บทความเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (ความรัก) โดย เนตรชนก สายคง
มนุษย์โลกกว่าเจ็ดพันล้านคนต่างรู้จักความรักดีในแง่ของความรู้สึกดีๆที่มีต่อกันระหว่าบุคคลสองบุคคล หรืออาจ มากกว่านั้น แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักและเข้าใจความรักอย่างถ่องแท้ เมื่อมีความรักเกิดขึ้นหรือมีการมอบควมรักให้แก่กัน ระหว่างบุคคลความรักที่กล่าวถึงและเข้าใจกันเองนั้นเกิดขึ้นจริงหรือเป็นเพียงการคิดไปเองตามคนหมู่มากว่ามันคือความรัก พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำ�ว่า รัก ไว้ว่า เป็นคำ�กริยา หมายถึงมีใจผูกพันด้วยความ ห่วงใย มีใจผูกพันด้วยความเสน่หาหรือชอบ อย่างไรก็ตาม คำ�ว่า “รัก” สามารถมีความหมายที่เกี่ยวข้องกันแต่แตกต่างกัน ชัดเจนจำ�นวนมากขึ้นอยู่กับบริบท บ่อยครั้งที่ในแต่ละภาษาจะใช้คำ�หลายคำ�เพื่อแสดงออกซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความรักที่ แตกต่างกัน ตัวอย่างหนึ่งคือการที่ในภาษากรีกมีคำ�หลายคำ�ที่ใช้สำ�หรับความรัก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการสร้าง กรอบความคิดเกี่ยวกับความรักทำ�ให้เป็นการยากยิ่งขึ้นที่จะหานิยามสากลของความรัก ความรัก เป็นอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง กับความเสน่หาและความผูกพันธ์ทางอารมณ์อย่างแรงกล้า ในบริบททางปรัชญาความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความ เมตตา ความเห็นอกเห็นใจและความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นศูนย์กลางของศาสนาหลายศาสนา อย่างเช่นใน วลี “พระเจ้าเป็นความรัก” ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในสังฆวรสาร ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเอง หรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา ปรัชญา ศาสนา สังคมศาสตร์ หรือแม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ ต่างหาความจริงหรือความหมายที่ตายตัวของความรัก หากแต่ความจริงที่ว่านั้นในแต่ละศาสตร์ต่างให้ความหมายของความรักในแนวที่ต่างกันตามหลักการและความเข้าใจใน แต่ละศาสตร์ ถึงอย่างไรก็ตามศาสตร์ที่มนุษย์เชื่อถือโดยมีกฏเกณฑ์ต่างๆที่พิสูจน์ได้ก็คงหนีไม่พ้นวิทยาศาสตร์ซึ่งในทาง วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดย พื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์ ซึ่งในพื้นฐานทางด้านเคมี เฮเลน ฟิชเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้นำ�ในการศึกษาในประเด็นเรื่องความรัก แบ่งแยก ประสบการณ์ความรักออกเป็นสามส่วนที่ทับซ้อนกัน ได้แก่ ราคะ ความเสน่หา และความผูกพันทางอารมณ์ ราคะเป็นความ รู้สึกที่เกิดจากความต้องการทางเพศ ความเสน่หาแบบโรแมนติกพิจารณาว่าอะไรเป็นสิ่งที่คู่มองว่าน่าดึงดูดและติดตาม ถนอมเวลาและพลังงานโดยการเลือก และความผูกพันทางอารมณ์รวมไปถึงการอยู่ร่วมกัน ภาระพ่อแม่ การป้องกันร่วมกัน และในมนุษย์ยังรวมไปถึงความรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง วงจรประสาทที่แยกกันสามวงจร รวมถึงสารสื่อประสาทและยังรวม
ราคะเป็ น ความปรารถนาทางเพศแบบมี อ ารมณ์ ใ คร่ ใ น ช่วงแรกที่สนับสนุนการหาคู่ และเกี่ยวข้องกับการเพิ่มการหลั่งสาร เคมีอย่างเช่น เทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน ผลกระทบเหล่านี้ น้อยครั้งนักที่จะเกิดขึ้นนานกว่าไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน ส่วน ความเสน่หามีความเป็นส่วนตัวมากกว่าและความต้องการแบบ โรแมนติกสำ�หรับบุคคลพิเศษที่เลือกให้เป็นคู่ ซึ่งจะพัฒนามาจาก ราคะเป็นการผูกมัดกับรูปแบบคู่คนเดียว การศึกษาด้านประสาท วิทยาศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้บ่งชี้ว่าบุคคลที่ตกหลุมรัก สมองจะหลัง สารเคมีออกมาเป็นชุดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงฟีโรโมน โดพา มีน นอร์อิพิเนฟริน และเซโรโทนิน ซึ่งจะส่งผลคล้ายกับแอมเฟตา มีน กระตุ้นศูนย์ควบคุมความสุขของสมองและนำ�ไปสู่ผลกระทบ ข้างเคียง อย่างเช่น อัตราเร็วในการเต้นของหัวใจ การสูญเสียความ อยากอาหารและการนอน และความรู้สึกตื่นเต้นอย่างรุนแรง การ วิจัยได้บ่งชี้ว่าที่ระดับนี้มักจะกินเวลาตั้งแต่ปีครึ่งถึงสามปี
แผนภาพพื้นฐานทางเคมีของความรักในภาพรวมอย่างง่าย
ระดับราคะและความเสน่หาถูกพิจารณาว่าเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ระดับที่สามเป็นสิ่งที่จำ�เป็นสำ�หรับความ สัมพันธ์ในระยะยาว ความผูกพันทางอารมณ์เป็นสิ่งผูกมัดที่สนับสนุนความสัมพันธ์ที่จะกินเวลานานหลายปีและอาจถึง หลายสิบปี ความผูกพันทางอารมณ์โดยปกติแล้วขึ้นอยู่กับการผูกมัดอย่างเช่นการแต่งงานหรือการมีลูก หรือมีมิตรภาพ ระหว่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างเช่นมีความชอบร่วมกัน ความรู้สึกเช่นนี้จะเชื่อมโยงกับสารเคมีระดับสูงกว่า ได้แก่ อ็อก ซีโทซินและวาโซเพรสซิน เป็นจำ�นวนมากกว่าในระดับที่เป็นความสัมพันธ์ระยะสั้นกว่า เอ็นโซ อีมานูเอลและเพื่อนร่วม งานได้รายงานว่าโมเลกุลโปรตีนรู้จักกันในชื่อ ปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบประสาท (NGF) จะมีระดับสูงเมื่อ บุคคลตกหลุมรักเป็นครั้งแรก แต่จะกลับคืนสู่ระดับปกติหลังจากนั้นเป็นเวลาหนึ่งปี ในศาสตร์ด้านจิตวิทยาได้บรรยายความรักว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ โดยนักจิตวิทยา โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก กำ�หนดทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก Liking
INTIMACY
Romantic Love
Companionate
PASSION + INTIMACY
INTIMACY + COMMITMENT
CONSUMMATE LOVE
INTIMACY + PASSION + COMMITMENT
Infatuatuon PASSION
Fatuous Love
PASSION + COMMITMENT
Empty Love COMMITMENT
ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรักของ Sternberg
โดยให้เหตุผลว่าความรักประกอบด้วยองค์ประกอบ สามอย่างที่แตกต่างกัน ได้แก่ ความใกล้ชิด การผูกมัด และ ความหลงใหล ความใกล้ชิดเป็นรูปแบบที่บุคคลสองคนแบ่ง ปันความเชื่อมั่นและรายละเอียดหลายประการของชีวิตส่วน ตัว และโดยปกติแล้วจะแสดงออกในรูปของมิตรภาพและ ความสัมพันธ์แบบรักโรแมนติก ส่วนการผูกมัดนั้น เป็นการ คาดหวังว่าความสัมพันธ์นี้จะคงอยู่ถาวร ส่วนประการ สุดท้ายและเป็นรูปแบบทั่วไปของความรักนั้นคือการดึงดูด และความหลงใหลทางเพศ ความรักแบบหลงใหลนั้นถูก แสดงออกในการหลงรักเช่นเดียวกับรักโรแมนติก รูปแบบ ทั้งหมดของความรักนั้นถูกมองว่าเกิดจากสามองค์ประกอบ นี้ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซิก รูบิน ใช้การจำ�กัดความในทางจิตมิติในคริสต์ทศวรรษ 1970 งาน ของเขากล่าวว่าสามปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรักนั้นประกอบ ด้วยความผูกพันทางอารมณ์ ความเอื้ออาทร และความใกล้ ชิด
ภายหลังมีการพัฒนาในทฤษฎีทางไฟฟ้าอย่างเช่น กฎของคูลอมบ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประจุไฟฟ้าบวกและลบ จะดึงดูดกัน จึงมีการนำ�หลักการดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับชีวิตของมนุษย์ อย่างเช่น “การดึงดูดเพศตรงข้าม” ตลอด ศตวรรษที่ผ่านมา การวิจัยเกี่ยวกับการหาคู่ตามธรรมชาติของมนุษย์มักจะพบว่าสิ่งนี้ไม่เป็นความจริงเมื่อพิจารณาถึง อุปนิสัยและบุคลิกลักษณะ บุคคลค่อนข้างที่จะชอบคนอื่นที่คล้ายคลึงกับตนเอง อย่างไรก็ตาม ในขอบเขตไม่ปกติที่พบ ได้น้อยและค่อนข้างเฉพาะ อย่างเช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ดูเหมือนว่ามนุษย์จะชื่นชอบบุคคลที่ไม่เหมือนตัวเขาเอง (นั่นคือ มีระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง) เนื่องจากนี่จะนำ�ไปสู่ทารกที่ดีที่สุด เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทฤษฎีความผูกพัน ระหว่างมนุษย์หลายทฤษฎีได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อใช้อธิบายความหมายของความผูกพันทางอารมณ์ การผูกมัด พันธะ และความใกล้ชิด ทางการตะวันตกบางประเทศได้แยกความรักออกเป็นสององค์ประกอบ คือ ความเห็นแก่ผู้อื่นและการรักตัว เอง มุมมองนี้ปรากฏในผลงานของ สกอตต์ เพ็ก ผู้ซึ่งมีงานอยู่ในสาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ ได้สำ�รวจการจำ�กัดความ ของความรักและความชั่วร้าย เพ็กยืนยันว่าความรักนั้นเป็นการประกอบกันของ “ความห่วงใยในการเติบโตทางด้านจิต วิญญาณของบุคคลอื่น” และการรักตัวเองแบบเรียบง่าย ในการประกอบกัน ความรักเป็นกิจกรรม มิใช่เพียงความรู้สึก
นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง อีริก ฟรอมม์ ยังได้ยืนยันในหนังสือของเขา “ศิลปะแห่งความรัก” ว่าความรักมิใช่เพียง ความรู้สึกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการกระทำ� และในข้อเท็จจริง “ความรู้สึก” ว่ารักนั้นเป็นเพียงสิ่งผิวเผินเมื่อเปรียบเทรีย บกับบุคคลที่อุทิศให้กับความรักโดยการแสดงออกซึ่งกระทำ�อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ด้วยเหตุผลนี้ ฟรอมม์จึงระบุ ว่า สุดท้ายแล้ว ความรักไม่ใช่ความรู้สึกแต่อย่างใดเลย แต่ค่อนข้างจะเป็นการผูกมัด และการยึดมั่นในการแสดงออกซึ่ง ความรักต่อบุคคลอื่น ตัวเอง หรืออีกมากมาย เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ฟรอมม์ยังได้อธิบายความรักว่าเป็นทางเลือกการ รับรู้ที่ในขั้นต้นของมันนั้นอาจถือกำ�เนิดขึ้นมาเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้สมัครใจ แต่ในเวลาต่อมาก็ไดม่ได้ขึ้นอยู่กับความ รู้สึกเหล่านั้นอีก แต่กลับขึ้นอยู่กับความผูกพันที่รับรู้ได้เสียมากกว่า จากเนื้อหาและหลักการแนวคิดของวิทยาศาสตร์และทางจิตวิทยานั้นอาจจะให้คำ�ตอบได้มากระดับหนึ่ง ซึ่ง แน่นอนว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์มีความตายตัวมากพอสมควร เพราะมีการนำ�เอาข้อเท็จจริงที่มีการพิสูจน์จากหลัก การหรือกฏเกณฑ์ในประวัติศาสตร์มาเป็นข้ออ้างอิงได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในทางเดียวกันทางด้านจิตวิทยาก็มีนักจิตวิทยา หลายท่านพยายามเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรักซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้เขียนกลับมองเห็นว่าแนวคิดต่างๆเหล่านั้นไม่ สามารถนำ�ไปใช้ได้กับมนุษย์ทุกคนซึ่งมีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ความรู้สึกที่เป็นนามธรรมของความ รักนั้นยากที่จะเข้าใจตรงกันได้ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนเห็นว่าเหตุผลของ อีริก ฟรอมม์ ที่กล่าวว่า ว่าความรักมิใช่ เพียงความรู้สึกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการกระทำ� และในข้อเท็จจริง “ความรู้สึก” ว่ารักนั้นเป็นเพียงสิ่งผิวเผินเมื่อเปรียบ เทรียบกับบุคคลที่อุทิศให้กับความรักโดยการแสดงออกซึ่งกระทำ�อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน นั้นเป็นเหตุผลที่เกิดขึ้นจริง กับมนุษย์หมู่มาก ที่มีการคบหากันในระยะเวลานานกว่าจะก่อเกิดเป็นความรัก ความรู้สึกที่มาจากการใช้ประสบการณ์ มากมายร่วมกันในระยะเวลานานๆนั้น จะก่อให้เกิดความผูกพันธ์ จนมากพอที่จะกลายเป็นความรักได้ แต่ในทางกลับ กันหากสองบุคคลมีแนวคิด หรือแม้แต่พื้นฐานทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็อาจจะทำ�ให้ความสัมพันธ์เกิดการแตกแยก บ้าง หากเลวร้ายที่สุดก็คงถึงขั้นยุติความสัมพันธ์ไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระยะเวลาเป็นตัวแปลสำ�คัญที่จะทำ�ให้บุคคลทั้งสอง สามารถปรับความเข้าใจ แชร์ประสบการณ์ที่ถึงแม้จะมีพื้นฐานที่ต่างกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและเกิดความแตกแยก ได้น้อยที่สุด ดังนั้นแล้วระยะเวลาจึงตัวตัดสินว่าบุคคลสองบุคคลพร้อมที่จะมอบความรักให้ต่อกันมากน้อยเพียงใด มีความรักมากมายเกิดขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เราอาจแบ่งความรักออกเป็นสามแบบตามคำ� สามคำ�ในปรัชญากรีกที่มีเรียกความรัก คือ philia, eros, กับ agape สามอย่างนี้คล้ายๆกันแต่ไม่เหมือนกันทีเดียว philia เป็นความรักแบบที่เรามีกับเพื่อน เช่นมิตรภาพ ซึ่งก็รวมไปถึงความรักที่เรามีกับสถาบัน (เช่นรักจุฬาฯ) หรือรักชาติ ก็ เป็นเรื่องของ philia ด้วย คำ�ว่า “philosophy” ที่เป็นชื่อวิชาปรัชญา ก็มาจากการผสมกันของคำ�สองคำ� คือ philia กับ sophos โดย sophos แปลว่า “ปัญญา” (ไม่ใช่ “ความรู้” เพราะ “ความรู้” ตรงกับ episteme ซึ่งเป็นเรื่องของการเข้าใจ ว่าจริงๆแล้วเป็นอย่างไร แต่ sophia ลุ่มลึกกว่านั้น เพราะหมายถึงการที่เรารู้ว่าควรจะทำ�อย่างไรในสถานการณ์ใดๆ ด้วย) ดังนั้น “philosophia” จึงแปลว่า “รักปัญญา” ตัวอย่างที่ดีก็คือโสกราตีส ที่บอกว่าแม้ตนเองจะไม่รู้อะไร แต่ก็ยัง รู้ว่าอย่างนั้น และรักที่จะได้ความรู้ ปรัชญาจึงเป็นการเข้าหา “ปัญญา” ตลอดเวลา แต่เข้าไม่ถึง (ซึ่งก็เป็นลักษณะของ ปรัชญามาตลอดทุกยุคทุกสมัย) ความรักแบบที่สองคือ eros ซึ่งเป็นความรักที่ประกอบไปด้วยความปรารถนาหรือความ อยากที่จะได้ครอบครองสิ่งหรือคนที่ตนเองรัก ความปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลที่เราปรารถนา ก็เป็น ตัวอย่างหนึ่งของ eros นี้ ลักษณะเฉพาะของ eros ก็คือว่า เป็นความปรารถนาที่จะได้เป็นเจ้าของสิ่งที่ตนเองรัก ข้อแตก ต่างระหว่าง philia กับ eros ก็คือว่าอย่างแรกเป็นความรักระหว่างเพื่อน ส่วนอย่างหลังมีเรื่องความปรารถนาทางเพศเข้า มาเกี่ยวข้อง ทีนี้ความปรารถนาทางเพศนี้ไม่จำ�เป็นต้องเป็นเรื่องระหว่างเพศก็ได้ เพราะคนบางคนมีความปรารถนาทาง เพศกับคนเพศเดียวกันตน เช่นโสกราตีสมีรสนิยมชอบเด็กหนุ่มๆ เป็นต้น เราอาจพูดได้ว่า eros กับ philia ต่างกันตรง ที่ eros มีเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศเข้ามา แต่จริงๆอาจมีอะไรมากกว่านั้น เพราะการรักองค์กรหรือสถาบัน ซึ่งเป็นเรื่อง ของ philia ก็กว้างกว่าแค่รักเพื่อนเฉยๆ
ส่วน agape นั้นเป็นความรักที่เป็นสากล ซึ่งมาจาก คำ�สอนของคริสตศาสนาเป็นหลัก เราจะเข้าใจความรักนี้ได้ อย่างชัดเจน หากเราเข้าใจสิ่งที่พระเยซูได้ทำ�ไป สิ่งที่ชาว คริสต์ทุกคนต้องสำ�นึกก็คือว่า เหตุใดพระเยซูจึงต้องยอม ให้เขามาจับตรึงกางเขนด้วย? พระเยซูเป็นพระบุตรอยู่ใน สวรรค์ เหตุใดจึงลงมาอยู่กับเราในโลกมนุษย์ และถูกดูหมิ่น ถูกใส่ร้าย ถูกเข้าใจผิด และในท้ายที่สุดถูกจับประหารชีวิต ด้วยวิธีการที่เลวร้ายที่สุด เท่าที่ทหารโรมันในสมัยนั้นจะคิด ได้? เราจะไม่มีวันเข้าใจพระเยซูหากเราไม่เข้าใจความรักอัน ไพศาลที่พระเยซูมีให้แก่มนุษย์ นี่เรียกว่า agape ซึ่งได้แก่ ความรักอันยิ่งใหญ่ ไม่มีประมาณ เป็นความรักอันปราศจาก ตัวตนอย่างแท้จริง ลักษณะสำ�คัญของ agape ก็คือ spontaneous and unmotivated คือเกิดขึ้นมาเอง (spontaneous) และปราศจากแรงจูงใจ (unmotivated) นี่คือความรัก ของพระเยซู ไม่ใช่ว่าพระเยซูยอมถูกตรึงกางเขนเพื่อไถ่บาป เรา แล้วมาทวงคืนจากเราภายหลังแถมคิดดอกเบี้ยอีกต่าง หาก ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่ความรักแต่ประการใด ภาพวาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต
ปัญหาที่นักปรัชญาถกเถียงกันเกี่ยวกับความรักก็คือ “เหตุใดเราจึงต้องมีความรักด้วย?” ถ้าตอบแบบชีววิทยา ก็อาจจะได้ว่า “เรามีความรักเพราะความรักทำ�ให้เกิดการสืบพันธุ์ ซึ่งทำ�ให้ยืนดำ�รงอยู่” แต่คำ�อธิบายนี้ก็ไม่ได้อธิบาย ความรักแบบอื่น ได้แก่ความรักแบบเพื่อนหรือความรักสากล เพราะสองอย่างนี้ดูจะไม่เกี่ยวกับชีววิทยา ความรักสถาบัน เช่นนิสิตรักจุฬาฯ ดูจะไม่เกี่ยวกับชีววิทยาเท่าใดนัก คือไม่ใช่ว่าเมื่อรักจุฬาฯแล้วนิสิตจะมีโอกาสในการสืบพันธุ์มากขึ้น นักชีววิทยาอาจตอบว่า การรักสถาบันทำ�ให้เกิดความผูกพันกับพวกพ้อง ซึ่งมีผลดีในทางวิวัฒนาการ เพราะสัตว์ประเภท ที่ไม่รักพวกพ้อง ไม่มีโอกาสมากเท่าในการสืบพันธุ์ต่อมา ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่คำ�ตอบแบบนี้ก็ดูเหมือนกับว่า ยังขาดมิติ ทางด้านคุณค่าหรือทางด้านจิตวิญญาณ ที่เรามักคิดว่ามีอยู่ในความรัก โดยเฉพาะความรักแบบ agape ดังที่ได้กล่าวไป ในข้างต้นเกี่ยวกับรูปแบบของความรักแบบตามคำ�สามคำ�ในปรัชญากรีก มีอีกหนึ่งแนวคิดที่ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่านเจอนั่นคือแนวคิดของ แม็กซ์ ชีเลอร์ ที่ถึงอธิบายรูปแบบของความ รักบางแบบซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าอาจเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริงกับมนุษย์ ซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกันกับรูปแบบของความรัก แบบตามคำ�สามคำ�ในปรัชญากรีกที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะนำ�เอาแนวคิดของ ชีเลอร์ มาเรียบ เรียงอย่างเป็นระบบ ชีเลอร์มักจะอ้างคำ�อธิบายของฮุสเซิร์ล เกี่ยวกับเรื่อง “จิตใจที่ทรงพลังมากที่สุดในการสร้าง การ เคลื่อนไหวเชิงปรากฏการณ์” ทั้งชีเลอร์และฮุสเซิร์ลแบ่งแยกโลกของการวิเคราะห์เรื่องปรากฏการณ์โดยการพิจารณา ความแตกต่างของการดำ�เนินชีวิต ฮุสเซิร์ลสร้างแนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตรรกวิทยา และการพิสูจน์ ความจริง ในขณะที่ชีเลอร์อธิบายแนวคิดเชิงสังคมวิทยา จิตวิทยา ศาสนา และจริยธรรม ในงานเขียนของชีเลอร์เรื่อง Die Stellung des Menschenim Kosmos เป็นการอธิบายแนวคิดทางมานุษยวิทยาเชิงปรัชญา ซึ่งชีเลอร์ไม่เคยอธิบาย เรื่องนี้เสร็จสมบูรณ์ เพราะเสียชีวิตตอนอายุ 54 ปี
หลั กคิ ด แต่ ล ะช่ว งของชีเลอร์มีความมั่นคงต่ อ เนื่ อ งแต่ ผู้ เขี ย นจะอธิ บายหลั ก คิ ดบางแบบเท่ านั้ น ที่ ถู ก อธิ บ าย ไว้ในการศึกษาของชีเลอร์เพื่อมองหารูปแบบความรักที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือ ทางเลือกของ การสร้างความรักที่บุคคล จะนำ�ไปใช้ได้ ความเข้าใจของชีเลอร์เกี่ยวกับตัวตนและเอกภาพแห่งการกระทำ�ของมนุษย์เป็นรากฐานของการศึกษา มานุษยวิทยาเชิงปรัชญาของชีเลอร์ การศึกษามานุษยวิทยาเชิงปรัชญาเป็นการอธิบายตัวตนของมนุษย์ที่เรารู้จักใน นามของ ตัวตนทางวัฒนธรรมปัญญา สังคม และชีววิทยา ทั้งวิชาชีววิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยาและประสบการณ์ปกติ ล้วนมีความสำ�คัญ ที่จะอธิบายเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ แต่มานุษยวิทยาเชิงปรัชญา จะมีวิธีคิดที่แตกต่างออกไป การ ศึกษาแบบมานุษยวิทยาเชิงปรัชญา ของชีเลอร์มีลักษณะพิเศษ เนื่องจากชีเลอร์ไม่ต้องการทำ�ให้ “ตัวตน” ของมนุษย์ ถูกลดถอนลงเหลือแค่เพียง “ภาพลักษณ์” ของความเป็นมนุษย์ การทำ�ความเข้าใจ “ตัวตน” ของมนุษย์ด้วยแนวคิดแบบ มานุษยวิทยาเชิงปรัชญาจะทำ�ให้มองเห็นสำ�นึก ที่มีร่วมกันของความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ซึ่งมีแนวการศึกษาหลายแนว ให้ความสนใจ การศึกษาแบบมานุษยวิทยาเชิงปรัชญา จะอธิบายความจริงและความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ได้มากกว่า แนวการศึกษาอื่นๆ มานุษยวิทยาเชิงปรัชญาพยายามทำ�ความเข้าใจสภาพความเป็นมนุษย์โดยการอธิบายเอกภาพของ ความจริงเกี่ยวกับ มนุษย์ที่จับต้องได้ เป็นการพูดถึงความเป็นมนุษย์โดยการอ้างถึงตัวตนที่มีร่างกาย มีวัฒนธรรม และ กระบวนการสร้างตัวตน ความจริงที่จับต้องได้ก็คือร่างกายของมนุษย์ หรือตัวตนทางชีววิทยา การสะท้อนภาพการกระ ทำ�ของมนุษย์จะทำ�ให้มนุษย์ เข้าใจตัวเองในฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตน และซึมซับความรู้เกี่ยวกับตัวตนทั้งที่มีอยู่ภายนอก และภายในตัวเอง มนุษย์ยังรับรู้เกี่ยวกับคนอื่นในฐานะเป็นผู้กระทำ�และถูกกระทำ� ความเกี่ยวพันของสภาพภายใน และภายนอกของการกระทำ� ที่ไม่หยุดนิ่งซึ่งจะมีคนสองคนหรือมากกว่านั้นรวมอยู่ จะถูกอธิบายว่าเป็น “สหสัมพันธ์ ของกระบวนการสร้างตัวตน”( intersubjectivity) สหสัมพันธ์ของกระบวนการสร้างตัวตนเป็นคุณลักษณะหนึ่งของการ แสดงความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญประการ หนึ่งสำ�หรับการพิจารณาตามแนวคิดของมานุษยวิทยาเชิงปรัชญา หาก สมมุติว่าประเด็นที่ถูกอภิปรายในที่นี้เป็นเพียง แนวคิดทฤษฎีหรือการศึกษาพฤติกรรม มากกว่าเป็นปรัชญาในธรรมชาติ จะทำ�ให้เข้าใจสหสัมพันธ์ของกระบวนการสร้างตัวตนผิดเพี้ยนไป หากกล่าวเพื่อทำ�ให้เข้าใจได้จะพบว่ากระบวนการนี้ เป็นทั้งเรื่องพื้นฐานในชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นองค์รวมทั้งหมด ของรูปแบบชีวิต และเป็นปรากฏการณ์ซึ่งก่อให้เกิดคำ�ถาม ทางปรัชญาที่สำ�คัญด้วย ชีเลอร์ย้ำ�ถึงเอกภาพของตัวตนมนุษย์ทั้งในเชิงร่างกายและมิใช่ร่างกาย เอกภาพนี้รู้จักดีใน เรื่องราวของการกระทำ�ของบุคคล ประเด็นนี้มีอยู่ในแนวโน้มของพัฒนาการทางปรัชญาเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรม มนุษย์ กล่าวคือ การศึกษาปรัชญา มีทิศทางที่มุ่งไปสู่การตีความการกระทำ�ของมนุษย์ด้วยแนวคิดทางชีววิทยาและ วิทยาศาสตร์ แต่ยังไม่มีการขอโทษ ในกรณีที่การศึกษาข้ามพ้นไปจากชีววิทยาเพื่อที่จะตีความการกระทำ�เชิงชีววิทยา และมิใช่ชีววิทยา (ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำ�ของมนุษย์ก็ตาม) การนำ�ความรู้ทางชีววิทยามาอธิบาย ชีเลอร์ได้สำ�รวจ สภาพของมนุษย์ในลักษณะเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มนุษย์ไม่ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆซึ่งต้องมีกฎเกณฑ์ของชีวิตและมี การแสดงตัวตน มีการแบ่งแยกความแตกต่างของตัวตนและจำ�กัดขอบเขตตัวตนในมิติของเวลาและสถานที่ รวมทั้ง มิใช่เพียงสิ่งที่ถูกเฝ้าสังเกตจากภายนอก แต่ยังมีความสามารถในเชิงความคิดเพื่อตอบ สนองความต้องการของตัวเอง อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการกระทำ�ของบุคคลแตกต่างจากพฤติกรรมของสัตว์อื่นๆ ในขณะที่พฤติกรรมของสัตว์จะถูก กำ�หนดหรือถูกควบคุมโดยแรงขับเชิงชีววิทยา แต่พฤติกรรมมนุษย์ถูกขับเคลื่อนด้วยความคิด และความรู้สึกที่ซับซ้อน ซึ่งทำ�ให้เกิดสถานภาพของตัวตน ความแตกต่างนี้มีสิ่งสำ�คัญสามประการ -ประการแรก ความสามารถของมนุษย์ในการกระทำ�ที่มีวัตถุประสงค์ ทำ�ให้มนุษย์สามารถทำ�สิ่งต่างๆ ได้อิสระและ ไร้ขอบเขตโดยอาศัยความรู้สึกที่เรียนรู้มาจากโลกภายนอก -ประการที่สอง มนุษย์สามารถปลดปล่อยหรือสร้างแรงขับของตัวเอง ได้เพื่อตอบสนองต่อสภาพ แวดล้อม และประการที่สาม การกระทำ�ของมนุษย์ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในตัวมนุษย์ ชีเลอ ร์อธิบายถึงสิ่งเหล่านี้ในฐานะเป็น “โลกที่ไร้ขอบเขต” มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่มีสำ�นึกในการกระทำ�ของตัวเอง และรู้ว่าตัว เองเป็นทั้งผู้กระทำ�และถูกกระทำ� ในการทำ�ความเข้าใจ เป้าหมายของการสร้างจิตสำ�นึกของมนุษย์ มนุษย์ต้องแสดงตัว ตนออกมาและทำ�ให้ตนเองจับต้องได้ สิ่งนี้ทำ�ให้มนุษย์มีความสามารถในการเป็นผู้กระทำ�ซึ่งมีศูนย์กลาง ศูนย์กลางคือ เอกภาพของการกระทำ�และประสบการณ์ ซึ่งสามารถทำ�ให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย
และการสะท้อนความรู้สึกต่างๆเป็นหนึ่งเดียวกัน การอ้างถึงศูนย์กลางของตัวตนอาจเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงหรือทำ�ให้ข้อมูล ต่างๆมารวมกัน ความสามารถนี้ทำ�ให้มนุษย์เป็นนายเหนือความรู้สึกและแรงขับ ความสามารถของมนุษย์ ต่อการทำ�ให้ ร่างกายและตำ�แหน่งของตัวเองในสภาพแวดล้อมจับต้องได้ ทำ�ให้มนุษย์มีโลกที่เป็นวัตถุ เนื่องจากมนุษย์สามารถ ไตร่ตรองได้ว่าโลกในตัวเองเป็นนามธรรม ชีเลอร์เคยกล่าวว่ามีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถก้าวข้ามตัวเองไปจากการเป็น แค่สิ่งมีชีวิตและวัตถุที่เปลี่ยนรูป ก้าวข้ามไปจากโลกของพื้นที่และเวลา ทำ�ให้ทุกอย่าง (รวมทั้งตัวเอง)กลายเป็นความ รู้ วิธีอธิบายความรักของชีเลอร์มีความเชื่อว่าความสามารถของมนุษย์เป็นทั้งการกระทำ�และความคิด ในเรื่อง The Nature of Sympathy ชีเลอร์นิยามความรักว่าหมายถึงการให้ความรักแก่บุคคลมิใช่เพื่อความรู้สึกแต่เพื่อตัวเอง มนุษย์ สามารถรู้ว่าตัวตนของคนอื่นเป็นอย่างไรโดยอาศัยการแสดงความรัก ลักษณะของตัวตนจะถูกเปิดเผยเมื่อมีความรัก เพราะความรักเป็นการแสดงทัศนะส่วนตัวและยังเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ถ้ามนุษย์ปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการ และได้ ทำ�ตามความปรารถนาและความคิดของตัวเอง ดังนั้นในการแสดงความรัก มนุษย์จะต้องเป็น “วัตถุ” เพื่อทำ�ให้ความรัก เกิดขึ้น แต่ตัวตนไม่อาจจับต้องได้อย่างสมบูรณ์ในการแสดงความรัก หรือในการกระทำ�ใดๆ แม้แต่ในความคิด ตราบ ที่มนุษย์ยังทำ�ให้คนอื่นเป็น “วัตถุ” ตัวตนของมนุษย์ก็จะเกิดขึ้นได้ยากและมีแต่สภาพที่ไร้แก่นสาร นักวิชาการบางคน แสดงความคิดเห็นต่อการอธิบาย “ความรัก” ของชีเลอร์ในเรื่อง The Nature of Sympathy แต่บทความเรื่องนี้มิได้คล้อย ตามนักวิชาการเหล่านั้น แต่พยายามที่จะตีความและใช้คำ�วิจารณ์ของวิลเลียม หลุยเพ็น, จอห์น เอฟ ครอส บี้ และมอริซ นีดอนเซลล์ โดยเฉพาะหลุยเพ็นที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการแสวงหาความจริงแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นัก วิชาการ ที่อ้างว่าตัวตนไม่อาจจะเชื่อมถึงกันได้ แต่หลุยเพ็นได้โต้แย้งคำ�อ้างนี้ ส่วนนีดอนเซลล์อธิบายว่าการนิยามความหมาย ของความรักคือการแสดงอารมณ์ของคนที่มีความรักเพื่อที่จะส่งเสริมคนที่ถูกรักและความหมายและเป้าหมายของความ รักก็คือ “กระบวนการทำ�ให้เป็นตัวตน” (personalization) ครอสบี้ให้ความสนใจคำ�อธิบายของชีเลอร์เรื่อง “ความเป็น หนึ่งเดียว” ซึ่งมีอยู่ในบทที่สองของ The Nature ofSympathy ชีเลอร์อธิบายถึงความโศกเศร้าของพ่อแม่ในงานศพของ ลูกที่จากไป ตามความคิดของชีเลอร์ เชื่อว่าพ่อแม่มิได้ต่างคนต่างเสียใจ แต่พ่อแม่จะรวมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อที่จะแสดง ความรู้สึกโศกเศร้าเหมือนกัน พ่อแม่จะถูกสร้างให้มีตัวตนเพื่อแสดงความเศร้า ความเศร้าจึงเป็นสิ่งที่มีร่วมกัน กล่าวคือ เมื่อพ่อแม่โศกเศร้าเสียใจ ก็จะทำ�ให้เกิดตัวตนของความเศร้าพร้อมกัน ทั้งพ่อและแม่ได้สร้างพื้นที่ของจิตสำ�นึกที่หลอม รวมกัน และความเป็นหนึ่งเดียวของทั้งคู่ ก็จะมีลักษณะคล้ายตัวตน มนุษย์คนหนึ่งสามารถเข้าถึงตัวตนของคนอื่น และ ดำ�รงอยู่ในตัวตนของคนอื่นได้ รวมทั้งทำ�ให้เกิดตัวตน แบบกลุ่ม คำ�ถามคือตัวตนลักษณะนี้จะเกิดขึ้นจริงกับมนุษย์ได้ อย่างไร บุคคลแต่ละคนรู้ว่าตัวเองกำ�ลังทำ�อะไร มนุษย์รู้ว่าตัวเองมีความสามารถและไม่สามารถในการกระทำ�ต่างๆ เช่นผู้เขียนรู้ว่าตนเองเป็นนักวิชาการ มีตัวตนที่เป็นเอกภาพ ผู้เขียนรู้ว่าตนเองทำ�อะไรให้ตัวเอง และทำ�อะไรให้ผู้อื่นหรือ สิ่งอื่น ผู้เขียนรู้ว่าตนเองมิได้เป็นเพียงการกระทำ� เพราะผู้เขียนสามารถเป็นอะไรได้มากกว่านั้น ผู้เขียนสามารถทำ�อะไร ได้หลายอย่าง ทั้งทำ�คนเดียวและทำ�ร่วมกับคนอื่น เมื่อต้องกระทำ�ต่อคนอื่น ผู้เขียนรู้ว่าคนอื่นเปรียบเสมือนวัตถุสิ่งของ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียน การกระทำ�ต่อผู้อื่น (เหมือนการทำ�ต่อวัตถุ)ก็เพื่อทำ�ให้ผู้อื่นแสดงการกระทำ�บางอย่างที่ผู้เขียน เชื่อว่าจะได้สิ่งตอบแทนกลับมาหา ผู้เขียน ผู้เขียนเรียนรู้ว่าการปฏิบัติต่อผู้อื่นทำ�ให้เห็นว่าผู้อื่นเปรียบเสมือนเครื่องมือ ที่ตอบสนองจิตใจของผู้เขียน หรือเป็นวัตถุ ที่ถูกกระทำ�โดยผู้เขียน และยังทำ�ให้ผู้เขียนรู้จักตัวเองในฐานะเป็นคนที่ใช้ เครื่องมือเหล่านั้น ในขณะที่คำ�อธิบายของชีเลอร์กระจ่างชัด แต่ยังคงมีตัวตนแบบอื่นที่เกิดขึ้น มนุษย์สามารถกระทำ�ต่อ ผู้อื่นโดยการมี ความรักให้พวกเขา ความเป็นไปได้หรือทางเลือกที่จะรักนี้ มิใช่การทำ�ให้คนอื่นกลายเป็นเครื่องมือซึ่งถือ เป็นสมมุติฐาน ในความคิดของชีเลอร์ ซึ่งอธิบายว่าบุคคลสามารถเอาชะความรู้สึกและแรงขับของตัวเองได้ ในการใช้ คนอื่นเป็นเครื่องมือ จะทำ�ให้เกิดรูปแบบของการกระทำ�ร่วม และประสบการณ์ที่มีต่อผู้อื่น เช่นเดียวกับการกระทำ�ต่อผู้ อื่น ตัวอย่างเช่น การเข้าใจว่าคนอื่นเป็นคนๆหนึ่ง มากกว่าเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งคือการตระหนักว่าคนอื่นเป็นศูนย์กลางหรือ เป็นเอกภาพของประสบการณ์ ซึ่งอยู่ในสภาพที่เป็นและมีตัวตน กล่าวคือ เป็นการทำ�ความเข้าใจคนอื่นในฐานะมีตัวตน ทางความคิดซึ่งมีทั้งความหวัง ความร่าเริงและความกลัว “การมีรัก” ระหว่างบุคคลซึ่งแต่ละคนจะได้รับรู้สิ่งภายในของ กันและกันในฐานะคนๆหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่คนๆนั้นจะเห็นว่าการเจอคนๆหนึ่งเป็นเพียง “กระบวนการสร้าง เครื่องมือ” เพื่อตัวเอง หากการพบเจอคนอื่นเป็นการค้าหา เครื่องมืออาจทำ�ให้คิดว่าคนอื่นเป็นวัตถุ
หรือเป็นเครื่องมือ เพราะมองเห็นแต่ประสบการณ์ภายนอกของคนอื่น แต่การแสดง ความรักเป็นการกระทำ�ของจิตใจของ บุคคลซึ่งมนุษย์จะสร้างความหวัง ความกลัว และความสุขจากผู้อื่น การเผชิญหน้ากันของบุคคล โดยไม่คำ�นึงถึงรูปแบบ ของการเผชิญหน้า (ไม่ว่าจะเป็นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ หรือเพื่อความรัก) ในขณะที่ปล่อยให้มีการเรียนรู้คนอื่น (เฉพาะ การเผชิญหน้าของมนุษย์) ทำ�ให้เกิดทางเลือกเพื่อเอกภาพของบุคคลที่เป็นจริง ที่เกิดขึ้นในการกระทำ�นั้นๆ เอกภาพของ การกระทำ�ที่แน่นอนเกิดจากกระบวนการทำ�ให้ผู้อื่นกลายเป็นเครื่องมือ แต่เอกภาพนี้เกิดขึ้นแค่ภายนอกและไม่เกิดกับ บุคคล แต่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างให้คนเป็นวัตถุ เอกภาพของบุคคลจะเกิดขึ้น ได้ถ้าการเผชิญหน้ากันเกิดขึ้นในการ แสดงความรัก ในการแสดงความรักต่อคนอื่น มนุษย์จะรู้ว่าอะไรคือความหวัง ความสุข และความเศร้าของคนๆนั้น และ มนุษย์ก็จะรับรู้และมีส่วนเกี่ยวข้องกับประสบการณ์นี้ ความรู้ในจิตใจระหว่างบุคคลที่มี ความรักจะทำ�ให้เกิดเอกภาพ ภายในใจและการแสดงความรู้สึกภายใน (เช่นเดียวกับการกระทำ�ที่เกิดขึ้นภายนอก) ความรักทำ�ให้เกิดการแบ่งปันและ แลกเปลี่ยนความปรารถนาและความเสียใจที่มีร่วมกัน ดังนั้น คำ�อธิบายของชีเลอร์เรื่องพ่อแม่ที่เศร้าโศกมิได้รวมเป็น หนึ่งเดียวกันโดยความเศร้า (การกระทำ�ที่เกิดภายนอก ทำ�ให้เกิดสองสิ่งที่ต่างกันและไม่เกี่ยวข้องกัน แต่การกระทำ�ในใจ ทำ�ให้สองสิ่งรวมกัน) เอกภาพภายในที่เกิดขึ้น เมื่อมีการแสดงความรักเกิดก่อนการแสดงความเศร้า และยังทำ�ให้เกิดการ แสดงความเศร้าของคนสองคนเมื่อมีเหตุการณ์ที่เศร้าโศก พ่อแม่จะถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยการมีอารมณ์ร่วมทั้งความ หวัง ความสุข ความกลัวและความเสียใจ ทั้งพ่อและแม่จะแสดงความเป็น เอกภาพแห่งตัวตนซึ่งแต่ละฝ่ายสามารถเข้า ถึงจิตใจของกันและกัน พ่อแม่รวมกันเพื่อสร้าง “ตัวตนแห่งความเศร้า” เอกภาพ ของคนสองคนยังทำ�ให้พวกเขากระทำ� ในสิ่งเดียวกันในฐานะเป็นบุคคลที่มีสองตัวตน ตามที่ชีเลอร์เรียกว่า Gesamtperson คนสองคนมีจิตใจ ความรู้สึก ความ ตั้งใจเดียวกัน มีความหวังและมุมมองต่อชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกัน พ่อแม่จะมีเอกภาพภายใน ที่มีตัวตนซึ่งทำ�ให้เกิดการกระ ทำ�ที่เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์ ในแง่ของความหมาย คนสองคนยังมีการแทรกซึมซึ่ง กันและกัน กล่าวคือ แต่ละคน จะมีการกระทำ�ให้กันและกัน พ่อแม่จะปฏิบัติร่วมกันเพราะพวกเขามีตัวตนของกันและกันเพื่อที่ จะทำ�ให้รู้ความคิดของ อีกฝ่ายหนึ่ง และปรารถนาที่จะหลอมรวมและสร้างตัวตนให้เป็นเหมือนอีกผ่ายหนึ่ง ความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันยังเกิด จากการได้รู้จักตัวตนภายในของบุคคลซึ่งนำ�ไปสู่การสร้างเอกภาพต่อการกระทำ�ภายนอกของบุคคลด้วย คำ�อธิบายนี้ อาจเข้าใจได้จากตัวอย่างบางตัวอย่าง แต่ตัวอย่างเรื่องพ่อแม่ที่โศกเศร้าถูกใช้เพื่ออธิบายเรื่องเอกภาพ ในขั้นแรก บุคคล สามารถจินตนาการถึงสถานการณ์ที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นมีการกระทำ�ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น ยานอวกาศ ชาล เลนเจอร์ระเบิด และคนทั้งประเทศก็แสดงความโศกเศร้า “พร้อมกัน” คนหลายคนร่วมรับรู้ถึงตัวตนภายใน (ความหวัง และความกลัวเดียวกัน) แต่พวกเขาอยู่กันคนละทีและไม่เกี่ยวข้องกัน คนแต่ละคนไม่มีทางที่จะสร้างตัวตนจากคนอื่นได้ ตัวอย่างนี้ชี้ว่ามนุษย์มีการแสดงออกภายนอกที่เหมือนกัน แต่มิใช่การกระทำ�ร่วมกัน หากแต่เป็นการร้อยเรียงการปฏิบัติ ที่ต่างคนต่างทำ� ตัวอย่างที่สองอาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฝึกสอนอาวุโสกับนักกรีฑาสาวที่มีความฝัน การฝึกซ้อม ของนักกรีฑา มิใช่ดูแค่การแสดงออกภายนอก หรือความสนใจต่อโปรแกรมการฝึกซ้อม ซึ่งเป็นการให้ความสำ�คัญ เฉพาะความสามารถของ นักกรีฑาเมื่อต้องลงแข่งขัน แต่ผู้ฝึกสอนจะขยายความสนใจของนักกรีฑาและทำ�ให้เขารู้จัก ตัวตนของการเป็นนักกรีฑา การได้ทำ�ให้รู้จักความกลัว ความหวัง ความสุข และความเศร้าของนักกรีฑา ผู้ฝึกสอนต้อง แสดงความรักและเลือกที่จะทำ�ให้ความรู้สึก เหล่านี้เกิดขึ้นกับนักกรีฑา นักกรีฑาจะสร้างและรับเอาตัวตนของนักกรีฑา ที่เหมาะกับตนเองมาใช้ในขณะฝึกซ้อม เมื่อนักกรีฑาชนะหรือแพ้ในการแข่งขัน นักกรีฑาคนนั้นจะเรียนรู้ชัยชนะหรือ ความพ่ายแพ้ในฐานะของการเป็นนักกรีฑา นักกรีฑา อาจจะเสียใจหรือยินดีในแบบนักกรีฑา ซึ่งมีการแสดงออกในแบบ เดียวกัน แต่กรณีนี้แตกต่างจากความโศกเศร้าของพ่อแม่อย่างมีนัยยะสำ�คัญ ประการแรก ทางเลือกที่จะรักและการ เรียนรู้ตัวตน ของคนอื่นในเวลาต่อมามิใช่สิ่งที่อยู่คนละด้าน แต่ปรากฏอยู่ร่วมกัน นักกรีฑามิได้เรียนรู้ชัยชนะหรือความ พ่ายแพ้จากตัวผู้ฝึก สอน แต่เรียนรู้ได้จากประสบการณ์ของตัวเอง นักกรีฑาไม่มีทางเลือกที่จะรักแบบต่างตอบแทนให้ผู้ อื่น และเอกภาพของการ กระทำ�ภายในใจระหว่างเขากับผู้ฝึกสอนก็เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ ผู้ฝึกสอนกับนักกรีฑามิได้มีตัวตน ร่วมกัน กล่าวคือคนทั้งคู่แสดง ตัวตนที่ต่างกัน ในขณะที่ผู้ฝึกสอนมีทั้งความรู้และจิตวิญญาณของการเป็นนักกรีฑา แต่ ความรู้เกี่ยวกับนักกรีฑาของผู้ฝึกสอน จะถูกจำ�กัดให้อยู่แต่ภายนอกที่เป็นประสบการณ์ของการเป็นผู้ฝึกสอน
ส่วนนักกรีฑาไม่ได้สนใจ และไม่ต้องการค้นหาตัวตน ของการเป็นผู้ฝึกสอน กล่าวคือ นักกรีฑาไม่สนใจว่าผู้ฝึกสอนจะมี ตัวตนหรือไม่ แต่รู้ว่าเขาคือผู้ฝึกสอน ประการที่สองของความแตกต่างระหว่างพ่อแม่ที่เศร้าโศกกับนักกรีฑา กล่าวคือใน มุมมองของผู้ฝึกสอนกรีฑา กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ที่มาพร้อมกับการสร้างตัวตนของผู้อื่นค่อนข้างมีจำ�กัด (ทางเลือก ในการมีความรัก) ทางเลือกที่จะมีความรักที่สร้างขึ้นจากผู้ฝึกสอนมิได้ขยายไปสู่การมีตัวตนที่ครบถ้วนของนักกรีฑา แต่ เป็นเพียงส่วนประกอบ ของการมีตัวตนของนักกรีฑาเท่านั้น ตัวตนคือความสำ�เร็จของนักกรีฑา สิ่งสำ�คัญที่เท่ากับความ สำ�เร็จอาจมีไว้เพื่อนักกรีฑา ซึ่งความสำ�เร็จนั้นมิใช่สิ่งที่สร้างความเป็นนักกรีฑาทั้งหมด ถ้านักกรีฑาท้อแท้ ผู้ฝึกสอนก็จะ รู้สึกเจ็บปวดจากการที่นักกรีฑาคนนั้น ต้องสูญเสียตัวตนของการเป็นนักกรีฑา ทางเลือกที่จะรักของผู้ฝึกสอนมิใช่ความ รักที่ให้นักกรีฑาในฐานะเป็นคนๆหนึ่ง แต่เป็นความรักที่ให้กับผู้ที่เป็นนักกรีฑา เมื่อนักกรีฑาไม่ต้องการให้ผู้ฝึกสอนรัก เขา การสร้างตัวตนก็จะเกิดขึ้นกับนักกรีฑาเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีการเกี่ยวข้องกับผู้ฝึกสอนอยู่บ้าง ซึ่งคล้ายกับการถือ สายโทรศัพท์ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งวางหูไปแล้ว >ประการที่สาม เป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายกับคู่ของผู้ฝึกสอนกับนักกรีฑาแต่เกิดขึ้นแยกจากกัน และ ทำ�ให้เห็น กระบวนการสร้างตัวตนของคนสองคน ความสัมพันธ์แบบนี้เชื่อในการแสดงความรักของแต่ละฝ่ายซึ่งไม่มี เงื่อนไข กล่าวคือ คนสองคนที่มีความสัมพันธ์กันเลือกที่จะสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองโดยอ้างอิงจากฝ่ายหนึ่ง ความเป็น หนึ่งเดียวของ กระบวนการสร้างตัวตนระหว่างบุคคลจะเกิดขึ้นจริงกับมนุษย์ และจะทำ�ให้เกิดการพัฒนาชุมชนของ มนุษย์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีความลงตัวของมวลมนุษย์ทั้งเรื่องอารมณ์ ความคิด และกายภาพ ความลงตัวเป็นหนึ่งเดียว นี้จะแสดงออกมาในการปฏิบัติแบบรวมหมู่ การกระทำ�ของคนสองคนที่รวมเป็นหนึ่งซึ่งเกิดจากการแสดงตัวตนอย่าง เดียวกัน การนิยามตัวตนของคนสองคน โดยอาศัยตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่ง คนสองคนต้องนิยามความดีของตัวเองกับ ความดีของคนอื่น คนสองคนจะพบความสมบูรณ์ โดยการทำ�ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความสมบูรณ์ เพราะความสำ�เร็จและ ความสมบูรณ์ของผู้อื่นจะช่วยให้ผู้นั้นได้รับสิ่งเดียวกัน นับตั้งแต่ที่คนสองคนสร้างตัวตนจากฝ่ายหนึ่งพร้อมกัน คนสอง คนที่มีความสัมพันธ์กันสามารถพบความสมบูรณ์ได้ โดยการหาวิธีเติมเต็มของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้ฝ่ายนั้น กล่าวคือ คน สองคนจะพบความสมบูรณ์ได้โดยการทำ�ให้อีกผ่ายหนึ่ง ได้รับความสมบูรณ์ในฐานะเป็นคนๆหนึ่ง เอกภาพของคนสอง คนไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อคนทุกคน ความปรารถนาทั้งหมดของบุคคลมิได้เป็นหนึ่งเดียวกับคนอื่นๆ และคนทุกคนก็ไม่อาจ เป็นหนึ่งเดียวกันได้ วัฒนธรรมของคนแต่ละคนซึ่งมีความสัมพันธ์ในแบบใช้ประโยชน์จากผู้อื่น จะถูกกระตุ้นโดยเงื่อนไข ต่างๆ ความสัมพันธ์ที่เป็นเอกภาพเดียวกันเป็นสิ่งที่หายาก แต่ความสัมพันธ์แบบนี้ ก็ยังเป็นทางเลือกให้กับมนุษย์ การ ศึกษาของชีเลอร์เกี่ยวกับกระบวนการสร้างตัวตนระหว่างบุคคลยังทำ�ให้เห็นการปฏิบัติทางเพศควบคู่ ไปกับการแสดง ความรัก กล่าวคือ การปฏิบัติทางเพศระหว่างบุคคลวางอยู่บนความเชื่อที่ว่าคนแต่ละคนล้วนมีการกระทำ�ทางร่างกาย ที่คล้ายกัน นั่นคือการปฏิบัติทางเพศ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคนทุกคนปฏิบัติร่วมกัน มิใช่การปฏิบัติสองอย่างที่ต่าง กัน ซึ่งเห็นได้จากการกระทำ�ทางร่างกายในพื้นที่เดียวกัน การปฏิบัติที่รวมเป็นหนึ่งเดียววางอยู่บนความคิดที่ว่าจะมี เอกภาพ ของกระบวนการสร้างตัวตนระหว่างบุคคลเกิดขึ้น ดังที่กล่าวมาแล้วว่าคนแต่ละคนจะมีเอกภาพของตัวตนใน แบบที่ต่างกันไป ในบางครั้ง บุคคลจะเรียนรู้คนอื่นในฐานะเป็นเครื่องมือสำ�หรับตอบสนองความต้องการของตัวเอง หรือ อยู่ในฐานะวัตถุชนิดหนึ่งมากกว่าจะเป็นตัวตนที่มีความคิด ในอีกด้านหนึ่ง มนุษย์อาจมีเอกภาพของตัวตนร่วมกับคนอื่น ในฐานะเป็นคนที่มีความคิดซึ่งอาศัยการปฏิบัติทางเพศ เป็นการแลกเปลี่ยนถ่ายเทตัวตนซึ่งกันและกัน กล่าวคือ คนทั้ง สองคนจะรู้จักซึ่งกันและกันในฐานะเป็นผู้ที่มีจิตใจซึ่งเกิดขึ้นในเงื่อนไขอื่นๆ การสร้างตัวตนระหว่างบุคคลในเชิงสรีระ มี ข้อสันนิษฐานว่าการถ่ายเท“ความรู้สึก” ระหว่างคนสองคนเป็นผลมาจากการกระทำ�ที่ต่างกันสองด้านของการสร้างอัต ลักษณ์ ของตัวตน คนสองคนที่กระทำ�ในสิ่งเดียวกัน จะหลอมรวมเป็นตัวตนเดียวกัน คนทั้งคู่จะแสวงหาความหวัง ระงับ ความกลัว ปรนเปรอความสุข และขจัดความเศร้าของกันและกัน และการกระทำ�ร่วมกันของคนทั้งคู่อาจจะเรียกว่า “การ ร่วมรัก” กล่าวคือคนสองคนแสวงหาวิธีที่จะสร้างตัวตนของตนเองโดยอาศัยตัวตนของผู้อื่น และแสวงหาความสมบูรณ์ ของคนอื่น ในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์
แน่นอนว่ามนุษย์เชื่อมั่นในความรักที่ตนเองได้สรรสร้างขึ้นมาไม่ว่าจะในแง่ความคิดของความรู้สึก ชื่นชมกับ ความรู้สึกที่เข้าใจว่าคือความรัก ซึ่งจริงๆแล้วบางกรณีอาจจะไม่ใช่ความรักที่แท้จริง มากนักที่มีประสบการณ์ที่ดีจาก ความรักทั้งจากความสมหวัง จนมองว่าความรักเป็นสิ่งที่สวยงามจนเกิดความเชื่อมั่นว่าความรักนั้นจะไม่มีทางหวนกลับ มาทำ�ร้ายตัวเอง ก็เหมือนการลงทุนธุรกิจดีๆนี่เอง หากเราเลือกที่จะมอบความรักกับบุคคลที่พร้อมจะรับความรักจากเรา ก็ถือว่าเป็นการคุ้มกับทุนที่ลงไป โดยทุนที่ว่านั้นก็คือความรักที่ส่งมอบให้แก่อีกฝ่ายซึ่งได้ผลตอบแทนมาคือความรักเช่น กัน แต่ในทางกลับกันนั้นหากเรามอบความรักให้กับบุคคลที่ไม่พร้อมที่จะรับความรักก็ไม่ต่างอะไรกับการลงทุนที่โดย เปล่าประโยชน์นอกจากที่จะไม่ได้ผลกำ�ไรแล้วที่เลวร้ายไปกว่านั้นอาจถึงขั้นขาดทุนเลยทีเดียว ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่ค ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย หรือมีบ้างที่ได้รับความรักกลับมาแต่หากเป็นในกรณีดังกล่าวแล้วผลสุดท้ายจุดจบก็คือการเลิกลา หรือยุติความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลลงไปในที่สุด แต่หากมองในแง่บวกการมอบความรักให้กับคนที่เราคิดว่ารักนั้นเป็น ประสบการณ์ที่เราโอกาสน้อยนักที่จะได้เรียนรู้และเก็บเอาประสบการณ์ความรักด้านลบนี้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชี วิตต่อไป หรือเพื่อที่จะมีความสัมพันธ์กับบุคคลต่อไปและเป็นทางเลือกในการตัดสินใจที่จะสานสัมพันธ์ความรู้สึกกับ บุคคลนั้นให้ดำ�เนินไปอย่างราบรื่น หนึ่งประโยคที่ผู้เขียนมีโอกาสได้เห็นในเฟซบุคแฟนเพจที่มีชื่อว่า Me & sometimes others ซึ่งดูแลเพจโดย คุณจิตรปรีดา วงศ์คำ�ปัน เป็น เพจที่รวบรวมวลีมากมาย(ภาษาที่เล่าเรื่องผ่านภาพ) ที่อยู่บนพื้นฐานความ เป็นจริงเพราะวลีเหล่านั้นเกิดขึ้นจริงในหลายบุคคล ส่วนมากแล้วเป็นวลี เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งความรั ก และยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น วลี ต่ า งๆก็ ไ ม่ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง ความรั ก ด้านบวกไปซะทั้งหมด มีทั้งผิดหวังในความรัก ความทรงจำ� แอบรัก ตล อดจนการเลิกลาเป็นต้น ซึ่งหนึ่งประโยคที่ผู้เขียนเห็นว่าสามรถสนับสนุน แนวคิดได้หลายแนวคิดคือ ทุกความสัมพันธ์มีระยะเวลาในการดำ�รงอยู่ เป็ น วลี ที่ ก ล่ า วถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ด้ า นความรั ก ในทั้ ง ด้ า นลบและด้ า นบวก วลีดัง กล่ าวก็ ไ ม่ ไ ด้ แ สดงให้ เห็ น ว่ าความรั กเป็ น ความรู้ สึ กที่ เลวร้ ายหรื อ ดี แต่ความรักเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นและดำ�เนินไปตามหน้าที่ของความ รู้สึกที่ควรจะเป็นระหว่างบุคคลนั้นๆและเมื่อถึงจุดจุดหนึ่ง เวลาจะตัดสิน ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวควรที่จะยุติลงหรือดำ�เนินต่อไปเพื่อพิสูจน์ความ รู้สึกที่ส่งมอบให้ต่อกัน ซึ่งอาจจะวัดจากความเข้ากันทางด้านพื้อนฐานทาง ทุกความสัมพันธ์มีระยะเวลาในการดำ�รงอยู่ : จิตรปรีดา สังคมของทั้งสองฝ่ายก็เป็นได้ มีอีกหนึ่งปรัชญาความรักของกวีท่านหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามีแนวคิดส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของสิ่งที่เกิดตามมา หลังจากที่เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ต่างเข้าใจตรงกันแล้วว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นและเข้าใจตรงกันนั้นเป็นความ รักคือปรัชญาเกี่ยวกับความรักของ วิลเลียม เช็กสเปียร์ ดังนี้ 1.หากไม่รักตัวเองแล้วไซร้ ไฉนเลยจะรักใครอื่นได้ 2.การแต่งงานเป็นการยุติวัยหนุ่มสาวและเป็นการเริ่มต้นชีวิต 3.ความรักอ่อนหวานกระนั้นหรือความรักนั้นโหดร้าย เผด็จการป่าเถื่อนและทิ่มแทงราวหนามแหลมต่างหากเล่า 4.รักแท้ไม่อาจเป็นดั่งเส้นทางที่ราบเรียบ 5.จุมพิตเป็นบทกวีของชีวิตรัก 6.ค่ำ�คืนแห่งรักยังมีอาทิตย์เที่ยงวัน 7.หากบอกว่ารักไม่จำ�เป็นต้องมีเหตุผลถ้าเช่นนั้นแค้นก็ไม่จำ�เป็นต้องมีสาเหตุ
8.น้ำ�ตาลหากหวานล้ำ�อาจทำ�ให้ลิ้นชา รักที่ไม่รุ่มร้อนเกินไปจึงจะคงอยู่ได้เนิ่นนาน รักที่เร็วหรือช้าไปอาจไม่พบกับความ พึงใจ 9.ความเศร้าเป็นประจักษ์พยานของความรัก หว่าความเศร้าที่ลึกล้ำ�เกินไปอาจเป็นพยานที่ไร้สติ 10.รักสามเส้าหรือหลายรักเป็นสัญญาณอันตรายผู้หญิงอาจทำ�ให้คนหนึ่งสุขและทำ�ให้อีกคนหนึ่งทุกข์ในขณะเดียวกัน ศาสตร์ ม ากมายพยายามจะให้ ค วามหมายของความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งบุ ค คลในรู ป แบบของความรู้ สึ ก ที่ เ รี ย ก ว่าความรัก บ้างก็บอกว่าความรักไม่ใช่เพียงความรู้สึกแต่ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอื่นด้วย แนวคิดมากมายของ ศาสตร์ต่างๆที่พยายามจะแสดงให้เห็นความจรองของความสัมพันธ์นี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วประสบการณ์ตรงของบุคคลเป็น ความจริงที่อาจจะไม่จำ�เป็นต้องใช้หลักการใดๆเลย หากเพียงแต่บางประสบการณืที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นกลับตรงกับ แนวคิดมากมายที่แต่ละศาสตร์ หรือนักวิชาการ นักจิตวิทยา ปรัชญา ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์ ที่ก่อนหน้าพยายามจะเส นอแนวคิดแนวคิดศาสตร์ที่มีจนหาความตายตัวของความสัมพันธ์ที่เรียกว่าความรักไม่ได้ ถึงแม้ว่าธรรมชาติหรือสาระของความรักจะยังเป็นหัวข้อการโต้เถียงกันอย่างบ่อยครั้ง มุมมองที่แตกต่างกันของ ความรักสามารถทำ�ให้เข้าใจได้ด้วยการพิจารณาว่าสิ่งใดไม่ใช่ความรัก หากความรักเป็นการแสดงออกทั่วไปของความ รู้สึกทางใจในแง่บวกที่รุนแรงกว่าความชอบ โดยทั่วไปแล้วจะขัดแย้งกับความเกลียดชัง (หรือภาวะไร้อารมณ์แบบเป็นก ลาง) หากความรักมีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยกว่าและเป็นรูปแบบความผูกพันทางอารมณ์แบบโรแมนติกที่เกี่ยวกับ ความสนิทสนมทางอารมณ์และทางเพศ โดยทั่วไปแล้วจะขัดแย้งกับราคะ และหากความรักเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลที่มีโรแมนติกสอดแทรกอยู่มาก ความรักก็จะขัดแย้งกับมิตรภาพในบางครั้ง ถึงแม้ว่าความรักมักจะใช้หมายถึง มิตรภาพแบบใกล้ชิดอยู่บ่อย ๆ หากกล่าวถึงแบบนามธรรม โดยปกติแล้วความรักจะหมายถึงความรักระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ บุคคลหนึ่งรู้สึกกับอีกบุคคลหนึ่ง บ่อยครั้งที่ความรักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเอื้ออาทรหรือคิดว่าตนเองเหมือนกับบุคคล หรือสิ่งอื่น ซึ่งอาจรวมไปถึงตัวบุคคลนั้นเองด้วย นอกเหนือไปจากความแตกต่างในแต่ละวัฒนธรรมในการเข้าใจความ รักแล้ว แนวคิดเกี่ยวกับความรักยังได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลเมื่อเวลาผ่านไป นักประวัติศาสตร์บางคนเปรียบ เทียบแนวคิดสมัยใหม่ของความรักแบบโรแมนติกกับความรักแบบเทิดทูนในยุโรประหว่างหรือหลังยุคกลาง ถึงแม้ว่าการ มีอยู่ของความผูกพันแบบโรแมนติกจะปรากฏในบทกลอนรักในสมัยโบราณแล้วก็ตาม ความรักที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่ว่ากันว่ามีหลายรูปแบบนั้นเป็นแนวคิดที่ไม่ใช่เพียงแค่แนวคิดเท่านั้น แต่หาก มองในโลกของความเป็นจริง รูปแบบหรือระดับของความรักที่มีการพยายามจำ�แนกขึ้นมานั้น ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีสาม เหลี่ยยมแห่งความรักของโรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก ระดับของความรักสามระดับของแม็กซ์ ชีเลอร์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันกับ การแบ่งความรักออกเป็นสามแบบตามคำ�สามคำ�ในปรัชญากรีกที่มีเรียกความรัก จะเห็นได้ว่าทั้งสามแนวคิดมีความ คล้ายคลึงกันโดยมีความรักอยู่สามระดับ แสดงให้เห็นว่าต่อให้จะมีแนวคิดอยู่อย่างมากมายเพียงใด ความรักก็คือความ รัก ก่อนจะเกิดเป็นความรักก็ต้องผ่านความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นก่อนเสมอ สิ่งที่จะสามรถอ้างอิงความหมายของความ รักให้เป็นความจริงได้นั้นผู้เขียนเห็นว่าต้องเกิดจากประสบการณ์ตรง การได้ข้ามผ่านหรืออยู่ ณ ในความสัมพันธ์ที่เรียก ว่าความรัก จึงจะสามารถอธิบายความรู้สึกนั้นได้ดีและจริงที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็ตามแนวคิดต่างๆก็มักกลับจะเกิดขึ้น จริงกับบุคคลอยู่เสมอ อยู่ที่ว่าเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง