Bun dai nak nirach570310099

Page 1


บันไดนาค

ในอดีตแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา มีการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อเป็น ตัวแทนของความเชื่อความศรัทธาและความรู้สึกนึกคิดของชนชาตินั้นตลอด มา ซึ่งรวมถึงประติมากรรมปูนปั้นนาคประดับราวบันไดด้วยรูปแบบของ ปูนปั้นนาคระดับราวบันไดที่ปรากฎและค้นพบในยุคต่างๆ ทั้งในอดีตและ ปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงคุณปัญญาความคิดเห็นความเชื่อสภาพทางสังคม ปรัชญาและศรัทธาตลอดจนความรู้สึกนึกคิดและชีวิตความเป็นอยู่ของ ชุมชนสมัยนั้นนั้นรวมไปถึงความทรัพย์สินความเสี่ยงในสุนทรียภาพว่ามี ความงามที่เติบโตหรือตกต่ำ�ไปมากน้อยเพียงใด

2


ระบบความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ�โขง ตั้งแต่ใต้ มณฑลยูนนานต่อเนื่องลงมาเป็นลัทธิบูชานาค เมื่อศาสนาพุทธเข้ามา ลัทธิ บูชานาคก็ได้กลมกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา ดังนั้นงานศิลปกรรมโดย ส่วนใหญ่ได้นำ�มารูปแบบและแนวคิดต่างๆของนาคมาเป็นตัวสร้างงาน รวม ทั้งเป็นองค์ประกอบแทบจะไม่สามารถแยกกันได้ ซึ่งรูปนาคได้เป็นที่ยอมรับ กันในหมู่ชนชาติทุก ๆ และใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปในโลก อาทิ นาคราวบันไดของปราสาทหินต่าง ๆ ในประเทศไทยและประเทศเขมร จนถึงสมัยปัจจุบันที่อาณาจักรล้านนาได้เปลี่ยนและแยกเป็นจังหวัด ต่าง ๆ รวมอยู่ในประเทศไทย แต่การอนุรักษ์การก่อสร้างรวมไปถึงบูรณะ ต่าง ๆ ก็ยังทำ�กันต่อไปโยช่างฝีมือชาวบ้าน ซึ่งช่างฝีมือปัจจุบันก็เหลือน้อย ดังนั้นเราควรทำ�ให้ผู้คนต่าง ๆ โดยเฉพาะคนพื้นเมืองช่วยกันดูแลรักษา ทั้ง สืบทอดให้คงอยู่ต่อไป ปัจจุบันลวดลายปูนปั้นประดับหน้าก็ยังได้รับภัย พิบัติจากสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และการทำ�ลายของมนุษย์ เป็นเหตุให้ได้ รับอันตรายอย่างมากรูปแบบลวดลาย นาคประดับราวบันไดใน ปัจจุบันก็ มีความสวยงามน้อยลงไปทุกที ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังมีการทำ�ปูนปั้นรูปนาค ประดับราวบันไดอยู่ตามพุทธสถาน ลวดลายปูนปั้นนาคประดับราวบันได จะเป็นตัวแทนของความเจริญรุ่งเรืองที่บรรพบุรุษได้สร้าง สรรค์ขึ้นจึงมี ความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะทำ�การศึกษาและอนุรักษ์อย่างจริงจังให้ปูนปั้นนาค ประดับราวบันไดนี้คงอยู่ตลอดไป

3


ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ตำ�บลเวียง ในพงศาวดารล้านนาเป็นที่ปรากฏแน่ชัดว่า ได้มีการตั้ง ถิ่นฐานเป็นชุมชนเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำ�โขง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 หรือ สมัยกรุงหิรัญเงินยาง (เชียงแสน) มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เมืองเชียงของ เดิมชื่อ “เมืองขรราช” ปรากฏในพงศาวดีล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 21 มี ฐานะเป็นเมืองบริวารเช่นเดียวกันกับเมืองบริวารอื่น ๆ เช่น เมืองเทิง เมือง เชียงคำ� ขึ้นการปกครองกับเมืองนันทบุรี (น่าน) ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง อำ�นาจการปกครองเมืองเชียงของถูกทิ้งร้าง จนมีการฟื้นฟูขึ้นมาอีกหลาย ครั้งจนถึงสมัยพระยากิตวงศ์วรยศรังษี ในปี พ.ศ. 2453 ถือว่าเป็นเจ้าเมือง เชียงของคนสุดท้าย ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยุบเมืองเชียงของ และตั้งเป็นอำ�เภอเชียงของ และตั้งเป็นอำ�เภอเชียงของ อยู่ในการปกครอง ของจังหวัดเชียงของ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2457 จนถึงปัจจุบัน

4


ตำ�บลเวียง มีการแบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน มีรูปแบบ การปกครองส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบองค์การบริหารส่วน ตำ�บลจำ�นวน 9 หมู่บ้าน และ รูปแบบเทศบาลตำ�บล จำ�นวน 5 หมู่บ้าน

พื้นที่

ตำ�บลเวียง ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของอำ�เภอ มีเนื้อที่ทั้งหมด 42,244 ไร่ ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 950 กม. ห่างจากตัวจังหวัด 137 กม. ตั้งอยู่ติด กับริมแม่น้ำ�โขง สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง และที่เนินภูเขา

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดต่อ ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ทิศใต้ ติดต่อ ต.สถาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย ทิศตะวันออก ติดต่อ แม่น้ำ�โขง และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตก ติดต่อ ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

5


คติความเชื่อเรื่องนาคในงานประติมากรรม ปูนปั้นรูปนาคประดับราวบันไดในศาสนสถาน

ประติมากรรมปูนปั้นนาคประดับราวบันไดในศาสนสถานได้สร้าง ขึ้นตามคติความเชื่อในตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ก็เดินลง จากบันไดแก้วมณีสีรุ้งที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาคสองตนเอาหลังหนุน บันไดไว้ ทำ�ให้ปรากฏงานปูนปั้นรูปนาคประดับราวบันไดอยู่ทั่วไป ด้วย ความเชื่อที่ว่าการสร้างปูนปั้นนาคประดับราวบันไดเป็นหนทางไปยังดินแดน สวรรค์ อีกความเชื่อหนึ่งคือเพื่อเป็นการปกป้องดูแลป้องกันภยันอันตราย ที่จะเกิดแก่พระพุทธศาสนาและการสร้างงานประติมากรรมปูนปั้นนาค ประดับราวบันไดในศาสนสถานให้หันหน้าไปทางแม่น้ำ�โขง เพื่อแสดงถึง ความเชื่อที่ว่าแม่น้ำ�โขงคือที่อยู่อาศัยของนาค ดังนั้นความสัมพันธ์ของนาค กับแม่น้ำ�โขงคือสิ่งที่อยู่คู่กันเป็นนิรันดร์

6


ลวดลายที่พบในงานประติมากรรม ปูนปั้นรูปนาคประดับราวบันไดในศาสนสถาน

ลวดลายปูนปั้นของนาคตามวัดต่าง ๆ นั้นส่วนมากจะตกแต่งด้วย ลวดลายกนก ซึ่งจะเป็นที่นิยมกันมากเละจะผสมกับลวดลายเครือเถาวัลย์ ของล้านนา การตกแต่งลายเครือเถาวัลย์ ส่วนมากจะตกแต่งบริเวณส่วน หัวของนาคและบริเวณลำ�ตัวส่วนหน้าของนาคปนกับลายเกล็ดนาคเกล็ด นาค บริเวณลำ�ตัวส่วนกลางจนถึงส่วนล่างจะตกแต่งด้วยลายเกล็ดนาค ลวดลายของเกล็ดนาคจะมีหลายแบบด้วยขึ้นอยู่กับช่างว่าจะทำ� ออกมาเป็นแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ ที่ไม่มีลายละเอียดหรือเกล็ด ที่มีขนาดใหญ่ซึ่งจะมีลวดลายในเกล็ดนาคอีกชั้นหนึ่งรูปร่างก็จะเป็นลาย ธรรมชาติคือจะเป็นรูปแบบของกลีบดอกไม้ นาคบางตัวก็จะมีครีบอยู่ บริเวณสันของลำ�ตัว รูปร่างของครีบนาคก็คงจะมาจากรูปแบบของใบไม้

7


รูปแบบของลายกระหนกและลายประจำ�ยามนั้นแสดงให้เห็นถึงการ ได้รับอิทธิพลของลวดลายในแบบภาคกลางเข้ามา ลายประจำ�ยามนั้นใน ส่วนของด้านในส่วนมากจะเป็นของลวดลายโบตั๋นแสดงให้เห็นถึงว่าได้รับ อิทธิพลของลวดลายในแบบประเทศจีนเข้ามาด้วย รวมถึงรูปร่างของดอกไม้ ที่ใช้ตกแต่งรวมกับลวดลายเครือเถาว์ด้วย ปูนปั้นนาคประดับราวบันไดในศาสนสถาน เขตตำ�บลเวียง อำ�เภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย นั้นจะเป็นศิลปกรรมล้านนาผสมไทลื้อ เนื่องจาก แถบ ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ชาวบ้านในละแวกนี้จะมีเชื้อสายไทลื้อ ดังนั้นปูนปั้นนาคประดับราวบันไดจึงมีลักษณะเป็นงานปูนปั้นล้านนาผสม ไทลื้อ หากเป็นงานใหม่ก็จะได้รับอิทธิพลจากภาคกลางทำ�ให้ปูนปั้นนาคนั้น ดูใหญ่โตและอลังการ

8


รูปแบบประติมากรรม ปูนปั้นรูปนาคประดับราวบันไดในศาสนสถาน 1 แบ่งตามรูปแบบทางศิลปกรรมของตัวนาค 1.1 รูปแบบที่เป็นนาคแท้ๆ 1.2 รูปแบบที่เป็นนาคแท้ๆ

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านข้าง วิหารวัดทุ่งดุก

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดทุ่งทราย

9


1.3 รูปแบบที่เป็นมกรคายนาค

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดทุ่งดุก

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดศรีดอนชัย

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดสบสม

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดห้วยเม็ง

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดหัวเวียง

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้าซุ้ม โขงประตูวัดหัวเวียง

10


1.3 รูปแบบที่เป็นมกรคายลวง

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดหลวง

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดหาดไคร้

11

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดพระแก้ว


2 เทคนิคปูนปั้นและการประดับตกแต่งของตัวนาค 2.1 การประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นอย่างเดียว

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดทุ่งดุก

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านข้าง วิหารวัดทุ่งดุก

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดพระแก้ว

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้าซุ้ม โขงประตูวัดหัวเวียง

12


2.2 การประดับตกแต่งด้วยกระจกสี

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดสบสม

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดหัวเวียง

2.3 การประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องเซรามิค

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดหาดไคร้

13


2.4 การประดับตกแต่งด้วยกระจกสีและกระเบื้องเซรามิค

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดทุ่งทราย

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านข้าง วิหารวัดศรีดอนชัย

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดหลวง

ปูนปั้นนาคประดับ ราวบันไดด้านหน้า วิหารวัดห้วยเม็ง

14


ขอขอบคุณ ภาพพิมพ์พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์เปิดสามโลก วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดย Tsutomu Rikimi


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.