Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

Page 1

แนวคิดรูปแบบของไทย ผานภูเขาแหงความศรัทธาตามรอยการวิเคราะหของเพลโต Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis พิมพวดี เอื้อมธุรพจน หัวหนาสํานักงานพัฒนาวิชาการและวิจัย คณะสถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ศูนยรังสิต อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121 Pimwadee Eomthurapote Head, Department of Academic and Research, Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University Rangsit Campus, Klongluang, Patumtani 12121 e-mail: khunpim@yahoo.com บทคัดยอ ภูเขาในที่นี้ไมใชภูเขา แตเปนภูเขาที่แสดงถึงความยิ่งใหญแหงความศรัทธา และอยูบนยอดเจดียตามคติความเชื่อเรื่อง ไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเปนศูนยกลางแหงจักรวาล บทความนี้เปนการวิเคราะหแนวคิดรูปแบบของไทยผานสัญลักษณ ของภูเขาแหงความศรัทธาโดยใชทฤษฎีแบบของเพลโต โดยการทบทวนวรรณกรรม การเกิดปรากฏการณ และการ ตีความดานคติความเชื่อ ซึ่งการวิเคราะหทฤษฎีแบบของเพลโตกับแนวคิดของไทยสามารถนํามาอธิบายเปนการรับรู เชิงรูปธรรมในโลกสมมติ และการรับรูเชิงปญญาในโลกแหงแบบ โดยแบงออกเปน 4 ระดับ ไดแก 1) จินตนาการ 2) ความเชื่อ 3) เหตุผล และ 4) ปญญาที่แทจริง การรับรูเชิงรูปธรรมสอดคลองกับการเขาถึงความรูในรูปแบบความรู เชิงบริสุทธิ์ โดยใชตัวอยางจากการสรางศาสนสถานในประเทศไทยที่แสดงรูปแบบจากอิทธิพลความเชื่อของภูเขา และการนอมรับแนวคิดที่ไดมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา Abstract The Mountain in this context is not the physical mountain, but is interpreted on huge belief of faith. The mountain appears on the pinnacle of Thiphum which is symbolized the Mount Meru as the center of the universe. This paper is the analysis of Thai concept of Forms inspired by mountain through Platoian’s Theory of Forms. After studying inductive reasoning from literatures, phenomena, and the interpretation of religious space manipulation, the analysis of Plato’s Theory of Forms could explain two perceptions of forms; the objective world and recognition of the intellectual world. Plato’s World of Forms also elaborates levels of perceptions in four levels, that are 1) Imagining 2) Belief 3) Reasoning, and 4) Perfect Intelligence. The perception of concrete in accrodance with the access to knowledge in the pure form. The paper raises cases of how monasteries in Thailand were influenced by the mountain’s concept and how the ideological recognition has changed over time. Keywords ทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ไตรภูมิ (Triphum) รูปธรรม (Concrete - Know what can be touched with the body) นามธรรม (Abstract - No image is one thing that does not know to along with concrete)

1


1. บทนํา อยางแรกเรี ยกวา ภูมิวั ฒ นธรรม คํา วา มนุษยทุกคนถูก รอบลอมดวยสภาวะแวดลอมสามอย า ง ภูมิวัฒนธรรมไมไดหมายความถึงภูมิประเทศ แตหมายความถึงความสัมพันธของคนที่มีตอภูมิประเทศ ไมใชภูเขา แตคนใชประโยชนจากภูเขาอยางไร คนมีความสัมพันธกับภูเขาอยางไร อยางนี้เรียกวาภูมิวัฒนธรรม อยางที่สอง เรียกวา นิเวศวัฒนธรรม หมายความถึง ภูเขา แมน้ํา ทะเล ฯลฯ มนุษยไดเขาไปใชประโยชนจากระบบนิเวศนั้นได อยางไร และสุดทายเรียกวา สังคมวัฒนธรรม ดังนั้น ถาไดศึกษาวัฒนธรรมอยางมีพลวัตแลว เปนที่เขาใจไดวา มนุษยไดอยูทามกลางสิ่งแวดลอมอะไร แตไมไดหมายความถึงการศึกษาสิ่งแวดลอม แตศึกษาวามนุษยสัมพันธกับ สิ่งแวดลอมนั้นไดอยางไร ทั้งสามอยาง ไมวาจะเปน ภูมิวัฒนธรรม นิเวศวัฒนธรรม หรือสังคมวัฒนธรรม ไดพบวา มีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา ทั้งจากปจจัยภายในและ/หรือปจจัยภายนอก (นิธิ เอียวศรีวงศ, 2553) การนําสัญลักษณของภูเขาซึ่งไมใชภูเขาในโลกแหงความเปนจริง แตเปนภูเขาที่แสดงถึงความยิ่งใหญแหง ความศรัทธา และอยูบนยอดเจดียตามคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเปนศูนยกลางแหงจักรวาล โดยนํา สัญลักษณของภูเขามาวิเคราะหกับแนวคิดรูปแบบของไทยและประยุกตใชกับทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ของ เพลโต (Plato) ซึ่งเปนทฤษฎีสุนทรียศาสตรที่มีการผสมผสานอยางสรางสรรคในเรื่องธรรมชาติของการเลียนแบบ ในเรื่องเกี่ยวกับ "แบบ" (Forms) หมายความถึง วัตถุหรือสิ่งของทางกายภาพ หรือการกระทําตางๆ ที่มองเห็นได ในโลกของเรา เชน "ความงาม" "ความดี" และ "ความยุติธรรม" ที่ปรากฏบนโลก โลกที่เปนวัตถุ สิ่งของ การ กระทําตางๆ ลวนมีสวนรวมใน "แบบของความเปนนามธรรม" ซึ่ง เพลโต นักปรัชญาชาวกรีก เรียกวา "โลกที่ สามารถเขาใจได" (the Intelligible World) โลกของ "แบบ" (Forms) ที่ไมตองอาศัยเรื่องของกาลเวลา ไมตองอาศัย เรื่องของที่วาง เพลโตถือวาโลกมีอยู 2 โลก คือ โลกแหงวัตถุ (Material World) ซึ่งเปนโลกที่รูไดทางประสาทสัมผัส ไดแก ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เหลานี้ทําใหมนุษยรูจัก รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ซึ่งเพลโตถือวาเปนโลกแหง ผัสสะ (Sensible World) ซึ่งโลกแหงวัตถุนี้เปนสิ่งที่มีอยูเพียงชั่วคราว มีแลวก็เปลี่ยนแปลงไปไมคงที่ (Subjective Reality) เปนโลกแหงมายาที่ไมจริงแท ซึ่งเปนโลกแหงความไมสมบูรณ สวนโลกที่สมบูรณนั้น เพลโตเชื่อวาเปน โลกแหงสัจจะแท (The Absolute Reality) ที่ไมแปรปรวน เปนโลกนิรันดร นั่นคือโลกแหงแบบ (World of Forms or Pattern) หรือโลกเหนือประสาทสัมผัส (Transcendental World) หรือโลกแหงมโนภาพ (World of Idea) ทฤษฎีแหง มโนภาพ (Idea) หรือ “แบบ” (Forms) ของเพลโต หรือทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ไดอธิบายถึงธรรมชาติของ การดํารงอยูของสรรพสิ่งตางๆ (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ, 2552) ซึ่งบทความนี้ เปนการนําทฤษฎีแบบมาวิเคราะหกับ แนวคิดรูปแบบของไทย โดยผานภูเขาแหงความศรัทธาตามรอยการวิเคราะหของเพลโต 2. คําถามการวิจัย ทฤษฎีแบบของเพลโตสามารถประยุกตใชกับความเชื่อและความศรัทธาของคนไทยไดอยางไร 3. วัตถุประสงค เพื่อสรางความเขาใจเกี่ยวกับประวัติศาสตรของพื้นที่และความสัมพันธทางศาสนา – จินตภาพ โดยการ จําลองเชิงพลวัตที่สามารถนํามาวิเคราะหใชกับทฤษฎีแบบของเพลโต ทั้งเรื่องความเชื่อและความศรัทธาของคน ไทย โดยนําแนวความคิดเรื่องไตรภูมิมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีแบบตามแนวคิดของเพลโต และรูปแบบของภูเขาใน เชิงสัญลักษณ 4. วิธีวิจัย (1) การทบทวนวรรณกรรม และวิเคราะห รวมถึงการเปรียบเทียบเนื้อหาที่เกี่ยวของกับแนวคิดผานความเชื่อ ภูเขาในสังคมไทย

2


(2) วิธีเชิงอุปนัยโดยการรวบรวมขอเขียนและขอสังเกตจากการตีความหมายของปรากฏการณในลักษณะ ความสัมพันธของโลกกายภาพกับมิติทางสังคม และศาสตรอื่นๆ ที่เกี่ยวของ 5. ทฤษฎีแบบของเพลโตตออิทธิพลแนวความคิด เปนเวลากวา 2,500 ป ที่หลักปรัชญาของเพลโตมีอิทธิพลตอแนวความคิดในการศึกษาดานตาง ๆ เชน ปรัชญา จิตวิทยา ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร เพลโตเปนนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคน หนึ่งของโลก เพลโตเกิดเมื่อ 427 ปกอนคริสตศักราช ที่กรุงเอเธนส ประเทศกรีซ เพลโตไดศึกษาวิชาการดานตาง ๆ กับ โสเครตีส (Socrates) ผูเปนอาจารย ซึ่งทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ของเพลโต เปนทฤษฎีที่ไดรับแนวความคิด ทางปรัชญามาจากโสเครตีสที่วา ความรูทั้งปวงมาจากแบบ และทฤษฎีที่วาดวยแบบนี้เปนหัวใจหลักของปรัชญา ทั้งหมดของเพลโต แตทฤษฎีของเพลโตแตกตางจากโสเครตีส เนื่องจากเพลโตไดนํามาขยายเนื้อหาทางอภิปรัชญา ที่กวางขวางขึ้น โดยแบบของเพลโตมีความเปนอิสระและอยูเหนือจิต และไดนําหลักปรัชญานี้มาพิจารณาความ เปนไปของธรรมชาติ ซึ่งสรุปวา ไมมีสรรพสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ที่มีลักษณะแนนอนตายตัว (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ, 2552) “แบบ” ของเพลโต เปนการอธิบายถึง วัตถุสิ่งของที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจําวัน เปนสิ่งจําลองมาจาก ของจริงหรือตนฉบับ สิ่งที่เปนแมแบบหรือตนฉบับนั้นไดแก “แบบ” (Forms) หรือ “มโนคติ” (Ideas) ซึ่งในการศึกษา เรื่องของแบบนั้น จะตองทําความเขาใจเกี่ยวกับความรู (ปญญา) ของเพลโต ตามทัศนะของเพลโตเห็นวา ความรูที่ (ปญญา) อันบริสุทธิ์ เปนความรูที่แทจริง ความรูชนิดนี้ไดมาจาก 2 ทาง คือ ความรูที่ไดจากการคํานวณ และจาก สัญลักษณทางคณิตศาสตร แตความรูอันบริสุทธิ์เปนความรูที่เปนความจริงสูงสุดหรือมโนคติ ซึ่งไดมาจากการใช ปญญาหรือพุทธิปญญา (สภาพจิตที่รับรูมโนคติโดยตรงเปนสภาพจิตที่บริสุทธิ์ อยูเหนือการรับรูดวยประสาทสัมผัส) และความรูที่แทจริงตามหลักปรัชญาของเพลโตจากระดับขั้นต่ําสุดจนถึงระดับขั้นสูงสุด ตามลําดับความสําคัญของ เหตุผลมี 4 ประการ (Capistran, 2000) ดังตอไปนี้ (1) จินตนาการ (Imagining) คือ ภาพที่จิตรับรูเปนจินตภาพ การรับจินตภาพเรียกวา จินตนาการ เพราะภาพ ที่จิตคิดเห็นเปนแคภาพเหมือนหรือเงาของวัตถุ (2) ความเชื่อ (Belief) คือ หากมนุษยเราคิดถึงใครมาก อาจสรางจินตนาการถึงรูปรางหนาตา กิริยาทาทาง ของเขา แตตัวเขาที่เห็นในจินตนาภาพยอมสูตัวเขาที่ไปพบปะพูดคุยจริงๆ ไมได การไดพบตัวจริงถือวาเปน ความรูระดับสัญชาน ซึ่งเรียกความรูระดับนี้วาความเชื่อ (3) เหตุผล (Reasoning) การทําใหพบสิ่งที่เปนสากลดวยเหตุผล (4) พุทธิปญญา (Perfect Intelligence) หมายถึงสภาพจิตที่รับรูมโนคติโดยตรง และจิตเปนอิสระจากสิ่งที่รับรู ดวยประสาทสัมผัส จิตเขาถึงมโนคติไดโดยไมตองผานสัญลักษณ พุทธิปญญาเปนความรูที่แทจริง เพราะ เขาถึงความจริงสูงสุดคือมโนคติ ความรูจึงหมายถึงการรูจักมโนคติ (Ideas) เชน แบบของสามเหลี่ยม แบบของมนุษยที่แยกจากสิ่งที่เปนวัตถุกายภาพเปนรูปทรงสามเหลี่ยม ที่เปน “แบบบริสุทธิ์ (Pure Form)” โดยไมตองใชการอางอิงสัญลักษณจากสิ่งที่มองเห็นอีกตอไป 6. ไตรภูมิ (Traiphum) ไตรภูมิ หรือ ไตรโลก หมายถึง สามโลก ซึ่งเปนคติเกี่ยวกับโลกสัณฐานตามความเชื่อในพุทธศาสนา ไตรภูมิ ประกอบดวย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ และไตรภูมิไดกลาวถึง โลกมนุษย นรก และสวรรค สําหรับคนไทยไดรับ ความรูเรื่องไตรภูมิมาพรอมๆ กับการรับพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ ไตรภูมิไดกลาวถึง จักรวาลที่มีโลกซึ่ง มนุษยอาศัยอยูนี้เปนหนวยหนึ่งของอนันตจักรวาลอันหาขอบเขตจํากัดไมได จักรวาลใดๆ ยอมมีสภาพเหมือนกัน ทั้งสิ้น ในจักรวาลหนึ่งๆ นั้น มีเขาพระสุเมรุเปนแกนกลาง และมีเขาสัตบริภัณฑลอมอยูโดยรอบเปนวงแหวนเจ็ดวง 3


ทั้งเขาพระสุเมรุและเขาสัตบริภัณฑถูกหอมลอมดวยสีทันดรสมุทรที่แผกวางไปทุกทิศจนครอบจักรวาล รอบนอก ของเขาสัตบริภัณฑในทิศใหญทั้งสี่ทิศ เปนที่ตั้งของทวีปใหญสี่ทวีป และทวีปนอยอีกสี่ทวีป ซึ่งทวีปใหญทั้งสี่ ไดแก อุตรกุรุทวีปที่ตั้งอยูทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ บุรพวิเทหะทางทิศตะวันออก ชมพูทวีปทางทิศใต และอมรโคยาน ทางทิศตะวันตก ทวีปใหญแตละทวีปเปนที่เกิดของมนุษย มนุษยแตละทวีปจะมีลักษณะเฉพาะของตน แตเฉพาะ ในชมพูทวีปเทานั้น ที่เปนดินแดนที่เกิดของพระพุทธเจา พระปจเจกพุทธเจา และพระเจาจักรพรรดิ (พระศรีสุธรรมเมธี, 2553) ความเชื่อเรื่องไตรภูมิกับวิถีชีวิตในพุทธศาสนาของสังคมไทยมีมายาวนาน ไมนอยกวา 660 ป นับตั้งแต ครั้งสมเด็จพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 7) กษัตริยองคที่ 7 แหงกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธไตรภูมิกถาหรือ ไตรภูมิพระรวง หนังสือฉบับนี้ไดตกทอดเปนมรดกความเชื่อทางพุทธศาสนาจวบจนปจจุบัน ทําใหแนวความคิดและ คติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลที่มีมากอนพุทธกาลในศาสนาพราหมณหรือฮินดู ที่อธิบายถึงเรื่องไตรภูมิ เรื่องการ เวียนวายตายเกิด บาปบุญคุณโทษ ตามแนวทางปรัชญาในพระพุทธศาสนา และเรื่องอื่นๆ ที่มีอิทธิพลตอการ สรางสรรคศิลปกรรมไทยทุกประเภท ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปตยกรรม งานประณีตศิลป และศิลปะ พื้นบาน (ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน), 2555) โดยผานเรื่องราวทางเนื้อหาดานความเชื่อเรื่องไตรภูมิโดยตรง หรือการแสดงรูปสัญลักษณ เพื่อแทนความหมายที่เปนภพภูมิตางๆ รวมถึงพระพรหม ในคติพระพุทธศาสนา ซึ่ง เปนพรหมชั้น "รูปพรหม" ในไตรภูมิพระรวง ฉบับกรุงธนบุรีในคติพุทธศาสนา พระพรหม เปนชาวสวรรคชั้นสูงขั้น หนึ่งที่สูงกวาเทวดาทั่วไป เรียกวา "พรหม" พระพรหมยังอยูในกามาวจรภพ มีการวนเวียนวายตายเกิด อยูใน สวรรคที่เรียกวาชั้นพรหม (พรหมภูมิ) พระพรหมแบงออกเปน 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกวา "รูปพรหม" มี ทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไมมีรูป เรียกวา "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกวารูปพรหม (สมคิด สวยล้ํา, 2553) อรูปพรหมเปนพรหมที่ไมมีรูป มีแตนามขันธ 4 เชน ในอรูปภูมิทั้ง ๔ ถึงแมจะเรียกวาภูมิ แตภูมินี้ไมปรากฏวามีรูปรางสัณฐานอยางหนึ่งอยางใด เพราะเปนภูมิที่มีแตอากาศวางเปลาอยู สําหรับอรูปพรหมนี้ เปนพรหมที่ไมมีรูป มีแตนามขันธ 4 เกิดขึ้นติดตอกันโดยไมมีระหวางคั่นนับตั้งแตปฏิสนธิมา (พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, 2535) 7. การนําทฤษฎีแบบของเพลโตมาวิเคราะหแนวคิดเกี่ยวกับภูเขา แนวคิดเกี่ยวกับภูเขานี้ ไดนําแนวคิดมาจากหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งจากการเสวนาหัวขอ “ไตรภูมิ จักรวาลทัศนของชาวพุทธ ความเชื่อกับภูมิวัฒนธรรม" (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และ รุงโรจน ภิรมยอนุกูล, 2554) ที่กลาวถึง ภูเขาไววาเปนสัญลักษณสากลอันเปนตัวแทนของสิ่งที่เหนือโลก หรือการเชื่อมตอระหวางมนุษยกับ จักรวาลอันไพศาล หรือการเชื่อมตอระหวางรูปกับนาม หรือการเชื่อมระหวางความคิดกับความจริง หรือการเชื่อม ระหวางความศรัทธาของผูคนในชุมชน ในเมือง ในเชื้อชาติ ในกลุมความเชื่อการเกิดขึ้นของคติปรัมปราในอดีต ที่ เชื่อมความคิดกับจินตนาการ ซึ่งสงผลตอนามธรรม สวนรูปทรงของสถูปเจดียไดรับอิทธิพลจากรูปทรงของภูเขาที่ ไดรวมความศรัทธาของมนุษยจนกลายเปนศูนยรวมความเชื่อในภูมิวัฒนธรรม โดยไดมีการถายทอดคติจักรวาล ออกมาเปนผังวัด การสรางงานสถาปตยกรรม โดยจําลองเจดียเปนเขาพระสุเมรุ มีวิหารทิศเปนทวีปทั้ง 4 การสราง ซุมประตูโขงเปนศูนยกลางจักรวาลหรือเขาพระสุเมรุที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งทรงประทับอยูที่ศูนยกลางจักรวาล ทั้งนี้ ไดจําลองภาพสันนิษฐานจักรวาลตามคติไตรภูมิในพุทธศาสนา (ภาพที่ 1) โดยยกตัวอยางของ พระปรางค วัดอรุณ ราชวราราม (ภาพที่ 2) และ ยอดแหลมของเจดียภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภาพที่ 3) มา ประยุกตใชเพื่อการอธิบายในทฤษฎีแบบของเพลโต

4


ภาพที่ 1 จักรวาลตามคติไตรภูมิในพุทธศาสนา ที่มา: 7wondersthailand, 2553. (ดัดแปลง)

ก. วัดอรุณราชวราราม ราชวราราม

ข. รู ป ทรงของพระปรางค วั ด อรุ ณ

ภาพที่ 2: วัดอรุณราชวราราม และพระปรางควัดอรุณราชวราราม ที่มา: ภาพ ก. เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง, 2555 ภาพ ข. สมคิด จิระทัศนกุล, 2554. (ดัดแปลง) ภาพที่ 2 ก. และ ข. แสดงภาพวัดอรุณราชวราราม และพระปรางควัดอรุณราชวราราม ซึ่งเปนแบบที่มีความ งดงามตามสถาปตยกรรมไทยและไดสะทอนภาพของไตรภูมิ จากสวนเดนชัดของสิเนรุบรรพตและเขาพระสุเมรุ และรูปทรงของพระปรางค เปน “ทรงจอมแห” ที่มีโครงรูปเสนรอบนอกเปนลักษณะแอนโคงเหมือนอาการทิ้ง น้ําหนักตัวของ “แห” ที่ถูกยกขึ้น รูปทรงเชนนี้ เคยถูกนํามาใชในการออกแบบพระเจดียสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร การออกแบบ “รูปทรงจอมแห” อยูที่การเนนสวนฐานดวยการซอนชั้นจํานวนนับไมถวนเพื่อเปนการเสริมใหอาคารมี 5


ความสูงมากๆ จึงตองยืดสวนของฐานใหกวางขึ้นกวาปกติ และเพียงพอใหสามารถเบียดทรวดทรงอาคารใหเกิด ลักษณะที่แอนโคงไดสําเร็จตามรูปทรงดังกลาว เรือนธาตุกับสวนยอดสะทอนถึงความสุนทรียะแหง “รูปทรง” ลักษณะใหมที่งดงามอยางหมดจด

ก. พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)

ข. ลั ก ษณะเจดี ย ท รง

ระฆัง ภาพที่ 3 พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และเจดียทรงระฆัง ที่มา: ภาพ ก. เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง, 2555. ภาพ ข. พระพรหมพิจิตร, 2495. (ดัดแปลง) จากภาพที่ 3 ก. และ ข. แสดงภาพพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดย สมัยรัชกาล ที่ 4 โปรดเกลาฯ ใหกอพระเจดียทรงระฆังไวบนยอดเขา เมื่อสรางแลวเสร็จ ไดพระราชทานนามใหมวา “บรมบรรพต” มีขนาดวัดไดโดยรอบ 8 เสน 5 วา สูง 1 เสน 19 วา 2 ศอก มีบันไดเวียนขึ้นลง 2 ทาง คือทางทิศเหนือและใต และ บุกระเบื้องโมเสกสีทองที่องคพระเจดีย รวมทั้งสรางพระเจดียองคเล็กๆ รายรอบพระเจดียองคใหญทั้ง 4 ทิศ ภายใน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดียบนลูกแกว ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุบนยอดพระเจดียภูเขาทองเปนการประมวล ภาพเขียนหลังพระประธานในพระอุโบสถเรื่องไตรภูมิพระรวง (Golfreeze, 2007) จากรูปทรงของพระปรางควัดอรุณราชวรารามและยอดเจดียภูเขาทอง ทั้งในเชิงการออกแบบ รูปแบบ แผนผัง และองคประกอบตกแตง สามารถตอบรับกับแนวคิดในเรื่องของ “คติจักรวาล” ตามแนวคิดของไตรภูมิ และใน ทฤษฎีแบบของเพลโตที่อธิบายไดชัดเจนวา “แบบ” เปนอสภาวะ แต “แบบ” จะอยูแยกตางหากจากสิ่งที่เปนวัตถุ กายภาพ และแบบเปน “ตัวแทน” หลักวาดวย เหตุผลในจักรวาล ดังนั้น รูปทรงของพระปรางควัดอรุณราชวราราม และยอดเจดียภูเขาทอง วัดสระเกศ จึงเปนตัวแทนของภูเขาหลอมรวมศรัทธาของผูคนในประเทศไทย ประเด็นของ ภูเขาในทฤษฎีของ “แบบ” ที่เชื่อวา เปนเพียงเงาหรือภาพสะทอน หรือลอกแบบมาจากมโนภาพในอีกทอดหนึ่ง เพราะถือวา ภูเขาเปนมโนภาพหรือโลกแหงแบบอันเปนรูปธรรม และภูเขาเปนสัญลักษณแหงความเปนจริง เชน คนกับเงา ถาไมมีคน เงาของคนก็เกิดขึ้นไมได ภูเขา จึงถูกสมมติขึ้นมาโดยอาศัยรูปรางสัณฐานในเชิงนามธรรม 8. ความสัมพันธในระหวางมนุษย สิ่งแวดลอมและอํานาจเหนือธรรมชาติ โครงสรางทางสังคมโดยพื้นฐานของมนุษย มีองคประกอบของความสัมพันธทางสังคมที่เกี่ยวพันของผูคน อยู 3 ประการ ไดแก ความสัมพันธระหวางคนกับคน ความสัมพันธระหวางคนกับธรรมชาติ และความสัมพันธ ระหวางคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งกอใหเกิดความรูสึกของการอยูรวมกันเปนกลุมภายในพื้นที่ทางวัฒนธรรม

6


เดียวกันความสัมพันธที่เชื่อมโยงและเปนพลวัตเหลานี้ เปนหัวใจสําคัญของการอยูรวมกันในสังคมของมนุษยใน ทองถิ่นตางๆ โดยเฉพาะความสัมพันธกับอํานาจเหนือธรรมชาตินั้น คือ สิ่งที่สะทอนใหเห็นถึงภูมิจักรวาลที่อยู เบื้องหลังของภูมิวัฒนธรรมและสัญลักษณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคม และในความสัมพันธระหวางมนุษยกับอํานาจ เหนือธรรมชาติ โดยมีสัญลักษณเปนศูนยกลางของจักรวาลของผูคนในทองถิ่นเชื่อมโยงกับคนที่ตางชุมชนและ ตางเผาพันธุอยูในบานเมืองเดียวกันไดอยางราบรื่น สภาพนิเวศตามธรรมชาตินั้น ประกอบดวย แมน้ํา ลําคลอง หนอง บึง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ความเขาใจเรื่องพลวัตของธรรมชาติแวดลอมนั้น กอใหเกิดความสัมพันธในระบบนิเวศจากภูเขาสูงอันเปนตนน้ําลํา ธารไปจนถึงลําหวย แมน้ํา และหนองบึง ที่ไหลเวียนหมุนเปลี่ยนไปตามฤดูกาล การเชื่อมโยงของระบบนิเวศเหลานี้ ทําใหเกิดความสมดุลและรักษาคุณภาพของระบบนิเวศอันหลากหลายที่มิใชมีเพียง “น้ํา” หรือ “ปลา” แตคือสิ่งมีชีวิตใน ธรรมชาติรวมทั้งมนุษยดวย ในนิเวศตามธรรมชาติเหลานี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควบคุมการใชทรัพยากรใหอยูรวมกัน โดย มีการกําหนดพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งใหเปนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ลวงล้ําไมไดและใหใชทําพิธีกรรมตามประเพณีในฤดูกาลที่ เกี่ยวของเทานั้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้จะทําหนาที่ปกปกษรักษาและคุมครองมนุษย เปนรูปแบบของความสัมพันธที่มนุษย มีความผูกพันอยูรวมกับอํานาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งเปนสิ่งที่คนในทองถิ่นเขาใจรวมกันและจดจํารวมทั้งเลาสืบตอกันมา (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, 2554) 9. สัญลักษณระหวางรูปธรรมกับนามธรรม ลัก ษณะความเชื่ อที่เกิ ดขึ้นเกิด จากจิน ตนาการและความรูสึกเมื่ อ มนุษย ไ ดสัม ผัส ธรรมชาติที่เรีย กวา “ภูเขา” ซึ่งเปนสัญลักษณสากลอันเปนตัวแทนของสิ่งที่เหนือโลก หรือการเชื่อมตอระหวางมนุษยตัวเล็กๆ กับ จักรวาลอันไพศาล บางครั้งเปนจุดเชื่อมระหวางรูปธรรมกับนามธรรม ความคิดกับความจริง หรือบางครั้งเปนจุดที่ สามารถสรางความศรัทธาของผูคนในชุมชน ในอาณาจักร ในเมือง ในเชื้อชาติ ในกลุมความเชื่อ การเกิดขึ้นของคติ ปรัมปราในอดีตเกิดจากความจริงที่มองเห็นตอเนื่องกับความคิดกับจินตนาการ รูปทรงของสถูปเจดียไดถอดความ ตอเนื่องจากรูปทรงของภูเขาที่หลอหลอมความศรัทธาของผูคน เปนศูนยรวมความเชื่อในภูมิวัฒนธรรม ซึ่งทั้งความ ใหญ ความสูง ความมืดที่เกิดจากสวนเวาของภูเขา และไดสอดคลองกับทฤษฎีโลกแหงแบบ (World of Forms) ของ เพลโต ซึ่งกลาววา โลกที่มนุษยอาศัยอยูทุกวันนี้เปนโลกที่ถูกประทับ หรือทําสําเนามาจากโลกแหงแบบที่มีความ สมบูรณและเปนของจริง มนุษยจะเขาสูโลกแหงแบบไดก็ตองใชเหตุผล เพื่อเขาสูแบบที่ยิ่งใหญกวาแบบทั้งหลาย นั้นคือ แบบแหงความดี (Form of Goodness) ซึ่งจะเปนเหมือนแสงอาทิตยที่ทําใหมนุษยรูเชนเห็นแจงตอโลกแหง แบบทั้งโลก ดังนั้นความเชื่อ จึงเปนเพียงจินตนาการ เปนสิ่งที่ไมมีตัวตน ไมมีอยูจริง แตความเชื่อนั้นก็ทําใหมนุษย เรามีความสุขมากขึ้นเมื่อเราไดเชื่อและปฏิบัติตาม (สมบัติ จันทรวงศ, 2549) 10. ผลการทบทวนวรรณกรรมนํามาสูการพรรณนา การทบทวนวรรณกรรมนํามาสูการพรรณนาและสรุปเพื่อตอบวัตถุประสงค และสนับสนุนความเขาใจ เกี่ยวกับประวัติศาสตรของพื้นที่และความสัมพันธทางศาสนา – จินตภาพ โดยการจําลองเชิงพลวัตของเพลโต ที่มี อิทธิพลซึ่งกันและกันรวมถึงความขัดแยงของกระบวนการที่ตรงกันขามโดยธรรมชาติ และทางเลือกของการแสดงที่ สรางขึ้นเปนปจจัยภายในและภายนอกขอบเขตสําหรับสังคมไทยนั้น ทําใหทราบถึงแนวความคิดเชิงมโนทัศนที่ทํา ใหเกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งจําเพาะที่เกิดขึ้นในโลกซึ่งเปนโลกที่เกิดจากการประทับของแบบทางมโนคติของ เพลโตนั้น แสดงออกมาในรูปแบบของความคิดที่แสดงออกมาเปนนามธรรมของคติและความคิดที่บริสุทธิ์ เปนการ แสวงหารูปแบบของสิ่งตางๆ เชน มโนทัศนข องความดี มโนทัศนข องความเปน มนุษย โดยนําเอาบริบททาง ความคิดพื้นถิ่น ไดแก ภูมิศาสตรทางวัฒนธรรมที่นําเอาความเปนเอกลักษณทางพื้นที่มาผสมผสานกับความคิด ทางจิตวิญญาณซึ่งเปนรูปแบบของความคิดที่มักเกิดขึ้นทั่วไปอยางสากล โดยนําเอาจุดเดนทางภูมิศาสตรที่มี ความสํ า คั ญ และแสดงถึง การเชื่อ มต อระหว า งมนุ ษย แ ละธรรมชาติ ซึ่ ง ในที่นี้คื อ ภูเ ขา เขา มามีบ ทบาทในการ 7


แสดงออกถึงแนวความคิดและความสัมพันธที่ผสมผสานอยางแนบแนนจนไมสามารถแยกออกจากกันไดระหวาง ภูมิศาสตรทางวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชน (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, 2554) ถึงแมวา แนวความคิดของเพลโตเปนแนวคิดของสังคมดานตะวันตก แตเปนแนวคิดสากลที่สามารถพบ แนวคิดนี้ไดทั่วไปในวัฒนธรรม ทั้งจากทางตะวันตกตลอดจนฝงตะวันออกรวมทั้งสังคมไทย ความคิดที่เปนมโนคติที่ ชัดเจนที่สุดที่พบเห็นได คือ มโนคติเรื่องไตรภูมิที่ถูกถายทอดแนวคิดเกี่ยวกับศาสนา ความดี ความชั่ว และภพภูมิ จนกระทั้งเรื่องการแบงโลกเปนสวนตาง ๆ ตามความเชื่อจากพุทธคติ และนําแนวความคิดเรื่องแผนภูมิจักรวาลที่ แสดงอยางชัดเจนในงานศิลปะ วรรณกรรม และสถาปตยกรรม (พระสมปอง มนตชาโต, 2553) โดยภูมิจักรวาลตาม ไตรภูมินั้ นเปนความคิดที่นําเสนอถึงแนวคิดของการทําความดี การประพฤติตนในศีลธรรมตามขนบธรรมเนียม ประเพณี โดยกลาวถึงบาปบุญคุณโทษ คนทําความดียอมไดรับกรรมดี คนทําความชั่วยอมไดรับผลตอบแทน เชน การแบงโลกเปน 3 ภพภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และภูมิ (พระศรีสุธรรมเมธี, 2536) โดยแผนภูมิจักรวาลไดนําเอา ระบบความคิดเชิงคตินิเวศวัฒนธรรมเขาไปเกี่ยวโยงดวย เชน แกนกลางของจักรวาล มีภูเขา ศักดิ์สิทธิ์ที่เปนที่อยู ของผูที่กระทําแตกรรมดี นั่นคือ เขาพระสุเมรุซึ่งเปนศูนยกลางของจักรวาล แนวคิดเรื่องภูเขาที่เปนศูนยกลางของจักรวาลดังกลาวนั้น ถูกถายทอดจากประเทศอินเดีย สูดินแดน สุวรรณภูมิ อาณาจักรขอม อาณาจักรทวารวดี และประเทศไทยในปจจุบัน แนวคิดนี้เปนแกนสารทางรูปธรรมและ เปนสิ่งเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณระหวางมนุษยกับสิ่งที่อยูเหนือธรรมชาติ ทําใหคนไทยและคนในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใตไดสรางสิ่งที่เปนตัวแทนของความศรัทธา เชน การสรางวัดวาอารามตามภูเขาสูงหรือในภูมิประเทศ ที่เปนพื้นที่ราบไดสรางสถูปและเจดียตางๆ โดยการพัฒนารูปแบบทางความคิดที่วา ภูเขาหรือสิ่งกอสรางรูปทรง คลายภูเขานั้น แสดงถึงการดํารงไวซึ่งหลักคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ ความเปนศูนยกลางของจักรวาล (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และ รุงโรจน ภิรมยอนุกูล, 2554) โดยมีความแตกตางกันไปตามบริบททางทองถิ่นของแตละพื้นที่ตอการ พัฒนารูปแบบทางสถาปตยกรรมไทย เชน การสรางเจดียทรงระฆังคว่ํา ตอมาไดมีการพัฒนาแนวคิดทางสถาปตยกรรมจนสามารถพัฒนารูปแบบเปนเจดียทรงจอมแห เชน พระปรางควัดอรุณราชวราราม เพราะรูปแบบความคิด ทางมโนคตินั้น เปรียบเสมือนสิ่งที่เปนวัตถุจริง แตในทางกลับกัน สิ่งที่เปนสสารวัตถุนั้น เปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ของสิ่งที่มากระทบแนวความคิดที่เปนมโนคติ เปรียบเสมือนเงาของวัตถุที่แปรเปลี่ยนรูปรางไปตามมุมองศาของ แสงที่มากระทบถึงแมวัตถุตนกําเนิดจะมีเพียง 1 เดียว แตเงาที่เกิดขึ้นบนพื้นนั้นมีมากมายหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยูกับวาเปนเวลาใด แสงสองมาในทิศทางใด ดังนั้นความสัมพันธของพื้นที่กับแนวความคิดคติของศาสนานั้น มีความสัมพันธและสอดคลองกับแนวคิด ทฤษฎีแบบที่เพลโตเสนอไว คือ รูปแบบทางกายภาพนั้นเปนรอยประทับของแบบในมโนคติ ซึ่งมโนคติเปนความคิดใน ระดับสูงสุด ซึ่งผานการกลั่นกรองความคิดจากการการรับรู ผัสสะ สูจินตนาการ สูความเชื่อ สูแนวคิดเชิงเหตุผล และ สรุปเปนความคิดเชิงบริสุทธิ์ และสอดคลองกับมโนคติของสังคมไทยในเรื่องราวของไตรภูมิที่เนนเรื่องของความดี งาม ผานแผนภูมิจักรวาล และนํามาสูรูปแบบทางธรรมชาติเปนภูเขาที่เชื่อมโยงมนุษยกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดจน การสรางศิลปะ และสถาปตยกรรม ที่นําเสนอรูปทรงของภูเขาผานแนวทางสถูปเจดียและพระปรางคตางๆ เปนตน ซึ่งรูปทรงเหลานี้กอ ใหเกิดการรับรูและเกิดกระบวนการคิดหาทางไปสูหนทางแหงปญญา ผานการรับรูเรื่องราวผาน รูปทรงของภูเขาและสิ่งปลูกสราง และเกิดจิตนาการเชื่อมโยงกับความเชื่อ และแนวคิดเชิงเหตุผลทําใหสะทอนถึง แนวทางของความคิดเชิงอุดมคติ เรื่องของความคิดคติทางศาสนา ความดีงามในจิตใจ ซึ่งเมื่อความคิดเชิงมโนทัศน มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ซึ่งกรอบความคิดแบบมโนทัศนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น นํามาทั้งความเปลี่ยนแปลง ในทางที่สรางสรรคและทําลายตอสภาพแวดลอมทั้งเชิงนามธรรมและรูปธรรม 11. การวิเคราะหทฤษฎีแบบของเพลโตและแนวคิดของไตรภูมิ การวิเคราะหทฤษฎีแบบของเพลโตกับแนวคิดของไตรภูมิ สามารถนํามาอธิบายเปนการรับรูเชิงรูปธรรม (โลกสมมติ) และการรับรูเชิงปญญา (โลกแหงแบบ) ไดโดยแบงออกเปน 4 ระดับ ไดแก 1) จินตนาการ 2) ความเชื่อ 8


3) เหตุผล และ 4) ปญญาที่แทจริง โดยเริ่มตนจากการรับรูผานประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ไดแก ตา หู จมูก ลิน้ กาย และ ใจ โดยเพลโต นําเสนอวา ความรูระดับลางสุดคือ จินตนาการ เพราะเปนความคิดที่เกิดจากการรับรูจากสิ่งแวดลอม (ภาพที่ 4)

ภาพที่ 4 รูปธรรม (โลกสมมติ) และเชิงปญญา (โลกแหงแบบ) จากภาพที่ 4 การรับรู แบงออกเปน 4 ระดับ โดยเริ่มจากจินตนาการ ความเชื่อ เหตุผล และปญญาแทจริง ตามลําดับ เปนแนวความคิดที่เรียกวาแบบบริสุทธิ์ (Pure Form) เปนรูปแบบของสามเหลี่ยม แบบของมนุษยที่แยก ออกจากสิ่งที่เปนวัตถุกายภาพเปนรูปทรงสามเหลี่ยม เปนรูปทรงที่มีโครงสรางที่มีระเบียบมีความงาม (Tyson, 2012) สิ่งนี้เปนสิ่งที่หลอหลอมความคิดและความเชื่อทั้งในเรื่องจิตวิญญาณและหลักปฏิบัติในการดํารงชีวิต ซึ่งสิ่งที่ พบในโลกปจจุบันลวนเกิดจากโลกแหงแบบที่ทําใหสสารเกิดการรวมตัว โดยแบบที่แทจริงทําใหเกิดสิ่งเฉพาะที่มี รูปรางหรือรูปแบบที่ผิดเพี้ยนจึงเกิดความหลากหลายของธรรมชาติ โดยการรับรูเชิงปญญา เปนการมองความวาง เปลา การเขาถึงระดับปญญาบริสุทธิ์นั้น ทําใหมองเห็นความจริงซึ่งไมยึดติดอยูกับรูปแบบ เพลโตมองวา แบบ บริสุทธิ์ (Pure Form) เปนแบบที่สะทอนออกมาเปนรูปธรรมนั้นเอง

ภาพที่ 5 การวิเคราะหทฤษฎี “แบบ” ทั้งแนวคิดของเพลโตและแนวคิดของไตรภูมิ

9


ภาพที่ 5 แสดงถึงการเกิดภาพเสมือนจากวัตถุตนแบบ เปรียบเทียบไดกับวัตถุที่ตั้งอยูแลวมีแสงสองมา กระทบทําใหเกิดเงาของวัตถุ ทําใหสสารมีความผิดเพี้ยนแตกตางไปจากวัตถุตนแบบ แนวคิดนี้สอดคลองกับ แนวคิดที่นําเสนอความสัมพันธระหวางรูปแบบความคิดของไตรภูมิกับแนวคิดของเพลโต

ภาพที่ 6 กายภาพกับแนวความคิด เปนการอธิบายความสัมพันธระหวางรูปธรรมและนามธรรม จากภาพที่ 6 กายภาพกับแนวความคิด โดยผานรูปทรงของกลองเปลาและรูปทรงความเคลื่อนไหว ซึ่ง เปนสิ่งที่สื่อผานความรูความเขาใจในเรื่องที่เกี่ยวของกับรูปธรรมและนามธรรม ดังนั้นรูปแบบทางกายภาพ จึงมี ความสั ม พัน ธทางใดทางหนึ่งกับความคิดเชิงนามธรรม ไมวาจะเปนเรื่องความเชื่อ หรือ มโนคติท างความคิด เชนเดียวกับแนวความคิดทางระบบภูมิวัฒนธรรมที่รูปแบบทางกายภาพนั้นมีความสัมพันธกับรูปแบบความคิดเชิง จินตภาพได เชน สัญลักษณของภูเขาซึ่งหมายถึง สิ่งที่มีความหมายเหนือธรรมชาติ จากลักษณะทางกายภาพของ ภูเขา แสดงใหเห็นถึงการรับรูเชิงรูปธรรมสามารถสงผลตอความคิดเชิงนามธรรมได

ภาพที่ 7 รูปแบบทางกายภาพตามแนวคิดเพลโตและไทย จากภาพที่ 7 รูปแบบทางกายภาพตามแนวคิดเพลโตและไทย เปรียบเทียบไดกับกลองเปลาที่ยังขาด รูปแบบในการจัดเรียง ตามแบบของเพลโต ซึ่งเปรียบเทียบไดความคิดเชิงมโนคติ เรื่องไตรภูมิ ที่ฝงรากเรื่องคติ ความเชื่อ ความดีงามในสังคม ที่ตองการหลอหลอมใหคนในสังคมเปนคนดี โดยยึดรูปแบบแผนภูมิจักรวาลที่มี เขา พระสุเมรุเปนศูนยรวมจักรวาล สอดคลองกับความเชื่อที่นําเอาภูเขามาเชื่อมโยงกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยที่ผูคนใน สังคมสมัยกอนไดยึดหลักระบบไตรภูมิ และไดมีการสรางสิ่งแวดลอมเชิงรูปธรรมที่สรางแนวความคิดใหสังคมรับรู 10


ถึงแนวคิดทางศาสนา ซึ่งสามารถมองไดวา การรับรูเชิงรูปธรรมสอดคลองกับการเขาถึงความรูในรูปแบบความรู เชิงบริสุทธิ์ โดยสามารถสังเกตไดวา บริเวณที่มีการสรางศาสนสถานที่สําคัญๆ มักตั้งอยูบนภูเขาสูงหรือภูเขาที่ สําคัญในทองที่เพื่อสรางรูปแบบทางรูปธรรมที่สามารถสื่อถึงแนวความคิดในระบบนามธรรมที่กระตุนใหมนุษย พยายามแสวงหาความจริงในความเชื่อที่ถูกเลาผานกันมาซึ่งหลักการและเหตุผลที่แฝงอยูในรูปแบบทางกายภาพที่ ผานแนวความคิดของมนุษยที่ตองการแสดงออกถึงความรูที่แทจริงหรือการเขาแบบของเพลโต จึงเปรียบเทียบได กับการเขาถึงสภาวะอรูปพรหมในระบบไตรภูมินั้นเอง 13. สรุป ทฤษฎี แ บบของเพลโตสามารถประยุ ก ต ใ ช กั บ ความเชื่ อ และความศรั ท ธาของคนไทย เพราะได นํ า แนวความคิดเรื่องระบบไตรภูมิ เปรียบเสมือนเปนความคิดในรูปแบบของเพลโต ซึ่งความคิดดังกลาวนี้ไดพัฒนาตอ ยอดสูรากเหงาของวัฒนธรรม ตั้งแตดินแดนอาณาจักรขอมโบราณ พมา ลาว และประเทศไทยในปจจุบัน โดยการ ผสมผสานกับแนวความคิดเรื่องระบบนิเวศวัฒนธรรม ซึ่งเดิมไดรับแนวความคิดเรื่องศาสนาพุทธ เมื่อแนวความคิด เรื่องไตรภูมิและระบบจักรวาลเขามามีอิทธิพลในดินแดนแถบที่ราบลุมแมน้ํา โดยการสรางเจดียตางๆ เพื่อทําการ บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และทดแทนการขาดหายไปของสัญลักษณทางระบบนิเวศเชิงวัฒนธรรม จนนํามาสูการพัฒนา รูปแบบทางสถาปตยกรรมไทยมากมาย ทั้งเจดียทรงระฆัง พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พระปรางครูปทรงจอมแห วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ เปนตน ซึ่งสิ่งปลูกสรางตางๆ เปนการกระตุน การรับรู ดานผัสสะของมนุษยในสังคมพระพุทธศาสนาที่หลอหลอมระบบความคิดผานความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่ถายทอดกันมา โดยที่การรับรูทางกายภาพนี้นําไปสูการสรางความเชื่อเพื่อที่ดึงดูดใหคนในสังคมเปดใจรับฟงคําสอนขององคสัมมา สัมพุทธเจาตามหลักศาสนาพุทธที่เนนแนวความคิดเรื่องศีลธรรมความดีงามเพื่อนําไปสูการคนพบแนวทางที่คนพบ ความจริงของชีวิต นั่นคือ การหลุดพน แนวความคิดดังกลาวนี้มีความสอดคลองอยางยิ่งกับแนวคิดของเพลโตที่มุง สรางความรูที่แทจริงโดยผานการรับรูในเชิงรูปธรรมไปจนถึงนามธรรม เปนแนวความคิดที่เปนแบบบริสุทธิ์ (Pure Form) นั่นเอง เมื่อเวลาผานไป แนวคิดตางๆ ที่เคยมีอิทธิพลตอสังคมไทยในอดีตนั้น ไดเริ่มเลือนรางหายไป ปจจุบันการดําเนินชีวิตของมนุษยเปลี่ยนไป ทําใหการแสดงออกเชิงพฤติกรรมของคนในสังคมตอสิ่งแวดลอมและ รูปแบบเชิงพื้นที่นั้นแตกตางออกไป มนุษยเปลี่ยนเปาหมายในการดํารงชีพไมใชการขึ้นสวรรคในชวงหลังความตาย แตเปนการหาความสุขในโลกปจจุบัน สนใจโลกที่เปนแบบบริสุทธิ์ (Pure Form) นอยลง สิ่งเหลานี้สงผลถึงความ เชื่อเรื่องระบบนิเวศทางวัฒนธรรม มนุษยไมเคารพภูเขาหรือมองภูเขาเปนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมระหวางมนุษย กับสิ่งเหนือธรรมชาติ แตกลับมองวาเปนทรัพยากรชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเปนเงินตราและสรางความมั่นคั่งได จึ ง ลงมื อ ทํ า ลายธรรมชาติ ส ง ผลให เ กิ ด ป ญ หาสิ่ ง แวดล อ มต า งๆ ส ง ผลกระทบไปทั่ ว โลก สิ่ ง เหล า นี้ แ สดงถึ ง แนวความคิดที่เปลี่ยนแปลงไป และสงผลกระทบตอการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ดังที่เสนอแนวคิดมาขางตน กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรที่ไดสนับสนุนทุนเพิ่มพูนความรูในตางประเทศ ประจําป 2554 ครั้งที่ 3 เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพื่อเขารวมงาน The 4th SSEASR Conference, Institute of Language and Culture Studies (ILSC), Royal University of Bhutan, Thimphu, Kingdom of Bhutan อาจารย ดร. เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง นายสุข สัน ต ชื่นอารมณ นายกสิณ ประสิทธิโ ชค นายทศธรรม สิงคาลวณิช นางสาวอิสรา หิรัญ ลักขณา และ นางสาวขวัญ พิทักษรักษสันติ คณะสถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

11


บรรณานุกรม เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง. (2555). ภาพสเก็ตชวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารและภูเขาทอง. (ไฟลดิจิตอล). คลังปญญาไทย. (2554). วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร. สืบคนเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2554 จาก http://www.panyathai.or.th. จํานง ทองประเสริฐ. (2509). ปรัชญาตะวันตก สมัยโบราณ. กรุงเทพฯ: แพรพิทยา เดชชาติ วงศโกมลเชษฐ. (2524). ทฤษฎีการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ. โชติ กัลยาณมิตร. (2539). สถาปตยกรรมแบบไทยเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. นิธิ เอียวศรีวงศ. (2553). วัฒนธรรมมลายูนอกมุมมองฟอสซิล DeepSouthWatch. สืบคนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554. จาก http://www.deepsouthwatch.org/node/856 นิธิ เอียวศรีวงศ. (2525). ประวัติศาสตรนิพนธตะวันตก. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร. ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2552). สุนทรียศาสตรสําหรับคนไทย (3): ทฤษฎีแบบ (Form) ของเพลโต. หนังสือพิมพบานเมือง ฉบับวันเสารที่ 13 มิถุนายน 2552. สืบคนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 จาก http://www.ryt9.com. ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน). (2555). ลักษณะไทย มองเมืองไทยและคนไทยผานทางวัฒนธรรม. สืบคนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 จาก http://www.laksanathai.com/book2/p315.aspx. ธวัชชัย องควุฒิเวทย และ วิไลรัตน ยังรอด. (2550). ทองเที่ยว-เรียนรู อยุธยา. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, น. 80. พระสมปอง มนตชาโต. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญา เถรวาท. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ. พระพรหมพิจิตร. (2495). พุทธศิลปะสถาปตยกรรมภาคตน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพพระจันทร. พระศรีสุธรรมเมธี. (2553). อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถวรวาทตอความคิดทางการเมืองการปกครองของ พระเจาลิไท ศึกษาเฉพาะกรณี: ไตรภูมิพระรวม (เตภูมิกถา). ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ. พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2535). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา. ปริจเฉทที่ 5 เลมที่ 1. กรุงเทพฯ: สนองการพิมพ, หนา 167. วิทย วิศทเวทย. (2520). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร. (2554). ถ้ํา – อาณาจักรแหงความลี้ลับ. สืบคนเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 จาก http://www.seub.or.th ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2554). ภูเขาศักดิ์สิทธิ์กับความเปนสากล. วารสารเมืองโบราณ. สืบคนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 จาก http://www.siamganesh.com/muangboran10.html. ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และ รุงโรจน ภิรมยอนุกูล. (2554). ไตรภูมิ: จักรวาลทัศนของชาวพุทธ “ความเชื่อ” กับ “ภูมิสถาปตยกรรม”. บันทึกการเสวนาที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2554 จาก http://www.oknation.net/ สุจิตต วงษเทศ. (2554). ประเพณีเดือนแปดรับหนาฝนของคนเหนือ. สืบคนเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 จาก http://www.sujitwongthes.com, สมคิด จิระทัศนกุล. (2554). รูเรื่อง วัด วิหาร โบสถ เจดีย พุทธสถาปตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมิวเซียมเพรส สมคิด สวยล้ํา. (2553). การศึกษาวิเคราะหหลักธรรมจากการตอบปญหาเทวดาของพระพุทธเจา. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ.

12


สมบัติ จันทรวงศ. (2549). บทสนทนาของเพลโต. ยูไธโพร อโพโลจี ไครโต. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพคบไฟ. สํานักหอสมุดและศูนยสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. (2005). Zabout scientst around the world. สืบคนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 จาก http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Plato.html อันธิกา (นามแฝง). (2554). ความงาม ความจริง ความดีกับทฤษฎีศิลปะของเพลโต. สืบคนเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 จาก http://hoyjubkab.exteen.com/20090603/entry-4. 7wondersthailand. (2553). ไตรภูมิพระรวง/ ไตรภูมิกถา/ เตภูมิกถา (พญาลิไท) – สุดยอดวรรณคดีสมัยสุโขทัย. สืบคนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2555 จาก http://www.7wondersthailand.com. Capistran, M.D. (2001). “Plato’s Divided Line Analogy”. The Raleigh Tavern Society. Retrieved November 29, 2001 from http://www.raleightavern.org/dividedline.htm. Dickie, G. (2004). Introduction to Aesthetics: An Analytic Approach. Retrieved April 13, 2011 from http://www.artgazine.com/shoutouts/ Gewirth, A. (1965). Political Philosophy. London: The Macmillan Company. Golfreeze. (2007). ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร. Retrieved April 13, 2011 from http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=570.0 Harmon, M. J. (1954). Political Thought: From Plato to the Present. New York: McGraw-Hill Book Hegel, G.W.F. (1995). Reason in History. (translated by Hartman, R. S.). New York: The Liberal Arts Press. Lacewing, M. (2011). Plato’s theory of Forms. Retrieved April 13, 2011 from www.alevelphilosophy.co.uk. Patocka, J. (2002). Plato and Europe. (translated by Lom, P.). Stanford, California: Stanford University Press. Sahakian, W.S. (1968). History of Philosophy. New York: Barnes & Noble Books. Shields, C. (2003). Classical Philosophy: a Contemporary introduction. New York: Routledge. Tyson, P. (2012). “Reasoning within the Good: An Interview with David C. Schindler”. Radical Orlhodoxy: Theology,Philosophy Politics. Vol. 1 No 1& 2. (August, 2012) Wikipedia. (2005). Wat Arun from Chao Phraya River. Retrieved April 13, 2011 from http://th.wikipedia.org/ Wordpress. (2554). วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร. สืบคนเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 จากhttp://www.wordpress.com.

13


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.