Innovation and Information Technologies in Education

Page 1

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา [ Innovation and information Technologies in Education]

อาจารย์นิพนธ์ บริเวธานันท์


(1)

คำนำ เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา รหัส 1103303 หลักสูตรครุศาสตรบั ณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ฉบับนี้จัดทาขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกสาร ประกอบในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา โดยให้จัด สาระของเนื้ อหาวิช ารวมทั้งหมด 7 บทตามหลั กสู ตรกาหนดเรียงล าดับดังนี้ แนวคิด ความหมาย ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาและนวัตกรรม การศึกษา หลักการและแนวคิด สื่อการเรียนการสอน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการจัดการศึกษา แหล่ง ทรัพยากรการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การประเมินและหาประสิทธิภาพสื่อการสอน แนวโน้มเทคโนโลยี การศึกษาในปัจจุบัน ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการเรียนรู้ของนักศึกษา ในหลักสูตรและผู้สนใจทั่วไปที่จะสามารถนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้อย่างประสิทธิภาพต่อไป

นิพนธ์ บริเวธานันท์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ธันวาคม 2559


(2)

สำรบัญ

คำนำ สำรบัญ สำรบัญภำพ บทที่ 1 แนวคิด ควำมหมำย ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีสำรสนเทศทำงกำรศึกษำ 1.1 ความหมาย กระบวนการเกิด องค์ประกอบของนวัตกรรม 1.2 ความหมาย ประเภท องค์ประกอบของเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 1.4 พระราชบัญญัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2542 บทที่ 2 ประเภทของเทคโนโลยีสำรสนเทศทำงกำรศึกษำและนวัตกรรมกำรศึกษำ 2.1 ความหมาย ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา 2.2 ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา 2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา บทที่ 3 หลักกำรและแนวคิด สื่อกำรเรียนกำรสอน 3.1 ความหมายของสื่อการเรียนการสอน 3.2 ความสาคัญของสื่อการเรียนการสอน 3.3 บทบาทของสื่อการเรียนการสอน 3.4 ลักษณะสื่อการเรียนการสอนที่ดี 3.5 หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน 3.6 ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน 3.7 หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน 3.8 ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน บทที่ 4 กำรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับกำรจัดกำรศึกษำ 4.1 การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ 4.2 เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) 4.3 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) บทที่ 5 แหล่งเรียนรู้และเครือข่ำยกำรเรียนรู้ 5.1 แหล่งเรียนรู้ 5.2 เครือข่ายการเรียนรู้

หน้ำ (1) (2) (4) 2 11 22 24 30 32 52 60 61 62 63 63 69 73 74 78 93 99 117 127


(3)

หน้ำ บทที่ 6 กำรประเมินและหำประสิทธิภำพสื่อกำรสอน 6.1 การประเมินสื่อการสอน 6.2 การหาประสิทธิภาพสื่อการสอน บทที่ 7 แนวโน้มเทคโนโลยีกำรศึกษำในอนำคต 7.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับทิศทางการศึกษา 7.2 แนวโน้มการเรียนรู้ดิจิทัล “MAGICS” สาหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 7.3 การนาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

139 145 155 156 158


(4)

สำรบัญภำพ ภำพที่ 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 1.9 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7

ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประโยชน์จากนวัตกรรม แสดงการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ คีย์บอร์ด (keyboard) เมาส์ (mouse) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) รอม (Read Only Memory - ROM) แรม (Random Access Memory) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ซีดี (Compact Disk - CD) การ์ดเมมโมรี (Memory Card) จอภาพ (Monitor) อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) อุปกรณ์เสียง (Audio Output) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windowns) ลินุกซ์ (Linux) และแมคโอเอส (Mac OS) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program) อินเทอร์เน็ต (Internet) ระบบสารสนเทศการสอน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สานักงานอัตโนมัติ (Office Automation : OA) แสดงขอบเขตของเทคโนโลยีทางการศึกษา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสอน โทรทัศน์เพื่อการศึกษา สารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีฐานข้อมูล การสอนทางไกลผ่านเดาวเทียม การนาเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเกษตร

หน้ำ 4 6 7 13 14 14 15 15 16 16 17 17 18 18 19 19 20 21 22 23 23 24 32 33 34 34 35 35 36


(5)

ภำพที่ 2.8 2.9 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 2.22 2.23 2.24 2.25 2.26 2.27 2.28 2.29 2.30 2.31 2.32 2.33 2.34 2.35 2.36 3.1 3.2

การนาเทคโนโลยีมาใช้ในด้านอุตสาหกรรม การนาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม วัสดุที่เสนอเรื่องราวหรือความรู้ได้ด้วยตัวมันเอง : กระดานผาสาลี วัสดุที่ตองอาศัยเครื่องมือกลไก (Software) เป็นตัวนาเสนอเรื่องราว : เทปบันทึกเสียง สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ (Hardware) คณะหุ่นสายเสมา กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences) ประสบการณ์จาลอง (Contrived experience) ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience) การสาธิต (Demonstration) การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การจัดนิทรรศการ (Exhibition) โทรทัศน์และภาพยนต์ (Television and Motion Picture) การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) สื่อที่ไม่ใช้เครื่องฉาย การใช้สื่อประเภทเครื่องฉายในการจัดกิจกรรมการสอน การใช้สื่อประเภทเครื่องเสียง ศิลปินแห่งชาติ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ วัสดุการเรียนการสอน ท้องฟ้าจาลอง เครื่องมือและอุปกรณ์ ระบบการศึกษาทางไกล (Tele-education) ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Network) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ E-library หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน The ASSURE Model

หน้ำ 37 37 38 39 39 40 41 41 42 43 43 44 44 45 46 46 47 48 48 49 50 50 51 51 52 53 54 54 55 64 66


(6)

ภำพที่ หน้ำ 4.1 แสดงกระบวนการของ Web – based Instruction ในฐานะเป็นสื่อกลางก่อให้เกิด 80 ความรู้ 4.2 แสดงโครงสร้างลักษณะเรียงลาดับ 84 4.3 แสดงโครงสร้างลักษณะกริด 84 4.4 แสดงโครงสร้างลักษณะลาดับชั้น 85 4.5 แสดงโครงสร้างที่ตื้นเกินไป 85 4.6 แสดงโครงสร้างที่ลึกเกินไป 86 4.7 แสดงโครงสร้างในลักษณะเว็บ 87 4.8 แสดงโครงสร้างเชิงเส้นตรง 88 4.9 แสดงโครงสร้างลักษณะเปิด 88 4.10 แสดงโครงสร้างลักษณะผสมผสาน 89 4.11 เครื่องสวมหัวที่ประดิษฐ์โดย Ivan Sutherland 94 4.12 ภาพประกอบภาพยนตร์เรื่อง Star War I 94 4.13 แสดงกระบวนการทางานของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) 96 4.14 แสดงกระบวนการทางานของชุดสวมศีรษะ (HMD: Head Mounted Display) 97 4.15 แสดงกระบวนการทางานของมือถือหรืออุปกรณ์พกพา (HD : Handheld Display) 98 4.16 การแสดงภาพบนจอดิจิทอล (SAR: Spatial Augmented Reality) 99 4.17 บรรยากาศห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 101 4.18 คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Personal Computer) 101 4.19 คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) 102 4.20 เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ (LCD Projector) 102 4.21 กระดานอัจฉริยะ (Interactive Board) 102 4.22 แท็บเล็ต (Tablet) 103 4.23 สมาร์ทโฟน (Smartphone) 103 4.24 เครื่องขยายเสียง (Stereo) 103 4.25 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต 104 4.26 Single Classroom Architectures 107 4.27 Scattered Classroom Architectures 108 4.28 Point-to-Point , Two – classes Architectures 109 4.29 Multiple Classroom Architecture 109


(7)

ภำพที่ 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 5.9 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 7.9 7.10 7.11 7.12 7.13 7.14 7.15 7.16 7.17 7.18 7.19 7.20 7.21 7.22

น้าตกเหวสุวัต อุทยานแห่งชาติ แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น อาจารย์ธนิต ศรีกลิ่นดี แหล่งเรียนรู้ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เว็บไซต์สานักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา เว็บไซต์ SchoolNet Thailand เว็บไซต์ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLTV) เว็บไซต์ DLIT Internet of Things (IOT) การนา QR Code มาใช้ในงานห้องสมุด การสอนด้านการเขียนโปรแกรม (Programming / Coding) เครื่องพิมพ์สามมิติ 3D printer การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ จอภาพสวมศีรษะ (Head-Mounted display : HMD) บูม (Binocular Omni-Orientation Monitor : Boom) เคฟว์ (Cave Automatic Virtual Environment : CAVE) แว่นตามองภาพ 3 มิติ (Shutter Glasses) Cloud Computing Public Cloud Private Cloud Hybrid Cloud MOOC เว็บ edX เว็บ Coursera เว็บ udacity เว็บ khanacademy Open Universities Australia Youtube Education TED.ED iTunes U

หน้ำ 120 121 121 122 122 130 132 133 135 159 159 160 161 162 165 165 166 166 168 169 170 170 173 175 175 176 176 177 177 178 178


1

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 1 หัวข้อเนื้อหา 1. ความหมาย กระบวนการเกิด องค์ประกอบของนวัตกรรม 2. ความหมาย ประเภท องค์ประกอบของเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 4. พระราชบัญญัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2542

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อเรียนจบในบทที่ 1 แล้ว ผู้เรียนสามารถ 1. ความหมาย กระบวนการเกิด องค์ประกอบของนวัตกรรม 2. อธิบายความหมายประเภท องค์ประกอบของเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ 3. บอกถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้ 4. อธิบายพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2542 ได้


2

บทที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ความหมาย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีความสาคัญอย่างมากสาหรับครูผู้สอนที่จะจัดกิจกรรมการเรียน การสอนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ในปัจจุบันมีการกล่าวถึงนวัตกรรมและ เทคโนโลยีการศึกษาเป็นจานวนมาก เพราะผู้สอนได้มีการบูรณาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเข้ามา ใช้ในการจัดการศึกษามากขึ้น เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

1.1 ความหมาย กระบวนการเกิด องค์ประกอบของนวัตกรรม ในการศึกษาความเข้าใจถึงความหมายกระบวนการเกิด องค์ประกอบของนวัตกรรมนั้น จาเป็นต้องทา ความเข้าใจถึงคาจากัดความของนวัตกรรม การเกิดนวัตกรรมและระยะของการเกิดนวัตกรรมก่อน ดังนี้ 1.1.1 ความหมายของนวัตกรรม นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคาว่า “นว” หมายถึง ใหม่ “กรรม” หมายถึง การกระทา เมื่อนาสองคานี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทาใหม่ ๆ มีนักการศึกษา หลายท่านได้ให้ความหมายของคานี้ไว้ ดังนี้ นวตกรรม หมายถึง การนาสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มา ก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย มอตัน (Morton, J.A. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521:13) ได้ให้นิยามของนวกรรมไว้ในหนังสือ Organizing for Innovation ของเขาว่านวกรรม หมายถึงการทาให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวกรรมไม่ใช่ การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไปแต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ วสันต์ อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคาสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมี ความหมายว่า ความคิดและการกระทาใหม่ ๆ ที่จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวกรรมทาง การแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทาใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ ยนแปลง ปรับปรุง ตลอดจนแก้ปัญหา ทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง ความคิดและการกระทาใหม่ ๆ ที่จะทาให้เกิด การเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา


3

ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew B. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 14) ได้กล่าวถึง นวกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า“นวกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล” เปรื่อง กุมุท (2519) ได้กล่าวถึง ความคิดหรือการกระทาใหม่ ๆ ที่ทาให้เกิดนวัตกรรมว่ามี 5 ลักษณะ คือ 1. ความคิดหรือการกระทานั้นใหม่ในบ้านเราทั้ง ๆ ที่เก่ามาจากที่อื่น 2. ความคิดหรือการกระทานั้นใหม่ในขณะนี้ทั้ง ๆ ที่เคยใช้มาแล้วในอดีตแต่ไม่ได้ผลและล้มเลิ กไป เนื่องจากขาดสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ ในขณะนั้น 3. ความคิดหรือการกระทานั้นใหม่ เนื่องจากมีความคิดหรือการกระทาอยู่แล้วในขณะนั้นประจวบ เหมาะกับการสนับสนุนทางเทคโนโลยีที่เข้ามาพร้อม ๆ กันจึงทาให้สิ่งเหล่านั้นดาเนินไปอย่างได้ผล 4. ความคิดหรือการกระทานั้นใหม่ เนื่องจากสิ่งเคยทาอยู่หรือของเดิมถูกตัดหรือไม่ได้รับการสนับสนุน จากผู้บริหารจึงต้องเลิกล้ม แต่บัดนี้กลับได้รับการสนับสนุนและได้เริ่มกระทาต่อไป 5. ความคิดหรือการกระทานั้นใหม่จริง ๆ ยังไม่เคยมีใครกระทามาก่อน สานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือ “สิ่งใหม่ที่ เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม” โทมัส ฮิวส์ (Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า “เป็นการนาเอาวิธีการใหม่มาปฏิบัติ หลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลาแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคย ปฏิบัติมา” สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ (2553) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม หมายถึง “สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น จากการใช้ความรู้ ทักษะประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักกษณะเป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม” ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523) ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ดังนี้ 1. อาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตแล้วนามาปรับปรุงใหม่ ให้ดีขึ้น 2. มีการจัดระบบขั้นตอนการดาเนินงานที่เหมาะสมก่อนทาการเปลี่ยนแปลง 3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าสิ่งใหม่นั้นจะช่วยให้การรแก้ปัญหาและ ดาเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปัจจุบัน โดยสรุปแล้ว นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ การกระทาใหม่ หรือการนาสิ่งเก่ามากระทาใหม่โดยผ่าน กระบวนการวิจัยแล้วว่าสามารถนามาใช้ในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4

1.1.2 กระบวนการเกิดนวัตกรรม กระบวนการเกิดนวัตกรรม การเกิดนวัตกรรมมีกระบวนการที่สาคัญ 3 ขั้นตอน คือ 1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน 2. มีการตรวจสอบ หรือทดลองและปรับปรุงพัฒนา 3. มีการนามาใช้หรือปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง การที่ จ ะพิ จ ารณาว่ า สิ่ ง นั้ น ๆ จะเป็ น นวั ต กรรมหรื อ ไม่ ต้ อ งมี คุ ณ ลั ก ษณะหรื อ คุ ณ สมบั ติ ข อง กระบวนการครบทั้ง 3 ขั้นตอน อาทิ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นนวัตกรรม เพราะผ่านกระบวนการครบ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่หนึ่ง มีการประดิษฐ์คิดค้น ขั้นที่สอง มีการทดลองใช้และพัฒนามาแล้วและขั้นที่สามมี การนามาใช้กันแล้วในการจัดการเรียนการสอน

ภาพที่ 1.1 ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=2yJvcNYymSA 1.1.3 การนานวัตกรรมมาใช้ เอกวิทย์ แก้ว ประดิษฐ์ (2545) ได้ กล่ าวว่า การนานวัตกรรมมาใช้ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพและความ เหมาะสม นวัตกรรมในที่หนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับ อีกที่หนึ่ง การนานวัตกรรมมาใช้บางครั้งอาจเกิดปั ญหา มากกว่าที่จะได้ผลดีตามที่คาดคิด ซึ่งการนานวัตกรรมมาใช้จึงมีหลักในการพิจารณา ดังนี้ 1. แหล่งที่มาของนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ และเหตุผลความเป็นมาของการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่มา เช่น 1.1 เป็นความคิดและวิธีการที่ปฏิบัติอยู่แล้วในสังคมอื่นแต่นามาปรับใช้ให้เหมาะกับองค์กรของตน 1.2 เป็นความคิดและวิธีการที่ปฏิบัติอยู่เดิมในองค์กร แต่นามาปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น 1.3 เป็นความคิดและวิธีการที่เคยปฏิบัติอยู่ในสังคมนั้น แต่ไม่ได้ผลเพราะล้ายุคเกินไปต่อมาสังคม เปลี่ยนแปลงจึงนากลับมาใช้ใหม่


5

1.4 เป็นความคิดและวิธีการที่เคยปฏิบัติ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือไม่มีสิ่งอานวยความสะดวก ต่อมาเมื่อมีความพร้อมจึงกลับมาใช้อีก 1.5 เป็นความคิดและวิธีการใหม่ที่เพิ่งปรากฏครั้งแรกไม่มีที่ใดมาก่อน 2. วิทยาการที่จะใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นถูกต้องและจะได้รับ ความสาเร็จ 3. ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมมีความสอดคล้องเหมาะสม 4. มีวิธีอันเหมาะสมที่จะทาให้ความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีข้อขัดแย้งน้อยที่สุด มีวิธีการอันเหมาะสมที่สาคัญถ้าสามารถปฏิบัติตามได้จะทาให้การต่อต้านลดน้อยลง การใช้นวัตกรรมก็หวัง ได้รับผลสาเร็จและมีผลขยายกว้างออกไป จึงควรปฏิบัติดังนี้ 4.1 ควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวิธีปฏิบัติทั้งใหม่และเก่าได้มีโอกาสเลือกปฏิบัติ และมีความรู้สึกว่าเขามี ส่วนร่วมในการวินิจฉัยหรือตัดสินใจว่าอะไรดีหรือไม่ดี และควรนามาใช้หรือไม่ 4.2 ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบผลของการปฏิบัติแบบต่าง ๆ เปรียบเทียบกันอันจะเป็นผลให้มีความ มั่นใจมากขึ้น 4.3 ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทราบวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดว่าการปฏิบัติใหม่ทาเพื่ออะไรและจะใช้หลักเกณฑ์ ใดสาหรับวินิจฉัยว่าทาอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นผลดี 1.1.4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรม ในการที่จะยอมรับนวัตกรรมนั้นมีเหตุและปัจจัยต่าง ๆที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความรวดเร็วน การยอมรั บ นวั ต กรรม ความคงทนของนวั ต กรรมนั้ น ๆ ขึ้ น อยู่ กั บ ปั จ จั ย ต่ า ง ๆ ดั ง ต่ อ ไปนี้ (Roger and Burdger. 1972. อ้างอิงจาก เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. 2545) 1. ปัจจัยด้านคุณลักษณะของตัวนวัตกรรม นวัตกรรมแต่ละอย่างจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่สามารถ นามาใช้ในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่เป็นได้ตามสถานการณ์และความต้องการของ ผู้นามาใช้ ดังจะเห็นได้ว่านวัตกรรมบางอย่างได้ผลดีในที่แห่งหนึ่งแต่อาจไม่ได้ผลในที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับว่า นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ หรือไม่ มีปัจจัยหลายด้านที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและใช้ นวัตกรรม เช่น 1.1 การได้รับผลประโยชน์จากนวัตกรรม (Relation Advantage) หมายความว่าตัวนวัตกรรมใด มีคุณสมบัติที่ดีและผู้ใช้มีความเชื่อว่าสามารถใช้ได้ดีและมีประโยชน์สามารถนามาทดแทน ของเก่าได้จริงหรือดีกว่าของเก่าก็จะทาให้มีโอกาสถูกยอมรับมากขึ้น 1.2 การเข้ากันได้ดีกับสิ่งที่มีอยู่เดิม (Compatibility) หมายความว่า นวัตกรรมที่จะนามาใช้ถ้า มีคคุณค่า มีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการและระเบียบวิธีที่ปฏิบัติอยู่ก่อน สามารถเข้ากันได้กับสิ่งต่าง ๆ และไม่สร้างความยุ่งยากให้ งานที่ปฏิบัติ นวัตกรรมนั้นก็จะมี โอกาสถูกยอมรับได้ง่ายขึ้น


6

1.3 ความซับซ้อน (Complexity) หมายถึง ระดับความเชื่อว่าในตัวนวัตกรรมยากต่อการทาความ เข้าใจและมีความยุ่งยากต่อการนาไปใช้ เนื่องจากว่านวัตกรรมบางอย่างสามารถทาความ เข้าใจและนาไปใช้ได้ง่า ในขณะที่บางอย่างมีค วามยุ่งยาก ซับซ้อนและทาควาเข้าใจยาก อุปกรณ์ที่ใช้อาจมีความยุ่งยากจนผู้ใช้อาจหมดความอดทนที่จะเรียนรู้ทาให้ไม่ค่อยอยากนาม ใช้ในการปฏิบัติงาน 1.4 การทดลองปฏิบัติได้ (Trainability) หมายความว่า นวัตกรรมที่จะนามาใช้สามารถทดลอง ทดสอบให้เห็นผลจริง อย่างน้อยภายใต้สภาพที่จากัดเมื่อได้เห็นผลที่เกิดจากการทดลองอย่าง มีขั้นตอน มีระบบ ได้รับผลออกมาแล้ว นวัตกรรมนั้นก็จะถูกยอมรับได้มากกว่านวัตกรรมที่ไม่ สามารถทดลอง ทดสอบได้ 1.5 การสังเกตได้ (Observability) หมายความว่า นวัตกรรมใดที่สามารถแสดงให้เห็นขั้นตอน วิธีการหรือกระบวนการที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมได้ จะช่วยให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจและพร้อมที่ จะยอมรับนวัตกรรมนั้นได้ง่าย

ภาพที่ 1.2 ประโยชน์จากนวัตกรรม ที่มา : http://solutionsreview.com/mobile-device-management/top-4-mobile-devicemanagement-vendors-to-watch-in-2016/ 2. ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้รับนวัตกรรม ไม่ว่านวัตกรรมนั้นจะมีคุณสมบัติดีเพียงใดเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมอย่างไร การจะยอมรับนวัตกรรมใด ปัจจัยอยู่ที่ตัวบุคคลหรือผู้รับนั่นเอง ถ้าผู้รับไม่มีความพร้อม ในการยอมรับ ไม่ยอมรับ ไม่ปฏิบัตินวัตกรรมนั้นก็ไร้ความหมาย ปัจจัยสาคัญเกี่ยวกับผู้รับนวัตกรรม เช่น 2.1 สถานภาพทางเศรษฐกิจ สั งคม (Socio-economic) สถานภาพทางเศรษฐกิจสั งคมของ บุคคลจะมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยี เช่น อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ เป็นต้น


7

2.2 คุณลักษณะของบุคลิกภาพ (Personality) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่ได้รับการสั่งสม มาตั้งแต่เล็กจนโต หล่อหลอมจากบ้านจนมาถึงสถาบันการศึกษาทาให้บุคลิกภาพแตกต่างกัน ไป เช่น เป็นบุคคลแข็งกระด้าง อ่อนโยน ไม่ยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น 3. ปัจจัยยด้านระบบสังคม (Social System) ในสังคมจะมีทั้งผู้นาและผู้ตามมีผู้นาทางความคิด มี ค่านิยม และมีปทัสฐานทางสังคม (Norms) ปทัสฐานทางสังคมจะเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงได้เพราะ บุคคลยึดปทัสฐานทางสังคม หากไม่สอดคล้องกับนวัตกรรมบุคคลก็ไม่ยอมรับนวัตกรรม 4. ปัจจัยทางด้านการติดต่อสื่อสาร การสื่อสารเป็นส่วนประกอบสาคัญของกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม และกระบวนการแพร่กระจายนวัตกรรมเป็นการติดต่อสื่อสารประเภทหนึ่ง กระบวนการนี้เกี่ยวข้อง กับข่าวสารที่เป็นแนวความคิดใหม่ ๆ ข่าวสารเหล่านี้จึงมีความแตกต่างจากข่าวสารทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจาวัน และเกี่ยวข้องกับระดับความเสี่ยงของผู้รับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 1.1.5 ระยะการเกิดของนวัตกรรม การเกิดของนวัตกรรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้มีความเหมาะสมกับ ยุคสมัย ระยะที่ 2 การพัฒนาการ (Development) มีการทดลอง การวิจัย แล้วว่านวัตกรรมนั้น ๆ สามารถ นามาใช้งานได้จริง ระยะที่ 3 การนาเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป นวัตกรรมเมื่อมีการพัฒนาและนาไปใช้อย่างแพร่หลายจนเป็นปกติของหน่วยงานแล้ว นวัตกรรมนั้น ๆ จะถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยี และเมื่อนาเทคโนโลยีไปใช้งานอย่างกว้างขวางจนพบข้อบกพร่อง จนทาให้ เกิดปั ญหากับ ระบบงาน และเมื่อได้มีการนาเทคโนโลยีนั้นมาปรับปรุงใหม่ แก้ไขข้อบกพร่องนั้น ๆ ใหม่ เทคโนโลยีนั้นก็จะกลับกลายเป็นนวัตกรรมอีกครั้ง ดังภาพ

เทคโนโลยี

การพัฒนา

เผยแพร่

นวัตกรรม

การเผยแพร่ ภาพที่ 1.3 แสดงการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยี


8

1.1.6 นวัตกรรมการศึกษา กิดานันท์ มลิทอง (2540) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและ การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษาและประหยัดเวลาในการเรียน ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรม การศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วและประเภทที่กาลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เหล่านี้ เป็นต้น ฐานความรู้ ศูน ย์ น วัตกรรมและเทคโนโลยี ก ารศึ ก ษา ให้ ความหมายว่า นวัตกรรมทางการศึ ก ษา หมายถึง การนาเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทารวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ใน ระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทาให้ ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่ น การสอนใช้ ค อมพิ ว เตอร์ ช่ ว ยสอน การใช้ วี ดิ ทั ศ น์ เ ชิ ง โต้ ต อบ( Interactive Video) สื่ อ หลายมิ ติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วย แก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา สรุปได้ว่า นวัตกรรมการศึกษาหมายถึง การกระทา สิ่งประดิษฐ์ หรือสิ่งใหม่ๆต่าง ๆ ที่นามาใช้ในการ จัดการศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผล สูงกว่าเดิม 1.1.7 แนวความคิดที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา องค์ประกอบที่สาคัญต่อการเกิดนวัตกรรมการศึกษา คือ ความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยน แปลงไป แนวความคิดดังกล่าวต้องใช้วิธีการนาเอาระบบการจัดการทางการศึกษาเข้ามาวางแผนการดาเนิน งาน สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual different) ระบบการศึกษา ของไทยได้ให้ความสาคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลไว้อย่างชัดเจน เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้ อายุเป็นเกณฑ์ ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์ เป็นต้น นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนอง แนวความคิด พื้นฐานนี้ ได้แก่ 1.1 การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-graded school) 1.2 แบบเรียนสาเร็จรูป (Programmed text book) 1.3 เครื่องสอน (Teaching machines) 1.4 การสอนเป็นคณะ (Team teaching) 1.5 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within school)


9

1.6 เครื่องคอมพิวเตอร์ข่วยสอน (Computer assisted instruction) 2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) การจัดการศึกษาในอดีตมีความคิดว่าเด็ก จะเรี ย นหนั งสื อได้ต้องมีความพร้ อม ตามพัฒ นาการทางธรรมชาติ แต่ในปัจจุบัน นักจิตวิทยาการศึก ษา กล่าวว่า สามารถสร้างความพร้อมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ นวัตกรรมในการเตรียมความพร้อม ได้แก่ 2.1 ศูนย์การเรียน (Learning center) 2.2 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within school) 2.3 การปรับปรุงการสอนสามขั้น (Instructional development in 3 phases) 3. แนวความคิดพื้น ฐานในเรื่ องการใช้เวลาเพื่อ การศึกษา แนวความคิดนี้ได้แก่ การจัดการเรียน การสอนโดยอาศัยความสะดวกเป็นหลัก เช่น การจัดตารางสอนตามคาบเวลาต่างๆ กาหนดแน่นอนเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายภาคเรียน แต่ในสภาพปัจจุบันสามารถใช้ นวัตกรรมการศึกษามาใช้เกี่ยวกับการจัดการ เรื่องเวลาในการเรียนการสอนได้ เช่น 3.1 การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible scheduling) 3.2 มหาวิทยาลัยเปิด (Open university) 3.3 แบบเรียนสาเร็จรูป (Programmed text book) 3.4 การเรียนทางไปรษณีย์ 4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร มีความต้องการ ในด้านการศึ ก ษาเพิ่ ม มากขึ้ น มีความจ าเป็ น ในการศึ ก ษาเฉพาะเรื่ อ งเพิ่ ม มากขึ้น จึงจาเป็นต้อ งมี ร ะบบ การศึกษาใหม่เกิดขึ้น ทาให้มีแนวโน้มของนวัตกรรมการศึกษา ในการจัดระบบการศึกษาใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น 4.1 มหาวิทยาลัยเปิด (Open university) 4.2 การเรียนทางวิทยุ (Radio education) 4.3 การเรียนทางโทรทัศน์ (Television education) 4.4 การเรียนทางไปรษณีย์ (Post office education) 4.5 แบบเรียนสาเร็จรูป (Programmed text books) 4.6 ชุดการเรียน (Kits) 4.7 การเรียนในระบบอินเทอร์เน็ต (Tele conferencing) 1.1.8 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมที่นามาใช้ในทางการศึกษา ทั้งการกระทาใหม่ใด ๆ การสร้างสิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งการ พัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใด ๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ (มนสิช สิทธิสมบูรณ์) 1. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทาให้ นั กการศึกษาพยายามนาศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ ๆ ทั้ง


10

การเรียนด้วยตนเอง การเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดฝึกอบรม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 2 นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน การใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้น พัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ ๆเพื่อให้ตอบสนองการเรียนรู้ได้ในร รูปแบบการสอนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา อาทิ การสอนแบบร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ (Cooperative Learning) การสอนแบบโครงสร้ า งความรู้ (Graphic Organizer) การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center) การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Based) การสอนแบบบูรณาการ (Integrate Teaching) การสอนด้วยรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) การสอนแบบ โครงงาน (Project Method) เป็นต้น 3. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร นวัตกรรมทางด้านหลักสู ตร เป็นการนาวิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้ มีความสอดรับ กับ สภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการการสอนบุคคลให้มากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตร ยังมีความจาเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนา หลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศั ยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามา ช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรการ ฝึกอบรม และหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นต้น 4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทาได้อย่าง รวดเร็ ว รวมไปถึงการวิจั ย ทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้ว ยการประยุกต์ใช้โ ปรแกรมคอมพิว เตอร์มา สนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล อาทิ การสร้างแบบวัด การสร้างเครื่องมือ การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ การใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจของ ผู้บริหารการศึกษาให้ มีความรวดเร็ วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ ยนแปลงของโลกนวั ตกรรมการศึ ก ษาที่ น ามาใช้ ท างด้ า นการบริ ห ารจะเกี่ ย วข้ อ งกั บ ระบบการจั ด การฐานข้ อ มู ล ในหน่ ว ยงานสถานศึ ก ษา เช่ น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความ เกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัด การศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้น ข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจาเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อม ๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทาเป็นกลุ่มเพื่อให้ สามารถนามาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


11

1.2 ความหมาย ประเภท องค์ประกอบของเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.2.1 ความหมายของเทคโนโลยี เทคโนโลยี (Technology) เป็นคามาจากภาษากรีกว่า “Techne” หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือ ทักษะ (Art, Science or Skill) และมาจากภาษาลาตินว่า “Texere” มีความหมายว่าการสาน (to Weave) หรื อ การสร้ า ง (to Construct) ในภาษากรี ก มี ค าว่ า Technologia หมายถึ ง การกระท าอย่ า งมี ร ะบบ (Systematic treatment) พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ ใ ห้ ค วามหมายของค าว่ า “เทคโนโลยี” ไว้ดังนี้ เทคโนโลยี หมายถึง “วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนาเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรรม” เมื่อพิจารณาจากรูปศัพท์ภาษาอังกฤษจะมีความหมายดังนี้ Techno แปลว่า วิธีการ Logy แปลว่า วิชาหรือการศึกษาเกี่ยวกับ ดังนั้นเมื่อรวมคาแล้ว “เทคโนโลยี” จึงหมายถึง เทคนิควิทยาหรือวิชาที่ว่าด้วยวิธีการ หรือ ศาสตร์ ที่ว่าด้วยเทคนิควิธีการหรือวิธีปฏิบัติโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ (Systematic Treatment) นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการที่ได้ให้ความหมายของ “เทคโนโลยี” ไว้ดังนี้ สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:16) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนาเอาความรู้ทางศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ให้ เกิดเป็ นระบบที่ดี ซึ่งสามารถนาไปใช้แก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุ เป้าหมายได้ อย่ าง มีประสิทธิภาพ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523:36) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ แต่ความหมาย ที่แท้ของเทคโนโลยีเป็น กระบวนการ วิธีการหลักปฏิบัติและสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งอยู่ในรูปของการจัดระบบงาน ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ 1. ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกาหนดปัญหา วัตถุประสงค์ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2. กระบวนการ ได้แก่ การลงมือแก้ไข แจกแจง วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 3. ผลลัพธ์ ได้แก่ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหา หรือสรุปการวิเคราะห์ซึ่งสามารถนาไปทดลอง ประยุกต์ใช้และทาการประเมินผล กูด (Good. 1973:592) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการ ต่าง ๆ หรือสาขาต่าง ๆ เมื่อนามาใช้แล้วจะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบงานที่ปฏิบัติอยู่ ถ้าหากมีการนา เทคโนโลยีมาใช้แล้ววิธีการทางานยั งคงเหมือนเดิม ไม่ถือว่าเป็นเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีส ามารถสรุป ได้ 5 ความหมาย ดังนี้ 1. เป็นระบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิค 2. เป็นการนาเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติ 3. เป็นการจัดระบบข้อเท็จจริงและหลักเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ เพื่อจุดประสงค์ในทางปฏิบัติและอาจ รวมถึงหลักการที่ก่อให้เกิดผลทางการเรียนการสอน 4. เป็นการนาเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบมาใช้


12

5. เป็นการนาเอาความรู้ด้านตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อให้เกิดความเจริญทาง วัตถุ ไฮนิชและคนอื่นๆ (Heinich and others. 1996:443) กล่าวว่า เทคโนโลยีมี 3 ลักษณะ คือ 1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (Process) เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการหรือ วิธีการ เป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ด้านอื่นมาใช้อ่างมีระบบเพื่อนาไปสู่ประโยชน์ ในงานเฉพาะและแก้ปัญหา 2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (Product) เทคโนโลยี คือ วัสดุและอุปกรณ์อันเป็นผลมาจาก การใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี อันเป็นผลผลิตที่ได้รับจากการประยุกต์ใช้ความรู้ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ 3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมผสานของกระบวนการและผลผลิต (Process and Product) เทคโนโลยีคือ การผสมผสานระหว่างกระบวนการที่เป็นระบบและผลผลิตที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และศาสตร์ด้าน อื่น ๆ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อใช้ในการบริหารจัดการงานใดให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่งานนั้น ๆ มีการนาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการต่าง ๆ อาทิ การนาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา จะเรียกว่า เทคโนโลยี การศึกษา นาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีการแพทย์ นาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการอาหาร เรียกว่า เทคโนโลยีการอาหาร หรือ นาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีการเกษตร เป็นต้น 1.2.2 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ (Information) หมายถึง เรื่องราว ความรู้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ผ่านการประมวลผลด้วย วิธีการใดวิธีการหนึ่งและผสมผสานความรู้หรือหลักวิชาที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนาไปใช้ประโยชน์ต่อ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทั้งในส่วนบุคคลและส่วนรวม เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลาดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทาให้เกิด ประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการนาคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสาหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทางานร่วมกัน เพื่อให้เกิด การแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนาข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทาการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ตามต้องการ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนาเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทาให้ สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับ เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการ สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการ ดาเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการ ดาเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ


13

ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540:77) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่ ส ารสนเทศ ซึ่ ง รวมๆแล้ ว ก็ คื อ เทคโนโลยี ค อมพิ ว เตอร์ แ ละเทคโนโลยี สื่ อ สาร โทรคมนาคม หรือ Computer and Communication หรือเรียกว่า C&C ถึงอย่างไรก็ตามมีแนวโน้มที่จะนับ เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็น องค์ประกอบของ C&C และที่เกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เช่น เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสานักงานอัตโนมัติ พิเชษฐ เพียรเจริญ. (2538). เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบการทางานใด ๆ เพื่อจัดทาสารสนเอศไว้ใ ช้งานซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม และยัง รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนาข้อมูลข่าวสารี่เป็นประโยชน์มาใช้ โดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การประยุกต์ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เครื่อง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ เป็นเครื่องมือที่ช่วยเก็บและประมวลข้อมูลให้เกิดสารสนเทศสาหรับ ผู้ใช้

ภาพที่ 1.4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มา : http://www.ccu.edu/ccu/computerinformationtechnology/ 1.2.3 องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยส่วนมากแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๆ 2 องค์ประกอบ ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งจะขออธิบายแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้ 1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีเพื่อจัดการสารสนเทศ ได้แก่ การเก็บข้อมูล การประมวลผล การเผยแพร่ต่าง ๆ รวมไป ถึงการดูแลรักษาข้อมูล ดังนั้นจาเป็นต้องมีการจัดการสารสนเทศโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล


14

1) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อที่ใช้ในการ บันทึกข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หน่วยความจาหลัก (Main Memory Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสารอง (Secondary Storage) และอุปกรณ์ที่ แสดงผล (Output Device) 1.1 อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) ได้แก่ คีย์บอร์ด (keyboard) เมาส์ (mouse) จอภาพ (monitor) เครื่องสแกน (Scanner) เป็นต้น รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสาหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น โมเด็ม (modem) และ สายสัญญาณ

ภาพที่ 1.5 คีย์บอร์ด (keyboard) ที่มา : http://www.replacementlaptopkeys.com/acer-aspire-e15-replacement-laptopkeyboard-keys/

ภาพที่ 1.6 เมาส์ (mouse) ที่มา : https://www.microsoft.com/accessories/en-us/products/mice/compact-optical-mouse500/u81-00009 1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีก ชื่อหนึ่งว่าโปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสาคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นาเข้าข้อมูลตามชุดคาสั่งหรือโปรแกรมที่ ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง


15

ภาพที่ 1.7 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ที่มา : https://www.tutorialspoint.com/computer_fundamentals/computer_cpu.htm 1.3 หน่วยความจาหลัก (Main Memory Unit) หรือเรียกว่า หน่วยความจาภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.3.1 รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจาที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่ แล้วสามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไป เลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป

ภาพที่ 1.8 รอม (Read Only Memory - ROM) ที่มา : http://www.theerawitthaya.org/webboard-show_2324 1.3.2 แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจาที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมี กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจาชนิดนี้ จะหายไปทันที


16

ภาพที่ 1.9 แรม (Random Access Memory) ที่มา : http://skspc.en.ecplaza.net/second-handed-computer--152400-704788.html 1.4 หน่วยเก็บข้อมูลสารอง (Secondary Storage) หรือหน่วยความจาภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจาที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่าง ๆ ได้แก่ 1.4.1 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทาหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่าง ๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุม การทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

ภาพที่ 1.10 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ที่มา : http://www.riverplus-ipc.com/storage.html 1.4.2 ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็น แผ่นกลมบางทาจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น


17

ภาพที่ 1.11 ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ที่มา : https://foam2540.wordpress.com/2013/06/01/ 1.4.3 ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความ จุสูง เหมาะสาหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทามาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วย สารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทาให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูล เป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลาย ประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD)

ภาพที่ 1.12 ซีดี (Compact Disk - CD) ที่มา : http://beambnbn.blogspot.com/2014/09/cd-cd-dvd-2-cd-cd-compact-disk-phillips.html 14.4 การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนาไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่าง ๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น


18

ภาพที่ 1.13 การ์ดเมมโมรี (Memory Card) ที่มา : http://th.compare.asia/detail/784042 -เมมโมรี่การ์ด-kingston-8gb-micro-sdhc-class-10secure-digital-memory-card 1.5 อุปกรณ์ที่แสดงผล (Output Device) อุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์โดยรับข้อมูลมาจากหน่วยประมวล แล้วนามาแสดงผลในอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อได้ผลลัพธ์จากหน่วยประมวลผล จะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้า ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ เช่น รูปภาพ ตัวอักษร 1.5.1 หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบ ในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทางานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสารอง เพื่อให้ สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่ 1) จอภาพ (Monitor) มีความสาคัญสาหรับการแสดงผลข้อมูลให้กับทางด้านสายตา ไม่ว่าจะ เป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้ทางจอภาพไม่ว่าจะเป็นภาพ แสง สี ตัวหนังสือ ถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลัก

ภาพที่ 1.14 จอภาพ (Monitor) ที่มา : https://sites.google.com/a/mattayom31.go.th/bodin-stn/bth-thi-3/kar-leuxk-sux-xupkrn


19

2) อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนาเสนอข้อมูลให้ผู้ชม จานวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ ฉายภาพในปัจจุบันจะ มีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจาก คอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลง บนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส แผ่นหนึ่ง

ภาพที่ 1.15 อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) ที่มา : http://www.itemsell.net/156187-เครื่องฉาย-โปรเจคเตอร์-เอปสัน-รุ่น-EB-S02-สว่าง-2600-LmSVGA-หลอดนาน-5.html 3) อุปกรณ์เสียง (Audio Output) ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยัง จอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลาโพง ( speaker ) เพื่อ ช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สาหรับการแสดงผล ในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน

ภาพที่ 1.16 อุปกรณ์เสียง (Audio Output) ที่มา : https://sites.google.com/site/computer015068/hardware/output


20

1.5.2 ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดของคาสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทางาน ซอฟแวร์นี้จึงได้เหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง คอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟแวร์เราก็ไม่อาจใช้คอมพิวเตอร์ทาอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สาหรับเครื่อง คอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ 1) ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) หมายถึงชุดคาสั่งที่ทาหน้าที่ควบคุมการ ท างานของเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ แ ละอุ ป กรณ์ ต่ อ พ่ ว งต่ า ง ๆ และท าหน้ า ที่ เ ป็ น ตั ว กลางระหว่ า งผู้ ใ ช้ กั บ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น 1.1) ระบบปฏิบั ติการ (Operating System: OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ท าหน้ าที่ ควบคุ ม การ ทางานของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ (Windowns) ลินุกซ์ (Linux) และแมคโอเอส (Mac OS)

ภาพที่ 1.17 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windowns) ลินุกซ์ (Linux) และแมคโอเอส (Mac OS) ที่มา : http://irada2903.blogspot.com/2013_12_01_archive.html 1.2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program) เป็นโปรแกรมที่ช่วยเสริมการทางานของ คอมพิวเตอร์ หรือช่วยเสริมการทางานอื่น ๆ ให้มีความสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น


21

ภาพที่ 1.18 โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program) ที่มา : http://www.compedonline.org.uk/GCSEComputing/WebPages/A451_CompSys/213_Software/Software/b/b.html 1.3) โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ (Device driver) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการ ติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อหรือใช่งานอุปกรณ์ต่าง ๆ 1.4) โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ทาหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษา คอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทางานได้ 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) หมายถึง ชุดคาสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทางานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรม ภาษา คอมพิวเตอร์ เช่น เบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) โคบอล (Cobol) ซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) และจาวา (Java) 2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ -ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ใน แหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วนและทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็น ตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้ง ชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใย แก้วนาแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น


22

1.3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีความเกี่ยวข้องในชีวิตประจาวันเป็นจานวนมาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็น การใช้เทคโนโลยีข้อมูล เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ประกอบด้วย ภาพ เสียง เทคโนโลยีโทรคมนาคม และอื่น ๆ รวม ไปถึงด้านการจัดการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศก็เข้ามามีบทบาทในด้านการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการประยุกต์เทคโนโลยี ทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมทาให้มีบทบาทสาคัญต่อการพัฒนาการศึกษา อาทิ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ช่วย สนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบ การประชุมทางไกล (Video Conference) อินเทอร์เน็ต (Internet) นอกจากนั้นยังมีระบบให้บริการด้านต่าง ๆเช่น การสืบค้นหนังสือในห้องสมุด การยืม - คืน หนังสือ เป็นต้น ซึ่งระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้

ภาพที่ 1.19 อินเทอร์เน็ต (Internet) ที่มา : https://oranit003.files.wordpress.com/2013/01/internetmean.jpg 2. เทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จาเป็นต้อง อาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน ดาเนินการ การติดตาม และประเมินผล ที่สาคัญได้แก่ การบริหารงาน บัญชี งานพัสดุ ฯลฯ บทบาทสาคัญในการสนับสนุนการจัดการศึกษา เช่น ระบบสารสนเทศทะเบียนนักศึกษา ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล ระบบสารสนเทศการสอน เป็นต้น


23

ภาพที่ 1.20 ระบบสารสนเทศการสอน ที่มา : https://earng17.files.wordpress.com/2015/03/4.jpg 3. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการสื่อสารระหว่างบุคคล ในลักษณะเป็นเทคโนโลยีระบบ เครือข่ายการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กรปัจจุบันมีแนวโน้มไปสู่ระบบเครือข่าย คือ จัดให้ผู้ใช้สามารถติดต่อ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ระบบเครือข่ายเป็นเครื่องมือที่จาเป็นสาหรับช่วยให้หน่วยงานติดต่อกันได้ สะดวก ช่วยให้อาจารย์สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ในด้านการเรียนการสอนจาเป็นต้องอาศัยการ สื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และในการดาเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ การ ประชุมทางไกล ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ภาพที่ 1.21 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มา : https://sites.google.com/site/somchaythongyaem/kar-suksa-thang-kil-doy-rabb-pirsniy 4. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจัดการสานักงานอัตโนมัติ (Office Automation : OA) ใน หน่วยงานต่าง ๆ ล้วนใช้คอมพิวเตอร์ในการทางาน ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจั ดการส านักงานอัตโนมัติได้ เช่น การจัดแฟ้มระบบอิเล็ กทรอนิกส์ (Electronic File) การประชุม ทางไกล (Teleconference) การนัดหมาย (Appointment and Scheduling)


24

ภาพที่ 1.22 สานักงานอัตโนมัติ (Office Automation : OA) ที่มา : http://blog.vzmart.com/ระบบสานักงานอัตโนมัติ-office-automation-system-oas/ ในส่วนของการนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา ปัจจัยสาคัญคือ การนาอุปกรณ์สื่อสารที่ ทันสมัยเข้ามาใช้ในการอานวยความสะดวก หรือ จั ดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาให้มีความคล่องตัวในการ ทางานมากขึ้น

1.4 พระราชบัญญัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กล่าวถึง การ จัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการศึกษา การสนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากร ด้านการผลิต รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาไว้ ดังนี้ มาตรา 63 รั ฐ ต้องจั ดสรรคลื่ น ความถี่ สื่ อตัว นาและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จาเป็นต่อการส่ งวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สาหรับการศึกษาใน ระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความ จาเป็น มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตารา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้ มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มี การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาส แรกที่ทาได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วย ตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต


25

มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึ กษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า และเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่ า สั ม ปทาน และผลก าไรที่ ไ ด้ จ ากการด าเนิ น กิ จ การด้ า นสื่ อ สารมวลชน เทคโนโลยี ส ารสนเทศ และ โทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีอัตราลดค่าบริการ เป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม หลักเกณฑ์และวิธีจัดสรรเงินกองทุ นเพื่อ การผลิต การวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทาหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสาน การวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

สรุป นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ การกระทาใหม่ หรือการนาสิ่งเก่ามากระทาใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย แล้วว่าสามารถนามาใช้ในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อนวัตกรรมถูกนาไปใช้อย่างแพร่หลาย นวั ต กรรมนั้ น ๆ ก็ จ ะกลายเป็ น เทคโนโลยี จนกว่ า เทคโนโลยี จ ะได้ รั บ การพั ฒ นา ปรั บ ปรุ ง เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีนั้นก็จะกลับกลายมาเป็นนวัตกรรมอีกครั้ง เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนาเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทาให้ สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือ เครื่ องใช้ในการจั ดการ สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิว เตอร์ และอุปกรณ์ ร อบข้า ง ขั้นตอน วิธีการ ดาเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการ ดาเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกได้เป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม นวัตกรรมการศึก ษาหมายถึง การกระทา สิ่ งประดิษฐ์ หรือสิ่ งใหม่ๆต่าง ๆ ที่นามาใช้ในการจั ด การศึกษาเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูง กว่าเดิม โดยมีแนวคิดพื้นฐาน 4 ประการประกอบด้วย แนวความคิดพื้นฐานในเรื่ องความแตกต่างระหว่าง บุคคล (Individual different) แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) แนวความคิดพื้นฐานใน เรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา และแนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่ม ประชากร นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทของนวัตกรรมการศึกษาออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ นวัตกรรม ด้านสื่อการสอน นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร นวัตกรรมด้านการวัด และการประเมินผล และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ


26

แบบฝึกหัดท้ายบท 1. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของนวัตกรรมการศึกษา พร้อมทั้ งยกตัวอย่างนวัตกรรมที่รู้จักรวมถึง สามารถนามาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร (2 คะแนน) 2. ในกรณี ที่ นั ก ศึ ก ษาได้ รั บ มอบหมายให้ ส อนในรายวิ ช าเอกของตน นั ก ศึ ก ษาสามารถประยุ กต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง ประกออบ (3 คะแนน)


27

เอกกสารอ้างอิง กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครรชิต มาลัยวงศ์.(2540). ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จากัด. ความหมาย ความสาคัญ องค์ประกอบและประเภทของนวัตกรรมการศึกษา (Online) เข้าถึงได้จาก https://thanetsupong.wordpress.com/ความหมาย-ความสาคัญ-องค์ป/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 3.11.2559 ฉัตรชัย บุษบงค์และคณะ. (2557) เอกสารประกอบการเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา. หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏสวนดุสิต ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2523:36). กระบวนสันนิเวทนาการและระบบสื่อการสอน. เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน้า 1-125. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์สหมิตร ไชยยศ เรืองสุวรรณ.(2521). หลักการทฤษฎีเทคโนโลยีและนวกรรมทางการศึกษา.กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ. จุมพจน์ วนิชกุล และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล. เอกสารการสอนการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ (Online) เข้าถึงได้จาก http://www.wachum.org/eBook/811201/doc3-2.html เข้าถึงเมื่อวันที่ เทคโนโลยีทางการศึกษา (Online) เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/winaik103/263601/thekhnoloyi-kar-suksa เข้าถึงเมื่อวันที่ 3.11.2559 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (Online) เข้าถึงได้จาก http://eduandtechno.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 03.06.16 นวัตกรรมทางการศึกษาที่สาคัญของไทย (Online) เข้าถึงได้จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/ Apinya0936/2013/12/24/entry-3 เข้าถึงเมื่อวันที่ 3.11.2559 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (Online) เข้าถึงได้จาก http://eduandtechno.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 3.11.2559 เปรื่อง กุมุท.(2519). การวิจัยสื่อและนวกรรมการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. พิเชษฐ เพียรเจริญ. (2538). เทคโนโลยีสารสนเทศ. วิทยบริการ 6(3) : 54 – 58 ; กันยายน - ธันวาคม วสันต์ อติศัพท์.(2523). ประวัตินวกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาในประเทศไทย. สมบูรณ์ สงวนญาติ.(2534:16). เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ. ภาคพัฒนาตาราและเอกสาร ทางวิชาการ หน่วยศึกษษนิเทศ กรมการฝึกหัดครู สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. การผลิตเอกสารและ ตารา มหาวิทยาลัยทักษิณ


28

Good, Carter V.(1973:592) Dictionary of Education 3rd ed. New York: McGraw-Hill, Heinich, Robert and others.(1996:443). Instructional Media and Technologies for Learning. 5th ed. New Jersey : Prentice Hakk.


29

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 2 หัวข้อเนื้อหา 1. ความหมาย ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา 2. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา 3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อเรียนจบในบทที่ 2 แล้ว ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายความหมาย ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาได้ 2. อธิบายประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาได้ 3. อธิบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาได้


30

บทที่ 2 ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา เข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียน การสอน ไม่ว่าจะเป็นการนาอุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน เข้ามาใช้เพื่อเป็น ตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนแล้ว ยังเป็นตัวเชื่อมให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหา สาระของผู้สอนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2.1 ความหมาย ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทางานซึ่งเป็นผลมาจากการ ประดิษฐ์ คิดค้น หรือการศึกษาหาความรู้โดยประยุกต์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และเกิดการพัฒนา ซึ่งนั่นเรียกว่า เทคโนโลยี (Technology) 2.1 ความหมาย ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยี (Technology) มาจากภาษาละติน ว่า Texere หมายถึง การสาน (To weave) หรือจาก ภาษากรีก หมายถึง การทาอย่างมีระบบ (Tekhnologia) พจนานุกรม Merriam-Webster (www.m-w.com/cgi-bin/dictionary) ได้ให้รากศัพท์ของคาว่า technology ว่า เทคโนโลยี มาจากภาษากรีก หมายถึง การทาอย่างมีระบบ (Tekhnologia) โดยมีรากศัพท์ มาจาก tekhne (art, skill) + -o- + -logia (logy) และให้ความหมายไว้ 3 ประเด็น คือ 1. การประยุกต์ใช้ความรู้ ในเชิงปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชา เช่น เทคโนโลยีการแพทย์ สมรรถนะที่ เ อื้ อ ประโยชน์ โ ดยการประยุ ก ต์ ใช้ ค วามรู้ใ นเชิง ปฏิบั ติ เช่ น เทคโนโลยีเ พื่ อช่ว ย ประหยัดน้ามัน 2. การกระทาเพื่อให้งานสาเร็จลุล่วงไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการใช้กระบวนการ วิธีการ หรือ ความรู้ด้านเทคนิค เช่น เทคโนโลยีใหม่ในการจัดเก็บข้อมูล 3. ลักษณะพิเศษของขอบเขตสาขาวิชาฉพาะ เช่น เทคโนโลยีการศึกษา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี ไว้ว่า เป็นวิทยาการ เกี่ยวกับศิลปะในการนาเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติติและอุตสาหกรรม การศึกษา (Education) หมายถึง กระบวนวิธีการใด ๆ ที่ทาให้บุคคลเปลี่ยนไปในทางที่ดี เพื่อจะได้ ปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เพื่อควาผาสุกของตนเองและสังคม การศึกษาคือกระบวนการ วิธีการแห่งความเจริญงอกงามทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ (วรวิทย์ นิเทศศิลป์. 2551:39)


31

จากความหมายข้างต้น เมื่อนาเทคโนโลยีและการศึกษามารวมกัน เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนาเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการตามศาสตร์ต่าง ๆ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหา พัฒนาการจัด การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ อาทิ คณะกรรมาธิ ก ารสาขาเทคโนโลยี ก ารสอน ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ( The Commission on Instructional Technology.USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนาแนวความคิดที่เป็นระบบ ไปใช้ในการออกแบบ ดาเนินการและประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์ เฉพาะซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนาเอา ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูง ยิ่งขึ้น" ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning, UK) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และ เงื่อนไขของการเรียนรู้มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้า หากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดาเนินการโดยการทดลอง เพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น" คาร์ เ ตอร์ วี กู ด (Carter V.Good, 1973) เทคโนโลยี ก ารศึ ก ษา หมายถึ ง การน าหลั ก การทาง วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ ทางการศึกษา ที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน คณะกรรมการก าหนดศั พ ท์ แ ละความหมายของสมาคมเทคโนโลยี แ ละสื่ อ สารการศึ ก ษาของ สหรัฐอเมริกา (AECT, 1977) อธิบายว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) เป็นกระบวนการ ที่มีการบูรณาการอย่ างซับซ้อนเกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนาไปใช้ในการ วิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่าง ๆ 2.2 ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา มีการแบ่งขอบเขตของเทคโนโลยีการศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การใช้ (Utilization) การจัดการ (Management) และการประเมิน (Evaluation) ซึ่งเป็น เนื้อหาของการศึกษาและการปฏิบัติภ ายในวิชาการด้านนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 5 กลุ่มจะมองเห็ นได้ ในลักษณะวงล้อ โดยแต่ละกลุ่มจะอยู่บนเส้นรอบวงและโยงเข้าสู่ศูนย์กลางของทฤษฎีและปฏิบัติ


32

การพัฒนา การออกแบบ

การประเมิน

การใช้ ทฤษฎี ปฏิบตั ิ

การจัดการ

ภาพที่ 2.1 แสดงขอบเขตของเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่มา : สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 1. การออกแบบ (Design) แสดงให้เห็นถึงการสร้างหรือก่อให้เกิดทฤษฎีที่กว้างขวางที่สุดของ เทคโนโลยีการสอนในศาสตร์ของการศึกษา 2. การพัฒนา (Development) ได้มีการเจริญก้าวหน้าและแสดงให้เห็นแนวทางในการปฏิบัติ 3. การใช้ (Utilization) ด้านนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ดังเช่น ด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้มีการดาเนินการเกี่ยวกับด้า นการใช้สื่อการสอนกันอย่างมากมายแต่ยังมีด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้สื่อการสอนที่ไม่ได้รับการสนใจ 4. การจัดการ (Management) เป็นด้านที่เป็นหลักสาคัญของสาขานี้ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับ แหล่งการเรียนรู้ ที่ต้องสนับสนุนในทุก ๆ องค์ประกอบซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบและแนะนาหรือการจัดการ 5. การประเมิน (Evaluation) ด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับการประเมินและปรับปรุง (Formative Evaluation) 2.2 ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษา การแบ่งประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน สามารถแบ่งได้หลายลักษณะโดย ไม่ยึดหลักเกณฑ์อะไรตายตัวในการแบ่ง แต่สามารถสรุปออกมาได้ 5 ลักษณะ ดังนี้ (สุดใจ เหง้าสีไพร) 2.2.1 ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาตามนิยามที่เป็นทางการ นิยามของเทคโนโลยีการศึกษา ของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (AECT. 1979) จะพบว่ามีเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น 1. เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนย่อยส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี การศึกษา ซึ่งนามาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนที่มีการตั้งจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงไว้และภายใต้ สภาวะที่สามารถควบคุมได้


33

ภาพที่ 2.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสอน ที่มา : http://www.rand.org/education/research/k-12-instructional-technology.html 2. เทคโนโลยีในการศึกษา (Technology in Education) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ นามาใช้ในสถาบันการศึกษาและมีความหมายเป็น 2 นัย คือ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการเรียนรู้ของผู้เรียน (เช่น งานแจ้งเกรด งานบริการอาหารกลางวัน) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. เทคโนโลยีของการศึกษา (Technology of Education) เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาตาม นัยของมโนคติด้านพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีระบบ วิธีการเชิงระบบและการวิเคราะห์ระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนและครอบคลุมถึงเทคโนโลยีนการสอนไว้ด้วย 2.2.2 ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาตามลักษณะการนามาใช้งานในระบบการศึกษาและการ เรียนการสอน 1. เทคโนโลยีการศึกษาประเภทช่วยสอน (Tutorial) เช่น การสาธิต การฝึกปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบต่าง ๆ โทรทัศน์เพื่อการศึกษา ซอฟท์แวร์แบบฝึกหัด และการเรียนการสอนด้วย เทคโนโลยี เป็นต้น


34

ภาพที่ 2.3 โทรทัศน์เพื่อการศึกษา ที่มา : http://edutv.buu.ac.th/?p=66 2. เทคโนโลยีการศึกษาประเภทชวยค้นคว้า (Exploratory) คือ เทคโนโลยีที่ให้อิสระแก่ผู้เรียน ในการสารวจค้นหาความรู้ด้วยวิธีการสอนแบบค้นคว้าไม่ว่าจะมีการชี้นา หรือไม่ก็ตาม เช่น การค้นคว้าจาก แผ่นซีดีรอม สารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายข้อมูลคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ภาพที่ 2.4 สารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/saranugrom.htm 3. เทคโนโลยีการศึกษาประเภทเครื่องมือหรือสื่อช่วยการเรียน (tool application) ได้แก่ เทคโนโลยี ที่ช่ว ยให้ ผู้ เ รี ย นท างานหรื อ ท ากิจ กรรมการเรีย นการสอน วิเคราะห์ ข้ อมู ล ค้นคว้าหรือ จั ด ท า ฐานข้อมูล พิมพ์ คานวณ นาเสนอ สืบค้นข้อมูลจากเครือข่าย


35

ภาพที่ 2.5 เทคโนโลยีฐานข้อมูล ที่มา : https://tesla.carnet.hr/course/view.php?id=105 4. เทคโนโลยีการศึกษาประเภทการสื่อสาร (Communication) ได้แก่ เทคโนโลยีที่ช่วยให้ ผู้สอนกับผู้สอนติดต่อกันได้โดยผ่านเครือข่ายหรือข้ามเครือข่าย ด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น การสอน ทางไกลเชิงปฏิสัมพันธ์ผ่านดาวเทียม คอมพิวเตอร์และโมเด็ม จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

ภาพที่ 2.6 การสอนทางไกลผ่านเดาวเทียม ที่มา : http://www.assumption.ac.th/applications/fusionnews/upload/fullnews.php?fn_id=11


36

2.2.3 ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาตามลักษณะและวิธีการเฉพาะ 1. เทคโนโลยีระบบ (Systems Technology) หมายถึงเทคโนโลยีการออกแบบหรือวางแผน ระบบใหญ่ทั้งหมด ประกอบด้วยการกาหนดวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมาย การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อการ เรี ย น การส ารวจและจั ด ท าโครงสร้ า งเนื้ อ หาวิ ข า การก าหนดยุ ท ธศาสตร์ แ ละสื่ อ การเรี ย นที่ เ หมาะสม การประเมินประสิทธิภาพของแผนและนาผลมาปรับปรุงหรือพัฒนาระบบนั้น ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ถือว่า เป็นเทคโนโลยีของการศึกษา 2. เทคโนโลยีเครื่องมือ (Tool Technology) หมายถึง การใช้สื่อเชิงอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็น ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์มาช่วยนการสอน เป็นเทคโนโลยีที่เป็นสื่อซึ่งนามาแก้ปัญหา การเรียนการสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีตามมโนคติด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและ “เทคโนโลยีในการศึกษา” 3. เทคโนโลยีกระบวนการ (Process Technology) เป็นรูปแบบเฉพาะของการเรียนการ สอนที่น่าเชื่อถือและสามารถนามาใช้เป็นต้นแบบของการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพราะได้รับการออกแบบมา เพื่อขจัดปัญหาข้อบกพร่ องของการเรีย นการสอนแบบเดิม โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน โดยตรง และสามารถเรีย นได้อย่ างกระฉับ กระเฉงไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน เพราะมีการเปลี่ ยน อิริยาบถการกระทาอยู่เสมอ และกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน 2.2.4 ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาตามสาขางานที่นาไปศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา เกิดจากการประยุกต์เทคโนโลยีสาขาอื่น ๆ เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ทางการศึกษา และการเรียนการสอน อาทิ 1. เทคโนโลยีเกษตรศึกษา เป็นเทคโนโลยีที่นามาใช้เพื่อการศึกษาหาความรู้ เนื้อหา สาระ หรือ การวิจัยด้านการเกษตร

ภาพที่ 2.7 การนาเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเกษตร ที่มา : http://smart-farm.blogspot.com/


37

2. เทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา ได้แก่ เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมที่นามาใช้ในการศึกษา หาความรู้ด้านอุตสาหกรรม

ภาพที่ 2.8 การนาเทคโนโลยีมาใช้ในด้านอุตสาหกรรม ที่มา : http://flukeloveskb.blogspot.com/2012/06/1.html 3. เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมศึกษา หมายถึงเทคโนโลยีที่นามาใช้เพื่อศึกษาหาความรู้หรือวิธีการ ปฏิบัติเพื่อควบคุม ปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม

ภาพที่ 2.9 การนาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=1348&filename=index_2/FORTICLIENT_CONTINUE


38

2.2.5 ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะสื่อการศึกษา 1. สื่อประเภทวัสดุ (Software) บางครั้งเรียกวา (Small Media) เป็นสื่อที่ทาหนาที่เก็บความรู ในลักษณะของภาพ เสียงและตัวอักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใชเป็นแหล่งศึกษาความรู วัสดุที่ใช ประกอบการเรียนสอนนี้จาแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.1 วัสดุที่เสนอเรื่องราวหรือความรู้ได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ตองอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ใด ๆ ในการนาเสนอเรื่องราว เช่น กระดานผาสาลี โปสเตอร์ ภาพเขียน ภาพถ่าย แผนภาพ แผนภูมิ กราฟ การตูน ของจริง ของจาลอง บัตรคา หนังสือเรียน เป็นต้น

ภาพที่ 2.10 วัสดุที่เสนอเรื่องราวหรือความรู้ได้ด้วยตัวมันเอง : กระดานผาสาลี ที่มา : http://engsuthikarn.blogspot.com/2012/06/1_22.html 1.2 วัสดุที่ตองอาศัยเครื่องมือกลไก (Software) เป็นตัวนาเสนอเรื่องราวหรือความรู ได้แก่ แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง ฟลมสตริป เทปบันทึกภาพ สิ่งที่สาคัญอย่างยิ่งสาหรับสื่อประเภทวัสดุก็คือ เป็นตัวอุมหรือตัวที่เก็บความรูในลักษณะของภาพ เสียง หรืออักษรไวในรูปแบบต่าง ๆ เป็นสื่อทีใ่ ห ความรูแกนักเรียนอย่างสาคัญยิ่ง เป็นแหล่งความรูที่นักเรียนจะหาประสบการณหรือศึกษาได้อย่าง กว้างขวาง


39

ภาพที่ 2.11 วัสดุที่ตองอาศัยเครื่องมือกลไก (Software) เป็นตัวนาเสนอเรื่องราว : เทปบันทึกเสียง ที่มา : http://pracob.blogspot.com/2013/08/50-audio-cassette.html 2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ (Hardware) บางครั้งเรียกวา (Big Media) ซึ่งเป็น ตัวกลาง หรือทางผานของความรู ที่จะถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียนตองอาศัยวัสดุมาใสในตัว ของมัน สื่อ ประเภทนี้ ได้แก เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทร ทัศนโทรทัศนวงจรปด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟลมสตริป เครื่องรับวิทยุและเครื่อง คอมพิวเตอร์ เป็นตน

ภาพที่ 2.12 สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ (Hardware) ที่มา : https://www.l3nr.org/posts/530214 http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/les236.htm สื่อประเภทนี้สวนใหญ่เป็นตัวกลาง ซึ่งเป็นที่อาศัยหรือทางผานของความรู ที่จะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน โดยตัวของมันเองแลว แทบไม่มีประโยชนตอการเรียนรูเลย ถาไม่มีความรูในแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านสื่อเหลานี้


40

ไปยังผู้เรียน เชน เครื่องฉายภาพยนตร์ตองมีฟลมภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนตองการบทเรียนสาเร็จรูป เป็นต้น สื่อประเภทเทคนิค หรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง กิจกรรมทุกอย่างที่ครู หรือนักเรียนจัดขึ้นทั้งในและนอกหองเรียน ในบางครั้งการเรียนการสอนตองอาศัยเทคนิคบางประการเขาช่วย จึ ง ทาใหการเรี ยนได้ ผลดีจะใชเพีย งวัสดุห รือเครื่องมือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่าง ก็ยัง ไม่ เพียงพอ ตองอาศัย สื่ อการสอน อาทิ การเล่ น ละครหุ่ น การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การแสดงนิทรรศการ การทดลอง นิทรรศการ รายการโทรทัศน รายการวิทยุฯลฯ เป็นตน

ภาพที่ 2.13 คณะหุ่นสายเสมา ที่มา : http://www.semathai.com/index.php?lite=article&qid=256138 นอกจากประเภทของเทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีนักการศึกษาได้แบ่งประเภทของสื่อการ เรียนการสอนไว้ อาทิ เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale. 1900 – 1985) นักการศึกษาชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ได้ จ าแนกสื่ อ การสอนโดยยึ ด ประสบการณ์ เ ป็ น หลั ก โดยพั ฒ นาแนวคิ ด ของบรุ เ นอร์ (Bruner) ซึ่ ง เป็ น นักจิตวิทยามาสร้างเป็น กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) เรียงตามลาดับจากประสบการณ์ที่ง่าย ไปหายากทั้งหมด 10 ขั้น


41

ภาพที่ 2.14 กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ที่มา : http://3jantanee54040620.blogspot.com/2011/07/edgar-dale_11.html ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences) เป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม มากที่สุด สื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ด้วยตนเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้ วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การทดลอง ผสมสารเคมี การทาอาหาร เป็นต้น

ภาพที่ 2.15 ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences) ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=oE4uoxAI-Hs


42

ขั้ น ที่ 2 ประสบการณ์ จ าลอง (Contrived experience) เป็ น สื่ อ การสอนที่ ผู้ เ รี ย นเรี ย นรู้ จ าก ประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง อาจเป็นสิ่งของจาลอง หรือสถานการณ์ จาลอง เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจากัดจาเป็นต้องจาลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจาลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จาลองทางดาราศาสตร์ เป็นต้น

ภาพที่ 2.16 ประสบการณ์จาลอง (Contrived experience) ที่มา : http://koratstartup.com/2015/08/04/astroscope/ ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียน เรี ย นรู้ จ ากประสบการณ์ ในการแสดงบทบาทสมมติห รือการแสดงละคร เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทน ประสบการณ์ตรงหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด เพื่ อเป็นนิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มี ข้อจากัดเรื่องยุคสมัยหรือเวลา


43

ภาพที่ 2.17 ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience) ที่มา : http://sakmongkol1234.blogspot.com/2015_08_01_archive.html ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือ การ กระทาประกอบคาอธิบาย เพื่อให้เห็นลาดับขั้นตอนของการกระทานั้น ๆ เช่น การสาธิตการอาบน้าเด็กแรก เกิด การสาธิตการผายปอด การสาธิตการแกะสลักผลไม้ เป็นต้น

ภาพที่ 2.18 การสาธิต (Demonstration) ที่มา : http://www.kukai.ac.th/Thai/activities_2015/Pre/AC_update_15-10-2014-art-week2.php


44

ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน ในสภาพจริง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่ การศึกษาความรู้จากสถานที่สาคัญ เช่น โบราณสถาน โรงงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น

ภาพที่ 2.19 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) ที่มา : http://kindergarten.sangsomschool.com/index.php?actions=gallery_content&content=358 ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) คือ การจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งมีการสาธิตและการฉาย ภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยการดู แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้าย นิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน

ภาพที่ 2.20 การจัดนิทรรศการ (Exhibition) ที่มา : https://www.it24hrs.com/2013/thai-science-technology-2556-2013-exhibition/


45

ขั้ น ที่ 7 โทรทั ศ น์ แ ละภาพยนต์ (Television and Motion Picture) เป็ น ประสบการณ์ ที่ ใ ห้ ทั้ ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงประกอบ แต่โทรทัศน์มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์ เนื่องจากโทรทัศน์ สามารถน าเหตุการณ์ที่กาลั งเกิดขึ้น ในขณะนั้นมาให้ ช มได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า “การถ่ายทอดสด” ในขณะที่ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะ นามาฉายให้ชมได้

ภาพที่ 2.21 โทรทัศน์และภาพยนต์ (Television and Motion Picture) ที่มา : http://www.mct.rmutt.ac.th/ ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟัง และการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ สไลด์ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์ และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง เป็นต้น


46

ภาพที่ 2.22 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง ที่มา : https://www.dek-d.com/board/view/995019/ ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยระบบประสาทสัมผัส ทางตา มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น จาเป็นที่จะต้องคานึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน ในการเลือก นาไปใช้ สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้ คือ แผนภูมิ แผนสถิติ ภาพโฆษณา การ์ตูน แผนที่และสัญลักษณ์ต่างเป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สาหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น

ภาพที่ 2.23 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) ที่มา : http://sakmongkol1234.blogspot.com/2015/08/blog-post_17.html


47

ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ การใช้ตัวหนังสือแทนคาพูด ได้แก่ คาพูด คาอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่น ปลิ ว แผ่ น พับ ที่ใช้ตัว อักษร ตัว เลข แทนความหมายของสิ่ งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม มากที่สุด

ภาพที่ 2.24 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) ที่มา : http://www.thia.in.th/welcome/article_read/442 โรเบิร์ต อี. เดอ คีฟเฟอร์ (Robert E. de Kieffer) (De Kieffer,1965:9-64) ได้แบ่งสื่อการสอน ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (Nonprojected Aids) เป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสารทางทัศนะ โดยไม่ต้อง ใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สื่อภาพ (illustrative materials) ถ่ายทอดเนื้อหาได้ ด้ ว ยตั ว เอง เช่ น ภาพกราฟิ ก กราฟ แผนภาพ แผนที่ ของจริ ง ของจ าลอง ฯลฯ กระดานสาธิ ต (demonstration boards) ใช้ในการนาเสนอเนื้อหา เช่น กระดานชอล์ก กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าสาลี ฯลฯ และกิจกรรม (activities) เป็นเทคนิควิธีการเพื่อการเรียนรู้ เช่น การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ


48

ภาพที่ 2.25 สื่อที่ไม่ใช้เครื่องฉาย ที่มา : http://www.sl.ac.th/mobile/print_picture_detail.php?id_pic=TVRJd056RT0=&page=67 2. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (Projected Aids) เป็นวัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วย ภาพหรือทัง้ ภาพและเสียงให้ปรากฏขึ้นบนจอภาพ เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องฉาย สไลด์ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ใช้กับฟิล์มภาพยนตร์ เครื่องเล่น ดีวีดีใช้กับแผ่น วีซีดีและดีวีดี

ภาพที่ 2.26 การใช้สื่อประเภทเครื่องฉายในการจัดกิจกรรมการสอน ที่มา : http://www.siamedunews.com/articles/42237187/สพฐ.นาร่องคูปองพัฒนาครู-7-พันคน-ใน166-เขตพื้นที่ฯทั่ว-ปท..html


49

3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio Aids) เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง เช่น เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียงหรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอด สัญญาณเสียง เช่น วิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใด ๆ ในการนาเสนอเสียง

ภาพที่ 2.27 การใช้สื่อประเภทเครื่องเสียง ที่มา : http://www.din.or.jp/~kohei/kohei/audio/12.htm อีลี ( Ely) อีลี ได้จาแนกสื่อการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources) เป็น 5 รูปแบบ โดย แบ่ ง ได้ เ ป็ น สื่ อ ที่ อ อกแบบขึ้ น เพื่ อ จุ ด มุ่ ง หมายทางการศึ ก ษา (by design) และสื่ อ ที่ มี อ ยู่ ทั่ ว ไปแล้ ว น ามา ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (by utilization) ได้แก่ 1. คน (People) ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น หมายความถึง บุคลากรที่อยู่ในระบบของโรงเรียน ได้แก่ ครู ผู้บริหาร ผู้แนะแนวการศึกษา ผู้ช่วยสอนหรือผู้ที่อานวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เพื่อ ให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ ส่วน “คน” ตามความหมายของการประยุกต์ใช้นั้น ได้แก่ คนที่ทางานหรือมีความชานาญงานใน แต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป คนเหล่านี้นับเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ซึ่งถึงแม้จะมิใช่นักการศึกษาแต่ก็สามารถ จะช่วยอานวยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ละด้าน อาทิ ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ช่างซ่อมรถยนต์ เป็นต้น


50

ภาพที่ 2.28 ศิลปินแห่งชาติ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=jgxyaxExHkQ 2. วัสดุ (Materials) วัสดุในการศึกษาโดยตรงจะเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนโดยรูปแบบของ วัสดุมิใช่สิ่งสาคัญที่จ ะต้องคานึงถึง เช่น หนังสือ สไลด์ แผนที่ แผ่นซีดี หรือสื่อต่าง ๆ ที่เป็นทรัพยากรใน โรงเรี ย นและได้ รั บ การออกแบบมาเพื่ อ ช่ ว ยอ านวยความสะดวกในการเรี ย นการสอน ส่ ว นวั ส ดุ ที่ น ามา ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษา เพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุอยู่ ในวัสดุนั้นส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิงเช่น เกมคอมพิวเตอร์หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์ สิ่งเหล่านี้มักถูกมองไปในรูปของความบันเทิงแต่ก็สามารถให้ความรู้ได้เช่นกัน

ภาพที่ 2.29 วัสดุการเรียนการสอน ที่มา : http://may-rattanaporn.blogspot.com/


51

3. อาคารสถานที่ (Settings) หมายถึง ตัวตึกที่ว่างสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับทรัพยากร รูปแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วและกับผู้เรียนด้วยเพราะสถานที่สาคัญในการศึกษาได้แก่ ตึกเรียนและสถานที่ อื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยส่วนรวม เช่น ห้องสมุดหอประชุม สนามเด็กเล่น ส่วนสถานที่ ต่าง ๆ ในชุมชนก็สามารถประยุกต์ใช้เป็นทรัพยากรสื่อการเรียนได้เช่นกัน อาทิ โรงงาน ตลาด พิพิธภัณฑ์ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ภาพที่ 2.30 ท้องฟ้าจาลอง ที่มา : http://www.scissk.com/archive/2625 4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tools and Equipment) เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิต หรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่นส่วนมากมักเป็นเครื่องมือด้านโสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ตะปู ไขควง

ภาพที่ 2.31 เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่มา : https://sites.google.com/site/witcom835555/hjuhhjh


52

5. กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่กล่าวถึงมักเป็นกานดาเนินงานที่จัดขึ้นเพื่อกระทา ร่วมกับทรัพยากรอื่น ๆ หรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบโปรแกรม เกม และการจาลอง การจัดทัศนศึกษา ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้นมีการวัสดุการเรียน เฉพาะแต่ละวิชาหรือมีวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน 2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ได้เข้ามามีบทบาทในด้านการศึกษา โดยเฉพาะด้านการประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม การแลกเปลี่ยนข้อมูล การสืบค้นเอกสาร ตารา งานวิจัย ทาให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถค้นคว้าได้จากแหล่ งความรู้จานวนมากได้ อย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอนทางไกล การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตใน การสืบค้นข้อมูล การจัดทาห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น 1. ระบบการศึกษาทางไกล (Tele-education) ระบบการศึกษาทางไกล (Tele-education) เป็นการศึกษาที่นาระบบเครือข่ายสารสนเทศมาใช้ เพื่อการเรียนการสอน เป็นการขยายโอกาสการศึกษาไปสู่กลุ่มผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล ติดขัดเรื่องเวลา ระยะทาง โดยผู้เรียนและผู้สอนสามารถโต้ตอบกันได้โดยผ่านระบบการสื่อสารแบบสองทางทั้งภาพและเสียง ในรูปแบบ ของการใช้เทคโนโลยีการประชุมทางไกล (Teleconference) โดยรูปแบบการเรียนการสอนจะมีลักษณะคล้าย การเรียนในชั้นเรียนทั่วไป

ภาพที่ 2.32 ระบบการศึกษาทางไกล (Tele-education) ที่มา : http://5304503898.blogspot.com/2013/05/dltv-etv.html


53

2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Network) ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Network) มีคุณสมบัติที่สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูล ออนไลน์ทั่วโลก สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

ภาพที่ 2.33 ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Network) ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/111403 3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนาเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ ช่วยในการสอน การจัดโปรแกรมการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) หมายถึงนาเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับ การศึกษาด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเ พื่อให้ ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้องและเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้น ๆ ลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึง เป็นบทเรียนที่ช่วยการเรียนการสอน และมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจัดบทเรียนให้เป็นระบบและเหมาะสม กับนักเรียนแต่ละคน โดยมีลักษณะสาคัญๆ ดังนี้ 3.1 เริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ จัดเนื้อหาเรียงไปตามลาดับจากง่ายไปสู่ยาก 3.2 การเพิ่มเนื้อหาให้กับผู้เรียนต้องค่อยๆ เพิ่มทีละน้อยและมีสาระใหม่ไม่มากนักนักเรียนสามารถ เรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเข้าใจ 3.3 แต่ละเนื้อหาต้องมีการแนะนาความรู้ใหม่เพียงอย่างเดียวไม่ให้ที่ละมาก ๆ จนทาให้ผู้เรียนสับสน 3.4 ในระหว่างเรียนต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับบทเรียน เช่น มีคาถามมีการตอบ มีทาแบบฝึกหัด แบบทดสอบ ซึ่งทาให้ผู้เรียนสนใจอยู่กับการเรียนไม่น่าเบื่อหน่าย 3.5 การตอบคาถามที่ผิด ต้องมีคาแนะนาหรือทบทวนบทเรียนเก่าอีกครั้ง หรือมีการเฉลย ซึ่งเป็น การเพิ่มเนื้อหาไปด้วย ถ้าเป็นคาตอบที่ถูกผู้เรียนได้รับคาชมเชยและได้เรียนบทเรียนต่อไปที่ก้าวหน้าขึ้น 3.6 ในการเสนอบทเรียนต้องมีการสรุปท้ายบทเรียนแต่ละบทเรียนช่วยให้เกิดการวัดผลได้ด้วยตนเอง 3.7 ทุกบทเรียนต้องมีการกาหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้ชัดเจน ซึ่งช่วยให้แบ่งเนื้อหาตามลาดับได้ดี


54

ภาพที่ 2.34 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มา : https://sites.google.com/site/eyekewalinn/bth-reiyn-khxmphiwtexr-chwy-sxn-cai-computer-assisted-instruction 4. การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก การเรี ย นการสอนโดยใช้เว็บ เป็นหลั ก เป็นการจัดการเรียนที่มีส ภาพการเรียนต่างไปจากรูป แบบเดิ ม การเรี ย นการสอนแบบนี้ อ าศั ย ศั ก ยภาพและความสามารถของเครื อ ข่ า ยอิ น เตอร์ เ น็ ต ซึ่ ง เป็ น การนาเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิ ดการเรียนรู้จาก การสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียน การสอนลักษณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึ ก อบรมผ่ า นเว็ บ (Web-based Trainning) การเรี ย นการสอนผ่ า นเวิ ล์ ด ไวด์ เ ว็ บ (www-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Training) เป็นต้น

ภาพที่ 2.35 การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก ที่มา : http://www.clickersconference.com/


55

5. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ E-library มาจากคาว่า Electronic Library หมายถึง แหล่งความรู้ที่บันทึก ข้ อ มู ล ไว้ ใ นเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ แ ม่ ข่ า ยและให้ บ ริ ก ารสารสนเทศทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ห รื อ ผ่ า นเครื อ ข่ า ย อินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยการทางานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดดิจิตอล และห้องสมุดเสมือน ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นระบบการทางานของห้องสมุดโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เพื่อให้การทางาน ของฝ่ายต่าง ๆ ในห้องสมุดสามารถทางานเชื่อมโยงประสานกันได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องทางานด้วยมือซ้า หลายๆครั้ง ห้องสมุดดิจทิ ัล หมายถึง ห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้ เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็มได้โดยตรง มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวก ในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดเสมือน หมายถึง สถานที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ ผ่านระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ห้องสมุดเสมือนจึงเป็นที่รวมแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มี การจัดการอย่างมีระบบและให้บริการค้นคืนสารสนเทศแบบออนไลน์ในระบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้สามารถ เข้าถึงระยะไกลมายังห้องสมุดเพื่อสืบค้นและใช้สารสนเทศของห้องสมุดหรือเชื่อมโยงกับแหล่งสารสนเทศอื่น ได้ทุกที่ในระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ภาพที่ 2.36 ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ E-library ที่มา : http://61.19.211.38/about.php ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ 1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ 2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์


56

3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อ ช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์ 4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนาส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

สรุป เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการรวมทรัพยากร กระบวนการเรียนการสอนต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้ ผู้สอนสามารถเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอน และช่วยให้สามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุ ประสงค์ นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการแบ่งประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ 5 ประเภท ประกอบด้วย ประเภท ของเทคโนโลยีการศึกษาตามนิยามที่เป็นทางการ ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาตามลักษระการนามาใช้ งานในระบบการศึกษาและการเรียนการสอน ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาตามลักษณะและวิธีการเฉพาะ ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาตามสาขางานที่นาไปศึกษาและประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะ สื่อการศึกษา ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการศึกษาปัจจุบัน โดยเฉพาะด้าน การประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม การแลกเปลี่ยนข้อมูล การสืบค้น เอกสาร ตารา งานวิจัย ทาให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถค้นคว้าได้จากแหล่งความรู้จานวนมากได้อย่างรวดเร็ว และคล่องตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบการศึกษาทางไกล (Tele-education) ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Network) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) การเรียนการสอนโดย ใช้เว็บเป็นหลัก ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

แบบฝึกหัดท้ายบท 1. เทคโนโลยีการศึกษาสามารถแบ่งได้หลายประเภทให้นักศึกษาเลือกมาหนึ่งประเภทพร้อม ยกตัวอย่างเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสาหรับการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่นักศึกษารับผิดชอบ (3 คะแนน) 2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเข้ามามีบทบาทต่อการจักการศึกษาอย่างมาก ให้นักศึกษา ยกตัว อย่ างเทคโนโลยี ส ารสนเทศเพื่ อ การศึ ก ษาที่ รู้จั ก พร้อมอธิ บายถึง ประโยชน์ ข องการน าเทคโนโลยี สารสนเทศนั้นมาใช้งาน (3 คะแนน)


57

เอกสารอ้างอิง กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์ . (2548). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์ ฉัตรชัย บุษบงค์และคณะ. (2557) เอกสารประกอบการเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา. หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏสวนดุสิต ชวลิต เข่งทอง. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องสื่อการเรียนการสอน. สานักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์ สาคร อัฒจักร. กระบวนการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีการเรียนการสอน หน่วยที่ 4 สื่อการเรียนการสอน. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น คลังนานาวิทยา สุภาณี เส็งสี และคณะ. (2551). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา : เอกสารประกอบการสอน ภาควิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สุดใจ เหง้าสีไพร. (2547). เอกสารประกอบการสอน พื้นฐานทางเทคโนโลยีของการศึกษา ภาควิชา เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง. (Online) เข้าถึงได้จาก http://walaipornnan31.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 4.11.2559 เอกสารการสอนรายวิชา EA634 การจัดและการบริหารงานวิชาการ (Academic Managrment and Administration). มหาวิยาลัยรามคาแหง http://e-book.ram.edu/e-book/e/EA634/EA6346.pdf Association for Educational Communications and Technology. (1977). The definition of educational technology. Washington, D.C. : AECT Carter V. Good. (1973). Dictionary of education. New York: Mcgraw-Hill.


59

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 3 หัวข้อเนื้อหา 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน ความสาคัญของสื่อการเรียนการสอน บทบาทของสื่อการเรียนการสอน ลักษณะสื่อการสอนที่ดี หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อเรียนจบในบทที่ 3 แล้ว ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายความหมายของสื่อการเรียนการสอนได้ 2. บอกความสาคัญของสื่อการเรียนการสอนได้ 3. อธิบายบทบาทของสื่อการเรียนการสอนได้ 4. บอกลักษณะสื่อการสอนที่ดีได้ 5. อธิบายหลักการเลือกสื่อการเรียนการสอนได้ 6. อธิบายประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอนได้ 7. อธิบายหลักการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ 8. อธิบายขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอนได้


60

บทที่ 3 หลักการและแนววคิด สื่อการเรียนการสอน สื่อการสอน เป็นองค์ประกอบที่มีความสาคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพราะนอกจากจะทาให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งสื่อการเรียนการสอน หรือสื่อการสอน นั้นมีหลากหลายประเภท หลากหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้สอนจะเลือกนาสื่อการเรียนการสอนใดไปใช้ในการ จัดการสอนให้เหมาะกับกิจกรรมการเรียนในแต่ละครั้ง

3.1 ความหมายของสื่อการเรียนการสอน สื่อ เป็นคาที่มาจากภาษาละตินว่า “medium” แปลว่า “ระหว่าง” หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูล สารสนเทศหรือเป็นตัวกลางให้ข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งหรือผู้รับสามารถสื่อสาร กันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษา ได้ให้ความหมายของสื่อการสอน หรือสื่อการเรียนการสอนไว้ ดังนี้ เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2537) กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน คือ ตัวกลางหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ใน กระบวนการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสาหรับทาให้การถ่ายทอดความรู้ของครูถึงผู้เรียน และทาให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี กล่าวอีกนัยหนึ่ง สื่อการเรียน การสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการหรือเทคนิคที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนส่ งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติและ ทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิดานันท์ มลิทอง (2548) สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สื่อใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ แผนภูมิ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรืออุปกรณ์เพื่อถ่ายทอด เนื้ อหาจากวัส ดุ สิ่ งเหล่ านี้ เป็ น วัส ดุอุป กรณ์ ทางกายภาพที่ นามาใช้เ ทคโนโลยี การศึ ก ษา เป็นสิ่ งที่ใช้ เ ป็ น เครื่องมือหรือช่องทางสาหรับทาให้การเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้เป็นอย่างดี วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551) สื่อการเรียนการสอน หมายถึง กิจกรรมทางการศึกษาที่มีความสาคัญต่อ การเรียนรู้จากอดีตสู่ปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ช่วยให้ผู้สอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ศักดิ์ชัย ไชยรักษ์ (2557) ได้ให้ความหมายของ สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือตัวกลาง หรือช่องทางที่นาเสนอเนื้อหาสาระ ถ่ายทอดไปยังผู้เรียน หรือสื่อสารไป ถึงผู้เรียนและช่วยทาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจได้ชัดเจน ง่ายขึ้น ตรงตามที่ผู้สอนต้องการสื่อสาร หรือ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกาหนดไว้ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งนี้ สื่อการสอนนั้นต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ และทาความเข้าใจได้ด้วยประสาทสัมผัสจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและอาจจะกล่าวได้โดยสรุปอีกว่า สื่อ การเรียนรู้นั้นเป็นสื่อที่จัดเตรียมไว้ให้ผู้เรียนใช้สาหรับศึกษา ค้นคว้า หรือสืบค้นและเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นส่วน ใหญ่ โดยอาจจะมีอยู่ภายในห้องเรียนหรือภายนอกห้องเรียนก็ได้ ส่วนสื่อการสอนนั้น น่าจะหมายถึงสื่อที่ครู


61

หรือผู้สอนได้จัดเตรียม จัดหาหรือจัดทาขึ้นมาและนาไปใช้เพื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือ กิจกรรมต่าง ๆ ของครูผู้สอนภายในห้องเรียนและหรือภายในบริเวณโรงเรียน บราวน์ และคณะ (Brown and Others, 1985 : 32) ได้ ก ล่ า วไว้ ว่ า สื่ อ การเรี ย นการสอน ได้ แ ก่ อุปกรณ์ทั้งหลายที่ช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึง กิจกรรม ต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมื อเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาทสมมุติ นาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ และการสารวจ เป็นต้น จากความหมายข้างต้น สื่อการเรียนการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ร วมถึงเทคนิค วิธีการ ที่เป็น สื่อกลางในการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียน การสอน

3.2 ความสาคัญของสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนเป็นองค์ประกอบที่สาคัญในกระบวนการสื่อสารการเรียนและมีบทบาทที่สาคัญ ในการถ่ายทอดสารจากผู้สอนไปยังผู้เรียน ความสาคัญของสื่อในระบบการศึกษาจาแนกได้ดังนี้ วาสนา ทวีกุล ทรัพย์.2537 : 157-158 อ้างอิงจาก เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. 2537:239-240) 1. เป็นเครื่องช่วยในการสอน เมื่อนาสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนทาให้ผู้สอน สอนเนื้อหา ได้ง่ายขึ้นรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ทาให้ผู้สอนสามารถสอนได้ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ช่วยลดการ บรรยายของผู้ ส อนลงได้ นอกจากนี้ ผู้ ส อนยั ง มี เ วลาดู แ ลผู้ เ รี ย นที่ เ รี ย นอ่ อ นได้ ม ากขึ้ น หรื อ ผู้ ส อนมี เ วลา พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. เป็นเครื่องช่วยในการเรียนของผู้เรียน ผู้เรียนใช้สื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้นจาก ประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากขึ้นจากสื่อโดยใช้เวลาน้อยลง สื่อจะทาให้ ผู้เรียนมีความสนในในการเรียน และมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉงช่วยให้เกิดความประทับใจ ทั้งช่วยเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาในการเรียนรู้และช่วยให้เอาชนะข้อจากัดต่าง ๆ ได้ 3. เป็นเครื่องช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการสอนช่วยเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนจาก ผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้ จัดการและกากับ ดูแลคอยชี้แนะให้ กับผู้เรียนและใช้สื่ อเป็นแหล่งความรู้แทนทาให้ สามารถจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้หลายลักษณะ เช่น การสอนเป็นกลุ่ม การสอนรายบุคคล การศึกษา ทางไกล การศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นต้น 4. เป็นเครื่องช่วยเพิ่มคุณภาพทางการศึกษา สื่อการสอนสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับจานวนผู้เรียนที่ เพิ่มขึ้น ผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ต่างกัน สื่อการสอนจะช่วยเพิ่มคุณภาพ โดยการปรับปรุงการสอนให้เพียงพอ ต่อความต้องการของผู้เรียนช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างของผู้เรียน สร้างความเสมอภาคแก่ผู้เรียน เป็นต้น เนื่องจากการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน จาเป็นต้องอาศัยตัวกลางหรือตัว พารูปแบบต่าง ๆ เป็นพาหะนาความรู้ ทักษะและทัศนคติไปยังผู้เรียน


62

3.3 บทบาทของสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนมีบทบาทสาคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งต่อตัวผู้สอนโดยตรงและต่อ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่จัดให้กับผู้เรียน ซึ่งบทบาทสาคัญของสื่อการเรียนการสอน สามารถแบ่ง ออกได้ ดังนี้ (สุดใจ เหง้าสีไพร. 2550: 20-32) 1. บทบาทในฐานะของเทคโนโลยีการศึกษา ในฐานะของเทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอนมีบทบาทตามคุณลักษณะ 3 ประการ 1.1 บทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพ (efficiency) ของกระบวนการให้การศึกษา เพื่อให้ระบบ การศึกษาบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว เที่ยงตรง แม่นยา ไม่มีข้อบกพร้องหรืออุปสรรค หรือถ้ามีก็ต้อง ให้น้อยทีส่ ุด 1.2 บทบาทในการเพิ่มประสิทธิผล (productivity) ของกระบวนนการให้การศึกษา เพื่อให้ ผลิตผลทางการศึกษาเป็นไปอย่างได้ผลสูงสุดหรือใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุด มีการสูญเปล่าน้อยมาก หรือไม่มีเลย เมื่อเทียบกับสิ่งนาเข้า (input) เช่น ปริมาณผู้เข้าเรียนครั้งแรกกับผู้จบออกไปจานวน เท่ากัน เป็นต้น 1.3 มีบทบาทในการก่อให้เกิดความประหยัด (economy) หรือคุ้มค่าแก่การลงทุนโดยที่ใช้เวลา สั้นแต่เกิดผลจานวนมาก ใช้แรงงานน้อยแต่ผลของงานมาก หรือลงทุนในระบบการศึกษาเพียง เล็กน้อยแต่ได้รับผลผลิตทางการศึกษามาก 2. บทบาทในฐานะมิติที่ 3 ในระบบการศึกษา สื่อการเรียนการสอนมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือหรือตัวกลางในการบริการถ่ายทอดเนื้อหา สาระ ประสบการณ์ รวมถึงการประเมินผลร่วมกับฝ่ายบริหารและวิชาการอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อนาไปสู่ระบบ การให้การศึกษาที่มีประสิทธิภาพในที่สุด 3. บทบาทในฐานะการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา 3.1 แก้ปัญหาความต้องการทางการศึกษา สื่อการเรียนการสอนมีบทบาทในการสร้างโอกาสทาง การศึกษาให้แก่สมาชิกของสังคมมากขึ้น โดยอาศัยสื่อนานาชนิด ลักษณะและรูปแบบซึ่งเปิด โอกาสทั้งในด้านจานวนผู้เรียน เวลา สถานที่ วิธีการในการเรียนรู้ งบประมาณ ค่าใช้จ่าย และอื่น ๆ 3.2 แก้ ปั ญ หาผลิ ตผลทางการศึ ก ษาขาดคุ ณ ลั ก ษณะที่ พึ ง ประสงค์ เช่ น การคิ ด เป็ น ท าเป็น แก้ปัญหาเป็น มีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ เป็นต้น หากมีการนาสื่อการเรียนการ สอนมาใช้อย่างเหมาะสมและพอเพียง เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี 3.3 แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาที่เหมาะสมและจาเป็น ซึ่งสื่อการเรียนการ สอนสามารถเข้ า มาช่ ว ยแก้ ปั ญ หาตรงจุ ด นี้ ไ ด้ โ ดยน ามาทดแทนผู้ ส อนในบางรายวิ ช า บางกิจกรรมได้ เช่น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน เป็นต้น 3.4 แก้ปั ญหางบประมาณทางการศึกษาที่มีจากัดและไม่เพียงพอ โดยสามารถนาสื่ อราคาที่ ไม่แพงมากนักหรือจะเป้ฯสื่อที่ผลิตขึ้นเองจากวัสดุที่มีตามท้องถิ่น สื่อเรียนด้วยตนเอง


63

3.5 แก้ปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษา สื่อการเรียนการสอนสามารถสนองต่อการจัด การศึกษาได้ทุกรูปแบบ เช่น การศึกษาในระบบปกติ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษานอก ระบบ และ การศึกษาทางไกล รวมไปถึงการศึกษาสาหรับผู้มีความบกพร้องทางด้านร่างกาย เป็นต้น

3.4 ลักษณะสื่อการเรียนการสอนที่ดี สื่อการเรียนการสอนที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ (วาสนา ชาวหา : 2533) 1. สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เช่น การสอนเรื่องพืชใบเลี้ยงคู่และใบ เลี้ยงเดี่ยวเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกความแตกต่างระหว่างใบไม้ทั้งสองชนิดได้อย่างถูกต้อง การพิจารณานาสื่อ การสอนมาใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในข้อนี้ ควรเป็นใบไม้จริง ๆ ทั้งใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว ผู้เรียนจะได้สังเกตความแตกต่างจากของจริงและสามารถเปรียบเทียบได้ด้วยตนเอง 2. เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละวัยจะมีความสนใจ ความต้องการและความสามารถ แตกต่างกัน ครู ควรศึ กษาหาความรู้ ในสิ่ งเหล่ านี้ ได้ จากผลการวิจัยทางด้ านเทคโนโลยี ด้านจิตวิทยาด้ า น การสื่อสาร เป็นต้น จะทาให้สามารถรู้และพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เช่น การเลือกภาพเพื่อนามาใช้เป็นสื่อการสอนกับเด็กระดับประถมศึกษา ควรเป็นภาพลายเส้นที่แสดงเฉพาะโครง ร่าง เป็นภาพง่าย ๆ ไม่แสดงละเอียดพร้อมทั้งสอดแทรกอารมณ์ขัน 3. เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน การกาหนดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้งครูเป็น ผู้กระทากิจกรรมและในบางครั้งนักเรียนจะเป็นผู้กระทา กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการกระทาด้วยตนเองมากกว่ากรูเป็นผู้กระทากิจกรรมเพราะผู้เรียนเป็นผู้ที่ต้อง เรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางสร้างสรรค์ 4. ใช้ง่ายสะดวกและปลอดภัย สื่อการสอนที่นามาใช้ถ้าผู้ใช้มีความยากลาบากและยุ่งยากไม่สะดวก ที่จะใช้ก็อาจทาให้มีผลเสียต่อกระบวนการเรียนการสอนได้และยังก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายท้อถอยที่จะใช้สื่อ การสอนอื่นต่อไป สื่อการสอนบางชนิดเมื่อนามาใช้อาจมีอันตรายต่อผู้ใช้หรือผู้เรี ยนก็ต้องละเว้นการใช้สื่ อ การสอนนั้น เช่น การทดลองการระเบิดของภูเขาไฟ เป็นต้น

3.5 หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ต้องพิจารณาเป้าหมายของ วัตถุประสงค์ของบทเรียนเป็นหลัก โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของวัตถุประสงค์นั้น ๆ ว่า มีจุดสาคัญอะไรควรสื่อ ความหมายลักษณะใด จากนั้นจึงเลือกลักษณะของสื่อที่สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของวัตถุประสงค์นั้น โดย พิจารณาจากสิ่งที่เป็นนามธรรม ไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม


64 วัตถุประสงค์

ของจริ ง

รู ปธรรม Concrete

วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อจุดสาคัญ ของวัตถุประสงค์ ของจาลอง

ภาพเคลื่อนไหว

พิจารณาเลือกลักษณะของสื่ อ

ภาพนิ่ง

คาพูด

นามธรรม Abstract ภาพที่ 3.1 หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มา : สาคร อัฒจักร. หน่วยที่ 4 สื่อการเรียนการสอน.

การเลือกสื่อการสอนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด จาเป็นจะต้องมี จุดประสงค์ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม ซึ่งหลักการเลือกสื่อการสอนมี ดังนี้ 1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน 2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลาดับขั้นตอน 3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน 4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป 5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง 6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน สุดใจ เหง้าสีไพร. (2550) ได้กล่าวถึงหลักการเลือกสื่อการสอนไว้ ดังนี้ 1. เลือกสื่อที่ตอบสถนองต่อวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ที่มีความชัดเจนจะระบุ พฤติกรรมที่ผู้เรียนต้องแสดงออกให้เห็นหลังการใช้สื่อ มีเงื่อนไขหรือสภาวการณ์ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ และ กาหหนดคุณภาพและปริมาณที่กาหนดเป็นเกณฑ์ที่ผู้สอนพึงพอใจและถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ 2. เลือกสื่อที่เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างน้อย 4 ด้านหลัก คือ ด้านทั่ว ๆ ไปเช่น เพศ อายุ ด้ า นพื้ น ฐานการศึ ก ษา เช่ น การใช้ ภ าษา การเขี ย นทั ก ษะ ประสบการณ์ เ ดิม ด้ า นสั ง คม เช่น วัฒนธรรม สภาพทางเศรษฐกิจ ด้านจิตใจ เช่น ความสนใจ ความเชื่อ ค่านิยม จากความแตกต่างเหล่านี้ย่อม ส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้จากสื่อเดียวกันได้แตกต่างกัน 3. เลือกสื่อโดยพิจารณาจากศักยภาพของสื่อ สื่อแต่ละชนิดมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่าง กันคุณสมบัตินี้เองทาให้สื่อมีพลังหรือศักยภาพแฝงอยู่ในตัวมันเอง ซึ่งหากผู้เลือกสื่อมีความรู้ ความเข้าใจใน ศักยภาพและหน้าที่เฉพาะของสื่อเหล่านี้ก็สามารถนาไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป โดย พิจารณาลักษณะของผู้เรียนและคุณสมบัติของสื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน วิธีการ สอน เนื้อหาและลักษณะของผู้เรียน


65

4. เลือกสื่อโดยยึดหลักความเหมาะสม โดยผู้สอนสามารถพิจารณษความเหมาะสมของสื่อได้หลาย ด้าน เช่น ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (การดู การฟัง การอ่าน การอภิปราย) ด้านรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ ละคนว่าถนัดที่จะเรียนรู้จากสื่อรูปแบบใด ด้านคุณสมบัติเฉพาะ (หาง่าย ใช้สะดวก ไม่มีอันตราย ขั้นตอนการ ใช้ไม่ซับซ้อน) 5. เลือกสื่อจากความถูกต้อง เที่ยงตรงของสื่อ สื่อที่จะเลือกต้องมีความถูกต้องด้านเนื้อหาสามารถให้ ความรู้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน ง่าย ไม่มีความซับซ้อนรวมถึงมีควาทันสมัย 6. เลือกสื่อโดยพิจารณาจากคุณภาพของสื่อ โดยพิจารณาว่าสื่อนั้นมีความพิถีพิถันด้านคุณภาพ เพียงพอ เช่น คุณภาพทั่วไปดี มีเทคนิคและระบบการจัดการที่ดี มีความประณีต ภาพและเสียงชัดเจน 7. เลือกสื่อจากความคุ้มค่าด้านควาพยายามและค่าใช้จ่าย สื่อที่เลือกควรเป็นสื่อที่สามารถจัดหา จัดทา จัดซื้อได้ไม่ยากนัก ในขณะเดียวกันควรคานึงถึงคุณค่าที่จะเกิดกับผู้เรียนเมื่อนามาใช้และหากต้องจัดซื้อ จัดหาหรือผลิตขึ้นสื่อนั้นก็ไม่ควรต้องลงทุนมากเกินไป 8. เลือกสื่อที่สอดคล้องกับหลักการใช้สื่อประสม สื่อที่เลือกต้องไม่แสดงความขัดแย้งซึ่งกันและกันใน เวลาเดียวกัน หากแต่ต้องเสริมความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่กันและกัน วิธีการนาเสนอสื่อต้องไม่เป้นอุปสรรคหรือ ขัดขวางการนาเสนออีกสื่อหนึ่งที่นาเสนอควบคู่กันในเวลาเดียวกันหรือไล่เลี่ยกัน เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545) สื่อการสอนมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากมายหลายประการ อีกทั้งยังช่วย ให้การเรียนรู้ถูกต้อง ชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจสร้างความสนใจและประทับใจ ตลอดจนกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วมในกระบวนการเรียนการสอนอย่างพอใจและกระตือรือร้นอันจะส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ข อง ผู้เรียนให้บังเกิดขึ้นและยังสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา เพราะสื่อการสอนช่วยให้ผู้เรียนจานวนมาก สามารถเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงและประสบความสาเร็จไม่แตกต่างกัน ในการนาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนคานึงถึงหลัก 3 ประการดังนี้ 1. ประสิทธิภาพ (Efficiency) เมื่อนาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว จะทาให้ผู้เรียนสามารถเรีย นรู้ ได้ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กาหนดไว้ในแผนการสอน จึงนับว่าสื่อการสอนนั้นมีประสิทธิภาพ 2. ประสิ ทธิผ ล (Productivity) จ านวนผู้ เรียนที่บรรลุ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กาหนดไว้เป็น จานวนมากก็นับได้ว่า สื่อการสอนนั้นก่อให้เกิดประสิทธิผลสูง แต่ถ้าจานวนผู้เรียนที่บรรลุวัตถุประสงค์มีน้อยก็ แสดงว่าสื่อการสอนนั้นไม่มีประสิทธิผล ควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป 3. ประหยัด (Economy) การนาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน นอกจากจะคานึงถึงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลแล้ว จะต้องพิจารณาในเรื่องของการลงทุนที่คุ้มค่าทั้งด้านทุนทรัพย์ แรงงานและระยะเวลาในการ ใช้งาน สื่อการสอนบางชนิดอาจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง แต่อาศัยงบประมาณมากในขณะที่ ครู สามารถนาสื่อชนิดอื่นมาทดแทนได้โดยที่ผลที่ได้ทัดเทียมหรือเท่ากันแต่ประหยัดงบประมาณมากกว่า ผู้สอน ควรพิจารณานาสื่อที่ประหยัดกว่ามาใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลัก 3 ประการที่กล่าวมาการะบวนการเรียนการสอนของผู้ส อนจาเนต้ อ งมี หลักเกณฑ์ในการเลือกสรรสื่อมาใช้ โดยมีนักเทคโนโลยีการศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ อาทิ


66

กิดานันท์ มลิทอง. (2540) ได้กล่าวไว้ว่า ในการเลือกซื้อมาใช้ ผู้สอนต้องการวัตถุประสงค์เชิง พฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนเสียก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์เป็นตัวชี้นาในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม โดยยึดหลักการพิจารณา ดังนี้ 1. สื่อต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน 2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจและเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดีเป็นลาดับขั้นตอน 3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน 4. สื่อนั้นควรมีความสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนจนเกินไป 5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ เทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนเป็นจริง 6. มีราคาไม่แพงเกินไป ถ้าผลิตเองควรคุ้มค่ากับเวลาและการลงทุน ไฮนิช และคนอื่น ๆ (Heinich and Others. 1996 : 34 - 36) กล่าวไว้ว่า การวางแผนเพื่อเลือกและ ใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะมีการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการเรียนรู้ได้ตาม วัตถุประสงค์นั่นเอง โดยได้เสนอรูปแบบสาหรับแนวเป็นแนวทางในการเลือกวางแผนการใช้สื่ออย่างเป็นระบบ และได้เรียกแบบที่เสนอนี้ว่า The ASSURE Model มีรายละเอียด ดังนี้ A = Analyze Leaner Characteristics การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน S = State Objectives การกาหนดวัตถุประสงค์ S = Select, Modify, of Design Materials การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่ U = Utilize Materials การใช้สื่อ R = Require Learner Response การกาหนดการตอบสนองของผู้เรียน E = Evaluation การประเมิน Analyzer Learner

Evaluation

State Objective

Require learner Response

Select Modify

Utilize Materials

ภาพที่ 3.2 The ASSURE Model


67

1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze Leaner Characteristics) การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน จะทาให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการ เรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะ วิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ 1.1 ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการ เรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ 1.2. ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอน และสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ 1.2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน 1.2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล 1.2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง 1.2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน 2. การกาหนดวัตถุประสงค์ (State Objectives) วัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถบรรลุถึงสิ่งใดหรือมีความสามารถใหม่ อะไรบ้างในการเรียนนั้น การตั้งหรือกาหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนนี้เพื่อ 2.1 ผู้สอนจะได้ทราบว่าการเรียนการสอนนั้นมีวัตถุประสงค์อะไรเพื่อสะดวกในการเลือกสื่อและ วิธีการให้ถูกต้อง วัตถุประสงค์นี้จะช่วยผู้สอนในการจัดลาดับกิจกรรมการเรียนและสร้างสิ่งแวดล้อมหรือ ประสบการณ์การเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น 2.2 ช่วยในการประเมินผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง เพราะผู้สอนจะไม่ทราบเลยว่าผู้เรียนบรรลุตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ถ้าไม่มีการกาหนดวัตถุประสงค์ไว้ก่อน 2.3 ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วจะสามารถเรียนรู้หรือกระทาอะไรได้บ้าง การกาหนดวัตถุประสงค์ ควรประกอบด้วย 2.3.1 การกระทา (Performance) เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถกระทาอะไรได้บ้าง ภายหลังจากการเรียนแล้ว ซึ่งการกระทานั้นต้องเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ 2.3.2 เงื่อนไข (Conditions) เป็นข้อจากัดหรือเงื่อนไขที่ตั้งขึ้นโดยรวมอยู่ภายใต้การกระทา 2.3.3 เกณฑ์ (Criteria) เพื่อเป็นการตัดสินการกระทานั้นว่าเป็นไปตามที่กาหนดไว้หรือไม่ เมื่อกาหนดวัตถุประสงค์แล้ว ควรมีการแบ่งประเภทหรือระดับของขอบเขตการเรียนรู้ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์หรือแนวทางในการตัดสินว่า การเรียนรู้นั้นจะครอบคลุมแนวของทักษะ หรือพฤติกรรมอะไรบ้าง จึงต้องมีการกาหนดเป็น “วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม” ได้แก่ 1) พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา เป็นต้น


68

2) จิตตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม และ การเสริมสร้างทางปัญญา 3) ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทา การแสดงออก หรือการปฏิบัติ 3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ (Select, Modify, or Design Materials) การที่จะมีสื่อวัสดุที่เหมาะสมในการเรียนการสอนสามารถทาได้ 3 วิธี คือ 3.1 เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่ แล้ว เช่น สื่อที่มีอยู่มีเนื้อหาข้อมูลและกิจกรรมที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ และการเลือกสื่อนั้นย่อม ขึ้นอยู่กับวิธีการสอนในบทเรียนและข้อจากัดของสถานการณ์การเรียนการสอนด้วย 3.2 ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณใน การดัดแปลงสื่อนั้นด้วย เช่น มีภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเป็นภาษาอังกฤษ ถ้ามีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วบันทึก เสียงลงใหม่เพื่อให้ผู้เรียนชมและฟังเข้าใจง่ายขึ้น จะคุ้มกับเวลาและการลงทุนหรือไม่ เป็นต้น 3.3 การออกแบบสื่อใหม่ ในกรณีที่ไม่มีสื่อเดิมอยู่หรือสื่อที่มีอยู่แล้วไม่สามารถนามาดัดแปลงให้ใช้ได้ ตามที่ต้องการ ผู้สอนย่อมต้องมีการออกแบบและจัดทาสื่อใหม่ซึ่งต้องคานึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น ให้ต้องตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนและลักษณะของผู้เรียน มีงบประมาณในการจัดทาเพียงพอ หรือไม่ มีเครื่องมือและผู้ชานาญในการจัดทาสื่อหรือไม่ เป็นต้น 4. การใช้สื่อ (Utilize Materials) เป็นขั้นของการกระทาจริงซึ่งผู้สอนจะต้องดาเนินการดังนี้ 4.1 ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว เช่น ดูสไลด์หรือวีดิทัศน์เพื่อศึกษาเนื้อหา ให้แม่นยาก่อนนาไปสอน หรืออ่านบทวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นร่วมด้วย 4.2 จัดเตรียมสถานที่ ที่นั่งเรียน อุปกรณ์เครื่องมือ และสิ่งต่าง ๆ เพื่อความสะดวกเรียบร้อยก่อน การสอนและควรต้องทดลองอุปกรณ์ที่จะใช้ก่อนว่าใช้ได้ดีหรือไม่ 4.3 เตรียมตัวผู้เรียน โดยการใช้สื่อนาเข้าสู่บทเรียน ถ้ามีการฉายวีดิทัศน์หรือภาพยนตร์ ให้ชมก็ควร จะต้องสรุปเนื้อหาเรื่องที่จะชมนั้นให้ผู้เรียนทราบเสียก่อนว่าเกี่ยวข้องกับบทเรียนอย่างไรบ้าง เป็นการแนะนา ก่อนล่วงหน้าและเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน 4.4 ควบคุมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นาเสนอนั้น 5. การกาหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require Learner Response) การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และเปิดโอกาสให้มีการตอบสนองนั้นเป็นสิ่งสาคัญยิ่ง ซึ่งผู้เรียน จะมีการตอบสนองหรือไม่และมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับสื่อที่นามาใช้ สื่อบางชนิดเมื่อใช้แล้วจะเปิ ดโอกาสให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากกว่าสื่อชนิดอื่น เช่น การให้อ่านข้อความในหนังสือหรือดูรูปจะทาให้ผู้เรียนมีการอภิปราย จากสิ่งที่อ่านหรือเห็น ผู้เรียนย่อมมีการตอบสนองเกิดขึ้นได้ทันทีและง่ายกว่าการให้ดูภาพยนตร์ ทั้งนี้เพราะ การดูภาพยนตร์ถ้าจะดูให้รู้เรื่องจริง ๆ แล้วควรจะต้องดูให้จบเรื่องเสียก่อนแล้วจึงอภิปรายกัน ซึ่งจะดีกว่าหยุด ดูทีละตอนแล้วอภิปรายเพราะจะทาให้มีการขัดจังหวะเกิดความไม่ต่อเนื่องในการดูอาจจะทาให้ไม่เข้าใจหรือ จับความสาคัญของเรื่องไม่ได้ นอกจากนี้ ผู้เรียนสามารถมีการตอบสนองโดยเปิดเผย (overt response) โดย


69

การพูดออกมาหรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน (covert response) โดยการท่องจาหรือคิดในใจ เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองแล้วผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันทีเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่า ตนมีความเข้าใจและเกิด การเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ การเรียนการสอนโดยการให้ทาแบบฝึ กหัด การตอบคาถาม การอภิปราย หรือการ ใช้บทเรียนแบบโปรแกรม จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการตอบสนองและได้รับการเสริมแรงระหว่างการ เรียนได้เป็นอย่างดี 6. การประเมิน (Evaluation) การประเมินสามารถกระทาได้ 3 ลักษณะ คือ 6.1 การประเมินกระบวนการสอน เพื่อเป็นการประเมินว่าสามารถบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือไม่ทั้งในด้านผู้สอน สื่อการสอน และวิธีการสอน โดยในการประเมินสามารถทาได้ทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังการสอน 6.2 การประเมินความสาเร็จของผู้เรียน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใด การวั ดผลอาจ ทาได้ด้ว ยการทดสอบ การสอบปากเปล่ า หรือดูจากผลงานของผู้ เรีย น สิ่ งส าคัญที่จะทราบได้ว่าผู้ เ รี ย น มี สั ม ฤทธิ ผ ลทางการเรี ย นมากน้ อ ยเท่ า ใด คื อ สั ง เกตจากการปฏิ บั ติ แ ละการแสดงออกของผู้ เ รี ย นนั้ น 6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน โดยการให้ผู้เรียนมีการอภิปรายและวิจารณ์การใช้สื่อและเทคนิค วิธีการสอนว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใด จากที่กล่าวมา หลักการในการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนนั้น ผู้สอนต้องคานึงถึง องค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้

3.6 ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน สื่อการสอนสามารถแบ่งออกได้หลากหลายประเภท ในที่นี่จะแบ่งปะเภทและคุณสมบัติของสื่อการ เรียนการสอนออกเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ดังนี้ (กิดานันท์ มลิทอง, 2548) 1. สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย 2. สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย 3. สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง 4. รูปแบบและวิธีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน 1. สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิค วิธีการ วัสดุ /อุปกรณ์ / วิธีการ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสาร ตารา

ข้อดี - เป็นสื่อการเรียนรู้ทดี่ ีที่สุด - สามารถอ่านได้ตามอัตราความ สามารถของแต่ละคน

ข้อจากัด - ถ้าจะให้ได้คณ ุ ภาพดีต้องใช้ต้นทุนใน การผลิตสูง


70

วัสดุ /อุปกรณ์ / วิธีการ

ข้อดี

ข้อจากัด

สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสาร ตารา

- เหมาะสาหรับการอ้างอิง - สะดวกในการพกพา - ทาสาเนาแจกจ่ายได้ง่าย

- บางครั้งต้องมีการพิมพ์ใหม่เพื่อ ปรับปรุงข้อมูล - ผู้ไม่รหู้ นังสือไม่สามารถอ่านหรือทา ความเข้าใจได้ - ไม่สะดวกกับการปรับปรุงเนื้อหาใหม่

ของจริง ของตัวอย่าง

- แสดงภาพได้ตามความเป็นจริง - เป็นลักษณะสามมิติ - สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า -สามารถจับต้องและพิจารณา รายละเอียดได้ - มีลักษณะเป็นสามมิติ - สามารถจับต้องได้ - เหมาะมนการนาเสนอที่ไม่สามารถ มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เช่น อวัยวะ ภายในร่างกาย - สามารถใช้แสดงหน้าที่ ลักษณะและ ส่วนประกอบ - บางอย่างสามารถผลิตด้วยวัสดุทมี่ ีใน ท้องถิ่น - ช่วยชี้ให้เห็นความสาคัญระหว่าง เนื้อหา - ช่วยแสดงลาดับขั้นตอนของเนื้อหา ผลิตได้ง่าย และผลิตได้จานวนมาก - ต้นทุนการผลิตต่า - สามารถเขียนงานกราฟิกได้หลาย ชนิด - ช่วยในการสร้างความเข้าใจ ตามลาดับเรื่องราวเนื้อหา

- บางครั้งอาจลาบากในการจัดหา - บางสิ่งใหญ่เกินกว่าจะนามาแสดงได้ - บางอย่างราคาสูง - เก็บรักษายาก เสียหายง่าย

ของจาลอง หุ่นจาลอง

วัสดุกราฟิก เช่น แผนภูมิ แผนภาพ

กระดานชอล์ก กระดานไวท์บอร์ด

เกม

- ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็น อย่างดี - สร้างให้ผู้เรียนเกิดความกล้า แสดงออก - สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ สนุกสนาน

- ต้องอาศัยความชานาญในการผลิต - เหมาะสาหรับการแสดงในกลุ่มขนาด เล็ก - ชารุด เสียหายง่าย

- เหมาะสาหรับการเรียนเป็นกลุ่มเล็ก - งานที่มีคุณภาพดีจาเป็นต้องมีการ ผลิตทีม่ ีเทคนิคและความชานาญสูง - ผู้สอนต้องหันหลังให้ผู้เรียนเมื่อเขียน กระดาน - ผู้สอนต้องมีความสมารถนการเขียน กระดานพอสมควร - ระยะการอ่านข้อความบนกระดานไม่ ไกลมากนัก - ต้องระวังในการเลือกใช้เกมให้เหมาะ กับการจัดกจกรรมการเรียนรู้ - ผู้เรียนบางคนไม่มคี วามกล้าในการ แสดงออกจึงไม่สามารถเล่นเกมได้


71

วัสดุ /อุปกรณ์ / วิธีการ บทบาทสมมุติ สถานการณ์จาลอง

ข้อดี

ข้อจากัด

- มีการฝึกปฏิบัติทักษะในโลกของจริง ภายใต้สภาวะที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง - สามารถฝึกปฏิบัติกจิ กรรมที่เสีย่ ง อันตรายได้โดยไม่เสี่ยงกับการบาดเจ็บ

- ผู้เรียนต้องใช้เวลามากในสถานการณ์ ของปัญหาและทดลองด้วยวิธีการ ต่าง ๆ - การให้เรียนในสภาพการณ์จาลองที่ ง่ายกว่าสภาพการณ์จริงอาจทาให้เกิด ความเข้าใจผิดได้ถ้าต้องเผชิญกับ สถานการณ์จริง

ข้อดี

ข้อจากัด

2. สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย วัสดุ อุปกรณ์ ประเภทเสนอภาพนิ่ง วัสดุ /อุปกรณ์ / วิธีการ

แผ่นโปร่งใส เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ - เหมาะสาหรับผู้เรียนกลุม่ ใหญ่ - ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผูเ้ รียนได้ - แผ่นโปร่งใสบางประเภทสามารถ แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวได้ เครื่องฉายภาพสามมิติ (Visualizer) - สามารถใช้ได้กับวัสดุทึบแสง วัสดุ โปร่งแสงและวัสดุสามมิติ - เหมาะกับผูเ้ รียนกลุ่มใหญ่

เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)

- เหมาะสาหรับผู้เรียนกลุม่ ใหญ่ - ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผูเ้ รียนได้ - ใช้กับอุปกรณ์นาเสนอได้หลากหลาย ประเภท - สามารถนาเสนอภาพขนาดใหญ่จาก อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ได้

- ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้ อุปกรณ์ - บางพื้นที่มีแสงสว่างมากอาจเป็น อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน - ราคาขออุปกรณ์ค่อนข้างสูง - ไม่สามารถนาเสนอภาพได้ด้วยตัวเอง ต้องใช้ร่วมกับเครื่องฉายภาพ (LCD Projector) - บางพื้นที่มีแสงสว่างมากอาจเป็น อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน - ถ้าต้องการภาพที่คมชัดมาก ๆ อาจ ต้องใช้เครื่องฉายที่มีราคาสูง - ต้องระวังอุปกรณ์ การเครื่องย้าย อย่างมาก เนื่องจากอาจเกิดการ เสียหายจากการเคลื่อนย้ายได้


72

2.1 สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย วัสดุ อุปกรณ์ ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว วัสดุ /อุปกรณ์ / วิธีการ โทรทัศน์วงจรปิด

แผ่นดีวีดี แผ่นวีซีดี

ข้อดี - เหมาะสาหรับผู้เรียนกลุม่ เล็กและ กลุ่มใหญ่ - ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการเรียน การสอนให้กับผูเ้ รียนที่อยู่ในบริเวณ ห้องเรียนได้พร้อมกัน - คุณภาพของแผ่นให้ความคมชัด - เก็บรักษาได้ง่าย สามารถใช้ได้กับเครื่องเล่นทั้ง คอมพิวเตอร์และเครื่องเล่นดีวีดี

ข้อจากัด - รับชมภาพได้เฉพาะในบริเวณที่ กาหนดเทานั้น - ใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ การ ทางานค่อนข้างสูง - กระบวนการบันทึกภาพต้องใช้ หลากหลายขั้นตอน

3. สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง วัสดุ /อุปกรณ์ / วิธีการ วิทยุ

เครื่องเล่น MP.3

ข้อดี

ข้อจากัด

- สามารถใช้ได้กับกลุ่มผู้เรียนทั้งขนาด เล็ก และขนาดใหญ่ - สามารถให้ความรู้กับผู้เรียนได้ หลากหลายทั้งผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ หรือผู้มคี วามบกพร่อง ทางด้านสายตา - อุปกรณ์ราคาถูก ขนาดกะทัดรัด - สามารถใช้ได้กับกลุ่มผู้เรียนทั้งขนาด เล็ก และขนาดใหญ่ - สามารถให้ความรู้กับผู้เรียนได้ หลากหลายทั้งผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ หรือผู้มคี วามบกพร่อง ทางด้านสายตา - อุปกรณ์ราคาถูก ขนาดกะทัดรัด - ผู้สอนสามารถบันทึกเสียงเพื่อเปิดวน มรการสอนได้

- กระบวนการผลิตอาจต้องใช้ เครื่องมือและผู้ที่มีความชานาญในการ ผลิต

- ต้องใช้ต่อพ่วงกับอุปกรณ์ขยายเสียง ในกรณีที่ใช้กับผู้เรียนเป็นกลุ่ม


73

4. รูปแบบและวิธีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน วัสดุ /อุปกรณ์ / วิธีการ อินเทอร์เน็ต (Internet)

ยูทูป (YouTube)

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network)

ข้อดี - สามารถสืบค้นข้อมูลได้ทั่วโลกจาก เครื่องมือสืบค้นข้อมูล (Search Engine) - เชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารได้อย่าง กว้างขวาง - นาเสนอข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง พร้อมกัน - เป็นแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย - สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา - ผู้สอนสามารถผลิตหรือบันทึกการ เรียนการสอนเพื่อให้ผเู้ รียนเข้ามาดู ย้อนหลังได้ตลอดเวลา - สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ใน สิ่งที่สนใจร่วมกับผู้เรียนได้ - ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร กับผู้เรียนได้สะดวกและรวดเร็ว - เกิดความยืดหยุ่นในการเรียนการ สอนทั้งรูปแบบและวิธีการ

ข้อจากัด - ข้อมูลที่นาเสนออาจต้องตรวจสอบ ความถูกต้องก่อนนามาใช้ - ความเร็วในการเข้าใช้งานขึ้นอยูก่ ับ อุปกรณ์และเครือข่ายที่ใช้งาน

- ความเร็วในการเข้าใช้งานขึ้นอยูก่ ับ อุปกรณ์และเครือข่ายที่ใช้งาน - กระบวนการผลิตอาจจะยุ่งยาก สาหรับผู้สอนทีไ่ ม่ถนัดเรื่องเทคโนโลยี - ความเร็วในการเข้าใช้งานขึ้นอยูก่ ับ อุปกรณ์และเครือข่ายที่ใช้งาน

3.7 หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน 1. เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน การฟัง หรือเนื้อหาในสื่อนั้น ๆ ว่ามีความถูกต้อง ตรงตามความต้อ งการหรื อ ไม่ รวมถึงการศึกษาวิธี การใช้สื่ อการสอนนั้ น ๆ เพื่อให้ เกิดความคล่ องตั ว ใน การจัดการเรียนการสอน 2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม โดยการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือในการเรียน อุปกรณ์การสอนต่าง ๆ ให้ พร้อมรวมไปถึง สถานที่ในการเรียนต้องมีความพร้อมทั้งเครื่องมือ และสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ 3. เตรียมตัวผู้เรียน เป็นการเตรียมตัวผู้เรียนเพื่อให้มีความพร้อมที่จะเรียน โดยอาจเป็นการบอก วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การปฏิบัติตนเมื่อต้องเข้าชั้นเรียน กฎกติกา มารยาทในการเรียนต่าง ๆ 4. การใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนและวิธีการ ผู้สอนต้องมีการใช้สื่อให้เหมาะสมกับช่วงจังหวะและเวลา ในการเรียนการสอน อีกทั้งการจัดสภาพแวดล้อมในการใช้สื่อต่าง ๆ อาทิ การใช้เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ ต้องมีการควบคุมความสว่างภายในห้องเรียนให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน


74

5. การติดตามผล (Follow Up) หลังจากการใช้สื่อในการนาเสนอหรือการสอนแล้ว ผู้ สอนควรมี การประเมินการเรียนการสอน หรือการติดตามผลการเรียนการสสอน โดยอาจจออกมาในรูปของการถาม-ตอบ การอภิปราย เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนจากสื่อที่นาเสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่

3.8 ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน การใช้สื่อการสอนนั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน หรือจะใช้ทุกขั้นตอนก็ได้ ดังนี้ 1. ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กาลังจะเรียนนั้น สื่อที่ใช้ใน ขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหา เจาะลึกอย่างแท้จริง และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนาเสนอในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาพ บัตรคา เป็นต้น 2. ขั้นดาเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็น ขั้นที่จะให้ความรู้ เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อ สนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนควรเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหา และวิธีการสอน ต้องมีการจัดลาดับขั้นตอนการ ใช้สื่อให้เหมาะและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้ จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียด ถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน เช่น สไลด์ แผนภูมิ วีดิทัศน์ เป็นต้น 3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนา ความรู้ที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัด โดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็น ปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิด โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด เช่น ภาพ บัตรปัญหา สมุดแบบฝึกหัด เป็นต้น 4. ขั้ น สรุ ป บทเรี ย น เป็ น การย้ าเนื้ อ หาบทเรี ย นให้ ผู้ เ รี ย นมี ค วามเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งและตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นสรุปควรใช้เวลาเพียงสั้นๆ สื่อที่สรุปจึงควรครอบคลุมเนื้อหาสาคัญทั้งหมด เช่น แผนภูมิ แผ่นโปร่งใส เป็นต้น 5. ขั้นประเมินผู้เรียนเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใดและบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ สื่อในขั้นการประเมินนี้มักจะเป็นคาถามจากเนื้อหาบทเรีย นโดยอาจมีภาพ ประกอบด้วยก็ได้

สรุป สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางที่ใช้ในการเชื่อมโยงเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสาหรับทาให้การถ่ายทอดความรู้ของผู้สอนไปถึงผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้ สื่อการเรียนการสอนมีหลายลักษณะ หลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้สอน จะเลือกสื่อการเรียนการสอนประเภทใดมาใช้นการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม


75

สื่อการสอนที่ผู้สอนนามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่มีสื่อใดหรือกิจกรรมการเรียนการสอนใดจะ ดีที่สุดในลักษณะของการเรียนการสอน ขึ้นอยู่กับผู้สอนจะเลือกสื่อการเรียนการสอนใดที่เหมาะกับกลุ่มผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละครั้งนั้น ๆ มากที่สุด

แบบฝึกหัดท้ายบท 1. ให้นักศึกษาเขียนนิยาม “สื่อการเรียนการสอน” ตามทัศนะของนักศึกษาเอง (1 คะแนน) 2. ถ้านักศึกษาต้องเป็นผู้เลือกใช้สื่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมาย นักศึกษา มีแนวคิด วิธีการในการเลือกสื่อการเรียนการสอนอย่างไร จงอธิบาย (2 คะแนน)


76

เอกสารอ้างอิง กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์ . (2548). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์ ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). กระบวนการสันนิเวทนาการและระบบสื่อการสอน. เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. หน่วย 2. กรุงเทพฯ : สหมิตร ชัยยงค์ พรหมวงศ์และคณะ. (2523). เทคโนโลยีและสื่อการศึกษา เล่มที่ 3 หน่วยที่ 11-15 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2526). เทคโนโลยีทางการศึกษา : หลักการและแนวปฏิบัติกรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช. สุดใจ เหง้าสีไพร. (2547). เอกสารประกอบการสอน พื้นฐานทางเทคโนโลยีของการศึกษา ภาควิชา เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์ ศักดิ์ชัย ไชยรักษ์ และคณะ. (2557). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา. หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏสวนดุสิต สาคร อัฒจักร. (2557). เอกสารประกอบการสอนกระบวนการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีการศึกษา: หน่วยที่ 4 สื่อการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสาราคาม. (Online). เข้าถึงได้จาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503780/Unit04/unit04_001.htm. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10.11.2559 เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. การผลิตเอกสารและ ตารา มหาวิทยาลัยทักษิณ Brown, James W., Lewis, Richard B., and Harcleroad, Fred F. (1985). AV Instructional Technology, Media, and Methods. 6th ed. New York: McGraw- Hill Book Company, Heinich, Robert and others.(1996: 34-36). Instructional Media and Technologies for Learning. 5th ed. New Jersey : Prentice Hakk.


77

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 4 หัวข้อเนื้อหา 1. การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ

2. เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) 3. ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อเรียนจบในบทที่ 4 แล้ว ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายหลักการจัดการเรียนการสอนบนเว็บได้ 2. อธิบายความหมาย องค์ประกอบของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ได้ 3. อธิบายลักษณะของห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ได้


78

บทที่ 4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการจัดการศึกษา การศึกษาในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) รูปแบบการเรียนการสอนเน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มุ่งเน้นให้เกิดความสามารถในการ คิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหาการสื่อสาร การสร้างความร่วมมือ การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การจัดการ เรียนการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนโดยมีการนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ผู้เรียนเปลี่ยนบทบาทจากการเรียนในชั้นเรียนมาเป็นการเรียนด้วยตนเองผ่านสื่อและเทคโนโลยี ผู้สอนเปลี่ยน บทบาทจากการยืนสอนหน้าชั้นเรี ยนมาเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ แนะนาผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอน มีการนาระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเทคโนโลยีที่ นามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีหลากหลาย ในที่นี่จะขอยกตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) และห้องเรียนอัจฉริย ะ (Smart Classroom) มาใช้ในการเรียนการสอน

4.1 การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ 4.1.1 ความรู้ทั่วไปของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ได้มีการนารูปแบบ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) เข้ามาในการจัดการเรียนการสอนกันมากขึ้นโดยเป็น การนาเสนอเนื้อหาการเรียนการสอน นาเสนอผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ในลักษณะสื่อหลายมิติ รวมทั้งคุณลักษณะต่าง ๆ ของการสื่อสารที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน และตอบสนองความต้องการการเรียนของผู้เรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้มีนักการศึกษา นักวิชาการได้ให้ ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) ไว้อย่างหลากหลายซึ่งพอสรุปได้ว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) หมายถึง การนาเอาระบบอินเทอร์เน็ตมาออกแบบเพื่อ ใช้ในการศึกษา โดยมีการเรียก ชื่อที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (webbased instruction) เว็บการเรียน (Web-based Learning) เว็บการฝึกอบรม (Web-based Training) แต่ โดยภาพรวมแล้วเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิ ทธิภ าพทางการเรีย นรู้ และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจากัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการ นา ทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต มาจัดระบบ ออกแบบ สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอน โดยการ นาเว็บมาใช้ในการนาเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติ ตามเนื้อหา หลักสูตรวิชา โดยเป็นการนามาใช้ ทั้งหมดหรืออาจจะนามาใช้บางส่วน รวมถึงการนาประโยชน์จากคุณลักษณะต่าง ๆ ของการสื่อสารโดยใช้ ระบบอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารผ่านทางการเขียนข้อความทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การพูดคุยสด ประกอบเสียง


79

นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้คาอธิบายเกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่านเว็บไว้ อาทิ กิดานันท์ มลิทอง (2543: 344) อธิบายว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บจัดว่าเป็นการใช้เว็บการเรียนการ สอน เพื่อนาเสนอบทเรียนที่มีลักษณะเป็นสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เพียงการยาเสนอ ข้อมูลบางอย่าง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนก็ได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ จากคุณลักษณะต่าง ๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อัจจิมา บารุงนา (2557:21) กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) หมายถึง การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนการสอน มีการนาเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อมัลติมีเดีย แลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ข่ า วสารระหว่ า งกั น จั ด สภาพแวดล้ อ มที่ ส่ ง เสริ ม การเรี ยนการสอนให้ มี ป ระสิ ท ธิภ าพ สนับสนุนผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถเรียนและทบทวนบทเรียนได้เองทุกที่ทุกเวลา สรรรัชต์ (2544) กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ “เป็นการนาเอาระบบอินเทอร์เน็ตมาออกแบบ เพื่อใช้ในการศึกษา การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (web-based instruction)” นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการ เรียกชื่อการเรียนการสอนบนเว็บไว้ว่า “มีชื่อเรียกหลายลักษณะ เช่น การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (webbased instruction) เว็บการเรียน (web-based learning) อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม (internet-based training) อิ น เทอร์ เ น็ ต ฝึ ก การเรี ย นการสอน (internet-based instruction) เวิ ล ด์ ไ วด์ เ ว็ บฝึ ก อบรม (www-based instruction) เป็นต้น” และได้สรุปถึงการเรียกชื่อไว้ว่า “การเรียนการสอนบนเว็บ (web-based instruction) น่าจะเป็นแบบที่ใช้และตรงกับคาอธิบายคุณลักษณะของการใช้เว็บในระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนการสอน มากที่สุด” ใจทิพย์ (2547: 10) ได้ให้ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการผนวกคุณสมบัติไฮเปอร์ มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ในมิติที่ไม่มีขอบเขต จากัดด้วยระยะทาง และเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (learning without boundary) Khan (1997) ได้ให้คาจากัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (web-based instruction) ไว้ว่า “เป็นการเรียนการสอนที่อาศัยโปรแกรมไฮเปอร์มีเดียที่ช่วยในการสอนโดยการใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะ และทรัพยากรของอินเทอร์เน็ต มาสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายโดยส่งเสริมและสนับสนุนการ เรียนรู้อย่างมากมาย โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกทาง” Parson (1997) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า “เป็นการสอนที่นาเอาสิ่งที่ต้องการ ส่งให้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยอาศัยเว็บ โดยเว็บสามารถกระทาได้ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลาย ขอบเขตที่เชื่อมโยงกัน ทั้งการเชื่อมต่อบทเรียนวัสดุช่วยการเรียนรู้ และการศึกษาทางไกล” ฉะนั้นจะพบว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการนาสื่อหลายมิติเข้ามาประกอบกับกระบวนการและ เทคนิคการสอนโดยใช้เว็บเพจ (Webpage) ในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยปราศจากข้อจากัดด้านเวลา ระยะทาง และ สถานที่ รวมถึงยังช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย ซึ่งสามารถแสดงภาพกระบวนการของ Web – based Instruction ในฐานะเป็น สื่อกลางก่อให้เกิดความรู้ ได้ดังนี้


80

Web Based Instruction

Learner

Resources Links

Internet Network

Communication Tools

Curriculum, content

Web Pages

ภาพที่ 4.1 แสดงกระบวนการของ Web – based Instruction ในฐานะเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความรู้ ที่มา: อุทิศ บารุงชีพ (2551) 4.1.2 ลักษณะและประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ การเรียนการสอนผ่านเว็บมีรูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากการเรียนการสอนในห้องเรียน กล่าวคือ ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้จาก ที่ใดก็ได้ ในเวลาใดก็ได้ไม่จากัดเวลาและสถานที่ นอกจากนี้ยังมีคุณลั กษณะสาคัญ ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการ จัดการเรียนการสอน ได้แก่ 1. สามารถนาเสนอเนื้อหาในรูปแบบของสื่อประสม (multimedia) 2. เป็นระบบเปิด (open system) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก 3. มีทรัพยากรเพื่อการสืบค้นออนไลน์มากมาย 4. ไม่มีข้อจากัดทางด้านสถานที่และเวลาของการสอนผ่านเว็บ (device, distance and time independence) คือ ผู้เรียนสามารถเรียนตอนไหน เวลาใดก็ได้ เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต 5. อนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุม (learner controlled) คือ ผู้เรียนสามารถเรียนตาม ความพร้อม ความถนัดและความสนใจของตน 6. มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (self - contained) ทาให้ผู้เรียนสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอน ทั้งหมดบนเว็บได้ 7. อนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารทั้งแบบเวลาเดียว (synchronous communication) เช่น chat และต่างเวลากัน (asynchronous communication) เช่น web board เป็นต้น เครื่องมือเทคโนโลยีของเวิลด์ ไวด์ เว็บระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาให้บทเรียนผ่านเว็บเป็นการจัด สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่มีลักษณะสาคัญดังต่อไปนี้ 1. เว็บเปิดโอกาสให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียนหรือ ผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน


81

2. เว็บสามารถนาเสนอเนื้อหาในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวีดิทัศน์ 3. เว็บเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก 4. เว็บอุดมได้ด้วยทรัพยากรเพื่อการสืบค้นออนไลน์ (Online Search/Resource) 5. ไม่มีข้อจากัดด้านสถานที่และเวลาของการสอนผ่านเว็บ (Device, Distance and Time Independent) ผู้เรียนที่มีคอมพิวเตอร์ในระบบใดก็ได้ ซึ่งต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าเรียนจากที่ใดก็ได้ เวลาใดก็ได้ 6. เว็บอนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุม (Learner Controlled) ผู้เรียนสามารถเรียนตามความพร้อม ความถนัด และความสนใจของตน 7. เว็บมีความสมบูรณ์ในตนเอง (Self-Contained) ทาให้เราสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอน ทั้งหมดผ่านเว็บได้ 8. เว็บอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารทั้งแบบเวลาเดียวกัน (Synchronous Communication) เช่น Chat และต่างเวลากัน (Asynchronous Communication) เช่น Web board เป็นต้น 4.1.3 ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ การเรียนการสอนผ่านเว็บสามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ พาร์สัน (Parson,1997) ได้แก่ 1. การเรียนการสอนผ่านเว็บแบบรายวิชาเดียว (Stand - Alone Courses) เป็นรายวิชาที่มีเครื่องมือ และแหล่งที่เข้าไปถึงและเข้าหาได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมากที่สุด ถ้าไม่มีการสื่อสารก็สามารถที่จะ ไปผ่านระบบคอมพิวเตอร์สื่อสารได้ (Computer Mediated Communication: CMC) ลักษณะของการเรียน การสอนผ่านเว็บแบบนี้ มีลักษณะเป็นแบบวิทยาเขตมีนักศึกษาจานวนมากที่เข้ามาใช้จริง แต่จะมีการส่งข้อมูล จากรายวิชาทางไกล 2. การเรียนการสอนผ่านเว็บแบบสนับสนุนรายวิชา (Web Supported Courses) เป็นรายวิชาที่มี ลักษณะเป็นรูปธรรม ที่มีการพบปะระหว่างครูกับนักเรียน และมีแหล่งให้มาก เช่น การกาหนดงานที่ให้ทาบน เว็บ การกาหนดให้อ่าน การสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือการมีเว็บที่สามารถชี้ตาแหน่งของแหล่งบน พื้นที่ของเว็บ โดยรวมกิจกรรมต่าง ๆ เอาไว้ 3. การเรียนการสอนผ่ านเว็บแบบศูนย์การศึกษา (Web Pedagogical Resources) เป็นชนิดของ เว็บไซต์ที่มีวัตถุดิบ เครื่องมือ ซึ่งสามารถรวบรวมรายวิชาขนาดใหญ่เข้าไว้ด้วยกัน หรือเป็นแหล่งสนับสนุน กิจกรรมทางการศึกษา ซึ่งผู้ที่เข้ามาใช้ก็จะมีสื่อให้บริการหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และการสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นต้น อีกแนวคิดหนึ่งของการเรียนการสอนผ่านเว็บ นักการศึกษาได้แบ่งรูปแบบหลักๆของการเรียนการ สอนผ่านเว็บออกเป็น 4 รูปแบบ (Hannum, 19100) ดังนี้


82

1. รูปแบบการเผยแพร่ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย คือ 1.1 รูปแบบห้องสมุด (Library Model) เป็นรูปแบบที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถใน การเข้าไปยังแหล่งทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย โดยวิธีการจัดหาเนื้อหาให้ผู้เรียนผ่านการเชื่อมโยงไป ยังแหล่งเสริมต่าง ๆ เช่น วารสาร สารานุกรม หรือหนังสือออนไลน์ทั้งหลาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนาเอาลักษณะ ทางกายภาพของห้องสุ ด ที่มีทรั พยากรจ านวนมหาศาลมาประยุกต์ใช้ ส่ว นประกอบของรูปแบบนี้ ได้แก่ สารานุกรมออนไลน์ สารสารออนไลน์ หนังสือออนไลน์ สารบัญ การอ่านออนไลน์ (Online Reading List) เว็บห้องสมุด เว็บงานวิจัย รวมทั้งการรวบรวมรายชื่อเว็บที่สัมพันธ์กับวิชาต่าง ๆ 1.2 รูปแบบหนังสือเรียน (Textbook Model) การเรียนการสอนบนเว็บรูปแบบนี้เป็น การจัดเนื้อหาของหลักสูตรในลักษณะออนไลน์ให้แก่ผู้เรียน เช่น คาบรรยาย สไลด์ นิยาม คาศัพท์และส่วน เสริม ผู้สอนสามารถเตรียมเนื้อหาออนไลน์ที่ใช้เหมือนกับที่เรียนในการเรียนในชั้นเรียนปกติ และสามารถทา สาเนาเอกสารให้กับผู้เรียนได้ รูปแบบนี้ต่างจากรูปแบบห้องสมุดคือ รูปแบบนี้จะเตรียมเนื้อหาสาหรับการเรียน การสอนโดยเฉพาะ ขณะที่รูปแบบห้องสมุดช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการจากการเชื่อมโยงที่ได้เตรียม เอาไว้ ส่ ว นประกอบของรู ป แบบหนั ง สื อ เรี ย นนี้ ป ระกอบด้ ว ย บั น ทึ ก ของหลั ก สู ต ร บั น ทึ ก ค าบรรยาย ข้อเสนอแนะของห้องเรียนสไลด์ที่นาเสนอ วีดิโอ และภาพที่ใช้ในชั้นเรียน เอกสารอื่นที่มีความสัมพันธ์กับ ชั้นเรียน เช่น ประมวลรายวิชา รายชื่อนชั้น กฎเกณฑ์ข้อตกลงต่าง ๆ ตารางการสอบและตัวอย่างการสอน ครั้งที่แล้ว ความคาดหวังของชั้นเรียน งานที่มอบหมาย เป็นต้น 1.3 รูปแบบการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Instruction Model) รูปแบบนี้จัดให้ ผู้ เรี ย นได้รั บ ประสบการณ์การเรีย นรู้จ ากการมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาที่ได้รับ โดยนาลั กษณะของบทเรียน คอมพิ ว เตอร์ ช่ ว ยสอน (CAI) มาประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ป็ น การสอนแบบออนไลน์ ที่ เ น้ น การมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ มี ก ารให้ คาแนะนา การปฏิบัติ การให้ผลย้อนกลับรวมทั้งการให้สถานการณ์จาลอง 2. รูปแบบการสื่อสาร (Communication Model) การเรียนการสอนบนเว็บรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่อาศัยคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อเพื่อการ สื่อสาร (Computer-Mediated Communication) ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ผู้สอนหรือ กับผู้เชี่ยวชาญได้ โดยรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่ม อภิ ป ราย การสนทนาหรื อ การอภิป ราย การประชุ ม ผ่ า นคอมพิ ว เตอร์ เหมาะส าหรั บ การเรีย นการสอน ที่ต้องการส่งเสริม การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน 3. รูปแบบผสมผสาน (Hybrid Model) รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบนี้เป็นการนาเอารูปแบบ 2 ชนิด คือ รูปแบบการ เผยแพร่กับรูปแบบการสื่อสารมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น เว็บไซต์ที่รวมเอารูปแบบห้องสมุดกั บรูปแบบหนังสือ เรียนไว้ด้วยกันเว็บไซต์ที่รวบรวมเอาบันทึกของหลักสูตร รวมทั้งคาบรรยายไว้กับกลุ่มอภิปราย หรือเว็บไซต์ ที่รวมเอารายการแหล่งเสริมความรู้ต่าง ๆ และความสามารถของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยกัน เป็นต้น รูปแบบนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากับผู้เรียน เพราะผู้เรียนจะได้ใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะที่หลากหลาย


83

4. รูปแบบห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) รูปแบบห้องเรียนเสมือนเป็นการนาเอาลักษณะเด่นหลาย ๆ ประการของแต่ละรูปแบบที่กล่าวมา แล้วข้างต้นมาใช้เป็นสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน ที่นาแหล่งทรัพยากรออนไลน์มาใช้ในลักษณะการเรียน การสอนแบบร่วมมือ โดยการร่วมมือระหว่างนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับผู้สอน ชั้นเรียนกับสถาบันการศึกษา อื่น และกับชุมชนที่ไม่เป็นเชิงวิชาการ โดยเน้นความสาคัญของกลุ่มที่จะร่วมมือทากิจกรรมร่วมกัน นักเรียน และผู้สอนจะได้รับความรู้ใหม่ ๆ จากกิจกรรม การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล ลักษณะเด่นของ การเรี ย นการสอนรู ป แบบนี้ ก็คื อ ความสามารถในการลอกเลี ย นลั ก ษณะของห้ องเรียนปกติม าใช้ ใ นการ ออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยความสามารถต่าง ๆ ของอินเทอร์เน็ต โดยมี ส่วนประกอบคือ ประมวลวิชา เนื้อหาในหลักสูตร รายชื่อแหล่งเนื้อหาเสริม กิจกรรมระหว่างผู้เรียนผู้ส อน คาแนะนาและการให้ผลป้อนกลับ การนาเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย การเรียนแบบร่วมมือ รวมทั้งการสื่อสาร ระหว่างกัน รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน โดยไม่มีข้อจากัดในเรื่องเวลาและสถานที่ สรุปได้ว่า ลักษณะและประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการบูรณาการความ สามารถของ สื่อที่มีความหลากหลาย อาทิ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดิทัศน์เข้าไว้ด้วยกัน มีรูปแบบการ เรียนที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น แบบรายวิชาเดียว (Stand - Alone Courses) แบบสนับสนุนรายวิชา (Web Supported Courses) หรือแบบศูนย์การศึกษา (Web Pedagogical Resources) โดยไม่มีข้อจากัดด้านเวลา เรียน สถานที่เรียน ทาให้ผู้เรียนมีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลกและเป็นการเปิดโอกาสให้มีการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน หรือจะเป็นผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน 4.1.4 หลักการออกแบบโครงสร้างเว็บ นอกจากเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บจะมีความสาคัญแล้ว การออกแบบโครงสร้างเว็บ สาหรับให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างง่ายและสะดวกนั้นก็มีความ สาคัญไม่แพ้กัน ผู้สอนหรือ ผู้พัฒนาเว็บจึงจาเป็นต้องเข้าใจในหลักการออกแบบโครงสร้างเว็บเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการด้านเนื้อหา และ การเรียนการสอน โดยนักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านได้เสนอแนะการแบ่งโครงสร้างเว็บไซต์ออกเป็น 4 ลักษณะ Lynch and Horton. (1999) ได้แก่ ลักษณะเรียงลาดับ (Sequences) ลักษณะกริด (Grid) ลักษณะ ลาดับชั้นสูง/ต่า (Hierarchies) และลักษณะเว็บ (Web) และการแบ่งโครงสร้างเว็บไซต์ออกเป็น 3 ลักษณะ ของ (Graham et al.2001) ซึ่งได้แก่ลักษณะเชิงเส้น (Linear) ลักษณะเปิด (Open) และลักษณะผสมผสาน (Modular) ซึ่งหลักในการออกแบบโครงสร้างเว็บประกอบด้วย ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2545). 1. โครงสร้างลักษณะเรียงลาดับ (Sequences) วิธีการที่ธรรมดาที่สุดในการจัดระบบเนื้อหา คือ การวางเนื้อหาในลักษณะเรียงลาดับ การเรียงลาดับ อาจเรียงตามเวลาหรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น จากทั่ว ๆ ไปถึงเจาะจง เรียงลาดับตามตัวอักษร เรียงตามประเภทของ หัวข้อเนื้อหา ฯลฯ การเรียงลาดับในลักษณะเปิดไปเรื่อย ๆ นี้เหมาะกับเว็บไซต์การสอนที่มีเนื้อหาไม่มากนัก เพื่อบังคับให้ผู้เรียนเปิดหน้าเพื่อศึกษาเนื้อหาไปตามลาดับที่ตายตัว


84

ภาพที่ 4.2 แสดงโครงสร้างลักษณะเรียงลาดับ 2. โครงสร้างลักษณะกริด (Grid) การออกแบบลักษณะกริดเป็นวิธีการที่เหมาะสมสาหรับเนื้อหาในลักษณะที่สมารถออกแบบให้คู่ขนาน กั น ไป ยกตั ว อย่ า งเช่ น การสอนเนื้ อ หาวิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ ซึ่ ง เนื้ อ หาอาจแบ่ ง ได้ ต ามเวลา หรื อ ยุ ค เช่ น ยุคสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา เป้นต้น นอกจากน้าจแบ่งเนื้อหาได้ตามหัวข้อทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านวัฒนธรรม ด้านการปกครอง ด้านสังคม เป็นต้น หรืออีกตัวอย่างเกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านไอที ซึ่งอาจแบ่ง ได้ตามนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น อินเทอร์เน็ต e-Learning Virtual Reality ฯลฯ นอกจากนี้เนื้อหาเดียวกัน อาจแบ่งออกตามหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น ความหมาย ประวัติความเป็นมา ประโยชน์ ซึ่งเนื้อหาที่เหมาะสมกับ การออกแบบโครงสร้ างในลั กษณะกริ ดจะต้อ งมีโ ครงสร้างของหั ว ข้อ ย่อยร่ว มกัน ผู้ เรียนสามารถเลื อกที่ จะเข้าถึงเนื้อหาในมุมใดก็ได้ไม่ว่าจะบน ล่าง หรือ ซ้าย ขวา

ภาพที่ 4.3 แสดงโครงสร้างลักษณะกริด อย่างไรก็ดีผู้เรียนอาจสับสนกับการเข้าถึงเนื้อหาในลักษณะโครงสร้างแบบกริด ได้หากผู้เรียนไม่ทราบ ถึงความสัมพันธ์ในโครงสร้างหัวข้อย่อยที่ใช้ร่วมกันอยู่ ดังนั้นโครงสร้างแบบกริดนี้น่าจะเหมาะกับผู้เรียนที่มี ประสบการณ์ในหัวข้อนั้น ๆ พอสมควรหรือการใช้โครงสร้างแบบกริดนี้อาจต้องออกแบบให้มีแผนที่ไซต์เพื่อให้ ภาพของโครงสร้างเว็บไซต์ที่ชัดเจนแก่ผู้เรียน


85

3. โครงสร้างลักษณะลาดับชั้น (Hierarchies) การออกแบบโครงสร้างในลักษณะลาดับชั้นเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสาหรับเนื้อหาที่สลับซับซ้อน เพราะการออกแบบลักษณะนี้ทาให้การเข้าถึงเนื้อหาที่มีโครงสร้างซับซ้อนเป็นไปด้วยความง่ายและรวดเร็ว ยิ่งขึ้นเพราะโครงสร้างลักษณะลาดับชั้นจะมีการแบ่งหมวดหมู่เนื้อหาที่ชัดเจน ผู้ใช้เว็บส่วนใหญ่ก็มีความคุ้นเคย เป็นอย่างดีกับโครงสร้างเว็บไซต์ในลักษณะลาดับชั้นอยู่แล้ว เพราะทุก ๆ เว็บก็จะมีหน้าโฮมเพจก่อนเสมอแล้ว จึงแบ่งออกเป็นส่วนย่อยอๆ ต่อไปจากบนลงล่าง โครงสร้างลักษณะลาดับชั้นนี้จะทาให้ผู้เรียนมีความสะดวก ในการเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการ

ภาพที่ 4.4 แสดงโครงสร้างลักษณะลาดับชั้น อย่ างไรก็ดี ควรหลี กเลี่ ย งการออกแบบโครงสร้างใน 2 ลั กษณะ ได้แก่ โครงสร้างที่ตื้นเกินไปซึ่ ง หมายถึงโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยการลิงค์จากหน้าหลักไปยังเนื้อหาที่ไม่มีความสัมพันธ์กันจานวนมาก

ภาพที่ 4.5 แสดงโครงสร้างที่ตื้นเกินไป และโครงสร้างที่ลึกจนเกินไป ซึ่งหมายถึงโครงสร้างซึ่งทาให้ผู้เรียนจาเป็นต้องคลิกผ่านเมนูย่อยที่ซ่อนอยู่หลาย ต่อหลายครั้งจนกว่าจะพบเนื้อหาที่ต้องการ


86

ภาพที่ 4.6 แสดงโครงสร้างที่ลึกเกินไป จริงอยู่ว่าเนื้อหาที่มีความสลับซับซ้อนต้องการโครงสร้างที่มีความลึกมากเป็นธรรมดา อย่างไรก็ดี ผู้ออกแบบไม่ควรบังคับให้ผู้เรียนต้องคลิกผ่านหน้าแล้วหน้าเล่าเพื่อจะเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการ 4. โครงสร้างในลักษณะเว็บ (Web) การออกแบบโครงสร้างในลักษณะเว็บเป็นการออกแบบที่แทบจะไม่ได้มีกฎเกณฑ์ใด ๆ ในด้านของ รูปแบบโครงสร้างเลย ในโครงสร้างแบบเว็บจะเท่ากับการจาลองความคิดของคนที่มักจะมีความต่อเนื่องกัน (flow) ไปเรื่อย ๆ ซึ่งเหมือนกับการอนุญาตให้ผู้ใช้เลือกเนื้อหาที่ต้องการเชื่อมโยงตามความถนัด ความต้องการ ความสนใจ ฯลฯ ของตนเอง โครงสร้างในลักษณะเว็บจะเต็มไปด้วยลิงค์ที่มากมายทั้งกับเนื้อหาในเว็บไซต์ เดียวกันหรือเว็บไซต์ภายนอกก็ตาม แม้ว่าเป้าหมายของการจัด ระบบโครงสร้างในเว็บก็เพื่อการใช้ประโยชน์ จากศักยภาพการเชื่อมโยงของเว็บ โครงสร้างในลักษณะนี้อาจส่งผลให้เกิดความสับสนต่อผู้เรียนได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นวิธ๊ที่ยากที่สุดในการนามาใช้จริงเพราะการเชื่อมโยงที่มากจะทาให้ผู้เรียนสับสนและหลงทาง ได้อย่างง่ายดาย โครงสร้างในลักษณะนี้ จะเหมาะสมที่สุด สาหรับเว็บไซต์เล็ก ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยลิงค์และเหมาะ สาหรับผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในนเนื้อหามาแล้วและต้องการเพิ่มเติมความรู้ในหัวข้อนั้น ๆ ไม่ใช่เพื่อการทา ความเข้าใจพื้นฐานของเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่ง


87

ภาพที่ 4.7 แสดงโครงสร้างในลักษณะเว็บ ในการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ เราสามารถใช้โครงสร้างการนาเสนอเนื้อหามากกว่าหนึ่ง โครงสร้างได้ อย่างไรก็ดีพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มักจะเข้าถึงเนื้อหาในลักษณะไม่เป็นเชิงเส้นตรง (non-linear) ดังนั้นผู้ออกแบบเว็บไซต์อาจไม่จาเป็นต้องจัดระบบการเรียงลาดับเว็บเพจให้ตายตัวเสมอไป นอกจากนี้ยังได้มีความพยายามในการแบ่งโครงสร้างเว็บไซต์ออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ โครงสร้างเชิง เส้นตรง โครงสร้างเปิด และ โครงสร้างลักษณะผสม Graham et al. (2001) อ้างอิงจาก ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2545). 1. โครงสร้างเชิงเส้นตรง ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนทีละหน้าไปเรื่อย ๆ ในลักษณะเส้นตรงแต่ในบางครั้งผู้ออกแบบอาจจัดให้ มีลิงค์ (การเชื่อมโยง) ไปยังหน้าอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนข้ามหน้าได้ โครงสร้างเชิงเส้นตรงเหมาะ สาหรับเว็บไซต์เล็ก ๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ตายตัวและชัดเจน เช่น เว็บไซต์ซึ่งมีเนื้อหาในการสอนการใช้เว็บซึ่ง ออกแบบสาหรับการเรียนประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงและสาหรับการ ศึกษาด้วยตนเองเพื่อการทบทวนภายหลัง การออกแบบในลักษณะเชิงเส้นตรงจะมีประโยชน์สาหรับผู้เรียนซึ่งอาจไม่มีประสบการณ์ในการท่องเว็บเริ่มต้น กับการใช้เว็บหรือผู้เรียนซึ่งขาดความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกทางเดินในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อการเรียนรู้ของ ตน โครงสร้างในลักาณะตายตัวเช่นนี้จะทาหน้าที่นาทางผู้เรียนและทาให้ผู้เรียนรู้สึกพอใจที่ได้เรียนทุกเนื้อหา ได้ครบถ้วนสมบูรณ์โดยไม่ต้องเกรงว่าจะข้ามเนื้อหาใดไปหรือไม่อย่างไร โครงสร้างในลักษณะนี้เหมาะสาหรับ ผู้เรียนที่ชอบรูปแบบการเรียนในลักษณะมีผู้ชี้นา (Directed Learning) มากกว่าผู้เรียนที่ชอบรูปแบบการเรียน ในลักษณะการเลือกเรียนด้วยตนเอง (Autonomous Learning) อย่างไรก็ตามข้อพึงระวังจากการใช้โครงสร้าง ในเว็บไซต์ในลักษณะนี้ก็คือ ผู้เรียนที่มีประสบการณ์และมีความมั่นใจตนเองจะรู้สึกอึดอัดและถ้าใช้มากเกินไป จะทาให้จากัดการเรียนในลักษณะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


88

ภาพที่ 4.8 แสดงโครงสร้างเชิงเส้นตรง 2. โครงสร้างลักษณะเปิด โครงสร้างเว็บไซต์ในลักษณะเปิดจัดหาทางเลือกหลายทางซึ่งไม่ตายตัวแกผู้เรียนในการเข้าสู่เนื้อหา ซึ่งหมายความว่าเว็บเพจจานวนมากในโครงสร้างแบบเปิดจะมีลิงค์ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระ ไม่มี ทางเข้าสู่เนื้อหาที่แน่นอนซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการได้ตามความสนใจและเป็น ผู้ควบคุมการเรียนของตนเอง โครงสร้างลักษณะนี้เหมาะสาหรับผู้เรียนที่มีประสบการณ์และมีความมั่นใจที่จะ ควบคุมการเรียนของตน รวมทั้งมีทักษะในการใช้เว็บเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามข้อพึงระวังจาก การใช้โครงสร้างเว็บไซต์ในลักษณะนี้คือ การที่ผู้เรียนอาจเกิดความสับสนและท้อแท้กับการเรียนได้ นอกจากนี้ โครงสร้างในลักษณะเปิดจะไม่เหมาะกับผู้เรียนที่ชอบเรียนเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

ภาพที่ 4.9 แสดงโครงสร้างลักษณะเปิด 3. โครงสร้างในลักษณะผสมผสาน โครงสร้างในลักษณะผสมผสานจะผสมคุณลักษณะของทั้งลักษณะเชิงเส้นตรงและลักษณะเปิดเข้า ด้วยกัน โดยโครงสร้างลักาณะผสมผสานจะจัดหาทางเลือกซึ่งในลักษณะเชิงเส้นตรงไม่มี รวมทั้งเพิ่มความ ชัดเจนของโครงสร้างซึ่งเป้นคุณสมบัติที่ขาดหายไปจากโครงสร้างในลักาณะเปิด ผู้เรียนจะได้รับทางเลือกใน


89

การทากิจกรรมการเรียนหรือการเลือกเนื้อหาที่ต้องการจะศึกษา แต่จะเรียนรู้เนื้อหาแต่ละส่วนในลักษณะ เส้นตรง

ภาพที่ 4.10 แสดงโครงสร้างลักษณะผสมผสาน โครงสร้างลักษณะผสมผสานเหมาะสาหรับผู้เรียนซึ่งคละระดับของประสบการณ์ในการใช้เว็บและ ประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้หว้างขวางที่สุด อย่างไรก็ตามข้อพึง ระวังจากการใช้ในลักษณะนี้ก็คือ ความไม่สม่าเสมอของโครงสร้างอาจทาให้เกิดความเบื่อหน่ายจากผู้เรียนและ ทาให้ผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ได้ จากหลักการออกแบบโครงสร้างเว็บการเรียนการสอนที่ก ล่าวมานั้นทาให้เห็นว่าลักษณะโครงสร้าง ของเว็บการเรียนการสอนแต่ละโครงสร้างมีความสอดคล้องเหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ แตกต่างกัน ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องให้ความสาคัญกับองค์ประกอบของโครงสร้างในการทางานเป็นอย่างดี 4.1.5 การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นปัจจัยสาคัญที่จะทาให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึง เนื้ อ หาการเรี ย นได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งและสามารถเรี ย นรู้ ไ ด้ อ ย่ า งตรงตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ในการ ออกแบบและ พัฒนาการเรียนการสอนผ่ านเว็บนั้ น มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการ ออกแบบและพัฒนา ดังนี้ ดิลลอน (Dillon.1991 อ้างอิงจาก อโนชา อุทุมสกุลรัตน์, 2549 : 27) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนใน การสร้างบทเรียนที่มีลักษณะเป็นสื่อหลายมิติ (Hypermedia) ซึ่งหลักการนี้สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการ ออกแบบและพัฒนาเว็บเพื่อการเรียนการสอน แนวคิดดังกล่าวมีขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาเกี่ยวกับผู้เรียนและเนื้อหาที่จะนามาพัฒนาเพื่อกาหนดวัตถุประสงค์และหาแนวทางในการ จัดกิจกรรมการเรียน


90

2. วางแผนเกี่ยวกับการจัดรูปแบบโครงสร้างของเนื้อหา ศึกษาคุณลักษณะของเนื้อหาที่จะนามาใช้ เป็นบทเรียนว่าควรจะนาเสนอในลักษณะใด 3. ออกแบบโครงสร้างเพื่อการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ออกแบบควรศึกษาทาความ เข้าใจกับโครงสร้างของบทเรียนแบบต่าง ๆ โดยพิจารณาจากลักษณะผู้เรียนและเนื้อหาว่าโครงสร้างลักษณะใด จะเอื้ออานวยต่อการเข้าถึงข้อมูลของผู้เรียนได้ดีที่สุด 4. ทดสอบรูปแบบเพื่อหาข้อผิดพลาด จากนั้นทาการปรับปรุงแก้ไขและทดสอบซ้าอีกครั้งจนแน่ใจว่า เป็นบทเรียนที่มีประสิทธิภาพก่อนที่จะนาไปใช้งาน ปทีป เมธาคุณวุฒิ, (2540) กล่าวถึงขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บไว้ ดังนี้ 1. กาหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน 2. วิเคราะห์ผู้เรียน 3. ออกแบบเนื้อหารายวิชาซึ่งในการออกแบบเนื้อหารายวิชานั้น จาเป็นต้องมีเนื้อหาตาม หลักสูตรและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน จัดลาดับเนื้อหา จาแนกหัวข้อตามหลักการเรียนรู้และ ลั กษณะ เฉพาะในแต่ล ะหั ว ข้อ พร้ อมทั้ง กาหนดระยะเวลาและตารางการศึ กษาในแต่ล ะหั ว ข้ อรวมถึ ง วิ ธี การศึกษา การใช้สื่อประกอบการสอน การประเมินผล 4. กาหนดกิจกรรมการเรียนการสอน 5. เตรียมความพร้อมโดยจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน ได้แก่ สารวจแหล่งทรัพยากร สนับสนุนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงได้ กาหนดสถานที่และอุปกรณ์ที่ให้บริการและที่ต้องใช้ สร้างแฟ้มข้อมูลเนื้อหาวิชาเสริมการเรียนการสอนสาหรับการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล 6. ปฐมนิเทศผู้เรียน โดยมีขั้นตอนการปฐมนิเทศประกอบด้วย 6.1 แจ้งวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการเรียนการสอน 6.2 สารวจความพร้อมของผู้เรียนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ในขั้นตอนนี้ผู้สอนอาจจะ ต้องมีการทดสอบหรือสร้างเว็บเพจเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอได้ศึกษาเพิ่มเติมในเว็บ เพจเรียนเสริมหรือให้ผู้เรียนถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง 7. จัดการเรียนการสอนตามแบบที่กาหนดไว้โดยในเว็บเพจจะมีเทคนิคและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ สามารถสร้างขึ้น ได้แก่ 7.1 การใช้ข้อความเร้าความสนใจที่อาจเป็นภาพกราฟิก ภาพการเคลื่อนไหว 7.2 แจ้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของรายวิชา หรือหัวข้อในแต่ละสัปดาห์ 7.3 สรุปทบทวนความรู้เดิม หรือโยงไปหัวข้อที่ศึกษาแล้ว 7.4 เสนอสาระของหัวข้อต่อไป 7.5 เสนอแนะแนวทางการเรี ยนรู้ เช่น กิจกรรมสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนและระหว่าง ผู้เรียนกับผู้เรียนกิจกรรม การอภิปรายกลุ่ม กิจกรรมการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม กิจกรรมการตอบ คาถาม กิจกรรมการประเมินตนเอง และกิจกรรมการถ่ายโอนข้อมูล


91

7.6 เสนอกิจกรรมดังกล่าวมาแล้ว แบบฝึกหัด หนัง สือหรือบทความ การบ้าน การทารายงาน เดี่ยว รายงานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ และแนวทางในการประเมินผลในรายวิชานี้ 7.7 ผู้เรียนทากิจกรรม ศึกษา ทาแบบฝึกหัด และการบ้านส่งผู้สอนทั้งทางเอกสารทางเว็บเพจ ผลงานของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้รับทราบด้วยและผู้เรียนส่งผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอน ตรวจผลงานของผู้เรียน ส่งคะแนนและข้อมูลย้อนกลับเข้าสู่เว็บเพจประวัติของผู้เรียน รวมทั้งการให้ ความ คิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปสู่เว็บเพจผลงานของผู้เรียนด้วย การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ ควรประกอบด้วย (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2545) 1. บทนาเรื่อง (Title) เป็นส่วนแรกของบทเรียน ช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจ ให้ผู้เรียนอยากติดตาม เนื้อหาต่อไป 2. คาชี้แจงบทเรียน (Instruction) เป็นการอธิบายถึงลักษณะการใช้บทเรียนกระบวนการทางาน ของเนื้อหาบทเรียน 3. วัตถุประสงค์การเรียน (Objective) เป็นส่วนที่ต้องให้คาแนะนาและอธิบายความคาดหวังของ เนื้อหาที่ผู้เรียนจะต้องเรียน 4. เมนูหลัก (Main Menu) เป็นรายการแสดงหัวข้อย่อยของเนื้อหาบทเรียนที่จะให้ผู้เรียน ได้ศึกษา 5. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) เป็นการประเมินความรู้ขั้นต้นของผู้เรียนเพื่อวัดระดับควารู้ พื้นฐานของผู้เรียน 6. เนื้อหาบทเรียน (Information) ถือว่าเป็นส่วนสาคัญที่สุดของบทเรียน โดยเป็นการนาเสนอ เนื้อาที่ให้ผู้เรียนได้ทาการเรียนการสอน 7. แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Posttest) เป็นส่วนที้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังจาก ผ่านการเรียนการสอนมาแล้ว 8. บทสรุปและการนาไปใช้งาน (Summary-Application) เป็นส่วนของการสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่จาเป็น 4.1.6 ข้อดี ข้อจากัดของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ปารณีย์ คุณเศษ และคณะ (2556) ได้กล่าวถึงข้อดีของการเรียนการสอนผ่านเว็บมีหลายประการ ประกอบด้วย ข้อดีของการเรียนการสอนผ่านเว็บ 1. การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้า ชั้นเรียนได้เรียนในเวลาและสถานที่ ๆ ต้องการซึ่งอาจเป็นที่บ้าน ที่ทางานหรือสถานศึกษาใกล้เคียงที่ผู้เรียน สามารถเข้ า ไปใช้ บ ริ ก ารทางอิ น เทอร์ เ น็ ต ได้ การที่ ผู้ เ รี ย นไม่ จ าเป็ นต้ อ งเดิ นทางมายั งสถานที่ ก าหนดไว้ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านของข้อจากัดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ศึกษาของผู้เรียน


92

2. การสอนเรียนการผ่านเว็บยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่ ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาที่ห่างไกลหรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา อภิปรายกับอาจารย์ได้ 3. การสอนผ่านเว็บ ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่ง ความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาสามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอดเวลา การสอนบนเว็บสามารถ ตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งมีทักษะนการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. การสอนผ่านเว็บ ช่วยเปลี่ยนจากห้องเรียนปกติไปสู่โลกกว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียน สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่ เชื่อมโยงสิ่งที่เรียน กับปัญหาที่พบในความเป็นจริง โดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้ตามความเป็นจริงและการเรียนรู้ จากปัญหา (Problem – based Learning) ตามแนวคิดแบบ Constructivism 5. การสอนผ่านเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีศักยภาพเนื่องจากเว็บได้กลายเป็นแหล่งค้นคว้า ข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลกโดยไม่จากัดภาษา การสอนบนเว็บช่วยแก้ปัญหา ของข้อจากัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิมจากห้องสมุด อันได้แก่ปัญหาทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่จากัด และเวลา ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเว็บมีข้อมูลที่หลากหลายเป็นจานวนมาก รวมทั้งการที่เว็บใช้การเชื่อมโยงใน ลักษณะของไฮเปอร์มีเดีย (สื่อหลายมิติ) ซึ่งทาให้การค้นหาทาได้สะดวกและง่ายดายกว่าการค้นหาข้อมูล แบบเดิม 6. การสอนผ่านเว็บจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี เนื่องจาก คุณลักษณะของเว็บที่เอื้ออานวยให้เกิดการศึกษา ในลักษณะที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่ ตลอดเวลาโดยไม่จาเป็นต้องเปิดเผยตัวที่แท้จริง ตัวอย่างเช่นการให้ผู้ เรียนร่วมมือกันในการทากิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่าย การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นไว้บนเว็บบอร์ด หรือการให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามา พบปะกับผู้เรียนอื่น ๆ อาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกันที่ห้องสนทนา เป็นต้น 7. การสอนผ่านเว็บเอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการเกิดปฏิสัมพันธ์นี้อาจทาได้ 2 รูปแบบ คือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและ/หรือกับผู้สอน ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการสอนบนเว็บซึ่ง ลักษณะแรกนี้จะอยู่ในรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 8. การสอนผ่านเว็บยังเป็นการเปิดโอกาสสาหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถาบันจากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสอบถามปัญหาข้อมูล ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงโดยตรง ซึ่งไม่สามารถทาได้ในการเรียนการสอนแบบเดิม 9. การสอนผ่านเว็บเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานสู่สายผู้อื่นได้ง่าย ทั้งนี้ไม่ได้จากัด เฉพาะเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน หากแต่เป็นบุคคลทั่วโลกได้ ดังนั้นจึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจภายนอกในการเรียน อย่ างหนึ่ งส าหรั บ ผู้ เรี ย นเพื่อผู้ เรี ย นจะพยายามผลิ ตผลงานที่ ดี เต็มไปด้ว ยผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงของตนเอง


93

10. การสอนผ่านเว็บ เปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้อย่าง สะดวกสบาย เนื่องจากข้อมูลบรนเว็บมีลักษณะเป็นไดนามิก (Dynamic) ดังนั้นผู้สอนสามารถ ปรับเปลี่ยน เนื้อหาที่ทันสมัยแก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง กับเนื้อหา ทาให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียนการสอนแบบเดิม 11. การสอนผ่านเว็บสามารถนาเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพ 3 มิติ โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบของการนาเสนอเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน ปารณีย์ คุณเศษ และคณะ (2556) ได้กล่าวถึงข้อจากัดของการเรียนการสอนผ่านเว็บมีหลายประการ ประกอบด้วย ข้อจากัดของการเรียนการสอนผ่านเว็บ 1. ในประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ 2. ปัญหาและอุปสรรคในด้านภาษา เนื่องจากข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เรียนไม่ค่อยถนัดในการใช้ภาษอังกฤษ ซึ่งประสิทธิภาพการเรียนทั้งหมดอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสาคัญ 3. ในการประเมินผลการเรียนการสอนผ่านเว็บอาจเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น เนื่องจากผลงานที่ผู้เรียน ทาอาจไม่ใช่ผลงานที่แท้จริง 4. ผู้ใช้ยังขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย จึงทาให้ไม่ค่อยอยากใช้และไม่สนใจที่ จะเรียนรูปแบบนี้ 5. การสอนผ่านเว็บไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนการสอนของสังคมไทยซึ่งเน้นการ ถ่ายทอดความรู้จากครู - อาจารย์เป็นหลัก 6. ขาดการสนับสนุนและปฏิรูปการจัดการศึกษาจากผู้บริหารในทุกระดับซึ่งไม่มีความเข้าใจใน เทคโนโลยีสารสนเทศ

4.2 เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) 4.2.1 ประวัติความเป็นมา เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ได้ถูกค้นพบเมื่อปี 1950 โดยมอร์ตัน Heilig ในขณะที่ถ่ายทาภาพยนตร์ โดยเขามีความคิดที่จะให้ผู้ชมได้มีความรู้สึกถึงความมีส่วนร่วมโดยเพิ่มศักยภาพ ของภาพยนตร์เข้าไป ต่อมาในปีค.ศ. 1962, Heilig ได้สร้างภาพต้นแบบที่แสดงถึงวิสัยทัศน์ของเขาขึ้น มา จนกระทั่งปี ค.ศ. 1955 เขาได้อธิบายไว้ใน"ภาพยนตร์ของอนาคต" ชื่อ Sensorama ต่อมาในปี 1966 Ivan Sutherland ได้คิดค้นเครื่องสวมหัวขึ้น ในปี 1968, ซัทเป็นคนแรกที่จะสร้างระบบความเป็นจริงเสริม โดยการ ใช้เครื่องครอบศีรษะ ต่อมาในปี 1975, ไมรอน ครูเกอร์ สร้าง Videoplace ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับ วั ต ถุ เ สมื อ นจริ ง ได้ เ ป็ น ครั้ ง แรกและต่ อ มา Tom Caudell และ David Mizell จาก Boeing coin ได้ ใ ช้ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ช่วยคนงานประกอบสายไฟและสายเคเบิลสาหรับเครื่องบินได้สาเร็จ


94

ภาพที่ 4.11 เครื่องสวมหัวที่ประดิษฐ์โดย Ivan Sutherland ที่มา: http://www.nakrin.com/mayar/augmented-reality-and-google-glass/ ปี 1997 เริ่มมีการนา Concept ของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาใช้ในภาพยนตร์เรื่อง Star War ภาคแรก โดยในเรื่องมีการออกแบบ หมวกของนักบินให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงข้อมูล ดิจิตอล เช่น ตาแหน่งของเครื่องบินฝั่งตรงข้ามและข้อมูลวิเคราะห์อื่น ๆ มาแสดงบนอุปกรณ์ในระดับสายตา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจแบบทันที

ภาพที่ 4.12 ภาพประกอบภาพยนตร์เรื่อง Star War I ที่มา: http://www.nakrin.com/mayar/augmented-reality-and-google-glass/


95

พวกเขาก็เริ่มมีการพูดถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างความเป็นจริงเสริมสองตัวคือ Augmented Reality (AR) กับ Virtual Reality (VR) ข้อดีของความเป็นจริงเสริม (AR) เมื่อเทียบกับความเป็นจริงเสมือน (VR) เช่น ต้องใช้พลังงานน้อยลง พิกเซลของกราฟิกก็มีความจาเป็นน้อยลง ในปีเดียวกันนี้เอง L.B Rosenberg ได้พัฒนา ระบบการทางานของออคเมนเต็ดเรี ย ลลิ ตี้ เรี ยกว่า Virtual Fixtures และแสดงให้ เห็ นถึง ประโยชน์ แ ละ ประสิ ท ธิ ภ าพที่ มี ต่ อ การท างานของมนุ ษ ย์ ในขณะที่ Steven Feiner, Blair MacIntyre และ Doree Seligmann ได้นาเสนอการทางานของความเป็นจริงเสริมบนกระดาษชิ้นแรกที่เรียกว่า KARMA ในปี 1997 Ronald Azuma ได้เขียนอธิบายการทางานของความเป็นจริงเสริมและคาจากัดความไว้ว่าความเป็นจริงเสริม เป็นการรวมสภาพแวดล้อมจริงและสภาพแวดล้อมเสมือนในรูปแบบ 3 มิติและการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ 4.2.2 ความหมายของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) หรือจะเรียกง่ายๆว่า AR ได้มีนักการศึกษา หลายท่านได้ให้ความหมายของ AR ไว้ อาทิ รั กษพล ธนานุ ว งศ์. (2523) กล่ าวว่า เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริ ม (Augmented Reality: AR) เป็นเทคโนโลยีที่ผสมโลกของความจริง (Real World) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual World) โดยใช้วิธีซ้อนภาพ สามมิติที่อยู่ในโลกเสมือน ไปอยู่บนภาพที่เห็นจริง ๆ ในโลกของความเป็นจริง ผ่านกล้องดิจิตอลของแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ และให้ผลการแสดงภาพ ณ เวลาจริง (Real Time) ซึ่งในอนาคตอันใกล้ AR ก าลั ง จะเข้ า มามี บ ทบาทมากขึ้ น ในชีวิต ประจ าวัน ของสั ง คมที่ จ ะเต็ มไปด้ ว ย สมาร์ ท โฟน แท็ บ เล็ ต และ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศเช่น Google Glass พนิดา ตันสิริ. (2553) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) เป็นประเภทหนึ่ง ของเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่มีการนาระบบความจริงเสมือนมาผนวกกับเทคโนโลยีภาพเพื่อสร้างสิ่งที่ เสมือนจริงให้กับผู้ใช้แบบเฟรมต่อเฟรม ด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก Softengthai. (2014.) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ ผ สานเอาโลกแห่ ง ความเป็ น จริ ง (Real) เข้ า กั บ โลกเสมื อ น (Virtual) ซึ่ ง จะท าให้ ภ าพที่ เ ห็ น ในจอภาพ กลายเป็นวัตถุ 3 มิติลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง Ronald Azuma. (1997) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) เป็นการรวมเอา ความจริงและความเสมือนเข้าด้วยกัน (real+virtual) มีการปฏิสัมพันธ์ในเวลาจริง (real time) และเป็นการ ทางานด้วยระบบ 3D Paul Milgram and others. (1994) เทคโนโลยี ค วามเป็ น จริ ง เสริม (Augmented Reality: AR) เป็นความต่อเนื่องของการขยายสภาพความจริงไปสู่สภาพเสมือนหรือเป็นความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่าง สภาพแวดลอมที่เป็นจริงและสภาพแวดลอมทีเสมือน อย่างไรก็ตามความหมายของ AR ยังไม่มีการนิยามที่ แจมชัดแม้ว่าเป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวางก็ตาม โดยสรุ ป แล้ ว เทคโนโลยี ความเป็ นจริงเสริ ม (Augmented Reality: AR) หมายถึงการผสมผสาน ระหว่างโลกเสมือนจริง (Virtual World) เข้ากับโลกของความจริง (Real World) โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อ


96

ประเภทต่าง ๆ อาทิ กล้องดิจิตอลของแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ผู้ดูเห็นภาพเสมือนอยู่ใน สถานการณ์นั้นจริง ๆ 4.2.3 แนวคิดหลักของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แนวคิดหลักของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) คือ การพัฒนาเทคโนโลยี ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ เช่ น เว็ บ แคม คอมพิ ว เตอร์ หรื อ อุ ป กรณ์ อื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ซึ่ ง ภาพเสมื อ นจริ ง นั้ น จะแสดงผลผ่ า นหน้ า จอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ บนเครื่องฉายภาพ หรือบนอุปกรณ์แสดงผลอื่น ๆ โดยภาพเสมือนจริง ที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ทันที ทั้งในลักษณะที่เป็นภาพนิ่งสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็น สื่อที่มีเสียงประกอบ ขึ้นกับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าให้ออกมาแบบใด โดยกระบวนการภายในของ เทคโนโลยีเสมือนจริงประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้ว สื บ ค้ น จากฐานข้ อ มู ล (Marker Database) ที่ มี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล ขนาดและรู ป แบบของ Marker เพื่ อ น ามา วิเคราะห์รูปแบบของ Marker 2. การคานวณค่าตาแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Marker เทียบกับกล้อง 3. กระบวนการสร้างภาพสองมิติ จากโมเดลสามมิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปใน ภาพ โดยใช้ค่าตาแหน่งเชิง 3 มิติ ที่คานวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง ดังแสดงในภาพ

วิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) ฐานข้อมูล Maker (Marker Database)

คานวณตาแหน่งเชิงสามมิติ (Pose Estimation) สร้างภาพจากโมเดลสามมิติ (3D Rendering)

ฐานข้อมูลสามมิติ (3D Model Database)

ภาพที่ 4.13 แสดงกระบวนการทางานของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR)


97

4.2.4 ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการทางาน ฮาร์ดแวร์ที่สาคัญสาหรับการสร้างงานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ไดแก 1. สวนแสดงผล (display) สวนแสดงผลที่ใชสาหรับการทางานของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ไดแก 1.1 ชุดสวมศีรษะ (HMD: Head Mounted Display)

ภาพที่ 4.14 แสดงกระบวนการทางานของชุดสวมศีรษะ (HMD: Head Mounted Display) ที่มา: http://www.gamesdotanews.com/2014/04/sony-head-mounted-display-for-realgamer.html 1.2 การแสดงบนมือถือหรืออุปกรณ์พกพา (HD : Handheld Display)

ภาพที่ 4.15 แสดงกระบวนการทางานของมือถือหรืออุปกรณ์พกพา (HD : Handheld Display) ที่มา: http://www.medgadget.com/2009/12/plexiglass_helps_make_a_smart_radiography_imaging_s ystem.html


98

2. การแสดงบนจอดิจิตัล (SAR: Spatial Augmented Reality)

ภาพที่ 4.16 การแสดงภาพบนจอดิจิทอล (SAR: Spatial Augmented Reality) ที่มา: http://wearables.unisa.edu.au/publications/ 3. กลองถ่าย (tracking) ในการทางานของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ใชกลองดิจิทลั และ/หรือ ตัวจับภาพ GPS หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เชน อุปกรณ์ไรสายทั้งนี้เทคโนโลยีแต่ละอย่างทาหน้าที่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อเสริม AR ใหมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4. อุปกรณ์ป้อนเข้า (input devices) ใช้ 3D ในการจัดภาพ 5. คอมพิวเตอร์ (Computer) 6. แผนที่นาทาง GPS และเข็มทิศ 4.2.5 เทคโนโลยีความจริงเสริมกับการจัดการเรียนการสอน 1. เทคโนโลยีความจริงเสริมมีการนาเนื้อหาที่หลากหลายเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน ดังนั้นผู้เรียน จะเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลายในการเรียนรู้ โดยที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อีกจานวนมาก 2. ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนได้ การที่ผู้สอนนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริมมาใช้ใน การเรียนการสอนจะทาให้ผู้เรียนสามารถควบคุมเนื้อหาการเรียนได้ตามศักยภาพของตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ ตามความแตกต่างของผู้เรียน (Individual Difference) 3. มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทาให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน 4. ในสภาวะการของการทดลองบางครั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เรียนได้ การนาเทคโนโลยีความ เป็นจริงเสริมเข้ามาใช้จะทาให้การทดลองในบางกิจกรรมมีความปลอดภัยมากขึ้น 5. ขยายโอกาสให้ผู้เรียนสารวจสถานที่ที่ไม่สามารถท่องไปได้ในความเป็นจริง เช่น อวกาศหรือภายใน ภูเขาไฟที่กาลังระเบิด 6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทาการทดลองในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสถานการณ์จาลอง


99

4.2.6 ข้อดี-ข้อจากัดของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับการจัดการเรียนการสอน ข้อดีของการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับการเรียนการสอน 1. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน 2. สามารถจุดประกายการเรียนรู้และต่อยอดการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 3. สามารถแสดงเนื้อหาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้อย่างง่ายดาย 4. ผู้สอนสามารถสร้างนวัตกรรมการเรียนที่ตอบสนองผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้หลากหลาย ข้อจากัดของการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับการเรียนการสอน 1. ผู้สอนอาจรู้สึกยุ่งยากในการเรียนรู้กระบวนการสร้างนวัตกรรม 2. ความพร้อมของเครื่องมืออาจมีไม่เพียงพอต่อจานวนผู้เรียน 3. อาจจาเป็นต้องอาศัยสัญญาณเครือข่ายในการทางาน

4.3 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) แหล่งการเรียนรู้ที่จัดทาขึ้นในลักษณะพิเศษเฉพาะที่แตกต่าง จากห้องเรียนโดยทั่วไป เพื่อใช้สาหรับการเสริมสร้างประสบการณ์ทางการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้ง การฝึกทักษะ ความรู้ในด้านต่าง ๆ โดยมีจุดเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันจากเทคโนโลยีที่ หลากหลายทั้งสื่อในระบบภาพและเสียง ก่อให้เกิดการเรียนทั้งในระบบชั้นเรียนปกติและนอกชั้นเรี ยนในการ เรียนแบบทางไกลที่มีประสิทธิภาพ 4.3.1 ความหมายของห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) O’Driscoll. 2009 (อ้างถึงใน สุวิทย์ บึงบัว. มปป.) กล่าวว่า ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) เป็นห้องจาลองทางปัญญาในการปรับประยุกต์รูปแบบการใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์และแหล่ง ทรัพยากรทางการเรียนที่จะนาไปสู่การปรับใช้กับกลุ่มผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายที่กาหนด ทั้งกับการเรียนและ การสอน Samsung Smart Classroom (2013 อ้างถึงใน สุวิทย์ บึงบัว. มปป.) บริษัท Samsung ซึ่งเป็นบริษัท ยักษ์ใหญ่แห่ง วงการอุตสาหกรรมทางเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารแห่งเกาหลีใต้ได้จัดทา โครงการห้องเรียนอัจฉริยะขึ้น โดยกาหนดนิยามความหมายไว้ใน 2 ลักษณะคือ 1. เป็นห้องเรียนเชิงปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนการสอน (Interactive Teaching) จะช่วยเสริมสร้าง ปฏิ สั ม พั น ธ์ ใ นห้ อ งเรี ย นจากการใช้ สื่ อ อุ ป กรณ์ ป ระเภทจอปฏิ สั ม พั น ธ์ ( Interactive Screen) เพื่ อ การ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการเรียนร่วมกัน นิเทศติดตามการจัดกิจกรรมกลุ่ม การสอบถาม หรือการจัด ทาประชามติ เป็นต้น


100

2. เป็นแหล่งบริหารจัดการทางการเรียน (Learning Management) ห้องดังกล่าวจะเป็นศู นย์สื่ อ อุปกรณ์ประกอบหลักสูตรการเรียน การบริหารจัดการและการวางแผนการเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยั ง ได้ มี ก ารนิ ย ามความหมายของรู ป แบบการจั ด ท าห้ อ งเรี ย นในเชิ ง อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (Electronic Classrooms) หรือห้องเรียนอัจฉริยะที่สาคัญและมีความหมายที่เกี่ยวข้องกันในหลากหลายชื่อ ดังต่อไปนี้ 2.1 Presentation Classroom เป็ นห้ องที่ถูกจัดเตรียมสื่ อไว้เฉพาะเพื่อการนาเสนอข้อมูล ซึ่งจะ ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) แบบตั้งโต๊ะ (Laptop Connection) เครื่อง VCR เครื่ อ ง DVD หรื อ กล้ อ งถ่ า ยภาพ (Camera) เป็ น ห้ อ งส าหรั บ การน าเสนอของผู้ ส อนเท่ า นั้ น จะไม่ มี คอมพิวเตอร์สาหรับผู้เรียนหรือผู้ใช้ทั่วไป 2.2 Collaborative Classroom ลักษณะคล้ายกับห้องเรียนแบบ Presentation Classroom เพียง ว่าในห้องจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์สาหรับผู้เรียนทุกคนที่เข้ามาใช้ อาจมีเงื่อนไขการใช้ที่แตกต่างกันไป เช่น มีคอมพิวเตอร์แบบ 1:1 หรือ 4:1 ขึ้นอยู่กับสภาพห้องและขนาดของห้องเรียน 2.3 Laptop and Laptop / Seminar Classroom เป็ น ห้ อ งที่ มี สื่ อ เทคโนโลยี อุ ป กรณ์ สื่ อ สาร ครบถ้วนเหมือนแบบ Presentation Classroom และ Collaborative Classroom มีสื่อคอมพิวเตอร์แบบ ตั้งโต๊ะสาหรับผู้ใช้หรือผู้เรียนครบทุกคนซึ่งจะถูกเชื่อมโยงโปรแกรมการใช้งานไปสู่ผู้เรียนรายบุคคลในการจัด กิจกรรมการเรียน หรือการจัดอบรมสัมมนา 2.4 Special Configuration เป็ น ลั ก ษณะของห้ อ งเรี ย นเฉพาะกิ จ ที่ มี ค วา มแตกต่ า ง หรื อ มีคุณลักษณะเฉพาะสาหรับการใช้งาน ซึ่งนอกเหนือจากจะมีสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีการสื่อสารที่ครบพร้อมแล้ว อาจจัดเตรียมสื่อประกอบอื่น ๆ เข้ามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งาน จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า Smart Classroom หมายถึง ห้องเรียน หรือแหล่งการเรียนรู้ที่จัดทาขึ้นใน ลักษณะพิเศษเฉพาะที่แตกต่างจากห้องเรียนโดยทั่วไป เพื่อใช้สาหรับการเสริมสร้างประสบการณ์ทางการเรียน การสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการฝึกทักษะ ความรู้ ในด้านต่าง ๆ โดยมีจุดเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการ เรียนร่วมกันจากเทคโนโลยี ที่หลากหลายทั้งสื่อในระบบภาพและเสียงก่อให้เกิดการเรียนทั้งในระบบชั้นเรียน ปกติและนอกชั้นเรียนในการเรียนแบบทางไกลที่มีประสิทธิภาพ 4.3.2 องค์ประกอบของห้องเรียนอัจฉริยะ ห้องเรียนอัจฉริยะถือว่าเป็นรูปแบบห้องเรียนที่ตอบสนองการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้กับทั้ง ผู้สอนและผู้เรียน โดยภายในห้องเรียนประกอบด้วยอุปกรณ์อานวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน ต่าง ๆ ซึ่งสามารถแยกองค์ประกอบของห้องเรียนอัจฉริยะได้เป็นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) พีเพิลแวร์ (People ware) และ Networking


101

ภาพที่ 4.17 บรรยากาศห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มา: http://pajaree2125.blogspot.com/2014/09/21.html 1. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) จัดว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอานวยความสะดวกในการจัดการเรียน การสอนที่ใช้ในห้องเรียนอัจฉริยะ ได้แก่ 1.1 คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Personal Computer)

ภาพที่ 4.18 คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Personal Computer) ที่มา: http://www.becomegeek.com/accelerare-larresto-del-pc-769.html


102

1.2 คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook)

ภาพที่ 4.19 คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) ที่มา: http://infosumberglobaltechnologi.web.id/?page_id=24 1.3 เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ (LCD Projector)

ภาพที่ 4.20 เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ (LCD Projector) ที่มา: http://www.necdisplay.com/p/multimedia-projectors/np-ve303x 1.4 กระดานอัจฉริยะ (Interactive Board)

ภาพที่ 4.21 กระดานอัจฉริยะ (Interactive Board) ที่มา: http://www.sbi-bd.com/?p=437


103

1.5 แท็บเล็ต (Tablet)

ภาพที่ 4.22 แท็บเล็ต (Tablet) ที่มา: http://www.pcadvisor.co.uk/feature/tablets/best-tablets-of-2012-3416876/ 1.6 สมาร์ทโฟน (Smartphone)

ภาพที่ 4.23 สมาร์ทโฟน (Smartphone) ที่มา: https://tdo2029.wordpress.com/ 1.7 เครื่องขยายเสียง (Stereo)

ภาพที่ 4.24 เครื่องขยายเสียง (Stereo) ที่มา: http://www.projectorthailand.com/projector_Web/sound.html


104

1.8 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต

ภาพที่ 4.25 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต ที่มา: http://nisachon123.blogspot.com/2013/01/blog-post_29.html นอกเหนือจากอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกมากมายที่ใช้ในการบริดหารจัดการในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการห้องเรียนมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น 2. ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคาสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิว เตอร์ ทางาน ซึ่งเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สาหรับเครื่อง คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 1. Operating Software เป็นระบบปฏิบัติการเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อโปรแกรมต่าง ๆ ให้สามารถใช้ งานร่วมกันได้ ในโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนิยมใช้มากที่สุด 4 ระบบ ได้แก่ Microsoft windows, Android, Linux และ iOs 2. Utility Software เป็นโปรแกรมสาเร็จรูปสาหรับใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ แต่ละโปรแกรมจะ มีความสามารถเฉพาะ มีทั้งแบบที่สามารถใช้งานร่วมกันได้และแบบทางานเฉพาะตัวเอง เช่น โปรแกรมที่ติดตั้ง มาพร้อมกับ Interactive Board มีหน้าที่ควบคุม สั่งการฟังก์ชันต่าง ๆ ให้ผู้ใช้สามารถทางานกับกระดานได้ แบบมีปฏิสัมพันธ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ PC หรือ โน้ตบุ๊ก ทาหน้าที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทางานตามความ ต้องการ และเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ภายในห้อง Smart Classroom ทางานร่วมกันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีโปรแกรมควบคุมชั้นเรียน (LMS) ที่หลากหลายให้โรงเรียนเลือกใช้ตามความ เหมาะสมกับบริบทของตนเอง


105

3. Specifically Software เป็ น โปรแกรมที่พัฒ นาขึ้นมาเฉพาะด้าน อาจสร้างขึ้นจากภาษาเขี ย น คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมสาเร็จรูปก็ได้ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอน Application ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับแท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ สารสนเทศเพื่อการเรียนการ สอนสาหรับ Smart Phone หรือโปรแกรมพิเศษแบบต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับ Smart Classroom 3. People ware People ware หมายถึง บุคคลต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Smart Classroom จาแนกตามหน้าที่ ดังนี้ 1. Admin หรือผู้ดูแลระบบนับเป็นบุคคลแรกที่เกี่ยวข้องกับ Smart Classroom เพราะ Admin เป็น ผู้จัดระบบทั้งหมดในการใช้งาน หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ Hardware ทั้งหมด การ Setup นี้จะเกี่ยวข้องกับ การติดตั้ง Software ต่าง ๆ ให้ใช้งานได้รวมทั้ง Setup ระบบเน็ตเวิร์ค ให้สัมพันธ์กับ Software โดยปกติแล้ว Software จะมีทั้งระบบ Stand Alone และ Could Computing เมื่อ Admin จัดการระบบต่าง ๆ เรียบร้อย แล้วห้อง Smart Classroom ก็พร้อมสาหรับการใช้งาน แต่หน้าที่ของ Admin ยังคงต้องเป็นผู้ตรวจสอบความ เรียบร้อยเป็นระยะ เพื่อให้ห้อง Smart Classroom สามารถใช้งานได้ตามปกติ 2. ครูผู้สอนเป็น Key person สาคัญที่จะนาพาองค์ความรู้ต่าง ๆ ส่งไปถึงนักเรียนเพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ดังนั้นครูผู้สอนจาเป็นต้องมีความสามารถพื้นฐานในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Smart Classroom และมีความสามรถในการประยุคใช้ Hardware และ Software ร่วมกับวิธีสอนปกติ การปรับวิธีการเรียนเปลี่ยนการสอนดังกล่าว จาเป็นต้องใช้เวลาพอสมควรตามความสามารถด้าน ICT ของแต่ ละบุคคล อย่างไรก็ตามด้วยวิทยาการก้าวหน้าไปมาก อุปกรณ์ต่าง ๆ ของ Hardware และ Software สามารถ ใช้งาน Friendly สาหรับครูผู้สอน หากครูผู้สอนมีความเข้าใจและมีความรู้ถึงข้อจากัด ข้อเด่นของอุปกรณ์ ต่าง ๆ แล้วจะสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. Instructor Design หรือนักออกแบบการสอน มีหน้าที่สนับสนุนการสอนของครู โดยวางแผนการ สอนร่วมกัน ทั้งนี้ในแต่ละวิชาสามารถออกแบบการสอนได้หลากหลายวิธี ใช้สื่อการสอนได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ ต้องร่วมกันวิเคราะห์ถึงข้อจากัดต่าง ๆ ในโรงเรียนหรือการออกแบบที่เหมาะสม เช่น ปริมาณและจานวนของ สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ หากจะจัดหาหรือพัฒนาเพิ่มเติมต้องใช้เวลา งบประมาณเท่าใด โรงเรียนสนับสนุนเพิ่มเติมได้ หรือไม่ หากมีเพียงพอสามารถสืบค้นจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ฟรีได้หรือไม่ นอกจากนี้นักออกแบบการสอนยังต้อง มีหน้าที่ให้คาปรึกษากับครูผู้สอนเกี่ยวกับการนาห้องเรียนอัจฉริยะไปใช้ในการสอน เพราะว่าครูผู้สอนส่วนมาก มีความรู้ในศาสตร์ของตนเองเท่านั้น เช่น ครูสอนวิชาฟิสิกส์อาจจะมาปรึกษานักออกแบบเกี่ยวกับการสอน อย่ างไรจึ งจะท าให้ นั กเรี ย นสนใจและเข้า ใจเนื้ อหาที่ เป็น นามธรรมได้ นักออกแบบการสอนต้ อ งแนะน า Software ที่เหมาะสมสาหรับครูผู้สอน รวมทั้งเตรียมเนื้อหาที่เป็นสื่อดิจิทอลที่มีอยู่ในโรงเรียน หากไม่มีต้อง สืบหาแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ มาจัดเตรียมให้ บางครั้งต้องลงมือผลิตเอง หากมีขายในท้องตลาดต้องหาวิธีจัดซื้อมา ให้ รวมทั้งหาตัว อย่ างวิธีการสอนของโรงเรียนอื่น ๆ มาเป็นตัว อย่างให้ กับครูผู้ ส อน ขณะทาการสอนใน ระยะแรก ๆ ช่ ว ยเป็ น พี่เลี้ ย งประเมิน การใช้ของครูผู้ ส อน เพื่อพัฒ นาจนครูผู้ ส อนสามารถประยุ กต์ ใ ช้ ใ น


106

ห้ องเรี ย นอัจ ฉริ ยะจนเป็ น ทักษะที่ช านาญ หน้าที่ส าคัญอีกประการหนึ่งของผู้ออกแบบการสอน ต้องช่วย ครูผู้สอนในการที่จะแก้ปัญหาด้านการเรียน เพราะการใช้ ห้องเรียนอัจฉริยะไม่ใช่จะมีผลดีทั้ งหมด อาจเกิด ปัญหากับนักเรียนบางคนที่เรียนแล้วไม่เข้าใจ ผลสัมฤทธิ์ต่ากว่าเดิม หรืออาจเกิดปัญหานักเรียนติด Social Media ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งผลให้นักเรียนหมกมุ่นและเกิดปัญหาสุขภาพทาง ร่างกาย เช่น ปวดตา นิ้วล็อค หรือปัญหาอื่น ๆ นั กออกแบบการสอนอาจนาวิธีการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้จึงจะ สามารถแก้ปัญหาร่วมกับครูผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ผู้อานวยการโรงเรียนเป็นผู้อานวยความสะดวก บริหาร ช่วยเหลือ สนับสนุนครูผู้สอนให้ดาเนิน กิจกรรมการเรี ยนการสอนเป็น ไปอย่ างมีป ระสิทธิภ าพ ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Hardware และ Software ของห้องเรียนอัจฉริยะในระดับเบื้องต้น รวมทั้งให้ขวัญและกาลังใจในการทางานและช่วยแก้ปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย คือ ค่าใช้จ่ายที่ตามมา เช่น ค่า ไฟฟ้าที่เกิดจากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ ค่าความเสี่ยงของอุปกรณ์ การเปลี่ยนอะไหล่ตาม อายุการใช้งาน การจัดหา พัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งจาเป็นต้องใช้งบประมาณจานวนมาก ผู้บริหาร โรงเรียนจึงต้องมีความสามารถจัดแหล่งเงินทุนมารองรับงบประมาณที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังต้องเตรียมบุคลากร ด้าน Admin และ Instructor Design ให้พร้อมหากมีการโยกย้ายหรือเปลี่ยนแปลงบุคลากร ซึ่งเป็นสาคัญที่จะ สอดรับการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ 5. เจ้าหน้าประจาห้อง มีหน้าที่จัดตารางการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะตามรายวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนได้ นัดหมาย การใช้ห้องเรียนอัจฉริยะไม่จาเป็นต้องใช้ในการเรียนทุกวิชา ทุกชั่วโมง แต่ทุกวิชาสามารถประยุกต์ใช้ ห้องเรียนอัจฉริยะในการเรียนการสอนได้ การที่โรงเรียนใดจะมีห้องเรียนอัจฉริยะหลายห้อง จะต้องคานึงถึง งบประมาณ บุคลากร อาคาร สถานที่ เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนตนเอง ดั งนั้นจึงไม่มีทางเป็นไปได้ว่า ทุกชั้นเรียนทุกวิชาจะต้องใช้ห้องเรียนอัจฉริยะตลอดเวลา เจ้าหน้าที่ประจาห้องจึงมีหน้าที่ตรวจสอบความ พร้อมของห้องให้สมบูรณ์ตลอดเวลา หากมีปัญหาด้าน Hardware และ Software ใด ๆ ต้องแจ้งผู้ดูแลให้มา แก้ไข ตรวจสอบความพร้อมในภาพรวม หากมีความผิดปกติใด ๆ ต้องแจ้งผู้อานวยการโรงเรียนให้ทราบทันที 6. ผู้ดูแลความสะอาดห้องเรียนอัจฉริยะจาเป็นต้องได้รับการดูแลมากกว่าห้องเรียนปกติ เพราะภายใน ห้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลาย หากไม่ทาความสะอาดสม่าเสมอจะทาให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานได้ไม่ เต็มประสิทธิภาพและหมดอายุการใช้งานเร็วกว่าปกติ ผู้ดูแลและทาความสะอาดห้องจึงต้องทาความสะอาด ห้องทุกวันและถูกวิธี หากเป็นห้องเรียนปกติการปัดกวาดเช็ด ถู นับว่าเป็นเรื่องปกติ แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีวิธีทาความสะอาดที่แตกต่างออกไป เช่น ต้องใช้ผ้าแห้งสะอาดหรือใช้น้ายาเฉพาะอุปกรณ์ ผู้ทาความ สะอาดต้องมีความรู้ ความเข้าใจ จึงจะสามารถทาความสะอาดได้อย่างถูกวิธี 4. Networking Networking หมายถึง ระบบเครือข่ายที่จัดเตรียมไว้เพื่อใช้งานร่วมกับห้องเรียนอัจฉริยะในชั้นเรียน ทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ ระบบอินทราเน็ต และระบบอินเทอร์เน็ ต หรือในบางโรงเรียนอาจจะไม่ต้องใช้ระบบ เครือข่ายก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของครูผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องว่ามีปัจจัยสนับสนุนเพียงพอหรือไม่


107

หากจะใช้งานห้องเรียนอัจฉริยะให้เกิดประโยชน์สูงสุดจาเป็นต้องมีการเชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพราะมี แหล่ งเรี ย นรู้ มากมายในโลกไซเบอร์ ที่ ไม่ ไ ด้จ ากัด ในห้ อ งเรีย น การเรียนการสอนตามหลั ก การ Anytime Anywhere หรือการเรียนแบบ On demand การควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จาเป็นต้องใช้ระบบ เครือข่ายทั้งสิ้น ระบบอินทราเน็ตมีความแตกต่างจากอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว คือ สามารถใช้ง านเฉพาะ กลุ่มภายในโรงเรียน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ภายนอกได้ ดังนั้น เมื่อนักเรียนกลับบ้านก็ไม่สามารถ เข้ามาใช้งานจากแหล่งข้อมูลในโรงเรียนได้ ถึงแม้จะมีอุปกรณ์ประเภท Device ที่ดีเพียงใดก็ตาม เพราะถูก จากัดด้วยระบบปิด ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 รู ป แบบ คื อ แบบ Lead line, Adsl, Satellite ทั้ ง 3 รู ป แบบนี้ มี ค วามสามารถในการใช้ ง านต่ า งกั น กล่าวคือ แบบ Lead line สามารถใช้งานได้ดีที่สุด เพราะใช้สายไฟเบอร์ออฟติค แต่มีข้อจากัดที่ค่าใช้จ่ายราคา แพง และจาเป็นต้องมีคู่สายเข้าถึงโรงเรียน โดยการเดินสายนี้จะเชื่อมโยงสายไปถึงเฉพาะบางแห่งอิงตามการ เข้าถึงของเสาไฟฟ้า ส่วนแบบ Adsl สามารถใช้งานได้ดีรองลงมา แต่สัญญาณอินเทอร์เน็ตจะมีความเร็ว ต่า กว่า มีข้อดีกว่า Lead line สามารถเชื่อมโยงได้ไกลกว่าเพราะใช้การเชื่อมโยงจากสายโทรศัพท์ จึงมีระยะการ เข้าถึงได้ไกลกว่า และในแบบ Satellite จะมีความเร็วของสัญญาณต่าที่สุด สามารถเข้าถึงได้ทุกแห่งเพราะใช้ สัญญาณดาวเทียม ด้วยข้อจากัดของสัญญาณอินเทอร์เน็ตต่าจึงทาให้การเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะ ใน สถานการณ์จริงไม่สามารถใช้งานได้ การออกแบบห้องจึงต้องแตกต่างกันออกไป วัตถุประสงค์การใช้งาน แต่ ละโรงเรียนจึงต่างกันไปด้วย 4.3.3 รูปแบบของห้องเรียนอัจฉริยะ 1. Single Classroom Architectures เป็นการออกแบบที่มีลั กษณะทางกายภาพที่จะเอื้อต่อการ สร้างประสบการณ์ให้ ผู้เรี ยนมีความสุ ขในการเรียนรู้ ช่วยยกระดับคุณภาพทางการเรียนรวมทั้งช่ว ยสร้ าง บรรยากาศทางการเรียนการสอนให้เกิดความสนุกสนานทั้งผู้เรียนกับผู้สอน เทคโนโลยีที่ใช้เป็นประเภทสื่อ มัลติมีเดียระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง เครื่องฉายและจอวีดิโอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ที่ใช้ใน การเรียนการสอนหรือการบรรยายของครูผู้สอน Teacher

Student 1

Student 2

Physical boundary

Student 3

ภาพที่ 4.26 Single Classroom Architectures ที่มา: http://www.prapariyat.com/_files_school/7066010401/news/7066010401_1_20150324145122.pdf


108

2. Scattered Classroom Architectures เป็นรูปแบบการกระจายความรู้ที่ยึดตามสภาพทางพื้นที่ ภูมิศาสตร์หรือที่อยู่อาศัยของผู้เรียนรายบุคคลที่แตกต่างกันเป็นประการสาคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วย ตนเองจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่นักเรียนมีอยู่ ครูและนักเรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ ทางการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเรียนผ่านห้องเรียนเสมือนด้วยระบบภาพและเสียง การเรียน รูปแบบนี้ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ทุกแห่ง โดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์ในชั้นเรียนอัจฉริยะด้วยระบบบังคับ สัญญาณทางไกล ( Remote Distance ) เพื่อที่จะเรียนในสิ่ งที่ต้องการโดยไม่จาเป็นต้องเรียนในชั้น เรี ยน เป็นการเรียนแบบ Cyber University

ภาพที่ 4.27 Scattered Classroom Architectures ที่มา: http://www.prapariyat.com/_files_school/7066010401/news/7066010401_1_20150324145122.pdf 3. Point-to-Point, Two – classes Architectures เป็นรูปแบบที่ ส ร้ างขึ้ นเพื่ อ การเชื่ อ มโยงการ เรียนระหว่างห้องเรียนหลัก (Local Classroom) ที่ครูและนักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน อัจฉริยะร่วมกันและในขณะเดียวกันก็ส่งผ่านหรือถ่ายทอดประสบการณ์ทางการเรียนผ่านไปยังห้ องเรียน ทางไกลอีกแห่งหนึ่ง (Remote Classroom) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์เดียวกันและเรียนร่วมกันเป็น รูปแบบห้องเรียนทางไกลที่นิยมกันในปัจจุบัน


109

Physical Classroom

Local Classroom

ภาพที่ 4.28 Point-to-Point , Two – classes Architectures ที่มา: http://www.prapariyat.com/_files_school/7066010401/news/7066010401_1_20150324145122.pdf 4. Multiple Classroom Architecture เป็นรูปแบบห้องเรียนอัจฉริยะที่สร้างขึ้นเพื่อสนองต่อการ แสวงหาแหล่งข้อมูลทางการเรียนที่มีอยู่มากมายในยุคปัจจุบัน เป็นลักษณะของห้องเรียนที่ผสมผสานการนา เสนอจากห้องเรียนหลักไปสู่แหล่งต่าง ๆ ที่หลากหลายแห่ง จากระบบเครือข่ายความเร็วสูงทางเว็บไซต์ หรือ อินเทอร์เน็ต กล่าวได้ว่า เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ที่เปิดหว้างในองค์ความรู้แพร่กระจายไปสู่ทั่วทุกมุมโลก

Local Classroom

Remote Classroom 1

Remote Classroom 3

Remote Classroom 2

ภาพที่ 4.29 Multiple Classroom Architecture ที่มา: http://www.prapariyat.com/_files_school/7066010401/news/7066010401_1_20150324145122.pdf


110

4.3.4 ความสาคัญและความจาเป็นที่มีต่อการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ นั กการศึกษาได้กล่ าวถึงความจ าเป็น ในการนาเอารูป แบบวิธีการของห้ องเรียนอัจ ฉริยะมาใช้ ใ น การศึกษาและการจัดการเรียนการสอนยุคปัจจุบัน ดังนี้ (O’Driscoll, 2009 อ้างอิงจาก สุรศักดิ์ ปานเฮ) 1. เป็นการใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีและการศึกษา (Technology and Education) การจัดการ เรียนการสอนในยุคใหม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบและกระบวนทัศน์ไปอย่างมากตามสภาพบริบทแวดล้อม ซึ่งการ เรี ย นในรู ป แบบดั้ ง เดิ ม ไม่ อ าจก้ าวทั น กั บ ความเปลี่ ยนแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ นจากอิ ท ธิพ ลความก้ าวหน้ า แห่ งโลก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาโดยรวม ดังนั้นการปรับกลยุทธ์ทางการเรียนการสอน โดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ จึงมีความสาคัญและจาเป็นในการนามาปรับและประยุกต์ใช้ตามสภาพการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป 2. เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการเรียน (Learning Paradigm Shift) ความสาคัญใน ประเด็นดังกล่าวนี้จะเป็นการปรับรูปแบบมุมมองของการจัดการศึกษาจากวิธีการแบบเดิมหรือแบบบรรยายไป เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ เป็นการสร้างรูปแบบทางการเรียน สาหรับผู้เรียนหรือสื่อการ เรียนที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งการปรับเปลี่ยนเป็นห้องเรียนอัจฉริยะจะส่งผลต่อการ ปรับใช้ในรูปแบบการเรียนต่อไปนี้ 2.1 การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) 2.2 การเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Instruction) 2.3 การเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project Based Instruction : PBI) 3. เพื่อจาแนกคัดกรองการใช้สื่อดิจิทัลระหว่างครูกับนักเรียน (Digital Divide between Educators and Students) ห้องเรียนอัจฉริยะจะถูกกาหนดบทบาทของการใช้สื่อของผู้ใช้ได้ชัดเจนสนองต่อทักษะความ สามารถของผู้ใช้สื่อประเภทดิจิ ทัลที่มีอยู่ซึ่งมีความแตกต่างกัน ในบางครั้งความแตกต่างเชิงทักษะความรู้ของ การใช้เทคโนโลยีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอนตามไปด้วย จาเป็น อย่างยิ่งที่ห้องเรียนอัจฉริยะจะเป็นแหล่งในการฝึกฝนทักษะให้เกิดความชานาญในการใช้สื่อเทคโนโลยีไปด้วย ในคราวเดียวกัน เพื่อให้เกิดบรรยากาศทางการเรียนรู้แบบ Edutainment ซึ่งมีลักษณะของการเรียนแบบผ่อน คลายไม่เคร่งเครียดมากจนเกินไป 4. เป็นการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Classroom Technologies) การจัดสร้างห้องเรียนอัจฉริยะเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ เป็นมิติสาคัญที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น โดย อิทธิพลของสื่อเทคโนโลยีซึ่งอาจประกอบไปด้วยสื่อหลักที่สาคัญเช่น 4.1 การใช้กระดานไฟฟ้าแบบปฏิสัมพันธ์ ( Interactive Whiteboard ) กระดานไฟฟ้าเชิง ปฏิสัมพันธ์หรือ Interactive Whiteboard เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการนาเสนอเนื้อหาสาระเหมือน กับการใช้สื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปซึ่งหน้าจอของกระดานไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะเป็นระบบ หน้าจอที่ไวต่อการสัมผัส (Touch Sensitive)


111

4.2 ระบบตอบสนองเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Response Systems) หรือเรียกระบบนี้ ว่า Voting Systems ซึ่งสนองตอบการลงมติรับรองผลของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ มักใช้ร่วมกับโทรศัพท์ แบบพกพา (Mobile Phones) รวมทั้งการส่ งผ่ านรหั ส ข้ อ ความบนมื อถื อ ที่เรี ยกว่ า SMS เหล่ านี้ เป็นต้น สภาพการณ์ดังกล่าวจะเป็นลักษณะของการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งผู้เรียนจะร่วมกัน เรียนรู้ในเนื้อหาสาระที่กาหนด 4.3 ระบบการจัดเก็บข้อมูลนาเสนอ (Captures Systems) เป็นห้องเรียนเทคโนโลยีที่สร้าง หรือจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเพื่อการนาเสนอในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในรูปแบบของสื่อภาพ และเสียง เหล่านี้เป็นต้น 4.4 เป็นห้องเรียนเพื่อการใช้เทคโนโลยีแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Classroom Technologies) เป็นห้องเรียนที่นาเสนอสื่อสาหรับช่วยเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีความ แตกต่างกัน เช่น การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนหรือการเรียนแบบยึดปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น 4.3.5 ประโยชน์ของห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) 1. ลดความเหลื่อมล้าทางการศึกษา เนื่องจากนักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล หรือแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 2. เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ทาให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้เกิดความร่วมมือระหว่างนักเรียน เช่น การแชร์ข้อมูลการทางานระหว่างเพื่อน ขณะเดียวกันนักเรียน สามารถนาเครื่องมือไปใช้งานนอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้เก็บข้อมูลจากสังคมภายนอกได้ ซึ่งจะไม่มีการจากัด การเรียนรู้แค่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3. ครูผู้สอนสามารถอัพโหลดเนื้อหา เช่น Powerpoint, Sheet, Test เป็นต้น ไว้บน Cloud Storage เพื่อให้นักเรียนสามารถดาวน์โหลดไปศึกษาได้ 4. อานวยความสะดวกแก่ผู้สอนในการสอน 5. นักเรียนให้ความสนใจเนื้อหาที่ครูสอนมากยิ่งขึ้น จุดเด่นที่กล่าวได้ว่าเป็นคุณลักษณะสาคัญของการเรียนการสอนโดย Smart Classroom คือ การ จัดสร้างระบบการมีส่วนร่วมทางการเรียน (Collaborative Learning) กล่าวว่า ลักษณะของการมีส่วนร่วม ทางการเรียนจากการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ จะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ดังนี้ 1. เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน (Sharing Knowledge) ประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นใน ชั้นเรียนเป็นปรากฏการณ์ระหว่างครูกับนักเรียนโดยการกาหนดและสร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ เพื่อความสามารถทางภาษา ความรู้และกิจกรรมการเรียนในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2. เกิดการแลกเปลี่ยนในเชิงทักษะความสามารถ (Sharing Ability) ซึ่งชั้นเรียนแบบร่วมมือจะทาให้ ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ ทักษะ ความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพตามระดับความสามารถของแต่ ละคน


112

3. เป็นการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ (Mediation) ในชั้นเรียนแบบร่วมมือครูจะเป็นผู้ที่มี บทบาทสาคัญในการสร้างสถานการณ์ทางการเรียนให้กับผู้เรียนให้เขาสามารถเกิดกระบวนการและทักษะใน การคิดวิเคราะห์ สามรรถที่จะเชื่อมโยงองค์ความรู้ได้อย่างบูรณาการ 4. สนองต่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน (Heterogeneity) ชั้นเรียนแบบร่วมมือจะเกิดการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการเรียนภายในกลุ่มร่วมกันจากหลากหลายประสบการณ์ ซึ่งจะสนองต่อความ แตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนแต่ละคนอีกด้วย

สรุป เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการจัดการศึกษาในทุกยุคสมัย การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมีบทบาท ให้การจัดการศึกษามีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีตามยุคสมัย ผู้สอนควรมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นใน การเรียนการสอนและช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้ ซึ่งเทคโนโลยีที่ได้มีการ นาเสนอมาในบทนี้ประกอบด้วย การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) เทคโนโลยีความ เป็นจริงเสริม (Augmented Reality) และห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)

แบบฝึกหัดท้ายบท 1. นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (1 คะแนน) 2. ให้นักศึกษายกตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนที่มีการนาเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ อธิบายวิธีการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ และ ผลที่เกิดจากการนาเทคโนโลยีมา ใช้กับผู้เรียนโดยละเอียด (3 คะแนน)

เอกสารอ้างอิง


113

กิดานันท์ มลิทอง. 2543. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ใจทิพย์ ณ สงขลา. 2542. การสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ. วารสารครุศาสตร์. ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 (มีนาคม 2542) : 18-28. ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-Learning : หลักการออกแบบและการสร้าง เว็บเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปารณีย์ คุณเศษ และคณะ. (2556) การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงการเรียนรู้ผ่านเว็บแบบบูรณาการ สาหรับนักศึกษาพิการในมหาวิทยาลัย. สานักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ปทีป เมธาคุณวุฒิ. 2540. ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนทางไกล โดยการใช้การเรียนการ สอนแบบเว็บเบสต์ : เอกสารประกอบการสอนวิชา 2710643 หลักสูตรและการเรียนการสอน ทางการอุดมศึกษา. ภาควิชาอุดมศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พนิดา ตันศิริ. (2553) โลกเสมือนผสานโลกจริง Augmented Reality. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/30_2/pdf/aw28.pdf. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559 รักษพล ธนานุวงศ์. (2553) สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality) เรื่อง การจมและการลอย. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://secondsci.ipst.ac.th/index.php?option =com_content&view=article&id=336:armedia&catid=19:2009-05-04-05-0156&Itemid=34. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557 รุ่งโรจน์ เจริญตัว. (2557) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเรียนการสอนแบบสืบเสาะ เรื่อง การใช้ โปรแกรม Photoshop สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญญบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2545). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ 2544 – 2553 ของประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ. สรรรัชต์ ห่อไพศาล. 2545. นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในสหัสวรรษ ใหม่กรณีการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI). (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http//ftp.spu.ac.th/hum111_files/body_files/wbi.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559 สุวิทย์ บึงบัว. มปป. เอกสารหลักสูตรอบรมแบบ e-Training หลักสูตรการบริหารจัดการห้องเรียน


114

อัจฉริยะ (Smart Classroom) (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.krukird.com/TEPE_58303.pdf. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559 สุรศักดิ์ ปาเฮ. Smart Classroom : ห้องเรียนอัจฉริยะ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.prapariyat.com/_files_school/7066010401/news/7066010401_1_20150324 -145122.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558 อุทิศ บารุงชีพ. 2551. รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บตามแนวคอนสตรัคชันนิซึมเพื่อพัฒนาความคิด สร้างสรรค์, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. อภิชาติ อนุกูลเวช. 2556. เอกสารประกอบการอบรมการผลิตสื่อดิจิทัลแบบเสมือนจริงโดยใช้ เทคโนโลยี AR บนสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ตด้วยโปรแกรม AURASMA. (ออนไลน์) เข้าถึงได้ จาก : http://www.uni.net.th/register_system/wunca/DocSys/upload/17/005 _BuildAR_2013_1.pdf อัจจิมา บารุงนา. 2557. การพัฒนาการสอนผผ่านเว็บด้วยการเรียนรู้แบบนาตนเอง วิชา คอมพิวเตอร์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี อโนชา อุทุมสกุลรัตน์. 2549. การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตรของ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษา โดยการเรียนการสอนผ่านเว็บ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Hannum, W. (19100). Web based instruction lessons. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.soe.unc.edu/edci111/8-100/index_wbi2.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559 Khan, Badrul H. 1997. Web-Based Instruction. Englewood Cliffs, New Jersey : Educational Technology Publications,. Lynch, P.J, and Horton, S. 1999. Web Style Guide: Basic Design Principles for Creating Web Sites. New Haven and London : Yale University Press. Milgram and A.F.Kishino. (1994) Taxonomy of Mixed Reality Virtual Displays IEICE Transactions on Information and Systems. E77-D (12), pp.1321-1329, Parson, R. 1997. An Investigation into Instruction Available on the World Wide Web. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.osie.on.ca/~rparson/outId.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559 Paul Milgram and others. (1994). Augmented Reality: A class of displays on the reality-


115

virtuality continuum SPIE Vol. 2351, Telemanipulator and Telepresence Technologies (1994) Ronald Azuma. (1997). A Survey of Augmented Reality. Teleoperators and Virtual Environments 6, 4 (August 1997), 355-385 Softengthai. (2014) Augmented Reality หรือ AR คืออะไร. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://lprusofteng.blogspot.com/2013/05/augmented-reality-ar.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559


116

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 5 หัวข้อเนื้อหา 1. แหล่งเรียนรู้

2. เครือข่ายการเรียนรู้

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อเรียนจบในบทที่ 5 แล้ว ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายความหมาย ประเภทของแหล่งการเรียนรู้ได้ 2. อธิบายความหมาย ลักษณะสาคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ได้


117

บทที่ 5 แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนนอกจากผู้สอนจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนและผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ในชั้นเรียนแล้ว การเรียนรู้นอกชั้นเรียนถือเป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นการ เรียนรู้ตลอดชีวิต พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 25 ได้กล่าวถึงแหล่งการเรียนรู้ไว้ว่า รัฐต้องส่งเสริมการดาเนิ นงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การ กีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่ งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ นอกจากการ จัดการเรียนการสอนภาในชั้นเรียนแล้ว ผู้สอนจาเป็นต้องสอนให้ผู้เรียนเกิดการแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งนั่นคือ “แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้” ในการเรียนการสอน

5.1 แหล่งเรียนรู้ 5.1.1 ความหมายของแหล่งเรียนรู้ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544) ได้ให้ความหมายของแหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่ง การเรียนรู้ ดาริ บุญชู (2548, หน้า 27) กล่าวว่า แหล่งเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ ทั้งหลายที่สามารถทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการได้คิดเอง ปฏิบัติเองและสร้างความรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยและต่อเนื่อง จนเกิดกระบวนการเรียนรู้และสุดท้ายก็จะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

แจ่มจันทร์ นิลพันธุ์ (2550, หน้า 99) กล่าวว่า แหล่งเรียนรู้หมายถึง แหล่งที่เป็นที่รวมของข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ สาหรับผู้เรียน และผู้สนใจใช้ในการแสวงหาความรู้ อาจจะมีอยู่ตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นก็ได้ สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547) ให้ความหมายของแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งวิทยาการว่า หมายถึง บุคคล สถานที่ ธรรมชาติ หน่วยงานองค์การ สถานประกอบการ ชุมชน และอื่น ๆ ที่มีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ทั้งที่เป็นธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ผู้สอน ผู้สนใจสามารถ ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) ได้สรุปความหมายของแหล่งเรียนรู้ว่า หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ ในสังคมรอบตัวเราทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น เป็นแหล่งความรู้ที่ ทาให้คนในสังคมเกิดการเรียนรู้ และเกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง


118

จากความหมายต่าง ๆ สรุ ป ได้ว่าแหล่ งเรียนรู้ หมายถึง แหล่ งต่าง ๆ ที่มีข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงบุคคล สิ่งของ สถานที่ สารสนเทศและเทคโนโลยีสาหรับใช้ในการแสวงหาความรู้ และ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่สามารถให้ความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและเชื่อมโยงความรู้เป็นองค์ความรู้และประสบการณ์ ใหม่ให้แก่บุคคลทุกระดับทุกเพศและทุกวัยที่สนใจจะเรียนรู้ 5.1.2 ความสาคัญและความจาเป็นของแหล่งเรียนรู้ ดิเรก พรสีมา (2543) กล่าวถึงความสาคัญของแหล่งเรียนรู้ว่า เป็นแหล่งความรู้ที/นักเรียนสามารถไป ค้นคว้าหาความรู้ได้ทั้งในเวลาก่อนและหลังเลิกเรียนและในวันหยุดราชการและยังเน้นแหล่งเรียนรู้ที่นัก เรียน จากหลายชุมชนมาใช้ร่วมกันได้ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543) ได้กล่าวถึงความสาคัญในลักษณะของการใช้ แหล่งเรียนรู้สนับสนุนการจัดการเรียนว่า ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้แบบองค์รวม ได้ฝึกคิด และฝึกปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่นและได้เรียนรู้ตามความถนัดของตนเอง สานักงานปฏิรูปการศึกษา (2545) กล่าวถึงความสาคัญของแหล่งเรียนรู้ว่า การที/ผู้เรียนได้เรียนรู้จาก แหล่งต่าง ๆ จากผู้คนที/หลากหลาย จะทาให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนเข้ากับวิถี ชีวิตมีความผูกพันกับท้องถิ่น เห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้ อมและยังสามารถบูรณาการ ภูมิปัญญาไทยและสากลเพื่อนาปรับใช้กับวิถีไทยได้ ส านั ก งานเลขาธิ ก ารสภาการศึ ก ษา (2547) กล่ า วถึ ง ความส าคั ญ ของแหล่ ง เรี ย นรู้ ว่ า เป็ น แหล่งวิทยาการสาหรับนักเรียนได้ฝึกสืบค้นข้อมูล ฝึกทักษะการสังเกต ฝึกคิด ฝึกพัฒนาการ ช่วยให้ผู้เรียนเห็น คุณค่าของความงาม ความสุนทรีย์และก่อให้เกิดความสามารถทางการเรียนรู้แบบองค์รวมทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะ กระบวนการ และคุณลั กษณะนิสั ย ซึมซับสิ่ งที่ดีงามจากภูมิปัญญาหล่ อหลอมจิตใจเกิด ความรัก ความศรัทธาและหวงแหนทรัพยากรของประเทศชาติ ครรชิต พุทธโกษา (2554) กล่าวถึงความสาคัญของแหล่งเรียนรู้ในชุมชนว่าไม่ได้มีเฉพาะต่อสมาชิก ในชุมชนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปและผู้ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ เพื่อดาเนิ น กิจ กรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้ เกิดการเรียนรู่ร่วมกันและก่อให้เกิดการจารึกข้อมูลชุมชนที่เป็นระบบ ด้วย เช่น 1. ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมทั้งที่มีในตาราเรียนและที่ไม่มีในตาราเรียน 2. ใช้เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม 3. ใช้เป็นสถานที่พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น 4. ใช้เป็นแหล่งสถานที่ศึกษาดูงาน ฝึกฝนอาชีพ 5. ใช้เป็นสื่อเรียนรู้ สื่อประกอบการเรียนการสอนที่มีมิติ มีชีวิต เช่น จิตกรรมฝาพนัง ร่องรอย ประวัติศาสตร์ นิเวศวิทยา สัตว์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน (แมลง นก ปลา ฯลฯ) เป็นต้น 6. ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้ ข้อมูล ข่าวสารทั่วไป รวมทั้งเป็นสถานที่ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ หรือแจ้งข้อมูลที่ต้องการสื่อไปถึงคนในชุมชน


119

7. ใช้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ ไม่ให้ลบเลือนสาหรับสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง 8. ใช้เป็นศูนย์กลางในการดาเนินกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ เป็นศูนย์จัดจาหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นจุด รวบรวมผลผลิต พื้นที่รวมกลุ่มทากิจกรรมของแม่บ้าน ฯลฯ สุรศักดิ์ ปาเฮ (2557) ได้กล่าวถึงความสาคัญของแหล่งการเรียนรู้ว่า มีความสาคัญในกระบวนการ จัดการเรียนรู้สาหรับผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสภาพจริง การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จะ เกี่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ ธรรมชาติ หน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอื่ น ๆ ซึ่ง ผู้เรียน ผู้สอน สามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้หรือเรื่องที่สนใจศึกษาได้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นธรรมชาติและ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ชุมชนและธรรมชาติเป็นขุมทรัพย์มหาศาลที่เราสามารถค้นพบความรู้ได้ไม่รู้จบ ทาให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้ วยตนเอง และสรุปความสาคัญของการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัด การเรียนการสอนไว้ ดังต่อไปนี้ 1. เป็นแหล่งที่รวมขององค์ความรู้อันหลากหลายพร้อมที่จะให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาค้นคว้าด้วยกระบวน การจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลและเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. เป็นแหล่งเชื่อมโยงให้สถานศึกษาและชุมชนมีความสัมพันธ์และใกล้ชิดกัน ทาให้คนในชุมชนมีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษาแก่บุตรหลานของตน 3. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดความสนุกสนานและมีความสนใจ ที่จะเรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย 4. ทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการที่ได้คิดได้ปฏิบัติเองและสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขณะเดียวกัน ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมและทางานร่วมกับผู้อื่นได้ 5. ทาให้ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังให้รู้และรักท้องถิ่นของตนเอง มองเห็นคุณค่าและตระหนักถึงปัญหา ในชุมชนของตน พร้อมที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต จากความสาคัญของแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว ทาให้สรุปความสาคัญของแหล่งเรียนรู้ได้ว่าเป็นแหล่ งให้ ความรู้ที่แต่ละบุคคลต้องการแสวงหา สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต้นกาเนิดเฉพาะด้าน และสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ความรู้อื่นได้อย่างหลากหลาย เป็นการส่งเสริมให้เกิดเรียนรู้ทั้งในระบบ และ นอกระบบตลอดชีวิต 5.1.2 ประเภทของของแหล่งเรียนรู้ จากความหมายของคาว่า แหล่งเรียนรู้ที่มีความหมายครอบคลุมกว้างขวางมากมีตั้งแต่สิ่งใกล้ ตัว สิ่งไกลตัว สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมถึงตัวบุคคล ดังนั้นจึงมีผู้รู้และหน่วยงาน ทางการศึกษาได้ให้แนวคิดต่าง ๆ ไว้มากมาย เพื่อวัตถุประสงค์ของการจาแนกประเภทของแหล่งเรียนรู้ให้เป็น กลุ่มเป็นระเบียบเพื่อสะดวกต่อการเรียกชื่อและใช้ประโยชน์ ดังนี้


120

อรทัย มูลคาและ สุวิทย์ มูลคา (2544) ได้แบ่งประเภทขของแหล่งเรียนรู้ไว้ 2 ประเภท ดังนี้ 1. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล อาทิ 1.1 ปราชญ์ชาวบ้าน 1.2 ครู อาจารย์ 2. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นอาคาร สถานที่ อาทิ 2.1 พิพิธภัณฑ์ 2.2 สถานประกอบการ 2.3 แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547) นาเสนอการจัดประเภทแหล่งเรียนรู้ไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. แบบจัดตามลักษณะของแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ 1.1 แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนจะศึกษาหาความรู้ได้จากสิ่งที่มีอยู่ แล้วตามธรรมชาติ เช่น แม่น้า ภูเขา ป่าไม้ ลาธาร หิน ดิน ทราย ทะเล ฯลฯ

ภาพที่ 5.1 น้าตกเหวสุวัต อุทยานแห่งชาติ แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ ที่มา : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320100612/ 1.2 แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนเทคโนโลยีและสิ่งอานวยความสะดวก เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชนสถาบันการศึกษา สวนสาธารณะ ตลาด บ้านเรือน สถานประกอบการ ฯลฯ


121

ภาพที่ 5.2 พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/ipammo/2012/12/10/entry-2/comment 1.3 บุคคล เป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ ความสามารถ ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณธรรม จริยธรรมทั้งด้านการประกอบอาชีพและการสืบสานวัฒนธรรม ตลอดจนนักคิด นักประดิษฐ์ ตลอดจนผู้ที่สามารถคิดค้นริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในด้านต่าง ๆ

ภาพที่ 5.3 อาจารย์ธนิต ศรีกลิ่นดี แหล่งเรียนรู้ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ที่มา : http://www.komchadluek.net/news/culture/138932 2. แบบจัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ 2.1 แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเดิมจะมีหลักๆ คือ ครู อาจารย์ ห้องสมุด ต่อมาพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้อง ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องจริยธรรม ห้องศีลธรรม ฯลฯ ตลอดจนการใช้อาคารสถานที่


122

บริเวณและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เช่น ห้องอาหาร สนาม ห้องน้า สวนดอกไม้ สวนสมุนไพร แหล่งน้าใน โรงเรียน ฯลฯ

ภาพที่ 5.4 แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/Gallery/507/ศึกษาดูงานสวนผักคนเมือง%20ลดเสี่ยงอาหารไม่ปลอดภัย.html

2.2 แหล่งเรียนรู้ในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนครอบคลุมทั้งด้านสถานที่และบุคคลซึ่งอาจ อยู่ในชุมชนใกล้เคียงโรงเรียน และชุมชนที่โรงเรียนพานักเรียนไปศึกษาหาความรู้ เช่น แม่น้า ภูเขา ชายทะเล ห้องสมุดประชาชน สถานีตารวจ สถานีอนามัย สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ทุ่งนา สวนผัก แหล่งทอผ้า ร้านอาหาร ดนตรีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน เทคโนโลยีพื้นบ้าน เทคโนโลยีในชีวิตประจาวัน แหล่งข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ฯลฯ

ภาพที่ 5.5 แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ที่มา : http://www.nonkaew.com/?page_id=112


123

รัชนีกร ทองสุขดี (2545) จาแนกแหล่งเรียนรู้ออกเป็น 6 ประเภท คือ 1. ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที/ถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้ผู้สนใจต้องการจะเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่ บุคคลที/มีทักษะ ความสามารถในสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่น ช่างฝีมือ ช่างทอง ช่างไม้ ศิลปินทุกแขนง นักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอาวุโสที่มีประสบการณ์สูง เป็นต้น 2. ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ได้แก่ ดิน น้า อากาศ ป่าไม้ สัตว์ แร่ธาตุ เป็นต้น 3. ประเภทวัตถุและสถานที่ หมายถึง อาคารสิ่งก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นที่ประชาชนศึกษา หาความรู้ให้ได้มาซึ่งคาตอบหรือสิ่งที่ต้องการ เช่น โรงน้าประปา ที่ว่าการอาเภอ โรงพยาบาล และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวสามารถพบเห็นในชีวิตประจาวัน เป็นต้น 4. ประเภทสื่อ หมายถึง บุคคลหรือสื่อที่ติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนาให้รู้จักกัน ทาหน้าที่เป็นสื่อกลางใน การถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ ทักษะและเจตคติ ด้วยการส่งผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 แหล่งวิทยากร ประเภท สื่อนี้ทาให้กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ชาติสามารถดาเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงและที่สาคัญ ที่สุด คือ สามารถกระจายความรู้ไปสู่ทุกพื้นที่โลกอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องทรัพ ยากรประเภทนี้ จาแนกได้ 2 ลักษณะ คือ 4.1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ (โปสเตอร์ จุลสาร แผ่นปลิว ป้ายประกาศ) 4.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่อาศัยเทคนิคด้านอิเล็กทรอนิกส์ สร้างสรรค์ในรูปของเสียง และภาพ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สื่อเหล่านี้สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทตา หู แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ สื่อที่ให้เสียงอย่างเดียวและสื่อที่ให้ทั้งภาพและเสียง 5. ประเภทเทคนิค หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้ านต่าง ๆ ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ คิ ด ค้ น สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ท าการปรั บ ปรุ ง อาทิ โรงงานที่ ทั น สมั ย ระบบสื่ อ สารคมนาคม ศูนย์คอมพิวเตอร์ เครื่องมือหรือระบบใหม่ๆ ที่นาเข้ามาใช้ในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้เรียนรู้ถึงความก้าวหน้าของ มนุษย์ช่วยให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการ เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ความคิดและสิ่งประดิษฐ์คิดค้น 6. ประเภทกิจกรรม หมายถึง การปฏิบัติด้านประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ การปฏิบัติงานของ หน่วยงานราชการตลอดจนความเคลื่ อนไหวในการแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒ นาสภาพต่าง ๆ ในท้องถิ่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะทาให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม อาทิ การรณรงค์ป้องกัน สารเสพติด การส่งเสริมการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและการรณรงค์ความปลอดภัยของเด็กและ สตรีในท้องถิ่น เป็นต้น สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548 ข) แบ่งประเภทของแหล่งเรียนรู้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล คือ ผู้ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะภูมิปัญญา มีประสบการณ์ ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ทักษะ เจตคติ ให้แก่ผู้ที่สนใจต้องการเรียน


124

2. แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่หรือวัตถุสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 2.1 สถานที่ที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดิน แหล่งน้า ป่า ภูเขา สัตว์ พืช แร่ธาตุ 2.2 สถานที่ที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ตลาด โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ 3. แหล่งการเรียนรู้ประเภทสื่อที่เป็นตัวกลาง ทาให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะประสบการณ์ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 3.1 สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น เอกสาร หนังสือ ตารา ใบปลิว จุลสาร ฯลฯ 3.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้ภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งทั้งให้ภาพและเสียง เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ สไลด์ รูปภาพ ฯลฯ 4. แหล่งการเรียนรู้ประเภทกิจกรรม เทคนิค วิธีการ เช่น แบบต่าง ๆ เทคนิคกระบวนการทางานหรือ การแก้ปัญหาต่าง ๆ ในท้องถิ่น 5.1.3 หลักการและวัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้ สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548 ก) กล่าวว่า หลักการของแหล่งเรียนรู้มี 5 ประการ ดังนี้ 1. สนองกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัยขึ้นอยู่กับความสนใจใฝ่รู้ ความพอใจของผู้เรียน 2. สอดคล้องกับวิถีชีวิตและเรียนรู้ได้ตลอดเวลาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจะตั้งใจหรือไม่ ตั้งใจก็ตาม 3. บรรยากาศเอื้ออานวยให้บุคคลได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความต้องการของตนเอง 4. ส่งเสริมด้านการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การคิดวิเคราะห์และการนาความรู้นั้นไปใช้ ประโยชน์ 5. ไม่ยึดติดรูปแบบใด ๆ สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548 ข) กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดแหล่งเรียนรู้ คือ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถด้านต่าง ๆ ของประชาชน และผู้สนใจทุกระดับได้เรียนรู้อย่างอิสระเป็นการ เรียนรู้ตลอดชีวิตตามความสนใจอย่างเต็มศักยภาพและเต็มความสามารถ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. เพื่อหาแนวทางการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ 3. เพื่อจัดหาโอกาสสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อ 4. เพื่อจัดหาโอกาสทางการศึกษาอย่างอิสระ และศึกษาด้วยตนเอง 5. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง 6. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ และทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ 7. เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่ม ความเป็นอิสระ ความรับผิดชอบการตัดสินใจ การแก้ปัญหาอย่างมี ประสิทธิภาพ


125

8. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการค้นคว้า การอภิปราย การสนทนา การนาเอาความรู้ที/ได้รับมา ประยุกต์ใช้ 9. เพื่อเป็นแรงดลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิต 5.1.4 แหล่งเรียนรู้ทางการศึกษา พันพัชร ปิ่นจินดา (2554) อ้างอิงจาก อลงกรณ์ เกิดเนตร. (2557). นาเสนอลักษณะและรูปแบบของ แหล่งการเรียนรู้ทางการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ห้องสมุด (Library) เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุดที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ทุกสาขาวิชาและสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หน้าที่หลักในการ ให้ บริ ก าร คื อ บริ ก ารยื ม คื น บริ ก ารตอบค าถามและช่ ว ยค้ น คว้ า และบริ ก ารทรั พ ยากรสารสนเทศ เพื่อการศึกษาและเพื่อความบันเทิง เราสามารถแบ่งห้องสมุดได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาล โรงเรียน ประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา ทาหน้าที่ให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศทั้งสื่อการศึกษาค้นคว้าและ สื่อการเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียน 1.2 ห้องสมุดมหาวิทยาลัย (Academic Library) เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เช่นเดียวกับห้องสมุดโรงเรียน แต่การให้บริการจะ กว้างขวางและมีระดับความรู้สูงมากขึ้น เช่น ให้บริการค้นคว้า เอกสารการวิจัย และให้บริการวารสารเฉพาะ วิชาต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น 1.3 ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะ สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น สังกัดอยู่ในหน่วยงานวิชาการ องค์กรหรือสถาบันบริการเฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุด ประชาชน (Public Library) เป็นห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อบริการประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ทุกระดับความรู้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกอาชีพ ให้บริการส่ งเสริมการอ่านและการค้นคว้าตลอดชีวิตเป็นเสมือนวิทยาลัยในชุมชน ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ (National Library) ทาหน้าที่เก็บรวบรวมสะสมและรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติไว้ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่ผลิตในประเทศจะต้องส่งให้หอสมุดแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการพิม พ์ เพื่อทาการรวบรวมจัดทาบรรณานุกรมแห่งชาติ กาหนดเลขมาตรฐานสากลประจาหนังสือ (International Standard Book Number: ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจาวารสาร (International Standard Serial Number: ISSN) 2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) ในปัจจุบันสังคมไทยเราอยู่ในยุคข่าวสาร ทาให้มีการกระจาย ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ห้องสมุดจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทางานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะงาน ด้านบริการจะมีบทบาทที่เด่นชัด ความต้องการของผู้ใช้บริการจึงเป็นแรงผลักดันให้ห้องสมุดเปลี่ยนการให้ บริการงานห้องสมุดมาเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น ระบบที่สามารถให้บริการและตรวจสอบได้ ระบบบริการยืม คืน ทรัพยากรด้วยแถบรหัสบาร์โค้ด ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร ระบบตรวจเช็คสถิติการใช้บริการ ห้องสมุด ระบบตรวจเช็คสถิติการยืม-คืนทรัพยากร การพิมพ์บาร์โค้ดทรัพยากรและสมาชิก


126

3. ศูนย์เอกสารหรือศูนย์ส ารสนเทศ (Documentation Center/Information Center) เป็นแหล่ง จัดเก็บรวบรวมสารสนเทศเฉพาะเรื่อง เฉพาะสาขาวิชา เพื่อการค้นคว้าวิจัยและเพื่อการปฏิบัติงานของหน่วย งานที่มีศูนย์สารสนเทศนั้น ๆ โดยตรง 4. ศูนย์ข้อมูล (Data Center) คือ แหล่งรวบรวมข้อมูลและบริการข้อมู ลตัวเลขสถิติ และงานวิจัย ต่าง ๆ 5. หน่วยงานสถิติ (Statistical Office) ทาหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บสถิติและเผยแพร่ข้อมูลของ หน่วยงานนั้น ๆ เช่น ศูนย์สถิติการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของกระทรวง พาณิชย์และกองสถิติสาธารณสุข สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานสถิติ ของสถาบันต่าง ๆ เช่น สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสถาบันประชากรศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เป็นต้น 6. ศูน ย์ วิเคราะห์ ส ารสนเทศ (Information Analysis Center) ทา หน้าที่รวบรวมและให้ บ ริ ก าร สารสนเทศเฉพาะวิชา โดยการนามาทาการวิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล เพื่อใช้ในการให้บริการตอบคาถามและจัดส่งให้ผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารที่ทันสมัยและในรูปของ สิ่งพิมพ์ 7. ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (Information Clearing House) ทาหน้าที่รวบรวมจัดเก็บ และผลิตทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่อต่าง ๆ นอกจากนั้นยังทาหน้าที่ติดต่อขอทรัพยากรสารสนเทศในสาขาที่ เกี่ยวข้องจากผู้ผลิต เพื่อรวบรวมให้เป็นระบบ สะดวกในการค้นคว้า และการแนะนาแหล่งข้อมูล เช่น การทา บัตรรายการ จัดทาบรรณานุกรม ดัชนี สาระสังเขป และจัดทารายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ เป็นต้น หน่วยงาน ที่ทาหน้าที่เป็นศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศที่สาคัญ ได้แก่ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (The Library of Congress) หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ (The British Library) หอสมุดแห่งชาติของไทย ห้องสมุดยูเนสโก และมูลนิธิ เอเชีย (Asia Foundation) เป็นต้น 8. ศูนย์แนะนาแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) เป็นสถาบันที่ทา หน้าที่รวบรวมสารสนเทศที่ เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลหรือสถาบันสารสนเทศอย่างกว้างขวางในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบ สามารถแนะนาแหล่ง สารสนเทศที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการได้ นอกจากนั้นยังจัดทาเอกสารเพื่อเผยแพร่ แจ้งข่าวสารและ ข้ อ มู ล ต่ า ง ๆ ตลอดจนรายชื่ อ ทรั พ ยากรสารสนเทศใหม่ ๆ จั ด ท าเป็ น บรรณานิ ทั ศ น์ ดั ช นี ว ารสารและ สาระสังเขป เป็นต้น 9. หอจดหมายเหตุ (Archive) ทาหน้าที่จัดเก็บเอกสารทางราชการและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ของรั ฐ บาล เช่น ระเบี ย บข้อบั งคับ คาสั่ ง หนังสื อโต้ตอบ บันทึกรายงาน แบบพิมพ์ แผนที่ แผนผั ง และ ภาพถ่าย เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าและการวิจัย 10. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิช ย์ (Commercial Information Service Center) อาจจะ เป็นห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลที่จัดให้มีบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เช่น การค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต โดยเรียก เก็บค่าบริการเข้าถึงข้อมูล นอกจากนั้นอาจจะเก็บค่าบริการเป็นค่าสมาชิกสาหรับการจัดส่งเอกสาร หรือ ข่าวสารด้านธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูล การรายงาน การสรุปข่าวหรือจดหมายข่าว เป็นต้น


127

5.2 เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) 5.2.1 ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ สานักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). ได้ให้ความหมายของ เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึ ง การแลกเปลี่ ย นความรู้ ความคิ ด ข้ อ มู ล ข่ า วสาร ประสบการณ์ และการเรี ย นรู้ ระหว่า งบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยง กัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2539) กล่าวว่า เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การที่ชาวบ้านรวมตัวกันขบคิด ปัญหา รวมพลังแก้ปัญหาและหาผู้ นาขึ้นมาจากหมู่ชาวบ้านด้วยกันเองจากนั้นรวมตัวกันเพื่อมีอานาจต่อรอง มีการต่อสู้ทางความคิด มีการเรียนรู้จากภายนอก ไปมาหาสู่กันเรียนรู้ดูงานด้วยกันจนกระทั่งเกิดเป็นกระบวน การแก้ปัญหาได้ ส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ (2535) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของเครื อ ข่ า ยการเรียนรู้ หมายถึง การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่าง สอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน และระหว่าง หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่าง ๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้าง แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและ ต่อเนื่องตลอดชีวิตตามความต้องการของบุคคลและชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2542) เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์ แหล่งความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน โดยมีบุคคลที่มีความถนัด ในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้บุคคลอื่น ๆ ได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การแลกเปลี่ยนความมรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยงกันเพื่อส่งผลให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความมรู้ ร่วมกัน 5.2.2 แนวทางในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ Starkey (1997) ได้นาเสนอแนวทางในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้ วิชิต สุรัตน์เรืองชัย และ คณะ (2552) 1. เชิญองค์กรและผู้ มีส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ยมาร่ว มประชุม โดยมีหั ว ข้อการประชุ ม ที่น่ าสนใจเกี่ ย วกั บ ผลประโยชน์ร่วมหรือเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้องกัน มอบหน้าที่ในการบริหารจัดการการประชุมให้กับบรรดา ผู้มีส่วนได้เสียร่วมกันรับผิดชอบ การหาข้อตกลงร่วมในกิจกรรมที่เป็นผลประโยชน์ร่วมดังกล่าว 2. กาหนดวัตถุป ระสงค์ของการจั ดตั้งเครือข่าย ทิศทาง กิจกรรมหลั กและคุณสมบัติของสมาชิก ให้ชัดเจน โดยให้สมาชิกส่ว นใหญ่มีส่วนร่วมในกระบวนการกาหนดด้วยเพื่อป้องกันการครอบงาจากกลุ่มคน


128

บางกลุ่ม ทั้งนี้ควรมีการทบทวนเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคมและความต้องการ ของสมาชิก 3. จัดตั้งกลุ่มแกนของเครือข่ายที่ปวารณาตัวเข้ามาทาหน้าที่ประสานงาน จัดการและส่งกาลังบารุง ให้กับสมาชิก ซึ่งต้องไม่ติดอยู่กับกิจกรรมประจาวันขององค์กรตัวเอง และกลุ่ม แกนต้องดาเนินกิจกรรมของ เครือข่ายให้บังเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ต้องมีการหมุนเวียนเปลี่ยนกลุ่มผู้นาเครือข่าย เพื่อพัฒนาภาวะผู้นาของ สมาชิกและป้องกันการผูกขาดอานาจ 4. ความรู้สึกมีส่วนเป็นเจ้าของและความผูกพันที่เหนียวแน่น มีส่วนอย่างสาคัญต่อความสาเร็จของ เครือข่าย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การเลือกกิจกรรมและวิธีการทางาน ของเครือข่ายในลักษณะประชาธิปไตย 5. เครือข่ายต้องมีวิธีการจัดหาและจัดการทรัพยากร เพื่อความมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนกิจการ ของเครือข่าย และความสามารถในการพึ่งตนเอง ทรัพยากรนี้ไม่ได้หมายถึงเงินทุนเท่านั้น แต่ยังหมายความ รวมไปถึงคุณภาพของสมาชิก วิธีการจัดการแบบมีส่วนร่วม เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร 6. ทาให้ เครื อข่ายมีส ถานภาพถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้ เครือข่ายและผู้นาเครือข่ายได้รับการ สนับสนุนและไว้เนื้อเชื่อใจจากสมาชิกเครือข่าย อีกทั้งยังได้สามารถดาเนินงานได้กว้างขวาง อาจมีชื่อและ สัญลักษณ์ของเครือข่ายเพื่อให้เป็นที่จดจาได้ง่ายและอาจส่งข่าวสารไปให้กับบุคคลเป้าหมายที่สามารถให้การ รับรองเครือข่ายได้ 7. ควรสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย เพื่อเสริมให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง มากขึ้น ซึ่งมีได้ทั้งทางแนวราบ แนวตั้งหรือในภูมิภาคต่างระดับกัน การเชื่อมเครือข่ายทาได้ทั้งอย่างเป็น ทางการและไม่เป็นทางการ ด้วยการมีกิจกรรมร่วมกัน หรือเป็นตัวแทนร่วมกันในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องและการร่วมกันประสานงานการประชุม 8. ควรมีการติดตามผลและประเมินผลเป็นประจาสม่าเสมอและถี่ถ้วน โดยดูความสอดคล้องของ แผนการทางานกับวัตถุประสงค์ ความก้าวหน้าและความสาเร็จของเครือข่ายในแต่ละระยะ ทั้งนี้ควรให้สมาชิก เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกาหนดวิธีและเครื่องชี้วัดประสิทธิภาพของกิจกรรมเครือข่าย และร่วมเรียนรู้ ตลอดกระบวนการติดตามและประเมินผล 9. ควรมีการจั ดหลั กสู ตรฝึ กอบรมด้านการจัด การเครื อข่ า ยให้ กับ องค์กรแกนและผู้ นาเครื อ ข่ า ย สม่าเสมอ 10. ควรเชื่อมโยงภายในเครือข่ายเหมาะสม เอื้อให้เกิดความเคลื่อนไหวของกิจกรรมและความแข็งขัน ของสมาชิก โครงการหรื อ กิจ กรรมมีลั ก ษณะกระจายอ านาจไปให้ กับ มวลสมาชิ ก ที่ไ ด้รั บประโยชน์ การ ดาเนินงานของเครือข่ายจะนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในที่สุด การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ มีขั้นตอนที่สาคัญ 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนสร้างเครือข่าย เป็นขั้นตอนแรกเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะ ดาเนินการจัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งมีกิจกรรมสาคัญหลายประการ ดังนี้


129

1.1 การสร้างความตระหนักในปัญหาและจิตสานึกในการรวมตัวของผู้ที่จะร่วมเป็นสมาชิก เพื่อให้เห็น ถึงความสาคัญของเครือข่ายและการเข้าร่วมกิจกรรม 1.2 การให้ ผู้ ที่ จ ะเป็ น สมาชิ ก เห็ น ถึ ง ประโยชน์ ที่ จ ะได้ รั บ จากการร่ ว มเป็ น สมาชิ ก อย่ า งชั ด เจน ทั้งผลประโยชน์ของตนเองและผลประโยชน์ของชุมชน 1.3 การสรรหาแกนนาที่มีภาวะผู้นาเหมาะสม เพราะเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงาน สามารถจูงใจสถานศึกษาให้เป็นสมาชิกเครือข่ายได้ 1.4 การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลของเครือข่ายอย่างกว้างขวางชัดเจนและถูกต้อง สามารถนามาใช้ประกอบในการตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกได้เร็วขึ้น 1.5 การเตรียมสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ไว้ให้พร้อมและเพียงพอ เพื่อให้การดาเนินงานของเครือข่าย สะดวก รวดเร็วและดึงดูดคนให้เข้าร่วมสมาชิก 1.6 การติดต่อประสานงานกับ บุ คคล กลุ่ มและองค์ กรต่า ง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การสร้ างเครื อ ข่ า ย เพื่อระดมพลังหรือศักยภาพมาใช้ในการจัดตั้งเครือข่ายให้ประสบความสาเร็จ ขั้นตอนที่ 2 การดาเนินการจัดตั้งเครือข่าย มีกิจกรรมสาคัญ ดังนี้ 2.1 การจัดประชุมผู้สนใจที่จะเป็นสมาชิกเครือข่าย เพื่อทาความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ และให้ สมัครเป็นสมาชิก 2.2 การสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ร ะหว่ า งสมาชิ ก เพื่ อ ให้ ส มาชิ ก ได้ รู้ จั ก กั น เกิ ด ความสนิ ท สนม เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน พร้อมที่จะทางานร่วมกันในเครือข่าย 2.3 การสร้างอุดมการณ์ร่วมระหว่างสมาชิก เพื่อสร้างความรัก ความผูกพัน และอุทิศตนใน การทางานร่วมกับเครือข่าย 2.4 การร่วมกาหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ของเครือข่าย เพื่อให้ สมาชิกเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของเครือข่าย รัก หวงแหนเครือข่าย มุ่งมั่นที่จะดาเนินงานให้เครือข่ายประสบ ความสาเร็จ 2.5 การร่วมกาหนดโครงสร้าง การบริหารจัดการระเบียบข้อบังคับของเครือข่าย โดยพิจารณาถึง ความเหมาะสม ความสามารถที่จะนาไปใช้ปฏิบัติร่วมกันได้ เพื่อประสิทธิภาพในการดาเนินงานและเพื่อให้ สมาชิกยอมรับในความเป็นเครือข่าย 2.6 การคั ด เลื อ กคณะกรรมการโดยสมาชิ ก เพื่ อ ท าหน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ป ระสานงานบริ ห ารและจั ด การ เครือข่ายไม่ให้ผู้ใดผู้หนึ่งตั้งตัวเป็นผู้ประสานงานหรือบริหารและจัดการเครือข่าย เพราะสมาชิกจะไม่ยอมรับ และเกิดปัญหาขึ้นในเครือข่าย 2.7 การร่วมกันกาหนดแผนและโครงการของเครือข่าย เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ในการเข้ามาเป็นสมาชิกของเครือข่าย 2.8 การร่วมกันปฏิบัติงานตามแผนและโครงการที่ร่วมกันกาหนด เพื่อผนึกพลังของสมาชิกและนาไป ใช้ในการดาเนินงานของเครือข่ายได้อย่างเต็มที่


130

2.9 จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนแต่ละฝ่ายหลาย ๆ ครั้งเพื่อ ทราบถึง ความสาเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงาน 2.10 ร่วมกันสรุปบทเรียนจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ของบุคคล เครือข่าย และองค์กร 2.11 นาองค์ความรู้ใหม่ไปทดลองและปฏิบัติร่วมกันจนประสบความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ และ เป้าหมาย 2.12 แบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่สมาชิกอย่างยุติธรรม 2.13 การประเมินผล เพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งเครือข่ายและเตรียมการ ปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 5.2.3 เครือข่ายการเรียนรู้ในประเทศไทย 1. เครือข่ายยูนิเน็ต (Uninet) สานักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา หรือ UniNet เป็นหน่วยงานในสังกัด สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ทาหน้าที่พัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่ อสารของสถาบัน การศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และเป็นหน่ว ยงานกลางของ ประเทศที่เชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสารด้านการศึกษาวิจัยของไทยไปยังเครือข่ายเพื่อการ ศึกษาวิจัยทั่วโลก โดยได้วางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยสื่อใยแก้วนาแสงเชื่อมโยงและ ให้ บ ริ การอินเทอร์ เน็ ตเพื่อการศึกษาวิจั ย ครอบคลุ มสถาบันการศึ กษาทุกระดับ ได้แก่ สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาอาชีวศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา ห้องสมุดประชาชน รวมทั้งสถาบันทาง การแพทย์และหน่วยงานวิจัยในสังกัดต่าง ๆ อีกหลายแห่ง

ภาพที่ 5.6 เว็บไซต์สานักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ที่มา : http://www.uni.net.th/UniNet/index.php


131

บทบาทหน้าที่ของยูนิเน็ต (Uninet) มีหน้าที่สร้างโครงข่ายสื่อใยแก้วนาแสงเชื่อมโยงสถาบันการศึกษา ทั่วประเทศ พร้อมทั้งให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยจานวน 10,763 แห่ง สาหรับใช้งานเพื่อบริการด้านการศึกษาวิจัย และเพื่อการบริหารจัดการและสนับสนุนงานอื่นทั่วไป พร้อม นี้ยังได้ดาเนินการจัดสรรทรัพยากรเครือข่ายและทรัพยากรการศึกษาที่จาเป็น อาทิ จัดสรรช่องสื่อสัญญาณ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อบริการภายในประเทศและต่างประเทศ บริการอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายสาหรับ เครือข่ายแกนหลัก (Backbone) บริการเครื่องแม่ข่ายเพื่อเป็นศูนย์บริการอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนระบบ ถ่ายทอดสัญญาณการประชุม/สัมมนาวิชาการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พัฒนาโปรแกรมและระบบสนับสนุน กิ จ กรรมด้ า นการศึ ก ษาวิ จั ย ที่ ห ลากหลาย ให้ บ ริ ก ารฐานข้ อ มู ล วารสารออนไลน์ ต่ า งประเทศฐานข้ อ มู ล วิทยานิ พนธ์ฉบั บ เต็มฐานข้อมูล สหบรรณานุกรมของห้ องสมุ ดสถาบัน อุดมศึก ษา ฐานข้อมูล สื่ อการเรีย น การสอนเพื่อพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาอาชีพ เป็นต้น พันธกิจของ ยูนิเน็ต (Uninet) 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายและเชื่อมโยงโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของสถาบั น การศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ให้ ส ามารถแลกเปลี่ ยนข้ อ มู ล จั ด การศึ ก ษาวิ จั ย ร่ ว มกั น ระหว่าง สถาบันการศึกษาทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ 2. บริ ห ารจั ด การเครื อ ข่ า ยเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อ สารเพื่ อ ให้ เ กิ ด การใช้ ป ระโยชน์ ด้านการศึกษา วิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ 3. พัฒนาศูนย์กลางบริหารจัดการและให้บริการทรัพยากรด้านการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน 4. จัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาที่จาเป็นสาหรับจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา 5. ส่งเสริม สนับสนุนการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาและวิจัยร่วมกัน รวมถึงสร้างความร่วมมือในการ ทาการศึกษาวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ 6. พั ฒ นาบุ ค ลากรทางด้ า นเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อ สาร เพื่ อ บริ ห ารจั ด การเครื อ ข่ า ย สถาบันการศึกษา 2. เครือข่ายสคูลเน็ต (SchoolNet) เครื อข่ายคอมพิว เตอร์ เ พื่อโรงเรี ย นไทย ในชื่อภาษาอังกฤษว่า สคูล เน็ตไทยแลนด์ (SchoolNet Thailand) เป็นโครงการส่งเสริมการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนทั่วประเทศไทย ก่อตั้งโดย ศูน ย์ เทคโนโลยี อิเล็ ก ทรอนิ กส์ และคอมพิว เตอร์ แห่ งชาติ มีวั ตถุประสงค์เ พื่ อสนับ สนุน การนาเทคโนโลยี สารสนเทศมาช่ว ยยกระดั บ การศึ ก ษาและคุ ณภาพการศึก ษาของเยาวชนไทย พร้อมกับลดช่ อ งว่ า งและ ความเหลื่อมล้าทางการศึกษาระหว่างเด็กนักเรียนในเมืองและชนบท อีกทั้งยังเป็นเครือข่ายคอมพิว เตอร์ แห่งแรกในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและได้รับการยกย่องว่าเป็นโครงการตัวอย่าง (Best Practice) ที่นาเทคโนโลยี สารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างและความเหลื่อมล้าของโอกาสในการศึกษาหาความรู้ (digital


132

divide) ในรายงาน Human Development Report 2001 ขององค์ ก ารสหประชาชาติ และในรายงาน APEC New Economy Report 2001 นอกจากนี้ UNESCO ยังได้ผลักดันให้เกิดเป็นความร่วมมือในประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทาโครงการ ASEAN SchoolNet เพื่ อ แลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ก ารจัด ท าและพั ฒ นา SchoolNet ของแต่ ล ะประเทศ สมาชิกอาเซียนโดยที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นครูและนักเรียนและใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาเป็นสาคัญ

ภาพที่ 5.7 เว็บไซต์ SchoolNet Thailand ที่มา : http://www.nectec.or.th/schoolnet/index.php3.html 3. ระบบ e – Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLTV) โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คือ โครงการในพระราชดาริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาผู้ด้อยโอกาส อาทิ นักเรียนในชนบทที่ห่างไกล คนพิการ ผู้ต้องขัง และเด็กป่วยใน โรงพยาบาล เป็นต้น การดาเนินการ “โครงการจัดทาเนื้อหาระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่าน ดาวเทียมเฉลิ มพระเกีย รติเนื่ องในโอกาสมหามงคลเฉลิ มพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” นับเป็นโครงการหนึ่งที่ต้องการให้ “โอกาส” แก่ผู้ด้อยโอกาส คือ นักเรียนในชนบทโดยได้รับความร่วมมืออย่าง ดียิ่งจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมซึ่ง เป็นองค์กรนาในการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านดาวเทียมและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการรวบรวมเนื้อหาการสอนที่ออกอากาศทางสถานี วิทยุและโทรทัศน์การศึกษาทาง ไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาลงบน ระบบ e-Learning เป้าหมายของโครงการ 1. จัดทาเนื้อหาการเรียนการสอนระบบ e-learning จานวน 6 สาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6) ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและ


133

วัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้เนื้อหาจากโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของมูลนิธิ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 2. โรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างน้อย 80 โรงเรียน (โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่มโรงเรียนศึ กษา สงเคราะห์ กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนและกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม ได้ น าเนื้ อ หาของการศึ ก ษาทางไกลผ่ า นดาวเที ย มมาใช้ ป ระโยชน์ แ บบ Off-line ภายในโรงเรี ย นตาม ความเหมาะสม 3. ครูและนักเรียนจากโรงเรียนในโครงการ ทสรช. อย่างน้อย 15 โรงเรียน ได้รับการพัฒนาทักษะ การนาเนื้อหาการเรียนการสอนจากแหล่งต่าง ๆ มาจัดทาเป็นเนื้อหาในระบบ e-learning เพื่อใช้ประโยชน์ ในโรงเรียนของตนเอง

ภาพที่ 5.8 เว็บไซต์ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLTV) ที่มา : http://edltv.dlf.ac.th/primary/index.php 4. DLIT (Distance Learning Information Technology) สืบเนื่องจากข้อสั่งการของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเร่งรัดดาเนิน การในประเด็น ด้า นการศึก ษาเรื่ องการขาดแคลนครู ในโรงเรีย นพื้ นที่ห่ างไกลรวมทั้ งการเพิ่ มโอกาสทาง การศึกษาให้แก่เด็ก จึงได้พิจารณาให้มีการศึกษาและขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยัง พื้นที่อื่น ๆ โดยกาหนดให้ใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ จานวน 15,369 โรงเรียน นอกเหนือจากที่สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ที่ดาเนินการมา อย่างต่อเนื่องและได้ผล


134

การด าเนิ น การจั ด การศึ ก ษาทางไกลผ่ า นดาวเที ย มในโรงเรี ย นขนาดเล็ ก ทั่ ว ประเทศ จะบรรลุ วัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้นั้น มีความจาเป็นต้องมีการพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับโรงเรียน DLIT คือเครื่องมือที่มีเนื้อหาและเทคโนโลยีสาหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การวางแผน การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาฯ การจัดการเรียน การสอนเพิ่มเติม การสอบที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาวิชาชีพอย่างยั่งยืนในด้านเนื้อหา DLIT มีเนื้อหา ที่ ตอบสนองความต้ อ งการและการใช้ ง านในชี วิ ต ของครู แ ละนั ก เรี ย นทุ ก คน ในด้ า นเทคโนโลยี DLIT มีเทคโนโลยียุคใหม่ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย DLIT เป็นสื่อที่เปิดสาหรับทุกคน (Open Resources) ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป เข้าถึง DLIT ได้ทุกที่ ทุกเวลาและบนเครื่องมือทุกชนิด ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิว เตอร์ ทุกคนสามารถเรี ย นรู้ ได้ด้ว ยตนเอง และนาไปใช้ประกอบการสอนนั กเรียนได้ ยกเว้น คลังข้อสอบที่อนุญาตเฉพาะกลุ่มและเทคโนโลยีบางประเภทที่สนับสนุนเฉพาะบุคลากรทางการศึกษา DLIT มี เ ป้ า หมายเพื่ อ ให้ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการศึ ก ษาดี ขึ้ น นั ก เรี ย นมี คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ที่ สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ครูมีเครื่องมือที่ทาให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและการศึกษาไทยก้าวไป ข้างหน้าอย่างแท้จริง รูปแบบ DLIT 1. DLIT Classroom ห้องเรียน DLIT การถ่ายทอดการจัดการเรียนรู้หัวข้อเรื่องที่ยากจากครูต้นแบบ ของโรงเรียนชั้นนาไปยังห้องเรียนปลายทาง เพื่อช่วยครูในห้องเรียนปลายทาง โดยเฉพาะกรณีที่ครูปลายทาง ไม่ใช่ครูตรงกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือครูประสบปัญหาการสอนหัวข้อเรื่องที่ยากมาโดยตลอด 2. DLIT Resources คลังสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 3. DLIT Digital Library ห้องสมุดดิจิทัล เพื่อครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สนใจทั่วไป มีเนื้อหาถูกต้อง ตอบสนองความต้องการและความสนใจเรียนรู้ 4. DLIT PLC (Professional Learning Community) การพัฒนาวิชาชีพครู เครื่องมือในการสร้าง และพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูพร้อมพื้นที่แห่งการแบ่งปันและเรียนรู้หรือ Share and Learn 5. DLIT Assessment คลั ง ข้ อ สอบที่ ร วบรวมข้ อ สอบมากมายตั้ ง แต่ ป ระถมศึ ก ษาปี ที่ 1 จนถึ ง มัธยมศึกษาปีที่ 6


135

ภาพที่ 5.9 เว็บไซต์ DLIT ที่มา : http://www.dlit.ac.th/pages/classroom.php

สรุป แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งต่าง ๆ ที่มีข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงบุคคล สิ่งของ สถานที่ สารสนเทศและเทคโนโลยีสาหรับใช้ในการแสวงหาความรู้ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่สามารถให้ความรู้ ได้ทุกที่ ทุกเวลาและเชื่อมโยงความรู้เป็น องค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ให้แก่บุคคลทุกระดับทุกเพศและ ทุกวัยที่สนใจจะเรียนรู้ โดยแหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งให้ความรู้ที่แต่ละบุคคลต้องการแสวงหา สามารถหาความรู้ ได้ด้ว ยตนเองจากแหล่ งเรี ย นรู้ ต้น กาเนิ ด เฉพาะด้านและสามารถเชื่ อ มโยงความรู้ ไปสู่ ความรู้ อื่น ได้ อ ย่ า ง หลากหลาย เป็นการส่งเสริมให้เกิดเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบตลอดชีวิต เครือข่ายการเรียนรู้ คือ การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ การปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบ โรงเรียน และระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่าง ๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่ เป็ น ทางการ เพื่อสร้ างแลกเปลี่ย น ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ ประชาชนมีโอกาส ได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิตตามความต้องการของบุคคลและชุมชนซึ่งเครือข่ายการเรียนรู้ ในประเทศไทยมีทั้งเครือข่ายด้านการจัดการศึกษาและเครือข่ายงานด้านอื่น ๆ มากมาย

แบบฝึกหัดท้ายบท 1. ให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างของแหล่งเรียนรู้กับเครือข่ายการเรียนรู้ (2 คะแนน) 2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จาแนกออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง (2 คะแนน)


136

เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว การศึกษานอกโรงเรียน, กรม. (2542). เอกสารเครือข่ายและการส่งเสริมเครือข่ายงานการศึกษานอก โรงเรียน. กรุงเทพฯ : กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ. พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพร้าว. . (2557). การใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา. บทความ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559 การศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT). (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.dlit.ac.th/ pages/classroom.php เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สานักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://oho.ipst.ac.th/bookroom/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สานักงาน. (2536). รายงานผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการระดม สรรพกาลังเพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. โครงการระบบ e – Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLTV) (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://edltv.dlf.ac.th/primary/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ดาริ บุญชู. (2548). การใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ. ม.ป.ท. ดิเรก พรสีมา. (2543). ปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ส.รุ่งทิพย์ออฟเซ็ท. แจ่มจันทร์ นิลพันธ์. (2550). นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. รัชนีกร ทองสุขดี. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาสารสนเทศ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2543). โครงการพัฒนาเนื้อหาความรู้สาหรับเครือข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 สานักงานการประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. (2545). แหลงเรียนรูและภูมิปญญาทองถิ่น ในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : ฝายบริการทางการศึกษา หนวยศึกษานิเทศก สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสาคัญที่สุด กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สานักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษาแนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สานักงานปฏิรูป การศึกษา.


137

สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2547). รายงาน “การสังเคราะห์รูปแบบการจัดกระบวนการ เรียนรู้ของครูต้นแบบ” (ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542) สรุปรูปแบบการ จัดกระบวนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา. . (2548 ก). รายงานวิจัยการจัดการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต: สวนสาธารณะ. กรุงเทพฯ : สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. . (2548 ข). รายงานวิจัยการจัดการเรียนรู้ของแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต: ห้องสมุด ประชาชน. กรุงเทพฯ : สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. สานักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา. สานักพิมพ์สานักงานคณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา. สานักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา. (2557). รายงานประจาปี 2557 (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.uni.net.th/UniNet/pdf/pdf_yearbook.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559 สุรศักิด์ ปาเฮ. (2557). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.addkutec3.com/wp-content/uploads/2011/11/place_base.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559 อรทัย มูลคาและ สุวิทย์ มูลคา. (2544). การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสาคัญ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์ อลงกรณ์ เกิดเนตร. (2557). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา. หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏสวนดุสิต เอกวิทย์ ณ ถลางและคณะ. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์


138

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 6 หัวข้อเนื้อหา 1. การประเมินสื่อการสอน 2. การหาประสิทธิภาพสื่อการสอน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อเรียนจบในบทที่ 6 แล้ว ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายความหมาย วิธีการ ประเภทและลักษณะของการประเมินสื่อการสอนได้ 2. อธิบายการหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนได้


139

บทที่ 6 การประเมินและหาประสิทธิภาพสื่อการสอน ปัจจุบันสื่อการเรียนการสอนมีบทบาทสาคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการเรียนการสอน การที่ ผู้สอนนาสื่อการสอนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้นั้น ต้องมั่นใจว่าสื่อการสอนนั้น ๆ มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพที่จะนามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ การเรียนรู้ได้เป็น อย่างดี การประเมินสื่อการสอนจึงมีความสาคัญไม่แพ้การนาสื่อการสอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่ ง กระบวนการในการประเมิ น สื่ อ การสอนและหาประสิ ท ธิ ภ าพของสื่ อ การสอนนั้ น จะได้ ก ล่ า วถึ ง ในรายละเอียดต่อไป

6.1 การประเมินสื่อการสอน 6.1.1 ความหมายการประเมินสื่อการสอน วชิราพร อัจฉริยโกศล. (2536) ได้ให้ความหมายของการประเมินผลสื่อการสอนไว้ว่า การประเมินผล สื่อการเรียนการสอน หมายถึง การนาเอาผลการวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสิ น คุณค่า (Value Judgment) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่ อนั้นทาหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่ กาหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่ประการใด สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). การประเมินผลสื่อการสอน หมายถึง กระบวนการวัดสื่อทางการศึกษาที่ใช้ ประกอบการจัดกิจกรรมการสอนของผู้สอน เพื่อให้ได้ข้อมูลนามาพัฒนาตัดสินใจโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ที่กาหนด จากความหมายเบื้ อ ต้ น จะพบว่ า การประเมิ น ผลสื่ อ การสอน หมายถึ ง การวั ด ผล ประเมิ น ผล สื่อการเรียนการสอนของผู้ส อนเพื่อให้สื่ อนั้ น ๆ มีคุณภาพเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีความทันสมัยในการนามาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุตาวัตถุประสงค์ของ การจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2 ความสาคัญของการประเมินผลนวัตกรรม การประเมิน ผลนวัตกรรมหรือสื่ อการเรียนการสอนนั้น มีความส าคัญและก่อให้ เกิดประโยชน์ใน ด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (วีณัฐ สกุลหอม. 2557) 1. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพของนวัตกรรม ในการประเมินผลนวัตกรรม จะมีการตรวจสอบการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งที่สาคัญมาก การใช้นวัตกรรมหรือสื่อการเรียนรู้เป็นการ อานวยความสะดวกและกาหนดเส้นทางให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ การประเมิน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นกระบวนการสาคัญที่จะทาให้ได้ข้อมูลเพื่อยืนยันว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม


140

จุดประสงค์หรือไม่อย่างไร เพียงใด หากไม่ทาการประเมินผลนวัตกรรม สื่อการเรียนรู้ก็ไม่สามารถทราบผล ของการจัดการเรียนรู้และไม่สามารถบอกได้ว่าการเรียนการสอนนั้นประสบผลสาเร็จหรือไม่ อย่างไร ข้อมูล ที่ได้จากการประเมินผลสื่อการเรียนรู้ในแง่มุมเหล่านี้จะบ่งบอกประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้ 2. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของนวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอน การประเมินผล จะทาให้ได้ข้อมูลว่านวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอน ได้รับการสร้างและพัฒนาได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ในกระบวนการของการผลิต ทาให้ได้นวัตกรรมตรงตามลั กษณะหรือรูปแบบที่ต้องการหรือไม่ และเมื่ อนา นวัตกรรมนั้นไปใช้ สามารถใช้ได้จริงตามที่ออกแบบหรือตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะบ่งบอก คุณลักษณะและคุณภาพของนวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอนว่ามีความเหมาะสมถูกต้อ งหรือเหมาะสมที่ จะนาไปใช้ในการเรียนการสอนได้หรือไม่ 3. เกิดการพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การประเมินผลสื่อการเรียนรู้ ในแต่ละบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทาวิจัยหรือการพัฒนาจะทาให้ได้ข้อมูลซึ่งในบางครั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่ ในการใช้นวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอน ทาให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นแนวทาง เป็นวิธีการหรือเป็นรูปแบบใหม่ ของการผลิตหรือการใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งจะทาให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและส่งผลดีต่อ ผู้เรียนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 4. สร้างความมั่นใจและอานวยความสะดวกในการเลือกใช้นวัตกรรม เพราะนวัตกรรมที่ได้รับการ ประเมินผลแล้วจะมีข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพของนวัตกรรม รวมทั้งมีข้อมูลที่ช่วยในการกาหนด สถานการณ์ที่เหมาะสมต่อการนานวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอนนั้นไปใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้าง ความมั่นใจให้กับผู้นาสื่อการเรียนรู้ไปใช้ รวมทั้งช่วยอานวยความสะดวกให้กับผู้ใช้สามารถเลือกและใช้สื่ อ การเรียนรู้นั้นได้อย่างสะดวก เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ กิดานันท์ มลิทอง (2531) กล่าวถึงขั้นตอนการประเมินที่ควรให้ความสาคัญ ได้แก่ 1. การประเมินการวางแผนการใช้สื่อการสอน เพื่อดูว่าสิ่งต่าง ๆที่ วางไว้นั้นดาเนินการไปตามแผน หรือไม่ หรือเป็นไปเพียงตามหลักการ ทฤษฎีแต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้จึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อแก้ไข ปรับปรุงนการวางแผนครั้งต่อไป 2. การประเมินกระบบวนการใช้สื่อการสอน เพื่อดูว่ากระบวนการใช้สื่อแต่ละขั้นตอนนั้นมีปัญหา หรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง มีสาเหตุจากอะไรและมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่ 3. การประเมินผลที่ได้จาการใช้สื่อการสอน เป็นผลที่เกิดขึ้นจากผู้เรียนโดยตรงว่าเอเรียนแล้วผู้เรียน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ากว่าเกณฑ์ 6.1.3 วิธีการประเมินผลนวัตกรรม วิธีการประเมินผลสื่อการเรียนรู้อาจจาแนกออกได้เป็น 3 วิธีคือ การประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญหรือครู การประเมินผลโดยผู้เรียนและการประเมินผลโดยการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน แต่ละวิธีต่างก็มีลักษณะ เฉพาะมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด.2533, วีณัฐ สกุลหอม. 2557)


141

1. การประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ครู อาจารย์ ผู้สอน เป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมและมีประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรม สื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ จึงเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาถึงคุณภาพและคุณค่าของสื่อการเรียนรู้อย่าง สมเหตุสมผล การประเมินผลสื่อการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญหรือครู จะใช้แบบประเมิน ซึ่งจะให้ผู้เชี่ยวชาญหรือ ครูพิจารณาทั้งด้านคุณภาพเนื้ อหาสาระ และเทคนิคการจัด ทาสื่ อประเภทนั้น หลักในการประเมิน ผลสื่ อ การเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญหรือครู มีดังนี้ 1.1 ควรเลือกผู้เชี่ยวชาญหรื อครู ที่มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับนวัตกรรมสื่ อ การเรียนการสอนสื่อนั้น ๆ รวมทั้งเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่เสนอหรือถ่ายทอด 1.2 การให้ ผู้ เ ชี่ ย วชาญหรื อ ครู ห ลายคนประเมิ น ผลสื่ อ การเรีย นรู้ ย่อ มได้ ผ ลที่ น่า เชื่ อ ถื อ มากกว่า ประเมินผลเพียงคนเดียว 1.3 ในการประเมินผลนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภท ควรใช้แบบประเมินผลเฉพาะ ของสื่อการเรียนรู้ประเภทนั้น ๆ ซึ่งอาจมีความแตกต่างจากสื่อประเภทอื่น ๆ 1.4 สาหรับสื่อการเรียนรู้ที่มีทั้ง Hardware และ Software นั้นจะประเมินผล Software เป็นสาคัญ แต่ถ้าต้องการประเมิน Hardware ก็จะมีเกณฑ์เฉพาะด้าน 2. การประเมินผลโดยผู้เรียน ผู้เรียน เป็นเป้าหมายหลักสาคัญของการใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน เนื่องจากผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อ และได้เรียนรู้โดยตรงได้ใช้ประสาทสัมผัสกับนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน อาจจะเป็นนวัตกรรมในรูปแบบใด รู ป แบบหนึ่ งหรื อหลายรู ป แบบ ดังนั้ น ผู้ เรี ยนจึงเป็นผู้ ที่มีประสบการณ์ตรงและเป็นผู้ ที่มีการรับรู้ส ามารถ พิจารณาถึงคุณลักษณะ คุณภาพและคุณค่าของสื่อการเรียนรู้ได้อย่างสมเหตุสมผล การประเมินผลนวัตกรรม โดยผู้เรียนเป็นสาคัญมีหลักการดังนี้ 2.1 ต้องประเมินผลทันทีหลังจากการใช้นวัตกรรมชิ้นนั้นเสร็จแล้วทันที ไม่ควรปล่อยไว้นานเพราะ จะทาให้ประสบการณ์จากการสัมผัสนวัตกรรม สื่อการเรียนการสอนนั้นเลือนหายไปได้ 2.2 ให้ผู้เรียนพิจารณาประเมินเฉพาะนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน โดยแยกสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออก เช่น แยกความสามารถในการสอนของผู้สอนออกเพื่อความชัดเจนในการประเมิน 2.3 ใช้แบบประเมินผลเฉพาะด้านของนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนชนิดนั้น ๆ เนื่องจากนวัตกรรม แต่ละประเภทมีคุณลักษณะเฉพาะในตัวสื่อเอง 2.4 ชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างถูกต้องว่าการประเมินผลนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนนั้นเพื่อมุ่งให้ได้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการวัดประเมินเพื่อหาคุณภาพของนวัตกรรมชิ้นนั้น 3. การประเมินผลโดยตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน การประเมิน ผลนวัตกรรมสื่ อการเรียนการสอน โดยตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้ เรียนเป็นการหา ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนเพื่อหาความเที่ยงตรง และนับว่าเป็นการพิสูจน์คุณภาพและคุณค่าของ สื่อการเรียนรู้นั้น การประเมินผลโดยวิธีนี้จะต้องมีการวัดว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง โดยวัดเฉพาะผล


142

ที่ เ ป็ น จุ ด ประสงค์ ข องการสอนที่ เ กิ ด จากการใช้ สื่ อ การเรี ย นรู้ นั้ น ๆ การประเมิ น ผลลั ก ษณะดั ง กล่ า วนี้ อาจจาแนกออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ วิธีที่ 1 กาหนดเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่าสุดไว้ เช่น ผู้เรียนต้องสอบได้ 80% หรือ 90% ของ คะแนนเต็มจึงจะถือว่าสื่อนั้นมีประสิทธิภาพ สื่อบางประเภทจะกาหนดเกณฑ์ไว้มากกว่า 1 เกณฑ์ เช่น การประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนแบบโปรแกรม หรือ ชุดการสอน จากสูตร E1/E2 โดยกาหนดเกณฑ์ มาตรฐานการประเมินไว้เช่น 80/80 Standard หรือ 90/90 Standard เป็นต้น วิธีที่ 2 ไม่ได้กาหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้ล่วงหน้าแต่จะพิจารณาประสิทธิภาพจากการเปรียบเทียบ กล่าวคือเปรียบเทียบผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญหรือไม่ หรือเปรียบเทียบว่า ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้นั้นสูงกว่า (หรือเท่ากันกับ) สื่อหรือเทคนิคการสอนอย่างอื่น เช่น การเปรียบเทียบผลการทดสอบหลังเรียนกับก่อนเรียนจากการใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน 2 ครั้ง (Pre-test และ Post-test) โดยใช้สถิติทดสอบชนิด T-dependent จากการคานวณเปรียบเทียบค่าวิกฤตจากสูตร t-test , Z-test เป็นต้น 6.1.4 ประเภทและลักษณะการประเมินผลสื่อการเรียนรู้ การประเมินผลสื่อการเรียนรู้ อาจจาแนกประเภทหรือลักษณะของการประเมินออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ ดังนี้ (วีณัฐ สกุลหอม.2557) ประเภทที่ 1 การประเมิ น ในกรณี เ ป็ นผู้ ผ ลิ ต สร้ า ง หรื อ พั ฒ นานวั ต กรรม สื่ อ การเรี ย นการสอน มี 10 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.1 การศึกษาเอกสาร งานวิจัยและแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้องหลังจากตัดสินใจว่าจะผลิตสื่อการเรียนรู้ ใดแล้ว เพื่อสร้างความมั่นใจควรจะมีการศึกษากรอบทฤษฎี ผลการวิจัยและแหล่งความรู้จากบุคคลอย่าง เพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางการผลิตหรือพัฒนานวัตกรรมสื่อการสอน 1.2 การวางแผนผลิต สร้าง หรือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ โดยกาหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างและ พัฒนาสื่อในรูปแบบวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม กาหนดวิธีการตลอดจนทรัพยากรที่ต้องการทุก ๆ ด้าน 1.3 การทาสื่อต้นแบบ เป็นการเตรียมวัสดุที่ใช้ในการเรียนการสอน คู่มือการใช้และแบบประเมิน เตรียมพร้อมเพื่อนาสื่อไปทดลองใช้ ในขั้นนี้อาจใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและเนื้อหาหลักสูตรได้ประเมินเบื้องต้น ผลการประเมินอาจมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงในประเด็นต่าง ๆ ก่อนจะทดลองใช้ในกลุ่มเล็กตามขั้นตอนต่อไป 1.4 การทดลองใช้กับกลุ่มเล็ก เป็นการทดลองเบื้องต้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลประเมินเชิง คุณภาพเบื้องต้น ของสื่ อการเรี ยนรู้ นิยมใช้สื่อในสถานศึกษากับผู้ เรียน 6 - 12 คนเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การสังเกต สัมภาษณ์และสอบถาม 1.5 การปรั บ ปรุ งสื่ อต้ น แบบ ในขั้นนี้เป็นขั้น ทบทวน ปรับปรุงผลจากการทดลองใช้ กับ กลุ่ ม เล็ ก เพื่อเตรียมความพร้อมไปใช้กับกลุ่มใหญ่ต่อไป


143

1.6 การทดลองใช้กับกลุ่มใหญ่ เป็นการทดลองใช้กับสถานศึกษา 5-15 แห่ง กับผู้เรียน 30-100 คน โดยมีการทดลองก่อนและหลังการใช้สื่อ ผลที่ได้นามาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์หรือกลุ่มควบคุมที่เหมาะสม ในขั้นตอนนี้เป็นการทดสอบว่าสื่อที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่เขียนไว้หรือไม่ 1.7 การปรับปรุง เป็นการปรับปรุงจากผลการทดลองใช้กับกลุ่มใหญ่ 1.8 การทดลองความพร้อมก่อนนาไปใช้ หลังจากปรับปรุงจนมีความมั่นใจในด้านคุณภาพจึงนาสื่อไป ทดลองใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพความพร้อมสู่การปฏิบัติ โดยนาไปใช้กับสถานศึกษาหลายแห่ง ผู้เรียน 40 200 คน เป็นขั้นตอนเพื่อทดสอบว่าสื่อการเรียนรู้ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีความพร้อมที่จะนาไปใช้จริงได้ หรือไม่เพียงไร 1.9 การปรับปรุงเกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตหรือพัฒนาส่วนใหญ่จะมีวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือประกอบการจัดการเรียนการสอนซึ่งต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมผลการทดลองใช้ว่ามีความ ชัดเจนสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด 1.10 การนาสื่อการเรียนรู้ไปใช้และจัดระบบเผยแพร่สื่อ เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากผ่าน ขั้นตอนต่าง ๆ จนเป็นที่น่าพอใจก็จะนาสื่อไปใช้จริงในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งเผยแพร่ต่อไป ประเภทที่ 2 การประเมินในกรณีเป็นผู้ใช้สื่อการเรียนรู้ (Users) แนวคิดนี้จะมีขั้นตอนหรือ กระบวนการประเมิน 2 ขั้นตอนสาคัญประกอบด้วย 2.1 การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural Basis) แบ่งออกเป็นการตรวจสอบในประเด็น ต่อไปนี้ 1. ลักษณะสื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย - ลักษณะเฉพาะตามประเภทสื่อการเรียนรู้ - มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards) - มาตรฐานด้านเทคนิควิธี (Technical Standards) - มาตรฐานด้านความมีสุนทรียภาพของสื่อ (Aesthetic Standards) 2. เนื้อหาสาระ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 คนเป็นผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระที่ปรากฏ ในสื่อการเรียนรู้ โดยแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ควรปรับปรุง หรือให้ความเห็นชอบให้ ดาเนินการต่อไป 2.2 การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative Basis) โดยปกติการดาเนินการทดลองใช้สื่อกับ ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายในสถานการณ์จริงแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การทดลองแบบเดี่ยว 1:1 การทดลองกลุ่มเล็ก 1:10 การทดลองกลุ่มใหญ่ 1:100 ผลการทดลองใช้สื่อจะนามาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน กล่าวคือสื่อการเรียนรู้ที่ประเมินมี คุณภาพมาตรฐานในระดับ 80/80 ในที่นี้ 80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนรวมเฉลี่ยของกลุ่มคิดเป็นร้อยละ


144

สาหรับ 80 ตัวหลัง หมายถึงร้อยละ 80 ของผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์แต่ละด้านของนวัตกรรมสื่อการเรียน การสอน 6.1.5 ขั้นตอนการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน พิสณุ ฟองศรี (2549) อ้างอิงจาก สุรศักดิ์ ปาเฮ (2553) ได้เสนอแนะแนวทางการประเมินผลสื่อการ เรียนการสอนไว้ 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. การศึกษาวิเคราะห์สื่อการเรียนการสอน ในกรณีการใช้สื่อผู้ประเมินหรือผู้สอนจาเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์สื่อที่นามาใช้จากรายละเอียดที่ ผู้ผลิตสื่อได้เตรียมไว้ แต่ถ้าเป็นการผลิต สร้างหรือพัฒนาขึ้นใช้เองนั้นผู้ประเมินจะเข้าใจสื่อเป็นอย่างดีจึงไม่มี ปัญหาในการศึกษาวิเคราะห์ 2. ศึกษาแนวทางการประเมิน แนวทางการประเมินผลสื่อการสอนที่นาเสนอไว้ในเบื้องต้นนั้นสามารถนามาปรับประเมินได้ 3. กาหนดวัตถุประสงค์หรือประเด็นการประเมิน ประเด็นการประเมินที่สาคัญสามารถนามากาหนดเป็นแนวทางการประเมินมาใช้ได้บ้าง โดยสรุป อาจได้จากแหล่งต่อไปนี้ 3.1 วัตถุประสงค์ของสื่อการสอน 3.2 แนวทางการประเมินสื่อ เช่นด้านเนื้อหา ด้านเทคนิค อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.3 จากประสบการณ์ของผู้ประเมิน 3.4 จากความต้องการของผู้ใช้ผลการประเมิน 3.5 จากการกาหนดร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง 4. การกาหนดขอบเขตการประเมิน ขอบเขตการประเมินสื่อการสอนต้องพิจารณาว่าประเมินในกรณีเป้นผู้ผลิต สร้างและพัฒนาหรือ ประเมินในกรณีเป็นผู้ใช้ เพราะรายละเอียดการประเมินจะแตกต่างกัน ถ้าเป็นผู้ผลิต สร้าง พัฒนาสื่อการสอน การประเมิน จะมีกระบวนการมากกว่ายุ่ งยากกว่าการประเมินในฐานะผู้ใช้ ในกรณ๊ของผู้ ใช้ส่ ว นมากเป็น ครูผู้สอนขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะลดลงอยู่ในวิสัยที่จะประเมินได้สะดวก 5. การพัฒนาตัวชี้วัด กาหนดเกณฑ์และค่าน้าหนัก การพัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินสื่อการเรียนการสอน สามารถพัฒนาได้จากประเด็นการประเมิน ในขั้นตอนที่ 3 โดยนาประเด็นการประเมินมาแตกเป็นองค์ประกอบย่อยและตัวชี้วัดหรือถ้าประเด็นไม่ใหญ่นัก ก็อาจใช้องค์ประกอบย่อยเป็นตัวชี้วัดได้เลย โดยอาจมีการปรับหรือเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม 6. การออกแบบหรือการกาหนดกรอบแนวคิดการประเมิน นาผลการดาเนินงานในขั้นตอนที่ 1 – 5 มาสรุปเป็นกรอบแนวคิดการประเมินเพื่อเป็นแนว ทางการเก็บข้อมูลภาคสนามในการประเมินต่อไป


145

7. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือการประเมินสื่อการสอน เนื่องจากการประเมินสื่อการสอน กรณีเป็นผู้ใช้สื่อจะมีขอบข่ายไม่กว้าง ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้จึงมี ไม่มาก เพราะประเด็นการประเมินและกลุ่มผู้ใช้มีจานวนน้อย ส่วนใหญ่จะเป้นครูผู้สอนซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มสาคัญ รองลงมาคือผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้จะเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ หรือแบบสังเกต แต่ถ้าเป็ นกรณีการ สร้างหรือพัฒนาสื่อต้องเพิ่มเครื่องมือและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลากขึ้น เช่นแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลัง เรียน หรือแบบวัดเจตคติ เป็นต้น 8. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ในกรณ๊เป้นผู้ใช้สื่อถ้าเป็น เชิงปริมาณจะใช้สถิติพื้นฐาน เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage, %) ค่าเฉลี่ย (Mean, X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, S.D.) ในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สาหรับกรณ๊ที่เป็นผู้ผลิต สร้างและพัฒนาสื่อการสอนต้องใช้สถิติเพิ่มเติมด้วย เช่น การทดสอบค่า t – test หรือการหาค่าประสิทธิภาพของสื่อการสอนจากสูตร E1/E2 เป็นต้น (ซึ่งจะอธิบายในส่วนถัดไป) 9. การเขียนรายงานการประเมินผลการใช้สื่อ รายงานการประเมินผลสื่อการสอนในกรณีที่เป็นผู้ใช้สามารถเขียนสรุปรายงานสั้น ๆ ได้ยกเว้นมี ความประสงค์จะเผยแพร่ หรือต้องการรวบรวมผลการประเมินหลาย ๆ เรื่องหรือรวบรวมในลักษณะการสรุป ของหน่วยงาน สถานศึกษาต่าง ๆ สาหรับกรณ๊ที่เป้นผู้ผลิต สร้างและพั ฒนาสื่อการสอนก็ต้องรายงานการ ประเมินผลสื่อที่สมบูรณ์เช่นเดียวกับบรายงานวิจัยทั่วไป

6.2 การหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน ในการผลิตสื่อการสอน เมื่อผู้สอนได้ทาการผลิตสื่อเป็นที่เรียบร้อย กระบวนการต่อไปก่นอที่จะมีการ นาสื่อปใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริงต้องมีการนาสื่อนั้น ๆ ไปทดสอบประสิทธิภาพเพื่อดูว่าสื่อ การสอนทาให้ผู้เรียน มีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ มีประสิทธิภาพในการช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนดาเนินไป อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงใด มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์หรือไม่และผู้เรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนจากสื่อ หรื อชุดการสอน ในระดับ ใด ดังนั้ น ผู้ ผ ลิ ตสื่ อการสอนจาเป็นจะต้องนา สื่ อหรือชุดการสอนไปหาคุณภาพ เรียกว่าการทดสอบประสิทธิภาพ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงษ์ ได้กล่าวถึงการหาประสิทธิภาพของ สื่อการสอน ดังนี้ (ชัยยงค์ พรหมวงษ์. 2556) 6.2.1 ความหมายของการทดสอบประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง สภาวะหรือคุณภาพของสมรรถนะในการดาเนินงาน เพื่อให้งาน มีความสาเร็จโดยใช้เวลาความพยายาม และค่าใช้จ่ายคุ้มค่าที่สุดตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยกาหนดเป็นอัตราส่วนหรือ ร้อยละระหว่างปัจจัยนาเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ (Ratio between input, process and output) ประสิทธิภาพเน้นการดาเนินการ ที่ถูกต้องหรือกระทาสิ่งใด ๆ อย่างถูกวิธี (Doing the


146

thing right) คาว่าประสิทธิภาพ มักสับสนกับ คาว่าประสิทธิผล (Effectiveness) ซึ่งเป็นคาที่คลุมเครือไม่เน้น ปริมาณและมุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเน้นการทาสิ่งที่ถูกที่ควร (Doing the right thing) ดังนั้นสองคานี้ จึงมักใช้คู่กัน คือ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 6.2.2 ความหมายของการทดสอบประสิทธิภาพ การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอน หมายถึง การหาคุณภาพของสื่อหรือชุดการสอน โดยพิจารณาตามขั้นตอนของการพัฒนาสื่อหรือชุดการสอนแต่ละขั้นตรงกับภาษาอังกฤษว่า Developmental Testing” Developmental Testing คือ การ ทดสอบคุณภาพตามพัฒนาการของการผลิตสื่อหรือชุดการสอน ตามล าดั บ ขั้ น เพื่ อ ตรวจสอบคุ ณ ภาพของแต่ ล ะองค์ ป ระกอบของต้ น แบบชิ้ น งานให้ ด าเนิ น ไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพ สาหรับการผลิตสื่อและชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพ หมายถึง การนาสื่อหรือ ชุดการสอนไป ทดสอบด้ว ยกระบวนการสองขั้น ตอน คือ การทดสอบประสิ ทธิภ าพใช้เบื้ อ งต้ น (Try Out) และทดสอบ ประสิทธิภาพสอนจริง (Trial Run) เพื่อหาคุณภาพของสื่อตามขั้นตอนที่กาหนดใน 3 ประเด็น คือ การทาให้ ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น การช่วยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนและทาแบบ ประเมินสุดท้ายได้ดี และการทา ให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ นาผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะผลิตออกมาเผยแพร่เป็นจานวนมาก 1. การทดสอบประสิ ท ธิภ าพ ใช้ เ บื้ อ งต้ น เป็ น การน าสื่ อ หรื อ ชุด การสอนที่ ผ ลิ ต ขึ้ น เป็ น ต้ นแบบ (Prototype) แล้วไปทดลอบประสิทธิภาพใช้ตามขั้นตอนที่กาหนดไว้ในแต่ละระบบ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ของสื่อหรือชุดการสอนให้เท่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้และปรับปรุงจนถึงเกณฑ์ 2. การทดสอบประสิทธิภาพ สอนจริง หมายถึง การนาสื่อหรือชุดการสอนที่ได้ทดสอบประสิทธิภาพ ใช้และปรับปรุงจนได้คุณภาพถึงเกณฑ์แล้วของแต่ละหน่วยทุกหน่วยในแต่ละวิชาไปสอนจริงในชั้นเรียนหรือใน สถานการณ์การเรียน ที่แท้จริงในช่วงเวลาหนึ่ง อาทิ 1 ภาคการศึกษาเป็นอย่างน้อยเพื่อตรวจสอบคุณภาพเป็น ครั้งสุดท้ายก่อน นาไปเผยแพร่และผลิตออกมาเป็นจานวนมาก การทดสอบประสิ ทธิภาพทั้งสองขั้ นตอน จะต้องผ่านการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา (Research and Development-R&D) โดยต้องดาเนินการวิจัย ในขั้น ทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นและอาจทดสอบประสิทธิภาพซ้าในขั้นทดสอบประสิ ทธิภาพใช้จริงด้ว ยก็ ได้ เพื่อประกันคุณภาพของสถาบันการศึกษาทางไกลนานาชาติ 6.2.3 ความจาเป็นที่ต้องหาประสิทธิภาพ การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนมีความจาเป็นด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ 1. สาหรับหน่วยงานผลิตสื่อหรือชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพช่วยประกันคุณภาพของสื่ อ หรื อ ชุ ด การสอนว่ า อยู่ ใ นขั้ น สู ง เหมาะสมที่ จ ะลงทุ น ผลิ ต ออกมาเป็ น จ านวนมาก หากไม่ มี ก ารทดสอบ ประสิทธิภาพเสียก่อนแล้ว เมื่อผลิตออกมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ดีก็จะต้องผลิตหรือทาขึ้นใหม่เป็นการสิ้นเปลือง ทั้งเวลา แรงงานและเงินทอง


147

2. สาหรับผู้ใช้สื่อหรือชุดการสอน สื่อหรือชุดการสอนที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพจะทาหน้าที่เป็น เครื่องมือช่วยสอนได้ดีในการสร้างสภาพการเรียนให้ผู้เรียนได้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่มุ่งหวัง บางครั้งชุด การสอนต้องช่วยครูสอน บางครั้งต้องสอนแทนครู (อาทิ ในโรงเรียนครูคนเดียว) ดังนั้นก่อนนาสื่อหรือชุดการ สอนไปใช้ ครูจึงควรมั่นใจว่าชุดการสอนนั้นมีประสิทธิภาพในการช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนจริงการทดสอบ ประสิทธิภาพตามลาดับขั้นจะช่วยให้เราได้สื่อหรือชุดการสอนที่มีคุณค่าทางการสอนจริงตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ 3. สาหรับผู้ผลิตสื่อหรือชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพจะทาให้ผู้ผลิตมั่นใจได้ว่าเนื้อหาสาระที่ บรรจุลงในสื่อหรือชุดการสอนมีความเหมาะสม ง่ายต่อการเข้าใจอันจะช่วยให้ผู้ผลิตมีความชานาญสูงขึ้น เป็น การประหยัดแรงสมอง แรงงาน เวลาและเงินทองในการเตรียมต้นแบบ 6.2.4 การกาหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ 1. ความหมายของเกณฑ์ (Criterion) เกณฑ์เป็นขีดกาหนดที่จะยอมรับว่าสิ่งใดหรือพฤติกรรมใด มีคุณภาพและหรือปริมาณที่จะรับได้การตั้งเกณฑ์ต้องตั้งไว้ครั้งแรกครั้งเดียว เพื่อจะปรับปรุงคุณภาพให้ ถึง เกณฑ์ขั้นต่าที่ตั้งไว้จะตั้งเกณฑ์การทดสอบประสิทธิภาพไว้ต่างกันไม่ได้ เช่น เมื่อมีการทดสอบประสิทธิภาพ แบบเดี่ยว ตั้งเกณฑ์ไว้ 60/60 แบบกลุ่ม ตั้งไว้ 70/70 ส่วนแบบสนามตั้งไว้ 80/80 ถือว่าเป็นการตั้งเกณฑ์ ที่ ไม่ถูกต้อง อนึ่ งเนื่ องจากเกณฑ์ที่ตั้ งไว้ เป็นเกณฑ์ต่ าสุ ด ดังนั้นหากการทดสอบคุณภาพของสิ่ ง ใดหรื อ พฤติกรรมใดได้ผลสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 หรืออนุโลมให้มีความคลาดเคลื่อนต่าหรือ สูงกว่าค่าประสิทธิภาพที่ตั้งไว้เกิน 2.5 ก็ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกหนึ่งขั้น แต่หากได้ค่าต่ากว่าค่าประสิทธิภาพ ที่ตั้งไว้ ต้องปรับปรุงและนาไปทดสอบประสิทธิภาพใช้หลายครั้งในภาคสนามจนได้ค่าถึงเกณฑ์ที่กาหนด 2. ความหมายของเกณฑ์ประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่จะช่วย ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นระดับที่ผลิตสื่อหรือชุดการสอนจะพึงพอใจว่าหากสื่อหรือชุดการ สอนมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้วสื่อหรือชุดการสอนนั้นก็มีคุณค่าที่จะนาไปสอนนักเรียน และคุ้มแก่การ ลงทุนผลิตออกมาเป็นจานวนมาก การกาหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทาได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมของ ผู้เรียน 2 ประเภท คือ พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ) กาหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E 1 = Efficiency of Process (ประสิทธิภาพของกระบวนการ) และพฤติกรรมสุดท้าย (ผลลัพธ์) กาหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E 2 = Efficiency of Product (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์) 2.1 ประเมิ น พฤติ ก รรมต่ อ เนื่ อ ง (Transitional Behavior) คื อ ประเมิ น ผลต่ อ เนื่ อ งซึ่ ง ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยของผู้เรียนเรียกว่า “กระบวนการ” (Process) ที่เกิดจากการประกอบ กิ จ กรรมกลุ่ ม ได้ แ ก่ การท าโครงการหรื อ ท ารายงานเป็ น กลุ่ ม และรายงานบุ ค คล ได้ แ ก่ งานที่ มอบหมายและกิจกรรมอื่นใดที่ผู้สอนกาหนดไว้ 2.2 ประเมินพฤติกรรมสุ ดท้าย (Terminal Behavior) คือ ประเมินผลลัพธ์ (Product) ของ ผู้เรียน โดยพิจารณาจากการสอบหลังเรียนและการสอบไล่


148

ประสิทธิภาพของสื่อหรื อชุดการสอน จะกาหนดเป็นเกณฑ์ที่ผู้ส อนคาดหมายว่าผู้เรียนจะเปลี่ ยน พฤติกรรมเป็นที่พึงพอใจ โดยกาหนดให้ของผลเฉลี่ยของคะแนนการทางานและการประกอบกิจกรรมของ ผู้ เ รี ย นทั้ ง หมดต่ อ ร้ อ ยละของผลการประเมิ น หลั ง เรี ย นทั้ ง หมด นั่ น คื อ E 1 / E 2 = ประสิ ท ธิ ภ าพของ กระบวนการ / ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ตัวอย่าง 80/80 หมายความว่าเมื่อเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนแล้ว ผู้เรียนจะสามารถทาแบบฝึ ก ปฏิบัติหรืองานได้ผลเฉลี่ย 80% และประเมินหลังเรียนและงานสุดท้ายได้ผลเฉลี่ย 80% การที่จะกาหนดเกณฑ์ E 1 /E 2 ให้มีค่าเท่าใดนั้นให้ผู้สอนเป็ นผู้พิจารณาตามความพอใจโดยพิจารณาพิสัยการเรียนที่จาแนกเป็น วิทยพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) และทักษพิสัย (Skill Domain) ในขอบข่าย วิทยพิสัย (เดิมเรียกว่า พุทธิพิสัย) เนื้อหาที่เป็นความรู้ค วามจามักจะตั้งไว้สูงสุดแล้วลดต่าลงมาคือ 90/90 85/85 80/80 ส่วนเนื้อหาสาระที่เป็นจิตพิสัยจะต้องใช้เวลาไปฝึกฝนและพัฒนาไม่สามารถทาให้ถึงเกณฑ์ระดับสูง ได้ ในห้องเรียนหรือในขณะที่เรียนจึงอนุโลมให้ตั้งไว้ต่าลงนั่นคือ 80/80 75/75 แต่ไม่ต่ากว่า 75/75 เพราะเป็น ระดับความพอใจต่าสุด จึงไม่ควรตั้งเกณฑ์ไว้ต่ากว่านี้ หากตั้งเกณฑ์ไว้เท่าใดก็มักได้ผลเท่านั้น ดังจะเห็นได้จาก ระบบการสอนของไทยปั จ จุ บั น ได้ ก าหนดเกณฑ์ โดยไม่ เ ขี ย นเป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรไว้ 0/50 นั่ น คื อ ให้ประสิทธิภาพกระบวนการมีค่า 0 เพราะครูมักไม่มีเกณฑ์เวลาในการให้งานหรือแบบฝึกปฏิบัติแก่นักเรียน ส่วนคะแนนผลลัพธ์ที่ให้ผ่านคือ 50% ผลจึงปรากฏว่าคะแนนวิชาต่าง ๆของนักเรียนต่าในทุกวิชา เช่น คะแนน ภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยเฉลี่ยแต่ละปีเพียง 51% เท่านั้น 6.2.5 วิธีการคานวนหาประสิทธิภาพ วิธีการคานวณหาประสิทธิภาพ กระทาได้ 2 วิธีคือ โดยใช้สูตรและโดยการคานวณธรรมดา 1. โดยใช้สูตร กระทาได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้


149

การคานวณหาประสิทธิภาพโดยใช้สูตรดังกล่าวข้างต้นกระทาได้โดยการนาคะแนนรวมแบบฝึกปฏิบัติ หรือผลงานในขณะประกอบกิจกรรมกลุ่ม/เดี่ยว และคะแนนสอบหลังเรียนมาเข้าตารางแล้วจึงคานวณ หาค่า E1 / E2 2. โดยใช้วิธีการคานวณโดยไม่ใช้สูตร หากจาสูตรไม่ได้หรือไม่อยากใช้สูตร ผู้ผลิตสื่อหรือชุดการสอนก็สามารถใช้วิธีการคานวณธรรมดาหา ค่า E1 และ E2 ได้ด้วยวิธีการคานวณธรรมดา สาหรับ E1 คือ ค่าประสิทธิภาพของงานและแบบฝึ กปฏิ บัติ กระทาได้โดยการนาคะแนนงานทุกชิ้นของนักเรียนในแต่ละกิจกรรมแต่ละคนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยและ เทียบส่วนโดยเป็นร้อยละ สาหรับค่า E2 คือ ประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการประเมินหลังเรียนของแต่ละสื่อ หรือ ชุดการสอน กระทาได้โดยการเอาคะแนนจากการสอบหลังเรียนและคะแนนจากงานสุดท้ายของนักเรียน ทั้งหมดรวมกันหาค่าเฉลี่ยแล้วเทียบส่วนร้อยเพื่อหาค่าร้อยละ 6.2.6 การตีความหมายผลการคานวน หลังจากคานวณหาค่า E1 และ E2 ได้แล้ว ผู้หาประสิทธิภาพต้องตีความหมายของผลลัพธ์โดยยึด หลักการและแนวทางดังนี้ 1. ความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวนของผลลัพธ์ได้ไม่เกิน .05 (ร้อยละ 5) จากช่วงต่าไปสูง = ±2.5 นั่นให้ผลลัพธ์ของค่า E1 หรือ E2 ที่ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์มีค่าต่ากว่า เกณฑ์ไม่เกิน 2.5% และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2.5% หากคะแนน E1 หรือ E2 ห่างกันเกิน 5% แสดงว่า กิจกรรมที่ให้นักเรียนทากับการสอบหลังเรียนไม่สมดุลกัน เช่น ค่า E1 มากกว่า E2 แสดงว่างานที่มอบหมาย อาจจะง่ า ยกว่ า การสอบหรื อ หากค่ า E2 มากกว่ า ค่ า E1 แสดงว่ า การสอบง่ า ยกว่ าหรือ ไม่ ส มดุล กั บงานที่ มอบหมายให้ทา จาเป็นที่จะต้องปรับแก้ หากสื่อหรือชุดการสอนได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างดีมีคุณภาพค่า E1 หรือ E2 ที่คานวณได้จาก การทดสอบประสิทธิภาพจะต้องใกล้เคียงกันและห่างกันไม่เกิน 5% ซึ่งเป็นตัวชี้ที่จะยืนยันได้ว่านักเรียนได้มี การเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่องตามลาดับขั้นหรือไม่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนพฤติกรรมขั้นสุดท้ายหรืออีกนัยหนึ่ง


150

ต้องประกันได้ว่านักเรียนมีความรู้จริงไม่ใช่ทากิจกรรมหรือทาสอบได้เพราะการเดาการประเมินในอนาคตจะ เสนอผลการประเมินเป็นเลขสองตัว คือ E1 คู่ E2 เพราะจะทาให้ผู้อ่านผลการประเมินทราบลักษณะนิสัยของ ผู้เรียนระหว่างนิสัยในการทางานอย่างต่อเนื่อง คงเส้นคงวาหรือไม่ (ดูจากค่า E1 คือกระบวนการ) กับการ ทางานสุดท้ายว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด (ดูจากค่า E2 คือกระบวนการ) เพื่อประโยชน์ของการกลั่นกรอง บุคลากรเข้าทางาน ตัวอย่าง นักเรียนสองคนคือเกษมกับปรีชา เกษมได้ผลลัพธ์ E1 / E2 = 78.50 / 82.50 ส่วนปรีชาได้ผลลัพธ์ 82.50 / 78.50 แสดงว่านักเรียนคนแรก คือ เกษมทางานและแบบฝึ กปฏิบัติทั้ งปี ได้ 78% และ สอบไล่ได้ 83% จะเห็นว่าจะมีลักษณะนิสัยที่เป็นกระบวนการสู้นักเรียนคนที่สองคือ ปรีชาที่ได้ ผลลัพธ์ E1 / E2 = 82.50 / 78.50 ไม่ได้ 6.2.7 ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ เมื่อผลิตสื่อหรือชุดการสอนขึ้นเป็นต้นแบบแล้ว ต้องนาสื่อหรือชุดการสอนไปหาประสิทธิภาพตาม ขั้นตอนต่อไปนี้ 1. การทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (1:1) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดสอบ ประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 1 – 3 คน โดยใช้เด็กอ่อน ปานกลาง และเด็กเก่งระหว่างทดสอบ ประสิทธิภาพให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่าหงุดหงิด ทาหน้าฉงน หรือ ทาท่าทางไม่เข้าใจหรือไม่ ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือ กิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทาและ ทดสอบหลังเรียนนาคะแนนมาคานวณหาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระกิจกรรม ระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น โดยปกติคะแนนที่ได้จากการทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยวนี้ จะได้คะแนนต่ากว่าเกณฑ์มาก แต่ไม่ต้องวิตกกังวลเมื่อปรับปรุงแล้วจะสูงขึ้นมาก ก่อนนาไปทดสอบประสิทธิ ภาพแบบสุ่มนั้น E1 / E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 60 / 60 2. การทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม (1:10) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดสอบ ประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 6 -10 คน (คละผู้เรียนที่เก่ง ปานกลาง อ่อน) ระหว่างทดสอบ ประสิทธิภาพให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่า หงุดหงิด ทาหน้าฉงน หรือ ทาท่าทางไม่เข้าใจหรือไม่ หลังจากทดสอบประสิทธิภาพให้ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือ กิจกรรม หรือภารกิจและงานที่มอบให้ ทาและประเมินผลลั พธ์ คือ การทดสอบหลังเรียนและงานสุ ดท้ายที่ม อบให้ นักเรียนทาส่งก่อนสอบประจาหน่วยให้นาคะแนนมาคานวณหาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุง เนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น คานวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุงใน คราวนี้คะแนนของผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกเกือบเท่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยจะห่างจากเกณฑ์ประมาณ 10% นั่น คือ E1 / E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 70 / 70 3. การทดสอบประสิทธิภาพภาคสนาม (1:100) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คน ทดสอบ ประสิทธิภาพสื่อหรื อชุดการสอนกับ นักเรียนทั้งชั้น (ปกติให้ใช้กับผู้เรียน 30 คน แต่ในโรงเรียนขนาดเล็ ก อนุโลมให้ใช้กับนักเรีย น 15 คน ขึ้นไป) ระหว่างทดสอบประสิทธิภ าพให้จับเวลาในการประกอบกิจ กรรม สั ง เกตพฤติ ก รรมของผู้ เ รี ย นว่ า หงุ ด หงิ ด ท าหน้ า ฉงน หรื อ ท าท่ า ทางไม่ เ ข้ า ใจหรื อ ไม่ ห ลั ง จากทดสอบ


151

ประสิทธิภาพภาคสนามแล้ว ให้ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ ทาและทดสอบหลังเรียน นาคะแนนมาคานวณหาประสิทธิภาพหากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ ดีขึ้น แล้วนาไปทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามซ้ากับ นักเรียนต่างกลุ่มอาจทดสอบประสิทธิภาพ 2 – 3 ครั้ง จนได้ค่าประสิทธิภาพถึงเกณฑ์ขั้นต่า ปรกติไม่น่าจะ ทดสอบประสิทธิภาพเกณฑ์สามครั้งด้วยเหตุนี้ขั้นทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามแทนด้วย 1:100 ผลลัพธ์ที่ได้ จากการทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามควรใกล้เคียงกัน เกณฑ์ที่ตั้งไว้หากต่า งจากเกณฑ์ไม่เกิน 2.5% ก็ให้ ยอมรั บ ว่ า สื่ อ หรื อ ชุ ด การสอนมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพตามเกณฑ์ ที่ ตั้ ง ไว้ หากค่ า ที่ ไ ด้ ต่ ากว่ า เกณฑ์ ม ากกว่ า -2.5 ให้ปรับปรุงและทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามซ้าจนกว่าจะถึงเกณฑ์ จะหยุดปรับปรุงแล้วสรุปว่าชุดการสอน ไม่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือจะลดเกณฑ์ลงเพราะ “ถอดใจ” หรือยอมแพ้ไม่ได้หากสูงกว่าเกณฑ์ ไม่เกิน +2.5 ก็ยอมรับสื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากค่าได้สูงกว่าเกณฑ์เกิน +2.5 ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เช่น ตั้งไว้ 80/80 ก็ให้ปรับขึ้นเป็น 85/85 หรือ 90/90 ตามค่าประสิทธิภาพได้ 6.2.7 ขั้นตอนการเลือกนักเรียนมาทดสอบประสิทธิภาพ นักเรียนที่ผู้สอนจะเลือกมาทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนควรเป็นตัวแทนของนักเรียนที่เรา จะนาสื่อหรือชุดการสอนนั้นไปใช้ ดังนั้น จึงควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ 1. สาหรับการทดสอบประสิทธิภาพ แบบเดี่ยว (1:1) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพครู 1 คน ต่อเด็ก 1 - 3 คน ให้ทดสอบประสิทธิภาพกับเด็กอ่อนเสียก่อน ทาการปรับปรุงแล้วนาไปทดสอบประสิทธิภาพกับเด็ก ปานกลางและน าไปทดสอบประสิ ทธิภ าพกับ เด็ กเก่ง อย่างไรก็ตามหากเวลาไม่ อ านวยและสภาพการณ์ ไม่เหมาะสมก็ให้ทดสอบประสิทธิภาพกับเด็กอ่อนหรือเด็กปานกลางโดยไม่ต้องทดสอบประสิทธิภาพกับเด็กเก่ง ก็ได้ แต่การทดสอบประสิทธิภาพกับเด็กทั้งสามระดับจะเป็นการสะท้อนธรรมชาติการเรียนที่แท้จริงที่เด็กเก่ง กลาง อ่อนจะได้ช่วยเหลือกันเพราะเด็กอ่อนบางคนอาจจะเก่งในเรื่องที่เด็กเก่งทาไม่ได้ 2. ส าหรั บ การทดสอบประสิทธิภ าพ แบบกลุ่ ม (1:10) เป็นการทดสอบประสิ ทธิภาพ ที่ครู 1 คน ทดสอบประสิทธิภาพกับเด็ก 6 – 12 คน โดยให้มีผู้เรียนคละกันทั้งเด็กเก่ง ปานกลาง เด็กอ่อน ห้ามทดสอบ ประสิทธิภาพกับเด็กอ่อนล้วนหรือเด็กเก่งล้วน ขณะทาการทดสอบประสิทธิภาพผู้สอนจะต้องจับเวลาด้วยว่า กิจกรรมแต่ละกลุ่มใช้เวลาเท่าไร ทั้งนี้เพื่อให้ทุกกลุ่มกิจกรรมใช้เวลาใกล้เคียงกันโดยเฉพาะการสอนแบบศู นย์ การเรียนที่กาหนดให้ใช้เวลาเท่ากัน คือ 10 – 15 นาที สาหรับระดับประถมศึกษาและ 15 – 20 นาทีสาหรับ ระดับมัธยมศึกษา 3. สาหรับการทดสอบประสิทธิภาพภาคสนาม (1:100) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ใช้ครู 1 คน กับนักเรียนทั้งชั้น กับนักเรียน 30 – 40 คน (หรือ 100 คน สาหรับสื่อหรือชุดการสอนรายบุคคล) ชั้นเรียน ที่เลือกมาทดสอบประสิทธิภาพจะต้องมีนักเรียนคละกันทั้งเก่งและอ่อน ไม่ควรเลือกห้องเรียนที่มีเด็กเก่งหรือ เด็กอ่อนล้วน สัดส่วนที่ถูกต้องในการกาหนดจานวนผู้เรียนที่มีระดับความสามารถแตกต่างกันควรยึดจานวน จากการแจกแจงปกติที่ จาแนกนักเรียนเป็น 5 กลุ่ม คือ นักเรียนเก่งมาก (เหรียญเพชร) ร้อยละ1.37 (1 คน)


152

นักเรียนเก่ง (เหรียญเงิน) ร้อยละ 14.63 (15 คน) นักเรียนปานกลาง (เหรียญเงิน) ร้อยละ68 (68 คน) นักเรียน อ่อน (เหรียญทองแดง) ร้อยละ 14.63 (15 คน) และนักเรียนอ่อนมาก (เหรียญตะกั่ว) ร้อยละ 1.37 (1 คน) โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าการหาประสิทธิภาพสื่อการสอนมีกระบวนการและขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ถึง กระนั้นผู้สอนเองจาเป็นต้องหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนก่อนที่จะนาไปใช้ในการสอนจริงเพื่อให้เกิด ประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด

สรุป การประเมินผลสื่อการสอนและการหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนมีความสาคัญมากในกระบวนการ ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ผู้สอนเองต้องให้ความสาคัญกับกระบวนการทั้งสองอย่างจริงจังเพื่อให้สื่อ การสอนที่ผลิตขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพในการนาไปใช้งานได้อย่างเต็มขีดความสามารถ

แบบฝึกหัดท้ายบท 1. ให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างของการประเมินสื่อการสอนและการหาประสิทธิภาพของสื่อ การสอน (2 คะแนน)


153

เอกสารอ้างอิง ชัยยงค์ พรหมวงษ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือ ชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2556) บุญชม ศรีสะอาด. (2533). การประเมินผลสื่อการสอน. วารสารโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สปช. ฉบับที่ 4 ปี 2533 : 23 - 29 วีณัฐ สกุลหอม. (2557). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา. หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏสวนดุสิต วชิราพร อัจฉริยโกศล. (2536). การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์. 21 (3) (มีนาคม 2536) : 13 - 31 สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2) แพร่ : หจก.แพร่ไทย อุตสาหการพิมพ์ สาคร อัฒจักร. (ออนไลน์). หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สื่อการเรียนการสอน. เอกสารประกอบการสอน กระบวนการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีการเรียนการสอน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503780/Unit04/unit04_007.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 1.12.2559


154

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 7 หัวข้อเนื้อหา 1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับทิศทางการศึกษา 2. แนวโน้มการเรียนรู้ดิจิทัล “MAGICS” สาหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3. การนาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อเรียนจบในบทที่ 7 แล้ว ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับทิศทางการศึกษาได้ 2. อธิบายแนวโน้มการเรียนรู้ดิจิทัล “MAGICS” สาหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ 3. บอกถึงการนาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้


155

บทที่ 7 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทาให้มีวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการ เรียนการสอนและเทคนิควิธีการใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าจากเดิมที่ผู้สอน ใช้กระดานดาในการนาเสนอเนื้อหาบทเรี ยน ปั จจุบันมาเปลี่ ยนเป็นกใช้อุ ปกรณ์พกพา อาทิ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการบริหาร จัดการให้มีความน่าสนใจมากขึ้น แนวโน้ม ของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคต จะมีการ เปลี่ยนแปลงอะไรไปในทิศทางใดบ้างเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงควรทราบถึง พัฒนาการของเทคโนโลยีและแนวโน้มในอนาคตในการเรียนการสอน

7.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับทิศทางการศึกษา แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บับ ที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้ ก ล่ า วถึ ง ปั จ จั ยด้าน การศึกษา โดยมีการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง โดย (1) ปฏิรูป ระบบบริหารจัดการทางการศึกษา โดยปรับระบบบริหารจัดการการศึกษาใหม่เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อ ผลลัพธ์ (Accountability) (2) ปฏิรูประบบการคลังด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการจัด การศึกษาโดยการจัดสรรงบประมาณตรงสู่ผู้เรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในการจัดการศึกษา (3) พัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ ตั้งแต่กระบวนการผลิต สรรหา และการคัดเลือกให้ได้คนดีคนเก่ง รวมทั้งระบบ การประเมินและรับรองคุณภาพที่เน้ นผลลัพธ์จากตัวผู้เรียนและ (4) ปฏิรูประบบการเรียนรู้ โดยมุ่งจัดการ เรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถนะกาลังคนทั้งระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมศึกษาจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนา สื่อเพื่อการเรียนรู้ปรับหลักสูตรและผลิตกาลังคนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาด การวิจัยและการใช้เทคโนโลยีและสื่อเพื่อการเรียนรู้ จะพบว่าจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 มุ่งเน้นการปฏิรูประบบการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับปฐมศึกษาจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในการจัดการศึกษาจึงจาเป็นต้องมีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน สื่อและนวัตกรรรมการเรียนการสอนเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบ ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการนาเทคโนโลยีการศึกษาที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเข้ามา ช่วยในการจัดการเรียนการสอน


156

7.2 แนวโน้มการเรียนรู้ดิจิทัล “MAGICS” สาหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ปั จ จุ บั น แนวโน้ ม การเรี ย นรู้ ดิ จิ ทั ล ได้ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นไปตามเทคโนโลยี ที่ พั ฒ นาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ตลอดเวลาเราสามารถสรุ ป แนวโน้ มโลกการเรี ยนรู้ดิ จิทัล โดยใช้ตัว อักษรย่อ คือ คาว่า “MAGICS”ซึ่ง มี ความหมายในภาษาไทย ได้แก่ เวทย์มนตร์ หรือ มายากลซึ่งแนวโน้มใหม่ๆ ของการเรียนรู้ดิจิทัลนี้ จะเข้ามามี บทบาทสาคัญในวงการศึกษาในอนาคตอันใกล้ ผู้สอนผู้เรียน และ ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษา จึงต้อง เริ่มปรับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่กาลังเข้ามาในวงการศึกษาอย่างรวดเร็ว แนวโน้มการเรียนรู้ดิจิทัล “MAGICS”มาจาก เทคโนโลยีที่สาคัญ 7 ประเภท (ถนอมพร เลาหจรัสกุล.2559) 1. M – Mobile & MOOC Mobile คือการเรียนรู้ที่อาศัยอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้ ซึ่งไม่ได้ หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนอย่างเดียวแต่หมายถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถพกพาติดตัวไปได้ เช่น แท็บเล็ต โน้ตบุ๊กหรือคลิกเกอร์ เป็นต้น ประโยชน์หลักของการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้แก่ การใช้ เพื่อการสืบค้นข้อมูลในลักษณะเครื่องมือสืบค้นเคลื่อนที่เพื่อการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ทันทีและตลอดเวลา การใช้เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกเหนือจากเวลาเรียนในห้องเรียนและการใช้เพื่อการเรียนรู้ผ่านสื่อและ แอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันการเรียนผ่านอุปกรณ์พกพาได้รับ ความนิยมมากเนื่องจากการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่มีอุปกรณ์เคลื่อนที่ไว้ใช้งานอีกทั้งผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ผ่ าน อุปกรณ์มือถือทุกอุปกรณ์ ทุกแพลทฟอร์มได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้อย่างอิสระผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ทุกที่ ทุกเวลา สุดท้ายผู้เรียนสามารถใช้อุปกรณ์พกพาพร้อมแอปต่าง ๆ เช่น A.R. เป็นต้น เพื่อการเรียนรู้ในบริบทและสถานที่จริงได้อีกด้วย 2. MOOC–Massive Open Online Course ในภาษาไทยถ้าจะแปลตรง ๆ ก็จะแปลได้ว่า “รายวิชาออนไลน์ที่เปิดให้ใช้ฟรีสาหรับคนจานวนมาก” หรือการเรียนระบบเปิดที่มีรูปแบบการนาเสนอการ เรียนรู้หลักสูตรต่าง ๆ ทางออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้พร้อม ๆ กันในจานวนมาก (250 คนขึ้นไป จนถึงหลักแสน) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการฟรีซึ่ง MOOC นี้เป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการการศึกษาของ โลกโดยการใช้เทคโนโลยีและวิธีการเรียนการสอนใหม่ ๆ ทาให้ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนจากทั่วโลกสามารถเข้าเรียน ได้ผ่านทางออนไลน์โดยการเรียนการสอนผ่าน MOOC จะมีการใช้สื่อประกอบที่หลากหลาย เช่น วีดิโอ หนังสือ กระดานข่าว กระดานสนทนา แบบทดสอบ เป็นต้น ผู้เรียนสามารถที่จะสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง ผู้เรียนหรือผู้สอนและผู้ช่วยสอน รวมถึงสอบถามรายละเอียดเนื้อหาต่าง ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยในปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ชั้นนาของโลกได้เปิดสอนในรูปแบบ MOOC หลายมหาวิทยาลัย เช่น MIT, Stanford, UC Berkeley, Harvard, UCLA เป็ น ต้ น แพลทฟอร์ ม ของ MOOC ที่ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก กั น เป็ น อย่ า งดี ไ ด้ แ ก่ EdX, Coursera, Udacity 3. A – Analytics การนาไอทีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ของผู้เรียน เช่น การวัด การเข้าชั้นเรียน ความก้าวหน้าของการเรียน การทากิจกรรม การมีปฏิสัมพันธ์ภายในชั้นเรียน ฯลฯ เพื่อให้ สามารถออกแบบการเรียนรู้ในลักษณะที่ตอบสนองความแตกต่างรายบุคคลของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น เช่น การจัด เนื้อหาที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียนตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมี


157

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้สอนสามารถเข้าใจพฤติกรรมผู้เรียนได้ทันที และหาทางป้องกันความล้มเหลว ในการเรียนของผู้เรียน โดยศึกษาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนที่ระบบได้บันทึกไว้และนามาวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้เริ่มมีการนาข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนแล้ว เช่น The OPEN University ประเทศอังกฤษ และ Carnegie Mellon University (CMU) เป็นต้น 4. G – Gamifications หมายถึงการนาเนื้อหาการเรียนรู้ไปออกแบบในสิ่งแวดล้อมของเกม หรือ อาจกล่าวอีกนัยนึงได้ว่า คือ การนาเอาแนวคิดที่เกี่ยวกับเกมและการออกแบบเกมมาประยุกต์ใช้ในการจูงใจ และทาให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนรู้ผ่านความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง (Goal) ส่วนใหญ่อยู่ ในรูปของการจาลองสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เล่นและเรียนรู้ในสถานการณ์ตัวอย่าง เช่น เกมการ สอนภาษาอังกฤษผ่านอวตาร์ Eternal Story ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเป็นแบบ MMORPG (Massive Multi-Players Online Role Playing Games) คือเกมที่ผู้เล่นหลายคนเข้ามาเล่นในเวลาเดียวกัน และเสมือน อยู่ในโลกเดียวกัน โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และผู้เล่น (ผู้เรียน) แต่ละคนจะสวมบทบาท เป็นตัวละครตัวหนึ่งในโลกนั้นด้วย ตัวอย่างของ MMORPG ที่รู้จักกันดีในประเทศไทยในหลายปีที่ผ่านมาได้แก่ เกม Ragnarok Online เป็นต้น 5. I – Internet of (Every) Thing(s) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ มีการฝังสมาร์ทเซนเซอร์ หรือ ชิปไว้ เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยที่อุปกรณ์นั้นสามารถส่งผ่านข้อมูล / สารสนเทศ ระหว่างกันเพื่อเพิ่มประโยชน์และคุณค่าของบริการ โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ผลิต กับ โอเปอเรเตอร์ และ/ หรื อกับ อุป กรณ์อื่น ๆ ที่มีส มาร์ ทเซนเซอร์ หรือ ชิพฝั งตัว อยู่เช่นกัน ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้ Internet of (Every) Thing(s) นี้กับเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์หลาย ๆ อย่าง เช่น ลาโพง (speaker) ที่มีการฝังสมาร์ท เซ็นเซอร์เข้าไปสามารถที่จะทางานในลักษณะของคอมพิวเตอร์ (ทางานคล้าย Siri ของ ไอโฟน) โดยที่ผู้ใช้ สามารถตั้งคาถาม โดยลาโพงที่ฝังชิปไว้จะทาการสืบค้นเสิร์ชเอนจิน และ เมื่อพบคาตอบก็จะตอบคาถาม กลับมายังผู้ถามได้หรือการฝังสมาร์ทเซ็นเซอร์ ในรถยนต์เพื่อทาหน้าที่สื่อสารระหว่างรถยนต์กับ GPS (Global Positioning System) เพื่อให้ผู้ขับขี่ทราบถึงสภาพการจราจรล่วงหน้า เพื่อปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถโดย หลีกเลี่ยงเส้นทางการจราจรที่ติดขัดเพื่อลดการสิ้นเปลืองน้ามัน เป็นต้น 6. C – Cloud For Learning หมายถึงรูปแบบการให้บริการ ในลักษณะการแบ่งปันทรัพยากร แอพพลิเคชั่น และ/ หรือข้อมูล ต่าง ๆ โดยทรัพยากรแอปพลิเคชันและข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้บนเครื่อง Server ขนาดใหญ่ ที่สามารถให้บริการกับผู้คนจานวนมากได้ ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Cloud ได้ผ่าน ทางคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น PC มือถือ แท็บเล็ต ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ได้ เ มื่ อ ผู้ ใ ช้ มี ค วามต้ อ งการใช้ ง านทรั พ ยากร แอพพลิ เ คชั่ น หรื อ ข้ อ มู ล ก็ ส ามารถเรี ย กใช้ บ ริ ก ารผ่ า นเว็บ เบราว์เซอร์หรือแอปพลิเคชันที่ให้บริการต่าง ๆ ได้โดยสะดวก โดยผู้ใช้สามารถที่จะใช้งาน Cloud ได้จากทุก สถานที่ ทุกเวลา เพียงแต่ต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเท่านั้นตัวอย่างบริการ เช่น Google for Education, Office 365, One Drive, Google Drive, Drop Box เป็นต้น


158

7. S – Social Media หมายถึงสื่อสังคมออนไลน์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ที่สร้าง เนื้อหา (Content) ด้วยข้อความ รูปภาพกราฟิก เสียง หรือคลิปวีดีโอ เป็นต้น ทางเว็บไซต์หรือ Applications ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและตอบสนองทางสังคมออนไลน์ได้หลายทิศ ทางผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายสังคมการเรียนรู้หรือเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ Social Media สนั บ สนุ น การโต้ตอบระหว่างผู้ ใช้งานทั้งในลั กษณะเวลาเดียวกัน (Synchronous) และ ต่างเวลา (Asynchronous) ทั้งในลักษณะของการสื่อสารที่เป็นทางการ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ สารสนเทศ หรือ ไม่เป็นทางการ เช่น การแสดงออกถึง ความรู้สึก อารมณ์ ความคิดเห็น ส่วนตัวด้วยความนิยมของ Social Media ในปัจจุบันทาให้เกิดเทคโนโลยี เครื่องมือสาหรับ Social Media อย่างต่อเนื่องบ้างก็ได้รับความนิยม บ้างก็หายไปในเวลาอันรวดเร็วที่คนไทยรู้จักกันดี ได้แก่ Facebook, Line และ Instagram ปัจจุบันผู้สอนนิยม นา Social Media มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ในอนาคต แนวโน้มการเรียนรู้ ทั้ง 7 ในชื่อของ MAGICS อาจจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สาคัญในชีวิต จึ งเป็ น หน้ าที่ของผู้ มีส่ ว นเกี่ย วข้ องกับ การพัฒ นาการศึ ก ษา ที่จะหั นมาให้ ความส าคั ญ ทาความเข้าใจใน เทคโนโลยีทั้ง 7ดังกล่าวเพื่อสามารถนามาปรับประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

7.3 การนาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน 7.3.1 Internet of Thing ความหมาย เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) หรือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ ง ” หมายถึง การที่สิ่งต่าง ๆ ถูก เชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทาให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทาง เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การสั่งเปิด - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องใช้สานักงาน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือนเครื่อ งใช้ใน ชีวิตประจาวันต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น แนวคิดสาคัญของ Internet of Thing คือ การที่เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยไม่ได้จากัดเพียง จะต้องเป็นมนุษย์สื่อสารกับมนุษย์ หรือมนุษย์สื่อสารกับอุปกรณ์เทคโนโลยีเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการที่อุปกรณ์ สิ่งของต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันเองได้ด้วย เช่น ในทางการแพทย์สาหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ แพทย์สามารถทาการ ฝังอุปกรณ์ลงไปในร่างกายของผู้ป่วย เพื่อคอยตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วย ถ้าหากมีระดับการเต้น ของหัวใจที่ผิดปกติอุปกรณ์ที่ติดตั้งเอาไว้จะทาการเชื่อมต่อไปยังระบบของโรงพยาบาล ซึ่งระบบก็จะส่งข้อมูล ไปยังแพทย์ที่รับผิดชอบทันทีเพื่อแพทย์จะได้ทาการช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที นอกจากการฝังอุปกรณ์ลงไป ในร่างกายของผู้ป่วยแล้วยังมีการฝังชิปลงในร่างกายหรือปลอกคอของสัตว์เลี้ยงเพื่อจะได้ตรวจสอบข้อมูล เจ้าของหรือติดตามสัตว์เลี้ยงเวลาหายได้อีกด้วย


159

ภาพที่ 7.1 Internet of Things (IOT) ที่มา : https://datafloq.com/read/internet-of-things-angels-and-demons/1134 การนา IoT มาใช้กับการศึกษา ปัจจุบันได้มีการนา IoT มาใช้ในหลากหลายรูปแบบ แต่โดยส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้โดยตรงกับการเรียน การสอน แต่จะเป็นการนามาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยสร้างประสบการณ์หรือนาเสนอข้อมูลในสถานการณ์นอก ห้ องเรี ย น Informal learning environment เช่น ผู้ เข้าชมพิพิธ ภัณฑ์ส ามารถใช้สมาร์ทโฟนรับคาอธิบาย ต่าง ๆ เกี่ยวกับวัตถุจัดแสดงได้ โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่มายืนอธิบายให้ฟัง เราสามารถใช้สมาร์ทโฟนสแกนที่ สมาร์ ท แท็ ก Smart tags เช่ น QR code, RFID (Radio-frequency identification), NFC (Near field communication) หรือ ใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) โดยเราสามารถเห็นข้อมูลส่วนขยายแบบ สามมิติควบคู่ไปกับวัตถุจัดแสดงในเวลาเดียวกัน เราสามารถใช้สมาร์ทโฟนเข้าถึงข้อมูลประวัติศาสตร์ ของวัตถุ โบราณ โบราณสถาน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง

ภาพที่ 7.2 การนา QR Code มาใช้ในงานห้องสมุด ที่มา : https://stanglibrary.wordpress.com/2012/11/07/บรรณารักษ์ชวนรู้-qr-code/


160

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ IoT (IoT-based learning) 1. การสอนด้านการเขียนโปรแกรม (Programming / Coding) การเขียนโปรแกรมเป็นทักษะที่นักเรียนสมัยใหม่จาเป็นที่จะต้องรู้เนื่องจากเป็นการช่วยให้ฝึกคิดอย่าง มีระบบ Critical Thinking ในประเทศอังกฤษได้มีการบรรจุวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรม ไว้ในหลักสูตรชั้นประถมศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านภาษา (Literacy) การอ่าน การเขียน และแก้ปัญหา นักเรียนสามารถเริ่มเรียนรู้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมภาษาภาพก่อน เช่น โปรแกรม Scratch โดยการนาบล็อกคาสั่ง ต่าง ๆ มาเรี ย งต่อกัน เป็ น โปรแกรมสั่ งให้ตัวละครเกิดการเคลื่อนไหว เป็นต้น เมื่อนักเรียนมีพื้นฐานที่ดีมี ความเข้าใจมากขึ้นก็สามารถศึกษาการเขียนโปรแกรมที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นได้ เช่น การเขียนโปรแกรม บนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก single-board computers เช่น Raspberry Pi (RPi) หรือ ไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น Arduino หรือ Intel Galileo การเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์ขนาดเล็กนี้สามารถทาให้นักเรียนได้เห็น ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้ทันที เมื่อเราเชื่อมต่อเข้ากับเซ็ นเซอร์ มอเตอร์ จอแสดงผล ลาโพง เช่น การเขียน โปรแกรมปิดไฟเมื่อไม่มีแสงสว่างเปิดไฟเมื่อมีแสงสว่าง เขียนโปรแกรมควบคุมมอเตอร์ เขียนโปรแกรมตรวจ ผู้บุกรุกบ้าน หรือควบคุมหุ่นยนต์ เป็นต้น

ภาพที่ 7.3 การสอนด้านการเขียนโปรแกรม (Programming / Coding) ที่มา : https://spidyhero.wordpress.com/2016/09/03/พัฒนาการศึกษาด้วย-iot-educationdevelopment-with-internet-of-t/ 2. การเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Science & technology นักเรียนสามารถเรียนรู้ในการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นตัวเลข กราฟ ภาพถ่าย อีกทั้งยัง สามารถใช้ RPi หรือ Arduino ช่วยสอนเพื่อเรียนวิชาทางอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ สมารถช่วยกระตุ้นความ สนใจในการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน อธิบายความคิดที่ซับซ้อน Complex concept ได้


161

การบันทึกข้อมูล Data logging นักเรียนสามารถใช้ IoT ช่วยในการเก็บ บันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ผล เช่น การใช้แอปพลิเคชัน Google Science Journal เป็นการใช้ประโยชน์จากเซ็นเซอร์ตรวจจับความเข้มของ แสงสว่าง ระดับเสียง วัดระยะห่าง การเคลื่อนไหว ที่อยู่บนสมาร์ทโฟนเพื่อเก็บข้อมูล หรือมาประยุกต์สร้างการ ทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือการนาข้อมูลมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นใช้เซ็นเซอร์ตรวจสอบความชื้นในดิน เมื่อในดินไม่มีความชื้นเพียงพอก็ใช้ข้อมูลนั้น ๆ ไปควบคุมหรือสั่งงานให้เครื่องรดน้าต้นไม้ทางาน 3. การเรียนรู้แบบนักประดิษฐ์ (Tinkering/ Making) เนื่องจากปัจจุบันเครื่องมือที่สนับสนุนนักประดิษฐ์ มีหลากหลาย มากมาย และราคาถูก นักเรียน สามารถค้นหาข้อมูล หรือตัวอย่างได้สะดวกรวดเร็วจากอินเทอร์เน็ตหรือจากกลุ่มนักประดิษฐ์ หรือเราเรียกว่า Makers มีเครื่องมือสนับสนุนนักประดิษฐ์ที่น่าสนใจเช่น 3.1 เครื่องพิมพ์สามมิ ติ 3D printer เข้ามามีบทบาทมากในปัจจุบัน สนับสนุนให้เมกเกอร์สามารถ สร้างสรรค์ผลงานได้ตามต้องการได้ง่ายดายขึ้น อีกทั้งยังสนับสนุนการเรียนการสอนทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ได้อีกด้วย นักเรียนสามารถศึกษาถึงกระบวนการการทางานศึกษาเรื่อง พลาสติกที่นามาพิมพ์ เรื่องการออกแบบโครงสร้างก่อนพิมพ์ด้วยสมการคณิตศาสตร์ เรียนรู้เรื่อง สองมิติ และสามมิติ เรื่องโครงสร้างสะสาร อะตอม โมเลกุล ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้เ พราะ สามารถพิมพ์ออกมาจริงได้

ภาพที่ 7.4 เครื่องพิมพ์สามมิติ 3D printer ที่มา : https://spidyhero.wordpress.com/2016/09/03/พัฒนาการศึกษาด้วย-iot-educationdevelopment-with-internet-of-t/ 3.2 หุ่ น ยนต์ เป็ น โปรเจคที่ถูกน ามาใช้ในการเรียนการสอนในระดั บมหาวิ ทยาลั ย แต่ในปัจจุบั น สามารถนามาให้นักเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษาเรียนรู้กันได้แล้ว เนื่องจากมีอุปกรณ์ ช่ว ยเหลื อมากมายด้านฮาร์ ดแวร์และซอฟต์แวร์ พัฒ นาเด็กนักเรียนให้ ทางานเป็นกลุ่ ม รู้จัก แก้ปัญหาส่งเสริมการเรียนบูรณาการ และ STEM


162

ภาพที่ 7.5 การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ ที่มา : https://spidyhero.wordpress.com/2016/09/03/พัฒนาการศึกษาด้วย-iot-educationdevelopment-with-internet-of-t/ นักเรียนได้อะไรจากการเรียนด้วย IoT 1. ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning) เนื่องจากโครงงาน IoT จาเป็นจะต้องใช้ ความสามารถหลากหลายร่วมกันจึงจะสาเร็จ นักเรียนร่วมกันคิด ออกแบบ คนหนึ่งอาจจะเขียนโปรแกรม อีกคนต่อวงจร อีกคนออกแบบกราฟิกแอปพลิเคชันจะเห็นได้ว่านักเรียนจะต้องเรียนรู้การทางานร่ว มกัน รู้จักเป็นผู้นา ผู้ตาม และผู้ฟังที่ดี 2. รู้จักการแก้ไขปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based learning) ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้น ของการสร้างสรรค์ นักเรียนจะได้คิดว่าจะเริ่มแก้ปัญหาอะไร เช่นจะทาอุปกรณ์ให้อาหารแมวเมื่อเราไม่อยู่บ้าน อย่างไร ระหว่างการทางการทางานปัญหามักเกิดขึ้นเสมอ นักเรียนจะได้ฝึกความอดทน หาข้อมูลแก้ปัญหา เป็นขั้นเป็นตอน จนประสบความสาเร็จ หรือถ้าไม่สาเร็จนักเรียนจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดซึ่งนาไปสู่การแก้ปัญหา ครั้งใหม่ในการพัฒนางานต่อไปในอนาคต 3. กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและยั่งยืน (Self-directed learning) เมื่อนักเรียนประสบ ความสาเร็จจากการสร้างสรรค์ จากโจทย์ที่มีความซับซ้อนไม่มากด้วยตนเองได้และจะทาให้นักเรียนมีกาลังใจ พัฒนาทางานที่ซับซ้อนมากขึ้น ไปได้โดยไม่ย่อท้อ เช่นเขียนโปรแกรมควบคุมสวิทช์ เมื่อทาได้แล้ว อาจจะ สามารถนาไปพัฒนาระบบปิดเปิดประตูบ้าน เปิดปิดการทางานของมอเตอร์ ปั้ มน้า เครื่องให้อาหารสัตว์ผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ต 4. ส่งเสริมเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส (multisensory learning) IoT จะเปิดโอกาสให้นักเรียน สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสหลากหลาย ใช้มือจับ ประกอบ ควบคุมเครื่องมือ หูฟัง สายตาสังเกต เมื่อประสาทสั มผั ส ต่าง ๆ ถู กกระตุ้น ไปพร้อมกัน จะทาให้ ส มองพัฒ นาการได้รวดเร็ว ขึ้นกว่าการกระตุ้ น ประสาทสัมผัสพียงอย่างเดียว เปรียบเสมือนเวลาที่เราเล่นเครื่องดนตรี มือจะต้องเคลื่อนไหวเพื่อควบคุม สายตาดูโน้ต หูฟังเสียง ปากเปล่งเสียง


163

5. สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ (Gender equality) จากผลการวิจัยต่าง ๆ จะพบว่าเด็กชาย จะสนใจหรือให้ความสาคัญกับเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ มากกว่าเพศหญิง แต่การประยุกต์ IoT ในการเรียน การสอนอาจจะทาให้นักเรียนหญิงมีความสนใจทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เช่นการบูรณาการ IoT กับการ ออกแบบ และแฟชั่น การให้นักเรียนหญิงช่วยกันออกแบบเครื่องนุ่งห่ม สร้อยข้อมือ สร้อยคอ ที่สามารถแสดง ไฟหลากสีเมื่อเราเคลื่อนไหว ผลการศึกษาจาก Intel แสดงให้เห็นว่าเด็กผู้หญิงที่สนใจในการออกแบบและ ประดิษฐ์ สิ่งต่าง ๆ กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถพัฒนาทักษะ และความสามารถ ความเป็นเลิศทาง วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ได้ดีในอนาคต สรุปว่า การนาเทคโนโลยี Internet of Things : IoT เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะมีส่วน สร้ างให้ ผู้ เรี ยนเกิดกระบวนการทางานเป็ นทีม (Collaborative Learning) และกระบวนการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ 7.3.2 เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality : VR) ความก้ า วหน้ า ของเทคโนโลยี ถู ก พั ฒ นาปรั บ เปลี่ ย นไปอย่ า งไม่ ห ยุ ด ยั้ ง วงการศึ ก ษาได้ มี ก ารน า เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน หนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality:VR) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกกล่าวถึง มาได้ระยะหนึ่งและถือว่ายังเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจในยุคปัจจุบันและอนาคต ความหมายของความเป็นจริงเสมือน การที่มนุษย์สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เกินกว่าความเป็นจริงปกติ กล่าวคือ การที่มนุษย์มี ส่วน ร่วมกับบรรยากาศที่เปรียบเสมือนจริงแต่มีความรู้สึกที่ดีและเกินจริงแต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้มีอยู่จริงเกิดจากการ สร้างขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยี โดยปกติแล้วจะมีฮาร์ดแวร์ที่ป้อนตรงต่อประสาทสัมผัสด้านการเห็น เป็นที่สวม ศีรษะที่มีจอป้อนภาพ (Head-Mounted Display - HMD) ให้ตาทั้งสองได้เห็นภาพเป็นสามมิติจากจอภาพ ขนาดเล็กที่ให้ภาพและเมื่อผู้ใช้เคลื่อนไหว ภาพก็จะถูกสร้างให้รับกับความเคลื่อนไหวนั้น บางกรณีก็จะมี หูฟัง แบบสเตอริโอให้ได้ยินเสียงรอบทิศทาง และอาจมีถุงมือรับข้อมูล (data glove) หรืออุปกรณ์อื่นที่จะทาให้ผู้ใช้ โต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมจาลองที่ตนเข้าไปอยู่ การสร้างขึ้นจะเลียนแบบมาจากความจริงแต่สามารถมองเห็นได้ใน ระบบสามมิติ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของนักธุรกิจบางส่วนมาก เพราะสามารถดัดแปลงไปใช้ในงานหลายๆ ด้าน เช่นงานด้านสารสนเทศ อาศัยความจริงเสมือน เพื่อเรียกให้ผู้คนมาสนใจด้านสารสนเทศ กระตุ้นประสาท สัมผัสของมนุษย์ให้รับรู้และเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเป็นผลดีต่อมนุษย์ที่รับรู้ได้รวดเร็วและง่ายต่อการจดจา ความเป็นมาของความเป็นจริงเสมือน ความเป็นจริงเสมือนเป็นวิวัฒนาการอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีที่เกิดจากการวิจัยของรัฐบาลอเมริกัน เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสาหรับด้านการทหารและการจาลองในการบินต่อใน ระหว่าง พ.ศ. 2503 – 2512 (ทศวรรษ 1960s) อีแวน ซูเทอร์แลนด์ (lvan Sutherland) ซึ่งนับเป็นบิดาของ เทคโนโลยี ความเป็ น จริ งเสมือ นได้ป ระดิษฐ์ จอภาพสวมศีร ษะ 3 มิติ รุ่นแรกออกมาและในระยะนั้ น ได้ มี


164

พัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกเกิดขึ้น การใช้จอภาพสวมศีรษะร่วมกับคอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติจึงนับ เป็นต้นกาเนิดของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนในปัจจุบัน ในระหว่าง พ.ศ. 2513 – 2532 (ทศวรรษ 1970s – 1980) การวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยอวกาศ อาร์มสตรองได้พัฒนาเทคโนโลยีการจาลองการบินโดยการปรับปรุงจอภาพสวมศีรษะให้ดีขึ้นโดยให้นักบินสวม ใส่แล้วจะมีความรู้สึกกลมกลืนไปกลับสิ่งแวดล้อมเสมือนจริง เมื่อนักบินมองออกไปในโลกความเป็นจริงเสมือน ซึ่งปรากฏอยู่เบื้องล่างแล้วจะเห็นเสมือนว่ามีเครื่องบินอื่นปรากฏอยู่รวมถึงอื่นภายใต้สิ่งแวดล้อมนั้นในระยะ เดียวกันนั่นเองได้มีการวิจัยเกี่ยวกับความเป็นจริงเสมือนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา เช่นกัน ที่ มหาวิทยาลัยนอร์แคโรไลนา ได้มีการใช้เทคนิคความเป็นจริงเสมือนในการสร้างจินตนาการด้านสถาปัตยกรรม และด้านการแพทย์และที่มหาวิทยาลัยแห่งวิสคอนซินและคอนเนกทิคัต ได้มีการวิจัยเกี่ยวกับ “ความเป็นจริง ประดิษฐ์” ที่ซึ่งความมีปฏิสัมพันธ์กับโลกเสมือนจริงสามารถใช้ได้ทั้งทางด้านการศึกษาและบันเทิง ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2531-2532 โครงการนาซา ได้ช่วยแพร่กระจายเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน ไปโดยไม่ตั้งใจถึงแม้ว่านาซาจะมีเงินทุนจากัดในการทางานวิทยาศาสตร์ของนาซาได้ร่วมกับนักเขียนโปรแกรม และผู้ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้นาเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วมาประดิ ษฐ์รวมกันเพื่อให้ได้ จอภาพสวมศีรษะในราคาเยาและใช้เป็นครั้งแรกในกองทัพอากาศ การประชาสัมพันธ์โครงการนี้ได้ช่วยโหม กระพือความน่าตื้นเต้นของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนให้มีมากยิ่งขึ้นและต่างก็หวังว่าการใช้เทคโนโลยี ความเป็นจริงเสมือนคงจะมีราคาถูกเพื่อให้สามารถใช้ได้ทั่วไปในชีวิตประจาวัน ในปี 2536 เทคโนโลยี ความเป็ น จริ งเสมื อนได้ ขยายวงกว้ า งทางด้า นบั นเทิง โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในสถานบันเทิง เช่น ดิสนีย์เวิลด์ที่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง ในระยะต่อมาผู้ผลิตเกมคอมพิวเตอร์ เช่น ซีกาและนินเทนโด ได้นาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนมาใช้ในเกมต่าง ๆ แทนของเดิม ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ ได้พัฒนาการโดยใช้ความเป็นจริงเสมือนในด้านบันเทิงอยู่นี้ สถาบันและกลุ่มนักวิจัยก็มีความพยายามในการนา ความจริ ง เสมื อ นมาใช้ ใ นด้ า นต่ า ง ๆ เช่ น ด้ า นวิ ศ วกรรม วิ ท ยาศาสตร์ การแพทย์ แ ละการ ฝึ ก อบรม ระดับของความเป็นจริงเสมือน คาลอสกี้ (กลวัชร คล้ายนาค. 2551) ได้แบ่งระดับความเป็นจริงเสมือน ตามวิธีการใช้และหลักการ ทางานของอุปกรณ์ที่ต่างกันไว้ 3 ประเภท ได้แก่ ระบบรับสัมผัสเต็มรูปแบบ (Fully-Immersive VR) ระบบ รั บ สั มผั ส บางส่ ว นหรื อกึ่ งรั บ สั มผั ส (Semi-Immersive VR) และ ระบบความเป็นจริง เสมื อ นผ่ า นหน้ า จอ (Non-Immersive VR หรือ Desktop VR) ดังนี้ ประเภทที่1 คือ ระบบรับสัมผัสเต็มรูปแบบ (Fully-Immersive VR) เป็นประเภทต้นแบบของระบบ ความเป็นจริงเสมือนที่เกิดขึ้นในยุคแรกและยังคงได้รับความสนใจตลอดมา จนปัจจุบันเป็นระบบที่ผู้ใช้สามารถ รับรู้ข้อมูลด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเต็มรูปแบบโดยผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสริมพิเศษ เป็นตัวช่วยรับ สัมผัสนั้นเช่น การได้กลิ่น จับต้องสิ่งของได้ ได้ยินเสียง สามารถเคลื่อนที่ในบริเวณนั้นเสมือนว่ากาลังเดินอยู่ใน สถานที่นั้นจริงด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นตัวช่วยรับสัมผัสและสร้างภาพ 3 มิติ ซึ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบด้วย


165

1 อุปกรณ์ในส่วนแสดงผลข้อมูล (Output Devices) ประกอบด้วย 1.1 จอภาพสวมศีรษะ (Head-Mounted display : HMD) ประกอบด้วยแว่นตาที่บรรจุจอมอนิเตอร์ ขนาดเล็กทาด้วยกระจก 3 มิติ (Stereoscopic glasses) กระจกนี้ทามุมกว้างประมาณ 140 องศา ครอบคลุม การมองเห็ น ในแนวนอนเกือบทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีหู ฟังเพื่อให้ ผู้ ใช้สามารถได้ยินเสียงรอบทิศทางและ มองเห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ในลักษณะ 3 มิติ ในสิ่งแวดล้อมนั้นได้

ภาพที่ 7.6 จอภาพสวมศีรษะ (Head-Mounted display : HMD) ที่มา: https://sites.google.com/site/phaphningkabthekhnoloyivr/1thekhnoloyi-vr/virtual-reality-hardware

1.2 บูม (Binocular Omni-Orientation Monitor : Boom) เป็นอุปกรณ์กล้องมองภาพ 3 มิติสอง ตามีขาตั้งที่ช่วยกาหนดทิศทางการมองของผู้ใช้ มีจอมอนิเตอร์เล็ก ๆ และเลนส์ตา 2 ข้างอยู่ในกล่องเชื่อมต่อ กับสัญญาณคอมพิวเตอร์คล้ายกับจอภาพสวมศีรษะ แต่ บูมจะมีขาตั้งและก้านควบคุมซึ่งผู้ใช้จะต้องเลื่อนก้าน ควบคุมเพื่อเปลี่ยนมุมมอง หรือเคลื่อนที่ในสิ่งแวดล้อมเสมือน นอกจากนี้ยังสามารถทางานร่วมกับถุงมือเพื่อรับ สัมผัสอย่างสมบูรณ์แบบด้วยการจับต้องสิ่งของในสิ่งแวดล้อมเสมือนได้เช่นกัน

ภาพที่ 7.7 บูม (Binocular Omni-Orientation Monitor : Boom) ที่มา: http://www.umich.edu/~vrl/intro/


166

1.3 เคฟว์ (Cave Automatic Virtual Environment : CAVE) เป็นระบบของการสร้างภาพลวงตา 3 มิติเสมือนจริง โดยใช้ชุดอุปกรณ์ติดตั้งไว้ในห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ทรงลูกบาศก์ ได้แก่ ติดตั้งจอมินิเตอร์รอบ ทิศทางเท่าขนาดของผนังจริงและพื้นห้องทุกด้าน และให้ผู้ใช้เข้าไปอยู่ในห้องนั้นโดยสวมใส่อุปกรณ์แว่นตา สร้างภาพน้าหนักเบา (lightweight stereo glasses) จะทาให้รู้สึกว่ากาลังเดินอยู่ในสถานที่เสมือนจริง

ภาพที่ 7.8 เคฟว์ (Cave Automatic Virtual Environment : CAVE) ที่มา: http://www.visbox.com/products/cave/viscube-c4-t3x/ 1.4 แว่นตามองภาพ 3 มิติ (Shutter Glasses) เป็นแว่นตาที่มีเลนส์เป็นมอนิเตอร์ขนาดเล็กที่ตาทั้ง สองข้าง สามารถแสดงผลในลักษณะ 3 มิติ ลวงตาให้ผู้ใช้เห็นว่ากาลังยืนอยู่ในสถานที่นั้นมองเห็นวัตถุต่าง ๆ ห่างจากตัวผู้ใช้และสามารถมองไปรอบ ๆ รู้สึกถึงความลึกของภาพและเดินสารวจได้ โดยจะมีการเชื่อมต่อ สัญญาณกับคอมพิวเตอร์เช่นกัน อุปกรณ์ในส่วนข้อมูลนาเข้า (Input Devices) ได้แก่ ถุงมือรับสัมผัส (Sensor Glove) เป็นถุงมือขนาดเบาที่มีเส้นใยนาแสงเป็นแนวอยู่ตามนิ้วและข้อมูลเพื่อเป็นเครื่องรับรู้การเคลื่อนที่และ ส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์ เมื่อสวมถุงมือนี้แล้วจะทาให้ผู้ใช้เข้าถึงสิ่งแวดล้อมเสมือน 3 มิติ และสามารถจับ ต้องและรู้สึกได้ถึงวัสดุสิ่งของซึ่งไม่มีอยู่ภายนสิ่งแวดล้อมนั้นจริงแต่เป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น

ภาพที่ 7.9 แว่นตามองภาพ 3 มิติ (Shutter Glasses) ที่มา: http://whathit.tarad.com/


167

ประเภทที่ 2 ระบบรับสัมผัสบางส่วนหรือกึ่งรับสัมผัส (Semi-Immersive VR) เป็นระบบที่ถูกพัฒนา อุปกรณ์มาจากรุ่นแรก โดยมีมุมมองของจอภาพที่กว้างขึ้น (Wide Angle Display) ส่งสัญญาณที่เป็นความถี่สูง แสดงผลความละเอียดของภาพ 1000 ถึง 3000 เส้น ซึ่งแสดงภาพได้ละเอียดกว่าจอภาพสวมศีรษะ (HeadMounted display : HMD) แต่ต่างกันที่ระบบนี้จะเน้นในส่วนอุปกรณ์แสสดงผล ได้แก่ 2.1 จอภาพมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ (A Large Screen Monitor) 2.2 ระบบจอภาพฉายโทรทัศน์ขนาดใหญ่ (A Large Screen Television Projector) 2.3 ระบบจอภาพฉายโทรทัศน์ขนาดขยายหลายเท่า (Multiple Television Projector Systems) ส าหรั บ อุ ป กรณ์ ใ นส่ ว นข้ อ มู ล น าเข้ า (Input Devices) ได้ แ ก่ ก้ า นควบคุ ม การเคลื่ อ นที่ ข องภาพ 3 มิ ติ (3D joystick) อุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ในสิ่งแวดล้อม 3 มิติ ที่สามารถเตรียมการสาหรับผู้ใช้หลายคนใน สิ่งแวดล้อมเสมือนเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นการเรียนแบบร่วมมือ เหมาะกับการจัดฝึกอบรมที่ใช้สถานการณ์จาลอง กับกลุ่มคนหลายๆคน ประเภทที่3 ระบบความเป็นจริงเสมือนผ่านหน้าจอ (Non-Immersive VR หรือ Desktop VR) หรือ เรียกว่า ระบบเสมือนจริงแบบเทียม (Artificial Reality) ในทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเป้นระบบของความเป็นจริง เสมือนที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ในเชิงธุรกิจ ซึ่งมีอุ ปกรณ์ที่ต้องทางานรร่วมกัน ประกอบด้วย อุ ป กรณ์ ใ นส่ ว นแสดงผล (Output Devices) ได้ แ ก่ หน้ า จอแสดงผล (Monitor) เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ค นใช้ คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องมีในชุดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อุปกรณ์ในส่วนข้อมูลนาเข้า (Input Devices) ได้แก่ คี ย์ บ อร์ ด (Keyboard) เมาว์ (Mouse) แทร็ ก บอล (Trackball) ก้ า นควบคุ ม (Joystick) ปากกาดิ จิ ท อล (Digitalpen) ซอฟต์ แ วร์ และภาษคอมพิ ว เตอร์ ที่ ช่ ว ยสร้ า งภาพสามมิ ติ เ ชิ ง โต้ ต อบ เช่ น โปรแกรม Superscape, VRML นอกจากนี้ยังมีเบราเซอร์ที่จะช่วยในการประมวลผล (3D web browersers) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน 1. ด้านงานโบราณคดี ได้นาเทคโนโลยีความจริงเสมือนมาช่วยในการสารวจซากโบราณสถาน และ โบราณวัตถุที่ค้นพบได้ว่าของเดิมเป็นอย่างไรและอยู่นช่วงยุคสมัยใด 2. ด้านสถาปัตยกรรม ได้นาเทคโนโลยีความจริงเสมือนมาใช้ในการออกแบบอาคารโดยให้ สถาปนิกและลูกค้าสารวจภายในแบบจาลองและแก้ไขแบบก่อนการสร้างให้เป็นไปตามต้องการ 3. ด้านการแพทย์ ได้นาเทคโนโลยีความจริงเสมือนเข้ามาใช้ในการดูแลระบบ 3 มิติในร่างกายคนไข้ 4. ด้านความบันเทิง ได้นาเทคโนโลยีความจริงเสมือนมาใช้ในรูปแบบโรงภาพยนตร์ ที่ให้ความตื่นตา ตื่นเต้นเป็นจานวนมาก 5. ด้านการศึกษา ได้นาเทคโนโลยีความจริงเสมือนมาใช้โดยมีผู้วิจัยในห้องปฏิบัติการใช้ซอฟต์แวร์ Virtus Walk Through ในการออกแบบห้องเรียน 3 มิติ และเดินเข้าไปในห้องเรียนเสมือนจริงเพื่อจัดโต๊ะและ เก้าอี้ที่ใช้เรียนในลักษณะต่าง ๆ ให้เสมือนกับห้องเรียนจริ งเพื่อดูว่าควรมีการจัดอย่างไรให้เหมาะสมกับการ เรียนมากที่สุด การนาความเป็นจริงเสมือนมาใช้ในการศึกษาสามารถใช้ได้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 5.1 สารวจสถานที่และสิ่งของที่มีอยู่ที่ผู้เรียนยังไม่อาจเข้าถึงได้


168

5.2 สารวจของจริงซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนสัดส่วนขนาดและระยะเวลาแล้วจะไม่สามรถสารวจได้อย่าง มีประสิทธิผล 5.3 สร้างสถานที่และวัตถุด้วยคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม 5.4 มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่อยู่ในที่ห่างไกลออกไปโดยผ่านทางสมาคมที่มีความสนใจในเรื่อง เดียวกัน หรือโดยเข้าร่วมในโครงการระหว่างผู้เรียนด้วยกันที่อยู่ในส่วนต่าง ๆ ของโลก 5.5 มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลจริงในโลกความเป็นจริงเสมือน 5.6 มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นความเป็นจริงเสมือน เช่น สิ่งที่อยู่ในประวัติศาสตร์และสิ่งที่เป็นปรัชญา เพื่อดูว่าจะสามารถทางานในสภาวะนั้นได้อย่างไร สรุปได้ว่า เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality หรือ VR) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ จ าลองสภาพแวดล้ อ มต่ า ง ๆ ทั้ ง จากสภาพแวดล้ อ มจริ ง และจากในจิ น ตนาการขึ้ น มาด้ ว ยเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้จาลองเพียงภาพและเสียงเท่านั้น ยังรวมถึงประสาทสัมผัสด้านอื่น ๆ อีกด้วย โดยการนา อุปกรณ์ต่อพ่วงเข้ามาประกอบ ได้แก่ ถุงมือ เมาส์ จอภาพสวมศีรษะ เพื่อการรับรู้ถึงแรงป้อนกลับจากการ สัมผัสสิ่งต่าง ๆ ในโลกเสมือนจริงที่สร้างขึ้นโดยเทคโนโลยี 7.3.3 เทคโนโลยี Cloud Computing ความหมายของ Cloud Computing Cloud Computing คือ บริการทางอินเตอร์เน็ตที่เป็นแบบการรวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ ที่จาเป็น มาเชื่อมโยงไว้ด้วยกัน โดยมีการทางานสอดประสานกันแบบรวมศูนย์ โดยผู้จัดสรรทรัพยากรนั้นเรียกว่า thirdparty Provider หรื อผู้ ให้ บ ริ การบุ คคลที่ 3 มีห น้าที่รวบรวมพื้นฐานต่าง ๆ ที่จาเป็นเข้าไว้ด้ว ยกันการใช้ ทรัพยาการคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและระบบสารสนเทศแบบเสมือนจริง Cloud Computing จะทางานโดยเมื่อผู้ขอใช้บริการต้องการใช้สิ่งใดก็ส่งร้องขอไปยังซอฟแวร์ระบบจากนั้นซอฟแวร์ระบบก็จะ ร้องขอไประบบเพื่อจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ขอใช้บริการต่อไป โดยผู้ขอใช้ บริการมีหน้าที่เสียค่าใช้บริการเพื่อความสามารถในการทางานตามต้องการโดยไม่ต้องทราบหรือเข้าใจหลักการ ทางานเบื้องหลัง (กลุ่มภาระงานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น : ออนไลน์)

ภาพที่ 7.10 Cloud Computing ที่มา: http://sc2.kku.ac.th/office/sci-it/index.php/29-cloud-computing


169

ประเภทของระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ 1. Public Clouds หรือเรียกว่า External cloud เป็นองค์ประกอบที่มีทรัพยากรเพื่อสาธารณะ สามารถบริ ก ารผ่ า นทาง Internet, Web Application หรื อ Web service ให้ บ ริ ก ารการแลกเปลี่ ย น ทรัพยากรและการใช้งานพื้นฐานที่จาเป็น เป็นบริการที่เน้นไปที่การทางานแบบไม่เฉพาะเจาะจง เพื่อบริการแก่ ผู้ใช้จานวนมาก เป็นการใช้ทรัพยากรที่ถูกแชร์และใช้ร่วมกันกับคนอื่น มีความยืดหยุ่น ในทรัพยากรของไอทีใน ต้นทุนที่ต่า ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึง ติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ทั้งในและนอกองค์กร โดยทั่วไปแล้ว ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่กล่าวถึงกันทั่วไปนั้น มักจะหมายถึง Public Cloud Computing ที่มีขนาด ใหญ่ มีเซิร์ฟเวอร์หลายแห่งทั่วโลก หรืออยู่ในที่ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปและมีจุดประสงค์เพื่อให้บริการผู้ใช้ทั่วไป นั้นเอง

ภาพที่ 7.11 Public Cloud ที่มา: http://blog.nskinc.com/it-services-boston/resources/blog/cloud-computing-101-publicvs-private-clouds 2. Private Clouds หรือเรียกว่า Internal Cloud เป็นระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆภายในองค์กร ทั้งนี้ระบบ Private Cloud ถูกพัฒนาขึ้นบนแนวคิดในการรักษาสิทธิประโยชน์ขององค์กร เพื่อเป็นศูนย์กลาง ของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรที่ไม่ต้องการให้เผยแพร่สู่สาธารณะเหมือนกับการใช้ Public Cloud ซึ่งการรักษาความปลอดภัยที่ดีใน Private Cloud นั้นนับเป็นสิ่งสาคัญยิ่งต่อการใช้ระบบประมวลผล แบบกลุ่ มเมฆเพราะข้ อมูล ต่าง ๆ ขององค์กรย่อมมี ความส าคัญ ต่อ องค์ กรและผู้ ใช้ งานทั้งหมดในองค์ ก ร ด้วยหลายองค์กรจึงหันมาใช้ Private Cloud เพื่อแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ นโยบายและการควบคุมด้านความปลอดภัยขององค์กรนั้นเอง ดังนั้น Private Cloud จึงให้บริการกับผู้ใช้ ภายในองค์กรและมีขนาดการใช้บริการที่ไม่ใหญ่เหมือน Public Cloud โดยเชื่อมต่อการทางานโดยตรงผ่าน Cloud Provider เช่นกันแต่จะมีระบบการจัดการข้อมูล การรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่า


170

ภาพที่ 7.12 Private Cloud ที่มา: http://uu-cloud.com/how-you-define-private-cloud/?clickid=d0b458f5e 3. Hybrid Clouds เป็นระบบแบบเชื่อมประสานการทางานของทั้ง Public Clouds และ Private clouds สามารถส่งต่อข้อมูลและคาสั่งข้ามระหว่างแอปพลิเคชันของ Public Cloud และ Private Cloud ได้

ภาพที่ 7.13 Hybrid Cloud ที่มา: http://convergenceservices.in/blog/corporate-blog/409-hybrid-cloud-adoption-poise-togain-momentum-in-india.html การใช้ Cloud computing ในการเรียนการสอน อีเมลที่สถาบันการศึกษาของครู อาจารย์ไม่มีความเสถียร แนบไฟล์ได้ไม่มาก พื้นที่เก็บเมลมีน้อย ทาให้ต้องเสียเวลาลบเมล ส่งผลให้การติดตามการบ้าน หรือการเรียนของนักเรียนในชั้นเป็นไปโดยลาบาก แต่ ด้ ว ยบริ ก ารของ Gmail, Hotmail หรื อ Yahoo Mail ช่ ว ยให้ ก ารรั บ ส่ ง การสั่ ง งานด้ ว ยอี เ มลระหว่ า ง ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาเป็นไปได้โดยสะดวก บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (.(2555 1. การพัฒนาเว็บไซต์ eLearning ของครู อาจารย์ที่ผ่านมา จะประสบกับปัญหาเครื่องแม่ข่ายเว็บที่ สถาบันไม่มีให้ หรือมีให้ในปริมาณที่จากัด หรือผูกขาดการดูแลด้วยครูคอมพิวเตอร์/เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ แต่ ด้วยการให้บริการฟรีของ WordPress.com, Slideshare.net, Scibd.com, Youtube ครู อาจารย์หลายท่าน สามารถเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกได้ฟรี นาสื่อจาก PowerPoint เอกสารการสอนในรูปแบบ Word และ Video


171

clip จากกล้องถ่ายภาพดิจิทัลส่งเข้าระบบพร้อมการพิมพ์เนื้อหาบทเรียนและหรือการบ้าน รวมทั้งเชื่อมโยง ความสามารถระหว่างเว็บเพื่อสร้างสรรค์เว็บ eLearning ที่มีลูกเล่นโดนใจนักเรียน นักศึกษาได้ง่าย 2. การสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน ครู อาจารย์ขาดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ใช้ประกอบการ ทาบทเรียน ส่งผลให้เกิดปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ด้วยบริการแปลงฟอร์แมต Video ของ Youtube บริการ สร้างสไลด์ออนไลน์ของ Google Docs บริการตัดต่อภาพ/ปรับแต่งภาพจาก Pixlr.com ทาให้ปัญหาละเมิด ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลดลงแน่นอน 3. ช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นไปได้ง่ายขึ้นโดยการ ประยุกต์ใช้ Facebook, Wiki หรือ Google Group บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน บทบาทสาหรับผู้เรียน (วิวัฒน์ มีสุวรรณ. 2557) 1. บทบาทในการเคลื่อนที่ ผู้เรียนไม่จาเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเพียงอย่าง เดียวอีก ต่อไป แต่อุปกรณ์ที่ใช้งานจะปรับเปลี่ยนเป็นการใช้อุปกรณ์ เคลื่อนที่ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือเครื่ อง ช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (Tablet PC) ทาให้การเข้าถึงข้อมูลจากอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือพกพาสามารถ เข้าถึงข้อมูลหรือแชร์ไฟล์ร่วมกันได้ทาให้มีความสะดวกต่อการพกพาและใช้งานเพียงหยิบอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ ต้องการก็สามารถเข้าถึงไฟล์งาน ไฟล์เพลง ไฟล์รูปภาพ การบ้าน บทเรียนออนไลน์ ส่งงาน สนทนาแบบเวลา จริง (Real Time) ได้พร้อมกันรวมทั้งระบบบริการอื่น ๆ ของสถาบันการศึกษาได้จากระบบประมวลผลแบบ กลุ่มเมฆโดยผ่านกลุ่มเมฆ 2. บทบาทในการเข้าถึงได้ทันทีทุกที่ทุกเวลา ผู้เรียนสามารถเข้าถึงรายงานการนาเสนอภาพ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การเรี ยนได้จากทุกที่ ทุกเวลาได้อย่างแท้จริง โดยการนาอุปกรณ์เคลื่ อนที่ มาใช้ สนับสนุนการเรียนรู้ ทาให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพด้วยการเรียนรู้แบบออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนทั้งการเรียนรู้รายบุคคลและการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่เกิดขึ้นทั้งใน ห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่ เรียนว่า m-Learning (Mobile Learning) ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่มีเทคโนโลยี เครื อ ข่ า ยไร้ ส ายหรื อ อิ น เทอร์ เ น็ ต เท่ า นั้ น แต่ ค าจ ากั ด ความของการเรี ย นรู้ แ บบ m-Learning ยั ง รวมถึ ง ความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ทุกแห่งในทุกเวลา โดยปราศจากการกีดกั้นทางกายภาพอย่างถาวรกับเครือข่ าย แบบสายเคเบิล สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ได้เพื่อนาเสนอและให้บริการข้อมูลทางการศึกษา และเพื่อใช้ในกระบวนการเรียนการสอนระหว่างนักเรียนและครู 3. บทบาทในการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ผู้เรียนสามารถแชร์ไฟล์หรือภาพกับเพื่อน ๆ นาเสนอ งาน กับอาจารย์ผู้สอนง่ายและรวดเร็ว แก้ไขงานและส่งคืนโดยบันทึกข้อมูลไว้ในแฟ้มออนไลน์ได้ 4. บทบาทในการส่งเสริมความร่วมมือการ เรียนรู้ ด้วยระบบการสื่อสารร่วมกันของผู้ใช้ (multiuser sync) ผู้ เรี ย นเพื่อนร่ ว มชั้น เรีย นหรือกลุ่ มทางานสามารถเชื่อมต่อไฟล์ บนเครื่องคอมพิว เตอร์ เพื่อเปลี่ยนแปลง เพิ่ม แก้ไขข้อมูลของไฟล์ร่วมกันได้และทาการอัพเดทข้อมูลอัตโนมัติบนเครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือของผู้ เรียน เพื่อนร่วมชั้นหรือกลุ่มทางานได้โดยไม่ต้องขนรายงานหรือภาพกลับไปกลับมา ระหว่างโรงเรียน บ้าน ห้องปฏิบัติการแต่สามารถใช้งานข้อมูลที่อัพเดทไว้ล่าสุดได้ทันที


172

5. บทบาทในการข้อมูลสารอง การสารองข้อมูลถือว่าเป็นส่วนสาคัญของระบบ เพราะเป็นการเก็บ ข้อมูลไว้เพื่อป้องกันการสูญหายแล้วการถูกขโมยหรือตกหล่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลของผู้เรียนจะถูก จัดเก็บและสารองข้อมูลบนระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆไว้ทุกครั้งโดยอัตโนมัติ บทบาทสาหรับครู 1. ครูผู้สอนสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดจากแท็บเล็ต (Tablet) ในชั้นเรียนครูใช้โปรแกรมขนาด เล็กที่มีอยู่ในแท็บเล็ตหรือที่เรียกว่า gadgets ใช้งานการนาเสนอวีดีโอ เพลงและอื่น ๆ ได้ทันที 2. ครูผู้สอนสามารถสร้างความร่วมมือในชั้นเรียนด้วยการแชร์ไฟล์ผลงานระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือกาหนดให้มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียนแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนสามารถดูงานของตน ร่วมกันทางาน รายงานหรือการบ้านที่มอบหมายให้ได้ 3. ครูผู้สอนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีจากคอมพิวเตอร์ในที่ทางาน คอมพิวเตอร์บ้าน อุปกรณ์ มือถือ เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้การบันทึกคะแนน จัดระบบข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน และสามารถ รับ-ส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ทันที 4. ครูผู้สอนสามารถใช้งานเพื่องานอื่น ๆ และใช้งานส่วนตัวได้สามารถสร้างแฟ้มสาหรับการทางาน และการใช้งานส่วนตัว ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ภาพถ่ายกิจกรรมการทัศนศึกษาหรือ เพื่อให้การจัดระบบและการกระจายเอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนสอนสามารถทาได้ง่ายและรวดเร็ว มากขึ้น 5. ครูผู้สอนสามารถใช้ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ในลักษณะที่เรียกว่า Syncing ซึ่งเป็น การให้ บ ริ การเพื่อแชร์ ไฟล์ เอกสารส าคัญในชั้นเรีย นส าหรับการเรียนการสอนโดย Syncing เป็นระบบที่ สามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา เข้าถึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์โรงเรียนสามารถบันทึกข้อมูลจากที่ทางาน เปิดดู ข้อมูลจากที่บ้าน สร้างข้อมูลจากที่บ้านหรือเข้าถึงเอกสารทั้งหมด แผ่นงาน การนาเสนองาน ภาพกราฟิกและ ไฟล์ อื่น ๆ จากที่ไหนก็ได้ทุกสิ่ งที่จั ดเก็บ อยู่ในระบบการประมวลผลแบบกลุ่ ม เมฆ สามารถเข้าถึงได้ จ าก คอมพิ ว เตอร์ เ ครื่ อ งใดก็ ไ ด้ โ ทรศั พ ท์ มื อ ถื อ หรื อ แท็ บ เล็ ต (iPhone, iPad, Android, หรื อ BlackBerry) ใช้ อุปกรณ์เหล่านี้ในการดูไฟล์ส่งเอกสารหรือแชร์เอกสารได้จากทุก ๆ ที่ผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือเข้าถึง เอกสารได้แม้ว่าจะออฟไลน์ เทคโนโลยี Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาไม่น้อยไม่ว่าจะเป็นการ ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ยูทูป และอื่น ๆ อีกมากมายที่เข้ามาช่วยให้กระบวนการจัดการ เรียนการสอนของผู้สอนมีความสะดวกมากขึ้น ผู้เรียนเองก็สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ประกอบการเรียนได้ อย่างสะดวก จึงเป็นการเพิ่มเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น


173

7.3.4 Massive Open Online Course (MOOCs) ความหมาย Globalvision. (2013) ได้ ใ ห้ ค วามหมายและลั ก ษณะการเรี ย นของ Massive Open Online Course ที่ ใ ช้ ห ลั ก การน าเสนอแบบ Anyone Anywhere “ใครก็ ไ ด้ อยู่ ที่ ไ หนก็ เ รี ย นได้ ” บนพื้ น ฐานของ เป้ าหมายการศึ ก ษาที่ว่า การเรี ย นรู้ ตลอดชีวิ ต Life long learning โดยสามารถอธิ บายความหมายตาม ตัวอักษรย่อได้ ดังนี้ Massive ผู้เรียนจานวนมาก Open เปิ ดให้ เข้าถึงโดยเสรี มีการแชร์ข้อมูล ระหว่า งกั น และไม่มีค่าใช้จ่า ยหรื อ อาจมี ค่าใช้จ่ายในหลักสูตรที่ให้ประกาศนียบัตร Online เป็ น การเรี ย นการสอนผ่ า นระบบ network ที่ มี ก ารรู ป แบบการน าเสนอข้ อ มู ล หลากหลาย เช่น blog twitter VDO text facebook มีการประชุม หรืออภิปรายบนเครือข่ายที่เป็น real time Courses เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ หรือประเด็นที่เป็น hot issue โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ ร่วมมือ การเชื่อมต่อความรู้ในจุดต่างๆ ทุกคนนาความรู้ไปต่อยอดหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้

ภาพที่ 7.14 MOOC ที่มา: Globalvision. 2013 Professsor Dr. Tosh Yamamoto ( 2557) อ า จ า ร ย์ ป ร ะ จ า The Center of Teaching and Learning Kansai University JAPAN ได้ให้ความหมายของ MOOC ดังนี้


174

“MOOC เป็นคาย่อของ หลักสูตรออนไลน์ที่มีเป้าหมายอยู่ที่การมีส่วนร่วมอย่างไม่จากัดจานวนของ ผู้ เรี ย น เป็ น การเรี ย นแบบเปิ ดโดยเน้ น ให้ ผู้ เรียนที่ต้องการเรียนรู้ ได้เรียนรู้ในสิ่ งที่ตัว เองสนใจโดยใช้ สื่ อที่ หลากหลาย มีนาเสนองานและเน้นการโต้ตอบกับผู้เรียนในหลักสูตร รวมทั้งเปิดโอกาสในการสร้างชุมชนการ เรียนรู้ที่ผู้เรียนและผู้สอนต่างก็ถือได้ว่าเป็น ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดในการศึกษาในหลักสูตรนี้” ซึ่งสอดคล้องกับ ศาสตรจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึง วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (2555) โดยได้ กล่าวถึงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) นี้คือ ทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนต้องเรียนเพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมาก ขึ้น คนที่อ่อนแอในทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน เป็นคนอ่อนแอ ชีวิตก็จะ ยากลาบากวิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะนี้ ใช้หลักการว่า ต้องมีการเรีย นรู้แบบที่เด็กร่วมกันสร้าง ความรู้เองคือ “เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ และเรียนรู้เป็นทีม” MOOC : แหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 MOOC – Massive Open Online Course หมายถึง ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ระบบเปิดสาหรับมหาชน ซึ่งมีลักษณะให้เข้าเรียนได้ไม่จากัดจานวนคน เป็นระบบ “เปิด” ที่ทุกคนที่อยาก เรียนจะต้องได้เรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน และใช้เทคโนโลยีออนไลน์เป็นเครื่องมือ เทคโนโลยีนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2008 เมื่อห้องเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เปิดให้ผู้ที่ สนใจสามารถเข้า เรียนออนไลน์ ซึ่งนอกเหนือจากนักศึกษาในห้อง 25 คนแล้ว คนอีกนับพันคนก็ได้มีโอกาสได้เรียนรู้วิชานั้นด้วย เครื่องมือในการทา MOOC เป็นเทคโนโลยีธรรมดาๆ ที่เราคุ้ยเคยกันอยู่ เช่นเว็บไซต์ วิดีโอ บล็อก ฯลฯ เงื่อนไข ในการใช้งานข้อมูล เช่น ให้ใช้งานได้อย่ างเดียว ให้นาไปเผยแพร่ได้ หรือให้นาไปแก้ไขดัดแปลงได้ ขึ้นอยู่กับ ผู้พัฒนาแต่ละราย MOOC ต่างจาก E-learning ตรงที่ E-learning จะเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ MOOC มีลักษณะเหมือน หลักสูตร มีระยะเวลาเปิด -ปิด เหมือนห้องเรียนปกติ ถูกกาหนดหัวข้อย่อยในรายวิชาไว้แล้ว มีการวัดและ ประเมินผล มีการบ้าน มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทางานกลุ่ม รวมทั้งให้ผู้เรียนช่วยกันตรวจงาน MOOC หลายตัว สามารถให้ผู้เรียนเทียบหลักสูตรกับสถาบันอุดมศึกษาชื่อดังหรือใช้อ้างอิงในการสมัครงานได้ ปัจจุบันมี MOOC Provider เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยแต่ละแห่งจะจับมือกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ระดับโลกในการผลิตสื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ ช่องทางที่บริษัทและมหาวิทยาลัยจะสร้างรายได้ ได้แก่ กรณีที่ ผู้เรียนต้องการใบรับรองการจบหลักสูตร ค่าดาเนินการสอบ การช่วยนาโปรไฟล์ในการเรียนไปเผยแพร่กับ บริษัทจัดหางาน ฯลฯ ค่าย MOOC ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันได้แก่ 1. edX เป็น MOOC ที่ได้รับความนิยมสูงสุดแต่การนาเสนอเนื้อหาไม่ค่อยน่าสนใจ Google กาลังจะเข้าไปเป็นผู้พัฒนาปรับปรุง คาดว่าน่าจะมีอะไรแปลกใหม่เข้ามาในระยะอันใกล้นี้ (www.edx.org)


175

ภาพที่ 7.15 เว็บ edX ที่มา: www.edx.org 2. Coursera ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่ง MOOC และเป็น MOOC ที่ใหญ่ที่สุด (www.coursera.org)

ภาพที่ 7.16 เว็บ Coursera ที่มา: https://www.coursera.org/


176

3. Udacity ได้ รั บ การกล่ า วถึ ง ว่ า เป็ น MOOSC ที่ มี เ สน่ ห์ สนุ ก และน่ า ประทั บ ใจ (www.udacity.com)

ภาพที่ 7.17 เว็บ udacity ที่มา: https://www.udacity.com/ 4. Khan Academy เป็น MOOC สัญชาติอินเดียที่ทาวิดีโอประกอบการสอนได้เข้าใจง่าย และสนับสนุนกลุ่มผู้เรียนหลายวัย (www.khanacademy.org)

ภาพที่ 7.18 เว็บ khanacademy ที่มา: https://www


177

ค่าย MOOC น้องใหม่มาแรง 1. Open 2 study ออกแบบให้มีความคล่องตัวในการใช้งานสูง เช่น สามารถลงทะเบียนได้ใน เวลาเพียง 20 วินาที (www.open2study.com)

ภาพที่ 7.19 Open Universities Australia ที่มา: https://www.open2study.com/ 2. Youtube Education เป็ น MOOC ของยู ทู บ ที่ น าวิ ดี โ อมาจั ด ระบบเป็ น รายวิ ช าที่ หลากหลาย (www.youtube.com/education)

ภาพที่ 7.20 Youtube Education ที่มา: www.youtube.com/education


178

3. TED.ED สอนโดยวิทยากรที่รู้จริงมีลีลาการพูดที่มีสีสัน หรือบางครั้งก็ทาเป็นแอนนิเมชั้นน่า ชม (www.ted.com)

ภาพที่ 7.21 TED.ED ที่มา: www.ted.com 4. iTunes U เป็ น MOOC ของค่ า ย Apple รองรั บ เฉพาะอุ ป กรณ์ ข อง iOS เท่ า นั้ น มหาวิทยาลัยหลายแห่งของไทยกาลังจะใช้MOOC รายนี้ (www.apple.com/education/ipad/itunes-u)

ภาพที่ 7.22 iTunes U ที่มา: http://www.apple.com/education/itunes-u/


179

จะพบว่าหลักสูตรการเรียนของ MOOCs มุ่งเน้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยที่ผู้เรียนไม่จาเป็นต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของตนเองซึ่งเป็นไปตามนโยบาย การปฏิรูปการเรียนการสอนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ที่ได้ วางไว้

สรุป แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตจะเป็นการนาอุปกรณ์พกพาเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการ สอนมากขึ้น ผู้สอนและผู้เรียนเองจาเป็นต้องมีทักษะ ความชานาฐในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ กระบวนการเรียน การสอนจะไม่ยึดติดอยู่กับห้องเรียนสี่เหลี่ยมเพียงอย่างเดียวด้วยเหจุที่แหล่งการเรียนรู้จานวนมากสามารถ สืบเสาะค้นหาได้จากสังคมออนไลน์ จึงทาให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างไม่มี ขีดจากัด

แบบฝึกหัดท้ายบท 1. จากแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต นักศึกษาคิดว่าในฐานะที่เป็นผู้เรียนในยุคดิจิทัล นักศึกษาจะมีแนวทางในการนาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพได้อย่างไร จงอธิบาย (3 คะแนน)


180

เอกสารอ้างอิง กลวัชร คล้ายนาค. 2551. การสร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสถาปัตยกรรมไทย: กรณีศึกษาเรือนไทลื้อ. การค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. (สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มภาระงานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ออนไลน์). Cloud Computing คืออะไร. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://sc2.kku.ac.th/office/sciit/index.php/29-cloud-computing เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 ถนอมพร เลาหจรัสกุล. (2559). จับตาแนวโน้มการเรียนรู้ดิจิทัล“MAGICS”สาหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.chiangmainews.co.th/page/education/ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2559 บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (2555). การใช้ Cloud computing ในการเรียนการสอน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thailibrary.in.th/2012/04/25/cloud-edu/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 มหศักดิ์ เกตุฉ่า. (ออนไลน์). Internet of Things (IOT). (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://203.155.220.230/bmainfo/data_DDS/document/internet-of-things.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 พัฒนาการศึกษาด้วย IoT ( Education development with Internet of Things). (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://spidyhero.wordpress.com/2016/09/03/พัฒนาการศึกษาด้วย-iot-educationdevelopment-with-internet-of-t/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2557). ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในงานทางการศึกษา Cloud Computing for Education. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2557 สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. Globalvision. 2013. “Trend Watch: Massive Open Online Courses” (online) http://www.globalvision.com.au/archives/1152, 23 กันยายน. Tosh Yamamoto. 2557. Future Design in Education. สัมมนาทางวิชาการ “นวัตกรรมการเรียนรู้ ในยุคสังคมดิจิทัล”. 21 พฤศจิกายน.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.