ตรรกะ

Page 1

ตรรศาสตร์ ศิลปะแห่งการนิยามความหมายและการให้เหตุผล เนตรชนก สายคง

ความรู้ เป็นชุดของเหตุผลที่ประกอบกันเพื่ออธิบายความหมายสิ่งหนึ่งๆขึ้นมา เพื่อให้เข้าใจหรือสามารถตอบ คำถามให้กับบางสิ่งอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกว่าจะสามารถยกเอาสิ่งนั้นขึ้นมาเป็นความรู้ได้ เพราะคำถามที่ เกิดขึ้นอยู้ตลอกเวลา มนุษย์เกิดมามีความอยากรู้อยากเห็นไม่หยุดหย่อน ความประหลาดใจของมนุษย์ไม่มีใครสามารถ ทำให้หมดสิ้นไปได้ แต่นั่นเองเป็นจุดกำเนิดของความรู้ต่างๆ ดังชาวกรีกโบราณได้กล่าวว่า "ความประหลาดใจเป็นจุดเริ่ม ต้นของความรู"้ อย่างเช่นว่า เราประหลาดใจในคำอธิบาย สิ่งที่เฝ้าสังเกตอยู่ตลอดนั้นกลับเป็นคำถามหาสาเหตุที่เกิดขึ้น แลพเมื่อทราบถึงสาเหตุความประหลาดใจก็จะหายไป เพราะเราได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจอย่างสมบูรณ์เต็มที่ ก็ต่อเมื่อเรา สามารถทราบเหตุผลของความประหลาดใจในสิ่งนั้น นานมาแล้วที่สรรพสิ่งที่เรารู้จักกันในชื่อต่างๆยังไม่ได้ถูกนิยามความหมาย ไม่มีความเป็นจริงสำหรับสิ่งเหล่านั้น จนมีวันหนึ่งที่เกิด วิชาตรรกศาสตร์ขึ้น ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาเหตุผลและนิยามตามความจริงของสิ่งสิ่งนั้น ตรรกศาสตร์เป็นศาสตร์ที่รวบรวมพลังความคิด และพลังความคิดนี้แหละที่ทำให้เราทราบถึงสาเหตุของสิ่งต่างๆ โดยความ คิดเราจะมีผลก็ต่อเมื่อก่อเกิดความเชื่อถือที่ถูกต้องเท่านั้นนั่นคือจุดหมายของความคิด ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม จุดกำเนิดของ ความคิดต่อปัญหาใดๆ ขึ้นอยู่กับ 2 เหตุผล คือ อย่างแรกเราทราบอยู่แล้วมากน้อยแค่ไหน นั่นคือ ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว คนเราจะมรศัพท์มโนภาพในหัว (Words And Concepts) นั่นคือความสนใจในเบื่องแรกเกี่ยวกับการพัฒนามโนภาพหรือ ความเข้าใจนิมิต กล่าวคือ การเกิดภาพในหัวจะทำให้เราเห็นความแตกต่างกันระหว่างศัพท์กับมโนภาพ ซึ่งศัพพท์(Words) เป็นเครื่องมือสมบูรณ์และจำเป็นที่สุดในการแสดงความรู้สึกความคิดของเรา เพราะไม่ว่าจะติดต่อหรือพยายามสื่อสารกัน ด้วยวิธีการใน จุดจบก็คือใช้ศัพท์ในการสื่อทั้งนั้นที่จะพอทำให้การสื่อสารออกมาเป็นภาพได้มากที่สุด โดยใช้คุณลักษณะ ทั้งมวลของความหมายแรกที่เรากำหนดให้แกภาพที่เกิดขึ้นมาในหัว เปรียบได้กับยานพาหนะนำอะไรซักอย่างในด้านความ รู้สึกนึกคิดไป หรือพยานชี้ความคิด และด้วยผลลัพธ์ความสำคัญของศัพท์ต่างๆ คือศัพท์ทั้งหลายไม่เคยแสดงวัตถุประสงค์ หรือสิ่งต่างๆออกมาตรงๆ แต่แสดงออกโดยอาศัยความคิดเห็นเท่านั้น ศัพท์ต่างๆหรือคำพูดที่เราเปล่งออกมาย่อมแสดงให้ เห็นมโนภาพที่เราทราบอยู่แล้ว เช่น คำว่า แมว เราพูดเพื่อแสดงให้เห็นภาพของสัตว์ชนิดหนึ่ง วิชาตรรกศาสตร์ นำเอาศัพท์ต่างๆมาพิจารณาว่ามีบทบาทอย่างไรบ้างในฐานะที่เราได้นำเอาศัพท์เหล่านั้นมาใช้ เป็นเครื่องมือในการแสดงออกและเชื่อมโยงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกับสิ่งต่างๆ หลายๆสิ่งนั้นมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านั้นแสดงให้เห็นบางสิ่งที่เชื่อมโยงให้เฆ็นสิ่งอื่นๆ แต่ละสิ่ง มีชื่อเป็นของตัวเองโดยเฉพาะความสัมพันธ์ต่างไเหล่านั้นที่มีความเป็นสากล(Universality)ร่วมกัน ที่แสดงให้เห็นสิ่งเดียว ที่มีต่อหลายๆสิ่ง (One-to-many) พจนานุกรมจะบอกว่​่า คำว่าสากล แปลว่า ทั่วไป,ทั้งหมด,ทั้งสิ้น,เป็นที่นิยม เพราะ ฉะนั้นคำว่าสิ่งสากล ก็สามมารถรวมเอาสิ่งของที่เป็นชนิดเดียวทั้งหมดไว้ ภาษาจะสะท้อนให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่ง ที่เป็นสากลและสิ่งเฉพาะราย เราเคยได้ตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ยิ่งเป็นสากลมากเท่าใด เรายิ่งนำมาใช้แสดงให้เห็นปัจเจกที่ ใครๆไม่อาจจะทราบถึงความหมายซึ่งกันและกันได้ ต้องมีการนำมาอธิบายให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นคำนิเทศแม้ว่าเราจะ พยายามเข้าใจตรงกันมากแค่ไหนหรือการนิยามความจริงมากเท่าไหร่ถึงอย่างไรความหมายก็จะแตกต่างกันออกไปตาม แต่ละคนจะตีความ คือความแตกต่างกันหรือลักษณะผิดแผกเฉพาะจริงๆนั้นก็ย่อมเชื่อมโยงไปยังความสัมพันธ์ของลักษณะ ที่เป็นสากล โดยอาศัยอำนาจอะไรซักสิ่งหนึ่งที่เราจะใช้ชี้แจง โดยวิธีที่จะแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งหนึ่งได้ ไม่เพียงแต่แตกต่าง ในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่ต้องแตกต่างในชนิดด้วย หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดแม้เพียงอย่างเดียวก็ สามารถทำให้สิ่งหนึ่งแตกต่างกัอีกสิ่งหนึ่งได้ ถ้าหาดเราหวังจะให้ความเป็นพื้นฐานอันเป็นปัจเจกพัฒนาไปสู่ชนิดที่ ต้องการ แต่มันกลับเปลี่ยนไปเป็นชนิดที่เราไม่ได้นึกหวังเลยแล้วเราจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับอะไรซักอย่างหนึ่งที่เป็นชนิด


ใหม่หรือเปล่า ก็การจะมีการพัฒนาในแง่หรือความรู้สึกที่สำคัญๆหรือไม่? ความแตกต่างอย่างเด่นชัด(Distinction) ที่นิยม ใช้กันทั่วไปเรียกว่า "บรรพฐานะ" ซึ่งหมายถึงเรื่องก่อนๆที่จำเป็นพอที่จะให้เราเข้าใจถึงความเป็นอยู่ของคำนั้นๆ ความจริง คำหนึ่งในที่แห่งหนึ่งมีความหมายถึงสิ่งหนึ่ง ในที่แห่งหนึ่งอาจมีความหมายถึงสิ่งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกันออกไป กล่าวคือต้อง ใช้สภาพแวดล้อมหรือบริบทในการเป็นส่วนช่วยเสริมในการให้ความหมายของคำแต่ละคำ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ใน ข้อความหรือ "ข้อความแวดล้อม” ทำให้เราทราบงถึงทำให้เราทราบถึงนัยจากประโยค แต่คำประเภทที่มีความ หมาย 2 อย่างขึ้นไปก็ดูไม่ค่อยดีนักต่อการตีความ เพราะอาจทำให้เข้่าใจผิดได้ คำเหล่านี้ทำให้เกิดความกำกวมในจุด ประสงค์การนำไปใช้ในการสื่ือสาร แต่ก็เป็นไปได้ยากที่จะหลีกเลี่ยงหรือเข้าใจตรงกันทั้งหมด ยิ่งปกว่านั้นการที่เราทำให้ คำต่างๆมีนัยคล้ายคลึงกันนั้นก็เป็นเพราะความรู้ของเราที่ได้ก้าวหน้าจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องอาศัยเรื่องที่ ทราบมาก่อนแล้วจึงจะสามารถสื่อสารได้อย่างปลอดภัย ความหมายสากล ทั้งหลายจะนำเราไปสู่การสร้างบทนิยามความหมายสิ่งๆหนึ่ง เกิดเป็นศัพท์ที่แสดงให้เห็นการ ประกอบของมโนภาพของเราเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อกล่าวถึงการเข้าใจในศัพท์ต่างๆที่แสดงออกมาเป็นคำ พูด เราอาจต้องใช้ศิลปะในการวิภาคหรือการแบ่งนับว่าเป็นความจริงทีเดียวว่า ข้อความแห่งการนิยามความหมายใดๆ ก็ตามที่เรากำหนดให้นั้น เกิดจากความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ธรรมดาหรือจากศาสตร์ต่างๆซึ่งมีจำนวนมากมายที่เรามี อยู่ สิ่งที่วิชาตรรกศาสตร์ช่วยได้นั้นคือการจัดระเบียบความรู้หรือประสบการณ์ที่เรามีอยู่ เพื่อมห้เราได้เข้าใจหรือทราบได้ ยิ่งขึ้นต่อไปอีก ไม่เช่นนั้นความหมายหรือนินามที่เราได้จะไม่สมบูรณ์ มีหลักการอยู่ข้อหนึ่งในการนิยามความหมายในทาง ตตรกศาสตร์กลาวว่า การนิยามความหมายควรหลีกเลี่ยงภาษาซึ่งเป็นการเปรียบความ เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เป็นคำ คลุมเคลือ มีความหมายกำกวม เพราะสำนวนที่ใช้ในการเแปรียบเทียบเป็นเครื่องมือของนักประพันธ์แต่ไม่สามารรถนำมา ใช้ได้ในนักตรรกศาสตร์ เพราะคำเหล่านั้นมักจะก่อให้เกิดความวึ่นวายสับสน มากกว่าที่จะแยกแยะความแตกต่างออก จากกันอย่างชัดเจน รวมไปถึงการนิยามความหมายจากสาเหตุ เป็นสิ่งที่กำลังแยกสิ่งที่นิยามเพื่อความดำรงอยู่ของสิ่งๆ หนึ่ง หรือเพื่อความที่จะต้องเป็นไปเพื่อแสดงให้ทราบถึงการนิยาม ส่งผลไปสู่การสื่อสารโดยใช้ข้อความที่สมบูรณ์ ซึ่ง ข้อความที่สมบูรณ์นั้นย่อมประกอบไปด้วยศัพท์ที่สมบูรณ์ ย่อมก่อให้เกิดความหมายที่สมบูรณ์ขึ้นในจิตใจผู้ฟัง การสมมติ เป็นเบื้องแรกของการเชื่อมโนงความสัมพัธ์ของภาษาที่มีต่อความคิด ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไปในตอนต้น ว่า คำหรือศัพท์ต่างๆนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในอันที่จะใช้แสดงออกซึ่งสิ่งที่เราเข้าใจหรืรู้สึก แต่ในฐานะที่เป็นคำศัพท์ ได้ถูกเราจำกัดวงอยู่แค่ขอบเขตของวัตถุที่เป็นสื่อกลาง และเป็นไปตามความรู้สึกของคำอื่นๆที่เรารู้สึกได้โดยตรง คำหรือ ศัพท์ต่างไๆจุงไม่สามารถแสดงออกถึงความคิดเราได้อย่างเพียงพอและเต็มที่ ความรู้สึกหรือสภาวะภายในจิตใจนั้นย่อมอยู่ เหนือหรือพ้นความสามารถที่จะแสดงออกทางวาจา การสนทนาพูดคุยหรือตัวอักษรก็ตาม และพยายามจะผูกความคิดเข้า กับนิมิตที่เราสัมผัสได้จากประสาทสัมผัสต่างๆ ก็ยังส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในท้ายที่สุดอยู่ดี ถึงแม้ว่าเราจะคิดถึงบางสิ่ง บางอย่างโดยอาศัยภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ตัวความคิดนั้นอยู่เหนือระบบแห่งข้อความที่แสดงออกผ่านการ สนทนาไม่ว่าจะเป็นวาจาหรือตัวอักษร เพราะจิตใจเกี่ยวเนื่องกับคำพูดหรือศัพท์อย่างมีเสรี เชื่อมต่อเข้าถึงมโนภาพ ยิ่งไป กว่านั้นเรามักจะขยายความของคำหรือศัพท์ตลอดเวลา แต่ในลักษณะที่คลุมเคลือเสมอ ซึ่งก็ยังกรอบด้วยความจำเป็นใน การเข้าใจความหมายของคำหรือศัพท์ เพื่อใช้ในการตีความหรือมโนภาพแนวความคิดใหม่ๆด้วย การสมมติจึงอ้างถึงจิตใจ ในขณะที่พิจารณาความหมายของคำหรือศัพท์อยู่ ทั้งนี้คำหรือศัพท์เป็นสิ่งที่เราใช้แทนในฐานะสมมติย่อมส่อถึงนับหรือ ศัพท์ โดยอาศัยเหตุผลที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน กล่าวกันให้เข้าใจง่ายๆคือ การสสมติเป็นการตรวจสอบเพื่อที่จะแสดงให้ เห็นความจริงของศัพท์ที่ใช้แทนคำในการแสดงจุดมุ่งหมายในการสื่อสารในประโยค ตรรกศาสตร์ จึงถือว่า เป็นศิลปะเหนือศิลปะทั้งหลาย เพราะเปรียบได้กับบัญชาในการให้เหตุผล แต่ทั้งนี้การให้ เหตุผลทั้งหลายนั้นบางแง่คล้ายกับการเอาธรรมชาติมาใช้ แต่ในบางกรณีธรรมชาติก็ทำไปตามความจำเป็น คือจำเป็นต้อง ทำ ดังนั้นที่เราต้องการตัดสินก็เพื่อได้รับความแน่นอนเกี่นยวกับสิ่งที่เกิดจากการค้นพบ ใน่วนที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ถ้าใช้ วิทยาศาสตร์ยืนยันไม่ได้ ก็ใช้ศรัทธาและความคิดเห็นเพื่อให้เกิดความหมายที่โน้มเอียงน้อยที่สุด สู่การสื่อสารกันอย่าง ประนีประนอม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.