการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และใช้เป็นเมรุที่ใช้พระราชทานเพลิงศพตลอดมาจนปัจจุบัน หน้า l 4


พระอุ โ บสถ สร้ า งในสมั ย

รัชกาลที่ ๕ จัดว่าเป็นพระอุโบสถ ที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง หลังคา มุงกระเบื้องเคลือบสี พื้นปูด้วยหิน อ่ อ น ซุ้ ม ประตู ห น้ า ต่ า งสลั ก ลวดลายอย่างสวยงามทั้งด้านใน และด้ า นนอก หน้ า บั น ของพระ อุโบสถประดับเป็นรูปตราพระเกี้ยว ที่พื้นและเพดานด้านในทาด้วยชาด ป ร ะ ดั บ ด้ ว ย รู ป จ า ล อ ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ตระกูล

หน้า l 5


ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสาคัญหลายองค์ ด้วยกัน เช่น พระประธานของพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่ อ สมั ย กรุ ง สุ โ ขทั ย และอั ญ เชิ ญ มาประดิ ษ ฐานในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ จากเมืองพิษณุโลก มีพระนามว่า “พระทศพลญาณ” และมีพระอัครสาวง ๒ องค์ นั่งพับเพียบประนมหัตถ์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พร้อมด้วย สาวก ๒ องค์หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระพุ ทธรู ปฉลองพระองค์สมเด็ จพระเทพศิริ นทราบรมราชชนนี เป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามสมุทร และพระพุทธรูปฉลองพระองค์ สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า จั น ทรมณฑลโสภณภควดี กรมหลวงวิ สุ ท ธิ ก ษั ต รี ย์ เป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามญาติ

หน้า l 6


กลางสนามหญ้าด้านหน้าของพระอุโบ หลั ง ซึ่ ง พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า ภายในมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรประ หลังทางด้านทิศเหนือมีชื่อว่า “ จาตุรนต ส รี ร า ง ค า ร ข อ ง ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ จตุรนตรัศมี รมพระจักรดพรรดิพงศ์ และ ทางด้านทิศใต้มีชื่อว่า “ ภาณุรังสีอนุสส สมเด็ จ พระราชปิ ตุ ล าบรมพงศาภิ มุ ข กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช และราชส

หน้า l 7

ภาณุรงั สีอนุสสร

จาตุรนตอนุสสารี


บสถเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์ ๒ าเจ้ า อยู่ หั ว โปรดให้ สร้ า งขึ้ น ะดิษฐานอยู่หลังละ ๑ องค์ ตอนุสสารี ” เป็นที่บรรจุพระ า บ ร ม ว ง ศ์ เ ธ อ เ จ้ า ฟ้ า ะราชสกุลจักรพันธุ์ ส่วนหลัง สร” เป็นที่บรรจุพรสรีรางคาร เจ้ าฟ้ า ภาณุ รั งสี ส ว่ า งวงศ์ สกุลภาณุพันธุ์

วิหารเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ ภายในมีรูปหล่อของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต พระยานรรั ต นราชมานิ ต นามเดิ ม ตรึ ก จิ น ตยานนท์ ก าเนิ ด ๕ ก.พ. ๒๔๔๐ อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๔ มี.ค. ๒๔๖๘ โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรมหาเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ ๘ ม.ค. ๒๕๑๓ อายุ ๗๔ ปี ๔๖ พรรษา ภายหลังจากที่ท่านได้จบการศึกษาจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือ น ในสมัยนั้นแล้วท่านได้เข้าร่วมซ้อมรบในฐานะเสือป่า โดยรับหน้าที่เป็นคนส่งข่าว ซึ่งในการซ้อมรบนี้ เองได้ เ ปลี่ ย นวิ ถี ชี วิ ต จากความตั้ ง ใจที่ จ ะเป็ น ข้ า ราชการฝ่ า ยปกครองของรั ฐ มาเป็ น ข้าราชสานัก ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยรัชกาลที่ ๖ เป็น อย่างมาก ตั้งแต่เมื่อยังรับราชการเป็นมหาดเล็กห้องบรรทม จนได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์เป็น พระยานรรัตนราชมานิต ซึ่งแปลว่า "คนดีที่พระเจ้าแผ่นดินทรงยกย่องนับถือ" ตลอดระยะเวลา ๑๐ ปี ที่ท่านได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ สุจริต และกตัญญูกตเวที อย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน ดังที่ท่านเคยกล่าวถึงความภักดีต่อองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ต้องตายแทนกันได้" ความกตัญญูกตเวทีที่ท่านได้แสดงนี้ ได้ประจักษ์ชัด เมื่อท่านได้บวชอุทิศถวายเป็นพระราชกุศล ในวันถวายพระเพลิง พระบรมศพล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ จวบจนกระทั่งท่านมรณภาพ ท่านดารงเพศสมณะด้วยความเคร่งครัดต่อศีล เป็นผู้ที่บริสุทธิ์ปราศจาก มลทินด่างพร้อยทั้งกาย ใจ เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีปฏิปทาที่มั่นคง เด็ดเดี่ยว เป็นที่ยอมรับ และได้รับความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนว่า ท่านเป็นพระแท้ ที่หาได้ยากยิ่ง เป็นตัวอย่างของ สงฆ์ ผู้ ท รงศี ล บริ สุ ท ธิ์ ไม่ ใ ฝ่ ห าลาภสั ก การะ ไม่ ใ ฝ่ ห าชื่อ เสี ย งเกี ย รติ คุ ณ เป็ น ผู้ ป ฏิ บั ติ ต รงต่ อ พระธรรมวินัย มีความกตัญญูเป็นเลิศยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้

หน้า l 8


บ้านพิบูลธรรม

หน้า l 9


บ้านพิบูลธรรม เลขที่ ๑๗ เชิงสะพานกษัตริย์ศกึ เขตปทุมวัน ปัจจุบัน คือ กระทรวงพลังงาน และ หน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สานักงานรัฐมนตรี และสานักงานปลัดกระทรวง ได้ตงั้ อยู่ในพื้นที่ของกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งอยู่ในบริเวณ บ้านพิบูลธรรม เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเสเดิม บ้ า นพิ บู ล ธรรม ชื่ อ เดิ ม คื อ บ้ า นนนที เป็ น บ้ า นที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระรามาธิ บ ดี ศ รี สิ น ทรมหาวชิ ร าวุ ธ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า งพระราชทานเจ้ า พระยาธรรมาธิ ก รณาธิ บ ดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เสนาธิบดีกระทรวงวัง ซึ่งคงได้สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๖ อันเป็นปีที่เจ้าพระยา ธรรมาธิกรณาธิบ ดี ได้ รับ พระมหากรุ ณ าธิ คุณ โปรดเกล้า ฯ เป็นเจ้ า พระยา บ้า นนี้มี ชื่อ ว่ า บ้ า นนนที ตามชื่อ วั ว พระนนทิการ ซึ่งเป็นเทวพาหนะของพระอินทร์ (ตราประจา เสนาบดีกระทรวงวัง คือ ตราพระมหาเทพทรงพระนนทิการ) หม่ อ มราชวงศ์ ปุ้ ม มาลากุ ล อยู่ ที่ บ้ า นหลั ง นี้ จ นถึ ง แก่ อ สั ญ กรรมเมื่ อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่ อ มารั ฐ บาลสมั ย จ อ ม พ ล แ ป ล ก พิ บู ล ส ง ค ร า ม ซื้ อ ไ ว้ เ ป็ น บ้ า น รับรองแขกเมือง เปลี่ยนชื่อว่าบ้านพิบูลธรรมจน พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงมอบให้เป็นที่ทาการของการพลังงานแห่งชาติดังกล่าวแล้ว ในข้างต้น

หน้า l 10


อาคารทั้งสองหลังสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ที่นิยมในยุคนั้น ลักษณะเหมือนปราสาท เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปทรงตามปีกอาคารสองข้าง และมีส่วนโค้งส่วนหักมุมและเฉลียงต่างกันแต่ได้ สัดส่วนกลมกลืน ประดับลายปูนปั้นตามผนังตอนบน หัวเสา ขอบหน้าต่าง และลูกกรงระเบียง ประตูหน้าต่างไม้สลักลาย มีรูปประติมากรรมหน้าวั วหรือพระโคนนทีติดอยู่ที่เหนือประตูเฉลียงที่มุมขวาของ

ตึกหน้า และที่ผนังข้างประตูหน้าและเหนือประตูเฉลียงข้างของตึกหลังมีสะพานคอนกรีต เชื่อมชั้น ๒ ของอาคารทั้ง ๒ หลัง


ปัจจุบันภายในบ้านพิบูลธรรมมีอาคารเก่าแต่แรกสร้างซึ่งมีความงดงามทั้งด้าน สถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมอยู่ ๒ หลัง และศาลาไม้อีกหลังหนึ่ง คือ อาคารสานักงานเลขานุการกรมซึ่งอยู่ หลังหน้า และอาคาร กองควบคุมและส่งเสริมพลังงานตั้งเยื้องไปด้านหลัง ส่วนศาลาไม้อยู่ด้านขวาของอาคารสานักเลขานุการกรมและด้านหน้าของอาคารกองควบคุมและส่งเสริมพลังงาน

หน้า l 12


อาคารทั้งสองหลังตกแต่งภายใน อย่างวิจิตรด้วยลายไม้แกะสลักตาม เพดานและผนังห้อง ประตู และหน้าต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารในซึ่งตอน หน้าส่วนกลางก่อเป็นห้องชั้นที่ ๓ อีกห้องหนึ่งนั้น ด้านหลังเป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องโถงเอกของบ้าน โดยโถงหน้าเป็นทางเชื่อมจากส่วนหน้าของอาคาร สู่โถงในซึ่งมีปีกเป็นรูปโค้งมน รูปทรงของห้องโถงนี้จึงเหมือนตัว T แต่มุมหัก มน นับเป็นความงามทางสถาปั ตยกรรม ภายในห้ องโถงนี้ กึ่ง กลางเพดาน ประดับภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกเรื่องรามเกียรติ์ โถงนอกรูปรามสูรเมขลา โถงในรูปทศกัณฐ์ลักนางสีดากาลังต่อสู้กับนกสดายุ เพดานรอบๆ ภาพเขียน ประดับด้วยหูช้างไม้สลักเรียงรายตลอด ถัดลงมาเป็นภาพจิตรกรรมเถาไม้ดอก สีสดสวย ผนังจากระดับขอบประตูบนลงมาประดับไม้สลักลาย ตามขอบสลัก ลายเถาผลไม้ เสาไม้กลมตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมสลักลาย พื้นปูหินอ่อน ห้องโถงนี้ ปัจจุบันใช้เป็นห้องเลียงรับรอง ห้องด้านหน้าทางปีกซ้ายของอาคารหลังนี้ ซึ่ง ปั จ จุ บั นใช้ เ ป็ นห้ อ งท างาน มี ภ าพจิ ต รกรรมแบบเดี ย วกั นประดั บ ที่ ฝ าผนั ง ด้านขวา จับภาพตอนพระรามตามกวาง ส่วนเพดานห้องเขียนรูปหมู่กามเทพ เด็กแบบฝรั่ง

หน้า l 13


ศาลาไม้ เป็นศาลาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าประดับไม้สลักตามพนักระเบียงเสา และหูช้างรับกับตัวอาคารทั้งสองหลัง พื้นปูนหินอ่อน หลังคามุงกระเบื้ องว่าว

หน้า l 14


หน้า l 15

มัสยิดมหานาค ซอย กรุงแมน ถนน กรุงเกษม แขวง คลองมหานาค เขต ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพม


มหานคร 10100

มัสยิดหลังแรกก่อสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ก่อสร้างเป็นมัสยิดหลังเล็กๆ ครึ่งตึกครึ่งไม้มาก่อน ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการก่อสร้าง คือ ท่านพระเทพ(หมึก) ซึ่งเป็นบิดาของท่านขุนรัตนภิบาล (เสงี่ยม) ต่อมาในช่วงก่อนปี พ.ศ.๒๓๙๔ จึงได้มีการสร้างมัสยิดขึ้นอีกครั้ง และทาการย้ายกุโบร์มาอยู่ในที่ๆเป็นปัจจุบัน ในการก่อสร้างสะพานเจริญราษฎร์ (มหานาค) ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ นั้นได้ขุดพบกระดูกของพี่น้องมุสลิมมหานาคที่ฝังกันอยู่กุโบร์ เก่า บริเวณเชิงสะพานเป็นจานวนมาก ซึ่งแสดงว่ามัสยิดหลังแรกคงจะสร้างมานานพอสมควร ในวันอังคารที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลาประมาณบ่ายสองโมง ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่บริเวณร้านค้าของคนจีนและลุกลามจนไหม้มัสยิดหมดทั้งหลัง งานซ่อมแซมมัสยิดเมื่อถูกไฟไหม้ในส่วนที่เป็นไม้ถู กไฟไหม้หมด ตวนฝา เห็นว่าอาคาร ส่วนที่เป็นปูนได้รับความเสียหายตรงปูนที่ฉาบไว้เท่านั้น อิฐมอญที่ก่อตัวอาคารยังใช้การได้จึงสมควรที่จะซ่อมแซมใหม่ได้ งานซ่อมแซมมัสยิดในครั้งนี้อยู่ในความดูแลของ ท่านตวนต่าเขียว (ขุนต่าเขียว บ้านเขียว) บางอ้อ ส่วนตวนต่าขาว นั้นรับผิดชอบดูแลควบคุมการก่อสร้างบ่อน้าหน้ามัสยิด งานต่อเติมมัส ยิด อาคารต่อเติมด้านหน้านี้สร้าง เสร็จแล้ว เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑

หน้า l 16


Culture of I

การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต

ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทา ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นก

เมืองเมกกะ ที่วิหารกะบะห์ ซาอุดิอารเบีย ในเมืองไทยจะหันไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหม ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย

หน้า l 17


Islam

ต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู ละหมาด หมายถึง การขอพร

การสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก ชุมทิศหันหน้าไปทาง

มาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

วิธที าละหมาด ให้เริม่ ด้วยการชาระร่างกายให้สะอาด และอาบน้า ละหมาดตามแบบดังนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

ตั้งเจตนาว่าจะอาบน้าละหมาด ล้างมือทั้งสองข้างจนถึงข้อมือ บ้วนปากและล้างรูจมูก 3 ครั้งให้สะอาด ล้างหน้า 3 ครั้ง ให้ทั่วบริเวณหน้าให้สะอาด ล้างแขนทั้งสองข้าง 3 ครั้ง ตั้งแต่ปลายนิ้วมือถึงข้อศอกโดยล้างข้างขวาก่อนข้างซ้าย เอามือขวาชุบน้าลูบศีรษะ 3 ครั้ง ตั้งแต่ด้านหน้าถึงด้านหลัง เอามือทั้งสองชุบน้าเช็ดใบหูทั้งสองข้าง 3 ครั้ง ให้เปียกทั่วทั้งภายนอกและภายในโดย เช็ดพร้อมกันทั้งสองข้าง 8. ล้างเท้าทั้ง 2 ข้าง 3 ครั้ง ให้ทั่วจากปลายเท้าถึงเลยตาตุ่ม โดยล้างเท้าขวาก่อนเท้าซ้าย

หน้า l 18


วัดสมณานัมบริหาร เป็นวัดฝ่าย

“อนัม นิก าย” เดิมชื่อ “วัด เกี๋ย งเพื้อ กตื่อ ” ตั้ ง อยู่ ริ ม คลองผดุ ง กรุ ง เกษม ชาวญวนที่ อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้ าอยู่หั ว เป็ น ผู้ ส ร้ า งขึ้ น ต่ อ มาในปี พ.ศ.๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน นามวัดใหม่ว่า “วัดสมณานัมบริหาร"

หน้า l 19


อนัม แปลว่า ญวน หรือ เวียดนาม คนทีม่ เี ชือ้ สายของประเทศเวียดนามเราเรียกว่าคนญวน หรือคนอนัม ซึ่งเมือ่ คนเหล่านัน้ อพยพมาพึง่ พระบรมโพธิสมภารในเมืองไทยและมีการสร้างวัดขึ้น เราจึงเรียกวัดเหล่านั้นว่า วัดญวน หรือ วัดอนัม ซึ่งคาว่า “อนัม หรือ ญวน หรือ เวียดนาม” จึงเป็นคาที่มีความหมายเดียวกัน ดังนั้นคาว่า “อนัมนิกาย” จึงสามารถแปลได้ว่า “การถือพระพุทธศาสนาอย่างเมืองญวน” แต่เนื่องจากพระญวนในประเทศเวียดนามกับพระญวนในประเทศไทยไม่ได้มีการติดต่อกัน โดยต่างฝ่ายต่างก็ถือคติและธรรมเนียมตาม ประเทศที่ตนเองอาศัยอยู่ ดังนั้นพระญวนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย จึงหันมายึดถือตามแนวของพระสงฆ์ไทยในบางเรื่อง เช่นการไม่ฉันข้าวเย็น การครองผ้าสีเหลือง ฯลฯ ซึ่งลักษณะแบบนี้จะแตกต่างจากพระสงฆ์ในประเทศเวียดนามหรือประเทศจีน คือพระสงฆ์ที่นั่นสามารถฉันข้าวเย็นได้ การครองผ้าจีวรมีทั้งสีเทา สีแดงฝาด สีเหลือง และสีอื่น ๆ เพียงแต่ “ข้อวัตรปฏิบัติอย่างอื่นและกิจของสงฆ์ที่พึงทา” ก็ยังคงปฏิบัติตามแบบ ในประเทศเวียดนามเหมือนเดิม เช่น ประเพณีการทากงเต็ก หรือการให้ความเคารพและเชื่อถือในเรื่องของเทพเจ้าต่างๆ

หน้า l 20


ภ า ย ใ น โ บ ส ถ์ ป ร ะ ดิ ษ ฐ า น พ ร ะ ป ร ะ ธ า น คื อ “พ ระ โ คตม พุ ท ธ เ จ้ า ” ซึ่ ง เป็ นพระบิ ด าแห่ ง พุ ท ธศาสนา แ ล ะ พ ร ะ โ พ ธิ สั ต ว์ ต า ม ห ลั ก ข อ ง ม ห า ย า น ด้ า น ห น้ า พ ร ะ ป ร ะ ธ า น ฉั น เ ห็ น ไ ม้ บั ก ฮื้ อ แ ล ะ บ า ต ร เ ห ล็ ก ที่ ใ ช้ ไม้ เ คาะบาตรเพื่ อ ให้ เ กิ ด เสี ย ง ระหว่ างสว ดมนต์ นั้ น เอ ง นอกจากนี้ ภ ายในโบสถ์ ยั ง มี รู ป เคารพของเจ้ า แม่ ก วนอิ ม พ ร ะ ถั ง ซั ม จั๋ ง ท้ า ว ม ห า ช ม พู ห รื อ พ ร ะ อุ่ ย ท้ อ โ พ ธิ สั ต ว์ และหมอชีวกโกมารภัจจ์

หน้า l 21

พระโคตมพุทธเจ้า

บาตรเหล็ก

ไม้บกั ฮือ้


พระถังซัมจัง๋

เจ้าแม่กวนอิม

พระพรหม

หน้า l 22


หลวงพ่อบ๋าวเอิง ท่านเป็นพระที่ได้รับการยอมรับของลูกศิษย์และคนทั่วไปว่ามีความสามารถในการเชิญวิญญาณ ซึ่งท่านเคยเล่าให้ฟังว่าตัวท่านเองมีความสนใจในเรื่องของจิต

ค้นคว้าและทดสอบอยู่หลายปี จนท่านสามารถเชิญวิญญาณลงมาประทับบนร่างทรงได้ ท่านอธิบายว่าการประทับทรงนี้เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ทาให้มนุษย์สามารถติดต่อกับวิญญาณได้โดย อย่างเดียวที่ทาให้เราเห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณได้ชัดเจนกว่าวิธีการในแบบอื่นๆ

หน้า l 23


ตและวิญญาณ ท่านจึงได้เริ่ม

ยตรงและเป็นวิธีการแต่เพียง

ชีวกโกมารภัจจ์ คือ นายแพทย์ที่รักษาพระพุทธเจ้า ในอดี ตเรามั กจะลืม เลื อ นและไม่ค่อยได้ใ ห้ความสาคัญกั บท่ า น เรื่องราวของท่านจึงค่อนข้างถูกกลืนหายไปจากความทรงจารูปนี้ และรูปหล่อนี้เกิดจากการที่หลวงพ่อบ๋าวเอิง อัญเชิญให้มาปรากฏ บนนิ้วมือเพราะท่านต้องการปั้นพระพักตร์ของท่านหมอชีวกโกมาร ภัจจ์ ไว้สาหรับเคารพบูชาในฐานะที่ตัวหลวงพ่อเองท่านเป็นพระที่ รักษาโรคแก่คนทั่วไป มีเรื่องราวเล่าว่า “ช่างปั้นชื่อว่า “นายโชติ สโมสร” ได้นาดินน้ามันมาลองปั้นโดยหะแรกเข้าใจว่าท่านหมอ ชีวกโกมารภัจจ์เป็นชาวจีน เพราะเห็นว่าหลวงพ่อบ๋าวเอิงท่านเป็น ค น ญ ว น รู ป ปั้ น จึ ง น่ า จ ะ อ อ ก ม า ใ น ลั ก ษ ณ ะ แ บ บ นั้ น และเหตุผลที่เกิดจากการคิดไปเอง นายโชติจึงได้ปั้นพระพักตร์ ของท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ออกมาเป็นหน้าตาแบบคนจีนเมื่อ ทราบว่าตนเองปั้นผิดเพราะท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นพราหมณ์ หน้ า ตาต้ อ งเป็ น แบบอิ น เดี ย ครั้ น จะเริ่ ม ใหม่ ก็ เ กิ ด ปั ญ หา คื อ นายโชติจินตนาการไม่ออก หลวงพ่อบ๋าวเอิงท่านจึงตัดสินใจที่จะ อัญเชิญท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์มาปรากฏบนนิ้วมือของท่านเพื่อให้ นายโชติได้เห็นอย่างชัดเจน รูปหมอชีวกโกมารภัจจ์ที่ปรากฏเป็นลักษณะองค์จริงครั้ง แรกของโลก หลวงพ่ อ บ๋ า วเอิ ง ได้ ข นานนามรู ป หล่ อ ท่ า นชี ว ก โกมารภัจจ์ว่า “ บรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัจจ์ ”

หน้า l 24


ทศชาติชาดก คาว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตาย เกิด ถือเอากาเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายาม ทาความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีก อย่ า งหนึ่ ง จะถื อ ว่ า เรื่ อ งชาดกเป็ น วิ วั ฒ นาการแห่ ง การบ าเพ็ ญ คุ ณ งามความดี ของ พระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้

หน้า l 25

คือ

คือ


เตมียชาดก

ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญเนกขัมมบารมี อ การออกบวชหรือออกจากกาม

เนมิราชชาดก

ชาดกเรื่อ งนี้แสดงถึงการบาเพ็ญอธิษ ฐานบารมี อ ความตั้งมั่นคง

มหาชนกชาดก ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญวิริยบารมี

สุวรรณสามชาดก ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญเมตตาบารมี คือ การแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า

มโหสถชาดก

ภูรทิ ตั ชาดก

ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญปัญญาบารมี คือ ความทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้

ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญบาเพ็ญศีลบารมี คือ การรักษาศีล หน้า l

26


จันทกุมารชาดก

นารทชาดก

ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดทน

ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การวางเฉย

วิฑูรชาดก

เวสสันดรชาดก

หน้า l 27

ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญสัจจบารมี คือ ความสัตย์

ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบาเพ็ญทานบารมี คือ บริจาคทาน


หน้า l 28


หน้า l 29


สะพานเจริญราษฎร์ ๓๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรองรับความเจริญของ บ้านเมือง มีการตัดถนนข้ามคลองหลายสายในเขตพระนครเวลานั้น แล้วการสร้างสะพานยังเป็น อนุสรณ์ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยสะพานมีชื่อขึน้ ต้นด้วยคาว่า “เจริญ” และต่อ ด้วยตัวเลขบอกพระชนมพรรษา ซึ่งสะพานเจริญราษฎร์ ๓๒ สร้างขึ้นเพื่อใช้ข้ามคลองมหานาค บริเวณถนนกรุงเกษม เพื่อใช้แทนที่ “สะพานร้อยปี” ซึ่งสร้างในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓๒ พรรษา พร้อมกับการฉลองสมโภชพระนครครบรอบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ สะพาน เจริญราษฎร์นี้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กมีปลายสะพานทั้ง ๔ มุมประดิษฐ์เป็นรูปนาคราช ๕ เศียรแผ่รับแผ่นสัมฤทธิ์จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร.

หน้า l 30


MEET THE MASTER

บ้านพิบูลธรรม


พี่ศรีเล่าว่า “ บ้านพิบูลธรรม มีชื่อเดิม บ้านนนทิ หรือบ้านนนที (ตั้งชือ่ ตามชื่อวัวพระนนทิการ ซึ่งเป็นเทวพาหนะของพระอิศวร และวัวยังเป็นตราสัญลักษณ์ประจาตาแหน่งเสนาบดีกระทรวง วัง) บ้านหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะของบ้านอยู่ ในยุคเรอเนซองส์ สร้างโดยช่างดองชอง ช่างจากจีน เพื่อทรงมอบให้แก่ หม่อมราชวงศ์ ปุม้ มาลากุล เป็นโอรสของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบารุงราช ปรปักษ์ สมรสกับท่านผู้หญิงนงเยาว์ ธรรมาธิกรณาธิบดี เมื่อหม่อมราชวงศ์ ปุ้ม มาลากุล ถึง แก่อสัญกรรม จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ซื้อบ้านหลังนี้ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านพิบูลธรรม ซื้อไว้เป็นบ้านรับรองแขกเมืองในปี พ.ศ. ๒๕๐๑”

คุณบุญศรี โชครวนวิวัฒน์ (พี่ศรี) หน้า l 32


คุณรังสิต ศุมานนท์ หน้า l 33

ตาแหน่ง คอเต็บ

อาจารย์รังสิต เล่าว่า “ตอนรัชกาลที่ ๑ ได้มีพี่น้องมุสลิมเป็นจานวนมากเดินทางติดตามรายา(พระยา) ปัตตานีซึ่งถูกจับส่งตัวเข้ามายัง กรุงเทพฯ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานที่ดิน แถวย่านบางลาพูและตึกดินให้เป็นที่อยู่อาศัยและใช้เป็นที่ ทามาหากิน พี่น้อง มุสลิมเหล่านี้มีจานวนหลายคนที่เป็นช่างฝีมือ ต่อมาได้ถวายตัวเข้ารับราชการในที่พระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เรื่อยมาจนถึง รัชกาลปัจจุบัน ไทยมุสลิมที่เข้ารับราชการบางท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์(สิน) มหานาค, หลวงวิเศษ (สุข), ขุนสารพัดช่าง (นิ่ม) มหานาค, ันบริหารคู้นิคมพระเทพฯ (หมึก) มหานาค, ขุนรัตนาภิบาล (เสงี่ยม) มหานาค เมื่อพี่น้องมุสลิมบริเวณบางลาพูและตึกดินมีจานวนมากเพิ่มขึ้น ได้มีการขยับขยายอพยพมา อยู่บริเวณสี่แยกมหานาค ตอนที่คลอง มหานาคตัดกับคลองผดุงกรุงเกษม เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๔๕-๒๓๕๐ เพราะเป็นแหล่งทาการค้า และมีความสะดวกสบายในการ สัญจรทางน้า เหมาะสมที่จะใช้เดินทางไปปฏิบัติราชการในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังได้มีพี่น้องมุสลิมจากอยุธยา คลองสวน คลองลาง หลวง และจากที่อื่นๆ มาอาศัยอยู่ด้วยเป็นจานวนมาก จึงได้มีการประชุมร่วมแรงร่วมใจกันที่จะจัดหาที่เพื่อ ทาการก่อสร้างมัสยิด เมื่อได้ อพยพที่อยู่จากบางลาพูและตึกดิน ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕-๒๓๕๐ ได้มีการประชุมและเห็นพร้องต้องกันว่าจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้าง มัสยิดขึ้น และเห็นว่าที่บริเวณที่เป็นมัสยิดในปัจจุบันที่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นมัสยิด จึงได้ ทาการเรี่ยไรเงินและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการ ก่อสร้างขึ้น หลังจากสร้างมัสยิดเสร็จพี่น้องมุสลิมมหานาคได้ใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง ในการประกอบศาสนกิจเรื่อยมา ส่วนผู้ที่มีความรู้ทาง ศาสนานอกจากท่านจะทาหน้าที่เป็นอิหม่ามในมัสยิดแล้ว บางท่านยังใช้เวลาว่างสอนพระมหาคัมภีร์อัลกุร อานให้บุตรหลายของท่าน และ บุตรหลานของเพื่อนบ้านสอนการละหมาด หลังจากนั้นได้มีการสร้างกุโบร์ (สุสาน) ขึ้นมา ในวันอังคารที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ภายในชุมชน รวมถึงตัวอาคารมัสยิดด้วย ข่าวไฟไหม้มัสยิดมหานาคกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว มุสลิม ตาบล ต่างๆ ที่ทราบข่าวให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ วันเวลาผ่านไปพี่น้องชาวไทยมุสลิมมหานาคมีจานวนมากขึ้น มัสยิดที่มีไว้ใช้เป็นศูนย์รวม ในการประกอบศาสนกิจจึงคับแคบ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ทางสานักงานเขตป้อมปราบฯได้จัดตั้งเป็นชุมชน โดยมีแกนนา คือ นาย สามารถ วงศ์เสงี่ยม ดาเนินการติดต่อสานักงานเขตป้อมปราบฯ เพื่อขอจัดตั้งชุมชน โดยใช้ชื่อว่า “ชุมชนมัสยิดมหานาค” และ ทาง ชุมชนได้แต่งตั้งให้นายสามารถ วงศ์เสงี่ยม เป็น ประธานชุมชน และแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนขึ้น ทางานให้กับชุมชน ต่อมาใช้เป็นการ เลือกตั้งคณะกรรมการ จนถึงปัจจุบัน”


MEET THE MASTER

มัสยิดมหานาค

หน้า l 34


EXPLORE

หน้า l 35


MEMORY เด็กต่างจังหวัดอย่างผม เข้าเรียนในกรุงเทพฯ การที่ได้ออกจากหอไปเที่ยวก็ นานๆครั้ง แล้วยิ่งการได้เที่ยวไปในแหล่งประวัติศาสตร์สาคัญของชาติ โอกาสก็ ยิ่งน้อยมากๆ ฉะนั้นแล้วทริปนี้เป็นทริปที่ดีมากๆ ทั้งมีโอกาสได้เที่ยว ได้ศึกษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาต่างๆ เต็มอิ่มกันเลยทีเดียว นายจตุรงค์ ขุนปักษี (โจ) รหัสนักศึกษา ๕๖๐๘๐๕๐๒๔๐๘

ได้รู้วัฒนธรรมในท้องถิ่นและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ซึ่งมีผู้คนที่นับถือใน ศาสนาต่าง ๆ มาอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน มีคนนับถือศาสนาพุทธ คนมุสลิม คนจีน อื่น ๆ มาอยู่ ร่ ว มกั นในชุมชน ท าให้ มี สถานที่ ท างศาสนาเกิดขึ้ นในแถบนี้ เช่น วัดเทพศิรินทราวาส มัสยิดมหานาค วัดญวณสะพานขาว อยู่ในย่านชุมชนแห่งนี้ และในย่านนี้ยังเป็นย่านการค้าที่ติดกับคลองผดุงกรุงเกษม จึงทาให้มีความสาคัญ เป็นอย่างมาก การไปเที่ยวในครั้งนี้ได้รู้จักประวัติความเป็นมาของวัดเทพศิรินทรา วาส ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ไปเยี่ยมชมบ้านพิบูลธรรม ซึ่งตั้งขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ ๖ หม่อมราชวงศ์ ปุ้ม มาลากุล เป็นเจ้าของบ้าน ได้ไปมัสยิดมหา นาคซึ่งทาให้รู้จักศาสนามุสลิมมากขึ้นว่ามุสลิมมีการเป็นอยู่อย่างไร และได้ไปวัด ญวนสะพานขาว ได้รู้ว่าทาไมถึงเรียกวัดญวนสะพานขาว ได้รู้จักชื่อสะพานที่สร้าง ขึ้นเพื่อใช้ในการข้ามคลองผดุงกรุงเกษม การออกทริปในครั้งนี้ทาให้รู้จักสถานที่ ต่างๆ มากขึ้น

นายอนุวรรตน์ ชาตะสะ (อรรถ) รหัสนักศึกษา ๕๖๐๘๐๕๐๒๔๖๙

หน้า l 36


MEMORY จากคนหลายๆถิ่น หลายๆภาษา หลายๆวัฒนธรรมและประเพณี ต่างถิ่นกาเนิด แต่มาหลอมหลวมกัน ให้กลายเป็นชุมชนหนึ่ง มันถือเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด นี่คือสิ่งที่ฉันได้รับจากการไปทริปคลองผดุงกรุงเกษมใน ครั้งนี้ นางสาว หัตถ์ฤทัย แซ่ตั้ง (นิกส์) รหัสนักศึกษา ๕๖๐๘๐๕๐๒๔๘๐

จากการเยี่ยมชมและเรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนย่านคลองผดุงกรุงเกษม ทาให้เราเข้าใจถึงความเป็นไป ของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้อย่างชัดเจน คลองเคยเป็นสิ่งสาคัญมากสาหรับการใช้ชีวิต เพราะเป็นทั้งเส้นทางการสัญจร ขนส่ง และทามาค้าขาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปความสาคัญของคลองกลับ ลดลงจนแทบไม่เห็นความคึกคักในอดีต ตึกแถวถูกแทนที่ด้วยตึกสูง ตลาดถูกเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้า แต่ถึงกระนั้น ภาพความเป็นอยู่ของผู้คนโดยรอบก็ยังคงเป็นเงาที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้า เห็นได้จากผู้คนโดยรอบที่ร่วมไม้ร่วมมือกันอนุรักษ์ไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของท้องถิ่น แม้ทั้งหมดจะเป็นเพียงจุด

เล็ก ๆ บนแผนที่กรุงเทพมหานคร แต่ก็เต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งอดีตที่หากไม่ค้นหาก็ไม่มีทางจะค้นพบ เวลาอาจจะพรากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีตให้เลือนหายไป แต่เวลาไม่อาจทาลายวัฒนธรรมอัน เป็นอัตลักษณ์ให้จางหายตามไปด้วย จารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามจะถูกส่งต่อสู่ชนรุ่นหลังให้ร่วม ภาคภูมิใจในอดีตร่วมกันตราบนานเท่านาน นายศักดา บุญมีรอด (ดา) รหัสนักศึกษา ๕๖๐๙๐๕๐๐๔๒๗

หน้า l 37


MEMORY จากการได้ไปเที่ยวชมสถานที่ต่างๆเริ่มจากวัดเทพศิรินนทราวาส ได้รับชมจิตรกรรมอันงดงามของ พระอุโบสถในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากนั้นได้เดินไปถึงบ้านพิบูลธรรมที่มีประวัติมาอย่างยาวนานและยัง อยู่ถึงปัจจุบัน มีการตกแต่งที่สวยงามมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามอีกด้วย จากนั้นได้เข้าเยี่ยม ชมมัสยิดมหานาค แหล่งชุมชนมุสลิมครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รู้เรื่องราวประเพณีของอิสลามต่างๆ เช่น การละหมาด การไม่รับประทานหมู แล้วได้เดินทางต่อไปยังวัดสมณานัมบริหาร หรือ วัดญวณ สะพานขาว ชมสถาปัตยกรรมพระอารามหลวงมหายาน ฝ่ายอนัมนิกาย เข้าชมวิหารพระอาจารย์เบ๋าเอิง เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงด้านอัญเชิญวิญญาณ จากการเดินทางทั้งวันได้เรียนรู้ประเพณีต่างๆ สถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ที่สวยงามและไม่สามารถเข้าได้ในวันธรรมดาทั่วไปอีกด้วย นายณัฐพล คชาชีวะ (นัท) รหัสนักศึกษา ๕๖๐๙๐๕๐๐๔๒๘

เรียนรู้เรื่องราววิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น โดยเริ่มจาก วัดเทพศิรินทราวาส โดยเข้าไปฟังประวัติของ วัดและเรื่องราวของคนที่นั่น ต่อมาเป็นมัสยิดมหานาคได้มีวิทยากรของการท่องเที่ยวมาให้ความรู้เกี่ยวกับ มัสยิดและหลักการปฏิบัติของศาสนาอิสลาม โดยละแวกนั้นยังมีแหลงการค้าที่มีนักท่องเที่ยวและคนไทย มาซื้อของใช้ได้ความรู้เกี่ยวกับชุมชนคลองผดุงกรุงเกษมมากมาย ผู้คนในชุมชนให้การต้องรับเป็นอย่างดี ทาให้ตลอดทริปนี้ราบรื่นไปด้วยดี นายเทพพิทักษ์ คาตัน (นัท) รหัสนักศึกษา ๕๖๐๙๐๕๐๐๔๓๗

หน้า l 38


การเดินทางเพือ่ เรียนรูส้ งิ่ ต่างๆ ทีแ่ ท้จริง ไม่ใช่แค่การค้นหาทิวทัศน์ใหม่ๆ แต่คอื การมองสิง่ เหล่านัน้ ในมุมมองใหม่ๆ ด้วย Marcel Proust

ขอขอบคุณ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.