ท่องพระนคร

Page 1


ทักทาย Magazine เล่มนี้บอกเล่าความเป็นมาเป็นไปของสถานที่ในพระนคร สถานที่

อันเป็นความภาคภูมิใจของเราคนไทย สถานที่แต่ละที่มีประวัติ มีเรื่องราว มีที่มาที่ไปแตกต่างกันขึ้นอยู่กับยุคและสมัย แต่ที่เหล่านี้คือที่เรื่องเล่า คือ เอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่บรรพบุรุษของเราตั้งใจจารึกได้เพื่อ

ส่งต่อให้ลูกหลานไม่ลืมคุณค่าและภูมิในความเป็นไทย

กองบรรณาธิการ

30/03/2557


...Index... 6 HISTORY 14 CULTUTE 16 จิตรกรรมฝาผนัง 20 ความเชื่อ 24 คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย 30 สถานที่ใกล้เคียง - สวนสราญรมย์ - ศาลเจ้าพ่อเสือ - เทวสถาน 38 สุสานหลวง 44 ชุมชนสามแพร่ง 50 EXPLORE 54 เส้นทางการเดินทาง


อนุสาวรีย

์ พระบาทส

มเด็จพระจ

อมเกล้าเจ

้าอยู่หัว รัช

กาลที่ ๔



Hist

วัดราชประดิษฐสถิตม

6 ท่องพระนคร


tory

มหาสีมาราม

เป็นวัดอารามหลวง ซึ่งพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่4)สร้างขึ้นโดยมี เหตุผล ๓ ประการคือ ๑.เหตุผลทีพ่ วกพระบรมราชวังหรือ ข้าราชบริพาน ๒.เหตุผลคือเพื่อที่ตัวท่านเองได้ศึกษาข้อ ปฏิบัติต่างของคณะสงฆ์ธรรมยุติกาย ๓.เหตุผลตามโบราณประเพณีที่ต้องมีวัด สำ�คัญ ๓ วัดคือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวั ด ราชประดิ ษ ฐานสร้ า งขึ้ น เพื่ อ อุ ทิ ศ ให้ กั บ พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย ในการสร้างนั้นวัด ได้ถูกสร้างให้สูงขึ้นโดย ไหกระเทียมที่นำ�มาจาก เมืองจีน หรือเศษกระเบื้องถ้วยชามที่แตกหัก ที่ แ ทนด้ ว ยดิ น และทรายเพราะอาจทำ � ให้ พื้ น ทรุดตัวในภายหลัง ทำ�ให้ใช้ไหเป็นจำ�นวนมาก พระองค์จงึ ต้องใช้วธิ เี รีย่ ไรในพระราชกุศล จาก นั้ น เพื่ อ ป้ อ งกั น การเข้ า ใจผิ ด ว่ า พระองค์ ฝั ง สมบัติจึงเปิดให้ประชาชนได้มาดูการฝังรวม ถึงติดป้ายประกาศ และมีเหตุการณ์ที่ชาว บ้านมักจะเรียกชื่อวัดผิดทำ�ให้พระองค์ทรง ไม่พอพระทัยเป็นอย่างมากจึงประกาศว่า ถ้าเกิดมีผู้ใดเรียกชื่อวัดผิดจะถูกลงโทษ โดยการปรับ ๒ ตำ�ลึงเพื่อนำ�ไปใช้ในการ ถมทราย ในสมัยก่อนที่ตรงนี้เคยเป็น สวนกาแฟมาก่อนในสมัยรัชกาลที่ ๒ เจ้า อาวาสองค์แรกของวัดนีร้ ชั กาลท ๓ ท่าน ทรงเชิญ พระสาสนโสภณ ซึ่งเคยเป็น สามเณรผูส้ อบเปรียญได้ ๙ ประโยครูป แรกแห่งเกาะรัตนโกสินทร์มาประจำ� ท่องพระนคร 7


วัดร

าชบ

8 ท่องพระนคร

พิธส

ถิตม


หาส

ีมาร

ามร

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด เกล้าให้สร้างเป็นวัดอารามหลวงประจำ�รัชกาลของ ท่านซึ่งคำ�ว่าสถิตมหาสีมารามหมายถึงการที่มีเขต เสมาใหญ่ล้อมรอบทั้งวัด แทนที่จะมีแค่เสมา รอบๆพระอุโบสถเท่านั้น ส่วนราชบพิธหมาย ถึงอารามที่พระเจ้าแผ่นดินสร้าง โดยเดิม นัน้ เป็นวังของพระบรมวงศ์เธอหลวงบดิทร ไพศาลโสภณ

าชวร

วิหา

ท่องพระนคร 9


ร รห

พ ณ

ม ัวด

10 ท่องพระนคร

าาร

ร วม

ร า ิวห


วัดมหรรณพารามวรวิหาร เป็นพระอาราม หลวง ทรงโปรดเกล้ า ให้ ส ร้ า งขึ้ น ใน สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยกรมหมื่น อุดมรัตนราพีซึ่งเป็น โอสรถของ รั ช กาลที่ ๓ แต่สร้างเสร็จ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ หลัง จากที่ท่านสิ้นชีพแล้ว

ท่องพระนคร 11


12 ท่องพระนคร


วัดสุทัศน์เทพวรารามวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ มีพระ ราชประสงค์ ที่จะให้ทำ�นุบำ�รุง กรุงรัตนโกสินทร์ ให้เจริญรุ่งเรือง เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงสร้างวัดกลางพระนคร ใกล้เสาชิงช้าใน พ.ศ. ๒๓๕๐ สำ�หรับประดิษฐานพระโต หรือ พระศรีศากยมุนี พระองค์ทรงตัง้ พระทัยจะสร้างให้ ใหญ่เท่าวัดพนัญเชิงทีก่ รุงเก่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา ขึ้นและอัญเชิญพระโต พระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัย มาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยมาไว้ที่วัดนี้ และทรงขนานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” แต่ทรงสร้าง ค้างไว้เพียงรากพระวิหารหลวง ครั้นตั้งพระพุทธรูปไว้ เรียบร้อยก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าให้สร้างต่อ โดยเริ่ม สร้างพระวิหารกับบานประตูกลางจำ�หลักด้วยฝีพระหัตถ์ ค้างอยู่ก็ทรงเสด็จสวรรคต ครั้นถึงสมัยของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก็ทรงสร้าง พระวิหารจนสำ�เร็จ และสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่หมด ทั้งวัด และทรงขนานนามพระพุทธรูปในพระวิหารว่า พระศรีศากยมุนี ส่วนพระพุทธรูปในพระอุโบสถทรง ขนานนามว่า พระตรีโลกเชษฐ และให้พระราชทานนาม วัดว่า วัดสุทัศนเทพวราราม

ท่องพระนคร 13


Culture


วั ฒ นธรรมของคนไทยในยุ ค นั้ น ส่ ว นใหญ่ มี วั ฒ นธรรมทางจิ ต ใจ เป็ น เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ เครื่ อ งยึ ด เหนี่ ย วจิ ต ใจมนุ ษ ย์ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ ญาและมี จิ ต ใจที่ งดงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของ ขนบธรรมเนียมประเพณี สังเกตุได้จากภาพจิตรกรรม ฝาผนัง สถาปัตยกรรม และการสร้างวัดจ�ำนวนมากใน อดีตที่เป็นตัวบงบอกได้อย่างชัดเจน คนไทยเชื่อเรื่อง ของศาสนา บาปบุญ คุณโทษ ผีสาง เทวดา ซึ่งเราจะ เห็นภาพที่เกี่ยวกับศาสนาแทบจะทุกวัดเพื่อเป็นเครื่อง เตือนใจให้คนที่ไปท�ำบุญที่วัดได้เห็นและเกิดเกรงกลัว ต่างบาปไม่กล้าท�ำผิด และอีกสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยคือการบนบานศาล กล่าวขอพรต่อสิ่งศักดิ์ซึ่งยังคงส่งผลมาถึงปัจจุบัน จนมี คนพูดกันว่าคนไทยในสมัยก่อนนั้นเชื่อเรื่องผีมากกว่า เหตุผล ยกตัวอย่างเช่นการเหยียบพื้นประตูคนส่วนมาก ชอบเดินเหยียบท�ำให้พื้นช�ำรุดเสียหายเร็ว

ถ้าแค่หา้ มธรรมดาก็ไม่คอ่ ยมีคนเชือ่ จึงต้องบอกว่าทีป่ ระตู มีธรณีประตูสถิตอยู่ใครเหยียบก็เท่ากับเป็นการลบหลู่ ท่านจึงท�ำให้ไม่มีคนกล้าเหยียบ ต่อมาเกิดการผสมผสานวัฒนธรรมขึ้นเหตุการณ์ เหล่านีเ้ รียกว่าการรับวัฒนธรรมเชิงอารยธรรม อารยธรรม ที่ เข้ า ในประเทศไทยซึ่ ง เกิ ด จากการค้ า ขายระหว่ า ง ประเทศและการอพยพทีอ่ ยูค่ อื อารยธรรมจีนจึงไม่แปลก ทีเ่ ราจะได้เห็นวัดไทยมีรปู ปัน้ ตุก๊ ตาจีนหรือเทวดาทีม่ หี น้า ตาเหมือนคนจีนยืนเฝ้าประตูวัดไทยเป็นจ�ำนวนมาก ใน ยุคต่อมาประเทศไทยได้รับอารยธรรมจากยุโรปมากขึ้น จึงมีคนจ�ำนวนมากที่มีความคิดน�ำวัฒนธรรมที่พัฒนามา จากวัฒนธรรมของยุโรปมาปรับใช้ในประเทศไทย เกิดการ ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมใหม่ทดี่ สู วยสะดุดตา ซึง่ เรา ก็สังเกตุได้จากจิตรกรรม สถาปัตยกรรมของวัดที่เกิดขึ้น ในยุคต่อมา เช่นวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามของรัชกาล ที่ ๕ เป็นต้น ท่องพระนคร 15



จิตรกรรมฝาผนัง อย่างที่เรารู้กันจิตรกรรมไทยนั้นหมายถึง การ เขียนภาพระบายสีอันเป็นลักษณะประจ�ำชาติไทย ส่วน มากนิยมเขียนตามผนังอุโบสถ วิหาร พระปรางค์ เจดีย์ มีบ้างที่ช่างจะเขียนลงบนผ้า กระดาษ กระดาน ไม้ จิตรกรรมไทยนับเป็นวิจิตรศิลป์แขนงหนึ่ง เนื้อเรื่องที่ เขียนส่วนมากจะเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับศาสนา ประวัตศิ าสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ธรรมเนียม ประเพณี การแต่งกาย การแสดงการละเล่นพื้นเมือง ต่าง ๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ดัง นัน้ ภาพจิตรกรรมฝาผนังจึงถือว่าเป็นเครือ่ งมือทีบ่ งบอก เราได้ว่าในแต่ละยุคสมัยนั้นมีการใช้ชีวิต อย่างไรและมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง เพื่อให้ลูกหลานรุ่นต่อๆ ไปได้เรียนรู้และ ภูมิใจกับจิตรกรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ ของชาติและไม่มีชาติใดเหมือน จากการไปเที่ยวชมวัดในพระนคร ครั้งนี้ วัดต่างๆ ล้วนมีความเป็นมาและ ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน และวัดแรกที่ มีชื่อเสียงด้านจิตรกรรมฝาผนังนี้คงหนีไม่ พ้นวัดสุทศั นเทพวราราม วัดประจ�ำรัชกาล ที่ ๘ ภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างในสมัย รัชกาลที่ ๓ เป็นภาพเล่าเรื่อง “ไตรภูมิ กถา และอดีตพระพุทธเจ้า” บานหน้าต่าง ทั้งหมดเป็นไม้จ�ำหลักลาย และเสริมปูน ปั้นงดงามฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๒ และ รัชกาลที่ ๓ ภาพจิตรกรรมในพระวิหารหลวง เป็นจิตรกรรมฝาผนังทีง่ ดงามทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ในกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในมีจิตรกรรม ประดับอยู่โดยตลอดไม่มีส่วนที่ว่าง

เช่น ภาพเรือ่ งพระอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ องค์ ภาพไตรภูมิ โลกยสันฐานและภาพเรือ่ งพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้า โปรดเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนจิตรกรรมที่เสาในภายในวิหารมีทั้งหมด ๘ ต้น และมีจติ รกรรมฝาผนังทัง้ ๔ ด้านเล่าเรือ่ งไตรภูมโิ ลก ยสัณฐาน มีศลิ าจารึกก�ำกับทีโ่ คนเสา ฯลฯ และแน่นอนว่า มีเสาอยูห่ นึง่ ต้นทีท่ กุ คนทีไ่ ปวัดนีจ้ ะต้องตามหาคือ ภาพ เปรต ตนหนึง่ นอนพาดกายและมีพระสงฆ์ยนื พิจารณาอยู่ ซึง่ ภาพนีม้ ชี อื่ เสียงมากในสมัยอดีต เป็นทีเ่ ลือ่ งลือกันของ ผู้ที่ไปที่วัดแห่งนี้ว่าจะต้องไปดู

ท่องพระนคร 17


วัดต่อมาเป็นวัดประจ�ำรัชกาลที่ ๕ คือ วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดที่มีลักษณะพิเศษเพราะ มี ลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายใน ออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก เพดานพระอุโบสถเป็น ลายเครือเถาสีทอง ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเป็นรูป อุณาโลม และมีอกั ษร จ. สลับเหนือซุม้ กลางประตู ภายใน ปั้นเป็นรูปตราแผ่นดินประจ�ำพระองค์ของรัชกาลที่ ๕ โดยจ�ำลองแบบจากตรางาประจ�ำพระองค์ การตกแต่ง ภายในพระอุโบสถและผนังชั้นบนระหว่างเสาคูหาเป็น ภาพพุทธประวัติ ส่วนการให้สีภายในพระอุโบสถงดงาม และปิดทองบางแห่ง

18 ท่องพระนคร

ส่วน พระวิหาร มีรปู ทรงแบบเดียวกับพระอุโบสถ ทัง้ ภายในและภายนอก แตกต่างกันตรงทีบ่ านประตูและ หน้าต่างสลักด้วยไม้เป็นลายเครื่องราช อิสริยาภรณ์ใน ขณะทีพ่ ระอุโบสถเป็นลายประดับมุข นอกจากนีล้ วดลาย ภายในพระวิหารจะมีเฉพาะที่เพดานบัวกั้นผนังชั้นล่าง และชั้น บน และกรอบหน้าต่างเท่านั้น นอกนั้นผนังเป็น สีทองไม่มลี วดลาย ภายในพระวิหาร ผนังด้านบนทาด้วย สีชมพูเขียนลายดอกไม้รว่ ง ตอนล่างท�ำเป็นอุณาโลมสลับ กับอักษร จ บานหน้าต่างด้านในเป็นลายรน�ำ้ พุม่ ข้าวบิณฑ์ พระประธานป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีนามว่าพระ ประทีปวโรทัย


และวัดสุดท้ายวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร วัดประจ�ำรัชกาลที่ ๔ ภายในของพระอุโบสถ นั้น ตรงฝาผนังโดยรอบมีจิตรกรรมฝาผนังด้านบนมีภาพ เทพยดา ดั้นเมฆ ดูแล้วเหมือนก�ำลังเหาะอยู่บนท้องฟ้า ส่วนทางด้านล่างของผนังที่ถูกแบ่งเป็นครึ่งหนึ่งนั้นเป็น ภาพของโลกมนุษย์เหตุการณ์บ้านเมือง การใช้ชีวิตต่างๆ ของในยุคนั้น มีรูปพระราชพิธี ๑๒ เดือน ที่ราชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯ ให้วาดไว้ จิตรกรรมในยุคนีเ้ ริม่ เรียนรูห้ ลักการ ใช้ระยะมากขึน้ คือคนทีอ่ ยูไ่ กลด้านหลังกว่าจะดูเล็กกว่า คนทีอ่ ยูใ่ กล้หรืออยูด่ า้ นหน้า ซึง่ ต่างจากภาพจิตรกรรมใน สมัยก่อนหน้านีท้ ที่ กุ คนในภาพจะมีขนาดทีเ่ ท่าๆ กันหมด ขาดความสมจริง

นอกจากนีย้ งั มีอกี หนึง่ ภาพพิเศษทีเ่ ขียนจิตรกรรม ฝาผนังจ�ำลองเหตุการณ์เป็นพระรูปรัชกาลที่ ๔ ทรงเสด็จ ไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาตามความจริงนั้นพระองค์ เสด็จไปที่ต�ำบลหว้ากอ เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวัน ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ซึ่งพระองค์ทรงค�ำนวน เหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง แต่ว่าในภาพนี้ได้วาดฉากให้ เป็นการทอดพระเนตรที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เพื่อ ความสวยงามของภาพ

ท่องพระนคร 19


เชื่ อ กั น ว่ า ถ้ า ใครมาสั ก การะพระพุ ท ธสิ หั ง คปฏิมากร ทีน่ จี้ ะประสบความส�ำเร็จ และมีแต่ความสงบ สุข เป็นวัด ๑ ใน ๙ แห่งเกาะรัตนโกสินทร์ทตี่ อ้ งมาสักการะ

ความเชื่อ 20 ท่องพระนคร


ด้านความเชื่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวเป็นคนที่มีความรักต่อภรรยาเป็นจ�ำนวนมากท�ำให้ พระองค์สร้างอนุสรณ์สถานเพื่อร�ำลึกถึงภรรยาทั้งหลาย ของพระองค์ท่าน

ท่องพระนคร 21


ความเชือ่ เรือ่ งความศักดิข์ องหลวงพ่อพระร่วงทองค�ำ ซึง่ เป็นศิลปะทีท่ า่ นองค์กรมหมืน่ อุดมรัตนราพีอนั เชิญ มาเพื่อให้รัชกาลที่ ๓ แต่ไม่ทันจึงท�ำเป็นหุ่นจ�ำลองขึ้นมาก่อนหลังจากที่รัชกาลที่ ๓ สวรรคต ก็สามารถน�ำพระร่วง ทองค�ำมาประจ�ำที่วัดได้ 22 ท่องพระนคร


ต�ำนานเปรตวัดสุทัศน์

เปรต เป็นชือ่ เรียกผีหรือมนุษย์ทที่ �ำบาปท�ำกรรม หนักหนาสาหัส เมื่อตายไปแล้วก็จะมาเกิดเป็นเปรตเพื่อ ชดใช้กรรมที่ได้ท�ำไว้เมื่อตอนยังเป็นมนุษย์ เปรตนั้นก็มี หลายประเภทหลายลักษณะด้วยกัน แต่ภาพของเปรต ที่คนส่วนมากจะคิดถึงก็คือต้องตัวสูงเท่าต้นตาล มือเท้า ใหญ่เหมือนใบลาน ปากเท่ารูเข็ม ส่งเสียงร้องหวีดๆ ตอน กลางคืน และมักมาปรากฏตัวให้เห็นตอนกลางดึกเพื่อ ขอส่วนบุญ เป็นความเชื่อตั้งแต่ครั้งต้นกรุง รัตนโกสินทร์เกี่ยวกับเรื่องราวของเปรตแห่งวัด สุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ที่เล่ากัน ว่ า ที่ วั ด แห่ ง นี้ มั ก มี เ ปรตปรากฏกายในเวลา กลางคืนเป็นที่น่ากลัว อย่างยิ่ง ประกอบกับ อหิ ว าตกโรคที่ ร ะบาดจนมี ผู ้ ค นล้ ม ตายเป็ น จ�ำนวนมากในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ จนเผาศพแทบ ไม่ทนั ณ วัดสระเกศ จนมีค�ำกล่าวคล้องจองกัน ว่า “แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์”

ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เรื่องเล่าเปรตวัดสุทัศน์ฯ นั้น มาจาก ภาพวาดบนฝาผนังในอุโบสถ ทีเ่ ป็นรูปเปรตตนหนึง่ ก�ำลัง นอนพาดกายและมีพระสงฆ์ยืนพิจารณาอยู่ ซึ่งภาพนี้ มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่เลื่องลือกันของผู้ที่ไปที่ วัดแห่งนี้ว่าต้องไปดู และสิ่งที่ผู้คนเห็นว่าเป็นเปรตนั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณวัดแห่งนี้มายาวนานบอกว่า แท้ที่ จริงแล้วเป็นเงาของเสาชิงช้าที่อยู่หน้าวัด ในสายหมอก ยามเช้าต่างหาก

ท่องพระนคร 23


I N S I G H T

คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย

นั บ แต่ อ ดี ต พระพุ ท ธศาสนาได้ เข้ า มา เผยแผ่และประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า พันปีแล้ว โดยเข้ามาทัง้ สายอาจริยวาท (มหายาน) และเถรวาท (หินยาน) แต่ในปัจจุบันสายอาจริย วาทนั้นมีผู้นับถือเพียงส่วนน้อยเป็นกลุ่มๆ ไปใน แต่ละแห่ง เช่น คณะสงฆ์จีนนิกาย คณะสงฆ์อนัม นิกาย (พระญวน) เป็นต้น มีเพียงสายเถรวาทที่ ยังคงเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายและนับถือสืบทอด กั น มาในทุ ก ภู มิ ภ าคและยั ง ได้ แ พร่ ห ลายไปใน ต่างประเทศด้วย โดยคณะสงฆ์สายเถรวาทใน ประเทศไทยนั้นแบ่งย่อยเป็น ๒ นิกายด้วยกัน คือ มหานิกาย ซึง่ มีพระสงฆ์อยูจ่ �ำนวน ๘o กว่า% ของ พระสงฆ์ทงั้ หมด ส่วนทีเ่ หลืออีก ๑o กว่า% คือพระ สงฆ์ใน ธรรมยุติกนิกาย คณะสงฆ์มหานิกาย คือ คณะสงฆ์ทนี่ บั ถือ และปฏิบตั สิ บื มาแต่นกิ ายลังกาวงศ์ คือประเทศศรี ลังกา อันเป็นแบบดัง้ เดิม ส่วน คณะสงฆ์ธรรมยุตกิ นิกาย นั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายไว้ว่า “ธรรมยุ ติกนิกาย คือ พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วยสืบสายต่อ กันลงมา” ค�ำว่า “ธรรมยุต” แปลว่า “ผู้ประกอบ ด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติ ตามธรรม” หมายถึง คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่ง แสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรม เป็นวินยั เป็นค�ำสัง่ สอน ของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติในข้อนั้น โดยเว้นข้อ ที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นค�ำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า แม้จะเป็นข้อปฏิบัติที่ประพฤติตาม กันมาแต่ผิดธรรมวินัยก็ตาม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ก�ำเนิดขึ้นจาก การที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แต่ครั้งยังมิได้ทรงครองราชย์ และได้

24 ท่องพระนคร

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระเถรชั้นเดิมแห่งคณะธรรมยุต

ทรงผนวชเป็นภิกษุในคณะสงฆ์มหานิกายอันนับถือมา แต่ดั้งเดิม เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ มีพระนามว่า “วชิรญาโณ” เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุ และได้เสด็จไปทรงศึกษา วิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส ในปัจจุบัน) และวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) จนทรงเข้าใจเจนจบสิ้น ความรูข้ องพระอาจารย์ทจี่ ะสอนได้ เมือ่ ทรงสงสัยไต่ถาม พระอาจารย์ก็มิสามารถตอบได้ ทูลแต่ว่าครูอาจารย์เคย สอนมาอย่างนีเ้ ท่านัน้ เป็นเหตุให้ทรงท้อถอยในวิปสั สนา ธุระ จึงเสด็จกลับมาประทับที่วัดมหาธาตุเพื่อศึกษาด้าน คันถธุระ เพือ่ ให้สามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ดว้ ยพระองค์ เอง ทรงศึกษาด้านภาษาบาลีจนแตกฉาน จนครั้งหนึ่งได้ เข้าแปลพระปริยัติธรรมต่อหน้าพระที่นั่งตามที่พระบาท


สมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงขอให้แปลให้ฟัง จึงทรงแปลพอเฉลิม พระราชศรัทธาเพียง ๕ ประโยค ทัง้ ทีท่ รง ภูมคิ วามรูส้ งู กว่านัน้ พระบาทสมเด็จพระ นัง่ เก ก ๙ ประโยคให้ทรงถือเป็นสมณศักดิ์ เมื่อทรงศึกษาพระไตรปิฎกโดย ละเอียด ก็ทรงพบว่าข้อปฏิบัติทางพระ ธรรมวิ นั ย ของภิ ก ษุ บ างหมู ่ ใ นเวลานั้ น มี ค วามผิ ด พลาดคลาดเคลื่ อ นไปจาก พระธรรมวิ นั ย มาช้ า นานแล้ ว จึ ง สลด พระทัยในการจะทรงเพศบรรพชิตต่อไป ในวันหนึ่งทรงเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ วัด มหาธาตุ ทรงอธิษฐานขอให้ได้พบวงศ์ บรรพชาอุปสมบท ที่บริสุทธิ์สืบเนื่องมา แต่พระพุทธเจ้าแต่ดั้งเดิมภายใน ๗ วัน มิ ฉ ะนั้ น จะทรงเข้ า พระทั ย ว่ า พระพุ ท ธ ศาสนาที่ บ ริ สุ ท ธิ์ สิ้ น แล้ ว ก็ จ ะลาสิ ก ขา เสียจากสมณเพศไปเป็นฆราวาสรักษาศีล ห้าศีลแปด ครั้นผ่านไปได้สักสองสามวัน ก็ทรงได้ยินข่าวจากพระเถระชาวรามัญ รูปหนึ่งชื่อ ซาย พุทธวํโสบวชมาจากเมือง มอญ ได้เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธมุนี และเป็นเจ้า อาวาสวัดบวรมงคล หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า วัดลิง ขบ เป็นผู้ช�ำนาญในพระวินัยปิฎกและประพฤติปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด จึงเสด็จไปทรงศึกษาด้วย พระสุเมธมุนี ได้ทลู อธิบายถึงวัตรปฏิบตั ขิ อง คณะสงฆ์รามัญนิกายสีมา กัลยาณี ทีท่ า่ นได้อปุ สมบทมาให้ทรงทราบอย่างละเอียด ชี้ให้เห็นชัดว่าวงศ์บรรพชาอุปสมบทนี้มีเชื้อสายมาจาก พระอนุรุทธเถระ (เป็นพระอรหัตสาวกในสมัยพุทธกาล ผู้เป็นเลิศด้านทิพยจักษุหรือตาทิพย์) เชื่อมโยงมาจนถึง พระอุปัชฌาย์ของพระสุเมธมุนีได้ ๘๘ ชั่วคนแล้ว ทรง พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตาม พระพุทธพจน์ที่ทรงศึกษา จากพระไตรปิฎก จึงมีพระราชศรัทธาที่จะประพฤติตาม แบบพระมอญ และเนือ่ งจากทรงพิจาณาเห็นว่าอุปสมบท วิธตี ามแบบรามัญน่าจะถูกต้องตามพระพุทธบัญญัตมิ าก

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกัมมัฏฐาน

ที่สุดในเวลานั้น จึงทรงท�ำทัฬหีกรรม คือ ทรงอุปสมบท ซ�้ำในคณะสงฆ์รามัญนิกายสีมากัลยาณีอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดสมอราย โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธวํโส) เป็นพระ อุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ อันเป็นปีที่ทรงผนวชได้ ๒ พรรษา และเสด็จกลับไปประทับอยูท่ วี่ ดั มหาธาตุตามเดิม เมื่อภิกษุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวทรงรับอุปสมบทในคณะสงฆ์รามัญและประทับอยู่ที่ วัดมหาธาตุ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงแก้ไขข้อ วัตรปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ไทย เป็นเหตุให้มีภิกษุอ่ืนเกิด ความเลื่อมใสพากันมาถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อเล่าเรียน พระปริยตั ธิ รรมและประพฤติปฏิบตั ติ ามแนวพระราชด�ำริ ราว ๕-๖ รูป อาทิ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ ท่องพระนคร 25


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

ยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสฺ เทโว) สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นต้น โดยทรงแนะน�ำ ให้ภิกษุเหล่านี้รับอุปสมบทในคณะสงฆ์รามัญเช่นเดียว กับพระองค์ด้วย ต่อมาทรงเห็นว่าการที่จะทรงปฏิบัติ ตามพระธรรมวินยั แต่มคี วามแตกต่างกันในบางประการ กับระเบียบแบบแผนของวัดมหาธาตุ อันเป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระสังฆราชนั้น ดูจะเป็นการไม่เหมาะสม จึง 26 ท่องพระนคร

เสด็จไปประทับอยูท่ วี่ ดั สมอ ราย อันเป็นวัดป่าอยู่นอก ก�ำแพงพระนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ โดยสานุศิษย์บาง ส่วนก็ได้ตามไปอยูด่ ว้ ย บาง ส่วนยังคงอยู่ที่วัดมหาธาตุ บางส่ ว นอยู ่ ที่ วั ด อื่ น แต่ ไ ป ประชุมรวมกันทีว่ ดั สมอราย ก็ มี จึ ง เกิ ด เป็ น คณะสงฆ์ ธรรมยุตขึ้นตั้งแต่นั้นมา เมื่อเสด็จมาประทับวัด สมอราย วั น หนึ่ ง ทรงให้ ขุ ด ลู ก นิ มิ ต อุ โ บสถวั ด สมอ รายขึ้นมาตรวจ ก็ทรงพบ ว่าเป็นสีมาวิบัติ เพราะว่า ลูกนิมิตเล็กไม่ได้ขนาด จึง ทรงให้ แ สวงหาคณะสงฆ์ รามัญนิกายสีมากัลยาณีมา ๑๘ รูป แล้วทรงท�ำทัฬหี กรรม นั้นคืออุปสมบทซ�้ำ อี ก ครั้ ง ในอุ ท กุ ก เขปสี ม า คือ แพกลางน�้ำเจ้าพระยา หน้ า วั ด สมอรายนั้ น เมื่ อ พ.ศ.๒๓๗๓ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ศาสนวงศ์ที่บริสุทธิ์ถูกต้อง จริ ง ๆ พร้ อ มกั น นี้ บ รรดา ศิ ษยานุ ศิษย์ ข องพระองค์ ก็ได้ท�ำทัฬหีกรรมพร้อมกับ พระองค์ ด้วยเช่นกัน เมื่อทรงตั้งส�ำนักอยู่ที่วัดสมอราย ก็มีภิกษุสามเณรมาถวายตัวเป็นศิษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่าย คฤหัสถ์ก็พากันเลื่อมใส พากันไปฟังเทศน์ฟังธรรมมาก ขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งภิกษุ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชา คณะ


วัดประจ�ำรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช “วั ด โพธิ์ ” หรื อ มี น ามทาง ราชการว่า “วัดพระเชตุพน วิ ม ล มั ง ค ล า ร า ม ร า ช วรมหา วิหาร” เป็นพระ อารามหลวงชั้ น เอก ชนิ ด ราชวรมหาวิ ห าร เดิ ม ชื่ อ ว่ า “วั ด โพธาราม” เป็ น วัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎร สร้ า งขึ้ น มาตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง ศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็น วัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตต�ำบลบางกอก ปากน�้ำ เจ้าพระยา เมืองธนบุรี ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัด โพธิ์” มาจนถึงทุกวันนี้ ครั้นมาในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ สมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช หรื อ สมเด็ จ พระเจ้ า กรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นนครหลวง ได้ทรง ก�ำหนดเขตเมืองหลวงทัง้ สองฝัง่ มีแม่นำ�้ เจ้าพระยาอยูใ่ น เขตกลางเมืองหลวง วัดโพธารามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออก ของแม่นำ�้ เจ้าพระยาจึงอยูใ่ นเขตพระมหานคร และได้ยก ขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่ นั้นมา จนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มหาราช

รัชกาลที่ ๑ องค์ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราช จักรีวงศ์ ขึ้นเสวยราชสมบัติ และได้ย้ายเมือง หลวงมายังฝั่งพระนคร มีการสร้างพระบรม มหาราชวังขึ้นมาใหม่ จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดโพธารามที่อยู่ในบริเวณเดียวกันไปด้วยและ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามเป็น วัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง ภายหลังวัด แห่ ง นี้ ไ ด้ ถื อ ว่ า เป็ น พระอารามหลวงประจ�ำ รัชกาลที่ ๑ วั ด ประจ� ำ รั ช กาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย คือ “วัดอรุณ ราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” ห รื อ “ วั ด แจ ้ ง ” วั ด อ รุ ณ ราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็ น พระอารามหลวงชั้ น เอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัด โบราณเก่ า แก่ ส ร้ า งมาตั้ ง แต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทาง ด้านทิศตะวันตกของฝั่งแม่น�้ำ เจ้าพระยา

วั ด ป ร ะ จํ า รั ช ก า ล

ท่องพระนคร 27


วั ด ประจ� ำ รั ช กาลที่ ๔ พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วั ด ราชประดิ ษ ฐ์ ส ถิ ต มหาสี ม ารามราชวรวิ ห าร เป็ น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหารและเป็นวัด ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวงของพระ มหากษัตริย์พระราชประสงค์ในการสร้างวัดราชประ ดิษฐ์ฯ นัน้ ขึน้ ก็เพือ่ อุทศิ ถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุตกิ นิกายโดยเฉพาะ เนือ่ งจากครัง้ ยังทรงผนวชอยู่ มีพระราช ประสงค์จะสร้างวัดธรรมยุติกนิกายขึ้น ใกล้กับพระบรม มหาราชวัง เพือ่ พระองค์และข้าราชบริพาร พระอารามนี้ จึงนับเป็นพระอารามแรกของคณะสงฆ์ธรรมยุต เพราะวัด ธรรมยุตก่อนๆ นั้น ได้ดัดแปลงมาจากวัดมหานิกายเดิม ทั้งนั้น วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงเป็นเสมือนวัดต้นแบบของ คณะธรรมยุตกิ นิกายทีม่ อี ยูใ่ นพุทธอาณาจักรบนแผ่นดิน ไทยนับแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา

28 ท่องพระนคร

วัดประจ�ำรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และวัดประจ�ำรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้น


เอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต ความส�ำคัญ ของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแห่งนี้คือเป็น วัด ประจ�ำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นวัดแห่งเดียวของกรุง รั ต นโกสิ น ทร์ ที่ เ ป็ น วั ด ประจ�ำรั ช กาลของพระ มหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเพื่อวัดประจ�ำรัชกาล ก่อพระฤกษ์เพื่อลงมือก่อสร้างเมื่อวันเสาร์ แรม ๖ ค�่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง เอกศก ตรงกับวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๒ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มีนามวัดแบ่งออก เป็น ๒ ตอนคือ “ราชบพิธ” หมายถึง พระอาราม ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างขึ้น “สถิตมหาสีมาราม” หมายถึง พระอารามซึง่ มีมหาเสมา หรือเสมาใหญ่ดงั นัน้ ในการประกอบพิธสี งฆ์ หรือการกระท�ำสังฆ กรรมใดๆ จึงสามารถกระท�ำได้ทุกแห่งภายในขอบเขตของมหา สีมานี้ ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มิได้ทรงสร้างวัดประจ�ำรัชกาล แต่ก็ได้รับ พระราชภาระในการท�ำนุบ�ำรุง และโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดของพระราช บิดาคือรัชกาลที่ ๕ เป็นงานใหญ่แทน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เสมือนหนึ่งเป็นวัดประจ�ำรัชกาลของพระองค์ด้วยเช่นกัน วัดประจ�ำรัชกาลที่ ๘ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล วัดสุทศั นเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร หรื อ วั ด สุ ทั ศ นเทพวราราม เป็ น พระอารามหลวงชั้ น เอก ชนิ ด ราช วรมหาวิหาร ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ ณ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร มีชื่อเรียก กันเป็นสามัญหลายชื่อตั้งแต่สมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ อาทิเช่น ‘วัดพระ ใหญ่’ ‘วัดพระโต’ ซึง่ เป็นการเรียกตาม ลักษณะพระพุทธรูปส�ำคัญของวัดคือ พระศรีศากยมุนี หรือ ‘วัดเสาชิงช้า’ ซึ่งเรียกตามสถานที่ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระ ตัง้ ทีอ่ ยูใ่ กล้กบั เสาชิงช้าด้านหน้าเทวสถานของพราหมณ์ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๕๐ เพื่อให้เป็นวัดที่ส�ำคัญที่ตั้งอยู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ บริเวณใจกลางพระนคร วัดสุทัศนเทพวรารามเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จ กรุงเทพมหานคร ซึ่งการสร้างวัดเป็นไปตามต�ำรับมหา พิชัยสงคราม ท่องพระนคร 29


สถานที่ ใกล้เคียง


สวนสราญรมย์

ท่องพระนคร 31


สวนสราญรมย์ หรือ พระราชอุทยานสราญรมย์ เป็นสวนสาธารณะ อยู่ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังไปทางทิศตะวันออก เดิมสวนสราญรมย์เป็นเขตพระราชอุทยานของ พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔o๙ สวนสราญรมย์ก่อสร้างขึ้นในช่วงต้นรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๗ ตามค�ำแนะน�ำของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ โปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เป็นผู้ออกแบบและจัดสร้างสวน พฤกษศาสตร์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ เมื่อเสด็จไปที่ใด พบพันธุ์ ไม้แปลก ๆ ก็โปรดให้น�ำมาปลูกเพิ่มเติมที่สวนสราญรมย์อยู่เสมอ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้เป็น สถานที่จัดงานฤดูหนาว ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้กับรัฐบาล ใช้เป็นที่ท�ำการของคณะราษฎร เมื่อ พ.ศ. ๒๕o๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบสวนสราญรมย์ ให้แก่ กรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะแก่ประชาชนทั่วไป 32 ท่องพระนคร


ที่ตั้ง ระหว่าง ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์: (662) 221-0195 222-1035 แฟกซ์: (662) 222-1035 รถประจ�ำทาง: 1 3 6 9 12 25 32 43 44 47 48 53 60 82 91 123 รถปรับอากาศ: 8 9 25 44 91 506 507 512 ท่าเรือ: เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าช้าง เวลาท�ำการ: ส�ำนักงาน: จันทร์-เสาร์ 8.30 -16.30 น. วันหยุดท�ำการ: อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ บริเวณสวน: ทุกวัน 5.0-20.00 น. สถานที่ใกล้เคียง: ตึกถาวรวัตถุ พระบรมมหาราชวัง พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ พิพิธภัณฑ์ฯ

พระนคร ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร วิทยาลัยในวัง วัดพระแก้ว วัดพระเชตุพนฯ วัดพระมหาธาตุ วัดราชประ ดิษฐ์ฯ ศาลหลักเมือง สนามหลวง หอกลอง หอนาฬิกา

ท่องพระนคร 33


ศาลเจ้าพ่อเสือ


ศาลเจ้าพ่อเสือ ตัง้ อยูเ่ ลขที่ ๔๖๘ ถนนตะนาว ใน บริเวณทีต่ ดั กับถนนอุนากรรณ ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ ๒ ไร่เศษ เป็นศาลเจ้าชาวจีน แต้จวิ๋ (สายลัทธิเต๋า) ทีเ่ ก่าแก่และมีชอื่ เสียงมากทีส่ ดุ แห่ง หนึง่ ในเมืองไทย คนจีนเรียกกันว่า”ตัว่ เล่าเอีย้ ” เป็นศาล เจ้าทีป่ ระดิษฐาน เฮีย้ งเทียนเซียงตี่ (หรือเรียก เหีย่ งเทียง เสี่ยงตี่), รูปเจ้าพ่อเสือ, เจ้าพ่อกวนอู และ เจ้าแม่ทับทิม เป็นที่เคารพนับถือของทั้งชาวไทยและจีนเป็นอย่างมาก

ลักษณะอาคารสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยม ทางภาคใต้ของจีน เทพเจ้าประจ�ำศาลคือ “เสียนเทียน ซั่งตี้” หรือที่คนไทยเรียกว่า “เจ้าพ่อเสือ” นั่นเอง เรื่อง ราวต�ำนานของเจ้าพ่อเสือที่ชาวบ้านย่านนี้เล่าขานนั้น เชื่อมโยงกับหลวงพ่อพระร่วง วัดมหรรณพารา (วัด มหรรณพ์) ด้วยสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง ชาวไทยและชาวจีนในละแวกนี้ที่มีมาช้านาน

ศาลเจ้าพ่อเสือ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ปีที่ ก่อสร้างตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๗ มีความเกี่ยวเนื่องกับวัด มหรรณพาราม เดิมตั้งอยู่ริมถนนบ�ำรุงเมือง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จ-พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้ขยายถนนบ�ำรุงเมือง ได้โปรดให้พระยาโชฎี ราชเศรษฐีย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน

ท่องพระนคร 35


ภายในเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ บริ เวณลานเทวสถาน เมื่ อ เดิ น เข้ า มาจาก ประตูทางเข้าจะมีเทวาลัยขนาดเล็ก เป็นทีป่ ระดิษฐาน เทวรูป พระพรหม (พระผู้สร้าง) ซึ่งตั้งอยู่กลางบ่อน�้ำ สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๑๕ ภายในเทวสถาน จะมีโบสถ์อยู่ ๓ หลัง คือ ๑) สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลัง เทวาลัยพระพรหม) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนีจ้ ะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอืน่ ทุกหลัง หลังคา ท�ำชั้นลด ๑ ชั้น หน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูน รูปพระอิศวร (พระศิวะ) พระแม่อมุ า และเครือ่ งมงคล รูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยูใ่ นวิมาน ใต้รปู วิมานมีปนู ปัน้ เป็น รูปเมฆและโคนันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลาย ภายในสถานพระอิศวร มีเทวรูป พระอิศวร (พระศิวะ) ท�ำด้วยส�ำริด ประทับยืนขนาด ๑.๘๗ เมตร ปางประทานพร โดยยกพระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้าง และยังมี เทวรูปขนาดกลางอีก ๓๑ องค์ ประดิษฐานในเบญจา (ชุกชี) ถัดไปด้านหลังเบญจา มีเทวรูป ศิวลึงค์ ๒ องค์ ท�ำ ด้วยหินสีด�ำ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐานเทวรูป พระพรหม ๓ องค์ พระราชครูวามเทพมุนเี ป็นผูส้ ร้าง เมือ่ พุทธศักราช ๒๕๑๔ มี พระสรัสวดี ๑ องค์ (พระแม่สรุ สั วดี หรือ สรัสวตีนี้ นายลัลลาล ประสาททวยาส ชาวอินเดีย เป็นผู้ถวาย เมื่อประมาณ ๒o ปี มานี้) สองข้างแท่นลด มีเทวรูป พระอิศวรทรงโคนันทิ และ พระอุมาทรงโคนันทิ เป็นศิลปะปูนปั้นโบราณมีมา แล้วก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ตรงกลางโบสถ์มเี สาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า ๒ ต้น 36 ท่องพระนคร

สูง ๒.๕o เมตร ส�ำหรับประกอบ พิธีช้าหงส์ในพระราช พิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย ในวันแรม ๑ ค�่ำ เดือนยี่ (พระ อิศวร พระนางอุมา พระคเณศ) วันแรม ๕ ค�่ำ เดือนยี่ (พระนารายณ์) และวันแรม ๓ ค�่ำ เดือนยี่ (พระพรหม) พิธีช้าหงส์ในวันแรม ๑ ค�่ำ และวันแรม ๕ ค�่ำ เดือนนั้น เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ส่วนในวันแรม ๓ ค�่ำ เป็นพิธีที่เพิ่งจัดให้มีขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน ภายหลัง จากทีพ่ ระราชครูวามเทพมุนี ได้จดั สร้างเทวรูปพระพรหม ถวายเนือ่ งในมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ พระนักษัตร


นอกจากนี้ ยั ง มี หอเวทวิ ท ยาคม อยู ่ ภ ายใน โบสก์ พ ราหม์ อี ก ด้ ว ย ซึ่ ง จั ด เป็ น ห้ อ งสมุ ด เฉพาะกิ จ เก็ บ รวบรวมสรรพวิ ช าการต่ า งๆ เกี่ ย วกั บ วรรณคดี พิธกี รรม ประวัตศิ าสตร์ทางศาสนาพราหมณ์ โหราศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และยังเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา บ�ำเพ็ญกุศล แสดงพระธรรมเทศนา ปาฐกถา อภิปรายสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและ กันตามโอกาสอันควร หอเวทวิทยาคมแห่งนี้เป็นศูนย์ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรวบรวมสรรพวิทยาการด้าน ประเพณีและพิธีกรรมแห่งหนึ่งในประเทศไทย เปิดให้ ประชาชนเข้ า ไปค้ น คว้ า เพื่ อ ศึ ก ษาหาข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

๒) สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง) สร้างด้วย อิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้าง ยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มี ลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ ไม่มีรูป เทวรูปปูนปั้นเหมือนสถานพระอิศวร ภายในโบสถ์มี เทวรูปพระพิฆเนศวร ๕ องค์ ล้วนท�ำด้วยหิน คือ หินเก รนิต 1 องค์ หินทราย ๑ องค์ หินเขียว ๒ องค์ ท�ำด้วย ส�ำริด ๑ องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์ องค์หนึง่ มีขนาดสูง ๑.o๖เมตร เป็นประธาน ประดิษฐาน อยู่ข้างหน้า องค์บริวารอีก ๔ องค์ ขนาดสูง o.๙๕ เมตร ๓) สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม) สร้างด้วยอิฐ ถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้าง ท�ำเช่นเดียวกับสถานพระพิฆเนศวร ภายในท�ำชั้นยกตั้ง บุษบก ๓ หลัง หลังกลางจะประดิษฐาน พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ ท�ำด้วยปูน ประทับยืน ตรงกลางโบสถ์มี เสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม ส�ำหรับประกอบ พิธีช้าหงส์ สูง ๒.๕o เมตร เรียกว่า “เสาหงส์” ท่องพระนคร 37


ส ุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตม

เป็นสุสานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกร รักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดคือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และพระราชโ จะเป็นการสร้างอนุสาวรีย์ของพระมเหสีและเจ้าจอมมารดา เพื่อให้ลูก ราชโอรสหรือพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนพระมารดาก็สร้างอนุสาวร

38 ท่องพระนคร


มหาสีมารามราชวรวิหาร

รุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความ โอรส พระราชธิดา ได้อยู่รวมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ในทั่วไป กได้อยู่รวมกับแม่หรืออย่างน้อยในบ้านของแม่ เว้นแต่ในกรณีที่พระ รีย์ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้นไปก่อน

ท่องพระนคร 39


ประวัติส ุสานหลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธ�ำรงศักดิ์ เป็นแม่กองก่อสร้างสุสานหลวงขึ้นในที่ อุปจารชานก�ำแพงวัดด้านทิศตะวันตก (ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม นอก เขตก�ำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด) ต่อมาเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศ ธ�ำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้า นิลวรรณ เป็นแม่กองจัดท�ำสืบต่อมา อนุสาวรียท์ ที่ รงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึน้ เป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ไว้นั้นเพื่อเป็นพระบรม ราชูทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระองค์ มีรปู แบบสถาปัตยกรรมต่างๆ กันทัง้ พระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม (ศิลปะปรางค์ลพบุรี) และแบบโกธิค โดยตั้งอยู่ในสวนซึ่งมีต้น ลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม อนุสาวรีย์ที่ส�ำคัญคือ เจดีย์สีทอง ๔ องค์ เรียงล�ำดับจากเหนือไปใต้ ซึ่งมีชื่อสอดคล้องกันดังนี้

สุนันทานุสาวรีย์ พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรม ราชเทวี

40 ท่องพระนคร


รังษีวัฒนา พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรม-ราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)

เสาวภาประดิษฐาน พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรม ราชินีนาถ (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

ท่องพระนคร 41


สุขุมาลนฤมิตร์ พระราชทานแก่พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (สมเด็จ พระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)

นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์ที่ส�ำคัญอื่นๆ ประดิษฐานอยู่ในสุสานหลวงวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมารามด้วย เช่น พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี (สายราชสกุลยุคล) อนุสาวรีย์ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี วิหารน้อย (สายเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ และเจ้าจอมมารดา โหมด บุญนาค) เป็นต้น สุสานหลวงในปัจจุบนั มีจ�ำนวนอนุสาวรียท์ งั้ หมด ๓๔ องค์ และ มีการจัดตัง้ กองทุนสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารขึน้ มาดูแลรักษา สุสานหลวงให้มีความงดงามเพื่อชนรุ่นหลังได้เข้าชมต่อไป

42 ท่องพระนคร


ท่องพระนคร 43



ท่องพระนคร 45


46 ท่องพระนคร


ท่องพระนคร 47


48 ท่องพระนคร


ท่องพระนคร 49


EXPLORE


PIG MEMORIAL

อนุสาวรีย์หมู มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “อนุสาวรีย์สหชาติ” ออกแบบโดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาน ริศรานุวัตติวงศ์ สร้างขึ้นในปี ๒๔๕๖ เป็นอุทกทานที่สร้างขึ้นวโรกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ใน รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระชนมายุ ๕o พรรษา

ท่องพระนคร 51


หลวงพ่อพระร่วงหรือหลวงพ่อร่วงเป็นพระพุทธ รูปองค์ใหญ่มพี ทุ ธลักษณะงามตามแบบศิลปสุโขทัย เมือ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหรรณพารามแล้วก็เป็นที่เคารพ บูชาของผู้คนในถิ่นนั้นทั่วกัน ถือกันว่าเป็นพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ใครมีทุกข์ร้อนใดๆ ก็มักมาบนบานให้ท่านช่วย และสิ่งที่นำ�มาถวายโดยเชื่อกันว่าหลวงพ่อชอบออกจะ แปลกจากของถวายพระทัว่ ๆ ไป นอกจากพวงมาลัยแล้ว ของทีน่ ยิ มนำ�มาถวายกันได้แก่ ตะกร้อ ว่าวจุฬา และว่าว ปักเป้า 52 ท่องพระนคร


พระนาคปรก วัดสุทัศนเทพวราราม ราช วรมหาวิหาร

ท่องพระนคร 53


เส้นทางที่ใช้เดินทาง

แพ

ถนนบ

ถนนอัษฎงค์

อนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4

ซอยสราญรมย์

ซอยราชนี

ถนน สนามไชย

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

ราชบพิธ

สวนสราญรมย์

พระยาศรี

54 ท่องพระนคร


วัดมหรรณพารามวรวิหาร

ร์ ถนนตะนาว

แพร่งนารา

ดินสอ

แพร่งสรรพศาสต

เทวสถาน

พร่งภูธร สี่แยกกั๊กเสาชิงช้า

เฟืองนคร

บำ�รุงเมือง

ตีทอง

วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

ท่องพระนคร 55


ผู ้ จ ั ด ทำ �

นาย กิ ต ติ สุ ว รรณเอกสิ ท ธิ ์ 53218404 นาย ปิ ย วั ฒ น์ วริ ร ุ ณ 53218414 นางสาว พิ ร ิ ย า วี ร ะเดชพิ พ ั ฒ น์ 53218416 นาย ภวนนท์ วงศ์ โ กมลวิ จ ิ ต ร 53218419 นางสาว วิ ช ชุ ด า เนี ย มสุ ค นธ์ ส กุ ล 53218524 นาย วี ร ะศั ก ดิ ์ บุ ญ วงษ์ 53218425


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.