ad and art magazine | May 2010

Page 1


พฤษภาคม ๒๕๕๓


การทำงานโฆษณากับศิลปะ(ad and art)ให้ได้ดี ต้องมีสามองค์ประกอบ หัวคิด ฝีมือ ใจรัก มนต์ทิวา ชัยพิพัฒนานันท์ คนรักภาษาและชื่นชมศิลปะ นำเสนอโดย


ความควรทราบ ปกฉบับนี้เป็นงานของมือใหม่หัดทำ ที่แม้จะรู้ตัวว่าไม่ถึงขั้น แต่ก็ยังอยากทำเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับแฟนๆ ad&art โชคดีที่ ปัทมา สุขสกุลชัยช่วยสร้างสรรค์ฉากหลังให้ จึงออกมางดงามขึ้นอีกมาก ขอขอบคุณอย่างยิ่ง ด้วยสำนึกถึงน้ำใจของแฟนๆ เราจึงตอบแทนด้วยการทำad&art รุ่นสามในรูปแบบ e-zine ให้คุณๆได้อ่านจนครบสิบสองฉบับ ก่อนที่จะลาจากไปด้วยหลายสาเหตุตังนี้ การทำ ad&art ต้องใช้เวลาในการหาข้อมูลที่คิดว่าเหมาะและเข้ากับแนวของนิตยสาร ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องให้สารบันเทิงแล้ว ยังต้องทันการณ์ด้วย ซึ่งในยุค Internet นี้ เพียงไม่กี่ชั่วโมง ข้อมูลข่าวสารก็อาจช้าไปแล้ว ซึ่งเราไม่ประสงค์ให้ ad&art เป็นเช่นนั้น 

นอกจากคอลัมน์ที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์แล้ว เราเฟ้นเนื้อหามาจาก Web site ต่างๆใน Internet ซึ่งถ้าใครเก่งภาษา อังกฤษและหาข้อมูลอย่างทั่วถึง ก็สามารถรับรู้ได้โดยไม่ต้องพึ่ง ad&art 

ด้วยวัยที่สูงขึ้น ดิฉันจึงเหนื่อยที่ต้องทำงานหลายด้านพร้อมๆกัน เห็นได้จาก บ l o ก ที่ขาดหายไป รู้สึกละอายใจจริงๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็สมควรยุติการทำนิตยสาร(ที่ต้องออกตามกำหนดทุกเดือนและใช้เวลาไม่น้อยในการเสาะหาและตรวจสอบ ข้อมูล) แล้วหันมาเขียน บ l o ก จากประสบการณ์เพียงอย่างเดียว น่าจะดีกว่า 

เพราะขาดเงินทุนและไม่มีเวลาหาโฆษณา (logo ไทยยานยนตร์ที่เห็นนั้นไม่มีค่าโฆษณา เราขอมาลงเพราะอยากตอบแทนที่ เคยได้รับการสนับสนุนสมัยผลิต ad&art รุ่นแรกเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน รวมทั้งนิตยสาร HEAD ด้วย) ทำให้ไม่สามารถว่าจ้าง พนักงาน จึงต้องรบกวนบุคคลจำนวนไม่น้อยในเรื่องปก ข้อเขียน การทำ artwork ฯลฯ ซึ่งดิฉันซาบซึ้งและเกรงใจอย่างยิ่ง สำหรับความช่วยเหลือทั้งหลายที่ได้รับโดยไม่มีสินจ้างหรือสิ่งตอบแทนให้เลย 

ขอถือโอกาสนี้กล่าวขอบคุณอีกครั้งไปยัง ผู้สร้างสรรค์ปก ตั้งแต่ดร.วรัตต์ อินทสระ / GAGA / เป้ สีน้ำ / มารุต พิเชษฐวิทย์ / ผศ.วรรณา พิเชฐพฤทธ์ / นลิน รมย์ศิลป์ศุภา / ปัทมา สุขสกุลชัย / HSU BIN / the duang / it’s me lexaky ตลอดจนผศ.ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์ 

ผู้เขียนคอลัมน์ประจำต่างๆ คืออรดล(ที่ไม่เพียงเขียนให้ ยังแนะนำ)ยุทธนา บุญอาชาทอง(มาช่วยเขียนเพิ่มอีกด้วย) CV และอาจารย์พษิ ณุ ศุภนิมติ ร (ทีแ่ ม้ไม่เคยรูจ้ กั กันมาก่อน เพียงเอ่ยปากเชิญแกมขอ ก็รบั เขียนให้ทนั ที) รวมไปถึงผูเ้ ขียนรับเชิญ ทุกท่านอย่างพีช่ ัย แป้นพัฒน์ ซึ่งมีผลงานส่งท้ายในฉบับนี้ด้วย ดร.วรัตต์ อินทสระ ที่เขียนให้ถึงสามครา ฟ้าสางกับ ผู้ก่อการดีที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับงานของนักศึกษาที่ส่งเข้ามา ฯลฯ 

ทีมงานทีแ่ สนดี(ซึง่ สละเวลาพักผ่อนมาทำงานให้ฟรี) ปัทมา สุขสกุลชัย วรวิทย์ เกรียงโกมล และอรวรรณ(อ้อ) จงพิศาลพัฒนา ที่รับหน้าที่หนักกว่าใคร 

คุณคงรู้แล้วนะว่าดิฉันโชคดีขนาดไหนที่ได้รับน้ำใจไมตรีมากมายเช่นนี้ คำขอร้องสุดท้ายถึงคุณๆที่มีนิตยสาร ad&art รุ่นแรกกับรุ่นสอง หากไม่เป็นการลำบากเกินไป รบกวน scan ตั้งแต่ปกหน้าจน ถึงปกหลังจาก ad&art ฉบับที่คุณมี แล้วส่งมาที่ mchaipipat@yahoo.com เพื่อให้เรารวบรวมเนื้อหาทั้งหมดขึ้น Web site ให้นักศึกษาและนักโฆษณารุ่นหลังๆได้อ่านกัน ซึ่งดิฉันจะเขียนลง บ l o ก ให้รับทราบถึงความก้าวหน้าของงานนี้ ถึงนิตยสาร ad&art จะปิดตัวลง ดิฉันก็ยังคงเขียน บ l o ก ให้อ่านได้อีก และจะต่ออายุ Web site ไปเรื่อยๆ แต่เมื่อใดที่ หายไปเป็นเดือนๆ ก็แสดงว่าดิฉันหมดแรงหรือหมดลมไปแล้ว ขอบคุณอย่างยิง่ ทีก่ รุณาติดตามผลงานของเรา ส่งกำลังใจกับความปรารถนาดีมาให้ตลอดแต่ตน้ จนจบ ขอให้คณุ ๆอยูด่ มี สี ขุ เสมอ สวัสดีด้วยความอาลัยรักค่ะ


เก็บสารผ่านสื่อ อรดล

SOCIAL NETWORK.. สื่อหลากคม

ซื้อสินค้าเลย และถึงอยากโฆษณาจริงๆ ก็ทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องหลอกลวง เพราะ SM หลายแห่ง มีพื้นที่โฆษณาที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายดัง ในช่วงที่วิกฤติการเมืองกำลังร้อนแรง social media อย่าง facebook และ twitter ถูกใช้เป็น ต้องการได้ เนื่องจากมีข้อมูลพร้อม ไม่ว่าจะมี พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระบายอารมณ์ อาชีพด้านไหน เพศอะไร อายุเท่าไหร่ อยู่บริเวณ นำเสนอเรื่องราว ภาพ ฯลฯ อันมีผลให้เกิดชุมชน ไหนของโลก ฯลฯ และบางแห่งก็คิดค่าบริการ ถูกแสนถูก เพียงวันละหนึ่งเหรียญสหรัฐฯเท่านั้น online ขึ้นมากมาย เพื่อแสดงความรัก/ไม่รัก สถาบันต่างๆ อย่างกลุ่มคนเสื้อหลากสีที่อาศัย social media ในการเรียกให้คนร่วมอุดมการณ์ ผู้รู้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ใช้ social network ใน ไปรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก และยังส่งข่าวสารถึง การโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าสิ่งสำคัญสุดคือต้อง กันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานที่และเวลาได้ เป็นความจริง เนื่องจากผู้ร่วมเครือข่ายสื่อสารถึง กันได้อย่างรวดเร็วและสามารถหาทางตรวจสอบ อย่างรวดเร็ว เกี่ยวกับข้อมูลที่คุณให้ไว้ได้ อีกประเด็นคือภาษา ที่อยากพูดถึงคือชุมชน online บางกลุ่มซึ่งแรกเริ่ม ที่ใช้ ควรเขียนให้ถูกตามหลักภาษาเพราะเป็น ก็เป็นกลุ่มรักสถาบัน แต่เมื่อมีคนมาร่วมกลุ่มมาก บรรทัดฐานให้ผู้รับ/ส่งสารเข้าใจกันได้อย่างถ่องแท้ และควรตระหนักด้วยว่าภาษานั้นบอกอะไรเกี่ยว เข้า ก็กลายเปลี่ยนเป็นการโฆษณาธุรกิจไป กับตัวผู้ใช้ฯได้มากกว่าที่คิด น่าแปลกที่คนพวกนี้ลืมคิดว่าหากไม่ซื่อสัตย์แล้ว จะมีสักกี่คนที่อยากร่วมสมาคมด้วย..อย่าว่าแต่จะ นอกจากชุมชน online ของคนทั่วไปแล้ว


นักการเมืองหลายรายก็มี facebook ของตัวเอง เพื่อใช้สื่อสารกับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่สมัครเข้า ร่วมกลุ่มด้วย และประชาชนเองก็สามารถสื่อสาร กับนักการเมืองที่ตนชื่นชอบได้ ด้วยเหตุนี้ นักการเมืองที่เปิด social network แล้วไม่ดูแล network ของตนเองนัน้ กำลังหาเรือ่ งทีเ่ ป็นอันตราย ใส่ตัว เนื่องจากการเข้าสู่ชุมชน online ทำได้ ง่ายดาย บางคนที่สมัครเข้าร่วมเครือข่ายอาจมี ความคิดที่รุนแรง ไร้เหตุผล ไม่สร้างสรรค์ ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ฯลฯ นอกจากนี้ (กลุ่ม)บุคคล ที่มีจุดประสงค์ซ่อนแฝงก็สามารถสร้างตัวตนเทียม โดยตั้งชื่อ กำหนดอายุ อาชีพ ฯลฯ ขึ้นเอง และยัง สามารถสร้างได้มากเท่าที่ต้องการ เพื่อเข้ามาใน เครือข่าย แล้วส่งข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน แม้ กระทั่งภาพถ่ายที่ตัดต่อประกอบขึ้นเอง

ตอบสนองต่อความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ อัน เป็นการแสดงศักยภาพในการแก้ไขปัญหาที่ทันเหตุ หรือหากติดภารกิจที่ทำให้ไม่สามารถเข้า Internet ได้ ก็ต้องแจ้งให้บุคคลในเครือข่ายทราบ..ไม่ใช่ เงียบไปเฉยๆ เพราะข้อมูลใน social network ต้องปรับให้ทันการณ์ตลอดเวลา มิฉะนั้น ก็ไม่ อาจดึงความสนใจของคนใน network ไว้ได้

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่นักการเมืองคัดมาให้ดูแล network ของตน นอกจากต้องมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นบุคคลที่ไว้ใจได้จริงๆ เพราะสิ่งที่ส่ง ผ่าน network นั้นมีคนจำนวนมากรับรู้ อีกทั้ง ยังสามารถส่งต่อหรือปันแบ่งได้โดยการเคาะนิ้ว เท่านั้น หากส่งข่าวสาร/ข้อมูล/ความคิดเห็น ที่เท็จ บิดเบือน ฯลฯ ออกไป (จะด้วยเจตนาหรือ ไม่ก็ตาม) ก็อาจก่อผลเสีย(ต่อตัวเอง)ได้เกินคาด นักการเมืองที่เข้าใจดีถึงอิทธิพลของ SM จึงต้อง เพราะสิ่งที่ส่งออกไปแล้วนั้นไม่สามารถเอากลับคืน ว่าจ้างผู้รู้เกี่ยวกับสื่อด้านนี้มารวบรวมความคิดของ ได้ และถึงแก้ไข ก็อาจไม่ทันการณ์ ที่ร้ายกว่านั้น ประชาชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาและ คือคนไม่เชื่อ แล้วหมดศรัทธาในที่สุด


ดู Idea นอก คนโฆษณา

งานโฆษณาชุดแรกสำหรับฉบับส่งท้ายนี้ Bleublancrouge ของแคนาดาทำให้ Bristol-Myers Squibb’s One life ซึง่ สือ่ สารได้ชดั เจนตรงจุด ผ่านรูปกับคำทีเ่ น้นในประเด็นเดียวกันว่าแต่ละครัง้ ทีค่ ณุ นอนกับ ใครบางคน คุณนอนกับ(คนใน)อดีตของเขาด้วย คงไม่ตอ้ งอธิบายความมากกว่านี้

ชุดสองเป็นของ Kleenex สร้างสรรค์โดย JWT แห่งอังกฤษทีเ่ ข้าใจเอาวาระโอกาสกับประสบการณ์ชวี ติ ทีม่ ที ง้ั ด้านดีดา้ นร้ายมาเล่น ซึง่ ทัง้ สองด้านก็มสี ทิ ธิท์ ำให้เสียน้ำตาได้ ต่างกันแต่วา่ เป็นน้ำตาแห่งความปิติ ตืน้ ตันหรือความรันทดโศกเศร้า (ทีล่ ว้ นต้องใช้ tissue มาเช็ดให้แห้ง) และหากดูละเอียด จะเห็นว่าทุกชิน้ มีขอ้ ความ let it out อยูด่ ว้ ย คือปล่อยให้(น้ำตา)มันไหลออกมาเถิด


จะเห็นว่างานชุดนีล้ งในสือ่ ไหน..ก็ดงึ ให้ดู เพราะสีทส่ี วยสดใสเป็นตัวดูดสายตาอย่างแรง และการจัดวาง องค์ประกอบก็ลงตัว ต้องชมการกำกับศิลป์ของ Christiano Neves ทีเ่ ป็นทัง้ นักคิดสรรคำด้วย (เป็น ข้อได้เปรียบมาก เพราะสามารถกำหนดทุกอย่างได้ดงั ใจ) ส่วนผูท้ ำภาพประกอบมีชอ่ื ว่า Gail Armstrong ก่อนลาจากกัน ก็ขอเขียนบางสิง่ เพิม่ เติมทีน่ า่ จะเป็นประโยชน์สำหรับผูท้ ำงานสร้างสรรค์ โฆษณานัน้ มีบอ่ ยครัง้ ทีร่ ปู แบบหรือวิธกี ารนำเสนอใกล้เคียงกัน แต่ใช่วา่ เป็นการลอกเลียนเสมอไป อยูท่ ว่ี า่ สือ่ สารในสิง่ เดียวกันหรือไม่ หากใช่ จึงค่อยวิจารณ์ได้เต็มปากว่าลอกเขามา ขอยกตัวอย่างงานสองชุดทีต่ า่ งใช้ธงชาติในการนำเสนอ ชุดแรกเป็นโฆษณาตัง้ แต่เดือนตุลาคม ปี 2008 ที่ Jung von Matt/Alster ของเยอรมันทำให้ DHL เขาใช้ธงชาติมาเป็นเครือ่ งมือในการสือ่ ให้เห็นความเร็วของบริการ โดยเลือกชาติทม่ี สี ธี งเหมือนกันแต่สลับ ตำแหน่ง แล้วใส่ขอ้ ความด้านบนและล่าง โดยด้านบนวางตัวหนังสือกลับหัว ด้านล่างถูกต้อง อย่างชิน้ แรกสุดเป็นธง Ireland พร้อมข้อความ No one delivers faster from Ireland และเมือ่ พลิกด้านบนลง ก็เป็นสีธง Ivory Coast กับข้อความ to Ivory Coast เป็นงานทีเ่ ยีย่ มมาก สือ่ ว่า DHL จัดส่งสิง่ ของได้เร็วเหมือนพลิกผืนธงเท่านัน้


ชุดสองเป็นโฆษณาสำหรับนิตยสาร A+D ของ Brazil ทีส่ ร้างสรรค์โดย Loja Comunicao แห่ง Rio de Janeiro ทีน่ ำออกเผยแพร่เมือ่ เดือนเมษายนทีผ่ า่ นไป

เขาใช้สมี าจัดวางหรือป้ายในแนว/มุม/ตำแหน่งทีแ่ ตกต่างกันไปตามตามลักษณะของธงชาติ ทำให้เห็น ความต่างทีช่ ดั เจน และคนดูจะคิดถึงสองประเทศทีม่ วี ฒั นธรรม ความเป็นอยู่ ฯลฯ ทีไ่ ม่เหมือนกัน ต้อง ชมว่าได้นยั แจ่มชัด เข้ากับข้อความภาษาอังกฤษ(ทีต่ วั เล็กเกินควร)ตรงมุมขวาล่างทีบ่ อกว่า A change in decor can turn your house into different worlds. Read A+D จากงานสองชุดนี้ คงเห็นได้วา่ แม้ใช้ธงชาติเหมือนกัน แต่สารทีส่ อ่ื นัน้ ต่างกัน ขอยกตัวอย่างเพิม่ ให้ถงึ แก่นด้วยโฆษณาของ Le Repubblica ทีม่ คี นบอกว่าคล้ายของ Hut Weber ซึง่ ก็มคี นบอก(อีก)ว่าเอาภาพมาจากโฆษณาของ History Files โฆษณาของ Le Repubblica นัน้ เป็นผลงานของ Y&R ใน Italy ทีเ่ ขาใช้(หมวก) Charlie Chaplin มานำเสนอ ก็เหมาะแล้ว เพราะเป็นโฆษณาทีเ่ กีย่ วกับหนังเงียบ ซึง่ ทัว่ โลกก็รวู้ า่ Chaplin นัน้ เป็นหนึง่ ในด้านนี้ ข้อความคือ Sounds for silence. Classic silent films reinterpreted by today’s musicians. As from 30th April at all newsagents. (ทีช่ มนัน้ เฉพาะสัญลักษณ์ทน่ี ำเสนอ แต่เรือ่ งการเลือกและจัดวางตัวอักษรยังไม่ตรงใจ เพราะดูแน่นอึดอัด น่าจะทำได้ดกี ว่านี้ เพราะมีเนือ้ ทีพ่ ออยูแ่ ล้ว)


งานทีส่ องเป็นโฆษณาที่ Serviceplan Hamburg ทำให้ Hut Weber ของเยอรมัน จะเห็นว่าแค่ใส่หมวก ก็ เปลีย่ นบุคลิกไปทันที นับว่าเป็นสารทีแ่ รงพอควร เพราะจาก Hitler เป็น Chaplin นัน้ ไม่ใช่แค่บคุ ลิกเท่านัน้ ทีเ่ ปลีย่ น ยังบ่งถึงภาพลักษณ์ดว้ ย และเพียงข้อความสัน้ ๆว่า It’s the hat. ก็โยงสูส่ นิ ค้าแล้ว

ชิน้ สุดท้ายเป็นงานชุด เพือ่ ดึงให้คนเรียนรูเ้ กีย่ วกับประวัตศิ าสตร์แบบย่อๆหรือ history in brief โดยการใช้ หน้าตา/สัญลักษณ์ของคนดังทีจ่ ดจำกันได้ ซึง่ หนึง่ ในนัน้ ก็คอื Hitler

ในเมือ่ ใช้คนดังซึง่ มีสญั ลักษณ์ทจ่ี ดจำกันได้ทว่ั โลกมาเป็นตัวนำเสนอ ก็ไม่อาจทำรูปหรือภาพให้ดผู ดิ แผกได้ มากนัก ซึง่ มองผิวเผิน ก็เหมือนลอกกันมา แต่เมือ่ ดูงานแต่ละชิน้ จะเห็นว่าสารทีส่ ง่ นัน้ ต่างกันมาก ในยุคนี้ เป็นการยากทีจ่ ะนำเสนออะไรทีส่ ดใหม่แบบทีไ่ ม่เคยมีใครทำมาก่อนเลย หากเป็นยุคเริม่ ต้นของ ธุรกิจโฆษณา ก็พอเป็นไปได้ แต่นานวันเข้า ก็มอี ะไรซ้ำๆให้เห็น จึงต้องย้ำว่างานสร้างสรรค์นน้ั อาจมี รูปแบบ/วิธกี ารนำเสนอทีซ่ ำ้ กันได้ ทีส่ ำคัญคือรูปแบบ/วิธกี ารฯนัน้ เหมาะกับสินค้าหรือสารทีต่ อ้ งการสือ่ หรือไม่ และเมือ่ นำเสนอออกไปแล้ว คนรับสือ่ หรือกลุม่ เป้าหมายเข้าใจและยอมรับได้หรือเปล่า ถ้าเป็นคำตอบรับทัง้ คู่ ก็ถอื ว่าลุผลในการทำโฆษณาแล้ว ขอบคุณทีอ่ า่ นคอลัมน์นม้ี าตัง้ แต่ ad&art รุน่ แรกถึงรุน่ สุดท้าย หวังว่าคงได้ประโยชน์พอสมควร


ตีฆ้อง ร้องป่าว mc

MOVEMENTS FROZEN IN TIME นิทรรศการภาพถ่าย ถึง ๒๘ พฤษภาคม Goethe-Institut Atrium ผูห้ ญิงพิการ: แรงบันดาลใจ ความงาม และคุณค่า นิทรรศการภาพถ่ายโดยอภิลกั ษณ์ พวงแก้ว ถึง ๒๘ พฤษภาคม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หนังตะลุง - ธรรมะ โดยชูศกั ดิ์ ศรีขวัญ ถึง ๓๐ พฤษภาคม Ardel Gallery of Modern Art ART FOR THE EARTH โดย Holly Maitland Smith ถึง ๓๐ พฤษภาคม Bangkok Hospital, Phuket ART FROM THE HANDS OF MOTHERS ถึง ๓๐ พฤษภาคม Sombat Permpoon Gallery ผลกระทบ โดยวิญญากร จันทะศิริ และธีธชั ธนโชคทวีพร ถึง ๓๐ พฤษภาคม 2nd Floor, River City Shopping Complex IN-LAND OUT-CAST โดย Olivier Pin-Fat

๑๐

ถึง ๓๐ พฤษภาคม Kathmandu Photo Gallery


KILL YR IDOLS โดย Andrew Jones ถึง ๓๐ พฤษภาคม Nospace Gallery, Bangkok WALKING ON THE CLOUD โดยวัลลภ หาญสันเทียะ ถึง ๓๐ พฤษภาคม The Rotunda Gallery, Neilson Hays Library WRONG PLACE โดยคามิน เลิศชัยประเสริฐ ถึง ๓๑ พฤษภาคม Tang Contemporary Art 25 YEARS OF DOCUMENTING THAILAND นิทรรศการภาพถ่าย เนือ่ งในโอกาสครบรอบยีส่ บิ ห้าปีของนิตยสารสารคดี ถึง ๓๐ พฤษภาคม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ศิลปะคือกาม ความงามคือรส โดยชนาธิป ชัยยะยางกูร ถึง ๓๑ พฤษภาคม วังสวนผักกาด วาง โดยอุทยั นพศิริ ถึง ๖ มิถนุ ายน 100 Tonson Gallery รวมมิตรภาพ จัดโดยสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถึง ๖ มิถนุ ายน หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


สะอาด สว่าง สงบ โดยเกรียงศักดิ์ จิรเสถียรอำไพ ถึง ๘ มิถนุ ายน Jamjuree Art Gallery ABSTRACTED NATURE โดย Kaz Orii ถึง ๑๒ มิถนุ ายน Akko Art Gallery ฉงน สงสัย โดยปิตวิ รรธน์ สมไทย พศุตม์ กรรณรัตนสูตร ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์ และนภดล วิรฬุ ห์ชาตะพัน ถึง ๑๓ มิถนุ ายน หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สีสนั แห่งชีวติ โดยโอภาส โชติพนั ธวานนท์ ถึง ๒๐ มิถนุ ายน Rose Garden Gallery อูด๊ อูด๊ โดยชัยณรงค์ กองกลิน่ ถึง ๒๐ มิถนุ ายน Whitespace Gallery WONDERFUL THAI FRIENDSHIP ถึง ๒๐ มิถนุ ายน WTF Gallery & Cafe


LOWWRONG (UN)COVER โดยจิตต์สงิ ห์ สมบุญ และทวีศกั ดิ์ ศรีทองดี ถึง ๒๕ มิถนุ ายน Creative House Bangkok สีสนั - ฤดูกาล โดยจรูญ บุญสวน ถึง ๒๗ มิถนุ ายน หอศิลป์รมิ น่าน เรือ่ งของผูห้ ญิง(ฉัน) โดยบุษราพร ทองชัย ถึง ๓๐ มิถนุ ายน ARDEL’s Third Place Gallery พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ (กรุงเทพมหานคร) 02 2810433 วังสวนผักกาด 02 2454934 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 02 2146630-1 หอศิลป์จามจุรี 02 2183709 หอศิลป์ตาดู 085 1155771 หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 02 3503626 หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 02 2213841 หอศิลป์ริมน่าน 054 798046 หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 02 2182905 หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 02 2815360 ถึง 61 AKKO ART GALLERY 02 2591436 ALLIANCES FRANCAISE 02 6704240 ARDEL THIRD PLACE GALLERY / DOB GALLERY 02 4222092, 084 7722887 ART GORILLAS ART GALLERY 02 6583975 ART REPUBLIC 02 6521801 ARTERY GALLERY 02 6303006 BOKA GALLERY 089 4848288 CATHERINE SCHUBERT FINE ART 02 2870819 CREATIVE HOUSE BANGKOK 02 6112798 D GALLERY 076 360 867 GALLERY N 02 6540522 GOETHE-INSTITUTE 02 2870942 H GALLERY 081 3104428 KATHMANDU PHOTO GALLERY 02 2346700 LA LANTA FINE ART 02 2605381, 02 2040583 LIAM’S GALLERY 038 251808 LOOK AT THIS GALLERY 053 400921 LOOK AT THIS GALLERY 053 400921 NEILSON HAYS GARDEN GALLERY 02 233 1731 NOSPACE GALLERY 02 6414040 NUMBER 1 GALLERY 02 6303381 NUMTHONG GALLERY 02 2434326 PANISA GALLERY 053 202 779 ROSE GARDEN GALLERY 034 322544, 086 8902762 SILOM GALLERIA ART SPACE 02 6303381 SOMBAT PERMPOON GALLERY 02 2546040 TANG GALLERY 02 6301114 TCDC 02 6648448 THAVIBU GALLERY 02 2665454 THE GALLERY 02 6303381 THE PIKTURE GALLERY 662 662 8359 TITA GALLERY 053 298373 WTF GALLERY & CAFÉ 02 6626246 9 ART GALLERY 053 719110 100 TONSON GALLERY 02 6841527


บริบทการตลาด ยุทธนา บุญอาชาทอง

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ผมมีโอกาสไปเทีย่ วบ้านเพือ่ นคนหนึง่ และได้พดู คุย อย่าเพิง่ ตกอกตกใจ! เพราะคุณสมบัตขิ อ้ หนึง่ ของ กับคุณแม่ของเพือ่ น ซึง่ หัวข้อหนึง่ ทีค่ ยุ กันคือฤดูกาล นักการตลาดทีด่ คี อื ไม่ทอ้ และไม่ใจเสีย ต้องคิดหา ของประเทศไทย ทางออกให้ได้ มีคนบอกว่าประเทศไทยเดีย๋ วนีม้ สี ามฤดู คือร้อน ร้อนกว่า และร้อนทีส่ ดุ ซึง่ คุณแม่ฯก็เห็นด้วย แต่ให้ ข้อคิดอย่างหนึง่ ซึง่ ผมเห็นตาม คือเราควรมองใน ข้อดีหรือคิดบวก (think positive) อย่ามัวว่าคิด ว่ามันร้อน..แล้วไม่ทำอะไร คุณแม่ฯบอกว่าดูอย่างแม่ ถ้าแม่คดิ ว่าอากาศร้อน แล้วแม่อยูเ่ ฉยๆคงไม่ดี เพราะแม่คงไปเปลีย่ นแปลง อากาศไม่ได้ แต่แม่กลับมองว่าเมืองไทยเป็นเมืองที่ มีแดดร้อน แล้วทีบ่ า้ นแม่ปลูกต้นกล้วยเยอะจนกิน ไม่ทนั แม่เลยนำมาทำกล้วยตากโดยใช้ประโยชน์ ของแดด และยังได้ของอร่อยไว้กนิ ด้วย

๑๔

วิธกี ารหนึง่ คือทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยทีส่ ดุ ต่อ ให้เราวางแผนทีด่ อี ย่างไร ก็มโี อกาสทีจ่ ะผิดพลาด เสมอ เพราะอาจมีบางปัจจัยทีเ่ ราไม่สามารถ ควบคุมได้ เช่น ปัญหาด้านภัยธรรมชาติ ด้าน เศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม แต่เราต้องตัง้ รับ ด้วยสติและคิดในเชิงบวก

เมือ่ ต้องเผชิญสิง่ ทีไ่ ม่คาดคิดว่าจะเกิดขึน้ หรือเจอ อุปสรรคทีย่ าก นักการตลาดหรือเจ้าของสินค้าควร คิดทบทวนใหม่ตง้ั แต่จดุ เริม่ ต้น โดยคิดถึงสินค้า (product) ราคาของสินค้า (price) ช่องทาง การจัดจำหน่าย (place) แผนสนับสนุนการขาย (promotion) แล้ววางแผนพืน้ ฐานการตลาดใหม่ ปัญหาทางการตลาด มีหลายครัง้ ทีอ่ าจแก้ไม่ได้ โดยทำความเข้าใจกับธรรมชาติของสินค้า..กับ และเมือ่ ทำอย่างทีไ่ ด้เรียนรูม้ า ก็ยงั ไม่สามารถแก้ได้ เหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ หรือใช้สามัญสำนึก (common


sense)ในการตัดสิน แต่พยายามอย่าเอาตัวอย่าง ยิง่ ขึน้ ทำให้ได้กลุม่ นักท่องเทีย่ วมากขึน้ จากปัญหาสินค้าอืน่ หรือจากหนังสือทีแ่ นะวิธแี ก้มา ความร้อนจึงไม่ใช่ปญั หาอีกต่อไป ใช้ เพราะสถานการณ์ของสินค้าเราอาจไม่ตรงหรือ เหมือนกับของในหนังสือ อีกตัวอย่างหนึง่ ทีผ่ มเห็นคือช่วงไข้หวัด 2009 ระบาด โรงภาพยนตร์เกิดปัญหาทันที เพราะเป็น สินค้าทีผ่ มเห็นว่านำวิธที างการตลาดมาใช้ได้ แหล่งชุมชนทีต่ ดิ โรคกันได้งา่ ย ทำให้ไม่มใี ครกล้า อย่างน่าสนใจในช่วงนีก้ ค็ อื เมืองโบราณ ไปชมภาพยนตร์ จะเห็นได้วา่ โรงภาพยนตร์ใช้วธิ ี แก้ทางการประชาสัมพันธ์ โดยพูดถึงระบบทำ เมืองโบราณนัน้ จำลองสถานทีส่ ำคัญต่างๆของ ความสะอาดของโรงฯและการฆ่าเชือ้ ให้ผบู้ ริโภค ประเทศไทยเราไว้ แต่ปญั หาหนึง่ ทีเ่ มืองโบราณ รับรู้ จึงมีคนไปชมภาพยนตร์มากขึน้ ประสบคือไม่มนี กั ท่องเทีย่ ว จากสภาพอากาศ ทีร่ อ้ นจัดของเมืองไทย พอถึงช่วงหน้าร้อน เวลาเกิดปัญหา ไม่อยากให้คดิ ว่าเป็นปัญหาทีแ่ ก้ นักท่องเทีย่ วก็หดหาย เพราะไม่สามารถทนสู้ ไม่ได้ ควรมองปัญหาให้รอบด้าน มองในแง่บวก แสงแดดได้ และใช้ใจทีเ่ ป็นกลางถามตนเองก่อนว่าตนเองเชือ่ ไหมว่าวิธที างการตลาดทีใ่ ช้นน้ั จะได้ผล แล้วจึงทำ นักการตลาดเมืองโบราณก็แก้ปญั หาช่วงอากาศ มันโดยใช้สติ เพราะปัญหาทีเ่ ราคิดว่ายากนัน้ จริงๆ ร้อนโดยเปิดให้เข้าท่องเทีย่ วในเวลาเย็น และมี แล้ว เราอาจค้นพบทางออกทีเ่ ป็นประโยชน์ขน้ึ มา การประดับไฟ ซึง่ เพิม่ ความน่าสนใจของสถานที่ ก็ได้


มโนสาเร่ Little Devil

วัสดุพลาสติกที่เห็นอยู่นี้ สูงเพียง ๑๑ ซม.เศษ กว้าง ๙ ซม.เศษ หนา ๔ ซม.เศษ คุณเดาออกไหมว่าคืออะไร? เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เมื่อเปิดออกแล้ว ใส่ขวดน้ำหอมไว้ภายในได้ถึงสามขวด สุดยอด idea จากยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ของที่ระลึกจากเพื่อนชาวอเมริกา ที่เก็บมานานกว่าสองทศวรรษ พร้อมข้อความเป็นบทกลอนว่า

Whenever you are lonely Or even feeling blue, You only have to hold this gift… And know I think of you! You never can unwrap it, Please leave the ribbon tied, Just hold the box close to your heart… It’s filled with love inside!

ก็เก็บไว้ โดยไม่เคยแกะออกดูเลย.. อย่างที่กลอนว่าไว้

๑๖

รูปแบบหนึ่งของบัตรเชิญแต่งงานในพ.ศ.๒๕๕๓ ที่มาในกระบอกกระดาษแข็ง


การ์ดขนาด ๑๐.๕ ซม. กว้าง ๖.๒ ซม.เหล่านี้ เป็นของ Print Media Academy ของเยอรมัน ที่แจกแก่ผู้ไปเยี่ยมชม เพื่อเป็นตัวอย่างว่า งานพิมพ์สามารถสื่อได้ทั้งภาพ กลิ่น เสียง และสัมผัส สำหรับการ์ด feel นั้น เขาทำนูนขึ้นมาเพื่อให้ คนตาบอดอ่านได้ด้วย ป้ายที่เมือง Aalborg ของเดนมาร์ก เขียนว่า คนรวยย้ายไปอยู่ที่สูง คนจนก็จมน้ำไป Jatuporn Nørgaard (แปล)

ในเมืองใหญ่ของเดนมาร์ก จะมีจักรยาน(ออกแบบ พิเศษที่ต่างจากจักรยานทั่วไปซึ่งใช้ล้อยางแบบ ไม่ต้องเติมลม)จอดเสียบกุญแจไว้ให้ใครก็ได้ท่ี ต้องการขีจ่ กั รยานใช้ โดยเอาเหรียญเสียบเข้าไป ถอดกุญแจออก เมื่อไปเจอที่จอดจักรยานที่อื่น ก็สามารถเอากุญแจ ที่มีสายผูกเสียบกับจักรยานที่เราเอามา ก็จะได้ เหรียญคืน

ของฝากจากญี่ปุ่น รู้ไหมว่าใช้ทำอะไร? ที่ปัดฝุ่นบนแป้นพิมพ์


ทั้งบนและล่างเป็นของฝากจากไต้หวัน คู่บนเป็นแม่เหล็กติดตู้เย็น คู่ล่างเป็นขนม

ทำของที่ระลึกได้น่ารักอย่างนี้ ก็สมควรได้เงินจากนักท่องเที่ยว

ลองอ่านข้อความนี้ดู

That that is is that that is not is not ถ้าใครอ่านเข้าใจ ก็ย่อมใส่เครื่องหมายวรรคตอนถูก

ผู้ที่มั่นใจ เชิญส่งข้อความที่ใส่เครื่องหมายวรรคตอนไปที่ mchaipipat@yahoo.com ส่วนผู้ที่ไม่รู้..แต่อยากรู้ ก็ส่งไปถามได้เช่นกัน ฝ่ายแรกจะได้หนังสือเป็นที่ระลึก ฝ่ายหลังจะได้คำตอบ ขออำลาคุณด้วยข้อความตรงใจของ Richard Saul Wurman สถาปนิกกับนักเลขนศิลป์ชาวอเมริกา In the end, all I am ever trying to do with every project I do is to do good work. Not for fame, fortune or money. Just really to do something good.


รู้...เห็น...เป็นบันทึก

CV

เปลี่ยนอดีตเป็นปัจจุบัน ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ฉันมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเปลี่ยนบ้านเก่าเป็น boutique hotel นอกจากได้ไปเยี่ยมชม boutique hotel ห้าแห่งที่อยู่รอบๆเกาะรัตนโกสินทร์ คือ Samsen 5 Lodge, Samsen Sam Place, Old Bangkok Inn, The Bhuthorn, บ้านดินสอ และบ้านจักรพงษ์แล้ว ยังได้ฟัง การเสวนาเชิงสถาปัตยกรรมกับการตกแต่ง รวมทั้งการพูดคุยโดยเจ้าของกิจการถึงแรงบันดาลใจและ งานจัดการบริหาร สิ่งที่ฉันได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้จึงไม่ใช่เพียงแค่ความประทับใจ ยังมีความคิดฟุ้งกระจายใน การตกแต่งบ้านกับแง่มุมที่น่าสนใจในการทำธุรกิจประเภทนี้อีกด้วย อย่างแรกคือความใจกว้างของเจ้าของกิจการ..ที่ไม่ได้มองผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ ทุกคน ต่างยินดีถ่ายทอดประสบการณ์และให้เราเข้าไปเยี่ยมชมเกือบทุกซอกทุกมุม พร้อมตอบข้อสงสัยของผู้ที่ สนใจอยากเป็นเจ้าของกิจการหรืออยากตกแต่งบ้านเก่าอย่างเต็มใจ..ในฐานะทีร่ กั นิยมบ้านเก่าเหมือนๆกัน

๑๙


ถัดมาคือแนวคิดของเจ้าของฯ แต่ละคนมีที่มาแตกต่างกัน ส่วนใหญ่นั้นไม่มีบรรพบุรุษที่เป็นเจ้าของ สิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ อีกทั้งไม่มีพื้นฐานในงานบริหารโรงแรมที่พักอาศัยหรืองานบริการมาก่อน พวกเขา มีเพียงแนวคิดที่จะสร้าง boutique hotel จากบ้านเก่าเท่านั้น และไม่หยุดเพียงแค่คิด เมื่อสบช่องทาง หรือโอกาส เขาก็ลงมือทำตามความคิดนั้นทันที..ด้วยการมองหาบ้านเก่า(ซึ่งคนส่วนมากมองข้ามคุณค่า) ที่มีโครงสร้างแข็งแรงและสวยงาม เพือ่ ทำตามทีฝ่ นั ไว้ โดยยึดหลักว่าต้องอยูใ่ นย่านชุมชน ใกล้แหล่ง ท่องเทีย่ ว ซึ่งมีสถานที่อันเป็นจุดสังเกต (landmark) กับมีเส้นทางสัญจรและการขนส่งมวลชนที่สะดวก อีกหนึ่งอย่างที่ผู้คิดจะทำกิจการด้านนี้พึงมีคือความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าบ้านนั้นจะเป็นมรกดตกทอด หรือซื้อหามาก็ตาม เจ้าของฯควรมีส่วนในการซ่อมแซมปรับปรุงโดยคิดร่วมกับนักออกแบบตกแต่งด้วย เพราะบ้านเก่าไม่ควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็น เจ้าของฯบางคนยึดความชอบส่วนตัวและตกแต่งบ้านเองโดยไม่ง้อนักออกแบบ ทำให้ประหยัดค่าจ้าง ได้อีกมาก แม้การตกแต่งจะไม่หรูหรา แต่ก็เลือกใช้วัสดุอย่างดี เน้นการใช้สอยได้จริงในพื้นที่จำกัด ให้อารมณ์เหมือนอยู่บ้าน ทำให้ผู้เข้าพักพอใจและติดใจในบริการ จนกลายเป็นแขกประจำ ขณะที่ บางแห่ง เจ้าของฯเป็นสถาปนิกหรือนักออกแบบอยู่แล้ว ก็ยิ่งได้เปรียบ แค่ใส่ลูกเล่นที่ซอกเล็กมุมน้อย ให้ได้ประโยชน์ใช้สอยเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อผสมผสานกับความเป็นเอเชีย ก็ได้ใจผู้เข้าพักเต็มๆ โดยเฉพาะ แขกที่เป็นชาวตะวันตก

เรื่องรสนิยมก็สำคัญ ทั้งแขกและเจ้าของฯต้องมีรสนิยมตรงกัน นั่นคือถวิลหาอดีต ชอบของเก่าๆ ทั้ง บรรยากาศ รูปแบบสถาปัตยกรรม ข้าวของเครื่องใช้ ของสะสม แต่ของเก่าก็ใช่ว่าสามารถใช้ประโยชน์


ได้หมด ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ความปลอดภัย และความสะดวกสบายของผู้มาพักอาศัยด้วย ดังนั้นต้องผสานรสนิยมกับการใช้งานในยุคปัจจุบันให้ได้ด้วย เช่น การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ สุขภัณฑ์ ในห้องน้ำ ห้องสุขา บริการ Internet ฯลฯ หากทำได้ไม่สมบูรณ์ดังคิด ก็อาจมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดบางอย่างที่แขกผู้มาพักต้องปรับตัวบ้าง เช่น บางแห่งต้องใช้ห้องน้ำร่วมกันหรือต้องถอดรองเท้า ฯลฯ

เรื่องสุดท้ายเป็นการสร้าง brand ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำ boutique hotel ขนาดไม่กี่ห้องให้เป็นที่รู้จัก กันได้ โชคดีที่มีนักท่องเที่ยวประเภทหนึ่ง(มักเป็น ชาวยุโรป)ที่เสาะแสวงหาที่พักสไตล์นี้เป็นพิเศษ..ด้วย ติดใจบริการที่เป็นกันเอง ราคาไม่สูงมาก รวมทั้งความสะดวกสบายในการเดินทาง จนเกิดการบอกต่อๆ กันในโลก cyber ทำให้ที่พักเหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นใน บรรยากาศของชุมชมอันสงบเงียบ หนึ่งใน boutique hotel ที่ไปชมนั้นได้รับเลือกจากนักท่องเที่ยวนานาชาติให้ได้รับ Hostelling International Best Hostel Award และอีกหลายแห่งของไทยก็ได้รับการลงคะแนนให้เป็นที่พักประเภท Bed & Breakfast ติดอันดับหนึ่งในสิบจาก Tripadvisor.com นับว่าเป็นความสำเร็จที่ไม่ต้องโหมโฆษณา ด้วยเม็ดเงินมหาศาลเลย แม้ boutique hotel ทีไ่ ด้ไปเยีย่ มชมนัน้ จะอยูใ่ นย่านเดียวกัน แต่ละแห่งก็มอี ารมณ์กบั บรรยากาศทีแ่ ตกต่าง กันไป ซึง่ สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อย่างเด่นชัด แต่สง่ิ ทีท่ ง้ั หมดมีเหมือนกันคือ การอนุรกั ษ์สง่ิ ปลูกสร้าง ทีท่ รงคุณค่าจากอดีตกาลของบ้านเราให้ดำรงอยูไ่ ด้ทา่ มกลางความเจริญทีเ่ ปลีย่ นแปลงอย่างไม่หยุดยัง้ ใน ปัจจุบนั ซึง่ เป็นสิง่ ทีค่ วรแก่ความภาคภูมใิ จอย่างยิง่


เหนือ ออก ตก ใต้ นกตัวเล็ก

KELLY AWARDS อีกรางวัลสำหรับวงการโฆษณาในสหรัฐฯคือ Kelly Awards ที่ Magazine Publishers of America มอบ ให้สำหรับความเป็นเลิศด้านความสร้างสรรค์กับประสิทธิผลของงานโฆษณาชุดแก่ทีมสร้างสรรค์กับลูกค้า โฆษณา ซึ่งคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสร้างสรรค์จากบริษัทโฆษณาชั้นนำ กับลูกค้าโฆษณานิตยสาร ในปีที่ยี่สิบเก้าของ Kelly Awards นี้มีเพิ่มใหม่สองรางวัล คือ Best Single Execution สำหรับงานเดี่ยว ที่ไม่เกี่ยวกับงานชุดใดๆ กับ Innovation Award ที่เสนอให้โดย RR Donnelley ผู้สนับสนุนงานนี้ แต่เฉพาะหนึ่งเดียวของปีสำหรับโฆษณาที่ริเริ่มวิธีการใช้(ประโยชน์จาก)นิตยสารได้ดีสุด

จากทั้งหมดสิบสองรางวัล บริษัทโฆษณาที่กวาด ไปครองได้มากสุดคือ Goodby, Silverstein & Partners ซึ่งนอกจากได้รางวัลสำคัญสุด คือ Grand Prize จากผลงานที่ทำให้ Haagen-Dazs แล้ว ยังได้ Effectiveness Award สำหรับลูกค้า Hyundai รวมทั้งรางวัลใหม่ Best Single Execution ที่ทำให้ NBA ด้วย รางวัล RR DONNELLEY Innovation Award ปีแรกนี้ตกเป็นของงานโฆษณาชุด An Expression of Joy ที่สร้างสรรค์โดย GSD&M Idea City ให้ ลูกค้า BMW ดูข่าวและรายละเอียดอื่นๆเพิ่มที่

adage.com/mediaworks/article?article_id=143955

และ

๒๒

magazine.org/advertising/kelly_awards/winners_ finalists/index.aspx


โลกสะอาด Shawn Seipler กับ Paul Till เป็นพนักงานขายที่ ต้องเดินทางเป็นประจำ จึงต้องพึ่งบริการโรงแรม บ่อยๆ แล้ววันหนึ่งก็เกิดสงสัยว่าสบู่ก้อนจิ๋วที่ใช้ ล้างมือเพียงสองสามครั้งนั้นถูกนำไปทิ้งหรือทำ อะไรอย่างอื่นอีก? เมื่อรู้ว่าทั่วสหรัฐฯมีโรงแรมทั้งหมดสี่ล้านหกแสน แห่ง ทั้งสองก็ตระหนักว่ามีสบู่ถูกทิ้งเปล่าประโยชน์ มากมาย จึงคิดทำโครงการ Clean the World ขึน้ เมื่อปีที่แล้ว และได้ติดต่อขอความร่วมมือจาก โรงแรมต่างๆโดยเริ่มจากรัฐ Florida ที่พวกเขา อาศัยอยู่ เพื่อนำสบู่ที่เหลือจากการใช้ไปฆ่าเชื้อโรค แล้วมอบให้องค์การกุศล เพื่อส่งต่อไปยังประเทศ ที่กำลังพัฒนาซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้สบู่ แต่ไม่มี เงินซื้อหา อย่างเช่นประเทศ Haiti ที่สบู่ราคาก้อน ละหนึ่งเหรียญ..ในขณะที่ประชาชนมีรายได้วันละ สองเหรียญเท่านั้น

ข้าพเจ้าทำศิลปะด้วยใจรัก เลื่อมใส และจริงใจ มิได้ทำไปเพราะอามิส ข้าพเจ้าทำศิลปะเพื่อศึกษาค้นคว้า หาความจริงในความงามอันเร้นลับ อยู่ภายใต้สภาวะธรรมฯ ผลงาน อันเกิดจากกำลังกาย กำลังความคิด และกำลังใจของข้าพเจ้า ขอน้อม อุทิศให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายของ ข้าพเจ้า เฟื้อ หริพิทักษ์

ศิลปินแห่งชาติ

หมดสิ้นรอยยิ้ม Norman Madden ได้นำบางเสี้ยวของสภาพ กลียุคของประเทศเราจากบันทึกสั้นๆของสุทธิศักดิ์ สุจริตตานนท์ ประธานกรรมการ / CCO ของ BBDO จาก ๑๐ เมษายนถึง ๑๘ พฤษภาคม ไป เผยแพร่ใน AdvertisingAGe เชิญอ่านได้ที่ http://adage.com/globalnews/article?article_id=143943

จุดประสงค์ของโครงการคือการแปรสภาพมาใช้ ใหม่กับการลดขยะจากสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ อย่างคุ้มค่า เพื่อมอบให้ผู้คนที่จำเป็นต้องใช้ของ เหล่านี้จริงๆ ไม่กี่เดือนหลังจากสบู่กว่าหกหมื่นก้อนได้รับการ แจกจ่ายออกไป ทั้ง Seipler กับ Till ได้ขยาย โครงการไปทั่วสหรัฐฯ โดยตั้งถังรับบริจาคทัง้ สบู่ น้ำยาสระผม และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอื่นๆ รวมทั้งเงิน จากสาธารณชนตามร้านค้าที่มี เครือข่ายทั่วประเทศ

ที่เหลือเชื่อคือความเห็นที่บอกว่านับถือชื่นชม คนกล้าหาญ(อย่างคุณสุทธิศักดิ์)ในการพยายาม ทำงานในประเทศที่แตกป็นเสี่ยง หรือที่บอกว่า เป็นการแสดงความกล้าหาญและความยืนหยัด อย่างน่าทึ่งสำหรับคน(อย่างคุณสุทธิศักดิ์)ที่ พยายามทำงานในสภาพ(เลวร้าย)ที่เป็นไปไม่ได้ (สำหรับการทำงาน)เช่นนี้ ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่า คิดเขียนออกมาได้อย่างไรว่าเป็นความกล้าหาญ ชาญชัย..หากเทียบกับคนที่อาศัยอยู่ในที่เกิดเหตุ/ ที่หมดทางเลี้ยงชีพแบบหาเช้ากินค่ำที่ไม่มีที่อื่นให้ ไปหลบภัย/ฯลฯ ซึ่งย่ำแย่เลวร้ายกว่าการไม่ต้อง เข้าสำนักงาน แต่นั่งทำงานอย่างปลอดภัยในบ้าน กับการมีที่อื่นให้ย้ายไปอยู่อาศัยอีกมากนัก


ART IS BEAUTIFUL พิษณุ ศุภ.

ศิลปินแห่งชาติที่ผมรู้จัก

ฉบับนีเ้ ป็นสุดท้ายของนิตยสาร ad&art และก็เป็นสุดท้ายของคอลัมน์นเ้ี ช่นกัน ดังนัน้ ผมจึงหาเรือ่ งราวที่ เป็นเหมือนการสรุปส่งท้ายและให้ของขวัญของฝากแก่ผอู้ า่ นไปในตัว

๒๔

ประเทศของเรานี้ แม้วา่ จะเก่าแก่ มีประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนานนับพันปี มีศลิ ปวัฒนธรรมทีส่ บื เนือ่ ง และมี อัตลักษณ์ของตนเองชัดเจน แต่ครัน้ มาถึงยุคสมัยทีโ่ ลกแคบลงด้วยการเดินทางทีร่ วดเร็วสะดวกสบายขึน้ มีเครือ่ งมือสือ่ สารกับนานาประเทศทีอ่ ยูห่ า่ งไกล เป็นผลทำให้ศลิ ปะทีเ่ คยต่างคนต่างอยูต่ ามมุมโลกต่างๆ เริม่ หันเข้าหากัน ศิลปะของไทยก็เช่นกัน ต้องมีการปรับตัวอย่างขนานใหญ่ โดยเฉพาะศิลปะสมัยใหม่จนถึงศิลปะร่วมสมัยที่ เกิดอาการเปลีย่ นแปลงเมือ่ ประมาณเจ็ดแปดสิบปีทผ่ี า่ นมา ตัวเลขนี.้ .คนรุน่ ใหม่อาจมองว่าเป็นตัวเลขของ เวลาทีม่ ากพอควร แต่หากเทียบกับของประเทศอารยะทางตะวันตกแล้ว ช่วงเวลาการถ่ายเททางวัฒนธรรม ของโลกอาจเป็นตัวเลขกว่าร้อยปี ด้วยเหตุทใ่ี นอารยประเทศ ศิลปะสมัยใหม่ทเ่ี กิดขึน้ เมือ่ ร้อยปีกอ่ นได้กลาย เป็นประวัตศิ าสตร์ไปแล้วในปัจจุบนั ศิลปะดัง้ เดิมของเราอยูใ่ นขนบธรรมเนียมของการยึดถือปฏิบตั มิ านานนม การซึมซับถ่ายเทก็เป็นไปใน กลุม่ ชนชาติทม่ี พี น้ื ทีท่ างภูมศิ าสตร์ใกล้เคียงกันและมีรปู แบบของศิลปะทีอ่ ยูใ่ นท่วงทำนองเดียวกัน ศิลปกรรมไทยจึงละม้ายคล้ายกันกับศิลปะในภูมภิ าคนี้ จนกระทัง่ ถึงยุคทีเ่ ราต้องปรับตัวอย่างแรงในสมัย รัชกาลทีห่ า้ เพือ่ รักษาสถานภาพให้เท่าเทียมกับมหาอำนาจทางตะวันตก เราจำต้องรับเอาบางอย่างของ โลกตะวันตกเข้ามา ศิลปกรรมทีแ่ สดงให้เห็นชัดสุดถึงการไหลบ่าอย่างรุนแรงก็คอื สิง่ ทีแ่ ฝงอยูใ่ นงาน สถาปัตยกรรมกับสิง่ ก่อสร้างสาธารณะในรูปแบบทีเ่ ราไม่เคยทำและไม่เคยมีมาก่อน สถาปัตยกรรม classic ในแบบตะวันตก สะพาน ถนน ทีท่ ำการของรัฐ และอนุสาวรียถ์ กู สร้างขึน้ ด้วยเหตุผลทีร่ องรับ ความเป็นอารยะทีท่ ดั เทียมกับโลกตะวันตก การไหล่บา่ ของศิลปอารยธรรมตะวันตกมีผลให้ศลิ ปะดัง้ เดิมของเราเกิดอาการสะดุดหยุดลง..คล้ายคนที่ กำลังเจ็บป่วย งบประมาณการสร้างศิลปะไทยทีเ่ คยให้กบั วัดและวังถูกดึงไปใช้ในการสร้างสาธารณูปโภค กับสิง่ ก่อสร้างทีท่ นั สมัยแบบตะวันตกทัง้ หมด กระทบให้ผสู้ ร้างสรรค์งานศิลปะ/นายช่างศิลปะแบบดัง้ เดิม ต้องตกงาน แม้แต่วงดนตรีไทยทีเ่ คยรุง่ เรืองอยูก่ บั วังเจ้านายทัง้ หลายก็ตอ้ งยุบวงเลิกรากันไป..ด้วยไม่เหมาะ กับยุคสมัยเสียแล้ว เหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ นีจ้ งึ นับได้วา่ เป็นการจบสิน้ ของศิลปะไทยดัง้ เดิมทีส่ บื ต่อกันมายาวนาน เพราะไม่มี


ศิลปกรหรือช่างศิลป์ทท่ี ำงานแบบเก่าและก็ไม่มศี ลิ ปกรทีท่ ำงานแบบร่วมสมัยในขณะนัน้ เพราะยังไม่รวู้ า่ จะ ทำศิลปะในรูปแบบไหน มาถึงสมัยรัชกาลทีห่ ก แม้พระองค์เองจะทรงพยายามฟืน้ ฟูศลิ ปะไทยอย่างหนัก ทรงสร้างกระแสให้คนรัก ชาติรกั วัฒนธรรมดัง้ เดิม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กอ่ ตัง้ โรงเรียนเพาะช่าง เพือ่ ฝึกฝนเยาวชนให้สบื ต่อ งานศิลปะในลักษณะไทยให้ได้ แต่สง่ิ ทีท่ รงกระทำก็เป็นเสมือนการเยียวยารักษาให้คนไข้มชี วี ติ อยูร่ อดเท่านัน้ ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ เพราะนายช่างศิลปะของไทยยังไม่สามารถสร้างผลงานแห่งยุคสมัยทีส่ ามารถ ตอบรับความทันสมัยแบบสากลของโลกภายนอกทีก่ ำลังไหลบ่าเข้ามาได้ จนถึงปี ๒๔๖๖ ศาสตราจารย์ Corrado Feroci นายช่างประติมากรรมจากอิตาลีได้รบั การว่าจ้างให้เข้า มาสร้างอนุสาวรียท์ เ่ี ป็นศิลปสาธารณะในรูปแบบของศิลปะตะวันตก ศาสตราจารย์ผนู้ เ้ี กิดหลงรักประเทศไทย หลงรักเยาวชนไทย และใช้ชวี ติ ทีเ่ หลือในประเทศไทยโดยไม่ เดินทางกลับประเทศบ้านเกิดเมืองนอน ซ้ำยังเปลีย่ นชือ่ เป็นไทยในนามทีค่ นไทยรูจ้ กั กันดีคอื ศิลป์ พีระศรี งานจัดสร้างอนุสาวรียก์ ลางทีส่ าธารณะอันเป็นเครือ่ งประดับ ของเมืองทีท่ นั สมัยนัน้ เป็นงานประติมากรรมขนาดใหญ่ท่ี เกิดขึน้ จากการสร้างสรรค์ดว้ ยความคิดและสมองของ นักสร้างสรรค์ทเ่ี ป็นศิลปกรโดยแท้ และทีส่ ำคัญ ผูส้ ร้าง จะต้องเรียนรูเ้ กีย่ วกับศิลปวิทยาของงานสร้างอนุสาวรีย์ และงานประติมากรรมขนาดใหญ่ ด้วยเหตุน้ี ศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี จึงต้องเพาะเชือ้ หว่านผลไปสูเ่ ยาวชนในยุคนัน้ ทำให้ศลิ ปศาสตร์ใน การสร้างงานประติมากรรมเริม่ ต้นขึน้ บนแผ่นดินนี้ เพราะ ท่านเพียงคนเดียวไม่อาจสร้างงานขนาดใหญ่นไ้ี ด้ จึงต้อง ถ่ายทอดวิทยาการศิลปะด้วยการตัง้ โรงเรียนประณีตศิลป์ ขึน้ ในพ.ศ. ๒๔๗๗ และโรงเรียนนีก้ ไ็ ด้พฒั นาเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร อันเป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรก ของไทยในพ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นทีฟ่ มู ฟักวิทยาการศิลปะแบบตะวันตกอย่างถูกทาง อีกทัง้ เป็นสถานทีเ่ พาะบ่ม ศิลปะแบบดัง้ เดิมให้คนื ชีวติ และเข้าสูค่ วามกลมกลืนกับศิลปะแบบตะวันตก อันกลายมาเป็นศิลปะสมัยใหม่ อย่างทีเ่ ห็นอยูใ่ นปัจจุบนั เยาวชนทีเ่ ป็นเด็กสร้างของศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี ในครัง้ นัน้ ได้ยนื หยัดมีชวี ติ ทีจ่ ะสร้างสรรค์ศลิ ปะแบบ ของตนเอง หลายคนกลายเป็นปรมาจารย์ทางศิลปะทีส่ บื ทอดอุดมการณ์ของศาสตราจารย์ศลิ ป์ดว้ ยการให้


การศึกษาแก่เยาวชนในยุคต่อๆมา แนวทางศิลปะไทยร่วมสมัย จึงเกิดขึน้ จากการฝังตัวในศิลปกรรุน่ ใหม่ๆเหล่านี้ การสร้างสรรค์ ศิลปะในแนวร่วมสมัยทีม่ บี คุ ลิกภาพของความเป็นไทยจึงเกิดขึน้ เกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ เกิดเป็นองค์กรชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง และเกิด เพชรน้ำหนึง่ ทีเ่ ป็นสุดยอดของนักสร้างสรรค์ทม่ี องเห็นเป็นรูปธรรม หลายราย จนได้รบั การยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ อันเป็น โครงการทีส่ ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้จดั ทำ ขึน้ เมือ่ ปีพ.ศ. ๒๕๒๗ ทีเ่ กริน่ เสียยืดยาวก็เพือ่ พาผูอ้ า่ นไปรูจ้ กั กับศิลปินแห่งชาติทค่ี นไทย รูจ้ กั ยกย่องกัน โดยผมจะบอกเล่าถึงศิลปินแห่งชาติทผ่ี มรูจ้ กั เท่านัน้ และเฉพาะทีเ่ ป็นอาจารย์กบั รุน่ พี่ เป็นการพูดถึงอย่างไม่เป็น ทางการ แต่ในแง่สว่ นตัวอย่างทีร่ จู้ กั อาจเป็นมุมมองทีค่ นอืน่ ไม่เคยรู้ ซึง่ ทุกท่านล้วนเป็นผลพวงจากการหว่านเมล็ดพันธุแ์ ห่งศิลปะของศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี บน แผ่นดินไทยนีท้ ง้ั สิน้ ศิลปินแห่งชาติทา่ นแรกเป็นสุดยอดของนักสร้างสรรค์งานศิลปะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นอาจารย์ของอาจารย์ หากท่านยังมีชวี ติ อยูจ่ นถึงพ.ศ.นี้ ก็จะมีอายุครบร้อยปีพอดี ซึง่ มหาวิทยาลัยศิลปากรและมูลนิธิ เสฐียรโกเศศได้จดั นิทรรศการฉลองกันตลอดทัง้ ปี ท่านคืออาจารย์ เฟือ้ หริพทิ กั ษ์ ผูไ้ ด้รบั เกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์คนแรกของประเทศในปีพ.ศ. ๒๕๒๘ หลังจากทีไ่ ด้รบั รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ จากประเทศฟิลปิ ปินส์ ก่อนหน้านัน้ สองปี อาจารย์เฟือ้ เป็นนักเขียนรูปแบบสมัยใหม่หวั ก้าวหน้าล้ำยุค แต่ ง ท่านก็หนั กลับไปอนุรกั ษ์ศลิ ปกรรมไทยอย่างจริงจังใน ภายหลั ระดับผูบ้ กุ เบิกงานอนุรกั ษ์ศลิ ปะไทย ชีวประวัตขิ องอาจารย์เฟือ้ นัน้ เหมือนกับนวนิยาย มีทง้ั ล้มลุกคลุกคลานและประสบความสำเร็จสูงสุด ท่านศึกษาศิลปะจากหลายสถาบันแต่ไม่เคยจบตามหลักสูตรของสถาบันใดเลย ทัง้ โรงเรียนเพาะช่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยวิศวภารตี(เดิมคือศานตินเิ กตัน)ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร และ ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งโรมในอิตาลี ทีเ่ ป็นเช่นนัน้ ก็ดว้ ยเหตุวา่ ท่านไม่ได้จบการศึกษาในระดับต้น และ การเรียนต่อในระดับสูงก็เป็นการเรียนจากการได้รบั ทุนหรือจากความใฝ่รขู้ องอาจารย์ฯเองทัง้ สิน้ น่าแปลก และน่าทึง่ มากทีค่ นทีไ่ ม่มใี บปริญญาใดๆอย่างอาจารย์ฯกลับได้รบั การยกย่องเคารพนับถือจากคนทัง้ ประเทศ ชีวติ รักของอาจารย์ฯเป็นเหมือนนิยายอีกเช่นกัน อาจารย์ฯหลงรักกับสตรีผสู้ งู ศักดิใ์ นวัยหนุม่ สาว ญาติ ผูใ้ หญ่ไม่มใี ครเห็นด้วย สตรีผนู้ น้ั จึงต้องหนีจากตำหนักด้วยการใช้ผา้ ปูทน่ี อนผูกหย่อนตัวลงมา โชคร้าย


ทีพ่ ลัดตกลงมา ทำให้ขาพิการ ทัง้ คูอ่ ยูก่ นิ ด้วยกันจนมีทายาทหนึง่ คน แต่โชคชะตาพาให้ตอ้ งตกระกำลำบาก จนในทีส่ ดุ เส้นทาง ของครอบครัวก็ถงึ จุดจบ เรือ่ งจริงของอาจารย์ฯนี้ มีผสู้ ร้าง ภาพยนตร์กำลังจะเริม่ เขียนบทและถ่ายทำให้เป็นประวัตชิ วี ติ ของ นักสร้างสรรค์ศลิ ปะอมตะ ผมได้เรียนกับอาจารย์เฟือ้ เมือ่ ท่านเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ยงั ได้รบั เชิญมาสอนในฐานะผูเ้ ชีย่ วชาญ ท่านสอนทัง้ วิชาจิตรกรรมและวิชาศิลปะไทย ผมชอบเรียนจิตรกรรมกับท่าน แต่ไม่ชอบเรียนศิลปะไทยเลย ในช่วงเวลาสีส่ บิ กว่าปีกอ่ นนัน้ เด็กรุน่ ผมมักคิดว่างานศิลปะไทยเป็นงานโบร่ำโบราณน่าเบือ่ (ยังไม่มกี ารนำ เอาศิลปะในอดีตมาสร้างสรรค์พฒั นาให้เป็นศิลปะไทยร่วมสมัยอย่างในปัจจุบนั ) เราจึงมองว่าศิลปะไทยที่ อาจารย์ฯสอนเป็นเพียงการอนุรกั ษ์ของเก่าหรือรักษาของโบราณไม่ให้สญู เสีย ผมยังเคยคิดว่าอาจารย์เฟือ้ ทีเ่ คยมีพลังสร้างสรรค์งานศิลปะสมัยใหม่มาทำงานอนุรกั ษ์ศลิ ปะไทยทำไม?

เวลาสอนศิลปะไทย อาจารย์ฯมักหลับตาพูดบรรยายไปเรือ่ ยๆ เด็กเลวทัง้ หลายก็คอ่ ยๆหลบออกไปจาก ห้องทีละคนๆ พออาจารย์ฯลืมตาขึน้ ก็เหลือนักศึกษาทีส่ นใจเพียงสองสามคนเท่านัน้ ทีย่ งั นัง่ อยูใ่ นชัน้ เรา เพิง่ มาซาบซึง้ ถึงคุณค่าของงานทีอ่ าจารย์ฯทำก็หลังจากทีโ่ ตเป็นผูใ้ หญ่แล้วและท่านได้รบั การยกย่องจากโลก ภายนอก บอกตามตรงว่าภาพทีเ่ ด็กๆอย่างเรามองเห็นนัน้ อาจารย์คอื ชายแก่คนหนึง่ เพราะท่านใช้ใช้ชวี ติ อย่าง ธรรมดา สมถะ ไม่แสดงตัวตนว่ายิง่ ใหญ่ เพือ่ นของผมทำเคยทำกรรมกับอาจารย์ฯไว้ ระหว่างทีเ่ รากำลังนัง่ รออาจารย์ฯเข้ามาสอนเป็นชัว่ โมงแรกใน ห้องบรรยาย ก็เห็นคนแก่ผมขาว ใส่เสือ้ ขาว นุง่ กางเกงสีกากี ถือไม้กวาดเข้ามากวาดห้อง กวาดไป.. ก็บน่ พึมพำไป ใช้เวลากวาดอยูน่ านจนเพือ่ นผมกังวลใจว่าเดีย๋ วอาจารย์ฯมาเข้าสอนจะยังกวาดไม่เสร็จ ก็เลยลงไปบอกลุงภารโรงคนนัน้ ว่าลุงกวาดเร็วๆเข้า เดีย๋ วอาจารย์จะเข้าสอนแล้ว ทำงานไป ก็อย่าบ่นนะ.. ลุง ลุงแกมองงงๆ เอาไม้กวาดไปเก็บ แล้วก็เข้าห้องมาสอนเรา ถึงรูก้ นั ว่าลุงคนนัน้ คืออาจารย์เฟือ้ เอง


อาจารย์ทวี นันทขว้างเชีย่ วชาญการเขียนสีนำ้ มัน ศิลปินแห่งชาติ งานอมตะของอาจารย์คอื ภาพดอกบัวกับภาพทิวทัศน์ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๓๓ อันงดงามของทุง่ ดอกเลา ทุง่ ดอกฝิน่ ท่านไม่ได้รอบรูแ้ ต่เรือ่ งเขียนรูปเท่านัน้ หากใครได้พดู คุยกับอาจารย์ฯ เป็นต้องได้ความรูอ้ น่ื ๆด้วย ทัง้ นี้ เพราะท่านเป็นนักอ่านตัวยง โดยเฉพาะเรือ่ งของ อวกาศ จักรวาล ดวงดาว ท่านโปรดมาก สามารถ นัง่ คุยได้เป็นวันๆ แล้วเมือ่ ไรทีอ่ าจารย์ฯเริม่ ออกรส ก็จะออกท่าออกทาง เสียงดัง ทีค่ ยุ กันสองคน สักพักก็กลายเป็นกลุม่ ใหญ่ขน้ึ ๆ อาจารย์ฯเป็นนักเขียนด้วย เขียนหนังสือสนุกและให้เกร็ดความรูม้ ากๆ ซึง่ ตีพมิ พ์ในหนังสือต้อนรับน้องใหม่ บ่อยครัง้

ท่านเคยแต่งงานกับนักเขียนสตรีผยู้ ง่ิ ใหญ่ของไทยเราคือสุวรรณี สุคนธา ทัง้ สองท่านเป็นอาจารย์ผมที่ ศิลปากร อาจารย์ทวีสอนจิตรกรรม อาจารย์สวุ รรณีสอนศิลปะไทย (เหมือนอาจารย์เฟือ้ ) ทัง้ สองครองรัก จนมีบตุ รธิดาสีค่ น แต่กม็ อี นั เป็นไปทีท่ ำให้ตอ้ งแยกทางกัน บุตรชายคนหนึง่ เป็นทีร่ จู้ กั กันทัง้ ประเทศคือน้ำพุ พระเอกในภาพยนตร์ทอ่ี ำพล ลำพูนแสดงนำ อาจารย์ทวีเสียชีวติ ด้วยมะเร็งปอดเมือ่ พ.ศ.๒๕๔๓ รวมอายุได้เจ็ดสิบปีบริบรู ณ์ ก่อนหน้านัน้ ผมเคยไปเยีย่ มท่านทีห่ อ้ งทำงาน สิง่ แรกเมือ่ ก้าวเข้าไปในสตูดโิ อของอาจารย์ฯคือกลิน่ จาก สีนำ้ มันทีต่ รลบอบอวบอยูใ่ นห้อง เพราะนอกจากสีทท่ี า่ นใช้เขียนรูปอยู่ ยังมีรปู เขียนทัง้ ทีเ่ สร็จแล้วและยังไม่ เสร็จกองอยูใ่ นห้องเต็มไปหมด ซ้ำยังเป็นห้องปรับอากาศทีไ่ ม่มอี ากาศถ่ายเทอีกด้วย ในช่วงเวลานัน้ ความรูเ้ รือ่ งอากาศ สิง่ แวดล้อม และมลพิษยังไม่เป็นทีต่ น่ื ตัวกัน ผมวินจิ ฉัยเอาเองว่าการที่ อาจารย์ฯเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งอาจมีสาเหตุจากการทีส่ ดู รับพิษจากกลิน่ สีโดยไม่รตู้ วั จึงอยากเตือนจิตรกร รุน่ หลังให้ระวังในเรือ่ งนีด้ ว้ ย


ศิลปินแห่งชาติ

สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๓๔

อาจารย์สวัสดิ์ ตันติสขุ เป็นทัง้ นักการศึกษาและจิตรกร มีผลงานศิลปะ มากมายมหาศาลทัง้ งานสีนำ้ มันและสีนำ้ เป็นทีป่ ระจักษ์วา่ ผลงาน ของอาจารย์ฯเป็นแบบอย่างแก่จติ รกรรุน่ หลังทุกคน ผมเองเป็นคนหนึง่ ทีเ่ ป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ฯมาตัง้ แต่ยงั เป็นเยาวชน ก่อนเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย อาจพูดได้วา่ อาจารย์สวัสดิเ์ ป็น อาจารย์คนแรกทางศิลปะของผมทีท่ ำให้ผมมีความรักในศิลปะ ได้ ก้าวเข้ามาในอาณาจักรของศิลปะด้วยความภาคภูมใิ จ ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนช่างศิลป์มาอย่างยาวนาน จนอาจ กล่าวได้วา่ คนศิลปะค่อนประเทศนีเ้ ป็นลูกศิษย์ของอาจารย์

ผมเรียนกับอาจารย์ฯทีโ่ รงเรียนช่างศิลป์เดิมตรงวังหน้า ถนนราชินี เชิง สะพานพระปิน่ เกล้า ต่อมาโรงเรียนฯได้ยา้ ยไปอยูท่ ล่ี าดกระบังและมีสถานะ เป็นวิทยาลัย ซึง่ ท่านก็เป็นผูอ้ ำนวยการต่อจนเกษียณอายุราชการ ผมยังนึกถึงภาพอาจารย์ฯทีย่ นื อบรมนักเรียนหลังจากเคารพเพลงชาติจบตรง ลานหน้าพระพิฆเนศวร แดดก็รอ้ น นักเรียนก็คยุ กันดังขึน้ เรือ่ ยๆ เริม่ แรก อาจารย์ฯก็เสียงดัง แต่นานเข้า เสียงก็คอ่ ยๆหายไป ไม่สามารถแทรกเสียง ของเด็กๆทีด่ งั ขึน้ เรือ่ ยๆได้ แต่อาจารย์ฯก็ปฏิบตั งิ านในหน้าทีน่ ท้ี กุ วันไม่ขาด ท่านไม่เหน็ดเหนือ่ ยและไม่เคยเห็นท่านออกอาการท้อใจเลยแม้แต่ครัง้ เดียว รวมไปถึงงานสอน อาจารย์ฯก็เป็นอย่างนี้ แม้ในระยะหลังทีท่ า่ นเกษียณฯ แล้ว ก็ยงั มีภารกิจมากมาย โดยเฉพาะการไปร่วมกิจกรรมทางศิลปะและไป ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน ท่านจะพูดอธิบายถึงศิลปะในระหว่างทีเ่ ขียนรูปสีนำ้ ไปเรือ่ ย ซึง่ มักมีคนเข้ามา ห้อมล้อมซักถามท่านด้วยความสนใจ ทัง้ ลูกศิษย์ตวั จริง ลูกศิษย์ทจ่ี บไปแล้ว และลูกศิษย์ภายนอกทีไ่ ม่ได้เสียค่าลงทะเบียนเรียน อาจารย์ทา่ นสัง่ สอน ทุกคนเท่าเทียมกัน บางครัง้ มืดค่ำดึกดืน่ หากมีลกู ศิษย์ให้สอน อาจารย์ก็ จะสอนไปจนถึงขนาดลืมกินลืมนอนก็มี เรือ่ งความขยันในการทำงานศิลปะของอาจารย์ฯนัน้ เป็นแบบอย่างให้ผมและ ลูกศิษย์คนอืน่ ๆได้เห็นและทำตามจนติดเป็นนิสยั อาจารย์ฯทำงานไม่มเี ลิก เช้ามืด เห็นท่านตืน่ มาเขียนพระอาทิตย์ขน้ึ กลางวัน เขียนแสงแดด ตอนเย็น เขียนพระอาทิตย์ตก กลางคืน ยังเขียนแสงไฟและท้องฟ้าอัน มืดมิด เห็นอาจารย์ฯเมือ่ ไร ก็เป็นเห็นท่านกำลังเขียนรูปทุกที อาจารย์ฯเสียชีวติ เมือ่ ปีพ.ศ. ๒๕๕๒ มีอายุได้แปดสิบสีป่ ี เป็นชีวติ ทีค่ มุ้ ค่า.. ด้วยการอุทศิ ตนเพือ่ การสร้างสรรค์ผลงาน การสอนศิลปะ และเป็นแบบอย่าง ให้ผสู้ ร้างศิลปะทุกคนตราบจนวันสุดท้าย


หากพูดถึงงานศิลปะของอาจารย์ชลูด นิม่ เสมอแล้ว บางทีจะงงๆว่าอาจารย์เชีย่ วชาญสาขาใดกันแน่ คือ ท่านได้เป็นศิลปินชัน้ เยีย่ มจากการแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ สาขาจิตรกรรม เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาประติมากรรม ได้รบั พระราชทานดุษฎีบณั ฑิต กิตติมศักดิจ์ ากมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาภาพพิมพ์ กับสาขาศิลปะไทย ท่านกวาดมาแล้วทุกสาขาของ ศิลปะทีเ่ รียกว่าทัศนศิลป์ (visual arts) นัน่ แสดงให้ เห็นว่าท่านสุดยอดจริงๆ!

ศิลปินแห่งชาติ

สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ. ๒๕๔๑

อาจารย์ชลูดเป็นทัง้ นักการศึกษาและนักสร้างสรรค์ งานศิลปะในตัวคนๆเดียว ท่านเป็นบัณฑิตคนแรก ของมหาวิทยาลัยศิลปากรทีไ่ ด้รบั เกียรตินยิ มอันดับหนึง่ ท่านเคยเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมฯ ได้กอ่ ตัง้ ภาควิชา ภาพพิมพ์และภาควิชาศิลปะไทย และเป็นผูร้ า่ งหลักสูตรศิลปะในระดับปริญญาโทของคณะจิตรกรรมฯที่ สถาบันทัว่ ประเทศได้ใช้เป็นต้นแบบ และยังได้เป็นศาสตราจารย์สาขาทัศนศิลป์คนแรกด้วย

ผมยึดถือท่านเป็นแบบอย่างบิดาทางศิลปะเช่นเดียวกับทีย่ ดึ ถืออาจารย์สวัสดิ์ ตันติสขุ อาจารย์ฯสอนผม ตัง้ แต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท จนผมเป็นอาจารย์สอนศิลปะทีค่ ณะฯ ท่านก็ยงั คงทำหน้าทีส่ ง่ั สอนให้ คำแนะนำมาตลอดจนทุกวันนี้ อาจารย์ฯเป็นผูส้ ร้างสรรค์ความมุง่ มัน่ และความขยันให้แก่ศษิ ย์ทง้ั หลายทุกรุน่ ลูกศิษย์ลกู หาของอาจารย์ฯจึง ได้รว่ มกันแสดงมุทติ าจิตด้วยการจัดนิทรรศการศิลปะครัง้ ยิง่ ใหญ่ชอ่ื สายธารชีวติ โดยรวมผลงานกว่าพันชิน้ ของท่านมาแสดงเมือ่ ช่วงต้นปีทเ่ี พิง่ ผ่านไป


ศิลปินแห่งชาติ

สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) พ.ศ.๒๕๔๑

อาจารย์ประหยัด พงษ์ดำเป็นอาจารย์ทส่ี อนผมมากับมือ เช่นเดียวกับอาจารย์สวัสดิ์ ตันติสขุ อาจารย์ชลูด นิม่ เสมอ และอาจารย์สนั ต์ สารากรบริรกั ษ์ อาจารย์ประหยัดสนิทสนมกับผมมาก เนือ่ งด้วยอาจารย์ฯ ยังหนุม่ และสอนวิชาภาพพิมพ์โดยตรง ท่านเป็นคนสนุกสนาน เป็นกันเอง ขนาดล้อเล่นลามปาม.. ก็ไม่เห็นโกรธ อาจารย์ชอบเล่าเรื่องตลก มีทั้งตลกไทย ตลกสากล เจอกันทีไร อาจารย์ฯเป็นต้องต้อนมาฟัง เรือ่ งตลก จากกลุม่ เล็กจนเป็นกลุม่ ใหญ่ ผมเป็นคนชอบ ฟังและเล่าไม่เป็น จึงเป็นนักฟังที่ดีของท่านโดยไม่มี การขัดคอ แต่มบี างคนทีช่ อบแกล้งอาจารย์ฯ ทำเป็นสนใจ ฟังอยู่ครู่เดียว..ก็สะกิดกันให้เดินหนี พอท่านรู้ตัว ตะโกนด่าลั่น เรียกเสียงเฮฮาทุกครั้งไป มาตอนหลังนี่ อาจารย์ต้องมีสมุดโน้ตเล่มเล็กๆจดเรื่องไว้กันลืม

เรือ่ งราวของศาสตราจารย์ศลิ ป์กเ็ ช่นกัน ท่านมีเรือ่ งเล่าเยอะขนาดเขียนหนังสือเป็นเล่มได้ พูดถึงเรือ่ งงานศิลปะของอาจารย์ฯ ขอเริม่ ต้นจากงานจิตรกรรมก่อน ท่านชอบเขียนสีนำ้ มัน ได้ไปเขียนรูป โบราณสถานทีอ่ ยุธยา เป็นโครงสีมดื ๆ ให้ความรูส้ กึ ทีล่ กึ ลับน่ากลัว รูปชุดนีไ้ ด้รบั ความชืน่ ชมจากศาสตราจารย์ ศิลป์เป็นอย่างมาก และความรูส้ กึ เช่นนีก้ เ็ ป็นจุดเริม่ ต้นของการทำงานศิลปะภาพพิมพ์ชดุ ต่างๆในเวลาต่อมา

อาจารย์ฯมาโดดเด่นจากการทำงานภาพพิมพ์แกะไม้(woodcut) และเพราะเป็นคนรักครอบครัว ท่านจึงมัก จะใช้สตั ว์ทน่ี า่ รักเป็นสัญลักษณ์ในการแสดงออกเช่น ตุก๊ แก นกฮูก ม้า และไก่ อาจารย์ได้รบั การยกย่องให้เป็นศิลปินชัน้ เยีย่ ม ศิลปินแห่งชาติ และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทง้ั หมดนีอ้ ยูใ่ น สาขาภาพพิมพ์ทง้ั สิน้


ศิลปินแห่งชาติ

สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๔๖

อาจารย์พชิ ยั นิรนั ต์เป็นนักสร้างสรรค์ศลิ ปะแบบทีเ่ รียก ว่า serious artist มุง่ มัน่ ตัง้ ใจและกำหนดให้ผลงาน กับแนวคิดอยูใ่ นแนวปรัชญาทางพุทธศาสนาอย่าง เคร่งครัด โดยการศึกษาจากธรรมชาติเป็นพืน้ ฐาน

อาจารย์ฯประสบความสำเร็จจากการได้รบั รางวัล เหรียญทองในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครัง้ ทีส่ บิ สี่ ผลงานนัน้ เป็นภาพเขียนสีนำ้ มันขนาดใหญ่ชอ่ื พระพุทธบาท เป็นรอยพระพุทธบาททีท่ บั ถมด้วยสี และรอยพูก่ นั จากความศรัทธา งานชิน้ นีแ้ ม้วา่ จะได้รบั ความบันดาลใจจากเรือ่ งราวแบบเก่าของพุทธศาสนา แต่กลับเป็นงานสร้างสรรค์สมัยใหม่ทค่ี นปัจจุบนั รับรูไ้ ด้ ผลงานของอาจารย์ฯจึงเป็นต้นแบบอันเป็นอุดมการณ์ ของนักศึกษาศิลปะในยุคต่อมา อาจารย์ฯเป็นคนพูดน้อยและอารมณ์ดี เป็นผูห้ นึง่ ทีส่ ง่ั สอนผมมาตัง้ แต่สมัยเรียนอยูท่ โ่ี รงเรียนช่างศิลป์ ตอนนัน้ อาจารย์ฯเพิง่ จบจากศิลปากร จึงเป็นอาจารย์หนุม่ เนือ้ หอม ลูกศิษย์ลกู หาคอยหาโอกาสทีจ่ ะพูดคุยกับอาจารย์ แต่มไี ม่มากนัก เพราะช่วงเวลานัน้ อาจารย์คร่ำเคร่งทีจ่ ะสร้างผลงาน มักอยูใ่ นสตูดโิ อทีโ่ รงเรียนทัง้ วัน ระหว่าง ทำงาน นักเรียนจะได้ยนิ เสียงเพลง classic ดังกระหึม่ ลงมา นัน่ เป็นเวลาทีท่ กุ คนรูว้ า่ น่าจะอยูใ่ นความสงบ

วันหนึง่ ทีพ่ วกเราเล่นฟุตบอลกันอยูใ่ นสนาม ได้ยนิ เสียงเพลงแว่วลงมา ทำให้รวู้ า่ อาจารย์พชิ ยั กำลังทำงานอยู่ พวกเราเล่นกันอย่างเงียบๆ แต่กเ็ กิดอุบตั เิ หตุขน้ึ จนได้เมือ่ เพือ่ นคนหนึง่ เล่นแรง ฟุตบอลลอยข้ามหน้าต่าง กระจกชัน้ สองเข้าไปในห้องอาจารย์ แล้วก็มเี สียงดังในห้องอาจารย์ฯ ทุกคนวิง่ กันกระเจิดกระเจิง อีกพักใหญ่ ฟุตบอลลูกนัน้ ก็ลอยกลับลงมา เพือ่ นคนทีท่ ำต้องกลัน้ ใจขึน้ ไปขอโทษอาจารย์ฯ พอกลับลงมา ก็บอกว่า อาจารย์ฯไม่เห็นว่าอะไรเลย


อาจารย์พชิ ยั ได้ยา้ ยภูมลิ ำเนาไปอยูเ่ ชียงใหม่ มีงานหรือกิจกรรมทีร่ ว่ มทำกับศิลปกรท่านอืน่ อยูบ่ อ่ ยๆ ท่านเคย ทำงานถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯด้วยการเขียนภาพสำหรับหนังสือพระมหาชนก และทุกวันนีย้ งั คง เขียนรูปอย่างสม่ำเสมอ มีความสุข มีเสียงหัวเราะ ใครทีพ่ บเห็นอาจารย์จะได้เห็นรอยยิม้ และแววตาทีม่ เี มตตา ศิลปินแห่งชาติ

สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๔๗

อาจารย์สนั ต์ สารากรบริรกั ษ์เป็นอีกท่านหนึง่ ทีท่ ำงานศิลปะ หลายๆอย่าง เป็นทัง้ จิตรกรและศิลปกรภาพพิมพ์ อาจารย์ฯสอนผมและใกล้ชดิ เมือ่ ครัง้ ทีผ่ มเรียนอยูค่ ณะ จิตรกรรมฯ ปัจจุบนั พบกันครัง้ ใด ผมก็ยงั อยากทีจ่ ะ พูดคุยกับท่าน อาจจะเป็นเพราะช่วงที่สอนผมอยู่นั้น อาจารย์ฯยังอยูใ่ นวัยหนุม่ ..เช่นเดียวกับอาจารย์พชิ ยั

อาจารย์ฯเป็นต้นแบบของผม โดยเฉพาะงานภาพพิมพ์ อาจารย์ฯยังเป็นผูบ้ กุ เบิกงานแกะไม้ทม่ี บี คุ ลิกภาพของตัวท่านทีเ่ ป็นจิตรกร และสามารถถ่ายทอดสีทแ่ี รงจาก งานจิตรกรรมไปสูง่ านภาพพิมพ์ได้ แต่ในระยะหลัง อาจารย์สนั ต์ได้ทมุ่ เทให้กบั งานจิตรกรรมทัง้ หมด

ท่านเป็นผูท้ เ่ี รียกได้วา่ มีความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจทีจ่ ะเดินไปบนเส้นทางของศิลปะและมองศิลปะเป็นจุดหมาย ปลายทาง อาจารย์รกั ท่านอาจารย์ศลิ ป์ พีระศรีมาก พบกันทีไร ก็ยงั พูดถึงอาจารย์ศลิ ป์ทย่ี งั มีชวี ติ อยูใ่ น ความฝันของอาจารย์ฯทุกครัง้ ไป ตัวอย่างทีแ่ สดงถึงความมุง่ มัน่ ของอาจารย์คอื การลาออกจากชีวติ ราชการมาสร้างสรรค์งานศิลปะโดยอิสระ.. จากการพูดท้าทายของเพือ่ น นัน่ แสดงออกถึงใจนักเลงแบบลูกผูช้ ายของท่าน ปัจจุบนั อาจารย์สนั ต์พกั อยูท่ แ่ี ม่รมิ เชียงใหม่ มี studio อยูท่ น่ี น่ั มีความสุขเพียงพอแก่อตั ภาพ ทีส่ ำคัญคือ ได้เขียนรูปทุกวันอย่างทีอ่ าจารย์ทเ่ี ป็นข้าราชการทำไม่ได้


ทีจ่ ริงผมควรเรียกถวัลย์ ดัชนีวา่ พีถ่ วัลย์ เพราะพีถ่ วัลย์เป็น(รุน่ )พี่ ของผม..ไม่ใช่อาจารย์ และพีถ่ วัลย์กค็ งไม่อยากให้ใครมาเรียกว่า อาจารย์ แต่ดว้ ยค่านิยมแบบไทย เห็นใครทรงความรู้ เห็นใครแก่ อายุมาก ก็จะเรียกว่าอาจารย์ไว้กอ่ น ทีจ่ ริงพีถ่ วัลย์มเี กียรติยศ มีศกั ยภาพทีเ่ ป็นศิลปกรมากกว่า ผมเคยเย้าพีถ่ วัลย์วา่ เป็นศิลปินชือ่ ดัง แต่พท่ี า่ นก็ยอ้ นกลับผมด้วย อารมณ์ดวี า่ ท่านไม่ใช่ศลิ ปินนักร้อง ดังนัน้ ท่านไม่ได้ชอ่ื ดัง เอากะ ท่านซี! ผลงานของพีถ่ วัลย์เป็นทีป่ ระจักษ์แล้วทัง้ ในและต่างประเทศ เป็น ผลงานทีแ่ ปลก ใช้เพียงสีดำสีเดียวแต่มพี ลังทีล่ ะลายความเป็นสีดำ ให้เกิดจินตนาการร้อยแปด

ศิลปินแห่งชาติ

สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ.๒๕๔๔

พีถ่ วัลย์เป็นนักเล่าเรือ่ งทัง้ ในรูปเขียนและในคำพูดคุย ท่านเป็นนักสร้างสรรค์ทบ่ี กุ เบิกและหลุดออกจาก กรอบประเพณี จนมีบคุ ลิกภาพทีโ่ ดดเด่นต่างไปจากผูส้ ร้างสรรค์ศลิ ปะคนอืน่ ใครทีห่ ลงใหลท่าน พยายาม จะเดินตามท่าน ก็เป็นเพียง copy ร่างทรงเท่านัน้ เมือ่ พูดถึงพีถ่ วัลย์ ผูท้ ร่ี จู้ กั ทุกคน นอกจากจะนึกถึงบุรษุ เครายาวสีขาวในฟอร์มขลังของศิลปกรอาวุโสแล้ว ก็ยงั นึกถึงโวหารของท่านด้วย เพราะเหตุทท่ี า่ นเป็นนักอ่านทีใ่ ครต่อใครต่างยกให้เป็นพหูสตู ดังนัน้ เมือ่ พบปะกับท่าน ก็มกั จะระมัดระวังตัวหรือไม่กเ็ กรงกลัวบารมีไปเลย แต่คนทีไ่ ม่รู้ ก็จะซุม่ ซ่าม จนบางทีโดน โวหารของท่านโดยไม่รตู้ วั

ครัง้ หนึง่ มีรายการโทรทัศน์ไปสัมภาษณ์พถ่ี วัลย์ แล้วให้พดู ถึงผลงานศิลปะ ท่านก็บรรยายในภาษาทีท่ า่ นใช้อยู่ เป็นปกติ ซึง่ อาจฟังยากไปสำหรับคนทัว่ ไป ทำให้พธิ กี รต้องเอ่ยว่าอยากให้ทา่ นอธิบายขยายความอีกหน่อย พีถ่ วัลย์หยุดคิดชัว่ ครู่ ก่อนพูดว่าเรือ่ งให้อธิบายนีน่ ะ ถ้าพูดอย่างนี.้ .ไม่รเู้ รือ่ ง ผมว่าให้ผมไปเห่าดีกว่า นีเ่ ป็นโวหารขัน้ สุดยอดทีจ่ ะมีได้เฉพาะระดับศิลปินแห่งภพชาติเท่านัน้


ศิลปินแห่งชาติทผ่ี มรูจ้ กั มักจีด่ ว้ ยยังมีอกี หลายท่าน แต่อยูใ่ นรุน่ ใกล้ๆกันหรือไม่กเ็ รียนมาด้วยกัน เป็นรุน่ พี่ อย่างพีเ่ ดชา วราชุน พีเ่ กียรติศกั ดิ์ ชานนนารถ พีน่ นทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ส่วนเพือ่ นทีเ่ รียนมาด้วยกันก็มี อิทธิพล ตัง้ โฉลกกับปรีชา เถาทอง ทุกคนใกล้ชดิ ขนาดล้อเล่นกันได้ ดังนัน้ เขียนไป..อาจจะไม่ได้สาระและ เป็นแบบเชียร์กนั เสียมากกว่า จึงขอยุตเิ รือ่ งศิลปินแห่งชาติแต่เพียงเท่านี้ หวังว่าคงจะพอได้ประโยชน์บา้ งใน วาระแห่งการอำลานี้

................. หมายเหตุจากบก. อาจารย์พษิ ณุ ศุภนิมติ ร จะมีการแสดงผลงานเดีย่ วครัง้ ทีเ่ จ็ด ชุด การเดินทางของรอยพูก่ นั ประมาณเดือนกรกฎาคม ทีห่ อ้ งศิลปะ City Gallery โรงแรมสยามซิต้ี ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร


BY INVITATION ชัย แป้นพัฒน์

สถานรับเลี้ยงเด็ก มหาวิทยาลัย Essex เมือง Colchester ประเทศ แถมไม่รู้ว่าเขาพูดภาษาอะไร อังกฤษ มีสถานรับเลี้ยงเด็กหรือที่เรานิยมเรียกกัน เป็นภาษาฝรั่งว่า nursery สำหรับลูกๆของบุคลากร ครูใหญ่เห็นผมพาหลานเดินไปทั่ว..คงรำคาญ เลย และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ บอกว่าคุณจะทำอย่างนี้ไม่ได้ ต้องให้เด็กเข้าห้อง อยู่กับเพื่อนๆ แล้วคุณจะเข้ามานั่งดูหลานอยู่ใน เขารับเลี้ยงเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งอายุห้าขวบ ห้องก็ได้ พร้อมกับเดินนำผมเข้าห้องเรียน หาเก้าอี้ ราคาถูกกว่าสถานรับเลี้ยงเด็กในเมือง ตกชั่วโมง ให้ผมนัง่ แล้วมาแกะมือหลานออก และอุม้ ไปให้ ละสามปอนด์กว่า เมื่อคิดเป็นเงินไทย(ในขณะนั้น) ครูประจำห้อง ไม่ใส่ใจว่าหลานผมจะร้องดังแค่ไหน ก็นับว่าแพงอยู่ และยังต้องจองด้วย เนื่องจากรับ ครูก็พาไปกอด ชวนพูดคุย หาของมาให้เล่น ผม จำนวนจำกัด รอจนหลานหยุดร้อง แล้วแอบหลบกลับบ้าน เวลาที่เขารับดูแลเด็กมีสามช่วง คือ ๘-๑๒ น. ๑๒-๑๔ น. และ ๑๔-๑๖ น. แต่ละห้องมีเด็ก สิบห้าคน มีครูประจำห้องหนึ่งคนและพี่เลี้ยงอีก สองคน ซึ่งตัวครูต้องได้ใบประกาศนียบัตรครู อนุบาลด้วย ตลอดทั้งปี เขามีเด็กหมุนเวียนเข้าออกอยู่ตลอด เวลา หลานสาวผมต้องรออยู่เกือบเดือนจึงได้ เข้าเรียนช่วงเวลา ๘-๑๒ น. และต่อมาก็ได้เข้า เรียนช่วงเวลา ๑๒-๑๔ น.อีกรอบหนึ่ง ส่วน ช่วงเวลา ๑๔-๑๖ น. ไม่คิดจะจองไว้ให้หลาน เพียงแค่นี้ แม่เขาก็จ่ายสตางค์แทบกระอัก อีกประการหนึ่งก็คือในช่วงฤดูหนาว เพียงบ่าย สี่โมง ฟ้าก็มืดแล้ว ไม่สะดวกต่อการเดินทาง

๓๖

วันที่สอง พอลงจากรถเมล์ หลานผมก็ไม่ยอมเดิน จะจับนั่งรถเข็น ก็ดิ้น ไม่ยอมขึ้นนั่ง ต้องอุ้มไป พอครูมารับ ก็ร้องดังเหมือนเดิม เป็นเช่นนี้อยู่ หลายวันกว่าจะเข้าที่ ผมคิดเอาเองว่าคงจะคุ้น กับเพื่อนๆแล้ว และพอเข้าใจบ้างว่าเขาพูดอะไรกัน ก็เลยหายกลัว ระบบความปลอดภัยของเขาดีมาก ต้องกดออด เขาถึงจะกดปุ่มให้เราเปิดประตูเข้าไป มีประตู เข้าทางหนึ่ง ประตูออกอีกทางหนึ่ง ซึ่งเปิดได้จาก ด้านในเท่านั้น

หน้าห้องเรียนมีตะขอติดผนังเรียงเป็นแถวไว้แขวน ถุงสัมภาระกับเสื้อ coat ของเด็ก บนตะขอมีชื่อ เด็กกำกับไว้ให้รู้ว่าเป็นของใคร สัมภาระที่จำเป็น ทุกวัน ผมต้องไปส่งหลานพร้อมกับแม่เขา วันแรก ก็คือเสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยนหนึ่งชุด ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ที่ไปส่ง แม่เขาบอกลูกว่าอยู่กับตานะ เพราะแม่ อีกสองสามชิ้น ผ้าเช็ดตัว แป้ง และของใช้อื่นๆ ต้องไปเรียนหนังสือ ผมต้องพาหลานเดินไปมา และยังมีห้องสำหรับเก็บรถเข็นเด็กด้วย ในบริเวณ nursery เพราะหลานสาวสุดที่รักไม่ยอม เข้าห้องเรียน พอจะส่งให้ครู ก็ร้องดังลั่น กอดผม แต่ละห้องเรียนจะติดชื่อที่หน้าห้อง เช่น Daffodil ไว้แน่น คงตกใจทีเ่ ห็นเพือ่ นๆกับครูหน้าตาแปลกๆ room, Bluebell room เป็นต้น ทุกสองสามเดือน


ก็ให้เด็กย้ายเปลี่ยนห้อง จัดกลุ่มตามอายุของเด็ก เป็นการเปลีย่ นบรรยากาศ พบครูใหม่/เพือ่ นใหม่ บริเวณโถงหน้าสำนักงานมีสมุดภาพรูปครู พร้อม ชื่อกับตำแหน่งไว้ให้ผู้ปกครองทราบ และมีข้อมูล บอกด้วยว่าใครรับเป็นพี่เลี้ยงเด็กตามบ้าน(นอก เวลาสอน)บ้าง ซึ่งบางคนก็มีใบอนุญาตให้ดูแลเด็ก หรือมีความรู้ด้านปฐมพยาบาล

ไม่มีใครทำกัน เพราะพอรวมค่ารถเมล์ ค่าน้ำมัน และค่าจอดรถแล้ว ก็แพงกว่า และที่นี่ก็จองกันเต็ม ตลอดปี

หลานผมอยู่สถานรับเลี้ยงเด็กได้สองปี ก็พอพูด ฝรั่งได้บ้าง แต่ไม่ยอมพูด พอแม่เขาชวนคุยเป็น ภาษาฝรั่ง เขากลับขอให้แม่พูดภาษาไทยกับเขา ฝรั่งบางคนมาทักทาย เขาก็เฉยเสีย ครูบอกว่า เขาคุยกับเพื่อนๆบ้าง แต่น้อยมาก สำหรับครู เด็กรอบเช้า..เขาจัดอาหารเช้าให้ด้วย ตอนสาย ก็ เขาแทบจะไม่พูดด้วย ถามอะไร ถ้าเห็นด้วย มีอาหารว่างให้ แต่ตอนเที่ยงไม่ให้กิน ต้องพาไป ก็พยักหน้า ถ้าไม่เห็นด้วย ก็ส่ายหน้า หากินเอง พวกที่เรียนช่วง ๑๒-๑๔ น.กับพวกที่ เรียนสองช่วง..จากช่วงเช้าถึงบ่ายเลย จึงมีสิทธิ์รับ ในห้องรอเด็กของผู้ปกครองนั้นทาผนังเป็นสีขาว ต่อมามีคำเขียนไว้บนผนังห้องว่า Good Morning อาหารเที่ยง และภาษาของอีกหลายชาติทม่ี คี วามหมายเดียวกัน รายการอาหารประจำสัปดาห์จะปิดประกาศไว้ที่ ลูกสาวผมจึงพิมพ์คำว่าสวัสดีมาให้ครูใหญ่ เพียง ไม่กี่วัน คำนั้นก็ปรากฏบนผนังห้อง เช่นเดียวกัน กระดาน แจ้งให้ทราบว่าแต่ละวันเด็กจะได้กิน กับภาษาอื่นๆ คนไทยคนอื่นเห็นแล้วอาจจะไม่ อะไร หากใครนับถือศาสนาที่มีข้อจำกัดเรื่อง รู้สึกอะไร แต่สำหรับผม เห็นแล้วรู้สึกภูมิใจมากที่ การกินอาหารเฉพาะอย่าง ก็บอกเขาได้ ภาษาของเราไปปรากฏให้คนอีกซีกโลกหนึ่งได้เห็น การสอนก็มีเล่านิทานให้เด็กฟัง ชวนเด็กเล่นใน สถานรับเลี้ยงเด็กนี้ ทางมหาวิทยาลัยคิดค่าใช้จ่าย ห้อง เล่นในสนามของ nursery ของเล่นเขามี ล่วงหน้าเป็นเดือน แต่วันดีคืนดี เขาจะลดให้ครั้ง มากมาย เด็กๆจะเล่นกันสนุกมาก ทุกๆวัน ไม่ว่าจะหนาวจะร้อนอย่างไร ก็ต้องพาเด็กออกมา ละสองสามปอนด์ ผมเข้าใจเอาเองว่าที่ไม่ฟรี เล่นนอกห้อง ช่วงหน้าร้อน ครูให้เอาครีมทากัน คงเป็นเพราะว่ารัฐบาลเขาให้สวัสดิการคนของเขา แดดและหมวกไปด้วย เพื่อให้เด็กๆทาและสวม พอเพียงแล้ว และประสงค์ที่จะให้แม่ๆอยู่เลี้ยงลูกๆ ก่อนออกไปเล่นด้านนอก นัยว่าป้องกันมะเร็งผิวหนัง ที่ยังแบเบาะที่บ้าน คือพอคลอดลูกออกมา ก็มี เด็กคนไหนที่ไม่เอาไป เขาจะให้นั่งเล่นโน่นนี่อยู่ใน เงินช่วยเหลือให้ทั้งแม่และลูก ขนาดที่ว่าแม่ไม่ต้อง ทำงาน ก็อยู่ได้ นอกจากนี้ พอลูกอายุหกเดือน ห้อง ไม่ให้ออกไปโดนแดด ขึน้ ไป ทางรัฐบาลก็มโี ครงการ Sure Start ของ อดีตนายกฯ Tony Blair ไว้คอยช่วยเหลือทั้งแม่ลูก เวลามีอุบัติเหตุ เช่น หกล้มหัวโน เขาจะมี แบบฟอร์มแจ้งให้เราทราบและให้เซ็นรับรู้ด้วย ทั้งมีคำเตือนให้คอยดูอาการ ถ้าเด็กคลื่นไส้หรือ หลานสาวผมอยู่ครบสองปี ก็ได้เวลาต้องไปเข้าชั้น อนุบาลในเมือง จึงต้องอำลาไปหาที่เรียนฟรีตาม อาเจียน ให้รีบพาไปหาหมอ นโยบายของรัฐบาลอังกฤษยุคพรรคกรรมกรที่วาง ไว้ว่า Education, Education, Education. สถานรับเลี้ยงเด็กของมหาวิทยาลัยนี้ช่วยให้ พนักงานและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยตัดภาระ เลี้ยงลูกไปได้ส่วนหนึ่ง แถมราคาก็ถูกกว่าในเมือง กล่าวได้ว่าที่ประเทศเขาเจริญขึ้นเรื่อยๆ ก็คง มาก ที่จริง คนในเมืองมาฝาก เขาก็ยินดีรับ แต่ เพราะใส่ใจคุณภาพเด็กตั้งแต่แรกเกิดเลยนี่เอง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.