ปรัชญาภาษา

Page 1

ปรัชญาภาษา เนตรชนก สายคง

ภาษาเป็นสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ หากแต่เราก็ยังมีการจำเจกับภาษา จึงทำให้เรา รู้สึกว่าภาษาเป็นสิ่งธรรมดา ถ้าพูดถึงความพิเศษแล้วก็อดไม่ได้ที่จะกล่าวถึงนักปรัชญาท่านหนึ่งที่ได้มีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการให้ ความหมาย จะเป็นใครไปไม่ได้ ลุดวิก วิตเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstien) แนวคิดของเขามีลักษณะที่แตกต่างเป็นพิเศษไปจาก นักปรัชญาท่านอื่นๆ นั่นก็คือ จัดแบ่งความคิดออกเป็น 2 ช่วง คือ 1.ความคิดในช่วงแรก (Early Wittgenstein) 2.ความคิดในช่วงหลัง (Late Wittgenstein) เนื่องจากความคิดทั้ง สองช่วงดังกล่าว มีท่าทีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาษาและความจริงที่แตกต่างกันในระดับหนึ่งที่มี นัยยะสำคัญ จากการศึกษาของเขาเองนั้นทำให้วิตเกนสไตน์ปฏิเสธความคิดในเรื่องภาษาส่วนตัว (private language) หรือปฏิเสธ ว่าความหมายของภาษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายในจิตใจของมนุษย์ เพราะหากเป็นเช่นนั้นภาษาจะไม่สามารถทำหน้าที่ในการสื่อสาร ระหว่างมนุษย์ได้ทั้งหมด คำๆหนึ่งจะมีความหมายก็ต่อเมื่อมันอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ความหมายร่วมกับผู้อื่นได้ ภาษาจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น จากการรับรู้สิ่งภายนอกมากกว่าที่จะเป็นสิ่งที่อยู่ภายใน เขาได้ยกตัวอย่างการเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาเรียกสิ่งต่างๆของเด็กทารกว่า เป็นสิ่ง ที่เกิดขึ้นจากการที่เด็กได้ยินหรือสังเกตคนอื่นๆที่แวดล้อมเรียกสิ่งๆนั้น จะบอกว่าความหมายของภาษาที่มีลักษณะเฉพาะตัวจึงเป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งที่จะต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่ภายนอกหรืออยู่ในลักษณะที่เป็นสาธารณะมากกว่าการเป็นสิ่งที่ กำหนดขึ้นจากภายในเหมือนกับลักษณะของภาษาส่วนตัว ในแนวคิดเรื่องความคล้ายคลึงเชิงครอบครัวและการปฏิเสธภาษาส่วนตัวของวิตเกนสไตน์อาจส่งผลต่อความคิดใน เรื่องความจริงที่มีลักษณะเป็นสิ่งสากล หรือการกำหนดและนิยามความหมายที่แน่นอนให้กับสิ่งต่างๆอย่างแน่นอนตายตัว การกล่าวถึง สิ่งสากลเป็นเพียงการกล่าวถึงสิ่งที่มีการกำหนดขึ้นร่วมกันในการเรียกสิ่งๆหนึ่ง หรือเป็นเพียงความคล้ายคลึงกันในลักษณะหนึ่งๆ เท่านั้น สิ่งที่เป็นความจริงโดยไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นหรือบริบทใดๆ เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ดังนั้นการให้หลักการกับความเชื่อ (justified belief) ที่หมายถึงการหามาตรฐานที่มีความแน่นอนให้กับความเชื่อต่างๆจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ด้วยเช่นกัน ดังที่เขากล่าวถึงไว้ใน “On certainty” ว่า “ความเชื่อไม่มีพื้นฐาน หรือหากมีก็เป็นเพียงพื้นฐานที่ผิดเท่านั้น” จากประโยคดังกล่าวกำลังจะบอกว่าความ หมายของคำแต่ละคำเป็นเพียงความหมายที่ขึ้นอยู่กับบริบทหนึ่งๆเท่านั้น บ่อยครั้งที่ผู้เขียนเองก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการให้ความ หมายกับของบางสิ่งบางอย่างเช่นกัน ขณะเดียวกันกับที่มีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับการให้ความหมายหรือการนิยามให้กับบางสิ่งบาง อย่าง และได้รู้จักกับ ความหมายจมและความหมายลอย อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกันนักก็ไม่แปลกเพราะก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะศึกษาก็ไม่ เคยแม้แต่จะผ่านตาเลยเช่นกัน คำพูดที่เราใช้พูดกันส่วนใหญ่จะไม่มีความหมายตายตัว แต่จะมีความหมายตามที่ยอมรับกันเท่านั้นใน สังคม ยกตัวอย่างเช่น ความยุติธรรม ซึ่งน้อยคนนักที่จะทราบว่าความยุติธรรมในความหมายของฝ่ายสังคมนิยม ฝ่ายทุนนิยม และฝ่าย เป็นกลางมีความหมายไม่เหมือนกัน ซึ่งผู้ที่พยายามทำให้คำเหล่านี้มีความหมายเดียวกันในทุกสถานที่ทุกโอกาส ย่อมได้ชื่อว่า จมความ หมาย (the faxte the meaining) และคำที่ถูกอุปโลกให้มีความหมายเดียวกันทั้งๆที่เป็นไปไม่ได้ คำเหล่านั้นเรียกว่าคำจมนั่นเอง ผู้ อ่านที่ทราบความจริงนี้แล้วอาจจะต้องระวังในการถกเถียงปัญหากันกับเพื่อนมากขึ้น เพราะถ้าหากประสบการณ์ของคู่สนทนาไม่ตรง กับเราอีกฝ่ายก็ย่อมเข้าใจไม่เหมือนเราอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าจะพยายามหาข้อถูกต้องเท่าไหร่หรือพยายามทำให้คำนั้นจมลงมากแค่ ไหนก็ยิ่งกลับกลายเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเกิด แต่ถึงอย่างไรก็ตามถึงแม้เราพูดให้คำนั้นมีความหมายที่ลอยไปตามยถากรรมไม่มีอะไรยึด เหนี่ยวอยู่กับที่เลย ผลเสียก็จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นในทางศาสนาจึงได้มีการแยกภาษาคนกับภาษาธรรมโดยพระพุทธทาสภิกขุ ซึ่งมี อยู่ 4 ระดับคือ 1.ระดับผิวพื้น 2.ระดับลึก 3.ระดับลึกที่สุด 4.ระดับลึกกว่า ความขัดแย้งหรือปัญหาที่เกิดขึ้นมาก็เกิดจากความไม่ระมัดระวังในการพูดจาหรือใช้คำของเราเองซะมากกว่า กิลเบิร์ต ไรล์ (Gilbert Ryle) ผู้เป็นกระบอกเสียงของภาษาฑรรรมกล่าวว่า คำแต่ละคำมีตรรกวิทยาของมันหากเรารู้จักคุณค่าเราก็จะใช้มัน อย่างมีประโยชน์ จะใช้มันเป็นเครื่องมือค้นคว้าและสื่อความหมายอันสุขุมลึกซึ้งขนาดไหนก็ได้ แต่ภาษาที่ไม่สื่อถึงอะไรเลยเป็นภาษาที่ ไร้ความหมาย ซึ่งก็ไม่มีอะไรดีไปกว่าความเงียบที่ไร้สาระ เพราะฉะนั้นการที่แต่ละคนจะตีความหมายหรือเข้าใจตรงกันภาษาทุกภาษา ต้องบอกเราว่าใครทำอะไร ดังนั้นโครงสร้างทางภาษาของทุกภาษาจึงเหมือนกันในแง่ที่ต้องมี ประธาน + กิริยา + กรรม แต่ถึงแม้ว่าจะ มีโครงสร้างภาษาที่เป็นสิ่งยืนยันความหมายหรือทำให้เข้าใจถึงความหมายอย่างไรก็ตามก็ยังเกิดคำถามต่างๆเกี่ยวกับความหมายที่แท้ จริงอยู่เสมอ


ภาษาอย่างไรไร้ความหมายซึ่งดูผิวเผินก็เหมือนว่าไม่มีอะไรแต่ถ้าหากพิจารณาให้ลึกซึ้งเข้าไปอีหน่อนยก็จะเห็น ว่าไม่ใช่ เรื่องง่าย ซึ่งนักปรัชญาที่สำคัญระดับโลกก็ได้พยายามขบคิดเรื่องนี้มาแล้ว แต่ก็ไม่สามารถหาข้อยุติได้ จะว่าเป็นปัญหาใหม่ก็ไม่ผิด เพราะตั้งแต่โบราณนักปรัชณสนใจหามาตรการแยกความจริงและความเท็จโดยถือข้อความทุกข้อความมีความหมายในตัวไม่อย่างใดก็ อย่างหนึ่งเสมอ และพึ่งศตวรรษนี่้เองที่นักปรัชญาเริ่มมองเห็นว่าข้อความบางข้อความ แม้จะถูกต้องตามหลักภาษาทุกอย่างก็อาจไร้ ความหมายได้ คาร์ล พ๊อปเปอร์ (Karl Popper) ให้ข้อสังเกตว่า หากต้องพิสูจน์ได้ว่าจริงก็คงจะหาข้อความที่มีความหมายได้ยาก สังเกตได้จากกฏหลายกฏในวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ กฏแรงโน้มถ่วง หรือกฏของปีทากอรัส เป็นต้น กฏทั้งสองที่กล่าวมานั้นก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริง และเช่นกันก็ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเท็จ แต่ในเมื่อใช้ได้อย่างมีประโยชน์ก็ใช้กันอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะมีใครพิสูจน์ได้ว่าเท็จ พ๊อปเปอร์จึงถือมาตรการที่อ่อนลงมาสำรวจตัดสินว่า ข้อความใดมีความหมายหรือไม่ ถึงอย่างไรก็ ตามพ๊อปเปอร์ก็จำกัดขอบเขตของการพิสูจน์ลงเหลือแค่การพิสูจน์ด้วยวิธีการของวิทยาศาสตร์เท่านั้น นอกเหนือจากนั้นพ๊อปเปอร์ไม่ ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์และไม่รับรู้ ด้วยวิธีการจำกัดขอบเขตให้อ่อนลงเรื่อยๆ จนมาถึง ไรเค็นบัค ที่เสนอมาตรการที่อ่อนลงมาจากพ๊อป เปอร์เหลือเพียง 3 ประเภท คือ 1.การพิสูจน์ทางตรรกะ 2.การพิสูจน?ได้ทางกายภาพ 3.การพิสูจน์ได้ทางเทคนิค ไรเค็นบัคจึง ถือว่าข้อความที่มีความหมายนั้นหากมีการพิสูจน์ได้ด้วยเทคนิคจะดีมาก หากไม่ได้ก็ให้พิสูจน์ทางตรรกะ หรือทางกายภาพ นั่นคือไม่ อาจพิสูจน์ได้ว่าเท็จ ทฤษฎีที่กล่าวมาทั้งของไรเค็นบัค เรียกว่า ทฤษฎีพิสูจน์ ซึ่งแตกต่างจากลัทธิปริการนิยมที่ยึดเอาทฤษทางด้าน จิตวิทยามาใช้ในการพิสูจน์ความจริง ลัทธิปริการนิยมถือว่าภาษาจะมีความหมายก็ต่ิเมื่อมีการก่อกระบวนการทางจิตวิทยา และ กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นในตัวผู้สื่อภาษาหรือตัวผู้รับภาษา ส่​่วนตัวผู้เขียนมีความคิดเห็นว่ามาตรการของลัทธิปริการนิยมใช้ได้ใน วงจำกัดมาก เพราะมีความฟมายหลายเรื่องที่เราไม่อาจรู้กระบวนการได้ว่าจิตทำงานอย่างไร เพราะสังเกตไม่ได้จึงวัดผลไม่ได้ หรือวัดไม่ ได้ก็ตาม เช่น คำว่า อนันต์ กระบวนการทางจิตวิทยาไม่สามารถเข้าถึงหรือไปถึงอนันต์ได้ อย่างมากก็ได้แค่ไม่รู้จบ คือต่อออกไปเรื่อยๆ แต่ไม่รู้อยู่ดรว่าต่อไปถึงไหน และไม่รู้จบอยู่ตรงไหน จากสองลัทธิที่ผู้เขียนได้หยิบยกมากล่าวนั้นล้วนแต่ลำเอีบง คือ ให้ภาษามีความ หมายตามที่ฝ่ายตนต้องการเท่านั้น หากไม่ได้ต้องการอะไรก็ตัดปัฯกาโดยการระบุว่าไร้ความหมาย ในหนังสือกล่าวถึงนักประนีประนอม ซึ่งหมายถึงตัวเราที่ถือว่าความหมายที่เราไม่ผู้ชอบ แตามีผู้ชอบ เราก็ยอมถือว่ามีความหมาย การตัดสินใจเป็นประสบการณ์ที่ทุกคนเมื่อมีอายุรู้ความแล้วเคยประสบมาด้วยตัวเอง แต่ฝ่ายสาสารนิยม(ไม่เชื่อว่ามีจิต) ชี้แจง ว่าการตัดสินใจคือการตอบสนองสิ่งเร้านั่นเอง ใจเราก็เหมือนเหล็กที่ถูกแม่เหล็กดูด สิ่งเร้าไปทางไหนก็ไปทางนั้น หากมีการเร้าไปใน หลายทิศทางในเวลาเดียวกัน ทิศทางใดที่เร้าแรงกว่าก็โน้มไปทางนั้น ซึ่งเรียกว่าการตัดสินใจ คำสอนเช่นนนี้มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่าลัทธิ นิยตินิยม คือการตัดสินใจของมนุษย์ถูกกำหนดตายตัวโดยสิ่งแวดล้อมเสมอ และด้วยบริบทหรือสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลอยู่เรื่อย นั้นทำให้การตัดสินใจต้องใช้วิจารณญาณเข้ามาเสริมต่อการตัดสินใจเช่นกัน ในยุคที่คานท์ทำลายการยึดมั่นถือมั่นเชื่อในเหตุผลของ มนุษย์ ทำให้มนุษย์ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว ขาดความเชื่อมั่น ความรู้ ทำให้คนในโลกมีอาการป่วยทางใจกันมาก และนับวันก็มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยปัญหานี้ได้มีผู้เสนอปรัชญาขึ้นหลายแนวเป็นหลักยึดเหนี่ยวแทนศาสนา จริงอยู่ว่าเรามีศาสดาสำคัญของโลกอยู่หลายท่าน แต่ก็ยัง รู้สึกได้ว่าเราอยู่ในแสงสลัวของโลก เพราะขนาดคำสอนของท่านเองเรายังตีความหมายกันไม่ได้ชัดเจน มีทั้งที่ตรงกันและไม่ตรงกัน วิธีที่ ดีที่สุดสำหรับเราคือการประนีประนอม การประนีประนอมไม่ใช่การแบ่งรับแบ่งสู้ วิธีการเหลบ่านี้แก้ปัญหาได้เฉพาะหน้า วิธีการเหล่านี้แก้ปัญหาได้ดฉพาะชีวีวิต ชั่วคราวเท่านั้น การที่จะแก้ปัญหาระยะยาวได้ต้องเกิดจากการประนีประนอม นั่นคือการพยายามเข้าถึงจิตใจของกันและกัน หรือวลีที่ เราต่างคุ้นหูกัดีคือ ใจเขาใจเรา เพื่อการหาจุดสนใจร่วมกันการเคารพจุดยืนของกันและกัน ทั้งนี้จะสำเร็จได้ ทั้งนี้จะสำเร็จได้ก็โดยความ เข้าใจความตื้นลึกหนาบางของภาษาด้วยการศึกษาปรัชญา แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดการประนีประนอมที่ถูกต้องไหนที่จะมีความถูกต้อง ไปมากกว่าการเข้าใจมนุษย์ซึ่งกันและกัน (mutual understanding)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.