Vintage Rhythm

Page 1

FEATURE

L

เรือ่ ง > นันทรัตน์ สันติมณีรตั น์

เครื่องเสียงหน้าตาแม้ไม่ทันสมัยแต่เร้าใจที่เห็น ในภาพ เคยเป็นดาวเด่นแห่งยุคของมันในช่วง หลายสิบปีก่อน หากเปรียบกับนักร้องสักคน ก็ คงเหมือนกับอาต้อย-เศรษฐา ศิรฉายา ที่ทุกวัน นีห้ ากแกขึน้ เวที ก็จะได้ยนิ เพลงทีไ่ พเราะเสนาะ โสตไม่แพ้ดนตรีวัยรุ่นสมัยใหม่อย่าง The Richman Toy หรือ Bodyslam แต่กไ็ ม่ใช่นกั ร้องทุกคนจะคงความเป็นอมตะ 2 MARS JULY 2010

ในความเป็นดาราที่ฉายแสงต่อเนื่องยาวนาน ด้วยอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าเหมาะกับนิยาม ‘วินเทจ’ ...เครือ่ งเสียงทีผ่ มก�ำลังจะพูดถึงนีก้ เ็ ป็นเฉกเช่น เดียวกัน นอกจากความคลาสสิ ก จากรู ป ลั ก ษณ์ ภายนอก ผลผลิตที่ได้จากเครื่องเสียงวินเทจคือ ความทรงจ�ำและเรื่องราวที่ผูกติดกันผ่านเส้น

ทางของกาลเวลา ที่คงคุณค่าและลีลาเฉพาะตัว บางอย่าง ที่แม้เวลาเปลี่ยนผ่าน แต่ท่วงท�ำนอง ของมันยังคงสร้างจังหวะทีแ่ ม้จะดูผดิ ทีผ่ ดิ ทางใน ยุคดิจิตอลที่อะไรต่อมิอะไรจี๊ดจ๊าดจัดจ้าน แต่ก็ สร้างอารมณ์ที่แตกต่างให้เสียงดนตรีที่ส่งผ่าน เข้าโสตประสาทของการรับฟัง ละเมียดและ นุม่ เนียน


L

ผมเข้าใจว่าการ ‘ฟังเพลง’ เป็นกิจกรรมข้อ แรกๆ ทีค่ นส่วนใหญ่ตอบหรือเขียนลงไปเมือ่ ถูก ถามว่า กิจกรรมยามว่างของคุณคืออะไร เช่น เดียวกับผมที่การฟังเพลงเป็นทั้งงานราษฎร์ ด้วยความชอบส่วนตัว และงานหลวงที่ต้อง เขียนคอลัมน์รีวิวอัลบั้มทุกเดือนลงในนิตยสาร mars แต่อาจเพราะสภาพคล่องทางการเงิน ใน ฐานะพนักงานกินเงินเดือน ท�ำให้ข้อจ�ำกัดการ ฟังเพลงของผม รูปแบบส่วนใหญ่ในการฟัง เพลงจึงพอใจได้แค่ในรูปแบบไฟล์ MP3 เปิด ด้วยโปรแกรม Window Media Player ผ่าน ล�ำโพงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กสัญชาติจีน นอกจาก นั้นก็ไม่ต่างจากเพื่อนรอบตัวคนอื่นๆ ที่ล้วน แล้วแต่มวี ถิ กี ารฟังเพลงจากวิทยุรถยนต์ในยาม เช้า คลื่นวิทยุออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตขณะ ท�ำงาน ส่วนตอนกลางคืนก็เข้านอนด้วยเสียง เพลงจากสเตอริโอขนาดกะทัดรัดรุ่นใหม่ราคา ไม่แตะหลักหมืน่ ในบางค�่ำคืนหากมีโอกาสก็ไป นั่งฟังเพลงในผับกับเพื่อนฝูง ผมก็ไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจอะไรกับการ ไม่มีเครื่องเสียงชุดใหญ่โต อาจเป็นเพราะผม รูส้ กึ ว่าผมไม่ใช่นกั ดนตรีหรือนักเล่นเครือ่ งเสียง ที่ต้องการความละเมียดละไมในการฟังเพลง และโสตประสาทการฟังของผมก็ไม่ใช่ระดับที่ เรียกว่า ‘หูเทพ’ ที่สามารถระบุความแตกต่าง ของแหล่งที่มาของเสียงได้ จนกระทั่งผมได้รับทราบประสบการณ์ของ

บก.หนวด บรรณาธิการบริหาร หัวหน้าของผม ผู้ซึ่งผมรู้ว่าแกเป็นคนชอบฟังเพลง ผมยังแอบ รู้ด้วยว่าแกบ้าแผ่นเสียงเอามากๆ อยู่มาวัน หนึง่ ผมแอบเห็นแกนัง่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ เปิด เว็บไซต์อีเบย์ สายตาละห้อยกับรูปภาพเครื่อง เสียงหน้าตาประหลาดที่ผมไม่เคยเห็นวางขาย ตามห้างสรรพสินค้าแห่งไหนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้ยินค�ำว่า ‘เครื่อง เสียงวินเทจ’ ถามไปแค่คำ� เดียว ด้วยความทีก่ ำ� ลังเห่อกับ เรื่องนี้ แกเลยเล่ายาวไปเกือบชั่วโมง ไม่เพียง แค่ผมที่ตกเป็นเหยื่อ แต่แกยังเรียกน้องๆ ใน กองบก.ที่อยู่แถวนั้นมานั่งล้อมฟังเรื่อง ‘เครื่อง เสียงวินเทจ’ ทั้งยังเล่าด้วยสีหน้าจริงจังยังกับ ว่ า มั น เป็ น ปั ญ หาโลกร้ อ นที่ ทุ ก คนควรจะ ตระหนักรับรู้ เอาล่ะ ผมรู้จักพวกเครื่องเสียงประเภทไฮ เอนด์ อ ยู ่ บ ้ า งจากนิ ต ยสารเครื่ อ งเสี ย งที่ ว าง เกลื่อนตามแผงหนังสือ แต่ไอ้เจ้า ‘เครื่องเสียง วินเทจ’ ผมไม่เคยรู้จักหน้าตาและการมีตัวตน อยู่ของมันมาก่อน บก.หนวดเริม่ ต้นด้วยว่า “กาลครัง้ หนึง่ นาน มาแล้ว ในเวลาพร้อมๆ กัน ยุคสมัยเดียวกัน มี คนหนึ่งผลิตของขึ้นมาอย่างหนึ่ง อีกคนก็ผลิต ของขึน้ มาอีกหนึง่ อย่าง จากนัน้ กาลเวลาผ่านไป ไวเหมือนโกหก มาตกใจเมือ่ หลายสิบปีให้หลัง

FEATURE

ของอย่างแรกกลายเป็นสิง่ ทีถ่ กู เรียกว่า ‘วินเทจ’ ส่วนของอีกอย่างถูกผูค้ นเรียกว่า ‘ของเก่า’ สงสัยกันไหม ว่าเกิดอะไรขึ้นกับของสอง อย่าง... จากนั้น ผมได้รับมอบหมายจากบก.หนวด และเพื่อนๆ ที่นั่งล้อมวง ให้เป็นผู้ไปค้นคว้าหา ค�ำตอบ VINTAGE RHYTHM: เรือ่ งเล่าของบก.หนวด ย้อนกลับไปเมื่อสองสามปีก่อน บ่ายวันหนึ่ง มี เพือ่ นสาวทีส่ นิทสนมกันมาตัง้ แต่เรียนชัน้ มัธยม ปลายโทรมาหาผม “ช่วยไปหาแม่ชั้นที่บ้าน หน่อย มีเรือ่ งขอความช่วยเหลือ” หลังจากเกริน่ ประโยคแรก ผมก็ได้ข้อมูลที่พอจะเล่าอย่าง รวบรัดตัดความได้ว่า แม่ของเพื่อนผมคนนี้ อยากจะให้ผมไปช่วยยกเครือ่ งเสียงทีอ่ ยูใ่ นห้อง เก็บของเอาไปไหนก็ได้ (เพราะมันรกบ้าน อยาก จะกระชับพื้นที่) หลังจากผ่านไปหลายปีที่พ่อ ของเธอได้เสียชีวติ ไป แม่ของเธอต้องการเคลียร์ ของต่างๆ ของที่ปล่อยให้วางทิ้งไว้ไม่ได้ดูแล เนิ่นนานหลายปี ไอ้ชุดเครื่องเสียงของพ่อเธอนั้น ผมก็เคย ไปนั่งฟัง คุยกับพ่อของเพื่อนสนุกสนานตาม ประสาคนชอบเครื่องเสียงเหมือนกัน ผมจ�ำได้ ว่าบ้านนี้มีเครื่องเสียงดีๆ ผมจึงบอกไปว่า เอา อย่างนี้แล้วกัน ผมจะหาทางขายของให้ แม่ เพื่อนบอกว่าดีแม่จะได้เอาเงินไปท�ำบุญ JULY 2010 MARS 3


FEATURE

L

หลั ง จากกองเครื่ อ งเสี ย งถู ก ผมหาคนมา เหมาไป ทั้งแม่เพื่อนและเพื่อนสาวก็ตกใจว่า กองระเกะระกะทีด่ เู หมือนไร้คา่ ในห้องเก็บของที่ น่ายกไปขายทิ้งให้รถเข็นขายของเก่านั้น ได้ เงินสดเอาไปท�ำบุญเกือบแสนบาท! นัน่ เป็นทีม่ าของเครือ่ งวินเทจตัวแรกของผม ยี่ห้อ Marantz รุ่น Model 4400 ซึ่งตัวนี้ถือเป็น ยอดนิ ย มของยี่ ห ้ อ นี้ ใ นยุ ค นั้ น ทุ ก อย่ า งยั ง ดู สวยงามไม่มีร่องรอยหนักหนาสาหัสให้เสียโฉม

MARANTZ 4400 รีซีฟเวอร์ตัวนี้เป็นวินเทจสไตล์ยุค 70s จุด เด่นของมันคือก�ำลังขับที่สูง มีขนาดที่ใหญ่และ หนั ก จนถู ก จั ด อยู ่ ใ นหมวดหมู ่ Monster Recievers ซึ่งสอดคล้องกับสไตล์ดนตรีในสมัย ของมันทีเ่ ริม่ มีจงั หวะหนักแน่นเร้าใจกว่ายุคก่อน หน้า นอกจากนี้ 4400 ตัวนี้ยังมีฟังก์ชันที่เรียก ว่า Scope ที่เป็นจอเล็กๆ ที่มีแสงสีเขียวเรือง กระจายเป็นรูปร่างต่างๆ สอดคล้องกับจังหวะ ดนตรี นอกจากนี้ยังมีระบบ CD4 ที่ Marantz พยายามจะสร้างมิติใหม่แยกเสียงล�ำโพง 4 ตัว คล้ายกับระบบเซอร์ราวด์ในปัจจุบัน และยังมีกรอบไม้ดั้งเดิมตามแบบฉบับเครื่อง เสียงสมัยยุคก่อนทีจ่ ะมีกรอบไม้ครอบเครือ่ งเพือ่ ความสวยงาม หลังจากซ่อมแซมบูรณะอยู่ประมาณสาม สัปดาห์ ผมยกเจ้า Marantz 4400 ที่แสนหนัก อึง้ ตัวนีม้ าทีบ่ า้ น ผมนัน้ มีลำ� โพงสุดทีร่ กั อยูค่ หู่ นึง่ ที่เก็บตังค์ซื้อสมัยครั้งท�ำงานใหม่ๆ เป็นล�ำโพง เชื้อสายอิตาลี ยี่ห้อ Sonus Faber รุ่น Concertino ปัญหาของล�ำโพงตัวนีม้ อี ยูส่ องเรือ่ ง (ตามที่ ผู้รู้ว่ากัน ไม่ใช่ผมว่าเอง แต่ผมเห็นด้วย) หนึ่งก็ คือเป็นล�ำโพงที่กินวัตต์ (ต้องใช้แอมป์วัตต์สูงๆ เนือ่ งจากล�ำโพงมีความไวต�่ำ) และสองก็คอื เป็น ล�ำโพงทีว่ า่ กันว่าต้องใช้แอมป์ดมี ากๆ เป็นตัวขับ พูดง่ายๆ ก็คือ ผมจะต้องจ่ายแพงเพื่อซื้อแอมป์ มาจับคู่กับล�ำโพงตัวนี้ ไม่อย่างนั้นล�ำโพงตัวนี้ก็ 4 MARS JULY 2010

จะไม่เปล่งประสิทธิภาพ สูงสุดที่มันท�ำได้ออกมา ในระยะ 5-6 ปีหลัง ผมเปลี่ยนคู่แอมป์ให้มัน ไ ป ส า ม สี่ ร อ บ ด ้ ว ย คุณภาพและก�ำลังขับที่ สูงขึ้นเรื่อยๆ เจ้าล�ำโพง ตัวนี้ก็ท�ำให้ผมประทับ ใจขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ ดี ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า น เครื่องเสียงก็ยังกรอก หู ผ มอยู ่ ต ลอดให้ ห า แอมป์ ดี ๆ กว่ า นี้ ใ ห้ เจ้าล�ำโพงตัวนี้ หรือ ไม่ ก็ ข ายมั น ทิ้ ง ไป เสียเลย หาล�ำโพงที่ เล่นด้วยได้ง่ายๆ เอามาฟังดีกว่า วันที่ผมได้เจ้า Marantz 4400 มา และผม ลองเอาแอมป์วินเทจตัวนี้จับกับล�ำโพง Sonus เอาใจยากของผม ผลก็คือ เหมือนพระเอกเจอ นางเอกในหนังไทยยังไงยังงั้น เสียงที่ออกมา เพราะพริ้งอย่างที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน (ตลอด ระยะเวลากว่า 10 ปีที่อยู่กับมัน) ไม่น่าเชื่อว่าแอมป์อายุกว่า 30 ปี ราคา ย่อมเยา จะท�ำได้ถงึ ขนาดนี้ (ข้อดีของเครือ่ งเสียง วินเทจคือราคาส่วนใหญ่จะไม่สูงเว่อร์เหมือน เครื่องเสียงไฮเอนด์หรูๆ ในปัจจุบัน) ผมเพลิดเพลินอยู่กับเจ้า Marantz 4400 ตัว นี้อยู่ร่วมปี ในระหว่างนั้นก็เริ่มศึกษาเรื่องเครื่อง เสียงวินเทจ ซึง่ ก็พบว่าก�ำลังเป็นทีน่ ยิ มกันอยูใ่ น หมู่นักเล่นเครื่องเสียงในต่างประเทศ ส่วนเมือง

SANSUI AU-111 เป็นแอมป์รหัส AU ทีถ่ กู เรียกขานว่า ‘หน้า ด�ำ’ เน้นสไตล์โทนสีด� ำขรึมดุดันที่ Sansui สร้างสรรค์ให้เป็นท็อปไลน์ในยุค 60s แอมป์ตวั นี้ เป็นแอมป์ที่ตามด้วยเลขตองตัวแรกของสาย หน้าด�ำ และเป็นตัวเดียวในซีรสี น์ ี้ทเี่ ป็นแอมป์

ไทยนั้น แม้จะอยู่ใน กลุ่มเฉพาะ แต่ก็ถือ ได้ว่าเริ่มอินเทรนด์ อยู่เหมือนกัน กระทัง่ วันหนึง่ ผม บั ง เอิ ญ ได้ แ วะไปที่ ร้านซ่อมเครื่องเสียง แห่งหนึ่ง ซึ่งเจ้าของ ร้านจัดเป็นหนึง่ ในช่าง ซ่อมที่มีประสบการณ์ เรื่องเครื่องเสียงวินเทจ เอาเจ้า Marantz 4400 ไปดู แ ลรั ก ษาประจ� ำ ปี นอกจากนี้ ก็ ยั ง ติ ด เอา ล�ำโพงตัวแรกในชีวติ ทีพ่ อ่ ซื้ อ มาฝากจากอเมริ ก า เมือ่ ช่วงปี 80s ต้นๆ ยีห่ อ้ Advent รุน่ baby เอาไปตรวจเช็กสภาพ ระหว่ า งที่ นั่ ง รอ พี่ โ ทเจ้ า ของร้ า นก� ำ ลั ง ทดสอบเสียงแอมป์หลอดวินเทจตัวที่เขาเพิ่งได้ มา Sansui AU-111 พี่โทก็เอาล�ำโพงของผมไป ทดสอบสภาพเสียงกับแอมป์ตัวที่ว่า ความมหัศจรรย์แห่งวินเทจก็ได้เกิดขึ้นอีก ครัง้ ส�ำหรับผม ผมฟังล�ำโพงของผมตัวนีม้ าตัง้ แต่ ยังเรียนอยูม่ ธั ยมต้น คุน้ เคยกับมันมากๆ เปลีย่ น สลับกับแอมป์มาแล้วหลายต่อหลายรอบ แต่ไม่ เคยได้ฟังครั้งไหนที่ล�ำโพงของผมร้องเพลงออก มาได้ไพเราะเพราะพริ้งขนาดนี้มาก่อน (ฉากรัก หนังไทยอีกแล้ว อิอิ) หลังจากคุยกับพี่โทจึงได้ ความรู้ว่า เจ้าตัวนี้คือแอมป์หลอดที่ชาวญี่ปุ่น ภาคภูมใิ จเป็นนักหนา แอมป์ตวั นีเ้ ป็นตัวดัง้ เดิม หลอด โดยหลังจากนัน้ เป็นช่วงเปลีย่ นผ่านสูย่ คุ ทรานซิสเตอร์ AU-111 ผลิตขึน้ ในปี 1965 ถูก ยกย่องว่าเป็นแอมป์หลอดทีด่ ที สี่ ดุ ของ Sansui และมีการผลิตซ�้ำขึ้นมาในปี 1999 ในจ�ำนวน จ�ำกัด ถือว่าเป็นแอมป์วนิ เทจทีห่ ายากและมีคน หมายปองมากทีส่ ดุ ตัวหนึง่ ในวงการ ครัง้ ใดทีม่ ี แอมป์ตวั นีป้ รากฏขึน้ ในอีเบย์ จะมีการห�ำ้ หัน่ กัน อย่างสุดฤทธิ์สุดเดชเพื่อแย่งกันที่จะได้ครอบ ครอง (น่าเสียดายที่ AU-111 ของผม ปุม่ ไม่ใช่ ของดัง้ เดิม ของดัง้ เดิมจะเป็นสีเงิน)


L

ทีผ่ ลิตในปี 1965 และเป็นตัวทีห่ ายากพอสมควร (ทั้ ง ในเมื อ งไทยและในต่ า งประเทศ) ผมจึ ง อ้อนวอนและจ่ายตังค์ ขนเจ้า Sansui AU-111 ตัวนี้กลับบ้านในทันใด หลังจากได้ AU-111 มา ผมทยอยขายเครือ่ ง เสียงเดิมที่มีอยู่ในบ้านทั้งหมดออกไป แล้วตั้งใจ ที่จะเดินสายแนววินเทจนับแต่นั้น นั่งค้นคว้า ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเกือบทุกวัน วันละสอง สามชั่วโมง ตัวที่ได้ต่อมาก็คือแอมป์หลอด The Fisher ที่แกะออกมาจากตู้คอนโซลรุ่น Premier ที่ใช้ แอมป์รหัส TA-600 ที่เป็นสเตอริโอรีซีฟเวอร์ตัว แรกของ The Fisher จากนั้นผมเริ่มตามเก็บวินเทจอีกหลายตัว โดยเฉพาะยี่ห้อ Sansui ได้มาจากในเมืองไทย บ้าง ในอีเบย์บา้ ง ตัวล่าสุดทีไ่ ด้มาจากอีเบย์กค็ อื Sansui SM-320M รีซฟี เวอร์หลอดยุคแรกๆ ของ Sansui ที่ผลิตออกมาในยุคปลายปี 50s ตัวนี้ เป็นแอมป์ที่ผลิตออกมาน้อย และหายากมาก ผมคุยกับฝรั่งในบอร์ดเครื่องเสียงของอเมริกา ฝรั่งบอกว่า ข้อมูลของตัวนี้ในอินเทอร์เน็ตแทบ จะหาไม่เจอ รู้แต่ว่ามีรุ่นนี้ผลิตออกมา แต่ไม่มี ข้อมูลทีช่ ดั เจนแน่นอน ผมค้นหาในอินเทอร์เน็ต พบข้ อ มู ล มากที่ สุ ด เพี ยงไม่กี่บรรทัดจากฝรั่ง โปแลนด์ที่มีเจ้าเครื่องนี้อยู่ตัวหนึ่ง และไปโพสต์ เอาไว้ในเว็บเครือ่ งเสียงของประเทศโปแลนด์ ซึง่ อาศัยระบบแปลทางอินเทอร์เน็ตออกมาจาก ภาษาโปแลนด์ให้เป็นภาษาอังกฤษ โดยสรุปแล้ว เครือ่ งเสียงวินเทจส�ำหรับผม มี

เสน่หต์ รงทีแ่ นวเสียงทีต่ า่ งออกไปจากเครือ่ งเสียง ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีในยุคปัจจุบนั แตกต่างออก ไปแต่ผมไม่รสู้ กึ ว่าด้อยกว่า นอกจากนี้ ยังสามารถ สนุกกับการค้นคว้าประวัติความเป็นมาของมัน พยายามทีจ่ ะฟืน้ ฟูบรู ณะให้มนั สร้างเสียงดนตรีที่ ไพเราะเท่าเทียมกับครัง้ วันแรกทีเ่ ครือ่ งเสียงพวก นีอ้ อกวางตลาดเมือ่ หลายสิบปีกอ่ น แอมป์บางตัว ล�ำโพงบางคู่ เครื่องเล่นแผ่น เสี ย งบางเครื่ อ ง เวลาเปิ ด ฟั ง เพลง มั น เป็ น

THE SLEEPING BEAUTY: SANSUI SM-320M เป็นรีซฟี เวอร์หลอดตัวแรกของ Sansui ทีแ่ ยก ระบบคลืน่ วิทยุ AM-FM แบบตัวใครตัวมัน โดยมี ระบบแปลงสัญญาณคลื่น FM จากโมโนให้เป็น สเตอริโอ ผลิตในช่วงปลายยุค 50s เพือ่ เป็นต้น

แบบให้กบั รุน่ 500A ทีเ่ ป็นรุน่ ยอดนิยมของ Sansui ในยุคต้น 60s ความพิเศษของรีซฟี เวอร์ตวั นีก้ ค็ อื มันเป็น เครือ่ งวินเทจทีส่ ภาพเหมือนเพิง่ ออกมาจากห้าง สรรพสินค้า SM-320M ตัวนีน้ อนหลับราวกับเจ้า หญิงนิทราอยูใ่ นกล่องโดยไม่เคยถูกเอาออกมาใช้ เลยตั้งแต่เจ้าของคนแรกซื้อมาตั้งแต่ช่วงยุคต้น 60s จนถูกเอาออกมาขายในอีเบย์เมือ่ เดือนทีผ่ า่ น มา ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดส่งมาเมืองไทย ความ สนุกสนานตืน่ เต้นของผมคือ การชุบชีวติ เจ้าวิน เทจตัวนี้ให้กลับมาท�ำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ หลังจากทีน่ อนหลับมาร่วม 50 ปี

THE FISHER - PREMIER TA-600 คือสเตอริโอรีซฟี เวอร์ตวั แรกที่ The Fisher เริม่ ผลิต ผลิตในช่วงต้นปี 1959 และผลิต ต่อเนือ่ งไปอีกสองสามปี แต่คาดว่าคงไม่เป็นทีน่ ยิ ม เนือ่ งจากในปี 1960 ทางบริษทั ได้ผลิต 500C ออก มา ซึง่ มีกำ� ลังขับในวัตต์ทมี่ ากกว่า ดังนัน้ แม้วา่ TA-600 จะมีรายละเอียดของเนือ้ เสียงทีด่ กี ว่า แต่ ด้วยตัวเลขก�ำลังขับทีน่ อ้ ยกว่า จึงไม่เป็นทีน่ ยิ ม เท่ากับ 500C จึงท�ำให้รซี ฟี เวอร์ตวั นีก้ ลายเป็นตัว หนึง่ ทีห่ ายากในปัจจุบนั เหตุที่แผงหน้าปัด ที่เจ้าเครื่องนี้เขียนว่า ‘Premier’ แทนทีจ่ ะมีคำ� ‘The 600’ เหมือน TA-600 ตัวปกติ ก็เนือ่ งจากรีซฟี เวอร์เครือ่ งนีแ้ กะออกมา

FEATURE

จากตูค้ อนโซล (สมัยก่อนบริษทั เครือ่ งเสียงชอบ ผลิตเครือ่ งเสียงใส่ตไู้ ม้ เพือ่ ทีจ่ ะให้เป็นเฟอร์นเิ จอร์ ในบ้านได้ดว้ ย) มีกรู ฝู รัง่ ในบอร์ดเครือ่ งเสียงยอด นิยมของอเมริกาอธิบายให้ผมฟังว่า ตู้คอนโซล ‘Premier’ เป็นตูข้ นาดเล็กราคาไม่แพง เป็นตูต้ วั แรกๆ ของ Fisher ผลิตขึน้ ในปี 1960 เพียงปีเดียว และเป็นตัวที่ใส่ TA-600 ลงไปในนั้น เขาเป็น เจ้าของตู้ Console หลายตู้ รวมทัง้ เป็นเจ้าของตู้ Premier ทีส่ วยสมบูรณ์ไม่มที ตี่ ิ ผมโพสต์รปู ไปลงไว้ในบอร์ดให้เขาดู เขายืนยัน ว่าตัวนีค้ อื TA-600 ทีอ่ ยูใ่ นตู้ ‘Premier’ เหมือนของ เขา ผมได้ส่งรูปถ่ายที่มีตัวอักษรพิมพ์ว่า ‘May 1959’ ไปให้ดูด้วย เขาบอกว่าเครื่องเขาก็มี ต� ำ แหน่ ง เดี ย วกั น เป็ น เดื อ น ‘June 1959’ เขาบอกด้วยว่า Premier ของผมเป็นตัวทีส่ องทีเ่ ขา ได้เห็น น่าเสียดายถูกแยกแกะออกจากตู้ไป เรียบร้อยแล้ว

ท่วงท�ำนองเหมือนครั้งที่คุณปู่คุณตาหรือญาติ อาวุโสของเราเคยฟังในยุคนัน้ เครือ่ งเสียงวินเทจ ยังคงคุณภาพที่ไม่เคยเสื่อมมนต์ขลัง ประสบการณ์ของบก.หนวด ท�ำให้ผมหวนนึกถึง เครือ่ งวิทยุแบบสเตอริโอของพ่อสมัยหนุม่ ทีผ่ ม เพิง่ ทิง้ ไปเมือ่ ปีทแี่ ล้ว ด้วยความคิดว่ามันเก่า รก บ้าน ไม่ทนั สมัย ผมขนไปชัง่ กิโลขายกับพ่อค้า ขายของเก่าทีม่ ารับซือ้ ถึงบ้านในราคา 30 บาท! การเดินทางตามรอยเครือ่ งเสียงวินเทจของ ผมที่มีบก.หนวดเป็นเนวิเกเตอร์ ตามมาด้วย ลิสต์ยาวเหยียดทีม่ ที งั้ ชือ่ คนและชือ่ ร้านสถานที่ ตลอดจนเว็บไซต์ตา่ งๆ ทัง้ ของไทยและของต่าง ประเทศ ให้ผมไปค้นคว้า และพูดคุยกับนักเล่น เครือ่ งเสียงวินเทจคนอืน่ ๆ หลังจากทีค่ น้ คว้าหน้าจอ โทรศัพท์พดู คุย และนัง่ จับเข่าคุยกับคอวินเทจทัง้ หลาย ผมเริม่ จะรู้สึกว่า สิ่งที่เรียกว่าเครื่องเสียงวินเทจนี้ มี อะไรทีน่ า่ สนใจนอกเหนือไปจากรูปร่างหน้าตา ประหลาดและไม่คนุ้ เคย

JULY 2010 MARS 5


FEATURE

L

ดนุชา วีระพงษ์

เครื่องเสียงวินเทจคือการลงทุน “เครื่องสมัยใหม่ มีเงินก็ซื้อได้ แต่ เครื่องวินเทจพวกนี้ ถ้าให้ผมไปหาอีก ก็ไม่รู้จะไปหาที่ไหนแล้ว”

ผมเริม่ ด้วยสถานทีน่ ดั หมายง่ายใจกลางเมือง ที่ ร้ า นขายแผ่ น เสี ย งและเครื่ อ งเสี ย งวิ น เทจชื่ อ ‘Nipper Shop’ ของคุณแดน ‘ดนุชา วีระพงศ์’ เครือ่ งเสียงวินเทจชิน้ แรกของคุณแดน คือ FH-7 MK 3 ยี่ห้อ Sony เขาต้องสอบให้ได้ที่หนึ่งหรือ สอง คุณพ่อคุณแม่ถงึ จะยอมซือ้ เครือ่ งเสียงราคา 4-5 พันบาทเมื่อประมาณยี่สิบกว่าปีก่อนเครื่อง นี้ให้ เมื่อถามว่าท�ำไมถึงต้องเป็นตัวนี้ เขาบอก ว่าเลือกมากไม่ได้ เพราะในยุคนั้นเครื่องเสียงมี ตัวเลือกไม่มากเท่าปัจจุบัน เครื่ อ งเสี ย งสมั ย ใหม่ รุ ่ น ล่ า สุ ด ในครั้ ง นั้ น กลายมาเป็นเครือ่ งเสียงวินเทจแห่งความทรงจ�ำ ของเขาในวันนี้ เขายอมรับว่าเขาไม่เคยมีชว่ งเวลาบ้าเครือ่ ง เสียงวินเทจและแผ่นเสียงมากเป็นพิเศษ แต่เขา บ้าอย่างสม�ำ่ เสมอ และค่อยๆ เก็บสะสมมาตัง้ แต่ สมัยเรียนชั้นม.ปลาย แม้กระทั่งช่วงไปเรียนต่อ ที่อเมริกา เขาซื้อเครื่องเสียงยี่ห้อ Luxman เก็บ ไว้ แ ละกลายเป็ น ของสะสม จนตอนนี้ เ ขามี ทั้งหมดประมาณ 70-80 ชิ้น เขามองว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ “ผมไม่ ใ ช่ พ วกอยากได้ ข องอะไรแล้ ว ซื้ อ เยอะๆ และไม่ใช่พวกทีซ่ อื้ ของแพง เป็นแสนเป็น ล้าน และเครื่องเสียงวินเทจของผมพวกนี้เป็น อะไรที่ให้ราคาเท่าไรก็ไม่ขาย ผมจะเก็บไว้เอง สมัยก่อนผมเก็บแต่แผ่นเสียง เพราะไม่รู้ว่า 6 MARS JULY 2010

เครือ่ งเสียงจะมีคนเปลีย่ นมือด้วย อาจเพราะช่วง หลังๆ มีคนที่อยากได้เครื่องเสียงที่เข้ากับบ้าน เริ่มอยากได้ของเก่ามาประดับบารมี” ด้ ว ยต� ำ แหน่ ง หน้ า ที่ ก ารงานของคุ ณ แดนที่ มี ความเครียดตลอดเวลา เขาใช้เสียงเพลงจาก เครื่องเสียงวินเทจเป็นเครื่องช่วยผ่อนคลาย “ผมท�ำงานพวกวิเคราะห์การเงิน มันต้องใช้ ทักษะและจังหวะในการท�ำงาน เพราะค่าเงิน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผมต้องฟังเพลงคลาส สิ ก ท� ำ งานไปด้ ว ยฟั ง เพลงไปด้ ว ย เพื่ อ ลด อารมณ์ความเครียด ผมชอบอารมณ์ของเครื่อง เสียงเก่าทีว่ างเรียงกันเป็นแท่งๆ อย่างทีอ่ อฟฟิศ ผม มันสวยมากครับ” คุณแดนเป็นคนฟังเพลงเยอะมาก ฟังเกือบ ทุกศิลปิน เขาชอบเพลงหลากหลายแนว หลังจากที่เขาตัดสินใจเปิดกิจการร้านแผ่น เสียง Nipper Shop นอกเหนือจากงานหลักใน การบริ ห ารบริ ษั ท ด้ า นสิ น เชื่ อ ธุ ร กิ จ ของ ครอบครัว ท�ำให้เขามีโอกาสท�ำความรู้จักเพลง มากขึ้นและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การฟัง เพลงกับลูกค้าหลากหลายประเภท ยามพักผ่อนทีบ่ า้ นช่วงวันหยุด คุณแดนชอบ ให้บา้ นมีบรรยากาศคนพูดคุยกันตลอดเวลา เขา จึงเลือกฟังวิทยุเป็นหลัก และเสียงเพลงตาม คลื่นวิทยุจากเครื่องเสียงวินเทจยี่ห้อ Marantz รุ่น 4400 (รุ่นเดียวกับบก.หนวด) ให้อารมณ์ไม่

ต่างจากฟังเพลงด้วยซีดี “ผมว่าหูของคนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางทีคนเราก็อุปาทานเยอะไป บอกว่าใช้เครื่อง เสียงแพงๆ แล้วเสียงดีขึ้นทันที อะไรที่ผมมอง ไม่เห็น ผมไม่ค่อยให้ความส�ำคัญ ผมสนใจสิ่งที่ เห็นได้ด้วยตาว่ามันดี เครื่องเสียงวินเทจพวกนี้ เป็นอนาล็อกที่เข้ากับอดีต เสียงเป็นอย่างไรมัน มาอย่างนั้นเลย” คุณแดนเปรียบเครือ่ งเสียงวินเทจเหมือนรถ โบราณที่เขาชอบ รวมทั้งมูลค่าของมันด้วย “ของสะสมของผมทุกอย่างซือ้ แล้วราคาต้อง นิง่ ๆ หรือขึน้ ไป ในฐานะนักบริหารทีอ่ ยูก่ บั ตลาด เงินและตลาดทุน ผมค่อนข้างจะให้มูลค่ากับ ความส�ำคัญของสิ่งของ ถ้าผมซื้อเครื่องเสียงไฮ เอนด์แพงๆ ตัวละแสน ฟังไปสามเดือน เหลือห้า หมืน่ บาท เหมือนคนซือ้ รถใหม่บางยีห่ อ้ พอขาย แล้ ว ราคาลงเละเทะ แต่ เ ครื่ อ งเสี ย งวิ น เทจ โรงงานมันปิดไปหมดแล้ว ไม่มที างกลับมา กลาย เป็นว่าของพวกนี้มีแต่จะแพงขึ้นเรื่อยๆ “เครื่องเสียงวินเทจมันคลาสสิก มันมีคุณค่า ในตัวเอง เสียงจะเป็นยังไงก็ช่างมันเถอะ คือ เทคโนโลยีเปลี่ยนไปเยอะมาก คุณจะเอาเสียงที่ ดีที่สุดก็ต้องใช้จ่ายแพง เป็นล้านๆ และที่ส�ำคัญ พวกของสมัยใหม่ มีเงินก็ซื้อได้ แต่ของวินเทจ พวกนีถ้ า้ ให้ผมไปหาอีกก็ไม่รจู้ ะไปหาทีไ่ หนแล้ว”


L

วีรพงศ์ อติชาติภัสสร

FEATURE

ผู้หลงใหลใน Marantz “มันเป็นต�ำนาน ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ อเมริ กั น สมั ย นั้ น ยั ง ต้ อ งบรรจุ ว งจร ของ Marantz โมเดล 7 และ 8 เอาไว้ เป็นต�ำราเรียน”

เครื่องเสียงวินเทจแบรนด์ดังมีหลายยี่ห้อ เช่น แมคอินทอช (McIntosh), ลักซ์แมน (Luxman), แซนซุย (Sansui) รวมไปถึงมารานซ์ (Marantz) ทีค่ ณ ุ วี-วีรพงศ์ อติชาติภสั สร หลงใหลและมีเก็บ สะสมเฉพาะแบรนด์ไว้เกือบ 20 ตัว “ผมสะสมเครื่ อ งเสี ย งวิ น เทจจริ ง จั ง มา ประมาณ 5 ปี ลองเปลี่ยนมาแล้วแทบทุกยี่ห้อ มาลงตัวทีย่ หี่ อ้ Marantz ทัง้ หน้าตาและเสียง มัน เป็นแบรนด์เก่าแก่ มีประวัติยาวนาน ผมชอบ สไตล์เสียงของมันด้วย “เสียงที่ออกมามันทั้งใสและหวาน อันนี้ต้อง ยอมรับอย่างหนึ่งว่าเครื่องเสียงแนวอเมริกากับ แนวเอเชีย พวกญี่ปุ่น คนละสไตล์กัน ผมชอบ แนวอเมริกามากกว่า และ Marantz ก็เหมาะกับ ดนตรีทุกแนว “เสน่ ห ์ อี ก อย่ า งของมั น อยู ่ ที่ ห น้ า ตาด้ ว ย Marantz ไม่เหมือนเครือ่ งเสียงทัว่ ไป เอกลักษณ์ ของมันคือสโคปตรงหน้าจอทีค่ อยบอกความชัด ของคลื่น ระดับ รายละเอียดของเสียง ถ้าปิดไฟ เล่นจะเด่นขึ้นมา “ผมติดใจเสียง หน้าตา และศักดิ์ศรีของมัน ด้วย หลายๆ อย่างนะ คือแบรนด์นี้พวกนักเล่น ก็ยอมรับกันว่าดี ผมเคยลองมาแล้วหลายยี่ห้อ บางยีห่ อ้ ซือ้ มาฟังได้วนั เดียวขายทิง้ เลย เสียงมัน

ไม่ได้เรื่อง แล้วมาลงตัวที่ยี่ห้อนี้ คุณวีเล่าให้ฟงั ว่า Marantz เป็นเครือ่ งเสียง วินเทจสัญชาติอเมริกนั ทีไ่ ด้รบั ความนิยมทัว่ โลก ผลิตขึ้นมาเมื่อช่วงต้นปี 1950 แต่เขาเลือก สะสม Marantz ถึงยุค 70s เท่านั้น “พวกบริษทั เครือ่ งเสียงไฮเอนด์ในยุคก่อนจะ ใช้งบในการลงทุนด้านพัฒนาและวิจัยมาก จน หลายบริษทั ไปไม่รอดและปิดกิจการ Marantz ก็ เช่นกัน พอมาถึงยุค 70s กว่าๆ เขาก็เจ๊ง โดนฟิ ลิปส์ (Philips) ซื้อกิจการไปในช่วงยุค 80s และ กลายเป็น ฟิลิปส์ มารานซ์ (Philips Marantz) คุณภาพในการผลิตก็ลดลง พอปี 2000 ฟิลิปส์ก็ ขาย Marantz ให้กับ Denon และกลายเป็น เดน อน มารานซ์ Denon Marantz เพราะเหตุนี้ผม ถึงไม่อยากเก็บ Marantz หลังยุค 70s “Marantz โมเดลในยุคแรกๆ เป็นแบบหลอด สุญญากาศ ยังไม่มีแบบทรานซิสเตอร์ ขายดีจน ออกรุน่ ใหม่ๆ และติดตลาดเรือ่ ยมา จนถึงโมเดล 7 และ 8 ซึง่ เป็น Marantz ทีข่ ายดีทสี่ ดุ ในต�ำนาน ขนาดที่ว่าเด็กนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์ต้องเรียน วงจรของ Marantz โมเดล 7 และ 8 เป็นต�ำรา เรียน เพราะวงจรมันง่ายมาก และเสียงทีอ่ อกมา ก็ดี สองรุ่นนี้แหละที่เขาว่ากันว่าบริษัทใช้เงินใน การวิจัยและพัฒนามากจนขาดทุน”

ก่อนหน้านีค้ ณ ุ วีพอใจกับมินโิ ฮมเธียเตอร์ใน ห้องนอนของเขา แต่ระหว่างการไปท�ำงานที่ ญี่ปุ่น เขามีโอกาสได้ฟังเครื่องเสียงวินเทจของ รุ่นพี่และพบว่า มันแตกต่างจากที่เขาคิด “เครือ่ งเสียงทีญ ่ ปี่ นุ่ เยอะมาก พอรุน่ ใหม่ออก มา เขาทิ้งรุ่นเก่าเลย บางทีผมก็ไปเจอปละเก็บ พวกเครื่องเสียงวินเทจตามกองขยะที่นู่น “พวกเล่นเครื่องเสียงวินเทจมันเฉพาะกลุ่ม จริงๆ บางกลุ่มเขาก็ไม่เอาเลยนะ เขาเล่นเครื่อง เสียงไฮเอนด์กันอย่างเดียว เพราะเขามองว่า อุปกรณ์อาจจะเสือ่ ม ต้องหาอะไหล่ทดแทน กลัว เสียงเพี้ยน “มันเป็นเรื่องของความชอบ ถ้าเครื่องเสียง ใหม่ๆ มีเงินเมือ่ ไรก็ซอื้ ได้ แต่เครือ่ งเสียงประเภท นี้ใช่ว่ามีเงินแล้วจะซื้อได้ เพราะอาจไม่มีของที่ เราอยากซื้อ” ตอนนี้เมืองไทยเริ่มมีคนหันมาเล่นเครื่อง เสียงวินเทจเยอะพอสมควร คุณวีจึงแนะน�ำว่า ถ้าใครอยากเล่น Marantz หาซื้อที่เมืองไทยนี่ แหละ ราคาสมเหตุสมผลที่สุด เริ่มต้นจากหลัก พันไปจนถึงแสนกว่าบาท

JULY 2010 MARS 7


FEATURE

L

วสุ สุรัติอันตรา

Roger LS3/5A คือต�ำนาน “ล�ำโพงนีเ้ ป็นล�ำโพงทีใ่ ห้เสียงค่อนข้าง เที่ยงตรง ให้เสียงที่ใกล้เสียงคนร้อง จริงมากที่สุด เรื่องนี้ท�ำให้ Roger กลายเป็นต�ำนาน”

คุณตั้ม-วสุ สุรัติอันตรา ท�ำธุรกิจเกี่ยวกับผลิต ภัณฑ์สปา ทีถ่ อื ได้วา่ อยูใ่ นอันดับต้นๆ ของเมือง ไทย นอกเหนือจากความเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ เขายังสนใจในเครื่องเสียงวินเทจ โดยเฉพาะ ล�ำโพงยีห่ อ้ Roger ทีเ่ อ่ยชือ่ มา หลายคนยอมรับ ว่าชื่อนี้คือต�ำนานแห่งล�ำโพงสตูดิโอ ท�ำไมถึงสะสมเครื่องเสียงวินเทจ ที่ผมสะสมเป็นเครื่องเสียงวินเทจฝั่งอังกฤษ ผม จะเน้นหนักทีล่ ำ� โพง แล้วก็จะมีแอมป์ เครือ่ งเล่น ซีดีวินเทจ จะบอกว่ามีขาตั้งล�ำโพงด้วยก็ได้นะ ก็ เ ริ่ ม มาตั้ ง แต่ เ รี ย นมั ธ ยม จนไปศึ ก ษาต่ อ ที่ อังกฤษ ได้มโี อกาสรูจ้ กั ร้านเครือ่ งเสียงมือสองที่ ถือเป็นร้านใหญ่ที่นั่น ฟังฟรี ไม่ต้องเสียตังค์ ถือ เป็นโชคดีที่มีโอกาสฟังเครื่องเสียงหลายๆ ล้าน ได้ฟังระบบที่หายากๆ จนกลับเมืองไทยจึงค้นพบว่า เครื่องเสียงหลัก ล้าน หรือหลักสิบล้าน มันไม่ได้ตอบโจทย์ของผม จนได้ฟังเครื่องเสียงวินเทจซึ่งราคาก็ไม่ได้สูง มาก รู้สึกว่ามันให้อะไรที่เครื่องเสียงไฮเอนด์ไม่ ว่าจะแพงขนาดไหนก็ให้เสียงที่เป็นอนาล็อกไม่ ได้ มีความเป็นธรรมชาติไม่ได้ ผมยืดหลักว่า เลือกให้เหมาะสมกับสไตล์ของเราจะดีที่สุด คุณตั้มมีล�ำโพง Roger เยอะมาก ผมคิดว่าส่วนที่ส�ำคัญจริงๆ ในระบบ อันดับ หนึ่งน่าจะเป็นล�ำโพง ล�ำโพงวินเทจก็มีหลาย ยี่ห้อ แต่ผมชอบล�ำโพงยี่ห้อ Roger โดยเฉพาะ รุน่ LS3/5A รุน่ นีม้ นั เป็นรุน่ ทีค่ นทีเ่ ล่นเครือ่ งเสียง ต้องรู้จักล�ำโพงนี้ เพราะเป็นล�ำโพงเล็กที่เป็น 8 MARS JULY 2010

ต�ำนาน ล�ำโพงนี้ดีไซน์ในยุคประมาณต้น 60s โดย British Broadcast Studio ก็คอื BBC ส�ำนัก ข่าวอังกฤษ ซึ่งเก่าแก่มาก BBC มีสตูดิโอกระ จายเสียงเหมือนส�ำนักข่าวทัว่ ไปทัว่ ทุกเมืองของ อังกฤษ จะมีแผนกหนึ่งที่เป็น research and development คิดค้นเทคโนโลยีส�ำหรับใช้ในสตู ดิโอของเขา ล�ำโพง LS3/5A เป็นหนึ่งในล�ำโพง รุ่นหนึ่งที่ BBC เป็นคนสั่งให้บริษัทล�ำโพงผลิต ขึ้นส�ำหรับสตูดิโอโดยเฉพาะ เป็นตัวที่ขนาดไม่ ใหญ่ สามารถเอาไปใช้ในรถตู้ถ่ายทอดสดก็ได้ มันก็เลยเหมาะกับพืน้ ทีข่ นาดเล็กก็คอื ขนาดห้อง ฟังในบ้านคน จุดเด่นอีกอย่างก็คือล�ำโพงนี้ให้ เสียงที่ใกล้กับเสียงจริงมากที่สุด ค่อนข้างเที่ยง ตรงมากกว่าล�ำโพงทั่วไป ให้เสียงที่ใกล้เสียงคน ร้องจริงมากที่สุด อันนี้คือต�ำนานของมัน มีกี่คู่ เฉพาะ LS3/5A ผมสะสมอยูห่ กคู่ จริงๆ แล้ว มีคนสะสมล�ำโพงรุ่นนี้กันมาก รวมทั้งเมืองไทย ด้วย LS3/5A มันมีหลายยี่ห้อด้วยนะ มียี่ห้อ Roger, Harbeth แล้วก็มี Spendor คือทีม R&D ของ BBC เขามีเอนจิเนียร์หลักอยู่สามคน ชื่อ Jim Roger, Spendor Hughes และ Alan Shaw สามคนนี้หลังจากเขาออกจาก BBC ก็มาตั้ง บริษัทท�ำล�ำโพงของเขาเอง เฉพาะโรเจอร์อย่าง เดียวมีทั้งหมดถึงนัมเบอร์ห้าหมื่นกว่า โรเจอร์ ขายกิจการไปในยุค90s ปัจจุบันกิจการถูกเทก โอเวอร์โดยบริษัทของฮ่องกง ก็มีออกมาผลิต ใหม่ แต่สว่ นใหญ่นกั สะสมจะนิยมรุน่ เก่ามากกว่า

และก็มีบางคู่ที่เป็นที่ใฝ่ฝันของนักสะสม ท�ำไมบางคู่จึงเป็นคู่พิเศษ ถ้ า จะถามว่ า แล้ ว คู ่ ไ หนเป็ น คู ่ ที่ นั ก สะสม แสวงหา ค�ำตอบคือรุน่ เก่า คูท่ ตี่ น้ เท่าไรก็ยงิ่ แพง เท่านัน้ เมือ่ ไม่นานมานีส้ องสามเดือนก่อนเพิง่ มี คูท่ เี่ ป็นคูท่ สี่ องหรือสามของโลกออกมา ก็บดิ กัน ประมาณสองสามแสนบาท สมัยก่อนมันอยู่ที่ หลักพัน คนที่สะสมหนักๆ คือคนฮ่องกง พื้นที่ เขาแคบ อยูก่ นั ในอพาร์ตเมนต์ ล�ำโพงนีถ้ กู ดีไซน์ มาเพือ่ พืน้ ทีข่ นาดเล็ก ก็เลยเหมาะกับไลฟ์สไตล์ ของเขา คนทีเ่ ล่นหนักมีญปี่ นุ่ กับฮ่องกง จีนตอน นีเ้ ริม่ ตามมา อีกหน่อยจีนจะเริม่ แซง คนไทยนีก่ ็ ไม่เป็นรองนะ ผมมี LS3/5A ที่น่าจะเก่าที่สุดใน เมืองไทย เป็นรุ่นที่เรียกว่ารุ่นป้ายทอง เป็นรุ่น แรกเลย ในเมืองไทยเท่าที่รู้มผี มกับเพื่อนผมอีก คน ขอไม่บอกว่าได้มาเท่าไร คร่าวๆ ก็คือเป็น แสน คนปกติอาจมองว่าแพง แต่สำ� หรับนักสะสม ก็ว่าไม่แพง คู่ที่ผมได้มาเป็นคู่ที่ 750 ของโลก เสียงที่ออกมาจากล�ำโพง Roger เป็นอย่างไร เครื่องเสียงของแต่ละประเทศจะมีคาแร็ก เตอร์ของตัวเอง Roger จะเป็นสไตล์คอ่ นข้างฟัง สบาย มีความเป็นธรรมชาติสูง เหมาะกับเพลง ร้อง จะฟังเพราะกว่า ผมชอบฟังเพลงร้อง ชอบ ฟังเพลงวงเล็ก ชอบเพลงจีน โรเจอร์เปิดเพลง จีนเพราะที่สุด ไม่รู้ว่าท�ำไม เพราะเพลงจีนอาจ จะไม่คอ่ ยเน้นเครือ่ งดนตรีเท่าไร จะเน้นเสียงร้อง


L

FEATURE

ศุภชัย ภิญญาวัฒน์

ดีทสี่ ดุ -เยอะทีส่ ดุ -แพงทีส่ ดุ ผิดจากนี้ ไม่ใช่ ‘เสีย่ เปา’ “ผมไม่ตงั้ ใจขาย แค่ซอื้ ไว้สะสมเล่นๆ แต่มี เพื่อนขอซื้อ เลยท�ำเป็นธุรกิจไปเลย”

เมือ่ เอ่ยถึง ‘ศุภชัย ภิญญาวัฒน์’ กับนักเล่นเครือ่ ง เสียงรุน่ ใหญ่ หลายคนอาจจะไม่คนุ้ แต่ถา้ ต่อท้าย ด้วยว่า เขาคือ ‘เสี่ยเปา’ เกือบทุกคนจะร้องอ๋อ เมือ่ ถามต่อ ก็จะมีการพูดถึงทัง้ ในแง่ดแี ละแง่รา้ ย “ขี้คุย โผงผาง ขายแพง และอื่นๆ อีกมาก แต่ใน มุมมองแง่ดีจากหลายคน เอ่ยถึงเขาในฐานะผู้ที่ มีประสบการณ์โชกโชนในวงการ ตรงไปตรงมา รู้เยอะ และมีบางคนบอกว่าเขาเป็นคนคุยสนุก ในเวลาที่เขาอยู่ในอารมณ์ที่จะพูดคุยด้วย คนที่ เป็นคูส่ นทนาไม่อาจปฏิเสธได้วา่ เขาเป็นรุน่ ใหญ่ ที่รู้จริงอีกคนหนึ่งในวงการเครื่องเสียง” วันทีผ่ มนัดเจอกับเสีย่ เปา ดูเหมือนว่าในช่วง แรกเป็นเวลาทีผ่ มรูส้ กึ หนาวๆ ร้อนๆ ดูเหมือนเสีย่ เปาจะหงุดหงิดกับเรือ่ งอะไรบางอย่าง จนผมไม่ แน่ใจว่าเขาจะยอมให้เวลาคุยอะไรกับผมมากเท่า ทีห่ วัง แต่ในทีส่ ดุ เมือ่ นัง่ ลงตรงหน้า และเอ่ยปาก ถามถึงเรื่องเครื่องเสียงที่เสี่ยเปาคลุกคลีและรัก ใคร่มาตลอดชีวติ เขาก็เริม่ พูดคุยอย่างออกรสชาติ “ผมอยู่กับเครื่องเสียงมาตั้งแต่เด็กแล้ว ช่วง ปี 1958 พ่อผมเปิดร้านเครื่องเสียงชื่อ Union Sound แถววังบูรพา เมื่อปี 1972 พ่อผมก็รีไทร์ และผมเข้าไปท�ำแทน ย้ายมาที่ราชด�ำริ ชื่อร้าน Excel Hi Fi และสัง่ พวกเครือ่ งเสียงยีห่ อ้ ทีด่ ที สี่ ดุ ในโลกมาขาย พวก Mark Levinson, Cello, Audio Research, Krell, Infinity, Martin Logan ตอนนั้นเราขายแต่ไฮเอนด์อย่างเดียว

“เครื่ อ งเสี ย งเครื่ อ งแรกที่ พ ่ อ ผมซื้ อ ให้ คื อ เครื่ อ งเล่ น จานเสี ย งแบบกระเป๋ า หิ้ ว ราคา ประมาณ 800-900 บาท เมื่อ 50 ปีที่แล้วนะ มัน จึงเป็นนิสัยชอบฟังเพลงมากตั้งแต่สมัยนั้น คน ที่ชอบเครื่องเสียงส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานชอบฟัง เพลงอยู่แล้ว” จากอดีตพ่อค้าเครือ่ งเสียงระดับไฮเอนด์ เขา หันมาเล่นเครื่องเสียงวินเทจตั้งแต่ช่วงปี 1980 และตอนนี้เขานั่งฟังเพลงประจ�ำแผนกเครื่อง เสียงวินเทจของโกดังขายของวินเทจ Papaya “คุณต๋องเจ้าของ Papaya เขาชอบของเก่า เรารูจ้ กั กันมาประมาณ 30 กว่าปีแล้ว และมาเจอ เขาอีกทีเมื่อประมาณหนึ่งปีที่แล้วนี่เอง ผมมา ช่วยเขาท�ำล�ำโพงอยู่คู่หนึ่ง หลังจากนั้นก็เข้ามา นั่งที่นี่ตลอด ท�ำนู้นท�ำนี่ จริงๆ แล้วผมไม่ตั้งใจ ขาย คือซื้อไว้สะสมเล่นๆ แต่มีเพื่อนขอซื้อ จึง เริ่มท�ำเป็นธุรกิจเครื่องเสียงวินเทจไปเลย “ทุ ก วั น นี้ ผ มท� ำ ธุ ร กิ จ นี้ เ พื่ อ ความสนุ ก มากกว่า ไม่ได้โฆษณามากมาย เพราะส่วนมาก เป็นคนรูจ้ กั กันเข้ามาซือ้ และเข้ามาซือ้ ด้วยความ เชื่อใจ” ในความเห็นอย่างเชื่อมั่นของเสี่ยเปา เขา บอกกับเราว่า ที่ Papaya เป็นแหล่งขายเครื่อง วินเทจจ�ำนวนมากที่สุดในประเทศไทย “ส่วนใหญ่ลกู ค้าทีน่ เี่ ป็นลูกค้าเก่าของผมเยอะ คนมาเที่ ย วที่ นี่ ก็ เ หมื อ นมาเที่ ย วมิ ว เซี ย มนะ

สามารถเดินดูได้ทกุ อย่างและหาซือ้ ได้ครบเลย” ด้วยประสบการณ์มากกว่า 40 ปีในวงการ เครื่องเสียง เสี่ยเปาเชื่อว่าคนที่เล่นเครื่องเสียง วินเทจจะหยุดไม่ได้ และราคาขึ้นอยู่กับความ พอใจในการซื้อขาย “ของวินเทจทีเ่ ป็นของเก่าจริงๆ มันไม่มรี าคา ก�ำหนดหรอก คุณซือ้ ของวันนีห้ นึง่ ร้อยบาท พรุง่ นีอ้ าจจะกลายเป็นหลายหมืน่ บาท มันอยูท่ คี่ วาม พอใจในการซือ้ ขาย บางอย่างมีเงินก็ซอื้ ไม่ได้นะ อย่างตัวหลอดบางชุด 5 แสนบาท เงินหาเมื่อไร ก็หาได้ แต่ของบางอย่างมันมีแค่หนึง่ เดียวในโลก “ของเก่าทุกวันนี้เริ่มหายากขึ้นด้วย จะหาส ภาพดีเหมือนเพิง่ ซือ้ มาค่อนข้างยาก เพราะของ มันมีแต่สึกหรอ ของดีคนเขาก็เก็บกันหมด “บางคนซื้อจริงจัง เพราะเขาถือว่าเป็นการ ลงทุน ของพวกนี้ราคาขึ้นเป็นรายเดือนเลยก็ว่า ได้ มันขึน้ ตลอด เพราะฉะนัน้ คนทีซ่ อื้ เครือ่ งเสียง วินเทจไปมีแต่ได้กำ� ไร หรือถ้าขาดทุนก็นอ้ ย ต่าง กับคนที่ซื้อเครื่องเสียงใหม่ ซื้อวันนี้แสนหนึ่ง พรุ่งนี้คุณเอาไปขายหมื่นกว่าบาท จะมีคนเอา หรือเปล่ายังไม่รู้เลย “นีค่ อื ปัญหาของคนทีเ่ ล่นเครือ่ งเสียงใหม่ ทุก วันนีค้ นจึงเริม่ กลับไปเล่นพวกวินเทจกันมากขึน้ เพราะเวลาเขาเบื่อก็ขายได้”

JULY 2010 MARS 9


FEATURE

L

แผนกซ่อมบ�ำรุง: ซ่อมยังไงให้วินเทจ

ช่างโท - สุทโท รตางศุ ช่างโท - สุทโท รตางศุ ความหลงรักในเสียงเพลงจากเครือ่ งเสียงวินเทจ ท�ำให้สทุ โท รตางศุ หรือทีล่ กู ค้าทีแ่ วะเวียนมารับ บริการเรียกกันติดปากว่าช่างโท ผันเส้นทางชีวติ จากการเป็นช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเป็นช่าง เครื่องเสียงวินเทจ “เมือ่ โลกหมุนเร็ว เทคโนโลยีกา้ วหน้าตลอดเวลา ช่างอิเล็กทรอนิกส์ทุกคนสามารถซ่อมโทรทัศน์ วิทยุ ล�ำโพงได้เหมือนกันหมด เราจึงเสาะหาช่อง ทางทีเ่ หมาะกับตัวเองคือ สร้างความแตกต่างใน อาชีพการงาน หันไปหาอะไรที่มันยากกว่า คือ การเป็นช่างซ่อมเครื่องเสียงวินเทจ นี่ก็ท�ำมา ร่วมยี่สิบปีแล้ว “ผมเริ่มค้นคว้าด้วยตัวเองมาตลอด ใช้วิธีดูจาก เครื่องแล้วท�ำความเข้าใจ จินตนาการก่อนว่า เครือ่ งพวกนีท้ ำ� งานยังไง ไม่ได้เรียนด้านนีม้ าเลย ใช้วธิ ลี องผิด ลองถูก เรือ่ ยมา แต่สงิ่ ทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ คือต้องหาทางลองฟังมันให้หมด ให้รู้ว่าเสียงที่ ออกมาจากเครื่องนั้นๆ มันเป็นยังไง ฟังให้คุ้นหู ต้องซ่อมให้รู้ว่า ซ่อมแล้วเสียงควรจะเป็นยังไง “อุปกรณ์ภายในของเครื่องเสียงวินเทจต่างกับ เครื่องเสียงสมัยนี้ คือสมัยก่อนเขาตั้งใจผลิตกัน มาก วัสดุทุกชิ้นเขาใส่กันไม่อั้นเพื่อให้คุณภาพ ออกมาดีที่สุด คัดสรรกันอย่างดี จะเห็นได้ว่าน�้ำ หนักแต่ละเครื่องจะหนักมาก และนี่คือสาเหตุที่ ท�ำให้เครื่องเสียงวินเทจใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน 10 MARS JULY 2010

ในขณะทีท่ กุ วันนีข้ า้ งในเครือ่ งเสียงมีแต่ชปิ กับไอ ซีเล็กๆ ใช้งานไม่กคี่ รัง้ ก็พงั แล้ว พวกอะไหล่ของ เครือ่ งเสียงวินเทจหายากนะ แต่ผมมีสต๊อกเยอะ เครื่องเสียงตัวไหนเสียผมไม่เคยทิ้ง จะเก็บไว้ อะไหล่ใหม่ก็ใช้แทนได้เหมือนกัน แต่เสียงไม่ เหมือน มันท�ำให้แค่ดังได้ แต่เสียงไม่เหมือนเก่า “สมมุ ติ ว ่ า หากมี ค นไปเจอเครื่ อ งเสี ย งเก่ า สั ก เครื่องแล้วอยากจะบูรณะให้กลับมาใช้งานได้ เหมือนเดิม ถ้ายกไปให้ชา่ งสมัยนีซ้ อ่ ม เขาก็ซอ่ ม ให้เสียงดังได้ แต่อาจดังไม่เหมือนเดิมเพราะเขา ไม่เคยได้ยินเสียงของมันจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร” “ผมจะรู้สึกหงุดหงิดใจทุกครั้งที่ฟังเครื่องเสียง สมัยใหม่ เมื่อก่อนผมก็รู้สึกว่า เออ เสียงมันดีนะ แต่พอฟังไปนานๆ เข้า กลับรูส้ กึ ว่ามันชัดไปหมด มันชัดเกินไป มันเหมือนมีกรอบ เหมือนภาพวาด ที่มีการตัดเส้น มันจะดูชัดแต่ไม่สบายตา เสียงก็ เหมือนกัน ฟังแล้วเหมือนมีกรอบ จะฟังแล้ว เหนือ่ ย ไม่เหมือนเครือ่ งเสียงวินเทจ ทีจ่ ะนุม่ นวล ฟังสบาย เปิดฟังไปได้ทั้งวัน” *ร้าน โท ออดิโอ ตั้งอยู่ ถนนเชื่อมสัมพันธ์ ซอย เชื่อมสัมพันธ์ 29 หนองจอก กรุงเทพฯ เบอร์ โทรศัพท์ 0 2988 0481, 08 5076 9501 ช่างเกษม - เกษม ทัศนสุวรรณ หากเสาะหาช่ า งซ่ อ มเครื่ อ งเสี ย งวิ น เทจที่

ถ่ายทอดวิทยายุทธ์กันมาหลายรุ่น หนีไม่พ้นที่ จะต้องท�ำความรูจ้ กั กับช่างเกษมแห่งร้าน ‘เกษม อิเล็กทรอนิกส์’ ผู้ที่ได้เคล็ดวิชาการซ่อมเครื่อง เสียงแบบดั้งเดิมมาจากผู้เป็นพ่อ และยังคงสืบ ต่อทักษะความรู้ไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน “พ่อผมเป็นสารพัดช่างที่ศึกษาเรื่องพวกนี้ ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นช่างอยู่ต่างจังหวัด ยุค นัน้ เครือ่ งเสียงเป็นของวินเทจ โบราณแท้ๆ ทีค่ น ยุคใหม่คงไม่เคยฟัง ผมอยูก่ บั มันและคลุกคลีมา ตั้งแต่เกิด พี่น้องก็ซ่อมเป็นกันทุกคน” ด้วยประสบการณ์การซ่อมเครื่องเสียงวิน เทจที่สะสมมามากกว่า 40 ปี เขาบอกว่าแท้จริง แล้วการซ่อมเครือ่ งเสียงวินเทจไม่ยากอย่างทีค่ ดิ “ผมอยูก่ บั มันมาตัง้ แต่เด็ก แต่ถา้ ช่างรุน่ ใหม่ มาซ่อม อาจมองดูไม่รู้เรื่อง เขาจะงง เพราะว่า ชินกับเครื่องสมัยใหม่ พวกทรานซิสเตอร์เก่าๆ เขาคงซ่อมกันไม่ได้ มันไม่เหมือนกัน “อาการเสียก็มีหลายอย่างนะ ต้องพยายาม เช็กดู ถ้ามาในสภาพเดิมหน่อยก็ง่าย แต่บาง เครือ่ งไม่ได้ใช้งานมาสิบปีหรือยีส่ บิ ปี ตัง้ แต่สมัย พ่อ แล้วยกมาให้ผมซ่อม ถ้าเป็นเครื่องน�ำเข้า จากเมืองนอกส่วนใหญ่สภาพจะสวยเหมือนของ ใหม่ ของเก่าในบ้านเราจะมีสภาพเป็นอีกแบบ เพราะอากาศบ้านเรากับบ้านเขาไม่เหมือนกัน บ้านเขามันแห้ง ส่วนเมืองไทยอากาศร้อนและ ชื้น เครื่องเสียงในบ้านเราจะเป็นสนิมได้ง่าย ฝุ่น


L

ก็เยอะ บางคนอยากได้ของสภาพดีแต่ราคามัน สูง ก็ไปซื้อของเก่ามากๆ มา ต้องมาเสียตังค์ค่า ซ่อมอีกเยอะ ต้องรื้อหมดเลย ส่วนด้านนอกที่ เก่าๆ เป็นสนิม ลูกค้าก็อยากให้ท�ำให้ แต่เราไม่ รับ เพราะพวกตู้ท�ำยังไงก็ไม่เหมือนเดิมอยู่ดี ไม่ ท�ำดีกว่า ปล่อยไว้แบบนี้ “เวลาซ่ อ มผมจะซ่ อ มตามความรู ้ สึ ก ของ ลูกค้า แล้วพยายามท�ำให้ถูกใจเขา ส่วนใหญ่จะ บอกว่าขอเสียงนุ่มๆ หวานๆ หรือเอามาโมให้ เสียงมันดีขนึ้ ท�ำให้ลกู ค้ามีความสุขเราก็มคี วาม สุข ลูกค้าที่มาซ่อมจะมานั่งคุย มานั่งดูเราซ่อม ไปด้วย ผมซ่อมด้วยหัวใจ ซ่อมให้ดังมันง่าย แต่ ท�ำให้เสียงดียาก” ระหว่ า งคุ ย กั น อย่ า งสนุ ก สนานและเป็ น กันเอง ดูเหมือนว่า ช่างเกษมจะเห็นผมมีท่าที สนใจและดูเคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องราวของเครื่อง เสียงวินเทจ เขาจึงเอ่ยปากถาม “แล้วคุณล่ะ ลอง ซื้อเล่นหรือยัง” ผมรีบส่ายหัวส�ำหรับค�ำถามที่ว่า “ลองแล้วหรือ ยัง” แต่ก็รีบกล่าวเสริมด้วยประโยคต่อในทันที เหมือนกันว่า “คงไม่นานนี้ครับ” (แหม ตระเวน คุยกับกูรูเรื่องนี้อีกหลายต่อหลายคน จะไม่ให้ เคลิ้มยังไงไหว) ช่างเกษมได้ที รีบกล่าวกับผมต่อด้วยน�้ำ เสียงเจืออารมณ์ขนั “ระวังเล่นแล้วไม่เลิกนะ เล่น แล้วเล่นยาวเลย อย่างลูกค้าบางคน ตอนแรกมา ซื้อเพื่อไปตั้งโชว์ที่บ้าน เห็นหน้าตามันสวยดี

ช่างพรชัย ชวาลวงศ์วิเชษฐ์ อย่างทีก่ รู หู ลายคนเชือ่ ว่า ล�ำโพงเป็นส่วนส�ำคัญ อันดับต้นๆ ของเครือ่ งเสียง หากเราฟังเพลงด้วย เครือ่ งเสียงราคาสิบล้านคูก่ บั ล�ำโพงด้อยคุณภาพ ก็คงไม่อาจมีประสบการณ์ฟงั เพลงเพราะๆ อย่าง แท้จริงได้ ร้าน ล.ศรียนต์ มีชอื่ เสียงเรือ่ งการซ่อมล�ำโพง วินเทจ อีกทั้งยังมีล�ำโพงที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย แท้ที่นักเล่นเครื่องเสียงต่างการันตีสุ่มเสียงที่ ออกมาว่าดี และให้สมุ้ เสียงทีเ่ ข้ากับชุดวินเทจได้ อย่างลงตัว “ผมท�ำวงการนี้ร่วม 30-40 ปีแล้ว เริ่มจาก ค้าขายล�ำโพงตั้งแต่อายุ 10 ขวบ แถวคลองถม ขายไปขายมา ล�ำโพงทีข่ ายเริม่ เสีย พอเสียหลาย ตัวเข้ามันก็ขาดทุน ผมจึงเริม่ คิดว่าท�ำอย่างไรให้ ของพวกนี้มันออกไปได้หมดโดยเริ่มจากการ หยิบมาซ่อม ซ่อมจนเกิดความช�ำนาญ ก็เริ่มรับ งานทัว่ ไป คนแถวนัน้ ก็ลองเอาล�ำโพงมาให้ซอ่ ม อยู่เรื่อยๆ

GO VINTAGE 101 1. เริม่ ด้วยหาของคุณปูค่ ณ ุ ตา หรือจากห้องเก็บ ของเก่าๆ ในบ้านตัวเอง หรือบ้านญาติสนิท (ขืน ไปค้นจากบ้านญาติไม่สนิท ก็โดนแจ้งต�ำรวจจับ สิ อิอิ) 2. ศึกษาข้อมูลเรื่องวินเทจจากแหล่งต่างๆ ทั้ง หนังสือหรือนิตยสารเก่าๆ ง่ายๆ ก็ค้นคว้าใน อินเทอร์เน็ต หรือถามเพือ่ นทีเ่ ล่นวินเทจอยู่ และ เน้ น เครื่ อ งเสี ย งวิ น เทจที่ มี อ ยู ่ ใ นมื อ หรื อ ที่ หมายตาเอาไว้ 3. เอามาซ่อมจากช่างวินเทจที่ไว้ใจได้ 4. ถ้าเจอเครื่อง ถ้าไม่เจอให้พยายามตามข้อ 1. อีกครัง้ แล้วอาจเลยเถิดไปถึงญาติทไี่ ม่สนิทหรือ เพือ่ นฝูงทีอ่ ยากโละของเก่าให้หอ้ งเก็บของ หาก

ไม่ส�ำเร็จจริงๆ แต่อยากลองใจแทบขาด ให้เริ่ม ต้นจากซื้อหาราคาที่เหมาะสม 5. ชุดง่ายๆ ที่ต้องมีเครื่องวินเทจ หลักๆ คือ แอมป์และล�ำโพง (ส�ำหรับแอมป์ควรจะหาแบบ ที่มีภาครับวิทยุในตัวที่เรียกว่ารีซีฟเวอร์) ใช้ เครื่องเล่นซีดีที่มีอยู่แล้ว แรกเริ่มไม่จ�ำเป็นต้อง ใช้เครื่องวินเทจ 6. ขาดอะไรให้ซื้อหาราคาที่เหมาะสม (และอย่า ลืมกลับไปอ่านข้อ 2.) TIPS • พยายามท�ำข้อ1. และ 2. ให้จงหนัก และใช้ เวลากับสองข้อนี้อย่างน้อยเดือนสองเดือน • เพลงที่ชอบฟังไม่ควรจะเป็นเพลงดิสโก้ แร็ป หรื อ เฮฟวี่ เ มทั ล ตลอดจนอะไรที่ เ ป็ น ดนตรี

พอได้ฟังเท่านั้นแหละ ก็มาตายที่เครื่องเสียงวิน เทจกันหมด” *ร้านเกษมอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งอยู่ที่สนามหลวง 2 โซน 3 ศูนย์ซ่อมตั้งอยู่ที่ถนนเพชรเกษม ซอย 81 เบอร์โทรศัพท์ 08 1519 5779, 08 1443 6455, 0 2812 1880

FEATURE

“การซ่อมล�ำโพงมีข้อแม้หลายอย่างเหมือนกัน เราต้องดูก่อนว่าอะไรเสีย โครงสร้างเป็นยังไง มี อะไหล่ไหม เพราะถ้าไม่มอี ะไหล่กแ็ พงโอเวอร์นะ ดังนัน้ จึงเป็นทีม่ าของอะไหล่บางตัวเราก็สร้างขึน้ มาเอง ที่นี่ท�ำได้ครบวงจรเลย “ผมท�ำอาชีพนี้แล้วมีความสุขนะ คนมีทุกข์มา ล�ำโพงเสีย เราก็ช่วยปลดทุกข์ให้เขา เวลาซ่อม เราค�ำนึงเสมอว่าต้องซ่อมให้เหมือนกับล�ำโพงที่ เราเอาไว้ใช้เอง อย่าท�ำลวกๆ “ผมซ่อมล�ำโพงได้หมดทุกยุค ไม่เกี่ยงยี่ห้อ เก่า ใหม่แค่ไหนก็หาอะไหล่ได้ บางทีล�ำโพงที่เขาซื้อ มาเก่าๆ หรือรักมาก ทีอ่ นื่ ซ่อมไม่ได้ ไม่มอี ะไหล่ แต่ผมจะผลิตอะไหล่ให้ เอาอะไหล่ชิ้นโน้นมา ผสมชิ้นนี้ เหมือนตัดต่อพันธุกรรม “แกะล�ำโพงราคาเป็นล้านมาแล้ว ได้แกะ ล�ำโพงคูแ่ พงๆ ก็มคี วามสุขดี ได้รวู้ า่ ไว้ในของเขา ประกอบยังไง และถ่ายรูปเก็บไว้ แล้วเราก็มาท�ำ เป็นยีห่ อ้ ของเราเอง มันเป็นศาสตร์อย่างหนึง่ เลย นะ คุณต้องเคยแกะของดีๆ มาแล้วถึงจะสร้าง และซ่อมได้ดี ถ้าคุณท�ำแต่ของกระจอก คุณจะรู้ ได้อย่างไรว่าอะไรดี จริงไหม” *ร้าน ล.ศรียนต์ ตัง้ อยูท่ ถี่ นนอรุณอมรินทร์ แขวง ศิริราช กรุงเทพฯ เบอร์โทรศัพท์ 0 2411 1957, 08 4556 2236

หนักๆ • หากชอบเพลงร้อง ดนตรีสบายๆ แจ๊ซ ขอ แนะน�ำว่าลองมาสายวินเทจแล้วจะหลงรัก โดย เฉพาะคอลูกทุ่งหรือเพลงจีนรีบมาเร็วๆ • ชุดแรกเริ่มอย่าท�ำตัวหรูหราราคาแพง • หากต้องซือ้ ควรจะให้เพือ่ นผูท้ มี่ ปี ระสบการณ์ แล้วแนะน�ำและหาของให้ ไม่ควรลุยเดี่ยวเอง • โปรดทราบ อย่าเพิง่ ริลยุ อีเบย์ ใช้อนิ เทอร์เน็ต ส�ำหรับหาข้อมูลก่อน อย่าใช้อนิ เทอร์เน็ตไปซือ้ ของ • ส�ำรวจงบประมาณส�ำหรับซอฟต์แวร์ดว้ ย ไม่ใช่ หมดไปแต่กับฮาร์ดแวร์ • เริ่มต้นในราคาประหยัดไม่ควรเกิน 15,00020,000 งบนี้สามารถเริ่มต้นชุดวินเทจได้ JULY 2010 MARS 11


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.