เนตรชนก สายคง 540310264
GTH GTH เป็นชื่อที่ใครๆต่างรู้จักและเรียกกัน แต่น้อยคนนักจะ ทราบชื่อเต็มของตัวย่อนี้แม้แต่ตัวผู้เขียนเอง ซึ่งจริงๆแล้ว อักษรสามตัวที่ว่านั้นย่อมาจาก จีเอ็มเอ็มไทยฮับ เราจะรู้กันดี อยู่แล้วว่าเป็นค่ายหนังที่ผลิตหนังวัยรุ่นให้เราเราได้ชมนั่นเอง GTH เป็นค่ายหนังในเครือ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ มุ่งเน้นที่จะสร้าง ภาพยนตร์ไทยอย่างครบวงจร โดยยึดหลัก 3 ประการ คือ “สดใส คุณภาพและจริงใจ” และแน่นอนว่าเจ้าค่าย GTH นั้น วางเป้าหมายใหญ่ตามตัวแน่ๆคือวางเป้าหมายผลิตหนังไทย ใน “กระแสหลัก” และยังหวังต่อไปอีกว่าหนังที่ผลิตขึ้นมานั้น จะเป็นที่พึงพอใจให้กับมวลชน
GTH 2012
ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีใครทราบว่าGTHเข้ามามีบทบาทกับวงการหนัง ไทยได้อย่างไรตอนไหน?ว่ากันว่าคนไทยเริ่มรู้จักเขาก็เมื่อตอนที่มี การสร้างหนังเรื่อง แฟนฉัน ซื่งเป็นหนังไทยที่มีความสำ�เร็จอย่าง สูง และในเวลาต่อมาไม่ว่าจะสร้างหนังเรื่องไหนออกมาสู่สายตา คนไทยก็ได้รับความนิยมแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ชัตเตอร์ กดติด วิญญาณ,เพื่อนสนิท,Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลง บ่อย, ห้าแพร่ง, รถไฟฟ้า มาหานะเธอ, กวน มึน โฮ, Suck Seed ห่วย ขั้นเทพ ,ลัดดาแลนด์ และ ATM เออรัก เออเร่อ เป็นต้น และไม่มีใคร ปฏิเสธได้ว่าหนังเรื่องต่างๆที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างไปนั้นต้องมีซักเรื่อ งบ้างแน่นอนที่ผู้อ่านเคยดูมาแล้ว ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน
สิ่งที่ทำ�ให้ผู้เขียนสนใจที่จะศึกษาความเป็นมาของค่ายหนังนี้ก็เพราะว่าเป็นค่ายหนังไทยที่ผู้เขียนยอมควัก เงินซื้อตั๋วหนังเพื่อเข้าชมหนังของค่ายนี้หลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแฟนฉัน สี่แพร่ง ห้าแพร่ง รถไฟฟ้า มหานะเธอ เพื่อนสนิท แต่หากจะให้ไล่ชื่อหนังที่ผู้เขียนเคยดูนั้นคงเป็นไปได้ยาก ไม่ใช่ว่าจำ�ไม่ได้แต่อย่าง ใดหากแต่มีหนังหลายเรื่องเหลือเกินที่ผู้เขียนได้ดู และหนึ่งเหตุผลที่ต้องยอมควักเงินซื้อตั๋วเข้าชมหนัง แต่ละครั้งนั้นหลักๆเลยก็คือผู้เขียนมีความสนใจในตัวนักแสดงในแต่ละเรื่องที่ต่างก็ได้รับความนิยมใน ขณะนั้นหรือแม้แต่นักแสดงหน้าใหม่ที่พึ่งมีการเปิดตัวในหนังเรื่องนั้นๆก็ตาม แต่เหตุผลที่มากกว่านั้นคือ ในแต่ละครั้งที่หนังแต่ละเรื่องจะเข้าโรงภาพยนตร์นั้นจะมีการปล่อยตัวอย่างหนังออกมาให้ดูเรียกน้ำ�ย่อย กันเสียก่อน ซึ่งแน่นอนว่าเป็นหนึ่งแรงจูงใจที่ทำ�ให้ใครหลายคนตัดสินใจที่จะซื้อตัวเพื่อเข้าชมอย่างจุใจ ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะผิดหวังบ้างที่หนังไม่เป็นอย่างที่คิด เนื้อเรื่องไม่ถูกใจ ตอนจบไม่ถูกใจบ้าง แต่ถึง อย่างไรก็ตาม ใครๆต่างปฏิเสธไม่ได้ว่าค่ายนี้มีดารานักแสดงที่เข้าขั้นว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่วัยรุ่น ยก ตัวอย่างให้เห็นชัดๆเช่น จิรายุ ละอองมณี (เก้า),วิกรม อัมระนันทน์ (เปอร์), รัชชุ สุระจรัส (ว่าน) จรินทร์พร จุนเกียรติ (เต้ย), ปาณิสรา พิมพ์ปรุ (โอปอล์) เป็ฯต้น แลหากกล่าชื่อนักแสดเหล่านี้ในกลุ่มวัยรุ่น คงมีน้อย คนที่จะไม่รู้จักเลย อย่างน้อยๆก็ต้องได้ยินจากคนใกล้ชิดที่พูดถึงบ้าง
ต้องยอมรับจริงๆว่าดราราในค่ายนี้น่าตาดีเป็นที่นิยมเป็นอย่าง มาก และจากที่สังเกตนั้นส่วนใหญ่แล้วหากดาราคนไหนได้รับ ความนิยมหรือมียอดขายมากก็มักจะมีการนำ�เอาตัวแสดงใน เรื่องที่ได้รับการนิยมมาแสดงในเรื่องต่อไปอีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกได้ ว่าเป็นความประทับใจครั้งแรกในการชื่นชมในการแสดง ผู้ชมที่ มาชมภพยนตร์ส่วนใหญ่เมื่อได้ดูตัวอย่างหนังกันก็เกิดความสน ใจในบางตอนของหนัง ซึ่งทางด้านทีมที่ทำ�หนังเองก็พยามยาม เลือกเอาบางตอนในหนังที่มีความน่าสนใจที่สุดมาตัดตต่อออก มาเป็นteaser trailer เพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจเข้าดูหนัง แต่ละเรื่อง การดึงเอาความงามภายในตัวภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็น ส่วนที่มองเห็นอย่างผิวเผินหรือสัมผัสได้เมื่อมองเห็น การเห็น แล้วเกิดความสุขนั้น เป็นใครก็ย่อมเกิดความสนใจ แม้จะเป็น นักแสดงในสังกัดค่ายหนัง GTH เพียงแค่บางตอนก็ตาม เอาเข้าจริงๆแล้วหากลองมองย้อนกลับไปเมื่อครั้งในอดีต มีการผลิตหนังออกมาอย่างมากมาย ผู้ สร้างหนังมีตุดประสงค์เพื่อสร้างหนังให้คนดูมีความสุข หรือเป็นเพราะว่าเพียงต้องการผลประโยชน์จากการ เข้าชมหนังกันแน่ ลองคิดมองดีๆหนังที่ดังๆนั้นต่างสร้างยอดขายเป็นจำ�นวนนมาก ผู้เขียนยกตัวอย่างให้ เห็นอย่างชัดเจนเลยแล้วกัน อย่างเช่นเรื่องแฟนฉันถ้าหากเราไม่รู้ประวัติที่มาดีๆแล้วอันดับแรกที่สามารถ เข้าใจได้คือหนังเรื่องนี้มีความน่าสนใจในเนื้อหาและตัวนักแสดง หากแต่ยังไม่มองลึกเข้าไปถึงกระบวน การสร้่าง หรือบท มากไปกว่านั้นสิ่งที่ดึงดูดไม่แพ้กันคือนักแสดงที่แทบครึ่งเรื่องเป็นเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องยาก พอสมควรในการควบคุม การทำ�ให้เด็กเหล่านั้นเข้าใจและแสดงออกมาอย่างสมบทบาท เพราะเป็นที่รู้ๆ กันว่าเรื่องแฟนฉันเป็นหนังรัก เพียงแต่เป็นความรักของเด็กๆเท่านั้น ฟังแค่นี้ก็ดูยุ่งยากมากแล้ว แล้วเหตุ ใดผู้สร้างจึงต้องหาเรื่องยุ่งยากใส่ตัวด้วย ทำ�ไมไม่สร้างหนังรักที่ใช้ผู้ใหญ่แสดงซึ่งง่ายต่อการควบคุมอะไร หลายๆอย่าง แต่หากจะสร้างหนังที่มีผู้ใหญ่แสดงก็ต้องมาตัดสินกันที่เนื้อเรื่องอีกแหละ กลับเข้าไปที่เรื่อง แฟนฉันที่ทราบกันดีกับรายได้ที่ล้นหลามและสร้างชื่อให้กับค่าย GTH เป็นอย่างมาก น้อยคนนักจะทราบว่ากว่าจะเป็นบทหนังแต่ละเรื่องของค่ายนี้มีการแก้บทเป็นปีๆ ด้วยแนวความ คิดของการทำ�หนัง ที่ทุกอย่างเริ่มต้นมาจาก “Big Idea” ส่วนสำ�คัญที่จะกลายเป็นบทหนังที่ต้องปรับแก้กัน เป็นปีๆ หากหนังไม่มีไอเดียที่แข็งแรงแล้ว หนังก็อาจไม่ได้สื่อสารอะไรออกมา การมีมุมมอง ความคิด และ ทิศทางที่ชัดเจนก่อนที่จะตัดสินใจกันว่า จะทำ�หรือไม่ทำ� กลับทำ�ให้หนังของของ GTH ค่อนข้างมีความแข็ง แรงในด้านบท อย่าง “แฟนฉัน”
การพิจารณา Big Idea กระทำ�โดยการวางตัวเป็นเพียงคนดูหนังคนหนึ่ง ด้วยแนวความคิดที่ว่า ถ้า เราชอบ ก็น่าจะมีคนดูหนังจำ�นวนหนึ่งที่ชอบด้วย การทำ�หนังที่รู้สึกไม่ชอบ อยู่กับมันไปเป็นปี คงเป็นความ รู้สึกที่ทรมานพิลึกทีเดียว คงไม่อยากตอบคำ�ถามใครเกี่ยวกับหนัง และคงไม่ดีนักถ้าจะตอบใครสักคนว่า “ก็ ไม่ค่อยชอบเหมือนกัน”
การใช้วิจารณญานในการดูหนังแต่ละเรื่องนั้น ว่ากันง่ายๆการดูหนังแต่ละเรื่องเราดูเพื่อความสุข ทางจิตใจ หลังจากดูเสร็จไม่มีใครทราบว่าเราจะรู้สึกอย่างไร จะเข้าถึงอย่างซาบซึ้งหรือบอกได้ว่าหนังนั้น คือหนังดี และอะไรที่ตัดสินว่าหนังนั้นคือหนังที่ดี เอาเป็นว่าผู้เขียนขอยกเอาทฤษฎีเรื่อง วัฒนธรรมทาง สายตา (Visual Culture) สําหรับสังคมไทยแล้วคํา ว่า”วัฒนธรรมทางสายตา” (Visual Culture) ถือเป็นคํา ใหม่และศาสตร์ใหม่ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก แม้ว่าตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยจะเต็มไปด้วย การแพร่กระจายของวัฒนธรรมภาพก็ตาม โดย ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น ทัศนศิลป์ ภาพยนตร์ ทีวี ภาพ โฆษณา ตลอดรวมถึงภาพบนจอคอมพิวเตอร์ และภาพถ่ายจากดาวเทียม ฯลฯ เป็นต้น วัฒนธรรมภาพที่ได้เข้ามาแทนที่ วัฒนธรรมตัวหนังสือ ซึ่งเดิมทีพัฒนามาจากกระบวนวิชา ประวัติศาสตร์ศิลป์ และจากความรู้ในสาขา วิชาดังกล่าวได้ขยับขยายความรู้ไปเชื่อมต่อกับศาสตร์ อื่น อีกมากมายในลักษณะสหวิทยาการ อาทิเช่น วัฒนธรรรมศึกษา ภาษาศาสตร์ การสื่อสาร จิตวิทยา ปรัชญา และสังคมวิทยาร่วมสมัย ฯลฯ ทําให้เรา มองเห็นความสัมพันธ์ในลักษณะเชื่อมโยงระหว่างศิลปะ วัฒนธรรม จิตวิทยา และสังคมมากขึ้น ภาพที่ ผ่านช่องทางสื่อต่างๆซึ่งแพร่หลายอยู่ในสังคม ได้บรรทุก เอาสาร(message)และความหมายที่หลาย หลากมาพร้อมกับมันด้วย อาทิ ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดรวมถึง มายาคติต่างๆ ถ่ายทอดไปถึงผู้ดู ซึ่งการจะ ค้นพบสารต่างๆเหล่านี้ต้องอาศัยหลักสัญศาสตร์ หลักการทาง จิตวิเคราะห์ และวิธีการถอดระหัสภาพ ตัวแทนเหล่านั้น ด้วยการอ่านและวิเคราะห์ภาพอย่างเป็นระบบ ซึ่งในที่นี้ได้ประยุกต์เอาวิธีการทาง ภาษาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดย Ferdinand de Saussure และ C.S. Peirce มาใช้ นอกจากนี้ยังได้นําเอาวิธี การค้นหาความหมายตรงและความหมายแฝง(denotation and connotation)ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย Roland Barthes ตลอดรวมถึงหลักการทางจิตวิเคราะห์ของ Sigmund Freud และ Carl Jung และคนอื่นๆมาใช้ ในการถอดระหัสด้วย เพื่อค้นหาความหมายในระดับที่ลึกลงไป กว่าผิวหน้า ที่แฝงมากับวัฒนธรรมร่วม สมัยซึ่งแวดล้อมพวกเราอยู่ จากผลของการใช้หลักทฤษฎีต่างๆดัง กล่าวข้างต้นในการอ่าน วิเคราะห์ และถอดระหัสภาพ ทําให้เรารับรู้ถึงข้อมูลความหมายของวัฒนธรรมทาง สายตา ที่สื่อสารกับเราใน หลายระดับ และได้พบท่าทีและทัศนคติของผู้ส่งสารที่ไม่ได้บริสุทธิ์อย่างที่เรา เข้าใจ (สมเกียรติ ตั้งนโม, 2550) คนดูหนังพยายามจะแปลสิ่งที่ผู้สร้างพยายามสื่อ อกมาว่าให้เรารู้สึกอย่างไรเมื่อเราดูหนังเรื่องนั้นๆ ดังนั้นแล้วองค์ประกอบต่างๆจึงมีความสำ�คัญเท่า เทียมกันแทบทุกอย่าง อันที่จริงที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ ข้างต้นเกี่ยวกับการใช้หน้าตาในการดึงดูดให้เกิด การตัดสินใจเข้าชมหนังนั้น ตัวนักแสดงเป็นเพียง เครื่องมือในการที่ผู้แต่งบทหรือผู้สร้างหนังต้องการ จะสื่อแก่ผู้ดูเกี่ยวกับความรู้สึกที่คนเขียนบทและ ทีมงานในการสร้างต้องการจะสื่ออกไป นักแสดง มี ห น้ าที่ เป็ น เพี ย งผู้ สื่อ สารระหว่ างผู้ เขี ย นบทกั บ คนดู ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวนักแสดงเองเป็นสัญลักษณ์ให้ แก่หนังเรื่องนั้นๆ จะสังเกตได้ว่าในหนังแต่ละเรื่อง ของค่ายนี้มักใช้นักแสดงซ้ำ�ๆกันเป็นสัญลักษณ์ว่า นี่คือหนังของค่าย GTH จะยกตัวอย่างให้เห็นกัน ชัดๆ ดังภาพทางด้านซ้ายมือของผู้อ่าน
ในสามเรื่องที่ผู้เขียนยกตัวอย่างได้แก่ เป็นสามเรื่องที่มีนักแสดงชุดเดียวกันทั้งสามเรื่อง โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่สร้างชื่อให้แก่นักแสดง และเรื่องต่อๆมาก็มีการนำ�กลับมาแสดงซ้ำ�ในบทบาท ใหม่นั่นก็หหมายความว่าผู้สร้างหนังทราบดีและเล็งเห็นว่านักแสดงมีความสามารถในการสื่อสารกับคนดู ได้เป็นอย่างดี สามรถสร้างความสุขให้แก่คนดูได้ ยิ่งกล่าวถึงยิ่งคุ้นๆกับทฤษฎีหนึ่ง ผู้เขียนขอโยงเข้าเรื่อง Medium-Media เลยก็แล้วกัน ว่ากันว่าเครื่องมือใช้ใน Art History ส่วนสื่อในใน Visible coultur ในทาง ศิลปะนั้นเครื่องมือก็คือสิ่งที่พยายามที่จะถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นได้รับรู้ ยกตัวอย่างเช่นการวาดภาพหนึ่ง ภาพสิ่งที่เป็นเครื่องมือคือสี เพราะสีเป็นสิ่งทำ�ให้เกิดเป็นรูปภาพซึ่งรูปภาพก็สื่อต่อคนดูอีกทีเพื่อให้คนดูได้ รับรู้ ดังนั้นสีจึงเท่ากับเครื่องมือในการทำ�ให้คนดูสามารถรับรู้ความคิดของผู้สร้างงานศิลปะได้ เมื่อเราโยง หลักการของเรื่องเครื่องมือดังที่กล่าวมาเข้าไปในเรื่องของการสร้างหนัง การให้ความหมายของเครื่องมือใน การสร้างหนังของค่าย GTH เครื่องมือที่ทางค่ายใช้เอาแบบหลักๆเลยคือตัวนักแสดงที่มีหน้าตาดึงดูดคนดู เป็นพิเศษ แต่จริงๆแล้วหน้าตาของนักแสดงอาจเป็นความหมายรองในการสื่อความรู้สึกนั้นๆออกมา หน้า ที่หลักๆของนักแสดงคือเป็นเครื่องมือของบทหนังในการสื่อความรู้สึกภายในบทออกมาให้คนดูได้รู้สึกตาม และบทหนังคือเครื่องมือในการสื่อความรู้สึกของผู้สร้างหนังซึ่งอาจจะมาจากประสบการณ์ชีวิตจริงที่ผู้สร้่าง ได้เจอมากับตัวหรือคนใกล้ตัวก็เป็นได้ ผู้เขียนขอแสดงออกมาเป็นแผนภาพเพื่อความเข้าใจอย่างง่ายแก่ผู้ อ่าน
เมื่อซักครู่ผู้เขียนได้เปิดเจอเรื่อง ส.ค.ส. sweety ทางช่องหนึ่งพอดี ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องบังเอิญแต่จริงๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้เขียนเองเคยยอมซื้อตั๋วเพื่อเข้าดูและยอมรับว่าเหตุผลที่ยอมควักกระเป๋าซื้อตั๋วเข้า ดูนั้นเพราะชื่นชอบในนักแสดงจากเรื่องที่ผ่านมา เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักแทบ 100% ทั้งเรื่อง โดยมีเรื่องย่อๆดังนี้ “ เพราะเชื่อว่าทุกคนอยากได้ “สภาวะทิ้งตัว” ทุกคนอยากได้ ใครซักคนที่เรารัก ใครซัก คนที่รักเรา ใครซักคนที่พึ่งพิงได้ และใครซักคนที่เราสามารถทิ้งทั้งตัวและหัวใจไว้กับเค้าได้ เรื่องราวความ รักของคนเหล่านี้ เริ่มต้นขึ้นในคืนวันคริสมาสอีฟ และจบลงในคืนวันวาเลนไทน์ ” “คนบางคนหลงรักแฟนเพื่อน และคนบางคนหลงรักเพื่อนแฟน” “ผู้ชายบางคนเป็นพี่ชายที่น่ารักดี และผู้หญิงบางคนอยากหาพี่ชายดี ๆ มาเป็นคนรัก” “คนบางคนแยกไม่ออกด้วยซ้ำ�ว่าเป็นคู่รักหรือเป็นคู่แข่ง และคนบางคนที่ยอมแพ้เพราะยอมให้” “คนบางคนไม่รู้ว่าหลงรักเพื่อนตัวเอง และคนบางคนไม่รู้ว่าเป็นเพื่อนรักหรือเป็นคนรัก” “คนบางคนต้องการหาใครซักคนบนโลกมาเป็นคนรัก และใครบางคนต้องการเป็นคนถูกรักมากที่สุด ในโลก”
“คนบางคน เมื่อมีความรักที่ดีดันไปทำ�เลว และเมื่อเวลาที่จะทำ� ดี ใคร ๆ ก็ดันเชื่อว่าเดี๋ยวก็จะเลว” หลายครั้งที่เราสรุปว่า นี่คือตอนจบของความรัก แต่เชื่อ เถอะ บางทีมันอาจจะไม่ใช่จุดจบ แต่มันอาจจะเป็นจุดเริ่มต้น ด้วยซ้ำ� จากภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำ�ให้เราเชื่อได้ว่า ความรักจะจบลง เมื่อไหร่ก็ได้ และความรักจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้เช่นกัน คนรัก ของเราอาจจะเป็นคนนี้ก็ได้ เป็นคนใหม่ก็ได้ หรืออาจจะเป็นคน เก่าก็ได้ ความรักเป็นเรื่องที่ไม่ได้สวยงามอย่างเดียว มันมีเรื่องที่ เลวร้ายรวมอยู่ด้วย แต่เมื่อเราเลือกที่จะมีคนรักแล้วล่ะก็ เราควร จะยอมรับทั้งส่วนที่สวยงามและส่วนที่เลวร้ายของคนรักเราด้วย
วลีต่างๆที่กล่าวไปข้างต้นนั้น เป็นวลีเปิดเรื่องทั้งสิ้น ซึ่ง ก็ถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตความรักของหลายๆคู่ หรืออาจ เป็นสิ่งที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นในอนาคตของใครหลายๆคน จนเกิดเป็น แรงดึงดูดให้แก่ผู้ที่รู้สึกว่าเรื่องนี้โดนกับชีวิตจริง มีอยู่หนึ่งในสามแนวคิดของเพลโตซึ่งกล่าวถึงระหว่างสื่อ กับความคิดไว้ว่า สื่อก็คือความคิดและความคิดก็คือสื่อ ฟัง คิด ต้องแยกให้ออกพิจารณาความคิดหรือสิ่งที่ถูกสื่ออกมา เครื่องมือ ต้องแยกกับความคิดไม่ได้เป็นสิ่งที่คู่กันมาตลอดเป็นอะไรที่ถูก สื่ออกมาทางเครื่องมือ ณ ที่นี้ก็คือนักแสดงนั่นเอง ผูรับความคิด จะทำ�หน้าที่บันทึกความคิดจากผู้ส่งแต่ผู้รับอาจเกิดความคิดใหม่ ได้ จากสิ่งที่ผู้ส่งส่งมาให้
ผู้เขียนขอกล่าวถึงแนวคิดของโซเครติสต่อเลยแล้วกัน โซเครติสอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบการใช้สื่อ ว่าเหมือนยา คือ ถ้าสื่อออกไปดีก็คือยาวิเศษ หากสื่อออกไปในทางที่ไม่ดีก็คือยาพิษ ขออธิบายให้เห็นกัน ชัดๆเลยดีกว่า ยาวิเศษ คือทำ�ให้เราสามารถบันทึกสิ่งต่างๆที่เปนประวัติศาสตร์ ยาพิษ คือ ทำ�ให้เราไม่ได้ฝึกฝนความทรงจำ� ทุกอย่างที่เราทำ�เราต้องจดบันทึก ถ้าไม่ได้บันทึกก็ลืม เอาหล่ะ ดูเหมือนว่าเริ่มจะนอกเรื่องเข้าไปทุกที แต่ผู้เขียนก็เห็นว่าสิ่งที่ผู้เขียนพยายามะสื่อแก่ผู้อ่านก็คง เกิดประโยชน์ไม่น้อย เมื่อผุ้อ่านได้ดูหนังของค่าย GTH ก็คงคิดถึงบทความของผู้เขียนบ้าง
ผู้เขียนเพิ่งนึกได้ว่าเมื่อตอนที่ผู้เขียนเคยนำ�หนังเรื่องหนึ่งของค่าย GTH ในการตอบคำ�ถามตอน สอบข้อเขียนเข้าเรียนในสาขาวิชาที่ผู้เขียนศึกษาอยู่ในปัจจุบัน (MediaArts & Design) จำ�ได้คร่าวๆว่า ข้อสอบถามเกี่ยวหนังที่เคยดูแล้วประทับใจแต่ให้วิจาณ์หนังเรื่องนั้น ผู้เขียนได้เลือกเอาเรื่อง สิ่งเล็กๆที่เรียก ว่ารักและที่สำ�คัญเป็นหนังที่มีนักแสดงหน้าตาดีที่ผู้เขียนชื่นชอบเป็นการส่วนตัว ในคำ�ตอบของข้อสอบผู้ เขียนได้กล่าวถึงความรู้สึกของหนังที่ต้องการจะสื่อต่อผู้ดูด้วยเทคนิควิธีการที่ไม่คาดคิดในบางตอนและ การแสดงอย่างสมบทบาทของนักแสดงเอง ใช้ “ทฤษฎีของ Genre” เข้ามาวิจารณ์คือตัวละครหลักใน เรื่องแต่ละตัวมีบุคลิกที่โดดเด่นชัดเจน ตัวละครอยู่ในสถานที่เดียวกัน เรื่องราวเกิดในพื้นที่ที่จำ�กัด และมี เหตุการณ์ที่สร้างความประทับใจได้อย่างรวดเร็ว คือ ตัวละครอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน และอยู่ในเขตพื้นที่ ระแวกเดียวกัน ตัวพระเอกกับนางเอก ก็พบเจอกันตั้งแต่ตอนแรกของเรื่อง ทำ�ให้เนื้อเรื่องดำ�เนินไปอย่าง รวดเร็วและสามารถสร้างความดึงดูดให้แก่ผู้ชมตั้งแต่เริ่มต้นเรื่องให้ติดตามเรื่องราวต่อๆไป
โปสเตอร์ สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รัก
นอกจากนี้ยังใช้”ทฤษฎีการเล่าเรื่อง”เข้ามาวิจารณ์ดังนี้ โครงเรื่อง เป็นแบบ”Minimalism” คือ เน้นความเรียบง่ายในการเล่าเรื่อง ตัว ละครไม่ได้มีชีวิตที่พลิกผลันจนน่าเหลือเชื่อ แต่ยังมีแนวแบบคลา สลิคเพื่อสร้างความพอใจให้กับคนดูได้เป็นอย่างดี โดยตัวละคร ของเรื่องมักมีความขัดแย้งภายในตัวเองมากกว่าความขัดแย้งจาก ภายนอก รวมทั้งมี “การจบเรื่องเป็นแบบเปิด” มีการใช้นักแสดงนำ� ที่โด่งดังมาเป็นจุดดึงดูด มี “การเปิดเรื่องแบบเปิดด้วยฉาก” เพื่อ ให้เห็นสถานที่ของเหตุการณ์ที่กำ�ลังเกิดขึ้นในเรื่อง โดยมีการถ่าย ให้ให้ภาพตึก และบ้านช่องบริเวณที่อยู่ของตัวละคร ในเรื่องของ การพัฒนาเหตุการณ์ มี “การดำ�เนินเรื่องตามลำ�ดับเวลา” คือเล่า ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง “ภาวะวิกฤติ” คือ นางเอกแอบชอบพระเอก แต่เพื่อนพระเอกดันมาชอบนางเอกด้วย ทำ�ให้พระเอกกับนางเอก ไม่กล้าที่จะแสดงความรู้สึกออกมา เพราะพระเอกเคยสัญญากับ เพื่อนไว้ว่าจะไม่รักผู้หญิงคนเดียวกัน
“ภาวะคลี่คลาย” คือ นางเอกปฎิเสธความรักจากเพื่อนพระเอก ทำ�ให้เพื่อนพระเอกยอมตัดความสัมพันธ์ และกลับมาเป็นพี่น้องกันเหมือนเดิม ทำ�ให้พระเอกมีโอกาสในการสานสัมพันธ์ “ภาวะยุติหรือการปิดเรื่อง” คือ พระเอกนางเอกได้เปิดใจ และกล้าที่จะสารภาพความจริงในใจตัวเองออกมามีทั้งความสุขและความ เศร้าไปพร้อมๆกัน ส่วน”ความขัดแย้งของเรื่อง” เป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน คือ หลัง จากที่นางเอกเริ่มสนิทสนมกับพระเอก จึงทำ�ให้นางเอกต้องห่างเหินกับเพื่อนฝูง เพื่อนไม่เข้าใจและเกิด การทะเลาะกัน ส่วน ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับตัวเอง นั้นคือ พระเอกรักนางเอกมากแต่ไม่สามารถ ที่จะบอกรักนางเอกได้ เพราะติดที่ว่ารักคนเดียวกันกับเพื่อนของตัวเอง “ตัวละคร”ในเรื่องมีลักษณะแบบ แบน เพราะตัวละครแต่ละตัวมีบุคลิกที่ชัดเจน ตัวดีก็ดี ตัวร้ายก็ร้าย และตัวละครแต่ละตัวมีการแสดงที่สม บทบาทแสดงออกให้เห็นถึงบุคลิกของมนุษย์จริงๆ อารมณ์และความรู้สึกออกมาอย่างชัดเจน ทำ�ให้ผู้ชม เข้าใจและสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของตัวละครตัวนั้น เช่น นางเอกมีความปราถนามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตัว เองเพื่อให้พระเอกหันมาสนใจ จึงตั้งใจพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างหนัก แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงตัว เองแล้วนั้นเพื่อนพระเอกก็มาขอเป็นแฟน
ด้วยความที่นางเอกรักพระเองมากอยากเข้าใกล้ก็เลยยอมคบกับเพื่อนพระเอกเพื่อที่จะอยู่ใกล้พระเอก ซึ่ง ความปราถนาที่ขัดแย้งของตัวละครแบบนี้ก็ทำ�ให้ “ตัวละครมีมิติ” และทำ�ให้เรื่องน่าติดตาม ภาพยนตร์เรื่อง นี้มี”แก่นเรื่อง”ที่เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ มีการ “มุ่งเสนอเรื่องราวความรัก และความโกรธ” ระหว่างตัว ละครแต่ละตัว โดยผู้ชมทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เช่น ความรักระหว่างนางเอก พระเอก และเพื่อนพระเอก รวมทั้งปัญหามิตรภาพระหว่างนางเอกกับเพื่อนนางเอก ที่ต้องเกิดขึ้นระหว่างความรัก และเนื่องด้วยเป็น เรื่องราวความรักในวัยเรียน รวมทั้งเรื่องราวชีวิตของตัวละครแต่ละตัว ฉากส่วนใหญ่จึงเป็นโรงเรียน บ้าน และชุมชนใกล้เคียง “สัญลักษณ์พิเศษ” ด้านภาพคือ กล้อง เพราะแสดงให้เห็นถึงความฝันที่พระเอกอยาก เป็นช่างภาพ ด้านเสียงคือ เสียงเต้นหัวใจของพระเอก ที่แสดงให้เห็นถึงความตื่นเต้นและความกลัวที่จะ ต้องยิงลูกโทษ เพราะกลัวว่าจะเตะพลาดเหมือนพ่อ “มุมมองในการเล่าเรื่องเป็นบุคคลที่หนึ่ง” นางเอกเป็น คนดำ�เนินเรื่องเองทำ�ให้ผู้ชมรู้สึกใกล้ชิดและความรู้สึกของตัวละครที่ต้องเผชิญปัญหาไปพร้อมๆกับตัว ละคร ผู้เขียนเห็นว่าภาพยนตร์สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก “มีความน่าสนใจทั้งในด้านเนื้อหา เรื่องราว และเพลง ประกอบ” โดยเนื้อหาของเรื่อง มีความเข้าถึงชีวิตจริงของเด็กวัยรุ่นที่กำ�ลังมีความรัก การดำ�เนินเรื่องเป็น ไปอย่างเข้าใจง่ายและชัดเจน ไม่ติดขัด ด้านนักแสดงสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างสมบทบาท ทำ�ให้ผู้ชมคิดว่าตัวละครนั้นมีอยู่จริง เพลงประกอบมีเนื้อหาและทำ�นองเพลงเข้ากับอารมณ์ของตัวละครใน แต่ละช่วงของเวลานั้นๆ เช่น “ฉากที่พระเอกนำ�สมุดที่เก็บภาพและเรื่องราวของนางเอกไปวางไว้หน้าบ้าน นางเอก แล้วมีการตัดภาพย้อนให้เห็นเรื่องราวความเป็นไปของภาพที่ถ่ายแต่ละรูป พร้อมกับบรรเลงเพลง ประกอบที่ชวนให้ผู้ชมมีความรู้สึกและอารมณ์คล้อยตาม และรับรู้ได้ถึงความรักที่พระเอกมีต่อนางเอก แต่ ไม่สามารถที่จะแสดงออกมาให้นางเอกรับรู้ได้” องค์ประกอบหลายๆอย่างของเรื่องช่วยเสริมให้เรื่องนี้มี ความโดดเด่นมากขึ้น และความสามารถในการถ่ายทำ�ที่มีการตัดสลับเรื่องราวระหว่างเรื่องในปัจจุบันกับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ที่ทำ�ได้อย่างแนบเนียนและเข้าถึงอารมณ์ได้อย่างไม่ขาดตอน ทั้งนี้ทั้งนั้นการกระ ทำ�ของตัวละครในบางครั้ง ยังไม่มีความสมเหตุสมผลกัน เช่น เหตุการณ์ที่นางเอกและเพื่อนทะเลาะกัน ทำ�ให้นางเอกต้องแยกตัวออกมาอยู่คนเดียวทั้งๆที่เพื่อนคนอื่นๆในกลุ่มก็ไม่ได้ทะเลาะด้วย แต่ทำ�ไมเพื่อน ทุกคนถึงต้องแยกตัวตามออกไปด้วย แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะนำ�เสนอเรื่องราวความรักของวัยรุ่น แต่หาก ผู้ชมพิจารณาเนื้อเรื่องให้ดีแล้ว เชื่อได้เลยว่า “เนื้อหาของเรื่องนี้ก็มีความลึกซึ้งไม่แพ้เรื่องราวความรักของ ผู้ใหญ่เลย” สิ่งเหล่านี้มาจากความสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละคร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำ�คัญอย่าง มาก ที่จะ “ทำ�ให้ผู้ชมเชื่อและมีอารมณ์คล้อยตามไปด้วย” จึงไม่แปลกใจเลยว่าภาพยนตร์เรื่องสิ่งเล็กๆที่ เรียกว่ารักนั้น ทำ�ให้ผู้ชมหันมาสนใจวงการภาพยนตร์ไทยมากขึ้น เรียกได้เลยว่าเป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่มี คุณภาพคับแก้ว ที่จะทำ�ให้ใครหลายๆคนชื่นชอบ ด้วยความน่ารักของตัวละคร และเนื้อหาที่มีความซาบซึ้ง กินใจ ดูเหมือนว่าผู้เขียนคงรู้สึกลึกซึ้งกับภาพยนตร์เรื่องนี้พอสมควรจึงทำ�ให้นำ�มากล่าวถึงเยอะแยะไป หมด เพราะโดยภาพรวมผู้เขียนชอบหนังเรื่องนี้ที่ดูเมื่อไหร่ก็ยังรู้สึกถึงสิ่งที่ผู้สร้างต้องการจะสื่ออกมาผ่าน นักแสดงที่มีความโดดเด่นในตัวดึงดูดให้ผู้ดูสนใจ จริงๆแล้วผู้เขียนพยายามยกตัวอย่างหนังของทางค่าย GTH ที่ผู้เขียนเคยดูมาแล้วทั้งนั้น และยิ่งไป กว่านั้นหนังต่างๆที่ยกตัวอย่างมาก็มีการทำ�รายได้ในระดับต้นๆเลยดีเดียว ยิ่งหนังเรื่องไหนที่มีการทำ�ยอด ขายสูงในวันแรกของการเข้าฉายนั้น จะยิ่งทำ�ให้เพิ่มการอยากเข้าชมภาพยนตร์เรื่องนั้นๆก็ยิ่งทำ�ให้ยอด ขายมากยิ่งขึ้น ด้วยข้อสงสัยที่ว่าหนังสนุกจริงเหรอถึงได้มีผู้เข้าชมกันมากขนาดนั้น มีหนังอีกหลายต่หลาย เรื่องที่มีความน่าสนใจในทั้งเนื้อเรื่องและนักแสดง
ขอยกตัวอย่างอีกเรื่องเลยแล้วกัน เป็นการปิดท้ายคือเรื่อง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ เป็นหนังเกี่ยง กับสัมผัสที่มองไม่เห็นที่ผู้เขียนดูกี่ครั้งก็ยังรู้สึกกลัว ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ เป็นเรื่องราวของ ช่างภาพ หนุ่มมาดเซอร์ กับ แฟนสาวของเขา เรื่องเริ่มต้นขึ้น เมื่อทั้งคู่ขับรถชนหญิงสาวคนหนึ่งอย่างแรง แล้วตัดสิน ใจขับหนีไป ไม่นานทั้งคู่ก็ต้องพบกับเหตุการณ์ประหลาด เมื่อของภาพถ่ายของพระเอกนั้นถ่ายติดแสง เงาประหลาดมาด้วย แรกเริ่มเขาก็คิดเพียงว่ามันเป็นแค่รูปเสีย แต่แล้วเขาก็พบว่า มันมีอะไรบางอย่าง มากกว่านั้น คือมีเงาคล้ายกับใบหน้าของผู้หญิงติดมาในรูปด้วย ทั้งคู่เริ่มค้นพบว่า เงาที่ปรากฏในภาพทั้ง หลายนั้น มีบางอย่างที่เชื่อมโยงถึงกัน หนังเรื่องนี้เป็นแนวสยองขวัญใช้เทคนิคสร้างทั้งกราฟฟิค การแต่ง หน้า และแนวคิดมีการหักมุมตอนจบได้อย่างลงตัว ได้น่าสนใจ มีความสมจริง มีการใช้วิทยาศาสตร์ซึ่งมี เค้าโครงมาจากเรื่องจริงในการสร้างภาพยนตร์ ให้คุณค่าทางระดับอารมณ์ ตื่นเต้นไปกับหนัง ลุ้นระทึกว่า จุดจบของหนังเรื่องนี้จะเป็นเช่นไรและได้คุณค่าทางจริยธรรมการทำ�ดี รับผิดชอบทางสังคม รู้ผิดชอบชั่วดี Genre จัดอยู่ในภาพยนตร์ที่จบในเรื่องโดยการที่ค่อยๆเริ่มเรื่องเปิดตัวคือพระเอกทำ�อาชีพเป็นช่างถ่ายภาพ จากนั้นวิญญาณได้เริ่มปรากฏในภาพของเค้าทำ�ตัวเอกเกิดความสงสัยในที่มาของวิญญาณในภาพ จาก นั้นจึงเริ่มสืบค้นหาความจริง จนมาพบว่าต้นเหตุจริงๆนั้นเกิดจากตัวของเค้าเอง เรื่องแนว ClassicleDesign พระเอกทำ�อาชีพ เป็นช่างถ่ายภาพ และวิญญาณได้เริ่มปรากฏใน ภาพของเค้าทำ�ตัวเอกเกิดความสงสัยในที่มาของ วิญญาณในภาพ จากนั้นจึงเริ่มสืบค้นหาความจริง จนมาพบว่าต้นเหตุจริงๆนั้นเกิดจากตัวของเค้าเอง เปิดเรื่องด้วยฉากการกระทำ�ที่น่าสนใจของตัวละคร คือ เพื่อนของตัวเอก ได้ฆ่าตัวตายไปทีละคน ทำ�ให้ ผู้ชมเกิดความสนใจในเหตุการของเรื่องว่าสาเหตุ การตายของเพื่อนเกิดจากอะไร ความขัดแย้ง Conflict ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่เหนือ ธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถหาเหตุผลได้ ความขัดแย้ง หลักของเรื่อง คือ พระเอกรู้สึกเกิดข้อสงสัยในตัว เองกับสิ่งที่เค้าพบเจอ ส่งผลกระทบชีวิตของเค้าใน หลายๆอย่าง ความรัก หน้าที่การงาน คาแรคเตอร์ พระเอก เป็นลักษณะบุคลิคกลม Round Character มีทั้งข้อดีและเสียอยู่ในตัวเอง ข้อดีคือเป็นคนที่มีความอ่อนโยน แต่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงคล้อยตามเพื่อนที่ชวนให้กระทำ�ความ ผิด ตัวละครถูกใส่เข้ามาในเรื่องเพื่ออะไร เช่น เพื่อนของตัวเอกที่ตายไปทีละคน สาเหตุเกิดมาจากความผิด ที่ร่วมกันก่อในอดีตร่วมกับตัวเอก ในการข่มขืนนักศึกษา ที่วิญญาณในเรื่องช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ แก่นของเรื่อง การของโลกในแง่ร้าย เป็นการปิดเรื่องที่สะท้อนความเสื่อมทรามทางสังคมและด้านมืดของ มนุษย์ ซึ่งผลการกระทำ�ของตัวเอกที่ผ่านมานั้นไม่สามารถจะลบล้างความผิดได้ จนแม้กระทั้งตอนจบของ เรื่องดวงวิญญาณก็ยังติดตามเค้าไปตลอด ฉากของเรื่อง ห้องล้างฟิล์มที่มีแสงสีแดงสลัว ในอารมณ์ที่น่าสะ พรึงกลัวเป็นที่ตัวเอกได้มีความหลังกับดวงวิญญาณเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่
ไม่ว่าเรื่องไหนเรื่องไหนก็ดูเหมือนว่าคนดูจะต้องแปลงสารหรือสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่ออกมาทั้ง สิ้น มีหนังอีกมากมายหลายเรื่องที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง แต่ทุกเรื่องต่างมีจุดขายไปในทิศทางเดียวกัน
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง “Dear Galileo หนีตามกาลิเลโอ
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง สายลับจับบ้านเล็ก
โปสเตอร์ภาพยนตร์ห้าแพร่ง
ใบปิดภาพยนตร์ seasonschange เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
ตัวอย่างต่างๆที่ยกมานี้ จะเห็นได้ว่าเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นวัฒนธรรมทางสายตา มันไม่ใช่เป็นเพียง บางส่วนของชีวิตประจำ�วันของคุณเท่านั้น แต่มันเป็นชีวิตประจำ�วันของผู้อ่านทั้งหมดเลยทีเดียว โดยความ เข้าใจเกี่ยวกับการมีอยู่ของภาพทางสายตาใหม่นี้(new visual images) อาจกำ�ลังเป็นที่สับสน สำ�หรับการ สังเกตการณ์วัฒนธรรมทางสายตาในบทความนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องอย่างเดียวกันกับการทำ�ความเข้าใจมัน อันที่ จริง ช่องว่างระหว่างความอุดมสมบูรณ์ของภาพทางสายตาที่มีอยู่ในวัฒนธรรมร่วมสมัย กับ ความสามารถ ในการวิเคราะห์การสังเกตการณ์อันนั้น ได้วางกรอบกำ�หนดทั้งที่เป็นโอกาสและความต้องการสำ�หรับ วัฒนธรรมทางสายตาเป็นขอบเขตในการเขียนบทความ วัฒนธรรมทางสายตาได้ถูกนำ�ไปผูกกับเหตุการณ์ต่างๆทางสายตา (visual events) ที่ซึ่งข้อมูล, ความหมาย, หรือความพอใจ, ได้รับ การค้นหาโดยผู้บริโภค ในการเผชิญหน้ากันกับเทคโนโลยีทาง สายตา(visual technology) ผู้เขียนหมายถึงทุกๆรูปแบบของเครื่องไม้เครื่องมือที่ออกแบบขึ้นมา ไม่ว่าจะใช้เพื่อการดู หรือใช้ เพื่อขยายภาพที่เห็นตามธรรมชาติก็ตาม นับจากจิตรกรรมสีน้ำ�มัน ไปจนกระทั่งถึงโทรทัศน์ และภาพใน เครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ท และสำ�หรับเรื่องของการวิจารณ์นั้น จะคำ�นึงถึงเกี่ยวกับความสำ�คัญของการ สร้างภาพขึ้นมา องค์ประกอบต่างๆทางด้านรูปแบบของภาพยนตร์และเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างคน ดูกับผู้สร้างโดยมีเครื่องมือในการสื่อสารที่เป็นสิ่งเป็นจุดขาย สร้างความเชื่อมั่นในการที่จะสร้างความพึง พอในให้แกคนดู และการทำ�ให้สมบูรณ์ถึงที่สุดของผลงานนั้นโดยการยอมรับทางวัฒนธรรมและวงการ ภาพยนตร์ไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อผู้อ่านได้มีโอกาศดูหนังของค่าย GTH ในเรื่องต่อๆไปนั้นจะฉุกคิดถึงเรื่ิองที่ ผู้เขียนได้กล่าวไปทั้งหมด แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณภาพของหนังขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ผู้สร้างเลือกมาใช้ในกา รสร้างเกิดเป็นรองค์รวมที่สมบูรณ์แบบได้จนสามรถสื่อสารกับคนดูได้อย่างเต็มที่ คนดูเองก็สามรถตัดสินใจ หรือเข้าใจในสิ่งที่สื่ออาจจะจากประสบการณ์ที่เจอหรืออาจจะเป็นการเริ่มต้นจากการดูหนังของค่ายนี้ก็เป็น ไปได้